โลกเรากำลังเกิดอะไรขึ้นขณะนี้ โปรดเตรียมแผนฉุกเฉิน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย siamblogza, 12 พฤศจิกายน 2012.

  1. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ความเห็นจาก รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรม โครงสร้างและสะพาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
    ที่มา: จดหมายข่าว IPRB ฉบับที่ 24 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554

    1. ทุกวันนี้แผ่นดินไหวทั่วโลกเกิดถี่ขี้นจริงหรือไม่?

    หากดูจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก ย้อนหลังไป 10 ปี จะพบว่า มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั่วโลกนับพันครั้งต่อวัน แผ่นดินไหวบางครั้งมีขนาดเล็กไม่เกิน 2-3 ริกเตอร์ คนไม่รู้สึกแต่สามารถตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือ

    แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างความเสียหายให้แก่อาคารบ้านเรือนมักมีขนาดเกิน 5 ริกเตอร์ขึ้นไปและเกิดในที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาก

    ซึ่งตามสถิติแล้ว แผ่นดินไหวขนาด 5.0-5.9 ริกเตอร์ จะเกิดขึ้นประมาณ 1,500 ครั้งต่อปี

    ขนาด 6.0-6.9 ริกเตอร์ เกิดขึ้นประมาณ 150 ครั้งต่อปี

    ขนาด 7.0-7.9 ริกเตอร์ เกิดขึ้นประมาณ 15 ครั้งต่อปี

    และขนาด 8.0 ริกเตอร์ขึ้นไป เกิดขึ้นประมาณ 1 ครั้งต่อปี

    ซึ่งถ้าดูตามสถิตินี้แล้ว ก็ยังไม่พบสัญญาณบ่งชี้ว่า การเกิดแผ่นดินไหวจะมีความถี่มากขึ้นผิดปกติแต่อย่างใด

    2. สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?

    สำหรับประเทศไทยนั้น มีรอยเลื่อนที่มีศักยภาพที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอยู่หลายที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพที่จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวของรอยเลื่อนในประเทศไทยนั้น ยังไม่รุนแรงเท่ากับบริเวณพื้นที่ที่เป็นรอยต่อของเปลือกโลกหรือวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)

    ซึ่งจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่ผ่านมาเกือบ 40 ปี เรามีแผ่นดินไหวขนาดกลาง (5.0-5.9 ริกเตอร์) เกิดขึ้น 8 ครั้ง หรือเฉลี่ย 1 ครั้งในรอบ 5 ปี แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 ครั้ง ภาคตะวันตก 3 ครั้ง

    โดยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบ้านเราส่วนใหญ่ มีขนาดไม่เกิน 6.0 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่า 6.0 ริกเตอร์ จะเกิดนอกประเทศทั้งนั้น

    แต่แม้แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นในระยะไกล เช่น เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย พม่า ทว่า ในพื้นที่ ที่เป็นชั้นดินอ่อนที่อยู่ห่างไกลจากจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น กรุงเทพฯ ก็สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน

    3. มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดอันตรายจากแผ่นดินไหว?

    ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายจากแผ่นดินไหว ได้แก่

    1.พื้นที่นั้นอยู่ใกล้ๆ รอยต่อของเปลือกโลกหรือวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) หรือรอยเลื่อนที่มีศักยภาพที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวหรือไม่

    2.พื้นที่นั้นตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อนหรือไม่

    3.โครงสร้างของอาคารบ้านเรือนในพื้นที่นั้น ออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวหรือไม่ ซึ่งแผ่นดินไหวขนาดกลางหากเกิดขึ้นก็ทำอันตรายได้ ถ้าเกิดขึ้นในที่ชุมชนที่มีอาคารบ้านเรือนตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อน และอาคารบ้านเรือนในพื้นที่นั้น ไม่ได้ออกแบบเพื่อป้องกันภัยแผ่นดินไหว

    4. พื้นที่และบริเวณใดบ้างในประเทศไทยที่ถือว่าเป็นที่ที่ต้องเฝ้าระวังภัยแผ่นดินไหว?

    สำหรับพื้นที่และบริเวณเฝ้าระวังภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยเรามีดังนี้ คือ

    1.พื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี

    2.พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อน ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

    3.พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อน ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน

    5. อาคารใดบ้างในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายเมื่อเกิดแผ่นดินไหว?

    อาคารที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ได้แก่

    1. ตึกแถวที่มีเสาขนาดเล็กเกินไป และมีคานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอาคารสูงไม่เกิน 4-5 ชั้น


    2. อาคารพื้นท้องเรียบไร้คานรองรับ เช่น อาคารจอดรถ อาคารสำนักงานบางแห่ง

    3. อาคารสูงที่มีดีไซน์แปลกๆ รูปทรงซับซ้อน มีส่วนเว้า ส่วนโค้ง ส่วนยื่น หรือลูกเล่นมากๆ


    4. อาคารหรือบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป เช่น ใช้คาน หรือเสาสำเร็จรูปมาต่อกัน

    5. อาคารที่ทำการต่อเติมและทำทางเดินเชื่อมต่อกัน


    6. อาคารที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น อาคารทำจากอิฐไม่เสริมเหล็ก


    7. อาคารที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกของประเทศไทย มีความเสี่ยงทุกความสูง ส่วนอาคารในกรุงเทพฯ ที่มีความสูงตั้งแต่ 5-6 ชั้น และอาคารเตี้ยที่ก่อสร้างไม่ดี ไม่มีมาตรฐาน ถือว่ามีความเสี่ยง

    อาคารที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาหลังจากที่มีกฎกระทรวงปี พ.ศ. 2550 (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550) ออกมา

    หากออกแบบและก่อสร้างอาคารตามกฎหมายนี้ก็จะทำให้อาคารมีความปลอดภัย แต่สำหรับอาคารเก่าจำนวนมากที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว

    อาคารเหล่านี้ก็จะมีความเสี่ยงและควรต้องมีการวิเคราะห์และหาวิธีเสริมความมั่นคงให้อาคารสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ในระดับเดียวกับอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ตามกฎกระทรวง

    http://www.cicc.chula.ac.th/th/2012-04-26-04-31-26/203-likelihood-of-earthquakes-in-thailand.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2012
  2. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    สัญญานเตือนแผ่นดินไหวรุนแรง เมืองไทย พร้อมรับมือบ้างหรือยัง


    เล่นทำอกสั่นขวัญแขวนไม่น้อย ! กับประชาชนในประเทศไทยที่มีโอกาสรับรู้แรงสั่นสะเทือนของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า เมื่อช่วงสายๆ วันอาทิตย์ ที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา เรียกว่าเป็นสัญญานเตือนภัยจากธรรมชาติให้ประเทศไทยได้เป็นอย่างดีว่า เราได้เตรียมพร้อมรับมือกันมากน้อยเพียงใด ?

    เหตุแผ่นดินไหว ขนาด6.5-6.8 ริคเตอร์ ที่ประเทศพม่า ทางสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า อาคารสูงใน กทม. รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเพราะมีพื้นที่เป็นดินอ่อน สำหรับแผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนสาขาย่อยของ “รอยเลื่อนสะแกง” ที่อยู่ห่างจากรอยเลื่อนหลัก 200 กม. ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดปานกลางค่อนข้างใหญ่

    ซึ่งรอยเลื่อนดังกล่าวจะอยู่เหนือเมืองมัณฑะเลย์ ของประเทศพม่า ขึ้นไปทางเหนือ 116 กม. และ อยู่ลึกลงไปใต้ดินเพียง 10 กม.เท่านั้น (จากสถิติแล้ว รอยเลื่อนสะแกงหรือที่พม่าเรียกว่าสะเกียงนั้น ในรอบ 100 ปี จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 7 ริคเตอร์ประมาณ 7-10 ครั้ง)

    เมืองมัณฑะเลย์ ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพม่า ช่วงเกิดเหตุมีบ้านเรือน วัดวาอารามได้รับความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน มีผู้เสียชีวิตทันทีอย่างน้อย 13 ศพ และ บาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลแล้ว 40 คน เป็นคนงานก่อสร้างข้ามแม่น้ำอิรวดี นอกจากนี้ บ้านพังถล่มลงมาในเมืองเล็ก ๆ ของรัฐสะกาย ทางตอนกลางของพม่า

    ก่อนหน้านี้ (วันที่ 24 มี.ค.54) ก็เพิ่งจะเกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 6.7 ริกเตอร์ ในประเทศพม่า ห่างจากทางทิศเหนือ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 30 กิโลเมตร สร้างความเสียหายเกิดรอยแยกที่ถนนลาดยางเป็นแนวยาวในประเทศพม่า

