เรื่องเล่าของข้าพเจ้าความศักดิ์สิทธิ์พระคาถาชินบัญชร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย ชัชวาล เพ่งวรรธนะ, 1 ตุลาคม 2008.

  1. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    ผมมีความเห็นถูกมั้ยครับอา

    ช่วยพิจารณาผมหน่อยครับอา

    คือ ผมใช้ปัญญาพิจารณาครับว่า

    ......พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงความจริงว่า " ท่านทั้งหลายอย่า มัวแต่ เคารพสักการะรูปกายเราเลย ถ้าท่านศรัทธาเราจริง ท่านจงเอาหัวใจของท่านเป็นธรรมมะของเรา แล้วนำไปปฏิบัติ นอกจากท่านจากจะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของเราแล้ว ท่านยังเป็นผู้หลุดพ้นเช่นเราได้ "

    ผมเห็นว่า ท่านแสดงความจริงให้เห็นว่า เราเป็นพระพุทธเจ้าได้

    แต่พอผมไปพูดกับใครว่า ให้เอาธรรมขอท่านอยู่ในใจ อย่ามัวแต่สักการะรูปของท่านเลย เพราะท่านเองก็เป็นพระพุทธเจ้าได้เช่นกัน

    คนอื่นไม่คิดเช่นผมครับอา หาว่าผม จะเทียบเคียงพระพุทธเจ้า
     
  2. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    เปลือกหุ้มแก่น...
    เปลือกนั้นก็สำคัญอยู่จะทอดทิ้งเลยก็ใช่ที่
    การที่ตั๊มเข้าใจที่แก่นแห่งธรรมนั้นก็เพราะอาศัยเปลือกมาก่อน
    และการที่ตั๊มไปพูดกับคนที่พึ่งเข้าหาเปลือกจึงเป็นการแสดงธรรมไม่ถูกกับบุคคลเช่นกันจึงอาจจะถูกมองว่าไม่ให้การสักการะพุทธองค์
    คำว่าไม่มีอะไรเลยนั้นยังเป็นสมาธิอยู่...
    คนที่เข้ามาเบื้องต้นจึงต้องมีการอิงอาศัย เป็นวิหาร เป็นเครื่องอยู่ เป็นที่ระลึก
    คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอาศัย
    เมื่อโน้มเข้าถึงจิตถึงใจแล้ว
    ความเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็ยิ่งมั่นคงมากยิ่งขึ้น
    ช่วงนี้ตั๊มส่งจิตซัดส่ายเกิดความกังวลและสับสน
    ตัดปริโพความกังวลนั้นทิ้งเสีย
    และเข้ามาอบรมกายและจิตตนเองอย่างมั่นคงเสียจะเป็นการดีกว่าเข้าไปจับเอา
    คำพูด ประเด็น การถกเถียง คำว่า ถูกและไม่ถูกมาเป็นเครื่องเศร้าหมองเลย

    ไม่มีคำว่าถูก ไม่มีคำว่าผิด มีแต่ทิฎฐิทั้งสิ้นนะ
    ผ่อนคลายตนเองลงมาอยู่ที่ใจที่ผ่องใสเสมอๆ
    ศีลจะมั่นคงมากขึ้น ใจก็จะไม่ซัดส่ายไปกับโลกมากนัก
    เท่าทันตนเองนะ
    อนุโมทนา
    พี่อ้อง
     
  3. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    ครับ ผม ช่วงนี้ผมจิตสัดส่ายมากเลย

    โดยเฉพาะเมื่อวานที่มีคนโจมตีพระพุทธทาส ที่ผมเคารพอยู่

    มันมาสะกิดใจผมว่า "เอ๊ะ ทำแทบตาย แต่กลับมาผิดเหรอ แต่จะเป็นจริงอย่างที่เขาพูดเหรอ เพราะธรรมของท่านทำให้เราเห็นว่าตนนั้น มีความทุกข์น้อยลง ๆ แต่คนที่เขามาบอก ก็ดันมามีตำรำอ้างอิง"

    แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผมเชื่อหรอกครับ เพียงแต่เกิดความลังเลและสงสัยมาก เพราะปกติก็คิดมากอยุ่แล้ว แต่ตั้งแต่ทำมาเรื่อยๆ นั้น คิดน้อยมากมายเลยครับ

    และเมื่อคืนก่อนนอน กับวันนี้ผมกังวลใจมาก อยากให้อามาตอบกระทู้ไว ๆ เผื่อจะได้ให้อาช่าวยพิจารณา


    ผมก็ขอขอบพระคุณ คุณอามากๆครับ ที่ช่วยเหลือผมตลอดที่ปรึกษากับอา

    ผมเป็นอะไรไม่รู้น่ะครับอา เวลาแวะมาอ่านกระทู้อาทีไร แม้จะโกรธมากแค่ไหน ก็รู้สึกอบอุ่นมาก เหมือนกับ อามีจิตที่อยากจะช่วยคนอื่นด้วยความเต็มใจจริง


    *** แต่ก็ไม่ลืมกราบหมอนก่อนนอนทุกคืนหรอกครับ แล้วตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าเสมอๆ ก่อนนอนครับ

    ส่วนธรรมม่ะของท่านนั้น อยู่ที่มจผมตลอดการกระทำ นั่ง ยืน เดิน แม้แต่นอน ก็ยังเป็นธรรมมะสำหรับผมเสมอๆ ครับ

    ขอบพระคุณอามากครับ

    อนุโมทนาครับคุณอาสำหรับพระคุณแห่งความเมตตา ของจิตใจผู้ยิ่งกว่าพรหม

    ตั้มครับ ^.^
     
  4. kung_9894

    kung_9894 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +1,584
    อนุโมทนาด้วยค่ะตั้ม

    จริงๆแล้วอากุ้งก็ต้องโมทนากับตั้มด้วยนะคะ
    ขอชื่นชมด้วยใจจริงด้วยเหมือนกันนะคะ
    สมัยนี้หาเด็กวัยรุ่นจะมาสนใจเรื่องธรรมะได้ยากยิ่ง
    การที่ตั้มสงสัยแล้วใฝ่ถามผู้รู้เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้วค่ะ
    เรายังเด็กก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่มีประโยชน์ไปเรื่อยๆ
    สักวันอาคิดว่าน้องตั้มคงได้เป็นผู้แนะนำเผยแพร่หลักพระธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้คนอื่นๆบ้างนะคะ
    อยากให้เด็กๆวัยรุ่นหันมาสนใจศึกษาธรรมะเหมือนกับน้องตั้มบ้าง คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคงดีใจนะคะ
    ขอให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะตั้ม
    อากุ้ง
     
  5. SONICx

    SONICx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +225
    สวัสดีครับพี่ ไม่ได้เข้ามาหลายวัน เนื่องจาก ช่วง 19-22 พ.ย. ที่ผ่านมา ไปแม่ฮ่องสอนมาครับ งานประชุม ครับ
    ทุกวันนี้ นิมิตที่เกิดขึ้น ทั้งในสมาธิ และขณะจับลมหายใจตอนนอนแล้วหลับไป มันจริง และเป็นปัจจุบัน แต่ก่อนนิมิตมักเป็นเรื่องในอดีตชาติ มันคงเป็นวิบากเดิมของผมที่ทำให้ผมต้องฝึกสมาธิแบบกสิณ
    วันหนึ่งผมยืนมองดูพระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า ที่เป็นสีแดงอมส้ม จิตผมดิ่งไปในสมาธิ จนเกิดอาการปิติของสมาธิขั้นกลาง นานพอสมควร แล้วจากนั้นมานิมิตนี้จะปรากฏมาเองเมื่อหลับตา ทุกวันนี้ผมต้องฝึกกสิณไฟ.แล้วทุกวันนี้ผมเริ่มสามารถนำความร้อนมาใช้ได้แล้ว มันแปลก แต่จริง ผมไม่เคยคิด ไม่เคยฝันว่ามันจะมาแบบนี้ แค่แต่ละคืนที่ไปโผล่ที่นั่น ที่นี่ ก็แปลกสุดแปลกแล้ว และที่แย่คืออารมณ์ของความกระหยิ่มใจเริ่มเกิดเมื่อนำความร้อนมาใช้ได้..มันคิดว่าตนเองเริ่มเหนือคนอื่น ผมก็ไม่รู้อารมณ์แบบนี้มาได้ไง แต่มันจะมักเกิดขึ้นเรื่อยๆ ผมก็ตามรู้มัน แต่บางทีมันมาแรงจนใจเคลิบเคลิ้ม ปรุงแต่งไปต่างๆนานา ผมไม่อยากติดอยู่ที่นี่ครับ.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2010
  6. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    จิตไปยึดเอาจุด ตำแหน่งมาเป็นภพ
    ไปยึดความทนงตน ความฮึกเหิม ความเก่งในสิ่งที่คนจับต้องได้ยาก
    ปัญญาเข้าไปรู้ความกระเพื่อมของใจที่หวั่นไหวไปกับอภิญญา
    เป็นสิ่งธรรมดาเหลือเกินสำหรับผู้เข้าไปรู้ในนิมิต ปีติ สุข อภิญญา
    สำหรับการที่เราเจริญสมาธิย่อมปรากฏอาการของจิตในฌานที่ปรากฏ

    ความสำคัญเราจะทำอย่างไรจึงจะไม่เข้าไปติดต่างหากแต่รู้ในอาการของจิตคือ
    แม้ปรากฏก็ไม่หวั่นไหว ไม่คล้อยตาม ไม่เข้าไปปรุงแต่ง

    ถ้ามันจะรู้ก็ตามรู้ แม้มันจะซัดส่ายก็รู้ว่าซัดส่ายอยู่ภายใน
    แม้มันจะปรุงแต่งเพลิดพลินยินดีก็รู้ เป็นผู้ตามรู้ ตามดู

    คำว่าปัญญาเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามีปัญญาพิจารณาดีแล้วว่าสิ่งที่เข้าไปรู้
    ทำให้เกิดสติปรากฏไม่ทำให้จิตเข้าไปยึดติด

    ถ้ามีปัญญาเข้าไปรู้สภาวะที่ปรากฏที่เกิดขึ้นเองตามอาการของจิต

    ถ้ามีสติ สมาธิที่มีกำลังเห็นรูปลักษณะที่ละเอียดปราณีตแล้ว
    รักษาความเป็นกลางด้วยใจที่เที่ยงธรรม

    หนุ่ยเคยเห็นสาวสวยแล้วใจหวั่นไหว
    หนุ่ยเคยได้กลิ่นอาหารแล้วใจหวั่นไหว
    หนุ่ยเคยได้ยินเสียงเพลงโปรดแล้วใจหวั่นไหว

    หนุ่ยจะเห็นคำว่ากระเพื่อมเหมือนระลอกคลื่นทำจิตให้หม่นหมองปรากฏ

    หนุ่ยลองสังเกตุสภาวะที่รู้ว่าเราหยุดการปรุงแต่งในสิ่งที่ชอบด้วยปัญญาเช่นใด...

