เทคนิคการรวม ธรรม เทพ จักรวาล ครั้งที่ 1

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เดมีดี, 9 กันยายน 2011.

  1. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15

    แหมอาจารย์ก็เป็นเกียรติ์อย่างสูงมากๆครับ ว่าแต่อาจารย์เจอ Miss Moonบ้างไหมครับฝากความคิดถึงไปให้ Miss Moon ด้วยนะครับ มีจันทร์ก็ต้องมีดาวห้อมล้อม อิอิ
     
  2. เดมีดี

    เดมีดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +1,271
    หมดเรื่องเขียนไปหลายวัน หัวมันไม่โล่ง............ผลลับจากการทำงาน

    ในการทำงาน หากเราเอาพระธรรมมาเกี่ยวข้อง เราก็จะไม่กล้าคิด กล้าบวก ต้นทุนก็คือแรงกาย แรงใจ แต่เมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้นจากคนอื่นในกลุ่มซึ่งไม่ใช่เราเลย ความรับผิดชอบมันก็มา เสียทั้งเงินเสียทั้งเวลา แต่ส่วนได้คือ ประสบการณ์อันมีค่า ในการทำงาน และการกล้าที่จะตีราคาความเสี่ยง ในครั้งต่อไป หรือ ไม่ก็เลิกทำ

    การงาน ล้วนได้มองเห็น จริต ของคน ที่มีค่าราคาต่างกัน
    ถ้าเป็นผลประโยชน์ที่ตนจะได้ ก็ไม่ขัดเลยที่จะเสีย แต่ถ้าอันนั้นไม่ใช่ ไม่ชอบ คำพูด ให้กำลังใจ ยังไม่มี ใช่ความนิ่งเงียบ เท่านั้น และ วิสัยอย่างเรา เราก็จ่ายโดยที่ไม่ต้องรออะไร เพราะนั้น คือ ความรับผิดชอบ ของผู้นำ ก็แค่นั้นเอง

    ดังนั้น การจะเป็นผู้นำ หรือ ผู้ตาม ดูได้จากการงาน และ การทุ่มเท ทั้งกำลังกาย กำลังใจ และ สติปัญญา ให้อยู่บนพื้นฐานของผู้ที่คู่ควรกับการมีพระธรรมเป็นเครื่องอยู่ในการดำเนินชีวิต........ถึงบอกได้ว่า..........ดูได้ไม่ยาก.........แต่ก็ยังต้องเดินไปตามทางนั้น ๆ เพื่อพิสูจน์ แต่บางท่านบอก ไม่จำเป็น เราสามารถเปลี่ยนวิถีได้เลย ถ้าเราคิดจะเปลี่ยน

    อย่าเอานิมิตร ความคิด การจินตนาการ มากำหนด ว่าต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้
    ให้ดูที่ความเหมาะสม ดูที่ความถูกต้อง และ ดูที่ความเสียหายน้อยที่สุด เข้าตำรา ถ้าทำแล้วเสีย ก็อยู่นิ่ง ๆ ซะ...........
     
  3. เดมีดี

    เดมีดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +1,271
    ในเนื้อข่าวขณะนี้...........น้ำท่วม...

    ได้ฝึกอะไรท่านบ้างหรือยัง...........หากเหตุการณ์นั้นมาถึง.........

    ปัญหาที่แก้ยากที่สุด น่าจะเป็น คน นี่แหละ ที่ไม่เข้าใจความเป็นไปของ ธรรมชาติ

    ธรรมชาติ ที่เรียกคืนทุกสิ่ง ที่คุณใช้เค้าไป................
     
