หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.

  1. "นนต์"

    "นนต์" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    521
    ค่าพลัง:
    +1,157
    ระบบการศึกษาแบบยุโรปในสยามประเทศ

    ผมขอคัดเอาบทความบางตอนในผลงานวิจัยของผมเกี่ยวกับระบบการศึกษาของไทย ที่เริ่มได้รับอิทธิพลจากประเทศยุโรปมาตั้งแต่ช่วงต้นของรัชกาลที่ 5 ดังต่อไปนี้
    ...............................................................................


    ระบบการศึกษาของไทยตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ปรากฏว่า ระยะแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการวางพื้นฐานสังคมในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม สรรพวิชา และแบบแผนการดำรงชีวิต ที่สืบเนื่องมาจากสมัยสุโขทัย อยุธยา และธนบุรีแทบทั้งสิ้น ในส่วนของการศึกษาศิลปะจึงเริ่มที่วังและวัด ซึ่งถือเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนรู้ที่สำคัญ ระบบศิลปศึกษาจึงมักขึ้นอยู่กับศาสนาที่มีความมุ่งหมายในการรักษา ส่งเสริม และค้ำจุนศาสนาไว้ โดยมุ่งเน้นที่ครูเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอด สอนให้มีการเลียนแบบตามตัวอย่าง การเน้นความจำ การควบคุม และลักษณะพิเศษของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ ต่อมาการเรียนการสอนทางด้านศิลปะจึงได้มีการพัฒนาให้มีรูปแบบเป็นสากลมากขึ้น

    การศึกษาในระบบโรงเรียนของไทยได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2414 เมื่อโรงเรียนหลวงได้ถือกำเนิดขึ้นในพระบรมมหาราชวังเป็นครั้งแรก และถือเป็นการเริ่มต้นของการปรับตัวตามอิทธิพลตะวันตก เมื่อโรงเรียนหลวงตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก (2414) โดยมุ่งเน้นการรู้หนังสือและอบรมสั่งสอนขนบธรรมเนียมข้าราชการ เพื่อเตรียมคนไปรับราชการ และต่อมาการรู้หนังสือก็ขยายตัวไปสู่วิชาเลข ประวัติศาสตร์ บัญชี ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ แต่ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการเรียนการสอนศิลปะในระบบโรงเรียนในระยะเริ่มแรกนั้น จนถึงหลักสูตรการศึกษาฉบับแรกของไทยในปี พ.ศ. 2438 พบว่าศิลปะซึ่งกินความเฉพาะ “การวาดเขียน” ได้เข้ามามีบทบาทในหลักสูตรระบบโรงเรียน ซึ่งก่อนหน้านั้นศิลปะได้มีบทบาทอยู่ในวัด ในกลุ่มช่างฝีมือ หรือในหมู่ช่างฝีมือประจำราชสำนัก และการศึกษาศิลปะในเวลานั้นก็เป็นในเชิงช่างฝีมือ (วิรุณ ตั้งเจริญ. 2548ก: 15-16) ซึ่งการสอนศิลปะในสมัยแรกนั้น เป็นการสอนตามหลักสูตรที่มุ่งเน้นศิลปะแบบเหมือนจริง ตามอิทธิพลสายประเพณีนิยมของชาวตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามาพร้อมกันทุกด้านในขณะนั้น
    ..............................................................................................................................
    จากบทความดังกล่าว คาดว่าระบบการใช้ตัวเลขแบบอารบิคคงเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2414 เพราะการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เริ่มใช้หลักสูตรแบบยุโรปแล้ว แต่ผมไม่ยืนยันว่า เลขอารบิคที่ปรากฏในพระจิตรลดาดังกล่าวจะทันหลวงปู่โตหรือไม่ เพราะผมยังไม่พบหลักฐานการสร้างพระชุดนี้ เพียงแต่คาดคะเนตามที่พระอาจารย์...(รูปหนึ่ง...)... บอกว่าพระกริ่งจีนอธิษฐานจิตโดยหลวงปู่โต และในคราวเดียวกัน พระจิตรลดาเนื้อทองก็เสด็จมาทางอากาศตามที่พระอาจารย์....อัญเชิญมาเช่นกัน แต่พระเหล่านั้นเป็นของญาติธรรม มิใช่ของผม ผมจึงมิได้ตรวจสอบภายในได้ จึงขอแสดงความคิดเห็นไปตามนี้ก่อน หากมีข้อมูลใหม่จะได้นำมาบอกกล่าวกันอีกครั้งครับ

