อานิสงส์ของบุญ 40 อย่าง

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย ไม้ขีด, 12 พฤศจิกายน 2014.

  1. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    21 อานิสงส์ถวายดอกไม้ธูปเทียน

    ......ในครั้งพุทธกาลก็มีผู้กระทำมาแล้วย่อมมีผลานิสงส์อย่างอเนกประการ คือ นายสุมนมาลากร มีเรื่องอยู่ว่านายสุมนมาลาการนี้ เก็บดอกมะลิมาถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ ๘ ทะนาน และรับเงิน ๘ กหาปณะต่อวัน ขณะที่เขาเก็บดอกไม้อยู่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก บิณฑบาตภายในพระนคร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร นายสุมนมาลาการเห็นก็เกิด จิตเลื่อมใสคิดอยากจะทำบุญแก่พระตถาคต แต่ไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากดอกไม้ จึงเอาดอกไม้เหล่านั้น
    บูชาพระองค์ โดยไม่เกรงกลัวพระราชาจะทรงกริ้วโกรธ ถึงแม้จะถูกพระราชาประหารชีวิตก็ยอมตาย การบูชาดอกไม้ของนายมาลาการได้กระทำซัดดอกไม้ขึ้นไปในเบื้องบน ของพระตถาคต ๒ กำมือ ดอก ไม้เกิดอัศจรรย์ขึ้นไปประดิษฐานเบื้องบนเป็นเพดานกั้นพระเศียรพระตถาคต แล้วก็ซัดไปทาง พระหัตถ์ขวา ๒ กำด้านพระปฤษฎางค์ ๒ กำ พระหัตถ์ซ้าย ๒ กำ รวมทั้งหมด ๘ กำดอกไม้เหล่านั้นได้ เกิดอัศจรรย์แวดล้อมพระตถาคตอยู่ตลอดเวลานายมาลาการเห็นดังนั้นก็ยินดียิ่งนัก ได้ถือกระเช้าเปล่า ไปเรือนฝ่ายภรรยาเห็นไม่มีดอกไม้ในกระเช้านายมาลาการบอกแก่ภรรยาว่าได้เอาดอกไม้บูชาพระ ตถาคตแล้วนางได้ตอบว่าธรรมดาพระราชาเป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็ทำความพินาศให้ถึงความตาย ดังนั้นความพินาศนี้พึงมีแก่เรา เพราะเธอได้ทำกรรมไว้

    นางได้อุ้มลูกไปเฝ้าพระราชาทูลขอหย่ากับ นายมาลาการกับพระองค์ พระราชาทรงทราบความต่ำทราม แห่งจิตของนาง แล้วก็ทำเป็นกริ้วและอนุญาต ให้นางหย่ากับนายมาลาการ แล้วพระราชาได้เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมทูลอาราธนา พระศาสดาไปรับภัตตาหารในพระราชวังพระศาสดาทรงทราบพระราชหฤทัยของพระราชา พระองค์ ทรงรับอาราธนาแล้วเสด็จไปสู่พระราชวังของพระราชา แต่พระศาสดาทรงพระประสงค์ จะประทับที่ พระลานหลวง จะประกาศคุณงามความดีของนายมาลาการพระราชาทรงอังคาส พระศาสดาพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปสู่วิหารเสด็จกลับมาตามนายมาลาการ ถวายถึง สาเหตุที่ถวายดอกไม้แก่พระศาสดา พอทราบเรื่องแล้วทรงพระราชทานรางวัลอย่าง ๘ ชนิด มีช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง และเครื่องประดับอย่าง ละ ๘ และบ้านส่วยอีก ๘ หมู่บ้านเป็นอันว่ากรรมดีได้สนองผลให้แก่นายสุมนมาลาการในวันนั้นเอง
     
  2. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    22 อานิสงส์ถวายหมากเบ็งบูชา

    ......องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จประทับอยู่ในวิหาร เมืองสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ครั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลได้ทรงตบแต่งดอกไม้ ของหอมพร้อมกันยังขันหมากเบ็งมี ข้าวพันก้อนด้วยความประณีตบรรจงเสด็จไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พร้อม ข้าราชบริพารทั้งหลาย เมื่อถวายเสร็จแล้วพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ได้กราบทูลถามถึงผลอานิสงส์ของ การสร้างหมากเบ็งบูชาแก่สมเด็จพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวก จะมีอานิสงส์เป็นอย่างไร

    พระพุทธ องค์ทรงตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภารบุคคลใดมีใจศรัทธา ใคร่จะทำหมากเบ็งกับข้าวพันก้อนถวายบูชา พระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ ผู้นั้นเมื่อทำลายขันธ์ไปแล้วก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขสิ้นกาลช้านาน

    ดังกับหญิงผู้หนึ่ง ซึ่งได้ถวายหมากเบ็งบูชา พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นทำกาลกิริยาตายไปก็บังเกิดในดาวดึงส์เทวสถาน มีวิมานทองสูงสิบสองโยชน์ มีนางฟ้าพันหนึ่งเป็นบริวารได้เสวย ทิพย์สมบัติ มากมายดังนี้แล ดูกรมหาบพิตร อันบุคคลได้ให้หมากเบ็งบูชาพระรัตนตรัยมีผลมากนักเป็นสำดับชั้นตามขั้นหมากเบ็ง คือว่าเมื่อตนได้ ตายไปจากมนุษย์โลกนี้แล้วก็ไปอุบัติในบนสวรรค์ชั้นจตุมหาราช เมื่อจุติจากชั้นจาตุมหาราชแล้วก็ได้ ไปอุบัติขึ้นในชั้นดาวดึงส์ จนถึงชั้นกามาพจรเป็นที่สุดตามบุญกุศลที่ตนได้กระทำไว้ได้ เสวยสมบัติ ทิพย์มีวิมานอันงามวิจิตร และมีนางเทพกัญญาอัปสรแวดล้อมเป็นบริวาร นานได้ ๙ ล้านปี ในเมือง มนุษย์จะมีร่างกายผ่องใส ปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สมความปรารถนาทุกประการ ครั้นจบพระธรรม เทศนาแล้วพระเจ้าปัสเสนทิโกศล พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลายก็มีจิตยินดีปลาบปลื้มบันเทิงใจ ดัง นี้เป็นต้น
     
  3. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    23 อานิสงส์การฟังธรรม

    ......ในพระนครสาวัตถี มีธรรมมิกอุบาสก คนหนึ่งมีธิดาเจ็ดคน ซึ่งทั้งบุตรและธิดาก็ขวนขวายใน การให้ทาน มีการถวายสลากยาคู สลากภัตต์ ปักขิกภัตต์ อุโปสถิกภัตต์ อาคันตุกภัตต์ คนละอย่างกัน บุตรธิดาเหล่านั้น จึงได้ชื่อว่าอนุชาตบุตร ด้วยกันทั้งนั้น

    ครั้นต่อมาวันหนึ่งธรรมมิกอุบาสก ได้ป่วยเป็นไข้ขึ้น อายุและสังขารก็ถอยลง มีความประสงค์ จะฟังธรรมจึงส่งสาส์นไปยังสำนักพระศาสดาขอให้พระองค์จัดส่งภิกษุสักแปดรูปหรือสิบหกรูป พระศาสดาก็ทรงส่งภิกษุไปแล้ว ธรรมมิกอุบาสกก็พูดว่าท่านเจ้าขา การที่เห็นพระผู้เป็นทั้งหลาย ข้าพเจ้าหาได้ยากมาก เพราะข้าพเจ้ามีกำลังน้อย ดังนั้นขอท่านพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงสวดพระสูตรหนึ่งเถิด พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายก็สวดพระสูตรสติปัฏฐานให้ธรรมมิกอุบาสกฟัง ทันใดนั้น รถหกคันประมาณร้อยห้าสิบโยชน์ประดับด้วยเครื่องอลังการครบทุกอย่างเทียมด้วย ม้าสินธพ หนึ่งพันได้แล่นมาแต่เทวโลกทั้งหกชั้น พวกเทวดาผู้ประจำรถก็กล่าวกันว่า พวกข้าพเจ้าจัก นำไปสู่เทวโลกของพวกข้าพเจ้า ธรรมมิกอุบาสก ไม่ปรารถนาอันตรายแก่การฟังธรรมจึงกล่าวว่ารอ ก่อนดังนั้นภิกษุทั้งหลายก็พากันนิ่งเสีย ด้วยเข้าใจว่าธรรมมิกอุบาสกบอกให้หยุด บุตรและธิดาก็พากัน ร้องไห้ว่าบิดาของตน เมื่อก่อนนี้เป็นผู้สนใจการฟังธรรมแต่บัดนี้กลับห้ามไม่ให้ภิกษุสวดด้วย บิดา ของเรากลัวตาย ภิกษุทั้งหลายก็พากันกลับสู่สำนักธรรมิกอุบาสก เผลอไปคู่หนึ่ง เมื่อได้สติแล้วถาม บุตรว่าเจ้าทั้งหลายค่ำครวญกันทำไม และพระภิกษุไปไหนกันเสียหมดเล่า ข้าแต่พ่อ พ่อได้สั่งให้พระภิกษุหยุดสวด แล้วภิกษุทั้งหลายได้กลับไปหมดแล้วพวกฉันมาคิดว่า ธรรมดาสัตว์ผู้ไม่กลับความตายย่อมไม่มี

