แนวทางปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่ต่างๆ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 20 เมษายน 2008.

  1. ศิษย์ต่างแดน

    ศิษย์ต่างแดน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,011
    ค่าพลัง:
    +3,448
    ขออนุโมทนาด้วยนะครับผม ดีมากๆๆครับ และอนุโมทนากับทุกๆท่านครับที่ยังกุศลให้เกิดในจิต
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)
    วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

    [​IMG]
    1. มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นของมีชีวิตที่อยู่ในโลกนี้ เจ้ากำหนดรู้ความเป็นไปของตนเองกันว่าเป็นเช่นไร เนื้ออยู่บนเขียง รอแต่จะให้มีดสับเพื่อความป่นปี้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์สัตว์ก็ขึ้นเขียง รอความเจ็บป่วย ทุกข์โศก แก่ชรา แตกดับ ตายไป สับตนเองอยู่ตลอดเวลาอย่างนั้นเหมือนกัน ผู้ฉลาดควรพาตนออกไปจากเขียงนั้นเสีย
    2. ในโลกนี้ย่อมไม่มีผู้ใดอยู่ได้นานนัก ตามความนึกคิดของเขาทั้งหลาย เพราะสังขารย่อมเดินไปตามทางของมันอยู่ นานเข้าก็แก่ แล้วก็ตายหายไปจากโลก ต้องเป็นอยู่อย่างนี้แน่นอนและตลอดไป ฉะนั้นไม่ควรหลงใหลกับสิ่งต่างๆในโลกให้มากนัก ควรมองโลกนี้เสียให้ชัดให้แจ้ง ให้จริง พาจิตใจและอารมณ์ให้ออกห่างจากโลกนี้เสีย
    3. กาลเวลาอันยาวนานนั้นมีอยู่ในโลก แต่จะมีประโยชน์อะไรกับเราทั้งหลายที่เกิดมา เพราะเราตั้งอยู่ไม่นานเลย
    4. ผู้ที่ห่วงใยชีวิตอย่างที่สุด ผู้นั้นก็ชื่อว่าห่วงใยทุกข์อยู่อย่างที่สุดเช่นกัน
    5. จะเอาของจริงแท้แน่นอนได้ที่ไหนในสังขาร มีไหมเล่า หาดูเอาสิ ถ้ามีก็ให้เอา หากไม่มี ควรหยุดการสนใจเสีย
    6. คนย่อมติดโลก อยู่ด้วยความพอใจในสิ่งต่างๆ เหมือนกับต้นไม้ที่ติดแผ่นดินอยู่ด้วยราก
    7. ผู้ใดยังรักตนพอใจในตนอยู่ ผู้นั้นย่อมรักได้ในผู้อื่นอีก หากผู้ใดไม่รักไม่เอาในตนเองเสียแล้ว เรื่องจะรักจะเอาผู้อื่นอีกเป็นไม่มี
    8. การทำตนให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง นั่นแหละเป็นการกระทำที่ประเสริฐกว่าการกระทำต่างๆทั้งหลาย
    9. เกิดเป็นคนจะงามและมีความสุขที่สุดนั้น งามที่เมื่อเกิดมาแล้วในโลก และได้ทำสิ่งต่างๆอันจะยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นในภายหน้า ในโลกนี้อันมากไปด้วยความทุกข์นั้นแหละ คือ ความสุข บริสุทธิ์ที่ไร้มลทิน มิใช่ว่าเมื่อเกิดมามีสังขารแล้ว จะจ้องแต่หาความสุขในการเสพกามคุณในสังขารร่างกายของฝ่ายตรงข้าม แล้วไปคิดว่านั้นแหละคือความสุขที่จะขาดเสียมิได้เมื่อเกิดมา การคิดอย่างนั้นมันเป็นเรื่องของคนไม่มีปัญญา ตกเป็นทาสของตัณหา ชอบเกลือกกลั้วกับของเหม็นของเน่า แล้วจะเอาความสุขบริสุทธิ์ที่แท้จริงจากไหนกับสิ่งเหล่านั้น
    10. ใครเล่าจะห้ามความตายได้ ใครเล่าจะทำตัวเองให้ดีกว่าเก่า ใครเล่าจะทำสิ่งที่ยังไม่รู้ให้รู้ขึ้นมา
    11. การศึกษาที่สูงที่สุด คือ การศึกษาตัวเอง
    12. คนโง่ย่อมหวังอยู่แต่ในสิ่งต่างๆที่มันเป็นไปไม่ได้ ส่วนคนที่ฉลาดแล้ว เขาจะไม่เป็นเช่นนั้นเลย
    13. สิ่งใดที่เรายังไม่รู้ คนฉลาดควรเชื่อผู้อื่นบ้าง แต่หากรู้หมดจดถูกต้องจริงแล้ว ไม่ต้องเชื่อตามใครก็ได้
    14. ความจริงความถูกต้องทั้งหลาย ที่ผู้รู้ตั้งไว้สั่งสอน จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับผู้ทำตนฉลาดไปกว่าท่าน
    15. ผู้ที่ไม่ยอมรับความดีของผู้อื่นที่มีอยู่ ก็เหมือนกับเขากำลังทำลายความเจริญของเขาเองอยู่เช่นกัน
    16. อันจิตที่ยังไม่ได้หัด มักจะไปกับความหลงมากกว่าความจริง
    17. หากอารมณ์ไม่อาลัยสังขารเกิดขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็แจ้งสว่างและง่ายไปหมด
    18. พวกมีโน่นมีนี่ เขาเรียกว่าพวกตายยาก พวกไม่มีโน่นมีนี่ เขาเรียกว่าพวกเงียบเป็น
    19. คนกินมากเขาเรียกว่า คนชอบขี้ คนที่อยากเกิดบ่อยๆเขาเรียกว่า คนชอบผี
    20. อะไรๆก็หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง แต่คนนั้นหนึ่งบวกหนึ่งเป็นไปหลายกว่านั้น
    21. จงนำตัวออกจากสิ่งต่างๆที่ไม่ถูกต้องด้วยปัญญา
    22. ผู้มีปัญญาย่อมทำตนให้ดีได้
    23. เมื่อมีจงให้ หากอยากได้จงทำก่อน
    24. ทุกสิ่งในโลกนี้มีธรรมอยู่อย่างเด่นชัด แต่เรามองไม่เห็นเองต่างหาก
    25. หากคิดว่าจะหยุดเสียแล้ว ก็ไม่ควรที่จะเดินต่อไปเลย
    26. เมื่อคิดว่าจะไม่สร้างบ้านเรือนแล้ว ก็ควรหยุดการสะสมซึ่งไม้เสีย
    27. ไฟย่อมร้อนในผู้อยู่ชิด ผู้อยู่ห่างต่างทิศ ไฟจะมีพิษเข้าได้อย่างไร
    28. คนกลัวหนาม ย่อมไม่เข้าป่าหนาม และหนามก็ปักเขาไม่ได้เป็นธรรมดา คนไม่กลัวหนามย่อมเข้าป่าหนาม และหนามก็ต้องปักเขาเป็นธรรมดา
    29. การจากสิ่งที่ตนรักเป็นเรื่องจริงของสัตว์ทั้งปวง
    30. เมื่อเกิดก็เกิดมาเพื่อตาย ทำไมจึงอยากเกิด ความเกิดขึ้นคือความทุกข์ ความอยากคือสิ่งทำให้ทุกข์
    31. เมื่อความอยากสิ่งต่างๆในโลกมีได้ อันความไม่อยากในสิ่งนั้นๆในโลกก็มีได้เช่นกัน
    32. คนจริงย่อมไม่ยุ่งเกี่ยวกับของเล่น คนชอบเล่นย่อมไม่รู้จักความจริง
    33. ผู้สำรวมแล้ว ย่อมรู้จักความวุ่นวายของผู้อื่น
    34. สิ่งใดในโลกนี้ที่ว่าอัศจรรย์ ก็อัศจรรย์เถิด แต่คนที่เกิดมาในโลกแล้ว ไม่มีกิเลสเลยนั้นแหละอัศจรรย์นัก
