เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สถาบันลอดช่องมอง “ฮุนเซน” ลีลาเหนือชั้นรัฐบาลไทยทุกประตู
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>10 กุมภาพันธ์ 2554 15:02 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ผู้นำที่กองทัพเวียดนามจับขึ้นนั่งเก้าอีกในปี 2522 นายกรัฐมนตรีกัมพูชฮุนเซน กำลังแถลงกับผู้สื่อข่าวอย่างออกรสก่อนการเลือกตั้งในปี 2536 ในภาพแฟ้มของเอเอฟพี แม้ว่าพรรคประชาชนกัมพูชาหรือพรรคคอมมิวนิสต์เก่าจะพ่ายแพ้ แต่ก็สามารถต่อรองจนได้เข้าร่วมรัฐบาลกัมฝ่ายต่อต้านในอดีต ทุกฝ่ายล้วนดูแคลนฮุนเซนมาตลอดวันนี้อยู่ในอำนาจมา 26 ปี ผู้นำกัมพูชาที่ยากจน ผงาดขึ้นทายท้าทำสงครามกับไทย ก็เพราะมีจีน เกาหลี เวียดนาม เป็นกองหลังสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจ และจีนให้อาวุธ นักวิเคราะห์สถาบันของสิงคโปร์กล่าว.

    ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ฮุนเซนไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว มี จีน เกาหลี เวียดนามเป็นลูกพี่ใหญ่ มีสัมพันธ์อันดีกับสิงคโปร์ ทำให้เขาหาญกล้าท้าทายเพื่อนบ้านที่เข้มแข็งกว่าอย่างประเทศไทย โดยไม่มีอะไรจะสูญเสียมากมาย ขณะที่ไทยจมปลักกับปัญหาแตกแยกทางการเมืองภายใน

    ผู้นำที่อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุดเอเชีย ยังใช้การบาดหมางกับไทยโกยคะแนนนิยมในประเทศได้อย่างมากมาย นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ฮุนเซน ทำได้ดีกว่าประเทศไทยมาก

    ทั้งหมดนี้เป็นการมองของนักวิเคราะห์ในสิงคโปร์ ที่รายงานโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งระบุว่าการขู่จะทำสงครามกับไทยได้สะท้อนให้เห็นความเป็นพันธมิตรอันใกล้ชิดกับจีน ซึ่งทำให้ผู้นำกัมพูชา กล้ายืนขึ้นผงาดกับไทย

    “ฮุนเซน ทราบดีว่า เขาไม่ต้องการประเทศไทยสักเท่าไร การมีสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับนักลงทุนจากจีน และเอเชียตะวันออก และสัมพันธ์อันดีกับสิงคโปร์ ทั้งหมดนี้ทำให้ฮุนเซนมีฐานะต่างไปจากในอดีตเป็นอย่างมาก” รอยเตอร์อ้างคำพูดของ ไมเคิล มอนเตซาโน นักวิจัยที่สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์

    “เขาได้มีความริเริ่มทางการเมืองอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา และเหนือชั้นกว่าไทยมากในทุกๆ ด้าน ดูเหมือนว่า เขาจะควบคุมได้ และการเผชิญหน้าที่ชายแดนมีแต่ช่วยเขาทางด้านการเมืองขณะที่ชี้ให้เห็นความยุ่งยากในกรุงเทพฯ” นายมอนเตซโน กล่าว

    การเผชิญหน้าที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 11 ราย บาดเจ็บอีก 85 ในเขตป่าแห่งความขัดแย้งรอบๆ ปราสาทพระวิหารสมัยคริสต์ศตรวรรษที่ 11 อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความภูมิใจของกัมพูชา ได้สร้างความยุ่งยากให้กับความแตกแยกทางการเมืองอันล้ำลึกในประเทศไทยยิ่งขึ้น

    การปะทะกันที่ชายแดนสัปดาห์นี้ระหว่างทหารของสองฝ่าย ได้ทำให้รัฐบาลไทยตกอยู่ภายใต้การขัดแย้งทางการเมือง และทำให้ฮุนเซนใช้เป็นโอกาสในการโกยคะแนน โดยเศรษฐกิจที่อ่อนไหวของกัมพูชามีอัตราเสี่ยงน้อยนิด

    การค้าสองฝ่ายลดลงเรื่อยๆ และการหลั่งไหลเข้าไปของทุนจากจีน เกาหลี และเวียดนาม ทำให้ผู้นำที่อยู่มายาวนานมีสิ่งต้องสูญเสียน้อยมาก ขณะที่เขากล้ายืนขึ้นเย้ยหยันประเทศไทย และทั้งหมดนี้ดูจะทำให้ฮุนเซนมีความพึงพอใจ นักวิเคราะห์คนเดียวกัน กล่าว

    ผู้นำไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังเผชิญหน้ากับการประท้วงจากกลุ่มคนเสื้อเหลือง ซึ่งแม้ว่าจะเล็ก แต่ก็เป็นกลุ่มที่เคยสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ มาก่อน คนกลุ่มนี้มองว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ อ่อนแอ และอ่อนด้อยเกินไปในการต่อกรกับกัมพูชา และ ฮุนเซน มองว่า คนเสื้อเหลืองเป็นฝ่ายตรงข้ามกับตน
    [​IMG]

    นายกฯ กัมพูชาฮุนเซน ในยูนิฟอร์มนายพล 5 ดาว ผู้นำสูงสุดของกองทัพประเทศยากจนที่สุดอีกแห่งหนึ่งในโลก ในวันฉลองครบรอบ 15 ปี กองพลน้อยที่ 70 วันที่ 23 ต.ค.2552 ปัจจุบันกล้าทายท้าทำสงครามกับไทย นักวิเคราะห์ในสิงคโปร์มองว่า ฮุนเซนเหนือชั้นกว่าผู้นำไทยทุกด้านตั้งแต่ปี 2551 มาแล้ว.--Reuters Photo/Chhor Sokonthea.

    หากความสัมพันธ์ทางการค้าถูกบั่นทอนลงไปก็จะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย ธนาคารแห่งชาติของไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจที่มีมูลค่า 265,000 ล้านดอลลาร์ของไทย ซึ่งใหญ่โตเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากการส่งออกไปกัมพูชา ที่มีมูลค่าไม่ถึง 1% ของจีดีพี

    ขณะเดียวกัน ทำธุรกิจกับบรรดามหาอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ก็จะทำให้ฮุนเซนมั่นใจได้ว่า ท่าทีของเขาเองจะส่งผลกระทบน้อยมากต่อเศรษฐกิจๆ เล็ก ที่มีมูลค่าไม่ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ และเป็นประโยชน์ต่อจีนที่สูญเสียประโยชน์ที่ได้จากแรงงานราคาถูกไปให้แก่เศรษฐกิจใหม่ เช่น กัมพูชา

    แต่ นายจัน สุพาล ประธานสมาคมเศรษฐกิจกัมพูชาของภาคเอกชน กล่าวกับรอยเตอร์ว่า “เราค้าขายกับไทยมากมาย คำถามก็คือ มันจะง่ายหรือเปล่าในการหาอะไรมาทดแทนกับการค้านี้”

    “สิ่งที่เรานำเข้าจากไทย สามารถนำเข้าจากเวียดนาม จีน มาเลเซีย หรือเกาหลีใต้ ได้” นายสุพาล กล่าว

    นักวิเคราะห์รายนี้ ยังชี้ให้เห็นการลงทุนจากเกาหลีที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีมานี้ รวมทั้งเงินกู้กับเงินช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่งด้วย

    การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของไทยในกัมพูชาลดลงเมื่อเทียบกับจีน นับตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ซึ่งผู้ประท้วงได้เผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ และโจมตีสถานประกอบการธุรกิจของไทยอีกหลายแห่ง

    นักวิเคราะห์คนนี้ยังชี้ให้เห็นการเติบใหญ่ขยายตัวการลงทุนและการค้าขายกับจีน นอกจากนั้นจีนยังให้เงินช่วยเหลือทั้งให้เปล่า และเงินกู้อีกหลายพันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาก่อสร้างถนนหนทาง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ จีนกำลังลงทุนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า ลงทุนในเหมืองแร่และยางพารา เป็นเงินมหาศาล

    จีนยังให้อาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนหนึ่งที่กัมพูชาใช้ต่อสู้กับไทยที่ชายแดนขณะนี้ นักวิเคราะห์ในสิงคโปร์ กล่าว

    แต่ นายปีเตอร์ บริมเบล นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารพัฒนาเอเชีย กล่าวว่า ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา จะส่งผลกระทบต่อฝ่ายที่ต้องพึ่งพาการค้าขายชายแดน ขณะที่การท่องเที่ยวของกัมพูชา อันเป็นแหล่งรายได้ใหญ่อันดับ 2 จะได้รับผลกระทบเนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางจากประเทศไทย

    “สำหรับประชาชนที่อาศัยตามแนวชายแดนจะเป็นเรื่องหายนะ” นายบริมเบล กล่าว และเสริมว่าสำหรับทั้งสองฝ่าย ความขัดแย้งเป็น “การประชาสัมพันธ์ที่เลวร้าย”

    IndoChina - Manager Online - ʶҺѹ
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “คณะกาชาดสากล” บุกตรวจซาก“ ร.ร.ภูมิซรอล” เหยื่อปืนใหญ่ “เขมร” - นำข้อมูลรายงานโลก

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กุมภาพันธ์ 2554 18:43 น.





    ศรีสะเกษ - คณะกาชาดสากล บุกตรวจซาก “ร.ร.ภูมิซรอลวิทยา” เหยื่อกระสุนปืนใหญ่เขมร เหตุปะทะเขาพระวิหาร นำข้อมูลรายงานสภากาชาดสากล ขณะ ผู้ว่าฯศรีสะเกษ เผย เหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ไม่มีการปะทะต่อเนื่อง 3 วันแล้ว ส่วนจะให้ชาวบ้านอพยพกลับบ้านเรือนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ได้เมื่อใดต้องหารือกับฝ่ายความมั่นคงก่อน

    วันนี้ (10 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.35 น.ที่โรงเรียภูมิซรอลวิทยา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ มิสเตอร์ ทรีซิต บิซวาส ผู้แทนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และ มิส อาน อี เลอแคล หัวหน้าคณะผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภากาชาดระหว่างประเทศ ได้นำคณะเดินทางมาตรวจสอบสภาพโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา ซึ่งถูกกระสุนปืนใหญ่ทหารกัมพูชา ยิงถล่ม ทำให้อาคารเรียนขนาด 3 ชั้น และอาคารประกอบ ได้รับความเสียหายยับเยิน มูลค่ากว่า 3,200,000 ล้านบาท จากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารกัมพูชากับทหารไทย ที่บริเวณชายแดนเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นำคณะหัวน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ

    นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้รายงานข้อมูลว่า จากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาครั้งนี้ ทำให้พลเรือนซึ่งเป็นประชาชนไทยเสียชีวิต 1 ราย บ้านเรือนราษฎรถูกกระสุนใหญ่ได้รับความเสียหายจำนวน 17 หลัง ในจำนวนนี้เสียหายทั้งหลังจำนวน 7 หลัง โรงเรียนได้รับความเสียหาย 1 แห่ง วัด 1 แห่ง รวมทั้งถนน และ พื้นที่การเกษตร ซึ่งตามหลักสากลแล้วการสู้รบทหารต้องไม่ยิงอาวุธเข้าใส่พื้นที่พลเรือน

    มิส อาน อี เลอแคล หัวหน้าคณะผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภากาชาดระหว่างประเทศ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า อาคารเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ได้รับความเสียหายจำนวน 2 หลัง โดยอาคารหลังแรกขนาดชั้น 3 มีห้องเรียนได้รับความเสียหาย จำนวน 6 ห้อง และ อาคารเรียน อีก 1 หลัง ที่อยู่ติดกันถูกกระสุนปืนใหญ่ได้รับเสียหายเช่นกัน ซึ่งตนจะได้นำเอาข้อมูลทั้งหมดรายงานให้สภากาชาดสากลทราบต่อไป

    ส่วนการซ่อมแซมดูแลนั้น เป็นหน้าที่ของสภากาชาดไทยที่จะต้องเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ ส่วนสภากาชาดสากลจะสนับสนุนด้านเงินทุนในการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากว่าสภากาชาดทั่วโลกจะมีสภากาชาดประจำแต่ละประเทศคอยรับผิดชอบดูแลอยู่แล้ว โดยมีสภากาชาดสากลคอยให้การสนับสนุน

    นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ตามที่ขณะนี้ได้มีประชาชนบางส่วนในศูนย์อพยพชั่วคราวต่างๆ ได้พากันกลับเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่อยู่ติดกับแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นั้น เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชามากพอสมควร ส่วนชาวบ้านที่อยู่หมู่บ้านติดกับชายแดนนั้น จะมีการอนุญาตให้กลับเข้าไปอยู่บ้านเรือนของตนเองได้เมื่อไรจะต้องรอการหารือกับฝ่ายความมั่นคงเสียก่อน หากเห็นว่าสถานการณ์มีความปลอดภัยแล้ว ก็สามารถอนุญาตให้ชาวบ้านกลับเข้าไปอยู่บ้านของตนเองได้ทันที ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ปกติไม่มีการปะทะมาได้ 3 วันแล้ว คาดว่า สถนการณ์จะดีขึ้นเรื่อยๆ

    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ล่าสุดขณะนี้ศูนย์อพยพชั่วคราวหลายแห่งของ จ.ศรีสะเกษ มีประชาชนหนีภัยการสู้รบระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชา บริเวณชายแดนเขาพระวิหาร เหลืออยู่รวมประมาณ 13,000 คน จากเดิมที่มีจำนวนกว่า 20,000 คน เนื่องจากได้ทยอยพากันเดินทางกลับบ้านเรือนไปส่วนหนึ่งแล้ว

    Local - Manager Online -
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อินโดนีเซียนำเข้าข้าวขนานใหญ่ เพื่อสำรองเพิ่มอีก 1 ใน 3


    [​IMG]

    จาการ์ตา 9 ก.พ.- อินโดนีเซียสั่งนำเข้าข้าวจำนวนมากเพื่อเพิ่มปริมาณข้าวคงคลังอีก 1 ใน 3 ส่งสัญญาณว่ารัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่กังวลเรื่องสินค้าราคาแพงและมีปริมาณลดลงต่างเร่งกว้านซื้อสินค้าในตลาด และอาจทำให้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงยิ่งขึ้น

    รัฐบาลอินโดนีเซียประชุมเรื่องความมั่นคงด้านอาหารในวันนี้ และสั่งการให้สำนักงานจัดซื้อจัดจ้างของรัฐทยอยนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจาก 1.5 ล้านตันเป็น 2 ล้านตัน สะท้อนว่าอินโดนีเซียกังวลว่าข้าวจะขาดแคลนและจะทำให้ราคาสูงขึ้น ด้านบังกลาเทศเผยวันนี้ว่า กำลังซื้อข้าว 200,000 ตันจากไทย เป็นการทำข้อตกลงแบบรัฐบาลกับรัฐบาลครั้งแรกของสองประเทศ บรรดานักค้าเกรงว่า รัฐบาลประเทศอื่นอาจเพิ่มการนำเข้าข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณข้าวคงคลังเช่นกันแม้ว่าผลผลิตข้าวในไทยและเวียดนามมีมากเพียงพอก็ตาม และอาจมีความเป็นไปได้ว่าผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลกสองประเทศนี้อาจสำรองข้าวมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศเพราะเผชิญแรงกดดันเรื่องราคาอาหารแพงเช่นกัน

    ราคาข้าวไทยขยับขึ้นจากตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16,200 บาท) เมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นตันละ 545 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16,350 บาท) ในขณะนี้ เป็นผลจากความต้องการส่งออกเพิ่มขึ้นเพราะผู้ส่งออกรับปากเมื่อเดือนก่อนว่าจะขายข้าว 820,000 ตันให้อินโดนีเซีย ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ราคาข้าวร้อยเปอร์เซ็นต์เกรดบีของไทยน่าจะขึ้นเป็นตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16,500 บาท) ภายในสิ้นเดือนนี้ และ 567.5 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 17,025 บาท) ในเดือนมีนาคม เพราะจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มเติมจากอินโดนีเซีย บังกลาเทศและศรีลังกา.-สำนักข่าวไทย

    วันพฤหัสบดี ที่ 10 ก.พ. 2554

    ที่มา http://www.mcot.net<!-- google_ad_section_end -->
    เครดิต http://palungjit.org/threads/ประเทศไทยจะเกิดอุบัติภัยอย่างที่ทำนายกันจริงๆหรือไม่.3906/page-1172
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤตอียิปต์ดำดิ่งหลัง'มูบารัค'เสียงแข็งไม่ออกทันที-ผู้ชุมนุมกริ้วหนัก

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>11 กุมภาพันธ์ 2554 05:24 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ฮอสนี มูบารัค ประธานาธิบดีอียิปต์ แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์ ยันไม่ลาออก

    เอเอฟพี/เอเจนซี - ฮอสนี มูบารัค ประธานาธิบดีอียิปต์ แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์เมื่อวันพฤหัสบดี(10) ยืนยันจะไม่ลาออกจากตำแหน่งโดยทันทีตามคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม แต่จะมอบหมายอำนาจแก่รองประธานาธิบดี ถ้อยแถลงที่สร้างความโกรธแก่ให้แก่ผู้ประท้วงจำนวนนับแสนที่รวมตัวกัน ณ จตุรัสใจกลางกรุงไคโร

    นอกจากคำมั่นมอบหมายอำนาจบางส่วนแก่โอมาร์ สุไลมาน รองประธานาธิบดีแล้ว มูบารัค ยังเสนอปฏิรูปรัฐธรรมนูญด้วย แต่ขณะเดียวกันผู้นำรายนี้บอกว่ากระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจที่เขายึดครองมานานกว่า 30 ปี จะมีไปจนถึงเดือนกันยายน

    ถ้อยแถลงของเขาก่อความโกรธกริ้วแก่ผู้ชุมนุมกว่า 200,000 คนที่รวมตัวกัน ณ จัตุรัสตอห์รีร์ ในวันที่ 17 ของการประท้วงทั่วประเทศขับไล่ประธานาธิบดีรายนี้ โดยพวกเขาต่างตะโกน "ออกไป ออกไป"

    [​IMG]

    ผู้ชุมนุมที่รวมตัวกัน ณ จัตุรัสตอห์รีร์ แสดงความโกรธกริ้วหลัง มูราบัค ยันไม่ยอมสละอำนาจทันที

    ก่อนหน้านี้ ณ จตุรัสดังกล่าวอยู่ในบรรยากาศที่รื่นเริง ในความหวังว่าถ้อยแถลงดังกล่าวอาจเป็นคำปราศรัยสุดท้ายของ มูบารัค หลังมีข่าวลือว่าเขาอาจใช้โอกาสนี้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง

    ความหวังว่า มูบารัค จะลาออกจากตำแหน่งในทันทีมีความเป็นไปได้อย่างมาก หลังจากไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านั้นผู้นำกองทัพบอกว่าจะเข้าแทรกแซงเพื่อความมั่นคงของประเทศ อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายของถ้อยแถลง ประธานาธิบดีรายนี้ยืนยันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไป

    ในถ้อยแถลงของ มูบารัค ยังโจมตีสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ ที่พยายามกดดันเขาเร่งรัดกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย โดยบอกว่าเขาไม่เคยอยู่ใต้คำบัญชาของต่างชาติ พร้อมยืนกรานต้องการตายบนแผ่นดินอียิปต์

    Around the World - Manager Online -
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ซาอุดีฯประกาศช่วย'มูบารัค'เอง ถ้าสหรัฐฯตัดหาง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>11 กุมภาพันธ์ 2554 01:23 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ของอียิปต์ ถูกพลังมวลชนกดดันอย่างหนักให้ลาออกจากตำแหน่งในทันที

