๒๑ วิธี ของ สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ๑๓อักษร, 11 กันยายน 2021.

  1. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๗ (นวสีวถิกาบรรพ)

    [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง

    ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
    ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
    อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง
    ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง
    ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง
    หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง
    หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง
    หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง

    เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละ ว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    upload_2021-9-28_7-0-21.png


    upload_2021-9-28_7-1-57.png

    ขอบุญกุศลจงสำเร็จแก่เจ้าของศพนี้ด้วย

    ที่มาของภาพ
     
  2. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๘ (นวสีวถิกาบรรพ)

    [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง
    ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
    ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก
    ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ



    วิธีที่ ๙ (นวสีวถิกาบรรพ)
    [๒๘๒]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง
    ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
    ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก
    ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น
    ผูกรัดอยู่ ฯลฯ


    วิธีที่ ๑๐ (นวสีวถิกาบรรพ)
    [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
    ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก
    ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น
    ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
     
  3. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๑๑ (นวสีวถิกาบรรพ)

    [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    อีกข้อหนึ่ง

    ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
    คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว
    เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย

    คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง
    กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง
    กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง
    กระดูกขาไปทางหนึ่ง
    กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง
    กระดูกหลังไปทางหนึ่ง
    กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง
    กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง
    กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง
    กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง
    กระดูกแขนไปทางหนึ่ง
    กระดูกคอไปทางหนึ่ง
    กระดูกคางไปทางหนึ่ง
    กระดูกฟันไปทางหนึ่ง
    กะโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง

    เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
    และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้
    แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021
  4. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๑๒ (นวสีวถิกาบรรพ)

    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง
    ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
    ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ




    วิธีที่ ๑๓ (นวสีวถิกาบรรพ)

    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
    ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ



    วิธีที่ ๑๔ (นวสีวถิกาบรรพ)

    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
    ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
    คือ
    เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว
    เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
    ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
    คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
    และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021
  5. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๑๕ (เวทนานุปัสสนา)

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
    หรือ
    เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
    หรือ
    เสวยอทุกขมสุขเวทนาก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
    หรือ
    เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
    หรือ
    เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือ
    เสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส
    หรือ
    เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือ
    เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    หรือ
    เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส

    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    เวทนามีอยู่
    ก็เพียง
    สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
    และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021
  6. ปวีรัศม์ชา

    ปวีรัศม์ชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    703
    ค่าพลัง:
    +642
    https://www.matichon.co.th/columnists/news_2304358

    บทความนี้ก็ดี ถ้าใครสนใจฝึกแบบกายคตาสติ ผลก็ตามที่พระท่านบอกในบทความ ...ปรากฎรอยเดียวกัน
     
  7. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    ร้อยละร้อย บทความจะคัดแปะ พระไตรปิฎก คำครู เอาออกมา บางส่วน
    แล้วก็จะเสนอความเห็นของตนเองลงไป

    ถ้าจะให้ดี เจ้าของบทความ ควรลงคำพระเต็มรูปแบบ ก็จะเป็นประโยชน์ที่สมบูรณ์
     
  8. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    ยกตัวอย่าง คัดมาจากบทความข้างต้น

    ."" การพิจารณากายส่วนย่อยต่างๆ เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุสี่อัน ได้แก่ ดิน ไฟ ลมและน้ำ เป็นการพิจารณาให้จิตเห็นความเป็นจริงว่าร่างกายเป็นเพียงการประกอบกันของธาตุซึ่งในความเป็นจริงแล้วล้วนไม่เที่ยง กำหนดให้เป็นไปตามใจปรารถนาไม่ได้และย่อมสลายไปในที่สุด

    การพิจารณาธาตุนี้อาจไม่เพียงพอในการขจัดกามราคะ อุบายที่ชะงัดยิ่งขึ้นเป็นการทำให้จิตเห็นด้านที่ไม่ดีไม่งามของกายอันได้แก่การพิจารณากายว่าเป็นปฏิกูลไม่สะอาดและเป็นอสุภะซากศพที่ไม่สวยไม่งาม เน่าเปื่อยผุพัง """



    เท่านี้ก็ขัดกันเองแล้ว
     
  9. ปวีรัศม์ชา

    ปวีรัศม์ชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    703
    ค่าพลัง:
    +642
    ก้ออาจจะขัดตรงนั้น
    แต่หลายๆ ส่วน ตัวผลก็ถั่วต้วมอยู่

    จะเห็นกันมุมไหน.. ก็อยู่ที่อุบายครูที่สอน
     
  10. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    มันขัดตั้งแต่ต้นนั่นแหล่ะ จะยกมาก็จะยาวเกิน
    ยกมาเท่าที่ ชี้ให้ดู
    การอธิบายสาธยายธรรม เป็นความเห้นความเข้าใจของเขา