  4. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    คุณลักษณะที่เหมาะสมของทุก ๆ คน นั่นคือ "เสือ สิงห์ กระทิง แรด"
    [​IMG] เสือ ไม่กินของเสีย กินของที่สะอาด ไม่ฉ้อโกง
    [​IMG] สิงห์ ภาวะความเป็นผู้นำ สง่างาม (จ้าวป่า)
    [​IMG] กระทิง ต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ
    [​IMG] แรด มีความอดทน ไม่ท้อถอย
    สรุปว่า “ต้องกินอย่างเสือ อยู่อย่างสิงห์ สู้อย่างกระทิง อดทนอย่างแรด”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ข้อคิด ธรรมะ
    [​IMG]
    [​IMG] สิ่งไหนที่ไม่ได้คิดมักจะสำเร็จ(เสมอ)
    [​IMG] ปัญหาเรื่องไม่ได้กินนั้นเรื่องเล็ก แต่ไม่ได้ “ฉัน” (กิน) เรื่องใหญ่กว่า
    [​IMG] ใจเราก็เปรียบเหมือน “แอ่งน้ำ” และกิเลส (ความโลภ โกรธ หลง) ก็เปรียบเสมือน “ตอไม้” ภายใต้แอ่งน้ำก็จะมีตอไม้อยู่เสมอ แต่เมื่อใดที่น้ำแห้ง ตอไม้ก็จะผุดขึ้นมา เพราะ ฉะนั้นเราต้องให้แอ่งน้ำนั้นเต็มอยู่เสมอ สุดท้าย “ตอไม้”ก็จะสลายไปเอง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องฝึกฝนจิตใจเรา อย่าให้ตอ(กิเลส)ผุด
    [​IMG] ไม่ มีอะไรที่สบายที่สุด (ทุกอย่างต้องอยู่ในความพอดี) หากเรานั่งอยู่นาน ๆ เราก็มักจะบอกว่า การนอน สบายที่สุด แต่ลองถามคนป่วยที่นอนในโรงพยาบาลดูสิ เขาก็อยากลุกขึ้นนั่ง หรือเดินเล่นเหมือนกัน
    [​IMG] คนในสังคมมี 3 ประเภท
    1. ตาเดียว นั่นคือ มีตาโลก หรือตาธรรม เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาโลกจะมีความโลภ อยากได้ อาฆาต โกรธ รู้เรื่องโลกแต่ไม่รู้เรื่องธรรม หรือรู้เรื่องธรรมอย่างเดียวแต่ไม่เข้าใจโลกก็ดำเนินชีวิตยาก
    2. สองตา มีทั้งตาโลกและตาธรรม คนผู้นี้จะใช้ชีวิตอย่างเข้าใจ และมีศิลปะในการครองชีพ
    3. ตาบอด คนประเภทนี้อันตรายมาก มืดทั้งความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรม
    [​IMG] คน บางคนจะเข้าวัดต่อเมื่อ ไปสะเดาะเคราะห์ ดวงไม่ดี เป็นต้น แต่ก็มีอีกหลายคนไม่เข้าวัดเพราะ ตัดบ่วงไม่ขาด ภาระมากมายไม่สามารถไปวัดได้ ฉลาดกว่าพระเทศน์ เศรษฐกิจไม่อำนวย สังขารไม่อำนวย พระบอกหวยไม่ถูก (หวย = ห –หายนะ, ว-วินาศ, และย – ยับเยิน) และวัดไม่ผูกศรัทธา
     
  6. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    "คาถา" ระงับ "ความโกรธ"

    นั่นก็คือ สูดหายใจยาว ๆ ลึก ๆ ท่องในใจว่า
    “ มีอะไรน่าโกรธ อย่าโทษเขา ต้องโทษที่ใจเราไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ ไม่ว่าจะมาแรง ถ้าใจแข็งเหนือกว่า ชนะมัน”


    ถ้ายังโกรธอีก ให้หายใจยาว ๆ ลึก ๆ ท่องในใจต่ออีกว่า
    “ เขาว่าเรา เราอย่าโกรธ ลงโทษเขา ในเมื่อเรานี้ไม่เป็นเช่นเขาว่า
    หากเราเป็นจริงจัง ดังวาจา เมื่อเขาว่า อย่าโกรธเขา เราเป็นจริง”

    ทุกอย่างให้ดูที่ลมหายใจ
     
  7. เดมีดี

    เดมีดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +1,271
    คุณลักษณะที่เหมาะสมของทุก ๆ คน นั่นคือ "เสือ สิงห์ กระทิง แรด"
    [​IMG] เสือ ไม่กินของเสีย กินของที่สะอาด ไม่ฉ้อโกง
    [​IMG]สิงห์ ภาวะความเป็นผู้นำ สง่างาม (จ้าวป่า)
    [​IMG]กระทิง ต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ
    [​IMG] แรด มีความอดทน ไม่ท้อถอย
    สรุปว่า “ต้องกินอย่างเสือ อยู่อย่างสิงห์ สู้อย่างกระทิง อดทนอย่างแรด”

    จริง ๆ ในธรรมชาติของ สัตว์ จะหาอาหารต่อเมื่อ หิว เท่านั้น และต้องเป็นของสด สด และต้องเกิดจากการล่า ในวิถีธรรมชาติ ที่ผู้ที่อ่อนด้วยกว่า ย่อมมีกำลังน้อยกว่า ถึงได้ตกเป็นเหยื่อ...และนั่นคือ วัฐ ของ การดำรงอยู่แบบ สัตว์

    เมื่อมนุษย์ มีสมองมากกว่าสัตว์ การใช้สมองในทางที่ถูกที่ควร เพื่อการเลี้ยงชีพ ก็คงไม่เกิดการ ฉ่อฉล ฉ้อโกง ลักขโมย หรือการเอาเปรียบและเสียเปรียบ ในที่สุด.......

    การทำงานร่วมกันถ้าไม่มีผลประโยชน์เลย ก็จะเป็นแค่เพียง ประสบการณ์ที่แตกต่างเท่านั้น แต่พอเอาผลประโยชน์มาเป็นเงื่อนไข ก็จะเห็น ข้อคิดและวิธีต่าง ๆ ที่ทำให้ ได้ผลกำไรมากที่สุด ...และ นั่นเอง จึงเป็นที่มาที่ทำให้มนุษย์ เอา ศีลธรรมของตัวเอง ออกมาวัดค่าของอีกฝ่าย.......มันก็เท่านั้นเอง

    และถ้าหาก หลุดเข้าสู่ วิถีของจิตที่บริสุทธิ์ เราก็คงตอบข้อคิดต่าง ๆ ได้ ดีขึ้น ว่าจะเก็บ ความทุกข์ กิเลส หรือ อะไรก็แล้วแต่ที่จะเรียกชื่อในสมมติกัน ว่า จิต จริง ๆ จะเก็บเรื่องแบบนี้ไว้หรือไม่ และ การทิ้งอารมณ์ ทั้งดีและไม่ดี ควรทิ้งอย่างไร....และ นั่นคือ การฝึกในชีวิตประจำวัน นั่นเอง<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. เดมีดี

    เดมีดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +1,271
    เห็นอะไรไหม...............