    สติหนึ่งที่ปรากฏ
    ไม่หวั่นไหว ไม่คล้อยตาม ด้วยใจเที่ยงธรรมที่ปรากฏรู้หนึ่ง

    เห็นการกระเพื่อมที่ปรากฏหดตัวกลับมาที่แก่นกลางด้วยการรู้ถูกหนึ่ง

    เห็นการเกิดและดับสลายหายไปและเห็นใจยังกระเพื่อม
    ออกมาเป็นระลอกจนละลายหายไปอีกช่วงเวลาหนึ่งที่จิตยังส่งแรงกระเพื่อมของตัณหาหนึ่ง

    เห็นคุณธรรมที่เข้าไประงับยับยั้งรูปลักษณะที่ปรากฏด้วยการละอกุศลหนึ่ง

    เห็นจิตที่ปรากฏศีลแห่งอริยมรรคจิต มหากุศลจิตปรากฏชั่วขณะที่ตื่นรู้
    คำว่าศีลคือใจสะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใสปรากฏชั่วขณะหนึ่งที่มีสติหนึ่ง

    ดังนั้นในชีวิตประจำวัน เราจึงควรฝึกสติอยู่ที่อิริยาบทและใช้ปัญญาพิจารณา
    สภาวะธรรมทั้งหลายที่ปรากฏ ทั้งที่เราชอบมากๆก็ดี ไม่ชอบมากๆก็ดี
    เราจะมีปัญญาเข้าไปเห็นความจริงว่า

    สรรพสิ่งทั้งหลายที่ถูกรู้เป็นอารมณ์นั้นไม่ได้ทำให้ทุกข์ปรากฏ
    แต่เหตุที่ทุกข์ปรากฏเพราะเราส่งจิตออกนอกเข้าไปยึดรูปสภาวะต่างๆมาเป็นอารมณ์
    ปัญญามันจะเฉียบแหลม คมมากขึ้นเพราะเริ่มเท่าทันความจริงมากขึ้น

    ทำให้ ...ศีล สมาธิ ปัญญา คุณธรรมเจริญงอกงามเป็นลำดับจนปรากฏคำว่า
    อินทรีย์ที่กล้าแกร่งรอวันสมบูรณ์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    หนุ่ยไปติดดีเกิน ใจมันฮึกเหิม สติยังมีกำลังน้อย อบรมที่กายและจิตในระหว่างวันให้มากขึ้น

    อย่าไปเจาะจงเอาช่วงเวลาที่ทำ แต่ให้เจริญสติเสมอๆในระหว่างวัน
    เก็บเล็กผสมน้อยแล้วใช้โยนิโสพิจารณาด้วยความแยบคายด้วย
    อนุโมทนานะทำดีแล้ว ทำต่อไป ไม่มีคำว่าดี คำว่าเก่งหันกลับมาดูที่ใจที่ผ่องใสเป็นหัวใจหลักก็เพียงพอล่ะ
    พี่อ้องครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  7. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    เมื่อจิตตื่นจากความวิตกกังวล จะมีสติ ประกอบไปด้วยสมาธิ ที่จิตตั้งมั่น ผ่องใส ผ่องแผ้วบริสุทธิ์ มีปัญญาครอบคลุม

    ศีล สมาธิ ปัญญา ปกป้องเรา
     
  8. SONICx

    SONICx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +225
    ขอบคุณครับพี่ ผมจะเจริญสติให้มากขึ้น
     
  9. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    ก๊อปมาอ่านกันครับ

    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    สมเด็จพระพุทธเจ้าของเราผู้เป็นพระสัพพัญญูตรัสรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง พระองค์จึงทรงแสดงธรรมที่จริง 4 ประการไว้ให้สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งคือ

    1. ความทุกข์มีจริง
    2. สิ่งให้เกิดทุกข์มีจริง
    3. ธรรมเป็นที่ดับทุกข์มีจริง
    4. ข้อให้ปฏิบัติถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์มีจริง

    นี่แหละเรียกว่าอริยสัจสี่ คือ เป็นความจริงสี่ประการซึ่งเพิ่มอริยเข้าอีกคำหนึ่งนั้น คือ อริย แปลว่าพระผู้รู้อย่างหนึ่ง พระผู้ไกลจากกิเลสอย่างหนึ่ง รวมอริยสัจจะสองคำเป็นนามเดียวกัน เรียกว่า อริยสัจ

    พระอมตมหานิพพาน ไม่มีเกิดแก่เจ็บตาย เป็นที่ดับทุกข์จริงแลสุขจริง พระอริยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมเห็นจริงแจ้งประจักษ์ในธรรม 4 อย่างดังนี้ แลสั่งสอนสัตว์ให้รู้ความจริง เพื่อจะให้ละทุกข์ เข้าหาความสุขที่จริง แต่ฝ่ายปุถุชนนั้นเห็นจริงบ้างแต่เล็กน้อย ไม่เห็นความจริงแจ้งประจักษ์ เหมือนอย่างพระอริยเจ้าทั้งปวง พวกปุถุชนเลยเห็นกลับไปว่า เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดก็ดี ไม่เป็นทุกข์อะไรนัก บ้างก็ว่าเจ็บก็เจ็บ สนุกก็สนุก ทุกข์ก็ทุกข์ จะกลัวทุกข์ทำไม

    บ้างก็ว่าถ้าตายแล้วเกิดใหม่ ได้เกิดที่ดีๆ เป็นท้าวพระยาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สมบัติมากมายแล้ว ก็หากลัวทุกข์อะไรไม่ ขอแต่อย่าให้ยากจนเท่านั้น

    บ้างก็ว่าถ้าตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ ได้เสวยทิพยสมบัติ มีนางฟ้านับพันแวดล้อมเป็นบริวารเป็นสุขสำราญชื่นอกชื่นใจดังนั้นแล้ว ถึงจะตายบ่อยๆ เกิดบ่อยๆ ก็ไม่กลัวทุกข์กลัวร้อนอะไร

    บ้างก็ว่า ถ้าไปอมตมหานิพพาน ไปนอนเป็นสุขอยู่นมนานแต่ผู้เดียว ไม่มีคู่เคียงเรียงหมอนจะนอนด้วยแล้ว เขาก็ไม่อยากจะไป เขาเห็นว่าอยู่เพียงเมืองมนุษย์กับเมืองสวรรค์เท่านั้นดีกว่า เขาหาอยากไปหาสุขในนิพพานไม่ พวกปุถุชนที่เป็นโลกีย์ชนย่อมเห็นไปดังนี้

    อมตธรรม ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย คือ พระนิพพานนี้ ใครได้ดื่มแล้วจะไม่ต้องมาเวียนว่ายเกิดในโลกสงสารอีก

    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นิพพานมีอยู่ แต่ในนิพพานไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุขอย่างเดียว

    ครั้งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้พระนครราชคฤห์ ท่านพระสารีบุตร กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า

    “ดูกรอาวุธโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุธโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข”

    ท่านพระอุทายี ขณะนั้นยังเป็นเสขบุคคล บุคคลที่ยังต้องศึกษาต่อไป กล่าวถามท่านพระสารีบุตรว่า

    “ดูกรอาวุธโสสารีบุตร นิพพานไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
    เวทนา คือ อารมณ์สุข ทุกข์หรือเฉยๆ เมื่อในนิพพานไม่มีอารมณ์ เช่นนั้นแล้ว พระอุทายีจึงเกิดความสงสัยดังกล่าว

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวตอบ
    “ดูกรอาวุธโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนา นั้นแหละเป็นสุข”
    “สุข” ในที่นี้ ตามพระสารีบุตรกล่าวถึงในพระนิพพาน จึงมิใช่ความสุขแบบโลกียสุขซึ่งเป็นของคู่กับทุกข์อีก ในภาษาธรรมมักเรียกว่า “เกษม” นั่นเอง

    ในนิพพานมีความ “เกษม” นิพพานจึงมิใช่สูญเปล่า มิใช่เฉยไม่รู้ไม่ชี้เหมือนพรหมลูกฟัก มิใช่ไม่มีความรู้สึกอะไรเลยเหมือนชาด้าน เพราะในนิพพานยังมี “อายตนะ” คือความรู้เชื่อมต่อดังที่พระพุทธองค์ตรัส

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลาย

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในอายตนะนั้นไม่มีดินน้ำไฟลม ไม่มีอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มีพระจันทร์ ไม่มีพระอาทิตย์ ทั้งสอง เราย่อมกล่าวอายตนะนั้นว่า มิใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การจุติ มิใช่การเกิดขึ้น ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีความเป็นไป ไม่มีอารมณ์ นั้นแหละ เป็นที่สุดแห่งทุกข์”

    ในนิพพานมีความรู้เชื่อมต่อคือ ความรู้สึกอันเป็นที่สุดแห่งทุกข์มีความสุขสถานเดียวที่เรียกว่า ความเกษม

    ผู้ปรารถนานิพพาน จะยังไม่ถึงนิพพาน เพราะอะไร……….
    เพราะ “ปรารถนา” เป็นความประสงค์ ความต้องการ ความอยาก เป็นกิเลส จึงไม่นำสู่ความเกษมอันแท้จริง ในอภิธรรมปิฎกมีกล่าวไว้

    “ศรัทธาและโมหะ เป็นปัจจัยแห่งราคะ”
    ตัวศรัทธานั่นแหละคือ ปรารถนาเป็นตัวติดทำให้เกิดตัณหาราคะ จึงทำให้ไปไม่ถึงดวงดาวคือ นิพพาน ผู้จะถึงนิพพานจำต้องหลุดพ้นแม้กระทั่งศรัทธาเป็นที่สุด

    แต่การจะเริ่มต้นไปสู่นิพพานคือ อมตธรรมนั้น จะต้องเริ่มที่ศรัทธา ดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว
    “เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด”

    ต้องเริ่มที่ศรัทธาเป็นตัวต้นและปล่อยศรัทธาเป็นตัวสุดท้าย ความที่สุดแห่งทุกข์จะพึงบังเกิดนิพพานจะปรากฏ ใครๆ ก็ไปนิพพานได้ ถ้าศรัทธาปรารถนาเสียแต่เดี๋ยวนี้ แต่เมื่อปรารถนาปุ๊บจะถึงนิพพานปั๊บนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะคำปรารถนามันเริ่มง่ายแต่ตัดยาก การจะตัดตัวอยากตัวเดียวนี่แหละองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้เวลา 4 อสงไขยกับแสนกัป ความจริงมากกว่านั้นนับแต่การปรารถนาเวียนว่ายตายเกิดในโลกสงสารของพระพุทธองค์ พระองค์เกิดตายมาหลายชาติหลายภพ ก่อนที่จะมาเกิดเป็นสุเมธดาบสในสมัยพระเจ้าทีปังกรพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 1 ในพุทธวงศ์

    พราหมณ์สุเมธ เกิดศรัทธาตั้งแต่ที่ได้ยินคำว่า พระพุทธเจ้า “พุทโธ” ก่อนที่พระพุทธเจ้าทีปังกรพุทธเจ้าจะเสด็จมาให้เห็น เมื่อได้พบเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ได้กระทำการปรนนิบัติเป็นเอกอุปวารณาอธิษฐานอธิการบารมีเพื่อบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้นโอฆสงสารต่อไปภายภาคหน้า

    นับจากพราหมณ์สุเมธอธิษฐานเป็นพระพุทธเจ้า จากสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า จนบรรลุเป็นพระสมณโคดมพุทธเจ้า เป็นพุทธเจ้าองค์ที่ 25 แห่งพุทธวงศ์ ใช้เวลาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสารอีก 4 อสงไขยแสนกัป จึงปล่อยตัว “อยาก” หลุดไปได้

    “………การบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว”
    ทรงเปล่งพระพุทธอุทานในวรรคสุดท้ายของประโยคแรกแห่งการตรัสรู้ไว้เช่นนั้น

    ระยะเวลาอันยาวนาน แม้จะมีแต่ผลที่เกิดชั่ววิบเดียวก็สำเร็จแล้ว ปัจจุบันแห่งการบรรลุสั้นนัก ยิ่งกว่าลมหายใจเข้าออกของตัวเอง ถ้ามีจุดเริ่ม ต้องมีจุดจบ ตรงกับธรรมจักษุที่กล่าวรับรอง
    “สิ่งใดมีเกิด สิ่งนั้นมีดับ”

    จงปล่อยศรัทธามาเถิด เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว แน่นอนสักวันหนึ่งมันย่อมดับลง เมื่อเริ่มศรัทธาเป็นตัวต้น วันหนึ่งมันจะดับเป็นตัวสุดท้าย วันนั้นท่านจะหลุดพ้น จะเป็นวันที่บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้วของท่าน นิพพานจะมาถึงท่านเอง เพราะความปรารถนาหมดไป

    ถ้าไม่ปล่อยศรัทธาออกมา ความรู้แจ้งก็ไม่บังเกิด ไม่มีความรู้จริงที่จะไปดึงศรัทธาออกดับลงได้ เมื่อศรัทธายังเป็นปัจจัยแห่งราคะในกมลสันดาน ตราบนั้นตัณหาเจ้าแห่งกิเลสก็จะเจริญงอกงามขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด โลกสงสารที่ห่อหุ้มด้วยความทุกข์ก็จะยิ้มร่าต้อนรับท่านอยู่ตลอดไป จนกว่าศรัทธาจะเริ่มต้นปล่อยออกมาสู่ประตูอมตะที่พระพุทธองค์ทรงเปิดรับ เมื่อนั้นจุดจบแห่งความทุกข์ในอนาคตจึงจะเริ่มขึ้น

    จงรีบปล่อยศรัทธาออกมาเถิด





    ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี. หลวงปู่โต : อนุสรณ์ 130 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี: ทีมงานพระเครื่องเมืองพระพุทธบาท เรียบเรียง, 2545. หน้า 39-40.

