เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ยาวๆหน่อยก็ได้

    อภิธรรมคือ ศึกษากายกับใจ หากไม่ลงที่กายกับใจ
    เจริญวิปัสนาไม่ได้หรอก
    อันนี้ก็เข้าใจเช่นนั้น

    แต่หากจะบอกว่า ไม่ศึกษาอภิธรรมปิฎก เจริญวิปัสนาไม่ได้ อันนี้เห็นว่า
    แปล่งๆ

    มีตัวอย่างจากพระไตรปิฎก ง่ายๆและชัดๆเลย

    พระจูฬปันถก ใช้เพียงแต่ผ้าขาว บางมาลูบ แล้วพิจารณาตาม

    ไม่ได้ไปศึกษาว่า รูป มีอะไร ถึง 28ไหม
    ตากระทบรูปเป็นอย่างไร เกิดจิต 121 เจตสิก 52อย่างไร

    อย่างนี้เป็นต้นฯ
     
  2. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    อ้าว หน้าเดิมๆ มาอยู่ห้องนี้ซะแล้ว
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ก็แปลกดี ผู้ศึกษาอภิธรรมล้วนเครพธรรม ไม่ว่าพระสูตร พระวินัยก็ศึกษา

    แต่การมองนั้นไปได้ลึกกว่า มองไปที่องค์ธรรมในพระสูตรบ้าง

    มองธรรมแตกโดยนัยยะบ้าง พิจารณาได้หลายหลาย แยบคาย


    กลับกันผู้กล่าวศึกษาพระธรรม กลับผลักพระอภิธรรมปิฏก ราวกับว่าไม่ใช่พระธรรมอย่างนั้นน่ะ

    พูดมากเหมือนไปก็ไม่ดี เหมือนกดคนยังไงก็ไม่รู้ ^^
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    น้องโหน่ง จะออกทะเล แล้ว
    เข้ามาในประเด็นก่อน
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ครับ ป๋าเทพฯ
    ผมก็อยู่แต่ห้องนี้ซะส่วนมาก
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มามุขเดิมตลอด อะไรๆก็อ้าง พระจูฬปันถก

    รู้บ้างไหม ที่ลูบผ้านั้น วิปัสสนาญาณเกิดตรงเห็นว่า มันไม่เที่ยง ^^

    ไม่ใช่ธรรมอยู่ที่ผ้า น้าปราบจะลูบบ้างก็ได้นี่


    อีกอย่าง ก่อนพระจูฬปันถก ลูบผ้านั้น ท่านก็เรียนไม่ใช่ไม่เรียน

    พระพุทธองค์ ทรงเล็งเห็นจริต เหตุปัญญญาทึบ เหตุเคยปัญญามาก จึงให้อุบายนำออกไป
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ออกตรงไหนหว่า
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มุขใหม่ไม่มีอ่ะ มีแต่มุขเก่าๆ

    คุยกันก็คุยแต่เรื่องเก่าๆ

    กิเลสก็กิเลสตัวเก่าๆ หุหุ

    ผ้าน่ะผมลูบทุกวัน

    พระจูฬปันถก ท่านเป็นพระที่นำมาอ้างอิงศึกษาได้หลายด้านนะ
    เป็นตัวอย่างที่ดีมาก

    1.เพียงลูบผ้าขาว เห็นความเปลี่ยนแปลงของผ้าขาวเป็นเครื่องส่ง
    แล้วพระศาสดาก็มาเทศน์ให้ฟังเฉพาะหน้าเพื่อลงมาที่กายใจตัวเอง
    จนสำเร็จพระอรหันต์

    แถมยังได้เป็นภิกษุ ผู้เลิศกว่าภิกษุอื่น ในด้าน มโนมยิทธิ อีกต่างหาก

    อีกอย่าง พอบรรลุแล้ว ยังได้ ปฏิสัมภิทา 4 อีกด้วย โดยที่ไม่ได้ไปศึกษา รูป 28 จิต 121 เจตสิก52 มาก่อน

    ขนาดนี้ยังได้ปฏิสัมภิทา ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะ
    หวังได้เป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา

    ตัวอย่างอันนี้แค่ส่วนหนึ่ง จะให้ลึก ก็ยังสามารถยกมาในส่วนอดีตชาติได้อีก ในการนำมาเป็นไอดอล ^^
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไปพักก่อนแระ น้องโหน่ง

    ตาลายแระ

    อย่าลืมใช้ ยูวี 24 เวลารู้อารมณ์ด้วยล่ะ หุหุ ^^
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เอางี้นะ ที่จริงเหตุให้เกิดดวงตาเห็นธรรมมีมาก