    เกลียวคลื่น สองเส้น ที่วิ่งพันกัน สลับกันไปมา สู่วิถี อิสระ และ ทะลุทะลวง สรรพสิ่ง

    และถ้าหาก มีพลังอัดจากภายใน มาเสริมอีก ...........สุดยอด ของการฝึก

    รับ รุก สลาย ว่าง ..........ในที่สุด
     
  9. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ลมปราณกับกายทิพย์
    ในกายสังขารของเรานั้น จะมีพลังงานอันเป็นทิพย์อยู่ แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่มีรูปร่างชัดเจน และส่วนที่ไม่มีรูปร่างชัดเจน ส่วนที่มีรูปร่างชัดเจน ก็คือ “กายทิพย์” ซึ่งอาจมีหลายกายทิพย์ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ตามอำนาจบุญกรรมที่ทำสั่งสมมาในแต่ละชาติ แต่ส่วนที่ไม่มีรูปร่างชัดเจน จะเรียกเป็นลมปราณ ในลักษณะต่างๆ กันไป เช่น ลมปราณที่ควบคุมการสืบพันธุ์ เรียกว่า “กุณฑาริณี” ลมปราณที่ควบคุมการสันดาปอาหาร เรียกว่า “เก้าเอี๊ยง” ลมปราณที่แผ่ออกมาจากศีรษะ เรียกว่า “ฉัพพรรณรังสี” ส่วนคำว่า “ออร่า” นั้นเป็นพลังปราณทั่วไปของสิ่งมีชีวิต เป็นคำรวมๆ ไม่ได้แยกส่วนหรือแยกชนิด
    หากจะอุปมาแล้ว กายทิพย์เสมือนถุงบรรจุน้ำ จึงมีรูปร่างที่ชัดเจนแน่นอน ส่วนลมปราณจะไม่มีรูปร่างที่แน่ชัดมากนัก คล้ายอวัยวะภายในร่างกายของกายทิพย์ หรือเป็นเพียงพลังงานที่ไม่มีรูปเลยก็ได้ อุปมาเหมือนน้ำในถุงนั้นเอง เมื่อเอาถุงน้ำใส่ลงในถังแล้ว ก็นับว่ากายทิพย์ หรือจิตวิญญาณนั้นๆ มีกายสังขารอยู่ กายสังขารอุปมาเหมือนถังที่บรรจุถุงน้ำอีกทีนั่นเอง กายทิพย์ที่เหมือนกัน เช่น กายทิพย์แบบพรหม อาจมีอิทธิฤทธิ์ต่างกันได้หากอวัยวะในกายทิพย์ หรือระบบลมปราณแตกต่างกัน เช่น หากกายทิพย์พรหมที่อยู่ในกายสังขารของผู้ฝึกลมปราณธรรมจักร ก็จะมีพลังธรรมจักรเสริมให้กายทิพย์แข็งแรงด้วย ในกรณีผู้ถอดกายทิพย์จากกายสังขารมนุษย์ ไปต่อสู้กับกายทิพย์ที่เป็นเทวดาบนสวรรค์ บางครั้งเทวดาไม่สามารถสู้ได้ทั้งๆ ที่มีกายบารมีเท่ากัน นี่เพราะระบบลมปราณที่เป็นพื้นฐานพลังให้กายทิพย์นั้นๆ แตกต่างกัน และเทวดาไม่มีกายสังขารอาศัยนั่นเอง ระบบลมปราณ มีสองระบบใหญ่ๆ ตามหลักเต๋า คือ ระบบอิมและระบบเอี๊ยง โดยระบบอิมหมายถึงระบบลมปราณแบบดูดจากภายนอกเข้า ส่วนระบบเอี๊ยงหมายถึงระบบลมปราณแบบถ่ายเทจากภายในออกสู่ภายนอก ในกายสังขารของมนุษย์ที่ฝึกลมปราณระบบอิมจะสำเร็จได้กายทิพย์ของเขาจะต้องรองรับระบบอิมด้วย กล่าวคือ กายทิพย์ที่รองรับระบบลมปราณแบบดูดเข้า ก็ต้องเป็นกายทิพย์ที่ดูดพลังเข้าได้เมื่อบำเพ็ญบารมีได้กายอวโลกิเตศวร
    ความสัมพันธ์ของลมปราณและกายทิพย์ ซึ่งในสำนักปฏิบัติสมาธิแบบพราหมณ์ปกติจะมีสองส่วนใหญ่ๆ คือ สมาธิแบบรูปฌาน และอรูปฌาน ในส่วนที่ฝึกรูปฌาน จะเห็นกายทิพย์ซึ่งมีรูปได้ชัด ส่วนในสำนักอรูปฌาน จะมองทะลุรูปกายทิพย์ไปสู่พลังทิพย์อันละเอียดขึ้น ทำให้บางครั้งเห็นแต่แสงสว่างไม่มีรูปร่างชัดเจน จากนั้น จากสีขาวสว่างก็จะกลายเป็นสีใสราวกับประกายเพชร นี่แสดงว่าถึงฌานขั้นที่ห้า ในกลุ่มผู้ฝึกเพ่งดวงกสิณถ้าดวงกสิณเปลี่ยนจากสีขาวสว่างไสวจ้าเป็นสีใสเมื่อไร จะนับ ว่าฌานเข้าสู่ขั้นที่ห้าเลยจากรูปฌานเข้าสู่เขตของอรูปฌานแล้ว ถึงจุดนี้จะเห็นแสงสว่างประกายเพชรได้ ซึ่งเป็นรัศมีกายทิพย์ของผู้ฝึกเอง จะมีหลายสีเลื่อมพรายอยู่ ตามแต่กำลังในการบำเพ็ญได้กี่สี เช่น พระโพธิสัตว์บางองค์บำเพ็ญได้ห้าสีเลื่อมพราย จนดูราวกับประกายรุ้ง แต่หากบำเพ็ญจนครบเจ็ดสีเป็นประกายรุ้งเมื่อไร จะสำเร็จพลังขั้นสูงที่เรียกขานกันในทิเบตว่า “ซกเชน” อันเป็นสีเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญได้ ที่เรียกว่า “ฉัพพรรณรังสีทั้งเจ็ด” นั่นเอง นี่คือ พลังที่ไร้รูป หรืออรูป ที่แผ่จากกายทิพย์ ลมปราณธรรมจักร

