เชิญบูชา...รูปหล่อหลวงตาดำ สัมผัสอภินิหารพระอภิญญาในดง แดนนิพพานเหนือโลก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย หนุ่มเมืองแกลง, 2 ตุลาคม 2014.

  1. sayank

    sayank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +2,368
    แจ้งโอนเงินครับ

    โอนเงินทำบุญแล้วครับ จำนวน 1080.25 บาท ตามหลักฐานที่แนบ
    ที่อยู่ จะแจ้งให้ทราบทาง pm ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Nikom15

    Nikom15 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +875
    แจ้งพี่หมูน้อย ผมโอนเงินแล้วครับ จำนวน 3100 บาท โอนเมื่อวันที่ 29-ตค.57 16.15 น.ตามหลักฐานที่แนบครับ
    ที่อยู่ แจ้งให้ทราบทาง pm ครับ ของพี่ moo noi
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12 (2).JPG
      12 (2).JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.4 KB
      เปิดดู:
      100
  3. เยาวราช

    เยาวราช เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,313
    ค่าพลัง:
    +2,490
    แจ้งการโอนเงินครับพี่moo noi วันนี้โอนให้เรียบร้อยครับ ที่อยู่แจ้งทางPM ให้พี่moo noi แล้วครับ อนุโมทนาสาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0003.JPG
      IMG_0003.JPG
      ขนาดไฟล์:
      224.5 KB
      เปิดดู:
      51
  4. auan24

    auan24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2012
    โพสต์:
    339
    ค่าพลัง:
    +943
    แจ้งการโอนเงิน จำนวน 3080บาท รายละเอียดและที่อยู่ทางpm ค่ะ
     
  5. Pj_2518

    Pj_2518 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +108
    แจ้งการโอนเงินค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S__49463342.jpg
      S__49463342.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104.9 KB
      เปิดดู:
      70
  6. Pj_2518

    Pj_2518 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +108
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ
     
  7. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่ร่วมทำบุญกับวัดทอง ตลิ่งชันด้วยนะครับ
    ทางวัดได้กำหนดจะฉลองกุฏิ "อภิชิโตภิกขุ" ในวันที่ 6 เมษายน 2558
    ซึ่งวันที่ 6 เมษายน ตรงกับวันเกิดของท่านอาจารย์ชาญณรงค์ ศิริสมบัติ
    กุฏิที่กำลังสร้างอยู่นั้น งานรุดหน้าไปมากแล้วจากการร่วมบุญของพวกเรา
     
  8. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    บทความดีๆที่คัดมา 1ใน100ส่วน ในหมวดการทำสมาธิ จากหนังสือที่กำลังจัดพิมพ์เป็นธรรมทาน
    ................................................................................................
    สาเหตุที่ฝึกสมาธิวิปัสสนา ได้ผลช้าและวิธีแก้ไข

    สาเหตุสำคัญที่ทำให้ฝึกสมาธิหรือวิปัสสนาได้ผลช้า ก็คือ “ความสงสัย ไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ” ว่าทำถูกหรือผิด เป็นสิ่งขัดขวางความสำเร็จและทำให้ไม่กล้าทำจริงจัง เมื่อไม่รู้ว่าถูกหรือผิด ก็เป็นการฝึกเดาเอาและจะลังเลไม่กล้าทำเต็มที่ พบเห็นส่วนมากจะบอกให้ ภาวนาว่า “พุท” เวลาหายใจเข้า และภาวนาว่า “โธ” เมื่อหายใจออก หรือให้ถาวนาอย่างอื่น ไม่ให้คิดอะไรซึ่งทำได้ยาก เพราะจิตไม่มีตัวตนและไม่รู้ว่าจิตอยู่ที่ใดจึงบังคับยาก จิตกับลมหายใจเป็นคู่มิตรติดกัน ร่างกายไม่มีลมหายใจจิตก็ไม่อยู่ด้วย เมื่อลมหายใจดีสม่ำเสมอจิตก็ดีด้วย เมื่อลมเสียจิตก็เสียด้วย การหายใจถูกต้องจึงทำให้จิตเกิดสมาธิง่าย จึงควรตรวจว่าการหายใจถูกหรือผิด ถ้าผิดตรงไหน ต้องแก้ให้ถูกต้องจึงจะได้ผลเร็ว

    การเริ่มฝึกสมาธิครั้งแรก ให้หา “ที่ตั้งจิต” เสียก่อน โดยหายใจแรง ๆหลายครั้ง สังเกตดูว่าลมหายใจกระทบที่ใดมาก หรือที่ซึ่งมีความไวในการรู้สึกว่าลมมากระทบได้ดีกว่าที่อื่น ในการฝึกสมาธิให้ใช้ตรงที่กระทบได้ดีนี้เป็น “ที่ตั้งจิต” คือรวมสติมารับรู้ลมหายใจตรงที่ตั้งจิตนั้น คนที่จมูกงุ้มมาก จะรู้สึกว่าลมหายใจไปกระทบได้ดีกระทบได้ไวที่ปลายจมูก ก็ให้ใช้ปลายจมูกเป็นที่ตั้งจิต คนริมฝีปากเชิดมากก็จะรู้สึกว่า ลมกระทบได้ดีกระทบได้ไวที่ริมฝีปากก็ให้ใช้ริมฝีปากเป็นที่ตั้งจิต คนทั่วๆ ไปจะรู้สึกไวตรงรูจมูกทั้งสองไปพบกัน นั่นคือตรงรูดั้งจมูก คนทั่วๆไปจึงใช้ตรงรูดั้งจมูกเป็นที่ตั้งจิต คือเป็นที่รวมสติคอยรู้ลมหายใจ แล้วเริ่มฝึกสมาธิโดยวิธีหายใจสม่ำเสมอให้ถูกต้อง

    การหายใจที่ถูกต้องนั้นคือ หายใจเบา-ยาว-สม่ำเสมอต่อเนื่องกันไป เมื่อหายใจเข้าสุดให้หยุดได้นิดหนึ่ง เมื่อหายใจออกสุดก็หยุดได้นิดหนึ่ง ถ้าหยุดนานในตอนปลายลมเข้าและออก จะทำให้อึดอัดไม่ปลอดโปร่ง ทำให้มึนศีรษะ จัดลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกให้มีความยาวเท่า ๆกัน คือสั้นหรือยาวกว่ากันไม่มาก การหายใจจะให้เบาเพียงใด- ยาวเพียงใด ผู้ฝึกจะต้องทดลองหายใจเบาขึ้นบ้างยาวขึ้นบ้าง หายใจสั้นลงบ้าง หนักขึ้นบ้าง ตั้งใจสังเกตว่าหายใจในลักษณะไหนสบายที่สุด เหมาะที่สุดก็ให้หายใจในลักษณะนั้นเรื่อยไป จำการหายใจที่สบายที่เหมาะนี้ให้แม่นยำ ซึ่งถือว่าเป็นการหายใจที่ถูกต้อง ในการฝึกครั้งต่อไปก็ใช้วิธีหายใจตามที่ถูกต้องนี้ โดยไม่ต้องทดลองเหมือนครั้งแรกอีก เพียงแต่จัดเล็กน้อยให้มีความสบายปลอดโปร่ง แล้วหายใจลักษณะที่ถูกที่ดีนี้ต่อเนื่องกันไป

    ต่อไปก็พยายามรักษาการหายใจที่ถูกที่สบายนี้ไว้ตลอดไป ซึ่งจะทำให้สบายและเพลินไม่คิดเรื่องอื่น หรือลืมเรื่องอื่น เพราะความสบายความเพลินเป็นเหตุ ต่อไปจิตซึ่งเป็นธรรมชาติรู้ จะจัดให้การหายใจแผ่วเบาและยาวขึ้นพอเหมาะ ทำให้สบายมากขึ้นผู้ฝึกมีหน้าที่สำคัญ คือผ่อนตามคล้อยตามธรรม ชาตินี้ สมาธิก็จะดีขึ้นตามลำดับ อย่าฝืนและอย่าตั้งใจเปลี่ยนแปลงลมหายใจเอาเอง เพราะการฝึกและการตั้งใจจัดลมที่สบายอยู่แล้วเอาเองอีกเป็นการทำที่ผิด เป็นการอยากที่จะให้ได้ผลดีเร็วขึ้น จึงเป็นกิเลสตัณหาทำให้สมาธิถอยและจิตจะไม่สงบ เมื่อจิตถอยจากสมาธิหรือจิตไปคิดเรื่องอื่น ก็จำเป็นต้องจัดให้การหายใจถูกต้องใหม่ดังนี้เรื่อยไป