    เอเจนซี - กษัตริย์อับดุลเลาะห์แห่งซาอุดีอาระเบีย ทรงยกโทรศัพท์ตรัสกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ว่า ประเทศซาอุฯ ของพระองค์จะหยิบยื่นความช่วยเหลือแก่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ของอียิปต์ต่อไป หากวอชิงตันยุติโปรแกรมมอบเงินช่วยเหลือแก่ระบอบมูบารัคแล้ว ทั้งนี้จากการรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะ ไทมส์ แห่งลอนดอน ฉบับเมื่อวันพฤหัสบดี (10)

    เดอะ ไทมส์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อาวุโสในกรุงริยาด ระบุว่า ในสายการสนทนาระหว่างประมุขของสองประเทศเมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา กษัตริย์อับดุลเลาะห์ยังทรงบอกกับโอบามา ด้วยว่า อย่าทำให้มูบารัคเสื่อมเสียเกียรติ หลังจากที่ประธานาธิบดีซึ่งครองอำนาจบริหารอียิปต์มายาวนานกว่า 30 ปีผู้นี้ถูกพลังมวลชนกดดันอย่างหนักให้ลาออกจากตำแหน่งในทันที

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 28 มกราคม ทำเนียบขาวเคยระบุว่า สหรัฐอเมริกาจะทบทวนโปรแกรมเงินช่วยเหลือแก่อียิปต์มูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์เสียใหม่ ทว่าภายหลัง เจ้าหน้าที่หลายคนได้ออกมาปฏิเสธบอกว่า ไม่มีการทบทวนแผนดังกล่าวในตอนนี้

    ทั้งนี้สหรัฐฯ เป็นชาติที่ให้การทะนุบำรุงเหล่าพันธมิตรโดยเฉพาะพันธมิตรสำคัญอย่างอียิปต์มาเป็นระยะเวลายาวนาน ด้วยการส่งมอบเงินช่วยเหลือรวมจำนวนหลายหมื่นล้านดอลลาร์ ในขณะที่สหรัฐฯ พยายามจะเข้ามามีอิทธิพลในกิจการด้านต่างๆ ภายในภูมิภาคดังกล่าวซึ่งหลายๆ ประเทศปกครองโดยผู้นำที่กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ

    Around the World - Manager Online -
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อียิปต์เตือนทหารอาจใช้กำลังปราบ หากผู้ชุมนุมทำบ้านเมือง'โกลาหล'
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>10 กุมภาพันธ์ 2554 23:20 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=335 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=335> </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ผู้ชุมนุมยังคงปักหลักประท้วงในกรุงไคโร</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เอเอฟพี - รัฐบาลอียิปต์ออกโรงเตือนว่า ฝ่ายทหารซึ่งกำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์บ้านเมืองอย่างใกล้ชิด อาจใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงที่กำลังได้ใจจนไม่มีทีท่าว่าจะรามือเหล่านี้ หากเหตุความไม่สงบลุกลามตึงเครียดถึงขีดสุด คำเตือนดังกล่าวมีขึ้นสวนทางกับรายงานจำนวนหนึ่งซึ่งเปิดโปงออกมาไล่เลี่ยกันว่า ทหารอียิปต์ได้เริ่มลงมือด้วยการจับขังพวกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างลับๆ บ้างแล้ว รวมทั้งมีการทรมานพวกเขาด้วย อย่างไรก็ตามทางด้านกลุ่มผู้ประท้วงเมินคำเตือนนี้และยังคงเดินหน้าชุมนุมขับไล่รัฐบาลต่อพร้อมกับยึดพื้นที่นอกอาคารรัฐสภาเพิ่มเติมเป็นศูนย์กลางการชุมนุมแห่งที่สองนอกเหนือจากจัตุรัสตอห์รีร์

    รัฐมนตรีการต่างประเทศของอียิปต์ อาห์เหม็ด อาบูล กะห์อีต ให้สัมภาษณ์เตือนผ่านโทรทัศน์ดาวเทียมภาษาอาหรับช่อง อัล-อาระเบีย ซึ่งสำนักข่าวเอ็มอีเอ็นเอ นำมาถอดความได้ใจความว่า ทางฝ่ายทหารอียิปต์ซึ่งจนถึงบัดนี้ยังคงวางตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองนั้น อาจจะเข้ามาแทรกแซงเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงอันยืดเยื้อคราวนี้โดยตรงหากสถานการณ์ทวีความตึงเครียดรุนแรงจนรัฐบาลเอาไม่อยู่

    “หากสภาพความโกลาหลอุบัติขึ้น กองกำลังทหารจะเข้ามาแทรกแซงเพื่อควบคุมความสงบภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นย่างก้าวอันจะนำไปสู่สถานการณ์ที่อันตรายยวดยิ่ง” อาบูล กะห์อีต กล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ คำเตือนของรัฐมนตรีการต่างประเทศผู้นี้มีขึ้นหลังจากรองประธานาธิบดีโอมาร์ สุไลมาน ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดสภาพแห่งการรัฐประหารขึ้นในประเทศหากการถ่ายโอนอำนาจตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ได้เป็นไปอย่างสันติวิธี

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและผู้ประท้วงหลายคนได้บอกกับหนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียนของอังกฤษว่า ฝ่ายทหารได้ลงมือโดยการจับกุมกลุ่มผู้ประท้วงขับไล่รัฐบาลไว้จำนวนหลายร้อยคนแล้ว โดยที่บางคนในจำนวนนั้นยังถูกทรมานอีกด้วย

    “ขอบเขตการจับกุมของพวกเขานั้นกว้างมาก ไล่ตั้งแต่ประชาชนซึ่งยืนประท้วงหรือพวกที่ถูกจับกุมเพราะฝ่าฝืนกฎประกาศเคอร์ฟิว ไปจนถึงพวกที่โต้เถียงใส่หน้าเจ้าหน้าที่ทหาร หรือคนที่ถูกรวบตัวไปให้ทหารเพราะดูหน้าตาน่าสงสัยหรือหน้าตาคล้ายชาวต่างชาติ” ฮอสซาม บอห์แกต ผู้อำนวยการศูนย์ความคิดริเริ่มของชาวอียิปต์เพื่อสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงไคโร กล่าว

    กระนั้น ถึงแม้จะมีคำประกาศเตือนการลงมือปราบปรามของทหารออกมา ทว่า กลุ่มผู้ประท้วงก็ยังคงไม่สนใจและเดินหน้าประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค กลางจัตุรัสตอห์รีร์ต่อเมื่อวันพฤหัสบดี (10) โดยที่ผู้ประท้วงอีกส่วนหนึ่งราวหนึ่งพันคนได้แห่แหนไปชุมนุมกันที่บริเวณอาคารรัฐสภาด้วยเพื่อเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาลาออก พร้อมกับขู่ว่าจะปักหลักอยู่บริเวณนั้นจนกว่าจะมีการยุบสภา

    “ไม่เอาสุไลมาน ไม่เอาหน่วยสืบราชการลับอเมริกัน ไม่เอาสายลับอิสลาเอล อียิปต์จงเจริญ ฮอสนี มูบารัค จงล่มสลาย” กลุ่มผู้ประท้วงตะโกนเปล่งสโลแกนบนถนนนอกอาคารรัฐสภา ที่ซึ่งตอนนี้ประดับประดาไปด้วยแผ่นโปสเตอร์รณรงค์ และที่พักพิงชั่วคราว

    สำหรับสถานการณ์การประท้วงนอกกรุงไคโร ก็มีรายงานเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน โดยในวันพุธ (9) ที่เมืองคาร์กา มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐได้เปิดฉากยิงใส่ผู้ชุมนุมจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และบาดเจ็บ 100 คน ขณะที่ในเมืองสุเอซ ผู้ประท้วงราว 3,000 คนได้บุกเข้าไปในอาคารที่ทำการของรัฐบาลและจุดไฟเผาเฟอร์นิเจอร์และรถยนต์ของผู้ว่าฯ ด้วย

    Around the World - Manager Online -
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตลาดหุ้นฮ่องกงขยับหาพันธมิตร หลัง'เยอรมัน-นิวยอร์ก'ใกล้ควบรวม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>10 กุมภาพันธ์ 2554 21:29 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เอเจนซี - ตลาดหลักทรัพย์เยอรมัน (ดอยต์เช เบอร์เซ) และ ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ยูโรเน็กซ์ (NYSE Euronext) กำลังเดินหน้าควบรวมกิจการกันเพื่อกลายเป็นกิจการตลาดหุ้นรายใหญ่ที่สุดของโลก ความเคลื่อนไหวคราวนี้ทำให้พวกคู่แข่งทั้งหลายทั่วโลกต้องเร่งรับหาพันธมิตรบ้าง โดยล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ขาใหญ่หมายเลข 1 ของวงการเมื่อคิดตามมูลค่าตลาด ประกาศวันพฤหัสบดี(10)ว่า จะพิจารณาทำข้อตกลงเป็นพันธมิตรกับตลาดหุ้นรายอื่นๆ

    พวกตลาดหลักทรัพย์แบบเดิมๆ ในปัจจุบันกำลังเผชิญแรงบีบคั้นด้านต้นทุนอย่างหนักหน่วง จากเหล่าคู่แข่งที่เป็นตลาดระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งก้าวผงาดขึ้นมาในช่วงหลังๆ นี้เอง เป็นต้นว่า แบตส์ ยุโรป (Bats Europe) และ ชิ-เอ็กซ์ ยุโรป (Chi-X Europe) โดยที่พวกตลาดระบบไฮเทคหน้าใหม่เหล่านี้ก่อตั้งขึ้นด้วยการลงขันของพวกวาณิชธนกิจรายใหญ่ที่สุดของโลกบางราย เนื่องจากต้องการที่จะทำให้อำนาจของตลาดหุ้นซึ่งครอบงำเหนือการค้าหลักทรัพย์ เกิดการคลายตัวลงบ้าง

    “พวกผู้เล่นรายที่เล็กกว่า กำลังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของพวกผู้เล่นรายใหญ่กว่าในตลอดทั่วทั้งโลกอย่างแท้จริงทีเดียว ดังนั้น พวกผู้เล่นรายใหญ่กว่าจึงถูกบังคับให้ต้องควบรวมกิจการกัน” เป็นความเห็นของ วิลเลียม คาร์ช อดีตประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของ ไดเร็ก เอดจ์ (Direct Edge) 1 ใน 2 บริษัทนอกตลาดที่ดำเนินกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐฯ โดยที่กิจการพวกนี้เองที่กำลังท้าทายตลาดหลักทรัพย์ใหญ่หน้าเดิมๆ ของอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น NYSE หรือ แนสแด็ก โอเอ็มเอ็กซ์ กรุ๊ป (Nasdaq OMX Group) ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา

    บริษัทฮ่องกง เอ็กซ์เชนเจส แอนด์ เคลียริ่ง (Hong Kong Exchanges and Clearing Ltd) ที่เป็นผู้ดำเนินกิจการตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ออกคำแถลงวันพฤหัสบดี(10)ระบุว่า “สืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงต่างๆ นานาในภูมิทัศน์แห่งตลาดการเงิน ตลาดหุ้นฮ่องกงจะพิจารณาโอกาสในทางระหว่างประเทศ ในเรื่องของพันธมิตร - หุ้นส่วน หรือรูปแบบความสัมพันธ์อื่นๆ ที่ให้ผลประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของเราที่เน้นตลาดต่างๆ ในจีน” ถึงแม้บริษัทยังมิได้ระบุว่าเล็งตลาดหลักทรัพย์หนึ่งใดอยู่ในขณะนี้

    คำแถลงของตลาดหุ้นฮ่องกง ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทางฝั่งยุโรปและอเมริกาเหนือเมื่อวันพุธ(9) นั่นคือ ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (London Stock Exchange) ระบุว่าจะเข้าซื้อตลาดหุ้นทีเอ็มเอ็กซ์ (TMX) ของแคนาดา แล้วจากนั้นในวันเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์เยอรมนีและ NYSE ก็แถลงว่า การเจรจาเพื่อควบรวมกิจการของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน กำลังอยู่ในขั้นก้าวหน้าไปมาก

    ถ้าหากควบรวมกันได้สำเร็จ กิจการด้านตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา จะมีมีมูลค่าการซื้อขายต่อปีสูงลิบลิ่วเกินกว่า 20 ล้านล้านดอลลาร์ ทีเดียว

    กระแสการผนวกรวมระหว่างตลาดหุ้นใหญ่เหล่านี้ ยังส่งผลเป็นการกระตุ้นให้ราคาหุ้นของตลาด ASX ของออสเตรเลีย ทะยานแรงเกือบ 5% โดยที่ว่าตลาดแห่งนี้ยังไม่แล้วเสร็จกับเรื่องที่ตลาดหุ้นสิงคโปร์จะเข้าซื้อในดีลมูลค่า 7,900 ล้านดอลลาร์ แต่ยังติดขัดด้วยเสียงคัดค้านต่อต้านภายในออสเตรเลียเอง

    แต่ในทางตรงกันข้าม ปรากฏว่าราคาหุ้นของตลาดฮ่องกงถูกทุบ เพราะนักลงทุนกังวลว่า การผนวกกันตรงนั้นจะทำให้ระดับความรุนแรงในการแข่งขัน ทวีความยากเข็ญแก่ทางตลาดฮ่องกง โดยราคาหุ้นของตลาดฮ่องกงถูกทุบไป 4.9% อันเป็นการดิ่งแรงที่สุดนับจากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ขณะที่มูลค่าการซื้อขายก็สูงลิ่วที่สุดนับจากเมื่อปลายปี 2008

    ในอดีตที่ผ่านมา ตลาดหุ้นฮ่องกงซึ่งมีฐานทุนอยู่ที่ระดับ 24,400 ล้านดอลลาร์ มีนโยบายที่จะไม่เดือดร้อนจำเป็นกับการไปผนวกรวมกับใคร โดยที่ว่าตลาดแห่งนี้มีความได้เปรียบอย่างยิ่งในความเป็นประตูพานักลงทุนนานาชาติเข้าสู่จีน นอกจากนั้น ตลาดฮ่องกงยังมีแรงอัดฉีดจากการที่พวกบริษัทของจีนเข้ามาขอจดทะเบียนซื้อขายในตลาด มีการทำไอพีโอปริมาณมหาศาลอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ธุรกิจของตลาดฮ่องกงยังเฟื่องฟูไม่รู้จบ

    ส่วนสำหรับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในเอเชียที่ยังลังเลกับการไปผูกสัมพันธ์กับตลาดอื่นนั้น ได้แก่ตลาดหุ้นในจีนกับตลาดหุ้นในอินเดีย

    ด้านตลาดหุ้นโตเกียวระบุมาเลยว่า ไม่มีความสนใจจะหาผู้ผนวกรวมแต่อย่างใด

    Around the World - Manager Online -
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    "สีหนุ" ทรงเลี้ยงแกะ ป้ายสีไทยยังอยากได้ปราสาทพระวิหาร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>11 กุมภาพันธ์ 2554 04:38 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ภาพแฟ้ม 3 ก.ย.2552 สมเด็จพระนโรดมสีหนุอดีตกษัตริย์กัมพูชา ทรงคตพสกนิกรกับข้าราชการที่ไปส่งเสด็จฯ ขณะจะออกเดินทางจากสนามบินเสียมราฐไปจีน พร้อมอดีตพระราชินีโมนิกมุนีนาถ เพื่อรักษาพระอาการประชวรด้วยมะเร็งกับอีกหลายพระโรค อดีตกษัตริย์ที่ทรงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับไทยมายาวนานออกคำแถลงในสัปดาห์นี้บิดเบือนข้อเท็จจริง โดยทรงกล่าวหาว่ากองทัพไทยจ้องจะยึดปราสาทพระวิหารกลับไปเป็นของไทยอยู่ตลอดเวลา.-- AFP PHOTO.

    ASTVผู้จัดการออนไลน์-- สมเด็จพระนโรดมสีหนุอดีตกษัตริย์แห่งกัมพูชา ที่เคยเป็นคู่กรณีกับไทยในศาลโลกเมื่อเกือบครึ่งศตวรรษก่อน ทรงกล่าวหาว่า ไทยยังอยากจะได้ปราสาทพระวิหารเป็นของตน ทั้งๆ ที่ศาลระหว่างประเทศตัดสินให้ตกเป็นของกัมพูชาไปแล้ว มีการเผยแพร่คำแถลงเรื่องนี้ในวันพฤหัสบดี 10 ก.พ.

    "กองทัพไทยยังคงเก็บไว้ในใจเสมอมาว่าจะต้องเอาปราสาทของกัมพูชาให้ได้" สมเด็จพระสีหนุตรัสถึงเรื่องนี้ ในคำแถลงที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ส่วนพระองค์ในวันที่ 8 ก.พ. ขณะทรงพำนักในกรุงปักกิ่ง เพื่อรักษาพระอาหารประชวรด้วยมะเร็ง กับอีกหลายพระโรค

    "ในปี 2505 ศาลได้แสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนและมีคำตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของชาวเขมร" อดีตกษัตริย์ทรงระบุ

    แต่การกล่าวหาของอดีกษัตริย์กัมพูชานับเป็นการบิดเบือนประเด็นอย่างสำคัญ เพราะทุกฝ่ายทราบดีว่าประเทศไทยไม่เคยถวิลหาปราสาทพระวิหารอีก และยังได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกมาโดยตลอด

    แต่สิ่งที่ไทยต่อสู้อยู่ในวันนี้เป็นพื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหารที่ถูกบิดเบือนไปจากเส้นพรมแดนธรรมชาติ ตามสัญญาฝรั่งเศส-สยาม และ ตามที่แสดงเอาไว้ชัดเจนในแผนที่มาตรส่วน 1/50,000

    เมื่อครั้งที่สละราชสมบัติลงเล่นการเมือง เจ้าสีหนุได้นำความขัดแย้งฟ้องต่อศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮก ศาลใช้เวลาหลายปีในการไต่ส่วน แต่ในที่สุดก็ตัดสินยกให้เป็นของกัมพูชา เนื่องจากรัฐบาลไทยในยุคนั้นไม่ได้คัดค้านการใช้แผนที่มาตราส่วน 1/200,000 ที่อีกฝ่ายหนึ่งใช้อ้างอิง ทั้งๆ ที่บิดเบือนเจตนารมณ์สนธิสัญญาพรมแดนฝรั่งเศส-สยามปี 1904

    "เจ้านโรดมสีหนุ" จึงทรงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับไทยตลอดมา ทรงเป็นที่เกลียดชังของชาวไทย ในยุคหนึ่งเคยมีการพูดกันทั่วไปว่า “สี” ที่คนไทยเกลียดที่สุดคือ “สีหนุ”

    สถานการณ์ที่แปรผันในประเทศ ทำให้เจ้าสีหนุต้องทรงระหกระเหิร ต้องเสด็จลี้ภัยในต่างแดนหลังถูกกองทัพที่นำโดย พล.อ.ลอนนอล โดยสหรัฐฯ หนุนหลังทำรัฐประหารโค่นล้มในปี 2515 ตามมาด้วยฝ่ายเขมรแดงยึดอำนาจในปี 2518

    ในช่วงหลังจากถูกยึดอำนาจ เจ้าสีหนุได้สนับสนุนระบอบเขมรแดง ที่ต่อสู้ระบอบลอนนอล และต่อต้านมหาอำนาจตะวันตก โดยได้รับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์จีน เคยเสด็จเข้าไปในฐานที่มั่นของฝ่ายเขมรแดง และพบกับผู้นำฝ่ายนั้นหลายคน รวมทั้งนายเคียวสมพร กับนายเอียงสารี ด้วย

    สถานการณ์ยังพลิกผันต่อไปอีก เจ้าสีหนุทรงเปิดเผยว่า พระญาติกว่า 10 คน รวมทั้งพระโอรส พระธิดา จำนวนหนึ่ง ได้ตกเป็นเหยื่อของเขมรแดง และ ทรงประณามความโหดร้ายของคอมมิวนิสต์สายจีนกลุ่มนี้

    [​IMG]

