หลวงปู่ฝากไว้ ( Gifts He Left Behind )

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย paang, 12 เมษายน 2008.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    พระพุทธพจน์

    หลวงปู่ว่า ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ตราบนั้นย่อมมีทิฐิ และเมื่อมีทิฐิแล้วยากที่จะเห็นตรงกัน เมื่อเห็นไม่ตรงกัน ก็เป็นเหตุให้โต้เถียงวิวาทกันอยู่ร่ำไป

    สำหรับพระอริยเจ้าผู้เข้าถึงธรรมแล้ว ก็ไม่มีอะไรสำหรับมาโต้แย้งกับใคร ใครจะมีทิฐิอย่างไร ก็ปล่อยเป็นเรื่องของเขาไป

    ดังพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่ามีอยู่ แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามีอยู่ สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่วิวาทโต้เถียงกับโลก แต่โลกย่อมวิวาทโต้เถียงกับเรา”


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    In the Buddha's words

    Luang Pu once said, "People, as long as they're run-of-the-mill, have their pride and their opinions. As long as they have pride, it's hard for them to see in line with one another. When their views aren't in line with one another, it causes them to keep quarreling and disputing. As for a noble one who has reached the Dhamma, he has nothing to bring him into a quarrel with anyone else. However other people see things, he lets it go as their business. As in one of the Buddha's sayings,

    "Monks, whatever the wise people of the world say exists, I too say exists. And whatever the wise people of the world say doesn't exist, I too say that it doesn't exist. I don't quarrel with the world; the world quarrels with me."
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ผู้ไม่มีโทษทางวาจา

    เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ หลวงปู่กำลังอาพาธหนัก พักรักษาอยู่ที่ห้องพระราชทาน ตึกจงกลณี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลวงปู่สาม อกิญฺจโน เดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่ถึงห้องพยาบาล

    ขณะนั้นหลวงปู่กำลังนอนพักผ่อนอยู่ เมื่อหลวงปู่สามขยับไปนั่งใกล้ชิดแล้วก็ยกมือไหว้ หลวงปู่ดูลย์ก็ยกมือรับไหว้ แล้วต่างองค์ก็นั่งอยู่เฉยตลอดระยะเวลานาน เมื่อสมควรแก่เวลาอย่างยิ่งแล้ว หลวงปู่สามประนมมืออีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับจำนรรจาว่า

    “กระผมกลับก่อน”

    หลวงปู่ดูลย์ว่า “อือ”

    ตลอดเวลาเกือบสองชั่วโมง ได้ยินเพียงแค่นี้เอง

    เมื่อหลวงปู่สามกลับไปแล้ว อดที่จะถามไม่ได้ว่า หลวงปู่สามอุตส่าห์มานั่งตั้งนาน ทำไมหลวงปู่จึงไม่สนทนาพูดอะไรกับท่านบ้าง

    หลวงปู่ตอบว่า

    “ธุระมันหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องพูดอะไร”


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Those with no fault by way of speech

    On February 21, 1983, when Luang Pu was seriously ill and staying at the Chulalongkorn Hospital in Bangkok, Luang Pu Saam Akincano came to visit him in the hospital room. At that time, Luang Pu was resting. Luang Pu Saam sat down near him and raised his hands in respect. Luang Pu responded by raising his hands in respect. Then the two of them sat there, perfectly still, for a long time. Finally, after an extremely long time, Luang Pu Saam raised his hands in respect once more and said, "I'll be leaving now."

    "OK," Luang Pu responded.

    For the entire two hours, those were the only words I heard them say. After Luang Pu Saam left, I couldn't help but ask Luang Pu, "Luang Pu Saam came and sat here for a long time. Why didn't you say anything to him?"

    Luang Pu responded,

    "The task is done, so there's no need to say anything more."
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ขันติบารมี

    เท่าที่อยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ตลอดเวลาอันยาวนาน ไม่เคยเห็นท่านแสดงอากัปกิริยาใดๆ ให้เห็นว่าท่านอึดอัดหรือรำคาญจนทนไม่ได้ถึงต้องบ่นอุบอิบอู้อี้กับกรณีใดๆ ทั้งสิ้น

    เช่น ไปเป็นประธานในงานสถานที่ใดๆ ไม่เคยเป็นเจ้ากี้เจ้าการ รื้อฟื้น หรือให้เขาจัดแจงดัดแปลงใหม่ หรือไปในสถานที่ที่เป็นกิจนิมนต์ แม้จะต้องนั่งนานหรืออากาศอบอ้าวอย่างไรก็ไม่เคยบ่น

    เวลาเจ็บไข้ไม่สบาย หรือเวลาเผอิญอาหารมาไม่ตรงต่อเวลา แม้จะหิวกระหายแค่ไหน ก็ไม่เคยบ่นหรือสำออย หรือแม้รสชาติอาหารจะจืดจางอย่างไร ก็ไม่เคยเรียกหาเครื่องปรุงเพิ่มเติมอะไรเลย

