อภิญญา กับ วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 12 พฤษภาคม 2016.

  1. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    น้อยไป จิฮับ

    การผสมนอกมดลูก หมอเก่งๆ จะ รอดู กระบวนการแตกเซลล์ ซึ่งเป็น
    สัญญาชีวิต ก่อตัวแบ่งเป็น หัวใจ ม้าม ปอด เส้นจี้ กึ๋น

    ไม่ใช่แค่หนึ่งหน่วยนะฮับ

    หมอเก่งๆ ไม่รู้เขาทำไง เขาทำให้เป็น แฝดสอง สาม สี่ แปด ไปโน้นเลย


    เอาเนาะ

    ทักพอหอมปากหอมคอ ฮับ อาศัย ศุภนิมิต สหายธรรม พี่ สมถะ อันมีนามว่า "มังกรคว้า"
    เขากลับมาโพส ก็เลย ถือโอกาส กระแซะ พี่ สมถะ บ้าง

    หากไม่มี สัญญาณดีอื่นๆ พี่ก็โพสไปนะฮับ

    ไม่ต้อง โพส แล้วล๊อค ให้หมดสง่า ราศรี วัดที่เป็นพิพิฐภัณฑ์ แบบสมาชิกท่านอื่น ชื่อ นักงับเงา




    ปล. การเห็นการเกิดของ มนุษย์ ไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ .....อันนี้ น่ากลัวนะฮับ อวิชชา ล้วนๆ !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2016
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิชชาธรรมกายระดับสูง

    ฌาณคืออะไร ? ฌานเกิดจากอะไร ?

    สติปัฏฐาน ๔ และอานิสงส์

    "รู้วิธีเดินอริยสัจ"

    พิจารณาอริยสัจ ๔ ในญาณ ๓

    การเดินวิชชาธรรมกายตามแนว สติปัฏฐาน ๔

    วิชชาธรรมกาย : ภาคพิจารณา วิปัสสนาภูมิ

    วิชชาธรรมกาย : วิธีทดลองจิตว่าอาสวะจะสิ้นเพียงไหน

    เปิดศึกษาตามลิ้งค์นี้ : วิชชาธรรมกายระดับสูง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    “ยึดมั่น” “ยึดติด” “ตัวตน” “นิมิต” และ “ปล่อยวาง” ในวิชชาธรรมกาย

    อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215505


    [​IMG]
     
  4. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ขออนุญาติถาม คุณสมถะ

    "๓. การเกิดธรรมหรือที่เรียกว่า เห็นธรรมนั้น ใจของเราก็ต้องเดินไปตามจุดหมาย ๗ จุดเช่นนั้นด้วย

    สุดท้าย ต้องไปทำใจหยุดใจนิ่งตรงศูนย์กลางกาย คือ ตรงฐานที่ ๗ เพราะฐานที่ ๗ เป็นที่ตั้งของปฐมมรรค อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเห็นธรรมตรงนั้น ถ้าไปตั้งใจไว้ที่อื่น เราก็หมดโอกาสได้เห็นธรรม เพราะไม่ถูกจุดเริ่มต้น เมื่อไม่ถูกจุดเริ่มต้น ก็แปลว่า ล้มเหลวสิ้นเชิง"

    ......ถ้าไปตั้งใจใว้ที่ตรงนั้น อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเห็นธรรม ถามว่า ใครเป็นคนเห็นธรรม

    .....คำว่าเรา ในที่นี้หมายถึง จิตใช่หรือไม่ หรือเป็นสิ่งอื่น เป็นนามธรรมตัวใหนละครับ


    ....คำว่าสติ กับ สัมปชัญญะ เกี่ยวกับ วิชาธรรมกายตรงใหนบ้างครับ


    ...ขอสนธนาธรรมด้วยนะครับท่าน
     
  5. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815

    จิตอวิชชา มันแปลงร่าง เป็นรูปพระพุทธเจ้า นั้งอยู่ในกายเนื้อ

    มันต้องทำลายทิ้ง อย่าสงวนรักษา

    ถ้าทำลายได้จะเจอจิตบริสุทธิ์...
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเห็นธรรม ใจต้องรวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ "ศูนย์" นั่นคือ สติรวมเป็นหนึ่ง จากนั้นเราจึงเห็นธรรม ธรรมที่เห็นท่านเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง
     
  7. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ หมดกิเลสด้วยญาณทัสสนะของพระธรรมกาย​


    [​IMG]
    พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    คัดมาบางส่วนจาก
    กัณฑ์ที่ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
    อ่านเนื้อหาเต็มๆ ได้ที่นี่http://khunsamatha.com/new/001.html



    ขันธ์ ๕ เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ ๕ หรือวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภาพ รูปภพ อรูปภพ นี้เอง มืดมนวนอยู่ในที่มืด คือโลกนี้เอง ได้ในคำว่า อนฺธภูโต อยํ โลโก ซึ่งแปลว่า โลกนี้น่ะมืด ผู้แสวงหาโมกขธรรม ถ้ายังติดขันธ์ ๕ อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกก็พวกมีขันธ์ ๕ พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตนรก เรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว

    วิชชาที่ว่านี้หมายเอา วิชชา ๓ คือ ๑ วิปัสสนาวิชชา ๒ มโนมยิทธิวิชชา ๓ อิทธิวิธิวิชชา แต่ถ้านับรวมตลอดถึงอภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชาเข้าด้วยกันแล้วรวมกันเป็น ๘ คือ ๔ ทิพพจักขุวิชชา ๕ ทิพพโสตวิชชา ๖ ปรจิตตวิชา ๗ ปุพเพนิวาสวิชชา ๘ อาสวักขยวิชชา

    ส่วนจรณะ นั้น มี ๑๕ คือ ๑ ศีลสังวร ๒ อินทรียสังวร ๓ โภชเน มัตตัญญุตา ๔ ชาคริยานุโยค ๕ สัทธา ๖ สติ ๗ หิริ ๘ โอตตัปปะ ๙ พาหุสัจจะ ๑๐ อุปักกโม ๑๑ ปัญญา กับรูปฌาน ๔ จึงรวมเป็น ๑๕

