อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]



    อาตมาเคยมีเมียมีลูกแล้ว
    ได้ลาครอบครัวออกบวช
    เพราะได้ "ลิ้มรสความรัก" แล้วเห็นว่า ...

    ความรัก ... เป็น "ความทุกข์"...อันแสบเผ็ดร้ายกาจ เป็นพิษร้ายแก่ชีวิตจิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น

    "ความสุข" ... ที่เกิดจาก "ความรักความเสน่หา"
    เป็นความสุข ... เหมือนได้กินส้มตำ
    แสบเผ็ด เอร็ดอร่อย
    แต่ผสม "ยาพิษ" เข้าไปด้วย ทำให้เกิดอาการอึดอัด ท้องไส้ปั่นป่วน
    ... ทุกข์ทรมานในภายหลัง

    คนเรา ใครๆก็ปรารถนา
    ... "ความสมหวังในชีวิตรัก"
    แต่เมื่อรักกัน อยู่ด้วยกันแล้ว
    "ความรัก" ไม่เคยให้ความสมปรารถนาแก่ใคร
    ถึงครึ่งหนึ่ง ... แห่งความปรารถนาเลย
    เพราะความรักนั้น เป็นธาตุที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีสุขน้อย ... แต่มีทุกข์มาก!


    * หลวงปู่จันทา ถาวโร



    เครดิต : พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    คำสอนเรื่อง....ต้นบาป.....

    ทำความดีให้ถูกดี"
    "ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ"

    มีสิ่งหนึ่งที่บรรดาศิษย์ได้เรียนรู้จากหลวงปู่ นั่นก็คือเรื่อง "กาลเทศะ" หลวงปู่ท่านละเอียดมาก ท่านสอนให้เราเรียนรู้ว่า หากปฏิบัติธรรมไม่ถูกกาลเทศะแล้ว นอกจากจะไม่สำเร็จประโยชน์แล้ว ยังจะเป็นโทษ หรือถึงขั้นที่หลวงปู่เรียกว่า เป็น "ต้นบาป" อีกด้วย

    ครั้งหนึ่ง สมัยที่กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ทางสำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งก็แนะนำให้มีกิจกรรมปักกลดโชว์ที่สนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัย โดยให้เหตุผลว่า "การทำความดี อย่าไปอายใคร ๆ ทีคนกินเหล้าเขายังกินอย่างเปิดเผย ไม่เห็นอายใคร!"

    ฟังเหตุผลตอนนั้นแล้วก็ว่าจริงแฮะ คนทำสิ่งไม่ดียังไม่อายใคร แต่ทำความดี จะอายคนอื่นทำไม มันเป็นความดีงามนี่นา

    แต่สิ่งที่ซึมซับมาจากหลวงปู่ สอนให้เรารู้ว่า หากเราเป็นเหตุให้คนที่ไม่ศรัทธาไปปรามาสพระหรือปรามาสธรรมเข้า เขาย่อมได้รับบาป แต่บาปนั้นมาจากเรา เพราะเราคือ "ต้นบาป" ดังนั้น บาปก็ย่อมตกแก่เราด้วย

    นี่คือความเข้าใจที่จะช่วยให้เรามีวินิจฉัยว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรควรเป็นการปฏิบัติธรรมส่วนตัว อะไรควรเป็นการปฏิบัติธรรมในที่สาธารณะ นี้สำคัญมาก เพราะมันจะช่วยให้ "ทำความดีให้ถูกดี" และจะเป็น "วัฒนธรรมที่ดีงาม"




    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]

    ....เราคือนักรบ นักรบกิเกส ตัณหา จะมานั่งร้องไห้อาลัยอย่างนี้ มิได้ ไม่เกิดประโยชน์ ไม่ช่วยอะไร มานี้มานั่งสมาธิ เอาภาวนาเป็นที่ไป เราเป็นพระแล้ว พระคือ ผู้เห็นภัยในความประมาท ต้องไม่มีกิเลสครอบงำ หลับตา กำหนดคำบริกรรมหายใจเข้าว่า "นะ" หายใจออก "โม" ซึ่ง นะโม แปลว่า แม่และพ่อ.

    พระครูบาศีลธรรม ครูบาเจ้าศรีวิชัย....
    ธรรมะจากครูบาเจ้า...แด่หลวงปู่คำแสน...เมื่อคราวหลวงปู่ไปเยี่ยมครูบาศรีวิชัย ที่ วัดศรีดอนชัย ที่ถูกต้องอธิกรณ์....
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]

    เมื่ออยู่ใน “สมาธิ” นั้นเล่า ก็มิใช่ว่าจิตจะโง่เง่าซึมเซอะ แต่มันมีความผ่องใส พิจารณาธรรมอันใด ก็ปรุโปร่งเบิกบาน “ฌาน” ต่างหาก ที่ทำให้จิตสงบแล้วซึมอยู่กับสุขเอกัคคตาของฌาน ขออย่าได้เข้าใจว่า “ฌาน” กับ “สมาธิ” เป็นอันเดียวกัน ลากับม้าเป็นสัตว์ประเภทเดียวกัน แต่ตระกูลต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ความโง่อันสงบจากนิวรณ์ทั้ง 5 ยังดีกว่าความกล้าหลงเข้าไปจมอยู่ในกามทั้งหลายเป็นไหนๆ

    ... หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ...





    https://www.facebook.com/pages/พระอรหันต์-สายหลวงปู่มั่น/238296179593402?fref=photo
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]



    "อาตมาจำประสบการณ์ครั้งหนึ่งได้ ในช่วงปีแรกของการฝึกสมาธิในประเทศไทย ปีนั้นอาตมาอยู่คนเดียวในกุฏิหลังเล็กๆ ในสองสามเดือนแรกนั้นแย่จริงๆ ความรู้สึกนึกคิดทุกอย่างผุดขึ้นมาในดวงจิตของอาตมา ไม่ว่าจะเป็นความลุ่มหลง ความกลัว หรือโทสะ ไม่เคยคิดว่าจะเป็นคนเที่ยวเกลียดคนอื่น แต่ในเวลานั้นดูเหมือนอาตมาเที่ยวเกลียดคนไปหมด ไม่คิดดีกับใครเลย ไม่นึกว่าจะเกลียดชังอะไรมากมายเช่นนั้น มันประดังเข้ามาในอารมณ์

