ปิดรับบริจาค เรียนเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพถวายมณีนาคา ณ สำนักสงฆ์ภูสูง จังหวัดยโสธร

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย ติงติง, 29 เมษายน 2011.

  1. ซึ้งบน

    ซึ้งบน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +377

    ไม่เป็นไรครับครู เอาไว้เป็นโอกาสหน้าครับ ถ้าเคยข้องกันมา ถ้าเคยร่วมบุญกันมา จักต้องมีวาระได้ร่วมปฏิบัติธรรมกันแน่นอนครับ
    ปล. หลายคนในบอร์ดหลวงปู่แหวนฯ ถามผมถึงครูติง เชิญร่วมสนทนากันครับ
     
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ขอบคุณมากค่ะคุณสันติ
    ที่ระลึกถึงและกรุณาให้โอกาสติงไปร่วมคณะด้วย
    ติงมีความรู้สึกว่าในกระทู้หลวงปู่แหวนนั้น มีแต่ท่านที่มีบุญญาธิการ มีวาสนาในทางธรรม เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีคุณธรรมอันสูงส่ง มีภูมิรู้ ภูมิธรรมที่หาผู้ใดเปรียบได้ยาก
    เวลาเข้าไปอ่านติงรู้สึกอย่างนั้นจริงๆค่ะ แล้วท่านก็ยังลดตัวลงมาคุยกับติงซึ่งไม่ประสาในการปฏิบัติ และยังเป็นผู้หลงอยู่ ก็ยิ่งเกรงใจและรู้สึกเป็นพระคุณมากๆค่ะ
    เป็นดั่งคุณสันติว่าไว้ค่ะ หากเราเคยร่วมบุญกันมาแต่ชาติปางก่อน สักวันเราคงมีโอกาสปฏิบัติธรรมร่วมกัน ได้พบแต่ละท่านในกระทู้หลวงปู่แหวนค่ะ
    น้อมอนุโมทนาบุญค่ะ.

     
  3. mongkol20

    mongkol20 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +14
    อนุโมทนา ที่เอาเรื่องดีๆมาเล่า เจริญในธรรมนะคะ คุณบุญทรง
     
  4. mongkol20

    mongkol20 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +14
    ขออนุโมทนาในบุญทั้งหมดกับทุกๆท่านด้วยขอบุญนี้จงแผ่ไปให้ไพศาลด้วยเทอญ สาธุ<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ขอขอบพระคุณคุณmongkol20ที่มาเยี่ยมกระทู้นะคะ ^^
     
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน


    วัดป่าโสตถิผล
    ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร



    ๏ อัตโนประวัติ

    “หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน” เป็นพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่งเมืองสกลนคร ที่มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก โดยเฉพาะความเป็นพระสงฆ์ที่มากด้วยเมตตาธรรม ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    เมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง ได้ญัตติฝ่ายมหานิกาย


    ๏ อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์

    ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง ๑๒ ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับ “พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ” ศิษย์สายธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อน เคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป

    สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้านหนองโดก (ปัจจุบันคือ วัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้น ได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย ได้ ๔ พรรษา พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก ประกอบด้วยตัวท่านเองมีความเลื่อมใสการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสให้ท่านสนใจไปฟังการอบรมภาวนาและอุปัฏฐากใกล้ชิดกับพระอาจารย์อ่อนตั้งแต่นั้น ภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และติดตามพระอาจารย์อ่อนเรื่อยมา
     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    [​IMG]

     
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    [​IMG]


    ๏ กราบนมัสการพระอาจารย์มั่น

    ท่านเล่าต่อไปว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) และญาติโยม ๔-๕ คน ออกจากวัดป่าบ้านหนองโดกหลังฉันจังหันเสร็จประมาณ ๓ โมงเช้า โดยเดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ผ่านไปทางบ้านโคกกะโหล่งหรือบ้านคำแหวปัจจุบัน แล้วปีนเขาขึ้นสู่ถ้ำน้ำหยาด อันเป็นที่พักแห่งหนึ่งของคนเดิน

    คณะของท่านก็เดินตามทางนั้นไปเรื่อยๆ ใช้เวลานานพอสมควร จึงไปถึงที่พักของคนเดินทางอีกแห่ง ตรงนั้นเป็นลำห้วยเล็กๆ อยู่ฟากเขาใกล้บ้านหนองผือ น้ำใสเย็นไหลตลอดแนว ชื่อว่าห้วยหมากกล้วย ถึงช่วงนี้พระอาจารย์อ่อนผู้เป็นหัวหน้า จึงพูดขึ้นอย่างเย็นๆ ว่า “เอาล่ะ ถึงที่นี่แล้ว ให้พักผ่อนเอาแฮงสาก่อน...”

    และพระอาจารย์ก็รับผ้าอาบจากสามเณร เอามาพับครึ่งแล้วปูลงบนพลาญ (ลาน) หิน เสร็จแล้วท่านก็นั่งลงขัดสมาธิหลับตา ซึ่งเป็นการพักเหนื่อยตามวิธีของท่าน สำหรับสามเณรพร้อมญาติโยมที่ไปด้วยต่างแยกย้ายหาที่พักเหนื่อย โดยการหามุมสงบทำสมาธิของแต่ละคนไปตามอัธยาศัย จนตะวันบ่ายคล้อยอากาศเริ่มเย็นสบาย จึงพากันออกจากสมาธิแล้วเตรียมเดินทางต่อไป จนกระทั่งถึงวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) เวลาประมาณบ่าย ๓ โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณร แต่ลานวัดสะอาด เห็นแล้วพลอยทำให้จิตใจสงบเย็นไปด้วย ดูสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในวัด จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก เดินไปอีกหน่อยหนึ่ง เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด

    ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ ซึ่งบ่อน้ำนั้นอยู่ท้ายวัด ตักขึ้นเทใส่ปี๊บ ใช้ผ้าขาวกรองที่ปากปี๊บ เมื่อเต็มแล้ว พระเณรผู้ที่จะหาม ๒ รูปใช้ไม้คานหามสอดที่ห่วงปี๊บ ถ้าต้องการหลายปี๊บก็สอดเรียงซ้อนกันมากน้อยตามกำลังสามารถ อย่างมากประมาณ ๔ ถึง ๖ ปี๊บ ในแต่ละเที่ยว เอาไปเทตามโอ่งที่ล้างบาตรที่ล้างเท้าหน้าศาลาหอฉัน และตามกุฏิพระเณร ห้องถาน (ห้องส้วม) จนกระทั่งเต็มหมดทุกที่

    เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิท่าน ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่นๆ เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วน สามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน) มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย

    เนื่องจากสามเณรบุญหนามีรูปร่างเล็ก พอได้แทรกเข้าไปกับพระ ซึ่งส่วนมากมีร่างกายใหญ่โตทั้งนั้น เช่น พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ, พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส, พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน และอีกหลายๆ ท่าน
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    [​IMG]



    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า “เณรมาแต่ไส...” เสียงท่านน่าฟังสดับจับใจมาก บ่งบอกถึงความเมตตา แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า “เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย” จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นสิ่งที่ท่านประทับใจมาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้

    สำหรับที่เป็นคติธรรมตามที่ได้เข้าสัมผัสวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งสมัยพระอาจารย์มั่นพำนักจำพรรษาอยู่ที่นั่น ได้สังเกตเห็นว่า แม้พระเณรจะมีเป็นจำนวนมาก การทำกิจวัตร เช่น ตักน้ำใช้ น้ำดื่ม กวาดลานวัด ขัดห้องน้ำห้องส้วม ตลอดทั้งล้างกระโถน กาน้ำ กรองน้ำใส่โอ่งไห และทำการงานอื่นๆ จะไม่ปรากฏเสียงพระเณรพูดคุยกันเลย ถึงจะพูดคุยกันก็เพียงกระซิบกระซาบ เห็นแต่อาการปากขมุบขมิบเท่านั้น คนอื่นไม่ได้ยินด้วย นี่เป็นคติธรรมอันหนึ่ง ให้มีสติระมัดระวังตัวไม่ประมาท