    พ่อไม่ได้พูดกับพระผู้เป็นเจ้า ถ้าเช่นนั้นพ่อพูดกับใคร พ่อบอกกับเทวดาทั้งหลาย ที่เอา รถซึ่งประดับมาหกคัน แต่เทวโลกหกชั้น แล้วหยุดอยู่ในอากาศแล้วบอกพ่อกับเทวดาเหล่านั้น พ่อจึงบอกให้รอก่อน รอก่อน ดังนี้ รถอยู่ที่ไหนเล่าพ่อ พวกฉันไม่เห็น

    พ่อจึงถามว่า "ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวงมีบ้างไหม" ลูก "มีพ่อ" พ่อ "เทวโลกชั้นไหนน่ารื่นรมย์ " ลูก"ดุสิตพิภพ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ทุก ๆ พระองค์ น่ารื่นรมย์พ่อ"

    ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงอธิษฐานว่า ขอพวงดอกไม้จงคล้องอยู่ที่รถมาแต่ดุสิตพิภพ แล้วโยน พวงดอกไม้ขึ้นไปบุตรทั้งหลายโยนดอกไม้ขึ้นไป พวงดอกไม้ก็คล้องอยู่ที่งอนรถห้อยอยู่ในอากาศ มหาชนเห็นพวงดอกไม้นั้นแต่ไม่เห็นรถ อุบาสกพูดว่าพวกเจ้าเห็นดอกไม้อยู่ในอากาศแล้วมิใช่หรือ บุตรธิดาทั้งหลายบอกว่าเห็นแล้วจึงบอกว่านั่นแหละ พวงดอกไม้ได้แขวนอยู่ที่รถชั้นดุสิตพ่อจะไปสู่ ดุสิตพิภพ พวกเจ้าอย่าตกใจไปเลย เมื่อต้องการจะไปบังเกิดในสำนักเดียวกับพ่อ ก็จงทำบุญให้ทาน รักษาศีลแล้วฟังธรรมตามโอกาสเวลาสมัย ดังที่เราได้ทำไว้แล้วนั่นแหละครั้นแล้วธรรมมิกอุบาสก ก็ทำกาลกิริยาตายไป ไปประดิษฐานอยู่ในรถที่มาแต่ชั้นดุสิตพิภพ มีนางเทพอัปสรพันหนึ่ง แวดล้อม วิมานแก้ว ประมาณยี่สิบห้าโยชน์ได้ปรากฏคอยรอรับธรรมมิกอุบาสกนั้น
     
  4. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    24 อานิสงส์ถวายข้าวจี่

    ......มีใจความว่าพระบรมศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารวันหนึ่งพระองค์ได้ทรงเล็ง พระญาณ ตรวจดูหมู่สัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง ก็ปรากฏเห็นนางปุณณทาสีในฝ่ายพระญาณของพระองค์ ว่า นางปุณณทาสีจักต้องตายในวันนี้อย่างแน่นอน ถ้าพระองค์ไม่เสด็จไปอนุเคราะห์ก็จะต้องไปสู่ทุคติ พระองค์ทรงมีพระเมตตากรุณาแก่สัตว์โลกได้ไปโปรดให้พ้นจากบาปอกุศลบรรลุถึงความสุข มีมรรค ผลนิพพานตามบารมีของสัตว์นั้น ๆ จะสั่งสมไว้มากน้อยเพียงใด ส่วนนางปุณณทาสี นี้ก็เช่นเดียวกัน พระองค์ได้เสด็จไปโปรดในเวลาบิณฑบาต
    พระองค์ทรงนุ่งห่มจีวรอันเป็นปริมณฑลแล้วมีพระ อานนท์ ถือบาตรตามเสด็จไปสู่ที่อยู่ของนางปุณณทาสี

    ส่วนนางปุณณทาสีเป็นคนยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์ อาศัยอยู่ในเรือนเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์เลี้ยงชีวิตเป็นอยู่

    ในเช้าวันนั้นนางถูกเศรษฐีให้ตำข้าววัน ยันค่ำ แต่ก็ไม่แล้ว ครั้นรุ่งเช้าก็ลุกขึ้นแต่เช้ามืดจุดไฟซ้อมตำต่อไป พอสว่างก็เสร็จพอดี นางจึงเอารำ อ่อนผสมกับข้าวปั้นให้เหนียว แต่แผ่ย่างไฟให้สุกดีแล้วก็ใส่พอยกครุขึ้นบนบ่าเดินไปตักน้ำปรารถนา จะนำไปบริโภคด้วยตนเอง ครั้นไปถึงในระหว่างทาง เห็นพระบรมศาสดากับพระอานนท์บิณฑบาต ก็ เกิดศรัทธาเลื่อมใส โดยมาคิดว่าเราตกทุกข์ได้ยากลำบากทั้งกายและใจ ต้องเป็นทาสีอาศัยเศรษฐีเลี้ยง ชีวิตเป็นอยู่ วันหนึ่งวันหนึ่งเท่านั้น ก็เพราะเราไม่ได้ให้ทานรักษาศีลทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ชาตินี้ เราจึงได้เดือดร้อนลำบากมากในความเป็นอยู่ แต่ว่าเราได้พบพระพุทธเจ้าแล้วแต่ไม่มีของที่จะถวาย เห็นมีแต่ข้าวจี่ปั้นนี้แต่ว่ามันเป็นของเลวไม่ประณีต พระพุทธเจ้าจะทรงอนุเคราะห์ฉันหรือ แต่ว่าขึ้นชื่อ ว่าพระพุทธเจ้าแล้วย่อมมีพระเมตตามหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ย่อมไม่รังเกียจว่าของจะประณีตหรือ เลว

    ... เมื่อนางคิดดังนั้นแล้วจึงเดินเข้าไปหาพระบรมศาสดาแล้วอาราธนาว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรับข้าวจี่ปั้นนี้ ของหม่อมฉันผู้เป็นคนยากจนเข็ญใจเถิดพระพุทธเจ้าข้า พระศาสดาจึงทรง เปิดบาตรรับข้าวจี่ ของนางปุณณทาสี แล้วเสด็จไปบ้านของเศรษฐี นางปุณณทาสี ครั้นใส่บาตรแล้วก็ ยังยืนอยู่ที่นั้น มองดูพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จไปสู่บ้านเศรษฐีนั้น ก็มาคิดอีกว่าเมื่อพระศาสดาเสด็จไปฉัน ข้าวในบ้านเศรษฐี ภัตตาหารในเรือนของเศรษฐีล้วนแต่ของดี ๆ มีกลิ่นรสอันโอชา เป็นของที่ประณีต น่าขบฉัน ส่วนข้าวจี่ของเราเป็นของเลวทราม พระองค์คงไม่ฉันแน่จะต้องเอาโยนทิ้งให้กาและสุนัขเสีย

    .... สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบวาระจิตของนางปุณณทาสี ว่าคิดอย่างไร จึงรับสั่งให้พระอานนท์ปู ลาดอาสนะ ที่ภายใต้ร่มทางแล้วเสด็จประทับนั่งฉันข้าวจี่นั้นให้นางปุณณทาสีเห็น ครั้นทำภัตตกิจเสร็จ แล้วตรัสพระสัทธรรมเทศนาอนุโมทนาของนางปุณณทาสี ว่าขึ้นชื่อว่าโภคสมบัติ ของบุคคลผู้ตระหนี่ อันมีอยู่ในมนุษย์โลกนี้ จะมากสักหมื่นแสนหรือมากกว่านั้นก็ตาม หาประเสริฐเท่ากับข้าวปั้นหนึ่งอัน บุคคลให้ทานแล้วนั้นไม่ เพราะว่าโภคทรัพย์ทั้งหลายที่มีอยู่กับบุคคลผู้ตระหนี่เหนียวแน่นไม่เป็น ประโยชน์อันใดเลย แต่จะกินก็ทั้งยากกลับแต่จะหมดเปลืองไปครั้นผู้ตระหนี่นั้นตายลง สมบัติเหล่านั้น ก็เป็นของคนอื่นไปมิได้ติดตามไปสู่ปรภพเบื้องหน้า แต่ทานอันมีประมาณน้อยที่บุคคลได้ถวายแล้วใน พระอริยเจ้าเพราะทานนั้นเป็นบันไดไปสู่สุคติสวรรค์ และเป็นเสบียงเลี้ยงตนไปในหนทางทุรกันดาร ในคราวที่ดับขันธ์แล้ว เมื่อจบพระสัทธรรมเทศนาลงแล้วนางปุณณทาสีได้ซ้องสาธุการบันเทิงในทาน

