อยากทราบความเป็นมาของคุณ"The Third Eyes " ตอนที่มีตาที่สาม

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย sun, 19 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. seberton

    seberton เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +655
    อารายคับ คุณ ตาที่สาม ผมไม่เข้าใจคุณเลย ถ้าเกิดเอ็นกระตุ๊กระหว่างคิ้ว ก็แสดงว่าตาที่สามกำลังจะปุดออกมาหรอคับ แล้วไปให้ไปให้คุฯเปิดให้ โดยใช้มีดกลีดหรอคับ เหอะๆ ล้อเล่นคับ ส่วนตัวผมคิดว่า ผมยังไม่เห็นเห็นใครที่ทำนองแบบว่าผู้หยังรู้

    หรือเป็นเพราะว่าผมพึ่งเกิด จึงไม่รู้อะไรเป็นไร ยังอ่อนหัด เหอะๆ ถ้ามีตาที่สามก็คงจะดีเหมือนในหนังภาพยนต์ X-MEN ที่หัวหน้ามีพลังโทรจิต สามารถรับรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่าอะไรจะเกิดอีกไม่กี่วิ แล้ว จีนเกร์ย มีพลังจิตควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตที่แข็งกล้า ดูในหนังแล้วอยากเป็นมากๆ
     
  2. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    คุณ seberton เรื่องเหล่านี้มีจริงนะครับ อาจเป็นอย่างที่คุณว่าที่อายุคุณยังน้อยอยู่จึงทำให้ขาดประสบการณ์ ถ้าคุณสนใจเรื่องเหล่านี้จริงๆและพร้อมแจะแสวงหาความรู้ลองตระเวนค้นหาดูสิครับ ถ้าคุณมีความตั้งใจจริงกระแสจิตของคุณที่ตั้งเป้าหมายไว้ จะชักจูงคุณให้ได้ค้นพบกับสิ่งเหล่านั้นเองครับ (ถ้าไม่เชื่อใครก็ต้องพิสูจน์ด้วยตนเองนี่แหละครับ แน่อนอนที่สุด)
     
  3. sun

    sun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +155
    ยังมีอะไรอีกในโลกที่เราไม่สามารถสัมผัสได้ คนที่ไม่เคยสัมผัสได้ก็บอกว่า ไม่มีจริง อย่างคนเคยไปอาฟริกามาแล้วมาเล่าว่าเป็นอย่างไร คนไม่เคยไปอาจจะบอกว่า จริงๆ ไม่มีประเทศอาฟริกาหรอก มีแต่ในนิยาย

    ว่าแล้วก็อยากมีตาที่สามมั่งจัง
     
  4. 431240

    431240 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +643
    ผมขอเล่าประสบการณ์ของผมเมื่อประมาณ 2 ปีก่อนให้ฟังดูนะครับ เมื่อประมาณ 2 ปี ที่ผ่านมา ในตอนนั้นผมยังไม่ค่อยเชื่อหรือเข้าใจในเรื่องของพลังสักเท่าไหร่ ผมก็ปฏิบัติธรรมบ้างไม่ปฏิบัติบ้าง แต่มีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบาปบุญคุณโทษ จนกระทั่งช่วงหนึ่งผมรู้สึกว่ามีสิ่งแปลกๆเกิดกับตัวเอง บางครั้งเหมือนมีพลังงานอะไรบางอย่างหมุนและเคลื่อนที่บนศรีษะ บางครั้งจะหนักบริเวณหน้าผาก ตึงและเต้นยวบๆ บางครั้งจะเป็นไอร้อนหมุนบริเวณลำคอ หรือทรวงอก เป็นแบบนี้มาตลอดรู้สึกกังวลว่าเป็นอะไรกันแน่ ต่อมาเริ่มที่จะมีพลังงานบางอย่างออกมาจากฝ่ามือ บางครั้งเป็นไอร้อน ชนิดจับใครเป็นต้องมองหน้าเพราะร้อนมาก บางครั้งเป็นไอเย็นออกมา ประมาณว่าเวลาคุณเปิดตู้เย็นแล้ว มีไอออกมากระทบประมาณนั้น
     
  5. 431240

    431240 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +643
    หลังจากนั้นก็ถึงบทพิสูจน์ ผมมีเพื่อนคนหนึ่งไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ไปวัดไม่ไหว้พระ มีชีวิตอยู่ประมาณนักร้องเพื่อชีวิต ซึ่งผมก็ก็มักจะเล่าอาการที่เป็นอยู่ให้เขาฟัง แต่เขาก็ฟังไปงั้นๆ จนวันหนึ่งผมรู้สึกว่าพลังมันล้นออกมาทางฝ่ามือมาก ผมเลยให้เพื่อนคนนี้หงายฝ่ามือ แล้วผมก็ทับฝ่ามือลงไป ซักพักเพื่อนผมบอกว่าเหมือนกระแสความเย็นวิ่งเข้าไปในตัว เย็นมากเย็นสบายเหมือนติดแอร์ แต่กระแสก็เข้าไปติดอยู่บริเวณข้อศอกไม่เข้าไปอีกผมจึงหยุด ถามว่าตอนนั้นกำหนดจิตอะไรหรือไม่ ขอตอบว่าไม่เลย วางเฉยๆ แต่มันเกิดขึ้นเอง หลังจากวันนั้นผมก็มีโอกาสทำให้เพื่อนคนนี้อีก 2 ครั้ง โดยครั้งหลังพลังจะไปติดอยู่บริเวณหัวไหล่ ผมเลยขอให้เขาตั้งจิตขอให้พลังวิ่งไปทั่วตัว และก็ได้ผลพลังวิ่งทั่วตัวเขา และตัวเขาก็เปลี่ยนไป ประมาณว่าสามารถสื่อรับพลังที่มีอยู่ทั่วไปได้ ไม่ว่าจะเปิดเพลงสวดมนต์ของจีน ของอินเดีย เขาบอกว่าพลังมันจะวิ่งเข้ามาในตัวจนเต็ม จนปรากฏว่าเขาจะไม่ค่อยหิวทำงานได้ตลอดวัน ไม่มีความอ่อนเพลีย ที่สำคัญในตอนนั้นเขาเสพยาอยู่ด้วย แต่เขาสามารถเลิกได้ในทันที และต่อมาอีกนั้นแหละที่เขาเริ่มจะมองเห็นสิ่งต่างที่ไม่เหมือนคนอื่น สามารถเห็นองค์เทพที่แฝงในร่างมนุษย์ เห็นวิญญาน มองเห็นพลังแสงของพระเครื่องและบอกพุทธคุณได้ และที่ทำให้ผมเชื่อในสิ่งที่เขาเห็นคือเขาสามารถที่จะมองดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงวันด้วยตาเปล่าได้ เขาบอกว่าเวลามองจะเกิดแผ่นกลมบางๆ ซ้อนกันและกันแสงไม่ให้ระคายตา แถมพลังจากแสงอาทิตย์ทำให้เขามีกำลังขึ้น ซึ่งที่เขาเป็นทั้งหมดทำให้แม่ของเขากลัวว่าเขาจะประสาทหลอนจากฤทธิ์ของยา แต่เขาก็ยืนยันว่าไม่ใช่แล้วเขายังบอกอีกว่าสามารถจะให้พลังคนอื่นได้ เขามักจะทำท่าแบบหนังจีน ยกมือขึ้นแล้วทำเหมือนว่าส่งพลังไปให้คนที่เขาต้องการให้ ซึ่งเป็นการทำฝ่าอากาศไม่มีการสัมผัสตัวกัน เป็นที่ขำกันในหมู่ลูกน้อง จนกระทั่งคืนหนึ่งประมาณยำรุ่งเพื่อนผมก็ขับมอเตอร์ไซด์มาหา แล้วขอความช่วยเหลือด้วย เขาบอกว่าลูกน้องเขาพูดท้าทายว่าถ้ามีพลังขอให้พลังกับเขาบ้าง เพื่อนผมเลยทำท่าให้พลังแบบหนังจีนไปทั้งที่อยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร ผลปรากฏว่า เด็กคนนั้นเริ่มมือหงิกงอ ปากเบี้ยว แล้วล้มตัวลงนอนตัวงอ ร้องให้ช่วย เขาจึงรีบมาหาผม ซึ่งผมเองก็ไม่มีความรู้ในการแก้ แต่ก็ยังบอกเขาไปว่าให้ไปจุดธูป 16 ดอกซิ เพื่อนผมก็กลับไปทำตามปรากฏว่าจุดธูปยังไม่ทันได้ปักลงพื้น เด็กก็หายเองเป็นปกติ
     
  6. 431240

    431240 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +643
    เหตุการณ์ทั้งหมดทำให้ผมงุนงง แต่เริ่มที่จะเชื่อในเรื่องของพลังมากขึ้น จนกระทั่งได้อ่านหนังสือตาที่ 3 ของ อ.อาชวิน เมื่อนำมาประกอบกับเหตุการณ์ที่เจอจากบุคคลที่ไม่เชื่อในสิ่งเหล่านี้เลย จนกลับกลายเป็นเชื่อและเคารพในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปัจจุบันนี้ผม พบเพียง 2 คนเท่านั้นที่ผมสัมผัสตัวเขาแล้วเป็นกระแสความเย็นเข้าไปในตัวได้ ปัจจุบันผมก็ไม่สามารถทำได้ แล้ว แต่ก็ยังมีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นโดยก่อนหน้านี้ผมปวดหลังชนิดยืดตัวตรงไม่ได้ ปวดจนน้ำตาไหล คือมันเป็นขึ้นมาเฉย เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย จนทนไม่ไหวจึงไปให้คุณยายคนหนึ่งซึ่งมีตาที่ 3 ช่วยดูให้ คุณยายดูแผ่นหลังให้แล้วบอกยายอ่านไม่ออกมันเป็นเหมือนภาษาจีน หรือยันต์จีน แล้วคุณยายก็เอามือมาทาบบนหลังให้สักพักอาการปวดจึงบรรเทา ตอนนี้อาการปวดหนักๆไม่มี มีแต่ตึงเล็กน้อย ที่ผมมั่นใจว่าคุณยายมองเห็นเพราะในบางครั้งที่นั่งคุยกับท่าน ผมจะมีอาการตึงหนักบริเวณหน้าผาก แต่จะนั่งนิ่งๆ แต่คุณยายจะหัวเราะแล้วบอกขึ้นใหญ่แล้วนะที่หน้าผาก ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคุณยายเห็นเป็นอะไรอีก ผมฝอยมาก็เยอะแล้วขอพอก่อนนะครับ มันเป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่งเอามาเล่าให้ฟัง บางคนในเวปนี้เขามีประสบการณ์ดีๆก็มาก ผมเลยเอามาแลกเปลี่ยนกันครับ
     