    ภาพแฟ้ม 30 ก.ย.2553 เป็นภาพเหตุการณ์ใหม่สุดเท่าที่มีการเผยแพร่ สมเด็จพระนโรดมสีหนุเสด็จฯ ร่วมงานเลี้ยงฉลองครบรอบปีที่ 61 การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มหาศาลาประชาชนกรุงปักกิ่ง อดีกษัตริย์ที่ทรงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับไทยมายาวนาน ออกคำแถลงในสัปดาห์นี้บิดเบือนข้อเท็จจริง โดยทรงกล่าวหาว่า กองทัพไทยจ้องจะยึดปราสาทพระวิหารให้กลับไปเป็นของไทยอยู่ตลอดเวลา.--AFP PHOTO/Liu Jin

    อย่างไรก็ตามเจ้าสีหนุ ยังต้องพึ่งพาเขมรแดงในการต่อสู้กับเวียดนามกับระบอบเฮงสัมริน-เจียซิม ที่มีฮุนเซนรวมอยู่ด้วย

    กลุ่มอาเซียนที่มี ไทย สิงคโปร์ กับมาเลเซีย เป็นหัวหอกได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายต่อต้านเวียดนามขึ้นมา โดยเจรจารวบรวมกองกำลังเขมร 3 ฝ่ายขึ้นเป็น "รัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย" ที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ โดยมีเจ้าสีหนุเป็นผู้นำ รวมกับฝ่ายเขมรแดงและฝ่ายของนายซอนซานที่เรียกทั่วไปว่า "เขมรเสรี"

    ในช่วงทำสงครามต่อต้านเวียดนามกับระบอบฮุนเซนในกรุงพนมเปญระหว่างปี 2525-2532 เจ้าสีหนุเสด็จฯ มาประเทศไทยหลายครั้งเพื่อทรงเยี่ยมเยือนราษฎรในค่ายผู้อพยพของฝ่ายพระองค์หลายแห่ง ที่ตั้งอยู่ตามแนวชายแดน และ เพื่อประชุมร่วมกับอีก 2 ฝ่าย

    ในช่วงปีก่อนโน เจ้าสีหนุเคยมีสำนักงานในซอยสวนพลู กรุงเทพฯ โดยใช้เป็นสำนักงานของพรรคฟุนซินเปกโดยกรมหลวงนโรดมรณฤทธิ์ พระโอรสเป็นผู้นำทางทหาร

    ในช่วงปีที่สถานการณ์บังคับให้ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันต่อต้านการรุกรานของเวียดนาม ทำให้ทั้งเจ้าสีหนุ กับชาวไทยทั่วไปต้องทิ้งความบาดหมางในอดีตเอาไว้ชั่วคราว

    อย่างไรก็ตาม คำแถลงของอดีตกษัตริย์แห่งกัมพูชาที่ออกมาในสัปดาห์นี้ ได้ทำให้นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน นำไปขยายผลต่อเพื่อโกยคะแนนนิยมในประเทศ หลังจากการศึกที่ชายแดนกับไทยไม่ประสบความสำเร็จ

    ฮุนเซนเปิดเผยในวันพุธ 9 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลของเขาจะดำเนินตามรอยอดีตกษัตริย์สีหนุ โดยใช้นโยบายระยะยาวต่อสู้กับไทย เช่นเดียวกับเมื่อกว่า 50 ปีก่อน ที่เจ้าสีหนุใช้เวลาหลายปีกว่าจะนำเรื่องนี้ให้ศาลโลกติดสินจนประสบความสำเร็จ

    คำแถลงของอดีตกษัตริย์สีหนุ ยังออกมาขณะที่ฮุนเซนกำลังพยายามทุกวิถีทาง ทำให้ความขัดแย้งทวิภาคีกับไทย กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ ก่อนหน้านี้ได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีปฏิบัติการเร่งด่วน ส่งทหารเข้ารักษาสันติภาพ และ ตั้งเขตกันชนขึ้นที่ชายแดนกัมพูชา-ไทย.

    IndoChina - Manager Online -
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิทยุเขมรเรียกแรงงานกลับ-ปลุกแขมร์คลั่งชาติ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=center align=left>11 กุมภาพันธ์ 2554 00:54 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวนครราชสีมา -วิทยุเขมรคลั่งชาติ “เรียกแรงงานกลับประเทศ” รับลูก“คุณพ่อฮุนเซ็น”ถวิลหาสงคราม “ทบ.”ปัดใช้ระเบิดพวงยิงเขมร ยันเขมรใช้กับไทย “ภูมิซรอล” ตื่น“F 16” บินโฉบ ทอ.แจงฝึกคอบร้าโกลด์ ด้านชาวบ้านทยอยกลับวันนี้ไม่กลัวถูกซ้ำ “มาร์ค”อ้าง“ฮุนเซน”อยากเคลียร์พื้นที่ ย้ำมีรูปถ่ายฟ้องเขมรใช้พระวิหารรบ ด้าน "สีหนุ" ออกโรงโวยไทยต้องทวงคืนพระวิหารสักวัน

    วานนี้(9 ก.พ.)ที่ รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาไม่เจรจากับไทย ว่า ตนมั่นใจว่าทุกองค์กรที่มาติดตาม ก็สนับสนุนให้มีการเจรจากัน ส่วนกรณีที่ประเทศฝรั่งเศสจะมาเป็นตัวกลางในการเจรจา นั้น คงยังไม่จำเป็นเพราะทางอาเซียนได้ทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้มีการเจรจา และจากที่ได้ฟังนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ตนเองมั่นใจว่าสหประชาชาติ ก็ต้องการให้มีการเจรจากัน

    เมื่อ ถามว่า การเสนอตัวของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เป็นการสะท้อนหรือไม่ว่า ประเทศมหาอำนาจต้องการมีบทบาทในการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหาร เพื่อประโยชน์ของตัวเองจนมีปัญหา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าการเสนอตัวเข้ามาของฝรั่งเศสต้องการลักษณะอย่างไร แต่ถ้าต้องการแสดงความปรารถนาดี และให้มีการพูดคุยกันก็ไม่เป็นไร

    “เป็นสิ่งที่ๆได้บอกกับทางสหประชาชาติให้ทบทวนดูปัญหาที่เกิดขึ้น และเชื่อว่าเหตุการณ์ และข้อเท็จจริงที่เสนอไปน่าจะทำให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจดีขึ้น”

    **ย้ำมีรูปถ่ายฟ้องเขมรใช้พระวิหารรบ

    เมื่อ ถามว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งข้อสังเกต การใช้อาวุธของทางกัมพูชา น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยมีรูปถ่าย และจะมีการติดตามในเรื่องนี้ต่อ ซึ่งในตนสัปดาห์ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และนายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ก็จะเดินทางไปยังที่กรุงปารีส เพื่อที่จะไปชี้แจงคณะกรรมการยูเนสโก และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ เพราะคิดว่าการที่มีกองกำลังในปราสาทพระวิหารเป็นการยืนยันชัดแจ้ง ว่าไม่ได้เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ความเป็นมรดกโลกแน่นอน

    **อุ้มกษิตอ้างมหาอำนาจแค่วิเคราะห์

    ถามว่า เป็นเรื่องจริงหรือไม่ที่นายกษิต ระบุว่า มีประเทศมหาอำนาจเข้ามาหนุนหลัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ ถูกสอบถามเกี่ยวกับท่าทีของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในคณะมนตรีความมั่นคง โดยได้บอกว่าจากรายงานและที่วิเคราะห์ จากที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แต่ไทยก็เดินหน้าทำความเข้าใจกับทุกประเทศ

    **เชื่อการเจรจารูปทวิภาคีเท่านั้น

    ถามว่า สมเด็จฮุนเซน ออกมาระบุว่าเป็นการทำสงคราม และจะไม่คุยกับประเทศไทยอีกแล้ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตรงกับสิ่งที่ตนเองได้พูดกับเลขาฯ สหประชาชาติ ว่ากัมพูชาต้องการยกระดับเรื่องดังกล่าว และก็เกิดขึ้น เพราะมีแรงกดดัน จากการเข้ามาจัดการพื้นที่ ส่วนที่กัมพูชาต้องมีการให้ประเทศที่ 3 มาร่วมเจรจากับไทย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นความพยายามของทางกัมพูชา แต่เชื่อว่า หากประเทศต่างๆ เห็นข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว ก็จะบอกให้กลับมาคุยกันระหว่าง 2 ประเทศ เหมือนเดิม
    ตนคิดว่าถ้าช่องทางที่กัมพูชาพยายามที่จะฟ้องต่างประเทศ ทั้งที่ความเป็นจริงไทยไม่ได้เป็นฝ่ายดำเนินการก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏประเทศที่กัมพูชาไปฟ้องก็จะบอกเอง ว่าเรื่องดังกล่าวต้องจัดการกันเอง และอยู่ในอาเซียนด้วยกัน เพราะฉะนั้นอย่างน้อยที่สุดอาเซียนก็จะมีบทบาทในการสนับสนุนให้มีการเจรจา

    **ยูเนสโก้ต้องปลดชนวนมรดกโลก

    ถามว่าจะมีการชี้แจงกับประเทศฝรั่งเศสที่เสนอตัวเข้ามาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ทำความเข้าใจกับทุกประเทศและเห็นว่าการชี้แจงในการประชุมสภาก็เป็นการยืนยันชัดเจนว่าไม่เฉพาะฝ่ายบริหารของไทย แต่ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยก็สนับสนุนให้แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี และเห็นได้ชัดว่าไทยไม่มีความคิดหรือเจตนาที่จะไปรุกรานใคร แต่มีความจำเป็นในการปกป้องอธิปไตยของไทย ซึ่งการดำเนินงานในระดับทวิภาตี ที่ต้องทำงานร่วมกันทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ทุกฝ่ายก็จะเดินหน้าในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอยู่ที่ประชาคมโลกที่จะให้เห็นข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วปลดชนวนที่เป็นแรงกดดัน ซึ่งชนวนสำคัญคือเรื่องมรดกโลก

    “ถ้ายูเนสโก้ปลดชนวนตรงนี้ ผมเชื่อว่า 2 ฝ่ายจะคุยกันได้ และไม่มีแรงกดดันเพราะอย่างไรผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ ในการให้ประชาชนแนวชายแดนอยู่อย่างสงบสุข ผมมั่นใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องการแบบนี้” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนมิ.ย. แต่ควรจะได้มีการกระหนักถึงปัญหาที่ถูกสร้างขึ้นมา และมีบทบาทแก้ปัญหานั้น ตนเข้าใจว่าเลขาธิการสหประชาชาติได้พูดกับทางยูเนสโกบางแล้ว ทั้งนี้ต้องดูว่า จะใช้วิธีไหนก็ได้ในการปลดล็อกแรงกดดันเกี่ยวกับการเสนอแผนการบริหารจัดการในเดือนมิ.ย.”

    **ให้ฝรั่งเศศช่วยปลดล๊อกมรดกโลก

    ถามว่าทางประเทศฝรั่งเศสต้องการเป็นตัวกลางในการเจรจาโดยจะนำแผนที่ฉบับที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำมาใช้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มันไม่เกี่ยว แผนที่ไม่ได้มีประเด็นเลย ฝรั่งเศสจะมาบอกให้เราทำอะไรได้อย่างไร มันเป็นเรื่องของเราที่ต้องแก้ไขปัญหา ความจริงฝรั่งเศส ถ้าอยากจะช่วยก็ขอให้ไปบอกให้ยูเนสโก เพราะยูเนสโก มีสำนักงานอยู่ที่ปารีส เมื่อถามว่า จะทำอย่างไรให้เป็นแค่ปัญหาของระหว่าง 2 ประเทศ ไม่ให้ประเทศอื่นๆเข้ามาหาผลประโยชน์ตรงส่วนนี้จะทำให้ลุกลามมากขึ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังมั่นใจว่าอาเซียนกับสหประชาชาติ ได้แสดงท่าทีให้มีการเจรจา เดินหน้าสนับสนุนเจรจาต่อไป เมื่อถามว่าถ้ายูเนสโก้ไม่ฟังเท่ากับเป็นเครื่องมือการล่าผลประโยชน์ของประเทศอื่นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องมีการดำเนินการต่อไป

    **ฟันธง“ฮุนเซน”อยากเคลียร์พื้นที่

    ค่ำวันที่ 8 ก.พ.นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงต่อรัฐสภาในการประชุมเพื่อแปรญัญติในปัญหาชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ของรัฐสภาว่า การปะทะที่เกิดขึ้นนั้นฟันธงได้อย่างเดียวคือเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และสมเด็จฮุน เซน ต้องการเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร สิ่งที่สมเด็จฮุน เซนต้องการอย่างเดียวคือ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และพยายามย้ำคืออยากให้พื้นที่กลับมาเป็นเหมือนอย่างก่อนเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งตนได้ย้ำว่าเป็นไปไม่ได้ หากจะให้กลับคืนเหมือนเดิมต้องให้พื้นที่กลับไปเมื่อปี 2543 ดังนั้นสมเด็จฮุน เซน จึงพยายามเคลียร์พื้นที่และต้องการให้นำทหารออกจากพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งตนยืนยันว่าไม่สามารถทำได้

    ** “กต.”ระบุฝรั่งเศสแค่เสนอแผนที่

    นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ข่าวที่ระบุว่า ฝรั่งเศสเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยรวมทั้งแสดงความพร้อมให้นำแผนที่ซึ่งทางฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำในสมัยก่อนมาคัดลอกเพื่อใช้ศึกษาว่า เป็นการรายงานคลาดเคลื่อน ทางฝรั่งเศสไม่ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นคนกลาง โดยฝรั่งเศสเพียงเสนอว่า ยินดีให้นำแผนที่สยาม-อินโดจีน อายุกว่า 100 ปีของทางฝรั่งเศสมาสำรวจและศึกษา

    ที่ผ่านมาทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยเคยร่วมมือกับฝรั่งเศสมาแล้วหลาย 10 ครั้ง ในแง่ของการส่งตัวแทนเข้าไปศึกษาแผนที่มากมายของทางฝรั่งเศส ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี กรณีนี้ทางกระทรวงอาจต้องเข้าไปศึกษาอีกว่ามีแผนที่ใหม่หรือไม่ มีความถูกต้องแม่นยำและเป็นประโยชน์กับทางการไทยอย่างไร เพราะบางแผนที่ฝรั่งเศสอาจทำเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งต้องนำมาศึกษาเป็นรายกรณีไป

    **ไทยงง! ไม่ได้ร่วมตรวจพระวิหาร

    นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวกรณีคณะกรรมการมรดกโลกลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายปราสาทพระวิหาร จากเหตุการณ์ปะทะว่า หากคณะกรรมการมรดกโลกะเข้ามาตรวจสอบปราสาทพระวิหารจริงในฐานะที่นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร เป็นหนึ่งในกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ควรมีสิทธิเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมมีสิทธิที่จะเข้าร่วมตรวจสอบ คิดว่าคณะกรรมการมรดกโลกต้องเปิดใจกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องยอมให้ไทยมีส่วนได้ส่วนเสียกับกัมพูชาเข้าร่วมด้วย เพราะหากไม่ให้เข้าร่วมจะไม่มีข้อยุติเสียที
    “อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมศิลปากรได้เร่งจัดทำเอกสารรายงานทางวิชาการในการโต้แย้งแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร รวมถึงพื้นที่ทับซ้อนของกัมพูชา ที่ยื่นต่อยูเนสโกไปแล้ว โดยเอกสารดังกล่าวได้จัดทำเกือบเสร็จสมบูรณ์เหลือปรับปรุงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น และจะนำเอกสารดังกล่าวไปหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและส่งไปยังยูเนสโก”นายนิพิฏฐ์กล่าว

    ** วิทยุเขมรคลั่งชาติ “เรียกกลับประเทศ”

    สำหรับกรณีที่ “ฮุน เซน”ระบุว่า การยิงปะทะที่บริเวณชายแดนกัมพูชาและไทย “เป็นสงครามที่แท้จริง ไม่ใช่เหตุทหารปะทะกัน” และสงครามครั้งนี้ฝ่ายไทยเป็นผู้ก่อขึ้น ดังนั้นนายกรัฐมนตรีไทยจะต้องรับผิดชอบต่อการก่ออาชญากรรมสงคราม

    ฮุน เซน บอกด้วยว่า รัฐบาลจะต้องดำเนินการระยะยาว ไม่ใช่แค่ 1 วันหรือ 2 วันเพื่อยุติความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหาร และจะวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อต่อกรกับไทย ซึ่งการต่อกรไม่ใช่แค่หนึ่งวัน หนึ่งปี แต่ใช้เวลาหลายปี

    นอกจากนี้ฮุน เซน ยังย้ำข้อกล่าวหาที่ว่าทางการไทยใช้ระเบิดพวง (คลัสเตอร์บอมบ์)ในการปะทะกับทหารกัมพูชา พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าเป็นสงครามที่แท้จริงเพราะมีการใช้อาวุธหนัก

    อีกด้านสื่อวิทยุเขมรปลุกกระแสคลั่งชาติอ้างทหารไทยตั้งใจยิงปืนใหญ่ใส่ปราสาทพระวิหาร เรียกชาวเขมรที่ทำงานในไทยกลับประเทศ ส่วนสื่อ น.ส.พ.เขมรประโคมไทยเสริมกองทัพรถถังประชิดชายแดนพระวิหารแล้วอพยพชาวบ้านออกเชื่อเตรียมถล่มเขมรครั้งใหญ่ อ้างแรงงานเขมรทำงานในไทยอพยพหนีกลับประเทศแล้ว 70 คน

    วันเดียวกันฮุน เซน ยังบอกด้วยว่า เขาได้พยายามผลักดันให้นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาติเพิ่มบทบาทของยูเอ็นในกรณีปะทะชายแดนกัมพูชาและไทยครั้งนี้ โดยบอกว่าความขัดแย้งได้ผ่านพ้นจุดที่จะแก้ไขปัญหาระดับทวิภาคีไปแล้วและต้องการให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดประชุมฉุกเฉิน ส่งทหารรักษาสันติภาพหรือผู้สังเกตการณ์เข้าไปยังกัมพูชา และกัมพูชายินดีถอยออกไปหากทหารยูเอ็นเข้ามาคุ้มครองบริเวณปราสาทพระวิหาร

    นอกจากนี้ผู้นำกัมพูชา บอกด้ยว่า หากคณะมนตรีความมั่นคงเผชิญความลำบากใจในการประณามการกระทำของไทย ก็ควรมอบบทบาทการเจรจาไกล่เกลี่ยให้กับอาเซียนแทน

    รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่เจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ซึ่งลี้ภัยรักษาตัวอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ส่วนตัวว่า "นึกแล้วว่าประเทศไทยจะต้องทวงคืนเขาพระวิหาร"

    **ทบ.ปัดใช้ระเบิดพวงยิงเขมร

    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติกัมพูชา เปิดเผยว่า ตรวจพบคลัสเตอร์บอมบ์ ในพื้นที่ตามแนวชายแดน หลังจากเหตุปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา ซึ่งองค์การนิรโทษกรรม ระบุว่า การใช้คลัสเตอร์บอมบ์ในพื้นที่อาศัยของประชาชน เป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล ขณะที่ ทหารของกัมพูชา กล่าวว่า ระเบิดดังกล่าวมาจากฝ่ายไทย
    คลัสเตอร์บอมบ์ (ระเบิดพวง) คือ ระเบิดที่มีลูกปรายขนาดเล็กอยู่ภายใน เมื่อยิงออกมาเปลือกระเบิดจะแยกตัวเหวี่ยงลูกปรายเป็นวงกว้าง แต่ระเบิดชนิดนี้มีอัตราการระเบิดด้านสูง จึงทำให้อาจระเบิดภายหลัง

    พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ยืนยันว่า กองทัพไม่ได้นำคลัสเตอร์บอมบ์มาใช้ในการปะทะกันครั้งนี้ แต่เป็นฝ่ายของกัมพูชาที่นำมาใช้กับฝ่ายไทย โดยที่ พ.ต.ธนากร พูนเพิ่ม รองผู้บังคับชุดปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 2306 ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุปะทะกันนั้น ถูกกระสุนปืนใหญ่ชนิดนี้เข้าที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล

    **F 16 บินโฉบเหนือบ้านภูมิซรอล

    เมื่อเวลา 13.30 น. ได้มีผู้พบเห็นและบันทึกภาพเครื่องบินเอฟ 16 ของกองทัพอากาศจำนวน 2 ลำ บินลาดตระเวนอยู่เหนือน่านฟ้า บริเวณบ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีการบินลาดตระเวนอยู่ประมาณ 30 นาที ก่อนที่เครื่องบินเอฟ 16 ทั้ง 2 ลำจะหายไป