    พระพุทธเจ้า ท่านถึงสอน

    ได้พบสัปปบุรุษ จึงจะได้ฟังธรรม สมบูรณ์ ศรัทธาก็จะบริบูรณ์

    การปฏิบัติก็จะสมบูรณ์

    อย่างตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น

    ความเป็นธาตุ 4
    พิจารณาธาตุ 4 หากทำลายลงสู่ อนิจจังทุกขังอนัตตาลงไปได้ มันก็จบไปแล้ว

    ไม่ต้องบอกว่า การพิจารณาธาตุ ไม่พอ ตรงนี้ก็ฟ้องในตัวแล้วแหล่ะ
     
  11. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๑๖ (จิตตานุปัสสนา)

    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
    หรือ
    จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
    หรือ
    จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
    หรือ
    จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
    จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
    หรือ
    จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    หรือ
    จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
    หรือ
    จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
    หรือ
    จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    จิตมีอยู่
    ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
    และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ

    ...........................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021
  12. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    มหรคต “อันถึงความเป็นสภาพใหญ่” “ซึ่งถึงความยิ่งใหญ่” หรือ “ซึ่งดำเนินไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะและปัญญาอย่างใหญ่” คือ เข้าถึงฌาน, เป็นรูปาวจร หรืออรูปาวจร, ถึงระดับวิกขัมภนวิมุตติ
    (เขียนอย่างบาลีเป็น มหัคคตะ)

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
     
  13. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    หลวงปู่มั่นกล่าวว่า จิตที่ไม่พัวพันกับอารมณ์นั้น คือจิตบริสุทธิ์
    แสดง ในบางวันเราก็สามารถมีจิตบริสุทธิ์ ได้ เพียงแต่แยกให้ออกว่า
    อารมณ์เฉย กับจิตปราศจากอารมณ์นั้นเป็นไง ปัญหาคือจะแยกยังไง
     
  14. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๑๗ (นิวรณบรรพ)

    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕
    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
    หรือ
    เมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
    อนึ่ง
    กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณภายในจิตของเรา
    หรือ
    เมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง
    พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    หรือ
    เมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง
    ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    หรือ
    เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง
    อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อ
    วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
    หรือ
    เมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
    ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง
    วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่
    ว่า
    ธรรมมีอยู่
    ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
    และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021
  15. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    ในระหว่างครองขันธ์ 5อยู่

    มันทำได้อยู่แล้ว ก้เริ่ม จาก สัมมาสติ เกิดขึ้น

    เพราะสัมมาสติเกิดขึ้น มันจะ สัมปยุติ ในองค์ มรรค รวมเป็นหนึ่ง

    จากสังขาร จึงเรียกว่าเป็น วิสังขาร

    ที่เรียกว่า วิสังขาร เพราะมันไม่พัวพัน สำคัญตนในที่ใดๆ เป็นการปล่อยวางโดยอัตโนมัติ

    ส่วนจะแยกยังไง ก้ไม่ใช่ปัญหา
    หากมีความเพียร เจริญสติ ใน 21 วิธี อย่างต่อเนื่องเนืองๆ
    มันแยกได้แน่นอนอยู่แล้ว เมื่อ สัมมาสติมันเกิด

    ส่วนปัญหาจริงๆ ก็มาจากความขี้เกียจ เป็นต้น
     
  16. ปวีรัศม์ชา

    ปวีรัศม์ชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    703
    ค่าพลัง:
    +642
    พ้อยด์คือความรู้สึกตัว ทำมากๆ เด่วจิตก็ตื่น

    FB_IMG_1632825676537.jpg
     
  17. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ขออนุญาตุเจ้าของกะทู้นี้นะครับ เห็นว่ากำลังพิจารณาธรรมเลยมีคำสอนที่ได้ฟังมาจากหลวงปู่บุญมา ที่ได้ฟังมาน่าสนใจ ปกติหลวงปู่พูดภาษาอีสาน แต่อันนี้ทุกคนน่าจะฟังรู้เรื่อง
     
  18. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ส่งคำขอไปทางใจก่อนแล้ว คงรู้แล้วว่า จะโพสต์ ถือว่า ขออนุญาตุ ตามกาลสมัย ไม่งั้นมันไม่ฮา 555
     
  19. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    ที่ภาวนา ทุกวันนี้ ก็เพื่อ สติตัวเดียว :D
     
  20. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๑๘ (ขันธบรรพ)

    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง
    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕
    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    พิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
    อย่างนี้ความดับแห่งรูป

    อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
    อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา

    อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา
    อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา

    อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
    อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร

    อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
    อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ

    ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
    และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...