    วิปัสสนา ต่อไปนี้จักแสดงถึงวิชชา และจะยกเอา วิปัสสนาวิชชา ขึ้นแสดงก่อน "วิปัสสนา" คำนี้ แปลตามศัพท์ เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หรือนัยหนึ่งว่าเห็นต่างๆ เห็นอะไร? เห็นนามรูป, แจ้งอย่างไร? แจ้งโดยสามัญลักษณะว่าเป็นของไม่เที่ยง เต็มไปด้วยทุกข์ และเป็นอนัตตา ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา มีข้อสำคัญที่ว่า เห็นอย่างไร? เป็นเรื่องแสดงยากอยู่ เห็นด้วยตาเรานี่หรือเห็นด้วยอะไร? ตามนุษย์ไม่เห็น ต้องหลับตาของมนุษย์เสีย ส่งใจไปจดจ่ออยู่ที่ศูนย์ดวงปฐมมรรค เห็น จำ คิด รู้ มีอยู่ในดวงปฐมมรรคนั้น ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมไม่เห็น ก็เพราะว่าพวกเหล่านี้ยังไม่พ้นโลก เสมือนลูกไก่อยู่ในกระเปาะไข่ จะให้แลลอดออกไปเห็นข้างนอกย่อมไม่ได้ เพราะอยู่ในกระเปาะของตัว เพราะโลกมันบัง ด้วยเหตุว่าโลกมันมืดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พวกเหล่านี้จึงไม่สามารถจะเห็น กล่าวคือ พวกที่บำเพ็ญได้จนถึงชั้นรูปฌาน และอรูปฌาน ก็ยังอยู่ในกระเปาะภพของตัว ยังอยู่จำพวกโลก หรือที่เรียกกันว่า ฌานโลกีย์ ยังเรียกวิปัสสนาไม่ได้ เรียกสมถะได้ แต่อย่างไรก็ดี วิปัสสนาก็ต้องอาศัยทางสมถะเป็นรากฐานก่อนจึงจะก้าวขึ้นสู่ชั้นวิปัสสนาได้

    การบำเพ็ญสมถะนั้น ส่งจิตเพ่งดวงปฐมมรรคอยู่ตรงศูนย์ คือ กึ่งกลางกายภายในตรงกลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้ายขวาหน้าหลัง แล้วเลื่อนสูงขึ้น ๒ นิ้ว เมื่อถูกส่วนก็จะเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมเป็นชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ภายในตามลำดับจากกายมนุษย์เข้าไป พิจารณาประกอบธาตุธรรมถูกส่วนรูปจะกะเทาะล่อนออกจากกัน เห็นตามลำดับเข้าไป กายมนุษย์กะเทาะออกเห็นกายทิพย์ กายทิพย์กะเทาะออกเห็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมกะเทาะออกเห็นกายอรูปพรหม ในเมื่อประกอบธาตุธรรมถูกส่วน วอกแวกไม่เห็น นิ่งหยุดจึงเห็น หยาบไม่เห็น ละเอียดจึงเห็น อาตาปี สัมปชาโน สติมา ประกอบความเพียรมั่นรู้อยู่เสมอไม่เผลอ เพียงแต่ชั้นกายทิพย์เท่านั้นก็ถอดส่งไปยังที่ต่างๆ ได้ ไปรู้ไปเห็นเหตุการณ์ได้เหมือนตาเห็น คล้ายกับนอนหลับฝัน แต่นี่ไม่ใช่หลับเห็นทั้งตื่นๆ การนอนคนธรรมดาสามัญจะหลับเมื่อไรไม่รู้ จะตื่นเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าถึงชั้นกายทิพย์แล้ว จะต้องการให้หลับเมื่อไร จะให้ตื่นเมื่อไรทำได้ตามใจชอบ พวกฤาษีที่ได้บำเพ็ญฌานเขาก็ทำได้ แต่ทั้งนี้ก็อยู่ในขั้นสมถะนั้นเอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ได้เรียนฌานมาแล้วจากในสำนักฤาษี กล่าวคือ อาฬารดาบสและอุทกดาบสก็ได้ผลเพียงแค่นั้น พระองค์เห็นว่ายังมีอะไรดียิ่งกว่านั้น จึงได้ประกอบพระมหาวิริยะบำเพ็ญเพียรต่อไป จนในที่สุดพระองค์ได้บรรลุวิปัสสนาวิชชา เมื่อถึงขั้นนี้แล้วจึงมองเห็นสามัญลักษณะ เห็นนามรูปด้วยตาธรรมกาย เพราะพระองค์ทะลุกระเปาะไข่ คือ โลกออกมาได้แล้ว

    พระองค์เห็นโลกหมดทั่วทุกโลก ด้วยตาธรรมกาย พระองค์รู้ด้วยฌานธรรมกาย ผิดกว่าพวกกายทิพย์ รูปพรหมและอรูปพรหมเหล่านั้นเพราะพวกเหล่านั้นรู้ด้วยวิญญาณ แต่พระองค์รู้ด้วยญาน จึงผิดกัน สภาพเหตุการณ์ทั้งหลายแหล่พระองค์รู้เห็น แต่ไม่ใช่รู้ก่อนเห็น พระองค์เห็นก่อนรู้ทั้งสิ้น

    การเห็นรูปด้วยตามนุษย์ อย่างเช่นพระยสะกับพวกไปพบซากศพและช่วยกันเผา ขณะเผาได้เห็นศพนั้นมีการแปรผันไปต่างๆ เดิมเป็นตัวคนอยู่เต็มทั้งตัว รูปร่าง สี สัณฐานก็เป็นรูปคน ครั้นถูกความร้อนของไฟเผาลน สีก็ดำต่างแปรไป ดำจนคล้ายตะโก หดสั้นเล็กลงทุกทีๆ แล้วแขนขาหลุดจากกัน จนดูไม่ออกว่าเป็นร่างคนหรือสัตว์ ไม่เพียงเท่านั้น ครั้นเนื้อถูกไฟกินหมดก็เหลือแต่กระดูกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ในที่สุดกระดูกเหล่านั้นแห้งเปราะแตกจากกันล้วนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนดูไม่ออกว่าเป็นกระดูกสัตว์หรือกระดูกมนุษย์พระยสะปลงสังเวชถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสังขารร่างกายที่เป็นซากศพนั้น แม้กระนั้นก็ยังไม่ทำให้บรรลุมรรคผล จนกว่าจะได้ไปพบพระพุทธเจ้าจึงบรรลุมรรคผล นี่ก็เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า เห็นด้วยตามนุษย์ ไม่ทำให้บรรลุมรรคผลได้ อย่างมากก็เป็นเพียงปัจจัย เพื่อจะให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น การเห็นด้วยตาทิพย์ตารูปพรหม และอรูปพรหมก็เช่นเดียวกัน เป็นเพียงปัจจัยเพื่อให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย จึงจะบรรลุมรรคผลได้