    **มทภ.2คุย 2นาทีคF16ถึง

    พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2กล่าวว่า ทหารไทยทุกนายที่อยู่ตามแนวชายแดนมีขวัญกำลังดีอยู่แล้วและตนในฐานะแม่ทัพภาคที่ 2 ก็อยู่ในพื้นที่ตลอดในช่วงนี้ ทั้งนี้คาดว่าอีก 2-3 วันถ้าไม่มีเสียงปืนดังขึ้นมาอีก คงจะมีการทำความเข้าใจกันบางส่วน ส่วนจะให้ประชาชนอพยพกลับเข้าไปยังบ้านเรือนได้เมื่อไหร่นั้น จะหารือพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษอีกครั้งใน 1-2 วันนี้ ทั้งนี้ ได้ติดต่อประสานงานกับทางกองทัพอากาศมานานแล้ว เพียงแต่ว่าเรายังไม่ถึงเวลาร้องขอเท่านั้น ถ้าเครื่องบิน F-16 ตนร้องขอเข้าไปก็มาถึงที่หมายภายใน 2 นาที แต่เราไม่ใช้

    **แจงลาดตระเวน-ฝึกคอบร้าโกลด์

    พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เสนาธิการทหารอากาศ ชี้แจงว่า กองทัพอากาศมี 2 ภารกิจ คือ1.การฝึกคอบร้าโกลด์ ครั้งที่ 30 ซึ่งมีการฝึกตั้งแต่วันที่ 7-18 ก.พ.นี้ โดยมีพื้นที่การฝึกตั้งแต่ทางใต้ ของ จ.นครราชสีมา แต่ขณะนี้พยายามขยับการฝึกขึ้นมาในพื้นที่ตอนเหนือ คือ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา 2.ภารกิจลาดตระเวนพื้นที่ตามปกติ โดยจะใช้เครื่องบินเอฟ 5 และเอฟ 16 บินลาดตระเวนส่วนเครื่องบิน ที่บินเหนือพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชานั้น ไม่ยืนยันว่า เป็นเครื่องบินจากภารกิจไหน แต่ยืนยันว่า เป็นภารกิจตามปกติของกองทัพอากาศ ไม่ได้มีเจตนาบินตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

    ด้าน พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การบินลาดตระเวนของเครื่องเอฟ 16 บริเวณชายแดนนั้น เป็นการบินลาดตระเวนรักษาเขตตามปกติของกองทัพอากาศ ไม่เกี่ยวกับการบินเพื่อโจมตี หรือบินเพื่อแสดงกำลังทางอากาศเพื่อข่มขู่ หรือบินเพื่อยั่วยุแต่อย่างใด

    **ผู้แทนสังฆราชฯประทานของ

    สำหรับบรรยายกาศที่ศูนย์อพยพ หลายจุดซึ่งเป็นวันที่ 6นั้น ที่ศูนย์อพยพวิทยาลัยการอาชีพกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดให้พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนพระองค์ ประทานพระรูป ผ้าไตร น้ำมนต์สมเด็จพระสังฆราช 96 พรรษา พระไพรีพินาศ และหมากพลู ให้แก่พระภิกษุ และประชาชน

    ที่โรงเรียนบ้านท่าสว่าง ต.โนนสำราญ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวศรีสะเกษที่กำลังประสบปัญหาความเดือดร้อนจากการสู้รบระหว่างกองกำลังทหารไทยกับกองกำลังทหารประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทรงมีพระราชบัณฑูรให้ ร.อ.ไพบูลย์ สุขเจตนี รองผู้อำนวยการ กองงานพระวรชายาฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เดินทางมามอบถุงพระราชทานเพื่อเป็นการช่วยเหลือถุงพระราชทานมีทั้งสิ้น 1,000 ถุง พร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวนมาก
    โรงเรียภูมิซรอลวิทยา ต.เสาธงชัย มิสเตอร์ ทรีซิต บิซวาส ผู้แทนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และ มิส อาน อี เลอแคล หัวหน้าคณะผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภากาชาดระหว่างประเทศ ได้นำคณะเดินทางมาตรวจสอบสภาพโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา

    ขณะที่นักการเมืองทั้งพรรคร่วมรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และอดีตนักการเมืองก็เดินทางมาร่วมบริจาคและช่วยเหลือเป็นระยะ

    **11 ก.พ.ชาวบ้านกลับไม่กลัวถูกซ้ำ

    วันเดียวกันมีรายงานว่า ชาวบ้านหลายตำบลที่มีพื้นที่ติดกับชายแดน ได้ทยอยเดินทางกลับบ้านที่ทิ้งมากว่า 6 วัน นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผวจ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า การที่ชาวบ้านจะกลับเข้าสู่หมู่บ้านในขณะนี้ทางจังหวัดก็ไม่ได้ห้าม

    “หากคิดว่าเข้าไปเพื่อดูแลทรัพย์สินก็ไม่มีใครห้าม แต่หากเกิดเหตุการณ์ปะทะที่รุนแรงขึ้นก็ให้รีบกลับออกมาจากหมู่บ้านเพราะจะไม่ปลอดภัย หากชาวบ้านต้องการที่จะกลับเข้าไปในหมู่บ้านก็ไม่ได้ห้าม ขอเพียงว่าหากเกิดเหตุปะทะขึ้นอีกให้รีบกลับออกมา” นายสมศักดิ์ กล่าว

    พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวว่า หากสถานการณ์ดีขึ้นในช่วง 1-2 วันนี้ ในวันศุกร์ที่ 11 ก.พ.นี้ ก็น่าจะสามารถทยอยนำประชาชนกลับเข้าสู่พื้นที่ได้

    ส่วนที่บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สุรินทร์ การค้าและการท่องเที่ยวยังซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ทหารยังตรึงกำลังลาดตระเวนตลอดแนว.

    Daily News - Manager Online -
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554
    อย่าไว้ใจเขมร ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เขียนไว้เมื่อปี ๒๕๐๒
    Posted by พัชรวิภาวรรณ

    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี ๒๕๐๒

    "สัปดาห์นี้มีเรื่องความเมืองใหญ่ ไทยถูกฟ้องขับไล่ขึ้นโรงศาล
    เคยเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานาน ที่ยอดเขาพระวิหารรู้ทั่วกัน
    กะลาครอบมานานโบราณว่า พอแลเห็นท้องฟ้าก็หุนหัน
    คิดว่าตนนั้นใหญ่ใครไม่ทัน ทำกำเริบเสิบสันทุกอย่างไป

    อันคนไทยนั้นสุภาพไม่หยาบหยาม เห็นใครหย่อนอ่อนความก็ยกให้
    ถึงล่วงเกินพลาดพลั้งยังอภัย ด้วยเห็นใจว่ายังเยาว์เบาความคิด
    เขียนบทความด่าตะบึงถึงหัวหู ไทยก็ยังนิ่งอยู่ไม่ถือผิด
    สั่งถอนทูตเอิกเกริกเลิกเป็นมิตร แล้วกลับติดตามต่อขอคืนดี
    ไทยก็ยอมตามใจไม่ดึงดื้อ เพราะไทยถือเขมรผองเหมือนน้องพี่
    คิดตกลงปลงกันได้ด้วยไมตรี ถึงคราวนี้ใจเขมรแลเห็นกัน

    หากไทยจำล้ำเลิกบ้างอ้างขอบเขต เมืองเขมรทั้งประเทศของใครนั่น?
    ใครเล่าตั้งวงศ์กษัตริย์ปัจจุบัน องค์ด้วงนั้นคือใครที่ไหนมา?
    เป็นเพียงเจ้าไม่มีศาลซมซานวิ่ง ได้แอบอิงอำนาจไทยจึงใหญ่กล้า
    ทัพไทยช่วยปราบศัตรูกู้พารา สถาปนาจัดระบอบให้ครอบครอง
    ได้เดชไทยไปคุ้มกะลาหัว จึงตั้งตัวขึ้นมาอย่างจองหอง

    เป็นข้าขัณฑสีมาฝ่าละออง ส่งดอกไม้เงินทองตลอดมา
    ไม่เหลียวดูโภไคไอศวรรย์ ทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นหนักหนา
    ฝีมือไทยแน่นักประจักษ์ตา พราะทรงพระกรุณาประทานไป
    มีพระคุณจุนเจือเหลือประมาณ ถึงลูกหลานกลับเนรคุณได้
    สมกับคำโบราณท่านว่าไว้ อย่าไว้ใจเขมรเห็นจริงเอย...

    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
    ๑๘ ตุลาคม ๒๕๐๒

     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ประวัติศาสตร์ไทย
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    <TABLE style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; FONT-SIZE: 8pt; BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; COLOR: #000000; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left" cellSpacing=0 width=246><TBODY><TR><TD style="BORDER-TOP: #aaaaaa 2px solid; BACKGROUND: #fff1e1; COLOR: #999999; TEXT-ALIGN: center" colSpan=6>ยุคก่อนประวัติศาสตร์</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND: #fff1e1" colSpan=6>บ้านเชียง <SMALL>ประมาณ 2500 ก่อน พ.ศ.</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fff1e1" colSpan=6>บ้านเก่า <SMALL>ประมาณ 2000 ก่อน พ.ศ.</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #aaaaaa 2px solid; BACKGROUND: #fffde9; COLOR: #999999; TEXT-ALIGN: center" colSpan=6>ยุคอาณาจักร</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND: #fffde9" colSpan=4>สุวรรณภูมิ
    <SMALL>ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3-5</SMALL></TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=2>สุวรรณโคมคำ
    <SMALL>พศว. 4-5</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9" colSpan=4>ทวารวดี-นครชัยศรี
    <SMALL>ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15</SMALL></TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=2>โยนกนาคพันธุ์
    <SMALL>638-1088</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9">คันธุลี
    <SMALL>994-1202</SMALL></TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=3> </TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=2>เวียงปรึกษา
    <SMALL>1090-1181</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9" vAlign=top rowSpan=2>ศรีวิชัย
    <SMALL>1202-1758</SMALL></TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid"> </TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9" colSpan=2>ละโว้
    <SMALL>1191 -1470</SMALL></TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" vAlign=top colSpan=2>หิรัญเงินยางฯ
    <SMALL>1181 - 1805</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=2> </TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=2>หริภุญชัย
    <SMALL>1206-1835</SMALL></TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" vAlign=top rowSpan=3> </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BACKGROUND: #f7f4dd" colSpan=5>สงครามสามนคร <SMALL>พ.ศ. 1467-1470</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BACKGROUND: #fffde9" vAlign=top> </TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=2>สุพรรณภูมิ
    ละโว้
    ตามพรลิงค์</TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=2> </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9" vAlign=top rowSpan=2>พริบพรี
    นครศรีธรรมราช</TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" width=15 rowSpan=2> </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #cccccc 0px solid; BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px solid" vAlign=top rowSpan=3>สุโขทัย
    <SMALL>1792-1981</SMALL></TD><TD style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px solid; BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px solid" vAlign=top rowSpan=3>พะเยา
    <SMALL>1190-2011</SMALL></TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9" width=15></TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid">เชียงราย
    <SMALL>1805-1835</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9" vAlign=top colSpan=2 rowSpan=3>ล้านนา
    <SMALL>1835-2101</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9" vAlign=top colSpan=2>อยุธยา <SMALL>(1)</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND: #fffde9" colSpan=3><SMALL>พ.ศ. 1893-2112</SMALL></TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid"> </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; FONT-SIZE: 7.5pt; BACKGROUND: #f7f4dd" colSpan=3> สค.ตะเบ็งชเวตี้</TD><TD style="BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" colSpan=3> </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 7.5pt; BACKGROUND: #f7f4dd; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted" colSpan=2> สค.ช้างเผือก
    เสียกรุงครั้งที่ 1
    พ.ศ. 2112</TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" vAlign=top>พิษณุโลก
    <SMALL>2106-2112</SMALL></TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" vAlign=top colSpan=3 rowSpan=4>ล้านนาของพม่า
    <SMALL>2101-2317</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND: #fffde9" colSpan=3>กรุงศรีอยุธยา <SMALL>(2)</SMALL>
    <SMALL>พ.ศ. 2112-2310</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BACKGROUND: #f7f4dd" colSpan=3>เสียกรุงครั้งที่ 2</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9" colSpan=3>สภาพจลาจล</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND: #fffde9" vAlign=top colSpan=3>กรุงธนบุรี
    <SMALL>พ.ศ. 2310-2325</SMALL></TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid; COLOR: #7f7f7f" vAlign=top colSpan=3 rowSpan=2>ล้านนาของสยาม
    <SMALL>พ.ศ. 2317-2442</SMALL>
    นครเชียงใหม่
    เมืองแพร่
    แคว้นน่าน</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9" vAlign=top colSpan=3 rowSpan=2>กรุงรัตนโกสินทร์
    <SMALL>พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน</SMALL>
    สงครามเก้าทัพ
    อานามสยามยุทธ
    การเสียดินแดน
    มณฑลเทศาภิบาล
    สงครามโลก: ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 2</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #fffde9" colSpan=3> </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #aaaaaa 2px solid; BACKGROUND: #f2f2f2; COLOR: #999999; TEXT-ALIGN: center" colSpan=6>ยุครัฐประชาชาติ</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND: #f2f2f2" vAlign=top colSpan=3 rowSpan=2>ประเทศไทย
    ปฏิวัติ พ.ศ. 2475
    เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ</TD><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #f2f2f2; BORDER-LEFT: #cccccc 1px solid" vAlign=top colSpan=3>สหรัฐไทยเดิม
    <SMALL>พ.ศ. 2485-2489</SMALL></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #cccccc 1px solid; BACKGROUND: #f2f2f2" vAlign=top colSpan=3> </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP> ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
    อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
    การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
    วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
    หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548

    การแบ่งยุคสมัย
    การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1"<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP> ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน
    ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>
    [แก้] ยุคก่อนประวัติศาสตร์และรัฐโบราณในประเทศไทย

    หลักฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น มนุษย์ชาวและมนุษย์ปักกิ่ง<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.992_3-0>[4]</SUP> ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายอีกด้วย<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.992_3-1>[4]</SUP> อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า
    ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัด โดยที่อำเภอไทรโยค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่น้ำกลองไหลผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี<SUP class=reference id=cite_ref-4>[5]</SUP> ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย อายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.992_3-2>[4]</SUP> จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นถิ่นกำเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลก<SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP> นอกจากนี้ยังค้นพบขวานหินขัดในหลายภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินใหม่<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.994_6-0>[7]</SUP>
    การขุดค้นโดยนายวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร ทำให้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหมติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดว่ามีอายุถึง 3,000 ปี<SUP class=reference id=cite_ref-7>[8]</SUP> ก่อนที่การค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตำบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันว่ามีอายุ 5,000 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ไปส่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.995_8-0>[9]</SUP> นายดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นขวานทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ยืนยันถึงการใช้เครื่องสำริดในยุคหินใหม่ ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.994_6-1>[7]</SUP>
    <H3>[แก้] ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย</H3>นักมานุษยวิทยาได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่นแรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.995_8-1>[9]</SUP> ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลัง<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.996_9-0>[10]</SUP> ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวกละว้า<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.996_9-1>[10]</SUP>
    <H3>[แก้] แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท</H3><DL><DD>ดูบทความหลักที่ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท
    </DD></DL><H3>[แก้] รัฐโบราณในประเทศไทย</H3>จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว<SUP class=reference id=cite_ref-10>[11]</SUP> โดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่าง<SUP class=reference id=cite_ref-11>[12]</SUP>
    <TABLE class="" style="WIDTH: 100%; BACKGROUND-COLOR: transparent" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="33.33%">
    </TD><TD vAlign=top align=left width="33.33%">
    </TD><TD vAlign=top align=left width="33.33%">
    </TD></TR></TBODY></TABLE><H2>[แก้] สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา




    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ อาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรล้านนา
    </DD></DL>การล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์<SUP class=reference id=cite_ref-12>[13]</SUP> ลักษณะการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก เนื่องจากมีความใกล้ชิดระหว่างผู้ปกครองและราษฎร แต่ในรัชสมัยพญาลิไทก็ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธเข้ามา
    ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยพญามังราย ที่ขยายอำนาจมาจากลุ่มแม่น้ำกกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อพม่า ในปีพ.ศ. 2101 ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม
    <H3>[แก้] สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย</H3>นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:
    1. วิชาประวัติศาสตร์มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
    2. เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
    ทั้งนี้ เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป้นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.82.E0.B8.81.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.973_13-0>[14]</SUP>
    <H2>[แก้] สมัยอาณาจักรอยุธยา




    <DL><DD>ดูบทความหลักที่ อาณาจักรอยุธยา
    </DD></DL>พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว
    การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น
    ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา
    อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310
    อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยมาเป็นเวลานานกว่า 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์<SUP class=reference id=cite_ref-14>[15]</SUP>
    <H2>[แก้] สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์


    รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น<DL><DD>ดูบทความหลักที่ อาณาจักรธนบุรี
    </DD></DL>ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ
    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพ, สงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน
    ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.82.E0.B8.81.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.9717_15-0>[16]</SUP> มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.82.E0.B8.81.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.9717_15-1>[16]</SUP> ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.82.E0.B8.81.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.9717_15-2>[16]</SUP> แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
    อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้าฝิ่นอันได้กำไรมหาศาล<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.82.E0.B8.81.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.9717_15-3>[16]</SUP> แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก
    <H3>[แก้] การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก</H3><DL><DD>ดูบทความหลักที่ กรุงรัตนโกสินทร์ และ การเปลี่ยนแปลงดินแดนของสยามและไทย
    <DD>ดูเพิ่มที่ สยาม
    </DD></DL>ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชของตนไว้ได้
    <H3>[แก้] การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย</H3><DL><DD>ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
    <DD>ดูเพิ่มที่ ความเคลื่อนไหวสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม และ ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร
    </DD></DL>เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475<SUP class=reference id=cite_ref-16>[17]</SUP> ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถาวรเป็นฉบับแรก
    ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร
    <H3>[แก้] สงครามโลกครั้งที่สอง</H3><DL><DD>ดูบทความหลักที่ สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย
    </DD></DL>ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง
    ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
    หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น
    <H3>[แก้] สงครามเย็น</H3><DL><DD>ดูเพิ่มที่ คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย, สงครามเกาหลี และ สงครามเวียดนาม
    </DD></DL>รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม
    ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด
    <H3>[แก้] การพัฒนาประชาธิปไตย</H3>หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน


    </H2></H2></H2>ประวัติศาสตร์ไทย - วิกิพีเดีย
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ประวัติศาสตร์กัมพูชา
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    เริ่มต้นของอาณาจักรพนม[แก้] ปัญหาชื่ออาณาจักร

