๒๑ วิธี ของ สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ๑๓อักษร, 11 กันยายน 2021.

  1. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๑๙ (อายตนบรรพ)

    [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูปและรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น
    อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์
    อนึ่ง
    สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง ...
    ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ...
    ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ...
    ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ...
    ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น
    อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์

    อนึ่ง

    สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อยู่ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021
  2. ปวีรัศม์ชา

    ปวีรัศม์ชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    703
    ค่าพลัง:
    +642
    เวลาเขาเขียนอธิบายในหนังสือคือยาวม๊อกๆ แต่เวลาฝึก... หนังสือ2-3 หน้า จบขณะจิตเดียว เพราะจิตเร็วแบบฟ้าแลบ เขาว่ากันอย่างงั้น...

    แต่จริงๆ ครือ เร็วกว่าฟ้าแลบอีก เร็วมากๆ
     
  3. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๒๐ (โพชฌงคบรรพ)

    [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    อีกข้อหนึ่ง
    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
    หรือ
    เมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
    อนึ่ง
    สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่งเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
    หรือ
    เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว
    จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    ดังพรรณนาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    ธรรมมีอยู่
    ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ
     
  4. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    ว่ายังไงคร๊าาา คุณนู๋
     
  5. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๒๑ (สัจจบรรพ)

    [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    อีกข้อหนึ่ง

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    คืออริยสัจ ๔ อยู่
    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
    แม้ชาติก็เป็นทุกข์
    แม้ชราก็เป็นทุกข์
    แม้มรณะก็เป็นทุกข์
    แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์
    แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
    แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์
    ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
    โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน
    ความเกิด ความบังเกิด
    ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์
    ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ

    ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก
    หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
    ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ

    ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
    ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์
    ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ
    ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ

    ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
    ความผาก ณ ภายใน
    ความแห้งผาก ณ ภายใน
    ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม
    คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าโสกะ ฯ


    ก็ปริเทวะเป็นไฉน
    ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญกิริยาที่ร่ำไรรำพัน
    ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน
    ของ
    บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ


    ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย
    ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ

    ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต
    ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ

    ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น
    ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ

    ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
    ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน
    ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
    หรือ ด้วยบุคคล
    ผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
    ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล
    ปรารถนาความไม่ผาสุก
    ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
    อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ

    ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
    ความไม่ประสบ
    ความไม่พรั่งพร้อม
    ความไม่ร่วม
    ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
    หรือ
    ด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์
    ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล
    ปรารถนาความผาสุก
    ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย
    พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์
    หรือ
    ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
    อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ

    ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
    ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา
    อย่างนี้ว่า
    โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา
    ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย
    ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
    แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์

    ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา
    อย่างนี้ว่า
    โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย
    ข้อนั้น
    สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์

    ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา
    อย่างนี้ว่า
    โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย
    ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
    แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์

    ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา
    อย่างนี้ว่า
    โอหนอขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย
    ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
    แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์

    ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา
    อย่างนี้ว่า
    โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา
    ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย
    ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้
    แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ

    ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
    อุปาทานขันธ์
    คือ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียก ว่า โดยย่อ
    อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕เป็นทุกข์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน
    ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก
    ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
    เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ

    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด
    ย่อมเกิดในที่ไหน
    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้
    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้
    อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหา เมื่อจะเกิด
    ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ

    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
    มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้
    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

    จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
    มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้
    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

    จักขุสัมผัสสชาเวทนา
    โสตสัมผัสสชาเวทนา
    ฆานสัมผัสสชาเวทนา
    ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
    กายสัมผัสสชาเวทนา
    มโนสัมผัสสชาเวทนา
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้
    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

    รูปสัญญา
    สัททสัญญา
    คันธสัญญา
    รสสัญญา
    โผฏฐัพพสัญญา
    ธัมมสัญญา
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้
    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

    รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา
    โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

    รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
    โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้
    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

    รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

    รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ

    [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน
    ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง
    ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น
    ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน
    เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน
    ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
    ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
    เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล
    จะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ
    ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
    มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย
    ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน
    สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
    เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
    ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก
    ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ
    ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา
    ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย
    ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา
    โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อ
    บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม
    ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
    เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็น
    ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ
    ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร
    เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ
    จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ

    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
    นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ
    คือ
    สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ
    สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ

    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน
    ความรู้ในทุกข์
    ความรู้ในทุกขสมุทัย
    ความรู้ในทุกขนิโรธ
    ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ

    สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
    ความดำริในการออกจากกาม
    ความดำริใน
    ความไม่พยาบาท
    ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

    สัมมาวาจา เป็นไฉน
    การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
    งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า
    สัมมาวาจา ฯ

    สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
    งดเว้นจากการถือ
    เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

    สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย
    สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

    สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
    เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
    เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม
    แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ

    สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
    เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป

    บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
    มีสติอยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ

    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า

    ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ฯ
     
  6. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี

    เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
    หรือ
    เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
    ๗ ปียกไว้

    ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
    อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...๒ ปี ... ๑ ปี
    เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
    หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
    ๑ ปียกไว้

    ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน
    เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
    คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
    หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑
    ๗ เดือนยกไว้

    ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
    ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน

    เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
    คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน๑
    หรือ
    เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

    กึ่งเดือนยกไว้

    ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน
    เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
    คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
    หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
    เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
    เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
    เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล

    คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้
    เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ
     
  7. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    จิตเห็นจิต มีอยู่ในพระไตรไหม
    ส่วนมากส่วนเดียวจะเห็นเป็นธรรมของหลวงปู่ หลวงตาซะส่วนมาก
     
  8. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    มีซิ

    จิตมีราคะให้รู้ว่าจิตมีราคะ นี่ก็เรียก จิตเห็นจิต

    จิตมีโทษะก็รู้ว่าจิตมีโทษะ นี่ก็เรียก จิตเห็นจิต
     
  9. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    แล้วประโยคที่ว่า พบจิต ทำลายจิต
    ประโยคนี้ หมายถึงอะไร
     
  10. ปวีรัศม์ชา

    ปวีรัศม์ชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    703
    ค่าพลัง:
    +642
    จะบอกให้นะ ธรรมพระพุทธเจ้า ทั้งหมดทั้งมวล เป็นไปเพื่อสอนจิตอวิชชาล้วนๆ ไม่ได้สอนจิตของเราเรยย์

    ท่านแค่เปลี่ยนสัญญาที่จิตอวิชชา ให้ตรงกับคุณสมบัติของธาตุรู้(จิตเราจริงๆ) เท่านั้นเอง ..แล้วการเปลี่ยนเนี้ยะคือให้สัญญาที่ถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาเฉยๆ ค่อยๆ จัดการจิตอวิชชาไปทีละน้อยๆ (คือให้จิตอวิชาจัดการตัวมันเอง). จนไปถึงที่สุด

    เพราะจิตอวิชชามันก๊อปปี้ทุกอย่างได้ สะสมได้
    เหมือนเรามีแม่พิมพ์ แล้วกดดินน้ำมันลงไป มันจะขึ้นรูปตามพิมพ์นั้นเลย นี่แหล่ะคุณสมบัติจิตอวิชชา
     
  11. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    เรามองว่า ..ส่วนมาก ลูกศิษย์ท่าน ทำสมถะมาก่อน
    พอเวลาเข้าไปเจอจิตปภัสสร ก็อาจจะไปทำให้เข้าใจผิด
    หรือ เวลาไปเจอ การรวมจิตที่เป็นอัปนาสมาธิ
    ก็จะไปเจอสภาวะจิตดวงเดียวลอยเด่นไม่มีกายปรากฎ แบบนี้เป็นต้น มีแต่สภาวะรู้

    และเพื่อเป็นการ เตือนให้เอะใจ ว่าจิตไม่ใช่เรา
    ไม่ใช่ตัวตน ไม่หวงแหนจิตไม่อาลัยจิตกลัวจะไม่มีจิต
    นี่ สำหรับพวกทำสมถะหนักๆ

    ทีนี้ หากพวกที่เดิน วิปัสนาล้วน หรือไม่ล้วน อันนี้
    พอที่จะเดิน วิปัสนาเป็น ไม่มีการสะทกสะท้านกับประโยคแบบนี้หรอก

    เพราะคนที่เริมเดินวิปัสนาเป็น เขาจะเข้าใจ สภาวะ
    ของการที่จิตดำเนินไปเอง
    หรือความเป็นไปเอง ของสติ สมาธิปัญญาที่สัมปยุติกัน คือ ไม่มีการ สงสัย
    ว่าจะต้องไปทำลงทำลายอะไรจิตหรอก เพราะ ในสภาวะ ความเป็น
    หรือผลงานที่เกิด จิตมันจะทำด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว ฟิน ฟิน

    ทีนี่ ยุคสมัยนี้ สิบห้าถึงยี่สิบปีกว่ามานี้ อินเตอร์เน็ตมาไว นักเรียนนักศึกษา มีการศึกษาสามารถค้นหาข้อมูลเป็นนักคิด นักภาวนากันในวงกว้าง ทั้งนักธุรกิจ นักการค้า บลาๆ
    จึงมีการ พูดคุยกันในวงกว้าง อาศัยอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อ
    ก็จะได้ยินได้ฟังได้อ่าน จากคำพูดคำเขียน
    ของคนภาวนาเป็นมั่งภาวนาไม่เป็นมั่ง มากมายก่ายกอง

    คนภาวนาไม่เป็นมาอ่านเข้า
    ก็อาศัยความตรึกความนึกคิดกรั่นกรองไปตามความรู้ความคิด
    ตามการศึกษาเป็นชั้นๆไป ความเพี้ยน ไม่เพี้ยน ก็มีกันอย่างแพร่หลาย

    มีแต่คนที่มีความเพียรฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวดเอาจริงเอาจัง จึงจะพอมองออก
     
