อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    8C5F3C92-7F67-40B1-B2DD-831F8EB9F54A.jpeg

    7A662ACF-3A61-4839-8EF0-FE58C771F8DD.jpeg

    B9791FB8-D2F2-4460-93A0-7BFC98BD82B0.jpeg

    หลังจากที่หลายๆอย่างต้องหยุดชะงักพักตัวลงไปถึง ๓ ปีเพราะโควิดเป็นเหตุ บัดนี้เมื่อโรคคลายตัวลงวงการพระก็เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง วัตถุมงคลย้อนยุคจากพระเกจิมีชื่อเช่น หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ก็กำลังจะเปิดจองกันและที่มาแรงตั้งแต่ปีก่อนจนถึงปีนี้ก็ยังไม่หยุดความร้อนแรงก็คือหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ร้อนแรงทั้งพระเก่าที่ทันหลวงปู่ราคาพุ่งทะยานสู่หลักแสนและหลักล้านอย่างน่าใจหาย วัตถุมงคลย้อนยุคดูๆแล้วตอนนี้นับเป็นร้อยๆรุ่นจากหลายกลุ่มผู้สร้าง

    ขอบารมีครูบาอาจารย์จงปกปักรักษาคุ้มครองทุกๆท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2023
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    1B7AADAD-23CE-43E1-B18C-71F74488678E.jpeg

    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

    พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือ หลวงปู่โต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เป็นบุตรของนายพลอย และนางทับ รัตนคอน มีพี่น้องอยู่ร่วมกัน 2 คน ซึ่งถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่ตั้งนานแล้ว ในวัยเด็ก เด็กชายโต๊ะ ได้เข้าเรียนวิชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว (จังหวัดสมุทรสงคราม) ใกล้บ้านเกิดของท่าน เมื่อมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว เห็นความขยันหมั่นเพียรของเด็กชายโต๊ะ จึงได้พาเด็กชายโต๊ะ มาฝากอยู่กับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้น ส่วนนายเฉื่อยก็ไม่ได้ตามมาด้วย คงอยู่ที่วัดเกาะแก้วเหมือนเดิม ท่านได้มาเรียนหนังสืออยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีอยู่เป็นเวลาอยู่ 4 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 17 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปการะท่านต่อมา เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็มาเรียนศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งต่อมามีพระอธิการคำ เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา พร้อมทั้งเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์พรหม วัดประดู่ฉิมพลีอีกท่านหนึ่งด้วย จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี สามเณรโต๊ะ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า อินทสุวัณโณ หลงจากนั้น ท่านได้เรียนศึกษาปฏิบัติคันทธุระ วิปัสสนาธุระ หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนมีความเพียรพยายาม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาพระอธิการคำ ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456

    ออกธุดงค์
    ต่อมาหลวงปู่โต๊ะ ได้ออกธุดงค์จาริกไปทั้วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ท่านได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรม โดยได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เรียนวิชาพุทธาคม และได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และก็ได้ธุดงค์ไปยังภาคเหนือเพื่อศึกษาวิชากับพระอาจารย์อีกหลายท่าน และในขณะที่ท่านเดินธุดงค์ ท่านก็ได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชสิทธาราม ส่วนสหธรรมิกของท่านที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อกล้าย วัดหงส์รัตนาราม และต่อจากนั้น ท่านก็เดินทางไปยังภาคใต้ ไปที่จังหวัดปัตตานี และเมื่อหลวงปู่ท่านกลับมาที่ จังหวัดธนบุรี กลับมายังวัดประดู่ฉิมพลี ท่านก็ได้สร้างพระพุทธบาทจำลอง

    ปฏิปทาและจริยาวัตร
    หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนที่มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม มีกริยามารยาทที่งดงาม มีความสุภาพอ่อนโยน มีความเมตตากรุณาต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้ และท่านได้เคยเจอเกี่ยวกับโรคระบาด หลวงปู่ท่านเห็นคนหลายคนไม่สบาย ท่านก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะท่านเองก็เป็นโรคนี้ด้วยเหมือนกัน ท่านจึงตั้งจิตว่า หากท่านยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านจงหายจากโรคนี้ แต่ถ้า ท่านหมดบุญแล้ว ก็ขอให้ตายซะ ในตอนกลางคืน ท่านได้นิมิตว่า หลวงพ่อบ้านแหลมได้นำน้ำพระพุทธมนต์มาเจริญให้ ตื่นมาท่านก็มาเจริญน้ำพระพุทธมนต์ และสุดท้ายท่านก็หายจากโรคนี้

    เบื้องปลายชีวิต
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่านได้เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ตั้งแต่ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีผู้คนมานิมนต์ท่านให้ออกมาให้พร หรือ ขอความช่วยเหลือ ท่านจึงไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน สุขภาพท่านจึงไม่ค่อยแข็งแรง แต่ยังพอฉันอะไรได้ แม้จะรักษาอย่างดีเท่าใด แต่สุขภาพ กายสังขารของท่านก็ไม่อาจจะทนไหว ท่านได้อาพาธครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 และก่อนมรณภาพได้เพียง 7 วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 คณะลูกศิษย์ทีเป็นพยาบาล ได้มาถวายรังนกอีก แต่คราวนี้สังเกตได้ว่า แขนของท่าน บวม ท่านอยู่ได้จนกระทั่งเมื่อเวลา 9:55 น. ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ 93 ปี 73 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษ เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน 100 วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

    สมณศักดิ์
    หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ ได้รับสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

    พ.ศ. 2457 - เป็นพระครูสัญญาบัตรฐานานุกรมในสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ที่ พระครูสังฆวิชิต
    พ.ศ. 2463 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูวิริยกิตติ์
    พ.ศ. 2497 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2506 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2511 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2516 - เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสังวรวิมลเถร
    พ.ศ. 2521 - เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวราภิมณฑ์ โสภณภาวนานุสิฏฐ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

    ที่มา: วิกีพีเดีย
     
  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    752C26C3-E94B-4491-9387-FE32430F06E3.jpeg

    899F7A65-6EB3-4BE6-8C35-EF8CEAD7A1BA.jpeg

    CE9B158A-6BB8-4F72-9786-38ECECB6FF61.jpeg

    C9119A2B-9A09-4D9C-9F34-CE77DE5041E2.jpeg

    5442CD0B-470E-4827-A6A7-C63E87B38341.jpeg

    9F3B1AEB-A5D7-404D-94C0-3BEEE85723CE.jpeg

    วัดประดู่ฉิมพลี

    วัดประดู่ฉิมพลีนี้เดิมเรียกว่าวัดสิมพลี เดี๋ยวนี้ชาวบ้านเรียกว่า วัดประดู่นอกคู่กับวัดประดู่ในหรือวัดประดู่ในทรงธรรม จะเป็นวัดมีมาแต่เดิมหรือไม่ไม่ทราบได้

    สมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาพิชยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่ครั้งยังเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า ได้สถาปนาขึ้นเมื่อปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาสำเร็จบริบูรณ์เอาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ้นเวลาถึง ๘ ปี วัดประดู่ฉิมพลี อยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ มีเนื้อที่เฉพาะเขตอาราม ไม่รวมที่ธรณีสงฆ์ถึง ๑๓ ไร่เศษ จัดว่าเป็นวัดใหญ่และงดงามมั่นคงมาก ผิดกว่าวัดที่เป็น “วัดราษฎร์” ทั่วไป

    ด้วยเหตุที่ท่านผู้สร้างท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีสูงในแผ่นดิน คือเป็น “ผู้สำเร็จราชการในพระนครทุกสิ่งทุกพนักงาน” ทั้งยังว่าการพระคลังสินค้าด้วย ภูมิสถานที่ตั้งวัด คิดดูในสมัยก่อนจะต้องสง่างามอย่างยิ่ง ด้วยเขตวัดด้านหน้าจดคลองบางกอกใหญ่ (บางหลวง) ซึ่งเป็นคลองใหญ่ตลอดแนว มีศาลาท่าน้ำ มีลานหน้าวัดกว้างขวาง เขตพุทธาวาสมีกำแพงก่ออิฐถือปูน มีบัวทั้งข้างล่างข้างบนตลอดแนว บนกำแพงทำเป็นเสาหัวเม็ดยอดปริกห้าชั้น ลานหน้าวัดภายในกำแพงปูด้วยแผ่นหินแกรนิตจากเมืองจีนทั้งหมด ตรงกำแพงด้านหน้าเป็นประตูเข้าสู่พุทธาวาส ซึ่งประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่เป็นหลักของวัด คือ