    จึงเกิดอุบายธรรมขึ้นมาว่า เรื่องสติเป็นสิ่งสำคัญมาก สติระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรูซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ

    พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ได้เล่าเรื่องของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ว่า “กายสุจริตํ วจีสุจริตํ มโนสุจริตํ กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ เอวัง...” แล้วท่านก็เดินลงจากธรรมาสน์ไป

    หลังจากพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปกับพระอาจารย์อ่อน เพื่อหาความสงบวิเวกอยู่ใกล้ละแวกนั้น จนกระทั่งทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) แล้วไปพำนักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สุดท้ายท่านได้มรณภาพลงที่วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

    สามเณรบุญหนาได้ติดตามไปกับพระอาจารย์อ่อนโดยตลอด และไปพักอยู่ช่วยงานเตรียมเมรุชั่วคราว เพื่อถวายเพลิงศพพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าสุทธาวาส จนแล้วเสร็จเรียบร้อยหมดทุกอย่าง จึงออกเที่ยวเดินธุดงค์ต่อไป

    นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก อาทิเช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น

    ต่อมา หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดวัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งที่ยังเหลืออยู่

    ที่มา:
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13022
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    วันที่ ๑๖-๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
    ได้มีโอกาสไปจังหวัดสกลนคร
    และทำบุญดังนี้
    ๑. ถวายปัจจัยหลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน วัดป่าโสตถิผล ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ. สกลนค ๑,๐๐๐ บาท
    ๒.ทำบุญสร้างพระพุทธรูป ๒,๗๐๐ บาท
    ๓. ทำบุญคนป่วย ๒๖๐ บาท
    ๔. แจกพระผง ๙๙ องค์
    ๕. แจกแผ่นพับสวดมนต์ ๒๕๐ แผ่น
    ๖. ทำบุญอื่นๆ ๒๐๐ บาท
    ขอเชิญอนุโมทนาบุญร่วมกันนะคะ
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ขอเชิญอนุโมทนาบุญนะคะ
    รายนามผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายมณีนาคา ณ พุทธอุทยานภูสูง อำเภอเลิงนกทาจังหวัดยโสธร

    ๑. วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ คุณจักรพงศ์ เผ่าสวัสดิ์ จำนวน ๔๐๐ บาท
    ๒. วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณ...... จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๓. วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณKao Oat<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4670821", true); </SCRIPT> จำนวน ๓๐๐ บาท
    ๔. วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Fuangfah<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4677883", true); </SCRIPT> จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๕. วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณปทมา ส่งพระมาร่วมบุญ จำนวน ๕๐ องค์
    ๖. วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณสันติ(คุณซึ้งบน<!-- google_ad_section_end -->)<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4682087", true); </SCRIPT> จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๗. วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->suppysuppy<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4692066", true); </SCRIPT> จำนวน ๒๐ บาท
    ๘. วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณ สันติ(คุณซึ้งบน<!-- google_ad_section_end -->)<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4692673", true); </SCRIPT> จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๙. วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->บุญทรงพระเครื่อง<!-- google_ad_section_end --> ส่งพระมาร่วมบุญ จำนวน ๗ องค์
    ๑๐. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->เฮียปอ ตำมะลัง<!-- google_ad_section_end --> จำนวน ๔๐๐.๓๘ บาท
    ๑๑. วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณเฟื่องฟ้า จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๒. วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณขวัญ09 จำนวน ๓๓๓ บาท
    ๑๓. วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณสันติ(คุณซึ้งบน) จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๑๔. วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณราคุเรียวซาย จำนวน ๓๐๐ บาท
    ๑๕. วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณติงติง(คุณรจนา พุ่มจันทร์) จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
    ๑๖. วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Oupasene<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4744024", true); </SCRIPT> จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๑๗. วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณMr.Kim(คุณเสรี วงษ์ทองเหลือ และครอบครัว) จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๑๘. วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณศุภชัย-จิตรา-ด.ช. ฐปนรรฆ์-ด.ช. ธนกร-คุณพ่อวันชัย-คุณแม่สุรางค์ โรจน์ขจรนภาลัย และครอบครัว จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๑๙. วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณ Oupasene<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4769099", true); </SCRIPT> จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๒๐. วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณmarquis31<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4756863", true); </SCRIPT> จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๒๑. วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Lek2010<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4762698", true); </SCRIPT> จำนวน ๓๐๐ บาท
    ๒๒. วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณ สันติ(คุณซึ้งบน<!-- google_ad_section_end -->)<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4692673", true); </SCRIPT> จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๒๓. วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Miss Brown<!-- google_ad_section_end --> จำนวน ๘๐ บาท
    ๒๔. วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ คุณสันติ(คุณซึ้งบน<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4692673", true); </SCRIPT> )จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๒๕. วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->บุญทรงพระเครื่อง<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4864226", true); </SCRIPT> ส่งพระมาร่วมบุญ จำนวน ๙ องค์ และร่วมทำบุญเป็นจำนวนเงิน ๒,๐๐๐ บาท
    ๒๖. วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ คุณพีระ(คุณpeerac ) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๒๗. วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->bannasanoo<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4914646", true); </SCRIPT> จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๒๘. วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ คุณGoiUSA<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4947862", true); </SCRIPT> เณศรา ชาติรักษา และ
    คุณวิบูลย์ หาญดิลก และครอบครัวของทั้งสองฝ่าย จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๒๙. วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ คุณสันติ(คุณซึ้งบน) จำนวน ๒,๐๐๐ บาท
    ๓๐. วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ คุณอัฐ อัครโกเมน จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๓๑. วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ คุณพีระ(คุณpeerac ) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๓๒. วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ คุณสันติ(คุณซึ้งบน) จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๓๓. วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ ด.ช ก้องกิดากร - ด.ช ก้องกิจ ปิงแก้ว จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๓๔. วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->บุญทรงพระเครื่อง<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5022372", true); </SCRIPT> <!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4864226", true); </SCRIPT>ส่งพระมาร่วมบุญ จำนวน ๘ องค์
    ๓๕. วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๔ คุณBirddy<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5046119", true); </SCRIPT> (คุณโกศล สุวรรณกิจ) จำนวน 300 บาท
    ๓๖. วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๔ คุณบุษบากาญจ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT> จำนวน ๓๐๐ บาท
    ๓๗. วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๔ คุณ.......จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๓๘. วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๔ คุณสันติ(คุณซึ้งบน) ส่งพระมาร่วมบุญ จำนวน ๕ องค์
    ๓๙. วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔ คุณKob<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5100562", true); </SCRIPT> จำนวน ๒๙๙ บาท
    ๔๐. วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ คุณnirada_r<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5129634", true); </SCRIPT> จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๔๑. วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๔ คุณ.......... จำนวน ๑,๙๙๙บาท
    ๔๒. วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๔ คุณพีระ(คุณpeerac) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๔๓. วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ คุณพี่มหาหิน จำนวน ๓๐๐ บาท
    ๔๔. วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->tuk_taar<!-- google_ad_section_end --> จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๔๕. วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ คุณ>น้องนาง<<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5212771", true); </SCRIPT> และเพื่อนๆ จำนวน ๒๒๐ บาท
    ๔๖. วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ คุณติงติง<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5166462", true); </SCRIPT> (คุณรจนา พุ่มจันทร์) จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
    ๔๗. วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ คุณสันติ(คุณซึ้งบน) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๔๘. วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ คุณพีระ ชลายนวัฒน์(คุณpeerac<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT> ) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๔๙. วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->duangkamol<!-- google_ad_section_end -->จำนวน ๓๐๙ บาท
    ๕๐. วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->บุญทรงพระเครื่อง<!-- google_ad_section_end --> มอบพระสมเด็จองค์ปฐม-องค์ปัจจุบัน ๑๖ องค์พระปิดตานะมิมหาลาภ ๑๑ องค์
    ๕๑. วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คุณคุณสันติ(คุณซึ้งบน) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๕๒. วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คุณsuppysuppy<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5356372", true); </SCRIPT> จำนวน ๑๐๐ บาท
    ๕๓. วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คุณppoonsuk<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5360979", true); </SCRIPT> จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๕๔. วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->crunoi11112011<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5364892", true); </SCRIPT> (คุณหน่อย) จำนวน ๖๑๕ บาท
    ๕๕. วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ คุณวินัตร ธนประสิทธิพัฒนา จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๕๖. วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->titapoonyo<!-- google_ad_section_end --> จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๕๗. วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คุณคุณพีระ ชลายนวัฒน์(คุณpeerac<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT> ) จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
    ๕๘. วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คุณศรชัย มอบเพชรพญานาค จำนวน ๑๘ องค์
    ๕๙. วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ คุณเมธา จำนวน ๒๙๙ บาท
    ๖๐. วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->wrabbit<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5422523", true); </SCRIPT> จำนวน ๓๐๐ บาท
    ๖๑. วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->duangkamol<!-- google_ad_section_end --> จำนวน ๒,๕๐๙ บาท
    ๖๒. วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ คุณวารุณี เดชรักษาและครอบครัว จำนวน ๖๐๐ บาท