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า เบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ รูปจะกล่าวในที่นี้ เฉพาะรูปหยาบๆ คือสิ่งซึ่งธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันเข้า รวมกันเป็นก้อนเป็นชิ้น เป็นอัน แลเห็นด้วยตา เช่นร่างกายมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกว่ารูปเพราะเหตุว่าเป็นของซึ่งย่อมจะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น กล่าวคือ หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีดย่อมแตกสลายไป แต่ถ้าแยกโดยละเอียดแล้ว รูป นี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น อุปาทายรูปเป็นต้น แต่ว่าจักยังไม่นำมาแสดงในที่นี้การพิจารณาโดยสามัญลักษณะ พิจารณาไปๆ ละเอียดเข้าซึ้งเข้าทุกที จนเห็นชัดว่านี่มิใช่ตัวตน เรา เขา อะไรสักแต่ว่าธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้วก็ดับไปตาธรรมกายนั้นเห็นชัดเจน เห็นเกิดเห็นดับติดกันไปทีเดียว คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ คู่กันไปทีเดียว ที่เห็นว่าเกิดดับๆ นั้นเหมือนอะไร เหมือนฟองน้ำ เหมือนอย่างไร เราเอาของฝาด เช่น เปลือกสนุ่นมาต้มแล้วรินใส่อ่างไว้ ชั้นต้นจะแลเห็นเป็นน้ำเปล่าๆ ต่อมาเมื่อเอามือแกว่งเร็ว ๆ อย่างที่เขาเรียกว่าฟองน้ำ ดูให้ดีจะเห็นในฟองน้ำนั้นมีเม็ดเล็กๆ เป็นจำนวนมากติดต่อกันเป็นพืดรวมกัน เรียกว่า ฟองน้ำ เราจ้องดูให้ดีจะเห็นว่าเม็ดเล็กๆ นั้นพอตั้งขึ้นแล้วก็แตกย่อยไปเรื่อยๆ ไม่อยู่นานเลย นี่แหละเห็นเกิดดับๆ ตาธรรมกายเห็นอย่างนี้ เห็นเช่นนี้จึงปล่อยอุปาทานได้

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอีก ๔ กองนั้นก็ทำนองเดียวกันเห็นเกิดดับๆ ยิบไป เช่นเดียวกับเห็นในรูป ทุกข์เป็นของมีและขึ้นประจำกับขันธ์ ๕ เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อนก็เป็นเพราะไปขืนธรรมดาของมันเข้า ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้วธรรมดามันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เมื่อมันถึงคราวแก่ เราไม่อยากจะแก่หรือไม่ยอมแก่ อาการของมันที่แสดงออกมามีผมหงอกเป็นต้น ถ้าเราขืนมัน ตะเกียกตะกายหายาย้อมมันไว้ นี่ว่าอย่างหยาบๆ ก็เห็นแล้วว่าเกิดทุกข์แล้วเกิดลำบากแล้ว ถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมันก็ไม่มีอะไรมาเป็นทุกข์

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ทำนองเดียวกัน ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะขืนมัน ขืนธรรมดาของมัน สิ่งไม่เที่ยงจะให้เที่ยง สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนก็ยังขืนยึดว่าเป็นตัวตน เหตุที่ให้ขืนธรรมดาของมันเช่นนี้ อะไร? อุปาทาน นั่นเอง ถ้าปล่อยอุปาทานได้ การขืนธรรมดาก็ไม่มี ตามแนวที่ประปัญจวัคคีย์ตอบกระทู้ถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสถามว่าเมื่อมันมีอาการแปรผันไป เป็นธรรมดาแก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้แล้วเบญจขันธ์นี้จะเรียกว่าเป็นของเที่ยงไหม? ตอบว่าไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? ตอบว่าเป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้นควรละหรือจะยึดเป็นตัวตน? ไม่ควรพระพุทธเจ้าข้า

    อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน? ตัณหานั่นเอง ได้แก่ กามตัณหา ความทะยานอยากเกี่ยวด้วยอารมณ์ ๖ มีรูป เป็นต้น ภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ ๖ ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ ถือว่าเที่ยง ถาวร วิภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารณ์ ๖ ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ ถือว่าขาดสูญ เมื่อละตัณหาได้ อุปาทานก็ไม่มี ดังจะยกอุทาหรณ์เทียบเคียงให้เห็น ดังเช่นสามีภรรยาที่หย่าขาดจากกัน เมื่อเขายังไม่หย่ากัน สามีไปทำอะไรเข้า ภรรยาก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย หรือเมื่อฝ่ายภรรยาไปทำอะไรเข้า ฝ่ายสามีก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ถ้าเขาหย่าขาดกันแล้วมิไยที่ฝ่ายใดจะไปก่อกรรมทำเข็ญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่มีทุกข์ไม่มีร้อนด้วยเลย ทั้งนี้เพราะอะไร? ก็เพราะเขาต่างหมดความยึดถือว่าเขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว นี่ฉันใดก็ฉันนั้น นี่จะเห็นชัดในข้อว่า ทุกข์เกิดจากอุปาทาน อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อยได้ หมดทุกข์

    ถอดกายทิพย์ออกเสียจากมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่อง จะมีใครเป็นทุกข์ และในที่สุดจะต้องปล่อยอุปาทานให้หมดทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหมและอรูปพรหม คงแต่ธรรมกายเด่นอยู่

    ติด หลุด เป็นหัวข้อสำหรับผู้ปฏิบัติ ปล่อยอุปาทานไม่ได้เรียกว่า "ติด" ปล่อยได้เรียกว่า "หลุด" ติดคือติดอยู่ในโลก หลุดคือพ้นจากโลกเรียกว่าโลกุตตระ เข้าแดนพระนิพพาน ต้องปล่อยอุปาทานทั้งในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงแห่งเบญจขันธ์ ดังกล่าวมานั้นด้วยตาธรรมกายจึงเป็นวิปัสสนาวิชชา อันจะเป็นทางให้หลุดได้

