เอาบุญมาฝาก...ถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน

ในห้อง 'อนุโมนาบุญ - อุทิศบุญส่วนกุศล' ตั้งกระทู้โดย dhammavoice, 16 มิถุนายน 2011.

  1. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  2. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    สังฆทานวันนี้เป็น ขนมปังสังขยา ทาร์ตไข่ ยาคูลท์
    ขอท่านทั้งหลายจงรับเอาส่วนบุญเถิด

    [​IMG]

    วันนี้มีหัวใจหลายดวง ดอกไม้ช่อเท่าไหร่นะ 60 หรือ 80 บาท
    ใช้พิมพ์คุ้กกี้กดเอา อ๊างง..
    [​IMG]


    ซื้อพิมพ์คุ้กกี้เก็บไว้นานแล้ว ชิ้นหนึ่งประมาณ 25 บาทได้ ไม่ค่อยได้ใช้ เลยไปรื้อออกมาใช้ซะหน่อย
    อย่าไปหาซื้อในห้างนะคะ เพราะไม่ค่อยมี ต้องไปซื้อตามร้านซื้อขายอุปกรณ์เครื่องครัว

    [​IMG]

    เนื่องจากไปอ่านเรื่อง ชีวิตเจ้าพ่อ ภาคการ์ตูน " กำเนิดยาคูลท์ "
    เลยอยากทำบุญด้วยยาคูลท์ขึ้นมา ไปกวาดซื้อร้านแถวบ้านเหมาหมดได้มาแค่ 13 ขวดเอง 71.50 บาท ยาคูลท์ บางครั้งก็หาซื้อยาก ไม่มีขายใน 7-11 ด้วย

    ทาร์ตไข่ ขนมของประเทศตุรกี แต่ว่าวันนี้ยืนคุยกับแม่ค้าเค้าบอกว่าเป็นขนมตุรกี แต่ว่าไปเรียนมาจากมาเก๊าหรือฮ่องกงนะ จำไม่ได้
    เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้ว แบ่งกันกินกับเพื่อน เลยติดใจซื้อมาทำบุญดูบ้าง ดูน่าตาธรรมดานะแต่ว่าอร่อยดี
    ชิ้นใหญ่ ทาร์ตไข่ขาว ชิ้นละ 30 บาท 10 ชิ้น
    ชิ้นเล็ก ทาร์ตไข่แดง ชิ้นละ 17 บาท 10 ชิ้น
    บอกแม่ค้าด้วยว่้าจะเอามาทำบุญ เค้าจะได้อนุโมทนาด้วย และเผื่อทีเค้าอาจจะลดราคาให้ ...อิอิ
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    ขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ ถุง 10 แผ่น 17 บาท
    สังขยาร้านหน้าปากซอย 20 บาท อร่อยดีจัง หอมกลิ่มใบเตย
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  4. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    เรื่องสุมนสามเณร
    เกี่ยวกับการอธิษฐานให้ไม่รู้จักคำว่า "ไม่มี" เลยทำบุญเลียนแบบเสียเลย

    คัดลอกจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 43 หน้า 395-415

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 395***

    ๑๒. เรื่องสุมนสามเณร [๒๖๓]
    ข้อความเบื้องต้น
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภสุมนสามเณร
    ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย หเว " เป็นต้น.
    บุรพกรรมของพระอนุรุทธะ
    อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-
    ความพิสดารว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ
    กุลบุตรผู้หนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ
    กว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ในท่ามกลางบริษัท ๔ ปรารถนาสมบัติ
    นั้น จึงนิมนต์พระศาสดา ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
    ประมุขสิ้น ๗ วัน แล้วตั้งความปรารถนาว่า " พระเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์
    พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
    พระองค์หนึ่งในอนาคต."
    พระศาสดาทรงตรวจดูสิ้นแสนกัลป์ ทรงทราบความสำเร็จแห่ง
    ความปรารถนาของเขาแล้ว จึงทรงพยากรณ์ว่า " ในที่สุดแห่งแสนกัลป์
    แต่ภัทรกัลป์นี้ เธอจักเป็นผู้ชื่อว่าอนุรุทธเถระ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้
    ได้ทิพยจักษุ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม." เขาฟัง
    คำพยากรณ์นั้นแล้ว สำคัญสมบัตินั้นดุจว่าอันตนบรรลุในวันพรุ่งนี้, เมื่อ
    พระศาสดาปรินิพพานแล้ว, จึงถามการบริกรรมเพื่ออันได้ทิพยจักษุกะ
    พวกภิกษุ ให้ทำโคมต้นหลายพันต้น ล้อมพระสถูปทองอัน (สูงใหญ่ได้)
    ๗ โยชน์ แล้วให้ทำการบูชาด้วยประทีป จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดใน

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 396**

    เทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกสิ้นแสนกัลป์ ในกัลป์นี้
    เกิดในตระกูลของคนเข็ญใจ ในกรุงพาราณสี อาศัยสุมนเศรษฐี เป็นคน
    ขนหญ้าของเศรษฐีนั้นเลี้ยงชีพแล้ว. เขาได้มีชื่อว่า " อันนภาระ." แม้
    สุมนเศรษฐีก็ถวายมหาทาน ในพระนครนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์.
    ภายหลังวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธะนามว่าอุปริฏฐะ ออกจาก
    นิโรธสมาบัติที่เขาคันธมาทน์แล้ว คิดว่า "วันนี้ เราจักทำความอนุเคราะห์
    แก่ใครหนอแล ?" ทราบว่า " วันนี้ การที่เราทำความอนุเคราะห์แก่บุรุษ
    ชื่ออันนภาระ ควร, ก็บัดนี้ เขาขนหญ้าจากดงแล้วจักมาเรือน" ดังนี้
    แล้ว จึงถือบาตรและจีวรไปด้วยฤทธิ์ ปรากฏเฉพาะหน้าของอันนภาระ.
    อันนภาระเห็นท่านมีบาตรเปล่าในมือแล้ว ถามว่า " ท่านขอรับ ท่านได้
    ภิกษาบ้างแล้วหรือ ?" เมื่อท่านตอบว่า " เราจักได้ละ ท่านผู้มีบุญมาก "
    จึงเรียนว่า "ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดรอหน่อย
    เถิด" ดังนี้แล้ว ก็ทิ้งหาบหญ้าไว้ ไปสู่เรือนโดยเร็ว ถามภรรยาว่า " นาง
    ผู้เจริญ ภัตส่วนที่หล่อนเก็บไว้เพื่อฉันมีหรือไม่ ? " เมื่อนางตอบว่า " มี
    อยู่ นาย," จึงกลับมาโดยเร็ว รับบาตรของพระปัจเจกพุทธะไปสู่เรือน
    ด้วยคิดว่า " เมื่อความที่เราเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะให้ มีอยู่ ไทยธรรมไม่
    มี, เมื่อไทยธรรมมี เราไม่ได้ปฏิคาหก แต่วันนี้ปฏิคาหกเราก็พบแล้ว
    และไทยธรรมของเราก็มีอยู่, เป็นลาภของเราหนอ" ให้เทภัตลงในบาตร
    แล้วนำกลับมาตั้งไว้ในมือพระปัจเจกพุทธะแล้วตั้งความปรารถนาว่า :-
    " ก็ด้วยทานอันนี้ ความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มี
    แล้วแก่ข้าพเจ้า, ชื่อว่าคำว่า ไม่มี อย่ามีแล้วใน
    ภพน้อยภพใหญ่.


    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 397***

    ท่านเจ้าข้า ขอข้าพเจ้าพึงพ้นจากการเลี้ยงชีพอันฝืดเคืองเห็นปานนี้,
    ไม่พึงได้ฟังบทว่า ' ไม่มี ' เลย."

    พระปัจเจกพุทธะกระทำอนุโมทนาว่า " ขอความปรารถนาของท่าน
    จงเป็นอย่างนั้นเถิด ท่านผู้มีบุญมาก" ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป.
    เทพดาผู้สิงอยู่ในฉัตรแม้ของสุมนเศรษฐี กล่าวว่า :-
    " น่าชื่นใจจริง ทานเป็นทานเยี่ยม อันนภาระ
    ตั้งไว้ดีแล้วในพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธะ "
    ดังนี้แล้วก็ได้ให้สาธุการสามครั้ง.
    ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะเทพดานั้นว่า "ท่านไม่เห็นเราผู้ถวายทาน
    อยู่สิ้นกาลประมาณเท่านี้หรือ ? "
    เทพดา. ข้าพเจ้าปรารภทานของท่านแล้วให้สาธุการก็หาไม่, แต่
    สาธุการนี่ ข้าพเจ้าให้เป็นไปแล้ว ก็เพราะความเลื่อมใสในบิณฑบาตที่
    อันนภาระถวายแล้วแก่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธะ.
    เศรษฐีนั้นคิดว่า " น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ: เราถวายทาน
    สิ้นกาลเท่านี้ ก็ไม่สามารถเพื่อจะให้เทพดาให้สาธุการได้, อันนภาระ
    อาศัยเราเป็นอยู่ ยังให้เทพดาสาธุการด้วยบิณฑบาตหนเดียวเท่านั้นได้,
    เราจักทำสิ่งอันสมควรกันในทานของเขา แล้วทำบิณฑบาตนั้นให้เป็น
    ของ ๆ เราเสีย " ดังนี้แล้ว จึงให้เรียกเขามาถามว่า " วันนี้ เจ้าได้ให้
    อะไรแก่ใครบ้าง ?"
    อันนภาระ. นายขอรับ, วันนี้ กระผมถวายภัตตาหารแก่พระ-
    อุปริฏฐปัจเจกพุทธะ.


    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 398***

    เศรษฐี. เอาเถอะ พ่อ เจ้าจงถือเอากหาปณะ แล้วให้บิณฑบาต
    นั่นแก่ฉันเถิด.
    อันนภาระ. ให้ไม่ได้ดอกนาย.
    เศรษฐีนั้น ขึ้นราคาให้จนถึงพัน. ฝ่ายอันนภาระนี้ ก็มิได้ให้แม้
    ด้วยทรัพย์ตั้งพัน. ลำดับนั้น เศรษฐีกล่าวกะเขาว่า " ผู้เจริญ ข้อนั้น
    จงยกไว้เถิด, ถ้าเจ้าไม่ให้บิณฑบาต, จงถือเอาทรัพย์พันหนึ่ง แล้วให้ส่วน
    บุญแก่ฉันเถิด."
    เขากล่าวว่า " กระผมปรึกษากับพระผู้เป็นเจ้าดูแล้ว จักรู้ได้ " รีบ
    ไปทันพระปัจเจกพุทธะแล้วเรียนถามว่า " ท่านผู้เจริญ สุมนเศรษฐีให้
    ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วขอส่วนบุญในบิณฑบาตของท่าน, กระผมจะทำ
    อย่างไร ? "
    ทีนั้น ท่านนำข้อความมาเปรียบเทียบแก่เขาว่า " แม้ฉันใด ท่าน
    ผู้เป็นบัณฑิต ประทีปในเรือนหลังหนึ่งในบ้าน ๑๐๐ ตระกูล พึงลุก
    โพลงขึ้น, พวกชนที่เหลือ เอาน้ำมันของตนชุบไส้แล้วพึงไปจุดไฟดวง
    อื่นแล้วถือเอา; แสงสว่างของประทีปดวงเดิม อันบุคคลจะพึงกล่าวว่า
    ' มี ' หรือว่า ' ไม่มี. '
    อันนภาระ. แสงสว่างย่อมมีมากกว่า ขอรับ.
    พระปัจเจกพุทธะ. ฉันนั้นนั่นแล ท่านผู้เป็นบัณฑิต จะเป็นข้าว
    ยาคูกระบวยหนึ่ง หรือภิกษาทัพพีหนึ่งก็ตาม, เมื่อบุคคลให้ส่วนบุญใน
    บิณฑบาตของตนแก่ผู้อื่นอยู่, ให้แก่คนไปเท่าใด, บุญเท่านั้นย่อมเจริญ;
    ก็ท่านได้ให้บิณฑบาตส่วนหนึ่งเท่านั้น, แต่เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่เศรษฐี,
    บิณฑบาตชื่อว่าเป็นสองส่วน: ส่วนหนึ่งเป็นของท่าน ส่วนหนึ่งเป็นของ
    เศรษฐี.