    ขอเจริญในธรรม
    ดร.นนต์
    14 กพ. 2555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2012
  2. กรบางพลี

    กรบางพลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +184
    เรียนคุณ D-Crew

    พระสมเด็จนางพญา รุ่นนี้ เรียกชื่อเช่นนี้ตามกล่องที่บรรจุพระและเอกสารที่เผยแพร่ครับ
    ผมเข้าใจ(เอาเอง)ว่า อาจเป็นเพราะ เป็นรุ่น สก (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ) จึงมีคำว่าสมเด็จ

    สำหรับสมเด็จจิตรลดาอุณาโลม รุ่นนี้ ผมขออภัยครับที่เรียบเรียงชื่อผิดไปนิด ไม่ได้ตรวจสอบคำให้ถูกต้อง แต่เรียกตามชื่อกล่องบรรจุพระและเอกสารเผยแพร่
    เรียกสมเด็จพระอุณาโลม ทรงจิตรลดาครับ

    ขอบคุณครับ
     
  3. กรบางพลี

    กรบางพลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +184
    พระจิตรลดา

    พระจิตรลดาองค์นี้ เจ้าของให้ผมบูชา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552
    ผมได้ถ่ายรูปเก็บไว้ดังรูปที่ 1-2
    จนกระทั้งเมื่อปลายปี 2554 ผมถ่ายรูปเก็บไว้ ดังรูปที่ 3-4-5

    ลองพิจารณาดูครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9381.jpg
      IMG_9381.jpg
      ขนาดไฟล์:
      524.5 KB
      เปิดดู:
      290
    • IMG_9382.jpg
      IMG_9382.jpg
      ขนาดไฟล์:
      370.7 KB
      เปิดดู:
      131
    • DSC08570.JPG
      DSC08570.JPG
      ขนาดไฟล์:
      237.7 KB
      เปิดดู:
      2,466
    • DSC08573.JPG
      DSC08573.JPG
      ขนาดไฟล์:
      462.6 KB
      เปิดดู:
      189
    • DSC08571.JPG
      DSC08571.JPG
      ขนาดไฟล์:
      260.6 KB
      เปิดดู:
      106
  4. "นนต์"

    "นนต์" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    521
    ค่าพลัง:
    +1,157
    ข้อความของท่านผู้อาวุโสผู้ครอบครองพระเครื่องมากอีกผู้หนึ่งของเมืองไทย ได้ส่งข้อความยืนยันผลการตรวจเนื้อโลหะในพระจิตรลดาเนื้อทอง จากสถาบันวิจัยอัญมณีแห่งชาติ ตามข้อความดังต่อไปนี้
    ................................................

    ผมเคยนำไปตรวจเนื้อทองคำ จำนวน 5 องค์ พบว่า

    ที่มีตอกตัวเลขอารบิค องค์ใหญ่ จำนวน 2 องค์
    (ของผมหมายเลข 9 และ 35) มีเนื้อทองคำ 60%

    องค์เล็ก หมายเลข 9 (ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นคู่กับองค์ใหญ่ หมายเลข 9) เนื้อทอง 50%

    ไม่มีการตอกหมายเลข องค์ใหญ่ 1 องค์ เนื้อทอง 50%

    องค์เล็กที่ไม่มีตอกเลข เนื้อทอง 29%
     
  5. มูริญโญ่

    มูริญโญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +583

    ขอบคุณครับที่ช่วยขยายความผมไม่รู้จริงๆ
    ขอบคุณท่าน ด.ร. และท่านน้องครับ
     
  6. มูริญโญ่

    มูริญโญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +583

    ผมมีหลวงพ่อเงินเนื้อทอง ( น่าจะทองบางสะพาน ตามความเข้าใจ )
    ส่วนใต้ฐานเป็นมุก จปร เรียนถามครับครับว่าเป็นรุ่นเดียวกันหรือเปล่าครับ
    ท่านนนต์ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
     
