แนวทางปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่ต่างๆ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 20 เมษายน 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    [​IMG]

    " ความเพียรทำให้พ้นทุกข์ได้ การต่อสู้กับกิเลสให้ได้ผลนั้นต้องฝึกฝนทรมานตนเองอย่างหนัก ทำความเพียรให้มากๆ แต่ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ มักจะทนไม่ได้ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ปรากฏชื่อลือนาม เราได้กราบไหว้บูชากันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ฝึกทรมานตนมาแล้ว ผ่านการทดสอบจนเป็นที่แน่ใจ ทั้งเจ้าของผู้ฝึกฝนทรมานตนก็ไม่มีอะไรจะเสียหายเพราะการฝึกนั้น ต่อไปเป็นเรื่อง

    ปัญญาเห็นกิเลส ถ้าเราไม่ได้ใช้ปัญญาแล้ว จะไม่เห็นความซึมซาบของกิเลสที่มีอยู่เต็มสรรพางค์ร่างกาย... พูดง่ายๆ ทั้งขันธ์ 5 และจิตไม่มีช่องว่างตรงไหน พอจะเป็นเกาะเป็นดอนว่ากิเลสมองไม่เห็น กิเลสไม่ยึดไม่ถือ

    ร่างกายคืออสุภะ มีอวัยวะส่วนไหนที่ว่างาม ตามกิเลสเสกสรรปั้นยอ มันไม่มี มีแต่เรื่อง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อสุภะอสุภัง ป่าช้าฝีดิบเต็มไปหมดทั้งร่าง เขาร่างเราตลอดสัตว์ทั้งหลาย

    หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ
    วัดศรีสุทธาวาส (วัดเลยหลง) ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย


    [​IMG]


    การเข้าสมาธิมีประโยชน์ 2 อย่างคือ
    1. ทำให้กระแสจิตแรงกล้า มีแสงสว่างจ้ากว่าธรรมดา แสงสว่างนี้ เรียกว่าปัญญา ประโยชน์ของสมาธิในลักษณะนี้เราจะพูดสั้นๆ ว่า สมาธิทำให้เกิดปัญญาก็ได้ พระบาลียืนยันก็มีว่า สมาธิปริภาวิโต ปญฺญามหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิทำให้ปัญญาใช้ได้ผลมาก

    2. ทำให้กิเลสหมดไป หมายความว่าจิตคนเราตามปกติย่อมเต็มไปด้วยกิเลส ความรัก ความชัง ความหลง พอกพูนด้วยอารมณ์ทั้งดีทั้งร้าย จนกระทั่งได้ชื่อว่า ปุถุชนคนหนา ที่นี้จิตที่ถูกควบคุมเข้าสู่วงจำกัดทีละชั้นๆ นั้น จะทำได้ต่อเมื่อจนสละอารมณ์อันรุงรังออกจากจิตให้มากที่สุดจึงจะเข้าสมาธิชั้นในๆ ได้ เปรียบเหมือนว่า มีประตูอยู่ 8 ชั้น ชั้นนอกกว้างแล้วก็แคบเข้าตามลำดับคนๆ หนึ่งหาบของมารุงรังจะเข้าประตูนั้น ต้องทิ้งหาบอย่างน้อยก็ข้างหนึ่งจึงจะเข้าได้ พอไปถึงประตูที่ 2 ถ้ายังหิ้วของอยู่ก็เข้าไม่ได้ต้องทิ้งหิ้งพอจะเข้าประตูที่ 3 ต้องทิ้งห่อ จนกระทั่งเหลือแต่ตัวจึงจะเข้าประตูสุดท้ายได้ ฉันใดก็ฉันนั้น จิตจะต้องปล่อยอารมณ์เลวร้ายเรื่อยไป จึงจะเข้าฌาน โดยลำดับ ไปจนถึงฌานที่ 8 ได้ ท่านผู้ได้รูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี ก็ยังเป็นส่วนโลกียะอยู่ จุติจากอัตตภาพนั้น แล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลก ตามกำลังญาณของตน ส่วนผู้ปฏิบัติด้วยการชำระกาย วาจา และใจ ของตนให้บริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส จากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง มีราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะได้บรรลุมรรคผลสมประสงค์ทุกประการ


    รวมความว่า สมาธิมีประโยชน์ 2 อย่างคือ
    1. ทำให้ดวงปัญญาแก่กล้า แล
    2. ทำให้บรรลุนิพพาน

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    [​IMG]

    สมาธิวิธี พระญาณวิศิษฐ์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)

    ๑. นั่งสมาธิวิธี ให้นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาวางทับมือซ้าย อุชุ กายํ ปณิธาย ตั้งกายให้ตรง คือ ไม่ให้เอียงไปข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง และอย่างก้มนักเช่นอย่างหอยนาหน้าต่ำ อย่าเงยนักเช่นอย่างนกกระแต้ (นกกระต้อยตีวิด) นอนหงายถึงดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง อุชุ จิตฺตํ ปณธาย ตั้งจิตให้ตรงคืออย่าส่งใจไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และอย่าส่งใจไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างหวา พึงกำหนดรวมเข้าไว้ในจิตฯ


    .วิธีสำรวมจิตในสมาธิ มนสา สํวโร สาธุ สำรวมจิตให้ดี คือ ให้นึกว่าพระพุทธเจ้าอยูที่ใจ พระธรรมอยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ นึกอยู่อย่างนี้จนใจตกลงเห็นว่า อยู่ที่ใจจริงๆ แล้วทอดธุระเครื่องกังวลลงได้ว่า ไม่ต้องกังวลอะไรอื่นอีก จะกำหนดเฉพาะที่ใจแห่งเดียวเท่านนั้นจึงตั้งสติกำหนดใจนั้นไว้ นึกคำบริกรรมรวมใจเข้าฯ