    การยกเรื่องลูบผ้า แล้วไม่กล่าวสิ่งอื่น

    จนเข้าใจว่านั่งลูบผ้าแล้วจะทำให้เห็นธรรม ข้อนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิด ถือผิดมาก

    ข้อนี้ตอบไม่ยาก

    น้าปราบไม่ชอบลูกชุบ ก็ใส่เป็น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นรูปคิตตี้ก็ได้ หรือเอาออกไปก็ได้

    ไม่ชอบตัวเลข รูป ๒๘ จิต ๕๑ ออกก็ได้ ไม่ใช่สาระอะไรมาก เป็นเพียงอุบายสอนเท่านั้น

    มันก็เเหลือ รูปเพียวๆ

    ทีนี้ถามว่า มหาภูติรูป คืออะไร เขาก็รู้ นี้ปฐวี นี้อาโป นี้เตโช นี้วาโย เป็นรูป

    ถามว่า อายตนะ คืออะไร เขาก็รู้ นี้ตา นี้หู นี้จมูก นี้กาย นี้เห็น นี้เสียง นี้รส นี้อ่อนแข็ง เป็นรูป

    ถามว่า ชาย หยิง คืออะไร เขาก็รู้ ลักษณะอย่างนี้ ความอ่อนของธาตุ ความแข็งของธาตุ ความแสดงออก ความเป็นเครื่องหมาย นี้รูป

    ฯลฯ เยอะครับ แต่ก็จำแนกนับได้ ๒๘ หากอยากจะใส่ตัวเลข

    หลักๆปัญญารู้รูปเขาก็หมายรู้เอาลักษณะ ไม่ใช่ตัวเลข

    นี้เป็นสัจจะ กี่ยุค กี่สมัยก็เป็นเช่นนี้ ไม่วิปริตเป็นอื่น ^^
     
  11. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741

    ก็ข้อหาเดิมๆ กับคำหยาบคาย ที่ส่อให้เห็นสภาวะและ

    ส่อให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของคนกล่าว

    การที่คุยกันไม่รู้เรื่องนั้น เพราะมันมีช่องว่าง ไม่เป็นไรค่ะ





     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัญญา คือ การจำได้หมายรู้ คือรู้อดีต รู้ปัจจุบัน แต่ไม่รู้อนาคต
    คำว่าหลงสัญญาที่พูดมานั้นน่าจะหมายถึงจำอะไรไม่ได้ใช่หรือป่าว หมายถึงไม่รู้จักจำ คือจำอะไรไม่ได้
    คำว่า หลง หมายถึงไม่รู้หรือเข้าใจผิด สัญญา หมายถึง จำ รวมความว่าไม่รู้จักจำ คือคนที่ขี้หลงขี้ลืมนั่นเอง

    ความจริงคืออะไร ความจริงก็คือสัจจะ สัจจะนั้นมี ๒ อย่าง
    จริงโดยสมมติ จริงโดยสภาวะ เพราะฉะนั้นชื่อทั้งหมดเป็นบัญญัติ
    แต่สภาพธรรมแม้ไม่มีชื่อก็มีลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ
    แต่จำเป็นต้องใช้ชื่อเพื่อที่จะได้ให้เข้าใจว่า หมายความถึงสภาพธรรมนั้น
    เช่น ร้อน เย็น รู้ได้ทางกาย ที่รู้ ว่าร้อน ว่าเย็น
    แต่สภาพรู้ตรงนั้นถ้าเราไม่มีบัญญัติขึ้นมารับรองว่าร้อนเย็นตรงนั้นก็จะไม่มีใครรู้ได้เลยว่าร้อนว่าเย็น
    จะมีสภาพเป็นสภาวะปรมัตถ์อยู่อย่างนั้น จึงชื่อว่าจริงโดยสมมติ จริงโดยสภาวะปรมัตถ์ ทั้งสอง
    "ตรงที่นายขันธ์พูดนั้นจะเอาจริงตรงไหน ถ้าจะเอาจริงตามสภาวะ นายขันธ์ก็ไม่ต้องมาพูดเลย
    ถ้าพูดเมื่อไหร่ที่ตรงตามสภาวะนั้นหมายถึงเอาบัญญัติขึ้นมาพูดแล้ว"