    หลวงพ่อพุทธะ. “หลวงพ่อพุทธะ จุดจบต้องมีจุดเริ่ม” โลกลี้ลับ 141 ปีที่ 13 ประจำเดือนกันยายน 2539: บัญช์ บงกช เรียบเรียง. หน้า 102-109.
     
  10. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    กฎอิทัปปัจจยตา

    <CENTER>กฎอิทัปปัจจยตา </CENTER><CENTER> </CENTER>กฎอิทัปปัจจยตา ก็คือ กฎสูงสุดของธรรมชาติ ที่ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ ไม่มีอะไรที่จะอยู่นอกเหนือกฎนี้ไปได้ ซึ่งกฎอิทัปปัจจยตานี้จะเป็นกฎของความจริงของธรรมชาติที่เราทุกคนสามารถรับรู้ได้หรือเข้าใจได้ เพราะมันก็เป็นความจริงพื้นฐานง่ายๆที่เราสามารถพบเห็นกันได้จนเป็นของธรรมดาอยู่แล้ว และเป็นกฎที่ทางวิทยาศาสตร์ใช้ในการค้นหาความจริงของธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งกฎนี้เมื่อพูดออกมาใครๆก็ยอมรับและไม่มีใครกล้าปฏิเสธ นอกจากคนที่โง่มากๆเท่านั้น โดยกฎนี้จะมีเนื้อหาโดยละเอียดว่า



    เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น,


    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี, เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.

    คือโดยสรุปแล้วกฎนี้จะบังคับทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ว่า


    “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาและตั้งอยู่ จะต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น”

    ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจกับคำบางคำให้ถูกต้องเสียก่อน เราจึงจะศึกษากฎสูงสุดนี้ได้เข้าใจอย่างถูกต้อง คือ : คำว่า “ทุกสิ่ง” ก็หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เว้นสิ่งใดเลย ซึ่งสิ่งทั้งหลายของโลกก็สรุปได้ ๒ อย่าง คือ“วัตถุ” (รวมทั้งพลังงานและรังสีทั้งหลายด้วย) กับสิ่งที่เป็น “นามธรรม” (คือมีแต่ชื่อเรียก แต่ไม่มีตัวตนเหมือนวัตถุ อันได้แก่พวก จิต หรือพวก ความรู้สึก ความจำ ความคิด เป็นต้น),

    ส่วนคำว่า “ต้อง” ก็หมายถึงว่า จะเป็นเช่นนั้นเสมอ จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด,

    ส่วนคำว่า “เกิดขึ้น” ก็หมายถึงว่า จากสภาวะเดิมที่ไม่มีอยู่ก่อน แล้วจึงมามีขึ้นในภายหลัง,

    ส่วนคำว่า “ดับหายไป” ก็หมายถึงว่า จากสภาวะเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว จึงมาหายไปในภายหลัง,

    ส่วนคำว่า “ตั้งอยู่” ก็หมายถึง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ยังไม่ดับหายไป,

    ส่วนคำว่า “ปรุงแต่ง” ก็หมายถึง กิริยาที่มากระทำ หรือ กระตุ้น หรือ สร้าง หรือ ประกอบ

    ส่วนคำว่า “เหตุ” จะหมายถึง สิ่งที่กระทำ หรือปรุงแต่ง,

    ส่วนคำว่า “ปัจจัย” จะหมายถึง เหตุย่อยๆที่อาจมีได้หลายเหตุ หรือหมายถึง สิ่งที่มาช่วยสนับสนุน ก็ได้ ซึ่งเรามักเรียกรวมๆกันว่า เหตุปัจจัย หรือเหตุและปัจจัย

    คำว่า “เหตุ” นั้นจะเป็น เหตุที่มีความสำคัญ หรือใหญ่ที่สุดเพียงเหตุเดียว ส่วนคำว่า “ปัจจัย” จะเป็น เหตุที่มีความสำคัญรองๆลงมา ที่อาจมีได้หลายเหตุ หรือหมายถึง สิ่งที่มาช่วยสนับสนุน เพื่อให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นมา คือถ้ามีแต่เหตุ ไม่มีปัจจัย สิ่งทั้งหลายก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้

    หรือ

    ถ้ามีแต่ปัจจัย ไม่มีเหตุ สิ่งทั้งหลายก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้อีกเหมือนกัน แต่ปัจจัยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งสำคัญ และเราก็รู้ๆกันอยู่แล้ว รวมทั้งปัจจัยก็มักจะมีมาก ดังนั้นเราจึงมักไม่กล่าวถึงปัจจัย เราจะกล่าวถึงเฉพาะเหตุเท่านั้น ซึ่งก็ขอให้เราเข้าใจจุดนี้เอาไว้ด้วย

    อย่างเช่น เมื่อมีเหตุคือการนำเอาเมล็ดแอปเปิลมาปลูก และมีปัจจัยคือมีดิน มีปุ๋ย มีน้ำ มีแสงแดด และมีอากาศเป็นปัจจัย จึงทำให้เกิดมีต้นแอปเปิลขึ้นมา หรือเมื่อมีเหตุคือมีต้นแอปเปิล และมีปุ๋ย มีน้ำ มีแสงแดด มีอากาศเป็นปัจจัย จึงทำให้เกิดผลแอปเปิลขึ้นมา เป็นต้น แต่เรามักกล่าวเพียงว่า “เมื่อมีการนำเมล็ดแอปเปิลมาปลูก จึงเกิดมีต้นแอปเปิลขึ้นมา” หรือ “ผลแอปเปิล เกิดมาจากต้นแอปเปิล” เท่านั้น เป็นต้น


    กฎนี้บอกความลับอะไรกับเราบ้าง? กฎสูงสุดนี้ได้บอกความลับกับเราหลายอย่าง อันได้แก่ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น จะเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน (คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลง และดับหายไปก็เพราะเหตุปัจจัย),


    ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัยนั้น ก็สามารถเป็นเหตุหรือปัจจัยให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้อีก (การผลักดันกันเป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันเรื่อยๆไปเหมือนลูกโซ่),

    ทุกสิ่งล้วนมีความเกี่ยวข้องกันอยู่ทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม, ไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นมาได้เองลอยๆโดยไม่มีเหตุปัจจัย,

    และความลับที่สำคัญก็คือความลับที่ว่า “ทุกสิ่งไม่มีตัวตนที่แท้จริง” (ทุกสิ่งเป็นอนัตตา) ซึ่งคำว่า อนัตตา แปลว่า ไม่มีตัวตนที่แท้จริง หรือ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง คือหมายถึง เป็นการปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับว่าจะมีสิ่งใด หรือสภาวะใด ที่จะมาเป็นอัตตา ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ได้เลย


    สาเหตุที่ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยไม่มีตัวตนที่แท้จริงก็เพราะ “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมา” นั้นเป็นเพียง “สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง” หรือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยเท่านั้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมา จึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงเป็นของตัวเอง หรือ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวตนที่แท้จริง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาทั้งหลายนี้ เราจะเรียกว่าเป็น “สิ่งปรุงแต่ง” (คือต้องอาศัยสิ่งอื่นสร้างขึ้นมา)หรือ “ตัวตนมายา” (สิ่งหลอกลวงว่ามีจริง) หรือ “ตัวตนชั่วคราว” (คือมันเหมือนกับว่ามีอยู่จริง แต่ว่ามีเพียงชั่วคราวหรือไม่ถาวรตลอดไป)


    ในส่วนของวัตถุทั้งหลาย (ซึ่งรวมทั้งอวัยวะและร่างกายของมนุษย์เราด้วย) นั้น เราก็คงเข้าใจได้ไม่ยากว่ามันไม่มีตัวตนที่แท้จริง เพราะโดยสรุปแล้ววัตถุทั้งหลาย จะต้องอาศัยสิ่งที่เป็นพื้นฐาน (ธาตุ) ๔ อย่างคือ (๑) ของแข็ง (๒) ของเหลว (๓) ความร้อน และ (๔) ก๊าซ เพื่อมาปรุงแต่งหรือสร้างวัตถุและพลังงานทั้งหลายขึ้นมาทั้งสิ้น

    ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าวัตถุทั้งหลายจะไม่มีตัวตนที่แท้จริงเลย (ซึ่งแม้แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานทั้ง ๔ อย่างนั้นก็ยังไม่มีตัวตนที่แท้จริง เพราะมันก็ยังต้องอาศัยเหตุปัจจัยเพื่อมาปรุงแต่งมันขึ้นมาด้วยเหมือนกัน)

    และเมื่อมันถูกปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นมา มันจึงมีความไม่เที่ยงแท้ถาวร (อนิจจัง) เพราะมันกำลังมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และในที่สุดไม่ช้าก็เร็ว มันก็จะต้องแตกดับหายไปอย่างแน่นอน อีกทั้งขณะที่ยังตั้งอยู่ มันก็ยังต้องทนประคับประคองตัวของมันเอาไว้ด้วยความยากลำบาก (ทุกขัง) มากบ้างน้อยบ้างอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย


    ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์เขาจะสอนว่า จิตหรือวิญญาณของคนเรานี้เป็นอัตตา หรือเป็นตัวตนที่ที่ยงแท้ถาวร ที่หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นใดมาเป็นเหตุและปัจจัยเพื่อสร้างตัวของมันขึ้นมา

    และตัวตนนี้จะไม่มีวันแตกสลาย (ใช้กับวัตถุ) หรือดับหายไป (ใช้กับจิต) อย่างเด็ดขาด ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปสักเท่าใดก็ตาม หรือไม่ว่าจะมีอะไรมาทำลายก็ตาม เมื่อร่างกายตาย แต่จิตนี้จะยังไม่ตาย จิตจะสามารถออกจากร่างกายที่ตายแล้วไปเกิดยังร่างกายใหม่ๆได้เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด

    ซึ่งความเชื่อนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อเรื่อง ผี เทวดา นางฟ้า เรื่องชาติก่อน ชาติหน้า และเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งหลาย เป็นต้นขึ้นมา อย่างเช่นที่มีผสมปนเปอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรมในปัจจุบัน

    แต่จากกฎอิทัปปัจจยตา ก็ทำให้เราเข้าใจได้ว่า แม้จิต (จิต หรือ ใจ ก็หมายถึง สิ่งที่รู้สึกและคิดนึกได้)

    หรือ วิญญาณ (คำว่าวิญญาณ พุทธศาสนาจะหมายถึง การรับรู้ที่เกิดขึ้นตามระบบประสาทต่างๆ เช่น ตา หู จมูก เป็นต้น)

    ของ

    มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ก็ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎอิทัปปัจจยตานี้ด้วยทั้งสิ้นไม่มีข้อยกเว้น (ถ้าใครยกเว้นก็แสดงว่าไม่ยอมรับความจริง)

    คือจิตก็ต้องอาศัยร่างกายที่ยังไม่ตายเพื่อเกิดการรับรู้และรู้สึกขึ้นมา อีกทั้งเมื่อจะคิดก็ยังต้องอาศัยความทรงจำจากเนื้อสมองของร่างกายเพื่อมาคิด ถ้าไม่มีร่างกายที่ยังไม่ตายก็จะไม่มีจิต หรือถ้าไม่มีความทรงจำจากสมองก็คิดอะไรไม่ได้ ซึ่งนี่ก็แสดงถึงว่า จิตหรือวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนี้เป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนที่แท้จริง ชนิดที่จะสามารถมีอยู่หรือตั้งอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเพื่อเกิดขึ้นมาและตั้งอยู่


    เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า ไม่มีจิตหรือวิญญาณที่เป็นอัตตา ก็ทำให้เราเข้าใจได้ทันทีว่าไม่มีจิตหรือวิญญาณที่จะสามารถออกจากร่างกายที่ตายแล้วเพื่อไปเกิดใหม่ได้ แล้วก็ทำให้เข้าใจได้ต่อไปอีกว่า เรื่อง ผี เทวดา นางฟ้า เรื่องชาติก่อน ชาติหน้า และเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งหลาย เป็นต้นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นไปได้เลย เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงความเชื่อที่ไร้ทั้งเหตุผลและความจริงมายืนยัน ถ้าใครยังมีความเชื่อเช่นนี้อยู่ก็แสดงว่ายังไม่เป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือไม่เป็นอัจฉริยะด้านความคิด หรือไม่เป็นชาวพุทธที่แท้จริง หรือเป็นชาวพุทธเพียงผิวเผินเท่านั้น จึงขอฝากให้ทุกคนสนใจที่จะศึกษากฎอิทัปปัจยตานี้ให้เข้าใจอย่างแจ้งชัด เพื่อที่จะได้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอย่างเช่นพระพุทธเจ้ากันต่อไป



    เตชปญฺโญ ภิกขุ. ๒๘ พ.ค. ๒๕๔๘


    อาศรมพุทธบุตร เกาะสีชัง ชลบุรี

    (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.whatami.net หรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2009
  11. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    วิธีชนะความตาย ตอนที่1

    วิธีชนะความตาย

    (อุณหิสสวิชยกถา)

    พุทธทาสภิกขุ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
    อตฺถิ อุณฺหิสฺสวิชโย ธมฺโม โลเก อนุตฺตโร
    สพฺพสตฺตหิตตฺถาย ตํ ตวํ คณฺหาหิ เทวเตติ
    ธมฺโม สกฺกจฺจํ โสตพฺโพ-ติ ​

    ณ บัดนี้จะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนาเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธา-ความเชื่อ และวิริยะ-ความพากเพียรของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าในทางแห่งพระศาสนาของพระบรมศาสดา อันเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา


    หัวข้อธรรมเทศนาในวันนี้ ดังที่ได้ยกขึ้นไว้นั้นมีอยู่ว่า “อตถิ อุณหิสสวิชโย ธมโม โลเก อนุตตโร” มีใจความว่า ธรรมะซึ่งเป็นเหมือนผ้าประเจียดนั้นมีอยู่ในโลก


    เนื่องด้วยการบำเพ็ญกุศล ในวันนี้ เป็นการบำเพ็ญกุศล เพื่อความยืดยาวของอายุ เป็นเหตุให้ระลึกนึกถึง สิ่งซึ่งจะอำนวยให้ สำเร็จตามความประสงค์นั้น สิ่งที่จะอำนวยให้สำเร็จประโยชน์เช่นนี้มิได้มีสิ่งอื่น นอกจากธรรมะ ซึ่งเป็นเหมือนผ้าประเจียด ดังที่มีเรื่องเล่ากันไว้ในคัมภีร์พิเศษบางแห่งว่า เมื่อเทวดาตน หนึ่งเดือดร้อน เนื่องด้วยจะถึงคราวสิ้นสุดลงแห่งอายุ ได้ดิ้นรนมี ประการต่าง ๆ ไม่มีใครจะช่วยให้ความเดือดร้อนนั้นระงับไปได้ ในที่สุดได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระองค์ได้ตรัสถึงธรรมะข้อนี้ คือข้อที่ขึ้นด้วยบทว่า “อตถิ อุณสหิสสวิชโย ธมโม โลเก อนุตตโร” อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่พุทธบริษัทชาวไทยเรา


    เรื่องที่จะกล่าวนี้จะเท็จจะจริงอย่างไรไม่สำคัญ คือไม่ต้องเชื่อตามเรื่องนั้น ๆ ก็ได้ หากแต่ว่าจะต้องพินิจพิจารณาดูด้วยปัญญาของตนเองว่า เรื่องทำนองนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ นี้เป็นกฎเกษณ์ของพุทธบริษัททั้งหลาย


    พุทธบริษัททั้งหลายไม่เชื่อตามที่บุคคลอื่นบอก การที่เป็นดังนี้ ก็เพราะปฏิบัติตามคำสั่งของพระพุทธเจ้าที่ว่า “อย่าเชื่อตามบุคคลอื่น” ดังที่ปรากฎอยู่ในบาลีเช่น กาลามสูตร เป็นต้น ซึ่งมีคำตรัสไว้ว่า อย่าเชื่อด้วยเหตุที่ว่า ผู้นี้เป็นครูของเรา หรือ อย่าเชื่อโดยเหตุที่ว่า คำกล่าวนี้มีอยู่ในปิฎก


    เราควรจะคิดดูให้ดี ว่าการที่พระพุทะองค์ได้ตรัสไว้ดังนี้มีความมุ่งหมายอย่างไร : “อย่าเชื่ออะไรโดยที่ไม่มีเหตุผลแต่เพียงว่าผู้นี้เป็นครูของเรา” นี้ย่อมหมายความว่าแม้พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นครูของเรา แต่เหตุใดพระองค์จึงตรัสไม่ให้ เชื่อ. …ข้อนี้เป็นหลักของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอย่างนั้นเอง.


    เมื่อพระองค์ยังทรงมีชีวิตอยู่ ได้ตรัสไว้ในทำนองนี้จนถึงกับมีการถือกันเป็นหลักทั่วไป : แม้พระสารีบุตรก็ยังได้ยืนยันข้อนี้ แก่พระพุทธเจ้า ในที่เฉพาะพระพักตร์ว่า:- ข้าพระพุทธองค์มิได้เชื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าดอก แต่จักเชื่อความเห็นแจ้งของตนเอง ด้วยตนเอง พระพุทธองค์ได้ทรงสาธุ .


    และข้อที่ตรัสว่า อย่าเชื่อเพราะเหตุว่าข้อความนี้มีในปิฎก (ไม่ได้พูดถึงไตรปิฎก เพราะว่ายังมิได้มีการจัดเป็นพระไตรปิฎก จึงได้ตรัสแต่เพียงว่า: อย่าเชื่อ เพราะเหตุที่ข้อความนี้ มีในปิฎก) ข้อนี้ก็เหมือนกันกับที่ตรัสว่าอย่าเชื่อแม้แต่พระองค์เองตรัสในทันที : จะต้องพิจารณาดูให้เห็นตามที่เป็นจริง เชื่อด้วยสติปัญญาของตน แล้วจึงเชื่อตามที่ตรัสนั้นหรือตามที่มีอยู่ในปิฎกทั้งหลาย.

    เป็นอันว่า ข้อแรกที่สุดเราจะต้องพินิจพิจารณาดูว่า สิ่งนี้เป็นอย่างไร จะควรเชื่อหรือไม่ .


    ข้อที่กล่าวว่า เทวดาเดือดร้อนด้วยการที่จะต้องสิ้นอายุแล้วไปทูลขอวิะที่จะระงับความเดือดร้อนนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสคำดังกล่าวนี้ จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เพียงไรนั้น เราต้องพิจารณาดู . ถ้าถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้มีขึ้นจริง ๆ คำกล่าวนี้ก็ระบุชัดอยู่ในตัวแล้วว่า “ธรรมะซึ่งเป็นเหมือนผ้าประเจียดนั้นมีอยู่ในโลกนี้.” ธรรมะซึ่งเป็นเหมือนผ้าประเจียด หมายความว่า ธรรมะซึ่งสามารถจะป้องกันอันตรายแม้กระทั่งความตาย


    เมื่อพูดถึงสิ่งซึ่งป้องกันความตาย คนก็จะพากันสงสัยว่า จะป้องกันได้อย่างไร? สิ่งซึ่งจะป้องกันความตายนั้นมีอยู่ ๒ ความหมาย:-

    ความหมายอันหนึ่งก็คือ อย่าให้ตายก่อนอายุขัย นี้หมายความว่า ใหอยู่ไปจนถึงสิ้นอายุขัย เท่าที่จะอยู่ได้เพียงไรนี้ก็อย่างหนึ่ง.

     
  12. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    (ต่อ)วิธีชนะความตาย 2

    อีกอย่างหนึ่งนั้นเป็นการป้องกันโดยสิ้นเชิงคือ ไม่ให้มีความตายโดยประการทั้งปวง นี้เป็นธรรมะสูงสุด. เมื่อเข้าถึงธรรมะสูงสุดนั้นแล้ว คนนั้นจะไม่มีความเกิด ไม่มีความแก่ ไม่มีความตาย เพราะถอนอุปาทานว่า “เรา” ว่า “ตัวเรา” หรือ “ของเรา” เสียได้ , ไม่มีตัวเรา ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ตัวตนของเรา หรือของเขาอื่น; เมื่อเป็นดังนี้ก็ไม่มีความตาย; เป็นผู้ อยู่ เหนือความตาย พ้นจากความตายโดยสิ้นเชิง.


    ธรรมะเป็นเครื่องกำจัดเสีย หรือป้องกันเสียซึ่งความตายมีอยู่เป็นสองความหมายดังนี้ . แต่เหมือนกันตรงที่เรียกว่า “ธรรม” เหมือนกัน: จะป้องกันความตายได้ ชั่วที่จะให้อยู่ไปจนถึงอายุขัยนั้นต้องใช้ธรรมะ; จะป้องกันไม่ให้ตายเลยโดยประการทั้งปวง คือกลายเป็นผู้รู้จัก หรือถึงความไม่ตายที่เรียกว่า “นิพพาน” ไปนี้ก็ต้องใช้สิ่งที่เรียกว่าธรรม เพราะฉะนั้นควรจะพิจารณากันถึงสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นี้ว่ามีอะไรบ้าง; และจะป้องกันความตายได้อย่างไร.