    การหายใจที่ไม่ถูกต้องส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นการหายใจออก คือหายใจออกมานิดเดียวแล้วหยุดชะงัก เพียงนิดหนึ่งจึงทำให้ไม่รู้ว่ามีการหายใจหยุดชะงัก ที่ถูกต้องลมหายใจต้องเดินต่อเนื่องไป ไม่มีการหยุดชะงัก และมักจะผิดตรงปลายลมเข้าปลายลมออก ผิดที่หยุดนาน ที่ถูกจะหยุดได้นิดเดียว วิธีตรวจว่าลมหายใจหยุดชะงักหรือหยุดนานดังกล่าว ใช้วิธีดูที่ท้องที่หน้าอก ถ้ามีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก หรือตอนปลายลมก็หยุดเดี๋ยวเดียวก็นับว่าทำถูก ถ้าจะตรวจด้วยตนเองก็ใช้วิธีดูเงาที่กระจก

    ทำความเข้าใจให้แน่นอนว่า การฝึกสมาธิวิปัสสนานั้นเป็นบุญ เป็นการทำความดี ผลย่อมดีแน่นอน ไม่เร่งรีบให้ดีเร็วๆ รักษาความสบายไว้เป็นหลักสำคัญ ปล่อยวางลืมเรื่องอื่นทั้งหมด มีอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายในการเริ่มฝึก คืออัดเทปมีเสียวภาวนาว่า “พุท-โธ” ให้มีจังหวะหายใจเข้านาทีละ ๑๒ ครั้ง ประมาณ ๔ นาที แล้วอัดจังหวะหายใจเข้านาทีละ ๑๑ ครั้ง (นับเฉพาะหายใจเข้า) และอัดจังหวะหายใจเข้านาทีละ ๑๐ ครั้ง, นาที่ละ ๘ ครั้ง อีกจังหวะละ ๔ นาที ให้ผู้รับการฝึกทำสมาธิโดยหายใจตามเทป พร้อมกับภาวนา พุท-โธ ไปตามเทป ตั้งใจสังเกตว่า จังหวะใดมีเหมาะกับตน คือมีความสบายปลอดโปร่งมากที่สุดก็ให้ทำสมาธิในจังหวะนั้นเรื่อยไป เมื่อจับการหายใจที่ดีนี้ได้แม่นยำแล้วก็ไม่ต้องใช้เทป เมื่อลมและจิตละเอียดได้ส่วนกัน (อาจารย์ในดงใช้คำว่า “จิตกับลมสมส่วนกัน”) ลมหายใจจะแผ่วเบาลงเอง ต่อไปก็มีหน้าที่ผ่อนตาม คล้อยตามดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

    ข้อน่าสังเกตทั้งการฝึกสมาธิและวิปัสสนา จำเป็นต้องนำเอาธรรมหมวดอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันมาร่วมขยายความให้แจ่มแจ้ง เพราะธรรมแต่ละหมวดกล่าวไว้เพียงสั้น ๆ เนื่องด้วยมีรายละเอียดกล่าวไว้ในหมวดอื่นแล้ว ตัวอย่างเช่นใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” ขั้นที่ ๑ (จตุกะที่ ๑) ให้ทำการกำหนดลมหายใจ (คือ อานาปานสติ) มีประเด็นสำคัญ ๔ ข้อ คือ
    ๑. ลมเข้ายาวก็รู้ ลมหายใจออกยาวก็ให้รู้ชัด หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้นก็ให้รู้ชัด
    ๒. ตั้งสติรู้อยู่เฉพาะลมหายใจ
    ๓. ระงับลมหายใจให้น้อยลงเบาลงจนถึงที่สุด (ระงับกายสังขาร)
    ๔. เป็นการเกิดและดับในกาย ถ้าเราหายใจไปตามธรรมดาเรื่อยๆ คอยรู้ว่าสั้นหรือยาว ก็ไม่เกิดสมาธิแน่ ต้องใช้ความรู้จากธรรมข้ออื่นคือ การเลือกเฟ้นลมที่สบาย (ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์) และหาที่ตั้งจิตที่เหมาะเสียก่อนตามที่กล่าวข้างต้น ในเรื่องการระงับลมหายใจนั้น ก็คือรักษาลมสบายไว้ได้ก็จะเกิดความสบายมากขึ้น จนเกิด “ปีติ” คือความอิ่มกาย อิ่มใจ ลมหายใจก็แผ่วเบาจนไม่รู้สึกว่าหายใจ
     
  9. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    วิธีฝึกสมาธิวิปัสสนาจากง่ายไปหายาก
    ข้อที่ ๑.
    พระอาจารย์เสาร์ ( อาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ) ได้สอนวิธีฝึกสมาธิวิปัสสนาแบบเริ่มต้นหรือแบบง่ายๆคือ ให้ภาวนาคำว่า “พุทโธ” เท่านั้น คือว่าในใจให้ต่อเนื่องกันไปมากๆ โดยมีสติกำกับให้มั่นคงแน่วแน่ไม่ให้เผลอไปคิดเรื่องอื่นๆ เมื่อจิตเผลอไปคิดเรื่องอื่นก็รีบหวนกลับมาตั้งใจภาวนา “พุทโธ พุทโธ....” อีกดังนี้เรื่อยๆ เมื่อทำมากมากเข้าก็จะเกิดสมาธิที่ดีขึ้นได้ คือ สามารถภาวนา “พุทโธ” ได้ต่อเนื่องโดยไม่มีความคิดแลบไปเรื่องอื่น ใจมั่นคงแน่วแน่อยู่กับ “พุทโธ” เป็นเวลา ๑ นาทีบ้างแล้วต่อไปก็ยืดเวลาไปได้เป็น ๒ นาที ๕ นาที จนมีความชำนาญจิตแน่วแน่อยู่นานเพียงเรื่องเดียวคือ พุทโธ นั่นคือจิตเป็นสมาธิที่ดีมาก ครั้งแรกก็ฝึกภาวนาพุทโธ เพียง ๕ นาที ๑๐ นาที วันละ ๓ ครั้ง แล้วต่อไปก็เพิ่มเวลามากขึ้น จนถึงครั้งละ ๑ ชั่วโมง วันละ ๓ ครั้ง ต่อไปเมื่อชำนาญขึ้นก็ภาวนา “พุทโธ” ไปเรื่อยๆในโอกาสที่ว่าง ในขณะเข้าส้วมขณะอาบน้ำ ขณะกินข้าว ขณะเดินเล่นนั่งเล่น ขณะรดต้นไม้ดายหญ้า ขณะถูบ้าน ขณะนอนพัก ฯลฯ ก็ล้วนใช้เวลานั้นภาวนาพุทโธได้ทั้งนั้น จึงไม่น่าจะมีปัญหาว่าไม่มีเวลาฝึกจิต

    อนึ่ง เมื่อจิตมีเรื่องราวมากระทบหรือมีคนทำให้โกรธเคือง มีเรื่องทำให้กลุ้มใจเสียใจ มีเรื่องขบคิดวุ่นวาย ก็พยายามระงับใจข่มใจพร้อมกับภาวนาพุทโธ เอาใจมาจดจ่ออยู่กับพุทโธ พุทโธ พุทโธ นี่ก็เป็นวิธีฝึกสมาธิ และช่วยระงับความโกรธ ความเสียใจความวุ่นวายนั้นได้ และควรจะถือว่าเหตุการณ์เหล่านั้น เรื่องราวเหล่านั้นเป็นประโยชน์เป็นแบบฝึกหัดของจริงที่เราจะได้ฝึกและตรวจสอบว่า สมาธิเราดีขึ้นหรือลดลง จิตใจเราเข้มแข็งขึ้นหรือไม่ เรื่องราวอย่างเดียวกันทำให้เราโกรธฉุนกึกขึ้นอย่างแรง ครั้งหลังที่แก้ด้วยการภาวนาพุทโธ ความโกรธไม่พุ่งขึ้นแรงและระงับความโกรธได้เร็วขึ้น ก็เป็นอันแน่ว่าสมาธิเราดีขึ้นแล้ว ความกลัวความเสียใจความกลุ้มใจนั้น เมื่อมีเรื่องมากระทบลดน้อยลง ระงับให้บรรเทาเบาลงหรือหายได้เร็วขึ้น ก็เชื่อว่าเราฝึกจิตได้ดีขึ้นมากแล้ว เป็นการฝึกจิตให้มี “อุเบกขา” วางเฉยเป็นกลางสบายๆ พุทโธ แปลว่า ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และพุทโธยังเป็นวิธีฝึกจิตที่เรียกว่า “พุทธานุสสติ” ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่ท่านสละราชสมบัติมาเป็นนักบวช ไม่มีทรัพย์สมบัติ เดินเท้าเปล่าศึกษาค้นคว้าธรรมะ แล้วยังทรงมีเมตตากรุณาเที่ยงสั่งสอนไปในหัวเมืองต่างๆ