    ตรงกันข้าม ถ้าเห็นพระเถระไหนชอบเป็นเจ้ากี้เจ้าการ ขี้บ่น หรือทำสำออยให้คนอื่นเอาใจ เป็นต้น หลวงปู่มักปรารภให้ฟังว่า

    “แค่นี้อดทนไม่ได้หรือ ถ้าแค่นี้อดทนไม่ได้ จะเอาชนะกิเลสตัณหาได้อย่างไร”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    The perfection of endurance

    During all the many years I lived near Luang Pu, I never saw him act in a way to indicate that he was bothered by anything to the point where he couldn't stand it, and I never heard him complain about any difficulty at all. For example, when he was the senior monk at a function, he never made a fuss or demanded that the hosts alter things to suit him. Whenever he was invited any place where he had to sit for long periods of time or where the weather was hot and humid, he never complained. When he was sick and in pain, or if his food came late, no matter how hungry he was, he never grumbled. If the food was bland and tasteless, he never asked for anything to spice it up. On the other hand, if he saw any other elder monk making a fuss to get special treatment from other people, he would comment,

    "You can't endure even this little thing? If you can't endure this, how are you going to win out over defilement and craving?"
     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ไม่เบียดเบียนแม้ทางวาจา

    หลวงปู่กล่าววาจาบริสุทธิ์ เพราะท่านกล่าวเฉพาะวาจาที่เป็นประโยชน์ และไม่ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อนเพราะคำพูดของท่าน แม้จะมีผู้ใดมาพูดเป็นเหตุที่จะชวนให้ท่านวิพากษ์วิจารณ์ใครๆ ให้เขาฟังสักอย่าง ท่านก็ไม่เคยคล้อยตาม

    หลายครั้งที่มีผู้ถามท่านว่า

    “หลวงปู่ ทำไมพระนักพูดนักเผยแผ่ระดับประเทศบางองค์ เวลาพูดหรือเทศน์ชอบพูดโจมตีคนอื่น พูดเสียดสีสังคม หรือพูดกระทบกระแทกพระเถระด้วยกัน เป็นต้น พระพูดในลักษณะนี้จ้างผมก็ไม่นับถือดอก”

    หลวงปู่ว่า

    “ก็ท่านมีภูมิรู้ ภูมิธรรมอยู่อย่างนั้น ท่านก็พูดไปตามความรู้ความถนัดของท่านนั่นแหละ การจ้างให้นับถือไม่มีใครเขาจ้างหรอก เมื่อไม่อยากนับถือก็อย่าไปนับถือซิ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    No trouble through his words

    Luang Pu was pure in his speech, for he would speak only of things that served a purpose. He never created any trouble for himself or for others through his words. Even when people tried to bait him so that they could hear him criticize others, he wouldn't fall for the bait.

    Many were the times when people would come to say to him, "Luang Pu, why is it that some of our nationally renowned preachers like to attack others or denounce society or criticize other senior monks? Even if you paid me, I couldn't respect monks like that."

    Luang Pu would respond,

    "That's the level of their knowledge and understanding. They say what comes easily in line with the level of their knowledge. Nobody's paying you to respect them. If you don't want to respect them, then don't respect them. They probably won't mind
     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    พระหลอกผี

    ส่วนมากหลวงปู่ชอบแนะนำส่งเสริมพระเณรให้ใสใจเรื่องธุดงคกัมมัฏฐานเป็นพิเศษ

    มีอยู่ครั้งหนึ่งพระสานุศิษย์มาชุมนุมกันจำนวนมาก ทั้งแก่พรรษาและอ่อนพรรษา หลวงปู่ชี้แนวทางว่า ให้พากันไปอยู่ป่าหาทางวิเวก หรืออยู่ตามเขาตามถ้ำ เพื่อเร่งความเพียร จะได้พ้นจากภาวะตกต่ำทางจิตบ้าง ก็มีพระรูปหนึ่งพูดออกมาพล่อยๆ ว่า

    “ผมไม่กล้าไปครับเพราะผมกลัวผีหลอก”

    หลวงปู่ตอบเร็วว่า

    “ผีที่ไหนเคยหลอกพระ มีแต่พระนั่นแหละหลอกผีและตั้งขบวนการหลอกผีเป็นการใหญ่เสียด้วย คิดดูให้ดีนะ วัตถุสิ่งของที่ชาวบ้านเขาเอามาบริจาคทำบุญนั้น แทบทั้งหมดล้วนทำเพื่ออุทิศส่งไปให้ผีทั้งนั้น ผีพ่อแม่ปู่ย่าตายายญาติพี่น้องเขา แล้วพระเราเล่า ประพฤติตนเหมาะสมแล้วหรือ มีคุณธรรมอะไรบ้าง ที่จะส่งผลให้ถึงผีได้ ระวังอย่ามาเป็นพระหลอกผี”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Monks who victimize spirits


    Generally speaking, Luang Pu liked to encourage monks and novices to take a special interest in the practice of wandering in the forest to meditate and observe the ascetic practices. Once, when a large number of his students — both senior and junior — came for a meeting, he encouraged them to search for seclusion in the wilderness, living on mountains or in caves for the purpose of accelerating their practice. That way they'd be able to release themselves from their lower states of mind.