  12. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68

    8047bba2ed3a61885e53957ccd89f5a3.gif
     
  13. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    เหมือนคนที่ทำอานาปานสติ นั้นหากไม่มีสติ
    อานาปานสติไม่สามารถเกิดดได้
    การวัดความเพี้ยน ของใคร ๆ ต่อใคร ไม่อาจประมาทเขาได้
    หากเราคิดแบบนั้น เท่ากับเราทำประมาทเสียเอง
    ที่ถามว่าพบจิต ทำลายจิต พบผุ้รู้ ให้ทำลายผู้รู้
    หากฟังดู ประโยคนี้เหมือนมีผู้กระทำ
    แต่หากได้วิปัสนาฌาน คงไม่มีผู้กระทำ เป็นเพียงเหตุปัจจัย กาลละ นั้นๆ ชั่วขณะๆๆ
    เหมือน ๆ การได้เขาฌาน เขาจะละเอียด ลึกของเขาเอง ไม่มีผู้กระทำ
    คำกล่าว หลวงพ่อองค์ใดๆ ไม่สามารถละเลยได้เลย
     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    จะเอาประเด็นไหนกันแน่ละพ่อหนุ่ม
    อานาปานสติ...คนที่ไม่มีสติพอมาฝึกแล้วทำให้มีสติ

    หรือ วิธี 21 วิธี คนไม่มีสติมาฝึก...ผลคือ จะมีสติเกิดขึ้น

    ถ้าคน ที่มีสติ อยู่แล้ว จะมาฝึกทำไม21 วิธีนี้

    ทีนี้ แยกออกหรือ ยัง อะไรคือ สติ ที่พระพุทธเจ้าท่านสอน

    ถ้าแยกออก ก็จะเข้าใจ วิปัสนา เข้าใจความเป็นเองของจิต

    ส่วนจิตที่เข้าฌาน ในสมถะ มันไม่รู้ตัวเองหรอก รู้ตัวอีกที1ชั่วโมง สอง สาม สี่ห้า ชั่วโมงผ่านไป..

    เว้นเสียแต่ว่า จะเป็นพวกชำนาญเป็นวสีจริงๆ พอจะรู้บ้าง แค่พอจะรู้นะ..หากไม่ตกม้าตายสะก่อน
     
  15. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ประเด็นจิตนี่ละลุง อานาปานสติ ก็เป็นเครื่องจิตระลึก จิตเกาะ ให้รู้เกิดและดับ
    จนจิตมันเริ่มรู้ว่า จะว่ามันจะดับแล้วนะ ว้าไม่ทัน มันจะเกิดแล้วนะว้า ไม่ทัน อีกล่ะ
    แล้วก็ค่อย ค่อย ๆเห็น ลมมา ลมไป อันนี้เรียกว่า จิตเห็นจิตได้
    คราวนี้ คราวนี้ถามจริงๆ นะ ลุงแยกสมาธิออกแบบเด็ดขาดแล้ว ใช่มะ
     
  16. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    แน่นอน คนเดินวิปัสนาเป็น แยก สมาธิ สติ ได้ชัดเจน

    สอนต่อได้ด้วย ฟินฟิน


    ลักษณะ ที่จิต มีสติ คือ จิตรู้สึกตัวได้เอง ว่า ลมเข้า ลมออก สั้น ยาว โดยไม่ต้องไปกำหนดเหมือนตอนแรก นี่เรียกว่า จิตเห็นจิต โดยมีกายเป็นฐาน มันก็เชื่อมไปที่จิตไปในตัว เห็นรูปนาม แยกจากกันโดยปริยาย
     
  17. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ฮะลุง ล้อหมุนแล้ว ไปต่อไม่รอแล้วนะ .. upload_2021-10-20_11-43-24.png บาย
     
  18. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อันนี้ไม่เรียกว่า จิตเห็นจิตหรอกพ่อหนุ่ม

    เรียกว่า ละเมอได้อยู่
    จิตเห็นจิต คือ
    จิตมีสติทำให้จิตรู้เท่าทันตัวมันเอง

    นี่แบบนี้เรียกว่า จิตเห็นจิต
    และก็เรียกว่า จิตเห็นเกิดดับได้ด้วย
     
  19. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    พอดีล้อหยุด เลยได้พิมพ์
     
  20. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    อารมณ์ตอนจิตเห็นจิตชัดๆ จะประมาณนี้
    ใครเคยเห็น ถ้าเจอฉากนี้ต้องมีขนลุกอ่ะ

    จะรุ้สึกเหมือนมีเราอีกคน ซึ่งมันไม่ใช่เราแน่ๆ
    แต่มันแอบอยู่กับเราตลอดเวลา
    มันพยายามดิ้นรน ทิ่มแทงเราทุกวินาที เหมือนฉากลูกธนูที่พุ่งมานับพันดอก
    แต่ถ้าถึงจุดจิตตั้งมั่น จะมากี่หมื่นดอก ก็ไม่อาจจะระคาย

    5D30DF4F-83B0-4145-ACAF-E09380AFA473.png
     

แชร์หน้านี้

Loading...