    35. ของใดที่ไม่เที่ยงตรง เป็นไปต่างๆไม่ได้ดังใจเรา ของนั้นๆล้วนเป็นของหลอกนะ ควรพาใจและอารมณ์ออกจากสิ่งนั้นๆเสีย
    36. การบวชเป็นสิ่งที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้ หากว่าบวชแล้วแต่ไม่ยอมปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์ อันเป็นของที่ทำได้ ผู้นั้นก็เปรียบเหมือนนักแสดงการละเล่นต่างๆอยู่เท่านั้น
    37. ความสุขของสังขารไม่เคยขาดความทุกข์
    38. จิตแจ้งแล้วก็หาย ปัญญาแจ้งแล้วจึงสบาย
    39. คนที่ชื่อว่า ผู้รู้ ย่อมทำตนให้พ้นทุกข์ได้ ส่วนคนที่ว่ารู้โน่นรู้นี่ รู้อะไรๆมากมาย แต่ยังปรุงแต่งเหตุให้ตนเองทุกข์อยู่ ที่ว่ารู้ๆ รู้อะไร
    40. ต้นตาลย่อมไม่ยุ่งยากเหมือนกอไผ่ฉันใด คนที่มีกิเลสตัณหาความปรุงแต่งน้อย ก็ไม่ยุ่งยากเหมือนคนทำตัวเป็นเศรษฐี ฉันนั้น
    41. การที่เราจะจับช้างใส่รูปูนั้นเป็นของยาก และก็เป็นไปไม่ได้ด้วย อันนี้ฉันใด การที่จะสอนคนที่มีกิเลสตัณหา ความปรุงแต่งอันมากมายให้เห็นนิพพานนั้นก็ยากยิ่งดุจเดียวกัน
    42. ทุกคนย่อมมีเหตุผลของตนเอง แต่เหตุผลจะไปในรูปไหนทางใด นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    43. มนุษย์และสัตว์ในโลกนี้อยู่แล้วกับคนใบ้ ตัวเขาเองนั้นเป็นคนบ้า โลกเขาไม่เคยศึกษาเราเลย เรานั่นแหละเป็นผู้ศึกษาฝ่ายเดียว
    44. ผู้รู้ไม่มีในโลก ผู้ที่มีในโลก เป็นแต่ผู้อื่นต่างหาก
    45. ที่ว่ารู้ๆกันนั้นมีสองอย่าง คือ รู้จักความหลงและรู้จักนิพพาน
    46. ในโลกนี้มนุษย์จะสร้างอะไรทำอะไรต่างๆขึ้นมาก็ได้ ตามปัญญาความคิดเห็นเป็นไปของเขา แต่การรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่สร้างขึ้นนั้นมีน้อยนัก หรือว่าแทบไม่มีเลย เพราะสิ่งที่มนุษย์สร้างและปรุงแต่งอยู่ เขาไม่รู้ว่าอันสภาพความเป็นจริงนั้นควรเป็นอย่างไร
    47. ที่ว่าหลง หลงนั้นก็มาจากรู้นั่นเอง ที่ว่ารู้ รู้นั้นก็มาจากหลงไปแล้วนั่นเอง อะไรๆก็เอาเป็นอะไรไม่ได้ หากจะบอกว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเลย ก็ยังไม่รู้จักกันอีก
    48. การรู้เห็นของคนทั้งหลาย ในไข่ไก่ไข่เป็ด ถ้าจะเห็น ก็เห็นว่าเปลือกไข่ หุ้มล้อมและปิดบังไข่ขาวอยู่ ไข่ขาวก็ปิดล้อมและบังไข่แดงอยู่ แต่จะเห็นไปอีกว่า ไข่แดงนั้นก็ยังบังตัวเองอยู่อีกนั้น จะเห็นได้ไม่ง่ายเลย
    49. การดูจิตของตนเอง ย่อมเห็นไปหลายอย่างตามภูมิจิตของตน ผู้นั้นจะมีความสงสัยบ้างว่า จิตที่มั่นคงและดีกว่าจิตทั้งหลาย จะเป็นจิตเช่นไร ก็ความไม่มีทุกข์เลยตลอดเวลามีอยู่ที่ใด ที่นั้นแหละเป็นที่ยิ่งกว่าที่ยิ่งทั้งหลาย
    50. เรื่องจิตนั้น หากจะเรียกว่าจิตดีต้องให้สุขทุกข์หายไปก่อน
    51. การจะทิ้งสังขารนั้นง่าย เพราะรู้อยู่เมื่อแตกดับ แล้วก็จะหายไป แต่การจะทิ้งจิตนั้นทิ้งยากนัก หากไม่รู้จักว่า มันมีอยู่เพราะเหตุใด มันจะไม่มีเพราะเราทำแบบไหน หากไม่รู้และทำตามนี้แล้วจะทิ้งจิตได้เป็นไม่มี
    52. หากคนไม่เดินจะเอารอยเท้ามาจากไหน หากคนไม่สร้างสัญญาขึ้น จะมีสิ่งต่างๆได้อย่างไร
    53. พระพุทธองค์นั้น ท่านรู้อย่างหนึ่ง และสอนเราอีกอย่างหนึ่ง ท่านรู้สุญญตา คือความว่างเปล่า แต่สอนเราว่า มีโน่นมีนี่ เพราะอะไร เพราะเราถนัดกันแต่ความมีนั่นเอง
    54. ผู้รู้แจ้งเห็นจริงถึงที่สุดแล้ว ย่อมเห็นรู้และเข้าใจว่าโลกนี้สงบยิ่งนัก แต่ผู้ไม่รู้จริงหรือจะพูดไปตามโลกก็จะพูดว่า โลกนี้ยุ่งยากมากมาย
    55. พระองค์ผู้รู้จึงบอกเราว่าธรรมจริงต้องรู้ด้วยตนเอง แต่ให้รู้อยู่ในหลักเหตุผล และเป็นสิ่งที่เป็นได้ อย่าได้ทะเลาะกันเรื่องธรรมเลย เพราะไม่มีที่สิ้นสุด
    56. ผู้รู้หมดจดแล้วย่อมเป็นอยู่ในสิ่งต่างๆ เพียงการพิจารณาเท่านั้น
    57. ความกึ่ง ไม่มีเลยในโลก เช่น ความดีก็ไม่กึ่งกับความไม่ดี ความหยาบก็ไม่กึ่งกับความละเอียด ความมีก็ไม่กึ่งกับความไม่มี
    58. มนุษย์ย่อมคิดว่าโลกนี้เป็นของเขา ส่วนสัตว์ทั้งหลาย เขาก็ว่าโลกนี้เป็นของเขาเหมือนกัน เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้น เพราะว่ามีแต่พวกบ้าอยู่ด้วยกันนั่นเอง
    59. พระนิพพานคือหมดอาลัย หมดหลง หมดทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยมี และทำตนให้หายไป
    60. ผู้ที่คิดว่าตนปฏิบัติธรรมถึงที่สุดแล้ว คือ พ้นทุกข์ และมีความคิดอยู่ว่า สติก็ดี ปัญญา สมาธิ จิต และวิญญาณ นี้แหละเป็นองค์ของนิพพาน ต้องมีอยู่ในนั้น จะขาดเสียมิได้ ถ้าคิดอย่างนั้นเขายังไม่รู้จักนิพพานเลย
    61. ใครเล่าไปตั้งวัน เดือน ปี เกิด ให้ลม ฟ้า อากาศ เขาเป็นอยู่กันอย่างไร เขาเคยพูดกับท่านบ้างไหม และท่านไปรู้จักเข้าได้อย่างไร
    62. ที่จริงโลกนี้ ไม่ใช่ที่ศึกษา ไม่ใช่ของศึกษา เพราะศึกษาอย่างไร ทำอย่างไร โลกก็เป็นไปตามโลกนั่นเอง ควรแยกใจเสียว่า โลกนั่นเองเป็นอย่างนั้นๆ นอกจากโลกแล้วก็ไม่มีอะไร
    63. การกล่าวธรรมนั้นไม่ว่ากล่าวไปมากมายสักเท่าใด ก็จะกล่าวแต่ในกลางๆของธรรมเท่านั้น ไม่มีอะไรที่จะกล่าวต้นธรรมและคำสุดท้ายของธรรมได้
    64. โลกุตรธรรมนั้นไม่มีเลยในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกก็เป็นพระไตรปิฎกนั่นเอง แต่หากไม่รู้จักพระไตรปิฎก ก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องเหมือนกัน โลกุตรธรรมนั้นไม่มีเลยในธรรมที่จะให้คนศึกษา เพราะหากเป็นโลกุตระแล้วจะศึกษาอะไรกันอีก เมื่อยังต้องศึกษาอยู่ เป็นแต่โลกียธรรมทั้งหมด