    One of the monks said thoughtlessly, "I don't dare go to those places, sir. I'm afraid that spirits might victimize me."

    Luang Pu shot right back,

    "Where have there ever been any spirits who victimize monks? There are only monks who victimize spirits — and they make a big production of it to boot. Think about it. Nearly all the material things lay people bring to donate are for the sake of dedicating the merit to the spirits of their dead ancestors and relatives: their parents, their grandparents, their brothers and sisters. And do we monks behave in a fitting way? What mental qualities do we have that will send the merit to those spirits? Be careful that you don't become a monk who victimizes spirits."
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ดีเหมือนกัน…แต่

    นักปฏิบัติที่ตื่นอาจารย์ ตื่นสำนักใหม่ๆ ในปัจจุบันนี้มีอยู่มาก นักนิยมหวยก็ตื่นอาจารย์บอกใบ้หวย นักนิยมความศักดิ์สิทธิ์ยังมีอยู่ฉันใด นักวิปัสสนาก็ย่อมตื่นอาจารย์วิปัสสนาฉันนั้น ดังนั้น กลุ่มชนเหล่านั้นจึงมีอยู่มิใช่น้อย เมื่อเขาชอบใจอาจารย์องค์ไหนเขาก็กล่าวยกย่ององค์นั้น ตลอดถึงชักชวนคนอื่นให้ช่วยนับถือหรือเห็นด้วยกับตน ยิ่งปัจจุบันนี้มีพระเทศน์ดังๆ มากที่อัดเทปขายเผยแพร่ได้อย่างมากมาย

    มีอุบาสิกานักฟังผู้หนึ่งนำเทปนักเทศน์ดังไปถวายให้หลวงปู่ฟังหลายม้วน แต่หลวงปู่ไม่ได้ฟัง เพราะตั้งแต่ท่านเกิดมายังไม่เคยมีวิทยุ มีเทปกับเขาเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรือสมมติว่าถ้ามี ท่านก็คงเปิดฟังไม่เป็น ต่อมามีผู้เอาเครื่องเทปไปเปิดให้หลวงปู่ฟังจบหลายม้วน แล้วถามท่านว่าฟังแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

    หลวงปู่ว่า

    “ดีเหมือนกัน สำนวนโวหารสละสลวยน่าฟัง ทั้งรวยด้วยคำพูด แต่หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ การฟังแต่ละครั้งนั้น ควรให้ได้อรรถรสของ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จึงจะเป็นสาระแก่นสาร”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Nice, but...

    At present there are a lot of meditators who get enthusiastic about new teachers or new meditation centers. Just as lottery enthusiasts get excited about monks who forecast lottery numbers, or amulet enthusiasts get excited about monks who make powerful amulets, in the same way, vipassana enthusiasts get excited about vipassana teachers. A lot of these people, when taken with a particular teacher, will praise that teacher to others and try to persuade them to share their opinion and respect for the teacher. And especially at present, there are famous speakers who tape their Dhamma talks and sell them all over the country. One woman once brought many tapes of a famous speaker's talks for Luang Pu to listen to, but he didn't listen to them. One reason was that he had never had a radio or tape player since the day he was born. Or supposing that he had had one, he wouldn't have known how to turn it on. Later, someone brought a tape player and played many of these tapes for Luang Pu to listen to. Afterwards, she asked him what he thought. He said,

    "Nice. He has a beautiful way of expressing himself, and an abundance of words, but I couldn't find any substance to them. Each time you listen, you should be able to get the flavor of study, practice, and attainment. That's when there's substance."
     
  7. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    นักปฏิบัติลังเลใจ

    ปัจจุบันนี้ ศาสนิกชนผู้สนใจในการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนามีความงงงวย สงสัยอย่างยิ่งในแนวทางปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นสนใจ เนื่องจากคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาแนะแนวปฏิบัติไม่ตรงกัน

    ยิ่งกว่านั้นแทนที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจโดยความเป็นธรรม ก็กลับทำเหมือนไม่อยากจะยอมรับคณาจารย์อื่น สำนักอื่น ว่าเป็นการถูกต้อง หรือถึงขั้นดูหมิ่นสำนักอื่นไปแล้วก็เคยมีไม่น้อย ดังนั้น เมื่อมีผู้สงสัยทำนองนี้มากและเรียนถามหลวงปู่อยู่บ่อยๆ จึงได้ยินหลวงปู่อธิบายให้ฟังอยู่เสมอว่า

    “การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำ สำหรับบริกรรม เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมกันอยู่ก่อน เมื่อจิตรวมสงบแล้ว คำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือมีวิมุติเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Meditators who are uncertain

    At present, many people who are interested in meditation practice are extremely confused and doubtful about the correct way to practice. This is especially true of people just beginning to get interested, because meditation teachers often give conflicting advice on how to practice. What's worse, instead of explaining things in a fair and objective way, these teachers seem reluctant to admit that other teachers or methods of practice might also be correct. There are not a few who show actual disdain for other methods.