    ****พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 399***

    เขารับว่า " ดีละ ท่านผู้เจริญ " แล้ว ไหว้พระปัจเจกพุทธะนั้น
    แล้วไปสู่สำนักของเศรษฐี กล่าวว่า " นาย ขอท่านจงรับเอาส่วนบุญเถิด."

    เศรษฐี. ถ้ากระนั้น พ่อจงรับเอากหาปณะเหล่านี้ไป.
    อันนภาระ. กระผมไม่ได้ขายบิณฑบาต, กระผมให้ส่วนบุญแก่ท่าน
    ด้วยศรัทธา.
    เศรษฐีกล่าวว่า " เจ้าให้ด้วยศรัทธา, ถึงเราก็บูชาคุณของเจ้า;
    ด้วยศรัทธา จงรับเอาไปเถิดพ่อ, อนึ่ง จำเดิมแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ทำการ
    งานด้วยมือของตน, จงปลูกเรือนอยู่ริมถนนเถิด, และจงถือเอาวัตถุ
    ทุกอย่างที่เจ้าต้องการ จากสำนักของฉัน. "
    ก็บิณฑบาตที่บุคคลถวายแก่ท่านผู้ออกจากนิโรธ ย่อมให้ผลในวัน
    นั้นนั่นเอง; เพราะฉะนั้น แม้พระราชาทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึง
    รับสั่งให้เรียกอันนภาระมาแล้ว ทรงรับส่วนบุญ พระราชทานโภคะมาก
    มาย แล้วรับสั่งให้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีแก่เขา.

    ประวัติพระอนุรุทธะ
    อันนภาระนั้น เป็นสหายของสุมนเศรษฐี ทำบุญทั้งหลายตลอด
    ชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลก
    และมนุษยโลก, ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตำหนักของเจ้าศากยะ
    พระนามว่าอมิโตทนะ ในพระนครกบิลพัสดุ์. พระประยูรญาติทั้งหลาย
    ทรงขนานพระนามแก่พระกุมารนั้นว่า " อนุรุทธะ. " พระกุมารนั้น เป็น
    พระกนิษฐภาดาของเจ้ามหานามศากยะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอาของ
    พระศาสดา ได้เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง มีบุญมาก.

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 400***

    ได้ยินว่า วันหนึ่ง เมื่อกษัตริย์หกพระองค์เล่นขลุบเอาขนมทำ
    คะแนนกัน, เจ้าอนุรุทธะแพ้, จึงส่งข่าวไปยังสำนักของพระมารดาเพื่อ
    ต้องการขนม. พระมารดานั้น เอาภาชนะทองคำใบใหญ่บรรจุให้เต็มแล้ว
    ส่งขนม (ให้). เจ้าอนุรุทธะเสวยขนมแล้ว ทรงเล่นแพ้อีก ก็ส่งข่าวไป
    อย่างนั้นเหมือนกัน.
    เมื่อคนนำขนมมาอย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง, ในครั้งที่ ๔ พระมารดาส่งข่าว
    ไปว่า " บัดนี้ ขนมไม่มี." เจ้าอนุรุทธะ ทรงสดับคำของพระมารดานั้น,
    แล้ว ทำความสำคัญว่า " ขนมที่ชื่อว่าไม่มี จักมีในบัดนี้ " เพราะความ
    ที่บทว่า " ไม่มี " เป็นบทที่ตนไม่เคยสดับแล้ว จึงทรงส่งไปด้วยพระดำรัส
    ว่า " เจ้าจงไป, จงนำขนมไม่มีมา."
    ครั้งนั้นพระมารดาของพระกุมารนั้น, เมื่อคนรับใช้ ทูลว่า " ข้าแต่
    พระแม่เจ้า นัยว่า ขอพระแม่เจ้าจงให้ขนมไม่มี," จึงทรงดำริว่า " บทว่า
    ' ไม่มี ' อันบุตรของเราไม่เคยฟังมาแล้ว, เราพึงให้เขารู้ความที่ขนมไม่มี
    นั้นอย่างไรได้หนอแล ?" จึงทรงล้างถาดทองคำปิดด้วยถาดทองคำใบอื่น
    ส่งไปว่า " เอาเถิด พ่อ เจ้าจงให้ถาดทองคำนี้แก่บุตรของเรา. "
    ขณะนั้น เทพดาทั้งหลายผู้รักษาพระนคร คิดว่า " เจ้าอนุรุทธะ
    ผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ถวายภัตอันเป็นส่วน (ของตน) แก่พระปัจเจกพุทธะ
    นามว่าอุปริฏฐะ แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า ' เราไม่พึงได้ฟังบทว่า
    ไม่มี ' ในกาลแห่งตนเป็นคนขนหญ้าชื่ออันนภาระ. หากว่า เราทราบ
    ความนั้นแล้ว พึงเฉยเสียไซร้, แม้ศีรษะของเราพึงแตกออก ๗ เสี่ยง "
    จึงบรรจุถาดให้เต็มด้วยขนมทิพย์ทั้งหลายแล้ว . บุรุษนั้นนำถาดมาวางไว้ใน
    สำนักของเจ้าศากยะเหล่านั้น แล้วเปิดออก. กลิ่นของขนมทิพย์เหล่านั้น

    ****พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 401***

    แผ่ซ่านไปทั่วพระนคร. ก็เมื่อขนมพอสักว่าอันเจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงวาง
    ไว้ในพระโอษฐ์ กลิ่นนั้นได้แผ่ไปสู่เส้นสำหรับรสตั้ง ๗ พันตั้งอยู่แล้ว.
    เจ้าอนุรุทธะทรงดำริว่า "ในกาลก่อนแต่นี้ พระมารดาเห็นจะไม่
    ทรงรักเรา. เพราะในกาลอื่น พระองค์ท่านไม่เคยทอดขนมไม่มีแก่เรา. "
    พระกุมารนั้นไปแล้ว ทูลกะพระมารดาอย่างนี้ว่า " ข้าแต่พระมารดา
    หม่อมฉันไม่เป็นที่รักของพระองค์หรือ ?"
    มารดา. พ่อ พูดอะไร ? เจ้าเป็นที่รักยิ่งของแม่ แม้กว่านัยน์ตา
    ทั้งสอง แม้กว่าเนื้อในหทัย.
    อนุรุทธะ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าหม่อมฉันเป็นที่รักของพระองค์ไซร้.
    เพราะเหตุอะไร ? ในกาลก่อน พระองค์จึงไม่ได้ประทานขนมไม่มีเห็น
    ปานนี้แก่หม่อมฉัน.
    พระนางตรัสถามบุรุษนั้นว่า " พ่อ อะไรได้มีในถาดหรือ ?"
    บุรุษนั้นทูลว่า " มี พระแม่เจ้า, ถาดเต็มเปี่ยมด้วยขนมทั้งหลาย,
    ขนมเห็นปานนี้ ข้าพระองค์ไม่เคยเห็น."
    พระนางดำริว่า " บุตรของเราได้ทำบุญไว้แล้ว, ขนมทิพย์จัก
    เป็นของอันเทพดาทั้งหลายส่งไปให้บุตรของเรา."
    แม้เจ้าอนุรุทธะ ก็ทูลกะพระมารดาว่า " ข้าแต่พระแม่เจ้า ขนม
    เห็นปานนี้ หม่อมฉันไม่เคยกินเลย, จำเดิมแต่นี้ พระองค์พึงทอดเฉพาะ
    ขนมไม่มีเท่านั้น แก่หม่อมฉัน."
    จำเดิมแต่นั้น พระนางทรงล้างถาดทองคำแล้ว ปิดด้วยถาดใบอื่น
    ส่งไป (ให้) ในเวลาเจ้าอนุรุทธะทูลว่า " หม่อมฉันมีประสงค์จะบริโภค
    ขนม." เทพดาทั้งหลายย่อมยังถาดให้เต็ม (ด้วยขนม). พระกุมารนั้น

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 402***

    เมื่ออยู่ในท่ามกลางวัง มิได้ทราบเนื้อความแห่งบทว่า "ไม่มี" ด้วย
    อาการอย่างนี้ เสวยแต่ขนมทิพย์ทั้งนั้น.
    ก็เมื่อโอรสของเจ้าศากยะผนวชตามลำดับตระกูล เพื่อเป็นบริวาร
    ของพระศาสดา, เมื่อเจ้ามหานามศากยะตรัสว่า " พ่อ ในตระกูลของพวก
    เรา ใคร ๆ ซึ่งบวชแล้วไม่มี, เธอหรือฉันควรจะบวช." เจ้าอนุรุทธะ
    ตรัสว่า " หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ไม่สามารถจะบวชได้."
    เจ้ามหานาม. ถ้ากระนั้น เธอจงเรียนการงานเสีย. ฉันจักบวช.
    เจ้าอนุรุทธะ. ชื่อว่าการงานนี้ เป็นอย่างไร ?
    จริงอยู่ เจ้าอนุรุทธะย่อมไม่ทราบแม้ที่เกิดขึ้นแห่งภัต, จักทราบ
    การงานได้อย่างไร ? เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น.
    ก็วันหนึ่ง เจ้าศากยะสามพระองค์ คือ อนุรุทธะ ภัททิยะ กิมพิละ
    ปรึกษากันว่า " ชื่อว่าภัต เกิดในที่ไหน ?" บรรดาเจ้าศากยะทั้งสาม
    พระองค์นั้น เจ้ากิมพิละตรัสว่า " ภัตเกิดขึ้นในฉาง." ได้ยินว่าวันหนึ่ง
    เจ้ากิมพิละนั้น ได้เห็นข้าวเปลือกที่เขาขึ้นใส่ในฉาง; เพราะฉะนั้น จึงตรัส
    อย่างนี้ ด้วยสำคัญว่า " ภัต ย่อมเกิดขึ้นในฉาง."
    ครั้งนั้น เจ้าภัททิยะตรัสกะเจ้ากิมพิละนั้นว่า " ท่านยังไม่ทราบ "
    ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ธรรมดาภัต ย่อมเกิดขึ้นในหม้อข้าว." ได้ยินว่า
    วันหนึ่ง เจ้าภัททิยะนั้น เห็นชนทั้งหลายคดภัตออกจากหม้อข้าวนั้นแล้ว
    ได้ทำความสำคัญว่า " ภัตนั่นเกิดขึ้นในหม้อนี้เอง," เพราะฉะนั้น จึงตรัส
    อย่างนั้น.
    เจ้าอนุรุทธะตรัสกะเจ้าทั้งสองนั้นว่า " แม้ท่านทั้งสองก็ยังไม่
    ทราบ" แล้วตรัสว่า " ภัตเกิดขึ้นในถาดทองคำใบใหญ่๑ ซึ่งสูงได้
    ๑. โตก.