    แต่แล้วในบ่ายวันหนึ่ง อาตมามีนิมิตแปลกประหลาด คือเห็นคนเดินออกมาจากหัวสมองของอาตมา เห็นแม่เดินออกมาแล้วหายไปในความว่าง เห็นพ่อและน้องสาวเดิมตามออกมา คิดในใจว่าเราท่าจะเป็นบ้าไปแล้ว แต่มันไม่ใช่ประสบการณ์ที่เลวร้ายอะไรนักหนา รุ่งเช้าพอตื่นนอนมองไปทั่วๆ อะไรๆ ดูมันพราวเพริศไปหมด ทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่ไม่งามเลยแม้แต่น้อยก็ดูสวยสดงดงาม อาตมาตกอยู่ในสภาพขนลุกขนพอง กระท่อมน้อยที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ ไม่น่าดูเลย แต่อาตมาเห็นมันเป็นประดุจปราสาทราชวัง ป่าเตี้ยซึ่งมีแต่ต้นไม้แคระๆ นอกกระท่อม กลายเป็นป่าใหญ่ที่สวยงามที่สุด แสงแดดทอลอดเข้ามาทางหน้าต่างกระทบกับจานพลาสติกเก่าๆ ใบหนึ่ง จานใบนั้นช่างงามแวววับจับตายิ่งนัก ความรู้สึกเช่นนี้อยู่กับอาตมาถึงหนึ่งสัปดาห์ และเมื่อมาใคร่ครวญดูก็รู้ได้ทันทีว่า มันเป็นของมันอย่างนั้นได้เหมือนกันเมื่อจิตใจเริ่มใสสว่างขึ้นบ้าง

    อาตมาเคยแต่มองผ่านกระจกหน้าต่างที่เป็นฝ้าสกปรก เคยชินกับความสกปรกของกระจกหน้าต่างอยู่อย่างนั้น จนไม่รู้ว่ามันสกปรก คิดว่าธรรมดามันก็เป็นของมันอย่างนั้นเองถ้าเราเคยชินกับการมองผ่านกระจกหน้าต่างที่สกปรก ทุกสิ่งที่เห็นก็จะดูหมองมัวน่าเกลียดไปด้วย การปฏิบัติจิตภาวนา เป็นการเช็ดกระจกให้หมดจดผ่องใส เป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ยอมให้ทุกสิ่งเข้ามาในความรับรู้อารมณ์ แล้วยอมให้มันผ่านออกไป และด้วยปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราจะเฝ้าสังเกตความเป็นไปของสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ไม่ติดที่ความงาม ไม่ติดที่ความบริสุทธิ์แห่งจิต เพียงแต่กำหนดรู้ไว้เท่านั้น

    การพิจารณาความเป็นไปของธรรมชาติด้วยปัญญาเช่นนี้ จะทำให้เราไม่หลงอีกต่อไปเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ เจ็บ และตาย แต่นั่นมันเกี่ยวกับกายของท่าน ไม่ใช่ท่าน ร่างกายจริงๆ แล้วไม่ใช่ของท่าน ไม่ว่าจะมีรูปร่างอย่างไร จะแข็งแรงหรือขี้โรค สวยหรือไม่สวย ดำหรือขาว หรือจะเป็นอย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ ‘ตัวเรา’ ไม่ใช่ ‘ของเรา’ นี้แหละที่หมายถึงอนัตตา คือร่างกายคนเป็นของธรรมชาติ เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เกิดขึ้นมา เติบโต แก่ แล้วก็ตายไป บัดนี้ เราเข้าใจอย่างนั้นตามเหตุผล แต่ตามความรู้สึกหรือตามอารมณ์แล้ว เรายังยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นอยู่กับร่างกาย ในจิตภาวนาเราเริ่มมองเห็นอุปาทานหรือความสำคัญมั่นหมายนี้ เราจะต้องพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญา ไม่ใช่ว่าเพียงทำจิตให้บริสุทธิ์แล้วไปติดที่ความบริสุทธิ์ ไม่ใช่ว่าจะพยายามกลั่นกรองซักฟอกความรับรู้อารมณ์ให้ประณีตจนสามารถจะสร้างสมาธิชั้นสูงขึ้นเมื่อใดก็ได้ เพราะแม้ความรับรู้อารมณ์จะละเอียดบริสุทธิ์สักปานใด มันก็ยังทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก ต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายอย่าง

    พระนิพพานไม่ต้องอาศัยสภาวะใดๆเลย ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่ดีหรือเลว งามหรือไม่งาม หยาบหรือละเอียด มันเกิดขึ้นก็ดับไป ไม่ยุ่งเกี่ยวกับนิพพาน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับความสงบระงับแห่งจิตเราไม่หลีกเลี่ยงโลกียสุขด้วยความชิงชัง เพราะถ้าเราจงใจประหัตประหารความรู้สึกเช่นนั้น ก็เท่ากับเรากลับคืนสู่นิสัยเดิมที่พยายามจะกำจัดสิ่งที่เราไม่พึงประสงค์ออกไป

    นี่แหละจึงว่าเราต้องอดทนเป็นอย่างยิ่งชีวิตของคนเรานี้เป็นชีวิตของการทำความสงบ มองให้เห็นว่าเป็นช่วงของการทำความสงบอันยาวนาน มิใช่เพียงแค่สิบวันอย่างนี้ ท่านอาจคิดว่า “ฉันมาปฏิบัติกรรมฐานแค่สิบวันก็เห็นแจ้งแล้ว แต่พอกลับถึงบ้านมันหายไปหมด จะต้องกลับไปทำใหม่ ทำให้นานอีกหน่อย เพื่อจะได้เห็นแจ้งกว่าคราวที่แล้ว ต้องดีแน่ๆ ถ้าได้ทำสมาธิขั้นสูงขึ้นไปอีก”ว่าที่จริงแล้ว ยิ่งท่านทำให้ละเอียดสักเท่าใด เมื่อท่านกลับไปสู่โลกียสุขของชีวิตในกรุง ก็จะเห็นว่าความเป็นไปในชีวิตประจำวันของท่านกลับยิ่งเลวกว่าเดิม ในเมื่อท่านขึ้นเบื้องสูง ท่านจะมองว่าชีวิตอันเป็นธรรมดาสามัญนี้ไม่น่าปรารถนา