    65. พระนิพพานนั้นแท้จริงแล้วมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น คือ สุญญตา หากจะพูดว่าเป็นสองว่ามีบ้างไม่มีบ้าง ก็เพียงเป็นแต่พอจะพูดได้เท่านั้น แต่จะให้น้ำหนักไปว่า นิพพานมีอะไรอยู่นั้นไม่มีเลย
    66. หากไม่มีอะไรแล้ว จะมีอะไร หากไม่มีทุกข์ ทุกข์ที่ไหนจะมี หากไม่มีอะไรแล้ว อะไรที่ไหนจะมีอีก
    67. สิ่งใดที่รู้ได้ พูดได้ เข้าใจได้ อยู่ทุกสิ่งล้วนแต่สมมุติ ทุกข์ สุข บาป บุญ สวรรค์ นิพพาน ก็เป็นไปตามที่สมมุติรู้ สมมุติเข้าใจก็คนว่ามันมี มันจึงมี ถ้าหากว่าไม่มี มันจะมีมาจากไหน พูดได้ทำได้ เรียกว่า กายสมมุติ คิดได้รู้ได้ เรียกว่า ใจสมมุติ แต่นิพพานนั้นก็พ้นได้จริง ตามความเป็นไปของจิตสัตว์ ส่วน ทุกข์ สุข บาป บุญ ก็มีอยู่จริง ตามอุปาทานสมมุติของสมมุติสัตว์
    68. หากท่านจะว่าความสมมุติไม่มีถึงขนาดนั้น ท่านควรเข้าใจและรู้เห็นความจริงในโลกนี้ให้ถูกต้องเสีย ลมหรือฟ้า หรือโลกนี้ พระอาทิตย์ เดือน ดาว ภูเขา แมกไม้ สิ่งเหล่านี้หรือ บอกกับท่านว่า มนุษย์ทั้งหลาย ท่านจงตั้งชื่ออย่างนี้ให้เรานะ เขาบอกท่านอย่างนี้บ้างไหม ในตัวเรานี้มีเนื้อ มีกระดูก มีเลือด มีลมนี้ เขาก็บอกให้ท่านตั้งให้เขาหรือ ถ้าท่านจะตอบให้ถูกก็ต้องเงียบ คือไม่มีอะไร เขาเหล่านั้นล้วนไม่มีท่าน แล้วท่านจะมีด้วยอะไร
    69. การจะกล่าวธรรมใดๆก็ตาม หากจะให้พ้นไปจากสมมุตินั้นไม่มีเลย หากยังพูดได้ ทำได้ รู้ได้ คิดได้ เข้าใจได้อยู่ ล้วนแต่เป็นสมมุติทั้งนั้น เหมือนขว้างสิ่งต่างๆขึ้นบนฟ้าแล้ว ตกลงมาหาโลกอีก จะให้พ้นไปจากนั้นไม่มีเลย สมมุติต่างๆก็เหมือนกัน
    70. ความตั้งอยู่ ตั้งขึ้น มีขึ้น ของสิ่งต่างๆทั้งหมด ย่อมเป็นไปด้วยเหตุสองอย่าง
    1. มีของที่ตั้งอยู่
    2. มีสิ่งรองรับให้ตั้งอยู่ได้
    71. เดินมากก็มีรอยมาก เดินน้อยก็มีรอยน้อย หากไม่เดินเลยก็ไม่มีรอยเลย คบคนมากก็มีเพื่อนมาก คบคนน้อยก็มีเพื่อนน้อย ไม่คบคนเลยก็ไม่มีเพื่อนเลย ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ก็เหมือนกัน เราว่ากันว่าต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างโน้น ปรุงไปมากมาย หลายอย่าง มันจึงมีอะไรๆ ขึ้นมาได้ หากเราไม่เกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆทั้งหมด แล้วจะมีอะไรได้ที่ไหน
    72. หากโลกนี้ไม่มีเสียแล้ว เมื่อฝนตกลงมาจะถูกโลกไปไม่ได้ หากผู้ใดเข้ามาทำตัวให้ว่างเปล่าหายไปได้จริงๆแล้ว ทุกข์ต่างๆจะถูกเข้าได้อย่างไร เหมือนกับฝนตกมาถูกโลกไม่ได้ก็ฉันนั้น
    73. บาตรรั่วเพราะสนิมกัดกร่อนฉันใด คนปล่อยกิเลสตัณหาตั้งบ้านเรือนอยู่ในใจได้ ก็ต้องทุกข์อยู่เช่นนั้นเหมือนกัน
    74. จงรู้จักความว่างความเบา ความไม่ขัดข้องในทุกสิ่ง ให้รู้จักความเฉยๆอยู่ของจิต หาสุขและทุกข์ไม่มีในนั้น แม้ความเฉยๆนั้น ก็ให้เลือนไปเสีย
    75. การปฏิบัตินั้น หากเราถามจิตว่า มีอะไรบ้างที่ยังเกี่ยวพันท่านอยู่ หากเขาบอกว่ามีอยู่บ้าง แม้ที่เขาบอกนั้นเพียงเล็กน้อย นั้นชื่อว่าการงานยังมีอยู่ หากถามเขาเมื่อไหร่ ยามใด เขาไม่มีสิ่งตอบเราเลย เหมือนกับถามคนใบ้นั้น จงรู้เถิดการงานต่างๆหมดสิ้นแล้ว
    76. หากทำโลกนี้ให้หาย ความตายก็ไม่มี หากมีความพอใจ อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
    77. คนไม่รู้จักธรรม อยู่ด้วยกันคุยกัน สนทนากันเป็นการเพิ่มความบ้าให้มากขึ้น
    78. ผู้รู้ธรรมแม้ไม่เกี่ยวข้องกับใครเลย ความสว่างย่อมเต็มเปี่ยมในตัวเขาเอง
    79. ไม่ควรประมาทสิ่งต่างๆที่เรายังไม่รู้จัก
    80. ท่านทั้งหลาย หากทุกสิ่งในโลกนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่อาจมาเป็นนายของท่านได้ ฉันใด ท่านก็จะเป็นนายของสิ่งต่างๆเหล่านั้นเช่นกัน
    81. ผู้ปฏิบัติธรรมที่อยากพ้นทุกข์ ต้องให้เน่าเสียก่อนจึงดี
    82. ว่าไม่มีก็มีอยู่ ว่ามีก็หาไม่เห็น ว่ามีก็ไม่ถูก ว่าไม่มีก็ไม่ถูก
    83. หากคนรู้ว่าใต้ดินนั้นมีทองคำฝังอยู่ตรงไหน เขาจะต้องขุดเอาทองคำนั้นขึ้นมาทันที หากคนทั้งหลายรู้ว่านิพพานเป็นอย่างไรจริงๆแล้ว เขาจะไม่ทำตัวกันอยู่อย่างเก่าเลย
    84. คนจะพ้นทุกข์ต้องรู้จักหมดจด แผลต่างๆเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีแผลเป็น หากได้ทำแผลเป็นให้ไม่มีได้ ผู้นั้นจะพ้นทุกข์
    85. หากคนจะหาผลมะม่วง จากต้นมะม่วงในเวลาไม่ใช่ฤดูมีผล เขาจะไม่เห็นไม่ได้มะม่วง หากจะหาความจริงจังให้ได้เห็น ให้มีขึ้นในคน ก็จะมีจะเห็นเป็นไม่ได้ เหมือนกับหามะม่วงแล้ว ไม่ได้มะม่วง หาความจริงจังจากคน ก็จะไม่มีไม่ได้เลยเช่นกัน
    86. หากจิตท่านยังไม่ตรึงแท้ ย่อมอ่อนไหวไปตามลมแรง
    87. อริยสัจจ์สี่ คือ ก่อไฟดับไฟๆ ก่อขึ้นได้จริงและก็ร้อนได้จริง ดับก็ดับได้จริง และก็เย็นได้จริง ฉันใดความทุกข์ย่อมมีได้จริงกับสัตว์โลกทั้งหลาย แล้วก็ไม่มีได้จริงๆอีกด้วยเช่นกัน
    88. จุดมุ่งหมายของธรรมอันเป็นที่สุด คือ จะแยกน้ำออกจากบ่อ แยกน้ำออกจากโอ่ง แยกต้นไม้ออกจากแผ่นดิน และทำของที่มีให้ไม่มี
    89. เสน่ห์ของหญิง ย่อมซึมเข้าไปอยู่ในใจของชาย เสน่ห์ของชายก็ย่อมซึมเข้าไปอยู่ในใจของหญิง เหมือนกับน้ำที่ซึมอยู่ในไม้สดฉะนั้น