    อาตมาอยากจะให้ท่านสาธุชนทั้งหลาย ได้ทราบถึงความหมายของคำว่า “ธรรม” ไว้ให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อประโยชน์แก่ การศึกษาธรรมะต่อไปข้างหน้า. คำว่า “ธรรม” โดยความหมายทั่วๆ ไปนั้น มีทางที่จะพิจารณาได้ดังนี้ :-


    ตามภาษาบาลี คำ ๆ นี้ นับว่าเป็นคำประหลาดพิเศษที่สุด; หรือจะถือว่า พิเศษ ประหลาดที่สุดในโลกก็ยังได้ ; เพราะคำว่า “ธรรม” คำเดียวสั้น ๆ; หมายถึงทุกสิ่งไม่ว่าอะไรหมด. ใคร ในภาษาไหน มีคำเช่นคำนี้บ้าง คือคำเดียวหมายถึงสิ่งทุกสิ่งไม่ว่าอะไรหมด. แต่ในภาษาบาลีนี้มี และเราก็รับเอามาใช้ในภาษาไทยของเราโดยไม่ต้องแปล เรียกว่า “ธรรม” ไปตามเดิม ตามภาษาบาลี ; เมื่ออยากาจะทราบว่า คำว่า ธรรม ได้เล็งถึงอะไรแล้ว ก็มีทางที่จะพิจารณาได้ดังนี้ ;


    นัยอันแรก คำว่า “ธรรม” นี้หมายถึง ธรรมชาติทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งในทางวัดวาของเรา มักจะเรียกว่า “สภาวธรรม” ธรรมที่เป็นอยู่เอง, หรือสิ่งที่เป็นอยู่เอง; ถ้าเรียกโดยภาษาชาวบ้าน หรือนักศึกษาอย่างปัจจุบัน ก็ต้องเรียกว่าธรรมชาติ . นัยทีแรกหมายถึงตัวธรรมชาติทั้งหลายทุกสิ่งทุกอย่างไม่ยกเว้น จะเป็นรูปธรรม, นามธรรม หรือความคิดความนึกอะไรก็ ตาม ซึ่งมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายตามธรรมชาติแล้ว เรียกว่าธรรมชาติทั้งนั้น แต่ภาษาบาลีเรียกว่า “ธมฺม” เฉย ๆ


    นัยที่ ๒ คำว่า “ธรรม” หมายถึง กฎของธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่าธรรมชาติทั้งหลาย ย่อมมีกฎอยู่ในตัวมันเอง; เช่นสิ่งที่ เรียกว่า ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ เหล่านี้เป็นธรรมชาติ , แต่ในสิ่งนั้น ๆ มีกฎของธรรมชาติว่าจะต้องเป็นอย่างไร เช่นถูกความร้อนเข้าจะเป็นอย่างไร. ถูกความเย็นเข้าจะเป็นอย่างไร. หรือว่าสังขารร่างกายของเรา หรือของสัตว์ทั้งหลายก็ ตาม แม้ที่สุด แต่ต้นไม้ที่เป็นของธรรมชาติก็ตามย่อมมีกฎเกณฑ์ อยู่ในสิ่งนั้น ๆ ว่าร่างกายนี้จะต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้ ; ต้นไม้ ภูเขา ก้อนอิฐ ก้อนหิน ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็มีกฎเกณฑ์ว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ . ส่วนที่เป็นกฎเกณฑ์นี้เราเรียกว่ากฎของธรรมชาติ แต่กฎของธรรมชาติชนิดนี้ ในภาษาบาลีก็คงเรียกเพียงสั้น ๆ ว่า “ธมฺม” หรือ “ธรรม” เฉย ๆ อย่างเดียวกัน หรือที่เรามักจะเรียกกันตามภาษาวัดวาอารามนี้ว่า “สัจจธรรม” เมื่อเราเรียกว่าสภาวธรรม เราหมายถึง ตัวธรรมชาติ เมื่อเราเรียกว่าสัจธรรม เราหมายถึงกฎเกณฑ์ธรรมชาติ


    นัยที่ ๓ นั้น คำว่า “ธรรม” หมายถึง หน้าที่ที่มนุษย์จะต้องประพฤติปฏิบัติ ให้ถูกตรงตามกฎของธรรมชาติ อย่างนี้เราเรียกว่า ปฏิบัติธรรม แต่ภาษาบาลีก็คงเรียกว่า “ธมฺม” หรือ “ธัมมะ” เฉย ๆ อยู่นั่นเอง. มนุษย์เกิดมามีกฎของธรรมชาติครอบงำอยู่ มนุษย์มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้น ๆ นับตั้งแต่หน้าที่ที่จะแสวงหาอาหารให้มีชีวิตเป็นอยู่ ตลอดถึงหน้าที่ต่าง ๆ ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติต่อสัตว์ ต่อบุคคลที่มาเกี่ยวข้องด้วยจนกระทั่งถึงหน้าที่สูงสุด คือกระทำตนให้พ้นจากความทุกข์โดยประการทั้งปวง; แม้ที่สุดแต่การปฏิบัติเพื่อให้ลุถึงพระนิพพาน ก็ยังเรียกว่า หน้าที่ของมนุษย์อยู่นั่นเอง และหน้าที่ทั้งหมดนี้ล้วนแต่จะต้องอนุโลมให้เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ จะฝืนกฎของธรรมชาติไม่ได้ .


    การที่มนุษย์มีความทุกข์ ก็เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ การที่มนุษย์มีหน้าที่ที่จะต้องเอาชนะความทุกข์ให้ได้ จึงต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติด้วย แม้ว่าจะเป็นไปในทำนองตรงกันข้าม ดังนั้น ขึ้นชื่อว่า “หน้าที่” แล้ว จะต้องอนุโลมตามกฎของธรรมชาติทั้งนั้น


    ดังนั้น เป็นอันว่า คำว่า “ธรรม” หรือ “ธรรมะ” เพียงคำเดียวนี้ หมายถึงของ ๓ อย่างโดยสมบูรณ์ คือ:- ตัวธรรมชาติ อย่างหนึ่ง กฎของธรรมชาตินั้นอย่างหนึ่ง หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎของธรรมชาตินั้นอีกอย่างหนึ่ง
     
  13. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    นิสัยข้ามภพ

    ถ้าเราคิดว่านิสัยเราชาตินี้กับชาติแล้วแตกต่างกันก็ขอบอกว่าผิดคาด...
    ขอให้ดูว่า วัยเด็กที่ผ่านมากับเราที่โตแล้ว นิสัยมีคำว่าแตกต่างจากกันมากไม๊ เมื่อวานนิสัยเราเป็นอย่างไร วันนี้ก็เป็นเช่นนั้น

    แต่บุคคลบางคน ในวัยเด็กนิสัยเป็นอีกอย่างหนึ่งแต่โตมาคนล่ะเรื่องก็มีนั่นก็เพราะมีจิตสำนึกในการพัฒนาที่ดีขึ้นซึ้งจริงๆก็เป็นจริตลึกๆในเจ้าตัวทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าอาจจะหลงไปคบเพื่อนไม่ดีหรือหลงทางในบางสิ่งเมื่อมีสิ่งใดกระตุ้นเตือนก็จะเหมือนตื่นขึ้นมาเร็วกว่าคนที่มีจิตไปทางต่ำช้ากว่ามาก

    คนที่เปลี่ยนแปลงตนเองดีขึ้นมาเรื่อยๆจึงเหมือนกับมีคุณธรรมอยู่ภายในแต่ถูกปิดกั้นด้วยเพราะหลงทาง

    ส่วนคนดีบางคนพอโตขึ้นมาก็เปลี่ยนเป็นคนชั่วร้ายเลวทรามก็มี นั่นก็เพราะมีนิสัยข้ามภพชนิดหนึ่งคือทนเร้าต่อสิ่งกระตุ้นไปทางต่ำไม่ได้ พอเริ่มทำก็จะชินในสันดานเดิมและจะกระทำชั่วทวีมากขึ้น
    โดยมักจะมีความคิดว่า... ไหนๆก็ได้ืำชั่วก็ทำให้มันถึงที่สุด
    สิ่งนี้หล่ะนิสัยข้ามภพมาทั้งสิ้น

    คนดีเป็นคนชั่วเสียได้เพราะคุณธรรมที่ผ่านมาหลายภพมีน้อย
    คนชั่วกลายเป็นนดีเพราะคุณธรรมสะสมมามาก

    คนบางคนก็ดีมาตลอด เรียบร้อยไปทั้งชีวิตพวกนี้เป็นพวกพัฒนาตน และจะมีจิตสำนึกไปในทางธรรมค่อนข้างจะมาก

    คนชั่วบางคนก็ชั่วมาแต่เด็กโตก็ยิ่งชั่วพวกนี้มาจากสัตว์มาจากอบาย ในอดีตหลายภพชาติเป็นมิจฉาทิฎฐิ ไม่มีเหตุผล ไม่มีความเห็นใจ คับแคบและเชื่อว่าตนทำในสิ่งที่ถูกคนอื่นผิด

    หมื่นปีนิสัยสันดานเป็นเช่นไร อีกหมื่นปีข้างหน้าถ้าไม่มีจิตสำนึกไม่มีการพัฒนาก็เป็นเช่นนั้น ไหลลงต่ำก็ลงไปเรื่อยๆ(ความชั่ว)

    ไหลทวนกระแสน้ำเชี่ยวก็ยิ่งทวนกระแสด้วยคุณธรรมที่สะสมทวีขึ้น(ความดี)

    สิ่งที่ครูอาจารย์สอนอยู่เสมอคือมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ก้าวกระโดดในเส้นทางของภพข้างหน้าก็คือฝึกสติเพื่อพัฒนากายและจิตตน

    ยิ่งกระทำก็ยิ่งค้นพบสัจธรรมเป็นเชื้อที่หว่านย่อมออกผลในทางสันติท้ายที่สุดครับ
    อนุโมทนาครับ...
     
  14. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    แผ่เมตตาให้กับผู้กำลังสิ้นอายุขัย

    ถ้าเรามีคนที่เรารักและเค้ากำลังจะพลัดพรากตายจาก...
    ขออย่าไปร้องห่มร้องไห้ต่อหน้าบุคคลที่กำลังใกล้สิ้นลมเพราะเท่ากับน้ำตาของท่านคือการทำให้คนที่ท่านรักดิ่งไปอบายได้เร็วขึ้น...

    ในขณะที่คนเราจะจุติ(ตาย)จิตจะตกเข้าภวังค์เหมือนเรานอนหลับนั่นหล่ะ
    สภาพกายจะแปรปลวนจนมึมๆทื่อๆบางคนอาจจะมีทุกข์เวทนาแรงกล้าอีกด้วยแต่เนื่องจากสภาพกายใกล้จะหมดสภาพลงธาตที่แปรปลวนจึงทำให้จิตที่สืบเนื่องของสันตติ(การสืบต่อ ส่งต่อ)

    กำลังวิ่งเข้าหาภวังค์(จุดกำเนิดชาติ องค์รักษาภพ)เพื่อค้นหาอารมณ์ชนิดใหม่ตามกรรมที่ได้กระทำเอาไว้เป็นเหตุย่อมมีวิบากปรากฏเป็นเชื้อสะสมอยู่ในภวังค์จิต

    จิตสะสมภพเป็นโกฎิในชั่วหนึ่งลัดมือ ภพมากมายมหาศาลที่สะสมเอาไว้ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีที่ลงที่ไปสถิตย์

    ความฝันที่พวกเราเห็นว่าไม่ใช่สิ่งสำคัญ ความฝันที่เราไม่สามารถบังคับบัญชามันได้ก็คือความปรุงแต่งของจิตที่เป็นคตินิมิตอารมณ์
    ปรากฎ ถ้าเราบังคับไม่ได้ เราก็ตกอยู่ในห้วงแห่งความฝันนั้นๆและก็จะถูกจิตส่งต่อเข้าไปยึดอารมณ์ชนิดนั้นๆเป็นภพใหม่ตามกำลัง

    อ้องถึงบอกว่าตอนนอนให้ฝึกนอนแบบมีสติ ดำรงค์สติเฉพาะหน้าสำเหนียกตามรู้ลมออกและเข้าปล่อยวางทุกอย่างลง สบายๆ ทิ้งธุระทั้งสิ้นมาอยู่เฉพาะหน้าและหลับไป