  7. สมาชิกธรรม

    สมาชิกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2011
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +1,308
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2012
  8. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385



    อื้มมมม!
    หลวงพ่อเชียงแสนน้อย หนักคอกว่าปกติที่ห้อยพระกริ่งหรือองค์ดำ
    อิทธิคุณให้ 5 ดาว :) ชักอิจฉาคุณถวัลย์แล้วซี หึหึ!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  9. กรบางพลี

    กรบางพลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +184
    พระพุทธชินราช

    พระเนื้อชิน แต่ไม่ชัดเจนมีหน้ามีตาเท่าของท่านสมบัติ
    แต่กรอบเป็นกรอบเก่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4371.JPG
      IMG_4371.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.6 KB
      เปิดดู:
      4,687
    • IMG_4372.JPG
      IMG_4372.JPG
      ขนาดไฟล์:
      263.5 KB
      เปิดดู:
      96
  10. D-Crew

    D-Crew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2012
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +185
     
  11. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ห้อยเหรียญเนื้อเงินเลยหรือเปล่าครับ หุหุ

    1. เหรียญแรกในชีวิต เป็นของหลวงพ่อปลัดเสน วัดไสกระดาน เพชรบุรี
    ศิษย์เอกหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
    (ไม่น่าเชื่อว่ายังจำชื่อท่านได้ ผมห้อยจนห่วงขาด ข้างหลังเลือน)
    [​IMG]
    ภาพจาก internet พึ่งจะบูชามาเมื่อคืน หึหึ!
    2. ต่อมาเป็นเหรียญของหลวงพ่อผาง จ.ขอนแก่น
    [​IMG]
    [​IMG]
    3. ต่อมาเป็นเหรียญของหลวงปู่ฝั้น จ.สกลนคร (น่าจะรุ่น 10)
    4. ต่อมาเป็นเหรียญของหลวงปู่แหวน จนจบ ป.6 แล้วบวชเณร (ห้ามห้อยพระ)
    5. ค่อยมาเริ่มห้อยหลวงพ่อพระพุทธชินราช รุ่นปฏิสังขรณ์ ตอน ม.5
    [​IMG]
    [​IMG]
    6. และเหรียญหล่อนาคปรกหลังยันต์กลับ เนื้อนวะของหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง (ปี 39-52)
    [​IMG]
    ซึ่งเป็นเหรียญที่ผมกับเพื่อนซิ่งมอไซต์จาก กท. มาบูชารับกับมือและรับเป่ายันต์เกราะเพชร
    จากหลวงพ่อเลย (วาระเสาร์ 5 ปี 39) เป็นเหรียญที่ผมติดตัวและแคล้วคลาดมาตลอด (วัยคะนอง)
    [​IMG]
    (ยันต์กลับหัว)
    7. และเหรียญนี้..ทำให้รู้จักองค์หลวงปู่ทวดมากยิ่งขึ้น
    [​IMG]
    [​IMG]
    8. หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน
    [​IMG]
    [​IMG]
    9. กริ่ง 08 หลวงพ่อพระพุทธโสธร
    [​IMG]
    [​IMG]
    10. จนมาพบพระพิมพ์สายวัง (ปี 52) ค่อยเปลี่ยนพระพิมพ์มาเรื่อยๆ (เกินซาวองค์)
    11. ก็คิดอยู่ลึกๆว่า หลวงพ่อทองคำเชียงแสน คงเป็นองค์สุดท้ายแล้วหล่ะ หึหึ
    [​IMG]
    ปล:
    - พระพุทธปฐวีธาตุ นรธ.ต้องอาราธนาติดตัวเป็นหลักเจ๊า
    - ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://thamasenapakdee.blogspot.com/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • reexposureofimg.jpg
      reexposureofimg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.1 KB
      เปิดดู:
      8,418
    • IMG_5396.jpg
      IMG_5396.jpg
      ขนาดไฟล์:
      249.2 KB
      เปิดดู:
      9,320
    • IMG_5398.jpg
      IMG_5398.jpg
      ขนาดไฟล์:
      276.2 KB
      เปิดดู:
      8,362
    • IMG_0982.jpg
      IMG_0982.jpg
      ขนาดไฟล์:
      207.1 KB
      เปิดดู:
      11,262
    • IMG_0983.jpg
      IMG_0983.jpg
      ขนาดไฟล์:
      183.9 KB
      เปิดดู:
      8,037
    • P1080417.jpg
      P1080417.jpg
      ขนาดไฟล์:
      227.8 KB
      เปิดดู:
      6,784
    • P1080418.jpg
      P1080418.jpg
      ขนาดไฟล์:
      204.6 KB
      เปิดดู:
      6,104
    • IMG_1358.jpg
      IMG_1358.jpg
      ขนาดไฟล์:
      200.7 KB
      เปิดดู:
      4,638
    • IMG_1360.jpg
      IMG_1360.jpg
      ขนาดไฟล์:
      222 KB
      เปิดดู:
      4,332
    • IMG_1327.JPG
      IMG_1327.JPG
      ขนาดไฟล์:
      228 KB
      เปิดดู:
      5,792
    • IMG_1328.JPG
      IMG_1328.JPG
      ขนาดไฟล์:
      205.2 KB
      เปิดดู:
      5,674
    • IMG_1050.JPG
      IMG_1050.JPG
      ขนาดไฟล์:
      238.1 KB
      เปิดดู:
      9,353
    • IMG_1051.JPG
      IMG_1051.JPG
      ขนาดไฟล์:
      234 KB
      เปิดดู:
      5,388
    • IMG_0255.jpg
      IMG_0255.jpg
      ขนาดไฟล์:
      120.9 KB
      เปิดดู:
      7,437
    • IMG_0256.jpg
      IMG_0256.jpg
      ขนาดไฟล์:
      118.1 KB
      เปิดดู:
      4,922
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  12. Natachai