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 403***

    ศอกกำมา." ได้ยินว่า ท่านไม่เคยเห็นเขาตำข้าวเปลือก ไม่เคยเห็นเขาหุงภัต,
    ท่านเห็นแต่ภัตที่เขาคดออกไว้ในถาดทองคำแล้ว ตั้งไว้ข้างหน้าเท่านั้น;
    เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ทำความสำคัญว่า " ภัตนั่น ย่อมเกิดขึ้นในถาด
    นั่นเอง; เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. กุลบุตรผู้มีบุญมาก เมื่อไม่รู้แม้
    ที่เกิดขึ้นแห่งภัตอย่างนั้น จักรู้การงานทั้งหลายอย่างไรได้.
    เจ้าอนุรุทธะนั้น ได้สดับความที่การงานทั้งหลายที่เจ้าพี่ตรัสบอก
    โดยนัยเป็นต้นว่า " อนุรุทธะ จงมาเถิด, ฉันจักสอนเพื่อการอยู่ครองเรือน
    แก่เธอ: อันผู้อยู่ครองเรือน จำต้องไถนาก่อน " ดังนี้ เป็นของไม่มีที่สุด
    จึงทูลลาพระมารดาว่า " ความต้องการด้วยการอยู่ครองเรือนของหม่อมฉัน
    ไม่มี" แล้วเสด็จออกไปพร้อมกับพระโอรสของเจ้าศากยะห้าพระองค์มีเจ้า
    ภัททิยะเป็นประมุข เข้าไปเฝ้าพระศาสดาที่อนุปิยอัมพวัน ทรงผนวชแล้ว,
    ก็แลครั้นผนวชแล้ว พระอนุรุทธะเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓
    โดยลำดับ เป็นผู้นั่งบนอาสนะเดียว สามารถเล็งดูโลกธาตุพ้นหนึ่งได้
    ด้วยทิพยจักษุ ดุจผลมะขามป้อมที่บุคคลวางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น จึงเปล่ง
    อุทานขึ้นว่า :-
    " เราย่อมระลึกได้ซึ่งบุพเพนิวาส,๑ ทิพยจักษุเรา
    ก็ชำระแล้ว, เราเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ถึงฤทธิ์,
    คำสอนของพระพุทธเจ้า อันเราทำแล้ว."
    พิจารณาดูว่า " เราทำกรรมอะไรหนอ ? จึงได้สมบัตินี้ " ทราบได้ว่า
    " เราได้ตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
    ปทุมุตตระ " ทราบ (ต่อไป) อีกว่า " เราท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ในกาล
    ๑. ขันธ์อันอาศัยอยู่ในกาลก่อน.

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 404***

    ชื่อโน้น ได้อาศัยสุมนเศรษฐี ในกรุงพาราณสีเลี้ยงชีพ เป็นผู้ชื่อว่า
    อันนภาระ" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า :-
    " ในกาลก่อน เราเป็นผู้ชื่อว่าอันนภาระ เป็นคน
    เข็ญใจ ขนหญ้า เราถวายบิณฑบาตแก่พระอุปริฏฐ-
    ปัจเจกพุทธะ ผู้มียศ."
    พระเถระระลึกถึงสหายเก่า
    ครั้งนั้น ท่านได้มีความปริวิตกฉะนี้ว่า " สุมนเศรษฐีผู้เป็นสหาย
    ของเรา ได้กหาปณะแล้วรับเอาส่วนบุญจากบิณฑบาตซึ่งเราถวายแก่พระ-
    อุปริฏฐปัจเจกพุทธะ ในกาลนั้น, บัดนี้ เกิดในที่ไหนหนอแล ?" ทีนั้น
    ท่านได้เล็งเห็นเศรษฐีนั้นว่า " บ้านชื่อว่ามุณฑนิคม มีอยู่ที่เชิงเขาใกล้ดงไฟ
    ไหม้. อุบาสกชื่อมหามุณฑะในมุณฑนิคมนั้น มีบุตรสองคน คือมหาสุมนะ,
    จูฬสุมนะ, ในบุตรสองคนนั้น สุมนเศรษฐี เกิดเป็นจูฬสุมนะ; " ก็แล
    ครั้นเห็นแล้ว คิดว่า " เมื่อเราไปในที่นั้น, อุปการะจะมีหรือไม่มีหนอ ?"
    ท่านใคร่ครวญอยู่ได้เห็นเหตุนี้ว่า " เมื่อเราไปในที่นั้น. จูฬสุมนะนั้น
    มีอายุ ๗ ขวบเท่านั้นจักออกบวช, และจักบรรลุพระอรหัตในเวลาปลงผม
    เสร็จนั่นเอง:" ก็แลท่านครั้นเห็นแล้ว เมื่อภายในกาลฝนใกล้เข้ามา จึง
    ไปทางอากาศลงที่ประตูบ้าน. ส่วนมหามุณฑอุบาสก เป็นผู้คุ้นเคยของ
    พระเถระแม้ในกาลก่อนเหมือนกัน. เขาเห็นพระเถระครองจีวรในเวลา
    บิณฑบาต จึงกล่าวกะมหาสุมนะผู้บุตรว่า " พ่อ พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธ-
    เถระของเรามาแล้ว; เจ้าจงไปรับบาตรของท่านให้ทันเวลาที่ใครๆ คนอื่น
    ยังไม่รับบาตรของท่านไป; พ่อจักให้เขาปูอาสนะไว้." มหาสุมนะได้ทำ
    อย่างนั้นแล้ว. อุบาสกอังคาสพระเถระภายในเรือนโดยเคารพแล้ว รับ

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 405***

    ปฏิญญาเพื่อต้องการแก่การอยู่ ( จำพรรษา ) ตลอดไตรมาส. พระเถระรับ
    นิมนต์แล้ว.
    ครั้งนั้น อุบาสกปฏิบัติพระเถระนั้นตลอดไตรมาส เป็นเหมือน
    ปฏิบัติอยู่วันเดียว ในวันมหาปวารณา จึงนำไตรจีวรและอาหารวัตถุ
    มีน้ำอ้อย น้ำมัน และข้าวสารเป็นต้นมาแล้ว วางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ
    เรียนว่า " ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับเถิด ขอรับ."
    ไม่รับวัตถุกลับได้สามเณร
    พระเถระ. อย่าเลยอุบาสก ความต้องการด้วยวัตถุนี้ของฉัน ไม่มี.
    อุบาสก. ท่านผู้เจริญ นี่ชื่อว่า วัสสาวาสิกลาภ (คือลาภอันเกิดแก่
    ผู้อยู่จำพรรษา), ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับวัตถุนั้นไว้เถิด.
    พระเถระ. ช่างเถิด อุบาสก.
    อุบาสก. ท่านย่อมไม่รับเพื่ออะไร ? ขอรับ.
    พระเถระ. แม้สามเณรผู้เป็นกับปิยการก ในสำนักของฉันก็ไม่มี.
    อุบาสก. ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นมหาสุมนะเป็นบุตรของกระผม
    จักเป็นสามเณร.
    พระเถระ. อุบาสก ความต้องการด้วยมหาสุมนะของฉันก็ไม่มี.
    อุบาสก, ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าจงให้จูฬสุมนะ
    บวชเถิด.
    พระเถระ. รับว่า "ดีละ" แล้วให้จูฬสุมนะบวช. จูฬสุมนะนั้น
    บรรลุอรหัตในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง.

    ****พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 406***

    พระเถระ อยู่ในที่นั้นกับจูฬสุมนสามเณรนั้นประมาณกึ่งเดือนแล้ว
    ลาพวกญาติของเธอว่า " พวกฉันจักเฝ้าพระศาสดา" ดังนี้แล้วไปทาง
    อากาศ ลงที่กระท่อมอันตั้งอยู่ในป่า ในหิมวันตประเทศ.
    พระเถระปรารภความเพียรเสมอ
    ก็พระเถระ แม้ตามปกติเป็นผู้ปรารภความเพียร. เมื่อท่านกำลัง
    จงกรมอยู่ในที่นั้น ในคืนแรกและคืนต่อมา ลมในท้องตั้งขึ้นแล้ว.
    ครั้งนั้น สามเณรเห็นท่านลำบาก จึงเรียนถามว่า " ท่านขอรับ
    โรคอะไร ? ย่อมเสียดแทงท่าน."
    พระเถระ. ลมเสียดท้องเกิดขึ้นแก่ฉันแล้ว.
    สามเณร. แม้ในกาลอื่น ลมเสียดท้องเคยเกิดขึ้นหรือ ขอรับ.
    พระเถระ. เออ ผู้มีอายุ.
    สามเณร. ความสบาย ย่อมมีด้วยอะไรเล่า ? ขอรับ.
    พระเถระ. เมื่อฉันได้น้ำดื่มจากสระอโนดาต, ความสบายย่อมมี
    ผู้มีอายุ.
    สามเณร. ท่านขอรับ ถ้ากระนั้น กระผมจะนำมา (ถวาย).
    พระเถระ. เธอจักอาจ (นำมา) หรือ ? สามเณร.
    สามเณร. อาจอยู่ ขอรับ.
    พระเถระ. ถ้ากระนั้น นาคราชชื่อปันนกะ ในสระอโนดาตย่อม
    รู้จักฉัน. เธอจงบอกแก่นาคราชนั้น แล้วนำขวดน้ำดื่มขวดหนึ่งมาเพื่อ
    ประโยชน์แก่การประกอบยาเถิด.
    เธอรับว่า " ดีละ" แล้วไหว้พระอุปัชฌายะ เหาะขึ้นสู่เวหาสได้ไป
    ตลอดที่ ๕๐๐ โยชน์แล้ว.


    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 407***

    สามเณรต่อสู้กับพระยานาค
    ก็วันนั้น นาคราชมีนาคนักฟ้อนแวดล้อมแล้ว ปรารถนาจะเล่นน้ำ.
    นาคราชนั้น พอได้เห็นสามเณรผู้ไปอยู่เท่านั้น ก็โกรธคิดเห็นว่า " สมณะ
    โล้นนี้ เที่ยวโปรยฝุ่นที่เท้าของตนลงกระหม่อมของเรา, สมณะโล้นนี้
    จักเป็นผู้มาแล้วเพื่อต้องการน้ำดื่มในสระอโนดาต, บัดนี้เราจะไม่ให้น้ำดื่ม
    แก่เธอ " ดังนี้แล้ว นอนปิดสระอโนดาตซึ่งมีประมาณถึง ๕๐๐ โยชน์ด้วย
    พังพาน ดุจบุคคลปิดหม้อข้าวด้วยถาดใหญ่ฉะนั้น.
    สามเณร พอแลดูอาการของนาคราชแล้วก็ทราบว่า " นาคราชนี้
    โกรธแล้ว" จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
    " นาคราช ผู้มีเดชกล้า มีกำลังมาก ท่านจงฟัง
    (คำ) ของข้าพเจ้าเถิด, จงให้หม้อน้ำดื่มแก่ข้าพเจ้า,
    ข้าพเจ้าเป็นผู้มาแล้วเพื่อประโยชน์แก่น้ำสำหรับประ-
    กอบยา."
    นาคราชฟังคาถานั้นแล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-
    " แม่น้ำใหญ่ชื่อคงคา ณ เบื้องทิศบูรพา ย่อมไหล
    ไปสู่มหาสมุทร, ท่านจงนำเอาน้ำดื่มจากแม่น้ำคงคา
    นั้นไปเถิด."
    สามเณรฟังคำนั้นแล้วคิดว่า " พระยานาคนี้จักไม่ให้ตามความ
    ปรารถนาของตน, เราจักทำพลการให้มันรู้อานุภาพใหญ่ จักข่มพระยานาค
    นี้แล้ว จึงจักนำน้ำดื่มไป " ดังนี้แล้ว กล่าวว่า " มหาราช พระอุปัชฌายะ
    ให้ข้าพเจ้านำน้ำดื่มมาจากสระอโนดาตเท่านั้น, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 408***

    จักนำน้ำดื่มนี้อย่างเดียวไป, ท่านจงหลีกไปเสียอย่าห้ามข้าพเจ้าเลย" ดังนี้
    แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า:-
    " ข้าพเจ้าจักนำน้ำดื่มไปจากสระอโนดาตนี้เท่า
    นั้น, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความต้องการด้วยน้ำดื่มนี้เท่านั้น,
    ถ้าเรี่ยวแรงและกำลังมีอยู่ไซร้, นาคราชท่านจงขัด
    ขวางไว้เถิด."
    ครั้งนั้น พระยานาคกล่าวกะเธอว่า :-
    " สามเณร ถ้าท่านมีความกล้าหาญอย่างลูกผู้ชาย
    ไซร้, ข้าพเจ้าชอบใจคำพูดของท่าน, เชิญท่านนำ
    น้ำดื่มของข้าพเจ้าไปเถิด."
    ลำดับนั้น สามเณรตอบกะพระยานาคนั้นว่า " มหาราช ข้าพเจ้าจัก
    นำไปอย่างนั้น, เมื่อพระยานาคพูดว่า " เมื่อท่านสามารถก็จงนำไปเถิด"
    รับปฏิญญาถึง ๓ ครั้งว่า " ถ้ากระนั้น ท่านจงรู้ด้วยดีเถิด " แล้วคิดว่า
    " การที่เราแสดงอานุภาพแห่งพระพุทธศาสนาแล้วจึงนำน้ำไป สมควรอยู่"
    ได้ไปสู่สำนักของพวกอากาสัฏฐกเทพดาก่อน. เทพดาเหล่านั้นมาไหว้แล้ว
    กล่าวว่า " อะไรกัน ? ขอรับ " แล้วพากันยืนอยู่.
    สามเณรกล่าวว่า " สงครามของข้าพเจ้ากับปันนกนาคราชจักมี ที่
    หลังสระอโนดาตนี่, พวกท่านจงไปในที่นั้นแล้ว ดูความชนะและความ
    แพ้." สามเณรนั้นเข้าไปหาท้าวโลกบาลทั้ง ๔ และท้าวสักกะ ท้าวสุยาม
    ท้าวสันดุสิต ท้าวสุนิมมิต และท้าววสวัตดี แล้วบอกเนื้อความนั้นโดย
    ทำนองนั้นแล. ต่อแต่นั้น สามเณรไปโดยลำดับจนถึงพรหมโลก อัน
    พรหมทั้งหลาย ในที่นั้นๆ ผู้มาไหว้แล้วยืนอยู่ถามว่า " อะไรกัน ? ขอรับ "
    จึงแจ้งเนื้อความนั้น.