    รวมปัจจัยทั้งสิ้น ๕๐,๖๗๓.๓๘ บาท

    ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั่วสากลโลกได้โปรดเมตตาธรรมแด่ท่าน และขอกุศลผลบุญนี้ได้เป็นพลวัตปัจจัยให้ท่านและครอบครัวเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ธนสารสมบัติ เจริญสูงสุดทั้งทางโลกและทางธรรมด้วยเทอญ


    และติงขอมอบวัตถุมงคลเพื่อตอบแทนพระคุณท่านที่ร่วมบุญถวายมณีนาคานะคะ
    (ตามรายละเอียดที่เรียนให้ทราบในกระทู้)
    หากท่านที่ร่วมบุญ
    ท่านใดประสงค์จะรับพระเพื่อไว้สักการะบูชา
    กรุณา PM แจ้งที่อยู่ให้ติงทราบด้วยจะเป็นพระคุณยิ่งค่ะ
    กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ<!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ความรู้ค่ะ
    หลักการดูพระเครื่อง
    แนวทางการศึกษาพระเครื่องไทย

    วิธีการดูพระเหรียญปั๊มโลหะ

    ปัจจุบัน นี้ พระเหรียญหลายๆคนบอกเล่นยากมาก เพราะทำเก๊ได้เหมือนของแท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์ แต่ในความเป็นจริงเหรียญทุกชนิดจะดูง่ายขึ้น ถ้าเรามีหลักการในการดูดังนี้

    1. เมื่อ พบพระเหรียญ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่ ถ้าบวมนูนตรงกลางหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนร ฯ

    2. เมื่อ ดูว่าเหรียญไม่บวมแล้วก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ ไปตามที่เราได้เรียนรู้และจำได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิตรงตามของแท้มาตรฐาน ก็คือ เก๊แน่นอน จากการแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีให้พิจารณาต่อ คือ

    1.แท้

    2.เก๊คอมพิวเตอร์

    3. การ ที่เราจะแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้ว ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่ ในส่วนนี้เราจำเป็นต้องคุ้นเคยกับเหรียญแท้ๆ มาก่อนก็จะทำให้แยกแยะได้ง่ายขึ้น

    จุดพิจารณาในการดูเหรียญปั๊มโลหะ

    1. อายุของโลหะต้องมีความเก่าตามอายุการสร้างของเหรียญ เช่น เหรียญ พ.ศ. 2460 ทองแดงไม่เก่าก็คือ เก๊นั่นเอง

    2. กระไหล่หรือรมดำ ต้องเก่าตามอายุเหรียญนั้นๆ

    3. เหรียญสึก ควรสึกเฉพาะส่วนที่นูนของเหรียญเท่านั้น ส่วนลึกสุดของเหรียญต้องคมชัด และดูได้ว่าเป็นเหรียญปั๊มโลหะ

    4. การ ดูรอยตัดปั๊มขอบเหรียญ ถ้าไม่มีหรือเป็นรอยตะไบถือว่าไม่ใช่เหรียญปั๊ม ยกเว้นเหรียญปั้มบังคับปลอก(บังคับขอบเหรียญ) เช่นเหรียญ ลพ.เดิม ปี 2482 ขอบ จะเรียบ หรือเหรียญที่ตะไบขอบเช่นเหรียญ ลพ.คง วัดบางกระพ้อม บล็อกขอบตะไบ แต่เหรียญพิเศษแบบนี้จะมีไม่มาก แต่ถ้ามีรอยตัดปั๊มอาจเก๊คอมพิวเตอร์ก็ได้

    5. เหรียญห่วงเชื่อม รอยเชื่อมเงินต้องมีความเก่า

    6.ไม่ควรเช่าเหรียญที่เลี่ยมพลาสติกไว้เพราะดูลำบากอาจหลอกตาได้ ยกเว้น เหรียญดูง่ายจริงๆ

    วิธีการดูพระเครื่องประเภทรูปเหมือน

    รูป เหมือนปั้ม การดูพระรูปเหมือนปั๊มให้ใช้หลักการดูเหรียญปั๊มได้เลย เพราะพระหล่อปั๊มคือ พระโลหะปั๊มเป็นรูปองค์เท่านั้น ถ้าปั๊มแบนเป็นแผ่นก็คือเหรียญปั๊มนั่นเอง เช่น รูปเหมือนปั้มหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นก้นระฆัง

    1. รูปเหมือนฉีด การดูพระรูปเหมือนฉีดให้ดูพิมพ์รวมเป็นหลัก พระทุกองค์จะต้องมีรูปร่าง เท่ากันทุกองค์ 100% แต่ไม่คมชัดเหมือนพระปั๊ม บริเวณก้นองค์จะมีรอยตะไบบริเวณรอยฉีดโลหะเข้าทุกองค์ เช่น พระหล่อใบโพธิ์ เจ้าคุณนรฯ ปี 13

    2. รูปเหมือนหล่อโบราณ มี 2 ชนิด คือ

    * เบ้าทุบ ไม่มีรอยตะเข็บข้าง แต่จะมีรอยตะไบเดือยที่ก้นทุกองค์ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม
    * เบ้าประกบมีรอยตะเข็บซ้าย-ขวาข้างองค์พระทุกองค์ ก้นจะมีรอยเนื้อเทไม่เต็ม เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา

    จุดสังเกตสำคัญ

    1. พิมพ์หรือรูปร่างโดยรวมของพระรูปหล่อจะต้องเหมือนกัน
    2. รูปหล่อที่มีโค๊ด โค๊ดจะต้องคมชัดเพราะใช้ตอกด้วยโลหะ
    3. รอยปั๊มหรือรอยตะไบ ถ้าเป็นพระที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรที่จะไม่มีความคมและไปในทางเดียวกันไม่สับสน

    หลักพิจารณาพระแท้ "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ความเก่ามี"

    1. พิมพ์ถูก ก็แท้แล้ว 50% ต้องจำพิมพ์พระที่จะเช่าบูชาได้ทุกครั้งก่อนที่จะเช่าบูชาเสมอ เพราะว่าถ้าพิมพ์ถูก โอกาสพระแท้ก็มี 50% แล้ว และถ้าพระผิดพิมพ์ก็เก๊ 100% เลย เพราะฉะนั้น ต้องหมั่นศึกษาพิมพ์พระจากตำราต่าง ๆ ให้แม่นยำ หรือถ้าศึกษาจากองค์จริงได้ก็ยิ่งดีครับ