    วิปัสสนาวิชชาแยกได้เป็น ๑๐ ประการ คือ
    ๑. สัมมสนญาณ พิจารณาย่นย่อนามรูป คือ ความเห็นตามเป็นจริงของนามรูปนั้นๆ
    ๒. อุทยัพพยญาณ คำนึงถึงความเกิดความดับของสังขารร่างกายดังอุทาหรณ์เรียกฟองน้ำดังที่กล่าวมาข้างต้น คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ ติดต่อกันไป
    ๓. ภังคานุปัสสนาญาณ คำนึงถึงแต่ความดับอย่างเดียว ให้เห็นว่าสังขารร่างกายที่เกิดมาแล้วนี้มันรังแต่จะแตกดับอย่างเดียว และก็จะแตกดับอยู่รอมร่อแล้ว ประหนึ่งเรือนที่ปลูกอยู่ริมตลิ่ง ทั้งตัวเรือนก็เซซวนจวนจะพังอยู่แล้วด้วย ซึ่งเป็นความจริงแท้ เราพูดกันอยู่หยกๆ พอขาดคำอาจจะตาย เพราะโรคภัยอันตรายล้อมอยู่รอบข้าง ไม่รู้ว่ามันจะปรากฏขึ้นขณะใด
    ๔. ภยตูปัฏฐานญาณ คำนึงให้เห็นว่า สังขารร่างกายเป็นภัยเสมือนสัตว์ดุร้าย ไม่น่าจะเข้าใกล้ ซึ่งหมายความว่าไม่ควรจะหลงนิยมชมชื่น อันจะดูดดึงให้ใจเราหมกมุ่นเป็นเหตุให้ติดอยู่ในภพ
    ๕. อาทีนวญาณ นี่เป็นอีกแง่หนึ่งให้คำนึงถึงโทษแห่งสังขารว่าถ้าเรามีอุปาทานยึดมั่นอยู่ว่าเป็นตัวเห็นตนของเราแล้วมันจะให้ทุกข์โทษ ดังกล่าวในประการที่ ๔ นั้นดุจเดียวกัน
    ๖. นิพพิทาญาณ เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งสังขารดังกล่าวมาใน ๑-๒-๓-๔-๕ นั้นแล้ว ก็ให้เกิดปรีชาคิดเบื่อหน่ายสังขารเป็นกำลัง ไม่อยากได้ใคร่ดีแล้ว
    ๗. มุญจิตุกัมยตาญาณ ถึงขั้นนี้ก็ใฝ่ใจที่จะให้พ้นเสียจากสังขารคือไม่อยากมีสังขาร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ทำลายสังขารเสียโดยความโง่ๆ เช่น ฆ่าตัวตายให้ดำเนินการที่จะคิดพ้นจากสังขารโดยอุบายที่ถูกทาง
    ๘. ปฏิสังขาญาณ คิดคำนึงหาทางพ้นต่อไป แต่หาทางออกทางพ้นไม่ได้เพราะมันได้เกิดมาเป็นสังขารเสียแล้ว ผะอืดผะอมอย่างนี้เรียกว่า กลืนไม่เข้าคายไม่ออก สำรอกไม่ไหว ต่อไปก็ถึง
    ๙. สังขารุเปกขาญาณ วางใจเป็นกลางไว้ เท่ากับว่าเมื่อกลืนไม่เข้าคายไม่ออกแล้ว ก็อมเฉยไว้ก่อน ต่อจากนี้จะมีญาณอีกอันหนึ่งเกิดขึ้น คือ
    ๑๐. อนุโลมญาณ คำนึงผ่อนให้เป็นไปตามความที่เป็นจริงของมันนี่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เดินสายกลางหันเข้าหาอริยสัจ ๔ โดยวิธีดังที่บรรยายมาข้างต้น ว่าโดยรวบรัดตัดความก็หันเข้าหาหลักธรรมกายนั่นเอง พิจารณาเห็นแจ้งชัดอริยสัจ ๔ ด้วยตาธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณธรรมกาย จึงเป็นวิปัสสนาวิชชาแต่ละอย่างๆ ที่กล่าวมาใน ๑๐ ข้อนี้เป็นอาการหรืออารมณ์ของวิปัสสนาที่จะพยุงจิตให้ข้ามขึ้นจากโลกีย์ไปสู่ภูมิโลกุตตระ คำว่า สังขารร่างกายในที่นี้หมายถึงนามรูปนั่นเอง ที่เรียกว่านามรูปนั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๕ อย่างนี้รวมกันย่นย่อลงเรียกว่านามรูป

    มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ ใครบำเพ็ญได้ถึงที่ย่อมทำได้ คือ ทำให้ใจมีฤทธานุภาพผิดไปจากธรรมดา จะนึกให้เป็นอย่างไรก็เป็นไปตามนึก ดังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์นึกจะให้เทวดามนุษย์เห็นด้วย เทวดาก็มองเห็นมนุษย์ๆ ก็มองเห็นเทวดา ซึ่งมีปรากฏในเทโวโรหนสูตรนั้น เพราะมีธรรมกายๆนึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น

    อิทธิวิธี แปลว่า แสดงฤทธิ์ให้ปรากฎได้ต่างๆ ดังเช่นเนรมิตจักร เนรมิตพระกาย และเนรมิตปราสาทราชฐานในครั้งทรงทรมานพระเจ้าชมภูบดีจนพระเจ้าชมภูบดีหมดทิฏฐิมานะ แล้วจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอน เป็นต้น

    ทิพพจักขุ แปลว่า ตาทิพย์ ซึ่งหมายความว่า มองเห็นอะไรๆ ได้หมด ไม่ว่าอยู่ใกล้ไกลอย่างไร ดังเช่นเรื่องพระมเหศวรทดลองพระศาสนา ให้ทรงปิดพระเนตรเสีย แล้วพระมเหศวรซ่อนตัว โดยจำแลงตัวให้เล็กแทรกแผ่นดินไปซุกอยู่ในเมล็ดทรายใต้เชิงเขาพระสุเมรุพระองค์ก็มองเห็น ทรงเรียกขึ้นมายังหาว่าเป็นอุบายของพระองค์จะเดาลักเค้าเอา ในที่สุดพระองค์ก็เอาฝ่าพระหัตถ์ช้อนเอาตัวติดขึ้นมาพร้อมกับเมล็ดทรายนั้นให้เห็นประจักษ์ ตาทิพย์นี้แม้สาวกของพระองค์ก็มีได้ เอาตามนุษย์ ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกัน แล้วเอาตาธรรมกาย มองซ้อนตากายอรูปพรหม จะเห็นชัดคล้ายกับว่าแว่นหลายๆ ชั้นซ้อนกัน

    ทิพพโสต แปลว่า หูทิตย์ ใครจะพูดอะไรกันที่ไหนได้ยินหมดโดยเอาแก้วหูกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกันตลอดแก้วหูของธรรมกาย ย่อมสัมฤทธิ์ผลเป็นหูทิพย์ได้ยินอะไรหมด

    ปรจิตตวิชชา แปลว่า ความรู้ที่สามารถทำให้ล่วงถึงวารจิตของผู้อื่นได้ ดังมีเรื่องพวกยักษ์เป็นอุทาหรณ์ คิดว่าจะตั้งปัญหาถามพระศาสดา ถ้าแก้ไม่ได้จะจับโยนข้ามมหาสมุทร ครั้นมาถึงก็เรียกพระองค์ว่ามานี่ ยังมิทันจะได้พูดอะไรต่อไป พระองค์ก็ล่วงรู้เสียก่อนแล้วว่า อาฬวกยักษ์คิดมาอย่างไร พระองค์ทรงตอบเย้ยไปว่า จะเรียกตถาคตไยเล่า เข้าไปหาท่านจะจับเราโยนข้ามสมุทร แล้วในที่สุดได้ตรัสตอบไปว่า ปัญหาที่ท่านคิดจะถามเรานั้นพ่อของท่านบอกไว้ใช่ไหม แล้วเราจะบอกท่านได้ต่อไปด้วย ว่าพ่อท่านได้รับบอกมาจากพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ล่วงรู้ใจคนได้อย่างนี้

    ปุพเพนิวาสวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ระลึกชาติหนหลังได้ ว่าชาติไหนเป็นอะไร เกิดที่ไหนมาแล้ว ดังมีเรื่องเวสสันดรชาดกเป็นหลักฐาน ไม่มีสิ่งที่จะพึงระแวงสงสัยอย่างไร เป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณแน่แท้

    อาสวักขยวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้นไปกล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะทั้ง ๔ ประการนี้ พระองค์มีทัศนะปรีชาญาณหยั่งรู้วิถีทางที่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่มีในพระกมลของพระองค์แม้แต่สักเท่ายองใย

    จรณะ ๑๕ ต่อไปนี้ถึงเรื่อง จรณะ ๑๕ จักได้ขยายความพอสมควร จรณะ แปลว่า ประพฤติหรือธรรมควรประพฤติ
    ๑. ศีลสังวร ได้แก่ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
    ๒. อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้อารมณ์ส่วนที่จะชักนำไปทางชั่วเข้าติดอยู่ได้ แต่การสังวรเหล่านี้มีประจำพระองค์เป็นปกติอยู่มิจำต้องพยายามฝืนอย่างเช่นปุถุชนทั้งหลาย
    ๓. โภชเน มัตตัญญุตา การรู้ประมาณในการบริโภคพอสมควรไม่มากไม่น้อยเกินไป เป็นจริยาที่เราควรเจริญรอยตาม ว่าโดยเฉพาะการบริโภคอาหาร ถ้ามากเกินไปแทนที่จะมีคุณแก่ร่างกายกลับเป็นโทษ
    ๔. ชาคริยานุโยคทางประกอบความเพียรทำให้พระองค์ตื่นอยู่เสมอ คือรู้สึกพระองค์อยู่เสมอ นิวรณ์เข้าครอบงำไม่ได้เป็นปกติ
    ๕. สัทธา พระองค์ประกอบด้วยสัทธาอย่างอุกฤษฎ์ ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดก เป็นต้น พระองค์ได้บำเพ็ญทานบารมีบริจาคของนอกกาย ทานอุปบารมีสละเนื้อเลือดเมื่อทำความเพียร ทานปรมัตถบารมีสละได้ถึงชีวิตมาแล้วอย่างสมบูรณ์
    ๖. สติ นั้นได้แก่ที่เรียกว่าสติวินัย พระองค์ไม่เผลอในกาลทุกเมื่อ เราผู้ปฏิบัติควรเจริญรอยตามดังแนวที่ทรงสอนไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่ว่าจะ เดิน ยืน นั่ง นอน ให้มีสติอยู่เสมอ สติในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านหมายเอาสติที่ตรึกถึง กาย เวทนา จิต ธรรม
    ๗. หิริ การละอายต่อความชั่ว
    ๘. โอตตัปปะ สะดุ้งกลับบาป ทั้ง ๒ ประการนี้เป็นจรณะที่ติดประจำพระองค์อยู่อย่างสมบูรณ์
    ๙. พาหุสัจจะ ฟังมาก นี่ก็มีประจำพระองค์มาแต่ครั้งยังสร้างบารมีพระองค์ทรงเอาใจใส่ฟังธรรมในสำนักต่างๆ เป็นลำดับมา จนกระทั่งอาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งได้ทรงเรียนรู้รูปฌาน อรูปฌาน มาจากสำนักนี้
    ๑๐. อุปักกโม ความเพียรไม่ละลด ดั่งเช่นทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ๕ เป็นประจำ ๑ เวลาเช้าบิณฑบาต ๒ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓ เวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทแก่ภิกษุ ๔ เวลาเที่ยงคืนทรงเฉลยปัญหาเทวดา ๕ เวลาใกล้รุ่งพิจารณาเวไนยสัตว์ที่จะพึงโปรด
    ๑๑. ปัญญา มีความรู้ความเห็นกว้างขวางหยั่งรู้เหตุรู้ผลถูกต้องไม่มีผิดพลาด จรณะยังประกอบด้วยรูปฌานอีก ๔ จึงรวมเป็นจรณะ ๑๕ รูปฌาน ๔ นั้น พระองค์ได้อาศัยมาเป็นประโยชน์ที่จะขยับขยายโลกิยปัญญาให้เป็นโลกุตตระเป็นพวกสมาธินั่นเอง และในจำพวกสมาธินั้นอัปปนาสมาธิจึงเป็นองค์ปฐมฌานแม้กระทั่งยังเป็นโลกีย์ ต้องเห็นด้วยตาธรรมกายหยั่งรู้ด้วยญาณธรรมกายจึงเป็นโลกุตตระ ฌาน ๘ นั้นเป็นจรณะส่งข้ามโลก พระองค์เรียกฌานนั้นจากดาบส ต่อจากนั้นพระองค์มาแสดงหาด้วยพระองค์เอง จึงได้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นองค์อรหันตสัมมาสัมพุทโธ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2016
  8. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228

    .....ขอบคุณครับ

    .....ถามต่ออีกนิด อยากถามว่า การที่เราเอาใจไปอยู่ ณ ที่ต่างๆ เช่น ที่หน้าอก หรือที่กระหม่อม ทำได้อย่างไร นึกเอาว่ามันอยู่ตรงนั้นหรืออย่างไร

    ...อย่างเช่นผมจะเอาใจใว้ตรงฝ่ามือเช่นนี้จะได้หรือเปล่า ทำอย่างไรครับ

    ....เท่าที่ผมศึกษามา ตัววิญญาณ มี หกตัวคือ ไล่ไปตั้งแต่กายวิญญาณ .....จนถึงมโนวิญญาณ ก็คือจิต ตัววิญญาณเกิดขึ้นจากการมากระทบ จาก อายตนะภายนอก กับภายใน เช่น ลมกระทบจมูก เกิดกายวิญญาณ ตรงที่มีการกระทบ

    ....มโนวิญญาณ ก็มี ธรรมารมณ์ มากระทบใจ เกิดความรู้สึกทางใจ
    ....พระพุทธองค์ทรงอุปมาว่า จิตเกิดเพราะมีการกระทบ อุปมาเช่น แสงส่องมากระทบฉาก ถ้าไม่มีฉากก็ไม่เห็นแสงนั้น

    ....การเคลื่อนย้ายจิตไปใว้ที่ต่างๆ อย่างที่ท่านบอก ทำได้จริงๆหรือว่า จินตนาการเอาเอง หรือ ตำรามันหลอกเรา มีในพระไตรปิฏกหรือเปล่า เป็นวิชาของพระพุทธเจ้าหรือเปล่าครับ
     
  9. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ตอบคุณPrasit5000 ถ้าท่านต้องการฝึกให้เข้าถึงดวงปฐมมรรค หรือ ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้เข้าถึงกายในกาย ถึงธรรมกายในที่สุด ท่านให้เดินใจตามฐานทางเดินของใจทั้ง ๗ ฐานนี้ เพราะเป็นการฝึกสติตั้งไว้ในตัว ไม่ส่งออกนอกตัว และเป็นทางที่จะเข้าถึงธรรมภายในนั่นเอง