    Because many people with these sorts of doubts would often come to ask Luang Pu's advice, I frequently heard him explain things in this way:

    "When you start practicing meditation, you can begin with any method at all, because they all lead to the same results. The reason there are so many methods is because people have different tendencies. This is why there have to be different images to focus on or words to repeat — such as "buddho" or "arahang" — as means of giving the mind a point around which to gather and settle down as the first step. When the mind has gathered and is still, the meditation word will fall away on its own, and that's where every method falls into the same track, with the same flavor. In other words, it has discernment as its surpassing state, and release as its essence."
     
  8. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    อยู่ ก็อยู่ให้เหนือ

    ผู้ที่เข้ามนัสการหลวงปู่ทุกคนและทุกครั้ง มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ร้อยปีแล้วก็จริง แต่ดูผิวพรรณยังผ่องใส และสุขภาพอนามัยแข็งแรงดี

    แม้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดท่านตลอดมา ก็ยากที่จะเห็นท่านแสดงอาการหมองคล้ำ หรืออิดโรย หรือหน้านิ่วคิ้วขมวดออกมาให้เห็น ท่านมีปกติสงบเย็นเบิกบานอยู่เสมอ มีอาพาธน้อย มีอารมณ์ดี ไม่ตื่นเต้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เผลอคล้อยตามคำสรรเสริญ หรือคำตำหนิติเตียน

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านกลางพระเถระวิปัสสนาสนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติกับหลวงปู่ ถึงปกติจิตที่อยู่เหนือความทุกข์ โดยลักษณาการอย่างไร

    หลวงปู่ว่า

    “การไม่กังวล การไม่ยึดถือ นั่นแหละคือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    When dwelling, dwell above

    Everyone who came to pay respect to Luang Pu would say the same thing: Even though he was almost 100 years old, his complexion was bright and his health strong. Even those of us who lived near him all along rarely saw his face darken or look exhausted or get furrowed in displeasure or pain. His normal state was to be quiet and cheerful at all times. He had few illnesses and was always in a good mood, never excited about events or affected by praise or blame.

    Once, in the midst of a gathering of elder meditation monks who were conversing about how to characterize the normal state of mind of those who live above suffering, Luang Pu said,

    "Not worrying, not being attached: That's the mental dwelling of those who practice."
     
  9. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ตื่นอาจารย์

    นักปฏิบัติธรรมสมัยนี้มีสองประเภท ประเภทหนึ่งเมื่อได้รับข้อปฏิบัติหรือข้อแนะนำจากอาจารย์พอเข้าใจแนวทางแล้ว ก็ตั้งใจเพียรพยายามปฏิบัติไปจนสุดความสามารถ อีกประเภทหนึ่งทั้งที่มีอาจารย์แนะนำดีแล้ว ได้ข้อปฏิบัติถูกต้องดีแล้ว แต่ก็ไม่ตั้งใจทำอย่างจริงจัง มีความเพียรต่ำ ขณะเดียวกันก็ชอบเที่ยวแสวงหาอาจารย์ไปในสำนักต่างๆ ได้ยินว่าสำนักไหนดีก็ไปทุกแห่ง ซึ่งลักษณะนี้มีอยู่มากมาย

    หลวงปู่เคยแนะนำลูกศิษย์ว่า

    “การไปหลายสำนักหลายอาจารย์ การปฏิบัติจะไม่ได้ผล เพราะการเดินหลายสำนักนี้ คล้ายกับการเริ่มต้นปฏิบัติใหม่ไปเรื่อย เราก็ไม่ได้หลักธรรมที่แน่นอน บางทีก็เกิดความลังเล งวยงง จิตก็ไม่มั่นคง การปฏิบัติก็เสื่อมไม่เจริญคืบหน้าต่อไป”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Looking for new teachers

    People practicing the Dhamma at present are of two sorts. The first are those who, when they learn the principles of the practice or receive advice from a teacher and get on the path, are intent on trying to follow that path to the utmost of their ability. The other sort are those who — even though they've received good advice from their teacher and have learned the correct principles of the practice — aren't sincerely intent. Their efforts are lax. At the same time, they like to go out looking for other teachers at other centers. Wherever they hear there's a good center, there they go. Meditators of this sort are many.

    Luang Pu once advised his students,

    "When you go to a lot of centers and study with a lot of teachers, your practice won't get results, for when you go to a lot of centers, it's as if you go back to the beginning over and over again. You don't gain any sure principles in your practice. Sometimes you get uncertain and bewildered. Your mind isn't solid. Your practice degenerates and doesn't progress."
     