    วิถีไปสู่วิปัสสนาปัญญานั้นไม่ใช่ไปเลือกเอาแต่สิ่งละเอียด ไม่เอาสิ่งหยาบ แต่ให้รู้ไว้ว่าความรับรู้อารมณ์ทั้งที่หยาบและละเอียดนั้นเป็นสังขารที่ไม่เที่ยง ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น เป็นอนัตตา ไม่ใช่ ‘ตัวกู’ ไม่ใช่ ‘ของกู’คำสอนของพระบรมศาสดาเป็นคำสอนง่ายๆ ก็อะไรล่ะที่ดูง่ายๆ เป็นธรรมดา ยิ่งไปกว่าคำสอนที่ว่า ‘เมื่อมีเกิดก็มีดับ’ นี้ไม่ใช่การค้นพบปรัชญาอันยิ่งใหญ่ คนไม่เรียนหนังสือก็รู้ และไม่ต้องเข้ามหาวิทยาลัยหรอก เพื่อจะศึกษาเรียนรู้คำสอนนี้เมื่อเรายังหนุ่มยังสาวอยู่เราก็คิดว่า ยังมีเวลาเป็นหนุ่มเป็นสาวและเที่ยวหาความสุขสำราญได้อีกนาน ถ้าเราเป็นคนสวยคนงาม เราก็อยากจะสวยงามไปชั่วชีวิต ก็มันน่าจะเป็นอย่างนั้นมิใช่หรือ ถ้าเราอายุยี่สิบปี กำลังสนุกเพลิดเพลิน แล้วเกิดมีคนมาบอกว่า “วันหนึ่งคุณต้องตาย” เราคงคิดว่า “คนอะไรใจดำ ไม่น่าคบค้าสมาคมด้วยเลย” เราไม่อยากคิดถึงความตาย เราอยากคิดถึงแต่ชีวิตที่สดชื่นรื่นรมย์ คิดถึงว่าเราจะกอบโกยหาความสุขได้อย่างไร

    ในฐานะนักปฏิบัติ เราจะพิจารณาความแก่และความตาย ทั้งนี้มิใช่ว่าเราเป็นคนจิตใจผิดปกติ แต่จะพิจารณาวงจรชีวิตครบทั้งวงจร และเมื่อเราเข้าใจดี เราก็จะดำเนินชีวิตของเรา ด้วยความไม่ประมาท คนเราทำสิ่งเลวร้ายก็เพราะเขาไม่ได้พิจารณาความตายของเขาอย่างชาญฉลาด เขาตามตัณหาและอารมณ์ชั่วครู่ พยายามไขว่คว้าหาแต่ความสำราญ เมื่อไม่ได้สมใจก็โกรธ

    จงพิจารณาชีวิตและความตายตลอดเวลา ถึงวงจรแห่งธรรมชาติ เฝ้าดูว่าอะไรที่ทำให้เกิดปีติ อะไรทำให้เกิดความเศร้าหมอง ดูซิว่าเรายินดียินร้ายอย่างไรหรือไม่ สังเกตว่าเมื่อเรายึดมั่นอยู่กับความสวยงาม ความสบาย หรือความประทับใจแล้วเป็นอย่างไร มันดีมิใช่หรือที่เราจะมีความรู้สึกซาบซึ้งประทับใจ เช่นบอกว่า “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ฉันมีความสุขยิ่งเมื่อได้พบพระพุทธเจ้า เป็นการค้นพบที่มหัศจรรย์จริงๆ”

    เมื่อเราลังเลใจหรือหดหู่ เราก็ไปหาหนังสือที่สนุกโลดโผนมาอ่านเพื่อให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ แต่จงจำไว้ว่าความตื่นเต้นเร้าใจเป็นสิ่งไม่เที่ยง ความสุขก็เหมือนกัน เมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องประคองรักษามันไว้ และถ้าทำอย่างนั้นซ้ำๆ ซากๆ ก็จะถึงจุดที่เราไม่สุขกันอีกต่อไป ขนมหวานนั้นท่านจะรับประทานเข้าไปมากๆ เรื่อยๆ ท่านจะปวดท้องไม่สบาย ดังนั้น จะอาศัยความซาบซึ้งประทับใจในศาสนาเท่านั้นยังไม่พอ เพราะถ้าไปยึดมั่นอยู่กับความซาบซึ้งเช่นนั้น พอท่านอิ่มแปล้หรือเบื่อขึ้นมา ท่านก็จะผละไปหาของใหม่ๆ ที่ตรึงใจท่านต่อไป

    ยึดมั่นในความรักก็เช่นกัน พอความสัมพันธ์จืดจาง ท่านก็มองหาคนอื่นเพื่อจะปลูกต้นรักอีกต่อไปอีก หลายปีมาแล้วตอนอยู่ในสหรัฐ อาตมารู้จักกับสตรีผู้หนึ่ง เธอผ่านการแต่งงานมาถึงหกครั้ง อายุของเธออยู่ในวัย ๓๔ ปีอาตมาถามเธอว่า “คุณน่าจะรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร หลังการแต่งงานครั้งที่สามหรือครั้งที่สี่ แต่แล้วทำไมจึงมีสามีใหม่ต่อไปอีก” เธอตอบว่า “มันเป็นเรื่องของความรัก ฉันไม่ค่อยจะสนใจฝ่ายตรงข้ามเท่าไรดอก แต่ฉันชอบความรัก” อย่างน้อยเธอก็ปากตรงกับใจ แต่ฟังแล้วมันแปลกดี

    ความหลงรักเป็นสภาวะนำไปสู่ความหมดรัก กามฉันทะ ความซาบซึ้งตรึงใจ ความตื่นเต้น ตลอดจนการผจญภัย เหล่านี้เมื่อขึ้นถึงจุดสุดยอดแล้วจะเป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งตรงข้าม เช่นเดียวกับการหายใจเข้าเป็นปัจจัยให้เกิดมีการหายใจออก ลองนึกถึงการหายใจเข้าไปเรื่อยๆ ก็เหมือนกับการมีความรักครั้งแล้วครั้งเล่ามิใช่หรือ เราจะหายใจเข้าแต่อย่างเดียวไปได้นานสักเท่าใด เพราะหายใจเข้าเป็นปัจจัย หายใจออกจึงมี เพราะการเกิดเป็นปัจจัย การตายจึงมี ความหวังเป็นปัจจัยให้เกิดความผิดหวัง