    ถ้าเรามีปัญหาว่าแล้วจะลำดับฐานอย่างไร ก็มีอีกวิธีหนึ่งก็คือฝึกแบบอานาปานัสสติ โดยกำหนดลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าไปสุดที่ใด และ ลมหายใจออกเริ่มจากตรงไหน ตรงนั้นแหละคือศูนย์กลางกาย เมื่อพิจารณาลมหายใจจนกระทั่งเกิดสติเช่นนี้แล้ว รู้ว่าลมเข้าสุดตรงไหน ลมออกตั้งต้นที่ใด ก็ไม่เอาใจไปวิ่งตามลม เอาใจนิ่งไว้ตรงที่สุดของลมเข้าหรือจุดเริ่มต้นของลมออกนั่นก็คือศูนย์กลางกาย เมื่อลมหายใจเข้าออกยาวเท่ากัน เราจะเห็นดวงปฐมมรรคตรงนั้น ตรงที่สุดของลมเข้าหรือจุดเริ่มต้นของลมออกนั่นเอง แปลว่าถ้ามนุษย์ยังมีลมหายใจอยู่ก็ฝึกธรรมกายได้ทุกคน สามารถเห็นดวงปฐมมรรคและเข้ากายในกายได้


    ->>> แจ้งข่าว...งานสอนสมาธิ ณ วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร ประจำเดือน มิ.ย. 2559
    เปิดดูที่นี่ : http://group.wunjun.com/khunsamatha/topic/619713-8819/reply7
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • base7.png
      base7.png
      ขนาดไฟล์:
      49.3 KB
      เปิดดู:
      287
    • 18kaya.gif
      18kaya.gif
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      169
    • Y5528348-9.jpg
      Y5528348-9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.2 KB
      เปิดดู:
      111
    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.1 KB
      เปิดดู:
      101
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2016
  10. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....ขอบคุณครับ

    ....ดูท่าจะยาก เหมือนเราฝึกสมถะ จนมีสตินิ่งที่ลมหายใจ แล้วสร้างภาพนิมิต อย่างที่เขาเรียกว่า อุคหนิมิต ไปเป็นปฏิภาคนิมิต อย่างนั้นหรือเปล่า เหมือนเราเพ่งกสิณ จนเห็นดวงไฟ แล้ว บังคับดวงไฟให้เป็นสีต่างๆ ตามที่ใจเราต้องการอย่างนั้นหรือเปล่า

    ....แล้วมีผู้ทำได้อย่างที่ท่านพูดใช่หรือไม่ อย่างนี้นะ ท่าน สมถะ กับผมต่างคนก็คุยกันแบบไม่มีใครรู้จักว่าท่านกับผมเป็นใคร ท่าน สมถะ สามารถบอกผมได้หรือเปล่าว่าท่าน ก็สามารถ เห็นดวงประฐมมรรค และเมื่อต้องการจะเห็นก็ทำได้เลย หรือว่า มันมีอย่างนั้นจริงๆ แต่ผู้ที่ทำได้น้อยคนนัก

    ....วิชาธรรมกาย คงเป็นอย่างที่ท่านสอน เข้าใจว่าคงเหมือนการทำสมถะ นั้นแหละจนสร้างภาพ นิมิตขึ้นมาแล้วบังคับ เหมือน การเพ่งกสิณ ผู้ที่ทำนิมิตได้ถึงขนาดนั้น ก็ถือว่า เข้าฌานได้ ถึงกับขนาดบังคับ ให้เกิดภาพนิมิตตามใจต้องการ อนุภาพแห่งฌานก็คงไม่ยากที่จะให้ ดวงนิมิต เคลื่อนไปที่ใหนก็ได้ในกาย

    .....แล้วท่าน สมถะ เข้าใจว่านิพพาน คืออะไร หรือท่านคิดว่า นิพพานคือดวงประฐมมรรค ถ้าไม่ถือว่ารบกวนช่วยอธิบายด้วย
     
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอขอบคุณที่ได้กรุณาถามนะครับ
    แต่แรกของการเข้าถึงดวงธรรมหรือดวงปฐมมรรคนั้น
    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านฝึกแบบอานาปานัสสติ คือ การกำหนดลมหายใจนั่นเอง แปลว่า ดวงธรรมนี้มีอยู่ในทุกคน ไม่ใช่ดวงนิมิต ต่อมาท่านเห็นว่าใช้ดวงแก้วเป็นนิมิต ทำให้ผู้ฝึกเข้าถึงดวงธรรมหรือดวงปฐมมรรคได้ง่ายขึ้น เมื่อเข้าถึงแล้วจึงเห็นกายในกาย คือ เห็นกายฝัน กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม และกายธรรม ทั้งหยาบและละเอียด กายในกายเหล่านี้ ก็เป็นกายภายในของผู้เข้าถึง มีชีวิตจิตใจ มีญาณทัสสนะ ไปท่องเที่ยวยังภพภูมิต่างๆ ได้ แต่ต้องฝึกให้เกิดความชำนาญเสียก่อน

    ดวงปฐมมรรคนี้ เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้าต้องเห็นได้ทุกคน ขึ้นอยู่ที่ความหยุดนิ่งของใจเป็นกำลัง ปัจจุบันฝึกกันได้เยอะแล้ว ลืมตาหรือหลับตาก็เห็นได้ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็นได้ ทำให้สติก็เกิดขึ้นในตัวเช่นนี้เนืองๆ

    สำหรับการหมดกิเลสท่านว่าให้พิจารณากายในกายเหล่านั้นไปทุกกายโดยใช้กายธรรมหรือธรรมกายพิจารณาอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ อาการ ๑๒ ให้เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ของกายโลกีย์ ถ้าบารมีแก่รอบก็หมดกิเลสเป็นอริยบุคคล ตามกำลังบารมี แต่ถ้าบารมียังอ่อนก็เข้าถึงโคตรภูบุคคล ก็เพียรสร้างบารมีต่อไป เรียกว่าการสะสางธาตุธรรมภายใน

    ผมพิมพ์ตอบในมือถือ จึงขอตอบย่อๆ แต่เพียงนี้ ความจริงแล้ววิชาธรรมกายมีเนื้อหาและรายละเอียดในการฝึกอีกมาก มีตำหรับตำราให้เรียนกันมาแต่ครั้งหลวงพ่อวัดปากน้ำอยู่มากมาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2016
  12. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ... ขอบคุณครับที่ ตอบทำให้เข้าใจเกี่ยวกับ ธรรมกายได้ง่ายขึ้น

    ....ถามต่อนะครับ อย่างที่ว่า "เมื่อเข้าถึงแล้วจึงเห็นกายในกาย คือ เห็นกายฝัน กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม และกายธรรม ทั้งหยาบและละเอียด กายในกายเหล่านี้ ก็เป็นกายภายในของผู้เข้าถึง มีชีวิตจิตใจ มีญาณทัสสนะ"