    การตอบนั้นเราก็ต้องตอบตามหลักทฤษฎี เพราะเราจะไปสร้างบัญญัติใหม่ขึ้นมาเอง นึกขึ้นมาเอง
    ซึ่งก็จะไม่ตรงตามความเป็นจริงอย่างที่พระพุทธองค์ที่ทรงบัญญัติขึ้นไว้ดีแล้ว
    ถ้าเราบัญญัติมาพูดเองก็ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าจะเป็นคำสอนของเราเองไป
    ซึ่งตรงนี้เป็นอันตรายแก่ผู้สอนเพราะจะไปเข้าหลักเกณที่ว่าตั้งตัวเป็นศาสดาแข่งกับพระองค์
    หรือไม่ก็เอาคำสอนมาดัดแปลงเสียใหม่จนเป็นการทำลายคำสอนไป
    ตรงนี้ผมเองระวังมากเพราะคิดทำดีกับได้บาป ถ้าใครไม่เข้าใจตามหลักทฤษฏีที่ผมพูดก็ช่วยไม่ได้
    จะชักชวนให้ไปบัญญัติขึ้นมาใหม่ผมก็ไม่เอาผมกลัวบาป

    ส่วนมากผมเห็นคนสาธยายธรรมกับไปบัญญัติกันขึ้นมาใหม่เยอะ อย่างนั้นผมไม่ทำครับ
    แต่ถ้าให้จะอุปมาไปลองรับอย่างนั้นผมทำได้เพราะมันเป็นการอุปมาเพื่อให้เห็นความจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กรกฎาคม 2012
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอบคุณคำแนะนำ และความหวังดี ครับ
     
  14. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นเรียกว่า ปฏิบัติวิปัสสนาได้จริงๆ อยู่ในขั้นไหนคะ

    ที่ปฏิบัิติๆ กันอยู่นี้ ในเบื้องต้นยังเรียกว่าปฏิบัติวิปัสสนายังไม่ได้ ไม่เหมือนการปฏิบัติ

    ในสมถกรรมฐาน สามารถเรียกการปฏิบัติสมถตั้งแต่เริ่มบริกรรมได้ทันที แต่เป็นแค่

    ปริตตสมถะ ต้องได้ฌานแล้วจึงจะเป็น มหัคคตสมถะ ก่อนปฏิบัติสมถะนั้นควรอย่างยิ่ง

    ที่จะระลึกสติก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติสมถะ ฝึกอานาปานสติดีที่สุดค่ะเป็นได้ทั้งสมถะ

    และวิปัสสนา ขณะที่นั่งปฏิบัตินั้น เมื่ออานาปานสติเป็นสมถะก็รู้ เมื่อใดอานาปานสติเป็น

    วิปัสสนาก็รู้ จะต้องมีความสามารถแยกให้ได้ด้วย ในขณะที่ปฏิบัติอยู่นั้นค่ะ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สีลสูตร

    (เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล
    ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ เมื่อสุขมีอยู่สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข
    เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์


    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
    เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น
    ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล
    ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ
    เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
    เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

    จบสูตรที่ ๓

    *************************
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น

    ย่อมครอบคุมเนื้อธรรมเพื่อเชื่อมโยงกันได้หมด

    ยิ่งในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญาหรืออริยมรรค ซึ่งเป็นหัวใจพระพุทธศาสนานั่นเอง

    และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การจะได้มาซึ่งวิปัสสนาปัญญาหรือที่เรียกว่ายถาภูตญาณทัสสนะนั้น

    ต้องประกอบด้วยสัมมาสมาธิที่สมบูรณ์เท่านั้น จึงจะก่อให้เกิดปัญญาที่แท้จริงขึ้นมาได้

    ไม่ใช่ปัญญาแบบที่ชอบคิดเองเออเอง หรือที่เรียกถิระสัญญาลวงโลกเพราะขาดพื้นฐานที่มั่นคง

    การทำอะไรให้เกิดประโยชน์โภชผลขึ้นมาได้นั้น ต้องผ่านหรือได้พื้นฐานที่ถูกต้องมาก่อน

    เมื่อพื้นฐานหรือฐานที่ตั้งของสติไม่มี หรือไม่ดีพอนั้น เพราะขาดการฝึกฝน

    จะมีจิตที่สงบมีสติเกิดความสงบ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวได้หรือ?

    เมื่อจิตไม่สงบสับสนวุ่นวายไม่ตั้งมั่นจะไปพิจารณาอะไรได้หละ?