    ดังนั้นถ้าเรายึดมั่นอยู่กับความหวังเราจะพบความสิ้นหวัง ถ้าเรายึดอยู่กับความตื่นเต้นเราจะเบื่อหน่าย ถ้าเรายึดอยู่กับความรักใคร่มันจะนำไปสู่การหย่าร้าง เรายึดอยู่กับชีวิตมันจะนำไปสู่ความตาย จึงให้เข้าใจไว้ว่าอุปาทานนี้แหละเป็นเหตุแห่งทุกข์ ชีวิตส่วนใหญ่ของคนเราคล้ายกับการรอคอย โดยหวังว่าจะมีอะไรสักอย่างหนึ่งเกิดขึ้น หวังว่าจะพบความสำเร็จและได้รับความสุข หวังว่าวันหนึ่งคงจะได้พบกับคนที่ท่านหลงรัก แต่การยึดมั่นในความหวังเช่นนั้นจะทำให้ท่านคับแค้นใจในที่สุด เมื่อพิเคราะห์ด้วยปัญญา เราจะเข้าใจสิ่งที่เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เราจะมองเห็นว่า แท้จริงแล้วเราเองนั่นแหละเป็นผู้สร้างทุกข์ ด้วยอวิชชาหรือความโง่เขลา ไม่เข้าใจโลกอย่างแท้จริง เราจึงติดอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น สิ่งที่นำไปสู่ความสิ้นหวังและความตาย

    โลกนี้เป็นโลกแห่งความเศร้า มันมืดมนก็เพราะเรามีอุปาทาน เพราะเราไปยึดอยู่กับสิ่งที่เป็นทุกข์ เมื่อใดเราหยุดทำเช่นนั้น เมื่อใดเราปล่อยวาง ความเห็นแจ้งก็จะปรากฏ เราเห็นแจ้งโดยไม่ยึดมั่นหมายมั่น ไม่หลงไปกับโลก เราเข้าใจโลกและรู้ว่าจะอยู่กับมันได้อย่างไร ไม่เรียกร้องอะไร เพราะถ้าเรียกร้องให้มันปรนเปรอตัณหาของเราเมื่อใด เมื่อนั้นแหละมันจะนำไปสู่ความคับแค้นใจ ในเมื่อเราไม่เข้าไปยึดถือครอบครองกามภพในฐานะที่เป็น ‘ตัวกู’ หรือ ‘ของกู’ และมองเห็นเป็นอนัตตา เราก็อยู่กับความรู้สึกต่างๆ ได้อย่างสบาย สภาวะทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นของมันอย่างนั้น เราไม่หวังให้เป็นอย่างอื่น เมื่อมันเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ราบรื่น เราสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความสงบและขันติ เราจะทนต่อความเจ็บปวด เราจะสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นไปในทางดีหรือร้าย ถ้ายังยึดอยู่จะปรับตัวไม่ได้ดี จะคอยแต่ดิ้นรนต่อสู้ พยายามเข้าไปควบคุมยักย้ายถ่ายเท แล้วจะผิดหวัง เกิดความกลัวและท้อแท้ในที่สุด

    ถ้าท่านไม่เคยเพ่งพิจารณาโลกอย่างจริงจัง ไม่เคยพากเพียรที่จะเรียนรู้ โลกนี้จะกลายเป็นอาณาจักรแห่งความกลัวสำหรับท่าน เป็นเหมือนป่าทึบ ไม่รู้ว่ามีอะไรแอบอยู่หลังต้นไม้ จะเป็นเสือร้ายหรืองูพิษ พระนิพพานหมายถึงออกจากป่าทึบ

    เมื่อเราโน้มนำไปสู่นิพพาน เราก็เคลื่อนเข้าสู่ความสงบเย็นแห่งจิต แม้สภาวะของจิตจะไม่สงบ แต่ตัวจิตเองนั้นเป็นที่สงบ เราต้องแยกออกให้ชัดเจนระหว่างจิตกับสภาวะแห่งจิต สภาวะแห่งจิตนั้นมี สุข ทุกข์ ร่าเริง หดหู่ มีรัก มีชัง หวาดกลัว สงสัย หรือเบื่อหน่าย ท้อแท้ มันมาแล้วก็ผ่านออกไปจากจิตนี้ แต่จิตเองนั้นเหมือนกับความว่างในห้องนี้ ดำรงอยู่อย่างนั้น จะเพ่งที่ความว่างในห้องนี้ได้ เราก็ต้องถอนความสนใจจากสิ่งของเครื่องประดับที่มีอยู่ในห้อง ถ้าเราไปเพ่งที่สิ่งของเครื่องประดับ เราจะเกิดความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ เป็นสุข เป็นทุกข์ เรามองคนในห้องนี้แล้วจะสร้างความนึกคิดไปอย่างไรก็ได้ การถอนความสนใจไม่ได้หมายความว่าจะต้องไล่คนออกไปให้หมด ถ้าเราไม่เพ่งหรือดื่มด่ำอยู่กับสิ่งใด เราจะเห็นภาพรวมได้ชัดเจน

    จิตนี้คล้ายห้วงอวกาศหรือที่ว่างในท้องฟ้า ไม่สำคัญว่าจะมีอะไรอยู่หรือไม่ เพราะว่าเมื่อใดที่เราประจักษ์ถึงความว่างในจิต เราก็เห็นภาพรวมชัดเจน คือ ‘สุญญตา’ หรือความว่างนั่นเอง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านออกไป โดยเราไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ ไม่ดิ้นรนต่อต้าน ไม่แตะต้องบงการแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อเราอยู่กับความว่างแห่งจิต หรือจิตว่าง เราก็ไม่ติดอยู่กับสภาวะทั้งหลายที่มีอยู่ในปัจจุบัน และไม่สร้างขึ้นมาใหม่ นี่คือฝึกปฏิบัติการปล่อยวาง มองให้เห็นว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน นี้แหละที่หมายถึงการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แท้จริงเป็นการมองดู รู้เห็น สำเหนียก และเฝ้าสังเกตว่า อะไรก็ตามที่เกิดแล้วจะต้องดับไป ไม่ว่าจะหยาบหรือละเอียด ดีหรือชั่ว มาแล้วก็ไป ไม่เป็นเรา เราไม่ดี ไม่เลว ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่งาม ไม่น่าเกลียด สิ่งเหล่านี้เป็นสภาวะที่ไม่เที่ยงตามธรรมชาติ ไม่ใช่ ‘ตัวกู’ นี้เป็นวิถีไปสู่ความเห็นแจ้งตามพุทธวิธี เป็นการน้อมไปสู่พระนิพพาน