    ..... กายฝัน กายทิพย์ กายพรหม และกายธรรม เป็นคนละกายใช่หรือไม่ จะเห็นเป็นอย่างไร รูปใสๆ เห็นเป็นตัวเรา เหมือนเห็นตัวร่างกายเราที่มีปัจจุบันนี้หรือเปล่า ตอนเห็นจะต้องหลับตาเห็นใช่หรือเปล่า

    ....กายฝัน กายทิพย์ กายพรหม และกายธรรม กายพวกนี้ สามารถยึดเอาว่าเที่ยง เป็นเราเป็นของเราหรือเปล่า หรือว่าเห็นแล้วก็ปล่อยวาง กายเหล่านี้อยู่ในขันธ์ห้าหรือว่า อย่างไร

    .....เราสามรถ เทียบเคียง วิชาธรรมกาย กับ เรื่องพระอภิธรรมได้หรือไม่ เช่น จิต เจตสิค รูป นิพพาน ดวงประฐมมรรค จะเป็นส่วนได ในสี่สวนนี้ ส่วนกายทั้งหลายที่พบ จะเป็นส่วนได

    .....กายธรรมหรือธรรมกายพิจารณาอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ อาการ ๑๒ ให้เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ของกายโลกีย์ ก็คงหมายถึง เมื่อ ปฏิบัติ จนเห็นธรรมกาย แล้ว เอาธรรมกายพิจารณา กายโลกีย์ ว่าเป็นไตรลักษณ์ จนแก่รอบ แล้วทำให้หมดกิเลส ถ้าให้ผมเข้าใจ กายโลกีย์ก็คือร่างกายที่เราๆใช้กันอยู่นี้ใช่หรือเปล่า ส่วนธรรมกาย น่าจะเป็นตัวนิพพานธาตุ ซึ่งเป็นอสังขตะธาตุ ใช่หรือไม่ การหมดกิเลส ก็คือการตัดกิเลสสังโยชน์ ระหว่าง ธรรมกาย กับ ตัวกายโลกีย์


    .......ถ้าตามนี้ จิตก็ต้องอยู่ในกายโลกีย์ใช่หรือไม่ มิได้อยู่ในธรรมกาย และกายทั้งหลายก็ควรมีแค่สองจำพวกคือ กายธรรม กับกายโลกีย์

    ....ผมคงถามมากไป คงไม่เป็นไรนะครับ
     
  13. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    น่าเห็นใจครับ การจะให้คนที่ไม่มีพื้นความรู้และไม่เตยปฏิบัติวิชาธรรมกายมาเข้าใจสภาวะของการเข้าถึงกายในกายและการปฏิบัติทางญาณทัสสนะให้เข้าใจตรงกันเป็นการยาก ยิ่งปฏิบัติมาคนละแนวทางยิ่งเข้าใจกันยากไปอีก

    ถ้าจะคุยกันเช่นนี้ผมว่าคงตามตอบปัญหากันไม่จบ เรื่องของการปฏิบัตินั้นผู้ฝึกที่เข้าถึงย่อมเข้าใจสภาวะธรรมด้วยตนเอง
    ถ้าจะให้ผมอธิบายตามที่ถามไปเรื่อยๆ ผมว่าท่านควรจะศึกษาข้อมูลที่ผมให้ไปเอาเองก่อนจะดีกว่า เพราะฟังจากคำถามท่านไม่มีพื้นความเข้าใจใดๆ เกี่ยวกับวิชาธรรมกายเลย สมควรที่ท่านจะศึกษาตั้งแต่เบื้องต้นก่อน ตามเวบนี้ khunsamatha.com
    ช่วงนี้ผมไม่สะดวกตอบ เพราะผมใช้มือถือ เนื่องจากผมติดภาระกิจส่วนตัวไม่ได้อยู่ในห้องคอมที่บ้านนะครับ โน๊ตบุ๊กก็ไม่ได้เอามาด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2016
  14. ปทุมมุต

    ปทุมมุต ผมเป๋นใตร?

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +286
    ขออนุญาติถามด้วยคนได้ไหมครับ คือสงสัยมาก วิชานี้พระพุทธเจ้าได้บัญญัติใว้ไหมครับ หรือว่าเป็นการค้นพบภายหลัง. เพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติใว้ยังไม่บริบูรณ์ ท่านยังไม่ค้นพบ หรือบัญญัติใว้แล้ว. เพิ่งมาแพร่หลายเมื่อหลวงพ่อสดนำมาเผยแพร่นี่เอง ขอบคุณครับ
     
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อย่าไปติดใจว่า นี่เป็นวิชาอะไร วิชาใหม่หรือเปล่า ไม่ใช่ดอกครับ เป็นเพียงการผสมคำ วิชาธรรมกาย แปลว่า ความรู้ที่เกิดจากการเข้าถึงธรรมกาย ก็ได้แก่การใช้รู้ญาณทัสสนะของธรรมกายไปเรียนรู้สมถะและวิปัสสนาทางพระพุทธศาสนานั่นเอง เพราะธรรมกายเป็นกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เราทุกคนมีธรรมกายอยู่ภายในทุกคน ลองเข้าไปศึกษาในเวบคุณสมถะดูนะครับ จะมีข้อมูลวิชาธรรมกายตั้งแต่เบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูง รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ อยู่มากมาย http://khunsamatha.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2016
  16. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....ช่างเถอะครับ ขอบคุณมากที่ เคยอธิบายมา

    .....พระพุทธศาสนามีคำสอนหลายแง่มุม
    ..... เช่น บางอย่างก็เป็นอจินไตย ไม่พึงคิดหริอจำแนกตรรกะลงไปได้ หมายถึง สิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน
    ......มีอีกส่วนหนึ่ง ที่เป็นทางวิทยาศาสตร์ ทางนามธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้าสอดคล้องกันหมด นับตั้งแต่ตรัสรู้จนกระทั่ง เข้าสู่ปรินิพพาน


    ......ธรรมกายไม่น่าจะเป็นคำสอน ของพระพุทธเจ้า เพราะไม่สามารถจัดเข้าพวกใหนได้เลย

    .....ไม่ว่าจะเป็นธรรมะอันใหน ที่เข้ากับธรรมกาย ไม่มีในหลักธรรมข้อไดเลย แม้แต่สติปัฏฐานก็ไม่ใช่ สติปัฏฐาน ก็ต้องมีสติ สัมปชัญญะ นี้ไม่เห็นกล่าว เรื่องสัมปชัญญะ กล่าวแต่กายโน้นกายนี้ ไม่เข้าเทียบเคียงกันเลย


    ......ผมไม่ได้บอกว่าธรรมกายไม่ดีนะ เพียงแต่บอกว่าไม่น่าจะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คงเป็นพวกนักบาชนิกายอื่นมากกว่า