  7. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อนุโมทนาครับคุณ 431240
     
  8. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ถ้าที่นครศรีธรรมราชก็มีวัดที่เป็นสาขาของหลวงพ่อแป้นอยู่ รู้สึกว่าจะเป็นวัดท้าวโครตกับวัดชายนา ไม่ทราบว่าเคยได้ยินชื่อรึเปล่าครับ
     
  9. visanu

    visanu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2005
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +197
    ผมมีเรื่องอยากถามครับคุณน้า
    ที่ว่าเอาจิตไปที่ กลางกระหม่อมอ่ะครับ 1.กระหม่อมคืออะไรเหรอคับ
    2.เวลาเดินไปไหนมาไหนคนอื่นเขาจะเห็นตาที่สามเราไหมครับ
    3.มีตาที่สามแล้วจะมีตาที่สี่ไหมครับหรือว่ามีแค่3ตาเท่านั้นเหรอคับ
    4.สัตว์บางชนิดเช่นแมงมุม มีถึงแปดตาสามารถมองอดีตหรืออนาคตได้ๆไหมครับแบบว่ามีความสามารถเหมือนตาที่สามของคนเราไหมครับ
    5.ถ้ามีตาที่สามแล้วจะบังคับยังไงเหรอครับอย่างเช่น บังคับให้เห็นอดีตหรืออนาคต
    หรือบางครั้งเราไม่อยากเห็นภาพที่เป็นโครงกระดูกเดินได้อ่ะครับทำยังไงเหรอคับ

    ช่วยบอกให้ผมหายสงสัยทีนะครับ[​IMG]
     
  10. One of JD

    One of JD เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +534
    เรียน คุณ 431240
    คุณควรลองขึ้นมาคุย กับ คุณ The Third Eyes นะครับ คงได้รับความรู้มากพอสมควร และเห็นว่าได้อ่านหนังสือ เล่มที่ 3 แล้ว

    ขอพลังจงสถิตกับท่านตลอดไป
     
  11. 431240

    431240 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +643
    รู้จักครับคุณ WIT เพราะผมไปบวชอยู่วัดชายนา 1 พรรษา แต่เดิมเป็นป่าช้าเก่า มีท่านอาจารย์ใหญ่มาจำพรรษาอยู่ ต่อเมื่อสำรวจแผนที่เก่าปรากฏว่าเป็นวัดโบราณ อยู่ติดด้านหลังวัดท้าวโครต เป็นการฝึกสติปัฎฐาน 4 เมื่อฝึกแล้วจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐาน คือสอบผลการปฏิบัติในวิธีที่ทำมาทั้งหมดว่าได้ผลเช่นไหร่ เช่นการยกมือครั้งละนานๆ ปรากฏว่าจะเกิดการวูบเสียวที่กลางฝ่ามือแล้วจะเป็นกระแสวิญญาน(ความรู้สึกของประสาทสัมผัส) วิ่งเข้าสู่หัวใจทำไปนานๆ จะมีอาการเหมือนคนเป็นโรคหัวใจ แต่ไม่ใช่บางคนไปหาหมอเพื่อตรวจก็ไม่ปรากฏว่าเป็น บางคนกลัวตายก็เลิก หากไม่กลัวก็ทำต่อจะมีอาการเจ็บเหมือนเข็มแทงในหัวใจ ในทุกจังหวะของการยกมือ หลังจากยกไปนานๆจะรู้สึกมือโตขึ้น หรือหายไป กระแสวิญญานจะวิ่งขึ้นบริเวณหน้าผากจะหนักและตึงเหมือนถูกรัดด้วยผ้า บนกระหม่อมจะมีเหมือนตัวไร่ไต่บนศรีษะ เหมือนมีอะไรบางอย่างจะทะลุออกไป แต่เมื่อทะลุออกไปจะเหมือนไอเดือดในกาน้ำร้อนพุ่งขึ้นไป เมื่อทำได้ถึงขั้นนี้โรคประสาททั้งหมดจะหาย ด้วยมโนวิญญานทะลุผ่านเส้นประสาททั้งหมดทะลวงผ่านหมด ทั้งหมดนี้เป็นสภาะธรรมทางกายไม่ใช่ทางจิตเพราะยังไม่เข้าสู่ฐานจิต ผมยังทำไม่ถึง ส่วนการยืนหรือการนั่ง เป็นการนั่งหรือยืนเป็นชั่วโมง โดยไม่ขยับเพื่อดูสภาวะที่เกิด ปรากฏว่าตรงบริเวณที่สัมผัสกับพื้นนานๆ จะมีอาการร้อนเมื่อยืนบนไฟ นานเข้าอาการจะรวมเข้าเป็นจุดเดียวเหมือนเข็มแทงทะลุขึ้นมาในตอนนี้ถ้าขยับ จะเกิดอาการตะคริวกินเหมือนเวลานั่งนานๆ แต่ถ้ายากทราบสภาวะที่แท้จริงต้องทนดู ความเจ็บปวดนั้นสุดยอด ถ้าทนอาการเหล่านี้จะดับวูบลงทันที แล้วจะเดินหรือทำอะไรก็ได้ไม่ปวดไม่เจ็บ ดังที่พระพุทธองค์บอกไว้ว่า มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข็เท่านั้นที่ดับไป ไม่มีอะไรนอกจากทุกข์ พระองค์ท่านทรงเห็นก้อนทุกข์(สังขาร) แต่คนเราเห็นเป็นตัวตน เมื่อสังขารมีทุกข์ ก็จะเคลื่อนทุกข์ ย้ายทุกข์ หนีทุกข์ จึงไม่เห็นความจริงเห็นทุกข์ เมื่อผมทำไปนานเข้าจะยืนเดินนั่งนอน ก็จะเห็นความทุกข์ในสังขาร จะรู้สัมผัสแม้การเต้นการทำงานของ ปอดและอวัยวะบางอย่างในกาย ถึงขนาดหายใจแล้วปอดไปขยายยังรู้สึกเจ็บ เห็นแต่ความเจ็บและทุกข์ในกาย ทำให้จิตเกิดความเบื่อในกาย(ชั่วขณะตอนนี้ไม่เบื่อแล้ว) ส่วนการเดินโดยจับความรู้สึกจะมีอาการเสียววูบใต้ฝ่าเท้า ในขณะกำลังยกเท้าจะมีความรู้สึกเหมือนมีใยเหมือนใยบัว ติดเท้าขึ้นมาจนวางเท้าลงไป เป็นอย่างนี้ไปตลอดเดินสบายดีจัง แต่ฟังดูบางคนที่เดินเก่งจะบอกว่าเหมือนแผ่นดินยุบลงไป(จริงๆแล้วเนื้อที่เท้ายุบลงไปแต่อาศัยที่สติเข้าไปรับรู้จึงเหมือนกับแผ่นดินยุบ) ผมก็ได้ประมาณนี้แหละ ไม่เข้าถึงฐานจิต แต่ได้เห็นสภาวะที่ใกล้เคียงกับสภาวะปรมัตถสัจจะ(ประมาณเอาเองครับอาจไม่ถึงจริง) ในตอนนั้นถ้าเข้าถึงฐานจิต เห็นความจริงคือ อริยะสัจ 4 ในประตูแรกคือทุกข์ หากเห็นจริงด้วยปัญญา มีสัมมาทิฎฐิ คือเห็นว่าการเกิดเป็นทุกข์ไม่มีจุดใดที่เป็นความสุขที่แท้จริง มีแต่พระนิพพานเท่านั้นเป็นที่ดับทุกข์ได้จริง แม้บุคคลใดเห็นได้ดังนี้ก็จะเข้าไปสู่ร่มกาสาวพัตร์โดยไม่หวลกลับสู่ทางโลกอีกเลยจะเพียรพยายามหาทางออกจากกองทุกข์แน่นอน เสียดายที่บารมีผมยังไม่เข้มแข็งพอยังมีภาระทางโลก จึงต้องออกมาทนทุกข์อีก ผมได้แค่นี้แหละครับ คุณ WIT ผมเองก็อธิบายสภาวะเกี่ยวกับ คำว่ามโนวิญญาน หรือคำอื่นๆ ก็ไม่ได้เพราะในตอนนั้นไม่มีการบอกกล่าวใด ไม่ได้อ่านตำรา ทำกันแบบสดๆ ได้แบบไหนก็เล่าแบบนั้น จะเห็นว่าไม่มีสภาวะทางจิตเลยว่าจะได้สมาธิอย่างนั้น อย่างนี้ แต่รู้สึกว่าเวลาฟังเทศน์จากท่านเจ้าอาวาส พอสงสัยเรื่องอะไร ท่านก็บอกตรงกับที่สงสัยทุกที จนตอนสึกท่านยังว่าปฏิบัติยังไม่ได้ญานเลยจะสึกเสียแล้ว ออขอแถมนิดครับผมเคยได้สมาธิครั้งเดียวโดยการเจริญอานาปาฯ ภาวนาพุทโธ ตอนนอนกำหนดลมหายใจ พร้อมภาวนาความรู้สึกสุดท้ายคือหายใจเข้าพุท แล้วหลับไปเลย มารู้สึกตัวอีกทีตอนหายใจออก ภาวนาวาโธ เช้าแล้วครับ ปรากฏว่าวันนั้นทั้งวันจิดมันฉ่ำ เบาสบายโปร่งโล่ง ไม่มีความกังวลใดๆ แม้ความตายก็ไม่กลัว เป็นสุขจริงๆครับ ผมเลยมั่นใจความสุขทางจิตนี้เหนือความสุขทางกายมากมายครับ เหนื่อยแล้วขอพักหน่อยครับ เพราะปัจจุบันทำงานไม่ค่อยได้ปฏิบัติครับ
     