    .วิธีนึกคำบริกรรม
    กตา กายก็ตรง จิตก็ตรง กายกมฺมญํญตา จิตฺตกมฺมญฺญตา กายก็ควรแก่การทำสมาธิ จิตก็ควรแก่การทำสมาธิ กายปาคุญฺญตา จิตูตปาคุญฺญตา กายก็คล่องแคล่ว จิตก็คล่องแคล่ว หายเหน็ดหายเหนื่อย หายเมื่อย หายหิว หายปวดหลังปวดเอว ก็รู้สึกว่าสบายในใจมาก ถึงเข้าใจว่าจิตเข้าสู่ภวังค์แล้วให้หยุดคำบริกรรมเสียและวางสัญญาภายนอกให้หมด ค่อยๆ ตั้งสติตามกำหนดจิตจนกว่าจิตนั้นจะหยุด และตั้งมั่นลงเป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่งก็อย่าเผลอสติ ให้พึงกำหนดอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะนั่งเหนื่อย นี้แล เรียกว่าภาวนาอย่างละเอียดฯ

    . วิธีออกจากสมาธิ เมื่อจะออกจากที่นั่งสมาธิภาวนา ในเวลาที่รู้สึกเหนื่อยแล้วนั้น ให้พึงกำหนดจิตไว้ให้ดีแล้วเพ่งเล็งพิจารณาเบื้องบนเบื้องปลายให้รู้แจ้งเสียก่อนว่า เบื้องต้นได้ตั้งสติกำหนดจิตอย่างไร พิจารณาอย่างไร นึกคำบริกรรมอะไร น้ำใจจึงสงบมาตั้งอยู่อย่างนี้ครั้นเมื่อใจสงบแล้ว ได้ตั้งสติอย่างไรกำหนดจิตอย่างไรใจจึงไม่ถอนจากสมาธิ พึงทำในใจไว้ว่า ออกจากที่นั่งนี้แล้ว นอนลงก็จะกำหนดอยู่อย่างนี้จนกว่าจะนอนหลับ แม้ตื่นขึ้นมาก็จะกำหนดอย่างนี้ตลอดวันและคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อทำในใจเช่นนี้แล้วจึงออกจากที่นั่งสมาธิ เช่นนั้นอีกก็ถึงทำพิธีอย่างที่ทำมาแล้วฯ

    . มรรคสมังคี ให้ตรวจดูจิตเสียก่อน ว่าจิตคิดอยู่ในอารมณ์อะไร ในอารมณ์อันนั้นเป็นอารมณ์ที่น่ารัก หรือน่าชัง เมื่อติดใจในอารมณ์ที่น่ารัก พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความรักเมื่อติดในอารมณ์ที่น่าชัง พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความชัง ไม่ตั้งเที่ยง พึงกำหนดส่วนทั้งสองนั้นให้เป็นคู่กันเข้าไว้ที่ตรงหน้าซ้ายขวา แล้วตั้งสติกำหนดใจตั้งไว้ในระหว่างกลาง ทำความรู้เท่าส่วนทั้งสอง เปรียบอย่างถนนสามแยกออกจากจิตตรงหน้าอก ระวังไม่ให้จิตแวะไปตามทางเส้นซ้าย เส้นขวา ให้เดินตรงตามเส้นกลาง แต่ระวังไม่ให้ไปข้างหน้า ให้กำหนดเฉพาะจิตอยู่กับที่นั่นก่อน แล้วนึกคำบริกรรมที่เลือกไว้จำเพาะพอเหมาะกับใจคำใดคำหนึ่งเป็นต้นว่า"พุทโธ ธัมโม สังโฆ๐๐" ๓ จบ แล้วรวมลงเอาคำเดียวว่า "พุทโธๆๆ" เป็นอารมณ์แพ่งจำเพาะจิต จนกว่าจิตนั้นจะวางความรักความชังได้ขาดตั้งลงเป็นกลางจริงๆ แล้วจึงกำหนดรวมทวนกระแสประชุมลงในภวังค์ ตั้งสติตามกำหนดจิตในภวังค์นั้นให้เห็นแจ่มแจ้งไม่ให้เผลอฯ

    .วิธีสังเกตจิตเข้าสู่ภวังค์ พึงสังเกตจิตใจเวลากำล ังนึกคำบริกรรมอยู่นั้น ครั้งเมื่อจิตตั้งลงเป็นกลางวางความรัก ความชังทั้งสองนั้นได้แล้ว จิตย่อมเข้าสู่ภวังค์ (คือจิตเดิม) มีอาการต่างๆ กัน บางคนรวมผับลง บางคนรวมปึบลง บางคนรวมวับแวมเข้าไปแล้วสว่างขึ้นลืมคำบริกรรมไป บางคนก็ไม่ลืม แต่รู้สึกว่าเบาในกายเบาในใจที่เรียกว่า กายลหุตา จิตฺตลหุตากายก็เบา จิตก็เบา กายมุทุตา จิตฺมุทุตา กายก็อ่อน จิตก็อ่อน กายปสฺสทฺธิ กายก็สงบ จิตก็สงบ กายุชุกตา จิตฺตุช
    มรรคมีองค์อวัยวะ ๘ ประการ ประชุมลงเป็นเอกมรรค คือ ๗ เป็นอาการองค์ที่ ๘ เป็นหัวหน้า อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ก็คือจิตเป็นผู้เห็น สัมาสังกับโป ความดำริชอบก็คือจิตเป็นผู้ดำริ สัมมาวาจา กล่าววาจาชอบ ก็คือจิตเป็นผู้นึกแล้วกล่าว สัมากัมมันโต การงานชอบ ก็คือจิตเป็นผู้คิดทำการงาน สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบก็คือจิตเป็นผู้คิดหาเลี้ยงชีวิต สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ก็คือจิตเป็นผู้มีเพียรมีหมั่น สัมมาสติ ความระลึกชอบ ก็คือจิตเป็นผู้ระลึกทั้ง ๗ นี้แหละเป็นอาการ ประชุมอาการทั้ง ๗ นี้ลงเป็นองค์สัมมาสมาธิ แปลว่าตั้งจิตไว้ชอบก็คือความประ กอบการกำหนดจิตให้เข้าสู่ภวังค์ได้แล้ว ตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้เป็นเอกัคคตาอยู่ในความเป็นหนึ่ง ไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มีออก ไม่มีเข้า เรียกว่า มรรคสมังคี ประชุมมรรคทั้ง ๘ ลงเป็นหนึ่ง หรือเอกมรรคก็เรียก มรรคสมังคีนี้ประชุมถึง ๔ ครั้ง จึงเรียกว่า มรรค ๔ ดังแสดงมาฉะนี้ฯ