    Natachai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +937
    -----------------------------------------
    มาดูประวัติศาสตร์ว่า(เรา)ประเทศไทย โบราณรู้จักเลขอารบิดหรือไม่?
    -----------------------------------------
    ยกตัวอย่าง[FONT=&quot] ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโปรตุเกส[/FONT][FONT=&quot]ความสัมพันธ์ทางการทูต[/FONT]
    [FONT=&quot] โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยกรุง ศรีอยุธยา เมื่อปี ค.ศ.1511 ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการติดต่อค้าขายและร่วมมือกันหลายด้านด้วยดี สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้พระราชทานที่ดินแก่ชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในพระ นครศรีอยุธยา ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าบ้านโปรตุเกส และต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานที่ดินฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยาให้แก่โปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ.1820(พ.ศ.2363) อันเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสในปัจจุบัน ดังนั้น โปรตุเกสจึงนับเป็นประเทศยุโรปที่มีความสัมพันธ์กับไทยมานานที่สุดเกือบ 5 ศตวรรษไทยและโปรตุเกสได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1859(พ.ศ.2402) ซึ่งทั้งสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation)

    ในปี พ.ศ. 2554 เป็นปีที่ครบรอบความสัมพันธ์ 500 ปี ไทย-โปรตุเกส
    [/FONT]

    --- คนไทยรู้จักเลขอารบิดมีบันทึกสมัยอยุธยายาวนานไม่น้อยกว่า 500 ปี
    --- สมัยรัตนโกสินทร์ได้กล่าวไว้ในสมัย ร.2 เข้ามาตั้งถิ่นฐานมีบันทึกไว้ พ.ศ.2363
    --- ดังนั้นตัวพระนางพญาที่พบ เนื้อผง เนื้อโลหะ เนื้อทองคำผสม และพระนางพญาพิมพ์พิเศษเนื้อทองคำฝังลูกแก้วนาคา(เม็ด)องค์เล็กๆ ได้สร้างในสมัย ร.4 พบเห็นตัวเลขด้านหลังขององค์พระนางพญาเนื้อทองคำผสมเป็นเลขอารบิด ซึ่งเป็นการแสดงจำนวนตัวเลขจำนวนองค์พระ...ที่สร้าง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
    --- ที่ควรศึกษาและปฏิบัติเมื่อถึงแล้วจะรู้เองว่า...ใครสร้าง...ใครอธิษฐานจิต...วาระปี พ.ศ.ใด...พลังอนุภาพเด่นและมีด้านใด...รังสีออร่าที่มองเห็นมีสีอะไรบ้าง... เรื่องเหล่านี้เป็นของแถมเล็กๆน้อยๆเท่านั้น...ดังคำกล่าวที่ว่า "ปฏิบัติเอง ได้เอง รู้เอง จะบอกหรือบังคับให้คนที่ไม่รู้ให้มารู้ตามย่อมเป็นไปไม่ได้"
    ธรรมสวัสดี
    ดร.ณัฐชัย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2012
  13. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    พูดถึงองค์พระธาตุดอยสุเทพ ในวันศุกร์นี้ผมเดินทางขึ้นไปทำธุระเชียงใหม่
    คิดว่าจะแวะกราบสักการะองค์พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง
    และองค์พระธาตุหริภุณไชย จ.ลำพูน
    จากนั้นก็ขึ้นไปสักการะองค์พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
    หากเป็นไปตามแผนก็คงดีและมีภาพกลับมาฝากญาติธรรมครับ
     