    ๑. อุโบสถขนาดใหญ่กว้าง ๖ วา ๒ ศอก ยาว ๑๖ วา ตั้งอยู่ลึกเข้าไปใกล้กับกำแพงด้านใน หรือด้านในขนานกับลำคลอง หน้าวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

    ๒. ถัดอุโบสถออกมาตรงกลางสร้างพระเจดีย์ทรงรามัญ องค์เจดีย์กลม แต่ฐานกับบัลลังก์เป็นแปดเหลี่ยม มีบัวประดับที่เชิงระฆัง ที่เหนือบัลลังก์ และที่ใต้ปลียอด กับ มีเครื่องประดับประดาที่ยอดดังเช่นเจดีย์รามัญทั้งหลายทั่วไป เจดีย์นี้สร้างไว้เหนือเรือนตึกแปดเหลี่ยม ซึ่งเสามีรายและและมีชานโดยรอบทำนองมณฑปแต่เรียกกันว่าวิหาร ภายในวิหารเดิมจะประดิษฐานสิ่งใดไม่ทราบแน่ ปัจจุบันนี้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็นของทำในชั้นหลัง

    ๓. ข้างนอกออกมามีวิหารน้อยมีมุขหน้าหลัง ๒ หลัง อยู่ตะวันออกหลังหนึ่ง ข้างตะวันตกหลังหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศใต้ ลงคลองบางกอกใหญ่ หลังตะวันออกประดิษฐานพระยืน หลังตะวันตกประดิษฐานพระไสยาสน์.

    ๔. หน้าวิหารน้อยทั้งสองนั้นมีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุขขนาดย่อมอีกหลังละองค์

    ๕. นอกจากนี้ก็มีหอวัดระฆังและหอพระไตรปิฎก

    ซึ่งบัดนี้รื้อลงสร้างหอสมุดแทน สังฆาวาสอยู่ลึกลงไปทางข้างใต้ จะเป็นอย่างไรไม่ทราบแน่ เพราะรื้อลงปรับปรุงใหม่เกือบหมดแล้ว เหลือแต่กุฏิใหญ่ที่เป็นกุฏิเจ้าอาวาสหลังเดี่ยว นั่งสมาธิในอุโบสถ วัดประดู่ฉิมพลี อาคารอันเป็นอุโบสถวิหารทั้งหมดสร้างตามแบบที่เรียกกันว่าเป็น “พระราชนิยม” ในรัชกาลที่ ๓ คือเป็นแบบที่มุ่งหมายให้ความมั่นคงถาวรยิ่งกว่าอื่น

    อุโบสถวัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งสร้างในครั้งนั้นจึงสร้างตามแบบพระราชนิยมดังกล่าว คือยกฐานสูงสองชั้น เป็นฐานรองตัวอุโบสถชั้นหนึ่ง เป็นชานโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดขึ้นที่ฐานทั้ง ๔ ด้าน ภายในอุโบสถที่ยื่นมาปกคลุมมุขหน้าหลังและชานโดยรอบอุโบสถ หน้าบันเป็นแบบกะเท่เซ ปั้นลายปูนประดับกระเบื้องเคลือบต่างสี ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายปูนเป็นลายดอกไม้ใบไม้บานประตูหน้าต่างปิดทอง ประดับกระจกลายยาเป็นทำนองลายแก้วเชิงดวง ผนัง เพดาน ภายในเขียนลายฮ่อ (ซึ่งบัดนี้ลบเสียเกือบหมดแล้ว) แต่ฐานพระประธานนั้นทำเป็นฐานสิงห์ ปั้นปูนปิดทองประดับกระจกอย่างไทย ให้สมกับองค์พระที่เป็นแบบสุโขทัย พระประธานวัดประดู่ฉิมพลีนี้

    สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติท่านพยายามเสาะแสวงหาและเลือกสรรอย่างยิ่ง มีความกล่าวในประวัติวัดบวรนิเวศวิหารว่า เจ้าอธิการวัดอ้อยช้าง (เรียกวัดบางอ้อก็เรียก) จังหวัดนนทบุรี จำชื่อไม่ได้ ไปเชิญเอาพระศาสดามาแต่จังหวัดพิษณุโลก จะมาไว้ที่วัดอ้อยช้าง สมเด็จเจ้าพระยาท่านทราบเข้าจึงไปขอมาเป็นพระประธานวัดประดู่ฉิมพลีที่สร้างใหม่ ครั้นความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเข้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าพระศาสดาเคยอยู่กับพระพุทธชินสีห์มาก่อน จึงมีพระบรมราชโองการให้ไปเชิญพระศาสดาจากวัดประดู่ฉิมพลีมาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่ขณะที่เชิญมานั้น ยังสร้างพระวิหารไม่เสร็จ โปรดให้นำไปไว้ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ชั่วคราวก่อน เมื่อเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก พ.ศ. ๒๓๙๖

    เมื่อมีพระพระบรมราชโองการให้เชิญพระศาสดาไปแล้ว กล่าวกันว่าสมเด็จเจ้าพระยาท่านไปเลือกสรรพพระพุทธรูปจากวัดอ้อยช้างได้อีกองค์หนึ่ง ขนาดไล่เลี่ยกับพระพระพุทธรูปสุโขทัยทั่วไป จัดเป็นพระพุทธรูปที่งดงามวิเศษหายากยิ่งนัก ควรที่ผู้สนใจจะหาโอกาสชมและศึกษา วัดประดู่ฉิมพลีมีพระสังฆาธิการปกครองเป็นเจ้าอาวาสตามลำดับมา แต่มิได้มีการบันทึกไว้ จึงไม่สามารถจะเรียงรายนามเจ้าอาวาสได้ครบ เพียงแต่จำกันได้ว่ามีพระอธิการแผว พระอธิการสุข และอธิการคำ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๕ จึงปรากฏนามพระอธิการโต๊ะเป็นเจ้าอาวาส ตามเอกสารประวัติพระสมณศักดิ์ และท่านได้ครองวัดยั่งยืนมาช้านานถึง ๖๙ ปี จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔

    ที่มา: https://www.amulet7.com/article/56/ประวัติ-หลวงปู่โต๊ะ-พระราชสังวราภิมณฑ์-โต๊ะ-อินทสุวณณเถร
     
  4. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    479B572C-540B-4F62-A387-7814D248D294.jpeg

    85EFA486-C47C-405C-A992-F084BE9273A3.jpeg

    A6E116E7-77F8-4B27-8277-EFB0E33E2D99.jpeg

    EA6C6A98-506A-49AF-AC8B-BF784A882102.jpeg

    0F6C7699-4F8B-4DAF-8FCF-0170857088D2.jpeg

    4244794B-C2A1-4AC9-B451-F3EF0A6CCCAC.jpeg

    BB821F96-0368-49EE-A825-51379A3CDCCA.jpeg

    29229E1D-E66F-4D87-AE9F-0A55861959AF.jpeg

    BB0E6C35-5AA2-40D1-B578-F484726AAC3E.jpeg

    อุโบสถวัดประดู่ฉิมพลี สร้างแบบศิลปะพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ ๓ ดูงดงามภูมิฐาน ภายในมีความสงบร่มเย็น ปัจจุบันอุโบสถมีความชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางวัดเองก็มิได้นิ่งนอนใจแต่เนื่องจากตัวอุโบสถถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน การจะซ่อมแซมจึงมีขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการให้ถูกระเบียบ แต่ทราบมาว่าตอนนี้ทุกอย่างใกล้จะพร้อมแล้ว คงจะได้มีการบูรณะให้กลับมางดงามในเร็วๆนี้
     
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    46699681-8EF6-43F3-8FD9-B7F6AC915184.jpeg