    นอกจากนี้ แรงสั่นสะเทือนยังกระทบมาถึงทางภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะ อ.แม่สาย จ.เชียงราย อาคารโรงพยาบาลเกิดรอยร้าว บ้านเรือน โบราณสถานเก่าแก่บางส่วนเสียหาย นอกจากนี้ยังเกิดรอยแยกที่ถนนลาดยางเป็นแนวยาว

    อย่างไรก็ดีในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเช้าวันพุธที่ 7 พ.ย.55 เพิ่งจะเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง 7.4 ริคเตอร์ ที่ประเทศกัวเตมาลา มีผู้เสียชีวิต 42 ศพ ความเสียหายมากที่สุดอยู่ที่เมืองซาน มาร์กอส ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ โดยมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ราว 16,000 คน

    จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ประเทศ ถือเป็นการกระตุ้นเตือนให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ว่าประเทศไทยเราได้เตรียมพร้อมให้ความรู้เกี่ยวเรื่องนี้กันมากน้อยแค่ไหนแล้ว

    เนื่องจาก ปัญหาภัยพิบัติแผ่นดินไหว นอกจากจะขยับเข้ามาใกล้บ้านเราแล้วนับวันยังมีความรุนแรงมากขึ้นอีก

    ประเทศไทยในอดีตเคยประสบกับภัยธรรมชาติมาแล้วหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น พายุไต้ฝุ่นเกย์ ถล่มภาคใต้ ช่วงเดือนพ.ย.2532 , คลื่นยักษ์สึนามิ ถล่มเล่นงานจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ภาคใต้ประเทศไทย เมื่อ 26 ธ.ค.2547

    หรือเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา มหาอุทกภัย น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์ ที่น้ำท่วมหลายจังหวัดในประเทศไทย ก่อนจะไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครชนิดไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงสร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างใหญ่หลวง

    ยังคงเหลือภัยจาก “แผ่นดินไหว” ที่ประเทศไทยยังไม่เคยได้รับผลกระทบแบบรุนแรง จึงถือเป็นเรื่องที่ไม่น่ามองข้ามอย่างเด็ดขาด ?

    ปัญหาภัยธรรมชาติ ทาง นสพ.เดลินิวส์ ได้เห็นถึงความสำคัญมาตลอด พยายามเกาะติดนำเสนอข้อมูลเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุ มหาอุทกภัย น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

    ช่วงปลายปี พ.ศ.2553 นสพ.เดลินิวส์ ได้ร่วมจัดกิจกรรมกับทางภาครัฐและเอกชน มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จัดสัมมนาเชิงวิชาการ ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม เรื่อง “เจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤติให้เป็นทางรอด” เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้เรื่องราวของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมไปถึงการเตรียมพร้อมรับมือในเบื้องต้นของประชาชนจะต้องทำอย่างไรบ้าง ?

    ถือเป็นเรื่องไม่คาดฝัน ปลายปี พ.ศ.2554 ได้มาเกิดเหตุ มหาอุทกภัย น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทย มีประชาชนจำนวนมากต้องปรับตัวเองเอาชีวิตรอดให้ได้กับวิกฤติที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

    อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ประชาชนเลยอาจจะมองข้ามหรือไม่ให้ความสำคัญสักเท่าไรนัก ซึ่งหากไปดูสาเหตุของแผ่นดินไหวจะพบว่า เกิดจากเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกที่แนวแผ่นดินไหว

    เนื่องจาก หินในชั้นหลอมละลายที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้รับความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่าง ๆ เมื่อพลังงานมีมากจึงชนและเสียดสีกันหรือแยกออกจากกัน

    นอกจากนี้ การสะสมของพลังงานที่เปลือกโลก จะถูกส่งผ่านไปยังเปลือกพื้นโลกของทวีป รอยร้าวของหินใต้พื้นโลกเรียกว่า “รอยเลื่อน” และหากรอยเลื่อนที่มีอยู่ได้รับแรงอัดมากๆ ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เช่นเดียวกัน

    ส่วนรอยเลื่อนภายในประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว เกือบทั้งหมดส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก มีประมาณ 9 แห่ง

    เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน, รอยเลื่อนแพร่, รอยเลื่อนแม่ทา, รอยเลื่อนเถิน,รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี, รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์, รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์,รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุย

    ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศพม่า ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ออกมาให้ข้อคิดค่อนข้างน่าสนใจว่า ประเทศไทยควรจับตาดูด้วย เพื่อความไม่ประมาท และอย่ามองว่าเป็นเรื่องน่าตื่นตกใจ เพราะภัยพิบัติเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องแผ่นดินไหว ยังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอะไรมาตรวจจับได้ล่วงหน้า

    ทุกประเทศจึงต่างเฝ้าจับตา เพราะเป็นเรื่องของพลังงานที่อยู่ใจกลางโลก ที่สำคัญในยุคนี้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นบ่อยขึ้น จึงถือเป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องช่วยป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

    ดังนั้น ถึงแม้เหตุการณ์ภัยธรรมชาติ จะเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจหยุดยั้งมันได้ ? แต่เราก็ต้องไม่ประมาทควรเรียนรู้และเตรียมพร้อมรับมือเอาไว้เช่นกัน !

    ทีมข่าวเฉพาะกิจ
    ที่มาสัญญานเตือนแผ่นดินไหวรุนแรง เมืองไทยพร้อมรับมือบ้างหรือยัง | เดลินิวส์
     
  3. เจ้าทองไปดี

    เจ้าทองไปดี แมว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +223
    เอิ่มมม คือว่าผมเพิ่งได้ดูข่าวน้ำท่วมเวนิส แต่ข่าวย้ำว่้าไม่เกี่ยวกับฝนตก แต่เกิดจากน้ำทะเลหนุนน... ตกลงใครถูกละครับท่านครับ
     
  4. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    กาชาดอิตาลี เร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม เวนิสยังจมน้ำ 3 ใน 4


    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2555



    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า พื้นที่ภาคกลางของอิตาลีประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างหนักจากฝนที่ตกกระหน่ำลงมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีน้ำทะเลหนุนสูง

    จนทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทัสคานี ต้องออกมาเรียกร้องให้กองทัพส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือประชาชน หลังจากมีประชาชนหลายสิบคนถูกบังคับให้ออกจากบ้านเรือนไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย

    รวมถึงถนนและสะพาน ได้รับความเสียหาย เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย


    ขณะที่กาชาดอิตาลีได้ส่งอาสามัครจำนวน 150 คน เข้าไปยังพื้นที่ภาคกลาง เพื่อจัดตั้งครัวฉุกเฉิน ทำอาหารแจกจ่ายผู้ประสบภัย

    นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่า พื้นที่เกือบ 3 ใน 4 ของเมืองเวนิส ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ต้องจมอยู่ใต้น้ำ

    รวมทั้ง จัตุรัสเซนต์มาร์ค ซึ่งเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมของเมือง กล่าวว่า น้ำท่วมครั้งนี้มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่รัฐมนตรีว่าการ

    กระทรวงสิ่งแวดล้อมของอิตาลี ได้เรียกร้องให้มีการรณรงค์ เพื่อป้องกันน้ำท่วม และภัยพิบัติจากธรรมชาติอื่นๆ ด้วย

    Manager Online - กาชาดอิตาลีเร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม เวนิสยังจมน้ำ 3 ใน 4

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล กับคำพยากรณ์ประเทศไทยในยุคโลกร้อน

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล กับคำพยากรณ์ประเทศไทยในยุคโลกร้อน | มูลนิธิโลกสีเขียว

    เรื่อง: เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์
    ภาพ: ปิยพัชร ปรีหะจินดา
    ที่มา: นิตยสารโลกสีเขียว ปีที่ 16 ฉบับที่ 93 กรกฎาคม - สิงหาคม 2550

    ความวิปริตแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าฝนตกหนักในหน้าร้อน อากาศร้อนจัดในหน้าฝน หรือฝนตกหนักสลับอากาศเย็นจัดร้อนจัดในหน้าหนาว

    ความวิปริตแปรปรวนที่ว่านี้ ถือว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยจำนวนมากหันมาสนใจปัญหาสภาวะโลกร้อน

    ท่ามกลางความตื่นตัวต่อปัญหา รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นนักวิชาการแถวหน้าคนหนึ่งของเมืองไทยที่ศึกษาปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในด้านพิบัติภัยธรรมชาติ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกัดเซาะชายฝั่ง และพยายามทำหน้าที่ทูตสิ่งแวดล้อมในการรณรงค์ด้วยการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชนถึงสาเหตุและผลกระทบที่แท้จริงของปัญหา