  14. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ยินดีด้วยครับผมที่มีสิ่งสูงค่าไว้บูชา :cool:
    [​IMG]
    สิ่งที่ปรากฏในองค์พระ เป็นเครื่องรับรองฯได้ดีครับ หึหึ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  15. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ขอบคุณสำหรับการแบ่งปัน(ภาพ) หลวงพ่อพระพุทธชินราชใบเสมา องค์พิเศษนี้ครับ
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  16. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181

    งดงามมากทุกองค์เลยครับ เข้าตาจนเจ็บตาไปหมด คงต้องหายาแก้ หุหุ..
     
  17. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181
    สมัยนั้น เนื้อเงิน ไม่ถึงมือผมหรอกครับ คงได้แต่อัลปาก้าบ่ดาย

    (ก็คิดอยู่ลึกๆว่า หลวงพ่อทองคำเชียงแสน คงเป็นองค์สุดท้ายแล้วหล่ะ หึหึ...)
    ผมว่ายังคิดได้ลึกกว่านั้นอีกนะ ฮ่า... (สุดท้ายของสุดท้าย............)
     
  18. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    หลวงปู่สุข ดังมากทางบ้าน สมัยพายุเกรลงภาคใต้แล้วรอดชีวิตมาเพราะห้อยเหรียญของท่าน
    คนอิสานนิยมห้อยเหรียญประมาณว่า...ต้องติดเนื้อครับ หึหึ!
    [​IMG]
    ท่านก็เลยแก้ไขโดยเคลือบให้ซะเลยนี่...เข้ากับทองดี
    [​IMG]
    เหรียญยันต์ดวงก็ดังมาตามลำดับ เรื่องโชคลาภ เงินทอง มหานิยม
    [​IMG]
    หลวงพ่อพระครูศิริวรรณาภรณ์ พระอุปัชฌาจารย์ของผม เป็นเพื่อนกับคุณพ่อสมัยเป็นเณร
    [​IMG]

    ปล: ละสังขารแล้วทั้งสองรูป รูปแรกกระดูกกลายเป็นแก้ว (ประวัติ)
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1351.jpg
      IMG_1351.jpg
      ขนาดไฟล์:
      273.9 KB
      เปิดดู:
      6,146
    • IMG_1353.jpg
      IMG_1353.jpg
      ขนาดไฟล์:
      250.2 KB
      เปิดดู:
      4,525
    • LP1.jpg
      LP1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.1 KB
      เปิดดู:
      4,025
    • LP2.jpg
      LP2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.6 KB
      เปิดดู:
      10,623
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  19. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    เอ๊า...แม่นว่า?
    [​IMG]
    [​IMG]

    พูดถึงตรงนี้ก็นึกถึงถ้อยคำที่องค์พ่อแม่ครูอาจารย์พูดถึงหลักการคัดเลือกพระพุทธรูปมาเป็นพระประธานว่า...
    - พระพักตร์ต้องดูอิ่มและเต็ม
    - เวลาขัดสมาธิแล้ว ฐานต้องกว้าง ดูสง่างาม
    - และสมส่วน
    - จึงจะมีพลานุภาพมาก
    - สรุปสั้นๆ ให้ไปดูหลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นแบบคร๊าบผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  20. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ประวัติพระอานนท์เถระ
    [​IMG]
    เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูต

    พระอานนท์ พระราชโอรสของพระสุกโกทนะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดา พระนามว่า พระนางกีสาโคตมี พระเถระท่านมีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา (พระราชโอรสของพระเจ้าอา) เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ ๒ ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูรญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศดุ์ ในครั้งนั้น บรรดาศากยราชิกูลได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ถวายพระโอรสของตนให้ออกบวชตามเสด็จ ยังเหลือแต่ศากยกุมารเหล่านี้ คือ เจ้าชายมหานามะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และเจ้าชายเทวทัต ครั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่กรุงกบิลพัศดุ์พอสมควรแก่กาล แล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น

    ศากยกุมารเหล่านี้ได้ถูกพระประยูรญาติวิจารณ์ว่า เหตุที่ไม่ออกผนวชตามเสด็จนั้น คงจะไม่ถือว่าตนเองเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระมัง เจ้าชายมหานามะได้ฟังดังนั้นเกิดละอายพระทัย จึงได้ไปปรึกษากับเจ้าชายอื่นๆ ในที่สุดตกลงกันว่าจะออกผนวชตามเสด็จ โดยเจ้าชายมหานามะไม่อาจบวชได้ เนื่องจากจะต้องเป็นกษัตริย์ต่อไป จึงให้พระอนุชาคือเจ้าชายอนุรุทธะออกผนวชแทน ศากยกุมารทั้ง 6 องค์ มีพระอานนท์ เป็นต้นรวมทั้งอุบาลี ซึ่งเป็นกัลบก(ช่างตัดผม ช่างโกนผม) รวมเป็น 7 ท่าน ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ เพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ แล้ว กราบทูลว่า

    “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อในภายหลัง พระอุปัชฌายะของท่าน พระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ

    ในช่วงปฐมโพธิกาลหลังจากตรัสรู้แล้ว ๒๐ พรรษานั้น ยังไม่มีพระภิกษุใดปฏิบัติรับใช้พระพุทธองค์เป็นประจำ มีแต่พระภิกษุผลัดเปลี่ยนวาระกันปฏิบัติ เช่น พระนาคสมาละ พระนาคิตะ พระอุปวาณะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะ เป็นต้น บางคราวการผลัดเปลี่ยนบกพร่ององค์ที่ปฏิบัติอยู่ออกไป แต่องค์ใหม่ยังไม่มาแทน ทำให้พระพุทธองค์ต้องประทับอยู่ตามลำพังขาดผู้ปฏิบัติ บางครั้งพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ก็ดื้อดึงขัดรับสั่งของพระพุทธองค์ เช่น ครั้งหนึ่ง เป็นวาระของพระนาคสมาลเถระ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทางไกลพอถึงทาง ๒ แพร่ง พระเถระกราบทูลว่า

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์เสด็จไปทางนี้เถิด พระเจ้าข้า”
    “อย่าเลย นาคสมาละ ไปอีกทางหนึ่งจะดีกว่า”

    พระนาคสมาละ ไม่ยอมเชื่อฟังพระดำรัส ขอแยกทางกับพระพุทธองค์ ทำท่าจะวางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคที่พื้นดิน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
    “นาคสมาละ เธอจงส่งบาตรและจีวรมาให้ตถาคตเถิด”

    พระนาคสมาละ ถวายบาตรและจีวรแด่พระพุทธองค์แล้วแยกทางเดินไปตามที่ตนต้องการ ไปได้ไม่ไกลนักก็ถูกพวกโจรทำร้ายจนศีรษะแตก แล้วแย่งชิงเอาบาตรและจีวรไป ทั้งที่เลือดอาบหน้ารีบกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเล่าเรื่องให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    “อย่าเสียใจไปเลย นาคสมาละ ตถาคตห้ามเธอก็เพราะเหตุนี้”