  12. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อืม.....จริงๆในคำสอนของหลวงพ่อแป้นกระแสวิญญาณที่วิ่งจากมือมากระทบบริเวณทรวงอกจะมีอยู่สองด้านนะครับ ซ้ายและขวา การเดินก็เช่นเดียวกัน จะเกิดเป็นความรู้สึกเต้นตึ๊บๆ ความรู้สึกนี้เรียกว่า มโนสัมผัส นะครับ ส่วนฐานจิตในจิต ก็คือเวลาที่จิตเกิดราคะ โทสะ หรือโมหะ จะมีอาการเกิดขึ้นบริเวณกลางทรวงอก ก็ให้ยกจิตขึ้นสู่ฐานจิตในจิตโดยให้มากำหนดดูที่มโนสัมผัสก็จะเห็นสภาวะเกิดดับ กิเลสก็จะเบาบางและโดนตัดไป แต่หลวงพ่อแป้นท่านจะสอนว่าจริงๆแล้วสภาวะก็ถึงกันหมดครับ ไม่ว่าจะกำหนดที่ฐานใดก็ตามครับ (แต่ท่านจะเน้นให้ดูที่สภาวะธรรมภายในครับ)
    ปล.รายละเอียดการปฏิบัติของหลวงพ่อแป้นที่คุณ 431240 กล่าวมามีคลาดเคลื่อนจากที่ผมอ่านจากหนังสือคำสอนของท่านไปบ้างนิดหน่อยนะครับ เอาเป็นว่าใครสนใจการปฏิบัติแนวนี้จริงๆผมขอแนะนำให้ไปที่วัดไทรงาม ลองไปหาหนังสือคำสอนของท่านมาอ่านให้ละเอียดดูนะครับ
     
  13. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    เอาเป็นว่าผมจะคัดลอกเนื้อหาบางส่วนของคำสอนของหลวงพ่อแป้นมาให้ก็แล้วกันนะครับ เอาฐานจิตในจิต

    การกำหนดพิจารณาเห็นจิตในจิต แยกอารมณ์ของจิต หรือ เจตสิก ได้แก่ จิตตสังขาร ซึ่งมาปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะในฐานจิตนี้ จึงได้แยกจิตเป็น 16 อย่าง ดังนี้ คือ
    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    1.สราคํ วา จิตฺตํ อนึ่งจิตมีราคะ (ความกำหนัด, ความยินดี)
    2.วีตราคํ วา จิตฺตํ หรือจิตไม่มีราคะ
    3.สโทสํ วา จิตฺตํ หรือจิตมีโทสะ (ความโกรธไม่พอใจ)
    4.วีตโทสํ วา จิตฺตํ หรือจิตไม่มีโทสะ
    5.สโมหํ วา จิตฺตํ หรือจิตมีโมหะ (ความหลง, ไม่รู้)
    6.วีตโมหํ วา จิตฺตํ หรือจิตไม่มีโมหะ
    7.สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ หรือจิตหดหู่ (จิตประสบด้วยอารมณ์)
    8.วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ หรือจิตฟุ้งซ่าน (จิตไม่ประสบด้วยอารมณ์)
    9.มหคฺคตํ วา จิตฺตํ หรือจิตเป็นมหรคต (จิตรวมตั้งตัวเป็นใหญ่ในองค์ฌาน)
    10.อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ หรือจิตไม่เป็นมหรคต
    11.สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ หรือจิตเป็นสอุตตระ (จิตมีจิตยิ่งกว่า)
    12.อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ หรือจิตไม่เป็นสอุตตระ (จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า)
    13.สมาหิตํ วา จิตฺตํ หรือจิตตั้งมั่น (จิตมีสมาธิเกิดขึ้น)
    14.อสมาหิตํ วา จิตฺตํ หรือจิตไม่ตั้งมั่น (จิตไม่มีสมาธิเกิดขึ้น)
    15.วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ หรือจิตหลุดพ้น (หลุดพ้นจากนิวรณ์ 5)
    16.อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ หรือจิตยังไม่หลุดพ้น (จิตยังไม่หลุดพ้นจากนิวรณ์ 5)

    จิตฺตนฺติ ปชานาติ ย่อมทำความรู้ชัดในจิตนั้น ดังพระบาลีซึ่งได้ระบุ ชื่อของจิต ที่มีอารมณ์มาประกอบในลักษณะต่างๆมี 16 อย่างที่กล่าวมาล้วนเป็นจิตที่ประกอบด้วยอุปาทาน ซึ่งเป็นจิตนอกที่ไม่ได้นำพระบาลีมาเพราะเห็นเป็นการมากไป ลำบากแก่การอ่าน จึงขอยกตัวอย่างดังนี้ คือ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ เมื่อจิตประกอบด้วยราคะ ก็กำหนดรู้ชัดว่า จิตนี้ประกอบด้วยราคะ ดังนี้ ส่วนจิตอย่างอื่นก็เปลี่ยนชื่ออื่นตามแต่อารมณ์ของจิตซึ่งแสดงไว้ทั้งหมด 16 อย่าง ความประสงค์ของการเจริญวิปัสสนาหลักมหาสติปัฏฐาน 4 นั้น เพื่อให้กำหนดรู้จิตทั้งภายในทั้งภายนอก เพื่อทำลายการประกอบของจิต มิให้จิตประกอบการปรุงแต่งเป็นจิตตสังขาร หรือเจตสิก ด้วยเหตุนั้นจึงทรงวางหลักการเจริญฐานจิตในจิตไว้ "การเกิดขึ้นของจิต เพราะการเกิดขึ้นของนามรูป การตั้งอยู่ของจิต เพราะการตั้งอยู่ของนามรูป การดับไปของจิต เพราะการดับไปของนามรูป" รวมความแล้ว การจะกำหนดจิตในจิตนั้นต้องกำหนดนามรูป คือขันธ์ 5 ซึ่งมายึดเอาอารมณ์ของจิตไป ปรุงแต่งให้เป็นไปในอารมณ์ต่างๆ เช่น ปรุงแต่งเป็นราคะบ้าง โทสะ โมหะบ้าง ฐานจิตในจิต ต้องมากำหนดที่อายตนะของใจ (มนายตนะ) ที่เกิดของมโนสัมผัสและเป็นที่รวมของธรรมทั้งหลาย

    องค์ธรรมเป็นเครื่องเจริญ 3 อย่าง คือ
    อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสในจิตให้เร่าร้อน
    สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะความรู้รอบในอารมณ์ของจิต
    สติมา มีสติ การเข้าไปตั้งความระลึกในใจ (มนายตนะ)

    ที่ตั้งของจิตมี 2 อย่าง
    อชฺฌตฺตํ การพิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ในภายใน
    พหิทฺธา การพิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ในภายนอก
    กำหนดในฐานจิตด้วยอาการ 3 ส่วน
    1.อชฺฌตฺตํ วา การเห็นเป็นภายใน
    2.พหิทฺธา วา การเห็นเป็นภายนอก
    3.อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา การเห็นทั้งภายในทั้งภายนอก

    การกำหนดฐานจิตในจิต 3 ประการ
    1.สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา การเห็นธรรมที่เกิดขึ้นในจิต
    2.วยธมฺมานุปสฺสี วา การเห็นธรรมที่เสื่อมไปในจิต
    3.สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา การเห็นธรรมที่เกิดขึ้นและเสื่อมไปในจิต

    อายตนะของจิตในพระอภิธรรมแบ่งไว้เป็น 7 คือ
    1.จักขุ อายตนะของตา
    2.โสตะ อายตนะของหู
    3.ฆนะ อายตนะของจมูก
    4.ชิวหา อายตนะของลิ้น
    5.กายะ อายตนะของทั่วไปในร่างกาย
    6.มโน อายตนะของหัวใจ
    7.มโนวิญญาณ อายตนะของมโนวิญญาณ
    ฐานจิตในจิตนี้ ที่แบ่งเป็นจิตในบ้าง เป็นจิตนอกบ้าง คือ

    จิตใน ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นในภวังคจิตซึ่งอยู่ในภายในของมโนสัมผัส การจะเห็นจิตในได้ต้องเข้าใจเรื่องมนายตนะ คือ อายตนะของใจ ซึ่งเป็นตัวสมุทัย คือ ที่เกิดขึ้นของจิตนอก หรือธรรมารมณ์ การที่ธรรมารมณ์จะเกิดต้องผ่านมนายตนะ หรือ มโนสัมผัส (ใจ) เพราะการสัมผัสจึงเป็นปัจจัยให้ธรรมารมณ์เกิดขึ้น ตัวจิตในได้แก่ วิญญาณ คือ สภาพที่รับรู้อยู่ภายในจิต ภายในมโนสัมผัส หรือ ภายในหัวใจ