    2. เนื้อใช่ ก็แท้แล้ว 25% เพื่อน ๆ ต้องจำสูตรเนื้อพระแต่ละรุ่นให้คุ้นเคย โดยศึกษาจากองค์จริงเท่านั้น จะดูจากรูปไม่ได้ เช่นพระเนื้อทองเหลืองของพระแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน กระแสโลหะและผิวไฟก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเนื้อถูกกระแสและผิวไฟถูกก็แท้ขึ้นอีก 25% ครับ

    3. ความเก่ามี ก็แท้แล้ว 25% พระ เครื่องที่มีอายุต้องมีความเก่าสมอายุด้วย ถึงแม้จะเป็นพระที่เก็บรักษาดี ไม่ถูกจับต้องเลย ก็ต้องใหม่แบบเก่า ๆ คือไม่มีความแวววาวแล้ว เช่น พระหูยานลพบุรี กรุใหม่ ปี 08 เป็นต้น

    ถ้า พิจารณาพระทุกองค์ได้ครบถูกต้อง 3 ข้อนี้ก็เป็นพระแท้ดูง่าย ควรค่ากับการสะสมครับ

    ภูมิคุ้มกันพระเก๊

    ก่อนอื่นขอขยายความเรื่อง"พิมพ์ถูก" ก่อนนะครับ เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินคำพูดว่า "พระผิดพิมพ์"บ่อย ๆ ใช่ไหมครับ ซึ่งก็มีความหมายเดียวกันกับพระเลียนแบบหรือพระเก๊นั่นเอง แล้วคำถามต่อมาก็คือ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกพิมพ์หรือผิดพิมพ์ การสร้างพระทุกชนิด ทุกครั้ง จะต้องมีแม่พิมพ์เสมอ แต่อาจจะมีหลายแม่พิมพ์ในพระชนิดเดียวกันก็ได้ เพราะฉะนั้นต้องศึกษาว่าพระชนิดนั้น ๆ มีกี่แม่พิมพ์หรือกี่บล็อก ถ้าเป็นพระรุ่นใหม่ พระที่สร้างมาจากแม่พิมพ์เดียวกันจะต้องมีรายละเอียดในองค์พระนั้น ๆ เหมือนกัน100% เช่น ตุ่มนูน, ลายเส้นต่าง ๆ , รอย เนื้อเกิน เป็นต้น ฉะนั้นพระที่มีลักษณะใด ๆ ที่แตกต่างจากพระที่มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ย่อมเป็นพระผิดพิมพ์หรือมาจากแม่พิมพ์อื่นหรือเก๊นั่นเอง ยกเว้น การเปลี่ยนแปลงในพิมพ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้

    การพิจารณาพระประเภทเนื้อชิน
    พระเนื้อชินแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้

    1. ชินเขียว-สนิมไข เช่น พระหูยานชินเขียว

    2. ชินเงินแก่เงิน-สนิมตีนกา เช่น พระกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

    3. ชินงินแก่ตะกั่ว เช่น พระกำแพงขาว กำแพงเพชร

    4. ตะกั่ว-สนิมแดง เช่น พระร่วงหลังรางปืน สุโขทัย
    พระชินเขียวเป็นพระที่นิยมเล่นกันน้อยในปัจจุบันนี้ คงนิยมกันในส่วนพระชินเงินและพระตะกั่วสนิมแดง ซึ่งยังคงมาแรงในค่านิยมปัจจุบัน


    แนวทางการศึกษาพระเนื้อชิน

    ใช้หลักการมาตรฐานของการศึกษาพระเครื่องทั่วไปคือ พิมพ์ต้องถูกต้อง เนื้อต้องถูกต้อง และต้องมีความเก่าตามอายุพระ โดยศึกษาตามขั้นตอนคือ

    1. พิมพ์ พระ พระเนื้อชินแต่ละกรุนั้น จะมีแม่พิมพ์เฉพาะแต่ละกรุนั้นๆ ฉะนั้นก่อนอื่นจะต้องศึกษาข้อมูลก่อนว่า พระที่ขึ้นแต่ละกนุนั้นมีกี่พิมพ์ กี่ชนิด อย่างไรบ้าง เช่น พระหูยาน ลพบุรี แบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก เป็นต้น พระเนื้อชินที่ขึ้นการกรุเดียวกัน ก็จะมีรูปร่างแบบพิมพ์ที่เหมือนกัน ถึงแม้จะไม่เหมือนเหรียญปั้มรุ่นใหม่ก็ตาม แต่อย่างไรส่วนใหญ่ของพิมพ์นั้นต้องเหมือนจะต่างกันไดเฉพาะส่วนที่เป็นผลมา จากการเทโลหะ เช่น รอยเทโลหะไม่เต็มแม่พิมพ์หรือเนื้อปะเกินในแม่พิมพ์เป็นต้น

    2. พระเนื้อชิน จะมีส่วนประกอบหลักคือ ตะกั่วผสมกับโลหะต่างๆ เช่น เงิน, สังกะสี หรือแร่พลวงเป็นต้น เพราะฉะนั้นเนิ้อชินของแต่ละกรุก็จะมีลักษณะของเนื้อชินไม่เหมือนกัน เช่น กรุวัดราชบูรณะเป็นชินเงินแก่เงินผิวจะเป็นปรอทขาวเคลือบอยู่ 1 ชั้น บนผิวในองค์พระที่สวยเหมือนพระที่เทใหม่ๆ แต่ถ้าพิจารณาดูให้ดีก็จะมีความแห้งในผิวปรอทนั้นๆ หรือพระชินราชใบเสมา พิษณุโลก ก็จะเป็นชินแก่ตะกั่วเป็นต้น

    3. อายุ ความเก่า พระกรุเนื่องจากสร้างมานับร้อยปี เพราะฉะนั้นทั่วๆองค์พระก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างเป็นธรรมชาติ มีรอยปริระเบิดจากภายในซึ่งในพระเก๊จะทำไม่ได้ เนื่องจากอายุไม่ถึงนั้นเอง จะเห็นว่าการศึกษาพิจารณาพระเนื้อชินนั้นไม่ยากอย่างที่คิด โดยใช้หลักการเดียวกันคือ "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ มีอายุความเก่า"

    ข้อควรระวังในการศึกษาสะสมพระเนื้อชิน

    ใน การศึกษาพระกรุเนื้อชินนั้น ไม่ใช่เพียง "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ความเก่าใช่" แต่อย่างเดียวก็หาไม่ กลับจะต้องระมัดระวังสิ่งเหล่านี้ให้แม่นในใจต่อมา "ห้ามลืมเด็ดขาด"

    1. พระแท้แต่ผิดกรุ เพราะพิมพ์เดียวกัน หรือคล้ายกัน ทำให้เช่าผิดราคาได้ เช่น พระพุทธชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก กับ สวรรคโลก เป็นต้น

    2. พระแท้ แต่หักชำรุด โดยเฉพาะพระหักคอ แต่ซ่อมไว้ดี ขอให้เพื่อนๆ พิจารณาบริเวณคอทุกครั้งด้วยครับ

    3. พระแท้ไม่หักแต่ซ่อมเสริม เช่นพระเทไม่เต็มพิมพ์ พระแต่ง การซ่อมจะทำให้พระสวยขึ้น แต่ราคาจะไม่เท่าพระสภาพเดิมๆ และสวยครับ

    4. พระแท้ ถูกกรุ ถูกพิมพ์ แต่ผิดราคาสูงเกินไป


    แนวทางการบูชาสะสมพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้

    1. พระชุดเตารีดใหญ่-กลาง-เล็ก ปี 2505น่า เก็บบูชามาก แต่ให้เลือกเฉพาะองค์ที่มีขี้เบ้าเท่านั้น ถ้าไม่มีขี้เบ้าก็ขอให้เป็นพระดูง่าย เพราะถ้าไม่มีขี้เบ้า ต่อไปภายหน้าอาจพิจารณา เก๊-แท้ ได้ยาก เพราะพระเก๊ทำได้ดีมากๆ