    สมบัติ ที่ตนได้ทำแล้วนั้นถวายอภิวาทพระศาสดาจารย์แล้วหลีกไปในขณะที่นางเดินไปตามทางนั้น ด้วยความอิ่มเอิบยินดีไม่ได้ทันพิจารณาดูทางเดินไปเหยียบงูเห่า ในระหว่างทาง งูเห่าเลยขบกัดเท้านาง เข้าพิษได้แล่นเข้าปาสู่หัวใจ นางปุณณทาสีก็ทำกาลกิริยาตายไปในที่นั้นแล้วได้ไปเกิดบนสวรรค์เสวย ทิพย์สมบัติ มีนางฟ้าพันหนึ่งแวดล้อมเป็นบริวาร ก็เพราะอานิสงส์ที่นางได้ถวายข้าวจี่ปั้นแก่พระพุทธ เจ้า
     
  5. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    25 อานิสงส์ข้าวประดับดิน (ใส่บาตร)

    ......ทุคคตะคนเข็ญใจไร้ทรัพย์ ความว่า สมัยหนึ่งมีบุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องได้ อาศัยพวกชาวบ้านเลี้ยงชีพไปวันหนึ่ง ๆ แต่ว่ามีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนา ปรารถนาใคร่จะ ถวายทานอยู่เนืองนิตย์แต่ไม่มีวัตถุทานอันประณีตพอจะทำถวายทานได้อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันที่ชาวบ้าน ได้ทำบุญข้าวประดับดินหมู่ชนทั้งหลายก็เตรียมอาหารบิณฑบาต นำไปสู่อารามอย่างล้นหลามด้วยหน้า ตาผ่องใสรื่นเริงด้วยกันทุกคน ฝ่ายบุรุษเข็ญใจคนนั้นออกจากกระท่อมน้อยก็แลดูประชาชนเขาทำบุญ กันรื่นเริงแจ่มใส น้ำตาก็ไหลรินลงอาบหน้าโดยไม่รู้ตัว ในเมื่อความโศกเศร้าน้อยใจอยู่นั้นก็พอดี เหลือบไปเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวโคจรบิณฑบาตมาหยุดตรงหน้าของทุคคตะนั้นก็เกิดศรัทธาแรง กล้านึกถึงข้าวก้อนหนึ่งประมาณเท่าผลมะตูมที่ตนหามาได้ ก็รีบไปเอามาใส่บาตรแก่ภิกษุรูปนั้นด้วย ความปีติยินดี ความเสียใจน้อยก็หายไปแล้วอุทิศส่วนกุศลที่ทำแล้วนั้นไปถึงสัตว์ทั้งหลายมีบิดามารดา เป็นต้น

    ท่านกล่าวว่ามีเปรตชนซึ่งเป็นญาติของทุคคตะนั้น ยมพบาลได้ปล่อยไปเที่ยวแสวงหาอาหาร พอดีกับการทำบุญ ของทุคคตะผู้เป็นญาติอุทิศไปถึงพากันอนุโมทนา แล้วก็อวยพรให้ทุคคตะผู้เป็น ญาตินั้นประสบด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกทิพาราตรีกาล ฝ่ายพระยายมราช เมื่อทราบว่าสัตว์ นรกเปรตวิสัยนี้มีส่วนบุญ อันได้กระทำไว้ เพราะการรับอนุโมทนาทานที่ญาติได้อุทิศไปถึงตนจึง ปล่อยให้พ้นจากกรรมในนรกแล้วก็ถือปฏิสนธิในเทวสถานด้วยอำนาจวาสนาบารมีของทุคคตะส่งไป ถึงนั้น ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาทุคคตะได้แสวงหาเลี้ยงชีพก็คล่องแคล่วไม่ขัดสน นำตนให้ประสบความ รุ่งเรืองเป็นลำดับมา ถึงกับมีทรัพย์ทำการค้าขายได้โดยสะดวก ก็ได้ทำบุญกุศลทวีขึ้นเป็นลำดับ มีการ ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา เป็นต้น ครั้นถึงเวลาอายุขัยก็ทำกาลกิริยาตายไป ก็บังเกิดใน สวรรค์เป็นเทพบุตร มีนางเทพอัปสรแวดล้อมเป็นยศบริวารเมื่อหมู่ญาติที่เป็นเทพธิดา ทราบข่าวก็พา กันไปถือเครื่องสักการบูชาคุณแก่เทพบุตรนั้น
     
  6. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    26 อานิสงส์สลากภัตต์ (ข้าวสาร)

    ......เพราะบุญในคราวนี้เป็นการทำบุญแตกต่างกว่าธรรมดาเพราะมีการจับสลาก แล้วก็ถวายไปตาม รายชื่อพระภิกษุสามเณรที่จับได้นั้น การทำบุญนี้เป็นการไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะเป็นพระภิกษุรูปใดหรือ สามเณรองค์ใดก็ยินดีถวายทั้งนั้นเป็นการกำจัดกิเลสชนิดหนึ่งเรียกว่าอคติเสียได้ ทาน ศีล การฟังธรรม ในอดีตกาลล่วงมาแล้ว มีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ปทุมมุตตระ อาศัยอยู่ใน กรุงสาวัตถีนครเป็นที่โคจรบิณฑบาต

    ..... มีสามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นคนยากจนอนาถา อยู่ในพระนครนั้น แสวงหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างหาฟืนขาย อยู่มาวันหนึ่งบุรุษผู้สามีพิจารณาดูการเลี้ยงชีพที่ฝืดเคืองนักก็ เนื่องมาจากตนมิได้บำเพ็ญกองการกุศล มีการให้ทานรักษาศีล สดับรับฟังพระธรรมเทศนาและเจริญ เมตตาภาวนาเป็นต้นในชาติปางก่อนอย่างแน่นอน มาในชาตินี้จึงเป็นคนเข็ญใจไร้ทรัพย์อับปัญญา เมื่อ มาพิจารณาดังนี้แล้ว จิตใจก็อยากจะทำบุญให้ทานเพื่อจะได้เป็นนิธิขุมทรัพย์ เป็นเสบียงไปในปรภพ เบื้องหน้า จึงปรึกษากับภรรยาของตนตามที่เจตนาดำริไว้นั้น ฝ่ายภรรยาก็คล้อยตามไปด้วยความยินดี รีบจัดแจงหาเครื่องไทยทาน ทำตามสมควรแก่กำลังของตน แล้วนำไปสู่อารามทำเป็นสลากภัตต์พร้อม กับมหาชนทั้งหลาย สามีภรรยาคู่นั้นจับสลากถูกภิกษุรูปหนึ่งจึงน้อมเข้าไปถวายด้วยความปีติ แล้วตั้ง ความปรารถนาว่าเดชะบุญกุศลผลทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าบริบูรณ์ด้วยยศศักดิ์สมบัติบริวาร ขึ้นชื่อว่าความ ตกทุกข์ได้ยากเข็ญใจ เหมือนในชาตินี้อย่า ได้พึงมีแก่ข้าพเจ้าในภพต่อ ๆ ไปเลย สามีภรรยาคู่นั้นอยู่ต่อ มาจนสิ้นอายุขัยทำกาลกิริยาตายไปแล้วก็อุบัติในดาวดึงส์สวรรค์สิ้นบุญแล้วก็มาเกิดเป็นพระเจ้าศรัทธา ติสสะ ณ เมืองพาราณสี พระเจ้าศรัทธาติสสะนั้นครั้นกลับชาติมาก็คือพระตถาคตนี้เอง เมื่อสิ้นกระแส พระธรรมเทศนาแล้วเหล่าพุทธบริษัท ทั้งหลาย มีพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเป็นต้น ก็ชื่นชมผลทานในการ ถวายสลากภัตต์เป็นยิ่งนัก
     
  7. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    27 อานิสงส์สังฆทาน

    ......การถวายอาหารบิณฑบาตแก่ภิกษุสงฆ์ให้แก่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ได้พร้อมใน กันนำอาหารบิณฑบาตพร้อมด้วยเครื่องบริวารทั้งหลายมาถวายในท่ามกลางสงฆ์มิได้จำเพาะเจาะจงแก่ พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้อย่างนี้เรียกว่าสังฆทานอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าถวายทานเจาะจงบุคลิก รูป นั้น รูปนี้ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน จึงจัดเป็น ๒ ประเภทดังที่ได้แสดงมาแล้วนั้นการถวายทานนั้น ถ้าถวายเป็นสังฆทานมีผลาสิสงส์มากกว่าบุคลิกทาน
    จากดังจะเห็นจากพระสิวลีเถระผู้มีลาภมาก จนได้รับเป็นเอตทัคคะ จากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศด้วยลาภ จะไปทางไหน ก็มีแต่อดิเรกลาภ เหลือหลาย บริบูรณ์ ก็เพราะท่านได้ถวายทานมาแต่ในชาติปางก่อน ชาตินี้ท่านก็มีความสุขกายสบายใจไม่เดือด