    ขั้นที่ ๒ การพิจารณาลมหายใจ
    การสร้างปัญญาไปพร้อมๆกับภาวนา พุทโธในขั้นที่ ๑ หรือนั่นคือฝึกวิปัสสนาขั้นง่ายๆ ควบคู่ไปกับการภาวนาพุทโธ ซึ่งทำให้จิตสงบให้หยุดคิดเรื่องอื่น วิธีนี้อาศัยการพิจารณานั่นเอง การพิจารณาในขั้นต้นนี้ก็คือการพิจารณาลมหายใจ และการปรับลมหายใจให้สบาย

    การฝึกสมาธิวิปัสสนานั้นก็เพื่อมุ่งหมายจะให้มีความสุขความสบาย จิตใจที่สบายปลอดโปร่งจึงเป็นการวัดว่าการฝึกนั้นถูกต้อง ฉะนั้นจะต้องเอาใจใส่ เอาใจจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจพิจารณาดูว่าลมหายใจนั้นสบายหรือเปล่า แล้วลองจัดหรือปรับลมหายใจให้ยาวขึ้นบ้าง สั้นลงบ้างหายใจออกยาวขึ้นบ้างสั้นลงบ้าง หายใจเข้ายาวขึ้นบ้างสั้นลงบ้าง พร้อมกับพิจารณาดูว่าหายใจแบบไหนสบายที่สุด เมื่อได้ลมหายใจที่สบายที่สุดแล้ว ก็จำการหายใจลักษณะนั้นไว้ให้แม่นยำ และหายใจในลักษณะนั้นไว้เสมอต่อเนื่องกันไปนานๆ พร้อมกับภาวนา “พุทโธ” ไว้ด้วย

    ข้อสำคัญที่สุดก็คือหายใจในลักษณะที่สบายที่สบายที่สุดไว้ ส่วนการภาวนาพุทโธนั้น ในขั้นนี้จะภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆแบบสบายๆ หรือจะภาวนาคำว่า “พุท” ยาวๆ ขณะหายใจเข้าและภาวนาคำว่า “โธ” ยาวๆ ขณะหายใจออกก็ได้ ดูว่าอย่างไหนสบายก็ทำอย่างนั้น บางทีลืมภาวนา ก็ให้หายใจลักษณะที่สบาย ทำความรู้สึกหรือมีสติรู้ว่า เราหายใจแบบสบายๆอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลานั่งเวลายืนเวลาเดิน หรือเวลานอน ขณะเข้าส้วมขณะอาบน้ำ ขณะทำงาน ขณะกินอาหาร ฟังเพลงอ่านหนังสือ ขณะนั่งรถ หรือขณะลงเรือก็ฝึกจิตไปด้วยได้ คือมีสติรู้การหายใจคุมให้หายใจลักษณะสบายอย่างเดียวไปพร้อมๆกับการทำงานก็ได้ โอกาสใดจะเพิ่มการภาวนาไปด้วยได้ ก็ภาวนาไปเรื่อย หรือโอกาสใดจะภาวนาไปอย่างเดียว ทำงานหรือทำกิจอย่างอื่นไปด้วยก็ได้ ถ้าเหมาะที่จะภาวนาไปด้วยกำหนดรู้ว่า การหายใจสบายไปด้วยพร้อมๆกัน ก็ทำไปพร้อมๆกัน

    การฝึกดังกล่าวนี้ทำได้เรื่อยๆไปไม่ว่าเวลาใด ทำได้มากยิ่งดี ตอนใดเผลอลืมภาวนาก็รีบภาวนาอีก ทำความรู้สึกที่ลมหายใจอีกดังนี้เรื่อยไป หรือจะทำวันละ ๓ ครั้ง ครั้งละ ๑๐ นาที ก็ได้ทำเพิ่มขึ้นให้มาก ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีข้อแก้ตัวว่าไม่มีเวลาฝึก เพราะฝึกครั้งละ ๑๐ นาที วันละ ๓ ครั้ง ทุกวันไม่นานก็จะเห็นผล การฝึกดังกล่าวนี้เป็นการฝึกให้มีสติ หรือจะเรียกว่าฝึกให้มี “สติสัมปชัญญะ” ประจำตัวอยู่เรื่อย ไม่ปล่อยให้จิตเลื่อนลอยคิดโน่นคิดนี่ เราลองหยุดคิดตามดูจิตสักพักหนึ่ง จะเห็นว่าจิตเราชอบคิดเรื่องนี้บ้าง เรื่องนั้นบ้าง บางทีก็ตั้งใจคิดบางทีก็คิดขึ้นมาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งๆ ที่อยากจะลืมคิดเรื่องนั้นมันก็ไม่ยอมลืม การคิดโน่นคิดนี่ ห่วงกังวลบ้างเรื่อยเปื่อยไปดังนี้ ทำให้เสียกำลัง(พลังในกาย) ทำให้อ่อนเพลียมึนศีรษะได้ จึงคอยแก้ด้วยการมีสติรู้ลมหายใจ แต่งลมให้สบายรักษาลมที่สบายไว้ภาวนาพุทโธไว้เรื่อยๆ

    ทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นการเพิ่มพลังภายในทั้งพลังกายและพลังจิต นอกจากฝึกให้มีสติแล้วยังทำให้ปัญญาดีเพราะพลังจิตดีขึ้นนั้นเอง ลมหายใจเดินเข้าออกอยู่เสมอก็ช่วยเพิ่มกำลังทางกาย และจิตที่จดจ่อมีสติรู้เรื่องลมหายใจ และพุทโธก็อยู่เป็นสมาธิเบื้องต้นๆ เป็นการเพิ่มกำลังทางจิต ถ้าเราไม่มีสติคุม ปล่อยไปตามเรื่อง การหายใจก็จะเบาหรี่ลงมากไปบ้าง หยุดหายใจลงหน่อยหนึ่งบ้าง หายใจแรงเกินไปบ้าง ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับอากาศไปหล่อเลี้ยงโดยสม่ำเสมอ

    สมัยก่อนพระพุทธศาสนา พวกนักบวชและฤาษีก็ฝึกจิตได้ผลถึงเหาะได้ หายตัวได้ แต่ไม่ได้เรียกไม่ได้พูดว่า ฝึกสมาธิวิปัสสนา เขาพูดว่า ฝึกการหายใจ มีตำราเรียกว่า ตำราว่าด้วยการหายใจ ผู้ไม่ใช่นักบวชคนธรรมดาก็ฝึกกันได้มีหลายคน ในปัจจุบันเข้าใจว่าการฝึกสมาธิวิปัสสนาเป็นเรื่องยากเป็นเรื่องของนักบวช หรือเป็นเรื่องจะไปนิพพาน ความจริงแล้วการฝึกสมาธิวิปัสสนา ก็คือการฝึกจิตฝึกควบคุมจิตให้สงบ ให้มีกำลัง ให้เกิดปัญญาละเอียดอ่อนลึกซึ้ง ซึ่งใช้ประโยชน์ในทางโลก คือใช้ประโยชน์ในการเรียน การทำงาน ใช้ช่วยความจำ ช่วยรักษาโรค ช่วยให้มีปัญญาดีขึ้น และเพื่อประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย ส่วนประโยชน์ในทางธรรม ก็เป็นการช่วยให้มีสุขภาพทางจิตดี ลดความโกรธ ความพยาบาท ความโลภ ลดความทะเยอทะยานจนเกินพอดี ลดความหลงความเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ หรือสิ่งที่ให้โทษ เพิ่มความขยันหมั่นเพียรและความคิด ปัญญาที่ดีขึ้นดังนี้เป็นต้น