    การที่เราหลับเข้าไปโดยมีกำลังของฌานนั้นโอกาสจึงไปสู่สุขคติภพเป็นมั่นหมายมากกว่าการไม่ฝึกตายมาก่อนเลย

    คนเราถ้าคิดว่าจะตายแล้วพึมพัทพุธโธขอบอกว่าถ้าไม่ฝึกมาก่อนตอนพุธโธหายและจิตตกเข้าภวังค์จิตนั้นก็คือเริ่มฝันปรุงแต่งคตินิมิตทั้งสิ้น ชั่วขณะแวบเดียวจิตจับยึดอารมณ์ใด ปฎิสนธิจิตก็ปรากฏเป็นภพใหม่โดยมีสันตติส่งต่อไปทันทีไม่มีคำว่าล่องลอยไปเกิดแต่ส่งต่อปรากฏใหม่ทันที

    ขอมาเข้าเรื่องการแผ่เมตตาสำหรับญาติมิตรที่ต้องตายจากเราไปนะครับ...
    อย่างแรกคือต้องให้เค้าปล่อยวางอารมณ์ตนเอง สบายๆ ถ้าเป็นคนชอบกังวลก็อย่าบอกกาลเวลาแห่งมรณะนะครับเพราะจิตจะเกิดคำว่าห่วง ภาระในภพยิ่งจะทำให้หลงไปอบายได้ง่าย
    คนที่ไม่เคยฝึกตาย คนที่ไม่ได้เข้ามาทางธรรมเลย เป็นเรื่องยากมากเพราะในช่วงเวลาแห่งความตายมาเยือนเค้าจะเกิดคำว่ากลัว...
    กลัวเบื้องหลังความตายจะมีในสิ่งที่คนเล่าขานกันหรือไม่...

    เค้าจะมีแต่ความมืดซึ้งผิดกับคนที่มาทางธรรมอย่างน้อยก็มีความสว่างมีที่พึ่งคือพระรัตนตรัยปล่อยวางและกล้าท้าทายกับความตายเรียกว่าตายอย่างสง่าผ่าเผยตายแบบมีสติ

    คนที่ไม่ได้มาทางธรรมจึงควรที่เราจะส่งเมตตาจิตแผ่เป็นกำลังที่อ่อนเย็นเป็นกระแสแห่งความร่มเย็นเพื่อยังสติให้เค้าระลึกได้ในกุศลผลบุญที่ได้กระทำมา ขอให้ปลดปล่อยผู้ถึงกาลมรณะจากไปอย่างสงบ
    อย่าแสดงความอาลัย ไปแสดงตอนงานพิธีนะครับ ไม่งั้นคนตายจะมาด่าว่าเราเอานรกปะเคนให้...

    เมตตาจิตนี่ถ้าเราฝึกมาดีแล้ว ความร่มเย็นจะแผ่เข้าไปถึงจิตถึงใจและยังให้ทุกข์เวทนาเบาบางลงไปและไปกระตุ้นเตือนจิตสำนึกในกุศลเปิดกุศลผลบุญด้วยกำลังของเมตตาได้อีกด้วย ที่สำคัญต้องอย่าลืมคำว่า...วิบากที่เป็นความศักดิ์สิทธิด้วยเพราะคนที่ท่านส่งเมตตาให้เค้าก็ต้องมีดีเช่นกันนะครับ ไม่งั้นก็จะกระตุ้นเตือนกันได้ยากเพราะเค้าจะระลึกในกุศลผลบุญตนเองที่ไม่มีไม่ได้เลย
    เมตตาของเราจึงเป็นการส่งข้อความที่อ่อนโยนเข้าไปในจิตเค้าให้ตื่นเถิดอย่ามัวแต่ฝันร้ายอยู่เลย เรามาปลุกเค้าให้อย่าจมดิ่งไปในภวังค์ที่เริ่มหมุนจี๋แสวงหาภพ
    เราส่งกระแสจิตที่อ่อนโยนเพื่อเลือกภพใหม่กระตุ้นเตือนสติให้เค้าเห็นกุศลผลบุญอันเป็นวิบากของเค้าทั้งสิ้น

    เราเพียงแต่ทำหน้าที่เตือนด้วยจิตที่ร่มเย็น ตนที่เป็นที่พึ่งคือผู้ตายเค้าต้องพึ่งตนเอง ต้องมีเสบียงที่ดีสะสมด้วย
    คนดีเราแผ่เมตตาเข้าถึงกระแสจิตได้เร็ว
    คนมีธรรมะเพียงแต่ส่งกระแสถึงสติเค้าจะตื่นรับและระลึกพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งได้ทันที
    คนชั่วทำได้ยากต้องเฝ้าดูในแต่ละขณะ
    คนชั่วไม่มีกุศลในความดีให้เลิกคิดแผ่วางอุเบกขาลงเพราะเค้าจะปัดไม่รับเพราะไม่เข้าใจกระแสความร่มเย็น
    คนชั่วไร้ศีลไร้ธรรมให้เลิกยุ่งเพราะเสียเวลาอย่างสิ้นเชิงครับ
    ดังนั้น..
    ก่อนนอนฝึกตายสบายๆ เพราะตอนตายจริงเราจะเลือกฝันดีเป็นนิมิตได้ครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  15. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    พัฒนาฤทธิ์อำนาจควบคุมธาตุ

    การที่เราเพ่งธาตุโดยทำโน้มใจเข้าไปในปวงธาตุถึงความไม่สิ้นสุดแห่งธาตุนั้นไซร้
    จิตย่อมขยายขอบเขตครอบคลุมปวงธาตุเหล่านั้น
    จนครอบคลุมธาตุและสามารถนำกำลังของธาตมาใช้ในฤทธิ์อำนาจด้วยพลังของจิตที่ยื่นขยายขอบเขตไม่มีสิ้น...

    เพ่งดิน...โน้มไปถึงความไม่สิ้นสุดของธาตุดิน ให้จิตยื่นขยายขอบเขตออกไปเป็นกำลังจนครอบธาตุปฐวี
    เพ่งน้ำ ไฟ ลม สีเขียว เหลือง แดง ขาว ความสว่าง ช่องว่าง
    ไม่มีสิ้นสุด โน้มใจเข้าไปในความรู้สึกถึงการขยายขอบเขตเป็นวงครอบคลุมไปตามกำลังในธาตุนั้นๆ
    จนปรากฏความรู้สึก(ไม่ใช้คิด)ว่า...

    วงจิตที่ยื่นขยายออกไปนั้นกลายเป็นผืนแผ่นเดียวกับสรรพสิ่งของธาตุที่เพ่งโน้มใจเข้าไป
    วันนั้นท่านจะเข้าใจคำว่า ควบคุมธาตุ ปัดธาตุ ป้องกันธาตุ
    ได้ตามกำลังฤทธิ์อำนาจของจิตที่มีพลังจิตสะสมนั่นเองครับ

    อนุโมทนาครับ...(กีฬา เครื่องเล่น ที่พัก เป็นจุด ตำแหน่งที่ยื่นขยาย
    ถ้าเป็นสมาธิที่มีกำลังก็จะขยายจนราบเป็นหนึ่ง
    ถ้าเป็นสติที่พิจารณาสัจธรรมก็จะเห็นความไม่เี่ที่ยงของขอบวงจิต
    ที่หยาบไปหาละเอียดและละเอียดมาหาหยาบไปบังคับให้ตั้งมั่นเป็น
    อมตะไม่ได้เลยล้วนตกอยู่ในกฎของธรรมชาติทั้งสิ้นครับ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2009
  16. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    มีคำถามอีกแล้วครับอา^.^

    ** เมื่อไม่ยึดภพทั้งสามเป็นแดนเกิด ไม่ยึดในภพนี้อาหมายถึงว่า ตอนยังไม่ตาย และตอนตายนั้น แม้จะเห็นสวรรค์ แต่สักแต่ว่าเห็นเฉยๆ ไม่ต้องยึดเอาว่า เราต้องเกิดที่นั้น ใช่อย่างนี้ป่าวครับอา

    ผมเห็นในหนังสือครับอา ท่านบอกว่า ธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ต้องทิ้งหลักธรรม อกุศล กุศล ฯ และก็ธรรมอื่นๆ ที่ผมจำไม่ได้

    แล้วก็ยังมีอีกน่ะครับ หนังสือของหลวงปู่โต เล่มเล็กๆ ผมหยิบมาอ่าน ท่านบอกว่าให้ลืมทุกอย่าง แม้แต่พระพุทธเจ้า

    ** ลืมทุกอย่างแม้แต่พระพุทธเจ้าในที่นี้ ท่านหมายถึง อะไรเหรอครับ เราจำเป็นต้องลืม รูปพระพุทธเจ้าหรือป่าวครับ อา เพราะถ้ายึดไปแล้ว รูปพระพุทธเจ้านั้น ก็ยังเป็นของมนุษย์อยู่ดี หรือป่าวครับอา ??

    ** แต่ถ้าตายแบบ มีสติ แบบว่าตนนั้น ไม่ขอเกิด ไม่ขอมีร่างกาย ไม่หวังสุข ทุกข์ แต่ตายด้วยอารมณ์ของความว่าง(ว่างจากกิเลส) จิตจะเหมือนทรงฌาน อรูปพรหม แต่ตนนั้นไม่ยึดอรูปพรหมเป็นที่หมายแล้ว คือแดนนิพานอย่างว่าหรือปล่าวครับ

    ** ที่ผมถามอาว่า ลืมแม้แต่พระพุทธเจ้านั้น เพราะตอนนั้นผมยังไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย ยังไม่ได้เข้าหาอา เลยสงสัยมาแต่เนิ่นๆ เลยครับ


    ที่ผม ** ไว้นั้นอาช่วยตอบให้ชี้ชัดไปเลยน่ะครับอา เพราะผมยิ่งศึกษาธรรมที่สูงๆ ขึ้นไปตนนั้นเลยไม่รู้ เดี๋ยวมันจะทำผิด จะยุ่งไปอีกครับอา

    วานให้เป็นหน้าที่ของอาช่วยชี้แนะด้วยน่ะครับป๋ม ^.^

    อนุโมทนาครับ
    ตั้มครับ ^.^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2009
  17. loveyoutoo2

    loveyoutoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +207
    สร้างทางให้จิตด้วยปัญญา

    เมื่อนักปฏิบัติมารู้ตัวว่า ถูกกิเลสตัณหาหลอกลวงแล้วเช่นนี้ และสายทางของกิเลสตันหาเป็นมาด้วยวิธีนี้ นักปฏิบัติ ต้องมีปัญญา สร้างทางให้จิตเดินเสียใหม่ ความรู้เดิมของจิต ความเห็นของจิต ที่กิเลสได้เสี้ยมสอนไว้แล้วเป็นแนวทางไปสู่ความทุกข์ เป็นเส้นทางที่หมุนเวียนตามวัฏสงสาร ความเห็นว่า การเกิดมาในโลกนี้มีความสุขก็ดี สิ่งทั้งหลายที่ยึดถืออยู่ก็อยากให้เยง ไม่ต้องการให้สูญจากตัวเราไป ความต้องการของจิตมีอยู่อย่างนี้จึงขัดต่อความจริงในสัจธรรม

    ฉะนั้นจงใช้ปัญญาพิจารณาสร้างแนวความคิดของจิตเสียใหม่ เพื่อให้จิตได้รู้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อให้จิตได้รู้เห็นและเข้าใจให้ถูกต้อง ให้จิตเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ เห็นจริง

    " นี้ก็เพราะปัญญาเอาความจริงมาสอนจิต และจิตก็จะรู้เห็นความจริงตามปัญญาต่อไป "

    ปัญญาในขั้นนี้ เป็นปัญญาขั้นพื้นฐาน การพิจารณาก็ต้องอาศัยเหตุผล เป็นเครื่องตัดสินไปตามหลักความเป็นจริง ความจริงที่ได้ประสบมาอย่างไร ก็เอาความจริงในเรื่องนั้นๆ มาพิจารณา และให้ลงสู่งไตรลักษณ์ คือความทุกข์ ความไม่เที่ยง และเป็นสภาพที่ดับสูญไปในที่สุด



    อาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ
    วัดป่าบ้านค้อ
    ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    อนุโมทนาครับ
    ตั้มครับ ^.^
     
  18. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ตอบตั๊ม

    ยังมีอีกหลายคำนักที่ครูอาจารย์ท่านใช้นะแต่เป็นความมเข้าใจของ
    ผู้อบรมปฎิบัติมาดีแล้วแต่ความหมายเช่นว่านั้น คนละอย่างที่เราคิดกันเลย
    คำว่า ลืม ฆ่า ประหารทิ้ง ทำลาย ไม่ใช่อย่างพระบางรูปที่ทำอยู่นะ
    นั่นนะเข้าใจผิดไปเยอะ...