  10. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    จับกับวาง

    นักศึกษาธรรมะหรือนักปฏิบัติธรรมะมีสองประเภท

    ประเภทหนึ่ง ศึกษาปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง

    ประเภทสอง ศึกษาปฏิบัติเพื่อจะอวดภูมิกัน ถกเถียงกันไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น ใครจำตำราหรืออ้างครูบาอาจารย์ได้มาก ก็ถือว่าตนเป็นคนสำคัญ บางทีเข้าหาหลวงปู่ แทนที่จะถามธรรมะข้อปฏิบัติจากท่าน ก็กลับพ่นความรู้ความจำของตนให้ท่านฟังอย่างวิจิตรพิสดารก็เคยมีไม่น้อย

    แต่สำหรับหลวงปู่นั้นทนฟังได้เสมอ เมื่อเขาจบลงแล้วยังช่วยต่อให้หน่อยหนึ่งว่า

    “ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน”


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Holding on vs. putting aside

    Students and practitioners of the Dhamma are of two sorts. The first sort are those who genuinely study and practice to gain release from suffering. The second are those who study and practice to brag about their accomplishments and to pass their days in arguments, believing that memorizing a lot of texts or being able to quote a lot of teachers is a sign of their importance. Many times, when people of this second sort came to see Luang Pu, instead of asking his advice on how to practice, they would spray out their knowledge and ideas for him to hear in great detail. Still, he was always able to sit and listen to them. In fact, when they had finished, he would add one more comment to theirs:

    "Those who are obsessed with scriptures and teachers won't be able to gain release from suffering. But still, those who want to gain release from suffering do have to depend on scriptures and teachers."
     
  11. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ทำจิตให้สงบได้ยาก

    การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น จะให้ได้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้ บางคนได้ผลเร็ว บางคนก็ช้าหรือยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี แต่ก็ไม่ควรท้อถอย ก็ชื่อว่าเป็นผู้ได้ประกอบความเพียรทางใจ ย่อมเป็นบุญเป็นกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทาน รักษาศีล

    เคยมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่า อุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว แต่จิตไม่เคยสงบเลย แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย มีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้

    หลวงปู่เคยแนะนำวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า

    ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่ายคลายกำหนัด ย่อมตัดอุปทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    When the mind resists growing still

    In practicing concentration, there's no way everyone will get results at the same speed. Some people get fast results, others get slow results. There are even those who never seem to gain a taste of stillness at all. Still, they shouldn't get discouraged. The act of making an effort in the area of the heart is, in itself, a higher form of merit and skill than the act of giving gifts or observing the precepts. A large number of Luang Pu's students would ask him, "I've been trying to practice concentration for a long time, but my mind has never been still. It keeps wandering off outside. Is there another way I might be able to practice?"

    Luang Pu would sometimes recommend this other method:

    "When the mind isn't still, you can at least make sure it doesn't wander off far. Use your mindfulness to stay mindful solely of the body. Look to see it as inconstant, stressful, and not-self. Develop the perception of its being unattractive, with nothing of any substance to it at all. When the mind sees clearly in this way, it will give rise to a sense of dismay, disenchantment, and dispassion. This, too, can cut through the clinging-aggregates."
     
  12. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    หลักธรรมแท้

    มีอยู่อย่างหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมชอบพูดถึง คือชอบโจษขานกันว่า นั่งภาวนาแล้วเห็นอะไรบ้าง ปรากฏอะไรมาบ้าง หรือไม่ก็ว่าตนนั่งภาวนามานานแล้วไม่เคยเห็นปรากฏอะไรออกมาบ้างเลย หรือไม่บางคนก็ว่า ตนได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ ทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ภาวนาแล้วตนจะได้สิ่งที่ต้องการ เป็นต้น

    หลวงปู่เคยเตือนว่า การปรารถนาเช่นนั้นผิดทั้งหมด เพราะการภาวนานั้นเพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมที่แท้จริง

    “หลักธรรมที่แท้จริงนั้น คือจิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    The genuine basis of the Dhamma

    There's one thing that meditators love to talk about, and that's, "What do you see when you sit in meditation? What appears when you meditate?" Or else they complain that they've been sitting in meditation for a long time and yet nothing has appeared for them to see. Or else they talk about seeing this thing or that all the time. This makes some people misunderstand things, thinking that when you meditate you get to see what you want to see.

    Luang Pu would warn these people that this sort of aspiration is all wrong, for the purpose of meditation is to enter into the genuine basis of the Dhamma.

    "The genuine basis of the Dhamma is the mind, so focus on watching the mind. Get so that you understand your own mind poignantly. When you understand your mind poignantly, you've got the basis of the Dhamma right there."
     