    ร้อนอดอยาก ความพิสดารว่าในสมัยหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าสิวลีได้เกิดเป็นบุตรของเศรษฐี เมื่อเจริญวัยขึ้น มาก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้ให้ทานแก่พระปัจเจกโพธิวันละองค์ ๆ ครั้นต่อมาได้รับสมบัติแทนบิดา เป็น เศรษฐีก็ถวายทานแก่พระปัจเจกโพธิขึ้นอีกรวมเป็น ๗ องค์ ต่อวัน ตลอดมากระทำอยู่ดังนี้จนสิ้นชีพ ก็ ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นยามามีวิมานสูง ๓๐ โยชน์ มีนางฟ้าเทพอัปสรหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร เสวยสุข ทิพย์สมบัติในชั้นยามาประมาณโกฏิปีในเมืองมนุษย์ ครั้นถึงศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้าของเราทุก วันนี้จึงจุติมาถือกำเนิดในตระกูลเจ้าศากยะ บริบูรณ์โภคสมบัติยิ่งนัก ครั้นเจริญวัยขั้นมาก็ออกบวชต่อ พระพุทธเจ้า ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ มีชื่อว่าพระสิวลีเถระ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มี ลาภมาก พระเถระจะไปสู่สถานที่ใดเทวดามนุษย์ทั้งหลายย่อมสักการบูชาด้วยเครื่องไทยทานอย่างมาก มายแม้บริวารของท่านก็พลอยบริบูรณ์พูนสุขไปด้วยดังนี้ ก็เพราะอานิสงส์แห่งการถวายทานให้เป็น สังฆทาน
     
  8. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    28 อานิสงส์สร้างหนังสือ

    ......ดังมีใจความว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถี ในเวลานั้นพระสารีบุตรเถระเจ้ามีความประสงค์ว่าจักทูลถามพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดง ธรรมประกาศอานิสงส์สร้างพระไตรปิฎก ให้ทราบทั่วถึงกันแก่พุทธบริษัทพระเถระเจ้าก็เข้าเฝ้าทูลถาม แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายให้พุทธศาสนายืนยาวถึง ๕ พันวัสสา จะ มีอานิสงส์เป็นประการใด พระพุทธเจ้าข้า

    ........ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ดูกรท่านสารีบุตร ถ้าชนทั้งหลายมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปแล้วก็จักรได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชถึง ๘ หมื่น ๔ พันกัลป์ ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว ก็จะได้เป็นพระราชา มีอนุภาพอีก ๙ อสงไขย ต่อจากนั้นก็ได้เสวยสมบัติในตระกูลต่าง ๆ เป็นลำดับไป คือตระกูลพราหมณ์ มหาศาล ตระกูลเศรษฐีคฤหบดี และเป็นภูมิเทวดาอากาศเทวดา อย่างละ ๙ อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้ เสวยในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น เป็นลำดับไปชั้นละ ๘ อสงไขย เมื่อจุติจากชั้นเทวโลกแล้ว มาถือกำเนิดเกิด เป็นมนุษย์ ก็จะมีร่างกายบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นที่รักใคร่แก่คนทั้งหลายที่ได้พบเห็นทั้งน้ำใจก็บริสุทธิ์ สุจริตปราศจากบาปธรรมอกุศลทั้งปวง และเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ดังนี้เป็นต้น ดูกรท่านสารีบุตรเมื่อตถาคตสร้างบารมีอยู่ได้เกิดเป็นอำมาตย์ของพุทธบิดา แห่งสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปุราณโคดม ได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ให้สืบองค์ได้ตั้งความปรารถนา ขอตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิดในอนาคตกาลโน้น สมเด็จพระปุราณโคดมบรม ศาสดาทรงพยากรณ์ไว้ว่า อำมาตย์ผู้นี้ต่อไปภายภาคหน้า จะได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

    หนึ่งมีพระนามว่า พระสมณโคดมก็คือพระตถาคต เรานี้เองดังนี้แลก็สิ้นสุดพระกระแสธรรมเทศนา ที่ พระบรมศาสดาทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าแต่เพียงเท่านี้
     
  9. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    29 อานิสงส์ปลูกต้นโพธิ์

    ......มีใจความว่าพระปุตถินทายกัตเถระรูปนี้ได้บวชในศาสนาของพระสมณโคดม บรมศาสดาของเราท่านได้บำเพ็ญเพียรเรียนวิปัสสนาจนสำเร็จพระอรหันต์ประกอบด้วยอภิญญา ๖ เชี่ยวชาญนัก เมื่อพระผู้เป็นเจ้าได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว วันหนึ่งนั่งอยู่ในที่สงัด พระเถระเจ้าได้ระลึก ถึงปุพพกรรมที่ทำให้ได้บรรลุถึงอรหัตตผล เพราะเหตุกุศลผลบุญอะไรที่ตนได้กระทำไว้ในชาติปาง ก่อน จึงได้เสวยวิมุตติสุขถึงเพียงนี้

    พระเถระเจ้าก็ทราบชัดโดยทิพจักขุญาณ แต่เมื่อมีความประสงค์จะ แสดงถึงผลบุญ จะได้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัทต่อไปในภาคหน้า จึงได้ลุกจากอาสนะไปสู่ที่บริษัท ทั้ง ๔ แล้วกล่าวว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้เป็นอาทิความว่า ดูกรพุทธบริษัททั้งหลายเมื่อครั้งศาสนา พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาได้กำเนิดเกิดเป็นบุรุษผู้หนึ่งมีจิตเลื่อมใสในพระศาสนาวันหนึ่ง อาตมาได้ออกจากบ้านไปสู่อาราม ได้ทัศนาเห็นต้นไม้ศรีมหาโพธิ์เศร้าหมอง รกปกคลุมไปด้วยหญ้า และใบไม้ จึงได้ชำระถากถางหญ้า และปัดกวาดใบไม้ให้สะอาด แล้วขนทรายมาเกลี่ยทำให้เสมอ ทำ เป็นแท่นที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์นั้น แล้วตบแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ของหอม ดูแล้วเป็นที่รื่นรมย์ เมื่อกระทำแล้วมีความปีติยินดียิ่งนัก ครั้นเมื่อถึงมรณะสมัยใกล้จะทำกาลกิริยาตายจิตก็ระลึกถึงกุศลที่ ตนได้ทำการปัดกวาด ชำระ และก่อแท่นที่ต้นศรีมหาโพธิ์ ครั้นตายแล้วก็ไปอุบัติในชั้นดุสิตเสวย ทิพยมานทอง มีหมู่นางเทพอัปสรแวดล้อมเป็นบริวาร ครั้นจุติจากเทวโลกได้มาถือกำเนิดในมนุษย์โลก เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ได้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์มาจนถึงศาสนาแห่งพระสมณโคดมสัมมาสัม พุทธเจ้า อาตมาได้เกิดในตระกูลเศรษฐี ครั้นเจริญวัยขึ้นก็ออกบวชในพระพุทธศาสนา เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ก็เพราะบุญกุศลที่ได้ปลูกต้นไม้ศรีมหาโพธิ์นี้ก่อพระแท่นนั้น เป็น ปฐมเหตุดังนี้เป็นต้น เมื่อจบพระธรรมเทศนาลงแล้ว พุทธบริษัททั้งหลาย ก็มีความยินดีในธรรมภาษิต ที่พระเถระเจ้าแสดงเป็นยิ่งนัก
     
  10. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    30 อานิสงส์ต่ออายุ

    ......บุญต่ออายุนี้นับว่าเป็นการไม่ประมาท เพราะทำตามประเพณีของพุทธศาสนา ได้อาราธนา พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ สวดพระปริตแล้วยังมาจัดให้มีพระธรรมเทศนาอีกด้วยดังนี้ แม้แต่ใน เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดายังมีพระชนม์อยู่ พระองค์ได้ทำทรงทำมาแล้วกับอายุวัฒนกุมาร ดัง