    ช่วงต้นคริสต์ศักราช รัฐที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์คืออาณาจักรพนม ซึ่งจีนเรียกว่าฟูนัน คำนี้จีนโบราณเรียกว่า “เบยยูณาม” ซึ่งไม่มีความหมายใดในภาษาจีน ด้วยเหตุนี้นักค้นคว้าจึงได้พยายามค้นหาว่า “ฟูนัน” ตรงกับคำว่าอะไร
    มีบางความเห็นกล่าวว่า ฟูนันตรงกับคำขแมร์ว่า “ภโนง” ซึ่งเป็นชื่อกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงปัจจุบัน เป็นวงศ์เดียวกับขแมร์ อีกอย่างคือรูปสลักบนฝาผนังโบราณได้แสดงว่าขแมร์ในสมัยนั้นใส่เสื้อผ้าและมีจารีตประเพณีบางอย่างเหมือนพวกภโนง ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ L.Brumpt ได้ยืนยันว่าขแมร์กับภโนงเป็นพวกเดียวกันแน่นอน โดยใช้ผลการศึกษาเรื่อง Hemoglobins ที่ตัวเองได้พิสูจน์ไว้
    ยอร์จ เซเดส เข้าใจว่าฟูนันตรงกับคำขแมร์โบราณว่า “วนม” ที่กลายเป็น “พนม” ในปัจุบัน โดยยืนยันว่า “เสด็จ” ในสมัยนั้นมีฐานันดรนามว่า “เสด็จพนม” คำขแมร์โบราณว่า “โกะรุงวนม” ตรงกับคำสันสกฤตว่า “บรวตภูบาล” หรือ “ไสลราช” คนจีนก็นำเอาฐานันดรนามนี้ใช้สำหรับเรียกประเทศที่เสด็จทั้งหลายปกครอง E. Aymomier เห็นว่า สมัยโบราณจีนไม่รู้จักแยกแยะคนกับประเทศ แต่ใช้ชื่อมนุษย์ ราชธานี ประเทศ หรือชื่อฐานันดรนามของผู้นำเรียกรวม ๆ กันไป
    ยอร์จ เซเดส ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า อธิราชอาณาจักรพนมมีฐานันดรนาม “คูลง” คือกรุงที่ปัจจุบันมีความหมายว่า เสด็จเสวยราช ดังนั้นฟูนันที่จีนเรียกตามฐานันดรนามของอธิราชอาณาจักรพนมคือ “โกะรุงวนม” นี่เอง และการที่มีฐานันดรนามอย่างนี้ก็เพราะพนม (ภูเขา) เป็นสถานที่ที่อธิราชขึ้นไปพบกับพระอิศวร เอกสารจีนกล่าวว่า “พระอาทิเทพเสด็จขี้นพนมโมตัน (Mo-tan) เป็นประจำ พระอิศวรมาที่นั่นเพื่อแสดงมหิทธิฤทธิ์ของพระองค์ พระอธิราชทั้งหลายได้รับพรชัยจากองค์พระอินศวร และประชาราษฎร์ก็ได้รับความสุขจำเริญด้วยเหตุนี้เอง
    [แก้] ปัญหาที่ตั้ง

    ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ มีความเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับที่ตั้งของอาณาจักรพนม เช่น Wilford ที่เชื่อว่ารัฐฟูนันตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซียปัจจุบัน, A. Rémusat เชื่อว่าฟูนันเป็นอาณาจักรของจีนตั้งอยู่ตรงประเทศตงกึง, Klaproth และ Pauthier ว่าอยู่ตรงกับเมืองพะโค (Pégou) ประเทศพม่า, Dequines ว่าตั้งอยู่ตรงกับเกาะทางตะวันตกของประเทศเสียม, Barth ว่าตรงกับหาดเตณาเสสรีม นอกจากนี้นักค้นคว้าบางคนเชื่อว่าอยู่ตรงขแมร์หรือเสียมในปัจจุบัน
    ในเอกสารจีนได้กล่าวถึงเขตแดนของอาณาจักรพนมไว้ดังนี้ ฟูนันมีระยะ ๓,๐๐๐ ลี้ จากประเทศลีนยี (จามปา) ไปทางตะวันตก ฟูนันมีระยะ ๗,๐๐๐ ลี้ จากตงกึง (Jenan) ฟูนันมีความกว้าง ๓,๐๐๐ ลี้ ภายหลังขยายดินแดนมีขนาดถึง ๕,๐๐๐ หรือ ๖,๐๐๐ ลี้ ฟูนันอยู่ตรงอ่าวใหญ่ ฟูนันมีแม่น้ำใหญ่ไหลจากทางตะวันตก (เอกสารบางฉบับว่าพายัพ) แล้วไหลลงสู่ทะเล เมื่อพิจารณาว่าระยะทาง ๑ ลี้ มีความยาวเท่ากับ ๕๗๖ เมตร จะได้ระยะทางจากลีนยีมาฟูนันเท่ากับ ๑,๗๒๘ ก.ม. ซึ่งจะตรงกับประเทศขแมร์ในปัจจุบัน กัมพูชาใต้ และกลางประเทศไทย อ่าวตามที่ว่าคืออ่าวไทย แม่น้ำใหญ่ที่ว่าคือแม่น้ำโขงหรือเม่น้ำสาบนั่นเอง สรุปก็คือศูนย์กลางรัฐฟูนันอยู่ตรงที่ราบด้านใต้แม่น้ำโขง ซึ่งจุดนี้นักค้นคว้าเห็นพ้องต้องกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันได้ว่าที่ตั้งแห่งแรกของอาณาจักรนั้นอยู่ที่ใด
    ศิลาจารึกในสมัยต่อมาได้พูดถึงกรุงวยาธบุระ (เมืองของเสด็จคล้องช้าง) ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นราชธานีแห่งหนึ่งของฟูนัน จีนเรียกราชธานีฟูนันว่า “โตโม” (T’mo) ซึ่งยอร์จ เซเดส ว่าตรงกับคำขแมร์โบราณว่า “โตเมียะ” หรือ “ตลเมียะ” (คนคล้องช้าง) และเชื่อว่ากรุงวยาธบุระอยู่แถบภูเขาในเขตไปรเวงในปัจจุบัน พระภิกษุปางขัดก็มีความเห็นเดียวกัน และทรงเขียนไว้ว่า “ราชธานีวยาธบุระตั้งอยู่ที่บาพนม ซึ่งน่าจะอยู่ที่พนมขสัจ (ภูเขาทราย) ในปัจจุบัน เพราะมีการค้นพบโบราณสถานและเทวรูปจำนวนมาก ศิลาจารึกที่อยู่ในวัดจักรึต ตรงเชิงเขา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่๑๐ ได้พูดถึงการสร้างเทวรูปพระอิศวรเรียกว่า อติรวยาธบุเรศวร สิ่งสำคัญอีกอย่างคือที่บาพนมในปัจจุบันมีหมู่บ้านจำนวนมากที่มีชื่อเกี่ยวกับช้าง คือ โรงช้าง หัวช้าง และป่าช้าง ซึ่งมีคำถามว่าเราจะถือว่าชื่อทั้งหลายเป็นชื่อที่ระลึกถึงที่ตั้งของราชธานีอาณาจักรพนมได้หรือไม่ ?
    ตามประวัติศาสตร์ราชวงศ์เหลียงว่า กรุงนี้ตั้งอยู่ประมาณ ๒๐๐ ลี้ (๑๑๕ ก.ม.) จากทะเล ซึ่งตรงกับระยะจากบาพนมไปโอแกว ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ของฟูนัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ Louis Malleret ชาวฝรั่งเศสได้ทำการสำรวจตามสถานต่าง ๆ ในพื้นที่สองฝั่งของแม่น้ำโขง และได้ค้นพบรมณียฐานโอแกวนี้ ซึ่งเขาได้จัดว่าเป็นท่าเรือใหญ่ของฟูนัน เพราะที่นั่นอยู่ด้านใต้พนมบาเท เขตกรอมวนสอ (ขี้ผึ้งขาวบริสุทธ์) เขาขุดพบสิ่งก่อสร้างพร้อมทั้งโบราณวัตถุต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก มีทั้งมาจากจักรวรรดิ์โรมและอินเดีย บ้างเป็นวัตถุทำจากหินมีค่า ด้วยเหตุนี้จึงมีบางความเห็นว่า โอแกวคือราชธานีแรกของฟูนัน
    แต่มีนักค้นคว้าอื่น เช่น Jean Boisselier เชื่อว่า ราชธานีนี้ตั้งอยู่ตรงที่ราบด้านใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเขาได้ค้นพบเทวรูปทำจากดินอิฐมอญ ซึ่งเป็นของทำขึ้นภายในประเทศ ไม่ใช่นำมาจากต่างประเทศ ต่อมาในปลายสมัยฟูนัน ราชธานีได้ย้ายไปอยู่ใกล้ปากแม่น้ำทางใต้ประเทศกัมพูชา
    [แก้] ปัญหาเรื่องราชวงศ์แรก

    กังไท ราชทูตจีนที่ได้เดินทางไปฟูนันเมื่อกลางศตวรรษที่ ๓ ได้บันทึกว่า ปฐมกษัตริย์ของฟูนันมีพระนามว่า “ฮุนเตียน” เดินทางมาจากอินเดียหรือแหลมมาลายู หรือเกาะทางใต้ ฮุนเตียนฝันว่าเทวดาประจำตัวได้มอบธนูทิพย์ให้และได้บัญชาให้เขาแล่นสำเภาไป ถึงตอนเช้าเขาได้มาถึงปราสาทเทวดาและได้เห็นธนูตามความฝัน ต่อมาเขาได้เดินทางทางทะเลไปถึงฟูนัน ซึ่งมีราชินีลีวยีปกครองอยู่ เมื่อพระนางได้เห็นสำเภาแปลกถิ่นก็ยกทัพออกไปขับไล่ แต่ก็ถูกฮุนเตียนยิงธนูทะลุสำเภาของนาง ทำให้นางยอมแพ้และกลายเป็นมเหสีของฮุนเตียน ฮุนเตียนจึงปกครองฟูนันชั่วลูกชั่วหลานสืบมา นี่เป็นเรื่องราวแบบจีนที่กล่าวถึงกำเนิดราชวงศ์ฟูนัน ขณะที่ศิลาจารึกจามที่มีสืน จารึกขึ้นใน ค.ศ. ๖๕๘ ได้บันทึกไว้ว่าพราหมณ์โกณฑินยที่ได้รับหอกจากพราหมณ์อศวตถามัน ได้ขว้างหอกออกไปเพื่อหาสถานที่สร้างราชธานี และได้ราชาภิเษกกับนางโสมา ซึ่งเป็นบุตรีของภุชงค์นาค เกิดเป็นราชวงศ์โสมวงศ์ ซึ่งตรงกับเรื่องราวในศิลาจารึกปักษีจำกรุง (ศตวรรษที่๑๐) และตรงกับที่จีต้ากวัน นักเดินทางชาวจีนได้บันทึกไว้ ทั้งยังตรงกับเรื่องพระทองนางนาคในราชพงศาวดารขแมร์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวแบบใดก็อาจสันนิษฐานได้ว่า ฮุนเตียน, โกณฑินย และพระทอง เป็นมนุษย์ ขณะที่นางลีวยี, โสมา และนางนาค ก็น่าจะเป็นคน ๆ เดียวกัน อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า มีชาวต่างชาติได้นำอารยธรมเข้ามาเผยแพร่กับคนพื้นเมืองและผสมผสานกันมาจนถึงทุกวันนี้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอยู่ในช่วงศตวรรษที่ ๑ ในศตวรรษต่อมาเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกบันทึกลงในศิลาจารึกและบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวจีน
    ตามพงศาวดารราชวงศ์เหลียง ฮุนเตียนมีบุตรผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ดูแลเมืองเจ็ดเมือง ในบรรดาเสด็จที่เสวยราชต่อ ๆ กันมา มีเสด็จองค์หนึ่งชื่อว่า “ฮุนปางฮวง” เสด็จองค์นี้ได้ใช้กลอุบายต่าง ๆ ทำให้เมืองทั้งหลายแตกสามัคคีแล้วยกทัพไปปราบได้ทั้งหมด จากนั้นก็ได้ให้ลูกหลานของตนไปดูแลเมืองเหล่านั้น ฮุนปางฮวงทิวงคตเมื่อมีอายุได้ ๙๐ ปี บุตรคนที่ ๒ ชื่อปานปานได้ขึ้นครองราชย์ แต่พระองค์ได้มอบกิจการทั้งหลายให้แม่ทัพฟานเจมันดูแลรับผิดชอบ ปานปานเสวยราชได้ ๓ ปีก็สุรคตไป ประชาราษฎร์พร้อมใจกันให้ฟานเจมันขึ้นเสวยราช กษัตริย์องค์นี้มีความกล้าหาญ ทรงยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ มาเป็นเมืองขึ้นได้จำนวนมาก พระองค์ทรงประกาศว่าตนเองคือมหาราชแห่งฟูนัน ต่อมาทรงให้ต่อสำเภาข้ามทะเลไปตีเมืองอื่น ๆ ได้มากกว่า ๑๐ เมือง ในจำนนนี้มีนครคีวตูคุน เกียวเฉ และเตียนสุน พระองค์ได้ขยายดินแดนออกไป ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ลี้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าฟานเจมันนี้คือพระศรีมาระที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกวูกัญ ที่พบในจังหวัดญาตราง ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีความสับสนว่าเป็นกษัตริย์ของจามปา แต่ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ Louis Finot ได้พิสูจน์ว่าเป็นรัฐเพื่อนบ้านของอาณาจักรพนม เอกสารจีนได้กล่าวว่าฟานเจมันได้เสวยทิวงคตไปขณะยกทัพไปตีรัฐคีวลีน (กำแพงเพชร) ซึ่งยอร์จ เซเดสว่าตรงกับสุวรรณภูมิ (แผ่นดินทองในอรรถบทบาลี) หรือสุวรรณกุฎย (กำแพงเพชรในอรรถบทสันสกฤต อยู่ทางใต้ของพม่าหรือเหนือแหลมมาลายู) ตอนประชวรนั้นทรงส่งราชบุตรชื่อคินเจงให้ไปเสวยราชแทนพระองค์ ตอนนั้นหลานของพระองค์ชื่อฉาน ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของพระองค์ ได้คุมทัพ ๒,๐๐๐ ทำการแย่งชิงราชสมบัติและประหารรัชทายาทไป ในตอนที่ฟานาเจมันทิวงคตไปนั้น มีบุตรอีกคนหนึ่งที่ยังไม่หย่านมชื่อฉาง อาศัยอยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป เมื่อมีอายุได้ ๒๐ ปี ก็นำสมัครพรรคพวกเข้าไปฆ่าฉานได้สำเร็จ แต่แม่ทัพของฉานชื่อฟานซียุนได้ฆ่าฉางแล้วขึ้นเสวยราชแทน พระองค์ทรงบัญชาให้ก่อสร้างสถานที่สำหรับพักผ่อนต่าง ๆ ตอนเช้าและเที่ยงพระองค์ทรงประทานการตัดสินความ ๓ - ๔ คดี ประชาชนและชาวต่างชาติได้นำของถวาย เช่น กล้วย อ้อย เต่า นก ฯลฯ
    ในรัชกาลของฉาน อาณาจักรพนมได้ติดต่อกับราชวงศ์มุรุณฑของอินเดียเป็นครั้งแรก และมีการส่งราชทูตไปจีน ซึ่งยอร์จ เซเดส เชื่อว่าเป็นเรื่องทางการค้ามากกว่าเรื่องการเมือง ซึ่งสมัยนั้นอยู่ในช่วงสามก๊ก (เหตุการณ์นับแต่ฟานเจมันทิวงคตจนถึงฟานซียุนเสวยราชย์คือช่วงปี ค.ศ. ๒๒๕ - ๒๕๐ ก๊กวูไม่สามารถทำการค้าทางบกกับประเทศทางตะวันตกได้ ก็หันมาทางทะเลทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ จนถึงช่องแคบมะละกา ในส่วนของการติดต่อกับอินเดีย เอกสารจีนในปลายศตวรรษที่ ๕ ได้กล่าวว่า มีคนพื้นเมืองชื่อเกียเซียงลี อาศัยอยู่ที่ตันยาง (ทางตะวันตกของอินเดีย) การเดินทางไปกลับอาณาจักรพนม-อินเดียนี้ใช้เวลาถึง ๓-๔ปี เขารู้ว่าฟานฉานติดใจในเรื่องแปลก ๆ ที่เขาบอก และฟานฉานได้ส่งญาติของพระองค์ชื่อซูวูไปอินเดียในฐานะทูต เมื่อไปถึงโตคีวลี ตรงนี้เห็นว่าอาณาจักรพนมได้แผ่ขยายอิทธิพลมาถึงมหาสมุทรอินเดีย สำเภาเดินทางตามแม่น้ำคงคาไปจนถึงราชธานีหนึ่ง ซึ่ง S. Lévi ว่าเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์มุรุณฑ กษัตริย์องค์นี้ได้นำแขกผู้มาเยือนได้ทัศนาประเทศของพระองค์ และให้ชาวอินเดียผู้หนึ่งชื่อเฉนสงเดินทางส่งกลับประเทศ พร้อมกับได้มอบม้า ๔ ตัวเพื่อเป็นของถวายแค่อธิราชอาณาจักรพนม
    ตามเอกสารสมัยสามก๊กกล่าวว่า ฟานฉานได้ส่งทูตไปจีนเมื่อ ค.ศ. ๒๔๓ โดยถวายนักเพลงและผลิตผลต่าง ๆ ต่อพระเจ้ากรุงจีน เป็นที่สงสัยกันว่าฟานฉานนี้หรือไม่ที่เป็นผู้สร้างศิลาจารึกวูกัญ และนับตัวเองเป็นญาติกับศรีมาระ
    ฟานซียุนได้ต้อนรับคณะทูตจากจีนประมาณ ค.ศ. ๒๔๕ - ๒๕๐ ซึ่งมาผูกสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรพนมต่อมาภายหลังฟานซียุนได้ส่งทูตไปจีนหลายครั้งในช่วง ค.ศ. ๒๖๘ - ๒๘๗ ซึ่งมีการบันทึกไว้ในพงศาวดารราชวงศ์ซีน
    [แก้] อาณาจักรพนมใน ค.ศ. ๓๕๗ จนถึงการรุกรานของเจนฬา