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 409***

    สามเณรนั้นเที่ยวไปบอกในที่ทุกแห่ง ๆ โดยครู่เดียวเท่านั้น เว้น
    เสียแต่อสัญญีสัตว์และอรูปพรหม ด้วยอาการอย่างนี้.
    ถึงเทพดาทุก ๆ จำพวกฟังคำของเธอแล้ว ประชุมกันเต็มอากาศ
    ไม่มีที่ว่าง ที่หลังสระอโนดาต ดุจจุรณแห่งขนมที่บุคคลใส่ไว้ในทะนาน
    ฉะนั้น.
    สามเณรเชิญเทพดามาดูการรบ
    เมื่อหมู่เทพดาประชุมกันแล้ว, สามเณรยืน ณ อากาศ กล่าวกะ
    พระยานาคว่า:-
    " นาคราช ผู้มีเดชกล้า มีกำลังมาก ท่านจงฟัง
    คำของข้าพเจ้า ท่านจงให้หม้อน้ำดื่มแก่ข้าพเจ้า,
    ข้าพเจ้าเป็นผู้มาเพื่อต้องการน้ำประกอบยา."
    ทีนั้น นาคกล่าวกะเธอว่า :-
    " สามเณร ถ้าท่านมีความกล้าหาญอยู่อย่างลูก
    ผู้ชายไซร้, ข้าพเจ้าชอบใจคำพูดของท่าน, ท่านจงนำ
    น้ำดื่มของข้าพเจ้าไปเถิด."
    สามเณรนั้นรับคำปฏิญญาของนาคราชถึง ๓ ครั้งแล้ว ยืน ณ อากาศนั้นเอง
    นิรมิตอัตภาพเป็นพรหมประมาณ ๑๒ โยชน์ แล้วลงจากอากาศ เหยียบ
    ที่พังพานของพระยานาค กดให้หน้าคว่ำลงแล้ว. ในทันทีนั้นเอง เมื่อ
    สามเณรพอสักว่าเหยียบพังพานของพระยานาคเท่านั้น แผ่นพังพานได้
    หดเข้าประมาณเท่าทัพพี ดุจหนังสดอันบุรุษผู้มีกำลังเหยียบแล้วฉะนั้น.
    ในที่ซึ่งพ้นจากพังพานของพระยานาคออกมา สายน้ำประมาณเท่าลำตาล

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 410***

    พุ่งขึ้นแล้ว. สามเณรยังขวดน้ำดื่มให้เต็ม ณ อากาศนั้นเอง. หมู่เทพได้
    ให้สาธุการแล้ว.
    พระยานาคแพ้สามเณร
    นาคราชละอาย โกรธต่อสามเณรแล้ว. นัยน์ตาทั้งสองของนาคราช
    นั้นได้มีสีดุจดอกชบา. พระยานาคนั้นคิดว่า " สมณะโล้นนี้ให้หมู่เทพ
    ประชุมกันแล้ว ถือเอาน้ำดื่ม ยังเราให้ละอายแล้ว, เราจะจับเธอ สอด
    มือเข้าในปากแล้ว ขยี้เนื้อหทัยของเธอเสีย, หรือจะจับเธอที่เท้า แล้ว
    ขว้างไปฟากแม่น้ำข้างโน้น " ดังนี้แล้วติดตามไปโดยเร็ว. แม้ติดตามไป
    อยู่ ก็ไม่สามารถจะทันสามเณรได้เลย.
    สามเณรมาแล้ว วางน้ำดื่มไว้ในมือพระอุปัชฌายะ เรียนว่า " ขอท่าน
    จงดื่มเถิด ขอรับ."
    พระยานาคพูดเท็จแต่สามเณรไม่พูดเท็จ
    แม้พระยานาคก็มาข้างหลัง กล่าวว่า " ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ สามเณร
    ถือเอาน้ำซึ่งข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้เลยมา, ขอท่านจงอย่าดื่ม."
    พระเถระ. ถามว่า " นัยว่า อย่างนั้นหรือ ? สามเณร."
    สามเณร. ขอนิมนท์ท่านดื่มเถิด ขอรับ, น่าดื่มอันพระยานาคนี้
    ให้แล้ว กระผมจึงนำมา.
    พระเถระทราบว่า " ขึ้นชื่อว่าการกล่าวคำเท็จของสามเณรผู้เป็น
    ขีณาสพ ย่อมไม่มี " จึงดื่มน้ำแล้ว. อาพาธของท่านสงบลงในขณะนั้นเอง.
    นาคราชกล่าวกะพระเถระอีกว่า " ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้อัน
    สามเณรให้หมู่เทพทั้งหมดประชุมกันให้ละอายแล้ว ข้าพเจ้าจักผ่าหทัย
    ของเธอ, หรือจักจับเธอที่เท้า และขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำข้างโน้น."

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 411**

    พระเถระกล่าวว่า " มหาราช สามเณรมีอานุภาพมาก, ท่านจักไม่
    สามารถเพื่อสู้รบกับสามเณรได้; ท่านจงให้สามเณรนั้น อดโทษแล้วกลับ
    ไปเสียเถิด."
    พระยานาคขอขมาสามเณร
    พระยานาคนั้น ย่อมรู้อานุภาพของสามเณรแม้เอง, แต่ติดตามมา
    เพราะความละอาย.
    ลำดับนั้น พระยานาคให้สามเณรนั้นอดโทษตามคำของพระเถระ
    ทำความชอบพอกันฉันมิตรกับเธอ จึงกล่าวว่า " จำเดิม
    ความต้องการด้วยน้ำในสระอโนดาตมีอยู่, กิจด้วยการมาแห่งพระผู้เป็นเจ้า
    ย่อมไม่มี พระผู้เป็นเจ้าพึงส่ง (ข่าว) ไปถึงข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าเองจักนำ
    น้ำมาถวาย " ดังนี้แล้ว หลีกไป, แม้พระเถระก็พาสามเณรไปแล้ว .
    พระศาสดาทรงทราบความมาแห่งพระเถระแล้ว ประทับนั่งทอด-
    พระเนตรการมาแห่งพระเถระบนปราสาทของมิคารมารดา. ถึงพวกภิกษุ
    ก็เห็นพระเถระซึ่งกำลังมา ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตรและจีวร.
    พวกภิกษุล้อเลียนสามเณร
    ครั้งนั้น ภิกษุนางพวกจับสามเณรที่ศีรษะบ้าง ที่หูทั้ง ๒ บ้าง
    ที่แขนบ้าง พลางเขย่า กล่าวว่า " ไม่กระสันหรือ ? สามเณร." พระศาสดา
    ทอดพระเนตรเห็นกิริยาซึ่งภิกษุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " กรรมของ
    ภิกษุเหล่านี้หยาบจริง. ภิกษุเหล่านี้ จับสามเณรเป็นดุจจับอสรพิษที่คอ,
    พวกเธอหารู้อานุภาพของสามเณรไม่; วันนี้ การที่เราทำคุณของสุมน-
    สามเณรให้ปรากฏ สมควรอยู่." แม้พระเถระก็มาถวายบังคมพระศาสดา
    แล้วนั่ง.

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 412***

    พระศาสดาทรงทำคุณของสามเณรให้ปรากฏ
    พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับด้วยท่านแล้ว ตรัสเรียกพระอานนท-
    เถระมาว่า " อานนท์ เราเป็นผู้มีความประสงค์เพื่อจะล้างเท้าทั้งสองด้วย
    น้ำในสระอโนดาต เธอจงให้หม้อแก่พวกสามเณรแล้วให้นำน้ำมาเถิด."
    พระเถระ ให้สามเณรประมาณ ๕๐๐ ในวิหารประชุมกันแล้ว.
    บรรดาสามเณรเหล่านั้น สุมนสามเณรได้เป็นผู้ใหม่กว่าสามเณร
    ทั้งหมด. พระเถระกล่าวกะสามเณรผู้แก่กว่าสามเณรทั้งหมดว่า " สามเณร
    พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้ำในสระอโนดาต,
    เธอจงถือหม้อน้ำไปนำน้ำมาเถิด." สามเณรนั้นไม่ปรารถนา ด้วยกล่าวว่า
    " กระผมไม่สามารถ ขอรับ. " พระเถระถามสามเณรทั้งหลายแม้ที่เหลือ
    โดยลำดับ. แม้สามเณรเหล่านั้น ก็พูดปลีกตัวอย่างนั้นแล.
    มีคำถามว่า " ก็บรรดาสามเณรเหล่านี้ เณรผู้เป็นขีณาสพ
    ไม่มีหรือ ?"
    แก้ว่า " มีอยู่. แต่สามเณรเหล่านั้นไม่ปรารถนา ด้วยคิดเห็นว่า
    " พวงดอกไม้นี้ พระศาสดาไม่ทรงผูกไว้เพื่อพวกเรา พระองค์ทรงผูกไว้
    เพื่อสุมนสามเณรองค์เดียว. แต่พวกสามเณรผู้เป็นปุถุชนไม่ปรารถนา
    ก็เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่สามารถนั่นเอง. "
    ก็ในที่สุด เมื่อวาระถึงแก่สุมนสามเณรเข้า, พระเถระกล่าวว่า
    " สามเณร พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้ำ
    ในสระอโนดาต, ได้ยินว่า เธอจงถือเอาหม้อไปตักน้ำมา" สุมนสามเณร
    นั้น เรียนว่า " เมื่อพระศาสดาทรงให้นำมา, กระผมจักนำมา" ดังนี้แล้ว
    ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 413***

    พระองค์ให้ข้าพระองค์นำน้ำมาจากสระอโนดาตหรือ ? พระเจ้าข้า "
    พระศาสดา ตรัสว่า " อย่างนั้น สุมนะ. "
    สุมนสามเณรนั้น เอามือจับหม้อใหญ่ใบหนึ่ง ซึ่งจุน้ำได้ตั้ง ๖๐
    หม้อ ในบรรดาหม้อสำหรับเสนาสนะ ซึ่งเลี่ยมดาดด้วยทองแท่ง อัน
    นางวิสาขาให้สร้างไว้ หิ้วไปด้วยคิดว่า " ความต้องการของเราด้วยหม้อ
    อันเรายกขึ้นตั้งไว้บนจะงอยบ่านี้ ย่อมไม่มี " เหาะขึ้นสู่เวหาส บ่ายหน้า
    ต่อหิมวันตประเทศ รีบไปแล้ว.
    นาคราชเห็นสามเณรซึ่งกำลังมาแต่ไกลเทียว จึงต้อนรับ แบกหม้อ
    ด้วยจะงอยบ่า กล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า เมื่อผู้รับใช้เช่นข้าพเจ้ามีอยู่เพราะ
    อะไร พระผู้เป็นเจ้าจึงมาเสียเอง; เมื่อความต้องการน้ำมีอยู่, เหตุไร ?
    พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่ส่งเพียงข่าวสาสน์มา" ดังนี้แล้ว เอาหม้อตักน้ำแบกเอง
    กล่าวว่า " นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าล่วงหน้าไปก่อนเถิดขอรับ, ข้าพเจ้าเอง
    จักนำไป. " สามเณรกล่าวว่า " มหาราช ท่านจงหยุด, ข้าพเจ้าเองเป็นผู้
    อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้มา " ดังนี้ให้พระยานาคกลับแล้ว เอามือจับ
    ที่ขอบปากหม้อ เหาะมาทางอากาศ.
    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแลดูเธอซึ่งกำลังมา ตรัสเรียกพวกภิกษุ
    มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูการเยื้องกรายของสามเณร,
    เธอย่อมงดงามดุจพระยาหงส์ในอากาศฉะนั้น."
    แม้สามเณรนั้นวางหม้อน้ำแล้ว ได้ถวายบังคมพระศาสดาแล้วยืนอยู่.
    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " สุมนะ เธอมีอายุได้เท่าไร ?
    สามเณรกราบทูลว่า " มีอายุ ๗ ขวบ พระเจ้าข้า." พระศาสดาตรัสว่า
    " สุมนะ ถ้ากระนั้น ตั้งแต่วันนี้ เธอจงเป็นภิกษุเถิด" ดังนี้แล้ว
    ได้ประทานทายัชชอุปสมบท.