    2. พระชุดเหรียญ รุ่น 1-3 และเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ควรเก็บบูชาเฉพาะองค์ที่ดูง่าย ไม่ผ่านการล้างผิวมาหรือเลี่ยมพลาสติกไว้ เพราะพิจารณายาก ของเก๊ทำได้เกือบ 100%

    3. พระรูปหล่อก้นลายเซ็นต์ ปี 08 และเบตง 1 ปี 05น่าบูชาสะสมมาก เพราะมีโค้ตให้พิจารณา ส่วนใหญ่จะดูง่าย ควรเลือกองค์ที่สวยสมบูรณ์ไว้
    4. พระเนื้อว่าน รุ่นแรก ปี 2497ควรเช่าบูชาองค์ที่ดูง่ายและแห่เซียนพระ 10 คน ถ้าทุกคนบอกว่าแท้ก็ OK เลยครับ เพราะท่านมีหลายโซนเนื้อ ทำให้พิจารณาลำบาก

    และสุดท้าย พระทุกองค์ต้องมีการรับประกัน 100% ว่าแท้จากบุคคลหรือศูนย์ที่เชื่อถือได้ด้วยครับ

    หลักการพิจารณาเซียนพระ

    หัวข้อนี้จะแนะนำวิธีดูเซียนแท้หรือผู้ที่ชำนาญพระเครื่องที่เราควรให้ความ เชื่อถือไว้เป็นที่ปรึกษาในการเช่าบูชาพระเครื่องของเพื่อนๆ กัน

    1. ไม่มีเซียนพระคนใดชำนาญพระเครื่องทุกชนิด เพราะฉะนั้นใครบอกว่ามีความชำนาญพระเครื่องทุกชนิดให้ระมัดระวังไว้อย่างมาก

    2. เซียนพระที่ชำนาญพระเครื่องประเภทต่างๆ เช่น พระกรุ พระเกจิ รูปหล่อเนื้อผง เหรียญปั้ม ฯลฯ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะถูกต้อง 100% ทั้ง หมด เพราะการชำนาญพระเครื่องนั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการพบเห็นพระเครื่องประเภทนั้นๆ รวมถึงทักษะในการศึกษาพระเครื่องประเภทนั้นๆ ด้วย

    3. เซียน พระที่ไม่ศึกษาอ่านหนังสือ หรือไม่ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นเซียนมาจากประสบการณ์การพบเห็นพระมาก ไม่ได้ดูจากพื้นฐานการดูพระแท้ อาจจะพาหลงทางได้ เช่นดูเหรียญเก่าแท้แต่เก็บดีมากเหมือนใหม่ อาจจะดูเป็นพระเก๊ได้ครับ

    4. เซียน พระที่เล่นพระเครื่องคนเดียว ไม่มีกลุ่ม ไม่มีพวก ให้ระมัดระวังไว้ เพราะอาจเล่นพระหลงทาง พาท่านหลงทางเล่นพระผิดแนวทางได้โดยง่าย

    5.เซียนพระ ที่ติดอบายมุข เช่น ติดการพนัน ติดผู้หญิง จะมีรายจ่ายมากผิดปกติ เมื่อเงินขาดมือ จะไม่มีสมาธิในการดูพระ เพื่อนๆ อาจจะเสียหายได้

    6. เซียนพระที่มีจิตใจคับแคบ กลัวลูกค้าของตนจะไปเช่าพระคนอื่น เลยพาลสวดพระคนอื่นเก๊ตลอด เพื่อนๆ จะหลงทางได้ ถ้าเชื่อข้อมูลแบบนี้

    วิธีการแห่พระเครื่อง

    การแห่พระเครื่อง
    คือการนำพระเครื่องที่เราสงสัยว่า แท้ หรือ เก๊ ไปไห้เซียนพระที่สนามพระดูว่า แท้ หรือ เก๊

    ปัญหาของการแห่พระ

    1. จะต้องแห่กับเซียนแท้ หรือเข้าสนามท่าพระจันทร์

    2.
    เซียนพระที่ดูให้ จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับเราหรือไม่ ?

    วิธีการแห่ที่ถูกต้อง

    1. ต้องหาเซียนพระแท้ก่อน หรือเข้าสนามท่าพระจันทร์

    2. นำพระที่ต้องการแห่ให้เซียนพระดู โดยเสนอราคาขายด้วยเป็นราคาปัจจุบัน

    3. ถ้าพระแท้หรือเซียนพระดูว่าแท้ ก็จะต่อรองราคา เพราะเซียนพระจะเช่าบูชาในราคาประมาณ 30-50 % ของราคาตลาด

    4. ถ้าเราไม่ต้องการให้เช่าบูชา ก็ลดราคาลงเล็กน้อยเมื่อเซียนต่อราคาไม่ได้ก็ไม่ซื้อ เราก็นำพระกลับได้

    5. พระที่ผ่านการแห่หลายครั้ง
    แล้วมีเซียนพระสนใจมากทุกครั้งก็แสดงว่าเป็นพระแท้ ดูง่าย

    6. ถ้าพระที่แห่มีเซียนสนใจบ้าง ไม่สนใจบ้าง นั่นคงเป็นพระดูยากหรือพระที่วงการไม่นิยม

    7. ถ้าพระที่แห่ไม่มีเซียนสนใจเลยก็ เก๊ แน่นอน หรือเป็นพระที่ไม่มีราคา หรือพระที่วงการไม่เล่นกัน

    ท่านทราบหรือไม่

    1. ไม่มีเซียนพระคนใดชำนาญพระเครื่องทุกชนิด

    2. เซียนพระที่ชำนาญพระเครื่องชนิดนั้นๆ เช่น พระกรุ พระเกจิสายตรง เนื้อดิน เหรียญ ก็ไม่ใช่ว่าจะดูพระได้ถูกต้อง100% ทุกองค์

    3. การแห่พระเครื่องหรือเช็คพระ ควรแห่ให้ถูกวิธี
    แล้วนำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ด้วยวิจารณญาณว่า แท้ หรือ เก๊ด้วยตัวของท่านเอง

    4. พระแท้หรือเก๊ คนตัดสินก็คือเจ้าของพระโดยใช้ข้อมูลจากเซียนพระผู้ชำนาญสายนั้นๆ หลายๆ ท่าน

    5. อย่าเล่นพระด้วยหู ควรเล่นด้วยตาของเราเอง หรือปรึกษาเซียนพระสายนั้นๆ หลายๆ ท่าน

    6. พระ เครื่องมีมูลค่าเพราะมีผู้เช่าบูชา ไม่ใช้เพราะเจ้าของพระ เช่น พระสมเด็จแท้แต่ดูยาก ไม่มีผู้เช่าบูชาก็เสมือนไม่มีมูลค่า แต่เจ้าของพระมักตีราคาไว้หลอกให้ตัวเองสบายใจต่างหาก

    7. ควรเช่าบูชาพระเครื่องที่มีอนาคตดี ไม่ใช่เช่าบูชาตามเราชอบ มิฉะนั้นท่านจะขาดทุนทุกครั้งที่เช่าบูชา

    ข้อเตือนใจในการเล่นพระทุกชนิด

    1. พระ ที่ราคาถูกผิดปกติ ควรระมัดระวัง เพราะอาจเป็นพระที่มีปัญหา เช่น พระดูยาก พระเก๊ พระซ่อม พระชำรุดหรือพระที่ถูกฃโมยมา ดังนั้นควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

    2. พระที่เซียนขายผิดราคา เพราะอาจเป็นพระที่มีปัญหาเพราะวิสัยเซียนเรื่องตกควายเป็นเรื่องยาก
    เพราะสามารถแห่ขายได้ทั่วสนามพระอยู่แล้ว

    3. พระ แอบขาย เช่น มีคนเอาพระมาขายเงียบ ๆ แล้วกระซิบว่า อย่าบอกใครนะเป็นพระผู้ใหญ่ร้อนเงินให้เอามาขายให้ ถ้าคนอื่นรู้จะเสียชื่อ ที่จริงแล้ววัตถุประสงค์ส่วนใหญ่จะแอบขายเงียบๆ ต่างหากละครับ