    เป็นลมปราณที่มีทั้งฝ่ายหยินและหยาง กล่าวคือ มีทั้งที่ดูดซับพลังและถ่ายเทพลังออก แต่มีลักษณะพิเศษคือ เป็นลมปราณมีรูปร่างชัดเจน เป็นรูปคล้ายธรรมจักร ธรรมจักรที่ดูดซับพลังจะมีสีน้ำเงินและหดเข้าในตัว ส่วนธรรมจักรที่ถ่ายเทพลังออกจะมีสีส้มและแผ่ขยายออกนอกตัว เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ สีของธรรมจักรทั้งสองแบบจะสว่างขึ้นจนกลายเป็นสีขาวไม่แตกต่างกัน มีคุณสมบัติทั้งดูดพลังและถ่ายเทพลังได้พร้อมกัน โดยจะพัฒนาเป็นลำดับๆ ไป จากสีส้ม จะเป็นสีเหลือง จากสีเหลืองจะเป็นสีทอง จากสีทองจะขาวสว่างไสว เมื่อธรรมจักรขึ้นสีทองเรียกว่า “จักรทอง” เมื่อธรรมจักรขึ้นสีขาวเรียก “จักรเงิน” ก็ได้ นอกจากนี้ ธรรมจักรยังสามารถฝึกผสานกับธาตุทั้งสี่ ทำให้เกิดเป็น จักรดิน, จักรน้ำ, จักรลม, จักรไฟ ได้ด้วย พลังปราณธรรมจักรนี้อานุภาพรุนแรงมากสอดคล้องกับจักรวาล

     
  10. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    จิตทิพย์์:
    เอกภพและจักรวาล ท้องฟ้า ความมืด ความว่าง ล้วนเป็นที่มาของเรา


    เป็นต้นตระกูลแห่งคลื่นความถี่ คือผู้กำหนดต้นแบบของคลื่นจิต คลื่นสมอง และคลื่นจิตวิญญาณ ที่ถูกห่อหุ้มด้วยร่างกายทำให้เรามีองค์ประกอบบริบูรณ์ในความเป็นมนุษย์

    แต่เดิมเมื่อเรายังเป็น"พลังงาน"อยู่บนท้องฟ้านั้น คลื่นกระแสความถี่ทุกระดับ ล้วนบริสุทธิ์ ไร้ข้อมูล ไร้เนื้อหา ไร้การบันทึกรหัส มีคุณสมบัติเป็นกลาง ไร้ดี-ไร้ชั่ว ไร้ชื่อ ไร้สังกัด ไร้พรมแดน...