    การฝึกจิตให้สงบให้มีกำลัง เราจะบังคับจิตฝึกจิตให้สงบให้หยุดคิดเอาดื้อๆก็ยาก เพราะจิตไม่มีตัวตนที่จะควบคุมผูกมัดไว้ได้ แต่จิตมีสัมพันธ์กับลมหายใจ ไม่มีลมหายใจจิตก็ออกจากร่างกายคือตายไป ลมหายใจละเอียดอ่อนสบายๆ จิตก็สบายสงบไปด้วย จึงฝึกควบคุมจิต โดยวิธีควบคุมลมหายใจแทน เมื่อควบคุมลมหายใจได้ถูกต้อง จิตก็สงบและมีกำลังมากขึ้นตามลำดับ

    การฝึกจิตจะง่ายหรือยากอยู่ที่ผลที่เราประสงค์ ถ้าเราจะเอาผลสูงสุด เช่นจะให้ได้ถึงนิพพาน จะให้มีปัญญาดีเลิศ จะให้หายตัวได้เหาะได้ ดังนี้ก็ยาก แต่จะให้ใช้ประโยชน์เพียงให้มีความสบาย กลุ้มใจก็ระงับได้ดีขึ้นเร็วขึ้น ใช้ประโยชน์ในการเรียน การทำงาน การอาชีพให้ดีกว่าคนธรรมดา หรือดีกว่าที่เราทำได้อยู่เดิม รักษาโรคต่างๆด้วยพลังจิตก็ได้ ซึ่งเหล่านี้ก็เรียนง่าย ใช้เวลาสั้นๆ เช่นเดียว กับการหาเงินจะเอาเงินแสนเงินล้าน ก็ทำยากจะเอาเพียง ๑๐ บาท ๑๐๐ บาท ก็ทำได้ไม่ยาก มีเรื่องโกรธ เรื่องเสียใจก็ภาวนา “พุทโธ” ไว้ปวดเจ็บหรือกลัวก็ภาวนาไว้
     
  10. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    ขั้นที่ ๓ พิจารณากาย

    ในการฝึกสมาธิวิปัสสนา ถ้าไม่ก้าวหน้าดีขึ้น จิตดื้อรั้นชอบคิดโน่นคิดนี่ หรือเรียกว่าจิตฟุ้งซ่านไม่ยอมสงบได้นาน ก็ต้องใช้การพิจารณาประกอบกับการภาวนาพุทโธ และการรักษาลมสบายไว้ด้วย เมื่อเราปรับแต่งลมสบายได้ชำนาญก็จัดลมหายใจที่สบายได้เร็วหรือจัดลมสบายได้ทันที รักษาลมสบายไว้ให้ต่อเนื่องพร้อมกับภาวนาพุทโธ และพิจารณาร่างกายของเราไปด้วยเพื่อเป็นการผูกพันจิตไม่ให้มีโอกาสคิดไปต่างๆนานา ช่วยให้จิตสงบสบายลงได้ ร่างกายมนุษย์เรียกตามภาษาธรรมะว่า “รูป” ซึ่งกินความกว้าง “รูป หมายถึงทุกสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา”

    รูปจึงเป็นเครื่องดึงดูดที่สำคัญที่สุด ทำให้จิตหลงใหลชอบใจ ติดใจที่จิตใจเราคิดไปต่างๆ นานานั้น ก็คิดไปในเรื่องรูปทั้งนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณา เรื่องรูปให้แตกฉานแจ่มแจ้งจิตจึงจะสงบเป็นสมาธิขั้นสูงขึ้นได้โดยลำดับ การพิจารณาเรื่องรูปก็เริ่มต้นด้วย พิจารณาร่างกายเราก่อน พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของไม่งาม ไม่น่ารักเป็นของไม่เที่ยง คือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตลอดเวลาไม่มีการหยุดยั้ง วิธีพิจารณาให้ได้ผลดีนั้นมีอยู่หลายวิธี ซึ่งอาจจะใช้วิธีเดียว หรือหลายวิธีประกอบกันก็เลือกให้เหมาะกับจิตของตน วิธีใดได้ผลทำให้จิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน ก็ยึดถือเอาวิธีนั้นมาพิจารณา จะยกตัวอย่างวิธีที่สำคัญซึ่งควรใช้เป็นหลักมากล่าวคือ

    ๑.พิจารณาให้เห็นว่าร่างกายเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ไม่สะอาด ไม่น่ารัก เพื่อให้เกิดการสลดใจหยุดการทะเยอทะยานฟุ้งซ่าน เมื่อใจเป็นกลางแล้วจึงทำสมาธิต่อ พิจารณาดูอุจจาระที่ถ่ายออกมาเป็นของสกปรกเหม็น ที่ออกมาแล้วนั้นนึกภาพดูว่าอุจจาระที่น่าเกลียดเหม็นเน่า เช่นนั้นยังอยู่ในท้องเราอีก ๒ เท่าหรือ ๓ เท่า เป็นถังเก็บอุจจาระหรือส้วม ปัสสาวะที่แสนเหม็นก็ยังอยู่เต็มในกระเพาะปัสสาวะเป็นถังส้วมเช่นกัน เหงื่อที่ออกมาเหม็นนั้นก็มีของเน่าของตายออกมาด้วย เป็นขี้ไคล ขี้เกลือซึ่งยังตกค้างอยู่ตามท่อ ตามรูผิวหนังอีกมากเต็มไปหมดทั่วร่างกาย ( มากกว่า๕ ล้านรู ทางการแพทย์ประมาณขนหรือขุมขนทั่วร่างกายประมาณ ๕ ล้านรู ) ลำไส้ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอดก็เป็นทางเดินของอุจจาระของปัสสาวะ และท่อโลหิตเน่าที่จับคาบอยู่เกรอะกรังน่ารังเกียจ ท่านจึงกล่าวในพระไตรปิฎกว่าร่างกายเต็มไปด้วยหลุมมูตคูต หรือจะดูเนื้อดูเครื่องในหมู ซึ่งอาบชุ่มไปด้วยเลือด เหม็นคาวจัดเปรียบเทียบกับกายเราด้วยก็ได้

    ๒.พิจารณาร่างกายให้เห็นว่าเป็นเพียงธาตุ ๔ มาประชุมหรือผสมกันเป็นกลุ่มอยู่ชั่วคราว และมีการสลายตัวพลัดพรากกันออกจากร่ายกายตลอดเวลา ไม่มีการหยุดยั้งทั้งกลางวันกลางคืน ที่จริงในพระไตรปิฎกเขียนมาก่อนเรียกมาก่อนว่า “ธาตุ” เป็นการจัดหมวดพวกที่มีสภาพหรือลักษณะคล้ายกัน (ธาตุในภาษาวิทยาศาสตร์มาตั้งมาเรียกกันภายหลังว่า เป็นของแท้ ธาตุแท้แล้วก็ผิด ยังรู้ไม่จบว่ามีทั้งสิ้นกี่ธาตุแน่ บางธาตุมาพบอีกว่าเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุอื่นได้อีก จึงหาที่จบไม่ได้) ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ...รวม ๒๐ในกายเรา เป็นพวกธาตุดิน ส่วนน้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำมูก น้ำเยี่ยว รวม ๑๒ อย่างเรียกว่า ธาตุน้ำ สำหรับธาตุลมก็มีในกายเรา ๖ คือลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องล่าง ลมในกระเพาะลำไส้ ลมในช่องท้อง ลมทั่วร่างกาย และลมหายใจเข้าออก ส่วนธาตุไฟ มีในร่างกายเรา ๔ ชนิด คือไฟที่ทำให้ร่างกายอุ่น ไฟที่ทำให้เกิดความเร่าร้อน กระวนกระวาย ไฟที่ช่วยย่อยอาหาร และไฟที่เผาให้ร่างกายแก่คร่ำคร่า ร่างกายคนก็หาใช่อื่น เป็นเพียงธาตุทั้ง ๔ มาประชุมกัน หรือผสมกันอยู่แล้วมันก็แตกสลาย พลัดพรากหนีจากกันไปตลอดวันตลอดคืน