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 414***

    ได้ยินว่า สามเณรผู้มีอายุ ๗ ปี ๒ รูปเท่านั้น ได้อุปสมบท คือสุมน-
    สามเณรนี้รูปหนึ่ง โสปากสามเณรรูปหนึ่ง เมื่อสุมนสามเณรนั้นอุปสมบท
    แล้วอย่างนั้น พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย
    กรรมนี้น่าอัศจรรย์:- อานุภาพของสามเณรน้อย แม้เห็นปานนี้ก็มีได้,
    อานุภาพเห็นปานนี้ พวกเราไม่เคยเห็นแล้ว ในกาลก่อนแต่กาลนี้."
    สมบัติย่อมสำเร็จแก่เด็ก ๆ ได้
    พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
    นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อพวกเธอกราบทูลว่า " ด้วยเรื่อง
    ชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในศาสนาของเรา บุคคล
    แม้เป็นเด็ก ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้สมบัติเห็นปานนี้เหมือนกัน" เมื่อ
    จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๑๒. โย หเว ทหโร ภิกฺขุ ยุญฺชติ พุทฺธสาสเน
    โส อิมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.
    " ภิกษุใด แลยังหนุ่ม พากเพียรอยู่ในพระพุทธ-
    ศาสนา, ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างดุจพระจันทร์
    ที่พ้นแล้วจากหมอก (เมฆ) สว่างอยู่ฉะนั้น."
    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุญฺชติ ได้แก่ พากเพียร คือ
    พยายามอยู่.
    บทว่า ปภาเสติ เป็นต้น ความว่า ภิกษุนั้นย่อมยังโลกต่างโดย
    ขันธโลกเป็นต้น ให้สว่างได้ คือย่อมทำให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน

    ***พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 415***

    ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรคของตน ดุจพระจันทร์ที่พ้นแล้วจาก
    เครื่องกำบังมีหมอกเป็นต้นฉะนั้น.
    ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
    ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
    เรื่องสุมนสามเณร จบ.
    ภิกขุวรรควรรคนา จบ.
    วรรคที่ ๒๕ จบ.
     
  5. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    สังฆทานวันนี้เป็นโบโลน่าหมู โบโลน่าไก่
    ขอท่านทั้งหลายจงรับเอาส่วนบุญเถิด

    [​IMG]

    วันนี้ซื้อโบโลน่าหมูยี่ห้อ TGM กับโบโลน่าไก่ 400 กว่าบาทกิโลกว่าๆ ขีดละ 30 บาท
    กินกับซอสมะเขือเทศไฮนส์ ก็ตอนซื้อนะเค้าบอกว่าซื้อครบ 300 บาทแถมซอสมะเขือเทศขวดหนึ่ง
    ก็เห็นโบโลน่ามันประมาณคืบกว่าๆ ก็คิดว่าซอสแค่นี้น่าจะพอ เอามาจัดจริงแล้วมันไม่พอ
    ได้ซอสพริกภูเขาทองมาแก้ขัด แต่ยังไงๆ ซอสไฮนส์ก็อร่อยกว่า อิอิ (ความชอบส่วนตัว)

    [​IMG]

    วันนี้จัดแบบม้วนๆ
    วิธีทำ จากแผ่นกลมๆ แล้วก็พับครึ่ง แล้วก็ม้วน แล้วก็ใช้ไม้จิ้มฟันเสียบเพื่อให้มันอยู่ตัว

    ยี่ห้อ TGM นี้เป็นเจ้าเดียวกับยี่ห้อหมูสองตัว ของไทย-เยอรมัน มีสท์
    แต่ว่าที่เค้าทำเป็นคนละยี่ห้อ เพราะว่ายี่ห้อ TGM จะเป็นรสชาติดั้งเดิมแบบเยอรมัน
    ส่วนยี่ห้อหมูสองตัว รสชาติจะดัดแปลงเป็นแบบไทยๆ

    เคยเห็นบรรยากาศในโรงงานเค้าแล้ว ก็สะอาด ทันสมัยดีนะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  6. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    นอกจากเราจะอุทิศบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับแล้วที่สำคัญอย่าลืม อุทิศให้แก่พญายมด้วย ซึ่งหากเราพลาดตกนรก ท่านก็จะได้ช่วยเหลือเราให้เราระลึกนึกถึงบุญได้ ซึ่งมีปรากฏในพระไตรปิฏกดังต่อไปนี้

    คัดลอกจากพระไตรปิฏกและอรรถกถาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยเล่มที่ 34
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 148 - หน้าที่ 161

    ****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 148*****

    ๖. ทูตสูตร
    ว่าด้วยเทวทูต ๓ จำพวก
    [๔๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทูต ๓ นี้ ๓ คืออะไรบ้าง คือ
    บุคคลลางคนในโลกน ประพฤติทุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจ บุคคล
    นั้น ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ... ด้วยวาจา... ด้วยใจแล้ว เพราะกายแตก
    ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นิรยบาลทั้งหลาย ต่างก็จับบุคคล
    นั้นที่แขนไปแสดงแก่พญายมว่า ข้าแต่เทวะ บุรุษผู้นี้เป็นคนไม่เกื้อกูล
    มารดา... บิดา... สมณะ.. พราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอ
    พระองค์จงลงทัณฑ์แก่บุรุษนี้เถิด.
    พญายมซักไซ้ไล่เลียง เทวทูตที่หนึ่ง กะบุรุษนั้นว่า ดูก่อนพ่อ เจ้า
    ไม่ได้เห็นเทวทูตที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.
    บุรุษนั้นตอบว่า ไม่ได้เห็น เจ้าข้า.
    พญายม. เจ้าไม่ได้เห็นหรือ ในหมู่มนุษย์ หญิงหรือชายที่แก่แล้ว
    มีอายุ ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เป็นคนชราหลังโกง ค่อม กราน
    ไม้เท้าเดินงกเงิ่น กระสับกระส่าย สิ้นความเป็นหนุ่มสาวแล้ว ฟันหัก ผมหงอก
    เกรียน หัวล้าน ตัวเป็นเกลียวตกกระ.
    บุรุษนั้น. ได้เห็น เจ้าข้า.
    พญายม. เจ้าน่ะ เป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ไม่ได้คำนึงบ้างหรือว่า
    ถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงความแก่ไปได้ มาเราจะทำความดี
    ด้วยกายวาจาใจเถิด.

    ******พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 149*******

    บุรุษนั้น . เปล่าเลย เจ้าข้า มัวประมาทเสีย.
    พญายม. เจ้าไม่ได้ทำความดีด้วยกายวาจาใจ เพราะมีความประมาท
    แน่ละ เขาจะต้องทำกะเจ้าตามฐานที่ประมาท ก็แต่ว่า บาปกรรมนั่นน่ะ
    มารดา ...บิดาก็มิได้ทำให้เลย พี่น้องชาย ...พี่น้องหญิง ก็มิได้ทำให้ มิตร
    อำมาตย์... ญาติสายโลหิตก็มิได้ทำให้ เทวดาก็มิได้ทำให้ สมณพราหมณ์ก็
    มิได้ทำให้ เจ้าทำเองแท้ๆ เจ้าก็จะต้องรับผลของบาปกรรมนั่นเอง
    พญายม ครั้นซักไซ้ไล่เลียงเทวทูตหนึ่งแล้ว จึงซักไซ้ไล่เลียงเทวทูต
    ที่สองว่า เจ้าไม่ได้เห็นเทวทูตที่สองอันปรากฏอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.
    บุรุษนั้น ตอบว่า ไม่ได้เห็น เจ้าข้า.
    พญายม. เจ้าไม่ได้เห็นหรือ ในหมู่มนุษย์ หญิงหรือชาย ที่ป่วย
    เจ็บไข้หนัก นอนเกลือกมูตรและกรีสของตน มีคนพยุงให้ลุก... ให้นอน.
    บุรุษนั้น. ได้เห็น เจ้าข้า.
    พญายม. เจ้าเป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ไม่ได้คำนึงบ้างหรือว่า ถึง
    ตัวเราก็มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงความเจ็บไข้ไปได้ มาเราจะทำ
    ความดีด้วยกายวาจาใจเถิด.
    บุรุษนั้น. เปล่าเลย เจ้าข้า มัวประมาทเสีย.
    พญายม. เจ้าไม่ได้ทำความดีด้วยกายวาจาใจ เพราะมีความประมาท
    แน่ละ เขาจะต้องทำกะเจ้าตามฐานที่ประมาท ก็แต่ว่าบาปกรรมนั้นนั่น มารดา
    ... บิดาก็มิได้ทำให้เลย ฯลฯ เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้าก็จะต้องรับผลของบาปกรรม
    นั้นเอง.

    ****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 150********

    พญายม ครั้นซักไซ้ไล่เลียงเทวทูตที่สองแล้ว จึงซักไซ้ไล่เลียงเทวทูต
    ที่สามว่า เจ้าไม่ได้เห็นเทวทูตที่สามอันปรากฏอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.
    บุรุษนั้น ตอบว่า ไม่ได้เห็น เจ้าข้า.
    พญายม. เจ้าไม่ได้เห็นหรือ ในหมู่มนุษย์ หญิงหรือชายที่ตาย
    แล้วหนึ่งวันบ้าง...สองวันบ้าง... สามวันบ้าง ขึ้นพอง เขียว น้ำเหลืองไหล.
    บุรุษนั้น. ได้เห็น เจ้าข้า.
    พญายม. เจ้าเป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ไม่ได้คำนึงบ้างหรือว่า ถึง
    ตัวเราก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงความตายไปได้ มาเราจะทำความดี
    ด้วยกายวาจาใจเถิด.
    บุรุษนั้น. เปล่าเลย เจ้าข้า มัวประมาทเสีย.
    พญายม. เจ้าไม่ได้ทำความดีด้วยกายวาจาใจ เพราะมีความประมาท
    แน่ละ เขาจะต้องทำกะเจ้าตามฐานที่ประมาท ก็แต่ว่าบาปกรรมนั้นนั่น
    มารดา... บิดาก็มิได้ทำให้เลย ฯลฯ เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้าก็จะต้องรับผลของ
    บาปกรรมนั่นเอง.
    พญายม ครั้นซักไซ้ไล่เลียงเทวทูตที่สามกะบุรุษนั้นแล้วก็นิ่งอยู่.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิรยบาลทำกรรมกรณ์ ชื่อ เบญจพิธ-
    พันธนะกะบุรุษนั้น คือ เอาตาปูเหล็กแดงตรึงมือ ๒ ข้าง เท้า ๒ ข้างและ
    กลางอก บุรุษนั้นเสวยทุกขเวทนาอันกล้า หนัก เผ็ดร้อนอยู่ ณ ที่นั้น และ
    ไม่ตายตลอดเวลาที่บาปกรรมยิ่งไม่สิ้น.