    54EF800C-7058-4C31-BCD2-9776FDDBE1FC.jpeg

    19231EAC-CE00-4D95-8E64-D6DBFC488DEC.jpeg

    036A384E-985F-4433-928A-3E62B8969226.jpeg

    36BE1E97-0F2F-4429-91B3-5DBA615E7C02.jpeg

    B63EA5D1-ADFE-456C-AD6F-14ED4846606E.jpeg

    465B6B75-CA3D-4F84-8FB0-764D5BCDA8B2.jpeg

    A491F1CE-332A-49F6-863F-3E6B66BC27CE.jpeg

    พระประธานในอุโบสถวัดประดู่ฉิมพลี มีนามว่า “หลวงพ่อสุโขทัย หรือพระพุทธสัมพันธมุนี” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 99 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้มีเรื่องเล่าว่า เมื่อวัดสร้างแล้วเสร็จนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ได้เพียรพยายามเสาะหาพระพุทธรูปที่สวยงาม เพื่อนำมาประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า เจ้าอธิการวัดอ้อยช้าง หรือวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ได้อัญเชิญพระพุทธรูป “พระศาสดา” มาจากจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดอ้อยช้าง แต่ความทราบไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ท่านจึงไปอัญเชิญมาประดิษสถานที่วัดประดู่ฉิมพลี

    หากแต่ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสียก่อน จึงทรงมีพระบรมราชโองการลงมาว่า เนื่องจาก “พระศาสดา” เป็นพระพุทธรูปสำคัญอยู่คู่กับ “พระชินสีห์” มาก่อน จึงให้อัญเชิญพระศาสดา จากวัดประดู่ฉิมพลี มาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

    เมื่อพระประธานของวัดประดู่ฉิมพลีไม่มีแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ จึงได้ไปเลือกหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะพุทธศิลป์ที่สวยงาม และมีขนาดเท่ากับ “พระศาสดา” จากวัดอ้อยช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะศิลปะสุโขทัย พระพักตร์เอิบอิ่ม ผิวองค์พระดั่งทองคำ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดประดู่ฉิมพลี และได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระสุโขทัย” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อสุโขทัย”


    ที่มา: http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21885.0
     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    467AFC02-52C1-4F0A-BED9-81F7B3AFA9C9.jpeg

    358643AC-D784-4DB2-8B2D-5F854112296E.jpeg

    3F834D14-4E52-444B-B3CB-662C1832E087.jpeg

    6226BE09-6BAD-4DBB-9517-BFE064A8DC0C.jpeg

    4BB52096-EFF7-460A-934A-BA3B0070CC51.jpeg

    52682B80-27B5-47F0-9EFE-99E97229E993.jpeg

    06EB439A-D3A6-478B-84E4-7E919E8C313A.jpeg

    วิหารแปดเหลี่ยม วัดประดู่ฉิมพลี

    เป็นวิหารที่ยอดเป็นเจดีย์ทรงรามัญ ไม่ค่อยได้พบเห็นทั่วไป มีความงดงามมาก

    เจดีย์กลมทรงรามัญ เป็นเจดีย์กลม ฐานกับบัลลังก์เป็นแปดเหลี่ยม มีบัวประดับที่เชิงระฆังที่เหนือบัลลังก์ และที่ใต้ปลียอด มีเครื่องประดับแบบเจดีย์รามัญทั่วไป มีเสารายและชานโดยรอบ ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2023
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    E10978A0-4AB1-4EC3-9B81-6165F127E8B7.jpeg

    EB8C9342-9465-44CB-B0C1-71A96AEC370F.jpeg

    722EAF7E-7ACE-482B-B8FA-91B52B307ABC.jpeg

    F4520BEF-1263-4816-A5C3-C028079022CB.jpeg

    32314CD2-95C0-408F-9593-131A4E9FA296.jpeg

    3A052FDC-1F03-40CC-9AC7-0ABD1AB04F64.jpeg

    DCDB50F8-C168-46A8-B396-1F9D39BAAABC.jpeg

    วิหารพระยืน วัดประดู่ฉิมพลี ภายในประดิษฐานหมู่พระพุทธรูปสมัยต้นรัตนโกสินทร์
    และรูปเหมือนยืนหลวงปู่โต๊ะ
    ด้านหน้าวิหารมีรูปหล่อ
    ท้าวเวสสุวรรณ ๒ องค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2023
  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    5B915D93-51C5-447F-B880-AD3B9C8F82C7.jpeg

    4CC0407E-700C-4056-864F-365FB6E62413.jpeg

    D6F7B376-3C61-45C5-A015-0D2687346274.jpeg

    วิหารพระนอน อยู่ฝั่งตรงข้ามกับวิหารพระยืน พระนอนองค์นี้งดงามมากและเป็นพระนอนตะแคงซ้ายต่างจากพระนอนทั่วๆไป นัยยะว่าเป็นการกลับร้ายกลายเป็นดี

    ปล. พระนอนองค์นี้มีปัญหาเรื่องความชื้น มีการบูรณะกันหลายครั้ง มีเปลี่ยนสีกันไปบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2023
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    933FD29B-87E5-489A-AB3F-0A17B63276F7.jpeg

    54B95256-C3CE-495C-A7F3-CD25E431C5C5.jpeg

    B4D5D584-D627-4A50-82FB-A6F5E9EB87CD.jpeg

    8CA4B875-D94C-4FF1-AA91-E04C4632058D.jpeg

    77A5CBC5-4AE7-4F48-BDE3-CE83E042C922.jpeg

    C4556D8B-F851-418C-9286-19929D628F0A.jpeg

    ศาลาพระราชสังวราภิมณฑ์

    หรือศาลาหลวงปูโต๊ะ เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงปู่โต๊ะ ในแต่ละวันจะมีผู้เลื่อมใสศรัทธามากราบขอพรจากองค์หลวงปู่กันไม่ขาดสาย

     
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    8EB8BF54-5B02-4F2E-B596-B9B14995233B.jpeg

    64B45700-21E1-495B-91A1-A199EFFB0BC8.jpeg

    46A3C8EC-F5FE-445B-97C6-3973D5182E62.jpeg

    5E47A690-F9A3-4F37-A8E3-ED9694C28AC3.jpeg

    รูปหล่อหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ล่าสุดเพิ่งถ่ายเมื่อสองสามวันนี้ครับ
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    525775DA-375F-42EE-A743-3CF2E8377E90.jpeg

    EB738D83-A2D0-4355-8D94-2170F9978E17.jpeg

    1DC727AD-6F50-4B6A-8032-76E09FC70890.jpeg

    ED3663FA-413D-40A5-9C4A-885B2AE28CFC.jpeg

    361179E9-D526-4401-A250-D6F4EAF3D348.jpeg

    16965FE8-200B-4E86-9852-F3B762CC59F7.jpeg

    หุ่นขี้ผึ้ง(ไฟเบอร์กลาส)หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    เป็นหุ่นไฟเบอร์กลาสพระอริยสงฆ์องค์แรกของประเทศ สร้างหลังจากหลวงปู่มรณะภาพได้ไม่นาน มีความงดงามมากคล้ายกับหลวงปู่ยังคงนั่งแผ่เมตตาให้กับเหล่าศิษยานุศิษย์ที่มากราบไหว้ขอพร
     
  12. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    C9BC10F3-077A-4C26-AB32-4293702A9F7B.jpeg

    248583D1-C301-495C-858D-340401B6A9FB.jpeg

    BF25BC66-A7A7-4F0C-A4BF-76E1C2B253A2.jpeg

    39824427-2B02-411B-8F63-00DCA26BDAD0.jpeg

    F9B2A2CE-1903-4EC2-B7E1-00C6A1650725.jpeg

    ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก

    ชาติภูมิ

    พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล หนูศรี เดิมชื่อ "ดู่" ท่านเกิดในวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปีมะโรง พ.ศ ๒๔๔๗ เป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านสามเขา ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ ๒๔๔๗ (ข้อมูลจากปฏิทิน 100 ปี) โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง มีโยมพี่สาว ๒ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑ ทองคำ สุนิมิตร (พี่สาว)
    ๒ สุ่ม พึ่งกุศล (พี่สาว)
    ๓ หลวงปู่ดู่

    ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาดความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เยาว์วัย นายยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่านได้เล่าให้ฟังว่า บิดา มารดาของท่านมีอาชีพทำนาโดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย เมื่อตอนที่ท่านเป็นเด็กทารกมีเหตุการณ์สำคัญ ที่ควรจะบันทึกไว้คือ วันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำ ขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอดขนมไข่มงคลอยู่นั้น ท่านซึ่งถูกวางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียวไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกน้ำทั้งคนทั้งเบาะ แต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขเลี้ยงที่บ้านท่านมาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างตัวท่าน กับมารดาท่าน เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมาจึงได้พบว่าท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้างรั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่าท่านจะต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนามากมาเกิดต่อมา เมื่อท่านอายุ ๔ ขวบ มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม และบิดาของท่าน ก็ได้จากไปอีกคน

    ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้ ท่านได้อาศัยอยู่กับยาย โดยมีโยมพี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรมและวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

    สู่เพศพรหมจรรย์

    เมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำเดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการามเป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้น เป็นพระ กรรมวาจาจารย์และมีหลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ท่านได้รับฉายาว่า "พรหมปัญโญ" ในพรรษาแรก ๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม โดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือท่านเจ้าคุณเนื่อง ,พระครูชม ,และหลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านก็ได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่นผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่ในชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่รักการศึกษาค้นคว้า ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่าน ทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี และสระบุรี ประมาณพรรษาที่ ๓ ท่านก็ได้เดินธุดงค์ออกจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งตรงสู่จังหวัดสระบุรี กราบนมัสการพระพุทธฉายและรอยพระพุทธบาท จากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยใช้เวลาเดินธุดงค์ประมาณ ๓ เดือน หลวงปู่ดู่ ท่านได้ตัดสินใจไม่รับกิจนิมนต์ไปนอกวัดตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ ๒๔๙๐ เพื่อที่จะใช้เวลาปฏิบัติ และโปรดญาติโยม ซึ่งท่านให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิบัติภาวนาอย่างที่สุด

    อยู่มาวันหนึ่ง เข้าใจว่าก่อนปี พ.ศ ๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากที่หลวงปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็น และปฏิบัติกิจส่วนตัว เสร็จเรียบร้อยแล้วท่านก็จำวัด เกิดนิมิตไปว่า ท่านได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างเข้าไป ๓ ดวงในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกว่ากรอบดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมด แล้วจึงตกใจตื่น เมื่อท่านมาพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตที่เกิดขึ้นก็เข้าใจได้ว่า แก้ว ๓ ดวงนั้นจะต้องเป็นแก้ว ๓ ประการ ได้แก่พระไตรสรณคมน์ เมื่อหลวงปู่ว่า "พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่าน จนท่านเกิดความมั่นใจว่าพระไตรสรณคมน์นี้เป็นแก่นแท้ และรากแก้วของพระพุทธศาสนา การสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ หรือการขอบรรพชาอุปสมบท ก็ต้องว่าไตรสรณคมน์นี้ทุกครั้ง ท่านจึงกำหนดเอาเป็นองค์ภาวนา

    ในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น ท่านว่า "ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า" ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัดเป็นที่รับรองสานุศิษย์ และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นความเมตตาอย่างสูง สำหรับผู้ที่ไปกราบนมัสการท่านบ่อย ๆ หรือผู้ที่มีโอกาสได้ฟังท่านสนทนาธรรมก็คงได้เห็นวิธีการสอนของท่าน ซึ่งท่านจะโน้มน้าวผู้ฟังให้วกเข้าสู่การปรับปรุงแก้ไขตนเอง เช่นครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟังในเชิงว่ากล่าวว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก ท่านกลับไม่เออออตามอันจะทำให้เรื่องบานปลายออกไป ท่านก็กล่าวปรามว่า "เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเราเป็นเรื่องธรรม"

    อุบายธรรม

    หลวงปู่ดู่ เป็นผู้ที่มีอุบายธรรมลึกซึ้ง สามารถขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล เช่นครั้งหนึ่งมีนักเลงเหล้าติดตามเพื่อนซึ่งเป็นลูกศิษย์มากราบนมัสการท่าน สนทนากันได้สักพักหนึ่งนักเลงเหล้าผู้นั้นก็แย้งว่า จะให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติได้ยังไง ก็ผมยังกินเหล้าเมาอยู่นี่ครับ หลวงปู่ดู่ท่านก็ตอบว่า "เอ็งจะกินก็กินไปซิข้าไม่ว่า แต่ให้เองปฏิบัติให้ข้าวันละ ๕ นาทีก็พอ" นักเลงเหล้าผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละ ๕ นาทีไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร จึงได้ตอบปากรับคำจากหลวงปู่ ด้วยความที่เป็นคนมีนิสัยทำอะไรทำจริงซื่อสัตย์ต่อตนเอง ทำให้เขาสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอเรื่อยมามิได้ขาดแม้แต่วันเดียว บางครั้งถึงกับงดไปกินเหล้ากับเพื่อน ๆ เพราะได้เวลานั่งปฏิบัติ จิตของเขาเริ่มเสพคุ้นกับความสุขสงบจากการที่จิตเป็นสมาธิ ไม่ช้าไม่นานเขาก็สามารถเลิกเหล้าได้โดยไม่รู้ตัว ด้วยอุบายธรรมที่น้อมนำมาจากหลวงปู่ ต่อมาเขาได้มีโอกาสมานมัสการกราบหลวงปู่อีกครั้ง ที่นี้หลวงปู่ดู่ท่านให้โอวาทว่า "ที่แกปฏิบัติอยู่ให้รู้ว่าไม่ใช่เพื่อข้า แต่เพื่อตัวแกเอง" คำพูดของหลวงปู่ทำให้เขาเข้าใจอะไรมากขึ้น ถัดจากนั้นอีกประมาณ ๕ ปีเขาผู้ที่อดีตเคยเป็นนักเลงเหล้า ก็ละจากเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิต ตั้งใจปฏิบัติธรรมอยู่นับแต่นั้นตลอดมา

    อีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านหาปลามากราบนมัสการท่าน ก่อนกลับท่านให้เขาสมาทานศีล ๕ เขาเกิดตะกิดตะขวงใจกราบเรียนท่านว่า “ผมไม่กล้าสมาทานศีล ๕ เพราะรู้ว่าเดี๋ยวก็ต้องไปจับปลาจับกุ้ง มันเป็นอาชีพของผมครับ” หลวงปู่ตอบเขาด้วยความเมตตาว่า “แกจะรู้หรือว่าแกจะตายเมื่อไหร่ ไม่แน่ว่าแกเดินออกไปจากกุฏิข้า แล้วอาจถูกงูกัดตายเสียกลางทางก่อนไปจับปลา จับกุ้ง ก็ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อตอนนี้แกยังไม่ได้ทำบาปกรรมอะไร ยังไง ๆ ก็ให้มีศีลไว้ก่อน ถึงจะมีศีลขาดก็ยังดีกว่าไม่มีศีล”

    และอีกครั้งหนึ่ง มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ คน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่าน มากราบลาท่านพร้อมกับเรียนให้ท่านทราบว่า จะเดินทางไปพักค้างเพื่อปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ท่านฟังแล้วก็ยกมือพนมขึ้นไหว้ไปทางข้าง ๆ พร้อมกับพูดว่า “ข้าโมทนากับพวกแกด้วย ตัวข้าไม่มีโอกาส” ไม่มีเลยที่ท่านจะห้ามปราม หรือแสดงอาการที่เรียกว่าหวงลูกศิษย์ ตรงกันข้ามมีแต่จะส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจ เพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านขวนขวายในการปฏิบัติธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีลูกศิษย์มาเรียนให้ท่านทราบ
    ถึงครูบาอาจารย์องค์นั้นองค์นี้ ในลักษณะตื่นครูอาจารย์ ท่านก็จะปรามเพื่อวกเข้าสู่เจ้าตัว โดยท่านจะเตือนสติว่า “ครูบาอาจารย์ดี ๆ มีอยู่มากมาย แต่สำคัญที่ว่าต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มาก นั่นแหละจึงจะดี”

    แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือ การปฏิบัติ ดังจะเห็นได้จากคำพูดของท่านที่ว่า "เอาของจริงดีกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" นี่แหละของแท้ จากคำพูดนี้จึงเสมือนเป็นการยืนยันว่า การปฏิบัติภาวนานี้แหละเป็นที่สุดแห่งเครื่องรางของขลัง ดังที่ท่านเคยกล่าวว่า

    "สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็คือกรรม" ดังนั้นจึงมีแต่พระสติ พระปัญญา ที่ฝึกฝนอบรมดีแล้วเท่านั้น ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้เท่าทันนั่นหมายถึงสิ่งที่จะต้องเป็นไปพร้อม ๆ กันก็คือ ความพากเพียรที่ลงสู่ภาคปฏิบัติ ในมรรควิถี ที่เป็นสาระแห่งชีวิตของผู้ไม่ประมาท ดังที่ท่านพูดย้ำเสมอว่า "หมั่นทำเข้าไว้ ๆ"

    ที่มา: https://www.komchadluek.net/pr-news/amulet/484415





     
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    37C77CFC-2B50-471F-AAA0-5D18CE28AD3A.jpeg

    24E68BB0-D480-4FEE-A174-8A8C1DFA4913.jpeg

    492B68BA-4678-4879-9E6F-12D560DB06DB.jpeg

    19E5B473-1ACC-48C8-8357-53E28BB26C83.jpeg

    DE959203-779C-4630-BCC1-279479C92F38.jpeg

    EE0BFA1A-8CCD-4994-8EAB-3884BDF67C78.jpeg

    กุศโลบายในการสร้างพระ

    หลวงปู่ท่านไม่ได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้างหรืออนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลก็เพราะเห็นประโยชน์ด้วยบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ท่านเองมิได้จำกัดสิทธิ์อยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นคณะศิษย์ของท่านจึงมีกว้างขวางออกไปทั้งที่ใส่ใจในธรรมล้วน ๆ หรือที่ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะไปติดวัตถุอัปมงคล” ทั้งนี้ท่านย่อมใช้ดุลย์พินิจพิจารณาตามความเหมาะสม ตามความเหมาะสมควรแก่ผู้ที่ไปหาท่าน

    วัตถุมงคลพระบูชาต่าง ๆ ที่ท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้แล้วนั้นปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่าง ๆ เช่นแคล้วคลาด เป็นต้น นั่นก็เป็นเพียงผลพลอยได้ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางโลก แต่ประโยชน์ที่ท่านผู้สร้างมุ่งหวังอย่างแท้จริงนั้นก็คือใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติกรรมฐานเป็นต้น

    นอกจากนี้แล้วผู้ปฏิบัติยังได้อาศัยพลังจิตที่ท่านตั้งใจบรรจุไว้ในพระเครื่องช่วยน้อมนำและประคับประคองให้จิตรวมสงบได้เร็วขึ้น ตลอดถึงการใช้เป็นเครื่องสร้างเสริมกำลังใจ และระงับความหวาดวิตกขณะปฏิบัติอีกด้วย สิ่งนี้ถือเป็นประโยชน์ทางธรรมซึ่งจะก่อให้เกิดพัฒนาการทางจิตของผู้ใช้ไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ เพราะการที่เราได้อาศัย พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ และสังฆัง สรณัง คัจฉามิ คือได้ยึดได้อาศัยเอาพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะในเบื้องต้นก่อน

    การสร้างพระ (วัตถุมงคล)

    การสร้างผงพุทธคุณของหลวงปู่ดู่นั้น ท่านได้เริ่มสร้างตั้งแต่ท่านบวชในพรรษาที่ ๓ เรื่อยมากว่า ๓๐ ปี ท่านจะสร้างและเก็บเอาไว้ในโอ่งมังกรราว ๆ ๓ โอ่ง โดยท่านจะใช้ดินสอพองปั้นเป็นแท่งเขียนยันต์อักขระต่างๆบนกระดานชนวนจนหมด แล้วนำผงที่ได้มาปั้นผสมกับน้ำข้าวเป็นแท่งยาวราว ๓-๔ นิ้ว ให้ได้จำนวน ๘ แท่งแล้วนำมาเขียนยันต์จนหมดแล้วลบผงปั้นขึ้นใหม่อีก ๘ แท่ง แล้วนำมาเขียนเลขยันต์จนหมดก็ลบผงเพื่อนำมาปั้นใหม่ ท่านจะทำเช่นนี้ ๗ ครั้ง ผงที่ได้จึงจะเป็นผงพุทธคุณ ที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระได้ท่านสร้างพระอย่างปราณีต นอกจากผงพุทธคุณของท่านแล้ว ด้วยมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญต่างๆที่ท่านใช้สร้างพระล้วนมาจากครูอาจารย์ และมวลสารจากสถานที่อันอุดมมงคลอีกมากมาย ท่านสร้างพระอย่างเรียบง่ายแต่ตั้งไว้ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ แม้กระทั้งในเรื่องของแบบพิมพ์ ท่านก็จะคิดหาวิธีการสร้างพระด้วยองค์ท่านเอง มาตั้งแต่ต้น เช่นในวาระหนึ่งในช่วงต้น ๆ ของการสร้างวัตถุมงคล พระบุญเรือง อนุรกฺกโม (หลวงลุงดำ) พระรูปสำคัญของวัดสะแกผู้เป็นศิษย์อีกหนึ่งรูปในองค์หลวงปู่ดู่ท่าน ได้เคยเล่าให้ฟังถึงความเมตตาในการสร้างวัตถุมงคลขององค์หลวงปู่ดู่ท่านด้วยการคิดค้นหาวิธีการทำแม่พิมพ์ด้วยองค์ท่านเอง ทั้งการใช้ดินเหนียวจากบ่อน้ำมนต์มาผสมกับน้ำมัน หรือการคิดค้นด้วยวิธีต่าง ๆ จนทำให้มีวัตถุมงคลในวาระหนึ่งเรียกว่าพระบล๊อคดินเหนียว เป็นต้น นี่เป็นตัวอย่างนึงจากทั้งหมด ที่แสดงให้ผู้ศรัทธาในปัจจุบันได้เห็นแล้วว่า ความเมตตาขององค์หลวงปู่ดู่ท่านนั้นเกินประมาณ ท่านสร้างวัตถุมงคลด้วยเจตนาหลักซึ่งสำคัญที่สุดคือการที่จะให้ศิษย์หรือผู้ศรัทธาได้ใช้วัตถุมงคลของท่านเป็นเครื่องปฏิบัติภาวนาที่จะสามารถพาให้เข้าใกล้พระศาสนาได้มากยิ่งขึ้น

    อีกทั้งเรื่องของแบบพิมพ์พระในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีมากมายเท่าไหร่ก็ล้วนเป็นไปด้วยการสอดแทรกเรื่องราวของพุทธสมัยในวงกรอบของพระรัตนตรัยให้ศิษย์หรือผู้ศรัทธาได้ใช้ยึดเป็นที่พึ่ง ต่อมาระยะหลังท่าน จึงอนุญาตให้ลูกศิษย์ถวายงานสร้างวัตถุมงคล ก็ด้วยเหตุผลที่ท่านบอกว่าการสร้างพระจะได้กุศลมาก

    ที่มา: https://www.komchadluek.net/pr-news/amulet/484415
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    6622144C-7DF3-4309-A0CF-DF28F5DDEF68.jpeg

    E67D0E14-B280-43FF-BFD1-5C5B0AFE19FB.jpeg

    7D03ED77-3DBB-470D-9EC5-852F295309DD.jpeg

    CC3B6F0C-36B5-4F12-A57B-3F0B8D51F22C.jpeg

    D2493847-3741-4C3A-ACC3-FDB16DB44FC0.jpeg

    นับแต่พ.ศ ๒๕๒๕ เป็นต้นมา หลวงปู่ต้องรับภาระหนักในการรับแขก จนกระทั่งสุขภาพของท่านทรุดโทรมลง โดยปกติท่านจะอยู่ประจำที่กุฏิ ของท่านเพื่อโปรดญาติโยมโดยไม่รับกิจนิมนต์ไปที่ไหน ๆ เลย ปีหนึ่งๆท่านจะออกมาจากกุฏิเพียงลงอุโบสถเพียง ๓ ครั้ง เท่านั้นคือวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันโมทนาผ้ากฐิน ด้วยปณิธานที่ตั้งไว้ว่าสู้แค่ตาย ท่านใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างสูงแม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็สู้อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปฐากท่านได้เล่าให้ฟังว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ในปีท้าย ๆ ท่านถูกตรวจพบว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้นายแพทย์จะขอร้องให้ท่านเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลท่านก็ไม่ยอมไป ท่านเล่าให้ฟังว่า “แต่ก่อนเราเคยอยากดี เมื่อดีแล้วก็เอาให้หายอยาก อย่างมากก็สู้แค่ตาย ใครจะเหมือนข้า ข้าฯบนตัวตาย”

