สโมสรนักบุญภูเหล่าเงินฮาง ร่วมสร้างสรรกับ คณะเบิกบาน บันเทิงบุญ(อดีตรำลึกของบุญกุศล)

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย Nar, 8 กรกฎาคม 2006.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ศัพท์ธรรมคำวัด : สังฆคุณ ๙</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>6 พฤษภาคม 2548 18:08 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>คำในกลุ่มนี้อีกคำหนึ่งคือ
     
  2. Nar

    Nar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,154
    ค่าพลัง:
    +37,385
    เข้ามาอ่านตอนหิวซะด้วย มาเจอเรื่องไข่ของคุณสิทธิพงศ์ งานนี้ต้องใข่สักมื้อคงจะดี ยามหิวนี่อะไรก็คงอร่อย แม้แต่ไข่ต้ม

    ก่อนจะไปต้มไข่ ขอแจมเรื่องสมาธิจิตสักหน่อยพอเป็นกระสายยา เพราะยังไม่เป็นโล้เป็นพายอะไรนัก เอาความไม่ค่อยได้เรื่องนี่แหละมาคุย ขืนรอให้ได้เรื่องหรือเก่งแล้วมาคุยชาตินี้จะได้คุยกับเขาไหม เรื่องจิตที่เป็นสมาธิได้พอสมควรนี้นะ(ขอใช้คำว่าดีพอสมควรเพราะได้แต่นี้) สามารถสร้างความอดทนให้กับตัวเองได้มากกว่าปรกติ การจ็บการปวด การไม่สบาย ความร้อนความหนาว นี่สามารถทนได้ดีจริงๆ เรื่องของความเจ็บปวดผมเคยปวดฟันหลายครั้ง ไม่เคยกินยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบใดๆ ขนาดหน้าบวมนูนเท่าลูกมะนาวปวดอย่างมาก ก็ใช้พิจจารณาไปเลยว่าการปวดป็นเรื่องของขันธ์ห้าไม่ใช่เราปวด เมื่อปวดขึ้นมาเองได้ก็หายเองได้ ในที่สุดมันก็หายเอง

    ความร้อน ผมเคยนั่งขับรถแม็คโคทำงานในฤดูร้อนห้องคนขับมีกระจกปิดได้รอบด้านเพื่อกันฝุ่นละอองจากการทำงาน อุณหภูมิภายนอกเกือบสี่สิบ ภายในห้องคนขับไม่มีแอร์ ผมปิดกระจกหมดแล้วเอาที่วัดอุณหภูมิเข้าไปด้วยดูอุณหภูมิประมาณ สี่สิบแปด สี่สิบเก้า องศา ผมทดลองนั่งทำงานกับความร้อนระดับนี้ได้สามสิบนาทีประมาณ สามารถทนได้และไม่ทุกข์ร้อนอะไร จิตนึกไปว่าเราสบายไอ้ที่ร้อนมันขันธ์ห้า แต่เราจะทรมานมันมากไม่ได้ เรายังต้องใช้มันอีกก็เลิกทดลอง กับความหนาวอย่างญี่ปุ่นนี่ไม่ทำมะดาก็ทดลองมาแล้ว

    สรุปว่าจิตที่ฝึกมาดีแล้วมีความมั่นคงไม่หวั่นไหวต่ออะไรจริงๆ ยามที่จิตมันนิ่งผมว่า ขุนเขาหิมาลัยที่ยืนทะมึนมั่นคงไมไหวติงนั้น ผมว่ายังต้องแพ้ความมั่นคงของจิตที่สงบนิ่งดีแล้วอย่างเทียบกันไม่ได้ เป็นเรื่องที่ผมได้ประสบมากับตัวเองเพียงน้อยนิดที่ทำได้ และระยะไม่นานนักผมยังอยู่ในโลกีย์วิสัยหาความแน่นอนอะไรยังไม่ได้ ถ้าเป็นการเอาตะกวั่วมาขายให้ร้านทองต้องขออภัย ผมรู้ว่ามีคนที่ทำได้มากกว่าผมนั้นมีในที่นี้ แต่จะเป็นไรไปผมเอามาเท่าที่ทำได้ครับ อิอิ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
    คัดลอกจากหนังสือระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
    โดย
    พระเทพวิมลโมลี (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป. ๙)
    วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร
    อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ
    นางมาลินี วัชรานันท์
    ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง กรุงเทพมหานคร
    ๑๔ มิถุนายน ๒๑
    พิมพ์ครั้งที่ ๕๑/๑,๐๐๐ เล่ม
    หน้า ๔๙ –๗๕
    โพสท์ในลานธรรมเสวนากระทู้ที่ 004224 โดยคุณ : แสวงธรรม [ 4 ก.พ. 2545 ]
    http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-12.htm