    ต่อเมื่อเริ่มจุติเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในวินาทีแรก ของการปฎิสนธิ คลื่นไร้สังกัดนี้เริ่มจุติร่วมกับปัจจัยของการเกิด พัฒนาตนเองหมุนย้อนกลับ นับหนึ่งใหม่ทันที นี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางโคจรเข้าสู่ความเป็น"คน" กลายเป็นที่มาแห่งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรูปแบบหนึ่งขึ้นมา

    ร่างกายเราได้รับโครงสร้างโดยปฎิกริยาของสนามแม่เหล็กบรรจบกับลมสุริยะบนท้องฟ้า ทำให้สัดส่วนร่างกายเราได้ 1:7 ความกว้างต่อความสูง หรือขนาดฝ่าเท้า 1คูณ 7 เท่ากับความสูงของคนเรา

    เราได้รับอิทธิพลจากดวงจันทร์ ด้วยแรงดึงดูดต่อระบบหมุนเวียนโลหิต และเหนือขึ้นไปเราได้รับอิทธิพลของดาวนพเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะจักวาลโดยเป็นปัจจัยกำหนดสภาวะรูปแบบของจิตใจ และวงโคจรของดวงดวงต่างๆ เป็นผู้กำหนดรหัสเซลล์ประจำตัว DNA ของแต่ละคน ตามวัน เดือน ปีเกิด เพราะ "ดาวต่างๆทำมุมองศา" ทำให้เกิดคุณสมบัติของสนามแม่เหล็กเฉพาะตัวขึ้น

    จากนั้นเรายังได้รับอิทธิพลจาดดวงอาทิตย์ในรูปของกระแสแม่เหล็กจากจุดดับบนดวงอาทิตย์ประจำปีเกิด ที่กำหนดคลื่นความถี่ลงในธาตุ ในลักษณะของจุดเด่น พรสวรรค์ต่างๆ ตามลักษณะราศี ที่โหราศาสตร์เรียกกล่าว

    พลังที่ละเอียดเหนือสุริยะจักรวาลขึ้นไปเป็นพลัง รังสีคอสมิก ซึ่งละเอียดมากที่สุดเป็นรังสีที่กำหนดระบบจุดพลังในร่างกาย เป็นผู้วางโครงร่างของวงจรประจุแม่เหล็กไฟฟ้า ในอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับไต กระเพาะ หัวใจ กล้ามเนื้อต่างๆ (สัมพันธ์กับจักระทั้ง 7 ในร่างกาย)

    สรรพสิ่งบนท้องฟ้า ต่างล้วนแฝงจุติรวมอยู่ในกาย ฉะนั้น เมื่อเวลาขากลับ คลื่นกระแสจิตวิญญาณควรจะกลับไปในสภาวะบริสุทธิ์อีกครั้งเช่นกัน แหล่งพลังงานบนท้องฟ้าที่กระจายลงมาสู่มนุษย์บนโลก เราเรียกว่าเป็นพลัง "หยิน" หรือสภาวะไร้รูป พลัง หยิน-หยาง ทำงานเป็นคู่และสมดุลกันเสมอ
    (ปรัญญาสำคัญของจีน รูปร่างเป็นพลัง "หยาง" พลังหล่อเลี้ยงเป็น "หยิน")
     
  11. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    จิตเป็นตัวรับสัญญาณข้อมูลของจักรวาล

    พลังงานในรูปแบบของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่กระจายไปทั่วจักรวาล เป็นองค์ความรู้รวมที่บอกถึงความเป็นมาของจักรวาลทั้งหมด เช่น เหตุแห่งการกำหนดเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงของระบบจักรวาลในอดีตที่ผ่านมา หรือสามารถใช้วิเคราะห์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

    ที่ตามหลักของพระพุทธศาสนาที่กล่าวไว้ว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยเหตุ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมาลอยๆ จักรวาลและสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกก็เช่นเดียวกัน ล้วนมีเหตุแห่งการเกิดขึ้น ดำเนินไป และท้ายสุดก็สูญสลายตามวัฏจักร

    ข้อมูลแห่งจักรวาลนี้ มนุษย์สามารถรับได้โดยการนั่งสมาธิ ให้ได้ถึงระดับหนึ่ง เพื่อให้จิตว่างจากความคิดต่างๆ จิตนิ่งรวมเป็นจุดเดียว เพื่อเป็นการสร้างสนามพลังบางส่วนในการรรับสัญญาณข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ ของจักรวาลเข้ามาในสมอง

    จะรู้ได้อย่างไรว่าจิตของเราเริ่มรับข้อมูลได้ สิ่งที่สังเกตได้ไม่ยากคือ ในช่วงที่จิตเราเริ่มเข้าสู่สมาธิเล็กน้อย บริเวณหน้ากลางผากหรือตามใบหน้าจะมีการกระตุกเบาๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นลักษณะที่บอกได้ว่าจิตของเราเริ่มมีการรับสัญญาณได้บ้างแล้ว(บางคนจะเป็นอาการอื่นแทนหรือบางคนอาจไม่เกิดขึ้นเลย) เพราะใช้กำลังของสมาธิเพียงเล็กน้อย ก็สามารถรับได้แล้ว แต่ทว่าถึงรับมาได้ก็ไม่สามารถตีความหมายของข้อมูลที่รับมาได้ จำเป็นต้องใช้พลังของสมาธิที่มากขึ้นเพื่อใช้ในการตีความหมายข้อมูลที่ได้รับมาว่าข้อมูลที่รับมาได้นั้นคืออะไร

    ถ้าจะถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลเข้ามาในสมองของเราแล้ว คำตอบก็คือ เมื่อใดที่เราสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆที่สงสัยได้ โดยปกติที่เราไม่เคยรู้คำตอบของมันมาก่อนเลย แต่กลับรู้คำตอบได้ด้วยตนเองจากการนั่งสมาธินั้นคืออีกจุดสังเกตง่ายๆ เช่น ความเข้าใจในเรื่องของธรรมะต่างๆ ที่ได้คำตอบมาจากการนั่งสมาธิ