    จิตนอก ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นในภวังคจิตภายนอก หรือภายนอกของหัวใจ หัวใจของคนเรานั้นทางการแพทย์ ได้แบ่งไว้ 4 ห้อง หรือ 4 ครอง การแยกเป็น 4 ห้องนั้นได้อย่างไร? ขอให้ท่านผู้สนใจลองทำการพิจารณาให้ดีว่า จิตในจิตนี้ มีความหมายอย่างไร? การจะแยกนั้นต้องเข้าใจเรื่องมโนสัมผัส หรือมนายตนะ คือ อายตนะของใจ อายตนะของใจนั้นมี 2 ข้าง คือ ซ้ายข้างหนึ่ง ขวาข้างหนึ่ง ซึ่งปรกตินั้น หัวใจของเรานั้น อยู่ข้างซ้าย แต่การทำงานของจิตแบ่งเป็นสองข้าง แต่ละข้าง ก็แยกเป็นภายในส่วนหนึ่งภายนอกส่วนหนึ่ง รวมเป็น 4 ครอง หรือ 4 ห้อง เหตุที่จิตของเราจึงแบ่งเป็นสองข้าง นั้นเพราะว่า การทำงานจิตนั้นเป็นเสมือนไฟฟ้า คือ บวก กับ ลบ จิตของเราเป็นเหมือนกันคือ
    สมุทยธัมมา ความเกิดขึ้น (ฝ่ายบวก)
    วยธัมมา ความดับไป (ฝ่ายลบ)
    ลักษณะของจิตนี้เกิดแล้วดับแล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งผลัดอยู่อย่างนี้ การหมุนเวียนนี้ เรียกว่า วัฏฏะจักรของจิต มีการเกิดขึ้นและสลายตัว แล้วก็ก่อตัวขึ้นมาใหม่ เกิดขึ้นของจิตนั้น อยู่ที่อารมณ์ จะมาในลักษณะไหน เช่น จิตมีราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ธรรมารมณ์เหล่านี้เป็นอารมณ์ของจิต ซึ่งเรียกว่า จิตนอก

    ภวังคจิต คืออะไร?
    ภวังคจิต คือ ภพของจิต หรือที่พักของจิต หรือที่จิตอาศัยอยู่ การอาศัยอยู่ของจิตนั้น เรียกว่าภวังค์ ภวังคจิตภายนอก ได้แก่ อายตนะ 6 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง 6 อย่างนี้ เป็นที่เกิดของจิตนอก เป็นที่รับการผัสสะ หรือสัมผัสกัน
    ภวังคจิตภายใน ได้อาศัยอายตนะ 2 อย่าง คือ ธัมมายตนะ 1 มโนวิญญาณธาตุ 1
    ธัมมายตนะ อายตนะของธรรมารมณ์(อยู่ที่สมอง) เป็นที่เก็บของสัญญาขันธ์ หรือที่เก็บเรื่องต่างๆ ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันธรรมารมณ์นี้จะส่งมาผัสสะกับอายตนะของใจอีกครั้งหนึ่ง เมื่อธรรมารมณ์มาผัสสะกับใจจึงเกิดเป็นมโนสัมผัส

    มโนวิญญาณธาตุ ธาตุที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้แก่ มโนวิญญาณ คือ การรับรู้ทางใจ ซึ่งเป็นผลจากมโนสัมผัส มโนวิญญาณธาตุจะเกิดขึ้นนั้นต่อเมื่อมโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว การเจริญวิปัสสนานั้นให้กำหนดรู้อารมณ์ของจิตให้ดับไปที่มโนสัมผัส เท่านั้น แต่ต้องตรวจดูขบวนของจิตให้ตลอดสาย พยายามประคองจิตมิให้การปรุงแต่งจิตมาประกอบ
    "ข้อควรระวัง" คือพยายามอย่าให้จิตดิ่ง นิ่ง เฉย หรือ จิตว่าง (จิตเป็นสูญญตา) การที่ปล่อยจิตว่างไปนั้น เป็นเวทนาละเอียด ได้แก่อุเบกขาเวทนา โดยมากการเจริญสมาธิ มักเข้าใจว่า การว่างนั้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา แต่ที่แท้จริงแล้วเป็นอารมณ์ของโมหะ คือ ความหลง จึงเกิดความสำคัญผิด โดยเข้าใจไปว่า ความว่าง หรือสูญเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
    ดังนั้นขอให้ผู้เจริญสมาธิธรรมจงได้ทำความเข้าใจใหม่ เฉพาะการเจริญวิปัสสนานั้นต้องเห็นพระไตรลักษณ์อยู่เนืองๆ เห็นพระไตรลักษณ์อยู่ทุกขณะของจิต จะไม่เห็นว่าการว่างของจิตอยู่ที่ไหน เพราะการที่เราไม่เห็นพระไตรลักษณ์นั้นจึงเป็นการหลงทางปฏิบัติโดยที่ไปติดในอารมณ์ของอุเบกขาเวทนา หมายถึงจิตดิ่งนิ่งเฉย
    นักปฏิบัติวิปัสสนา ต้องเข้าไปทำลายอุเบกขาเวทนา โดยกำหนดพระไตรลักษณ์ของเวทนาให้ดับไป เรียกว่าทำ นิโรธสัจจ์ให้แจ้ง

    การกำหนดรู้ฐานจิตในจิต
    การเจริญวิปัสสนาต้องกำหนดเห็นจิตภายในและจิตภายนอกด้วย จิตภายนอก คือนามธรรมที่เกิดกับใจ (มนายตนะ) หรือ อารมณ์ทั้ง 6 มีรูปภาพ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (การถูกต้องทางกาย) และธรรมที่เกิดกับใจ จิตภายใน คือ นามธรรมที่เกิดภายในใจ(ธัมมายตนะ) หมายถึงขันธ์ 5 คือ รูปธรรม เวทนาธรรม สัญญาธรรม สังขารธรรม และวิญญาณธรรม
    มนายตนะ คือที่ตั้ง อายตนะของใจ ซึ่งเป็นที่รับการสัมผัสของอารมณ์ภายใน หรือที่เรียกว่าธรรมารมณ์ จิต มาจากศัพท์ว่า จิ + ต หมายความว่าเป็นที่สั่งสม ส้องเสพ ซึ่งเป็นชื่อของสังขารขันธ์ และเป็นชื่อของ เจตสิกบ้าง จิตตสังขารบ้าง
    จิตนอก มีหน้าที่รับอารมณ์จากทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่ออารมณ์มาผัสสะกับอายตนะของใจแล้ว จะมีวิญญาณออกมารับรู้อารมณ์ของใจอีกทีหนึ่งเรียกว่า มโนวิญญาณ วิญญาณ แปลว่า การเคลื่อนไปรับรู้ หมายถึงมารับรู้ในอายตนะทั้ง 6 มี ตา เป็นต้น เรียกว่า จักขุวิญญาณฯ

    วิญญาณ เป็นชื่อของ ขันธ์ 5 คือวิญญาณขันธ์
    จิต เป็นชื่อของสังขาร หรือเจตสิก
    ใจ เป็นชื่อของอายตนะ คือ มนายตนะ
    เพราะฉะนั้นคำว่า วิญญาณ จิต ใจ ทั้ง 3 อย่างจึงไม่เหมือนกัน มโน คือใจ เป็นที่ตั้งของชีวิตินทรีย์ หรือที่เรียกกันว่าชีพจร โดยมีหน้าที่ผลักให้หัวใจทำงาน หรือหัวใจเต้นเป็นปรกติ และตลอดถึงการเต้นตามร่างกาย ชีวิตินทรีย์หรือชีพจร มีหน้าที่ทำให้ร่างกายขยายตัว ขับดันโลหิตต่างๆ ให้ทำงานตามหน้าที่ พึงสังเกตจากคนตายหัวใจหยุดทำงาน เพราะชีพจรของหัวใจหยุดทำงาน และธาตุทั้ง 4 มีธาตุดินเช่น เนื้อ หนัง เป็นต้น ธาตุน้ำ เช่น น้ำเลือดในร่างกาย เป็นต้น ธาตุไฟ เช่น ความอบอุ่นในร่างกายเป็นต้น ธาตุลม เช่น ลมที่หายใจเข้าออก เป็นต้น คนที่ตายนั้นสิ่งไม่ตายคือ วิญญาณ เมื่อคนตายวิญญาณก็จะจากร่างไปเกิดใหม่ ซึ่งบางคนที่สามารถระลึกชาติของตัวเองได้ ก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า คนเราตายแล้วจะต้องเกิดอีก แต่บางคนไม่เชื่อก็มี ก็เป็นเรื่องของความเห็นแต่ละบุคคล เรียกว่า สักกายะทิฎฐิ การถือในความเห็นของตัว

    วิธีกำหนดเห็นจิตในจิต
    การเจริญวิปัสสนานี้ ใช้ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิชั่วขณะที่ใจเต้นต้องยกจิตขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ จึงจะเห็นจิตและในจิต การดูจิตต้องดูที่มโนสัมผัสซึ่งเป็ฯอายตนะที่รวม ถ้าเปรียบก็เหมือน ประตูเข้า ท่านจึงเรียกว่า มโนทวาร บ้าง ที่เป็นมโนวิญญาณ เพราะจิตนอกมาผัสสะที่มโนสัมผัสนั้นมีอยู่ 2 ข้าง ส่วนจิตมีดวงเดียวซึ่งจะเกิดการผัสสะเป็นสองข้างโดยปรกติหัวใจของเรานั้นอยู่แถบซ้าย แต่ที่ว่าสองแถบเพราะจิตแบ่งซีกของกายเป็นซ้าย-ขวา ซึ่งจะผลัดกันเกิดดับเมื่อเกิดแถบซ้าย แถบขวาก็ดับ เมื่อเกิดแถบขวาแถบซ้ายดับ คือผลัดกันเกิดดับเหมือนลูกตุ้มนาฬิกา แกว่งไปแกว่งมาเรียกว่าสัมผัส ซึ่งกระทบอยู่ภายใน ถ้าจิตหยุดแกว่ง ชีพจรก็ดับ เหมือนนาฬิกาถ้าลูกตุ้มไม่แกว่ง เครื่องก็จะหยุดทำงาน และเข็มก็จะไม่เดินในร่างกายของคนเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อหัวใจหยุดเต้น คนเราก็ต้องตายเพราะฉะนั้นการมาเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญเมื่อตอนยังมีชีวิตอยู่และสุขภาพอนามัยยังดีอยู่ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะหาธรรมะเป็นที่พึ่งทางใจ โดยการมาเจริญมหาสติปัฏฐานทั้ง 4