    ****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 151****

    พวกนิรยบาล จับบุรุษนั้นนอนลงแล้วถากด้วยขวานผึ่ง... ตั้งเอา
    เท้าขึ้นศีรษะลงแล้วถากด้วยพร้า...จับเอาเทียมรถให้แล่นไปแล่นมาบนพื้นอัน
    ร้อนลุกเป็นเปลวช่วงโชติ... บังคับให้ขึ้นลงภูเขาเถ้าถ่านอันร้อนลุกโชน..
    จับเอาเท้าขึ้นศีรษะลง ทุ่มลงไปในโลหกุมภี อันร้อนแดงลุกเป็นแสง บุรุษ
    นั้นถูกต้มอยู่ในนั้นจนตัวพอง เมื่อถูกต้มจนตัวพองอยู่ในนั้น ลางทีก็โผล่
    ขึ้นม้า ลางทีก็จมลงไป ลางทีก็ลอยขวางไป บุรุษนั้นเสวยทุกขเวทนาอันกล้า
    หนัก เผ็ดร้อนอยู่ ณ ที่นั้น และไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิรยบาลจับบุรุษนั้นไปลงมหานรก ก็
    มหานรกนั้น
    มีสี่มุม สี่ประตู แบ่งออกเป็นส่วนๆ
    มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วย (ฝา)
    เหล็ก พื้นก็ล้วนไปด้วยเหล็ก ร้อนลุกโชน
    แผ่ (ความร้อน) ไปถึง ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
    ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว ความปริวิตกนี้ได้มีแก่พญายม
    ว่า ได้ยินว่า ชนเหล่าใดทำกรรมทั้งหลายที่เป็นบาปในโลก ชนเหล่านั้นย่อม
    ถูกทำกรรมกรต่าง ๆ เช่นอย่างนี้ เจ้าประคุณ ขอให้ข้า ฯ ได้เป็นมนุษย์
    เถิด กับขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงบังเกิดในโลก ขอให้ข้า ฯ
    ได้เข้าใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึงทรงแสดงธรรม
    และขอให้ข้า ฯ พึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด

    ****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 152****

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ฟังเรื่องนั้นต่อผู้อื่น เป็นสมณะหรือ
    พราหมณ์ก็ตาม จึงมากล่าวอย่างนี้ หามิได้ ที่จริง เรากล่าวเรื่องที่เราได้รู้เอง
    ได้เห็นเอง แจ่มแจ้งเองทีเดียว.
    คนเหล่าใดถูกเทวทูตเตือนแล้วยัง
    ประมาทอยู่ คนเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงกาย
    อันเลว โศกเศร้าสิ้นกาลนาน
    ฝ่ายคนเหล่าใด เป็นสัตบุรุษผู้สงบ
    ในโลกนี้ ถูกเทวทูตเตือนแล้วไม่ประมาท
    ในธรรมของพระอริยเจ้าเสมอไป เห็นภัย
    ในเพราะอุปาทานอันเป็นแดนเกิดแห่งชาติ
    และมรณะ เลิกยึดถือ หลุดพ้นไปเพราะ
    สิ้นชาติและมรณะ คนเหล่านั้น ถึงความ
    เกษมเป็นสุข ดับทุกข์ได้ในชาติปัจจุบัน
    พ้นเวรภัยทั้งปวง ล่วงทุกข์ทั้งหมด.

    จบทูตสูตรที่ ๖

    ***พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 153***

    อรรถกถาทูตสูตร
    พึงทราบวินิจฉัยในทูตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
    เทวทูต
    บทว่า เทวทูตานิ ได้แก่ เทวทูตทั้งหลาย. ก็ในบทว่า เทวทูตานิ
    นี้มีความหมายของคำดังต่อไปนี้ มัจจุชื่อว่า เทวะ ทูตของเทวะนั้น ชื่อว่า
    เทวทูต อธิบายว่า คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย เรียกว่า เทวทูต เพราะ
    เป็นเหมือนเตือนอยู่ว่า บัดนี้ ท่านกำลังเข้าไปใกล้ความตาย โดยมุ่งหมาย
    จะให้เกิดความสังเวช.
    อนึ่ง ชื่อว่า เทวทูต เพราะหมายความว่า เป็นทูตเหมือนเทวดาบ้าง.
    อธิบายว่า เมื่อเทวดาตกแต่งประดับประดา แล้วยืนพูดอยู่ในอากาศว่า ท่าน
    จักตายในวันโน้น คำพูดของเทวดานั้นคนต้องเชื่อ ฉันใด แม้คนแก่ คนเจ็บ
    และคนตาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปรากฏก็เป็นเหมือนเตือนอยู่ว่า แม้ท่าน
    ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา และคำพูดนั้นของคนแก่ คนเจ็บ และคนตายเหล่านั้น
    ก็เป็นเหมือนคำพยากรณ์ของเทวดา เพราะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นเลย
    เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวดา.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นเทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพก็ได้
    อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกองค์ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช
    เท่านั้น ก็ถึงความสังเวชแล้วออกบวช. คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช
    ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลายบ้าง ดังพรรณนามานี้.
    แต่ในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า เทวทูตานิ เพราะลิงควิปัลลาส.

    ****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 154***

    พญายมถามเทวทูต
    ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า กาเยน
    ทุจฺจริตํ เป็นต้นไว้ ?
    ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงกรรมของผู้เข้าถึงฐานะที่เป็นเหตุ (ให้พญา
    ยม) ซักถามถึงฐานะของเทวทูตทั้งหลาย.
    จริงอยู่ สัตว์นี้ย่อมบังเกิดในนรกด้วยกรรมนี้. พญายมราช ย่อม
    ซักถามเทวทูตทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน ทุจฺจริตํ จรติ
    ความว่า ประพฤติทุจริต ๓ อย่างทางกายทวาร. บทว่า วาจาย ความว่า
    ประพฤติทุจริต ๔ อย่างทางวจีทวาร. บทว่า มนสา ความว่า ประพฤติ
    ทุจริต ๓ อย่างทางมโนทวาร.

    นายนิรยบาลมีจริงหรือไม่ ?
    ในบทว่า ตเมนํ ภิกฺขเว นิรยปาลา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    พระเถระบางพวกกล่าวว่า นายนิรยบาลไม่มีหรอก กรรมต่างหากเป็นเหมือน
    หุ่นยนต์สร้างเหตุการณ์ขึ้น. คำนั้น ถูกคัดค้านไว้ในคัมภีร์อภิธรรมแล้วแล
    โดยนัยเป็นต้นว่า ในนรกมีนายนิรยบาล และว่า ใช่แล้ว ผู้สร้างเหตุการณ์
    ก็มีอยู่ เปรียบเหมือนในมนุษยโลก ผู้สร้างเหตุการณ์ คือ กรรม มีอยู่ฉันใด
    ในนรก นายนิรยบาล ก็มีอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน.

    พญายมคือเวมานิกเปรต
    บทว่า ยมสฺส รญฺโญ ความว่า พญาเวมานิกเปรต ชื่อว่า พญายม
    เวลาหนึ่ง เสวยสมบัติมีต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ อุทยานทิพย์ และเหล่านางฟ้อน
    ทิพย์ เป็นต้น ในวิมานทิพย์ เวลาหนึ่ง เสวยผลของกรรม. พญายมผู้ตั้ง
    ๑. ปาฐะว่า เทวตานุยฺญฺชนฏ ฐานุปกฺกมทสฺสนตฺถํ ฉบับพม่าเป็น เทวทูตานุยุญฺชนฏฺ ฐานุปกฺกม
    กมฺมทสฺสนฺตํว แปลตามฉบับพม่า.

    ****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 155***

    อยู่ในธรรม มีอยู่. และพญายมอย่างนั้น ก็มิได้มีอยู่แต่พระองค์เดียว แต่ว่า
    มีอยู่ถึง ๔ พระองค์ ที่ ๔ ประตู.

    อธิบายศัพท์ อมัตเตยยะ อพรหมัญญะ
    บทว่า อมตฺเตยฺโย ความว่า บุคคลผู้เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่า
    มัตเตยยะ อธิบายว่า เป็นผู้ปฏิบัติชอบในมารดา ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่า
    อมัตเตยยะ อธิบายว่า ผู้ปฏิบัติผิดในมารดา. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
    ในบทว่า อพฺรหฺมญฺโญ นี้ มีอธิบายว่า พระขีณาสพชื่อว่าเป็น
    พราหมณ์ บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า อพรหมัญญะ.
    บทว่า สมนุยุญฺชติ ความว่า พญายมให้นำระเบียบในการซักถาม
    มาซักถาม. แต่เมื่อให้ยืนยันลัทธิ ชื่อว่า ซักไซ้. เมื่อถามถึงเหตุ ชื่อว่า
    ซักฟอก. ด้วยบทว่า นาทฺทสํ (ข้าพเจ้ามิได้เห็น) สัตว์นรกกล่าวอย่างนั้น
    หมายถึงว่าไม่มีเทวทูตอะไร ๆ ที่ถูกส่งไปในสำนักของตน.

    พญายมเตือน
    ครั้งนั้น พญายมทราบว่า ผู้นี้ยังกำหนดความหมายของคำพูดไม่ได้
    ต้องการจะให้เขากำหนด จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อมฺโภ ดังนี้กะเขา. บรรดา
    บทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺณํ ได้แก่ ทรุดโทรมเพราะชรา. บทว่า
    โคปานสิวงฺกํ ได้แก่ โกง เหมือนกลอนเรือน. บทว่า โภคฺคํ ได้แก่
    งุ้มลง. พญายมแสดงถึงภาวะที่บุคคลนั้น (มีหลัง) โกงนั่นแล ด้วยบทว่า
    โภคฺคํ แม้นี้.

    ****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 156***

    บทว่า ทณฺฑปรายนํ คือ มีไม้เท้าเป็นที่พึ่ง ได้แก่ มีไม้เท้า
    เป็นเพื่อน. บทว่า ปเวธมานํ แปลว่า สั่นอยู่. บทว่า อาตุรํ ได้แก่
    อาดูรเพราะชรา. บทว่า ขณฺฑทนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่ามีฟันหัก เพราะอานุภาพ
    ของชรา. บทว่า ปลิตเกสํ แปลว่า มีผมขาว (หงอก). บทว่า วิลูนํ ได้แก่
    ศีรษะล้าน เหมือนถูกใครถอนเอาผมไป. บทว่า ขลิตสิรํ ได้แก่ ศีรษะ
    ล้านมาก. บทว่า วลิตํ ได้แก่ เกิดริ้วรอย. บทว่า ติลกาหตคตฺตํ ได้แก่
    มีตัวลายพร้อยไปด้วยจุดขาวจุดดำ. บทว่า ชราธมฺโม ความว่า มีชราเป็น
    สภาพคือไม่พ้นจากชราไปได้ ธรรมดาว่าชราย่อมเป็นไปในภายในตัวเรามีเอง
    แม้ในสองบทต่อมาว่า พฺยาธิธมฺโม มรณธมฺโม ก็มีนัยความหมายอย่าง
    เดียวกันนี้แล.