    90. การจะเอาอะไรมาเปรียบนิพพานนั้น ไม่มีสิ่งใดเหมือนและให้เข้าใจชัดได้เลย แม้แต่สุญญตาที่ว่าหมดจดแล้ว ก็ยังหยาบนัก สำหรับพระนิพพาน
    91. ความเป็นไปต่างๆของโลกคือความหลง กับการพ้นจากความหลงแล้ว คือรู้จักพระนิพพาน นั้นเป็นของที่ต่างกันมากนัก หากจะเปรียบก็เหมือนกับกลางวันและกลางคืนทีเดียว หากว่าผู้รู้จักนิพพานแล้ว จะมีทุกข์ได้อีก ก็เป็นว่ากลางวันและกลางคืน เป็นอันเดียวกัน หากกลางวันและกลางคืนไม่เป็นอันเดียวกันแล้ว ผู้ที่รู้จักนิพพาน จะมีทุกข์ได้ด้วยอย่างไร
    92. การกล่าวธรรม ต้องกล่าวไปตามชั้นนั้นๆของธรรม หยาบบ้างละเอียดบ้าง จะกล่าวเหมือนกันไปหมดไม่ได้ เหมือนกับเราเดินไปที่สูง เราก็ว่าที่สูง เดินไปที่ต่ำเราก็ว่าที่ต่ำ เดินไปที่รกเราก็ว่าที่รก เดินไปที่เตียนเราก็ว่าที่เตียน หากเดินไปที่รกเราไปว่าที่เตียน มันไม่ถูกนะ
    93. หากเราเข้าถึงสิ่งเราไม่เข้าใจ อันความตายเป็นอันวิ่งหนีไปแล้ว
    94. ที่ว่ารู้ๆกันนั้นจะรู้อะไรๆก็ชั่ง แท้จริงเป็นแต่ความหลงทั้งหมด สิ่งที่ว่ารู้นั้น ก็เหมือนสิ่งที่ยืมเขามาพูด หากจะหาดูจริงก็ไม่รู้อีกว่าใครเป็นผู้ยืม ใครเป็นผู้พูด ก็แต่ที่พูดอยู่ทั้งหมดนี้ ก็เป็นแต่เพียงความบ้าอย่างเดียวตลอดถึงคำสุดท้าย
    95. เห็นอนิจจัง ได้โสดา เห็นทุกขังอ่อนๆ ได้สกิทาคา เห็นทุกขังชัดได้อนาคา เห็นอนัตตาได้อรหันต์ คือหมดอนิจจัง ทุกขัง
    96. หากใครหาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บ้างเป็นส่วนๆ ความมัวเมาในโลกนี้ จะจางไปมากทีเดียว
    97. การอยู่โดยสงบไม่มีทุกข์ใดๆ คือการถึงแล้วแห่งที่สุดของการปฏิบัติ
    98. หากทำความเข้าใจในธรรมได้ถูกต้องแล้ว ก็เท่ากับว่าจบหลักสูตรแล้วของการเกิดขึ้นในโลก
    99. จิตรกรผู้ชำนาญ ย่อมเขียนภาพต่างๆ ได้อย่างวิจิตรพิสดารมากมาย จิตของสัตว์โลกทั้งปวง ก็เหมือนแก้วสารพัดนึก ย่อมกำหนดสิ่งต่างๆขึ้นเป็นสัญญาได้สารพัดสิ้น แล้วเข้าอาศัยเป็นไปกับสิ่งต่างๆที่ตนสร้างขึ้น
    100. หากใครรู้ว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมีขึ้น อันอยู่ในจิตของเขานั้น เกิดขึ้นมีขึ้นได้ด้วยอย่างไร เขาจะรู้จักจิตที่ว่างเปล่าอันหมดจดที่ถูกต้องได้อย่างแน่นอน
    101. สมองบังคับกาย จิตบังคับสมอง นิพพานบังคับจิต นิพพานคืออะไร คือการหมดไปของตัวมันเอง สิ่งใดที่อยู่เหนือกาย ทำกายให้เป็นไป สิ่งนั้นเรียกว่าสมอง สิ่งใดอยู่เหนือสมอง ทำสมองให้เป็นไป สิ่งนั้นเรียกว่าจิต การเป็นไปของจิต อันเข้าถึงความหมด หยุดแล้ว เพราะเหตุนั้น การขาดจากการเป็นตัวของมัน คือ จิต จึงได้มีขึ้น
    102. หากไม่มีต้นไม้ จะมีอะไรไหว ยามลมพัด
    103. หากสอนคนให้ไปสวรรค์ได้หมื่นคนแสนคน ก็สู้สอนคนๆเดียวให้รู้จักนิพพานไม่ได้
    104. สุขแท้จริงจะเกิดได้ หากเราทำความทุกข์ให้หมดไป
    105. คนเราในโลกนี้จะพูดแต่เรื่องตัวเองนั่นแหละมากที่สุด ผู้ที่พูดเรื่องผู้อื่นมีน้อย
    106. สุขทุกข์นั้นแหละเป็นพ่อแม่ เป็นที่เกิดของบาปบุญต่างๆทั้งหลาย
    107. เกิดมาแล้วควรทำความดี เอาไว้เป็นตัวอย่างในโลกนี้บ้าง แม้แต่ไส้เดือน ยังมีคนชมว่าเขาช่วยทำให้ดินดี
    108. ปลาหนองเดียวกันไม่ว่าปลาเล็กปลาใหญ่ ปลาอะไรก็ชั่ง เมื่อน้ำแห้งย่อมตายหมดเสมอกัน เวลายังอยู่ด้วยกัน อย่าขัดข้องกันนักเลย จงทำตัวให้พอเหมาะพอสม และอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุข สงบเถิด
    109. กลางวันย่อมทำตัวเองให้เป็นกลางวัน คือมีความแจ้ง กลางคืนย่อมทำตัวเองให้เป็นกลางคืน คือมีความมืด คนมีกิเลสอยู่ก็เหมือนกัน ย่อมทำตัวไปในสิ่งต่างๆ ด้วยความมืดมัวตามฐานะของตนที่ตั้งอยู่
    110. ผู้ใดรู้ความไม่ใช่ตน ยังไม่ชัดจริงๆ จนหายสงสัยในสิ่งต่างๆที่มีอยู่แล้ว ผู้นั้นจะรู้ความพ้นทุกข์อันแท้จริงไปได้อย่างแน่นอน
    111. คนฉลาดย่อมไม่ทำตนเองให้ตกไปอยู่ในทุกข์ทั้งปวง
    112. จงรู้จักความว่างเปล่าให้ชำนาญชัดเจนจนหายสงสัยในสิ่งต่างๆที่มีอยู่
    113. อันโลกนี้มองให้มีมันก็มี มองให้ว่างมันก็ว่าง
    114. คำของผู้รู้ที่กล่าวไว้กับการเข้าใจของคนที่ศึกษาภายหลัง จะไปกันละทางเสียเป็นส่วนมาก ผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดเดียวกัน จึงเป็นไปหลายแบบ
    115. การยิ้มผู้เดียวที่ถูกต้อง ย่อมเป็นอาการของผู้รู้ที่หมดสิ่งปิดบังแล้ว
    116. ความมีไม่มีจะมาจากไหน เพราะไม่มีอะไรเลยที่รู้จักตัวเอง
    117. การงานในโลกนี้มีมาก แต่งานคือการหาความพ้นทุกข์ เป็นงานที่ควรพิจารณาอย่างยิ่ง
    118. อันธาตุสี่นั้น หากจะดูกันอย่างธรรมดา ก็จะมีสี่อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ หากจะดูกันให้ชัดถูกต้องกันเข้าไปก็จะมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น
    119. ไข่ย่อมเกิดก่อนไก่ แต่ไม่ใช่ไข่ที่ออกมาจากไก่นะ ไก่ทำไข่มาได้อย่างไร ไข่ก็ทำตัวเองมาได้อย่างนั้นเหมือนกัน
    120. ธาตุเกิดย่อมมีอยู่เต็มไปหมดในโลก ทั้งบนบกในน้ำ ทั้งในที่มืดที่แจ้ง ทั้งที่หยาบละเอียดเหมือนกับผลไม้ที่ดกอยู่เต็มต้นนั่นแหละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    วัดเลียบ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี


    [​IMG]


    "จตุรารักข์" เป็นหนังสือที่พระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล ได้บรรจงแต่งไว้เพื่อพุทธบริษัทควรได้ศึกษา โดยท่านได้แสดงไว้ดังนี้

    1. ให้มนุษย์เราทุกคนรู้จักระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือให้เจริญ พุทธานุสสติ
    2. ให้มนุษย์เราทุกคน เมื่อเกิดมาแล้วเข้าใจตนเองว่านับถือพระพุทธศาสนาแล้ว จงให้เจริญ เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา เป็นนุสติ
    3. ให้มนุษย์เราทุกคน จงรู้ว่าเมื่อเกิดมาแล้วจงรู้กฎของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึง ให้เจริญความไม่เที่ยง มีความทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนของเรา ฉะนั้นจงเจริญ อสุภานุสติ
    4. มนุษย์เราทุกคน จงพิจารณากองทุกข์นับตั้งแต่เกิดมาจนวาระสุดท้าย คือ ความตาย เพราะเราหนีความตายไปไม่ได้จงให้เจริญ มรณานุสติ
    .........................................

    หลักธรรมของพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล

    จตุรารักขกัมมัฏฐาน
    (1) วิธีระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
    ...อนึ่ง เมื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ถึงระลึกดังนี้ก็ได้ว่า เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ลุกโพลงรุ่งเรืองไหม้สัตว์เผาสัตว์ ให้รุ่มร้อนอยู่เป็นนิตย์ในภพทั้ง 3 เลิงกิเลสนั้น คือ ราคะ ความกำหนัดยินดี โทสะ ความเคืองคิด ประทุษร้าย และโมหะ ความหลงไม่รู้จริง

    ราคะ โทสะ โมหะ ทั้ง 3 นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเพลิงเพราะเป็นเครื่องร้อนรนกระวนกระวายของสัตว์ เพลิงทุกข์ นั้นคือ ชาติ ความเกิด คือ ขันธ์ อายตนะและนามรูปที่เกิดปรากฎขึ้น ชรา ความแก่ทรุดโทรมคร่ำคร่า และ มรณะ ความตายคือ ชีวิตขาดกายาแตกวิญญาณดับ

    โสกะ ความเหือดแห้งใจเศร้าใจปริเทวะ ความบ่นเพ้อคร่ำครวญร่ำไรทุกข์ ทนยากเจ็บปวดเกิดขึ้นในกายโทมนัส ความเป็นผู้มีใจชั่วเสียใจอุปายาสความคับแค้นอัดอั้นใจ

    ทุกข์ มีชาติเป็นต้นเหล่านี้ ท่านกล่าวว่าเป็นเพลิง เพราะเป็นทุกข์ให้เกิดความร้อนรนกระวนกระวายต่างๆ แก่สัตว์ เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์เหล่านี้ ยกพระพุทธเจ้าเสียแล้วไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลกดับได้ แต่ผู้ที่จะรู้ว่าเป็นเพลิงเครื่องร้อนเท่านั้นก็หายากเสียแล้ว ผู้ที่จะดับเพลิงนั้นจะได้มาแต่ไหนเล่า ก็ในโลกหมดทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งดับได้ จึงพากันร้อนระกระวนกระวายอยู่ด้วยเพลิงหมดทั้งโลก ก็ไม่รู้สึกตัวว่าเพลิงมันไหม้มันเผาเอาให้เร่าร้อนอยู่เป็นนิตย์ เพราะอวิชชาความหลงไม่รู้จริง

    สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งของเราพระองค์ตรัสรู้ชอบตรัสดีแล้วเอง ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของพระองค์ได้แล้ว คือทำให้แจ้งซึ่งกิเลสนิพพานได้แล้ว ทรงสั่งสอนสัตว์ให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ด้วยพระองค์นั้น จึงเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ ประเสริฐกว่าสัตว์ เป็นผู้อัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนักควรเลื่อมใสจริงๆ
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมที่เป้นที่พึ่งของเรามีพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ทรงคุณคือดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของสัตว์ผู้ปฏิบัติชอบ ช่วยให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นได้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน พระธรรมนั้น ท่านทรงคุณ คือดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ได้อย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์ผู้สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว ทำให้บริบูรณ์ใน ศีล สมาธิ ปัญญา บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดังเลิงกิเลสเลพิงทุกข์ของตนได้แล้ว สั่งวสอนผุ้อื่นให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลสเพลิงทกุข์ได้ด้วย และเป็นเขตให้เกิดบุญเกิดกุศล แก่เทวดา มนุษย์มากมายนัก พระสงฆ์นั้นท่านปฏิบัติดีอย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ

    เมื่อนึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 รัตนะนี้ ตรึกตรองด้วยปัญญา ครั้นเห็นจริงเกิดความเลื่อมในขึ้นแล้ว จะนึกแต่ในใจหรือจะเปล่งวาจาว่า

    อะโห พุทโธ พระพุทธเจ้าที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านทรงคุณคือดับกิเลส เครื่องร้อนใจของสัตว์ได้ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นอัศจรรย์ น่าเลื่อมใสจริงๆ
    อะโห ธัมโม พระธรรมที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านทรงคุณคือดับกิเลสเครื่องร้อนใจของสัตว์ได้ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริงๆ
    อะโห สังโฆ พระสงฆ์ที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว เป้นเขตบุญอันเลิศ หาเขตบุญอื่นยิ่งกว่าไม่มี เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริงๆ
    ภาวนาดังนี้ ก็ได้ดีทีเทียว

    อนึ่ง ผู้ใดได้ความเชื่อความเลื่อมในในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 รัตนะนี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่าเลื่อมใสแล้วในที่อันเลิศ ผลที่สุดวิเศษเลิศใหญ่ยิ่งกว่าผลแห่งกุศลอื่นๆทั้งสิ้น ย่อมีแก่ผู้เลื่อมใสใจรัตนะทั้งสามนั้น

    ....อนึ่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ เป็นรัตนะอันเลิศวิเศษยิ่งกว่ารัตนะอื่นๆหมดทั้งสิ้น ย่อมให้สำเร็จความปรารถนาแก่สัตว์ผู้ที่เลื่อมในได้ทุกประการ เหตุนั้น เราทั้งหลาย จงอุตสาห์นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความเลื่อมใสทุกๆวันเถิด จะได้ไม่เสียทีประสบพบพระพุทธศาสนานี้

    (2) วิธีเจริญเมตตา

    อนึ่ง เมื่อจะเจริญเมตตา พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า

    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    อะเวรา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    อะพยาปัชยา จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความเจ็บไข้ลำบากกายลำบากใจเลย
    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
    อะนีฆา จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น

    เมตตาภาวนานี้ เป็นข้าศึกแก่พยายาท โดยตรง เมื่อเจริญเมตตานี้ ย่อมละพยาบาทเสียได้ด้วยดี เมตตานี้เชื่อว่า เจโตวิมุต เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้นจากพยาบาทของใจมี อานิสงฆ์ ยิ่งใหญ่กว่าทานและศีลหมดทั้งสิ้น


    เหตุนั้น เราทั้งหลาย จงอย่าประมาทในเมตตาภาวนานี้เลย อุตสาห์เจริญเถิด จะได้ประสบอานิสงฆ์วิเศษต่างๆซึ่งว่ามานี้ เทอญฯ....

    (3) วิธีเจริญอสุภะ

    อนึ่ง เมื่อจะเจริญอสุภะ พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า

    อัตถิ อิมัสมิง กาเย ของไม่งามเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดมีอยู่ในกายนี้
    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง คือ เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
    หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง ปัปผาสัง คือ เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
    อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรียัง คือ ไส้ใหญ่ สายเหนี่ยวไส้ ราก ขี้
    ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท คือ น้ำดี น้ำเสมหะ น้ำเหลือง (หนอง ) น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น
    อัสสุ วะสา เขโฬ สังฆาณิกา ละสิกา มุตตัง คือ น้ำตาม น้ำมันเปลง น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำเยี่ยว