    โลกสีเขียว : ภายใต้สถานการณ์โลกร้อน จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย


    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : เราพบว่าภาวะโลกร้อนทำให้ฤดูกาลของบ้านเราเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นที่ฤดูฝนก่อน ฤดูฝนบ้านเรา เมื่อก่อนตั้งแต่พฤษภาคมจนถึงกันยายน ฝนจะค่อยๆ ตกไปเรื่อยๆ ซึ่งเรื่องฝน บ้านเราจะได้รับอิทธิพลอยู่ 2 ตัว

    ตัวหนึ่งคือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พาความร้อนแถวอันดามันขึ้นมา แล้วนำฝนมาตก บวกกับบางช่วงมันก็มีพายุโซนร้อนที่ก่อตัวแถวแปซิฟิก ฟิลิปปินส์ แล้วก็จะเข้าทางเวียดนาม

    แล้วตัวนี้พอเข้ามาปะทะฝั่ง ความรุนแรงก็จะลดลงกลายเป็นดีเปรสชั่น บ้านเราในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับอิทธิพลตรงนี้ในช่วงสิงหาคมถึงกันยายน แล้วเราก็พบว่าเมื่อก่อนเวลาฝนตก จะตกแบบค่อยๆ เฉลี่ย

    เมื่อก่อนบ้านเราเย็นสบาย แต่ภาวะโลกร้อนทำให้รูปแบบการตกของฝนเปลี่ยนแปลงไป คือจะตกก็ตกเยอะเลย บางทีตกมากกว่าทั้งปีในอดีตรวมกันเสียอีก แล้วพอตกมาเสร็จก็จะทิ้งช่วง

    เพราะฉะนั้น ในฤดูฝนเราจะร้อนอบอ้าวมากขึ้น รูปแบบนี้จะเห็นได้ชัดเลย โดยเฉพาะในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมา แล้วลักษณะฝนที่เปลี่ยนแปลงไป มันจะทำให้พิบัติภัยตามมาเยอะแยะในหน้าฝน เช่น แผ่นดินถล่ม น้ำท่วม

    จากที่ผมติดตาม เรื่องแผ่นดินถล่มมันเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า คือ ทศวรรษ 30 เราเจอแผ่นดินถล่มครั้งเดียวที่ภาคใต้ แต่พอขึ้นทศวรรษ 40 นี่ ถล่มเยอะเลย คือในช่วง 10 ปีหลังนี้ ลักษณะฝนตกจะเป็นลักษณะที่ผมว่า ค่อนข้างจะเยอะมากเลย

    แล้วแผ่นดินถล่มนี้จะเกิดที่ปาย ที่วังชิ้น แม้กระทั่งที่จันทบุรี ทั่วประเทศ เยอะมากเกือบทุกปีจะเกิดแผ่นดินถล่ม น้ำป่าด้วย แล้วบ้านเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ทางซีกโลกเหนือปกติในช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม เป็นช่วงที่แกนโลกมันหันมาทางดวงอาทิตย์ ปกติแล้วในซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อน

    แต่บ้านเรามันไม่ร้อน เพราะว่ามันเป็นฤดูฝน ฝนตก มันทำให้หน้าฝนของเราร้อนมาก ร้อนอบอ้าว ร้อนจัด ซึ่งวันนี้ก็ร้อนมาก คือพอไม่มีฝนตก ก็ร้อนตูมเลย อันนี้คือฤดูฝน

    โลกสีเขียว : ความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบฝน จะส่งผลกระทบอะไรติดตามมาบ้าง

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : ถ้าดูความแปรปรวนของฝนนี้ เราพบว่าช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ปริมาณฝนในบ้านเราจะไม่ค่อยแตกต่างจากในอดีต เฉลี่ยแล้วปริมาณน้ำฝนใกล้เคียงกันมาก แต่ลักษณะการตกเปลี่ยนแปลงไป

    คือตกซู่ใหญ่แล้วหาย ซึ่งในขณะที่ปริมาณฝนตกใกล้เคียงกันนะ ก็ยังเกิดแผ่นดินถล่มมากขึ้นเป็น 10 เท่า

    แต่ในอนาคตอีก 30 ปีถัดไปนี้ ฝนในบ้านเราจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 11-15 เปอร์เซ็นต์ ตัวนี้ยิ่งอันตรายใหญ่เลย เรื่องแผ่นดินถล่ม น้ำท่วม จะมีมากขึ้นคือเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร

    จะสังเกตว่า เร็วๆ นี้เราได้ยินข่าวเยอะเลย อย่างทางภาคเหนือและภาคกลาง ชาวนาเริ่มหว่าน พอหว่านเสร็จ ฝนมาเยอะไป มันท่วม เสียหายมากเลย หรืออย่างปลายปีที่แล้ว ตอนจะเก็บเกี่ยว พอข้าตั้งท้องเริ่มจะเก็บเกี่ยว

    ปกติฝนไม่มาแล้วแต่นี้ฝนมา ก็ท่วม เสียหาย โดยเฉพาะข้าว เราพบว่าจะมีผลกระทบมากในอนาคต

    โลกสีเขียว : แล้วความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในฤดูหนาวล่ะ

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : ภาวะโลกร้อนนอกจากจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ฝนเปลี่ยนแปลงแล้วนี่มันทำให้มรสุมมีการเปลี่ยนแปลงด้วย คือในช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามา เริ่มตึ้นแต่พฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม

    แต่จากนี้ไปเราพบว่า ลมมรสุมทั้งสองตัว ทั้งตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เราพบว่าสิปปีหลังนี่กำลังมันแรงมากขึ้น ปกติมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพาความเย็นจากไซบีเรีย จากจีนลงมา

    ดังนั้น จะทำให้หน้าหนาวบางปีของบ้านเรา มีอากาศหนาวเย็นมากอย่างปีที่ผ่านมา เราจะพบว่าจะเจอลมหนาวมาเป็นระลอกๆ แล้วบางที่แถวภาคอีสาน จะถึงกลับติดลบ อย่างนี้เราจะเห็นมากขึ้นในอนาคต แล้วมรสุมตัวนี้พอกำลังแรงแล้วดันลงมา จะทำให้เดฝนตกหนักแถวภาคใต้

    จำได้เมื่อปี 2547 เกิดฝนตกหนังทึ่ภาคใต้ เพราะมรสุมนี้ดันลงมามากแทนที่ฤดูหนาวจะไม่มีฝน ก็ฝนตก ทำให้กรีดยางไม่ได้ สร้างความเสียหาย เพราะช่วงที่กรีดยางได้ดีคือช่วงฤดูหนาว ซึ่งผลผลิตยางพารานี่ บ้านเราถือเป็นเบอร์หนึ่งเบอร์สองของโลก

    หรือย่างปีที่แล้ว มรสุมนี้ดันลงมาแรงมากๆ เราจะพบว่าที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกิดน้ำท่วมเยอะมากท่วมอย่างที่ไม่เคยท่วม ตัวนี้นอกจากจะทำให้ฝนมาตกที่ภาคใต้ มาเลเซียและอินโดนีเซียแล้ว มันจะทำให้เกิดคลื่นใหญ่ขึ้น

    เพราะลมตะวันออกเฉียงเหนือมันทำให้เกิดคลื่นปะทะชายฝั่ง ปลายปีที่แล้ว ประมาณเดือนธันวา คลื่นในอ่าวไทยใหญ่มาก สองถึงสี่เมตร ทำให้บ้านแถวสงขลาพังไปเยอะ

    แล้วจากที่ติดตามมานี้ ข้อมูลค่อนข้างจะชัด สมัยก่อนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเนี่ย เฉลี่ยแล้วทำให้เกิดคลื่นในอ่าวไทยอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร หรือ 1.2 เมตร แต่ช่วงสิบปีหลังนี่มันมาถึง 2-4 เมตร จะเห็นชัดๆ เลยว่าทิศทางก็เปลี่ยน อันนี้คือหน้าหนาว

    โลกสีเขียว : แล้วในส่วนสภาพภูมิอากาศของฤดูร้อนที่เราต้องเผชิญล่ะ

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : หน้าร้อนบ้านเราจะร้อนเร็วขึ้น แล้วตัวที่น่ากลัวมากคือพายุฤดูร้อน พายุฤดูร้อนแตกต่างจากพายุฤดูฝนตรงที่ว่า พายุฤดูร้อนฝนจะตกหนัก และมีลมกระโชกแรง แล้วก็ทำให้มีลูกเห็บตก แล้วก็ฟ้าผ่าเยอะ คนตายเพราะฟ้าผ่าในช่วง 10 ปีหลังนี้เยอะขึ้น