    อาตมาภาพจักยกแสดงเป็นนิทัสนอุทาหรณ์ เพื่อจะได้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมีกุศลสืบต่อไป ดังมีใจความว่ามีพราหมณ์ ๒ คน เป็นชาวทีฆลัมพิกนคร บวชในลัทธิภายนอกพระศาสนาบำเพ็ญตบะ อยู่สิ้น ๑๘ ปี บรรดาพราหมณ์ ๒ คนนั้น คนหนึ่งคิดว่าประเพณีของเราจักเสื่อมจึงได้สึกขายบริขารของ ตนให้แก่ชนทั่วไป เสร็จแล้วได้ภรรยาคนหนึ่งพร้อมด้วยโค ๑๐๐ ตัว ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ ตั้งไว้เป็น ทุน ฝ่ายภรรยาของเขาคลอดบุตรแล้ว ส่วนสหายนอกนี้ไปสู่ต่างถิ่นกลับสู่นครนั้นเมื่อพราหมณ์สหายทราบข่าว จึงได้พาบุตรภรรยา ไปเยี่ยม เมื่อไปถึงพราหมณ์และภรรยาไหว้สหายก็กล่าวว่า ขอให้ท่านทั้ง ๒ จงมีอายุยืน ถึงคราวบุตร ไหว้สหายไม่ได้พูดว่ากระไร พราหมณ์ตกใจ จึงได้รีบถามว่าทำไมละสหาย เมื่อเราทั้งสองไหว้จึงกล่าว ว่าจงมีอายุยืน คราวบุตรไหว้ทำไมจึงไม่พูดว่ากระไร เหตุไรจะมีขึ้นหนอ สหาย เด็กนี้จะตายภายใน ๗ วัน พราหมณ์รู้สึกตกใจเป็นกำลัง จึงได้ถามอุบายแก้ว่าสหายมีวิธีแก้บ้างไหม สหายไม่มีแล้ว วิธีแก้ นี่เราเห็นสมณโคดมพระองค์เดียวพระองค์มีวิธีแก้ไขอย่างเลิศสหาย เราจะไปได้อย่างไรเดี๋ยวตบะของ เราก็เสื่อมเท่านั้น ลูกตายกับตบะเสื่อมจะเอาอย่างไหนดี

    ...... พราหมณ์เลยตัดสินใจพาบุตร และภรรยาไปสู่สำนักของพระศาสดาเมื่อถึงแล้วก็ ไหว้พระ ศาสดาพระองค์ก็ตรัสว่าจงมีอายุยืน ต่อเมื่อบุตรน้อยไหว้พระศาสดาก็ไม่ตรัสว่ากระไร พราหมณ์จึง กราบทูลถึงวิธีแก้ไขเหตุนั้น พระศาสดาตรัสอุบายที่จะไม่ให้เด็กนั้นตายใน ๗ วัน แก่พราหมณ์ว่า ท่าน เองทำมณฑปไว้ เมื่อเสร็จแล้วก็นิมนต์พระสงฆ์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ๘ รูป หรือ ๑๖ รูป พราหมณ์จึง รับได้พระเจ้าเข้า

    ....พระศาสดาเมื่อพราหมณ์สร้างมณฑปเสร็จแล้ว จึงได้ส่งภิกษุไปตามจำนวนที่พราหมณ์ต้องการ ภิกษุได้เจริญพระพุทธมนต์สิ้น ๗ วัน ในวันที่ ๗ พระศาสดาได้เสด็จไปเอง เจริญพุทธมนต์ด้วยหมู่ภิกษุ อวรุทธกยักษ์ผู้บำรุงท้าวเวสสุวรรณ ต้องการจะจับเด็กนั้นไปกินเป็นอาหาร ก็กลับไปด้วยความผิดหวัง ในวันที่ ๘ สองสมีภรรยาได้นำบุตรมาวางไว้แทบพระบาทของพระศาสดา พระองค์จึงตรัสว่าขอเจ้าจง มีอายุยืน พราหมณ์ถามด้วยความสงสัยว่าจะมีอายุเท่าไร พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสตอบว่า ๑๒๐ ปี พราหมณ์

    พราหมณ์ ๒ สามีภรรยาจึงตั้งชื่อบุตรว่า อายุวัฒนกุมาร เมื่อเขาเติบโตแล้วได้มีอุบาสก ๕๐๐ คน แวดล้อมแล้ว ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่าผู้มีอายุทั้งหลายอายุวัฒนกุมารนี้จะตายภายใน ๗ วัน แต่แล้วกลับจะมีอายุ ๑๒๐ ปี เหตุเป็นเครื่องเจริญแห่งอายุ ของสัตว์เห็นจะมี พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน เมื่อภิกษุกราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้พระองค์
    จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายอายุเจริญอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ ก็สัตว์เหล่านี้ไว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญ ด้วยเหตุ ๔ ประการ พ้นจากอันตรายดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว
     
  11. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    31 อานิสงส์สร้างธรรมาสน์

    ......ความว่าในสมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาของเราเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร พรั่ง พร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย ในกาลครั้งนั้นยังมีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อเมณฑก ที่ได้ชื่อเช่นนั้น เพราะเศรษฐีนั้นมีรูปแพะทองคำอันมีฤทธานุภาพมาก ภิกษุสงฆ์จึง ได้โจทนากันอยู่ในคันธกุฏี

    ...... ในกาลครั้งนั้นสมเด็จพระบรมศาสดา ได้ตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในกาลครั้งหนึ่ง ยังมีเมณฑกเศรษฐี แต่ในกาลครั้งก่อนนั้น ท่านได้เกิดมาในศาสนาของ พระเจ้าวิปัสสีมีนามว่า อินทะเศรษฐีท่านมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา ได้สละทรัพย์ และ น้ำพักน้ำแรงออกก่อสร้างธรรมาสน์ถวายเป็นทานแก่พระพุทธเจ้าวิปัสสี เพื่อนั่งแสดงพระธรรมเทศนา และได้สร้างรูปแพะทองคำอีก ๕ ตัว รองเป็นบันไดขึ้นเพื่อเสด็จไปเทศน์ได้โดยสะดวก เมื่อเสร็จแล้ว ท่านก็ได้ถวายแก่พระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมทั้งตั้งความปณิธานว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จด้วยฤทธิ์แพะ ทองคำนี้เถิด

    ...... กาลต่อมาครั้นสิ้นอายุขัย เศรษฐีนั้นได้ไปเกิดบนสวรรค์ มีวิมานทองสูงได้ ๑๐ โยชน์ มี นางฟ้าเทพอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร วิมานนั้นประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ อันรุ่งเรืองลือชาปรากฏใน เทวโลกนั้น ชื่อว่าอินทกเทวบุตร ครั้นจุติจากชั้นดาวดึงส์ ก็ได้มาบังเกิดในเมืองพาราณสีได้เป็นมหา เศรษฐีมีข้าวของเป็นอันมากหาที่จะนับจะประมาณมิได้ ครั้นสิ้นชีพอายุขัยก็ได้นำตนไปอุบัติในเทวโลก อันเป็นเทวสถานอันอุดมโอฬารไพศาลของพวกเทพนิกรอีกครั้ง จนกระทั่งถึงศาสนาแห่งพระพุทธเจ้า ของเรา จึงก็ได้จุติจากเทวโลกมาบังเกิดเป็นเมณฑกเศรษฐี ครั้นเมณฑกกุมารเจริญวัยขึ้นได้ ๑๖ ปีนั้น แพะทองคำก็จึงทำฤทธิ์ให้เงินทองข้าวของในท้องแพะนั้นไหลออกมาเป็นอันมาก เมณฑกกุมารได้เสวย ซึ่งสมบัติข้าวของเหล่านั้นจึงมีนามว่า เมณฑกเศรษฐี นี้ก็ด้วยผลที่ท่านมีใจเจตนาดี หรือหวังดีต่อพระ ศาสนาต้องการสร้างถาวรวัตถุให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน จนตลอดมาถึงทุกวันนี้ก็ย่อมได้รับ อานิสงส์ตามความปรารถนาของท่าน
     
  12. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    32 อานิสงส์ถวายผ้าปูโรงอุโบสถ

    ......ดังได้ยินมาว่าในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาของเราได้เสด็จประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหารใน กรุงสาวัตถีในกาลครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เสวยราชสมบัติในเมืองสาวัตถีในวันหนึ่ง

    พระเจ้าปเสนทิโกศลได้นำเครื่องสักการบูชา มีประทีปดอกไม้คันธรสของหอมพร้อมด้วยบริวารของ พระองค์เข้าไปสู่เชตวันมหาวันมหาวิหาร บูชาซึ่งพระบรมศาสนาแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้น แล้วจึงทูลถามพระศาสดาว่า บุคคลหญิงชายมีใจเลื่อมใสในศาสนามาสร้างผ้าปูลาดไว้ในโรงอุโบสถดัง นี้ จะมีผลานิสงส์มากน้อยเท่าใดพระเจ้าข้า