    ผม นั้นงอกอยู่ตามหนังศรีษะดำบ้างขาวบ้าง ขน นั้นงอกอยู่ตามขุมขนทั่วร่างกาย เว้นไว้แต่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บ นั้นงอกอยู่ตามปลายมือ ปลายเท้า ฟัน นั้นงอกอยู่ตามกระดูก คางข้างบน ข้างล่าง สำหรับบดเคี้ยว อาหารชุ่มอยู่ด้วยน้ำลายเป็นนิตย์ หนัง นั้นหุ้มทั่วกาย ผิดนั้นลอกออกเสียแล้วมีสีขาว เนื้อ นั้นมีสีแดงเหมือนกะชิ้นเนื้อสัตว์ เอ็น นั้นรึงรัด รวบโครงกระดูดไว้ มีสีขาว กระดูด นั้นเป้นร่างโครงค้ำแข็งอยู่ในกาย มีสีขาว เยื่อในกระดูก นั้นมีสีขาวเหมือนกะยอดหวายที่เผาไฟอ่อนแล้ว ใส่ไว้ในกระบอกไม้ฉะนั้น เยื่อในขมอง ศรีษะ นั้นเป็นยวงๆ เหมือน กะเยื่อในหอยจุบแจง ม้าม นั้นคือแผ่นเนื้อมีสีแดงคล้ำๆ สองแผ่นมีขั้วอันเดียวกัน เหมือนกะผลมะม่วงสองผลมีขั่วอันเดียวกันฉะนั้น อยู่ข้างซ้ายเคียงกับหัวใจ เนื้อหัวใจ นั้นมีสีแดง สัณฐานดังดอกบัวตูม ตั้งอยู่ท่ามกลางอก ตับ นั้นคือแผ่นเนื้อสองแผ่นสีแดงคล้ำตั้งอยู่ข้างาขาวเคียงเนื้อหัวใจ พังผืด นั้นมีสีขาว เหนี่ยวหนังกับเนื้อ เอ็นกับเนื้อ กรดูกดับเอ็นติดกันไว้บ้าง ไต นั้นเป็นชิ้นเนื้อสีดำคล้ำเหมือนกะลิ้นโคดำอยู่ชายโครงซ้าย ปอด นั้น เป็นแผ่นเนื้อสีแดงคล้ำ ชายเป็นแฉกปกเนื้อหัวใจอยู่ท่ามกลางอก ไส้ใหญ่ นั้นปลายข้างหนึ่งอยู่คอหอย ปลายข้างหนึ่งอยู่ทวารทบไปทบมามีสีขาวชุ่มอยู่ด้วยเลือดในท้อง สายเหนี่ยวไส้ใหญ่ นั้นมีสีขาว ราก นั้นคือของที่กลืนกินแล้ว สำรอก ออกมาเสียฉะนั้น คูถ นั้นคือของที่กินขังอยู่ในท้องเสียแล้ว ถ่ายออกมาฉะนั้น น้ำดี นั้นสีเขียวคล้ำๆ ที่เป็นฝักตั้งอยู่ท่ามกลางอก ที่ไม่เป็นฝักซึมซาบอยู่ในกาย น้ำเสมหะ นั้นมีสีขาวคล้ำๆ เป็นมวกๆ ติดอยู่กับพื้น ไส้ข้างใน น้ำเหลือง (หนอง) นั้น มีอยู่ในที่สรีระมีบาดแผลเป็นต้น น้ำเลือด นั้นมีอยู่ตามขุมขนสในกาลเมื่อร้อนหรือกินของเผ็ด น้ำมันข้น นั้นมีสีเหลืองติดยอุ่กับหนังต่อเนื้อ น้ำตา นั้นไหลออกจากตาในกาลเมื่อไม่สบาย น้ำมันเปลว นั้นเป็นเปลวอยู่ในพุงเหมือนกับเปลวสุกร น้ำลายนั้น ใสบ้าง ข้นบ้าง น้ำมูก นั้นเหลวบ้าง ข้นบ้าง เป็นยวงออกจากนาสิก น้ำไขข้อ นั้นติดอยู่ตามข้อกระดูก น้ำเยี่ยว นั้นเกรอะออกจากรากและคูถ

    อะยะเมวะ กาโย กายคือประชุมส่วนเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด นี้นั่นแหละ อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนตั้งแต่เท้าขึ้นมา อะโธ เกสะ มัตถะกา เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงไป ตะจะปะริยันโต มันมีหนังหุ้มอยู่ที่สุดรอบ ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน มันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เชคุจโฉ ปฏิกกุโล แต่ล้วนเป็นของไม่งาม มีกลิ่นเหม็น ปฏิกูลน่าเกลียดหมดทั้งสิ้น

    อสุภกัมมัฏฐาน (อสุภสัญญา) นี้ เป็นข้าศึกแก่ราคะความกำหนัดยินดีโดยตรง ผู้ใดมาเจริญอสุภะเห็นเป็นของไม่งามในกาย เห็นกายเป็นของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด จะเกิดความเบื่อหน่าย ไม่กำหนดยินดี ดับราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าดื่มกินซึ่งรส คือ พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสรรเสริญกายะคตาสติอสุภกัมมัฏฐานนี้ว่า

    " ผู้ใดได้เจริญกายะคตาสตินี้ ผู้นั้น ได้เชื่อว่าบริโภค ซึ่งรส คือ นิพพาน เป็นธรรมมีผู้ตายไม่มี อมตธรรม ดังนี้

    นิพพาาน นั้นก็ดับราคะ โทสะ โมหะ นั้นเอง


    เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอย่าได้ประมาทในกายะคตาสตินี้เลย อุตส่าห์เจริญเถิด จะได้ประสบพบพระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง เลิศกว่าธรรมหมดทั้งสิ้น.."
    (4) วิธีเจริญมรณสติ

    อนึ่ง เมื่อจะเจริญมรณสติ ถึงเจริญดังนี้ ก็ได้ว่า

    ธัมโมมหิ มะระณัง อนตีโต ชายว่า
    มะระณะ
    ธัมมามหิ มะระณัง อนตีตา หญิงว่า
    แปลว่า " เรามีความตายเป็นธรรมดา ล่วงความตายไปไม่ได้แล้ว"
    ความตายนั้น คือสิ้นลมหายใจ กายแตก วิญญาณดับ
    อนึ่ง พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า อะธุวัง ชีวิตัง ชีวิตของเรามันไม่ยั่งยืน ธุวัง มะระณัง ความตายของเรามันยั่งยืน อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง เราคงจะตายเป็นแน่ มะระณะปะริ โยสานัง เม ชีวิตัง ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตัง เม อะนิยะตัง ชีวิตของเรามันไม่เที่ยง มะระณัง เม นิยะตัง ความตายของเรามันเที่ยงแล้ว

    อนึ่ง พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า สัพเพ มะรันติ จะ สัตว์ที่ตายอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี มะริงสุ จะ มะรันติ จะ สัตว์ที่ตายอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี มะริงสุ จะ มะริสสะเร ที่ตายดับสูญไปแล้วก็ดี จักตายต่อไปข้างหน้าก็ดี ตะถาวาหัง มะริสสามิ เราก็จะตายดับสูญไปเช่นนั้น เหมือนกันนั่นแหละ นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย ความสงสัยในความตาย นี้ไม่มีแก่เรา เราไม่สงสัยในความตายนี้แล้ว

    เหตุนั้น เราจงเร่งขวนขวายก่อสร้างบุญกุศลซึ่งเป็นที่พึ่งของตนเสียให้ได้ทันเป็นมีชีวิตอยู่นี้เถิด อย่าให้ทันความตายมาถึงเข้า ถ้า ความตายมาถึงเข้าแล้ว จะเสียทีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้ทีเดียว

    ผู้ใดได้เจริญมรณสติ นึกถึงความตายได้เห็นจริง จนเกิดความสังเวชได้ ผู้นั้นย่อมไม่เมาในชีวิต ละอาลัยในชีวิตเสียได้เป็นผู้ไม่ประมาท รีบร้อนปฏิบัติละบาป บำเพ็ญบุญกุศล ชำระตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ โดยเร็วพลัน


    เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรั้สสรรเสริญมรณสติที่บุคคเจริญทำให้มากนี้ว่า มีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่มากนัก นับเข้าพระนิพพานเป้นธรรมมีผู้ตายไม่มี ดังนี้ มรณสติ มีผลานิสงส์มากอย่างนี้

    อนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งไว้ ให้คิดถึงความตายให้ได้ทุกวันๆมาในอภิณหะปัจเวกขณ์ เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอุตส่าห์เจริญ มรณสติ คิดถึงความตายให้เห็นจริงจนเกิดความสังเวชให้ได้ทุกวันๆ เถิด จะได้ ประสบผลอานิสงส์ที่วิเศษ เป็นเหตุไม่ประมาทในอันก่อสร้างบุญกุศลซึ่งเป็นที่พึ่งของตน

    ที่นึกถึง คุณพระรัตนตรัย เจริญเมตตา อสุภะ และมรณสติ ทั้ง 4 อย่างซึ่งว่ามานี้ ท่านกล่าวว่า จตุรารักข์ เพราะเป็นธรรมป้องกันปกครองรักษาผุ้ที่เจริญนั้น ให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายวิบัติทั้งสิ้นได้ และเป็นทางสวรรค์และนิพพานด้วย


    เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอุตส่าห์เจริญให้ได้ทุกๆวันเถิด อย่าให้ขาดได้เลย จะได้เป็นความดี ความชอบ อย่างยิ่งของเราที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เทอญฯ......