    ๗. นิมิตสมาธิ ในเวลาจิตเข้าสู่ภวังค์และตั้งลงเป็นองค์มรรคสมังคีแล้วนั้น ย่อมมีนิมิตต่างๆ มาปรากฎในขณะจิตอันนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงตั้งสติกำหนดใจไว้ให้ดี อย่าตกประหม่ากระดากและอย่างทำความกลัวจนเสียสติและอารมณื ทำใจให้ฟุ้งซ่านรั้งใจไม่อยู่ จะเสียสมาธิ นิมิตทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นของเที่ยง เพียงสักว่าเป็นเงาๆ พอให้เห็นปรากฎแล้วก็หายไปเท่านั้นเองฯ นิมิตที่ปรากฎนั้น คือ อุคคหนิมิต ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑ นิมิตที่ปรากฎเห็นดวงหทัยของตนใสสว่างเหมือนกับดวงแก้ว แล้วยึดหน่วงเหนี่ยวรั้ง ให้ตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดีเรียกว่า อุคคหนิมิต ไม่เป็นของน่ากลัวฯ นิมิตที่ปรากฎเห็นคนตาย สัตว์ตาย ผู้ไม่มีสติย่อมกลัว แต่ผู้มีสติแล้วย่อมไม่กลัวยิ่งเป็นอุบายให้พิจารณาเห็นเป็นอสุภะแยกส่วนแบ่งส่วนของกายนั้นออกดูได้ดีทีเดียวและน้อมเข้ามาพิจารณาภายในกายของตนให้เห็นแจ่มแจ้ง จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ ยังน้ำใจให้ตั้งมั่นเป็นมาธิมีกำลังยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฏิภาคนิมิตฯ

    .วิธีเดินจงกรม พึงตั้งกำหนดหนทางสั้นยาวแล้วแต่ต้องการ ยืนที่ต้นทาง ยกมือประนม ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งความสัตย์อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะตั้งใจปฏิบัติเพื่อเป็นปฏิบัติบูชาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก ขอให้น้ำใจของข้าพเจ้าสงบระงับตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีปัญญาเฉลียวฉลาดรู้แจ้งแทงตลอดในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเทอญ แล้ววางมือลง เอามือขวาจับมือฬ้ายไว้ข้างหนึ่งเจริญพรหมวิหาร ๔ ทอดตาลงเบื้องต่ำ ตั้งสติกำหนดจิตนึกคำบริกรรมเดินกลับไปกลับมาจนกว่าจิตจะสงบรวมลงเป็นองค์สมาธิ ในขณะที่จิตกำลังรวมอยู่นั้น จะหยุดยืนกำหนดจิต ให้รวมสนิทเป็นสมาธิก่อนจึงเดินต่อไปอีกก็ได้ในวิธีเดินจงกรมนี้กำหนดจิตอย่างเดียวก ันกับนั่งสมาธิ แปลกแต่ใช้อิริยาบถเดินเท่านั้นฯ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า การทำความเพียรคือฝึกหัดจิตในสมาธิวิธีนี้ มีวิธีที่จะต้องฝึกหัดในอิริยาบททั้ง ๔ จึงต้องนั่งสมาธิบ้าง เดินจงกรมบ้าง ยืนกำหนดจิตบ้าง นอนสีหไสยาสน์บ้าง เพื่อให้ชำนาญคล่องแคล่ว และเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอฯ

    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    .วิธีแก้นิมิต มีวิธีที่จะแก้นิมิตได้เป็น ๓ อย่างคือ
    วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย คือ พึงตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้ให้มั่นคง ทำความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิ แม้มีนิมิตอะไรๆ มาปรากฎ หรือรู้เห็นเป็นจริงในจิตอย่างไรไม่ต้องหวั่นไหวไปตาม คือ ไม่ต้องส่งจิตคิดไป จะเป็นความคิดผิด ที่เรียกว่า จิตวิปลาสแปลว่า ความคิดเคลื่อนคลาด แปลกประหลาดจากความจริง นิ่งอยู่ในสมาธิไม่ได้ ให้บังเกิดเป็นสัญญา ความสำคัญผิดที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส แปลว่า หมายมั่นไปตามนิมิตเคลื่อนคลาดจากจิตผู้เป็นจริงทั้งนั้น จนบังเกิดถือทิฎฐิมานะขึ้นที่เรียกว่า ทิฎฐิวิปลาส แปลว่า ความเป็นเคลื่อนคลาดจากความเป็นจริง คือเห็นไปหน้าเดียว ไม่แลเหลียวดูให้รู้เท่าส่วนในส่วนนอก ชื่อว่าไม่รอบคอบ เป็นจิตลำเอียง ไม่เที่ยงตรง เมื่อรู้เช่นนี้จึงไม่ควรส่งจิตไปตาม เมื่อไม่ส่งจิตไปตามนิมิตเช่นนั้นแล้ว ก็ให้คอยระวังไม่ให้จิต เป็นตัณหาเกิดขึ้นคือไม่ให้จิตดิ้นรนยินดีอยากเห็นนิมิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นก็ดี หรือยินร้ายอยากให้นิมิตนั้นหายไปก็ดี หรือแม้ไม่อยากพบไม่อยากเห็นซึ่งนิมิตที่น่ากลัวก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ เรียกว่า ตัณหา ถ้าเกิดมีในจิตแต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็ให้รีบระงับดับเสีย คือถอนความอยากและควาไม่อยากนั้นออกเสีย เมื่อนิมิตมีมาก็อย่ายินดี เมื่อนิมิตหายไปก็อย่ายินร้าย หรือเมื่อนิมิตที่น่ากลัวมีมาก็อย่าทำความกลัวและอย่างทำความคดโกง อยากให้หายไปก็ไม่ว่า ไม่อยากให้หายไปก็ไม่ว่า อยากเห็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเห็นก็ไม่ว่า ให้เป็นสันทิฏฐิโกคือเห็นเอง อย่ากรู้ก็ไม่ว่า ไม่อยากรู้ก็ไม่ว่า ให้เป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ตั้งจิตไว้เป็นกลางๆ แล้วพึงทำความรู้เท่าอยู่ว่าอันนี้เป็นส่วนจิต อันนั้นเป็นส่วนนิมิต แยกส่วนแบ่งส่วนตั้งไว้เป็นคนละอัน รักษาเอาแต่จิตกำหนดให้ตั้งอยู่ เป็นฐีติะรรมเที่ยงแน่ว ทำความรู้เท่าจิตและนิมิตทั ้งสองเงื่อน รักษาไม่ให้สติเคลื่อนคลาดจากจิต ทั้งไม่ให้เผลอสติได้เป็นดี สติมาชื่อว่าเป็นผู้มีสติ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ถอนอภชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้แล้ว ก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย เมื่อประกอบข้อปฏิบัติอันนี้อยู่อย่างนี้ สติก็ตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่นประชุมกันเป็นสมาธิดังนี้ เรียกว่า ญาตปริญญาแปลว่า รู้เท่าอารมณ์ฯ