    พระพุทธองค์ ได้รับความลำบากพระวรกายเพราะถูกปล่อยให้ประทับอยู่ตามลำพังหลายครั้ง จึงมีพระดำรัสรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เลือกสรรภิกษุทำหน้าที่ปฏิบัติพระองค์เป็นประจำ ภิกษุทั้งหลายมีฉันทามติมอบหมายให้พระอานนท์เถระ รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยเห็นว่าท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ขยัน อดทน รอบคอบ และเป็นพระญาติใกล้ชิด ย่อมจะทราบพระอัธยาศัยเป็นอย่างดีแต่ก่อนที่พระเถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น
    [​IMG]
    ท่านได้กราบทูลขอพร ๘ ประการ จากพระบรมศาสดา ดังนี้:-

    ๑ ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๒ ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๓ ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
    ๔ ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
    ๕ ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
    ๖ ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
    ๗ ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใดขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น
    ๘ ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้ง

    พระบรมศาสดา ได้สดับคำกราบทูลขอพรของพระอานนท์เถระแล้ว ได้ตรัสถามถึงคุณและโทษของพร ๘ ประการว่า:-
    “ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไร จึงขออย่างนั้น ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๑-๔ ข้างต้น ก็จะมีคนพูดติฉินนินทา ได้ว่า พระอานนท์ ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดา จึงได้ลาภสักการะมากมายอย่างนี้ การปฏิบัติอุปัฏฐากมิได้หนักหนาอะไรเลย และถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๕-๗ ก็จะมีคนพูดได้อีกว่าพระอานนท์ จะบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดาไปทำไม แม้กิจเพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุเคราะห์ อนึ่ง โดยเฉพาะถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อสุดท้ายแล้ว หากมีผู้มาถามข้าพระองค์ว่า ธรรมข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ทราบ เขาก็จะตำหนิได้ว่าพระอานนท์ติดตามพระบรมศาสดาไปทุกหนแห่ง ดุจเงาตามพระองค์ แต่เหตุไฉนจึงไม่รู้แม้แต่เรื่องเพียงเท่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นคุณและโทษ ดังกล่าวมานี้ จึงได้กราบทูลขอพรทั้ง ๘ ประการนั้น พระเจ้าข้า”

    พระบรมศาสดา เมื่อได้สดับคำชี้แจงของพระอานนท์แล้ว จึงประทานสาธุการ และพระราชทานอนุญาตให้ตามที่ขอทุกประการตั้งแต่นั้นมา ท่านพระอานนท์ได้รับตำแหน่ง ท่านก็ได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดี กิจที่ท่านทำเป็นประจำแก่พระพุทธเจ้า คือ ถวายน้ำ 2 อย่าง คือ น้ำเย็นและน้ำร้อน ถวายไม้สีฟัน 3 ขนาด นวดพระหัตถ์และพระบาท นวดพระปฤษฏางค์ ปัดกวาดพระคันธกุฏี และบริเวณพระคันธกุฏี ในตอนกลางคืนท่านกำหนดเวลาได้ว่า เวลานี้พระพุทธองค์ทรงต้องการอย่างนั้นอย่างนี้แล้วเข้าเฝ้า เมื่อเฝ้าเสร็จก็ออกมาอยู่ยาม ณ ภายนอกพระคันธกุฏี ในคืนหนึ่ง ๆ ท่านถือประทีปด้ามใหญ่เวียนรอบบริเวณพระคันธกุฏีถึง 8 ครั้ง ท่านคิดว่าหากท่านง่วงนอน เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเรียกท่านจะไม่สามารถขานรับได้ ฉะนั้น จึงไม่ยอมวางประทีปตลอดทั้งคืน

    พระอานนท์นั้นเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ท่านยอมสละชีพของท่านเพื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ อย่างเช่น เมื่อพระเทวทัตได้วางอุบายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมอมเหล้าช้างนาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมัน แล้วปล่อยออกไปในขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาต โดยมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เมื่อช้างนาฬาคิรีวิ่งเข้ามาทางพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงได้เดินล้ำมาเบื้องหน้าพระศาสดา ด้วยคิดหมายจะเอาองค์ป้องกันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพระพุทธดำรัสให้พระอานนท์หลีกไป อย่าป้องกันพระองค์เลย แต่พระอานนท์ได้กราบทูลว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีวิตของพระองค์มีค่ายิ่งนัก พระองค์อยู่เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลก เป็นดวงประทีปของโลก เป็นที่พึ่งของโลก ของพระองค์อย่าเสี่ยงกับอันตรายครั้งนี้เลย ชีวิตของข้าพระองค์มีค่าน้อย ขอให้ข้าพระองค์ได้สละสิ่งซึ่งมีค่าน้อยเพื่อรักษาสิ่งที่มีค่ามาก เหมือนสละกระเบื้อง เพื่อรักษาซึ่งแก้วมณีเถิดพระเจ้าข้าฯ”