    ธาตุทั้ง ๔ ก็ล้วนเป็นของไม่เที่ยงไม่แน่นอน กลับกลอกเปลี่ยนแปลงไปมาได้ต่างๆ ข้าวน้ำกินลงไปก็กลายเป็นเลือด เป็นเนื้อหนัง เป็นกระดูก เป็นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นเหงื่อไคลได้ ธาตุน้ำใส่จานไว้ ๕ วัน ๑๐ วัน ก็ระเหยเป็นธาตุลมไปในอากาศหมด ธาตุลมในอากาศจับกลุ่มแน่นเป็นธาตุดินคือลูกเห็บและเป็นธาตุน้ำ คือน้ำฝนตกลงมา เมื่อมาพิจารณาเห็นกายเป็นเพียงธาตุ ๔ และธาตุ ๔ นั้นก็กลับกลอกเปลี่ยนแปลงได้ต่าง ๆ ธาตุทั้ง ๔ อย่างต่างก็เปลี่ยนแปลงระเหยผุเปื่อยอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดยั้งแล้ว กายเราประกอบด้วยธาตุ ๔ จะเป็นแก่นสารจะเป็นของมั่นคงเป็นตัวตนได้ไฉนหนอ

    ๓.พิจารณาร่างกายให้เห็นว่า เป็นสิ่งที่แตกทำลายไหว เคลื่อน ตายหรือดับและพลัดพรากจากเราไปตลอดเวลา ไม่มีการหยุดนิ่งไม่เป็นแก่นสารอย่างที่เราหลงติดและคิดนึกเอาเอง กล่าวคือทุกส่วนในร่างกายแยกย่อยแบบวิทยาศาสตร์ เขาว่าประกอบด้วยเซลล์มีชีวิตเล็กมาก จนมองตาเปล่าไม่เห็นต้องดูด้วยกล้องขยายหลายเท่าจึงเห็น ตัวเล็กๆนี้เป็นสิ่งมีชีวิต จึงต้องกินอาหารคือเลือดที่ไหลเวียนไปทุกจุดในร่างกาย ต้องหายใจซึ่งใช้อากาศที่เราหายใจเข้าออกหรือธาตุลมที่แล่นไปทั่วร่างกาย มีการตายอยู่เรื่อยๆ เซลล์บางชนิดอายุเพียง ๑ วันก็ตาย บางชนิดไม่ถึงวันก็ตาย อาหารที่กินลงไปก็ช่วยสร้างเซลล์ขึ้นใหม่เรื่อยๆ ส่วนที่ตายก็ตายไปเรื่อยๆ เมื่อของตายของเสียของเน่า ร่างกายก็มีการขับถ่ายออกไป โดยมีธาตุลมพัดพาออกเป็นรูปต่างๆ เช่นเหงื่อ ขี้ไคล อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก น้ำเสลด ฯลฯ รูขุมขน รูผิวหนังขยายดูจะพรุนเต็มไปหมดทั่วร่างกาย ล้วนเป็นช่องทางออกของสิ่งที่ตายที่เสีย ที่เน่าเหม็นซึ่งถูกขับถ่ายออกทิ้งตลอดเวลา ช่องทางใหญ่ ๆมี ๙ ช่องคือช่องหู ช่องจมูก ช่องตา ช่องปาก ช่องทวารหนัก ช่วงทวารเบา ล้วนเป็นช่องขับของเสียของเน่าของตายออกทั้งนั้น ที่จริงทางพระพุทธศาสนาก็ค้นพบเรื่องเซลล์นี้มาก่อนเป็นเวลานาน แต่เรียกชื่อว่า “ตัวชีวิต” แรกเกิดมีเชื้อชายผสมไข่ของหญิงเป็นตัวชีวิต ท่านเทียบขนาดไว้ว่ามีขนาดเท่ากับเอาขนเม่นจุ่มลงในน้ำมัน แล้วสลัดออก ๗ ครั้ง น้ำมันที่เหลือติดปลายขนเม่นนั่นแหละมีขนาดเท่าตัวชีวิต เมื่อมีอาหาร และความอบอุ่น พอเหมาะก็แตกตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนจับกลุ่มเป็นรูปยาวขึ้น แตกปุ่มเป็นตาเป็นแขน เป็นขา เป็นศีรษะ เป็นคน ซึ่งในพระไตรปิฎกบรรยายละเอียด ถึงการเจริญเติบโตมีลักษณะอย่างไร ทุก ๗ วัน ว่าเป็นแรกลักษณะอย่างไร ๗ วันต่อๆไปมีลักษณะอย่างไร ส่วนตำราแพทย์เขาบรรยายลักษณะไว้เพียงเป็นเดือนๆ ว่าเดือนแรก เป็นอย่างไร เดือนต่อไป เป็นอย่างไร

    ตัวชีวิตนี้เล็กมากจนดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น จึงมีอายุสั้นมาก บางตัวเพียงวันเดียวก็ตาย ทั้งร่างกายของเรามีตัวชีวิตมากมายจนนับไม่ถ้วน แม้เพียงขนในร่างกายทางวิทยาการสมัยใหม่นับว่ามีประมาณ ๕ ล้าน ตัวชีวิต ทั้งร่างกายของเราจึงมากมายจนนับไม่ถ้วน ดังนั้นเมื่ออายุสั้นนิดเดียว จึงมีการตายตลอดเวลา ไม่มีการหยุดยั้งคือ ตายทุกประเดี๋ยวเดียวก็ตายมากตัว ซึ่งภาษาทางพระเรียกว่า “ดับ” คือการตาย การละลาย แตกทำลายนั่นแหละตายอยู่ทุกขณะจิต ทีละมากๆทั่วร่างกาย หรือชั่วแว๊บเดียวก็ตายมากมายต่อๆ กันไปดังนี้ ไม่มีเวลาหยุดยั้งเลย ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งชนิดของการตายไว้ ๓ ชนิดคือ

    ๑.ตายเด็ดขาด (สมุจเฉทมรณะ) ได้แก่กาลกิริยาของพระอรหันต์ พูดง่ายๆ คือการตายของพระอรหันต์ ตายแล้วไม่เกิดอีก หรือไม่กลับมามีการตายอีก
    ๒.ตายโดย สมมติ (สัมมติมรณะ) ได้แก่ การตายของคนทั่วๆ ไป ไม่ตายแท้ ตายแล้วต้องมีการเกิดอีกตายอีกต่อๆ ไป
    ๓.ตายทุกขณะจิต(ขณิกมรณะ) ได้แก่ การตาย การแตกทำลายสลายตัว พลัดพรากทุกขณะจิต คือตายอยู่เรื่อยไปไม่หยุดยั้ง ได้แก่การตายของตัวชีวิต ในทุกส่วนของร่างกาย เราตายอยู่ไม่หยุดหย่อนตามที่กล่าวมาแล้ว และยังหมายถึงเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างๆในร่างกายที่เปลี่ยนอยู่เรื่อยๆไม่หยุดยั้งค่อยเปลี่ยนจากรูปเด็ก เป็นผู้ใหญ่เรื่อยๆ ทีละน้อยตลอดเวลาลมหายใจก็เข้าออกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

    ส่วนภายนอกที่เห็นได้ง่าย เช่น ผม ขน เล็บ มีการเปลี่ยนแปลง และตายอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการหยุด ผมค่อยๆ ยาวอยู่เรื่อย ๆโกนผมวันนี้รุ่งขึ้นก็ยาวมามากพอควร ขณะที่ยาวออก ส่วนที่ตายก็เลื่อนออกมาเปลือกนอกและตอนปลายเหมือนกับต้นไม้ที่เริ่มตาย เห็นชัดที่เปลือกและที่กิ่งก้านตอนยอด ส่วนตายที่ค่อยๆ หลุดก็กลายเป็นผงเป็นขี้หัว เส้นผมที่มีส่วนตายมากก็หลุดร่วงออกมาทั้งเส้น เล็บก็ไม่มีการหยุดเปลี่ยนแปลงยาวไปเรื่อยทีละน้อยและตายไปเรื่อยๆ ตัวชีวิตที่อัดแน่นเป็นเล็บก็ตายได้ไม่เจ็บ ส่วนโคนเล็บตัวชีวิตเป็นๆมีมาก จึงมีประสาทความรู้สึกเจ็บ