    ความหมายของครูอาจารย์คือไม่เอาอะไรเลย ไม่เหลือทิ้งไว้ ไม่มีเยื่อใย
    ไม่ไหวกระเพื่อม อยู่แต่ความเป็นกลางของใจที่เที่ยงธรรม รู้แต่ความจริงจนคลายออกจากอุปทานทั้งปวง คำว่าอุปทานสำคัญมากนะ
    การเข้าไปประหารใจช่วงเสี้ยวเวลานั้นไม่กี่ขณะจิตถ้าใจยังมีอุปทานแม้เยื่อใย
    แม้จุดตำแหน่งก็ยังมีภพหลงเหลืออยู่ก็จะประหารใจไม่ได้

    พบจิตอย่ายึดจิต พบผู้รู้ทำลายผู้รู้ สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่ให้ทำลายจุด ตำแหน่ง ช่องว่าง กาลเวลา ดี เลว ไม่เอาอะไรทั้งสิ้น

    จนเราทำลาย ลืม ประหาร ฆ่า เป็นคำเปรียบเทียบคือทำให้สิ้นสุดลงซะแม้ใจที่ยังยึดปรุงแต่งก็ไม่ให้หลงเหลือ
    วางลงหมดสิ้นแม้อุปทานทั้งปวง จึงจะละสังโยชน์จนทำลายสิ่งผูกติดในภพทั้งปวง

    เมื่อค้นพบสัจจะธรรมตามจริงแท้ดังว่านี้แล้ว...
    เรายิ่งจะเคารพในพระรัตนตรัยมั่นคงมากยิ่งขึ้นคือเชื่อว่าสิ่งที่
    พระพุทธองค์ พระธรรมและพระอริยสงฆ์ครูอาจารย์ที่กล่าวมานั้นถูกต้องตามจริงทั้งหมดนั่นเป็นเพราะศีล สมาธิิ ปัญญาทั้งสิ้นเชียว

    ส่วนคำว่าละอกุศล กุศลนั้นยังอิงกับโลกอยู่
    สิ่งหนึ่งที่เรียกว่ามหากุศล๔นั้น...
    จะเป็นจิตที่ทำให้ก้าวเข้าสู่มรรคได้เพราะมีแต่จิตที่เป็นมหากุศลจิต(เบา สบาย โปร่ง โล่ง )
    ที่มีสภาพไม่อิงโลกดีชั่ว มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิปรากฏอยู่
    มีมรรคปรากฏทั้งหลายเป็นทาง

    จิตที่เป็นมหากุศลที่ปรากฏเพราะระลึกได้ในสภาวะนั้นหล่ะมาจากสติล้วนๆ
    ที่จดจำได้ในถีรสัญญา(ระลึกได้ในรูปนาม)

    ดังนั้นกุศลจิต อกุศลจิตเมื่อปรากฏเราระลึกรู้ได้ในรูปลักษณะ
    มหากุศลจิตก็จะปรากฏขึ้นในขณะที่มีสติระลึกได้ในรูปลักษณะนั้นๆ
    ศีล สมาธิ ปัญญา จึงปรากฏในขณะที่รู้ความจริงนั้นๆเป็นไปตามกฎคือรู้ว่ามีเหตุปรากฏ มีการตั้งอยู่ มีการดับสลายหายไป
    สิ่งนี้คือมรรค( ทางเดินแห่งการพ้นทุกข์)

    ถ้าตั๊มอ่านของหลวงพ่อพุทธทาสต้องระวังในภูมิปัญญาเราด้วยนะเพราะหลวงพ่อพุทธทาสท่านแสดงสิ่งต่างๆแบบตีเอาตรงๆ
    แต่ความจริงหาใช่เช่นนั้นไม่ มีเยอะนะที่หลงผิดไปเพราะความรู้ ความเข้าใจยังน้อย
    ดังนั้นถ้าเราศึกษาสิ่งใดเราสามารถย้อนทวนดูอารมณ์และความเห็นผิดจากสัมมาทิฎฐิหรือไม่(ตรงนี้สำคัญ)

    คำว่าทิ้งอกุศลและกุศลนั้น
    มันเป็นของโลกธรรมดีและเลวแต่ความหมายว่าทิ้งนั้นท่านหมายถึง

    ไม่ยึดเอามาเป็นเรา ของๆเรา
    แต่ให้รู้ในกุศลและอกุศลนั้นต่างหากเพราะล้วนแล้วแต่มีรูปลักษณะทั้งสิ้น
    เช่นขณะตั๊มกังวลไม่สบายใจเศร้าหมองอึดอัดสิ่งเหล่านี้เรียกว่าอกุศล
    เพราะมีรูปลักษณะที่บีบรัดสังเกตุที่กลางอกความเร่าร้อนภายในนะ
    เราไม่ได้ทิ้งนะเราเอารู้เพื่อสติ

    อกุศลนี่หล่ะตัวทุกข์เป็นปัญญานะเป็นของดีที่สุดเพราะมีมากกว่ากุศลเสียอีก

    กุศล(บุญ)เวลาที่ตั๊มสบายใจ ผ่องใส ยิ้มแย้ม มีปิติ สุขปรากฏ ความสว่าง สะอาด
    บริสุทธิ์ผ่องใสกระจายออก โล่ง โปร่ง นี่เป็นลักษณะของกุศลมีรูปลักษณะเช่นนี้เราก็ตื่นรู้ในกุศล
    เราก็จะมีสติเห็นแต่อกุศลมาอีกละแล้วก็หายไปกุศลก็มาอีกละก็หายไปหาความเป็นเราเค้าไม่มีมีแต่สิ่งสลาย

    สิ่งเหล่านี้คือรู้อกุศล(การบีบอัด)และกุศล(ความโปร่งเบา)ไม่ใช่ทิ้งแต่เข้าไปรู้เพื่อตื่นแบบมีสติไม่หลงไปกับโลกไป
    ปรุงแต่งกับอกุศลและกุศลทั้งหลายจนลืมกายลืมใจนี่ไง..

    ตั๊มอบรมกายและจิตเสมอๆนะสิ่งไหนไม่เข้าใจมาถามอาได้เสมอนะครับ
    ยินดีในธรรมที่อบรมตนเองไว้ดีแล้ว
    อนุโมทนาครับ
    อาอ้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2009
  19. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    การดับโลกสาม

    การดับโลกสามนั้น(กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ)
    เรามาดับที่จิต ที่จิตนั้นแหละคือโลกสาม
    ทำลายกิริยาตัวสมมุติหมดสิ้นไปจากจิตเหลือเพียง...
    อกิริยาเป็นฐีติธรรม ฐีติจิต อันไม่รู้จักคำว่าตาย

    โดย...หลวงปู่มั่นภูริทัต

    เหตุทั้งหมดเกิดที่จิตต้องแก้ที่จิตจะไปแก้ที่ใดกันอีก
    พบจิตอย่ายึดจิต พบผู้รู้ทำลายผู้รู้
    ปิดทวารทั้งห้าประหารไปที่ใจซะ
    เส้นผมอยู่ตรงที่วางอารมณ์ทั้งปวงด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
    ที่รู้แจ้งสัจธรรมตามจริงจนคลายยึดในอุปทานทั้งปวง...
     
  20. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    มิติหลุดโลก ท่องไปกับโลกแห่งความฝัน

    สิ่งที่ติดข้องของมวลมนุษย์คือกายหยาบแลปวงธาตุ
    มนุษย์ไม่สามารถที่จะหยั่งเข้าไปในอีกมิติหนึ่งหรืออีกหลายมิติได้ถ้ายังมีกายเนื้อปรากฏเป็นธาตุรวมของโลกที่เป็นแกนกลางของธาตุหยาบ

    จะเอาคำว่าหยาบไปหาละเอียดก็มีแต่ว่าเป็นสิ่งเพ้อเจ้อนึกฝันจินตนาการ
    เพราะคำว่าละเอียดเป็นสภาวะของมิติที่ต้องปราศจากคำว่าธาตุหยาบไม่มีมหาภูตรูปสี่ดิน น้ำ ไฟ ลม ปรากฏ

    มิติภพภูมิ กาลเวลา ช่องว่าง อวกาศ เป็นสิ่งเล้นลับ ซับซ้อน สอดแทรกด้วยกระบวนการของธรรมชาติอันมีจิตเป็นผู้เข้าไปสร้างเอาไว้เป็นภพ เป็นมิติ เป็นช่องว่าง เป็นห้วงเวลา มีกาลเวลา

    จิตได้สร้างภพทั้งหลายตามกระบวนการของธรรมชาติของจิตล้วนๆทั้งสร้างมิติภพหยาบคืออบายเป็นภพ สร้างมิติละเอียดปรากฏอันเป็นสวรรค์ รูปภูมิและอรูปภูมิเป็นภพ

    การที่เราจะไปโผล่หน้าเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านถิ่นในต่างภพ ถ้ายังติดข้องที่กายเนื้ออันเป็นธาตุหยาบก็คงเป็นพียงแค่ ความฝันหรือจินตนาการได้เพียงนั้น

    มนุษย์เข้าใจว่าตนเองอยู่ท่ามกลางโดดเดี่ยวของดวงดาวในกลุ่มดาวสุริยะแห่งนี้แต่หาคาดคิดไม่ถึงว่ามีมิติที่ลึบลับซับซ้อนมากกว่าสามสิบเอ็ดภพที่รวมเป็นวงขอบมิติห่อหุ้มแกนกลางของโลกใบนี้เอาไว้

    โลกใบนี้เป็นเพียงมิติหนึ่งที่แวดล้อมไปกับมิติที่มากมายนี่ยังไม่รวมไปกับสุริยอื่นๆแกแลคซี่อื่นๆและทั่วทั้งจักรวาลอื่นๆอีกด้วย
    ล้วนแต่เต็มไปด้วยชีวิตอเนกอนันตร์(มนุษย์ยังเข้าใจว่ามีเพียงหนึ่งเอกภพกระนั้นหรือมีเรื่องหลือเชื่อปานนั้นเช่นเชื่อว่าโลกเป็นสถานที่เดียวที่มีมนุษย์เช่นนั้นหรือ)