    ข้อปฏิบัติถึงความดับแห่งราคะ
    คำว่า ราคะ หมายถึงความกำหนัดยินดี หรือการพอใจในอารมณ์ทั้ง 6 คือ รูปภาพที่มองเห็นด้วยตา เกิดยินดีในรูปนั้นเรียกว่า ราคะ หรือการได้ยินเสียงเช่นเสียงเพลงเป็นต้น ก็เกิดการยินดีในเสียง เรียกว่า ราคะ คือความกำหนัด หรือการกำหนัดในกลิ่นที่ดีๆ ในรสที่ดีๆ หรือผัสสะกันทางกายก็เรียกว่า ราคะ คือความกำหนัดหรือยินดีในสิ่งที่พอใจ
    อีกอย่างหนึ่งคือความกำหนัดทางเพศ ซึ่งปัจจุบันนี้คนเราตกเป็นทาสของความกำหนัด จึงต้องมีการคุมกำเนิด โดยเฉพาะในทางพระพุทธศาสนานั้นให้มีการคุมความกำหนัด โดยการมากำจัดที่เหตุ นับเป็นการปฏิบัติที่ดีมากที่สุด

    ความกำหนัดเกิดขึ้นได้อย่างไร
    ความกำหนัดที่เกิดได้มากคือ ทางตา กับทางหู
    วิธีปฏิบัตินั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้กับพระอานนทเถระว่า
    อย่าดู อย่ามอง เสียเลยเป็นการดี
    ถ้าจะดู ถ้าจะมอง ก็อย่ากล่าววาจาด้วย
    ถ้าจะกล่าววาจาด้วย ต้องมีสติสังวร ระวังในคำพูด
    นี้ก็เป็นคำสอนที่ยกมาประกอบกับข้อปฏิบัติอีกประการหนึ่ง การเกิดขึ้นของราคะ เมื่อตาเห็นสิ่งที่พอใจ จิตย่อมปรุงแต่งให้มีการ นึก คิด ใฝ่ฝันอยากจะได้ ในสิ่งที่ตนต้องการ
    การเจริญวิปัสสนา จะต้องกำหนดที่ตา เพื่อทำลายการปรุงแต่งทางตาให้ได้ โดยการกำหนดจักขุวิญญาณให้เห็นความเกิดดับของอารมณ์ มิให้จิตนำไปปรุงเรียกว่า ทำลายอุปาทานทางตา เพราะตาเห็นรูปจึงเป็นจักขุสัมผัส คือเงาภาพเข้ามาที่เลนส์ แล้วก็เกิดความรู้สึกที่ตา จากนั้นจักขุวิญญาณก็เกิดขึ้น การกำหนดต้องกำหนดขณะสัมผัส ถ้ากำหนดที่ตาไม่ทัน วิญญาณทางตาก็จะส่งมาที่ มโนสัมผัส คือที่หัวใจของเราก็ให้เรากำหนดที่มโนสัมผัส เพื่อมิให้จิตนำไปปรุงแต่งอีก เมื่อมโนสัมผัสเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นมโนวิญญาณ คือวิญญาณทางใจ การปรุงแต่งทางใจนั้น เรียกว่า จิตตสังขาร หรือ เจตสิก

    อาการเกิดขึ้นของราคะ ในจิตของเรานั้น ขณะนั้นเมื่อผู้เจริญธรรมอยู่ ก็สามารถหยั่งรู้ทันการเกิดของอารมณ์ที่มาประกอบกับใจ ซึ่งทำให้เกิดจิตกำหนัดในอารมณ์ราคะได้ และนักปฏิบัติต้องกำหนดหยั่งรู้ที่มโนสัมผัสทั้งสองข้าง (ซ้าย-ขวา) คือที่มนายตนะหรือมโนธาตุ ในอายตนะของใจนั้นมีทั้งภายใน มีทั้งภายนอก รวมทั้งซ้าย-ขวา เป็น 4 ห้องด้วยกัน แต่เราต้องกำหนดระหว่างกลางของมโนสัมผัส

    ก่อนที่จะเกิดการปรุงแต่ง ราคะนี้มักจะประกอบอารมณ์จากทางตา แล้วมาประกอบที่ใจอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออารมณ์มาประกอบแล้วจะเห็นที่มโนสัมผัสผิดปรกติทันที ธรรมชาติของจิตจะเต้นตามปรกติ เพราะจิตประกอบอารมณ์อื่นจึงเกิดอาการผิดปรกติ การประกอบนั้นอยู่ที่อารมณ์ของแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน
    เมื่อจิตประกอบราคะ จะเห็นการรวมตัวของอุปาทานขันธ์ 5 ที่มโนสัมผัส ใช้ญาณหยั่งรู้ชัดว่าจิตนี้ประกอบราคะหรือยัง จะเห็นการเต้นของมโนสัมผัสทั้ง 2 ข้าง(ซ้าย-ขวา) แล้วจะเห็นจิตวิ่งลงไปปรุงแต่งที่อวัยวะเพศ เมื่อวิ่งไปบวกกันแล้ว ขันธ์ทั้ง 5 จะสร้างอารมณ์ขึ้นทันที คือสร้างรูปหยาบ รูปเลว (โอฬาริกํ วา หีนํ วา) ลงไปในอวัยวะเพศจนเต็ม จึงทำให้เกิดการแข็งตัวขึ้น การรวมตัวของมันนั้นในบาลีว่า สนฺติเก คือการอยู่ใกล้ หรือการรวมตัว ต่อจากนั้นก็จะปรุงแต่งออกมาทางกายเรียกว่า กายสังขาร เมื่อจิตที่ประกอบด้วยอุปาทานรวมเป็นจุดเดียวกันแล้ว ยิ่งทำให้อวัยวะเพศมีการแข็งตัวยิ่งขึ้น ต่อเมื่อเต็มที่แล้วก็จะส่งผลย้อนกลับมาทั่วไปในร่างกายของเรา เหมือนการทดน้ำขึ้น หลังจากรูปหยาบ รูปเลวรวมตัวเป็นรูปละเอียดและรูปประณีตแล้ว ก็จะแผ่ซ่านไปทั่วไปในร่างกายจากนั้นก็จะผลักโลหิตแดง กลั่นเป็นโลหิตขาว จึงทำให้เกิดความใคร่ทางเพศออกมา นี้เป็นการแสดงลักษณะการเกิดความกำหนัดทางเพศต่อเพศ
    วิธีดับอารมณ์ราคะ
    วิธีดับอารมณ์นี้พระพุทธองค์ทรงแสดงวิธีแก้ไว้ 2 ทาง คือ
    1.การเจริญสมถกัมมัฏฐาน คือทำใจให้สงบ
    2.การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือการเจริญมหาสติปัฏฐาน 4

    การเจริญสมถะ ได้แก่การพิจารณา กายคตาสติ1 และอสุภะกัมมัฏฐาน 1 กายคตาสติ คือการพิจารณากายของตัวเองเป็นของน่าเกลียด ดังได้แสดงไว้ในปฏิกูลบัพพะ ส่วนอสุภกัมมัฏฐานนั้นคือการพิจารณาซากศพที่ตายไปแล้วโดยลักษณะเป็นของเน่าเปื่อย ไม่น่ายินดี ดังได้แสดงไว้ ในนวสีวถิกาปัพพะ หมวดการพิจารณา 9 ป่าช้า ในฐานกายในกาย
    การเจริญวิปัสสนา ได้แก่ การเจริญสติ เพื่อเข้าไปทำลาย ฆนะ คือกลุ่มก้อนของอุปาทานขันธ์ ให้แตกสลายไป การเข้าไปทำลายนั้น เราต้องรู้จักที่ตั้งของอุปาทานขันธ์ ซึ่งฐานจิตในจิต แบ่งที่ตั้งไว้ 2 อย่าง คือ อชฺฌตฺตํ วา เป็นภายใน พหิทฺธา วา เป็นภายนอก
    ภายในได้แก่ ในจิตภายใน
    ภายนอกได้แก่ ในจิตภายนอก
    การเจริญวิปัสสนาให้กำหนดเป็น 3 ส่วน คือ ภายใน1 ภายนอก1 และทั้งภายในทั้งภายนอก1
    วิธีดับราคะ ที่ตั้งของจิต คือ มนายตนะ อายตนะของใจ (ที่หัวใจ) ซึ่งเรามักเรียกกันง่ายๆ ว่าทางใจ แต่ใจของเราท่านแยกเป็น 2 คือ ภายใน กับภายนอก
    การดับอารมณ์ ได้แก่ การเจริญ สมฺปชาโน คือสัมปชัญญะ หน้าที่ของสัมปชัญญะในพระสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค 11/206.....ได้กล่าวไว้ 3 อย่างคือ
    1.การเข้าไปดับเวทนา
    2.การเข้าไปดับวิตก
    3.การเข้าไปดับสัญญา
    การดับด้วยวิปัสสนา คือการเข้าดับอารมณ์ปรุงแต่ง เพราะเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา การดับวิตก คือการดับอารมณ์ในการตรึกได้แก่การตรึกไปในทางความใคร่ เป็นต้น การดับสัญญา คือการดับความจำในอารมณ์ สัญญา คือการเสพอารมณ์ปรุงแต่งเก็บไว้ การปฏิบัติเราต้องกำหนดให้ติดต่อ แล้วอารมณ์ของอุปาทานก็จะสลายตัวแต่อย่าประมาท เมื่อเราเห็นว่ามันเริ่มสลายตัวก็ให้กำหนดจนกว่าอารมณ์ของอุปาทานจะดับไปโดยสิ้นเชิง