    ทีนี้ ท่านอาจจะตั้งคำถามขึ้นมาว่า “เอ้า ก็เมื่อฉันไม่ใช่สภาวะแห่งจิต ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่อย่างนี้ ไม่ใช่อย่างนั้น แล้วฉันเป็นอะไรเล่า” ท่านอยากให้อาตมาบอกไหมว่า ท่านเป็นใคร และถ้าอาตมาบอกแล้วท่านจะเชื่อไหม ท่านคิดอย่างไรถ้าอาตมาโลดแล่นออกไปข้างนอกแล้วร้องตะโกนถามว่า “ตัวอาตมานี้เป็นใคร” มันเหมือนกับท่านพยายามมองดูนัยน์ตาของท่านเอง ท่านไม่รู้จักตัวท่านก็เพราะท่านเป็นตัวท่านเอง ท่านจะรู้จักได้ก็เฉพาะสิ่งที่ไม่ใช่ตัวท่าน และนี่คือการตอบปัญหาใช่ไหม คือถ้าท่านรู้ว่าอะไรไม่ใช่ตัวท่านแล้ว ก็ไม่มีปัญหาว่าท่านเป็นอะไร ถ้าอาตมาร้องขึ้นมาว่า “เอ ตัวฉันเป็นใคร ต้องหาให้จงได้” แล้วมุดเข้าไปดูที่ใต้โต๊ะหมู่บูชาบ้าง เลิกพรมแหวกม่านมองหาบ้าง ท่านคงคิดว่าท่านสุเมโธนี่ชอบกล คงเป็นบ้าไปแล้ว เที่ยวมองหาตนเอง คำถามที่ว่า “ตัวฉันอยู่ที่ไหน” คงเป็นคำถามที่น่าหัวเราะที่สุดในโลก

    แท้จริงแล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเราเป็นใคร แต่อยู่ที่ความเชื่อและถือเอาว่าเราเป็นพวกเดียวกัน หรือเหมือนกันกับสิ่งที่ไม่ใช่เรา ตรงนั้นแหละที่มีทุกข์ ตรงนั้นแหละที่เราได้รับความโทมนัส ความห่อเหี่ยวและความแห้งใจ เมื่อท่านเข้าไปเป็นพวกเดียวกับสิ่งที่ไม่น่าจะพอใจ ท่านก็ไม่ชอบใจ มันเห็นชัดไหม ดังนั้น ทางของพุทธบริษัทคือ การปล่อยวางไม่เสาะหาสิ่งใด ตัวปัญหานั้นคือการเกาะเกี่ยวอย่างไม่ลืมหูลืมตาอยู่กับกามภพ ท่านไม่จำเป็นต้องสลัดโลกทิ้งแต่เรียนรู้จากมัน เฝ้าดู และไม่หลงไปกับมัน ใช้ปัญญาของพระพุทธเจ้าเจาะทะลวงเข้าไปโดยเฝ้าสำเหนียก เฝ้าสังเกต ตื่นอยู่ รู้ตัวอยู่ แล้วความโชติช่วงแห่งปัญญาก็จะปรากฏ ใช้ปัญญานี้ในเรื่องที่เกี่ยวกับกายของท่าน ความนึกคิดของท่าน ตลอดจนความรู้สึก ความทรงจำ และอารมณ์ต่างๆ ท่านจะประจักษ์แจ้ง จะยอมให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ผ่านพ้นไป และ ณ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ท่านจะไม่ทำอะไรเลยทั้งสิ้นนอกจากมีปัญญาพร้อมอยู่ จากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง "

    สุข ทุกข์ และนิพพาน(2) โดยพระสุเมธาจารย์ (สุเมโธภิกขุ)
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]





    คนเราจะหนีสิ่งที่ตนเองทำไว้ไม่ได้

    เพราะทั้งบุญและบาปติดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของเรา

    จะหนีบุญ ก็หนีไม่พ้น จะหนีบาป ก็หนีไม่พ้น






    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ธันวาคม 2014
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]



    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! ในพรหมจรรย์นี้มีสุภาพสตรีเป็นอันมากเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ในฐานะต่างๆ เป็นมารดาบ้าง เป็นพี่หญิงน้องหญิงบ้าง เป็นเครือญาติบ้าง และเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยบ้าง ภิกษุจะพึงปฏิบัติต่อสตรีอย่างไร ?"

    "อานนท์ ! การที่ภิกษุจะไม่ดูไม่แลสตรีเพศเสียเลยนั้นเป็นการดี"

    "ถ้าจำเป็นต้องดูแล้วเห็นเล่า พระเจ้าข้า" พระอานนท์ทูลซัก

    "ถ้าจำเป็นต้องดูต้องเห็น ก็อย่าพูดด้วย อย่าสนทนาด้วย นั้นเป็นการดี" พระศาสดาตรัสตอบ

    "ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยเล่า พระเจ้าข้า จะปฏิบัติอย่างไร"

    "ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วย ก็จงมีสติไว้ ควบคุมสติให้ดี สำรวมอินทรีย์ และกายวาจาให้เรียบร้อย อย่าให้ความกำหนัดยินดี หรือความหลงใหลครอบงำจิตใจได้ อานนท์! เรากล่าวว่าสตรีที่บุรุษเอาใจเข้าไปเกาะเกี่ยวนั้น เป็นมลทินของพรหมจรรย์"

    "แล้วสตรีที่บุรุษมิได้เอาใจเข้าไปเกี่ยวเกาะเล่า พระเจ้าข้า จะเป็นมลทินของพรหมจรรย์หรือไม่ ?"