    วิธีที่ ๒ ตรวจค้นปฏิภาคนิมิต คือ เมื่อเห็นว่าจิตมีกำลังประชุมกันอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนาดีแล้ว พึงฝึกหัดปฏิภาคนิมิตให้ชำนาญ คือ เมื่อเห็นรูปนิมิตมาปรากฎในตาในจิตเห็นเป็นรูปคน เด็กเล็ก หญิงชาย หนุ่มน้อย บ่าวสาว หรือแก่เฒ่าชราประการใดประการหนึ่งก็ตาม แสดงอาการแลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิดตาเบื่อน อาการใดอาการหนึ่งก็ตามให้รีบพลิกจิตเข้ามากลับตั้งสติ ผูกปัญหาหรือทำในใจก็ได้ว่า รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง จะแก่เฒ่าชราต่อไปหรือไม่ เมื่อนึกในใจกระนี้แล้วถึงหยุดและวางคำที่นึกนั้นเสีย กำหนดจิตพิจารณานิ่งเฉยอยู่จนกว่าจะตกลงและแลเห็นในใจว่าเฒ่าแก่ชราได้เป็นแท้ จึงรีบพิจารณาให้เห็นแก่เฒ่าชราหลังขดหลังโขสั่นทดๆ ไปในขณะปัจจุบันทันใจนั้นแล้วผูกปัญหาถามดูทีว่า "ตายเป็นไหมเล่า" หยุดนิ่งพิจารณาอยู่อีกจนกว่าจะตกลงเห็นในใจได้ว่าตายแน่ตายแท้ไม่แปรผัน จึงรีบพิจารณาให้เห็นตายลงไปอีกเล่า ในขณะปัจจุบันทันใจนั้น "เมื่อตายแล้วจะเปื่อยเน่าตายทำลายไปหรือไม่" หยุดนิ่งพิจารณาเฉยอยู่อีก "จนกว่าจิตของเราจะตกลงเป็นว่าเปื่อยเน่าแตกทำลายไปหรือไม่" หยุดนิ่งพิจารณาเฉยอยู่อีก จนกว่าจิตของเราจะตกลงเห็นว่าเปื่อยเน่าแตกทำลายไปได้แท้แน่ในใจฉะนี้แล้ว ก็ให้รีบพิจารณาให้เห็นเปื่อยเน่าแตกทำลายจนละลายหายสูญลงไป เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ไปตามธรรมดา ธรรมธาตุธรรมฐีติ ธรรมนิยามะ แล้วพลิกเอาจิตของเรากลับทวนเข้ามาพิจารณากายในกายของเราเอง ให้เห็นลงไปได้อย่างเดียวกัน จนกว่าจะตกลงและตัดสินใจได้ว่าร่างกายของเรานี้ ก็แก่เฒ่าชรา ทุพพลภาพแตกตาย ทำลาย เปื่อยเน่าไปเป็นเหมือนกัน แล้วรีบตั้งสติพิจารณาเห็นเป็นแก่เฒ่าชราดูทันที และพิจารณาให้เห็นตายลงไปในขณะปัจจุบัน แยกส่วนแบ่งส่วนออกดูให้เห็นแจ้งว่า หนังเป็นอย่างไร เนื้อเป็นอย่างไรกระดูกเป็นอย่างไร ตับไตไส้พุงเครื่องในเป็นอย่างไร เป็นของงามหรือไม่งาม ตรวจดูให้ดีพิจารณาให้ละเอ ียดจนกว่าจะถอนความยินดียินร้ายเสียได้ แล้วพิจารณาให้เห็นเปื่อยเน่าผุพังลงถมแผ่นดินไป ภายหลังกลับพิจารณาให้เห็นเป็นคืนมาอีก แล้วฝึกหัดทำอยู่อย่างนี้จนกว่าจะชำนาญหรือยิ่งเป็นผู้มีสติได้พิจารณาให้เนื้อ หนัง เส้น เอ็น และเครื่องในทั้งหลาย มีตับ ไต ไส้ พุง เป็นต้น เผื่อยเน่าผุพังลงไปหมดแล้ว ยังเหลือแต่ร่างกระดูกเปล่าจึงกำหนดเอาร่างกระดูกนั้นเป็นอารมณ์ทำไว้ในใจ ใคร่ครวญให้เห็นแจ้งอยู่เป็นติจจนกว่าจะนับได้ทุกกระดูกก็ยิ่งดีเพียงเท่านี้ก็เป็นอันแก้นิมิตได้ดี่ทีเดียวฯ คราวนี้ถึงทำพิธีพิจารณาเป็น อนุโลม ถอยขึ้นถอยลง คือตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดีแล้วเพ่งพิจารณาให้เห็นผมอยู่บนศีรษะมีสีดำ สัญฐานยาว ก็จะหงอกขาวลงถมแผ่นดินทั้งนั้นและพิจารณาให้เห็นขนซึ่งเกิดตามชุมชนตลอดทั่วทั้งกายนอกจากฝ่ามือฝ่าเท้า ก็จะลงถมแผ่นดินเหมือนกัน พิจารณาเล็บที่อยู่ปลายนิ้วเท้านิ้วมือ ให้เห็นเป็นของที่จะต้องลงถมแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น พิจารณาฟันซึ่งอยู่ในปากข้างบนข้างล่างให้เห็นแจ้งว่าได้ใช้เคี้ยวอาหารการกินอยู่เป็นนิจ แต่ก็จะต้องลงถมแผ่นดินเหมือนกัน คราวนี้พิจารณาหนังเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมาเบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหลังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ยังชีวิตนี้ให้ตั้งอยู่ได้แล้วเป็นไป ถ้าถลกหนังนี้ออกหมดแล้วก็ต้องตาย ตายแล้ว ต้องถมแผ่นดิน พิจารณาเห็นความจริงฉะนี้แล้วเลิกหนังออกวางลงไว้ที่พื้นดิน พิจารณาเส้นเอ็นให้เห็นแจ้งว่า เส้นเอ็นทั้งหลายรัดรึงกระดูกไว้ให้ติดกันอยู่ เมื่อเลิกเส้นเอ็นนี้ออกหมดแล้วกระดูกก็จะหลุดจากกันผุพังลงถมแผ่นดินทั้งสิ้น แล้วกำหนดเลิกเส้นเอ็นนี้ออกเสียกองไว้ที่พื้นดินพิจารณาร่างกระดูกให้เห็นแจ้งว่า กระดูกในร่างกายนี้มีเป็นท่อนๆ เบื้องต้นแต่กระดูกกระโหลกศีรษะลงไปเบื้องบนแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นมา เห็นได้กระจายสมควร แล้วเพ่งเล็งพิจารณาดูเครื่องในทั้งหลายให้เห็นว่า ปอดอยู่ที่ไหน ม้ามอยู่ที่ไหน ดวงหฤทัยอยู่ที่ไหน ใหญ่น้อยเท่าไร เห็นตับไต ไส้พุง อาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน มีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร มีสีสันวรรณะเป็นไฉน เครื่องในทั้งแวงนี้ เป็นที่ประชุมแห่งชีวิตก็จริง แต่ก็จะต้องถมแผ่นดิน เมื่อพิจารณาเห็นฉะนี้แล้วจึงกำหนดให้ขาดตกลงไปกองไว้ที่พื ้นดิน ยังเหลือแต่ร่างกระดูก จึงพิจารณาดูกระดูกกระโหลกศีรษะเป็นลำดับลงมา กระดูกคอ กระดูกแขน กระดูกหัวไหล่ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกเอว กระดูกตะโพก กระดูกต้นขากระดูกแข้ง กระดูกพื้นเท้า พิจารณาอย่างนี้เรียกว่าอนุดลมฯ คราวนี้พึงพิจารณาเป็นปฏิโลม คือพิจารณาถอยกลับขึ้นเบื้องบนตั้งแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นไปตลอดถึงกระดูกกระโหลกศีรษะ พิจารณาทบทวนกลับจากศีรษะถอยลงมาตรงหน้าอกนั้นให้มั่นคงทำในใจว่า ร่างกายทั้งหมดนี้มีจิตเป็นใหญ่ประชุมอยู่ที่จิต จึงกำหนดรวมจิตเข้าให้สงบ แลตั้งอยู่เป็นเอกัคคตา วิธีที่ ๒ นี้เรียกว่า ตีรปริญญา แปลว่า ใคร่ครวญอารมณ์ฯ ขอเตือนสติไว้ว่า ในระหว่างนี้กำลังพิจารณาอยู่นั้น ห้ามไม่ให้จิตเคลื่อนจากที่คิด ระวังไม่ให้ส่งจิตไปตามอาการ จิตจะถอนจากสมาธิ ถ้าจิตถอนจากสมาธิเป็นใช้ไม่ได้ข้อสำคัญให้เอาจิตเป็นหลัก ไม่ให้ปล่อยจิต ให้มีสติเพ่งเล็งให้รอบจิต พิจารณาให้รอบกายรักษาใจไม่ให้ฟุ้งจึงไม่ยุ่งในการพิจารณาฯ