    ******************************************************************



    ระเบียบปฏิบัติการรักษามารยาทในสังคม
    ระเบียบปฏิบัติการนั่งพับเพียบ
    อิริยาบถการนั่งพับเพียบ
    การนั่งพับเพียบเป็นกิริยาอาการนั่งที่นิยมกันในหมู่ชาวพุทธว่า เป็นกิริยาอาการที่สุภาพ เรียบร้อย สวยงาม น่าดู น่าชม เหมาะสมแก่มารยาทของชาวไทย ที่ละเมียดละไมน่ารัก ซึ่งชาวพุทธเรานิยมปฏิบัติกันสืบมาแต่โบราณกาล จนกระทั่งทุกวันนี้
    การนั่งพับเพียบนี้ ชาวพุทธนิยมปฏิบัติจนมีความเคยชิน จึงทำได้เรียบร้อย น่าดู ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ชาวต่างชาติต่างศาสนากระทำตามได้ยาก แม้จะทำตามได้บ้าง ก็ไม่เรียบร้อย ไม่น่าดู มักจะขวางนัยน์ตาของผู้ได้ประสบพบเห็น
    การนั่งพับเพียบนี้ ชาวไทยเรานิยมใช้ปฏิบัติเป็นประจำทั้งทางโลก และทางธรรม ในขณะที่เข้าร่วมประชุม ณ สถานที่ซึ่งต้องนั่งอยู่กับพื้น
    วิธีการนั่งพับเพียบ
    วิธีการนั่งพับเพียบนั้น นิยมนั่งพับขาทั้งสองราบลงกับพื้น หันปลายเท้าไปด้านหลัง จะพับขาทั้งสองไปทางซ้ายหรือพับไปทางขวา ก็ได้ ตามถนัด
    ถ้าผู้นั่งพับขาราบไปทางขวา ก็นิยมหงายฝ่าเท้าซ้ายขึ้น วางขาขวาทับลงบนฝ่าเท้าซ้าย ปลายเท้าขวาหันไปทางด้านหลัง ระวังอย่าให้นิ้วเท้าซ้ายเกินหัวเข่าขวาออกมาข้างหน้า
    ถ้าผู้นั่งพับขาราบไปทางซ้าย ก็นิยมหงายฝ่าเท้าขวาขึ้น วางขาซ้ายทับลงบนฝ่าเท้าขวา ปลายเท้าซ้ายหันไปทางด้านหลัง ระวังอย่าให้นิ้วเท้าขวาเกินหัวเข่าซ้ายออกมาข้างหน้า
    การนั่งพับเพียบนี้ นิยมนั่งตั้งตัวตรง อย่าให้เอียงซ้าย หรือเอียงขวา อย่าให้เอนไปข้างหน้า หรือเอนไปข้างหลัง มือทั้งสองประสานกันวางไว้ที่หน้าตัก หรือที่ขาพับ
    ถ้านั่งพับเพียบพับขาราบไปทางขวา ก็นิยมวางมือทั้งสองประสานกันวางไว้บนขาพับข้างซ้าย
    ถ้านั่งพับเพียบพับขาราบไปทางซ้าย ก็นิยมวางมือทั้งสองประสานกันวางไว้บนขาพับข้างขวา
    กิริยาอาการที่วางมือประสานกันนั้น นิยมวางมือซ้ายหงายขึ้น วางมือขวาทับลงบนมือซ้ายก็ได้ หรือวางมือซ้ายคว่ำลง วางมือขวาทับลงบนหลังมือซ้ายก็ได้
    กิริยาอาการที่วางมือประสานกันนั้น นิยมวางพักอย่างสบาย ไม่จับกันจนแน่น ไม่เกร็ง ไม่ใช้ลำแขนเป็นเครื่องค้ำยันลำตัว
    การนั่งพับเพียบนี้ สำหรับสุภาพบุรุษ นิยมนั่งแยกหัวเข่าทั้งสองออกห่างกันพอสมควร ประมาณ ๑ คืบ ขณะนั่งอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ สำหรับสุภาพสตรี นิยมนั่งให้หัวเข่าทั้งสองแนบชิดกัน ไม่นิยมนั่งแยกหัวเข่าทั้งสองออกห่างจากกัน
    การนั่งพับเพียบนี้ นิยมไม่หันปลายเท้าไปทางปูชนียวัตถุหรือปูชนียบุคคล เพราะการทำเช่นนั้นถือกันว่า เป็นกิริยาอาการแสดงความไม่เคารพ
    วิธีการนั่งพับเพียบได้นาน
    การนั่งพับเพียบได้นานนั้น นิยมนั่งแยกหัวเข่าให้ห่างออกจากกัน ขนาดฝ่าเท้าข้างหนึ่งจรดกับหัวเข่าอีกข้างหนึ่ง อย่าให้ขาทับฝ่าเท้า การนั่งพับเพียบแบบนี้ นิยมเฉพาะผู้ใหญ่ หรือ นิยมเฉพาะในพิธีที่จะต้องนั่งเป็นเวลานาน ๆ เช่น นั่งฟังพระเทศน์ นั่งฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ เป็นต้น
    การนั่งพับเพียบแบบนี้ ไม่นิยมนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ เพราะแสดงกิริยาอาการองอาจผึ่งผายมากเกินไป และไม่นิยมนั่งสำหรับสุภาพสตรี เพราะเป็นกิริยาอาการไม่สุภาพ ไม่น่าดู ไม่เหมาะสมกับสตรีเพศ
    วิธีการเปลี่ยนนั่งพับเพียบ
    เมื่อนั่งพับเพียบอยู่ข้างเดียวเป็นเวลานาน ๆ มักเกิดมีอาการปวดเมื่อย ถ้าต้องการจะผลัดเปลี่ยนการนั่งพับเพียบไปอีกข้างหนึ่ง นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    ใช้มือทั้งสองยันที่หัวเข่าทั้งสอง หรือ ยันที่พื้นข้างตัว หรือยันที่พื้นข้างหน้า(วิธีนี้เหมาะสำหรับคนเจ้าเนื้อป้องกันไม่ให้หัวขมำได้เป็นอย่างดี) แล้วกระหย่งตัวขึ้น พร้อมกับพลิกเปลี่ยนเท้าพับไปอีกข้างหนึ่ง โดยพลิกเท้าผลัดเปลี่ยนกันอยู่ด้านหลัง ไม่นิยมยกเท้ามาผลัดเปลี่ยนกันด้านหน้า เพราะเป็นกิริยาอาการที่ไม่สุภาพ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ต่อครับ