    "ไม่เป็นซิ อานนท์ ? เธอระลึกได้อยู่หรือเราเคยพูดไว้ว่า อารมณ์อันวิจิตร สิ่งสวยงามในโลกนี้มิใช่กาม แต่ความกำหนัดยินดีที่เกิดขึ้นเพราะความดำริต่างหากเล่าเป็นกามของคน เมื่อกระชากความพอใจออกเสียได้แล้ว สิ่งวิจิตรและรูปที่สวยงามก็คงอยู่อย่างเก้อๆ ทำพิษอะไรมิได้อีกต่อไป"

    พระผู้มีพระภาคบรรทมสงบนิ่ง พระอานนท์ก็พลอยนิ่งตามไปด้วย ดูเหมือนท่านจะตรึกตรองทบทวนพระพุทธวจนะที่ตรัสจบลงสักครู่นี้

    จริงทีเดียว การไม่ยอมดูไม่ยอมแลสตรีเสียเลยนั้นเป็นการดีมาก แต่ใครเล่าจะทำได้อย่างนั้น ผู้ใดมีใจไม่หวั่นไหวด้วยเบ่งบานของดอกไม้งาม ดนตรีและอาการเยื้องกรายแห่งสตรีสาว ผู้นั้นถ้ามิใช่นักพรตก็เป็นสัตว์ดิรัจฉาน แต่ดูเหมือนผู้เป็นนักพรตทั้งกายและใจนั้นมีน้อยเหลือเกิน เมื่อมีเรื่องที่จำเป็นต้องดูต้องแล เรื่องติดต่อเกี่ยวข้องก็เกิดขึ้น การติดต่อเกี่ยวข้องและคลุกคลีด้วยสตรีเพศนั้น ใครเล่าจะหักห้ามใจมิให้หวั่นไหวไปตามความอ่อนช้อย นิ่มนวลและอ่อนหวานของเธอ มีคำกล่าวไว้มิใช่หรือว่า "ความงามนั้นเป็นอำนาจที่คุกคามจิตใจของปุถุชนให้แพ้ราบ และการยิ้มนั้นคือคมดาบของเธอ เมื่อใดพบความงาม ถ้าความงามนั้นยังไม่ยิ้มก็ยังมีทางจะรอดพ้นไปได้ แต่เมื่อความงามนั้นยิ้มออกมา ย่อมหมายถึงเธอส่งคมดาบออกมาแล้ว" และยังมีคำกล่าวอีกว่า "เมื่อสตรีงามยิ้ม ย่อมหมายถึงถุงเงินของผู้ชายร้องไห้" ทำไมนะสัตว์โลกจึงหลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส เสียจริงๆ สตรีที่พราวเสน่ห์แต่ไร้มโนธรรม จิตใจสกปรกจึงเป็นเพชฌฆาต มือนุ่มซึ่งมียิ้มและกิริยาที่ยียวนเป็นคมดาบ มีน้ำตาเป็นหลุมพรางสำหรับให้ชายตกลงไปในหลุมน้ำตานั้น

    บางทีเธอจะมีความสุขร่าเริงเหมือนนกน้อย ในขณะที่หัวใจของชายที่เธอเคยปอง ร้าวสลายลงด้วยความผิดหวัง บางทีเธอจะทำเป็นโกรธชายที่เธอแสนจะหลงรักเพียงเพื่อพรางสายตาของคนอื่น บางทีเธอจะยิ้มอย่างอ่อนหวานในขณะที่ในความรู้สึกของเธอแสนจะเคียดแค้นและชิงชังเขา และบางทีเธอจะร้องไห้น้ำตาอาบแก้มในขณะที่ใจของเธออิ่มเอิบไปด้วยปีติปราโมช อา ! จะเอาอะไรเล่ามาวัดความลึกแห่งหัวใจของสตรี พระศาสดาตรัสไว้มิใช่หรือว่า อาการของสตรีนั้นรู้ยากเข้าใจยาก เหมือนการไปของปลาในน้ำ

    ปราชญ์ผู้ทรงวิทยาคุณกว้างขวางลึกซึ้งสามารถหยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร เหมือนมองเศษกระดาษบนฝ่ามือ แต่ปราชญ์เช่นนั้น จะกล้าอวดอ้างได้ละหรือว่าตนสามารถหยั่งรู้ความรู้สึกล้ำในหัวของสตรี

    อย่ามัวกล่าวอะไรให้มากเลย ธรรมชาติของเธอเป็นอย่างนั้นเอง มหาสมุทรเต็มไปด้วยภัยอันตราย แต่มหาสมุทรก็มีคุณแก่โลกอยู่มิใช่น้อย การค้นหาความจริงตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ แล้วปฏิบัติให้ถูกต้องต่างหากเล่า เป็นทางดำเนินของผู้มีปัญญา

    คัดลอกจาก หนังสือ "พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน" โดย อาจารย์วศิน อินทสระ






    ภาพประกอบ ยืมมาจากศิลปิน Jor Alikhanyan ขออนุญาต และขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ครับ...สาธุ
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]



    พระอัญญาโกณฑัญญะ หายไปไหนหลังจากบรรลุอรหันต์?

    เราทุกคนต่างรู้จักพระอัญญาโกณฑัญญะ โดยทราบว่าท่านเป็นภิกษุรูปแรก และ ผู้แรกที่บรรลุธรรม แต่ว่าเราไม่ค่อยทราบกันเลยว่าท่านหายไปไหนหลังจากบรรลุอรหันต์แล้ว

    เราลองมาอ่านประวัติของท่านกันครับ

    ::::::::::::::::::

    • อดีตชาติ

    ในอดีตกาลสมัยพระพุทธเจ้านาม “ปทุมุตตระ” พระอัญญาโกณฑัญญะได้เกิดเป็นบุตรชายเศรษฐี วันหนึ่งท่านได้เห็นพระพุทธเจ้าสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งว่า เป็นเลิศด้าน “บรรลุธรรมก่อนใคร ๆ ในพระศาสนา”

    ท่านคิดว่า “ภิกษุนี้ยิ่งใหญ่มาก เพราะถ้าไม่นับพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ไม่มีใครจะบรรลุธรรมก่อนภิกษุนี้เลย ถ้าตัวเราจะสามารถบรรลุธรรมก่อนใคร ๆ ในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ใดในอนาคตก็จะเป็นการดีหนอ”