    มีบางครั้งได้รับข่าวว่าท่านล้มขณะกำลังลุกเดินออกจากห้องเพื่อออกโปรดญาติโยมในตอนเช้า คือประมาณ ๖ นาฬิกา อย่างที่เคยปฏิบัติอยู่ทุกวัน โดยปกติในยาม ที่ท่านสุขภาพแข็งแรงดี ท่านจะเข้าจำวัดประมาณ ๔-๕ ทุ่ม แต่กว่าจะจำวัดจริง ๆ ก็ประมาณเที่ยงคืน ตีหนึ่ง แล้วมาตื่นนอนตอนประมาณตีสาม มาช่วงหลังที่สุขภาพ ของท่านไม่แข็งแรง จึงตื่นตอนตีสี่ ตีห้า เสร็จกิจการทำวัตรเช้า และกิจธุระส่วนตัวแล้ว จึงออกโปรดญาติโยมที่หน้ากุฏิ ประมาณปลายปี พ.ศ ๒๕๓๒ หลวงปู่ดู่พูดบ่อยครั้งในเรื่องความหมายว่าใกล้ถึงเวลา ที่ท่านจะละสังขารนี้ไปแล้ว จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๓ ในตอนบ่ายขณะที่ท่านกำลังเอนกายพักผ่อนอยู่นั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบนมัสการท่าน ซึ่งเป็นการมาครั้งแรก หลวงปู่ได้ลุกขึ้นนั่งต้อนรับด้วยใบหน้าที่สดใสราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ กระทั่งบรรดาศิษย์ ณ ที่นั้นเห็นผิดสังเกต หลวงปู่แสดงอาการยินดีเหมือนรอคอยบุคคลผู้นี้มานาน “ต่อไปนี้ข้าจะได้หายเจ็บ หายไข้เสียที” ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าท่านกำลังจะโปรดลูกศิษย์คนสุดท้ายของท่าน หลวงปู่ดู่ท่านได้แนะนำการปฏิบัติพร้อมทั้งให้เขานั่งปฏิบัติต่อหน้าท่าน ซึ่งเขาก็สามารถปฏิบัติได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ท่านย้ำในตอนท้ายว่า

    “ข้าขอฝากให้แกไปปฏิบัติต่อ” ในคืนวันนั้นก็ได้มีคณะศิษย์มานมัสการท่านซึ่งการมาในครั้งนี้ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเป็นการมาพบสังขารธรรมของท่านเป็นครั้งสุดท้าย แล้วหลวงปู่ดู่ได้เล่าให้ศิษย์คณะนี้ฟังด้วยสีหน้าปกติ “ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้องไอซียูไปนานแล้ว” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” ท้ายที่สุดท่านได้เมตตากล่าวย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขออย่าได้ทิ้งการปฏิบัติ” นี่เป็นดุจปัจฉิมโอวาทของหลวงปู่ พระผู้เป็นดุจพ่อพระ ผู้เป็นดุจครูอาจารย์ พระผู้จุดประทีปในดวงใจของผู้เป็นศิษย์ทุกคนอันจะไม่สามารถลืมเลือนได้เลย ท่านได้ละสังขารไปด้วยความสงบ ด้วยโรคหัวใจในกุฏิท่าน เมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ของวันอังคารที่ ๑๗ มกราคม พ. ศ. ๒๕๓๓ อายุได้ ๘๕ ปี ๘ เดือน อายุพรรษา ๖๕ พรรษา บัดนี้สิ่งที่คงอยู่มิใช่สังขารธรรมของท่านหากจะเป็นหลวงปู่ดู่องค์แท้ที่เป็นนามประธรรม ซึ่งจะคงอยู่ตลอดไป ธรรมทั้งหลายที่ท่านได้พร่ำสอนทุกวรรคตอน แห่งธรรมที่บรรดาศิษย์ ได้น้อมนำมาปฏิบัตินั่นคือ การที่ท่านได้เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความงามบนดวงใจของศิษย์ทุกคน ซึ่งนับวันจะเติบใหญ่ ผลิดอกออกผล เป็นสติและปัญญาบนลำต้นที่แข็งแรงคือสมาธิ และบนพื้นดินที่มั่นคงและแน่นหนาคือศีลสมดังเจตนารมณ์ที่ท่านได้ทุ่มเททั้งชีวิตด้วยเมตตาธรรมอันยิ่งจะหาได้ยากทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต..

    ด้วยปฏิปทาของหลวงปู่ดู่

    ปัจจุบันวัดสะแกนั้นยังคงยืนอยู่ด้วยความเป็นวัดที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิบัติภาวนา แม้ความเจริญในเรื่องของวัตถุภายนอกจะทวีค่ามากมายเท่าไหร่ แต่วัดสะแกยังดำรงค์ไว้ซึ่งความเงียบสงบ สำหรับเป็นที่พึ่งพิงของผู้ปฏิบัติภาวนาที่ต่างก็ขวนขวายเข้ามาปฏิบัติภาวนาที่ด้านหน้ากุฏิหลวงปู่ดู่ ไม่เว้นวัน ทั้งในเรื่องของโครงการปฏิบัติธรรม ท่านพระครูธรรมธรไพรัชช์ สิริจนฺโท (เจ้าอาวาสวัดสะแกองค์ปัจจุบัน) ท่านก็จัดให้มีการปฏิบัติธรรมในโครงการ "ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ดู่" ในทุกสัปดาห์ จนมาถึงในช่วงของโควิด ที่ไม่สามารถมารวมตัวได้ ก็ยังคงมีการปฏิบัติธรรม หรือธรรมะออนไลน์ให้ผู้ศรัทธาได้ร่วมกันมาโดยตลอด

    ที่มา: https://www.komchadluek.net/pr-news/amulet/484415
     
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    046D426A-E845-46A6-BBDE-2F864F026A5B.jpeg

    0BA9839F-2BE9-4BFF-B867-0B195CDD2EDD.jpeg

    วัดคลังทอง(วัดโกโรโกโส) อยุธยา
    กราบขอพรหลวงพ่อแก้ว(ดำ) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์องค์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ที่เชื่อว่าพระเจ้าตากสินเคยแวะมากราบขอพรจากท่าน
    วัดคลังทองเป็นวัดที่อยู่ในความดูแลของวัดสะแก จากเดิมเคยรกร้างปัจจุบันมีพระพระสมุห์เทวฤทธิ์ ฐิตธัมโม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดหาทุนมาทำการบูรณะวัดคลังทองให้กลับมางดงามอีกครั้ง
    วัดคลังทองจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดสะแกมีสะพานข้ามคลองข้าวเม่า เปิดให้เข้าสักการะขอพรจากองค์หลวงพ่อแก้ว(ดำ) ทุกวัน วันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องดอกไม้ธูปเทียน มีขนมและเครื่องดื่มบริการฟรี


    ************

    วัดโกโรโกโส มีหลวงพ่อดำ อยู่อยุธยา ชื่อวัดบอกความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานมาก

    โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ

    วัดโกโรโกโส ริมคลองข้าวเม่า อ.อุทัย พระนครศรีอยุธยา ควรบริหารจัดการ ดังนี้

    1.บูรณะตามหลักการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานให้มั่นคงแข็งแรงโดยไม่ทิ้งร่องรอยโกโรโกโส
    2.จัดแสดงความเป็นมาของวัดและท้องถิ่นด้วยรูปเก่าที่อวดให้เห็นความโกโรโกโส
    3.รักษาชื่อ “โกโรโกโส” เพราะชื่อวัดบอกความเป็นมาในตัวเองว่าเก่าแก่ยาวนานมาก และ “โดน” ใจสังคม

    โกโรโกโส หมายถึงชำรุดทรุดโทรม, ขรุขระสับปะรังเค, โย้เย้โยกเยก จะพังมิพังแหล่ ฯลฯ น่าจะเพี้ยนหรือกลายคำจากภาษาอื่น แต่ยังค้นไม่พบว่าจากภาษาอะไร?