    วิธีที่ 3 เจริญวิปัสสนา คือ เมื่อผู้ปฏิบัติทั้งหลายได้ฝึกหัดจิตมาถึงขั้นนี้ มีกำลังพอพิจารณาปฏิภาคนิมิตได้ชำนาญคล่องแคล่วเป็นประจักขสิทธิ ดังที่อธิบายมาแล้ว และกำหนดจิตรวมเข้าไว้ในขณะจิตอันเดียว ณ ที่หน้าอก ตั้งสติพิจารณาดูให้รู้รอบจิต เพ่งพินิจให้สว่างแลเห็นร่างกระดูกทั่งทั้งกาย ยกคำบริกรรมวิปัสสนาวิโมกขปริวัตรขึ้นบริกรรมจำเพาะจิตว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา ให้เห็นร่างกระดูกทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน หม่ควรถือเอา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์กำหนดให้เห็นกระดูกทั้งหลายหลุดจากกันหมด ตกลงไปกองไว้ที่พื้นดิน คราวนี้ตั้งสติให้ดีรักษาไว้ซึ่งจิต อย่าให้เผลอ ยกคำบริกรรมวิปัสสนานั้นอีก เพ่งพิจารณาจำเพาะจิตให้เห็นเครื่องอวัยวะที่กระจัดกระจายกองไว้ที่พื้นดินนั้น ละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ถมแผ่นดินไปหมด กำหนดจำเพาะจิตผู้รู้ เพ่งพินิจพิจารณาให้เห็นพื้นแผ่นดิน กว้างใหญ่เท่าพรเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งโลก ก็ยังต้องฉิบหายด้วยน้ำ ด้วยลม ด้วยไฟยกวิปัสสนาละลายแผ่นดินนี้เสียให้เห็นเป็นสภาวธรรม เพียงสักว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น รวบรวมเอาแต่จิตคือผู้รู้ ตั้งไว้ให้เป็นเอกจิต เอกธรรม สงบนิ่งแน่วอยู่ และวางลงเป็นอุเบกขาเฉยอยู่กับท ี่ คราวนี้จะแลเห็นจิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นทีเดียว ก้างล่วงจากนิมิตได้ดี มีกำลังให้แลเห็นอำนาจอานิสงส์ของจิตที่ได้ฝึกหัดสมาธิมาเพียงชั้นนี้ ก็พอมีศรัทธาเชื่อในในของตนในการที่จะกระทำความเพียรยิ่ง ๆ ขึ้นไป วิธีนี้ 3 นี้ เรียกว่า ปหานปริญญา แปลว่า ละวางอารมณ์เสียได้แล้ว


    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    photo9.jpg


    "อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว"

    ธรรมโอวาท ท่านได้เทศน์โปรดญาติโยมลูกศิษย์มากกว่าครึ่งศตวรรษ และกระทำเรื่อยมาจนกระทั่งคืนสุดท้าย ก่อนจะมรณภาพเพียงหนึ่งชั่วโมง ท่านก็ยังอบรมสั่งสอนศิษย์อยู่ ท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของ การรักษาศีล โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ ท่านจะเน้นให้บรรดาศิษย์รักษาเพิ่มจาก ศีล 5 เป็น ศีล 8 ท่านได้อธิบายอานิสงส์ของศีลให้ฟังว่า ศีล 5 นี้ พระพุทธเจ้า ท่านมีเมตตาต่อผู้ครองเรือน ผู้รักษาศีล 5 ย่อมสำเร็จโสดาบันได้ สำหรับศีล 8 ย่อมช่วยให้สามารถสำเร็จถึงอนาคามีได้ พระธรรมเทศนาของท่าน จะย้ำเสมอเรื่องการบริจาคทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา ท่านมักจะเน้นเรื่องศีลอยู่เสมอ เพราะ ศีล แปลว่า ความปกติ เป็นการรักษาใจให้ปกติ อันเป็นบาทเบื้องต้นของการภาวนา หากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ การภาวนาก็จะก้าวหน้ารวดเร็ว ผู้มีศีลย่อมต้องมีจิตใจผ่องใส เป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย ในสังคมที่อยู่ร่วมกันนี้ ถ้าทุกคนรักษาศีล 5 บ้านเมืองก็จะสงบราบรื่น ปราศจากขโมย ไม่มีการฆ่าฟันกัน อานุภาพแห่งศีล ย่อมรักษาตัวผู้รักษาศีล และ สังคมโดยรอบได้ หลังจากได้ฟอกจิตด้วยการรักษาศีลแล้ว การบำเพ็ญทาน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้จิตใจโน้มน้าวตัดความตระหนี่ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ถึงกัน ส่วนเรื่อง จิตภาวนา นั้น ท่านจะเน้นว่ามีอานิสงส์มาก ท่านกล่าวเสมอว่า กิเลสมีร้อยแปดประตู แต่พุทโธมีประตูเดียว เพราะฉะนั้น ให้ฝึกหัดปฏิบัติให้คุ้นเคย วาระที่เราจะเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ดังนั้นจงเพียรฝึกจิตให้คุ้นไว้กับพุทโธ

    ท่านละเอียดพิถีพิถันมากในทุกเรื่อง เป็นต้นแบบให้สาธุชนรู้จักฝึกตนให้รู้จักการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ อย่างถูกต้อง คือ นอกจากเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง ศอกจรดพื้น หน้าผากต้องแตะถีงพื้นด้วย จึงจะเป็นท่ากราบที่งดงาม ในการกราบครั้งที่หนึ ่งให้มีน้อมจิตรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า กราบครั้งที่สองให้นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของท่านที่สืบต่อพระศาสนามาจนทุกวันนี้ กราบครั้งที่สามให้ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสมมติสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการกราบทุกครั้ง ต้องน้อมจิตให้รำลึกด้วยเสมอ จิตจะเอิบอาบในการบุญ จะเป็นจิตที่อ่อนน้อมควรแก่การงาน หากฝึกเช่นนี้เสมอ จะเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตน ให้ดูจิตของตัวเอง ภาวนาให้จิตใจสงบ มัธยัสถ์ปัจจุบัน ม้างกายให้มาก จะช่วยให้หมดความกำหนดหลงติดในสีสันของกามวัตถุ ให้หมั่นมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย อานิสงส์ของการช่วยชีวิตสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่า มีผลทำให้อายุยืน แม้ยามตกทุกข์ได้ยาก ก็จะมีคนมาช่วยเหลือ ไม่ติดคุกติดตาราง หลักการม้างกาย ของท่าน คือ การพิจารณาปล่อยวางธาตุขันธ์ ส่วนการภาวนาหรือทำจิตทำใจ ให้ดูอาการของจิต ก่อนตาย อย่าไปดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว เวลาธาตุจะตีลังกาเปลี่ยนภพ จิตจะออกจากร่าง ให้พิจารณาตามจิต จะเห็นว่า จิตจะออกจากร่างอย่างไร ไปอย่างไร จิตจะเข้าๆ ออกๆ อย่างไร จะมืดๆ สว่างๆ อย่างไร จะมีอาการเหนื่อยหอบมาก ให้กำหนดตามจิต จะเห็นอาการจิตชัด แต่หากตามไม่ทัน ก็ให้ปล่อยไปให้ได้ปัจจุบันขณะ ท่านจะย้ำเสมอว่า อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียวและ ขอให้เร่งทำความเพียร มีความสามัคคี กลมเกลียวกัน