    เท่าที่ผมเก็บตัวเลข มีประมาณ 50 คน เฉลี่ยปีละ 5 คน แต่ในระยะยาว ๆ ฤดูร้อนบ้านเรากลับไม่ค่อยร้อนเชื่อไหมว่าโลกร้อนขึ้น ฤดูร้อนกลับไม่ค่อยร้อน เพราะพายุฤดูร้อนมากขึ้น แต่กลับกลายเป็นหน้าฝน บ้านเราในอนาคตจะร้อนมากขึ้น

    โลกสีเขียว : อย่างปัญหาเรื่องดินถล่ม สาเหตุไม่ใช่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภทหรอกหรือ

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : เราเองเริ่มที่จะเข้าไปบุกรุกป่าช่วงที่เยอะๆ ที่สุดประมาณปี 2503 แต่จะเห็นว่าประมาณปี 2500-2520 ดินถล่มแทบจะไม่มี แล้วเท่าที่ผมติดตามมา เราจะพบว่าการใช้ที่ดินก็ถือเป็นปัจจัยตัวหนึ่ง แต่เราพบว่าน่าจะเป็นปัจจัยรองจากการแปรปรวนของภูมิอากาศ

    เราจะสังเกตได้ว่าช่วง 10 ปีหลังนี้ น้ำป่าเยอะมากขึ้น ไม่ใช่ดินถล่มอย่างเดียว เราจะเห็นว่าน้ำตกของบ้านเราจะเกิดนี้ป่าที่ลงมามาก น้ำป่าแถวน้ำตกจะเกิดจากร่องน้ำมา พอมีดินถล่ม มันก็ไปขัดกัน กลายเป็นคันดิน

    พอฝนตก มันก็ไปกักน้ำ แล้วถึงจุดหนึ่ง ก็เอาไม่อยู่ เพราะมันเกิดโดยธรรมชาติ ก็แตก ก็เกิดน้ำบ่าลงมา เท่าที่ตามมา ครั้งแรกที่เราเจอคือสาริกาที่นครนายก อย่างนี้แหละจะเกิดมากขึ้น

    อันนี้ เป็นตัวบอกเลยว่า บริเวณน้ำตก คนไม่ได้เข้าไปเกี่ยว แต่ริมตลิ่งมันถล่มลงมา ไม่ใช่เพราะคนไปบุกรุกป่า แต่คนไปบุกรุกนั้นถือว่ามีส่วนเร่ง อย่างแถวอุตรดิตถ์ ที่ขึ้นไปปลูกลางสาด ถือว่ามีส่วน

    โลกสีเขียว : อย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในช่วงนี้ เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนด้วยหรือไม่

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : แผ่นดินไหวนี้ ผมถือว่าเป็นอีกขบวนการหนึ่ง ซึ่งเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นภายในโลก ผมกำลังเขียนหนังสือเลย เรื่องแกนโลกจะเอียง

    ปกติแล้ว วงจรของแกนโลกมันจะมีวงรอบของมันอยู่ ถือการขยับของแก่นโลก มันทำให้เปลือกโลกมีการขยับตัว

    ทำให้การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกมันเร็วขึ้น ผมคิดว่า แผ่นดินไหวที่เราเจอ ไม่ใช่เฉพาะบ้านเรา แต่ทั่วโลกนี่ ผมคิดว่า น่าจะเกิดจากการขยับตัวของแกนโลก ซึ่งแกนโลกมันมีวงจรของมันอยู่ แต่บังเอิญมันเกิดในช่วงเดียวกัน

    โลกสีเขียว : ทราบมาว่าอาจารย์ศึกษาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งด้วย ภาวะโลกร้อน มาเกี่ยวข้องกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างไร

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : เกี่ยวโดยตรง เพราะภาวะโลกร้อน ปกติโลกของเรามันจะมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ แล้วมันมีวงจรอยู่แล้วในยุคน้ำแข็ง และยุคน้ำแข็งละลาย

    พอโลกร้อน น้ำแข็งก็ละลายลงมา ระดับทะเลก็สูงขึ้น แต่ในอดีต ในช่วงที่เป็นยุคน้ำแข็ง น้ำแข็งจะไปสะสมตัวที่ขั้วโลกเยอะ สังเกตได้ว่า ต่อไปนี้ภาวะโลกร้อนจะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 2-4 องศาใน 100 ปี เราพบว่าตัวนี้จะทำให้ระดับน้ำทะเลในบ้านเราสูงขึ้นอีกประมาณ 30-60 เซนติเมตร

    ซึ่งการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลนี้ จะมีผลต่อชุมชนที่อยู่บริเวณชายฝั่ง แล้วการเพิ่มขึ้นตรงนี้มันทำให้การตกัดเซาะรุนแรงมากขึ้น จากที่เราติดตามมา เราพบว่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ในประเทศไทยหายไปประมาณ 110,000 ไร่

    พูดง่าย ๆ คือ เราเจอปัญหาการกัดเซาะทั่งในอ่าวไทยและอันดามัน ชายฝั่งทะเลเรา เรามีประมาณ 2,600 กิโลเมตร เราพบว่า พื้นที่ที่ถูกกัดเซาะระดับปานกลางและระดับรุนแรง ระดับปานกลางคือมากกว่า 5 เมตรต่อปี รุนแรงคือมากกว่า 10 เมตรต่อปี

    เราพบว่า สองตัวนี้พวกกันประมาณ 600 กิโลเมตร คือ ถ้าเฉลี่ยเป็นเปอร์เซ็นต์ คือประมาณ 21 เปอร์เซ็นของพื้นที่ชายฝั่ง แล้วจุดที่รุนแรงที่สุดในอ่าวไทยและอันดามัน มีอยู่ 30 จุดที่ต้องระวัง

    จุดที่รุงแรงที่สุดอยู่บริเวณอ่าวไทยตอนบน ก็คือ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร ตรงนี้เราพบว่า บางพื้นที่ถูกกัดเซาะไปแล้วประมาณ 1 กม. ในช่วง 30 ปี อย่างเช่นบ้านสมุทรจีน (จังหวัดสมุทรปราการ) และแถวบางขุนเทียน (กรุงเทพมหานคร) ถูกกัดเซาะไป เราพบว่าบริเวณนี้ถูกกัดเซาะในระดับปานกลางและรุนแรงประมาณ 82 กิโลเมตร

    แล้วพื้นที่ที่หายไปในช่วง 30 ปีประมาณ 18,000 ไร่ แล้วจากการศึกษาหลังสุด ถ้าไม่ทำอะไรเลย บางบริเวณที่มีการกัดเซาะอีก 20 ปีข้างหน้าอัตราการกัดเซาะจะเพิ่ม 1-2 เท่า

    ซึ่งปัจจุบัน แถวบ้านขุนสมุทรจีนอัตราการกัดเซาะอยู่ที่ 30 เมตรต่อปี แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย อัตราการกัดเซาะตรงนี้จะขึ้นไปถึง 65 เมตรใน 20 ปีข้างหน้า แล้วพื้นที่บางที่ในบริเวณนี้จะหายไปประมาณ 1.3 กิโลเมตรใน 20 ปีข้างหน้า

    โลกสีเขียว : สาเหตุหลัก ๆ มาจากน้ำทะเลสูงขึ้นหรือ

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : มีหลายส่วน ส่วนหนึ่ง เราเชื่อว่าเกิดจากผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ไม่ใช่แต่เรื่องน้ำทะเลสูงขึ้น ภาวะโลกร้อนทำให้มรสุมที่ผมเล่า มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเรื่องของคลื่น ที่เข้ามาปะทะชายฝั่ง ปรากฏว่ามีมากขึ้น แล้วทิศทางก็เปลี่ยนแปลง

    สองตัวนี้จะเป็นสาเหตุโดยธรรมชาติ อันนี้คือกลุ่มหนึ่ง กลุ่มที่สองคือมนุษย์มีส่วนเร่งทำให้เกิดเร็วขึ้น ก็คือ เรื่องของการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ เยอะแยะเลย

    จากตัวเลขที่เราติดตาม พบว่าหลังจากที่มีการสร้างเขื่อนสองตัว เขื่อนสิริกิติ์กับเขื่อนภูมิพล ทำให้ตะกอนที่จะไหลลงมาสู่ชายฝั่งลดลงประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์