    การตายหรือเรียกว่าการ “ดับ” ที่ต่อเนื่องไม่หยุดยั้งแม้แต่น้อย และยังแยกสบายพลัดพรากออกไปเรื่อยๆ นี่แหละเป็นความไม่เที่ยง การพิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นเพียงธาตุ ๔ หรือการพิจารณาให้เห็นการตาย การพลัดพรากจากไปของทุกส่วนในร่างกายไม่หยุดยั้งแม้แต่เดี๋ยวเดียวนี้ พิจารณาผิวเผินก็เป็นการรู้ ซึ่งพอช่วยส่งเสริมให้สมาธิดีขึ้นบ้าง ลดความโกรธความหลงไปได้บ้าง จะให้ได้ผลดีก็ต้องพิจารณาขณะจิตเริ่มสงบดีแล้ว จึงจะเกิดทั้งความรู้และการเห็นด้วยจิต การเห็นจริงด้วยจิตทำให้เกิดความซาบซึ้งตรึงแน่นอยู่ในจิตได้นาน การพิจารณาจึงช่วยให้จิตสงบเป็นสมาธิ และสมาธิก็มีกำลัง ช่วยให้การพิจารณาเห็นชัดแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น พระอาจารย์จึงให้พิจารณาและทำจิตให้สงบสลับกันไป ไม่ให้พิจารณาอย่างเดียว หรือทำจิตให้เป็นสมาธิอย่างเดียว

    การเห็นความไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงของกาย เห็นความพลัดพรากของส่วนต่างๆในกาย เมื่อเห็นด้วยจิตแจ่มชัดขึ้น ก็จะรู้ตามความเป็นจริงว่า กายเป็นของไม่เที่ยง ไม่มีความยั่งยืน ไม่มีแก่นสาร มีการไหวเคลื่อนอยู่ทั่วไป เพราะทุกตัวชีวิตเล็กๆ เป็นไปตามธรรมชาติ ที่ต้องการมีการกินการเคลื่อนไหว การหายใจฯ โลหิตก็ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย เวียนเข้าหัวใจ หัวใจฉีดไปเลี้ยงทุกจุดในร่างกาย ปอด ตัว หัวใจ กระเพาะไต หรือลำไส้น้ำ อาหารก็เคลื่อนไหว ทำงานเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็เกิดการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย ผันแปรกลับกลอกดูง่ายๆ จากอาหารกลายเป็นของละเอียด กลายเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ กลายเป็นกำลังกาย กลายเป็นน้ำกามที่มีเชื้อชีวิต และเป็นไปได้ต่างๆและก็ล้วนเป็นของตายสิ้นดับสิ้น กายเต็มไปด้วยหลุมของตาย ของเน่ามีของเน่าของเสียไหลออกทุกเมื่อ ตลอดเวลา กายจึงไม่สะอาดน่ารังเกียจ

    ในการพิจารณานั้นทั้งในตำราในพระไตรปิฎก หรือในการสอนมักจะให้พิจารณาให้เห็นการตาย (ดับ) และการเกิด แต่การเกิดเป็นเรื่องเห็นยากกว่าในทางปฏิบัติ ท่านผู้รู้จึงเริ่มต้น พิจารณาเห็นการตายก่อน เมื่อเห็นการตาย การดับทุกขณะจิตดีแล้ว ก็ช่วยให้เกิดสมาธิ พอที่จะเห็นการเกิดได้เอง เหตุผลในการที่ต้องพิจารณากายก็เพื่อต้องการให้จิตละทิ้งกายออกมาอยู่เป็นอิสระ ไม่พันพันยึดติดอยู่ที่กาย เมื่อจิตเป็นอิสระก็เกิดความแจ่มใส ไม่พัวพันยึดติดอยู่ที่กายและเกิดปัญญารู้เห็นได้ลึกซึ้งตามความเป็นจริง เพราะจิตเป็นธรรมชาติรู้อยู่แล้ว จิตที่ละทิ้งกายออกมาอยู่เป็นอิสระ พูดในภาษาธรรมะท่านว่า “ก้าวล่วงรูป” หรือ “รูปไม่มี” รูปไม่มีก็คือมีแต่จิตเป็นอิสระ อยู่โดดเดี่ยว ไม่ปรากฏว่ามีร่างกาย ครั้นจะดูกาย จิตดวงอิสระนั้นก็มองเห็นกายอยู่ตามลำพัง ไม่มีจิตรับรู้อยู่ประจำตัว (เห็นด้วยจิต)
     
  11. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    บทสรุปของการเริ่มฝึกสมาธิ

    พยายามน้อมจิตมาในทางที่ดีที่สงบ ปล่อยวางเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้จิตใจของเราปลอดโปร่งราบเรียบ จะใช้วิธีสวดมนต์หรือไหว้พระก่อน หรือจะแผ่เมตตาจิตด้วย หรือจะจุดธูปบูชาท่านผู้มีพระคุณก่อน อย่างใดอย่างหนึ่งก็แล้วแต่โอกาส ข้อสำคัญให้มีการทำจิตสงบเพียงครู่เดียวเป็นอย่างน้อย ต่อไปตั้งความสำนึกรู้อยู่ที่กึ่งกลางดั้งจมูก ตรงที่รูจมูกทั้งสองข้างมารวมกัน ในระหว่างที่หายใจเข้าให้ภาวนา “พุท” ในระหว่างหายใจออกให้ภาวนาว่า “โธ” ลองเปลี่ยนลมหายใจเข้าออกให้ลึกสั้นยาว เบาหนัก และคอยสังเกตว่าบริเวณใดที่มีความรู้สึกว่า ลมหายใจไปกระทบ ก็ตั้งจิตรวมความรู้สึกไว้ตรงนั้น และพิจารณาว่าลมหายใจเข้าออกแบบไหนที่เรารู้สึกสบายที่สุด หรือรู้สึกปลอดโปร่งดีกว่าเพื่อน จงจำลมหายใจนั้น และพยายามรักษาจังหวะหายใจแบบที่ดีที่สุดไว้ตลอดเวลา (เหตุที่ตั้งจิตหรือความนึกคิดมาอยู่ที่กึ่งกลางดั้งจมูก เพราะเป็นที่รวมของประสาทรับรู้ที่สำคัญ ๆ และตัดกังวลที่มัวเลือกว่าดั้งตรงช่องจมูกซ้ายหรือขวาปลายจมูกหรือรูจมูก ตอนลึกตอนตื้น) เพื่อให้จิตแยกออกจากความสนใจในร่างกายทั่วๆไป แยกจากเรื่องราวอื่นๆ ให้เลิกสนใจต่อร่างกาย ผ่อนคลายให้ร่างกายอยู่ในแบบสบายๆ ไม่เกร็งตัวหรือแขนขา มอบงานให้จิตมาสนใจลมหายใจอยู่เฉพาะบริเวณเดียว ที่เดียว

    ถ้าจิตไม่เชื่อฟัง ชอบไปสนใจเรื่องอื่นๆ คิดเรื่องอื่น ชอบนึกเบื่อ นึกว่าเมื่อย นึกกลัวตาย นึกว่าฝึกไปคงไม่ได้ผล นึกอยากจะเกา อยากจะพัก นี่แหละเป็นจิตดื้อ ชอบไปพะวงใจเรื่องร่างกายและเรื่องอื่นๆ เราต้องการพิจารณากายตามที่กล่าวมาแล้ว พอให้จิตเริ่มสงบ ไม่ฟุ้งไป จึงเริ่มสมาธิใหม่ จัดลมหายใจปรับปรุงหายใจใหม่ ซึ่งใช้เวลาอีกเล็กน้อย ได้ลมสบายแล้วก็รักษาไว้ให้นานๆ เมื่อรักษาลมหายใจ จังหวะที่สบายไว้ได้ จิตก็สงบปลอดโปร่ง เพราะมาชอบความสบายตามวิสัยของทุกคน พอรักษาลมสบายได้เพียง 3-4 นาที จิตก็จะแยกออกจากการรับรู้เรื่องอื่นๆ มารับรู้มาสำนึกอยู่ ติดอยู่ที่สบาย และลืมเรื่องอื่นๆไปได้ อาการที่จิตมาสงบนิ่งอยู่ที่เดียวเรื่องเดียว รับรู้นิ่งเรื่องเดียว ไม่ฟุ้งซ่านคิดไปเรื่องอื่นๆ นี่แหละคือจิตเป็นสมาธิ แต่การฝึกใหม่ๆ จิตสงบอยู่ไม่ได้นาน นิ่งสงบสบายอยู่ประเดี๋ยวเดียวก็กลับไปรับรู้ไปคิดเรื่องอื่นอีก ครั้นจัดลมดีก็กลับสงบใหม่ สบายใหม่ สลับกันไปดังนี้เรียกว่าเราได้สมาธิขั้นต้น (ถ้าเรียกตามแบบกสิณก็เรียนกว่า “บริกรรมนิมิต” เพราะขั้นนี้มีนิมิตหรือความรู้สึกแปลกๆ เช่น รู้สึกสบายดังกล่าวแล้ว หรืออาจรู้สึกดีใจ รู้สึกเสียวซ่าน รู้สึกมีความสุข รู้สึกเห็นภาพ เห็นแสงวอมแวม เป็นต้น)