    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  6. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขอกราบบูชาหลวงปู่ทุกรูปเหนือเศียรเกล้า
    ขออนุโมทนาบุญจากการให้ธรรมทานของท่านผู้ตั้งกระทู้ ครับ
    <O:pสาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน
    </O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2008
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    วัดอรัญญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    [​IMG]

    1. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นโทษทั่งนักบวช ทั้งคฤหัสถ์ ถ้าใครสะสมกิเลอให้แน่นหนาทั้งในใจ ใจก็ให้ทุกข์ ให้โทษกับผู้นั้น ไม่ใช่ให้ทุกข์แก่นักบวชฝ่ายเดียว

    2. อันสตินี้ สัมปชัญญะนี้ ก็สมมติเป็นโชเฟอร์กำพวงมาลีย มีสติคอยระมัดระวัง กาย วาจา จิต อยู่เสมอๆ คอยระวังเรื่องต่างๆ ระมัดระวังไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเที่ยวประกาศ ห้ามใครมาติชมเรา ที่ว่าระวังนั้น คือ เมื่อมีเรื่องมากระทบให้รู้ทัน ในทันที เราจะห้ามจิตไม่ให้หวั่นไหวไปไม่ได้ แต่ให้ระวัง ต้องควบคุมจิตด้วยสติให้ถี่ๆ กระชับสติสัมปชัญญะให้มันถี่เข้ามา จะได้ไม่หวั่นไหวกับคำพูดเสียดแสงใจต่างๆ

    3. ถ้าจิตสงบมีกำลังพักผ่อนเต็มที่แล้ว มันก็จะอยากรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ ต้องกำหนดหาเรื่องที่ควรจะรู้ สิ่งใดที่เรายังไม่รู้ก็ต้องกำหนดพิจารณา เช่น กำหนดพิจารณาทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เบื่อในทุกข์ของขันธ์5 ในไม่เที่ยงแปรปรวน อาการหวั่นไหวกันไปมานั่นแหละ เรียกว่า ทุกขลักษณะ เมื่อจิตรู้อย่างนี้ ก็จะได้ไม่หวั่นไหว ไม่ยึดเอาของไม่เที่ยงมาเป็นทุกข์

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2015
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ปล. ขอบคุณ คุณMBNY นะคะ
    สำหรับรูปภาพหลวงปู่
    .................................
    ขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่านด้วยคะ
     
  9. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอบคุณค่ะ ต้องขอเก็บไว้เพื่ออ่าน ศึกษา และเผยแผ่ให้เพื่อน ๆ ต่อไปนะคะ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  10. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    กระทู้นี้ ลงปักหมุดเลยครับ
    สาธุๆด้วยขอบคุณที่รวบรวม
    แล้วของใครมีก็เพิ่มเติมไปเลยครับ
    อนุโมทนาด้วยใจจริง
     
  11. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    งูขาว

    ยอดเยี่ยม ไร้ที่ติ ถึงที่สุด ถึงใจ ไร้ข้อสงสัย เป็นล้านๆพระธรรมขัน ก็ต้องกลั่น กันออกมาจากจิต กันแบบนี้แหละ ไม่ต้องไปกัดตำราที่ไหนอะไร กัดเข้าไปที่ใจแบบนี้ ถึงใจแบบนี้และ ของจริงมันอยู่ที่ตรงนี้ ขอกราบน้อมวันทาด้วยศรัทธาไม่เครือบแครง รวมจิตและร่วมแรงเทิดแทนคุณ คุณอาจารย์ ทุกหลวงปู่เด้อ .........ศิษย์จะทำหน้าที่ต่อให้พระศาสนาจงจำรูญ จนกว่าลมหายใจสุดท้าย.........ตายไปกับพุทโธ สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  12. noraphat

    noraphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +327
    อนุโมทนาสาธุครับ....
    ผมขออนุญาตดำเนินการรวบรวมเพื่อแสดงเป็นธรรมทาน....ที่นี่ครับ
    http://ariyadham.saiyaithai.org/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  13. แขไฉไล

    แขไฉไล สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +10
    ขออนุโมทนากับแนวทางปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์ทุกองค์ค่ะ
     
  14. devbara

    devbara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +5,400
    ขออนุโมทนาบุญด้วย
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ _/|\_
     
  15. jobnt

    jobnt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +499
    กราบนมัสการพระอริยสงฆ์ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตปัจจุบันและอนาคต
    โมทนาสาธุกับทุกท่านที่นำคำสอนมาเผยแผ่
     
  16. lasomchai

    lasomchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +2,036
    ขออนุโมทนาด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  17. หญ้าคา

    หญ้าคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +138
    อนุโมทนาสาธุครับผม ขอนำธรรมของหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา มาลงครับ
    เวลาเราก็มีไม่มาก เกิดมาชาติหนึ่ง เวลาสูญเปล่ามีมาก มีเวลทำงานจริงๆมีไม่มาก เวลาสูญเปล่ามีตลอดชีวิต เวลาเหลือน้อย จะทำอะไรรีบๆทำ
     