    หรือการสูบน้ำบาดาลแล้วทำให้แผ่นดินทรุด คือประมาณปี 2526-2527 แผ่นดินทรุดจะอยู่ใจกลางเมือง เพราะเราสูบน้ำบาดาลขึ้นมา การประปาเองก็ใช้น้ำบาดาลในการผลิตน้ำประปา แต่หลังจากที่เรารู้เรื่องแล้ว เมื่อก่อนประมาณปี 2526 อัตราการทรุดมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งรุนแรงมาก

    จะเห็นได้ว่าแถวสยามสแควร์ต้องต่อบันได 2 ชั้น หลังจากที่มีการควบคุมแล้ว อัตราการทรุดก็ดีขึ้น แต่ว่าบางบริเวณก็ยังควบคุมไม่ได้ อย่างเช่น แถวมหาชัย แถวบางพลี บางบ่อ แถวนี้ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ปัจจุบันอัตราการทรุดอยู่ที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตรต่อปี

    แล้วที่น่ากลัวก็คือว่า การทรุดเป็นการทรุดใกล้ชายฝั่ง พูดง่าย ๆ ก็คือตัวแผ่นดินมันทรุดลงก็เหมือนกับการเพิ่มระดับของน้ำทะเล คือน้ำทะเลไม่ต้องขึ้นหรอก แต่แผ่นดินทรุด ก็เหมือนการท่วมขึ้นของน้ำทะเล

    เรียกว่า ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสัมพัทธ์ ตัวนี้จะเป็นตัวที่หนักมาก เพราะฉะนั้นเราสังเกตได้ว่า เมื่อแผ่นดินทรุด มันจะเร่งให้เกิดการกัดเซาะรุนแรง

    โลกสีเขียว : อย่างนี้แสดงว่าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้มีสาเหตุจากภาวะโลกร้อนประเด็นเดียว แต่มีสาเหตุอื่นที่สำคุญกว่าด้วยซ้ำ

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : บางจุดนะ แต่บางที่เรื่องของภาวะโลกร้อน ที่มีผลต่อการกัดเซาะนี่ก็เห็นได้ชัดอย่างเช่นที่ปากพนัง เรื่องแหลมตะลุมพุกกำลังจะหาย อันนั้นค่อนข้างจะชัดเจน คือเรื่องของกิจกรรมมนุษย์ ไม่ค่อยได้เข้าไปเกี่ยวข้อง คือเกิดจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของลมมรสุม

    ผมยกตัวอย่างให้ฟัง สองกรณีแล้วกัน คือบริเวณที่เป็นอ่าวไทยตอนบน ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ เราพบว่า ปัจจัยที่เป็นปัจจัยธรรมชาติกับปัจจัยกิจกรรมมนุษย์ มันเป็นตัวผสมกัน แล้วทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะที่รุนแรงที่สุดในประเทศ แล้วเผลอ ๆ มากที่สุดติดอันดับโลกด้วย

    ส่วนจุดที่ปากพนังนี่ เราพบว่าในอดีตกระแสน้ำชายฝั่งจะไหลจากทิศใต้ขึ้นสู่ทิศเหนือ ก็เลยทำให้เกิดแหลมตะลุมพุก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มันพัดมาทางทิศนี้ ทำให้เกิดกระแสน้ำหักแล้วเป็นอย่างนี้

    แต่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้ เนื่องจากในอดีตกำลังเขาอ่อนตัว ไม่แรงมากกระแสน้ำโดยรวมจึงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เราสังเกตได้ว่า ชายฝั่งเราในอ่าวไทยนี้ ตั้งแต่ชายแดนมาเลเซียจนถึงเพชรบุรี เราจะเจอแหลมอย่างนี้เยอะ อย่างแหลมตาซี แหลมตะลุมพุก แหลมหลวง

    แต่แหลมหลวงตรงเพชรบุรีนี้หายไปแล้ว อันนี้เป็นขบวนการที่เป็นปัจจุบัน แต่จากที่เราศึกษา เราพบว่าในอดีตเมื่อ 6,000 ปี ที่ระดับน้ำทะเลสูง ก็คือยุคน้ำแข็งละลายหรือโลกร้อนในอดีต เราพบว่าชายฝั่งลึกเข้าไปถึง 30 กิโลเมตร แล้วเราพบว่าสันทรายในอดีตจะวิ่งจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ

    เราพบว่า ลักษณะแบบนี้หมายถึงเมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังเขาแรงมาก ก็เลยทำให้ทิศทางของกระแสน้ำชายฝั่งกลับทิศกับปัจจุบัน อันนี้เป็นข้อที่เราค้นพบ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่เราศึกษา

    จากข้อมูลลมที่เราได้จาก สถานีที่นครศรีธรรมราช เราพบว่าช่วง 10 ปีหลัง ลมมรสุมตะวันอออกเฉียงเหนือกำลังเขาแรงมากขึ้นจากเดิมที่อยู่ประมาณ 9 นอต เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 14 นอต แล้วทิศทางก็เปลี่ยน จากข้อมูลตรงนี้เราก็มาทำแบบจำลอง ก็พบว่าแหลมจะหายไป

    แล้วจากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศตั้งแต่ปี 2518 ปี 2538 และปี 2545 มาซ้อนกัน เราพบว่าที่แหลมตะลุมพุกมันมีการกัดเซาะทั้งสองด้าน ข้างหนึ่งประมาณ 3-5 เมตร อีกข้างประมาณ 2-3 เมตร ซึ่งแหลมนี้มีความกว้างประมาณ 500 เมตร

    ถ้าอัตราการกัดเซาะตรงนี้รวมกันประมาณ 8 เมตรต่อปีนี้ เชื่อว่าใช้เวลาประมาณ 60 กว่าปี แหลมก็จะขาดหาย บริเวณนี้เป็นจุดที่ชัดมากที่ภาวะโลกร้อนทำให้กระแสน้ำมีการกลับทิศ แล้วจะทำให้ลักษณะชายฝั่งเราจะเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ

    โลกสีเขียว : ทีนี้ในส่วนของการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง ปัจจุบันในหลายพื้นที่มีการไปสร้างเขื่อนกันคลื่น สิ่งนี้เป็นวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องไหม

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : บางจุดใช้ได้ แต่อันที่จริงเราต้องดูทั้งระบบ เราพบว่าการสร้างเบรกวอเตอร์ หรือเขื่อนกันคลื่นตรงนี้ เราต้องมีการบูรณะชายหาดไปพร้อม ๆ กัน เพราะว่ามันไม่ได้มองทั้งระบบ เป็นการแก้เฉพาะจุด บางครั้งการลดคลื่นตรงนั้น มันเป็นการไปดึงเอาทรายจากที่อื่นมา แล้วทำให้ที่อื่นพังค่อนข้างเยอะ

    เพราะฉะนั้น การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะต่อไปในอนาคต มันต้องมองทั้งระบบ ว่าเรื่องโลกร้อนทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น มรสุมเปลี่ยน ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนชายฝั่งของเราคงจะเจอการกัดเซาะมากขึ้น

    สิ่งแรกที่เราจะต้องทำคือ เร่งศึกษาชายฝั่งเราทั้งหมดแล้วจัดลำดับความสำคัญว่า บริเวณไหนที่มีผลกระทบต่อคนมากๆ นั่นคือ เมื่อเราลงทุนตรง นี้แล้วมันคุ้มที่จะกลับมา

    ยกตัวอย่างเช่น สองจุดที่กำลังโดนกัดเซาะอย่างหนักเลย ที่บริเวณอ่าวไทยตอนบนกับแหลมตะลุมพุก แต่ที่ตะลุมพุกไม่มีคนอยู่เลย แต่เราไปลงทุนก่อสร้างมันก็ไม่คุ้ม เราต้องจัดลำดับความสำคัญ แล้วก็ต้องเลือกวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม ที่มีผลกระทบต่อข้างเคียงน้อยมาก เอามาใช้

    ผมยกตัวอย่างที่บ้านขุนสมุทรจีน เราใช้โครงสร้างที่เราดีไซน์เป็นพิเศษ พอนนี้เราปักเสาสามเหลี่ยมในทะเลเป็นสามแถว เพื่อลดพลังงานคลื่น ให้ตะกอนมาตก แล้วดินงอก ปัจจุบันนี้เราค้นพบว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ ซึ่งเราได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และตรงนี้มันจะเป็นเขื่อนที่เราเรียกว่าเขื่อนเขียว