    นี่คือ วิธีเจริญ " จตุรารักข์"

    http://www.geocities.com/bhuthaphum/Dhamma.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร

    [​IMG]

    มุตโตทัย ลิขิตธรรม โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    บันทึกโดย พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
    ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖

    ๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย

    ๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ ปรากฏว่า ปาปโกสทฺโท คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย

    ๓. มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน
    เหตุใดหนอ ปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดี จึงต้องตั้ง นโม ก่อน จะทิ้ง นโม ไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จึงยกขึ้นพิจารณา ได้ความว่า น คือธาตุน้ำ โม คือ ธาตุดิน พร้อมกับบาทพระคาถา ปรากฏขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมุภโว โอทนกุมฺมาสปจฺจโย สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกัน จึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้ น เป็นธาตุของ มารดา โม เป็นธาตุของ บิดา ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ถือปฏิสนธิในธาตุ นโม นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละ ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น อัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ คือเป็นแท่ง และ เปสี คือชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ส่วนธาตุ พ คือลม ธ คือไฟ นั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาปสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นเดิม

    ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมาด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาส เป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า บุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แล เป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่จูม พนฺธุโล
    วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ. อุดรธานี

    [​IMG]

    พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้แสดงความจริงในอารมณ์จิตของท่าน และหาวิธีระงับดับอารมณ์นั้น โดยไม่หลงใหลกับโลกธรรม อุบายนั้นท่านได้แสดงไว้ว่า

    "จิตเป็นธรรมชาติที่กวัดแกว่งดิ้นรน กระสับกระส่าย แส่ไปตามอารมณ์ที่ใคร่ พอใจในเบญจกามคุณ ถึงกระนั้นก็ได้มีทมะ คือความข่มจิตไว้ ไม่ให้ยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ พร้อมทั้งมีสติประคับประคองยกย่องจิตตามอนุรูปสมัยนับว่าได้ผล คือจิตสงบระงับจากนิวรณูปกิเลสเป็นการชั่วคราวบ้าง เป็นระยะยาวนานบ้าง แต่ในบางโอกาสก็ควบคุมได้ยาก ซึ่งเป็นของธรรมดาสำหรับปุถุชน ต่อจากนั้นก็ได้บากบั่นทำจิตของตนให้รู้เท่าทันสภาวธรรมนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตื่นเต้นไปกับโลกธรรม แต่ว่าระงับได้ในบางขณะเช่น ความรัก ความชัง อันเป็นปฏิปักขธรรมเป็นต้น เหล่านี้ยังปรากฏมีในตนเสมอถึงกระนั้นก็ยังมีปรีชาทราบอยู่เป็นนิตย์ว่า เป็นโลกิยธรรมนำสัตว์ให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ

    เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ฝึกหัดดัดนิสัยพยายามถอนตนออกจากโลกียธรรมตามความสามารถ รู้สึกว่าสบายกายสบายใจอันแท้จริงธรรมนี้เกิดจากข้อวัตรปฏิบัติในการละ พอใจยินดีอย่างยิ่งในความสงบ" และอีกคราวหนึ่งท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์โดยมีพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งติดตามไปด้วย คือ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี วันนั้นท่านได้แสดงธรรมไว้อย่างแยบคาย พอที่จะหยิบยกเอาใจความสำคัญมากล่าวไว้ในที่นี้ดังต่อไปนี้:-

    "จิตของพระอริยะเจ้าแยกอาการได้ 4 อาการคือ
    อาการที่ 1 อโสก จิตของท่านไม่เศร้าโศก ไม่มีปริเทวนา การร้องไห้เสียใจ จิตใจของท่านมีความสุขล้วนๆ ส่วนจิตใจของปุถุชนคนธรรมดายังหนาไปด้วยกิเลสเต็มไปด้วยความรัก ความโศกถูกความทุกข์ครอบงำ ความโศกย่อมเกิดจากความรักเป็นเหตุ เมื่อมีความรัก ก็มีความโศก ถ้าตัดความรักเสียแล้ว ความโศกจะมีแต่ที่ไหน

    อาการที่ 2 วิรช จิตของพระอริยเจ้าผ่องแผ้ว ปราศจากฝุ่น ไร้ธุลี คือ ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ คงจะมีแต่พุทธะคือ รู้ ตื่น เบิกบาน

    อาการที่ 3 เขม จิตของพระอริยเจ้ามีแต่ความเกษมส ำราญ เพราะปราศจากห้วงน้ำไหลมาท่วมท้นห้วงน้ำใหญ่เรียกว่า "โอฆะ" ไม่อาจจะท่วมจิตของพระอริยะเจ้าได้

    อาการที่ 4 จิตของพระอริยะไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจกิเลส ไม่ตกอยู่ในห้วงแห่งอวิชชา จิตของพระอริยะมีแต่อาโลโก สว่างไสวแจ่มแจ้ง ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เคยพบเคยเห็นตั้งแต่ภพก่อนชาติก่อน และไม่เคยฟังจากใครคราวนี้ก็แจ่มแจ้งไปเลยเพราะท่านตัดอวิชชาเสียได้

    หลวงปู่จูม พนฺธุโล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  6. อรวี จุฑากรณ์

    อรวี จุฑากรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +189
    ขอบคุณเจ้าของกระทู้มากนะค่ะที่นำเรื่องดีมาบอกเราชาวเวป

    (||) ขออนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ
    สุขกาย สุขใจ รักษา ตนให้ พ้นจาก ทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเทอญ
     
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  8. อรรัชช์ฐาน์

    อรรัชช์ฐาน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +437
    โมทนาสาธุ....ค่ะ...เป็นบุญของผู้ที่ได้กราบไว้...และได้สนทนาธรรมด้วยกับพระคุณเจ้า...ขอให้ได้ทำบุญใส่บาตรกับพระอรหันต์แบบนี้บ้างเถอะ...สาธุ
     
  9. นายแจ้ง

    นายแจ้ง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    ขออนุโมทนา สาธุ กับทุกบทความมากๆครับผมอยากจะได้อ่านข้อความการปฏิบัติ์ขอพระอริยะเจ้าท่านทั้งหลาย นี้มานานละ เพิ่งจะเจอ ขออนุโมทนา มากๆครับ
     
  10. ปัญจ์ธน

    ปัญจ์ธน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +855
    ขออนุโทนากับความวิริยะของคุณ aprin ที่รวบรวมคำสอนของพระอริยสงฆ์มาให้ชาวเว็ปได้ไว้ศึกษา ขออานิสงค์ผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้มีดวงตาเห็นธรรมในอนาตคกาลอันใกล้นี้ด้วยเทอญ
     
  11. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนาในบุญกุศลบารมีธรรมกับทุกท่านด้วยนะครับ
     
  12. parapuda

    parapuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +250
    ขออนุโมทนาสาธุการด้วยครับ
    ------------------------------
    आपका बहुत बहुत धन्यवाद
     
  13. ช่างปั้นพระ

    ช่างปั้นพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +178
    ขออนุโมทนาครับ

    และอนุโมทนาบุญในการให้ความรู้ในครั้งนี้ด้วยครับ...............
     