  18. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    ถึงพร้อมด้วยปริยัติ ที่เราสามารถน้อมนำมาปฏิบัติ เพื่อให้ถึงปฏิเวธ อย่างพระอรหันตเจ้าทุกๆรูปท่านเข้าถึง เป็นกระทู้ที่เนื้อหาสมบูรณ์แบบจริงๆ โมทนาด้วยครับ " ถ้ายังมีผู้ปฏิบัติตามอริยะมรรค มี องค์ ๘ อยู่ โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์" สาธุ สาธุ อนุโมทามิ นิพพานะปัจจะโยโหตุ ปัจุปันนาชาติเม
    หมายเหตุ โลกกำลังร้อนมากๆอย่างนี้ มาช่วยกันปฏิบัติ ศึล สมาธิ ปัญญากันมากๆนะครับพี่น้อง โลกนี้จะได้ไม่ว่างจากพระอรหันต์ จะได้มีแต่ความสงบเย็นภายในใจ ไปสู้กับความเร่าร้อนภายนอก ให้เกิดความสงบลง เย็นลงในที่สุด
     
  19. ทศพร

    ทศพร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +77
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ขอบคุณคุณผู้รวบรวมและจัดทำแนวทางปฏิบัติธรรมที่มีประโยชน์อย่างสูงต่อพุทธศาสนิกชนไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  20. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรม ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ)
    วัดเทพศิรินทราวาส จ.กรุงเทพมหานคร


    เรื่องการหน่ายกาม

    ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้แนะนำสอนพระฝรั่ง ที่ได้มาพบสนทนา ภายในโบสถ์วัดเทพศิรินทร์ฯ หลังจากหลังจากท่านได้ปฏิบัติกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านพระครูปัญญาภรณ์โสภณ (มหาอำพันบุญ-หลง) จึงเห็นว่ามีความสำคัญมาก ได้ขออนุญาตจากท่านบันทึกไว้พิมพ์แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ เพราะจะได้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชน โดยท่านพระครูปัญญาภรณ์ ฯ ได้พิมพ์ทั้งในด้านภาษาไทย-อังกฤษไว้ ดังมีใจความดังนี้

    Sensual cra...ving arises through unwise thinking on the agreeable and delightful.
    กามฉันท์ หรือกามตัณหา เกิดขึ้นจากความไม่ฉลาด หลงคิด เห็นอารมณ์ต่าง ๆ เป็นที่ถูกใจและน่ายินดี

    It may be suppressed by the following ๖ methods:-
    สามารถข่มไว้ได้ด้วยวิธีทั้ง ๖ ดังต่อไปนี้:-

    ๑. Fixing the mind upon an idea that arouses disgust.
    เพ่งใจให้เห็นอสุภารมณ์ คือ อารมณ์ที่ปฏิกูล น่าเกลียดไม่งามของสังขารร่างกาย จนให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายความรักใคร่ หายความกำหนัดยินดี

    ๒. Meditation upon the impurity of the body.
    เพ่งพินิจ พิจารณาความปฏิกูลของร่างกาย (แยกออกเป็นอาการ ๓๒ ที่เรียกว่า กายคตาสติภาวนามี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอ็น กระดูก เป็นต้น)

    ๓. Watching over the sin doors of sense.
    ใช้สติสำรวมอินทรีย์ เฝ้าระวังทวารทั้ง ๖ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อได้ประสบพบเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ อย่าให้ความรักใคร่ กำหนัด ยินดียินร้าย เกิดขึ้นภายในจิตใจ)

    ๔. Moderation in eating
    ให้รู้จักประมาณการบริโภคอาหาร อย่าให้อิ่มมากจนเกินไป จะเป็นเหตุให้เกิดความกำหนัดทางกายและลุกลามเข้าไปถึงจิตใจ ให้เกิดความเศร้าหมองด้วยฉันทราคะ

    ๕. Cultivation friendship with the good.
    ทำความวิสาสะคบหาสมาคม สนทนาปราศรัย สนิทสนมคุ้นเคยกับกัลยาณมิตร เพื่อนผู้ดีงาม ที่จะชักชวนให้สนทนาไปในทางที่จะให้เสื่อมคลาย หายความรักใคร่ กำหนัด ยินดี และยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

    ๖. Right instruction
    ฝึกฝนปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้อง ตามไตรสิกขา คือ :- ศีล สมาธิ ปัญญา
    ๑. พยายามกำจัดตัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบ ที่ล่วงออกมา ทาง กายวาจาด้วยศีล
    ๒. พยายามกำจัดตัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง คือ นิวรณ์ ทั้ง ๕ มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ด้วยสมาธิ ย่นย่อ นิวรณ์ ๕ ลงเป็น ๓ คือ:-

    ๑. ราคะโลภะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ

    ๑. กามฉันท์นิวรณ์ ความพอใจในกามเป็น ฝ่ายราคะโลภะ

    ๒. พยาบาทนิวรณ์ ความขึ้งเคียดโกรธ เคือง เป็นฝ่ายโทสะ ที่เหลือ อีก ๓ คือ ถีนะมิทธะ ความหดหู่ง่วงเหงา อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ และ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยทั้ง ๓ นี้ เป็นฝ่ายโมหะ

    ๓. พยายาม กำจัด ตัดกิเลส อย่างละเอียด ที่เกิดจากทิฐิความเห็นด้วย ปัญญา ด้วยการพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งมี ลักษณะเกิดขึ้น เสื่อมสิ้นกันไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

    The sensual craving is forever destroyed upon the entrance into Anagamiship.
    กามฉันท์ หรือ กามตัณหานี้ สลัดกำจัดตัดได้อย่างเด็ดขาด ต่อเมื่อเข้าสู่กระแส พระอนาคามิมรรค บรรลุถึงพระอนาคามิผล

    ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกฺขุ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...