    สมเด็จพระบรมศาสดาก็ตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่านรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา ได้สร้างผ้าปูลาดโรงอุโบสถ ก็จักมีผลานิสงส์มากมายก่ายกองเหลือที่จะคณนานับได้ ในภพนี้และภพหน้า ผลที่ได้ในภพนี้ก็คือ จะมีผู้นับหน้าถือตาไปทางใดก็มีผู้ อยากให้ร่วมกินร่วมนอนถึงแม้จะเข้าไปทางใดก็มีผู้อยากให้ร่วมกินร่วมนอนถึงแม้ว่าจะเข้าไปสู่สมาคม ใด ๆ ก็ไม่สยมสยองพองเกล้า การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตรปรารถนาเมื่อสิ้นชีพแล้วก็จะได้อุบัติ ขึ้นในสุขคติโลกสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานสูงได้ ๑๒ โยชน์ แล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ดูรุ่งเรือง งดงามยิ่งกว่าปราสาทหลังอื่น ๆ มีนางฟ้าเทพอัปสรกัลยาแสนหนึ่งเป็นบริวาร เทวบุตรตนนั้นมีกำลัง บริษัททั้งสี่ แวดล้อมเสพดุริยดนตรีอยู่ทุกเวลามิได้ขาด ฉะนั้นผลานิสงส์อันนี้ย่อมเป็นบันไดนำขึ้นสู่ สวรรค์ นี่แหละมหาบพิตรราชสมภาร บุคคลผู้มีมืออันชุ่มไปด้วยการให้ทาน หมู่ทวยเทพทั้งหลายย่อม ความยินดีสรรเสริญ รอคอยผู้ให้ทานนั้นอยู่เสมอเมื่อจบพระสัทธรรมเทศนาลง บริษัททั้งสี่มี พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นประธาน ก็มีความรื่นเริงยินดีในพระสัทธรรมเทศนาเป็นยิ่งนัก เป็นผู้ตั้งอยู่ใน กุศลสัมมาปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ครั้นทำลายขันธ์ลงก็ไปอุบัติเกิดในสัตตรัตนปราสาทเสวยสมบัติอัน เป็นทิพย์ มีหมู่นางอัปสรสวรรค์แวดล้อมเป็นยศบริวาร
     
  13. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    33 อานิสงส์อาการวัตตาสูตร

    ......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า “อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา” สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มี สันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล ค โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยง ที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตน ให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี ๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่ พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้าย

    ภายหลังจะได้ปฏิบัติเป็นเครื่องป้องภัยในอบาย พระผู้เป็นเจ้าจึงยกอัญชลีกรถวายอภิวาทพระบรม โลกนาถเจ้า แล้วทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “เย เกจิ ทุปฺปญฺญา ปถคฺคลา” บุคคลทั้ง หลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญายังหนาด้วยโมหะหารู้จักพุทธกรณธรรม คือบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้น ไม่เพราะเป็นคนอันธพาล กระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวงด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เข้าครอบ งำกระทำกรรมตั้งแต่เบาคือ ลหุกรรม จนกระทั่งกรรมหนักคือครุกรรม โดยไม่มีความกระดากอาย เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ จากชีวิตอินทรีย์แล้วจะไปเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เจ้าข้าผู้ประเสริฐ ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพสามารถปราบปรามห้ามเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิให้ตกไปสู่ นรกใหญ่จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า

    ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕ คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตาม ระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้ และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าว สอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐ ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่ ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะ เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ ปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์ ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗ ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่ทุคติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์

    คาถาอาการวัตตาสูตร

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต
    เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ
    อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน
    มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติ
    ( พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม จบวรรคที่ 1 )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    ( อะภินิหาระวัคโค ทุติโย จบวรรคที่ 2 )

    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    ( คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย จบวรรคที่ 3 )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ จบวรรที่ 4 )

    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    ( มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม จบวรรคที่ 5 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะธิฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    ( ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ จบวรรคที่ 6 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญาณะทัสสะนะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม จบวรรคที่ 7 )

    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปัสสะนาญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะปะริยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    ( วิชชาวัคโค อัฏฐะโม จบวรรคที่ 8 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะ สัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ปะริญญาวัคโค นะวะโม จบวรรคที่ 9 )

    อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    ( โพธิปักขิยะธัมมะวัคโค ทะสะโม จบวรรคที่ 10 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตตานังนานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปะโรปะริยัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม จบวรรคที่ 11 )

    อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะโกฏิสะหัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะ หัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม จบวรรคที่ 12 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ถามะพะละวัคโค เตระสะโม จบวรรคที่ 13 )

    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    ( จะริยาวัคโค จะตุททะสะโม จบวรรคที่ 14 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตู สุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ลักขะณะวัคโค ปัญจะทะสะโม จบวรรคที่ 15 )

    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม จบวรรคที่ 16 )

    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม จบ 17 วรรค บริบูรณ์ )

    ***************************************************

    (คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า
    คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น
    ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ
    ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก
    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
    เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ
    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต
    ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
    พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

    คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร
    พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ
    พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ
    โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์

    คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี
    มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม
    พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ

    คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ
    พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง

    คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง
    พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ
    ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส

    คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ
    พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา
    พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ
    ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา
    พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้

    คำแปล ทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
    พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต
    พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี
    มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น
    พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต

    คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ
    พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา
    พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า

    คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา
    พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา
    พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่
    พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ

    คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี
    มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี
    มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด
    พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล

    คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ
    พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
    รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย
    พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น
    แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์
    พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้

    คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ
    พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา
    ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ

    คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง
    พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน
    พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ
    พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้

    คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ
    พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก
    พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์
    พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง
    พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี

    คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
    พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
    พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย
    พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป

    คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป
    พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก
    พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์

    คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี
    พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ
    พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง
    พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย

    **************************************************
    หลวงพ่อใหญ่(หลวงปู่สังวาลย์)เล่าให้ฟัง
    วันพระแรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
    บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย
    เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้
    เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน
    ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่
    ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหว
    เหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ
    แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วัน
    ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้ พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตร
    เอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลย
    ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้
    มีอานุภาพดี


    บทสวดที่มา: วัดสังฆทาน นนทบุรี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2014
  14. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    34 อานิสงส์เผาศพ

    ......ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ใดมีจิตเมตตาสงเคราะห์เผาสรีรร่างกายของคนอนาถาที่มีแต่ร่างกระดูก ผู้นั้นจะบริบูรณ์ไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ศฤงคาร บริวารมากถึง ๘ พัน ถ้าซากศพนั้นยังมีเลือดเนื้ออยู่จะอำนวยผลให้เป็นผู้ มียศศักดิ์บริวารหนึ่งหมื่น ถ้าเผาผีร่างกายของคนแก่เฒ่าชรา จะนำมาซึ่งธนสารยศศักดิ์บริวารแวดล้อม ถึง ๔ หมื่น ถ้าเผาซากศพญาติมิตรสหายบุตรและทารก จะอำนวยผลให้ผู้นั้นสมบูรณ์ หมื่นก็แลถ้า บุคคลผู้ใดมีใจศรัทธามาทำฌาปนกิจเผาศพบิดามารดา จะได้เสวยผลานิสงส์อันเป็นทิพย์ ยศศักดิ์สมบัติ บริวารประมาณแสนหนึ่งผู้ใดได้เผาสรีรร่างกายของภิกษุสงฆ์ จะได้รับผลานิสงส์ยศศักดิ์สมบัติ บริวาร ประมาณสองแสนมาตรแม้นแต่เผาซากศพนกที่ตกอยู่บนปฐพี ด้วยใจยินดีเลื่อมใสในศรัทธา ครั้นมา ทำลายเบญจขันธ์ลงก็จะตรงไปเกิดบนสวรรค์มีวิมานเป็นที่อยู่ การทำฌาปนกิจในสรีรสัตว์เดียรัจฉาน ยังได้เสวยทิพย์สมบัติบนวิมานถึงเพียงนี้ ก็ท่านทั้งหลายได้กระทำการจุดเผาสรีรกายของมนุษย์ ยิ่งจะมี ผลานิสงส์อันโอฬารกว่านี้ร้อยเท่าทวีคูณ จะเป็นบุญนิธิขุมทรัพย์นำให้อุบัติในสุคติโลกสวรรค์ อย่าง ไม่มีความสงสัย เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ
    (อธิบายโดย webmaster : การเห็นความจริงของสังขาร มรณสติ อนิจจัง เป็บตัวบุญของอานิสงส์นี้)
     
  15. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    35 อานิสงส์สร้างศาลา

    ......นันทิยะได้ถวายศาลาแก่พระบรมศาสดา ความว่านันทิยะเป็นมหาทานบดี สร้างวิหารที่ป่าอิสิปตนะพร้อมด้วยเครื่องเสนาสนะ แล้วทำมหกรรมการฉลองอย่างมโหฬาร ถวายแก่ พระภิกษุสงฆ์ มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานได้หลั่งน้ำทักขิโณทก ตกลงเหนือฝ่าพระ หัตถ์พระบรมศาสดาในขณะนั้น ปราสาทอันเป็นทิพย์สำเร็จแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ใหญ่ ๑๒ โยชน์ สูง ๑๗ โยชน์ เพรียบพร้อมไปด้วยนางเทพธิดา ก็อุบัติขึ้นในเทวโลกรอคอยนันทิยะอยู่ “กาลํ กตฺวา” ครั้นนันทิยะสิ้นชีพทำลายขันธ์แล้ว ก็ได้ไปเสวยสมบัติในเทวโลกอันรอคอยอยู่นั้น มีนามปรากฏว่า นันทิยะเทพบุตรบริโภคทิพย์สมบัติ อันมีนางฟ้าเป็นบาทบริจาริกา แวดล้อมบำเรออยู่ทุกทิพราตรีกาล สุขเกษมสำราญอยู่ในทิพย์วิมานนั้น อย่างไม่มีเวลาสร่างซา
     