    เทวทูตที่ ๑
    ในบทว่า ปฐมํ เทวทูตํ สมนุยุญฺชิตฺวา นี้ พึงทราบอธิบาย
    ดังต่อไปนี้ ธรรมดาว่า สัตว์ผู้ทรุดโทรมเพราะชราย่อมกล่าวโดยใจความอย่างนี้
    ว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้าก็ได้เป็นหนุ่มสมบูรณ์ด้วยพลังขา
    พลังแขน และความว่องไวเหมือนท่านมาแล้ว (แต่ว่า) ความสมบูรณ์ด้วยพลัง
    และความว่องไวเหล่านั้นของข้าพเจ้านั้น หายไปหมดแล้ว แม้มือและเท้าของ
    ข้าพเจ้าก็ไม่ทำหน้าที่ของมือและเท้า ข้าพเจ้ากลายมาเป็นคนอย่างนี้ก็เพราะ
    ไม่พ้นจากชรา ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น ถึงพวกท่านก็ไม่พ้นจาก
    ชราไปได้เหมือนกัน เหมือนอย่างว่า ชรามาแก่ข้าพเจ้าฉันใด ชราก็จักมา

    ***พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 157***

    แม้แก่พวกท่านฉันนั้น เพราะชรานั้นมาอย่างที่กล่าวมานี้ ในวันข้างหน้านั่นแล
    ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด. ด้วยเหตุนั้น สัตว์ผู้ทรุดโทรมเพราะ
    ชรานั้น จึงชื่อว่า เป็นเทวทูต.

    เทวทูตที่ ๒
    บทว่า อาพาธิกํ แปลว่า คนเจ็บ. บทว่า ทุกขิตํ แปลว่า
    มีทุกข์. บทว่า พาฬฺหคิลานํ แปลว่า เป็นไข้หนักเหลือประมาณ. แม้ใน
    ที่นี้ ธรรมดาว่าสัตว์ผู้เจ็บป่วยย่อมกล่าวโดยใจความอย่างนี้ว่า ดูเถิด ท่าน
    ผู้เจริญทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้าก็เป็นคนไม่มีโรคะเหมือนพวกท่านมาแล้ว แต่ว่า
    บัดนี้ ข้าพเจ้านั้นถูกความเจ็บป่วยครอบงำ จมอยู่กับปัสสาวะอุจจาระของตน
    แม้แต่จะ (ยันกาย) ลุกขึ้นก็ยังไม่สามารถ มือเท้าของข้าพเจ้าแม้จะมีอยู่
    ก็ทำหน้าที่ของมือเท้าไม่ได้ ข้าพเจ้ากลายเป็นคนเช่นนี้ก็เพราะไม่พ้นไปจาก
    พยาธิ (ความเจ็บไข้) ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น แม้พวกท่านก็ไม่
    พ้นจากพยาธิเหมือนกัน เหมือนอย่างว่า พยาธิมาแก่ข้าพเจ้า ฉันใด พยาธิ
    ก็จักมาแม้แก่พวกท่าน ฉันนั้น เพราะพยาธินั้นมาอย่างที่กล่าวมานี้ในวันข้าง
    หน้าแน่ ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด. เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เจ็บ
    ป่วยนั้น จึงชื่อว่า เป็นเทวทูต.

    เทวทูตที่ ๓
    ในบทว่า เอกาหมตํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    สัตว์นั้นตายได้วันเดียว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกาหมตะ. (ท่านไม่เห็น)
    สัตว์ตายในวันเดียวนั้น (หรือ). แม้ในสองบทต่อมา (คือทฺวีหมตํ วา ตีหมตํ
    วา) ก็มีนัย นี้แล. ซากศพ ชื่อว่า อุทธุมาตกะ เพราะขึ้นพองโดย
    ภาวะที่อืด สูงขึ้นตามลำดับนับตั้งแต่สิ้นชีวิตไป เหมือนสูบที่เต็มด้วยลมฉะนั้น.

    *****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 158***

    ซากศพที่มีสี (เขียว) ขึ้นปริไปทั่ว เรียกว่า วินีละ วินีละนั้นเอง
    ชื่อว่า วินีลกะ. (ท่านไม่เห็น) ซากศพที่เขียวคล้ำนั้น (หรือ). อีกอย่างหนึ่ง
    ซากศพที่เขียวคล้ำนั้น นับว่าน่ารังเกียจเพราะเป็นของน่าเกลียด. บทว่า
    วิปุพฺพกํ ได้แก่ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม. อธิบายว่า ซากศพที่
    เปรอะเปื้อนไปด้วยน้ำเหลืองที่ไหลออกจากที่ที่แตกปริ.
    ในบทว่า ตติยํ เทวทูตํ นี้ มีอธิบายว่า ธรรมดาว่าสัตว์ตายย่อม
    บอกเป็นความหมาย อย่างนี้ว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย (จงดู) ข้าพเจ้า
    ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ ถึงความเป็นสภาพที่พองอืดเป็นต้น ก็ข้าพเจ้า
    กลายเป็นเช่นนี้ก็เพราะไม่พ้นจากความตาย ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น
    แม้พวกท่านก็ไม่พ้นจากความตายเหมือนกัน เหมือนอย่างว่า ความตายมา
    แก่ข้าพเจ้า ฉันใด ก็จักมาแก่พวกท่าน ฉันนั้น เพราะความตายนั้นจะมา
    อย่างที่กล่าวมานี้ในวันข้างหน้าแน่ ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด.
    ด้วยเหตุนั้น สัตว์ตายนั้นจึงจัด เป็นเทวทูต.

    ใครถูกถามถึงเทวทูต - ใครไม่ถูกถาม
    ถามว่า ก็การถามถึงเทวทูตนี้ ใครได้ ใครไม่ได้ (ใครถูกถาม
    ใครไม่ถูกถาม). ตอบว่า บุคคลใดทำบาปไว้มาก บุคคลนั้น (ตายแล้ว) ไปเกิด
    ในนรกทันที. แต่บุคคลใดทำบาปไว้นิดหน่อย บุคคลนั้นย่อมได้ (ถูกถาม).
    อุปมาเหมือน ราชบุรุษจับโจรได้พร้อมของกลาง ย่อมทำโทษที่
    ควรทำทันที ไม่ต้องวินิจฉัยละ แต่ผู้ที่เขาสงสัยจับได้ เขาจะนำไปยังที่สำหรับ
    วินิจฉัย. บุคคลนั้นย่อมได้รับการวินิจฉัย ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น.
    เพราะผู้ที่มีบาปกรรมนิดหน่อยย่อมระลึกได้ตามธรรมดาของตนเองบ้าง ถูกเตือน
    ให้ระลึกจึงระลึกได้บ้าง.

    ****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 159***

    ตัวอย่างผู้ที่ระลึกได้ตามธรรมดาของตน
    ในการระลึกได้เองและถูกเตือนให้ระลึกนั้น มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
    ทมิฬชื่อทีฆชยันตะระลึกได้เองตามธรรมดาของตน. เล่ากันว่า ทมิฬ
    นั้นเอาผ้าแดงบูชาอากาสเจดีย์ (เจดีย์ระฟ้า) ที่สุมนคิริมหาวิหาร ต่อมา (ตายไป)
    บังเกิดในที่ใกล้อุสสุทนรก ได้ฟังเสียงเปลวไฟ๑ จึงหวนระลึกถึงผ้า (แดง)
    ที่ตนเอาบูชา (อากาสเจดีย์) เขาจึง (จุติ) ไปบังเกิดในสวรรค์.
    มีอีกคนหนึ่ง ถวายผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยงแก่ภิกษุหนุ่มผู้เป็นบุตร เวลา
    ที่ทอดผ้าไว้แทบเท้า (พระลูกชาย) ก็ถือเอานิมิตในเสียง ว่าแผ่นผ้า ๆ ได้.
    ต่อมา บุรุษนั้น (ก็ตายไป) บังเกิดในที่ใกล้อุสสุทนรก หวนระลึกถึง
    ผ้าสาฎกนั้นได้ เพราะ (ได้ยิน) เสียงเปลวไฟ จึง (จุติ) ไปบังเกิดในสวรรค์.
    ชนทั้งหลาย ผู้เกิดในนรกระลึกถึงกุศลกรรมได้ตามธรรมดาของตน
    แล้ว (จุติไป) บังเกิดในสวรรค์ ดังพรรณนามานี้ก่อน.
    ส่วนสัตว์ผู้ระลึกไม่ได้ตามธรรมดาของตน พญายมย่อมถามถึง
    เทวทูต ๓. บรรดาสัตว์เหล่านั้น ลางตนระลึกได้เพียงเทวทูตที่ ๑ เท่านั้น
    (แต่) ลางคนระลึกได้ถึงเทวทูตที่ ๒ และที่ ๓. สัตว์ใดระลึกไม่ได้ด้วย
    เทวทูตทั้ง ๓ พญายมจะเตือนสัตว์นั้นให้ระลึกได้เอง.

    ตัวอย่างผู้ถูกเตือน
    เล่ากันมาว่า อำมาตย์คนหนึ่งบูชาพระมหาเจดีย์ ด้วยดอกมะลิ ๑ หม้อ
    แล้วได้แบ่งส่วนบุญให้แก่พญายม. นายนิรยบาลทั้งหลายได้นำเขาผู้บังเกิดใน
    นรกด้วยอกุศลกรรมไปยังสำนักพญายม. เมื่อเขาระลึกถึงกุศลไม่ได้ด้วยเทวทูต
    ทั้ง ๓ พญายมจึงตรวจดูเอง พลางเตือนเขาให้ระลึกว่า ท่านได้บูชาพระ-
    มหาเจดีย์ด้วยดอกมะลิ ๑ หม้อ แล้วได้แบ่งส่วนบุญให้เรามิใช่หรือ ?


    ๑. ปาฐะว่า ชาลสทฺทํ ฉบับพม่าเป็น อคฺคิชาลสทฺทํ แปลตามฉบับพม่า

    ***พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 160***

    เวลานั้น เขาก็ระลึกได้ (ขึ้นมาทันทีจึงจุติ) ไปบังเกิดยังเทวโลก
    ฝ่ายพญายม แม้ตรวจดูด้วยพระองค์เองแล้ว เมื่อไม่เห็นก็จะทรงนิ่งเสียด้วย
    ทรงดำริว่า สัตว์นี้จักเสวยทุกข์มหันต์.


    การลงโทษในนรก
    บทว่า ตตฺตํ อโยขีลํ ความว่า นายนิรยบาลทั้งหลายจับอัตภาพ
    (สูงใหญ่) ประมาณ ๓ คาวุต ให้นอนหงายบนพื้นโลหะที่ไฟลุกโชนแล้ว
    เอาหลาวเหล็กขนาดเท่าต้นตาลแทงเข้าไปที่มือขวา ที่มือซ้ายเป็นต้น (ก็ทำ)
    เหมือนกัน. นายนิรยบาลจะจับสัตว์นรกนั้นให้นอนคว่ำหน้าบ้าง ตะแคงซ้าย
    บ้าง ตะแคงขวาบ้าง เหมือนให้นอนหงายแล้วลงโทษฉันนั้นเหมือนกัน.
    บทว่า สํเวเสตฺวา ความว่า (นายนิรยบาล) จับอัตภาพประมาณ
    ๓ คาวุตให้นอนบนพื้นโลหะที่ไฟลุกโชน. บทว่า กุฐารีหิ ความว่า
    ถากด้วยผึ่งใหญ่ขนาดเท่าหลังคาเรือนด้านหนึ่ง. เลือดไหลนองเป็นแม่น้ำ
    เปลวไฟลุกโชนจากพื้นโลหะไปติดที่ที่ถูกถาก. ทุกข์มหันต์เกิดขึ้น (แก่สัตว์
    นรก) ส่วนนายนิรยบาลทั้งหลาย เมื่อถากก็ถากให้เป็น ๘ เหลี่ยมบ้าง ๖
    เหลี่ยมบ้าง เหมือนตีเส้นบันทัดถากไม้. บทว่า วาสีหิ คือ ด้วยมีดทั้งหลาย
    มีขนาดเท่ากระด้งใหญ่.
    บทว่า รเถ โยเชตฺวา ความว่า (นายนิรยบาลทั้งหลาย) เทียม
    สัตว์นรกนั้นให้ลากรถพร้อมกับแอก เชือก แปรก ล้อรถ ทูบ และปฏักซึ่ง
    มีไฟลุกโพลงรอบด้าน. บทว่า มหนฺตํ คือ มีประมาณเท่าเรือนยอดขนาดใหญ่.
    บทว่า อาโรเปนฺติ ความว่า ตีด้วยฆ้อนเหล็กที่ไฟลุกโชติช่วง แล้วบังคับให้
    ขึ้น (ภูเขาไฟ). บทว่า สกึปิ อุทฺธํ ความว่า สัตว์นรกนั้น (ถูกไฟเผาไหม้)
    พล่านขึ้นข้างบน จมลงข้างล่าง และลอยขวาง คล้ายกับข้าวสารที่ใส่ลงไปใน