    วิธีดับอารมณ์ โดยมากเรามักเจริญด้วยการย้ายอารมณ์ เช่น การนึกอารมณ์อื่นๆบ้างแทนที่ เรียกว่าดับที่ผล วิปัสสนาคือ การดับเหตุทำลายเหตุ ถ้าจะถามว่าเหตุอยู่ที่ไหน? เหตุนั้นได้แก่ การผัสสะ เพราะการที่เราจะเข้าไปตัดเวทนาก็ดี ตัณหาก็ดี อุปาทานก็ดี ภพก็ดี ก็ต้องตัดที่เหตุ คือ ผัสสะ ธรรมทั้งหลายที่มีเหตุเป็นแก่น คือ การผัสสะ ถ้าเราได้ตัดที่อื่นเรียกว่าไปตัดที่ผล ไม่ใช่ตัดที่เหตุ การผัสสะภายใน คือ "มโนสัมผัสสชาเวทนา" ซึ่งตั้งอยู่ในฐานจิตในจิต พึงดูภาพประกอบการเจริญด้วย(อยู่ในหนังสือขออภัยที่ผมไม่สามารถนำมาลงในที่นี้ได้) อารมณ์ของราคะนี้รูปขันธ์หยาบจะเกิดขึ้นทำปฏิกิริยาก่อน ต่อจากเวทนา สัญญา สังขารวิญญาณก็รวมตัวกันทำงานทันที การทำงานของมันนี้ไวมากเพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว การรวมตัวของมัน จนนับจำนวนไม่ได้ก็ตาม ให้เราเอาสัมปชาโนหยั่งลงไปที่มโนสัมผัส เพราะสัมผชาโนนี้จะเข้าไปทำลายฐานที่ตั้งของขันธ์ 5 ห้ามหยั่งลงไปที่อวัยวะเพศของเราเพราะเป็นการดับที่ผล ไม่มีประโยชน์เหมือนตีงูที่หาง จะมีอันตราย พระพุทธศาสานาไม่ได้สอนให้ทำลายผล เมื่อเรารู้ว่าดูที่มโนสัมผัสไม่ชัด ก็ให้กำหนดอิริยาบถ กำหนดฐานกายในกายแล้วน้อมสู่ฐานจิตในจิต ซึ่งโดยมากมักจะได้พร้อมกัน เมื่อกำหนดฐานกายในกายก็จะถึงฐานจิตในจิตด้วย แต่ที่กล่าวให้กำหนดฐานกายในกายนั้น เพราะเป็นอารมณ์หยาบกำหนดเห็นง่าย ซึ่งทางศูนย์วิปัสสนา วัดไทรงามธรรมธรารามมักใช้ให้กำหนดในอิริยาบถย่อย คือการคู้แขนเข้า เหยียดแขนออก เนื่องจากแขนของเราสร้างกายกรรมมากกว่าทางอื่น และใช้งานมากกว่าอย่างอื่น เมื่อเรากำหนดได้แล้ว จึงน้อมเข้ามากำหนดที่จิตอีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นจะเห็นการผัสสะของจิตอย่างชัดเจน เมื่อสัมปชาโน รวมตัวกันแล้วก็จะเกิดเป็นองค์มรรค เข้าไปตัดอารมณ์ต่างๆ ทุกๆ ขณะจิต ที่ลอดออกจากภวังค์มาเป็นมโนสัมผัส อารมณ์ก็จะขาดไปและดับไปในระหว่างนั้น

    ปบฺจุปฏฺฐิตา โหติ คือการเข้าไปตั้งสติเฉพาะหน้า หมายถึงการเข้าไปกำหนดปัจจุบันทันทุกๆขณะ เมื่อกำหนดในปัจจุบันได้แล้ว อดีตและอนาคตก็จะดับไปด้วย สมาธิของวิปัสสนา คือการกำหนดเป็นขณะๆ เพราะจิตของเราก็เป็นขณะเช่นกัน เรียกว่าเห็นความเกิดดับทุกๆ ขณะ วิปัสสนาสมาธิเห็นพระไตรลักษณ์คือเห็นความเกิดดับของอุปาทานขันธ์

    การกำหนดรู้จิตเป็นโทสะ
    โสทํส วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ เมื่อจิตมีโทสะ ย่อมกำหนดรู้ชัดว่า จิตประกอบโทสะ
    การเกิดของโทสะ ก็เกิดขึ้นจากอายตนะเช่นเดียวกับราคะ
    วิธีดับอารมณ์ของโทสะมี 2 อย่าง คือ
    1.การเจริญสมถกัมมัฏฐาน
    2.การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    การเจริญสมถกัมมัฏฐาน ได้แก่ การทำใจให้สงบ โดยการเจริญพรหมวิหาร 4 หรือเจริญอัปปมัญญา 4 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คือการแผ่เมตตาจิต หรือทำจิตให้มีเมตตา ก็ได้ผลเช่นกันแต่เป็นเพียงการสะกดไว้ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่บังคับจิต
    การเจริญวิปัสสนา คือกำหนดที่เกิดของโทสะให้ดับไป ลักษณะของโทสะเป็นอารมณ์ หยาบและแรง
    เมื่อขณะโทสะเกิดขึ้น ให้กำหนดที่ มโนสัมผัส ซึ่งเป็นฐานจิตในจิต ก่อนที่โทสะจะเกิดขึ้น จะเกิดเป็น ปฏิฆะ คืออารมณ์ที่ร้อนอยู่ในจิต มีอาการอุ่นๆ หรือ กรุ่นๆ อยู่ในจิต จากนั้นก็จะส่งผลแรงขึ้น เมื่อมีอารมณ์อื่นทำให้ผิดใจ เราเห็นการเต้นของหัวใจ(มโนสัมผัส) เกิดอาการร้อนขึ้นๆ ในเมื่อจิตปรุงแต่งไปในทางโทสะแล้ว จิตของเราจะผิดปรกติทันที ในจิตจะเต้นแรงขึ้นๆ อุปาทานขันธ์จะประกอบอารมณ์ชนิดหยาบเกิดขึ้น
    เมื่อโทสะเกิดขึ้น ก็กำหนดหยั่งลงไปที่มโนสัมผัส เพื่อให้อุปาทานขันธ์แตกสลายไป หากกำหนดไม่ทันที่จิต ก็จะส่งผลออกมาทางกายบ้างวาจาบ้าง เราต้องหยั่งลงให้ขาดตอน ก่อนที่อารมณ์จะประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งให้เป็นโทสะ เมื่อเรากำหนดให้โทสะดับได้แล้ว การปรุงแต่งจะหยุดทันที โดยที่เราไม่ต้องเจริญเมตตา แต่เราเจริญเมตตาไว้ด้วยก็จะดีมาก นับเป็นการไม่ประมาท การเจริญวิปัสสนาคือการหยั่งรู้ให้โทสะดับไปที่จิตในจิต เมื่อที่จิตดับได้แล้ว ก็จะไม่ปรุงแต่งออกมาทางกาย และทางวาจา ซึ่งเป็นเหตุเกิดของสัมปชาโน คือความรู้สึก เราต้องทำจนชำนาญจึงจะสามารถกำหนดหยั่งรู้เท่าทันต่ออารมณ์ของโทสะได้

    การกำหนดหยั่งรู้อารมณ์ของโมหะ
    โมหะ คือ ความหลง ได้แก่หลงในสภาวธรรมที่ตนปฏิบัติอยู่ โมหะเป็นอารมณ์ที่ละเอียด อีกนัยหนึ่งเรียกว่า อวิชชา แต่อวิชชาแยกไปจากอารมณ์ของโมหะ อวิชชาเป็นอารมณ์ที่ละเอียดกว่าโมหะ เพราะโมหะเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ซึ่งพระสกทาคามี ได้ทำให้เบาบางลงเท่านั้น ส่วนอวิชชานั้น เป็นสังโยชน์เบื้องสูง ซึ่งพระอรหันต์เท่านั้นที่จะละได้ แม้แต่พระอริยบุคคลชั้นต่ำตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ก็ยังไม่สามารถที่จะละอวิชชาได้

    อารมณ์ของโมหะ มีลักษณะละเอียด เฉื่อยชา ซึมเซ่อ ใจลอย เมื่อจะกำหนดอารมณ์ของโมหะ จะดูที่มโนสัมผัสทีเดียวไม่ได้ จะต้องมากำหนดในอิริยาบถภายนอกก่อน โดยการมากำหนดรู้ทุกข์ในอายตนะต่างๆ แล้วจะเห็นทุกข์โดยลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จะต้องกำหนดทุกข์ จึงจะละโมหะนั้นได้

    กำหนดทุกข์เพื่อละโมหะ คือให้มากำหนดในอิริยาบถ เพราะเป็นอารมณ์หยาบกำหนดเห็นได้ชัดกว่า ถ้ามากำหนดที่จิต หรือมโนสัมผัสจะเห็นได้ยาก การเจริญวิปัสสนาต่างจากการเจริญฌาน สำหรับการเจริญฌานนั้น โดยการสร้างอารมณ์อื่นแทนที่ เมื่อสำเร็จฌานแล้วมักจะติดในอารมณ์ที่ตนได้ การที่หลงใหลในอารมณ์แห่งฌาน หรือเพลิดเพลินในนิมิตต่างๆ จึงทำให้มีการลืมตัว และสำคัญตนผิดคิดว่าเป็นผู้วิเศษ เช่นในสมัยพุทธกาล มีอุรุเวลกัสสปะ ชฏิล 3 พี่น้องก็สำคัญตนว่าได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่ายังเป็นผู้หลงอยู่ในลัทธิและสมาบัติของตน คือยังเป็นผู้มีโมหะอยู่ พระองค์จึงทรงแสดงเรื่องความร้อน (อาทิตตปริยายสูตร) โดยให้กำหนดในอายตนะทั้ง 6 ให้เห็นว่าเป็นความร้อน การเจริญสมาธินอกพระพุทธศานาจึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ

    การเจริญเพื่อแก้โมหะ คือให้กำหนดอิริยาบถ 4 และกำหนดอายตนะโดยการมาเจริญฐานกายในกาย และฐานเวทนาก่อน เมื่อเจริญฐานทั้ง 2 นี้ได้แล้วจึงค่อยมาเจริญฐานจิตในจิตอีกทีหนึ่ง ดังนั้นในมหาสติปัฏฐานสูตรจึงจัดเป็นฐานที่ 3 คือให้มากำหนดอุปาทานขันธ์อย่างหยาบก่อน แล้วค่อยมากำหนดอุปาทานขันธ์อย่างละเอียด กำหนดนั้นให้เริ่มจากฐานกายในกาย หากไม่เจริญเช่นนี้ก็จะตัดอารมณ์ของโมหะได้ยาก เมื่ออารมณ์โมหะเกิดขึ้นจะไม่เห็นจิตในจิตหรือจะไม่เห็นมโนสัมผัส ดังนั้นการจะหยั่งรู้จิตที่ประกอบด้วยโมหะก็ดี หรือจิตปราศจากโมหะก็ดี ก็ต้องกำหนดหยั่งรู้ด้วยประการฉะนี้