  13. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    เตือนศิษย์ไม่ให้ประมาท


    เพื่อป้องกันความประมาทหรือมักง่ายต่อการประพฤติปฏิบัติของพระเณร หลวงปู่จึงสรรหาคำสอนตักเตือนไว้อย่างลึกซึ้งว่า

    “คฤหัสถ์ชน ญาติโยมทั่วไป เขาประกอบอาชีพการงานด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุข้าวของเงินทอง มาเลี้ยงครอบครัวลูกหลานของตน

    แม้จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอย่างไรเขาก็ต้องต่อสู้ ขณะเดียวกันเขาก็อยากได้บุญได้กุศลด้วย จึงพยายามเสียสละทำบุญ ลุกขึ้นแต่เช้า หุงหาอาหารอย่างดีคอยใส่บาตร ก่อนใส่เขายกอาหารขึ้นท่วมหัวแล้วตั้งจิตอธิษฐาน ครั้นใส่แล้วก็ถอยไปย่อตัวยกมือไหว้อีกครั้ง ที่เขาทำเช่นนั้นก็เพื่อต้องการบุญต้องการกุศลจากเรานั่นเอง

    แล้วเราเล่า มีบุญกุศลอะไรบ้างที่จะให้เขา ได้ประพฤติตนให้สมควรที่จะรับเอาของเขามากินแล้วหรือ"



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    A warning not to be heedless

    To ward off any heedlessness or carelessness in the behavior of his monks and novices, Luang Pu would choose a poignant way of reprimanding them:

    "Lay people work hard at their living with lots of difficulties so that they can gain the material things, the food and the money they need to support their families, their children and grandchildren. No matter how tired or exhausted they are, they have to keep struggling. At the same time, they want to gain merit, which is why they sacrifice some of their belongings to make merit. They get up early in the morning to fix good food to put in our alms bowls. Before they put the food in our bowls, they lift it above their heads and make a wish. When they've finished putting the food in the bowl, they back away, squat down, and raise their hands in respect once more. They do this because they want merit from supporting our practice.

    And what merit is there in our practice that we can give to them? Have you behaved yourself in a way that you deserve to receive their food and eat it?"
     
  14. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    หนักๆ ก็มีบ้าง

    พระอาจารย์สำเร็จ บวชมาแต่วัยเด็กจนอายุใกล้หกสิบปีแล้ว เป็นพระฝ่ายวิปัสสนา ปฏิบัติเคร่งครัด ชื่อเสียงดี มีคนเคารพนับถือมาก แต่ในที่สุดก็ไปไม่รอด จิตใจเสื่อมลง เนื่องจากไปหลงรักลูกสาวของโยมอุปัฏฐาก ถึงขั้นมาขอลาหลวงปู่สึกไปแต่งงาน

    ทุกคนตกตะลึกกับข่าวนี้มาก ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะปฏิปทาของท่านเป็นที่ยอมรับว่าจะต้องอยู่สมณวิสัยจนตลอดชีวิต หากเป็นเช่นนั้นไป ก็จะเป็นการเสื่อมเสียแก่วงการฝ่ายวิปัสสนาอย่างยิ่ง พระเถระคณะสงฆ์และสานุศิษย์ของท่านจึงช่วยกันป้องกันทุกวิถีทางเพื่อให้ท่านเปลี่ยนใจที่จะคิดสึกเสีย โดยเฉพาะหลวงปู่ เรียกมาตักเตือนแก้ไขอย่างไรก็ไม่สำเร็จ สุดท้ายอาจารย์สำเร็จกล่าวต่อหลวงปู่ว่า กระผมอยู่ไม่ได้เพราะนั่งภาวนาทีไร เห็นใบหน้าเขามาล่องลอยปรากฏต่อหน้าอยู่ตลอดเวลา

    หลวงปู่ตอบเสียงดังว่า

    “ก็ไม่ภาวนาดูจิตของตัวเอง ไปภาวนาดูก้นของเขา มันก็เห็นแต่ก้นเขาอยู่ร่ำไปนั่นแหละ ไป อยากไปไหนก็ไปตามสบาย ไปเถอะ”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Sometimes he came down hard

    Ajaan Samret had ordained from when he was a child until he was almost 60 years old. He had been a meditation teacher, strict in his practice, good in his reputation, and respected by many people. But he didn't make it all the way. His state of mind deteriorated because he fell in love with the daughter of one of his supporters. So he came to take his leave of Luang Pu in order to disrobe and get married.

    Everyone was shocked at this news and didn't believe it could possibly be true because, looking at his practice, they had assumed he would stay in the contemplative life to the end of his days. If the news were true, it would be a major blow to the meditative community. For this reason, fellow elders and his students tried everything they could to get him to change his mind and not disrobe. In particular, Luang Pu called for him and tried to talk him out of his plans, but to no effect. Finally, Ajaan Samret said to him, "I can't stay on. Every time I sit and meditate, I see her face floating right in front of me."

    Luang Pu responded in a loud voice,

    "That's because you aren't meditating on your own mind. You're meditating on her rear, so of course you're going to keep seeing her rear. Get out of here. Feel free to go wherever you want."
     
  15. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    มีปกติไม่แวะเกี่ยว

    อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่เป็นเวลานานสามสิบกว่าปี จนถึงวาระสุดท้ายของท่านนั้น เห็นว่าหลวงปู่มีปฏิปทาตรงต่อพระธรรมวินัย ตรงต่อการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์อย่างเดียว ไม่แวะเกี่ยวกับวิชาอาคมของศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งชวนสงสัยอะไรเลยแม้แต่น้อย

    เช่น มีคนขอให้ไปเป่าหัวให้ ก็ถามว่าเป่าทำไม

    มีคนขอให้เจิมรถ ก็ถามเขาว่าเจิมทำไม

    มีคนขอให้บอกวันเดือนหรือฤกษ์ดี ก็บอกว่าวันไหนก็ดีทั้งนั้น

    หรือเมื่อท่านเคี้ยวหมาก มีคนขอชานหมาก หลวงปู่ว่า

    “เอาไปทำไม ของสกปรก”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Not sidetracked

    I lived with Luang Pu for more than thirty years, attending to his needs all the way to the end of his life, and I observed that his practice was right in line with the Dhamma and Vinaya, right in line with the path that leads solely to release from suffering.