    ข้อสังเกตการฝึกเริ่มแรก เรามอบงานให้จิตรับรู้หรือสำนึกหลายอย่างก่อน เช่นการจัดลมหายใจ เพื่อหาจังหวะหายใจที่สบายปลอดโปร่ง การคอยรักษาลมสบายนั้นไว้ การภาวนา “พุท”และ “โธ” ในขณะหายใจเข้าออก การตั้งจิตหรือรวมความสำนึกอยู่ที่เดียวใกล้จุดกึ่งกลางดั้งจมูก การคอยระวังไม่ให้จิตไปนึกเรื่องอื่น หรือเปลี่ยนที่ตั้งที่สำนึกรู้ ไปเห็นอะไรทำให้จิตเริ่มสงบ งานของจิตจะค่อยลดน้อยลงจนเหลืออย่างเดียว คือจิตนิ่ง รับรู้เรื่องเดียวว่ามีความสุขสบาย ไม่มีการภาวนา พุทโธ ครั้นถึงขั้นสูงสุด (ฌานที่ ๔ ) ก็แยกจิตออกจากความสุข คงมีแต่ความสงบนิ่งด้วยความมีสติเป็นกลางๆ (อุเบกขา) อยู่เท่านั้น

    การที่จิตจะลดงานน้อยลงนั้น ต้องให้เป็นไปเอง จะตั้งใจลดลงไม่ได้ เป็นการเดินทางผิด กล่าวคือ เมื่อเลือกลมสบายได้ งานจัดลมก็หมดไป เมื่อรักษาลมสบายไว้ได้ จิตมาติดสบาย เลยลืมภาวนาพุทโธและงานอื่นหมดไปในตัว ตรงนี้แหละเป็นจุดสำคัญที่คนเข้าใจผิดกันมาก คือก่อนจะลืมภาวนา ลมสบายจะจัดตัวเองให้สบายขึ้น ลมหายใจเบาลงทุกที จนไม่รู้สึกว่าตัวหายใจ แต่คงรู้อยู่ว่าจิตอยู่นิ่งที่เดียว และมีความสบายความปลอดโปร่ง นี่นับว่าถูกวิธีแล้ว แต่สมาธิขั้นต้นอยู่ครู่เดียวก็ถอยกลับขณะที่จิตสมาธิถอยกลับมาเพียงนิดเดียว ทำให้เราระลึกเรื่องอื่นแทรกขึ้นมา หรือมีความรู้สึกอย่างอื่นแทรกขึ้นมา เช่นรู้สึกว่าเราไม่ได้หายใจ แต่ความจริงหายใจเข้าออกอยู่เสมอ แต่แผ่วเบาจนไม่รู้สึกบางทีรู้สึกตัวลอยขึ้นสูงๆไปเรื่อยๆ บางทีรู้สึกว่าตกเหวลึกลงไปเรื่อยๆ บางทีรู้สึกตัวพองใหญ่ขึ้น บางทีรู้สึกชาแขนขาแล้วขยายมากขึ้นทุกที ความรู้สึกแปลกๆนี้เรียกว่า “นิมิต” ความรู้สึกแปลกๆ ที่กล่าวแล้วนี้ทำให้คนตกใจ และนึกว่าผิดทางเสียแล้ว ซึ่งความจริงทำถูกทางแล้ว เมื่อนึกว่าผิดเลยย้อนกลับไปภาวนาพุทโธอีก เป็นการย้อนไปเริ่มต้นใหม่ เปรียบเหมือนคนขึ้นบันไดไปได้ ๓ ขั้น แล้วย้อนโดดกลับมาขึ้นขั้นที่ ๑ ใหม่ พอถึงขั้นที่ ๓ อีก ก็โดดกลับมาอีก เลยต่อไปขั้น ๔-๕ ไม่ได้

    เราควรระลึกไว้ว่า เป็นเพียงแต่มีความรู้สึกไปเองเท่านั้นว่าไม่ได้หายใจ หรือตัวพอง ตัวชา ตัวตกเหว ตัวลอยสูงขึ้น ล้วนเป็นเรื่องไม่จริง ความรู้สึกลวงเรา เรามีหน้าที่รักษาสมาธิหรือความสงบนิ่งของจิตไว้เท่านั้น ไม่ภาวนาพุทโธอีก ถ้าตัวพองมากขึ้น ตัวชามากขึ้น ตกเหวมากขึ้น ตัวลอยสูงขึ้น ก็นิ่งสงบอยู่ พอถึงที่สุดคือ พองมาก ชามาก ตัวขยายกว้างใหญ่จนสุดที่จะรู้สึกตามได้ จะลงเหวหรือขึ้นสูงจนความรู้สึกตามไม่ได้ ก็เป็นอันว่าร่างกายไม่มี จิตก็แยกจากร่างกายเด็ดขาด มานิ่งอยู่ที่เดียว รู้สึกเพียงความสุขสบายอย่างยิ่ง รู้สึกว่าโล่งว่างๆ ไม่มีอะไรเลย นอกจากจิตดวงเดียวของตนลอยอยู่ ถ้ารักษาจิตให้นิ่งอยู่ไม่ได้ จิตถอยกลับมาคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้อีก ฟุ้งซ่านไป ดังนี้จึงเริ่มภาวนาพุทโธใหม่ จัดลมใหม่ ถ้าจิตดื้อมากแก้ไขให้นิ่งไม่ได้ ก็อาจใช้หลักวิปัสสนามาพิจารณาช่วยแก้ไขจิต จนจิตเริ่มจะหยุดนิ่งไม่ฟุ้งซ่านไป ก็เริ่มทำสมาธิตามวิธีข้างต้นต่อไป

    สมาธิกับวิปัสสนาหรือจะเรียกว่าสมถะกับวิปัสสนาต่างก็เป็นวิธีการฝึกจิตและดีทั้งคู่ ช่วยส่งเสริมกันได้ ผู้ที่มุ่งหนักไปทางฝึกสมาธิ ก็อาศัยหลักวิปัสสนามาช่วยบ้างในบางโอกาส ผู้ที่ฝึกแบบวิปัสสนาก็หนักไปทางพิจารณา แต่ก็จำเป็นต้องใช้หลักสมาธิไปเจือปนอยู่หรือเป็นฐานประจำอยู่ มิฉะนั้นก็ไปไม่รอด แต่จะฝึกวิธีใดแบบใดก็ตามในตอนปลายก็ต้องไปฝึกวิปัสสนาอันแท้จริง เพื่อให้ได้ยอดปัญญาซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ในขั้นนี้จะกล่าวถึงสมาธิขั้นกลาง ขั้นสูง และวิธีแก้ไขจิตที่ดื้อไม่ยอมเป็นสมาธิต่อไป
     
  12. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    หากเมื่อได้อ่าน พิจารณาและทำตามโดยละเอียดแล้ว เชื่อว่าทุกท่านทำได้แน่นอน ทั้งการทำสมาธิ วิปัสสนา ฝึกอำนาจจิต ใช้อำนาจจิต อาราธนาคุณจากพระเครื่อง การอธิษฐานให้เกิดผล รวบรวมจากสารพัดบทความจากหลายแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นข้อเท็จจริง นำมาสรุปบรรจุอัดแน่นในหนังสือเล่มนี้ไว้แล้วทั้งสิ้นและสงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการค้า
     
  13. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,872
    วัดทองฯ (วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร) จะจัดให้มีพิธีสวดมนต์ข้ามคืน (ตั้งแต่เวลา 23.00 ของคืนวันที่ 6/11/57 - 01.00 ของรุ่งเช้าวันที่ 7/11/57) ในวันลอยกระทงปีนี้ ที่บริเวณศาลาท่าน้ำ(ศาลาหลวงพ่ออภิชิโต) เพื่อเสริมศิริมงคลให้กับผู้ที่สนใจในพิธีกรรมเร้นลับตามกรรมวิธีของศาสตร์ในสายนี้ จึงฝากเรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมในพิธีตามศรัทธา
     