    ส่วนอีกข้อมูลระดับหนึ่งเป็นข้อมูลที่มีองค์ความรู้ละเอียดมากขึ้น คือเป็นข้อมูลบางอย่างที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อนเลย แต่กลับรับรู้และเข้าใจความเป็นไปของสิ่งต่างๆ ได้แบบฉับพลันหรือทยอยเข้ามา เช่น รู้ว่าภพแต่ละภพเกิดขึ้นได้อย่างไรตามหลักของวิทยาศาสตร์ และจะสามารถเดินทางไปยังมิติอื่นๆได้อย่างไร การเข้าใจในเรื่องของมิติกาลเวลา การเกิดโลกและจักรวาล มิติจักรวาลคู่ขนาน เหตุแห่งการกำเนิดพลังในรูปแบบต่างๆ วัฏจักรแห่งจักรวาล ฯลฯ นั่นก็คือความรู้แจ้งแห่งสัจจะธรรม ซึ่งแต่ละคนสามารถรับได้มากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิ และปัญญาที่สั่งสมมา

    รวมถึงคลื่นของดาวเทียมและอปกรณ์สื่อสารทั้งหลาย
     
  12. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    จิตเกิดและดับ

    จิตนั้นมีลักษณะรู้อารมณ์ที่มากระทบ
    อารมณ์ใดเกิดขึ้นการรู้อารมณ์นั้นเรียกว่าจิต
    เช่นรูปกระทบจักขุปสาทเกิดการเห็น การเห็นนั้นคือจิต
    แล้วจิตหรือการเห็นนั้นก็ดับไป

    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็มิได้มีสภาพตั้งทรงอยู่
    หากแต่มีการเกิดดับตามนามรูปอยู่ทุกขณะ

    และก็มิใช่เป็นจิตดวงเดียวกัน กล่าวคือ เมื่ออารมณ์มากระทบ
    จิตดวงแรกก็เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นแล้วก็ดับไป
    และในการดับไปนี้ ยังมีอำนาจที่ช่วยอุดหนุนเป็นปัจจัยให้ธรรมที่เป็นพวกเดียวกัน
    อันได้แก่จิตดวงที่ ๒ให้เกิดขึ้นรับช่วงสืบต่อไป
    แล้วจิตดวงที่ ๓ ก็เกิดขึ้นรับช่วงสืบต่อไป และดับลงเช่นเดียวกัน
    จิตดวงที่ ๔ ก็เกิดขึ้นสืบต่อไป เป็นอยู่อย่างนี้ไปหมดวิถีของจิต

    เหมือนอย่างน้ำนิ่งที่อยู่ในสระ เมื่อเอาก้อนหินโยนลงไปกลางสระ
    คลื่นลูกแรกเกิดขึ้นแล้วจางหายไป คลื่นลูกที่ ๒ ก็เกิดสืบเนื่องต่อ
    และเมื่อคลื่นจางหายไป คลื่นลูกที่ ๓ ก็เกิดขึ้นสืบเนื่องต่อไปอีก
    เป็นดังนี้จนกว่าจะเลือนหายไปหมด

    การเกิดดับของจิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยากที่จะหาอะไรมาเปรียบเทียบได้
    แม้กระแสไฟฟ้าที่เกิดดับอยู่ในหลอดไฟ อันมีความรวดเร็วอย่างไม่อาจมองเห็น
    ความเกิดดับด้วยสายตานั้น ก็ยังมีความเร็วห่างไกลจากความเกิดดับของจิตอยู่มาก

    ขณะที่อารมณ์มากระทบอันเป็นปัจจุบันนั้น จิตมีการเกิดดับ ๑๗ ครั้ง
    จึงเป็นเหตุให้บุคคลไม่น้อยเข้าใจผิดว่าจิตมีอยู่เพียงดวงเดียว
    ปรากฏอยู่ทรงอยู่ไม่สูญสลาย
    ทั้งนี้เพราะสันตติ คือความเกิดดับของจิตเกิดดับสืบเนื่องติดต่อกันเร็วมาก
    พระคัมภีร์มหาปัฏฐานกล่าวว่า จิตดวงแรกเกิดขึ้นและดับไปนั้นเป็นอนันตรปัจจัย (เหตุ)
    แก่จิตดวงที่ ๒ ให้เกิดขึ้นและจิตดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจยุบ(ผล) นั้น
    ในขณเดียวกันก็เป็นอนันตรปัจจัย(เหตุ) ให้เกิดจิตดวงที่ ๓ ต่อไปอีก
    สืบต่อกันไปเช่นนี้ โดยไม่มีเวลาหยุดหย่อนหรือเว้นว่างเลย
     
  13. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า
    วิญญาณํอนิจฺจํ วิญญาณ คือจิตไม่เที่ยงเกิดดับอยู่เสมอ