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า

    “อย่าเลยอานนท์ บารมีเราได้สร้างมาดีแล้ว ไม่มีใครสามารถปลงชีวิตของตถาคตได้ ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉานหรือมนุษย์หรือเทวดามารพรหมใด ๆ”

    ในขณะนั้นช้างนาฬาคิรีวิ่งมาจนจะถึงพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงได้แผ่พระเมตตาจากพระหฤทัย ซึ่งไปกระทบกับใจอันคลุกอยู่ด้วยความมึนเมาของช้างนาฬาคิรีได้ ช้างใหญ่หยุดชะงัก ใจสงบลงและหมอบลงแทบพระบาท พระพุทธองค์ทรงใช้พระหัตถ์ลูบที่ศีรษะพญาช้าง พร้อมกับตรัสว่า

    “นาฬาคิรีเอ๋ย เธอกำเนิดเป็นดิรัจฉานในชาตินี้ เพราะกรรมอันไม่ดีของเธอในชาติก่อนแต่งให้ เธออย่าประกอบกรรมหนัก คือทำร้ายพระพุทธเจ้าเช่นเราอีกเลย เพราะจะมีผลเป็นทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน”
    ช้างนาฬาคิรีน้ำตาไหลพราก น้อมรับฟังพระพุทธดำรัสด้วยอาการดุษฎี

    พระอานนท์เถระ ได้ปฏิบัติพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด มิได้ประมาทพลาดพลั้ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาทั้งที่ทรงแสดงแก่ตนและผู้อื่น ทั้งที่แสดงต่อหน้าและลับหลัง อีกทั้งท่านเป็นผู้มีสติปัญญาทรงจำไว้ได้มาก จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวงถึง ๕ ประการ คือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก

    ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยังเป็นพระโสดาบันอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีกออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว ตรัสเตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....

    “อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”

    เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่างหนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอนกายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ

    พระอานนท์เถระ ดำรงอายุสังขารอยู่นานถึง ๑๒๐ ปี พิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะปรินิพพานได้แล้ว ท่านจึงเชิญญาติทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ไปที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ก่อนที่จะปรินิพพาน ท่านเหาะขึ้นไปบนอากาศได้แสดงธรรมสั่งสอนเทวดาและพระประยูรญาติทั้งสองฝ่าย ตลอดทั้งพุทธบริษัทอื่น ๆ เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้วท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า....

    “เมื่ออาตมานิพพานแล้ว ขอให้อัฐิธาตุของอาตมานี้จงแยกออกเป็น ๒ ส่วน จงตกลงที่ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ ของพระประยูรญาติฝ่ายศากยวงศ์ ส่วนหนึ่ง และจงตกที่ฝังกรุงเทวทหะของพระประยูรญาติฝ่ายโกลิยวงศ์ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายทะเลาะวิวาทกันเพราะแย่งอัฐิธาตุ”

    ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ณ เบื้องบนอากาศ ในท่ามกลางแม่น้ำโรหิณี เตโชธาตุก็เกิดขึ้น เผาสรีระของท่านเหลือแต่กระดูกและแยกออกเป็น ๒ ส่วน แล้วตกลงบนพื้นดินของ ๒ ฝั่งแม่น้ำโรหิณีนั้นสมดังที่ท่านอธิษฐานไว้ทุกประการ

    [​IMG] [​IMG]
    พระธาตุของพระอานนท์เถระ
    สัณฐานดั่งใบบัวเผื่อน พรรณดำดั่งน้ำรัก หรือสีขาวสะอาดดั่งสีเงิน
    กราบ กราบ กราบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • arnon.doc
      ขนาดไฟล์:
      48 KB
      เปิดดู:
      700
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2012

แชร์หน้านี้

Loading...