    เขาคิดได้แล้วจึงกราบทูลพระพุทธเจ้าขอถวายทาน ๗ วันติดต่อกัน และ เอ่ยวาจาตั้งความปรารถนาว่าจะเป็น ภิกษุผู้บรรลุธรรมก่อนใครๆในอนาคต

    พระพุทธเจ้าปทุมุตตระได้สดับแล้ว ตรัสว่า ความปรารถนาของเขาจะเป็นจริงในอนาคตกาล ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า “โคตมะ”

    ::::::::::::::::::

    • ชาติสุดท้าย

    ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ประจำศากยวงศ์ นามว่า “โกณฑัญญะ” ท่านได้รับเลือกเป็นพราหมณ์ทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งท่านเป็นเพียงผู้เดียวที่ทายว่าต่อไปเจ้าชายจะได้เป็นพระพุทธเจ้า

    จากนั้นท่านก็ได้ลาออกจากราชสำนักและไปบวชเป็นฤาษี ต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวช ท่านก็ได้ออกบวชตามพร้อมพวกอีก ๔ คน (เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ – พวก๕) คอยติดตามปรนนิบัติพระโพธิสัตว์

    แต่ภายหลังก็ได้ทิ้งไปเพราะคิดว่าพระองค์ละความเพียรแล้ว จนพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้กลับมาเทศน์สอนปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรก และ พระโกณฑัญญะนี้เองก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เป็นบุคคลแรกที่มีดวงตาเห็นธรรม

    ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “อญฺญา สิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ – โกณฑัญญะรู้ทั่วแล้วหนอ” ซึ่งทำให้ท่านได้รับชื่อนำหน้าว่า “อัญญา (รู้)” ตั้งแต่นั้นมา ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ และ มีที่นั่งพิเศษ

    ต่อมาขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน ท่านได้ยกย่องพระอัญญาโกณฑัญญะว่า “เป็นเลิศ (เอตทัคคะ) ด้านผู้รู้ราตรีนาน (รัตตัญญู)” คือ เป็นเลิศกว่าผู้อื่นด้านบรรลุธรรมก่อนใคร ๆ

    เนื่องจากท่านบวชเป็นคนแรกท่านจึงมีพรรษาสูงที่สุด ภิกษุทุกรูปจึงต้องทำความเคารพ ที่นั่งของท่านนั้นก็พิเศษว่าภิกษุอื่น คือได้นั่งใกล้พระพุทธเจ้า โดยที่เวลาพระพุทธประทับ พระอัครสาวกจะนั่งเบื้องซ้าย-ขวา และ ข้างหลังอัครสาวกจะเป็นที่นั่งพิเศษเฉพาะของท่าน

    ::::::::::::::::::

    • ทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ป่า

    ท่านอัญญาโกณฑัญญะมีความเห็นว่า การที่ท่านมีพรรษาสูงสุดนั้นได้สร้างความลำบากให้กับหมู่คณะ คือ ทุก ๆ คนต้องทำความเคารพท่าน ไม่เว้นแม้แต่อัครสาวก

    อีกทั้งท่านมีความยินดีในความวิเวก ไม่ปรารถนาอยู่ใกล้บ้านผู้คน ท่านจึงได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าไปจำพรรษายัง “ริมสระมันทากินี”

    ท่านได้อยู่ที่ริมสระมันทากินีนี้ถึง ๑๒ ปี ในป่านี้เป็นที่อยู่ของช้างตระกูล”ฉัททันต์” ๘,๐๐๐ เชือก ในกาลก่อนช้างฝูงนี้เคยปรนนิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้า ทำให้ช้างนี้มีความสามารถในการดูแลพระสงฆ์

    เมื่อช้างเห็นพระอัญญาโกณฑัญญะเดินทางมา ก็ดีใจที่จะได้ปรนนิบัติพระอีกครั้ง จึงพากันปัดกวาดเช็ดถูที่พัก ทำความสะอาดทางเดินจงกรม เสร็จแล้วพวกช้างก็ประชุมแบ่งเวรความรับผิดชอบ จัดลำดับว่าใครจะต้องเตรียมน้ำบ้วนปากและไม้สีฟัน เป็นต้น

    สระนี้กว้าง ๕๐ โยชน์ น้ำใสเหมือนผลึกไม่มีสาหร่ายจอกแหน ในสระนั้นมีดอกบัวขาว ถัดจากบัวขาวเป็นดอกบัวแดง โกมุทแดง โกมุทขาว บัวเขียวเป็นต้น รอบๆสระมีดงข้าวสาลี มีไม้เถาเช่น ฟักทอง น้ำเต้า และ ฟัก นอกจากนั้นยังมีดงอ้อย ดงกล้วย ดงขนุน ป่าชมพู่ และ ดงมะขวิด

    กล่าวโดยย่อคือ ผลไม้ที่ชื่อว่ากินไม่ได้นั้น ไม่มี

    เวลาดอกไม้บาน ลมจะพัดเอาเกสรไปรวมกับหยาดน้ำบนใบบัว เมื่อตะวันขึ้น หยดน้ำก็จะถูกแสงอาทิตย์เผาจนกลายเป็นก้อนเหมือนน้ำตาลเคี่ยว และช้างก็นำก้อนน้ำตาลนี้มาถวายพระเถระ

    แม้แต่รากบัว กับ เหงาบัวนั้น ช้างก็นำมาถวาย ส่วนเมล็ดบัวนั้น ช้างก็ได้ปรุงเมล็ดบัวเข้ากับน้ำตาลถวาย ช้างยังได้นำอ้อยวางบนแผ่นหินแล้วใช้เท้าเหยียบจนน้ำหวานไหลออกมาขังเต็มแอ่ง น้ำอ้อยนี้โดนตากแดดจนแห้งกลายเป็นดั่งนมก้อน ซึ่งนมก้อนนี้ช้างก็นำมาถวาย แม้แต่ผลไม้ต่าง ๆ ในป่าเช่น ขนุน กล้วย มะม่วง ช้างก็นำมาถวาย

    ::::::::::::::::::

    • ทราบว่าสิ้นอายุขัย กลับไปทูลลาพระพุทธเจ้า

    เช้าวันหนึ่งท่านได้ตรวจและทราบว่า อายุขัยท่านกำลังจะหมดลงแล้ว ท่านจึงคิดว่า “เราควรนิพพานที่ไหนหนอ … ก็ช้างนี้ได้ดูแลเราถึง ๑๒ ปี เราควรไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอนิพพานที่ใกล้ๆช้างนี้”