    ฟานซียุนได้เสวยราชย์ถึง ค.ศ. ๒๘๙ จากนั้นจนถึงกลางศตวรรษที่ ๔ ไม่มีเอกสารใด ๆ กล่าวถึงอาณาจักรพนมอีกเลย พงศาวดารราชวงศ์ซีนและเหลียงได้กล่าวว่า ค.ศ. ๓๕๙ กษัตริย์อาณาจักรพนมชื่อเทียนชูฉานตานได้ส่งส่วยเป็นช้างไปถวาย คำว่า “เทียนชู” เป็นชื่อที่จีนเรียกประเทศอินเดีย ดังนั้นคำว่า “เทียนชูฉานตาน” จึงหมายถึงอินเดียชื่อฉานตาน ซึ่ง S. Lévi ว่าฉานตานเป็นคำเรียกตามเสียงของคำว่า Chandan ที่เป็นฐานันดรนามของพวกฮินดู-ซิกข์ โดยเฉพาะของราชวงศ์กุษาณะ ซึ่งได้ยกทัพเข้าตีอินเดียและปกครองแถบแม่น้ำคงคาไปจนถึงกรุงพาราณาสีเป็นอย่างน้อย ใน ค.ศ. ๓๕๗ อินเดียทางเหนือปกครองโดยราชวงศ์คุปตะ ภายใต้การนำของพระเจ้าสมุทรคุปต์ พวกซิกข์ผู้รุกรานจึงถูกจำกัดออกไป ทำให้พวกกุษาณะได้หนีมาถึงสุวรรณภูมิและอาณาจักรพนม ผู้ค้นคว้าเชื่อว่าเสด็จเทียนชูฉานตานนี้เองที่เป็นผู้นำศิลปะรูปปั้นที่สำคัญ ๆ มาเผยแพร่เช่นเสื้อของพระสุริยะ และมงกุฎพระวิษณุ การแสดงความเห็นนี้ก็โดยการอ้างถึงสิ่งที่ค้นพบที่รมณียฐานโอแก้ว และหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงการติดต่อระหว่างอาณาจักรพนมกับอิหร่าน เช่นรูปปั้นพิธีบวงสรวงพระอัคคี และก้อนเพชรรูปกษัตริย์ราชวงศ์ Sasanide เฉพาะรัชกาลของเทียนชูฉานตานนี้ เหตุการณ์ที่รู้แน่ชัดคือการส่งส่วยไปถวายพระเจ้ากรุงจีนใน ค.ศ. ๓๕๗ หลังจากนั้นไม่มีข้อมูลใดอีก มาเริ่มอีกครั้งเมื่อปลายศตวรรษที่ ๔
    ช่วงกลางครึ่งแรกของศตวรรษที่ ๕ มีการเผยแพร่อารยธรรมอินเดียมายังสุวรรณภูมิครั้งใหม่ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้พยายามค้นหาว่าเกิดจากอะไร ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการที่พระเจ้าสมุทรคุปต์ (ค.ศ. ๓๕๗-๓๗๕) ได้เข้าตีทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นเหตุให้มีผู้คนอพยพหนีเข้ามายังสุวรรณภูมิ และ S. Lévi ได้กล่าวว่าเหตุการณ์นี้ได้ทำให้ชาวซิกข์คนหนึ่งได้มาเสวยราชในอาณาจักรพนม ซึ่งถือเป็นก้าวแรกในการรับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียจากพวกกษัตริย์ พราหมณ์ และผู้มีความรู้ นับจากกลางศตวรรษที่ ๔ - ๕
    พงศาวดารจีนได้บันทึกไว้ว่า บรรดาเสด็จที่เสวยราชย์ต่อจากเทียนชูฉานตาน มีเสด็จองค์หนึ่งชื่อเคียวเฉนยู (โกณฑัญญะ) เป็นพราหมณ์มีชาติกำเนิดในอินเดีย ได้รับบัญชาจากเสียงลึกลับให้ไปเสวยราชย์ที่อาณาจักรพนม สร้างความยินดีให้ตัวเองนัก เมื่อเดินทางไปถึงปานปานทางทิศใต้ ผู้คนในอาณาจักรพนมที่ได้ยินเรื่องราวต่างออกมาต้อนรับแล้วยกให้ขึ้นครองราชย์ เสด็จองค์นี้ได้ตรากฎหมายตามแบบอินเดีย และบรรดาเสด็จที่เสวยราชย์ต่อมามีเสด็จชื่อเฉลีโดปาเมา (ศรีอินทรวรมัน) ซึ่งได้ส่งสารและเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีนหลายครั้ง คือเมื่อ ค.ศ. ๔๓๔ - ๔๓๕ และ ๔๓๘ เพื่อรักษาไมตรีกับจีน ใน ค.ศ. ๔๓๑ - ๔๓๒ ได้ทะเลาะกับพวกจามปาเพื่อแย่งชิงเขตตงกึงของประเทศจีน
    พงศาวดารราชวงศ์ซีนใต้กล่าวว่า ประมาณ ๑๐ ปีหลังจาก ค.ศ. ๔๓๑ - ๔๓๒ เสด็จที่เสวยราชย์ในอาณาจักรพนมคือพระเจ้าชัยวรมัน (เบาเยปาเมา) เป็นเสด็จในราชวงศ์โกณฑัญญะ ซึ่ง P. pelliot ได้กล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันได้ส่งพวกพ่อค้าไปยังกวางตุ้ง ขากลับประสบกับพายุพัดไปขึ้นฝั่งที่ประเทศลินยีพร้อมกับพระภิกษุอินเดียชื่อนาคเสน พระภิกษุรูปนี้ได้นำทางกลับมายังอาณาจักรพนมด้วยเส้นทางลัด ภายหลังได้ถูกส่งไปกรุงจีนอีกครั้งเพื่อขอทัพมาช่วยรบกับมนตรี (บ้างว่าบุตร) ที่ออกจากประเทศไปจามปาเพื่อคิดทำการแย่งราชสมบัติ จีนไม่ได้ส่งทัพมาตามคำขอ แต่เพื่อรับไมตรีไว้จึงส่งผ้าแพรสีแปลก ๆ มาให้ ในรัชกาลนี้มีพระภิกษุสองรูป คือ สงฆบาลและมนตรเสน ได้ถูกส่งไปยังจีนเพื่อช่วยแปลคัมภีร์ต่าง ๆ ใน ค.ศ. ๕๐๓ พระองค์ทรงให้นำพระพุทธรูปและวัตถุต่าง ๆ ไปถวายพระเจ้ากรุงจีน
    <TABLE style="CLEAR: right; BORDER-RIGHT: #aaa 1px solid; BORDER-TOP: #aaa 1px solid; FONT-SIZE: 90%; FLOAT: right; MARGIN: 1em; BORDER-LEFT: #aaa 1px solid; BORDER-BOTTOM: #aaa 1px solid; BORDER-COLLAPSE: collapse"><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #fff; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">ประวัติศาสตร์ยุคแรกของกัมพูชา
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #fff; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">อาณาจักรฟูนัน (พ.ศ.611 – พ.ศ.1093 )
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">อาณาจักรเจนฬา (พ.ศ.1093 – พ.ศ.1345 )
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #fff; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">จักรวรรดิขแมร์ (พ.ศ.1345 – พ.ศ.1974)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">อาณาจักรจตุรมุข (พ.ศ.1974 – พ.ศ.2068)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #fff; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">อาณาจักรละแวก (พ.ศ.2068 – พ.ศ.2136)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">ยุคมืดของกัมพูชา
    (พ.ศ.2136 – พ.ศ.2379)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 10px; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">อาณาจักรศรีสุนทร (พ.ศ.2136 – พ.ศ.2162)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 10px; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">อาณาจักรอุดง (พ.ศ.2162 – พ.ศ.2406)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 10px; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">ยุครัฐในอารักขาของไทยและเวียดนาม</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #fff; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">ยุครัฐในอารักขาของฝรั่งเศส (พ.ศ.2406–พ.ศ.2496)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">หลังได้รับเอกราช
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #fff; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">สงครามกลางเมืองในกัมพูชา (2510–2518)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 10px; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #fff; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">รัฐประหารในกัมพูชา พ.ศ.2513</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 10px; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #fff; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">สงครมเวียดนามในกัมพูชา พ.ศ.2513</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">ยุคเขมรแดง (2518–2519)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 10px; FONT-SIZE: 90%; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">สงครามกัมพูชา - เวียดนาม (2518–2532)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">สาธารณรํฐประชาชนกัมพูชา (2522–2536)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; BACKGROUND: #ececec; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px">ราชอาณาจักรกัมพูชา-ปัจจุบัน (2536–ปัจจุบัน)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ประวัติศาสตร์กัมพูชา - วิกิพีเดีย

    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 08:37
    ไอเอ็มเอฟชูรวมหยวนในตะกร้าเงิน

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟเสนอขยายตะกร้าเงินไอเอ็มเอฟ ให้รวมเงินหยวนเข้ามาด้วย เพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางการเงิน
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>นายโดมินิค สเตราส์ คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กล่าวถึงเรื่องการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ วานนี้(10 ก.พ.)ว่า ควรมีการยกระดับบทบทบาทของทุนสำรองระหว่างประเทศ ของไอเอ็มเอฟ หรือที่รู้จักกันในชื่อ สิทธิพิเศษในการถอนเงิน (เอสดีอาร์) ในความพยายามที่จะส่งเสริมเสถียรภาพการเงินโลก
    นายสเตราส์ คาห์น ระบุว่า การเคลื่อนไหวที่สำคัญของเรื่องดังกล่าว คือการขยายตะกร้าเงินเอสดีอาร์ ให้รวมสกุลเงินจากตลาดเกิดใหม่ อาทิเช่น เงินหยวน เข้ามาไว้ด้วย
    ปัจจุบัน ตะกร้าเงินไอเอ็มเอฟ มีเงินอยู่ 4 สกุล คือ ดอลลาร์ ยูโร เยน และปอนด์
    "การรวมเงินสกุลเงินจากตลาดเกิดใหม่ อย่าง เงินหยวน เข้ามาด้วย จะช่วยในกระบวนการทำให้สกุลเงินเหล่านี้อยู่ในระดับสากล ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้กับทั้งระบบโดยรวม" นายสเตราส์ คาห์น กล่าว
    ทางด้านสหรัฐ แสดงท่าทีค่อนข้างระมัดระวังตัว ในการขานรับกับข้อเสนอดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลวอชิงตัน ชี้ว่า สถานะของเงินหยวนนั้น ขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลปักกิ่งจะเปิดทางให้การซื้อขายค่าเงินสกุลเงินนี้เคลื่อนไหวอย่างเสรีหรือไม่

     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 01:00
    กาแฟดำ
    อภิสิทธิ์บอกนี่คือการ ‘ปะทะ’ ฮุน เซนประกาศ ‘สงคราม’ ผมเรียกมันว่า ‘สงครามปะทะคารม’

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    นายกฯ ฮุน เซน แห่งกัมพูชาเป็นคนอย่างไร เมื่อส่งเรื่องไปร้องเรียน คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ แล้ววันรุ่งขึ้นประกาศว่า
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT> “นี่คือสงคราม ไม่ใช่แค่การปะทะ”?
    คำตอบก็คือเขาเป็นคนเกเรที่เล่นได้ทุกเกมเพื่อสร้างอำนาจต่อรองของตน
    ซึ่งก็แปลว่าไทยเราจะต้องตั้งหลักพร้อมรับกับการเผชิญหน้ายืดเยื้อ ให้ "การทูตนำการทหาร" และสื่อสารกับคนไทยทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน โดยไม่ใช้ “ความคลั่งชาติ” เป็นกลยุทธ์ของการดำเนินนโยบาย
    เพราะ “ความคลั่งชาติ” นั้น เมื่อปั่นเป็นกระแสแล้วถอยยาก และจะกลายเป็นหลุมพรางที่ฝังตัวเองมากกว่าที่จะสามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งได้
    นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามจะบอกว่า “นี่ยังไม่ใช่สงคราม เป็นแค่การปะทะ” ซึ่งแปลว่าผู้นำไทยจะต้องจำกัดการเผชิญหน้าตรงชายแดนให้อยู่ในระดับ “การปะทะ” เท่านั้น หากบานปลายกลายเป็น “สงคราม” เกมก็จะเปลี่ยนไปทันทีเช่นกัน
    คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ จะเรียกมันว่า "สงคราม" หรือ "การปะทะ" ก็ตามที การประชุมวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นการ “ปะทะทางการทูต” ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศไทย นายกษิต ภิรมย์ และกัมพูชา นายฮอร์ นัมฮง โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เป็น “คนกลาง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    แต่คณะมนตรีความมั่นคงจะไม่ลงมติว่าใครถูกใครผิด เพียงแค่ฟังความจากทั้งสองข้างก่อน...แต่จะถึงขั้นส่ง “กองกำลังรักษาสันติภาพ” หรือ UN Peace-Keeping Force มาประจำการที่ชายแดนอย่างที่ฮุน เซน ต้องการนั้นยังห่างไกลนัก
    ยกเว้นเสียแต่ว่าฮุน เซน จะ “บ้าดีเดือด” ถึงขั้นเปิดฉากทำสงครามเต็มรูปเป็นการกดดันให้ไทยไม่มีทางเลือก นอกจากจะต้องตอบโต้ในระดับความรุนแรงพอๆ กัน
    เพราะมาตรา 33 ของกฎบัตรสหประชาชาติ เขียนเอาไว้เป็นขั้นตอนของการ “แก้ปัญหาความขัดแย้ง” ของสมาชิกไว้อย่างชัดเจน ไม่ใช่อยู่ดีๆ ใครจะขอให้ทหารจากสหประชาชาติไปประจำการอยู่ตรงชายแดนของตนกับเพื่อนบ้านได้ง่ายๆ
    Chapter VI - Pacific Settlement of Disputes
    Article 33
    1. The parties to any dispute, the continuance of which is likely to endanger the maintenance of international peace and security, shall, first of all, seek a solution by negotiation, enquiry, mediation, conciliation, arbitration, judicial settlement, resort to regional agencies or arrangements, or other peaceful means of their own choice.
    2. The Security Council shall, when it deems necessary, call upon the parties to settle their dispute by such means.

    Article 34
    The Security Council may investigate any dispute, or any situation which might lead to international friction or give rise to a dispute, in order to determine whether the continuance of the dispute or situation is likely to endanger the maintenance of international peace and security.
    Article 35
    1. Any Member of the United Nations may bring any dispute, or any situation of the nature referred to in Article 34, to the attention of the Security Council or of the General Assembly.
    2. A state which is not a Member of the United Nations may bring to the attention of the Security Council or of the General Assembly any dispute to which it is a party if it accepts in advance, for the purposes of the dispute, the obligations of pacific settlement provided in the present Charter.
    3. The proceedings of the General Assembly in respect of matters brought to its attention under this Article will be subject to the provisions of Articles 11 and 12.
    Article 36
    1. The Security Council may, at any stage of a dispute of the nature referred to in Article 33 or of a situation of like nature, recommend appropriate procedures or methods of adjustment.
    2. The Security Council should take into consideration any procedures for the settlement of the dispute which have already been adopted by the parties.
    3. In making recommendations under this Article the Security Council should also take into consideration that legal disputes should as a general rule be referred by the parties to the International Court of Justice in accordance with the provisions of the Statute of the Court.
    Article 37
    1. Should the parties to a dispute of the nature referred to in Article 33 fail to settle it by the means indicated in that Article, they shall refer it to the Security Council.
    2. If the Security Council deems that the continuance of the dispute is in fact likely to endanger the maintenance of international peace and security, it shall decide whether to take action under Article 36 or to recommend such terms of settlement as it may consider appropriate.
    Article 38
    Without prejudice to the provisions of Articles 33 to 37, the Security Council may, if all the parties to any dispute so request, make recommendations to the parties with a view to a pacific settlement of the dispute.
    ทั้งหกมาตราภายใต้กรอบของการ “แก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศ” ของกฎบัตรสหประชาชาตินี้ ตอกย้ำถึงความพยายามจะเจรจาและหาทางออกทางการทูต มิได้ให้สหประชาชาติเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมของสองประเทศคู่พิพาทแต่ประการใด
    ฉะนั้น การลั่นกลองรบของฮุน เซน จึงเป็นเพียงกลเกมการหาเสียงและการสนับสนุนจากนานาชาติเพื่อตนเอง และดิสเครดิตไทยเท่านั้น
    ไทยจึงต้องมองเขมรให้ทะลุ จะถกแถลงกันเองอย่างไร จะวิเคราะห์กลยุทธ์และยุทธศาสตร์แตกต่างกันเองในไทยอย่างไร ท้ายที่สุดเราต้องแสวงหา “เสียงเดียวของไทย” ในเวทีสากลให้ได้
    ไม่ว่าจะยากเย็นแสนเข็ญอย่างไรก็ต้องทำให้เกิด “เอกภาพแห่งความเป็นไทย” ในเวทีระหว่างประเทศ หากเราไม่ต้องการแพ้ “สงครามแห่งการปะทะทางการทูต” ในสหประชาชาติครั้งนี้

     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 01:00
    <DD class=columnist-name>ทัศนะจากผู้อ่าน ผู้อ่านสามารถส่งเรื่องมาได้ที่ ktwebeditor@nationgroup.com </DD>11, 13 : ทางออกหรือทางตันของประเทศ

    โดย : ผศ.ชมพู โกติรัมย์

    หากเราท่านทบทวนเหตุการณ์ของประเทศไทยในช่วงนี้ จะพบว่าประเทศเราได้เสียโอกาสทางเศรษฐกิจ จากการเคลื่อนตัวของทุนต่างชาติมิใช่น้อย
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>โอกาสที่เสียเนื่องจากเราไม่ได้ใช้จุดแข็งที่มีอยู่มาเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศ เพื่อความได้เปรียบเชิงเปรียบทางเศรษฐกิจ หนึ่งในปัจจัยที่เป็นตัวฉุดภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น คือ การติดขัดทางการเมืองที่ยกระดับมาเป็นปัญหาถึงขั้นวิกฤติ อาการชะลอกึ่งหยุดของประเทศที่ผ่านมาจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ มีอาการเหมือนลุกไม่ขึ้น เร่งไม่ออก ยังคงมีให้เห็นต่อเนื่อง ทั้งนี้ เกิดจากการสะดุดทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสังคมทั้งโครง และอ่อนล้าบนเส้นทางสังคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่คู่ค้าไปยังประเทศที่มีการขับเคลื่อนทางเมืองไม่สะดุด เพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจคล่องตัว อาการสะดุดทางการเมืองของไทย หากย้อนเวลาหาอดีตได้เราท่านคงไม่คิดว่า ความเป็นสี ความเป็นฝ่ายขยายวงลงลึกถึงโครงสร้างหลักของสังคม จะดำรงมาต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน

    เมื่อเช็คอาการสะดุด ชะลอกึ่งหยุดนิ่งของประเทศที่ดำรงอยู่นี้ หากใช้แนวคิด วิบากกรรมวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า อาการสะดุด ชะลอกึ่งหยุดเกิดจากการสั่งสมความคิด ตอกย้ำความเป็นเขาเป็นเรา สร้างมวลชนเพื่อผลทางการเมือง โดยมีวาทกรรมว่าฝ่ายเขาและฝ่ายเรา การสร้างแนวคิดนี้ ได้ลงลึกในใจคนไทยกินวงกว้าง จนบางครั้งจากเหตุการณ์เชิงประจักษ์ได้ก้าวข้าม ความเป็นไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย การแพร่กระจายด้วยความคิดเช่นนี้ได้ส่งสัญญาณอันตรายต่อประเทศที่เราท่านรักมิใช่น้อย ทั้งหมดนี้ เกิดจากฐานความคิดที่มุ่งไปที่ความต่างอย่างขึงตึง ทั้งที่กลุ่มสีเหล่านั้นดำรงอยู่บนความเหมือน (ด้วยกัน) ที่มีจุดรับได้ลงตัวได้ มีความเป็นหนึ่งเดียวมากที่สุด (ไม่ถึงกับทั้งหมด) เป็นต้นว่า ความเป็นชาติ (ชาติเชื้อไทย) ความเป็นประเทศ (รัฐบาล) ความเป็นไทย (วัฒนธรรม) และความอยู่รอดของประเทศชาติด้วยกันทั้งนั้น แนวความคิดแบ่งแยกด้วยสี ย่อมส่งผลถึงกรรม คือ การกระทำภายใต้กรอบเขา-เรา แตก-แยก เมื่อกรรมเป็นเช่นนี้ วิบาก (ผล) จึงเป็นอย่างที่เห็น คือ อาการสะดุดบางครั้งถึงกับหยุดประเทศเรา

    อนึ่งนั้นอาการสะดุดหมุนวนในกรอบชะตากรรม (สั่งสมฐานความคิดเป็นเขาเป็นเรา การกระทำตอกย้ำความเป็นข้างเป็นฝ่าย และส่งผลสะดุด) มันได้หมุนวนมาต่อเนื่องในบ้านเมืองเรา แล้วทางออกจากวงจรนี้มีไหม หากเรายอมรับว่า ทั้งหมดมีต้นตอจากฐานความคิดถูกจุดติดเป็นกระแสถือข้างอันทรงพลัง แต่ความตระหนักในความเป็นชาติพันธุ์ ความเป็นประเทศ ความเป็นสังคม ขาดพลัง ตรงนี้อันตราย

    ดูเหมือนอาการสะดุดกึ่งหยุดอยู่ของประเทศ ได้เร่งบทสรุปได้ชัดมากขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จากสัญญาณที่จับได้ เมื่อแต่ละข้างแต่ละสี แท้ที่จริงล้วนแล้วมีความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกันมิใช่หรือคือเพื่อประเทศชาติ หากแต่ว่า มีวิธีการต่างกัน ขับเคลื่อนต่างกัน โดยที่ฝ่ายหนึ่งระดมคนเป็นแสนเรียกร้องต่อเนื่องเพื่อความเป็นธรรมบ้าง ปลดปล่อยแกนนำบ้าง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง เน้นความรักชาติ การเสียดินแดนให้กัมพูชา นำมาเป็นประเด็นขยับขับเคลื่อนพลให้รัฐบาลรับผิดชอบลาออก

    ประมวลเหตุการณ์เหล่านี้ไปยังวันที่ 11 ของเหลือง และ 13 ของแดง เป็นการเคลื่อนไหวที่มีความเปราะบาง บีบคั้นอารมณ์ มีแนวโน้มจุดกระแสได้ติด และลุกลามเป็นพลังมหาชนเรือนแสนด้วยการบีบอารมณ์ในความรักชาติ การเสียดินแดน และความเป็นธรรม เป็นต้น เป็นจุดเปราะบางบนทางเลือกแม้นรัฐบาลยุบสภา เมื่อนั้นประเทศเราเริ่มนับถอยหลังสู่การเลือกตั้ง หรืออาจจะเป็นจุดหักเห หากสถานการณ์บานปลายที่เราท่านไม่พึงปรารถนา มีการล้มกระดานทางการเมือง ตามความหวาดระแวงของฝ่ายแดง หรือไม่มีทั้ง 2 อย่าง ทั้งหมดนี้ จุดหักเหเป็นได้หลายทาง แล้วจุดรวมตัวกัน คือความเป็นชาติ ความเป็นประเทศตามที่กล่าวมา เป็นไปได้ไหมระหว่าง 11 และ 13 นำไปสู่ทางออกที่ลงตัว (11+13=24) คือ หาจุดหักเหจุดต่าง มาเป็นจุดบรรจบพบกัน มิฉะนั้น อาการสะดุดหยุดนิ่งอยู่กับที่ถอยหลังของประเทศยังดำรงอยู่ เราท่านต้องการอย่างนั้นหรือ