  14. big_tool

    big_tool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +1,683
    โพสมา2ครั้งแล้วไม่ได้ แปลกจริงคับ
    แจ้งการโอนคับ
    31/10/57 เวลา09:10 จำนวนเงิน4,080 บาทคับ
    ที่อยู่ในการจัดส่งนะคับ
    นพดล มหาพิษ
    252/449 ชั้น21 ยูนิต ซี อาคารเมืองไทยภัทร1
    ถ. รัชดาภิเษก แขวง ห้วยขวาง เขต ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. evonaga

    evonaga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +702
    เรียน อ.จ หนุ่ม และคุณหมูน้อย
    ขอแจ้งการโอนเงินค่าบูชารูปหล่อหลวงตาดำ จำนวน 6,200 บาท ตาม slip ที่แนบมานี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • prak 2.jpg
      prak 2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      311.9 KB
      เปิดดู:
      50
  16. gibgub

    gibgub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2011
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +233
    แจ้งพี่หมูน้อยครับ ผมโอนเงินแล้วครับ จำนวน 1,100 บาท
    ตามหลักฐานที่แนบครับ
    รายละเอียด - ที่อยู่ แจ้งทาง pm น่ะครับ
    ...ขอบคุณครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. Tura

    Tura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +523
    แจ้งการโอนเงินครับพี่หนุ่ม
    วันที่31ตค.2557 เวลา13:29น. จำนวน4,080บาท
    ที่อยู่ส่ง คุณนัชดา คูสกุล
    46 ถนนประจักษ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
     
  18. vij

    vij เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +550
    เปิดดูไฟล์ 20141031134426.pdf Old 25-10-2014, 09:42 PM #492
    vij
    สมาชิก
    ขอจองเนื้อดำและเนื้อธรรมดาอย่างละหนึ่งองค์ครับ
    ...............................................................................................
    ผมได้โอนเงินทำบุญ 2,080.บาทให้แล้ว ที่อยู่จะแจ้งทางpmคุณหนุ่มเมืองแกลงครับ
     
  19. moo noi

    moo noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    6,328
    ค่าพลัง:
    +23,902
    [FONT=&quot]เงื่อนไขการจองบูชา[/FONT]

    [FONT=&quot]1. [/FONT][FONT=&quot]ราคาบูชารูปหล่อหลวงตาดำ อุดผงของ ลพ.อภิชิโต องค์ละ [/FONT][FONT=&quot]1,000.บาท (เท่ากันทั้งสองแบบ) [/FONT]
    [FONT=&quot]2. [/FONT][FONT=&quot]ทุกการจองแต่ละองค์ จะแถมหนังสือการฝึกจิต การปฏิบัติสมาธิแบบง่าย การใช้อำนาจคุณพระ[/FONT]
    [FONT=&quot]ซึ่งเป็นตำราเก่าของศิษย์ ลพ.อภิชิโต ที่บันทึกไว้จากคำสอนบอกของครูอาจารย์และหาซื้อไม่ได้ พร้อมภาพสีของวัตถุมงคลน่าสนใจ และตำราโบราณ มีความหนากว่า [/FONT][FONT=&quot]250 หน้า[/FONT]
    [FONT=&quot]3. [/FONT][FONT=&quot]โพสท์จองได้ตามจำนวนที่ต้องการ โดยระบุให้ชัดเจนว่า จองบูชาแบบผิวธรรมดาหรือผิวรมดำ จำนวนอย่างละกี่องค์[/FONT]
    [FONT=&quot]4. [/FONT][FONT=&quot]หมดเขตการรับจองบูชาหน้ากระทู้นี้ ในวันศุกร์ที่ [/FONT][FONT=&quot]31 ตุลาคม 2557 เวลา 24.00[/FONT]
    [FONT=&quot]5. [/FONT][FONT=&quot]ชำระเงินค่าจองบูชาทั้งหมด ภายในวันอังคารที่ [/FONT][FONT=&quot]4 พฤศจิกายน 2557 เวลา 24.00[/FONT]
    [FONT=&quot]6. [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่จองบูชาไว้ในหน้ากระทู้ จะได้รับการส่งมอบวัตถุมงคลทางพัสดุไปรษณีย์เท่านั้น งดการส่งมอบในพิธีถวายพระประธานที่วัดทองฯ เพื่อป้องกันความยุ่งยากและปัญหาต่างๆที่จะตามมา[/FONT]

    [FONT=&quot]7. [/FONT][FONT=&quot]โปรดช่วยค่าจัดส่ง [/FONT][FONT=&quot]80.-บาท ทุกครั้งในการจัดส่งพัสดุ เพื่อเป็นค่ากล่องและค่าส่ง ems[/FONT]

    http://palungjit.org/threads/เชิญบู...ง-แดนนิพพานเหนือโลก.539420/page-9#post9291666

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ หนุ่มเมืองแกลง
    หนังสือ 2 เล่ม พร้อมรูปหล่ออุดผง(บรรจุกล่อง 2องค์) จะใส่ลงพอดีในกล่องพัสดุขนาด ข. มีน้ำหนักชั่งได้ประมาณครึ่งกิโล รวมค่ากล่อง12บาท ค่าจัดส่งems อีก 50.บาท ค่าวัสดุกันกระแทก 6 บาท ดังนั้นหากท่านใดจองไว้เกิน2องค์และขอรับหนังสือครบตามจำนวน ก็ลองพิจารณาค่าจัดส่งพัสดุให้สักนิดครับ แต่หนังสือนี้ดีมากสำหรับคนแขวนพระและเชื่อในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจพระพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ แต่ยังบูชาใช้พระไม่ค่อยได้ผลมากเต็มประสิทธิภาพ เมื่อมีไว้และอ่านโดยพิจารณาอย่างรอบคอบพร้อมฝึกไปด้วยตนเองแล้ว จะพบวิธีกำหนดจิตในการอาราธนาบูชาที่ให้ผลอย่างที่ใจปรารถนา เป็นแขนงหนึ่งของวิชาทางวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ผนวกเข้าด้วยกัน

    2 องค์ พร้อมหนังสือ 2เล่ม หนัก 500 กรัม ค่าส่ง ems 50.บาท
    4 องค์ พร้อมหนังสือ 4เล่ม หนัก 1,000.กรัม ค่าส่ง ems 70.บาท


    [FONT=&quot]8. [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่โอนชำระค่าบูชาช้ากว่ากำหนด หรือขาดการโอนตามกำหนด ถือว่าสละสิทธิ์การจอง[/FONT]
    [FONT=&quot]9. [/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่โอนชำระค่าจองบูชาแล้ว กรุณาแสดงหลักฐานไว้หน้ากระทู้ หรือส่งสำเนาให้คุณ[/FONT][FONT=&quot]moo noi เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
    [FONT=&quot] [/FONT]เพราะผมไม่สามารถตรวจสอบได้ตามปกติเช่นที่เคยทำมา[/FONT]


    [FONT=&quot]10. [/FONT][FONT=&quot]ค่าบูชาวัตถุมงคลและค่าจัดส่งทั้งหมด ให้โอนเข้าบัญชีของวัดทองฯ ตามรายละเอียดดังนี้[/FONT]

    [FONT=&quot] ชื่อบัญชี กองทุน สร้างกุฏิพระอภิชิโต ภิกขุ[/FONT]
    [FONT=&quot] ธนาคาร กสิกรไทย สาขา บางขุนนนท์[/FONT]
    [FONT=&quot] หมายเลขบัญชี [/FONT][FONT=&quot]753 – 2 – 38758 – 7[/FONT]


    update ยอดจอง ณ วันที่ 31 ต.ค. 57....(วันสุดท้ายของการรับจอง)

    <a href="http://picture.in.th/id/daf3ccda0276d12fdc083c2f00f968d6" target="_blank"><img border="0" src="http://image.free.in.th/v/2013/ih/141031053416.jpg" alt="images by free.in.th" /></a>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2014
  20. AT189934

    AT189934 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +205
    โอนเงินร่วมทำบุญแล้วครับ เดี๋ยวจะแจ้งที่จัดส่งให้ทราบนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...