    ว่าแล้วท่านก็เหาะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเวฬุวัน ด้วยความที่ท่านไม่ได้พบพระพุทธเจ้าเป็นเวลานาน ท่านจึงได้หมอบลงแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า เอาศีรษะแนบกับพระบาท จูบพระบาททั้งสองด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสอง พร้อมทั้งประกาศนามว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ชื่อโกณฑัญญะ”

    เหตุที่ท่านต้องประกาศนามนั้น เพราะท่านจากไปนาน คนทั้งหลายจำท่านไม่ได้ คนบางจำพวกที่ไม่รู้จัก อาจจะคิดไม่ดีว่าพระแก่นี้เป็นใครกัน ซึ่งจะเป็นบาปแก่คนเหล่านั้น ท่านจึงต้องประกาศนามให้ผู้คนเลื่อมใส จะเป็นเหมือนการปิดทางอบาย และ เปิดทางสุคติให้แก่คนทั้งหลายนั้นเอง

    ว่าแล้วท่านก็ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อายุสังขารของข้าพระองค์สิ้นแล้ว ข้าพระองค์จักนิพพาน”

    ตรัสถามว่า “โกณฑัญญะ ท่านจะนิพพานที่ไหน”

    กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างทั้งหลายที่เป็นอุปฐากของข้าพระองค์นั้น ได้ทำกิจที่ทำได้ยาก ข้าพระองค์จะนิพพานใกล้ๆช้างเหล่านั้น”

    พระศาสดาทรงอนุญาต (ด้วยการนิ่ง ไม่ตรัสอนุญาต หรือ ห้าม) และพระเถระก็ได้ทำประทักษิณและกราบทูลว่า …

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเห้นครั้งนั้นเป็นการเห็นครั้งแรกของข้าพระองค์ การเห็นครั้งนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย”

    ฝูงชนพากันร่ำไห้คร่ำครวญ พระเถระถวายบังคมและได้จากไปยังริมสระน้ำมันทากินี โดยก่อนจาก ท่านได้ให้โอวาทว่า

    “ท่านทั้งหลาย อย่าเศร้าโศกเลย อย่าคร่ำครวญเลย จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือพุทธสาวก สังขารที่เกิดขึ้นแล้ว ที่จะไม่แตกทำลายนั้นไม่มี”

    ::::::::::::::::::

    • หมู่ช้างจัดพิธีศพให้อย่างยิ่งใหญ่

    เมื่อถึงที่ริมสระ ท่านเข้าไปยังที่พัก นั่งเข้าผลสมาบัติตลอด ๓ ยาม ออกจากสมาบัติในเวลาใกล้สว่าง และ นิพพาน

    ช้างที่เฝ้าเวรอยู่ด้านหน้าไม่รู้ว่าท่านได้นิพพานแล้ว แต่ก็ยังคงเตรียมน้ำบ้วนปาก ไม้สีฟัน และ ผลไม้ รออยู่ที่ท้ายทางจงกรม แต่ว่าไม่เห็นพระเถระออกมาจากที่พักจึงเดินเข้าไปดู ช้างเขย่าประตูและมองดูก็เห็นว่าท่านกำลังนั่งอยู่ ช้างลองเอางวงเหยียดออกไปลูบคลำดูก็พบว่าท่านไม่หายใจแล้ว

    บัดนั้นเอง ช้างก็เอางวงสอดเข้าไปในปากส่งเสียงร้องเสียใจดังลั่นป่า ช้างอื่นๆทั้ง ๘,๐๐๐ เชือก ต่างก็ส่งเสียงร้องเสียใจพร้อมๆกัน

    ช้างทั้งหลาย ได้ยกร่างพระเถระขึ้นไว้บนกระพองของหัวหน้าโขลง ต่างเอางวงถือกิ่งไม้ที่มีดอกไม้บานสะพรั่ง แห่ร่างของพระเถระไปทั่วทั้งป่าหิมวันต์ และ กลับมาวางยังที่เดิม

    ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช(พระอินทร์) ได้ปรึกษากับวิษณุกรรมเทพบุตร(เทพแห่งการช่าง)ว่า

    “พ่อ พี่ชายของเรานิพพานแล้ว เราจะกระทำสักการะ เธอจงเนรมิตเรือนยอด”

    วิษณุกรรมเทพบุตรจึงเนรมิตเรือนยอดอันสวยงาม จัดวางร่างพระเถระให้อยู่ในเรือนยอดนั้น

    จากนั้นบรรดาช้างก็พากันยกเรือนยอดเวียนรอบป่าอีกครั้ง เหล่าเทวดาก็รับเรือนยอดต่อจากช้าง และค่อย ๆ ส่งต่อไปตามสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลก และค่อย ๆ ส่งเรือนยอดกลับลงมายังช้างอีกครั้ง

    ร่างของพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการทำพิธี จนรุ่งอรุ่ณของวันต่อมาเมื่อไฟได้ดับลงแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จมา ท่านได้เนรมิตเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นมา และบรรจุพระธาตุของท่านอัญญาโกณฑัญญะไว้ในนั้น

    :::::::::::::::::

    Credit : ตรัง สุวรรณศิลป์ | Being Buddhist Blog

    อ้างอิง :

    - ม.มู.มหาสัจจกสูตร ข้อ ๔๒๖, องฺ. อ.๑/๑/๒๔๑, เถร.อ.๓/๔๙๑ ๔๙๕-๖, สํ.อ.๑/๒/๓๓๙-๓๔๔

    - อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต โกณฑัญญสูตรที่ ๙, อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค ๙. - -อัญญาโกณฑัญญเถราปทาน (๗)

    - หนังสือ ๘๐ พระอรหันต์ ฉบับสมบูรณ์ โดย ธรรมสภา


    ************************************************


    พระมหาเถระ ทรงมีความสำคัญขนาดนี้ แต่กลับถ่อมตัว หลีกลี้ หนีไปสู่สัปปายะ เพื่อความสามัคคี และความสะดวกแก่หมู่สงฆ์ ่ช่างประเสริฐแท้หนอ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2014
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...