เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ก็ยากอยู่นะที่จะรู้ได้ทั่งหมด ไม่ใช่ว่าเพียงตัวหนังสือ เเต่ต้องเป็นสถาวะธรรมนี้เลย ที่ยืนยัน เป็นตามตารางนี้อะ
    จิตของเราเนี่ยนะ ไวยิ่งกว่าเเสงอีก ยากที่จะคิดตามได้ ถ้าไม่รู้ว่ามันเกิด-ดับ ก็จะเป็นจิตต่อเนื้อง ซึ่งมันจะเปลี่ยนไปเปลียนมา ก็ไปนึกว่ามันยังไม่เกิด-ดับ เรื่องนี้ยากที่จะเห็นเเล้ว เฉพาะพระอริยะขั้นสูงๆทั่งนั้นเเละ ที่จะมีสติเร็วพอการเกิด-ดับ ถึงจะ ตามเห็นจิต เเถมยัง บัญญัติมาได้อีก ต้องมีสมาธิมากพอ คือการทรงจำสภาวะนั้นมาไว้ เเต่ก็ไม่ใช่ว่ามีอาจารย์คนเดียวนะ ที่บัญญัติ นี้ มีหลายๆท่าน ช่วยกันบอก ช่วยกันเล่า สืบต่อกันมา 100คน พูด จะเหมือนกันไหมก็ต้องลองดู เสี่ยงโชค เเล้วจะให้เราเห็นตามด้วยนั้นมันจะยากไปหรือไม่? เพียงเเค่มีจิตเป็นสมาธิ ก็ยากพอที่จะรู้เห็นตามความจริงของสภาวะธรรมเเล้ว
    ถ้าเรามีสติไวเเบบ้เค้าบ้าง จำเป็นหรือ ที่จะเลือกบัญญติให้วุ่นวาย ก็ต้องรีบปล่อยวางขันธ์5 รวมถึงสัญญาด้วยใช่มั้ย พระองค์ก็ตรัสเเก่ภิกษุไวว่า ไม่ต้องบัญญัติ เเละที่บอกว่า ภิกษุ สัญญาเที่ยงไหมหนอ // สาวกบอกไม่เที่ยงพระเจ้าข้า
    ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเเละไม่น่าจดจำเท่าไร เเถมรู้อยู่ เพียงกลุ่มๆเดียว ไม่ค่อยจะมีใครรู้เห็นด้วยหรอก เพราะเป็นคำที่พึ้งบัญญัติใหม่ โต่งๆขึ้น บอกเเบบชัดๆมาละ เเบบนี้ อาจจะต้องเป็นปัจจัตตังด้วยเหมือนกันนะ เพราะเราไม่รู้เเบบเค้าด้วย เพียงเเค่ เกิด-ดับ เท่านี้ก็ลำบากเเล้ว ต้องอาศัยอธิบาทพอสมควร คนที่จะเห็นสภาวะตามท่านผู้บัญญัติได้ทั่งหมด อาจมี คงจะทั่งเก่งเเละฟลุกพอตัว ตรงนี้อันตรายหน่อย จะกลายไปเป็นมานะ ว่าสิ่งที่เห็นนั้นมันเที่ยง อีกนัย1คือ สิ่งที่รู้นั้นมันเที่ยง ตรงจริงอย่างที่ตัวตนคิด พระองค์ตรัสว่าหลักธรรมของพระองค์ในการตามรักษาซึ่งไว้ความจริงคืออย่าพึงคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า! ไม่มีอะไรเเน่นอน คิดเพียงเท่านี้คือการรักษาซึ่งความจริงเรียก สัจจานุลักขณา คือทุกสิ่งไม่มีอะไรเที่ยงเเท้ ไม่เเน่ มันจะเป็นไปตามเหตุปัจจัย คนเราหิวข้าวไม่พร้อมกันถูกมั้ย มาบอกว่าเราต้องหิวด้วยไม่ดูที่เหตุนี้ก็ผิด ต้องให้รู้ด้วย ถึงเเม้จะไม่มีคำของตถาคตยืนยันด้วยก็ตาม เเถมสั่งห้ามไว้อีก ยังนี้ละ ถึงต้องมีพยานในตัวเองคือเห็นด้วย ตามคำสาวกบอก แป็ๆ ไม่ผิด คือสักขีภูโต ไม่งั้นมันจะถกกับตัวเองไม่ขึ้น... ถ้าเราเห็นสิ่งที่เรียกว่าภพเกิด ก็ต้องปล่อยเลย เดียวมันจะเป็นเบบเหมือนไฟกำลังไหม้ที่หัวอย่างนั้นละ ก็ต้องรีบดับพรมจรรย์นี้มีไวเพื่อละขาดซึ่งภพ ถ้าใช้ทั่งรูป ใช้ทั่งนาม มันก็จะจบลงกับภพนี้ละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2012
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ศึกษาศีล แนะนำ พระวินัย