    การกำหนดจิตหดหู่และจิตฟุ้งซ่าน
    การเจริญวิปัสสนาจะมีอารมณ์เกิดขึ้นเสมอ เมื่อเกิดกับจิตก็ให้กำหนดดูที่จิต คือ มโนสัมผัส การเกิดของจิตที่หดหู่หรือฟุ้งซ่านก็จะขาดหายไป
    ขณะเมื่อจิตมีอาการหดหู่ จิตของเรามีอาการเคลิบเคลิ้มในอารมณ์เช่นมีความง่วงเหงาหาวอยากจะนอน ทำให้เกิดการท้อแท้ในใจไม่อยากจะปฏิบัติธรรม เมื่อจะแก้ต้องทำให้จิตตื่น ทำให้จิตร่าเริง ทำให้จิตเบิกบานแจ่มใส พึงดูแสงสว่างภายนอก เมื่อจิตตื่นแล้วก็ให้กำหนดในอิริยาบถ 4 จนสามารถกำหนดสัมปชัญญะให้ทั่วพร้อมในกายได้แล้ว จึงกำหนดดูจิตในจิตอีกครั้งหนึ่ง
    การกำหนดจิตฟุ้งซ่าน การฟุ้งซ่านแห่งจิตเป็นอันตรายกับนักปฏิบัติมาก การฟุ้งซ่านเกิดจากการไม่สงบแห่งจิตในภายในจิต ทำให้จิตฟุ้งซ่าน จึงมีความรำคาญใจ จู้จี้ จุกจิก นั่งไม่เป็นสุข
    การกำหนดจิตฟุ้งซ่าน ซึ่งได้แสดงไว้หลายแห่งด้วยกัน โดยการเจริญอานาปานสติ คือการกำหนดดูลมหายใจเข้า-ออก เพื่อให้จิตตสังขารและกายสังขาร (สังขาร คือการปรุงแต่งทางจิตและกาย) เมื่อเราเจริญอานาปานสติ กำหนดดูลมหายใจจนจิตตสังขารและกายสังขารสงบระงับแล้ว ก็ให้มากำหนดในอิริยาบถ โดยการทำควมรู้สึกหรือทำสัมปชัญญะในส่วนของการเคลื่อนไหวทางกาย เช่น การคู้แขน การเหยียดแขน หรือการก้มคอ หรือการเหลียวไปเหลียวมา เพื่อให้ความรู้สึกหรือสัมปชัญญะเกิดขึ้นให้ชัดเจน
    เมื่อเรากำหนดฐานกายได้แล้ว จึงค่อยมากำหนดที่มโนสัมผัสขณะเมื่อจิตฟุ้งซ่านนั้น จะเห็นการผัสสะของจิตไม่ปรกติ จิตผัสสะสูงบ้าง ต่ำบ้าง แรงบ้าง เบาบ้าง ไม่สม่ำเสมอ ผู้ที่เคยดูจิตในจิตชัดมาก่อนแล้ว ก็หยั่งลงไปในระหว่างมโนสัมผัสทั้งสองข้าง (ซ้าย-ขวา) ความรู้สึกหรือสัมปชัญญะจะเข้าไปตัดอารมณ์ของจิตฟุ้งซ่านทันที

    การกำหนดจิตเป็นมหรคต
    จิตเป็นมหรคต คือจิตที่น้อมไปในทางฌานหรือสมาบัติจะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติโดยเป็นสมาธิมากเกินไป จิตจำพวกนี้จะเกิดขึ้น การเจริญวิปัสสนานั้นจิตมีอุปสรรค ซึ่งอาจจะหลงไปในอารมณ์จำพวกนี้ได้ จึงจำเป็นต้องเข้าใจและต้องระวังให้มาก อาจจะถูกอารมณ์ เช่นนี้ชักนำไปในทางที่ผิด ให้เป็นมิจฉาสมาธิ
    วิปัสสนาคือการกำหนดปัจจุบัน เป็นสมาธิ อกาลิโก หรือเป็น ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิชั่วขณะๆ เพราะจิตนั้นถ้าถูกบังคับก็จะเป็นสมาธิแบบอัตตา ในสัมมาสมาธิฐาณ 5 ได้แสดงไว้มิให้บังคับจิต ถ้าจิตถูกบังคับก็จะเกิดเป็นอุปจารสมาธิ คือสมาธิเริ่มเข้าสู่อัปปนา อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิที่ดิ่งแน่วแน่ โดยมีอุเบกขาเวทนาเป็นเครื่องประกอบให้ติดอยู่ เมื่อผู้เจริญเข้าถึงอัปปนาสมาธิ ก็สามารถน้อมไปในอารมณ์ต่างๆ เช่น การเห็นภาพนิมิต เป็นพระพุทธเจ้าบ้าง พระสาวกบ้าง หรือเห็นผีสาง เทวดา นรก สวรรค์ เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าเดินผิดทางแล้ว เพราะจิตตกจากฐาน โดยที่ไม่ได้มากำหนดหยั่งรู้จิตใจที่ มโนสัมผัส

    การเจริญสมาธิแบบสมถะหรือสมาธิของฌานสมาบัติ
    คือการยึดถือในนิมิตเป็นอารมณ์ จะเห็นเป็นเพียงนิมิต ซึ่งจะเกิดจากการสร้างมโนภาพ คือในระหว่างที่นิมิตเกิดขึ้นนั้นก็กำหนดให้นิมิตนั้นดับไป เมื่อนิมิตดับ แสงสว่างก็จะปรากฏขึ้นแทน แล้วกำหนดให้แสงสว่างดับไป ความว่างก็จะเกิดขึ้น ในระหว่างนั้นจิตจะรู้ตัวตนว่า ความว่างเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจิตว่างอยู่จะปรารถนาในองค์ฌานก็พิจารณาน้อมจิตไปในทางฌาน ความว่างทั้งภายในทั้งภายนอกนี้จัดเป็นจิตที่เป็น มหรคต คือจิตเป็นใหญ่ในองค์ฌาน การเข้าถึงจิตประเภทนี้จัดเป็นจิตที่ประกอบด้วยภพ หรือภวตัณหา ซึ่งนักปฏิบัติวิปัสสนามักเข้าใจผิดว่าความว่างเช่นนี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ทำให้ผู้ปฏิบัติหลงทางเสียส่วนมาก จึงมีการสำคัญผิด การเห็นในลักษณะเช่นนี้เป็นความว่างที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือการยึดมั่นในอารมณ์ของภวตัณหา เมื่อจะกำหนดวิปัสสนาจะต้องถอยจิตออกให้จิตดิ่งแน่วแน่โดยการกำหนดหยั่งรู้อุปาทานอย่างหยาบ หรือกำหนดทุกข์ของอริยสัจ 4 ในอิริยาบถทั้ง 4 แล้วจึงค่อยกำหนดดูในจิตที่ มโนสัมผัสสชาเวทนา จึงจะถอนอุปาทานออกจากจิตในจิตนั้นได้
    การเจริญวิปัสสนาหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ต้องกำหนดหยั่งรู้ที่จิตในจิตคือที่มโนสัมผัส เห็นความเกิดดับของขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเป็นนามธรรมอยู่ภายในจิต
    อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดังนี้ฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ที่อยู่ ณ ภายในบ้าง
    พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ณ ภายนอกบ้าง
    อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ
    เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในและทั้งภายนอกนั้นบ้าง การพิจารณา คือการเข้าไปกำหนดหยั่งรู้ที่มโนสัมผัส เมื่อสังขารปรุงแต่งจิต โดยเกิดการสัมผัสในอายตนะภายในและภายนอก วิญญาณ 6 จึงเกิดขึ้น ดังนั้นจึงให้กำหนดในขณะสัมผัสที่ใจหรือมโนสัมผัส เพราะใจเป็นที่รวมของอารมณ์ทุกๆ ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้ง 5 อย่างนี้จะต้องรวมลงที่ใจทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จึงกำหนดที่ จิต คือมโนสัมผัสฯ
    สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม (ขันธ์ 5) ที่เกิดขึ้นในจิตนั้นบ้าง
    วยธมฺมานุปสฺสีฯ เห็นความเสื่อมไปในจิตนั้นบ้าง สมุทยวยธมฺมา นุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ และเธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม (ขันธ์ 5) ทั้งที่เกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจิตนั้นบ้าง (คือเห็นระหว่างการเกิดขึ้นและความเสื่อมไปพร้อมๆกัน) คือการกำหนดให้เห็นความเกิดดับของอุปาทานขันธ์ เพื่อมิให้จิตเข้าไปยึดถือในอารมณ์ต่าง ๆ มีราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
    อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฐิตา โหติ ก็หรือสติว่า "จิต" นั้นมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น คือ ให้มีสติตั้งเฉพาะที่เราจะกำหนด ในจุดใดจุดหนึ่ง มิให้ไปกำหนดในหลายที่ จะทำให้เรามีสติไม่มีฐาน ดังนั้นมหาสติปัฏฐาน 4 จึงให้เจริญสติไปตามฐานนั้นที่เรากำหนดอยู่ โดยให้มีสัมปชัญญะกำกับไปด้วย มีญาณหยั่งรู้ทุกขณะของจิต ในขณะที่จิตทำงานอยู่นั้น
    ยาวเทว ญาณมตฺตาย แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้
    ปติสฺสติมตฺตาย แต่เพียงสักว่าเป็นที่ระลึก
    อนิสฺสิโต จ วิหรติ เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย
    น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ย่อมไม่เข้าถือมั่นด้วยอุปาทานในสิ่งใดๆ ในโลกนี้ด้วยฯ
    การเจริญวิปัสสนา ย่อมไม่เข้าไปถือมั่นไม่ยึดมั่นในสิ่งใดๆ ที่เป็นธรรมภายในก็ดี ที่เป็นธรรมภายนอกก็ดี เพราะสิ่งทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นและธรรมทั้งหลายเป็นของไม่ใช่ตัวตนดังบาลีว่า "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นว่าเป็นของเรา เป็นตัวเรา เพราะธรรมนั้นย่อมเป็นไปตามเหตุ เป็นไปตามปัจจัย คือเกิดขึ้นแล้วก็แปรปรวนไป เป็นธรรมดา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงแต่สภาพสิ่งหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็แตกสลายไปในที่สุด ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของเรา ดังนี้
    เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ดังนี้ฯ