    จิตเป็นนามธรรม มีเกิดดับเป็นสันตติอยู่เมื่อยังเป็นสังขตธรรม
    ไม่ใช่ Soul หรือดวงวิญญาณอย่างที่บุคคลโดยมากเข้าใจ
    ว่า เป็นอัตตาตัวตนทรงสภาพอยู่ชั่วนิรันดรไม่เปลี่ยนแปลง
    นอกจากมีการเกิดดับเป็นสันตติแล้ว จิตแต่ละดวงยังมีสภาวะรู้อารมณ์แต่ละขณะอารมณ์เดียว
    จะรู้มากกว่าอารมณ์หนึ่งในขณะจิตหนึ่งหาได้ไม่

    เช่นการนึกถึงเด็กที่โรงเรียน อารมณ์เด็กกระทบจิตก็รู้เฉพาะเด็ก
    การที่เข้าใจว่าจิตนึกถึงเด็กและนึกถึงโรงเรียนด้วยในคราวเดียวพร้อมกัน
    และเป็นจิตดวงเดียวกันนั้นหาใช่ความจริงไม่ ขอให้พิจารณาดูง่ายๆ
    จะเห็นว่า สัญญาความจำเด็กคนนั้นอย่างหนึ่ง
    สัญญาความจำโรงเรียนนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง
    ลักษณะของอารมณ์ต่างกันอยู่ จะซ้อนอยู่เป็นสองอยู่ในขณะจิตเดียวกันไม่ได้

    เหตุที่ทำให้เข้าใจว่า จิตดวงเดียวนึกคิดในอารมณ์ทั้งสองได้ในคราวเดียวกันนั้น
    เป็นเพราะจิต มีสันตติเกิดดับสืบต่อกันเร็วมากจึงทำให้เห็นไปว่าเป็นจิตดวงเดียว
    ซึ่งความจริงนั้นในอารมณ์ที่นึกถึงโรงเรียนและเด็กดังกล่าวแล้ว ตามสภาวะมีจิตดวงอื่นๆ เกิดดับคั่นอยู่อีกมาก
     
  14. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ประเภทของพลังจิต


    พลังจิตที่มักได้ยินบ่อยๆ

    Telepathy อ่านความคิดและส่งความคิดถึงคนอื่นได้ เช่นการอ่านใจและการเห็นคำพูดในความคิดของผู้อื่น และอาจมีการส่งคำพูดจากความคิดของตนเข้าไปในสมองผู้อื่นโดยตรง

    Psychometry อ่านความทรงจำคนอื่นได้ หรือความทรงจำจากสิ่งของและสิ่งมีชีวิตอื่น โดยจะเห็นชัดจากความทรงจำที่ฝังแน่น มักอ่านจากการ แตะ สัมผัส เพ่งความรู้สึก สิ่งที่อ่านได้อาจมีทั้งภาพ เสียง หรือแรงของจิตสัมผัส

    Clairvoyance ตาทิพย์ การมองเห็นเหนือประสาททั้งห้า เช่นการมองเห็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ที่ไม่เคยไปหรือไม่รู้จักมาก่อน เห็นสิ่งที่คนปกติไม่เห็นเช่นสิ่งของหรือสถานที่ที่ถูกซ่อนไว้อย่างมิดชิดหรืออยู่ไกลมากๆ

    Clairaudience หูทิพย์ ได้ยินในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ยิน การได้ยินเสียงหรือคำเตือนในสมอง หรือการได้ยินจากภายนอก สามารถแยกเสียงต่างๆออกได้อย่างชัดเจน ได้ยินเสียงที่ไกลหรือเบามากๆ

    Claiesentience,Intuition การรับรู้เหนือประสาททั้งห้าอย่างชัดเจน เช่นถ้าไปยืนอยู่ในที่ที่เป็นสนามรบเก่าจะรู้สึกอึดอัด หรือการรับรู้แบบเห็นเป็นสีในจิตใจ

    Empathy การสัมผัสได้ถึงความต้องการกระทำของผู้อื่น เช่นการเข้าใจจิตใจของผู้อื่นหรือการรับรู้ถึงจิตสังหาร

    Precognition การเห็นอนาคตที่ควรจะเป็นหรืออาจเกิดขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจเกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ มีตั้งแต่เบาบางถึงแจ่มชัด เช่นการมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดเรื่องไม่ดี

    Psychokinesis,Telekinesis การยกหรือเคลื่อนย้ายวัตถุหรือทำสิ่งต่างๆโดยปราศจากเงื่อนไขทางฟิสิกส์ เช่นการงอช้อน การยกสิ่งของลอยในอากาศ

    Leviation การลอยตัวในอากาศได้โดยปราศจากการช่วยเหลือทางฟิสิกส์

    Teleportation การเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือตนเองจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยการแทนที่โดยฉับพลันเช่นการวาร์ป หรือการสลับสิ่งของโดยไม่แตะต้องหรือเคลื่อนย้ายด้วยวิธีทางฟิสิกส์