    He never got sidetracked into magical spells, sacred talismans, or any other dubious activities, not even the least little bit. When people asked him to bless them by blowing on their heads, he'd ask, "Why should I blow on your head?"

    When people asked him to put an auspicious mark on their car, he'd say, "Why put an auspicious mark?"

    When people asked him to determine an auspicious day or month for their activities, he'd say, "All days are good."

    Or if he were chewing betel and people would ask for the chewed remains, he'd say,

    "Why would you want that? It's dirty."
     
  16. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ทำโดยกิริยา

    บางครั้งอาตมานึกไม่สบายใจ เกรงว่าตัวเองจะมีบาปที่เป็นผู้มีส่วนทำให้หลวงปู่ต้องแวะเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านไม่สนใจหรือไม่ถนัดใจครั้งแรกคือ วันนั้นหลวงปู่ไปร่วมงานเปิดพิพิธภัณฑ์บริขารท่านอาจารย์มั่น ที่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร มีพระเถระฝ่ายวิปัสสนามาก ประชาชนก็มาก เขาเหล่านั้นจึงถือโอกาสเข้าหาครูบาอาจารย์ทั้งเพื่อกราบเพื่อขอ จึงมีหลายคนที่มาขอให้หลวงปู่เป่าหัว เมื่อเห็นท่านเฉยอยู่ จึงขอร้องท่านว่า หลวงปู่เป่าให้เขา ให้แล้วๆ ไป ท่านจึงเป่าให้ ต่อมาเมื่อเสียไม่ได้ก็เจิมรถให้เขา ทนอ้อนวอนไม่ได้ก็อนุญาตให้เขาทำเหรียญ อดสงสารไม่ได้ก็จุดเทียนชัยให้ และเข้าพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล

    แต่ก็มีความสบายใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อฟังคำหลวงปู่ว่า

    “การกระทำของเราในสิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงกิริยากายภายนอกที่เป็นไปในสังคม หาใช่เป็นกิริยาจิตที่นำไปสู่ภพภูมิ หรือมรรคผลนิพพานแต่ประการใด”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Simply a motion

    There were times when I felt ill at ease, fearing that I may have done wrong in being party to those who talked Luang Pu into doing things that he wasn't interested in doing. The first time was when he joined in the opening ceremonies for the Phra Ajaan Mun Museum in Wat Pa Sutthaavaat in Sakon Nakhorn. There were lots of meditation teachers and lots of lay people who went to the teachers to pay respect and ask for favors. Many people asked Luang Pu to blow on their heads. When I saw him just sitting there without responding, I pleaded with him, "Please just do it to get it over with." So he blew on their heads. After a while, when he couldn't get out of it, he'd make auspicious marks on their cars. When he grew tired of their requests for amulets, he allowed them to make amulets in his name. When he felt pity on them, he'd light the "victory" candle at their chanting rituals and join in their ceremonies for consecrating amulets.

    But then I felt extremely relieved when Luang Pu said,

    "My doing things like this is simply an external physical motion in line with social norms. It's not a motion of the mind that leads to states of becoming, levels of being, or to the paths, fruitions, and nibbana in any way at all."
     
  17. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง คำสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน

    การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไป เราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วจะต้องหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อจะพบธรรมอันเดียวกันนี้

    ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้หลุดพ้นเสีย มิฉะนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป เพราะว่าเมื่อสัจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงำปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    Seize the opportunity

    "All 84,000 sections of the Dhamma are simply strategies for getting people to turn and look at the mind. The Buddha's teachings are many because people's defilements are many. Still, the way to put an end to suffering is only one: nibbana.

    This opportunity we have to practice the Dhamma rightly is very rare. If we let it pass by, we'll have no chance of gaining release in this lifetime, and we'll have to get lost in wrong views for a long, long time before we can meet up with this very same Dhamma again.

    So now that we've met with the Buddha's teachings, we should hurry up and practice to gain release. Otherwise, we'll miss this good opportunity. When the noble truths are forgotten, darkness will overwhelm beings with a mass of suffering for a long time to come."
     