    นักวิชาการบางท่านว่ามาจากภาษามอญ แต่หาที่มาของคำมอญยังไม่ได้ บางท่านว่าจากบาลี-สันสกฤต แต่ไกลเกินไปจนยากจะเป็นไปอย่างนั้น ถึงอย่างไรก็ไม่ควรทิ้งว่าเป็นไปไม่ได้

    บนเส้นทางประวัติศาสตร์ยาวนาน

    วัดโกโรโกโส อยู่ริมคลองข้าวเม่า บนเส้นทางคมนาคมสำคัญ ใช้ติดต่อชุมชนบ้านเมืองทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ยุคอโยธยาศรีรามเทพสืบเนื่องจนยุคอยุธยา มีเหตุการณ์สำคัญคือ

    ยุคต้นอยุธยา ทุ่งอุทัยเป็นพื้นที่ทำพิธีเบิกโขลนทวาร (หรือเบิกประตูป่า) ก่อนยกทัพไปทางทิศตะวันออก

    มีหลักฐานในแผ่นดินเจ้าสามพระยา พ.ศ. 1974 ยกทัพไปตีนครธม (เมืองพระนครหลวง, ศรียโสธร) ออกจากพระนครศรีอยุธยา ทำพิธีกรรมบริเวณทุ่งอุทัย
    มเหสีทรงครรภ์ครบกำหนดคลอดตามเสด็จกลับ จึงคลอดโอรสที่ทุ่งอุทัย ต่อมาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีในยวนพ่ายโคลงดั้น (บท 61, 62)

    แถลงปางปิ่นภูบาล บิตุราช
    ยังยโสธรคล้อย คลี่พล
    ๏ แถลงปางพระมาตรไท้ สมภพ ทานนา
    แดนด่ำบลพระอุทัย ท่งกว้าง

    ยุคปลายอยุธยา ก่อนกรุงแตก พระเจ้าตากยกไพร่พลมุ่งชายทะเลตะวันออก โดยผ่านตามเส้นทางคลองข้าวเม่าไปที่ดอนเชิงเขา เขตสระบุรี, นครนายก, ปราจีนบุรี, จันทบุรี ฯลฯ

    สุนทรภู่เดินทางแสวงโชคแต่งนิราศวัดเจ้าฟ้า นั่งเรือผ่านตามเส้นทางคลองข้าวเม่าไปวัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ อยู่บริเวณเขาพนมยงค์ (อ. หนองแค สระบุรี)

    คลองข้าวเม่า

    คลองข้าวเม่า เป็นคลองขุดขนาดใหญ่ มีจุดเริ่มจากคูขื่อหน้าฝั่งตะวันออก ตัดตรงไปทางทิศตะวันออก เชื่อมคลองหันตรา (แม่น้ำป่าสักสายเก่าไหลจากทิศเหนือลงทิศใต้ ไปสบแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เรียกปากคลองแม่เบี้ย)

    แล้วตัดทะลุตรงไปทางทุ่งอุทัย (อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา) เชื่อมคลองต่างๆ หลายสาย ที่ไหลจากทิศเหนือลงทิศใต้ เช่น คลองบ้านสร้าง, คลองโพ, ฯลฯ

    คลองข้าวเม่า ไม่เป็นชื่อเรียกทั้งสาย แต่เป็นหนึ่งในหลายชื่อที่เรียกเป็นช่วงๆ คือ คลองข้าวเม่า, คลองกะมัง, คลองบ้านบาตร, คลองหันตรา ล้วนเป็นลำเดียวกัน

    นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีไทย กรมศิลปากร เคยอธิบายว่าคลองนี้มีความสำคัญมาแล้วตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.1650 เมื่อรัฐละโว้ย้ายศูนย์กลางลงมาอยู่บริเวณนี้ชื่ออโยธยาศรีรามเทพ

    สองฝั่งคลองข้าวเม่าเป็นที่ราบลุ่มเรียกทุ่ง (ใช้ทำนา บางทีเรียกทุ่งนา) เป็นบริเวณนาน้ำท่วม เพราะมีน้ำเหนือหลากท่วมสูงมากทุกปี (ข้าวที่ปลูกบริเวณนี้ต้องเป็นพันธุ์ข้าวหนีน้ำ หมายถึงข้าวโตเร็ว ถ้าน้ำท่วมมิดต้นวันนี้ พอพรุ่งนี้ก็โผล่ยอดข้าวเหนือน้ำได้)

    มีทุ่งต่อเนื่องตั้งแต่นอกเกาะเมืองออกไปทางทิศตะวันออก เรียกชื่อต่างๆ กันตามลำดับอย่างกว้างๆ ไม่มีขอบเขตตายตัว เช่น ทุ่งหันตรา, ทุ่งชายเคือง, ทุ่งอุทัย
    สโมสรโบราณคดี (ตามอัธยาศัย) มีรายงานเกี่ยวกับหลวงพ่อดำ วัดโกโรโกโส ส่งมาให้แบ่งปันสู่สาธารณะ ดังต่อไปนี้

    “หลวงพ่อดำ” วัดโกโรโกโส
    ต.ข้าวเม่า อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

    วัดโกโรโกโส เป็นวัดร้างยุคอยุธยา เรือน พ.ศ.2000 ตั้งอยู่ฝั่งเหนือริมคลองข้าวเม่า ต.ข้าวเม่า อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

    เดิมวัดนี้ชาวบ้านเชื่อว่าชื่อวัดคลังทอง แต่ถูกทิ้งร้างจนปรักหักพังระเนระนาด เลยเรียกเปรียบเปรยเป็นภาษาปากว่า วัดโกโรโกโส แล้วร่วมกันทำนุบำรุงตามยถากรรม
    พร้อมกันนั้นก็สร้างคำบอกเล่าเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์โดยเชื่อมโยงเข้ากับเหตุการณ์พระเจ้าตากพาไพร่พลตีฝ่ากองทัพอังวะจากวัดพิชัย ไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ถึงเมืองจันทบุรี

    “หลวงพ่อดำ” ยุคต้นอยุธยา

    ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร (ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า

    ในวัดโกโรโกโสมีหลวงพ่อดำ พระพุทธรูปประธานภายในวิหาร เป็นพระพุทธรูปแบบอยุธยาตอนต้น-กลาง ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 สังเกตได้จากพระพักตร์รูปเหลี่ยมและลักษณะบางประการที่สามารถเทียบเคียงได้กับพระพุทธรูปหินทรายที่สร้างขึ้นในช่วงเวลานั้น

    เชื่อได้ว่าวัดนี้คงมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น-กลาง ต่อมาบูรณะในสมัยอยุธยาตอนปลายด้วยการสร้างอาคารขึ้นใหม่ในบริเวณที่ปัจจุบัน คือ วิหารหลวงพ่อดำ
    ส่วนซากอาคารที่หลงเหลือ เป็นแบบอยุธยาตอนปลาย สังเกตได้จากก่ออิฐถือปูนผนังหนารองรับน้ำหนักเครื่องหลังคา

    ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล (คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง) อธิบายว่า ภายในวิหารสมัยอยุธยาตอนปลายที่สร้างทับซากอาคารเดิม ประดิษฐานพระพุทธรูปนามว่า “หลวงพ่อดำ” เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่น 3 ตอนปลาย สังเกตได้จากลักษณะการทำพระพักตร์รูปไข่ มีเส้นไรพระศก การทำสังฆาฏิเป็นแผ่นยาวจรดพระนาภี ปลายแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ แต่พระพักตร์มีลักษณะอิ่ม กำหนดอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เชื่อมต่อต้นพุทธศตวรรษที่ 21

    เมื่อดูจากตำแหน่งที่ตั้งของวัดโกโรโกโส สังเกตได้ว่าตั้งอยู่บนทางแยกลำน้ำ เป็นเหตุให้วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมลำน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างคลองข้าวเม่ากับคลองแยกสาขา