    ศึกษาภาวนา แนะนำ พระสูตร

    ศึกษาปัญญา แนะนำ พระอภิธรรม

    พิจารณาเอาครับ ความรู้สภาวะธรรมมากมาย รู้หมดสัตว์มีรูป สัตว์ไม่มีรูป

    ลักษณะสภาวะธรรมต่างๆ จนสามารถจำแนกบัญญัติเพื่อสั่งสอนได้มากมาย

    ปัญญาปุถุชน ไม่มีทางเลย

    ปัญญาพระปัจเจค รู้ได้ แต่บัญญัติ ออกมาสั่งสอนไม่ได้

    ภคว แปลว่า พระผู้จำแนกแจกธรรม

    พระอรหันตสาวก รู้ได้ ด้วยการฟังตาม

    เหตุนี้ จึงสรรเสริญ พระพุทธองค์ ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง



    อนึ่ง จิต เจตสิก รูป นิพาน เป็นปรมัตถ์ธรรม คือสภาวะสัจจะ

    ปัญญา เป็นคู่ปรับกับ อวิชา

    อะไรเล่า คือ ปัญญา

    วิปัสสนา คือ ความรู้แจ้ง รู้อะไรเล่า

    รู้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยะสัจ ปฏิจสมุปบาท

    รู้อย่างไรเล่า คือ รู้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยะสัจ ปฏิจสมุปบาท

    รู้ รูปนาม ปัจจัย เหตุใกล้ ไตรลักษณ์

    รู้อย่างไรเล่า คือ รู้ รูปนาม ปัจจัย เหตุใกล้ ไตรลักษณ์

    รู้ ลงวิเสสลักษณ์ และ สามัญลักษณะ

    รู้อย่างไรเล่า คือ รู้ ลงวิเสสลักษณ์ และ สามัญลักษณะ

    รู้ ความหมาย จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    รู้อย่างไรเล่า คือ รู้ ความหมาย จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    ศึกษาพระอภิธรรม
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
    อกุศลเจตสิก 14 ชนิด

    (14) โมหเจตสิก คือ เจตสิกที่หลงมืดบอดปกปิดความจริง
    (15) อหิริกเจตสิก คือ เจตสิกที่ไม่ละอายต่อบาป
    (16) อโนตตัปปเจตสิก คือ เจตสิกที่ไม่เกรงกลัวต่อบาป
    (17) อุทธัจจเจตสิก คือ เจตสิกที่ฟุ้งซ่านในอารมณ์
    (18) โลภเจตสิก คือ เจตสิกที่ยินดีติดใจในอารมณ์
    (19) ทิฏฐิเจตสิก คือ เจตสิกที่มีความเห็นผิดจากความเป็นจริง
    (20) มานเจตสิก คือ เจตสิกที่มีความถือตัว
    (21) โทสเจตสิก คือ เจตสิกที่ประทุษร้ายต่ออารมณ์
    (22) อิสสาเจตสิก คือ เจตสิกที่ริษยาผู้อื่นจะได้ดี
    (23) มัจฉริยเจตสิก คือ เจตสิกที่ตระหนี่ถี่เหนียว
    (24) กุกกุจจเจตสิก คือ เจสิกที่รำคาญใจ
    (25) ถีนเจตสิก คือ เจตสิกที่ยังให้จิตหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์
    (26) มิทธเจตสิก คือ เจตสิกที่ยังให้เจตสิกอื่นหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์
    (27) วิจิกิจฉาเจตสิก คือ เจตสิกที่ลังเลสงสัย
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ดูการตอบของเอ็งที่ผ่านมา เอ็งหลงเข้าไปอยู่ในสัญญาตลอด จึงไม่เห็นความจริง

    ยกตัวอย่างเวลาข้าถามเอ็งว่า การเรียนอภิธรรมขัดเกลานิสัยเอ็งอย่างไร ดับทุกข์อย่างไร
    แทนที่เอ็งจะ พิจารณาจากชีวิตจริง เอ็งยังไปมองในเชิงทฤษฎีแล้วตอบมาตามทฤษฎี

    เช่น เอ็งตอบว่า รู้จิตว่ามีลักษณะอย่างไร ก็คลายกำหนัด

    การตอบแบบนี้เขาเรียกว่าตอบโดย นึกเอา คิดเอา ตรึกเอาตามทฤษฎี

    ถ้าเอ็งดูจากชีวิตจริง เอ็งก็ต้องระลึกได้สิว่า เวลาพบเจอเหตุการณ์ใด แล้วเองเอามันไปใช้จริง
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เรียงให้ใหม่ น้องโหน่ง