  14. atomdekst

    atomdekst Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    405
    ค่าพลัง:
    +79
    อนุโมทนาสาธุ กับ ทุกท่านที่โพสท์ และ อ่านครับ สาธุ สาธุ
     
  15. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    [​IMG]



    กิเลสกองไหนที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่มมัว
    ให้รีบตัด รีบละออกไป

    เลิกไม่ได้ ละไม่ได้ก็ให้นึก ถึงความตาย
    ใครจะดุร้าย ป้ายสี ก็ให้นึกว่าเขาจะต้องตาย

    เรา คือ กายกับจิตก็ต้องตายจากกันไป
    จะมาโกรธ มาโลภ มาหลง
    มายึดหน้าถือตา ยึดอะไรต่อมิอะไรไปทำไม
    จงปล่อยวางให้มันหมดสิ้นไป




    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
     
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระครูญาณวิศิษฏ์ (ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก)
    วัดธรรมสถิต อ.เมือง จ.ระยอง

    [​IMG]

    • ต้องหมั่นมีสติ หมั่นพิจารณาร่างกายจนเป็นเป็นกระดูกจนร่วงลงไปกอง แล้วเผาให้เกลี้ยงไปเลย ถามตัวเองซิ มีตัวตนไหม อะไรทำให้ทุกข์ ทำให้เจ็บปวด มีตัวเราไหม ดูให้ถึงแก่นแท้ของธรรมชาติพิจารณาไปจนไม่มีอะไรของเราสักอย่าง

    • มันไม่มีใครเจ็บ มันไม่มีใครตาย นั่นแหละ ตรงนั้นแหละ มันมีอยู่แล้วทุกคน เหมือนเราคว่ำมืออยู่ เราก็หงายมือเสีย แต่ผู้ที่มีปัญญาเท่านั้นที่จะทำได้ ถ้าโง่ก็ไม่เห็น ก็ไม่ได้ ไม่พ้นเกิด พ้นตาย

    • การภาวนาของเราต้องมี ปีติ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ไม่อย่างนั้น ทำไปๆ มันจะเหี่ยวแห้ง

    • สักวันหนึ่งความตายจะมาถึงเรา มาบีบบังคับให้เราปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้น เราต้องหัดปล่อยวางล่วงหน้าให้มันเคย ไม่อย่างนั้น พอถึงเวลาไปจะลำบาก

    • จิตเห็นจิตตามความเป็นจริง เขาก็วางของเขาเอง

    • เมื่อคิดที่พุทโธแล้วไม่ต้องลังเลว่า จะนั่งไม่ได้ดี ถ้าตั้งใจจริงแล้วมันต้องได้ สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นมารผจญ เขาเล่นละครอะไรๆ เราก็ไปดู ไม่ใช่ว่าไปเล่นกับเขาด้วย

    • อยู่บนที่สูงแล้ว ก็สามารถมองเห็นอะไรๆ ได้หมด

    • ถึงความเห็นของเราจะถูก แต่ถ้าเรายึดเข้าไว้มันก็ผิด

    • เวลาเราทำงานอะไรอยู่ ถ้าเราสังเกตว่าใจเราเสีย ก็ให้หยุดทันที แล้วกลับมาดูใจของตนเอง เราต้องรักษาใจของเราไว้เป็นงานอันดับแรก

    • คนอื่นเขาด่าเรา เขาก็ลืมไป แต่เราไปเก็บมาคิด เหมือนเขาคายเศษอาหารทิ้งไปแล้ว เราไปเก็บมากิน แล้วจะว่าใครโง่

    • ธรรมะ เราอ่านมามากแล้ว ฟังมานานแล้ว เราก็ว่าเราเข้าใจ แต่มันถึงใจ ดีจริงหรือยัง

    • การภาวนาต้องทิ้งเป็นขั้นๆ เหมือนเขายิงจรวจในอวกาศพอพ้นจากโลกแล้ว กระสวยอวกาศก็ต้องทิ้งยานแม่ จึงจะไปถึงโลกพระจันทร์ได้

    • คนเราถ้าทำดีแล้วติดดีก็ไปไม่รอด เมื่อใจยังมีติดภพชาติยังมีอยู่

    • ทำดีให้มันถูกตัวดี อย่าให้มันดีแต่กิริยา

    • การภาวนาก็คือการฝึกตาย เพื่อเราจะได้ตายเป็น

    • ของจริงจึงอยู่กับเรา ถ้าเราทำจริงเราจะได้ของจริง ถ้าเราทำไม่จริงเราจะได้แต่ของปลอม

    ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  17. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระโพธิธรรมาจาย์เถร(หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
    วัดป่าเขาน้อย อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

    เราจะเห็นธรรมของจริง จิตใจของเราก็ต้องมีความจริงด้วย การปฏิบัติของเราก็ต้องมีความจริงด้วย

    แม้แต่ร่างกายนี้ก็ไม่เป็นของเราเลย พึ่งไม่ได้ แล้วเราจะไปหวังพึ่งทรัพย์พึ่งบุตรเอามาทำอะไร

    จิตกับธรรมต้องเป็นอันเดียวกัน เดี๋ยวนี้จิตกับกิเลสมันเป็นอันเดียวกัน ไม่ค่อยจะรับธรรมเข้ามา ธรรมยังรับไม่ค่อยจะได้ แต่กิเลสไม่ต้องทวง เพราเหตุนั้นเราพยายามถ่ายเท ให้หลงลืมเรื่องที่ไม่ตรงกับธรรม พยายามใกล้ชิดสนิทกับธรรมให้มาก

    การปฏิบัติธรรมเป็นงานที่ละเอียด จึงอาศัยความสงบ จึงอาศัยสติระลึกรู้แล้วสำรวมระวังรักษา อย่าปล่อยให้กิเลสมันคะนองกาย คะนองวาจา และคะนองใจ

    อวิชชาที่จะดับ ก็ดับเพราะเรามารู้จริงอันนี้ เมื่อมันรู้จริงแล้ว ความไม่รู้จะอยู่ได้อย่างไร

    หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • suwat.png
      suwat.png
      ขนาดไฟล์:
      294.5 KB
      เปิดดู:
      135
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2015
  18. tanawat

    tanawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2006
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +1,765
    กราบ กราบ กราบ
     
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรม หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) จ.มุกดาหาร

    [​IMG]

    การนั่งสมาธิมักง่วงนั้น มีเหตุผลหลายอย่างเช่น กินจุก็มักง่วง ทำงานเหนื่อยเกินไปก็มักง่วงหรือแต่ชาติก่อนเคยเป็นงูเหลือมมาก็มักง่วง และธาตุขันธ์สบายดีมากก็มักง่วง ฯลฯ เหตุที่จะละความง่วงนั้น

    1. อย่ากินจุมาก ยังอีก 4 หรือ 5 คำจะอิ่มก็ดื่มน้ำซะ

    2. ให้จำแสงสว่างในตอนกลางวันไว้ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรแล้วเพ่งแสงสว่างนั้น

    3. ให้เอาน้ำลูบตา แหงนดูดาวทั้ง 4 ทิศ

    4. ให้เอามือรูปกาย ลูบไปลูบมาให้มีสติอยู่ที่ลูบไปลูบมานั้น

    5. ให้จุดเทียนเป็นแสงไปขึ้นจะเล็กน้อยก็ตามแล้วให้เพ่งดู ว่า "ไฟๆๆๆ" เมื่อหลับตาลงก็ให้เป็น
    ลักษณะอย่างนั้น

    6. เรามีการท่องบ่นอะไรก็ให้ท่องบ่นอันนั้น

    ที่ว่ามานี้ไม่ได้หมายความว่าให้ทำทุกข้อ ให้ทำข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อไม่หายง่วงแล้วจึงทำไปทีละข้อๆ ก็คงจะหายง่วงได้ ก็คงจะได้ปฏิบัติธรรมต่อไป



    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    https://sites.google.com/site/phraaja/pomrakkun
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  20. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรม หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย


    "อย่าไปนึกว่า เราทำดีแค่นี้พอแล้ว ไม่ต้องดิ้นรน ขวนขวายอะไรให้มากไปกว่านี้ก็ได้แล้วสบายแล้ว ไม่ควรจะคิดอย่างนั้น ผู้ใดไปคิดอย่างนั้นเท่ากับว่า เปิดช่องให้กิเลสตัณหา กิเลสตัณหามันจะได้ช่อง มันจะพยายามฉุดจิตใจอันนี้ให้ถอยหลังเข้าคลองไปเรื่อยๆ"

    "พระพุทธเจ้าทรงเปรียบการปฏิบัติธรรม เหมือนกับทหารไปสู่แนวรบ เมื่อรบกับข้าศึก ยึดได้เมืองได้แล้ว ก็พยายามรักษาเมืองนั้นไว้ให้ได้ แต่งกองทหาร เจ้าหน้าที่ รักษาเมืองนั้นไว้ให้เข้มแข็ง อย่าให้ข้าศึกมันมายึดเอาคืนได้ รบไปเมืองไหน ได้ชัยชนะเมืองไหน แล้วยึดเอาเมืองนั้นรักษาเมืองนั้นไว้ให้มั่นคง เอาจนได้ชัยชนะเด็ดขาดลงไปขั้นสุดท้าย อันนี้เปรียบได้กับการปฏิบัติธรรมหรือการทำความดีในพุทธศาสนานี้"


    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...