    Time Traveller ผู้มีความสามารถเกี่ยวกับเวลา นักท่องเวลา มีความสามารถแตกต่างกันออกไป เช่นย้อนเวลา สามารถหนีจากปัจจุบันหรืออนาคตเพื่อไปแก้ไขเรื่องในอดีตได้ ลบเวลา สามารถลบช่วงเวลาส่วนเกินที่ไม่ต้องการออกได้ นักข้ามเวลาสามารถเดินทางไปมาระหว่างมิติคู่ขนานของอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้ หยุดเวลา สามารถเดินทางข้ามมิติของเวลาที่หยุดนิ่งได้ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดผลเสียต่อผู้ใช้ เช่นการหลงอยู่ในมิติเวลา หรือส่งผลต่ออายุขัยและร่างกายของผู้ใช้

    Invisibility พลังในการล่องหนหายตัว สามารถหักเหแสงบิดเบือนการสะท้อนการมองเห็นหรือลบตัวตนและจิตของตนออกไปจากการสัมผัสของผู้อื่น
     
  15. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    เข้ามาทักทาย ท่านสิงโตที่ ๑ และที่ ๒
    เริ่มเข้ามาอ่านแล้ว คงต้องใช้เวลาหน่อย เพราะงานเยอะทีเดียว
    ท่านทั้งสองไม่ธรรมดาเลย
     
  16. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ไม่เจอ Miss Moon เลยค่ะ

    ดาวห้อมล้อมมีอยู่พอควร
    เพราะเหตุที่ทำ มีผลให้เกิดเช่นนั้น
     
  17. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอบคุณอาจารย์ที่ให้เกียรติ์ ผมกับคุณเดมีดีก็คนเดินดินธรรมดา ธรรมดาครับแต่อาจจะมีอัตตาสูงไปหน่อยในการหาข้อมูลมาเสนอมิบังอาจสอน ขอรับ
    ฝนซา ฟ้าใส
    เก่าไป ใหม่มา
    ตะวัน จันทรา
    เยือนหล้า หมุนเวียน

    ...
    ยามทุกข์ ถามหา
    ชะตา ผันเปลี่ยน
    อดทน พากเพียร
    แก้ไข ไม่ท้อ

    เหนื่อยนัก พักหน่อย
    แล้วค่อย สู้ต่อ
    ความหวัง ยังรอ
    รอยยิ้ม ยังมี

    คนจริง หยิ่งทนง
    มั่นคง ศักดิ์ศรี
    ศรัทธา ความดี
    ไม่หนี ความจริง!??
     
  18. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    สติปัฏฐาน ๔ คือ
    ๑. ในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและ
    ภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
    เสียได้ในโลก
    ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอก
    เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้
    ในโลก

    ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย
    นอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความ-
    *เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสเสียได้ในโลก

    ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน
    ธรรมภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ
    อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
     
  19. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    จิตตานุปัสสนานิเทส

    [เห็นจิตในจิตภายใน]
    พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
    เมื่อจิ
    ตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีราคะ หรือเมื่อ
    จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ

    เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ
    ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ

    เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ
    ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ

    เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิต
    ของเราฟุ้งซ่าน

    เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นมหัคคตะ หรือเมื่อจิตไม่
    เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ

    เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือเมื่อจิตเป็น
    อนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นอนุตตระ

    เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า
    จิตของเราไม่ตั้งมั่น

    เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น
    ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น

    ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ
    นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต
    เข้าไปในจิตภายนอก
     
  20. J_Shaman

    J_Shaman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +15
    [เห็นจิตในจิตภายนอก]
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ หรือเมื่อ
    จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ

    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ หรือเมื่อ
    จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ

    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหดหู่ หรือเมื่อจิต
    ของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน

    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ
    หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ

    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ
    หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ

    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น หรือเมื่อจิต
    ของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น

    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น หรือ
    เมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น

    ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ
    นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต
    เข้าไปในจิตทั้งภายในและภายนอก

    [เห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก]

    [๔๔๗] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่
    เป็นอย่างไร

    ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจาก-
    *ราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

    เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า
    จิตปราศจากโทสะ

    เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า
    จิตปราศจากโมหะ

    เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน

    เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ เมื่อจิตไม่เป็นมหัคคตะ
    ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ

    เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ เมื่อจิตเป็นอนุตตระ ก็
    รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ

    เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น

    เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า
    จิตยังไม่หลุดพ้น

    ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภาย
    นอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
    เสียได้ในโลก

    [๔๔๘] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทสว่า การ
    พิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
    ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
    ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
    ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์
    ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
    ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
    ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ

    บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่

    บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน

    การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม
    ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความ
    ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือ
    วิริยะ สัมมาวายามะ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร

    บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
    ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
    ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
    ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์
    ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
    ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
    ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

    บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน

    สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่
    เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ

    บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่า โลก เป็น
    ไฉน
    จิตนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก

    อภิชฌา เป็นไฉน
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด
    นี้เรียกว่า อภิชฌา

    โทมนัส เป็นไฉน
    ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น
    ทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่
    เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส

    อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
    เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไป
    อย่างราบคาบ ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศ
    ไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

    จิตตานุปัสสนานิเทส จบ

    สั้นๆง่ายๆใยตีความกันวุ่นวายหนอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...