    แต่จริงๆ ต้องเรียกว่า เขื่อนสลายกำลังคลื่น ชื่อทางการคือขุนสมุทรจีน 49 เอ 2 ปกติแล้วการกัดเซาะฝั่งที่เป็นหาดโคลนในโลกนี้ยังไม่มีใครประสบความสำเร็จในการป้องกัน ของบ้านเราประสบความสำเร็จในการทำตรงนี้ บีบีซี.ก็มาสัมภาษณ์ รอยเตอร์ก็มา แล้วการจดสิทธิบัตร ผมก็คิดว่า จะไล่จดในต่างประเทศด้วย เพราะมันเป็นองค์ความรู้ของบ้านเรา

    โลกสีเขียว : หน้าตาของเขื่อนเขียวที่ว่านี้เป็นอย่างไร

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : ลักษณะคือเราจะทำเขื่อนออกไปสู่นอกทะเลประมาณ 500 เมตร โดยใช้เสาสามเหลี่ยมปักเป็นสามแถวสลับฟันปลา เวลาคลื่นเข้ามา มันมีการสะท้อนของคลื่นและลดความแรง คือเราเองไม่อยากไปสร้างกำแพงกันคลื่น

    เพราะพอคลื่นกระทบปุ๊บ มันก็จะม้วนแล้วกัดฐาน แพล้วพอลดความแรงของคลื่นได้ แล้วเนื่องจากตรงนี้เป็นหาดโคลน ตะกอนที่พามาก็จะเกิดการสะสมตัว ปัจจุบันนี้เราทดลองทำไปแล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หลังจากติดตั้งไปสองเดือน ดินงอกมาเยอะมาก ดินงอกมาประมาณ 30 เซนติเมตร

    แล้วคลื่นเท่าที่เราดู มันลดความแรงไปเยอะมาก ตอนนี้เราเริ่มมีการปลูกป่าชายเลน คือเราจะมีการปลูกป่าชายเลนตาม ซึ่งนอกจากจะเป็นแนวป้องกันแผ่นดินของเราแล้ว ยังเป็นการฟื้นฟูธรรมชาติด้วย เพราะป่าชายเลนเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์

    โลกสีเขียว : ในกรณีที่เป็นหาดทราย วิธีการป้องกันจะเป็นแบบเดียวกันไหม

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งตอนนี้เราก็มีการดีไซน์ และเร่งจะจดสิทธิบัตรอีก 5 อันตามหลัง แต่ตอนนี้เรายังไม่เปิดเผย เพราะว่าเรายังไม่ได้ลงไปศึกษา แต่ว่าหาดทรายนั้นง่ายกว่า ในโลกนี้ สำหรับหาดทรายเขาจะใช้เป็นตัวหนอน

    ในญี่ปุ่นกับในสหรัฐอเมริกา จะใช้กันเยอะ ของเราก็อย่างที่ระยอง ซึ่งก็สร้างปัญหาเหมือนกัน ถ้าเราทิ้งไม่ดี มันก็จะกัดและทรุด อย่างไรก็ดี เท่าที่ผมศึกษา บ้านเราจะไม่ใช่หาดทรายล้วนๆ

    หาดทรายอย่างแถวภาคใต้หรืออะไรนี่ มันจะแปะอยู่บนหาดโคลน คือพูดง่ายๆ มันจะมีทรายแปะอยู่นิดเดียว ตรงนี้เราจะไม่เหมือนของญี่ปุ่นที่เป็นหินและทราย แต่ของบ้านเราข้างใต้เป็นโคลน เป็นดิน ซึ่งเราต้องใช้วิธีของเราเอง

    โลกสีเขียว : เท่าที่ฟังมา พอจะประมาณได้ว่าปัญหาการกัดเซาะฝั่งเป็นปัญหาที่รุนแรง ทีนี้ในแง่ของหน่วยงานรัฐมีความตระหนักและตอบสนองต่อปัญหานี้มากน้อยขนาดไหน

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : หลังจากที่เราศึกษาตรงนี้ และพยายามเปิดสู่สาธารณะ แล้วเผอิญเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา คลื่นมันใหญ่มาก ชาวบ้านกลัวมาก สูงตั้ง 4 เมตร แล้วพัดบ้านเขาหายไปเป็นหลังๆ

    ตอนนี้ หน่วยงานของรัฐให้ความสนใจมากขึ้น แล้วปลายปีที่แล้ว ในหลวงทรงตรัสเป็นห่วงภาวการณ์กัดเซาะ ตอนนี้หลายหน่วยงานเข้ามาเยอะมาก แต่สิ่งที่ผมกลัวก็คือพอเรื่องดังปุ๊บ ต่างคนจะต่างทำ โดยที่ไม่ได้ใช้หลักวิชาการ แล้วมันจะทำให้เละ หมายถึงว่าเอาหินไปทิ้งบ้าง ทำกลอย ไม่ได้ใช้หลักวิชาการ

    แล้วแต่ละหน่วยงานก็ต่างคนต่างทำ ไม่ได้ประสานงานแล้วก็แข่งกันทำด้วย นี่คืออันตราย ชายฝั่งนี่มันค่อนข้างเป็นระบบที่ซับซ้อน เราทำจุดหนึ่งแม้กระทั่งหยิบทรายมากำหนึ่งนี่ ก็มีผลกระทบ

    เพราะฉะนั้น เราทำ เราต้องดูทั้งหมด เราต้องดูทั้งหมด ผมกลัวมากก็คือพอเรื่องยิ่งดัง ก็ยิ่งทำกัน ทีนี้ล่ะเละเลย มันต้องใช้หลักวิชาการ มีการทดลองทำ แล้วก็มีการติดตั้ง มีการวัดตะกอน ก่อนที่เราจะขยายไปใช้จริง

    โลกสีเขียว : ย้อนกลับไปตอนต้นที่อาจารย์กล่าวว่าโลกเคยประสบภาวะโลกร้อนมาก่อน แล้วโลกร้อนในอดีตกับโลกร้อนในปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : จากการศึกษา เราพบว่า ในช่วงหนึ่งล้านปี เราจะเจอภาวะโลกร้อนกับโลกเย็นหรือง่ายๆ คือยุคน้ำแข็งกับยุคน้ำแข็งละลาย ยุคน้ำแข็งก็คือโลกเย็น ยุคน้ำแข็งละลายคือโลกร้อน เราตัดมาศึกษาเฉพาะในช่วง 2

    ยุคที่ใกล้กับเรา เราพบว่า ช่วงโลกร้อนครั้งหลังสุดอยู่ที่ประมาณ 125,000 ปี อุณหภูมิจะสูงกว่าในปัจจุบัน 2-4 องศาเซลเซียส เสร็จแล้ว โลกก็เข้าสู่ภาวะเย็นลง จนกลายเป็นยุคน้ำแข็ง ครั้งที่แล้ว อยู่ประมาณ 20,000 ปี

    ตัวนี้อุณหภูมิต่ำกว่าปัจจุบัน 2-8 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลในช่วงยุคน้ำแข็งเมื่อ 20,000 ปี ต่ำกว่าปัจจุบันประมาณ 130 เมตร หลังจากนั้นเอง โลกเข้าสู่ภาวะน้ำแข็งละลายปัจจุบัน แล้วจุดที่ละลายเยอะที่สุดคือ เมื่อ 6,000 ปี

    ซึ่งจุดนี้น้ำแข็งละลายเร็วมาก เราพบว่า โลกร้อนที่เกิดจากตรงนี้ มันเกิดจากก๊าซมีเทนไฮเดรตที่อยู่ในทะเล มีเทนไฮเดรตก็คือเป็นกรีนเฮ้าส์แก๊สตัวหนึ่ง คือถ้าอุณหภูมิในทะเลสูงกว่า 27 องศาเซลเซียสเมื่อไหร่ มันจะกลายเป็นก๊าซทันที

    แล้วคุณสมบัติของตัวมันเอง มันจับความร้อนได้ดีกว่าก๊าซคาร์บอนออกไซด์ประมาณ 30-40 เท่าตัว แต่ตัวมันเองอยู่ในวัฏจักรธรรมชาติประมาณ 20-30 ปี พูดง่ายๆ มีเทนหนึ่งตัว กว่าจะสลายแล้วกลับไปอยู่ในรูปเดิม ใช้เวลาประมาณ 20-30 ปี

    ซึ่งโลกร้อนในอดีต มันเกิดจากมีเทนไฮเดรตทั้งนั้น แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนี้ เราเรียกว่าภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในลักษณะผิดปกติ ที่เกิดจากการเพิ่มของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวหนึ่ง

    โดยที่เราพบว่า ช่วงที่โลกร้อนในอดีต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวนี้ ไม่ได้เพิ่มมาก และโดยเฉลี่ยแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดนั้น มันอยู่ที่ 286 ส่วนในล้านส่วน เมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว

    แต่ปัจจุบันนี้ หลังจากการปฏิบัติอุตสาหกรรม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นมาก ปัจจุบันสูงขึ้นเป็น 390 กว่าส่วนในล้านส่วน แล้วคาดการณ์ว่า มันจะสูงขึ้นเกือบถึง 500 ส่วนในล้านส่วน

    ถ้าเราไม่มีการควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวหนึ่งมันจะอาจจะสูงมีเทนไม่ได้ แต่ข้อเสียก็คือ มันตกค้างอยู่ในวัฎจักรธรรมชาติ 200-300 ปี

    เพราะฉะนั้น เราจะสังเกตว่า แม้เราจะหยุดการเผาไหม้ หยุดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี่ มันก็ยังคงทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง

    โลกสีเขียว : ที่ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะอยู่ในวัฏจักร 200-300 ปีนี้ หมายความว่าอย่างไร

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีวัฏจักรของมันอยู่ คือส่วนหนึ่งจะอยู่ในรูปก๊าซส่วนที่สองอยู่ในรูปของเนื้อเยื่อ เช่น พืช คน ส่วนที่สามนี่ถือเป็นส่วนใหญ่

    คืออยู่ในรูปของอินแอคทีฟ คือปิโตรเลียม พวกนี้จะหมุนกัน เช่นเมื่อปิโตรเลียมเกิดการเผาไหม้ ก็จะเป็นก๊าซ วัฏจักรตรงนี้มันใช้เวลา 200-300 ปีที่จะกลับไปอยู่ในรูปของปิโตรเลียม

    โลกสีเขียว : หมายความว่าภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นนี้จะต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 200-300 ปี แม้เราจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตามเป้าหมายในตอนนี้

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : ใช่ แล้วอีกประเด็นหนึ่งก็คือ มันเป็นจุดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าในอดีต เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่างเช่นรูปแบบฝน พายุ อันนี้คือสิ่งที่น่าเป็นห่วง

    โลกสีเขียว : ในเมื่อโลกจะยังคงต้องร้อนขึ้นต่อไปอีกอย่างน้อย 200-300 ปี เราก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับการแก้ไขสิ

    รศ. ดร.ธนวัฒน์ : ทุกวันนี้ มนุษย์รังแกธรรมชาติมากเกินไป ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย วันนี้ยังคงใช้ชีวิตเดิมๆ มันเหมือนกับตอนนี้ที่เราเจอภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน มันเป็นสมบัติของคน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 สร้างให้เรา เราอยู่ในศตวรรษที่ 21 เราก็กำลังจะสร้างสมบัติให้คนในศตวรรษที่ 22 และ 23

    เป็นสมบัติที่คนไม่อยากได้ และเป็นสมบัติที่ แม้เราลดการใช้พลังงานเอง หรือเราหยุดเอง แต่คนอื่นไม่หยุด ก็กระทบเรา เพราะฉะนั้น ตรงนี้เป็นมิติที่ซับซ้อน ไม่ใช่เป็นเรื่องตัวโครตัวมัน

    กระทั่ง เราเองปลูกต้นไม้ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะช่วย แต่อย่างน้อยที่สุด ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย มันจะหนักกว่านี้ แล้วก็หนักแบบคาดการณ์ไม่ได้ แต่ถ้าเราช่วยกันก็อาจผ่อนหนักเป็นเบา รุ่นลูกหลานเราก็จะกระทบน้อยลง

    โลกสีเขียว : เพราะฉะนั้นอาจารย์มองว่าทางออกในระดับนโยบายอย่างไร

    รศ.ดร.ธนวัฒน์ : ผมมองใน 3 ระดับ คือหนึ่งในส่วนของรัฐบาล รัฐบาลจะต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนมากขึ้น คือต้องมีการตั้งสถาบันเหมือนประเทศอี่นๆ เหมือนในญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลี ก็มีการตั้งสถาบัน เพื่อศึกษาเพื่อที่จะรับมือ พยายามที่จะค้นหาพลังงานสะอาด

    แล้วก็ดูแลในเรื่องเวทีโลก มีการซื้อขายคาร์บอนไดออกไซด์บัดเจด รัฐเองก็ต้องมีการศึกษาว่าปลดปล่อยเท่าไร และมีการต่อรองกัน เพื่อให้อุตสาหกรรมของเราดำเนินไปได้ ในแง่ของหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา ก็จะต้องเร่งผลิตคนที่มีความรู้ทางด้านโลกร้อน

    เช่น ปรับปรุงเรื่องพันธุ์ข้าว โรคแมลงที่จะเกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งโรคภัยไข้เจ็บทางด้านสาธารณสุขด้วย ปัญหาภาวะโลกร้อนจะก่อให้เกิดโรคใหม่ๆ ขึ้น ที่เราเรียกว่าโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ ศึกษาเรื่องพลังงานสมัยใหม่ ศึกษาเทคโนโลยีที่ใช้จับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

    ผมคิดว่า ตอนนี้สหรัฐฯ กำลังเร่งศึกษาอยู่ ส่วนปัจเจกบุคคล จะต้องส่งเสริมให้ทุกคนรู้จักความพอเพียง คือใช้แค่พอสมควร ไม่ใช่บ้านคุณมีตังค์ ก็เปิดไฟทั้งคืน รู้จักบริโภคพอสมควร ลดขยะเพราะมีขยะ คุณก็ต้องไปเผาใช่ไหม และที่สำคัญคือ ต้องรณรงค์ปลูกต้นไม้ เอาที่บ้านเรานั่นแหละทุกคนลงมือช่วยกันได้
     
  5. one14300

    one14300 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +212
    ไม่รู้อ่ะผมเชื่อว่ามนุษย์เราจะอยู่ได้อีก 2445ปี
     
  6. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    อยู่ได้สิ ไม่สูญพันธุ์หรอก แต่คุณภาพชีวิตจะเป็นยังไง เหลือจำนวนเท่าไหร่ นั่นอีกเรื่อง
     
  7. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ลองดูข่าวจากสำำนักข่าว RT โพสท์ไว้ตั้งแต่ 01 November, 2012, 15:46
    High tide floods Venice (PHOTOS)
    Water levels rose to critical levels overnight in Venice, as a high tide forced tourists to wait it out in knee-deep water. The city was put on high alert as water was not expected to recede for at least 15 hours.
    Over half the city was flooded, with water reaching above 140cm, making it the highest tide since December 2010.

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    more picture:
    High tide floods Venice (PHOTOS) — RT

    Venice’s Hungry Tide: Floods Hit 70% of Italian City
    Nov. 12, 2012

    [​IMG]
    A view shows St. Mark's Basilica during flooding in Venice on Nov. 11, 2012. More than 70% of the city has been left flooded after it was hit by an extreme high tide

    Read more: A general view toward St. Mark's Basin during exceptionally high water | Venice’s Hungry Tide: Floods Hit 70% of Italian City | TIME.com

    Read more: A general view toward St. Mark's Basin during exceptionally high water | Venice’s Hungry Tide: Floods Hit 70% of Italian City | TIME.com

    ลองค้นดูครับ แล้วแต่สำนักข่าว เมืองเวนิสน้ำมักจะท่วมตลอดอยู่แล้ว
     
  8. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    มาจาก 2445+2555 = 5000 ใช่ใหมครับ
     
  9. puvadon777

    puvadon777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,076
    ค่าพลัง:
    +5,890
    ลองอ่าน
    Overpopulation
    "Overpopulation is a generally undesirable condition where an organism's numbers exceed the carrying capacity of its habitat. The term often refers to the relationship between the human population and its environment, the Earth,[1] or smaller geographical areas such as countries. Overpopulation can result from an increase in births, a decline in mortality rates, an increase in immigration, or an unsustainable biome and depletion of resources. It is possible for very sparsely populated areas to be overpopulated if the area has a meager or non-existent capability to sustain life (e.g. a desert)."