    11, 13 :
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 01:00
    นักข่าวกรุงเทพธุรกิจ โต๊ะต่างประเทศ
    สงคราม (น้ำลาย) เขมร

    โดย : กนกนภา เพิ่มบุญพา Mint2510@hotmail.com

    แค่ยิงปะทะกันไม่กี่วัน เกิดความสูญเสียด้านชีวิตไม่ถึงสิบคน แต่นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา กลับประกาศให้ทั่วโลกรู้ว่า
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT> สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การปะทะ แต่เป็นการทำสงครามที่ฝ่ายเขมร (โดยนายฮุนเซนและลิ่วล้อ ไม่ใช่พลเมืองทั้งประเทศ) พร้อมจะลากให้ยืดเยื้อยาวนานออกไป ก่อนจะเดินสายกล่าวโจมตีไทยไปทั่วในทุกสื่อที่ยื่นไมค์มาให้
    พูดง่ายๆ คือ ตั้งใจเปิดสงครามน้ำลายแบบรายวันกับไทยโดยตรง ไม่รู้ว่าต้องการพิสูจน์ว่าไทยมีน้ำอดน้ำทนมากน้อยแค่ไหนหรืออย่างไร หรือว่านี่คือยุทธศาสตร์การตอบโต้ไทยสไตล์ฮุนเซน
    ทำไมฮุนเซนถึงจงใจกระตุ้นต่อมโกรธไทยขนาดนี้ ส่วนหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะกัมพูชา มีกองหนุนดี ทำให้วันนี้ ไม่จำเป็นต้องแคร์ไทย เพราะมีพี่เบิ้มที่ทุนหนามหาศาลอย่างจีนเป็นพี่เลี้ยง และเป็นท่อน้ำเลี้ยงอยู่ทั้งคน และอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะการปลุกกระแสรักชาติในประเทศไปพร้อมๆ กับสร้างความตึงเครียดให้เกิดกับไทย เป็นไม้ตายที่ฮุนเซนใช้เพื่อทำคะแนนให้ตัวเองสำเร็จมานับครั้งไม่ถ้วนในบ้านของตัวเอง โดยเฉพาะในช่วงที่ชาวกัมพูชากำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจที่แสนจะบอบบางเช่นนี้
    ที่ผ่านมา กระแสเงินลงทุนจากจีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม หลั่งไหลเข้ากัมพูชาอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับกระแสเงินลงทุนจากไทยที่แม้จะอยู่ติดชิดรั้วกันมาก กลับเหมือนคนห่างไกล ไม่นับการมีเรื่องบาดหมางกันเป็นระยะๆ เพราะดินแดนเพียงแค่หยิบมือเดียว
    ที่น่าเป็นห่วง คือ การที่ผู้นำกัมพูชาพยายามดึงหรือลากปัญหาความขัดแย้งกับไทยให้ยาวออกไปให้นานที่สุด และดึงเอานานาชาติมามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาแทนที่จะแก้ปัญหาเฉพาะกับคู่กรณี จึงมีแนวโน้มสูงว่า ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา ไม่จบในเร็ววันแน่ และคนที่เสี่ยงคงหนีไม่พ้นคนที่ชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีหน้าหล่อของไทย ที่ตอนนี้ เจอแรงกดดันหลายเรื่องเหลือเกิน
    เมื่อพูดถึงผลประโยชน์ของหลายชาติยกเว้นไทย ที่กำลังหลั่งไหลเข้าไปในกัมพูชา ทำให้นึกถึง เกาหลีใต้ ที่มีโครงการลงทุนในกัมพูชา เป็นมูลค่ามหาศาล เช่นเดียวกับเวียดนาม ขณะที่การลงทุนจากไทยกลับชะงักงัน เพราะความผันผวนทางการเมือง และความขัดแย้งที่เกิดขึ้น น่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวของกัมพูชา เนื่องจากมีรายได้จากส่วนนี้เป็นอันดับสอง และผู้ที่ได้รับผลกระทบรองลงมา คือ ผู้ที่ต้องพึ่งพาการค้าบริเวณชายแดน
    ส่วนจีนนั้น ไม่ต้องพูดถึง มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อกัมพูชามาตั้งนานแล้ว แถมในปี 2551 จีนยังเข้าไปลงทุนด้านสาธารณูปโภคมากมายในกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนน หรือสร้างเขื่อน แถมยังให้ความช่วยเหลือทางทหาร และจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กัมพูชานำมาใช้ในการยิงปะทะกับไทยในทุกวันนี้ด้วย แลกกับการที่กัมพูชาต้องสนับสนุนทางการทูตต่อจีน
    ถ้าเป็นแบบนี้ รับรองสัปดาห์หน้าต้องมีวาทะเด็ดๆ แสบๆ คันๆ ออกจากปากของฮุนเซนอีกแน่นอน สงสัยแต่ว่า ผู้นำไทย และคนไทยทั้งประเทศจะอดทน อดกลั้นกับสงครามน้ำลายแบบรายวันที่ฮุนเซนพ่นไปทั่วโลกได้นานแค่ไหน... ปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ รัฐบาลไทยและผู้นำไทย ต้องใช้สติให้มากเป็นพิเศษ หากไม่อยากติดกับดัก

    ʧ
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 01:00
    <DD class=columnist-name>ประชา บูรพาวิถี <DD class=by-line>แกะรอยการเมือง </DD>
    พี่น้องสองสิงห์

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    สงครามจำกัดพื้นที่ ณ บริเวณรอบปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2554 ก่อกระแสสังคมแบบประหลาดๆ เกิดขึ้นในประเทศไทย
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT> ภาคประชาชนปีกหนึ่ง เรียกร้องการใช้กำลังทหารปกป้องอธิปไตย ภาคประชาชนอีกปีกหนึ่ง เพรียกหาสันติภาพ และไม่ต้องการสงคราม
    ขณะที่ทางฝั่งกัมพูชา ก็มีการสร้างตัวละครหน้าใหม่ในละครสงคาม ด้วยการวางพล็อต เขียนบท และกำกับการแสดงโดย สมเด็จฮุน เซน
    ตัวละครหน้าใหม่ที่ว่านี้คือ พล.ต.ฮุน มาเน็ต ผบ.หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากล (เดิมชื่อกองพลน้อยที่ 70) บุตรชายคนโตของสมเด็จเสื้อแดง
    อีกคนหนึ่งก็เป็นบุตรชายคนที่สาม พ.อ.ฮุน มานี ผบ.ควบคุมรถถัง ซึ่งทั้งสองได้ออกมา "ฝึกงานภาคสนาม" ที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร ตามพล็อตที่ "เสด็จพ่อ" วางไว้
    พลันเสียงปืน เสียงระเบิดดังก้องเทือกเขาพนมดงรัก ข่าวที่หลุดไปจากชายแดน สร้างความฮือฮาให้แก่คนในพนมเปญและเมืองไทย
    เพราะข่าวนั้นระบุว่า "ฮุน มาเน็ต-ฮุน มานี" ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบทั้งคู่ ดูมันช่างบังเอิญอะไรประมาณนี้
    ว่ากันว่า กระบวนการสร้างข่าว "วีรบุรุษสงคราม" นั้นเกิดจากทีมงานสื่อมวลชน ภายใต้การกำกับดูแลของ ฮุน มานา ธิดาสุดที่รักของเสด็จพ่อ
    ปัจจุบัน ฮุน มานา เป็นเซเลบแถวหน้า ของสังคมเงาแสงเพชรพนมเปญ และเธอเพิ่งแต่งงานใหม่กับบุตรชาย "ฮอก ลุน ดี" อดีตอธิบดีกรมตำรวจผู้ทรงอิทธิพล
    มองจากหน้าเสื่อการทำสงคราม พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกลาโหม ควรมีบทบาททางทหาร แต่สมเด็จเสื้อแดงกลับให้เล่นเป็นบท "บุรุษไปรษณีย์" มีหน้าที่สื่อสารระหว่างรัฐบาลสองประเทศ
    ส่วนแม่ทัพตัวจริงอย่าง พล.ท.พล สะเรือน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็ไม่ปรากฏเป็นข่าว
    แม้แต่ พล.ท.เจีย มอน ผู้บัญชาการทหารภูมิภาคที่ 4 อดีตทหารเขมรแดงสาย "เอียง ซารี" ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ชายแดนด้านพนมดงรัก ยังต้องรับบทตัวประกอบ
    จึงได้เล่นแค่บท "ทูตเฉพาะกิจ" มีหน้าที่พูดคุยกับ "เสี่ยเยิ้ม" พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นครั้งคราว
    ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สมเด็จฮุน เซน ทุ่มทุนสร้างละครสงคราม ด้วยเหตุผล 3 ประการ
    ประการแรก ระบายความรู้สึกที่อึดอัด เหตุจากสองสามปีมานี้ การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหาร ไม่คืบหน้า
    ประการที่สอง ต้องการกดดันให้มีการเจรจาพหุภาคี เพราะคุยกันสองประเทศแล้ว มันไม่ได้เรื่อง
    ประการที่สาม ใช้สมรภูมินี้เป็น "เวทีไต่ดาว" ของสองนายทหารหนุ่มแห่งตระกูล "ฮุน"
    ประเด็นเวทีไต่ดาวนั้น อาจทำให้ "นายทหาร" บางปีกในกองทัพ หรือในพรรค รู้สึกไม่สบอารมณ์กับวิธีคิดปั้นทายาทให้เป็นใหญ่ โดยมองไม่เห็นหัวคนเก่าคนแก่
    แต่ยังเชื่อว่า มันก็ได้แค่บ่นหรือซุบซิบนินทา ไม่มีนายทหารคนไหนกล้าก่อกบฏต่อสมเด็จแห่งกำปงจามยามนี้
    การปั้นวีรบุรุษสงครามคือ การหล่อเลี้ยง "กระแสชาตินิยมเขมร" ซึ่งผู้นำในอดีตอย่างกษัตริย์สีหนุ ก็เคยใช้ในสมัยที่ขัดแย้งกับรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ กรณีปราสาทพระวิหาร
    กระแสชาตินิยมเขมรนี่แหละ ที่ทำให้ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชา คว้าชัยในสนามเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
    จะว่าไปแล้ว ฮุน เซน เป็นนักเล่นเกมที่ฉลาดหลักแหลม ด้วยวัยเพียง 28-29 ปี เขาโชว์ภาวะผู้นำในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ "ผู้อาวุโส" แห่งพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา ได้ประจักษ์
    ผู้เฒ่ากลุ่มนี้ จึงมีมติเลือก ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ลังเลใจแม้แต่น้อย
    ลีลาการทูตแบบนักรบ ที่ผ่านการทำสงครามการทูตยุคสงครามเย็น ย่อมเหนือชั้นกว่านักการทูตสไตล์ "ผู้ดีหัวสูง" อย่าง กษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ
    ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ผู้ที่รู้จักตัวตนฮุน เซน มายาวนาน บอกว่า เขาเป็นนักเล่นที่เก็บไพ่ไว้กับตัวเอง ไม่มีใครมองเห็นได้
    "ไพ่" ของฮุน เซน ยังมีอยู่อีกหลายใบ แม้จะเป็นไพ่ใบเล็กๆ ก็มีความหมายในการเล่นเกมการทูต

     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 01:00

    ใต้กระแส "ประวัติศาสตร์-ชาตินิยม" (1)

    โดย : อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

    ในขณะที่เหลือเวลาอีกประมาณ 4 ปี ที่ประเทศไทยจะต้องเข้าร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในการสร้าง "พื้นที่" ใหม่ให้เป็น "ประชาคมอาเซียน"
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>ซึ่งน่าจะเป็นเวลาที่เราควรต้องทบทวนวิธีคิดและวิธีการจัดความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในอาเซียนกันใหม่ ให้กระชับและเป็นมิตรต่อกันมากกว่าเดิม แต่ที่ไหนได้ กระแส "ชาตินิยม" แบบดั้งเดิมก็โผล่ปะทุขึ้นมา จนกลายเป็นแรงกดดันทำให้เกิดการรบกันขึ้นที่ชายแดนระหว่างเขมรกับไทย

    อะไรเกิดขึ้นในสังคมไทย สังคมไทยต้องทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนให้ได้ มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะกลายเป็น "หมาบนทางด่วน" (ศัพท์อาจารย์แก้วสรร หรือขวัญสรวงคนใดคนหนึ่งครับ) ที่ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน

    หากเราเริ่มต้นพิจารณาจากกลุ่มคนที่เป็นหลักในการสร้างพลังของ "ชาตินิยม" ในตอนนี้ เราจะพบประเด็นที่น่าสนใจหลายประการด้วยกัน

    ประการแรก กลุ่มคนที่เป็นพลังหลัก ได้แก่ กลุ่มสันติอโศก เราจะเข้าใจการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มนี้ จากเดิมที่เน้นทางด้าน "ศาสนา" กลับเคลื่อนมาสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างไร

    ในสมัยที่ผมและผองเพื่อนเคลื่อนไหวทางการเมืองในมหาวิทยาลัย เรากังวลกับปัญหาการขยายอิทธิพลทางความคิดของกลุ่มสันติอโศก เพราะพลังของสันติอโศกได้ดึงเอาเพื่อนเราจำนวนหนึ่งออกจากขบวนการนักศึกษาไป พวกเราจึงต้องไป "ดูงาน" ที่สันติอโศก แถวๆ หมู่บ้านปัฐวิกรณ์บ่อยครั้ง และผลจากการไปดูงานบ่อยๆ ก็ปรากฏว่าเสียเพื่อนเพิ่มขึ้นไปอีกหลายคน (ฮา)

    ในวันนั้น เราได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเสน่ห์ของกลุ่มสันติอโศกได้ว่าการปฏิเสธ "ทุนนิยม" อย่างสุดขั้ว เป็นจุดดึงดูดคนที่ "อกหัก" จากระบบทุนนิยม ไม่ว่าจะ "อกหัก" จากระบบราชการหรือธุรกิจ คนที่เข้าไปติดอยู่กับบ่วงเสน่ห์สันติอโศกนี้ จะมีพื้นฐานมาจากความเจ็บปวด และคับข้องใจอย่างลึกซึ้งกับระบบที่ตนดำรงอยู่ เพราะระบบนั้นๆ ทำให้ตนไม่มีความหมายอะไรเหลืออยู่เลย ความรู้สึกโหยหาตัวตนเช่นนี้แรงกล้า จนทำให้ไม่สามารถหาทางออกจากระบบเดิมที่สังกัดอยู่ได้ จนเมื่อมารวมกลุ่มอยู่ในสันติอโศก และได้ประสบกับพลังของ "ชุมชน" ที่ทำให้พวกเขามีความหมายของตัวตนชุดใหม่ ที่เขารู้สึกว่าตนเองมีค่ามากขึ้น

    (เราสรุปสาเหตุที่เราสูญเสียเพื่อนนักกิจกรรมไปให้แก่กลุ่มสันติอโศกว่าเกิดเพราะพวกเรามักจะประณามทุนนิยมโดยไม่ได้ทำให้เกิดความเข้าใจจริงๆ ว่า วิถีการผลิตทุนนิยมเป็นบันไดที่จะทำให้เกิดวิถีการผลิตแบบสังคมนิยม เพราะพลังการผลิตและปัจจัยการผลิตในระบบทุนนิยมจะเอื้อให้แก่การจัดความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบสังคมนิยมขึ้นมาได้ ดังนั้น การประณามทุนนิยมแต่ด้านเดียว จึงทำให้เพื่อนเราก้าวไปสู่การปฏิเสธทุนนิยมที่ปฏิบัติได้ทันทีแบบสันติอโศกแทนที่จะรอ "อะไรก็ไม่รู้" อย่างที่ขบวนการนักศึกษาในตอนนั้นรอกันอยู่)

    ในกระบวนการกลายเป็น "สันติอโศก" ของคน "อกหัก" จากระบบทุนนิยมนั้น การเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุลให้กลายเป็นคนไร้ค่าไร้ความหมายในระบบทุนนิยม กลับกลายเป็นตัวตนใหม่ของพวกเขาที่สามารถยึดกุมเอาไว้ และผลักดันให้เกิดแรงบันดาลใจให้ทำอะไรได้มากมายทีเดียว

    ฐานของการปฏิเสธ "ทุนนิยม" ได้ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนของกลุ่มออกไปได้อย่างกว้างขวางไม่น้อย แม้ว่าจะต้องปะทะกับองค์กรศาสนาพุทธของสังคมการเมืองไทย จนต้องถอดตัวออกจากการสังกัดองค์กรศาสนาหลัก ขณะเดียวกัน ฐานการปฏิเสธ "ทุนนิยม" นี้ ได้ทำให้เกิดพลังในการเคลื่อนไหว เพื่อที่จะขับไล่ "ทักษิณ" ออกจากตำแหน่ง เพราะกลุ่มนี้มองเห็นว่า "ทักษิณ" เป็นตัวหลักหรือเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของความฉ้อฉลในระบบทุนนิยม ซึ่งพวกเขาไม่สามารถจะรับได้

    การเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของกลุ่มสันติอโศกไม่ใช่แค่การปฏิเสธ "ทุนนิยม" ด้วยปากเท่านั้น หากแต่ยังได้สร้างการปฏิเสธทุนนิยมด้านปฏิบัติการขึ้นมา คือ การสร้างชุมชนแบบใหม่ที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-Sufficiency) ในหลายลักษณะ

    การสร้างชุมชนที่เน้นการพึ่งตนเองที่มีจุดเน้นที่การปฏิเสธทุนนิยมของกลุ่มสันติอโศก ได้เข้ามาสอดรับกับกรอบความคิดการรื้อฟื้นความเป็นไทยด้านการพึ่งตนเองขึ้นมาของกลุ่มปัญญาชนหลังทศวรรษ 2530 หากอ่านหนังสือที่คุณหมอประเวศ วะสี (ซึ่งท่านเป็นผู้นำคนหนึ่งในกลุ่มรื้อฟื้นความเป็นไทย) เขียนเปรียบเทียบ "ลัทธิพิธี" ศาสนาพุทธที่เขียนเมื่อหลายปีก่อน จะเห็นความเห็นพ้องและการสอดรับกันในความคิดเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน

    การที่กรอบความคิดการพึ่งตนเองของกลุ่มสันติอโศกที่สอดรับไปกับกลุ่มปัญญาชน ที่เริ่มมีอำนาจนำทางปัญญาเพิ่มมากขึ้นในทศวรรษ 2530 จึงได้ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันทางความคิดในเรื่องที่สำคัญต่อมา ได้แก่ การเคลื่อนกลุ่มสันติอโศกเข้าสู่ความคิดเรื่องการธำรงรักษาความเป็นไทยท่ามกลางสภาวะโลกาภิวัตน์

    การธำรงรักษาความเป็นไทยท่ามกลางสภาวะโลกาภิวัตน์ เป็นพลังที่ได้รับแรงเสริมมาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2540 กล่าวคือ วิกฤติการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้กระตุกคนชั้นนำไทยให้หวนกลับมาคิดว่ากำลังเผชิญอำนาจที่ใหญ่ยิ่งและอำนาจนี้กำลังจะทำลายฐานอำนาจฐานเศรษฐกิจและฐานวัฒนธรรมของกลุ่มตนเอง จึงทำให้ต้องหวนกลับมาคิดถึงหลังพิงทางวัฒนธรรมที่จะเอื้ออำนวยให้กลุ่มของตนมีอำนาจต่อไปได้ การหวนกลับมาใช้หลังพิงชุดเดิม จึงทำให้ "ความคิดชาตินิยม" สะพรั่งขึ้นมาทันที