    ***พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 161****
    หม้อที่เดือดพล่าน ฉะนั้น. บทว่า มหานิรเย คือ ในอเวจีมหานรก.
    บทว่า ภาคโส มิโต คือ (มหานรก) แบ่งไว้เป็นส่วนๆ. บทว่า
    ปริยนฺโต คือ ถูกล้อมไว้. บทว่า อยสา คือ ถูกปิดข้างบนด้วยแผ่นเหล็ก.
    บทว่า สมนฺตา โยชนสตํ ผริตฺวา ติฏฺฐติ ความว่า เปลวไฟ พวยพุ่ง
    ไปอยู่อย่างนั้น. เมื่อสัตว์นรกนั้นยืนดูอยู่ในที่ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ นัยน์ตา
    ก็จะถลนออกมาเหมือนก้อนเนื้อ ๒ ก้อนฉะนั้น.
    บทว่า หีนกายูปคา ความว่า เข้าถึงกำเนิดที่ต่ำ. บทว่า อุปาทาเน
    ได้แก่ในป่าชัฎคือตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ชาติมรณสมฺภเว ได้แก่ เป็นเหตุ
    แห่งชาติและมรณะ. บทว่า อนุปาทา ได้แก่เพราะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ๔.
    บทว่า ชาติมรณสงฺขเย ความว่า หลุดพ้นในเพราะนิพพาน อันเป็นแดนสิ้น
    ไปของชาติและมรณะ.
    บทว่า ทิฎฺฐธมฺมาภินิพฺพุตา ความว่า ดับสนิทแล้ว ในเพราะ
    ดับกิเลสทั้งหมดในทิฏฐธรรม คือ ในอัตภาพนี้นั่นแล. บทว่า สพฺพํ ทุกฺขํ
    อุปจฺจคุํ ความว่า ล่วงเลยวัฏทุกข์ทั้งหมด.
    จบอรรถกถาทูตสวรรค์ที่ ๖
     
  7. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    สังฆทานวันนี้เป็นปลาซาบะตัวละ 140 บาท
    กับน้ำอ้อย น้ำตะไคร้ น้ำอะไรอีกเค้าลืม
    จากการไปชวนแม่ค้าคุย เค้าบอกว่ามีทั้งปลาซาบะกับปลาโซบะ
    ปลาโซบะเวลาเอาไปย่างแล้วเนื้อมันจะแข็งๆ
    ขอท่านทั้งหลายจงรับเอาส่วนบุญเถิด

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  8. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    สังฆทานวันนี้เป็นเค้ก
    ขอท่านทั้งหลายจงรับเอาส่วนบุญเถิด

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    วันนี้ซื้อมา 6 ชิ้น 670 บาท
    เดี๋ยวนี้เค้าไม่ให้เป็นน้ำแข็งแห้งแล้วอ่ะ วันนี้เป็นถุงน้ำแข็ง ยังไม่ทันได้เริ่มงานเลย เค้กก็เริ่มละลายแล้ว เดี๋ยวค่อยไปร้องเรียนที่ร้านเค้า
    แต่ดีที่วันนี้เจ้าภาพเค้ามีตู้เย็นเลยเอาไปฝากเค้าไว้ก่อน ขอบคุณนะค่ะที่อุตส่าห์โทรมาตามด้วยเพราะว่าเค้ากลัวว่าเราจะลืม

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    CHOCO BANANA TART 105 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]

    FEUILLE DAUTOMNE 110 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]

    EMERAUDE 125 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]

    LEMON TART 75 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  10. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    COSTA RICA 135 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]

    SCHUSS AUX FRUIT 120 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
  12. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    แล้วก็ไปนมัสการพระธาตุ เมืองนครศรีธรรมราชมาด้วย
    ขอท่านทั้งหลายจงรับเอาส่วนบุญเถิด
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ทางขึ้นไปสู่ลานพระเจดีย์ด้านบน
    [​IMG]

    กระดิ่งลมที่ถวายเป็นพุทธบูชา
    [​IMG]

    รอบๆ องค์พระเจดีย์
    [​IMG]

    รอบองค์พระธาตุ 75 เมตร ไว้ใครจะไปจะได้เตรียมความยาวผ้าได้พอดี
    เห็นทีคงจะต้องไปฝึกผูกผ้าแล้วล่ะ ต้องได้ไปผูกพระเจดีย์แน่ๆ แต่คราวหน้าไว้ค่อยไปหาเป็นผ้าสีทองๆ ก็น่าจะดี
    [​IMG]
     
  13. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
  14. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    ชอบป้ายประกาศในวัดถ้ำขวัญเมือง จ.ชุมพร อันนี้จัง
    [​IMG]
     
  15. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    สังฆทานวันนี้เป็นทุเรียนก้านยาว
    ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ทุกท่านที่ได้รับชมกระทู้ค่า

    [​IMG]

    [​IMG]


    ทุเรียนก้านยาว 720 บาท กิโลกับ 2 ขีดได้ เมล็ดข้างในเล็กมากค่ะ ก็ถือว่าคุ้มนะคะมีส่วนเนื้อเยอะเหมือนกัน
    บอกแม่ค้าว่าจะเอามาทำบุญเค้าเลยแถมให้อีก 2 ชิ้นเล็กๆ นั้น ปกติแล้วไม่ชอบกินทุเรียนค่ะ เลยซื้อไม่เป็นให้แม่ค้าเค้าเลือกให้ แม่ค้าเค้าให้ชิมด้วยนะ กินแล้วรู้สึกงั้นๆ สู้ข้าวเหนียวมะม่วงก็ไม่ได้ อ๊างงงง..

    [​IMG]

    ราคาก่อนปอกกิโลละ 250 บาท ปอกแล้วกิโลละ 600 บาท ทำไมพันธุ์ก้านยาวถึงได้แพงนัก

    ทุเรียนก้านยาวนนท์ที่ร่ำลือกันว่าลูกละ 3000 บาท เค้าส่งขายนอกหมด ถ้าอยากได้ต้องสั่งพิเศษ
    มีใครอยากลองกินบ้างมั้ย (แต่ที่เห็นนี่ไม่ใช่ทุเรียนนนท์ที่เค้าร่ำลือกันนะคะ)

    คนเรานี่ก็แปลกนะ ผลไม้ที่กลิ่นแรงทำเป็นรังเกียจ ทีเวลากินล่ะชอบนัก
    อย่างน้ำปลาก็เหมือนกัน กลิ่นที่แสนจะรุนแรง แต่เวลากินข้าวล่ะขาดไม่ได้เลย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  16. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    สังฆทานวันนี้เป็นปั้นขลิบนึ่งไส้ปลา
    ขอบุญที่ได้ทำไว้ดีแล้วในวันนี้ จงสำเร็จแก่ทุกๆท่านที่ได้รับชมกระทู้ นะคะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    วันนี้ขนาดเปลี่ยนถุงมือไปตั้งสองคู่ แกะพริกไปได้ชั่วโมงครึ่งยังร้อนมือเลย
    วันหลังไม่ตัดตรงส่วนปลายล่ะ ถ้ากรีดแบบยาวๆ เลย เวลาแช่น้ำแล้วมันบานจะดูพริ้วกว่า

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  17. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ความรู้ใหม่ วันนี้เป็นเรื่องน้ำอ้อย เพิ่งสังเกตเห็นว่าน้ำอ้อยมันมีสองสี คือสีออกเขียวๆ กับสีเหลือง
    น้ำอ้อยที่เป็นสีเขียวๆ นั้นใช้อ้อยแก่ กินแล้วจะมีกลิ่นเหม็นเขียว
    ส่วนน้ำอ้อยที่สีเหลืองๆ อร่อยกว่าค่า ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว
    เวลาจะซื้อก็ดูที่ว่าคนขายเค้าใช้ อ้อยลำสีเขียวหรือสีเหลืองมาคั้นนะค่ะ
     
  18. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    สังฆทานวันนี้เป็น ปู กับกล้วยหอม
    ขอบุญกุศลที่ได้ทำเอาไว้ดีในวันนี้ จงสำเร็จแก่ทุกท่านที่ได้รับชมกระทู้นะค่ะ

    วันนี้ตอนไปเดินตลาดตอนเช้าไม่รู้จะซื้ออะไรดี
    เดินไปเห็นปู ก็เลยเอาปูแล้วกัน
    ปูใหญ่สุดในร้านล่ะ 730 บาท ประมาณ 6 ตัว
    กลิ่นน้ำจิ้มแซ่บมากขอบอก อ๊างงงง

    [​IMG]

    กล้วยหอม 2 หวี 160 บาท กล้วยหอมต้องโทรสั่งไว้ก่อน ไม่งั้นไปซื้อทีไรมีแต่เขียวๆ
    [​IMG]

    [​IMG]

    ความรู้ที่ได้จากการไปยืนคุยกับแม่ค้าวันนี้ (ต้องหาเรื่องคุยกับแม่ค้้าทุกทีเลย)
    ปูที่กินเนื้อส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ ถ้าจะกินไข่ก็เป็นปูตัวเมียแต่คนส่วนใหญ่เค้าไม่ค่อยกินไข่ปูกัน
    ถ้าเป็นหอยอย่างนี้ข้างขึ้นข้างแรมมีผล จะทำให้ได้เนื้อแน่นไม่แน่น
    แต่ปูข้างขึ้นข้างแรมไม่มีผล

    ไปถ่ายรูปเล่นที่ร้านแม่ค้ากันเช่นเคย แม่ค้าใจดี และก็ไม่ลืมที่จะบอกแม่ค้าด้วยว่าจะเอาไปทำบุญ เค้าจะได้อนุโมทนาด้วย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  19. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    สังฆทานวันนี้เป็น Cake LENoTRE
    ขอบุญที่ทำไว้ดีในวันนี้ จงสำเร็จแก่ทุกท่านที่ได้รับชมกระทู้ค่า

    พาเที่ยวร้าน Lenotre กัน
    ชอบร้านนี้นะเปิดเช้าดี
    [​IMG]

    [​IMG]

    ขนมไหว้พระจันทร์เค้าหน้าตาธรรมดาไป เลยไม่ได้ซื้อ
    [​IMG]

    กล่องมันสวยใช้ได้ ไปทำบุญในที่ที่ไม่คุ้น เลยเอาอะไรง่ายๆ ขี้เกียจไปตามหาจานชามตอนงานเลิก
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เดี๋ยวนี้เค้าบอกว่าใช้เป็นเจล มันปลอดภัยกว่าใช้น้ำแข็งแห้ง

    แต่เท่าที่ดู พอตอนจะประเคน นับได้ 3 ชั่วโมงนับจากออกมาจากร้าน มันละลายดูแล้วเหมือนน้ำเปล่าเลย เหมือนเค้าเอาน้ำไปแช่แข็งแล้วเอามาใช้มากกว่า
    จำได้เมื่อครั้งก่อนที่เป็นน้ำแข็งแห้ง ถึงผ่านไป 3 ชั่วโมง น้ำแข็งแห้งก็ยังไม่ละลายไปเท่าไหร่ เค้กก็ยังไม่ละลาย
    แต่คราวที่แล้วเป็นถุงน้ำแข็งแบบนี้แค่ผ่านไปชั่วโมงครึ่ง เค้กก็เริ่มละลายแล้วดีที่วันนั้นเจ้าภาพ เค้ามีตู้เย็นเลยฝากเค้าเอาไว้ได้

    VANILLA PANACOTTA 135 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  20. dhammavoice

    dhammavoice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    552
    ค่าพลัง:
    +878
    MASSAI 120 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]

    BAROC BLUEBERRY 125 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]

    DOUCEUR NOISETTE 125 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]

    CREME BRULEE TART 75 BAHT
    [​IMG]

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...