    ยังไม่ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

    สิ่งสำคัญภายในวัด กรมศิลปากรบันทึกว่าเป็นโบราณสถานที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน

    1.ซากโบราณสถาน ส่วนแนวผนังอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็นวิหาร แต่บางท่านเรียกอุโบสถ สภาพปัจจุบัน มีการสร้างวิหารใหม่ (เมื่อ 40-50 ปีก่อน) อยู่ตรงกลางพื้นที่แนวผนังโบราณสถาน ภายในประดิษฐานหลวงพ่อแก้ว หรือหลวงพ่อดำ

    2.พระพุทธรูปปูนปั้น (ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ) ที่แก่นภายในเป็นหินทราย ศิลปะอยุธยา

    หลวงพ่อดำ วัดโกโรโกโส อยุธยา

    วัดโกโรโกโส มีพระภิกษุชรา ชื่อ พระกิ่ง อายุ 83 ปี อยู่เพียงรูปเดียว ได้ทาสีพระหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่วัดมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยผู้มีจิตศรัทธาชาวบ้านมาพบแล้วเกิดความไม่พอใจ เมื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาเข้าไปชี้แจง ว่าจะขอความอนุเคราะห์ส่วนวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ มาดำเนินการลอกสีดังกล่าวออกได้ ทางชาวบ้านและคณะกรรมการวัด นายอำเภอและพระภิกษุจึงได้แยกย้ายกันกลับไป

    เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และผู้อำนวยการกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ นายเสน่ห์ มหาผล ได้เข้าดำเนินการตรวจสอบพระพุทธรูปและได้ทดสอบโดยใช้น้ำยาลอกสีทาบนผิวพระพุทธรูปดังกล่าวแล้ว พบว่าสามารถดำเนินการลอกสีออกได้

    ให้ทางกรมศิลปากร โดยส่วนวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์เข้ามาดำเนินการลอกสีออกจากองค์พระให้กลับมาเป็นแบบเดิม และให้คำนวณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและเวลาที่จะเข้ามาดำเนินการ

    ซึ่งทางคณะ พลตำรวจตรี วิชัย สังข์ประไพ จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและหาคนมาช่วยดำเนินการลอกสีพระพุทธรูป และจะดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบและทำกำแพงล้อมรอบวัดโกโรโกโส

    หากมีการก่อสร้างใดในเขตวัดโกโรโกโส ขอให้ทำหนังสือแจ้งให้สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาทราบต่อไปด้วย เนื่องจากภายในวัดมีซากกำแพงเก่าและโบราณวัตถุ คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อดำอยู่

    คำบอกเล่า

    พระเจ้าตาก ยกพลหนีจากวัดพิชัย ผ่านทางบ้านข้าวเม่า ได้ข้าวเม่าเป็นเสบียง ผ่านทางบ้านธนู (ฝั่งตรงข้ามบ้านข้าวเม่า) ได้พลธนูเข้าร่วมขบวน
    พม่าเคืองชาวบ้าน เลยเผาวัดบ้านข้าวเม่า เหลือซากเป็นวัดโกโรโกโส ต่อมาเมื่อบ้านเมืองสงบ เลยร่วมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ทางฝั่งตรงข้ามชื่อวัดสะแก

    อภินิหารหลวงพ่อดำ

    น้องชายผู้การวิชัย สังข์ประไพ ที่เป็นตำรวจเหมือนกัน (น่าจะเป็น พ.ต.ท. สถิตย์ สังข์ประไพ) สมัยยังเด็กครูสั่งให้ปั้นดินเป็นรูปสัตว์ ด้วยความขี้เกียจจึงเอาดินปั้นรูปควายที่คนนำมาถวายหลวงพ่อดำไปทาสีส่งครู ต่อมาไข้ขึ้นไม่ทราบสาเหตุ ท้ายที่สุดแม่ต้องพายเรือพาเอาตุ๊กตาดินปั้นรูปควายมาคืนตอนตี 1 ขอขมาลาโทษ จึงหายเป็นปกติ

    ชาวบ้านเชื่อและนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อดำ ในอดีตเมื่อการสัญจรทางน้ำเป็นเส้นทางหลัก เมื่อใดที่พายเรือผ่านหน้าวัดโกโรโกโสจะต้องควักน้ำขึ้นมาประพรมร่างกายและอำนวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

    ทหารอากาศจากกรุงเทพฯ เล่าว่า ขณะขับเครื่องบินบนอากาศ หลวงพ่อดำได้ปรากฏให้เห็นขณะขับเครื่องบิน จึงออกตามหา เมื่อพบจึงเกิดความเลื่อมใสและศรัทธา

    ต้อนควายหนีน้ำหลากไปสระบุรี

    เมื่อถึงฤดูน้ำหลากในช่วง 50-60 ปีมาแล้ว จะมีการต้อนควายตามคลองข้าวเม่าไปหนองแค หนองแซง เมืองสระบุรี เมื่อไปถึงที่แล้วจะมีการเปลี่ยนข้าวอาหาร ด้วยการไปช่วยไถนา และเมื่อไถนา ทำเกษตรกรรมเรียบร้อยแล้วนั้น ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกับน้ำที่อยุธยากลับสภาวะปกติ ก็ต้อนควายกลับอยุธยาและไถนา ทำเกษตรกรรมต่อได้พอดี

    ที่เมืองสระบุรีจะเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างควายที่ถูกต้อนไปจากอยุธยา และกลุ่มคาราวานจากภาคอีสาน จะพบกันก็เมื่อมีการเข้ามาซื้อควาย

    ที่มา: https://www.matichon.co.th/columnists/news_527516
     
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    F7BE3DE7-9BEB-4C60-8706-57063EECD216.jpeg

    ๒๙ เมษายน ครบรอบ ๑๑๙ ปี ชาตกาล หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก

    “ของดีก็อยู่ที่แก ของไม่ดีก็อยู่ที่แก ไม่ใครที่ทำให้แกเลวได้ ที่ทำให้แกดีได้ พระพุทธเจ้าท่านมีบารมีขนาดไหนก็ยังไม่สามารถ พาสัตว์โลกทั้งหลายไปสู่พระนิพพาน ไปสู่ความพ้นทุกข์ได้เลย อยู่ที่แกปฏิบัติ แกอยากได้ดี แกต้องได้ดี ไม่ใช้คำว่าจะ จะไม่ใช้ในธรรมะในพุทธศาสนา แกทำแกต้องได้”

    “อุปัชฌาย์ข้า (หลวงพ่อกลั่น) สอนว่า ภาวนาได้เห็นแสงสว่างเท่าปลายหัวไม้ขีดชั่วประเดี๋ยวเดียว เท่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ยังมีอานิสงส์มากกว่าตักบาตรจนขันลงหินทะลุ”

    “ของดีอยู่ที่ตัวเรา หมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้” “ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต” “อย่าลืมตัวตาย” และ “ให้หมั่นพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

    “เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเรานี่เป็นเรื่องธรรม”
    “ขยันก็ให้ทำ ขี้เกียจก็ให้ทำ ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าวแล้ว นั่นแหละ จึงค่อยเลิกทำ”

    “เอาของจริงดีกว่า พุทธังฯ ธัมมังฯ สังฆังฯ สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้”

    “ถ้าแกเขียนตัว พ พาน ได้เมื่อไร
    นั่นแหละจึงจะดี...
    ก็ตัวพอน่ะซี...”
     
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    9B74DBD9-0E67-42B0-B098-B30F2B0F3FD8.jpeg

    4A2323E4-E62D-4BCB-9A98-29AD0F4E7203.jpeg

    จบของทำบุญ-อธิษฐานรับพร
    แบบสั้นๆแต่ครบถ้วนกระบวนความ
    โดยหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
     
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    41435AE8-7EDE-4887-ABFA-D1BD7799C0E8.jpeg

    89A16045-4EB8-42AD-912C-0BFB32BACD73.jpeg
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    upload_2023-5-22_15-6-46.jpeg
     
  20. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +1,127
    upload_2023-5-22_15-7-56.jpeg
     

แชร์หน้านี้

Loading...