  18. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    มิใช่ครั้งเดียวเท่านั้นที่หลวงปู่เปรียบเทียบธรรมะให้ฟัง มีอยู่อีกครั้งหนึ่งหลวงปู่ว่า

    “ปัญญาภายนอกคือปัญญาสมมติ ไม่ทำให้จิตแจ้งในพระนิพพานได้ ต้องอาศัยปัญญาอริยมรรคจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้

    ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ เช่น ไอน์สไตน์ มีความรู้มาก มีความสามารถมาก แยกปรมาณูที่เล็กที่สุดจนเข้าถึงมิติที่ 4 แล้ว แต่ไอน์สไตน์ไม่รู้จักพระนิพพาน จึงเข้าพระนิพพานไม่ได้

    จิตที่แจ้งในอริยมรรคเท่านั้น จึงเป็นไปเพื่อการตรัสรู้จริง ตรัสรู้ยิ่ง ตรัสรู้พร้อม เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เป็นไปเพื่อนิพพาน”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    The limits of science

    It wasn't just once that Luang Pu taught the Dhamma using comparisons. Once he said,

    "External discernment is the discernment of suppositions. It can't enlighten the mind about nibbana. You have to depend on the discernment of the noble path if you're going to enter nibbana.

    The knowledge of scientists, like Einstein, is well-informed and very capable. It can split the smallest atom and enter into the fourth dimension. But Einstein had no idea of nibbana, which was why he couldn't enter nibbana.

    "Only the mind that has been enlightened in the noble path can lead to real Awakening, full Awakening, complete Awakening. Only that can lead to release from suffering, to nibbana."
     
  19. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    วิธีระงับดับทุกข์แบบหลวงปู่

    ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๐ โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์กำลังครอบงำข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยอย่างหนัก คือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา และทุกข์ แน่นอนความทุกข์โศกอันนี้ย่อมปกคลุมถึงบุตรภรรยาด้วย

    จึงมีอยู่วันหนึ่ง คุณหญิงคุณนายหลายท่านได้ไปนมัสการหลวงปู่ พรรณนาถึงความทุกข์โศกที่กำลังได้รับอยู่ เพื่อให้หลวงปู่ได้แนะวิธีหรือช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ท่านจะเมตตา

    หลวงปู่กล่าวว่า

    “บุคคลไม่ควรเศร้าโศกอาลัยอาวรณ์ถึงสิ่งนอกกายทั้งหลายที่มันผ่านพ้นไปแล้ว มันหมดไปแล้ว เพราะสิ่งเหล่านั้น มันได้ทำหน้าที่ของมันอย่างถูกต้องโดยสมบูรณ์ที่สุดแล้ว”



    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    How to extinguish suffering

    In 1977 a lot of undesirable events overwhelmed the senior officials in the Interior Ministry — loss of wealth, loss of status, criticism, and suffering. And of course, the pain and sorrow spread to affect their wives and children as well. So one day some of their wives came to pay respect to Luang Pu and told him of their suffering so that he might advise them on how to overcome it.

    He told them,

    "One shouldn't feel sad or miss things external to the body that are past and gone, for those things have performed their function correctly in the most consummate way."
     
  20. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    เมื่อกล่าวถึงสัจธรรมแล้ว ย่อมลงสู่กระแสเดียวกัน

    มีท่านผู้คงแก่เรียนหลายท่านชอบถามว่า คำกล่าวหรือเทศน์ของหลวงปู่ ดูคล้ายนิกายเซ็นหรือคล้ายมาจากสูตรเว่ยหลาง เป็นต้น อาตมาเรียนถามหลวงปู่ก็หลายครั้ง ในที่สุดท่านกล่าวอย่างเป็นกลางว่า

    “สัจธรรมทั้งหมดมีอยู่ประจำโลกอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมนั้นแล้ว ก็นำมาสั่งสอนสัตว์โลก เพราะอัธยาศัยของสัตว์ไม่เหมือนกัน หยาบบ้าง ประณีตบ้าง พระองค์จึงเปลืองคำสอนไว้มากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

    เมื่อมีนักปราชญ์ฉลาดสรรหาคำพูดให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อจะอธิบายสัจธรรมนั้น นำมาตีแผ่เผยแจ้งแก่ผู้มุ่งสัจธรรมด้วยกัน เราย่อมจะต้องอาศัยแนวทางในสัจธรรมนั้นที่ตนเองไตร่ตรองเห็นแล้วว่าถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดนำแผ่ออกไปอีก โดยไม่ได้คำนึงถึงคำพูด หรือไม่ได้ยึดติดในอักขระพยัญชนะตัวใดเลยแม้แต่น้อยเดียว."


    <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:72:-->[​IMG]<!--endemo-->


    The truth is always the same

    Many well-read people would comment that Luang Pu's teachings were very similar to those of Zen or the Platform Sutra. I asked him about this many times, and finally he replied in an impersonal way,

    "All the truths of the Dhamma are already present in the world. When the Buddha awakened to those truths, he brought them out to teach to the beings of the world. Now, because those beings had different propensities — coarse or refined — he had to use up a lot of words: 84,000 sections of Dhamma in all.

    When wise people try to select the words best suited to explain the truth to those who aim at the truth, they have to use the methods of the truth that, on reflection, are the most correct and complete, without worrying about the words or getting fixated on the letters of the texts in the least way at all."
     

แชร์หน้านี้

Loading...