    ......ไม่ต้องลำบากตอบผมนะครับ ผมไม่ถามต่อละ
     
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ประวัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำหาอ่านได้ไม่ยากครับ ว่าท่านเคยเรียนทั้งปริยัติและปฏิบัติมาอย่างไรบ้าง อ่านทั้งหมดจะได้ความรู้ที่กว้างขวางขึ้น เช่นหนังสือชื่อ อภินิหาริย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ ลองพิม์หาในgoogle ได้ครับอ่านได้ฟรีๆ เลย

    ตอนนี้ผมใช้มือถืออยู่ไม่สะดวกเขียนอธิบายยาวๆ

    สำหรับลูกศิษย์ใกล้ชิดของหลวงพ่อได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาแน่นอนครับ มีตำหรับตำราในการเรียนชัดเจนเรียกว่าวิชามรรคผลพิสดาร เล่ม 1 และ 2 เพียงแต่ศิษย์ผู้ใกล้ชิดล้วนแต่ลงมาจากดุสิตจึงปรารถนาพุทธภูมิกันทั้งนั้น

    ตัวหลวงพ่อเองผมมั่นใจว่าท่านหมดกิเลสตามแนววิชาธรรมกายที่ท่านสอนแล้ว ศิษย์ระดับได้วิชาจริงเขารู้เห็นทั้ง 31 ภพภูมิ และรู้เห็นถึงอายตยนะนิพานเลยทีเดียว สามารถตรวจดูดวงบารมีของตนว่าเตรียมได้มรรคผลระดับโพธิญาณหรือยัง วิธีฝึกดูดวงบารมี มีอยู่ในตำราทางวิชา ไม่มีปกปิดเลย

    ผมยังเคยเดินทางไปพูดคุยทางวิชาธรรมกายที่วัดป่าสายธรรมกายที่ จ.ร้อยเอ็ด ชื่อวัดป่าปทุมรัตน์ฯ หลวงปู่ของหลวงพ่อเจ้าอาวาส บรรลุธรรมตามแนววิชาธรรมกาย มรณภาพลงกระดูกกลายเป็นพระธาตุใสแจ๋ว ยังมีอีกหลายเรื่องแต่พิมพ์ทางมือถือไม่ไหวจริงๆ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2016
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040
    พูดตรงๆเลยนะ ส่วนตัวไม่เคยสงสัยในตัวท่าน
    เจ้าของวิชาเลยครับ และก็ให้ความเคารพนับถือ
    ท่านเหมือนท่านที่มีชื่อเสียงต่างๆ ที่ทิ้งคำสอนไว้หลายๆท่าน..

    และก็ไม่เคยคิดวิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์
    แนวทางการสอนของท่านด้วย
    เหตุเพราะว่าด้วยตนเองยังไม่เคยได้ลองปฏิบัติ..
    แต่ในห้องพระก็จะมีรูปท่านอยู่ที่ผนัง
    รวมทั้งอัดกรอบไว้ตั้งแต่สมัยรุ่นบิดาครับ...

    ส่วนนี้ฟังหูไว้หูนะครับ..
    วันหนึ่งนึกครึ้มยังไงก็ไม่ทราบ..
    มีคนมาถามเกี่ยวกับวิชานี้..
    ก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปตอบคนที่ถาม..
    เลยเป็นที่มาของการขออะไรพิเศษ
    บางอย่างกับท่านเจ้าของวิชา
    เพื่อให้ส่วนตัวได้ทราบว่าเป็นอย่างไร...

    วันนี้ก็มาสะดุดตรงรูปขาวดำใน #Rep ๓๔
    ว่าทำไม่กิริยาเหมือนกับที่ได้
    สัมผัสและได้บอกต่อไปในวันนั้น
    เลยแบบแป๊ะๆ ซึ่งส่วนตัวไม่ได้
    ลงรายละเอียดนะครับ
    เพราะอาจจะมีอะไรมากกว่านี้
    แต่เพราะไม่ได้ปฏิบัติมาสายตรง
    จึงไม่ขอกล่าวอะไรมาก
    เอาเป็นว่าดูที่รูปที่เล่าให้ฟังแล้วกันครับ

    และวันนี้ไม่รู้ว่าส่วนตัวจะเข้าใจถูกหรือไม่นะครับ
    นัยยะที่จะไปถึงวิปัสสนาเพื่อหลุดพ้น
    ในระบบที่ส่วนตัวเรียกภาคทิยพ์นั้น
    หรือระบบมิติที่ ๔
    ที่ทางคุณ สมถะน่าจะเรียกว่า กายต่างๆ..
    นัยยะแบบหยาบๆที่เข้าใจก็คือ
    '' เข้าถึงด้วยธรรมกาย แล้วก็ปล่อย
    เพื่อให้คลาย แล้วก็วางซะ ''
    ส่วนวิธีในแต่ละลำดับคงไม่พูดถึง...
    เพื่อสุดท้ายให้จิตหลุดพ้นจาก
    สิ่งที่จะมายึดเกาะจิตทั้งปวง...

    ปล.อาจจะต้องอ่านแล้วดูกิริยา
    ทางนามธรรมนะครับ เพราะว่า
    ส่วนตัวยอมรับว่าเข้าถึงแบบพิเศษเล็กน้อย..
    ไม่ทราบว่าน่าจะประมาณนี้ไหมครับ..
    ขอบคุณมากครับ

     
  19. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ยืนยันว่าถึงนิพพานได้ ถึงพุทธภมิได้แน่นอนครับ อยู่ที่บารมีแต่ละคนๆ นั้นถึงพร้อมหรือยัง ฝึกแนวไหนถ้าบารมีไม่เต็มส่วนก็ไม่อาจถึงนิพพานได้ดอกครับ
    สำหรับงานสอนสมาธิ ณ วัดโมลีฯ ที่นำเสนอเป็นการฝึกเบื้องต้นเพื่อให้เกิดสมาธิใจสงบระงับจากนิวรณ์ธรรม ได้อธิบายไว้ในลิ้งค์ที่ให้ไปแล้ว สนใจใคร่ศึกษาวิชชาธรรมกายทุกแง่มุมเรียนเชิญที่เวบคุณสมถะตามที่ให้ลิ้งไปตามกระทู้ด้านบนนั้น เปิดเผย ชัดเจน สอนเป็นลำดับลำดาไปไม่ข้ามขั้นตอนนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2016
  20. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    เวลาที่เข้าถึงจุดนั้นจริงๆ มันปล่อย มันวางเองครับ

    แล้วเกิดญาณทัศนะขึ้นมาใหม่ ว่าสิ่งใดสมควรปฏิบัติต่อ

    ปฏิบัติต่อไป จนไม่รู้จะเอาอะไร ไปปล่อย ไปวาง
     

แชร์หน้านี้

Loading...