    เราจะเห็นได้ชัดเจนว่ากระบวนการกลับมาใช้ "ความคิดชาตินิยม" ในวันนี้ จึงผสมผสานไปด้วยการคิดถึง "ความเป็นไทย" ที่มีการพึ่งพิงตนเองเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างไปจาก "ชาตินิยม" ในสมัยจอมพล ป.หรือก่อนหน้านั้น ที่มุ่งเน้นการทำให้ "ชาติ" ทันสมัยด้วยการพัฒนาการผลิตสมัยใหม่ จนอาจจะกล่าวได้ว่าการเคลื่อนไหว "ชาตินิยม" ในวันนี้ เป็นส่วนผสมแบบใหม่

    หรือจะกล่าวให้คลุมความหมายมากสักหน่อยก็ต้องบอกว่า เป็น "ความคิดชาตินิยมแบบถดถอย" เพราะเป็นความคิดชาตินิยมที่ต้องการหันกลับไปเชิดชู "สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นใหม่" ซึ่งสร้างใหม่ในนามของมรดกความเป็นไทย

    ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ คนที่ร่วมเคลื่อนไหวในประเด็น "ชาตินิยม" นี้ มีปราชญ์คนสำคัญหลายคนที่เป็นผู้สร้างความคิดเรื่อง "ชุมชน-เข้มแข็ง" ได้เข้าร่วมกระแสกับกลุ่มสันติอโศกด้วยความมุ่งมั่นและแข็งขัน

    การเชื่อมต่อและการกลืนกลายเอาความคิดเรื่อง "ชาติ" เข้ากับ "ชุมชนนิยม" จึงทำให้กลุ่มสันติอโศกกับกลุ่มปัญญาชนและชนชั้นนำทางอำนาจสามารถร่วมกันปลุก "กระแสชาตินิยม" ขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง

     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 03:12
    ชาวบ้านไม่หวั่นกัมพูชายิงถล่ม ทยอยกลับเข้าหมู่บ้าน

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    ผู้อพยพเริ่มทยอยกลับเข้าหมู่บ้าน ไม่หวั่นถูกยิงถล่ม เผยใช้ชีวิตอพยพมีค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่ผู้ว่าฯทำได้เพียงแนะหากเกิดปะทะอีกให้รีบออกมา
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>ศรีสะเกษ-จากกรณีเหตุการณ์ปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา ขึ้นบริเวณชายแดน เขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ทำให้ชาวบ้านหลายตำบลที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนกว่า 10,000 คน ต้องอพยพเข้ามาพักอยู่ตามสถานที่ราชการในเขตพื้นที่ตัว อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
    นายสมคิด ดวงแก้ว อายุ 65 ปี ชาวบ้านโนนสว่างพัฒนา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า บ้านโนนสว่างพัฒนา เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในรัศมีของกระสุนปืนใหญ่ทหารกัมพูชา และเมื่อวันที่ 6 ก.พ.54 ที่ผ่านมา ขณะเกิดเหตุการณ์ปะทะกระสุนของทหารกัมพูชาก็ยิงมาตกบริเวณรอบหมู่บ้านหลายลูก จึงทำให้ชาวบ้านต้องอพยพหนีออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่ศูนย์อพยพในตัวอำเภอกันทรลักษ์ อย่างไรก็ดีหลังเหตุการณ์สงบลง
    เพื่อนบ้านหลายรายรวมทั้งตนตัดสินใจที่จะเดินทางกลับเข้ามาพักอาศัยอยู่ที่บ้าน เพราะห่วงทรัพย์สินทั้งบ้านและสวนยางพาราที่ปลูกไว้ 30 ไร่ ไม่ได้หวาดกลัวว่าทหารกัมพูชาจะยิงปืนใหญ่เข้ามาถล่มหมู่บ้าน ตอนนี้ขอแต่ได้กลับมาอยู่บ้าน หากอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพต่อไปก็มีแต่ความเครียดและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่ม
    "ชาวบ้านที่อพยพหนีเหตุปะทะไทย-กัมพูชา ไป เริ่มทยอยกลับเข้าสู่หมู่บ้านบ้างแล้ว เพราะส่วนหนึ่งมองว่าไทยและกัมพูชาก็เป็นพี่น้องกัน ทหารกัมพูชาที่ยิงปืนใหญ่มาก็ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะถล่มบ้านเรือนชาวบ้าน เพียงแต่หมุนปืนใหญ่เข้าหาฐานทหารไทยเท่านั้นแต่เขาไม่พบ " นายสมคิด กล่าว
    นายอุทัย ดวงแก้ว ชาวบ้านโนนสว่างพัฒนา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า รู้สึกหวาดกลัวกับเหตุการณ์อยู่บ้าง แต่เมื่อสถานการณ์ผ่อนคลาย จึงต้องกลับเข้ามาดูแลทรัพย์สินภายในบ้าน
    "จากนี้เป็นจะไม่หนีออกจากหมู่บ้านอีกต่อไป ถึงแม้ว่าจะมีการยิงปะทะกันเกิดขึ้นอีกก็ตาม เมื่อเกิดการปะทะก็วิ่งลงหลุมหลบภัย หากโชคร้ายถึงตายก็ยอมเพราะไม่อยากหนีออกจากหมู่บ้านอีกแล้ว เนื่องจากการอพยพเห็นว่ามีความยากลำบากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมากด้วย" นายอุทัยกล่าว
    นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า การที่ชาวบ้านจะกลับเข้าสู่หมู่บ้านในขณะนี้ทางจังหวัดก็ไม่ได้ห้าม "หากคิดว่าเข้าไปเพื่อดูแลทรัพย์สินก็ไม่มีใครห้าม แต่หากเกิดเหตุการณ์ปะทะที่รุนแรงขึ้นก็ให้รีบกลับออกมาจากหมู่บ้านเพราะจะไม่ปลอดภัย ซึ่งการปะทะของทหารไทยและกัมพูชาเมื่อช่วงวันที่ 4-6 ก.พ.54 ที่ผ่านมา ก็เห็นแล้วว่ากระสุนปืนใหญ่ของทหารกัมพูชามีความรุนแรงมากและเป็นอันตรายต่อชีวิตชาวบ้านหากอยู่ในรัศมีที่ลูกกระสุนปืนใหญ่ตก ดังนั้นหากชาวบ้านต้องการที่จะกลับเข้าไปในหมู่บ้านก็ไม่ได้ห้าม ขอเพียงว่าหากเกิดเหตุปะทะขึ้นอีกให้รีบกลับออกมา" นายสมศักดิ์ กล่าว

     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 10:55
    เปิดใจอภิสิทธิ์"ไม่จำเป็นต้องไล่ เดี๋ยวผมก็ไปอยู่แล้ว"

    โดย : ณัฐพล หวังทรัพย์,จตุพล สันตกิจ

    [​IMG]
    ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองและปัญหาข้อพิพาทไทย-กัมพูชาที่กำลังเร่าร้อน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี เปิดใจกับนักข่าวทำเนียบรัฐบาล
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่กำลังรุมเร้ารัฐบาล ทั้งการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อเหลือง เสื้อแดง ต่างพุ่งเป้าไล่รัฐบาล พร้อมกับมีการปล่อยข่าวปฏิวัติ รวมไปถึงปัญหาความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใหัสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจประจำทำเนียบรัฐบาลทุกประเด็นร้อน
    @ ปัญหากัมพูชาจะแก้ไขอย่างไร
    เราพยายามทำทุกอย่างไม่ให้ยืดเยื้อ ที่จริงความตึงเครียด 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นปัญหาที่มรดกโลกจุดชนวนขึ้นมาและขณะนี้เราแสดงจุดยืนชัดเจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบนี้ ทั้งหมดควรให้มรดกโลกคิดได้แล้วว่า พื้นที่นี้ก่อนที่เขาจะเข้ามาก็สงบเรียบร้อยดี วัตถุประสงค์มรดกโลก เพื่อให้คนมีโอกาสชื่นชมในมรดกทางวัฒนธรรม แต่สิ่งที่เขาทำกำลังเกิดผลตรงกันข้าม ใครก็เข้าไปไม่ได้ เพราะเกิดการสู้รบกัน ก็ควรจะหยุดจนกว่าเราจะได้ข้อยุติกับทางกัมพูชากระทรวงการต่างประเทศออกแถลงการณ์ไปรอบหนึ่งแล้ว และมีหนังสือถึงยูเอ็นเอสซีและยูเนสโก และก็คงต้องมีอีก
    ส่วนอาเซียนขณะนี้ยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้องอะไร และอาเซียนทราบว่าเรามีกลไกสองฝ่าย ที่ต้องคุยกันทั้งเจบีซีและจีบีซี ก็จะเร่งให้เดินหน้าพูดคุย เขาอาจต้องทราบข้อมูล ฉะนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประธานก็คงมารับทราบข้อมูลของสองฝ่าย
    @ ปัญหาการเมืองในประเทศตอนนี้หลายคนกำลัง หวั่นไหวที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมา เพราะมักจะไม่จบด้วยดี ท่านนายกรู้สึกหวั่นไหวด้วยหรือไม่
    คือผมมองประเทศ ผมมองไม่เห็นว่าการปฏิวัติจะช่วยประเทศได้อย่างไรตอนนี้ เพราะปฏิวัติทุกครั้งมีบาดแผลตกค้างทุกครั้ง กระบวนการเสื้อแดงก็ยังเป็นบาดแผลที่ยังไม่จบจากครั้งที่แล้ว ก็ลองไปถามคนที่ต้องทำงานหลังปฏิวัติสิครับ ว่ามันเหนื่อยแค่ไหน เพราะฉะนั้น ผมจึงเข้าใจยากว่าทำไมจึงมีข้อเรียกร้องอย่างนี้ และผมถึงบอกว่าถ้าไม่ชอบรัฐบาลนี้ ก็อีกไม่กี่เดือน ก็จะไปเลือกตั้งกันแล้ว แต่ถ้าคุณไม่เชื่อในกระบวนการเลือกตั้งอีก แล้วคุณเชื่อประชาธิปไตยแบบไหน ถ้าคุณไม่เชื่อประชาธิปไตยอีก ก็ถามว่า คุณจะอยู่ในโลกนี้ ยุคนี้อย่างไร
    @ มีคนพูดว่า รัฐประหาร หรือไม่รัฐประหาร อย่างไรนายกฯก็จะได้อยู่ในอำนาจต่อไป โดยเอาอำนาจพิเศษมาโยง
    ไม่มีหรอกครับ ถ้ามีการรัฐประหาร มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ผมจะอยู่ในอำนาจ
    @ แสดงว่า คนที่ปล่อยข่าวรัฐประหาร เขาไม่อยากให้ท่านเป็นนายกฯแล้ว
    แน่นอน มันเป็นไม่ได้ที่จะมารัฐประหารแล้วผมอยู่ในอำนาจ
    @ คนที่มีคอนเน็คชั่นพิเศษก็พูดว่า อำนาจพิเศษไม่เอานายกฯ แสดงว่า อำนาจพิเศษที่ไม่เอานายกจริงๆ ท่านนายกฯเชื่อเรื่องอำนาจพิเศษหรือไม่
    ผมว่าบ้านเมืองเรามีระบบ ชัดเจน ไม่ได้มีอำนาจนอกระบบได้ ทุกอย่างอยู่ในระบบ
    @ วันที่นายกฯไปเปิดงานวิ่งการกุศลที่เมืองทองธานี แล้วมีคนตะโกนไม่เอานายก ตอนนั้นรู้สึกอย่างไร
    ไม่หรอกครับ ธรรมดา คือเวลานี้การปลุกเร้าอารมณ์ โดยเฉพาะเรื่องชาตินิยมมันจะรุนแรง เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ต้องเข้าใจได้ แล้วก็เพียงแต่เสียดายว่า การให้ข้อมูลมันต้องระมัดระวัง เพราะว่าการให้ข้อมูลไปแล้ว ไปสู่อะไรต้องรับผิดชอบกันด้วย
    @ ดูเหมือนว่า เวลาวิกฤติ ประชาธิปัตย์จะรับมืออยู่คนเดียว พรรคร่วมหายไปไหนหมด
    ก็เราเป็นแกนนำ เราก็ต้องรับผิดชอบมาก ธรรมดา
    @ ตอนนี้สถานการณ์การเมืองที่กำลังรุมเร้ารัฐบาล ทั้ง การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อเหลือง เสื้อแดง ต่างมีข้อเรียกร้องเดียวกัน คือให้รัฐบาลออกไป แถมยังมีการปล่อยข่าวปฏิวัติ รวมไปถึงปัญหาความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชาเข้ามารุมเร้าอีก
    ปีนี้รัฐบาล ก็ออกไปอยู่แล้ว ถ้าเป็นข้อเรียกร้องของการที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เราก็ปูทางไปสู่ตรงนั้นอยู่แล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญวันศุกร์( 11 ก.พ.)ก็เสร็จแล้ว เมื่อจังหวะเวลาเหมาะสมก็ไปเลือกตั้งอยู่แล้ว อยากจะบอกว่า มันไม่จำเป็นจะต้องมาไล่อะไรกัน เพราะว่ารัฐบาลบอกอยู่แล้วว่าจะคืนอำนาจประชาชน ก็น่าจะมุ่งไปรอในเรื่องการเลือกตั้งดีกว่า
    @ ต้องรอให้ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อน จึงจะยุบสภาใช่หรือไม่
    นั่นก็ทำให้ยืดเวลายุบสภาไปอีกสักระยะหนึ่ง ก็ไม่ต้องรอ ถ้าฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจเข้ามา ผมก็ไม่มีอำนาจยุบ
    @ เข้าทางรัฐบาลที่จะอยู่ได้อีกระยะหนึ่ง
    ไม่หรอกครับ พยายามทำให้เร็ว ยื่นมาก็รีบๆอภิปรายให้มันจบๆ ไป ก็จะได้ยุบได้
    @ ประเมินว่าหลังจากฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเข้ามา 15 วัน ก็สามารถบรรจุเข้าเป็นวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรได้แล้ว
    อาจจะเร็วกว่านั้น
    @ หลังอภิปรายไม่ไว้วางใจจบต้องรอให้การพิจารณางบประมาณกลางปี 2554 ผ่านก่อนหรือไม่
    งบกลางปี 2554 เดือนมี.ค.นี้ ก็เสร็จแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นไม่จบหรอกครับ ไม่งั้นมีเรื่องมาเรื่อยๆ กฎหมายโน้นก็อยากทำ กฎหมายนี้ก็อยากทำ ผมก็ต้องทำตามความเหมาะสม แต่ว่า ระหว่างที่ตอนนี้ เราก็ต้องเดินหน้าทำงานไปเรื่อย อย่างงบปี 2555 พูดตามตรง อย่างที่ทำไปแล้ว เกิดการยุบสภาก่อน ถ้าคนที่ได้รับการเลือกตั้งกลับมา เขาไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ หากเขาอยากจะปรับใหม่ก็เป็นเรื่องของเขา หรือจะปรับแก้ของเก่า ถ้าเขาคิดว่ามันดีแล้ว มันก็ไม่ช้า
    @ ถ้ายุบสภา แล้วเกิดปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ในช่วงที่เป็นรัฐบาลรักษาการจะมีปัญหาหรือไม่
    อย่างที่ผมบอก คือถ้าจะบอกว่ามีช่วงไหนบ้างที่ไม่มีปัญหาอะไรเลย มันคงไม่มีหรอก เดี๋ยวมิ.ย.ก็มีการประชุมมรดกโลก พ.ค.ก็มีงบประมาณเข้าสู่การพิจารณาของสภาในวาระ 1 คือก็พูดกันไปเรื่อยๆ แต่ผมคิดว่าจุดใดจุดหนึ่งมันก็ต้องเลือกตั้ง เหมาะสมเมื่อไหร่ก็เลือกเมื่อนั้น ถึงแม้ปล่อยให้ครบวาระ ครบวาระเดือนธ.ค.นี้ ก็ไม่ได้แปลว่าเดือนม.ค.ปีหน้า จะไม่มีเรื่องที่อาจจะต้องดูแลเป็นพิเศษ มันก็ตอบไม่ได้ ไม่มีใครตอบได้
    @ เลือกตั้งครั้งหน้าประชาธิปัตย์ตั้งเป้าส.ส.ไว้สูงถึง 200 คน คิดว่าจะมีมีโอกาสเป็นไปได้ไหม
    ตอนนี้เรา 170 กว่าแล้ว เราก็อยากได้เพิ่มพอสมควร ส่วนโอกาสผมไม่เคยพูดอยู่แล้ว เหนื่อยครับ แต่เราก็พยายามทำ เพราะตั้งเป้ามาตลอด ว่าตอนที่ผมมาเป็นหัวหน้าพรรค ก็ตั้งเป้าไว้ 120-150 ก็ได้มา 160 กว่า และก็ได้ 160 กว่า แล้วผมก็มีเขตเลือกตั้งที่ตั้งเป้าหมายไว้อีกราว 70 -80 เขต เลือกตั้งซ่อมตั้งเป้าหมายไว้อีกราว 10 เขต ก็ได้มาเกือบหมด ที่พลาดไปก็มีสมุทรปราการ ปทุมธานี ผมก็จะมีลิสต์ของผมอยู่ แต่ว่าอันนี้ก็ต้องเคลียร์ไอ้ที่มีอยู่แล้วก็เสียด้วย ซึ่งก็มีบางจังหวัดแล้ว ก็มีลิสต์อยู่ว่าจังหวัดไหนต้องดูแล
    @ เป้าของนายกคือเลือกตั้งครั้งหน้าประชาธิปัตย์จะได้ส.ส. 200 คน
    ยังไม่ได้ตั้งเป้า
    @ คะแนนในภาคเหนือ ภาคอีสาน ของประชาธิปัตย์ตอนนี้เป็นอย่างไร
    เขามองต่างกัน จากโพลล์ที่เราดูทุกสำนัก ภาคเหนือเป็นภาคที่คะแนนพรรคมาเป็นอันดับหนึ่งมาพักหนึ่งแล้ว แต่คะแนนของส.ส.ในเขตเลือกตั้งยังไม่มาตามพรรค ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะการเลือกตั้งเมื่อปี 2550 ภาคเหนือเราได้คะแนนพรรคประมาณ 40% เพราะฉะนั้น มันไม่แปลกที่เราจะขยับขึ้นมา แต่ว่าภาคอีสานยังยาก เพราะเราเริ่มจากครั้งที่แล้วที่มีคะแนนพรรคประมาณ 25% จากตอนที่ผมเข้ามาเรามีอยู่ 7% ขึ้นมา 25 ตอนนี้เราคิดว่ามีประมาณ 30 กว่าๆ ซึ่ง 30 กว่าๆ การได้ส.ส.เขตยาก
    @ มีการมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยปรับเพิ่มจำนวนส.ส.ปาตี้ลิสต์ จะทำให้ประชาธิปัตย์มีส.ส.เพิ่มขึ้น
    ผมว่าไปตอบอย่างนั้นมันไม่ได้ อยู่ที่ว่าประชาชนเลือกใคร แต่ถ้าประชาชนมีแนวโน้มเลือกพรรคใหญ่ๆ พรรคใหญ่ก็ได้ประโยชน์ แต่อีกด้านหนึ่ง ก็อาจเปิดช่องให้พรรคบางพรรคที่ไม่มีสส.เขตเลย มีส.ส.เข้ามาเหมือนกัน
    @ หลังเลือกตั้งครั้งหน้าประชาธิปัตย์มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้หรือไม่
    ยากครับ เพราะว่าการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว มีส.ส.ครึ่งหนึ่ง 240-250 ก็ใช่จะเป็นได้ จะเป็นได้มันต้องเกินนั้นไปอีกเยอะ ผมคิดว่าขณะนี้ ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะไปคิดว่าจะทำได้ขนาดนั้น แต่ถ้าได้ก็ดี
    @ ถ้าได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกรอบประชาธิปัตย์จะบริหารเศรษฐกิจเองหรือไม่
    เดี๋ยวค่อยว่ากัน คิดอะไรไกลอย่างนั้น

    <SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...