    พระพุทธศาสนนั้น ซึ่งเป็นคุณธรรมชั้นสูง ต้องเป็นเหตุเป็นผลที่เชื่อมโยงกันได้ใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตั้งสติหน่อย พูดกันถึงว่า การหลงเข้าไปในสัญญา ไม่พิจารณาตามความเป็นจริง แล้วกระโดดไปเรื่องการบัญญัติใหม่ขึ้นเองทำไม ถ้าเช่นนั้นแล้ว รูปภาพอภิธรรมลูกชุบของเอ็งไม่บัญญัติขึ้นมาใหม่ยิ่งกว่าหรอกหรือ
    อีกอย่าง การอธิบายตามความจริง ไม่ใช่การบัญญัติใหม่ การอ้างว่าอันตรายแข่งพระพุทธองค์เป็นข้ออ้างของคนขาดสติ ต้องการแก้ต่างอย่างไม่พิจารณาชั่งน้ำหนักก่อน

    ที่เอ็งพูดตำหนิมานั้น เอ็งทำเองทั้งหมด แต่เอ็งไม่รู้ตัวเอง
    พระธรรมและพระวินัยที่พระศาสดาตรัสไว้ชอบแล้วนั้น เป็นคำพูดที่ถอดออกมาจากพระทัย ไม่ใช่จินตนาการอย่างเอ็ง
     
  17. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    การปรารภข้างบนนี้ เป็น "ทิฏฐิที่เห็นว่าสัตว์มีสัญญา" ซึ่งเป็น มิจฉาทิฏฐิ
    ที่เกิดจากคนไม่เคยสดับธรรม ไม่ใช่เกิดจากคนเคยสดับธรรมะ

    ทั้งนี้ ธรรมะ ที่สดับ พระพุทธองค์หมายถึง สดับเอาจากสิ่งที่ปรากฏ ซึ่ง
    จะรู้เห็นได้จากจิตผู้มีสมาธิประกอบ

    แต่ถ้าจิตไม่มีสมาธิประกอบแล้ว ความจริงที่กำลังสดับจากกาย จากใจตน
    จะไม่มี ทำให้ไปคว้าเอาสัญญาขึ้นมาใช้แทนความจริงที่ควรเขาไปเห็น พอ
    ฟังธรรมผิด เข้าใจผิด ก็จะแล่นไปสู่ การปรารภ สัตว์มีสัญญา

    เช่น บอกว่า

    "สัญญา หมายถึง จำ รวมความว่าไม่รู้จักจำ คือคนที่ขี้หลงขี้ลืมนั่นเอง"

    จะเห็นว่า ความฉ้อฉลอยู่ตรงเอาคำว่า คน หรือ สัตว์หน้าคน เข้าไปแทรก
    ในประโยค ทำให้คำว่า "สัญญา" ใช้ผิดกับที่พระพุทธองค์ใช้ทันที บาป
    กรรมได้เกิดขึ้นแล้ว และจะทับถมให้เห็นผิดต่อเนื่อง ไม่อาจรอดพ้นจาก
    ตาข่ายทิฏฐิได้ เพราะการแหวกออกจะทำให้ ตนต้องเจ็บตัวอย่างใดอย่าง
    หนึ่ง จึงยอมไม่ได้ สุดท้ายก็รักษา ทิฏฐิสัตว์มีสัญญาเอาไว้ ด้วยการปรารภ
    เชิงปณิทานแน่แน่ว ข้าจะขอร่ำพูดแต่สัญญาที่ดีแล้ว เพราะเห็นว่า สัตว์ที่
    เจื่อยแจ้วเจรจาได้โดยไม่ลืม(สัตว์มีสัญญา)คือ สัตว์ชั้นเลิศในอนาคต

    ตรงนี้ ก็เป็นผลพวงของ "ทิฏฐิสัตว์มีสัญญา" ยังครอบงำอยู่ จึงได้ละเมอ
    เพ้อจนสาธุชนที่เคยสดับธรรมะมาเล็กน้อย ก็ อ่อนใจ

    เพราะหากเอาตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อเอาไฟมารนที่มือ ความร้อนย่อม
    ปรากฏแก่มือนั้น เผาไหม้เหม็นคละคลุ้งได้ทันที ไม่จำเป็นจะต้องมานั่ง พิจารณาว่า ไอ้สิ่งที่กำลังรนมือนี้ให้ดำไหม้เหม็นคละคลุ้งอย่างคนไม่มีศีล
    อยู่นี้เขาเรียกว่า "ไฟ" หรือ หนักกว่านั้น ก็อาจจะปรารภว่า หากไม่มีศาสดา
    องค์ใดมาบัญญัติ สิ่งนี้เรียกว่า ไฟ ก็จะไม่มี สัตว์หน้าคนหัวหงอกไหนๆจะ
    อาบน้ำร้อนเป็นขึ้นมาได้