    ศึกษาศีล สิกขาบท แนะนำพระวินัยปิฎก

    ศึกษาวิธีเข้าถึงปัญญา แนะนำพระสูตร ทุกสูตร ใช้ได้หมด

    ศึกษาบัญญัติคำ คำที่เป็นบัญญัติที่พระศาสดาจำแนกสภาวะ แนะนำ
    พระอภิธรรมปิฏก
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เจตสิกกลุ่มที่ฉอง

    เป็นกลุ่ม อกุศล เกิดได้กับทุกคน

    ในแต่ละวัน กุศลเกิดน้อยมาก อกุศลเกิดมากกว่า

    นั่งหายใจเฉยๆอยู่หน้าคอมนี้ โลภะรับประทานอยู่ก็ได้

    ขณะนี้จิตเป็นกุศล หรือ อกุศลเคยรู้มันบ้างไหม

    เมื่อไม่รู้ ย่อมไม่ใช้ฐานะ ที่จะแทงตลอดในรูปนาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2012
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เห็นอย่างนี้ก็พอดีขึ้นมาบ้าง พอหลุดจากมิจฉาทิฏฐิได้บ้าง ก็สาธุนะครับ

    ขึ้นชื่อว่าพระธรรม ไม่มีอะไรขัดกันเลย

    จริตชอบสมาธิ ชอบสงบก่อน ค่อยขัดเกลา ก็ศึกษาสัลเลขสูตรนะครับ ^^
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075

    รูปมันก็คือรูป มันไม่รู้ร้อนรู้หนาวอะไร

    นั่งเคาะๆ เปิด เปลี่ยนกระทู้มันก็ อิริยาบถเดิมๆ กระทบแข็งอ่อนเหมือนเดิม

    ตาก็เห็นสีเดิมๆ เห็นก็ไม้่ได้ไปเดือดร้อนกับสิ่งที่เห็นเลย มันก็กิจของตาเห็น

    แต่กระทบมา เดี๋ยวยิ้ม เดี๋ยวกระหยิ่ม เดี๋ยวขัดเคือง เดี๋ยวอยากข่ม อยากเอาชนะ เดี๋ยวหดหู่

    เคยรู้มันบ้างไหม ว่าเหล่านี้เป็นสภาวะธรรม ไม่ใช่คน สัตว์
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นั่นน่ะ ปัญญาแยก ขันธ์ แยกสังขารขันธ์ แยกธรรมในธรรม ธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นอกุศล

    ธรรมเป็นนิวรณ์ ธรรมเป็นโพชงค์

    รู้รสหวานนั้น หากมีปัญญารู้ว่า มหาภูติรูป๔ มีรสด้วย มีสีด้วย นั้นก็เป็นปัญญา

    รู้รสหวานนั้น หากรู้ว่า ขณะนั้นธรรม ๓ อย่างประชุมกันอยู่เฉพาะหน้า นั้นก็เป็นปัญญา

    รู้รสหวาน เป็น เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี ไม่ใช่คนสัตว์ที่รับรส เกิดแต่ รูปกระทบ เกิดรู้ทางลิ้น นั้นก็เป็นปัญญา
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถูกแล้ว ปุถุชน ไม่สามารถจำแนกบัญญัติสั่งสอนได้มาก
    ปัญญาปุถุชนไม่มีทางเลย

    พอพระปัญจวคีย์ ทั้ง 5บรรลุธรรม

    และเมื่อ มีพระสาวกบรรลุตามได้หลายองค์
    พระพุทธเจ้าก็รับสั่ง พระสาวกทั้งหลาย อันมีพระปัญจวคีย์เป็นต้นฯ

    พวกเธอ จงไปประกาศศาสนา

    หากจะบอกว่า
    พระปัญจวคีย์ออกมาสั่งสอนไม่ได้ เป็นความคิดที่มีความเห็นผิด

    แต่หากจะบอกว่าพระปัญจวคีย์ ไม่สามารถเป็น ภควาได้ ก็ยังมีเหตุผล
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อนึ่ง จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    อ่าน ท่องจำ ชื่อ ได้ที่ พระอภิธรรมปิฎก

    รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่การใช้ กาย ใจ เป็นเครื่องศึกษา
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถูกแล้วน้องโหน่ง :cool:
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขณะพระปัจจวัคคีฟังธรรม ขณะนั้นวิปัสสนาญาณเกิด เกิดปัญญาเห็นธรรม