  16. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    36 อานิสงส์สร้างสะพาน

    ......วันหนึ่งพระกปิลัตเถระ อธิษฐานให้น้ำในมหาสมุทรแข็งกระด้างเดินไปมาได้สะดวกพระภิกษุ สงฆ์เห็นฤทธานุภาพของท่าน เลื่อมใสในธรรมคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งนัก เพราะสามารถ บันดาลให้ผู้ประพฤติปฏิบัติให้บรรลุกฤษฎาภินิหารต่าง ๆ กำลังปรารภเรื่องพระกปิลัตเถระอยู่ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาประทับเหนืออาสนะ ทรงดำรัสถามทราบเรื่องแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนาว่า “ “อตีเต กาเล” ในอดีตกาลครั้งศาสนา พระกุกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า พระกปิลัตเถระ เกิดในตระกูลคนเข็ญใจ มีอาชีพในทางรับจ้างพอเลี้ยงอัตภาพให้เป็นอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ ได้เห็นทางโคจนบิณฑบาตของภิกษุสงฆ์ มีเปียกความชื้นแฉะจึงนำทรัพย์ที่ตนรวบรวมไว้เพียงเล็ก น้อยมาสร้างทางถวายให้เป็นทานแก่พระผู้เป็นเจ้า “กลํ กตฺวา” ครั้นบุรุษเข็ญใจนั้นใกล้จะถึงแก่ความ ตาย ก็เกิดอัศจรรย์นิมิตเป็นมหามงคล คือเห็นสะพานเงินสะพานทองทอดลงมาแต่เทวโลก จะรับบุรุษ เข็ญใจนั้นให้ขึ้นไปสู่สวรรค์บุรุษเข็ญใจจึงพูดว่าประเดี๋ยวจะขึ้นไป คำที่กล่าวนั้นก็ปรากฏแก่คนทั้ง หลาย อยู่มาประมาณครู่หนึ่งก็ถึงอนิจกรรมทำลายขันธ์ ขณะนั้นเสียงดุริยางค์ดนตรีก็ดังสนั่นหวั่นไหว ก้องเวหา ประชาชนต่างก็ได้ยินเสียงทิพย์ดนตรี อันเทพนิมิตให้เกิดมีทุกถ้วนหน้าส่วนบุรุษเข็ญใจนั้น ครั้นทำลายขันธ์แล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยทิพย์สมบัติอันมโหฬารประกอบไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ตลอดมาจนถึงศาสนาพระตถาคตนี้ เทพบุตรองค์นั้นจึงจุติจากวิมานลงมาเกิดเป็นมนุษย์ ออกมาบวชในพุทธศาสนาบำเพ็ญเพียรได้สำเร็จพระอรหัตตผล ประกอบไปด้วยวิชชาและอภิญญา จึง บันดาลน้ำในมหาสมุทรแข็งกระด้างราวกับว่าพื้นปฐมพี ด้วยอานิสงส์ที่ได้สร้างสะพาน แต่ครั้งศาสนา แห่งพระกุกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มาแสดงวิบากผลให้ปรากฏแก่ท่าน พระมหากปิลัตเถระ
     
  17. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    37 อานิสงส์ในการสร้างธง

    ...... สมัยหนึ่งพระศาสดาสมณโคดม บรมครูเสด็จประทับอยู่ในบุพพารามวิหาร สมเด็จพระเจ้าปัสเสนทิโกศลราช กราบทูลถามถึงผลานิสงส์สร้างธงชัยบูชาพระรัตนตรัย พระบรมจอมไตรจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า ดูกรบพิตรพระราชสมภารการสร้างธงชัยบูชาพระ รัตนตรัยนี้ มีผลานิสงส์อันอุดมยิ่งนัก ครั้งศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ยังมีบุรุษเข็ญ ใจกับภริยา มีจิตศรัทธาเลื่อมใสปรารถนาจะสร้างธงบูชาแก่พระรัตนตรัย จึงไปตัดไม้ในป่าเลือกหาต้น บริสุทธิ์ดี ครั้นตัดแล้วนำมาไว้ในอารามพยายามถากให้เกลี้ยงเกลาจะทำให้เป็นเสาธง แต่ยังมิทันจะ สำเร็จเลยเกิดโรคาพาธ กระทำกาลกิริยาตายไปด้วยจิตเลื่อมใสในเสาธงที่กระทำอยู่นั้นเป็นมูลเหตุนำ บุรุษนั้นไปเปิดเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์เสวยสมบัติทิพย์เนืองแน่นไปด้วยเทพอัปสรกัญญาต่อแต่กาล นั้นมา มีบุรุษผู้หนึ่งได้ทัสนาเสาธงนั้นมิทันแล้วจึงมาจักแจงถากเกลาเสาธงนั้นเกลี้ยงงามดีแล้ว ยกเสา ธงนั้นขึ้น ยังมิทันหาธงและทองมาประดับ ก็เกิดพยาธิร้ายภายในกายถึงความตายในปัจจุบันนั้น นำตน ไปเกิดในชั้นดาวดึงส์เทวโลก มีวิมานทองสูง ๑๒ โยชน์ เป็นที่อยู่ ครั้นต่อมาอีกมีบุรุษผู้หนึ่งได้นำทองมาปิดเสาธงจนสำเร็จดูราวกะเสาธงนั้นเป็นแท่งทองธรรมชาติ ในกาลนั้นมีพ่อค้าห้าคนเดินทางมาพบ เข้ามีจิตเลื่อมใสสละผ้าออกมากระทำเป็นธงผูกไว้บนเสา “กาลํ กตฺวา” ครั้นชนเหล่านั้นทำกาลกิริยา แล้วก็ได้ไปเสวยทิพย์มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นยศบริวารในเทวโลกสิ้นด้วยกันทั้งนั้น
     
  18. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    38 อานิสงส์ถวายสัพพทาน

    ...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ ๑. ให้ของที่สะอาด ๒. ให้ของประณีต ๓. ให้ถูกกาล ๔. ให้ของที่สมควร ๕. เลือกให้ ๖. ให้เสมอ ๆ ๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส ๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนาย อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี
    ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอม แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่ ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใด เลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์

    ... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า

    สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
    สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
    ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
    ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
    ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
    ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
    ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป

    ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
    ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป
    ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
    บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป
    ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป
    ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป
    ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
    ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป
    ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์
    ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
    ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป
    ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป
    ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
    ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
    ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น
    ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน
    ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง
    ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป

    สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า

    อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้า ถือตาไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่ สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตร ปรารถนาสมประสงค์ ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้น ดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้ ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่ง ครั่งมั่งมีเศรษฐีกฎุมพีแล้วก็จักได้ทัวระวัดไปมาบารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน พอ จบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์ สามส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2014
  19. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    39 อานิสงส์ปิดทองพระพุทธรูป

    ...... นัยว่าพระเจ้ามหารถราช เสวยสมบัติ ในสักกราชาวดีนคร ท้าวท่านเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคล คือมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตรงกันข้ามกับ พระเจ้าปัญจาลราช กษัตริย์กรุงปัญจาลราชนคร เป็นมิจฉาทิฎฐิบุคคล คือไม่นับถือพระพุทธศาสนา กษัตริย์ทั้งสองเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากันเลย

    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปัญจาลราชได้ส่งผ้ารัตนกัมพลผืนหนึ่งไปถวายพระเจ้ามหารถราช พระเจ้ามหารถราช ทอดพระเนตรเห็นผ้ารัตนกัมพล แล้วจึงตรัสว่าสหายเราส่งผ้าอันมีค่ามากมาให้เรา เราก็ควรจัดส่งแก้วอันประเสริฐไปให้ตอบแทนพระสหาย ดังนี้ พระเจ้ามหารถจึงคิดว่า เราจะส่งแก้วสิ่ง ใดหนอซึ่งมีค่ามากเหนือสิ่งอื่นใด พิจารณาแล้วเห็นว่า แก้วใดๆจะประเสริฐกว่าพุทธรัตนะย่อมไม่มี จึงตกลงใจจะส่งพุทธรัตนะไปถวาย จึงสั่งให้ช่างนำแผ่นทองคำตีเป็นแผ่นบางแล้วให้เขียนรูปพระพุทธเจ้า ลงไปในแผ่นทองคำด้วยชาตหรคุณมีขนาดองค์ประมาณ 1 ศอกแล้วสั่งให้อำมาตย์เชิญพระพุทธรูปทองนั้นลงสู่สำเภาเพื่อนำไปถวายพระเจ้าปัญจาลราช ก่อนที่จะส่งราชทูตไป