    Overpopulation - Wikipedia, the free encyclopedia
     
  10. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,634
    ได้อภิญญาอยู่ได้ ถ้ายังไม่ถึงวาระจะต้องไป ก็เจริญสมาธิให้ก้าวหน้าให้มาก แถวเขาพนมฉัตร เพชรบูรณ์ มีพระอภิญญานับพันรูป แต่คนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เจอ มีแต่พระท่านที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดถึงได้พบเห็น
     
  11. ชัยธนันท์

    ชัยธนันท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    859
    ค่าพลัง:
    +1,488
    เขามาเตือนให้เราได้เห็นจนจะรอบบ้านเราแล้ว แล้วแต่เราเองเห่อะว่า เห็นแล้วคิดว่ายังไง
    ผมว่าคิดถึงทางหนีทีไล่ ก็ไม่น่าจะเสียหาย ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรก็ดีเป็นการเตรียมพร้อมรับมือ เป็นการตั้งอยู่บนความไม่ประมาท
     
  12. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    จากข่าวสารข้อมูลจะเห็นได้ว่า ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มันเปลี่ยนแปลงของมันไปเรื่อย เรื่องภัยธรรมชาติ บางทีมันก็เกิด บางทีมันก็ไม่มี นี่แหละ โลกนี้มันไม่เที่ยง ไม่แท้ ไม่ทน

    คนที่อาศัยโลกอยู่ ก็ควรเตรียมใจ แล้วก็เตรียมตัวให้ดี อย่าไปวิตกกังวลเกินไป แต่ก็อย่าประมาท

    เอาเป็นว่า ให้คอยระลึกเข้าไว้บ่อยๆ ว่า " โลกนี้หนอ สังขารนี้หนอ ทุกสรรพสิ่งหนอ ไม่เที่ยง ไม่แท้ ไม่ทน "

    แล้วก็สร้างคุณงามความดี ทำใจให้อยู่ในบุญ เอาไว้ทุกเมื่อ
     
  13. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ท่าน ว.เตือนสติ "วันนี้สำคัญ กว่าวันโลกแตก"

    พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี ได้ออกมาเตือนสติคนในสังคม ที่กำลังตื่นกลัวเรื่องโลกแตกว่า เรื่องภัยพิบัติธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นบนโลกในตอนนี้ ในมุมของพุทธศาสนา ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าตื่นเต้น เพราะธรรมชาติคือธรรมะ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นปกติ ทุกสรรพสิ่งย่อมเป็นเช่นนั้นเอง

    สำหรับคนที่พูดถึงเรื่องโลกแตก มันยังมาไม่ถึง ไม่ต้องกังวล เป็นเรื่องของ "วันหน้า" แต่ที่สำคัญคือ เราจะใช้ "วันนี้" ให้ดีที่สุด ให้คุ้มค่าได้อย่างไร ?

    เหมือนกับที่สตีฟ จ็อบส์ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซีอีโอ.ของโลก เคยกล่าวไว้ว่า "จงใช้ชีวิตดังเหมือนหนึ่งว่าทุกวันคือวันสุดท้าย" หากถือคตินี้ เราจะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีแก่นสาร เลิกประพฤติตัวเหลวไหล

    ถ้าเราทำวันนี้ให้ดีที่สุด วันนี้ที่อยู่ในมือของเรา ท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นอดีตที่ดี ทั้งยังเป็นรากฐานของวันพรุ่งนี้ที่มั่นคง เพราะฉะนั้น ถึงโลกจะแตกก็ไม่น่ากังวล เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่เราจะใช้ชีวิตอย่างไรก่อนที่โลกจะแตกต่างหาก

    http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02p0102140454&sectionid=0201&day=2011-04-14
     
  14. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    มันมาแล้ว

    ปลอดประสพ เฝ้าระวังพายุก่อตัว 24 ชม. ผวาเกิดสตอร์มเสิร์จ

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

    14 พย 2012

    ปลอดประสพ เฝ้าระวังพายุดีเปรสชั่นก่อตัว 24 ชั่วโมง ผวาเกิดสตอร์มเสิร์จ ไม่ฟันธงรุนแรงเท่าพายุเกย์ บอกต้องดูความเร็วลม และลมเหนือควบคู่กันไป

    วันนี้ (14 พฤศจิกายน) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยถึงกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนพายุดีเปรสชั่น ที่ขณะนี้ก่อตัวในทะเลจีนใต้ และจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย และทำให้พื้นที่ในภาคใต้เกิดฝนตกหนักว่า ขณะนี้่พายุแปรปรวนมาก จากที่ตนพูดไว้เมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน ว่าจะไม่เกิดพายุอีกแล้ว แต่ก็มีขึ้นจนได้

    นายปลอดประสพ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาสถิติเส้นทางพายุย้อนหลัง 5-6 ปี พบว่า หากพายุเกิดขึ้นที่ปลายแหลมญวน พายุดังกล่าวก็น่าจะเข้าอ่าวไทยตอนบน และตอนกลาง ซึ่งหากพายุเข้าอ่าวไทยตอนบน จังหวัดที่จะได้รับผลกระทบ คือ ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงมา แต่ถ้าพายุเข้าอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ คือ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงมา ทั้งนี้ ตนต้องขอเวลาติดตามดูภายใน 24 ชั่วโมง แล้วจะเริ่มทำการเตือนประชาชน เรือประมง และร้านค้าริมน้ำว่า อาจจะเกิดน้ำท่วมแผ่นดินถล่ม หรือสตอร์มเสิร์จได้

    ถ้าถามว่าความรุนแรงของพายุลูกนี้ จะรุนแรงเทียบพายุเกย์ในอดีตได้หรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ตนยังไม่กล้าประเมิน แต่ขอติดตามดูตลอด 24 ชั่วโมง ว่าความเร็วลมจะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน และยังต้องขึ้นอยู่กับลมเหนือด้วยว่าจะแรงเพิ่มหรือไม่ เพราะลมทั้งสองอย่างนี้ส่งผลต่อกัน ดังนั้น เราต้องไม่ประมาทเด็ดขาด

    ส่วนกรณีที่เจ้าหน้าที่บริเวณแท่นขุดเจาะน้ำมันเริ่มอพยพหนีพายุนั้น นายปลอดประสพ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาต้องกลัว เพราะเวลามีพายุเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ก็ต้องมีการย้ายเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง ถึงแม้ว่าแท่นขุดเจาะจะรับความเร็วลมได้ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ตาม

    ท้ายนี้ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ขณะนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพร้อมแล้ว โดยทาง กบอ. จะประสานงานกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับพายุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2012
  15. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605

    ตาเราบ้างแล้วหรือนี่?!


     
  16. Power of earth

    Power of earth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +1,105
    เนื้อหาในเพลงเป็นอย่างไรครับ....
     
  17. a5g1aeka

    a5g1aeka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    728
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ขอบคุณครับที่โพสเตือนกันทุกๆคน อย่าตื่นตะหนก แต่ก็อย่าประมาท ใครที่บ้านไม่แข็งแรงก็ควรซ่อมแซมให้แข็งแรง อย่าต่อเติมให้สูง แนวราบคานกันได้ก็ดี เกรงไทยอาจเจอไหว ประมาณ ๗ ริก.โดยเฉพาะทางเหนือและตก ตอนนี้อยู่ชด.ในชม. สถิติเคย ๕.๑ ริก. ขาด๑.๙ ก็ ๗ แล้ว ระวังไว้แล้วงดต่อเติมสูงขึ้น พ้น ปี ๒๕๕๖ แล้วค่อยว่ากัน โชคดีทุกๆคนครับๆๆๆๆ
     
  18. คมสันติ์

    คมสันติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +259
    ธันวา ยังไม่มีอะไร
    มกรา 56 เตรียมกาย เตรียมใจรับกันนะครับ
     
  19. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,634
    ยังมีเวลาสำหรับจัดเตรียมอุปกณ์ที่จำเป็น และไม่จำเป้นต้องมีราคาแพงมากเพราะไม่รู้อาจจะตกสูญหายก่อนได้ใช้ หรือเอาไปได้หรือไม่ เอาคุณภาพพอใช้ได้ เป้สะพายหลังดูแถวมาบุญครองชั้น 3/4 หรือจตุจักร ไฟฉายใช้ถ่านไฟฉาย AAA/AA เข้าไปในคลองถมเซ็นเตอร์ด้านที่รถสาย 8 ผ่าน ร้านอยู่ทางขวามือ เกือบถึงห้องน้ำ มีหลากหลายมากสารพัดไฟฉาย ผมใช้อยู่ 2-3 ปียังดีอยู่และสำรองถ่านไฟฉายประมาณ 10 ก้อน แพ็คลงเป้สะพายหลัง วางในจุดที่ผ่านหรือเห็นหยิบจับง่าย หรือนำติดตัวไปด้วย ถ้าไปไกลจากที่พัก เช่นไปแคมปิ้ง /เยี่ยมญาติ/ เที่ยวปีใหม่นี้ เปลพร้อมผ้าฟลายชีท(ผ้าไนล่อนขึงกันฝน/แดด)และเชือก
     
  20. Toon Eastern

    Toon Eastern เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +309
    รอยเลื่อนแม่จัน...เฮ้อ..หาบ้านหลังที่สองไว้รอละ.
    บ้านผมเลยนิ อ.แม่จัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...