    สิ่งที่มนุษย์มองเห็นคำว่าชีวิตก็คือสัตว์ที่เป็นอีกมิติหนึ่งที่ติดข้องในมหาภูตรูปสี่เช่นกัน
    กาลเวลาแห่งมรณะของมนุษย์เท่านั้นที่จะพิสูจน์ชีวิตหลังความตายได้ตอนนั้นจะไม่สายเกินไปหรือครับ
    เพราะเวลานั้นมนุษย์ที่จุติจิต(ตาย)จะเริ่มเข้าสู่ขบวนการปฎิสนธิจิตภวังค์จิตที่หมุนจี๋อยู่ภายใน
    เพื่อทำการคัดกรองกรรมเอามาเป็นอารมณ์เป็นภพ
    เราจะไปเสี่ยงกันตอนนั้นหรือฝึกเสียตอนนี้ดีกว่าครับ


    ดีกว่าจะดิ่งลงไปสุดขั่ว(หนาวๆชอบกล)อ้องว่าเป็นพุ่งไปสุดหล้าหรือย้อนทวนกลับเข้ามาที่แก่นกลางโลกมาเป็นมนุษย์อีกครั้งน่าจะเป็นการดี

    สิ่งมนุษย์หารู้ไม่ว่า...
    ในมิติอื่นๆนั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นมนุษย์ในโลกนี้ทั้งสิ้นที่ได้ไปปฎิสนธิปรากฏในภพภูมิต่างๆเหล่านั้นและก็มีความคิดเช่นเดียวกับมนุษย์เช่นกัน
    ครูอาจารย์มาอบรมสอนสั่ง มาดลใจให้ต่อสู้และต้านทานอำนาจกิเลสด้วยการลองใจ

    เทพมารมาลองของเพื่อหยั่งเชิงอธิษฐานบารมีทั้งสิบ

    วิญญาณต่างๆที่เป็นปวงญาติ เจ้าที่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเยือน
    วิญญาณต่างๆมาหยอกล้อหรือมาขอส่วนบุญกุศลการอุทิศการแผ่เมตตา

    วิญญาณที่เคยผูกพันข้ามภพข้ามชาติมาดูแลคอยห่วงใย
    วิญญาณที่เคยอาฆาตมาดร้ายมาคอยทำลายล้างและดลให้พินาศในยามที่ดวงตกที่เรียว่าผีซ้ำด้ามพลอยเพราะยามที่วิบากกรรมปรากฏแถมมีเจ้ากรรมนายเวรตัวจริงประกบก็ย่อมถูกผีซ้ำเอาในคราเคราะห์

    เราเจอได้ทั้งเทพ มาร วิญญาณดีและเลว ไม่ต่างจากโลกใบนี้ที่ในแต่ละวันเราก็เจอคนดีคนเลว และผลแห่งกรรมดีและกรรมเลวมาส่งผลทั้งสิ้น

    คำว่าประกาศอิสรภาพกับวิญญาณมาขอร่วมแจมกับชีวิตโดยขอประทับทรงนั้นใช้ได้ดีกับวิญญาณจรทั้งหลายที่หวังในอามิส ลาภสักการะ ศรัทธาเพื่อหวังผลในกุศลผลบุญของเซ่นถวาย ถ้าเจอก็ประกาศอิสรภาพเป็นไทไปซะด้วยว่า เรามีสิ่งที่พึ่งแล้วคือพระรัตนตรัย ขอเชิญส่งแขกที่ไม่ได้รับเชิญทางใครทางมันเสียด้วย ไล่แขกซะ

    มิติหลุดโลกนั้น...
    โดยมากแล้วบางท่านที่ชอบท่องอวกาศจะรู้เสมือนตนเองลอยไปอยู่ท่ามกลางดวงดาว ท้องฟ้าแต่อ้างว้าง วังเวงดูน่ากลัวและลึบลับ สิ่งนี้เรียกว่าหลุดโลกจริงๆคือหลุดจากกายหยาบไปท่องอยู่โลกภายนอก

    ฝรั่งมีการทำLucid dreaming คือพยายามที่จะเตือนตนเองในฝันว่าจงตื่นนี่คือความฝันและพยายามเข้าไปบังคับความฝันนั้นๆ จกาประสพการณ์ของอ้องเองนั้น คำว่าหลุดไปจากมิติภพมนุษย์นั้นโดยมาก
    ปราศจากแรงจงใจคือความอยาก

    ฝรั่งจึงทำได้แค่ชั่วเสี้ยวเวลากระชับสั้นคือตื่นได้แค่ในฝัน
    ถ้าฝรั่งหันมาฝึกสติและรู้จุดจู่โจมมิติภพได้ ฝรั่งจะเอากำลังเข้าไปในฝันนั้นๆและจะตื่นในฝันนั้นๆได้ชนิดเต็มตัว ท่องไปในโลกแห่งความฝันชนิดเหมือนจริง ตามจินตนาการที่เราจะให้ปรากฏได้ทั้งสิ้นด้วยการอธิษฐานให้ปรากฏตามใจดั่งฝันและความรู้สึกจะเปรียบเทียบกับโลกไม่ได้เลยเพราะต่างกันที่รู้สึกที่ใจ ไม่ใช่รู้สึกที่กาย

    ในความฝันที่เสมือนจริงถ้าจะจริงแท้ตต้องเห็นกายหยาบปรากฏเพื่อรู้ว่านี่คือการหลุดโลกไม่ใช่ฝัน

    ของฝรั่งยังเป็นแค่เข้าไปในฝันแต่ของเราจะเป็นเ้ข้าไปในมิติภพด้วยการสร้างรูปสมมุติภายนอกด้วยกำลังของสมาธิ

    หยาบเข้าหาละเอียดไม่ได้ จึงต้องให้จิตที่เป็นผู้สร้้างภพนั้นแหละเข้าไปในภพที่เคยสร้างเคยไปมาทุกภพจะเป็นนรกสวรรค์ชั้นพรหม จิตที่เป็นผู้สร้างภพทั้งหลายมาแต่อดีตชาตินั้นถ้าเค้ามีกำลังในขอบมิติใดก็ทำให้จิตนั้นเสมอขอบวงมิตินั้นคือความละเอียดความหยาบของจิต

    ในช่วงเวลานอนนั้นถ้าเพื่อนๆฝึกสมาธิในท่านอนอย่างสม่ำเสมออ้องขอบอกว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอันดับแรกคือรู้สึกว่ากายมันหลับไปและรู้สึกว่ากายมันกรนในขณะที่เราเฝ้าดูการหลับของกายด้วยสติเฉพาะหน้าตามรู้กองลมหายใจออกและเข้า

    คนใกล้ตัวอ้องหลายคนเริ่มชูมือขณะที่เค้าหลับและกรนให้อ้องดูกันได้
    บางคนไม่ได้กรนแต่รู้ว่ากายมันหลับ

    อ้องบอกว่ากายมันหลับเพราะเกิดปัสสัทธิมันเบาสบายและเริ่มทิ้งคิดแต่จะมีคิดปรุงแต่งภพเหมือนฝันปรนแปเข้ามาเหมือนละอองฝัน
    สิ่งนี้คือขันธ์ละเอียดภายใน กายมันเลิกคิดในขันธ์หยาบภายนอก
    จิตที่ทิ้งกายมันหันมาคิดภายในปรุงแต่งต่อ

    คนทำสมาธิทุกคนจะรู้ไม่ว่านั่ง ยืน เดิน นอน กายมันจะเหมือนหลับทั้งสิ้นทิ้งคิดโลกภายนอกมาเริ่มคิดภายใน

    ถ้าเรารู้จุดตำแหน่งนี้ปรากฏ...
    ให้จู่โจมเข้าไปในจุดกำเนิดภพ คือภวังค์ที่กำลังปรากฏถี่อย่าให้มันมีอำนาจเหนือใจเราไม่งั้นจะเผลอตกเข้าไปถูกดูดเข้าไปเผลอเข้าไปจมแช่กับองค์รักษาภพในภวังค์กลายเป็นฌานหลับไปซะ

    เวลานอนอ้องจึงขอให้เราเฝ้าจุด ตำแหน่งในยามที่กายผ่อนคลาย เบา สบาย และเริ่มเบลอๆ ซึม ทื่อๆ สิ่งนี้คนตาย ใกล้ตายก็เป็นเช่นนี้
    ตอนนอนจึงคือตอนตายของเราทุกวัน

    ถ้าเราฝึกหัดจู่โจม ตำแหน่งจุดกำเนิดภพบ่อยๆ ก็อมยิ้มได้นะครับมีโอกาสเลือกภพได้ ถ้าไปทำตอนตายขอบอกว่าเสร็จทุกรายอาศัย
    ฟรุ๊คอย่างเดียว1ใน100 อ้องว่าไม่น่าเสี่ยงนะครับ...

    กาที่เรานอนและท่องไปกับโลกแห่งความฝันได้เสมือนจริง เราจะเห็นว่ามิติภพนั้นมีจริงแน่ๆ เพราะกายของเราที่ปรากฏนั้นไม่ใช่กายหยาบเลยแต่มันเป็นอีกที่หนึ่ง มิติหนึ่งที่เราหลุดเข้ามา

    สิ่งนี้ะทำให้เราเชื่อมิติภพภูมิ อำนาจจิต เพราะในฝันนั้นๆเราจะมีกำลังที่เราจะตื่นเต้นไปกัยจินตนาการและความรับรู้ของโสตประสาทที่ละเอียดไปทุกอณูทีเดียว

    นอนหลับแบบมีสติ ฝึกก่อนตายก็ได้ นอนหลับก็ฝันดี มีของแถมคือตื่นในฝัน แต่วันใดที่ดำรงค์สติตามรู้มากเข้า ถี่เข้าจนเห็นกายหลับเราจะแยกกายกับจิตออกจากกันคือเห็นว่ากายเหมือนท่อนไม้นอนอยู่แต่จิตก็อยู่ส่วนหนึ่งภายในถ้ำโพลง
    และถ้าวันใดเรามีกำลังของสมาธิมากเข้าจิตมันอาจจะหลุดออกไปนอกอวกาศหรือจิตอาจจะไปสร้างรูปสมมุติละเอียดภายนอกเพื่อให้มันถอดกายละเอียดไปท่องเที่ยวในภพหล้าทั้งหลาย
    สิ่งนี้จะทำให้เราเชื่อบาปมีบุญมีสวรรค์มีนรกมีเพราะว่า...
    มันเห็นจริงๆว่าผีก็คือเรา เราก็คือวิญญาณและแถมพ่วงไปเจอจิตวิญญาณต่างๆอีกด้วยทั้งดีสูงสุดและน่ากลัวสูงสุดไม่แพ้กัน

    แต่ยามใดที่เรามีสติความหวาดกลัวจะแตกต่างจากกายเนื้อมากเพราะเหมือนกับว่าเราก็คือผีจะกลัวผีไปอีกทำไมกัน
    ไม่งั้นผีกับผีในมิติอื่นๆเจอกันคงเอาแต่วิ่งหนีกันจ้าละหวั่น

    ก็ขอฝากให้นอนแบบมีสตินอนหลับแบบปล่อยวางสบายๆดำรงค์สติเฉพาะหน้าของตนตามรู้ลมแบบธรรมชาติไม่ฝืนไม่บังคับจนลมเบาละเอียดหายไปตามรู้ความสงบดำรงค์สติเฉพาะหน้าจนความสงบยิ่งละเอียดยิ่งสงบ

    อย่าดูถูกสมาธิในท่านอนนะครับยาวนานกว่าท่านั่งอีกเพราะกายไม่เกิดทุกข์เวทนาท่านั่งมีระยะเวลาเค้าอยู่แต่สติเยอะท่านอนสติน้อย

    แต่ทุกสิ่งเราฝึกกันได้ เริ่มต้นกันได้ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้หรอก
    เพียงแต่ต้องทำซะเดี๋ยวนี้อย่าประมาทกันนะครับ ความตายไม่เข้าใครออกใคร
    อนุโมทนาครับ
    อ้อง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...