    พระองค์ยกมือขึ้นประณมถวายนมัสการ โดยทรงระลึกถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย พระองค์มีความประสงค์จะสั่งสอนเวไนยสัตว์ในประเทศใดๆ ขอพระองค์ทรงเสด็จไปยังประเทศนั้นๆ แล้วยังประโยชน์ให้เกิด แก่สัตว์จำพวกนั้นเถิด พระเจ้าปัญจาลราชสหายของหม่อมฉันเป็นมิจฉาทิฎฐิ มีความเห็นผิดจากทำนองครองธรรม มิได้มีความเชื่อความเลื่อนใสในพระองค์ ถ้าพระองค์เสด็จไปยังพระนครนั้นแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดแสดงปาฎิหาริย์ทรมานพระเจ้าปัณจาลราชให้ละซึ่งมิจฉาทิฎฐิด้วยเถิด"

    อธิษฐานเสร็จแล้วเสด็จลงน้ำประมาณพระศอ(พระพุทธเจ้าอยู่บนเรือ ท่านจึงลงไปในน้ำซึ่งต่ำกว่า) เพื่อส่งรูปพระพุทธเจ้านั้นไปยังเมืองปัญจาลนคร

    ในขณะนั้น บรรดาแก้วอันเกิดในมหาสมุทรมีสีต่างๆก็ผุดขึ้นจากท้องมหาสมุทรลอยอยู่เหนือน้ำเพื่อบูชา พระพุทธรูปนั้น พื้นน้ำงามวิจิตรด้วยแก้ว 7 ประการประหนึ่งพื้นแห่งภาชนะทอง ดอกปทุมทั้งหลายก็ผุดขึ้น เหนือพื้นน้ำพญานาคทั้งหลายก็ได้พานาคบริษัทออกจากนาคพิภพขึ้นมาสักการบูชาด้วยสุคันธมาลา เทวดาทั้งหลายก็เรี่ยราย ดอกไม้ทิพย์ลงมาจากอากาศ เมื่อราชทูตไปถึงกรุงปัญจาลนครแล้ว จึงเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าปัญจาล แล้วกราบทูลเหตุอัศจรรย์ ให้ ทราบโดยตลอด ท้าวเธอทรงโสมนัสปรีดาในเครื่องบรรณาการเป็นยิ่งนัก ได้เสด็จออกพร้อมจตุรงคเสนารับสั่ง ให้ชาวเมืองประโคมแตรสังข์ กังสดาล เสด็จไปยังท่าน้ำ ถวายนมัสการสักการบูชา แล้วเสด็จลงไปในน้ำประมาณพระศอ ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปแล้วทรงยินดีทรงแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
    แล้วด้วยอำนาจความศัทธาของพระเจ้าปัญจาลราช และด้วยอำนาจอธิษฐานของพระเจ้ามหารถราช พระพุทธรูปนั้นก็ลอยขึ้นไปบนอากาศเปล่งรัศมี 6 ประการ จับพื้นปฐพีตลอดจนถึงพรหมโลก กลบแสงแห่งอาทิคย์ กลบแสงรัศมีเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ณ กาลนั้น ในคราวนั้นพระอินทร์ ได้เสด็จลงมาถวายนมัสการพร้อมด้วยเทพบริษัท มนุษย์ก็เห็นเทวดา เทวดาก็เห็นหมู่มนุษย์
    พระเจ้าปัญจาลราชเห็นปาฎิหาริย์เช่นนั้น ทรงโสมนัสยินดียิ่งนักได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระมนเทียร แล้วบูชาด้วยประทีปธูปเทียนชวาลา ทรงแสดงองค์เป็นอุบาสก
    ในเวลาต่อมาพระองค์ได้ให้ช่างแกะรูปพระพุทธเจ้าด้วยแก่นจันทน์แล้วประดิษฐานไว้ในศาลาไม้บุณนาค แล้วรับสั่งให้ชาวเมืองพากันมาปิดทองพระพุทธรูป ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นคนเข็ญใจในเมืองนั้น เมื่อได้ยินเสียงโฆษณาดังกล่าวแล้วตัดสินใจ อำลาลูกอำลาเมียเพื่อไปขายตัวให้เป็นทาส แล้วจะได้เงินมาซื้อทองปิดพระพุทธรูป แต่ด้วยความเห็นใจของภรรยา ภรรยาจึงยอมขายตนและลูกเป็นค่าทอง พระโพธิสัตว์นำลูกเมียไปขายในตระกูลที่มั่งคั่งแล้วนำไปซื้อทอง ปิดพระพุทธรูป
    เมื่อทองไม่พอจึงรำพึง "ใครหนอจักทำเนื้อมนุษย์ ให้เป็นทองได้ เราจักบริจาคตน " ในครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมายืนอยู่ตรงหน้าแสดงตนเป็นช่างทอง ต่อพระโพธิสัตว์ เมื่อทราบว่าช่างทองนั้นสามารถทำเนื้อให้เป็นทองได้จึงประกาศแก่เทพเทวดาขออาวุธเชือดเลือดเนื้อตกลงมา เมื่อได้ ศัสตราวุธแล้วพระโพธิสัตว์ก็เชือดเนื้อของตนจนตราบเท่าปิดทองสำเร็จ เกิดความยินดีโสมนัส สลบลงแทบเท้าพระพุทธรูป พระอินทร์ได้เยียวยาให้หายเป็นปรกติ แล้วเป็นผู้มีกายดุจสีทอง พระอินทร์ตรัสพยากร "
    ท่านจัดได้เป็นพระศรีสรรเพชญ์ ในอนาคต " แล้วพระอินทร์ก็กลับสู่วิมาน พระเจ้าปัญจาลราชพร้อมชาวเมือง ได้ทำการสักการบูชาแก่พระโพธิสัตว์ และแบ่งสมบัติให้พระโพธิสัตว์ เป็นอันมาก ครั้นดับขันธ์แล้วพระโพธิสัตว์ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเสวยสมบัติอันมโหฬาร
     
  20. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    40 อานิสงส์ การเจริญเมตตา

    เอวัม เม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม, สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร, ซึ่งเป็นอารามของอนาถปิณฑิกคฤหัสบดี ใกล้เมืองสาวัตถี ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขุ อามันเตสิ ภิกขะโวติ, ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภะทันเตติ ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง, ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว, ภะคะวา เอตะทะโวจะ,
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า, เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมตตาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตนี้, อาเสวิตายะ, อันบุคลบำเพ็ญจนคุ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว, พะหุลีกาตายะ ยานีกะตายะ, ทำให้มากคือ, ชำนาญให้เป็นยวดยานของใจ, วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ, ให้เป็นที่อยู่ของใจตั้งไว้เป็นนิตย์, ปะริจิตายะ, อันบุคคลส่งเสริมอบรมแล้ว บำเพ็ญดีแล้ว, เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขา, ย่อมมีอานิสงส์ สิบเอ็ดประการ, กะตะเม เอกาทะสะ, อานิสงส์สิบเอ็ดประการ อะไรบ้าง,

    (๑) สุขังสุปะติ, คือ (ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น) หลับอยู่ก็เป็นสุฃสบาย
    (๒) สุขัง พุชฌะติ, ตื่นขึ้นก็เป็นสุขสบาย,
    (๓) นะปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ, ไม่ฝันร้าย
    (๔) มะนุสสานัง ปิโยโหติ, เป็นที่รักของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย,
    (๕) อะมะนุสสานัง ปิโยโหติ, เป็นที่รักของเหล่าอมนุษย์ทั่วไป,
    (๖) เทวะตารักขันติ, เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา
    (๗) นาสสะอัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ, ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัตราก็ดี ย่อมทำอันตรายไม่ได้,
    (๘) ตุวะฎัง จิตตังสะมาธิยะติ, จิตย่อมเป็นสมาธิได้โดยเร็ว,
    (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ, ผิวหน้าย่อมผ่องใส,
    (๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ, เป็นผู้ไม่ลุ่มหลง ทำกาลกิริยาตาย,
    (๑๑) อุตตะรัง อัปปะฎิวำชฌันโต, พรัหมะโลกูปะโค โหติ, เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษอันยิ่งๆขึ้นไป, ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล,

    เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมตตาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตนี้, อาเสวิตายะ, อันบุคลบำเพ็ญจนคุ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว, พะหุลีกาตายะ ยานีกะตายะ, ทำให้มากคือ, ชำนาญให้เป็นยวดยานของใจ, วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ, ให้เป็นที่อยู่ของใจตั้งไว้เป็นนิตย์, ปะริจิตายะ, อันบุคคลส่งเสริมอบรมแล้ว บำเพ็ญดีแล้ว, เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขา, ย่อมมีอานิสงส์ สิบเอ็ดประการ, อิทะมะโว จะ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว, อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต, ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ก็มีใจยินดี, ภาสิตัง อะภินันทุนติ, พอใจในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, อิติ, ด้วยประการฉะนี้แล


    ที่มา:http://www.84000.org/anisong/13.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...