    4. พระ ร้อนขายเพราะเสียพนัน เสียบอล มักจะเป็นการอ้างมากกว่าเพราะคนเล่นพระมักเล่นเป็นกลุ่ม เมื่อมีปัญหามักจะผ่านกลุ่มก่อน มีแต่เซียนแอบเท่านั้น มักจะฉวยโอกาสนี้แอบขายเพราะพระมีปัญหาต่างๆครับ

    5. "เล่นพระ อย่าโลภ"โลภเป็นโดนทุกครั้งนะ จะบอกให้

    เซียนพระที่ควรหลีกเลี่ยง

    เซียน พระในวงการมีมากมาย หลายระดับชั้น เซียนพระแต่ละคนมีความชำนาญในพระเครื่องแตกต่างกันออกไป แต่เซียนพระต่อไปนี้เพื่อนๆ ควรหลีกเลี่ยงห่างให้ไกลๆ

    1. เซียนที่พูดว่าตนเองดูพระได้เก่งและขาดทุกชนิด

    2. เซียนพระที่ดูพระแท้หรือเก๊ แต่ไม่สามารถบอกข้อมูลได้ว่าแท้หรือเก๊อย่างไร หรือตอบว่าเชื่อผมเถอะผมเล่นมานานแล้ว

    3.เซียนพระที่ให้ข้อมูลพระองค์เดิมแต่ไม่เหมือนกันบ่อยๆแสดงว่าข้อมูลไม่ดีจริง

    4. เซียนพระที่เล่นพระมานานหลายสิบปี แต่ยังเล่นพระย่อยๆ อยู่

    5. เซียนพระที่สามารถโกหกบ่อยๆ หรือพูดไม่ตรงบ่อยๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

    6. เซียนพระที่ยืมเงินลูกค้าบ่อยๆ โดยอ้างว่าจะนำเงินไปเช่าพระมาขายให้ แล้วกลับไม่ทำอย่างที่พูด พูดจาโยกโย้แต่ไม่คืนเงิน

    7. เซียนพระที่พูดจาใหญ่โต แต่ห้อยพระเก๊

    8. เซียนพระที่รับประกันแท้ 100% แต่เวลาคืนพระที่เก๊ชอบถามว่าใครดูเก๊ ไม่ยอมคืนเงิน หรือให้เปลี่ยนพระอื่นให้แทนการคืนเงิน

    9. เซียนพระที่ขายพระรับประกันแท้ 100% ให้เพื่อนๆ สัก 2 ครั้งแต่เก๊ติดต่อกัน แล้วไม่คืนเงินสดให้ เลิกคบได้เล๊ย รับรองไม่มีฟลุ๊คได้พระแท้มา

    แนวทางการเล่นสะสมพระกรุ

    ปัจจุบัน พระกรุกลับกลายเป็นพระที่เล่นง่ายกว่าพระประเภทอื่นๆ แต่นักอนุรักษ์พระเครื่องทั่วๆ ไป มักจะบอกว่าพระกรุเล่นยากกว่าพระเกจิอาจารย์ ที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะ

    1. พระกรุในสมัยก่อนนี้ ไม่มีตำราหรือหนังสือให้ศึกษามากเหมือนปัจจุบัน ทำให้เหมือนว่าพระกรุดูยาก

    2. ผู้ รู้พระกรุมากๆ นั้น มักเป็นนักเล่นพระรุ่นเก่าๆ ซึ่งมักไม่ค่อยสอน ให้กับนักเล่นรุ่นใหม่ อาจจะเป็นด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น หวงวิชา กลัวรุ่นใหม่เก่งกว่า กลัวหาพระไม่ได้ หรือสอนไม่เป็น ฯลฯ

    3. พระกรุเป็นพระที่หายากอยู่แล้ว และมักแตกกรุก่อนปี 2500เพราะฉะนั้นพระจึงชำรุดสูญหายมาก เหลือให้มาถึงยุคหลังน้อย เมื่อพระมีน้อย นักเล่นพระก็ไม่เคยเห็นทำให้ดูเหมือนดูยาก

    แล้วทำไม ผมจึงบอกว่าพระดูง่ายในหัวข้อต่อไปผมจะให้แนวทางและข้อมูลว่า ทำไมพระกรุ "เล่นง่าย ดูง่าย"

    พระกรุ "เล่นง่าย ดูง่าย"

    พระกรุเป็นพระที่นับวันจะหายากขึ้นทุกวัน พระกรุส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินและเนื้อดินส่วนน้อยจะเป็นชนิดอื่น เช่น โลหะสำริด ว่าน ฯลฯ

    พระ กรุเนื้อชินแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ เช่น ชินเงิน ชินแก่ตะกั่ว ชินเขียว และชินตะกั่วสนิมแดง หลักการดูพระทุกประเภทนี้เหมือนกันหมด ก็คือ

    1. พิมพ์พระ สำคัญ 50%

    2. เนื้อพระ สำคัญ 25%

    3. ความเก่าของพระ สำคัญ 25% รวมกันเป็น 100% โดยการดูพระเนื้อชินเหมือนกันกับการดูพระหล่อโบราณของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ

    พิมพ์

    พระเนื้อชินจะมีตำหนิในพิมพ์เหมือนเหรียญหล่อเกจิอาจารย์ซึ่งเราต้องทราบ ว่าจุดไหนเป็นตำหนิในแม่พิมพ์พระ ไม่ใช่เป็นตำหนิขององค์พระซึ้งเกิดจากการเทพระ เช่น เนื้อเกิน รอยยุบ เทไม่ติดพิมพ์ เป็นต้น การดูตำหนิในแม่พิมพ์พระให้ดูจากพระแท้พิมพ์เดียวกันหลายๆ องค์ แล้วสังเกตุดูว่าจุดไหนที่ทุกองค์มีเหมือนกันหมดทุกองค์ถือเป็นตำหนิในแม่ พิมพ์เช่น พระหูยานลพบุรี พิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์ จะมีเนื้อเกินบริเวณซอกแขนขวา และรอยฟันหนูในบริเวณซอกแขนซ้าย เป็นต้น

    1. พระ เนื้อชินเงิน ส่วนผสมหลักจะเป็นตะกั่วผสมกับธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี ดีบุก พลวง ปรอท ฯลฯ เพราะฉะนั้นเนื้อหาหลักจะมีสีคล้ายตะกั่ว แต่มีความแวววาวออกขาวคล้ายเงินหรือปรอทบริเวณผิวพระโดยเฉพาะองค์ที่ไม่ได้ ถูกสัมผัส เช่น พระกรุวัดราชบูรณะ พระกรุช่างกลปี 08 ลพบุรีเป็นต้น

    2. พระ เนื้อชินแก่ตะกั่ว ก็คือพระชินเงินที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากนั้นเอง จะคล้ายกับตะกั่ว แต่จะมีผิวปรอทบางๆ อยู่บ้าง เนื้อพระจะอ่อนกว่าชินเงินทั่วไป เช่น พระชินราชใบเสมา พิษณุโลก, พระมเหศวร สุพรรณบุรี, พระกำแพงขาว กำแพงเพชร เป็นต้น

    3. พระ ชินเขียว "ชินเขียวสนิมไข" เป็นคำกล่าวโบราณของพระเนื้อชินเขียว ซึ่งมักจะมีไขคล้ายไข่แมงดาเกาะติดอยู่ตามผิวพระ เนื้อพระจะมีสีเขียวอ่อน และจะมีจุดไฝดำแทรกอยู่ในเนื้อพระทุกองค์เสมอ เช่น พระยอดอัฎฐารส จ.พิษณุโลกเป็นต้น