    จบการพิจารณาเห็นจิตในจิต

    จากหนังสือ "คู่มือปฏิบัติธรรม ทางสายเอก ภาคปฏิบัติวิปัสสนา" โดย พระครูภาวนานุศาสก์ พระอาจารย์ ธมฺมธโร ภิกฺขุ(หลวงพ่อแป้น) ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดไทรงามธรรมธราราม ต.ดอนมะสังข์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โทร.(035) 522005

    ปล.นี่เป็นข้อมูลเฉพาะฐานจิตในจิต ค่อนข้างละเอียดหน่อยนะครับ
     
  14. The Third Eyes

    The Third Eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +51,007
    วันนี้ยังเช้าอยู่ ยังไม่ออกไปที่บูธ 053 หน้าตลาดอตก
    ก็แวะมาอ่าน มีคนถามหลายข้อ
    ขอตอบรวมๆๆกันไป

    คุณ 431240 ถามว่า ขอพลังจาก พระพุทธรูปได้ใหม

    ได้ครับ แต่อ้อมโลกไปหน่อย
    ตั้งจิตขอจาก พระพุทธองค์ที่อยู่ในหัวใจได้เลย

    ผมจะอัญเชิญพระพุทธองค์ มาโปรดแผ่พุทธบารมี
    ทุกครั้งที่ไป บรรยาย ธรรม แล้วในตอนสุดท้ายที่จบ เป็นการขอพุทธบารมีมาโปรดให้แก่คนที่มาฟัง ธรรม
    การฟังธรรม เป้นการได้กุศลแรง ทั้ง คนสอน และ คนฟัง

    เมื่อวันที่ 25 กพ 49 เวลา 14.00-16.00 น ผมไปบรรยายธรรม เรื่อง
    แสงทิพย์รอบกาย การสวดมต์ การอยู่กับธรรมชาติที่ล้อมตัวเรา
    มีคนมาฟังเต็มห้อง
    เมื่อจบ ก็จะอัญเชิญพระพุทธองค์ให้เสด็จมา
    พระองค์จะเสด็จมา มองเห็นเป็นแสงกายสีทอง สว่างในดวงจิต
    เมื่อพระองค์ยกพระหัสถ์ขึ้นให้พร
    พลังที่ออกมาจะเย็นซาบซ่า
    ทำให้หายเหนื่อ่ย และสดชื่น อิ่มใจ
    คนที่ไปฟังมีมาก
    ถ้าบังเอิญมาอ่านเรื่องนี้
    ก็ขอให้ ออกมาเล่าด้วยว่า
    บรรยากาศเวลา พระพุทธองค์เสด็จมาเป็นอย่างไร
    สาธุ..สาธุ...สาธู
     
  15. The Third Eyes

    The Third Eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +51,007
    พระพุทธองค์ ได้เสด็จปรินิพพานไปมากกว่า 2500 ปีแล้ว
    เวลาเหมือนจะผ่านไป นั่นคือเวลาที่สมมุติบนโลก
    ที่เกิตจากการอ้างอิงกับการหมุน ที่ทำให้เกิดกลางวัน และกลางคืน
    และเกิดการกำหนด เวลา เป็น 24 ชั่วโมง

    แต่ในที่อื่น ล่ะ..ไม่มีการหมุนการเเปลี่ยนแปลงมากนัก
    เราจึงพอจะรู้ว่า เวลา 1 วันบนสวรรค์ นานเท่า หลายปีบนโลกมนุษย์
    เทียบกันไม่ได้

    ดังนั้น 2500 ปี บนโกเรา นับว่า ไม่กี่ ชั่วโมงเมื่อเทียบกับเวลา บนสวรรค์
    การที่พระพุทธองค์ เสด็จนิพพานไป
    แปลว่า พระองค์ไม่มีการเกิด-ดับอีกต่อไป
    สถิตย์อยู่ในจักรวาล อันอนันตื
    และอยู่ในหัวใจของเราชาวพุทธ ต่อไป
    จนกว่าจะไม่มีโลก
     
  16. The Third Eyes

    The Third Eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +51,007
    ถึงแม้พระพุทธองค์จะนิพพานไปนานกว่า 2500 ปีแล้ว
    พวกเราก็ยังสามารถเข้าเฝ้าพระองค์ได้ ด้วยตัวเอง
    ใครอยากไปเฝ้าพระพุทธองค์ให้ไปที่วัดแก้วฟ้า ในสวนทุเรียน
    บางกรวย นนทบุรี อยู่ไม่ห่างจากปากทางเข้าโรงพักบางกรวย

    เข้าไปที่ โบสถ์หลังใหม่
    ในนั้นมีรูปวาด พุทธประวัติที่สวยงามมากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 40 ภาพ
    แต่ละภาพ มีขนาดใหญ่ 2 เมตร คูณ 2.5 เมตร วางเรียงกันไป

    คนที่มีจิตสมาธิดี ไปยืนตรงหน้ารูปแต่ละรูป ตามพุทธประวัติ
    เมื่อได้ที่ ตัวเองจะหลุดเข้าไปในภาพ ย้อนยุคกลับไป กว่า 2500 ปี
    เหมือน ในทีวี ที่คุณ สิเรียม เคยแสดง เรื่อง "ทวิภพ"
    ที่เดินทะลุกระจกกลับไปสู่ยุค ร.5
     
  17. The Third Eyes

    The Third Eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +51,007
    ที่นี่ก็เช่นกัน
    เมื่อเข้าไป เราจะถอยกลับไป 2500 ปี
    กลับไปอยู่ในช่วงเวลาใด
    ให้เลือกเอา

    ที่น่าสนใจและสนุกมาก มีอยู่ 4 ภาพ คือ ในวังของ ของ เจ้าชายแห่งกรุงกบิลพัศ เราจะเห้น บบรรยากาศ ของความยินดีปราโมทของพสกนิกร

    ภาพตรัสรู้ เราจะรู้สึกว่า เราอยู่ตรงหน้าพระองค์ โลก จะหยุดหมุน เหมือนจะบอกว่า วันที่ยิ่งใหญ่ ที่จะเปิดให้โลกรู้ว่า ความลับที่มีมานานแล้วว่า เราจะหลุดพ้นได้อย่างไร กำลังจะเปิด

    ภาพวันมาฆบูชาอันยิ่งใหญ่ เมื่อเราเข้าไป
    เราก้จะเหมือน รวมอยู่ในกลุ่มผู้คน ณที่นั้นด้วย
    เราจะได้ยินคำสอนเทศนาจากพระองค์ด้วยหูของเราเอง
    จะเกิดความปิติอย่างมหาศาลในใจเรา

    ภาพตอนปรินิพพาน นั้น
    เราเหมือนจะได้เฝ้าดูวะระสุดท้ายของสังขารด้วย
    ด้วยความโศกสลดที่ผู้ที่เรารัก และบูชาอย่างยิ่งใหญ่ต้องจากไป
    แต่เราก็รู้ว่า พระองค์ไม่ได้ไปใหน
    ยังคงอยู่กับพวกเราต่อไป
    จะอยู่อย่างแนบแน่น โดยเพาะ ผู้ที่ถือศีลอย่างเคร่งครัด
     
  18. The Third Eyes

    The Third Eyes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +51,007
    ผมได้เคยจัดทัวร์พาคนเข้าไปที่วัดแก้วฟ้า
    และพาเข้าในภาพย้อนยุคกลับไป มากกว่า 10 รุ่นๆ ละ 10-20 คน
    รวมกันแล้วมากกว่า 200 คนที่มีโอกาสได้เข้าไป

    ใครที่ถือศีล และมีจิตดี อยากจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ย้อนยุด

    ไปเกิดครับ เพราะเป้นบุญอย่างยิ่งที่จะได้ไปเฝ้าพระทธองค์ ในขณะที่ตัวยังมีสังขารอยู่
    เป็นการไปก่อน ที่เราจะตาย แล้วไปเฝ้าในภายหลังการตาย

    มีข้อห้ามอยู่หนึ่งข้อ เมื่อไปยืนดูที่ภาพ สุดท้ายคือ ปรินิพพาน
    อย่า ถอดจิตเข้าไป
    เพราะมีหลายครั้งที่พาคนเข้าไปแล้ว
    เกิดศรัทรามาก ไม่ยอมกลับออกมา
    อยาก นิพพานไปพร้อมๆๆ กับพระพุทธองค์

    จึงต้องเชิญสุนทรพจ์เทศนามาให้ฟังว่า
    ทุกอย่างเป้นอนิจจัง มีเกิด มีดับ เป้น ธรรมดา
    การจากกับผู้ที่รัก นั้นเป็นทุกข์
    จะดับทุกข์ได้อย่างไร
    ขอให้ทำตามที่ ตถาคต ได้บอกไว้
    ทุกคนที่อยากจะนิพพาน ณ ตรงนั้น ไปพร้อมพระพุทธองค์
    จึงกลับจิตออกมาได้
    (ถึงเวลาไปทำงานอีกแล้ว จะมาต่ออีกครับ)
     
  19. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    น่าสนใจมาก ขออนุโมทนาด้วยครับ คุณตาที่สาม
     
  20. 431240

    431240 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +643
    ขออนุโมทนา คุณ WIT กับ คุณตาที่ 3 ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...