    ไม่มีใครบอกเลย ว่าห้ามนำความรู้นี้ไปสอนต่อผู้อื่น

    มีพระสูตรเรื่องผู้อ่านสานของพระราชา กับมหาโจรขโมยสานพระราชา ลองหาอ่านดูครับจะได้เข้าใจความหมายตรงพระสูตร

    ความเห็นผิดในตัวอย่างนี้เกิดจาก เข้าใจผิด หรือรู้มาผิด แล้วไปสอนมากกว่า

    พระพุทธเจ้า ทรงติเตียน โมฆบุรุษ คือสอนแล้วเอาไปตีความผิด พูดผิด
     
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คล้ายๆน้าปราบ ศึกษาพระสูตร แล้วทำความเข้าใจ นำไปปฏิบัติ

    ในพระอภิธรรมก็เช่นกัน ศึกษาชื่อปรมัตถ์เพื่อเข้าใจความหมาย แล้วนำไปสู่สภาวะจริงที่เกิดเดี๋ยวนี้

    ซึ่งจะหลับตา หรือลืมตา สภาวะปรมัตถ์มันก็มีอยู่แล้ว

    ก้อาศัย พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงชี้สภาวะลักษณะธรรมต่างๆนี้แลเป็นเครื่องแยก รูปนาม ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ^^

    คงไม่ใช่เรื่องท่องจำเอาบัญญัติ อย่างที่น้าปราบเข้าใจไม่แยบคายอยู่นี้หรอก
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    การสอนธรรมเป็นเรื่องยาก
    ขนาดพระองค์ ยังทรงติเตียนเลย

    ฉะนั้นแล้ว การจะพูด หรือสาธยายยกพระไตรปิฎก เพื่อการสอนธรรม
    จะกระทำได้ ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาติ จากคณะมหาเถระ ว่า
    ท่านจงเทศนาธรรมเถิด ซึ่ง วินัยนี้
    ยังปรากฎ กับคณะมหาเถระ ที่ปฏิบัติดี ตรง ถูก ชอบ ยังมีอยู่

    ส่วนในกระทู้ไฮเท็ค เป็นได้แต่เพียง สนทนากัน ระหว่างผู้ศึกษา


    ทีนี้ หากผู้ไม่ได้ฝึกปฏิบัติ และยังเข้าถึงไม่ได้
    จะมาสอนธรรมตามพระไตรปิฎกนั้น เป็นเรื่องยาก
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ไหน ไหน น้องโหน่ง ลองยก ตัวอย่าง
    วิธี ที่ว่า นำเอาการอ่านอภิธรรมปิฎกมาฝึกหน่อยว่าทำอย่างไร
     
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ข้อนี้เห็นด้วย

    ฉนั้นแล้ว การตั้งตัวเป็นลักธิ ประกาศธรรมจนเกินพระไตรปิฏกนั้นไม่ควร

    ถามหน่อย อะไรหนอ เรียกว่าปฏิบัติ

    ให้ข้อคิดอย่างนี้นะ

    น้าปราบศึกษาพระธรรม อ่านพระธรรมให้คนฟัง

    โพสพระธรรมให้คนพิจารณา

    สนทนาธรรม รู้จักอ้างอิงพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม

    นั้นแลเซฟสุด เป็นกุศล ๒ ทาง ได้ชื่อ ๑ ทาง

    กุศลแก่ตน ๑

    กุศลแก่พระพุทธศาสนา ๑

    ได้ชื่อว่า เป็นผู้เคารพธรรม ๑
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เอาสั้นๆเลย

    ศึกษาธรรมได้ชื่อว่า ฟังธรรมสัตปุรุษ เป็นเหตุให้ ศรัทธาเกิด สติเกิด

    หลักๆเลย การศึกษา เป็น สุตมยปัญญา

    โยนิโสมนสิการ เป็น จินตมยปัญญา

    การระลึกได้ เป็น สติ

    ระลึกอะไร

    ระลึกได้ใน รูปนาม สภาวะสัจจะที่ปรากฏ ตามที่เคยบ่มเพาะปัญญา เคยได้ยิน ได้ฟัง พิจารณามา



    ให้เหตุผลอย่างนี้นะ ไม่ศึกษาอภิธรรม เจริญวิปัสสนาไม่ได้หรอก

    เพราะอภิธรรม บรรยายแต่สภาพปรมัตถ์ ลักษณะ เหตุปัจจัย จิต เจตสิก รูป

    โดยนัย ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยะสัจ ปฏิจสมุปบาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2012
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    แน่ใจนะว่า ที่พิมพ์มานี่ เอามาจากอภิธรรมปิฎก
     
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ไม่ศึกษาอภิธรรม เจริญวิปัสสนาไม่ได้หรอก ใครบอกเหรอพี่หลง
     

แชร์หน้านี้

Loading...