    4. พระ ตะกั่วสนิมแดง ก็คือเนื้อตะกั่วบริสุทธิ์นั่นเอง เมื่อพระเนื้อตะกั่วถูกความร้อนและความชื้นในกรุเป็นเวลาหลายร้อยปีจะเกิด สนิมตะกั่วทที่มีสีส้มถึงแดงขึ้นบริเวณผิวพระพร้อมกับไขขาวๆ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันของสนิมแต่ละกรุ เพื่อนๆ จะต้องศึกษาสนิมแต่ละกรุไว้นะครับ

    แนวทางดูธรรมธาติความเก่าของพระเนื้อชิน

    1. พระ เนื้อชิน ถ้าเป็นพระสวย จะเห็นคราบปรอทคลุมองค์พระทั้งองค์ โดยเฉพาะด้านหน้า แต่คราบจะไม่เสมอกันทั้งองค์ ดูเผินๆ เหมือนพระใหม่แต่หากส่องดูจะพบว่าปรอทมีความแห้งไม่แวววาวเหมือนของใหม่ และควรจะมีรอยปริรานหรือรอยระเบิดจากสนิมชินเงินบริเวณพื้นผิวองค์ด้านหน้า หรือด้านหลัง ซึ่งจะมีทุกองค์ไม่มากก็น้อย ส่วนพระใช้ช้ำ บนพื้นผิวที่ถูกสัมผัสมากๆ ก็จะมีลักษณะแวววาวหม่นๆ ของตะกั่วผสมเงิน จะพบปรอทเล็กน้อยตามซอกองค์พระ มักจะพบรอยปริรานและรอยระเบิดผุจากสนิมตีนกาเสมอ

    2. พระ ชินแก่ตะกั่ว พระชินแก่ตะกั่วมักจะไม่มีรอยปริรานหรือระเบิดของชินให้เห็นเนื้อจากตะกั่ว มีความอ่อนตัวอยู่ แต่จะพบคราบสนิมชินตะกั่วเป็นคราบดำๆ อยู่ตามซอกต่างๆ ขององค์พระ ส่วนบริเวณที่มีการสัมผัสมากจะคล้ายตะกั่ว

    3. พระชินเขียว พระชินเขียวที่มีอายุเก่าแก่จะขึ้นไขคล้ายไข่แมงดาไขจะมีความมันชื้นอยู่ในตัวไม่แห้ง

    4. พระ ตะกั่วสนิมแดง พระเนื้อตะกั่วเมื่ออยู่ในกรุที่มีความร้อนชื้นเป็นเวลาหลายร้อยปีจะเกิด สนิมตะกั่วสีแดงขึ้นและคลุมด้วยคราบไขคล้ายหินปูนอีกชั้นหนึ่งเมื่อล้าง คราบหินปูนออกด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง ก็จะเห็นผิวสนิมแดงที่เป็นธรรมชาติ คือ ปริราน เหมือนใยแมงมุมทั่วๆ ทั้งองค์พระที่เป็นสนิมแดงนั้นๆ

    พระเนื้อดินต้องเคยชินเนื้อพระ

    พระ กรุเนื้อดินนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับพระเนื้อชินแล้ว จะเล่นยากกว่าพระเนื้อชินอยู่อย่างหนึ่งคือ เนื้อพระ เพราะพระเนื้อดินแต่ละกรุจะมีเนื้อหาแตกต่างกันออกไป และถึงแม้จะเป็นกรุเดียวกัน เนื้อเดียวกัน ก็ยังมีหลายกลุ่ม เนื้อหลายสี อันเนื่องมาจากการเผาองค์พระก่อนบรรรจุกรุ

    ดัง นั้นการศึกษาพระเนื้อดินจะต้องศึกษาพระองค์จริงๆ ของกรุนั้นๆ เป็นองค์ทุกครั้งไป การดูพระแท้มากๆ องค์ ของกรุนั้นๆ จะทำให้เพื่อนๆ มีความชำนาญในพระกรุนั้นๆ เองโดยอัตโนมัติ

    อย่าลืม!!

    1. พิมพ์พระ มีความสำคัญ 50 % ทำให้รู้กรุพระ และพระถูกพิมพ์
    2. เนื้อพระ มีความสำคัญ 25 % ทำให้รู้กรุพระ และพระถูกเนื้อ
    3. ความเก่าของพระ มีความสำคัญ 25 % ทำให้มั่นใจว่าพระแท้เก่า

    รวมกันเป็นพระกรุเนื้อดิน แท้ ดูง่าย 100 %
    ข้อมูลทั้งหมดได้คัดลอกมา เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับผู้สนใจและศึกษาสะสมพระเครื่อง มิได้มีเจตนาอื่นใด ขอบพระคุณมากครับ

    ที่มา : 7
     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ชนิดของพระเครื่อง
    1. เนื้อดิน หมายถึง การใช้ดินเหนียวล้วนๆ หรือดินปนทราย หรือผสมผงต่างๆ มากดกับแม่พิมพ์แล้วนำไปเผา จะเกิดเป็นสีต่างๆ ตามสภาพของดินที่มีความควบแน่นเพียงใด ตลอดทั้งการเผาซึ่งมีความร้อนมากน้อยไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดสีแตกต่างกันไปตามสภาพ ประกอบทั้งอายุที่อยู่ในกรุมีสภาพความชื้นต่างกัน คราบราที่ทับถมในองค์พระ เรียกว่า คราบกรุ จึงต่างกันไปด้วย บางทีก็ไม่มีการเผา ซึ่งเรียกว่า ดินดิบ จะเปราะบางกว่าดินเผา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2011
  14. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    2. เนื้อชิน หมายถึง โลหะทุกชนิด อาจเป็นโลหะล้วนๆ หรือโลหะผสมกัน เช่น ตะกั่ว เหล็ก ดีบุก ทองเหลือง ทองแดง เงิน นาก ทอง เป็นต้น นำมาหลอมละลายแล้วหล่อลงในเบ้าหรือกดลงในแบบพิมพ์ ซึ่งทำมาจากดินเหนียว หิน หรือไม้แกะสลักก็ได้ สีขององค์พระจะเป็นไปตามลักษณะของโลหะ และสภาพของกรุที่ฝังอยู่ ซึ่งมีอายุและมีความร้อนชื้นแตกต่างกัน คราบกรุที่มีอายุมากๆ จะสังเกตุได้จากผิวขององค์พระว่า มีคราบราที่ฝังแน่นลึกเข้าไปในเนื้อ บางแห่งจะเห็นการผุกร่อนหรือระเบิดออกมา
     
  15. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    3. เนื้อผง<SMALL> </SMALL>หมายถึง การใช้วัสดุหลายอย่าง เช่น ปูนเปลือกหอย เกษรดอกไม้ ขี้เถ้า ผงอิทธิเจ ข้าวสุก หรือวัสดุอื่นๆ เช่น ตะไครเจดีย์ทราย ผงโลหะ นำมาบดละเอียดแล้วตำโขลกผสมกับ น้ำผึ้ง กล้วยสุก หรือของเหลวที่ใช้เป็นตัวยึดวัสดุได้ดี เช่น กาว น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แล้วนำมากดลงในแบบพิมพ์ไม่ต้องเผา เพียงผึ่งแดดหรือลมให้แห้งก็แข็งแกร่งเหมือนหินทีเดียว ถ้ามีอายุมากๆ จะแลดูหนึกนุ่ม และเกิดคราบรา ที่เรียกว่า คราบกรุ ขึ้นอยู่ทั่วไป
     
  16. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    4. เนื้อว่าน หมายถึง ส่วนต่างๆ ของพืช สมุนไพร อาจเป็นพืชล้วนๆ หรือมีส่วนผสมผงอื่นๆ นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับกาว ยางไม้ ฯลฯ แล้วนำมากดลงในแบบพิมพ์ในขณะที่ยังอ่อนตัวอยู่ หรืออาจใช้วิธีนึ่งเพื่อให้อ่อนตัวก็ได้ เนื้อว่านเมื่อแห้งจะมีลักษณะบางกว่าเนื้ออื่นๆ
    นอกจากนั้นยังมีพระเครื่องที่ใช้เนื้อสองอย่างรวมอยู่ในองค์เดียวกันอีกด้วย เช่น เนื้อว่านหน้าเงิน และเนื้อว่านหน้าทอง คือเอาแผ่นเงินหรือแผ่นทองคำ มาบุเป็นรูปพระพุทธรูป แล้วนำเอาเนื้อว่านมาประกบติดด้านหลังยึดด้วยกาว ยางไม้ หรือวัสดุตามที่จะหาได้
     