    การฟัง ธรรม นั้น หากผู้ปฏิบัติง่อยเปลี้ย เสียขา จริงๆ ก็อาจจะปฏิบัติไม่ได้
    เพราะ ธรรม นั้นต้องอาศัย สัมผัสระลึกรู้ตามความเป็นจริง เมื่อระลึกได้บ่อยๆ
    แล้วจะรู้อยู่ว่า ธรรม นั้น พ้นบัญญัติเรียก แต่ก็รู้ได้ สติ และ สัมปชัญญะ
    สามารถฝึกได้โดยไม่ต้องโดนเผาไหม้เป็นตอตะโกไปเสียก่อน ดังนั้น บัญญัติ
    ที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้ จึงไม่ใช่ ระดับ
    ตัวหนังสือ

    ควาฉ้อฉลของธรรมนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ ที่ระดับ มโนทวาร หรือ จิตใจ
    ขณะเกิด ทิฏฐิ ผุดขึ้นในสังขารขันธ์

    ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติ จะเล็งเห็น การฉ้อฉล การกล่าวสิ่งกลบคำศาสดานั้น เกิด
    ขึ้นตั้งแต่ ระดับ จิตกระทบผัสสะ ระดับนามรูป ระดับที่ทวนกระแสไปถึง.....
    ......กันเลยทีเดียว

    ส่วนพวกที่ เห็นว่าการกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องเจื่อยแจ้ว นั้นก็เพราะมิจฉาทิฏฐิ
    จำพวก "สัตว์มีสัญญา" ได้ครอบงำเอาไว้ ไม่สามารถเข้าใจ วิธีการตรวจ
    สอบความฉ้อฉลของนักปฏิบัติได้เลย


    ครั้นเมื่อ มิจฉาทิฏฐิครอบงำไว้จนสิ้นแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะเห็น หรือ ปรารภสิ่งที่
    พ้นความเป็น สัตว์ หรือ ภพ หรือ ชาติได้ เวรกรรมที่เกิดจากการบดเบือนการ
    ฟังธรรมระดับมโนทวาร จึงทำให้ ตามกระทืบซ้ำโดยการ พาผู้หลงผิด สร้าง
    กรรมวาจาเพื่อก่อเป็นเวรกรรมปิดกั้นตัวเองจากการเห็น นัยยะปฏิบัติ ต่อไปไม่
    มีที่สิ้นสุด หรือที่เรียกว่า สร้างสภาวะ "มิจฉามัจฉตะ" ครอบไว้ เช่น ปรารภว่า

    "การอุปมา ใช้เพื่อให้เห็น ความจริง" <--------- ค่อนข้างชัดเจน และ น่า
    กลัวมาก ความขัดแย้งของ ธรรมแทบจะแล่นแบบฉับพลัน ห่างได้ไม่ถึงเสี้ยว
    ลมหายใจ อุปมา --- ผลิกกลายเป็น การเห็น --- ความจริง ได้ ก็มีแต่
    สัตว์ที่มีสัญญา มีมิจฉาทิฏฐิอนันตากาลเท่านั้น จะ ปรารภเช่นนี้ได้

    แต่สำหรับ บุคคลที่เคยลงมือ ฟังธรรมตามความเป็นจริง เพียงช้างกระดิก
    หู งูแลบลิ้นแล้ว จะทราบว่า อุปมา เป็นเพียง อุบาย ที่ใช้สื่อให้เห็นหนทาง
    นำออกเท่านั้น ไม่ใช่เรื่อง การปรารภความจริง แต่อย่างใด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2012
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อยากคุยด้วยแต่อ่านแล้วไม่รู้เรือง จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าไม่รู้ว่าพูดอะไร ต้องขอภัยด้วย
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รู้เยอะก็อธิบายหน่อยซิว่าหลงสัญญาเป็นอย่างไร จะรอคำตอบ และผู้อ่านยังรอคำตอบที่ถูกต้องอยู่ เชิญครับ
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ต้องขอบคุณทุกๆโพสต์ครับที่มีเจตนาดีด้วยกันทุกท่าน
    ผู้อ่านย่อมเลือกเฟ้นได้ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก ย่อมพิจารณาได้เอง
    เจตนาไม่ดีก็ไม่ควรนำมาเสนอ จะไม่เป็นประโยชน์แก่ท่านเลย แถบเมื่อยมืออีกต่างหาก
    เจตนาไม่ดี ย่อมที่ทำให้กายทุจริตไปด้วย เพราะกายเคลื่อนไหวได้สืบเนื่องไปจากจิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...