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    การบรรจุกรุ
    มีลักษณะไม่เหมือนกัน บางแห่งมีภาชนะใส่ เช่น หม้อ โอ่ง ไห กระปุก เป็นต้น บางแห่งไม่มีภาชนะใส่ แต่จะก่ออิฐเป็นช่องหรือแผ่นหินปิดไว้มิดชิด ถ้าเป็นเจดีย์มักจะอยู่ใต้ฐาน หรือคอระฆังเป็นส่วนมาก ถ้าเป็นโบสถ์ วิหาร มักจะอยู่ในตำแหน่งที่ฝังลูกนิมิตร ใต้ฐานพระประธาน ในองค์พระประธาน หรือระดับตาตกขององค์พระประธาน เป็นต้น บางแห่งอาจฝังอยู่ตามแนวกำแพงหรือซุ้มประตูต่างๆ บางแห่งอาจมีพระบูชาปนอยู่ บางแห่งอาจมีเครื่องประดับหรือของใช้ปนอยู่ด้วย
    ดังนั้น สภาพของพระเครื่องจึงแตกต่างกันไปตามสภาพของวัสดุ ลักษณะของกรุ อายุของการบรรจุ หรือสภาพของดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ จึงเกิด คราบรา ทับถมกันเกาะแน่นอยู่ตามองค์พระ เรียกว่า <BIG>"คราบกรุ"</BIG> อันเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความมีอายุเก่าแก่ได้
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    การพบพระเครื่อง
    พบได้จากโบราณสถานที่ชำรุดปรักหักพังตามกาลเวลา หรือจากการขุดค้นอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งเจตนาและไม่เจตนาก็ตาม เมื่อคนทั่วไปเกิดความศรัทธาหรือค่านิยมมากขึ้น จึงพยายามเสาะแสวงหา เพื่อการสะสมหรือพกติดตัว หรือเพื่อความเป็นศิริมงคลกันมาก จึงเกิดการซื้อขาย แลกเปลี่ยนกันด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง สำหรับพระเครื่องเมืองสุโขทัยนั้น เนื่องจากโบราณสถาน ที่บรรจุพระเครื่องมีเป็นจำนวนมากไม่สามารถที่จะนำมากล่าวถึงอย่างละเอียดได้จนหมดสิ้น จึงขอกล่าวถึงแต่เฉพาะที่รู้จักกันทั่วไป ตามหลักฐานที่ปรากฏจากสถานที่และบุคคลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและค้นคว้าในโอกาสต่อไป
     
  19. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ความรู้ค่ะ
    ก่อนที่เราจะรู้หลักการดูพระเครื่องเบื้องต้นนั้น เราจะต้องเรียนรู้กรรมวิธีในการสร้างพระเครื่องแต่ะละชนิดกันก่อน ถ้าเรารู้ถึงกรรมวิธีในการสร้างพระเครื่อง เราก็จะมองเห็นภาพทันทีทำให้การดูพระเครื่องแต่ละประเภทเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

    พระเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่งที่เกิดจากการผสมผสานของแร่หลัก 2 ชนิด คือ ดีบุก กับตะกั่ว เกิดเป็นโลหะเจือชนิดใหม่ ที่เรียกว่า “เนื้อชิน” หากเรามองลึกลงไปถึงคุณสมบัติของธาตุหลักทั้ง 2 ชนิด คือ

    ดีบุก เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดประเภทหนึ่งในประเทศไทย สามารถแยกหาดีบุกออกจากสิ่งปะปนได้อย่างง่าย ๆ ด้วยวิธีแรงโน้มถ่วง โดยการร่อนแร่ ซึ่งกระทำได้ไม่ยุ่งยาก หากต้องการดีบุกที่บริสุทธิ์มากขึ้น ก็สามารถนำไปย่างเพื่อขจัดซัลไฟด์ หรือธาตุที่แฝงอยู่ในดีบุก และดีบุก เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 231.9 องศา แปรรูปง่าย เกิดโลหะเจือกับโลหะได้หลายชนิด ทำให้คุณสมบัติของโลหะใหม่มีอานุภาพป้องกันการผุกร่อนได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ

    ตะกั่ว เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์รู้จักนำตะกั่วมาใช้ทำประโยชน์ตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล รวมวิธีการถลุงตะกั่วไม่ยุ่งยาก เพียงผ่านขบวนการเผา ตะกั่วเป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 327 องศา มีน้ำหนัก นับเป็นโลหะอ่อนมีแรงตึง หรือ แรงรองรับต่ำ โลหะตะกั่วจึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ แต่ความอ่อนตัวของตะกั่วมีประโยชน์ที่ทำให้โลหะผสมสามารถแปรรูปได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะทำให้เป็นแผ่นบาง ๆ หรือนำโลหะผสมให้สามารถแทรกซอนไปตามความลึกของแม่พิมพ์ก่อให้เกิดลวดลายงดงามตามจินตนาการของช่างได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ

    จากคุณสมบัติของธาตุทั้งสองชนิดดังกล่าว เราจะพบว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมในการนำมาหลอมรวมกันเป็นโลหะใหม่ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำทั้งคู่ สามารถกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีความอ่อนนิ่มที่สามารถจับรายละเอียดแม้เพียงบางเบาเล็กน้อยของแม่พิมพ์ได้ แม้รูปทรงจะมีความบางเรียบแบน ก็สามารถขึ้นรูปได้ ทั้งทนทานต่อความผุกร่อน และมีความนำไฟฟ้าต่ำ ทำให้ปลอดภัยเมื่อนำพกติดตัว

    เนื้อชิน จึงนับเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษลงตัว เหมาะสมที่จะนำมาสร้างพระเครื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยอันชาญฉลาดและลึกล้ำในการสร้างพระเนื้อชิน เพื่อสืบทอดพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ ในรูปแบบของพรแครื่องตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง พระเนื้อชินมี 3 ประเภท คือ :

    1.พระเนื้อชินเงิน คือ พระที่มีส่วนผสมของดีบุกมากกว่าตะกั่ว พระที่พบจะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ เช่น พระหูยาน ลพบุรี, พระนาคปรก กรุวัดปืน ลพบุรี เป็นต้น

    2.พระเนื้อชินสนิมแดง คือ พระที่มีส่วนผสมของตะกั่วมาก พระที่พบจะมีลักษณะคล้ายพระชินเงิน แต่มีสนิมไขแซมตามซอกพระ เช่น พระมเหศวร, พระสุพรรณหลังผาน, พระลีลากำแพงขาว เป็นต้น

    3.พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถือเป็นพระเครื่องประเภทเนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดถึง 90% พระที่พบจึงมีสีแดงของสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็นสีแดง ที่เรียกว่า “แดงลูกหว้า” ตัวอย่างเช่น พระร่วงหลังลายผ้า, พระร่วงหลังรางปืน, พระท่ากระดาน และพระร่วงพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น

    กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมแร่ธาตุสำคัญดังที่กล่าวข้างต้น ข้อสำคัญคือการแกะแม่พิมพ์ให้งดงาม อลังการ ตามจินตนาการของช่าง พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง เพราะแม้ว่า พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำมิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำได้

    พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นที่ครองใจผู้คนมานานนับแต่โบราณความยึดถึศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พระเนื้อชิน ถือเป็น “อมตะพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล”
     
  20. จับตา

    จับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    432
    ค่าพลัง:
    +310
    อนุโมทนาสาธุ คุณครูติงติง ครูผู้อุทิศตน ให้พระพุทธศาสนาอย่างเเท้จริง สาธุๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...