    ระเบียบปฏิบัติการประณมมือ
    การประณมมือ
    การประณมมือ มาจากคำว่า “อัญชลีกรรม” คือการกระพุ่มมือทั้งสองประณม โดยให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิยมใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัยในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ ฟังพระสวดพระอภิธรรม และฟังพระธรรมเทศนา เป็นต้น
    วิธีการประณมมือ
    การประณมมือ นิยมปฏิบัติอย่างนี้ คือ ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ตั้งเป็นกระพุ่มมือประณมไว้ระหว่างอก ให้ปลายมือตั้งขึ้นข้างบน นิ้วมือทั้งสองข้างทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมล้ำกัน อย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดกับชายโครง
    การประณมมือนี้ ถ้านิ้วมือกางห่างออกจากกัน ถือกันว่า เป็นกิริยาอาการที่แสดงออกให้ทราบถึงนิสัยของผู้นั้นว่า เป็นคนมือห่าง ตีนห่าง เป็นคนสุรุ่ยสุร่าย เป็นลักษณะของคนหยาบ คนมักง่าย คนอาภัพ คนยากจน
    การประณมมือนี้ เป็นกิริยาอาการที่แสดงความเคารพพระรัตนตรัย จึงนิยมทำด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความตั้งใจเคารพอ่อนน้อม ไม่นิยมปล่อยให้นิ้วมืองอหงิกเป็นแง่งขิงแง่งข่า นิยมตั้งกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก ไม่ยกให้สูงขึ้นไปจรดคาง หรือจรดปาก ไม่ปล่อยปลายมือให้ตกต่ำลงมาวางอยู่ที่พุง หรือ วางไว้ที่หน้าตัก หรือ วางไว้ที่หัวเข่า เป็นต้น


    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการไหว้
    การไหว้
    การไหว้ มาจากคำว่า “นมัสการ” คือ การยกกระพุ่มมือที่ประณมขึ้นจรดหน้าผาก พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอย่างอ่อนน้อม นิยมใช้ทั้งทางคดีโลก และทางคดีธรรม
    วิธีการไหว้พระรัตนตรัย
    การไหว้พระรัตนตรัย คือ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปูชนียวัตถุปูชนียสถานที่นับเนื่องกับพระรัตนตรัย เช่นต้นโพธิ์ พระเจดีย์ เป็นต้น ในขณะที่ผู้นั้นนั่งเก้าอี้ หรือยืนอยู่ นิยมแสดงความเคารพด้วยการยกมือไหว้ มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้ คือ :-
    ยกมือที่ประณมขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียว แล้วลดมือลงตามเดิม เป็นเสร็จพิธีไหว้
    วิธีการไหว้บุคคลและไหว้ศพ
    การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ซึ่งกันและกันของคนไทยเราชาวพุทธนั้น นิยมปฏิบัติกันสืบมาว่าเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามประจำชาติตลอดมาช้านาน
    การไหว้ซึ่งกันและกันนั้น มีนิยมปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมแก่ชั้นและวัยของบุคคลนั้น ๆ แบ่งออกเป็น ๓ แบบ คือ
    ๑. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสมากกว่า และไหว้ศพ
    ๒. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน
    ๓. การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่า
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสมากกว่าและไหว้ศพ
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสมากกว่า และไหว้ศพ นั้น สำหรับผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสมากกว่าผู้ไหว้ โดยชาติวุฒิ คือ มีชาติกำเนิดสูงกว่า โดยคุณวุฒิ คือ มีคุณธรรมความดีได้รับยกย่องให้เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาสูงกว่า โดยวัยวุฒิ คือ ท่านผู้มีอายุแก่กว่าตน
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสมากกว่าตนนี้ นิยมยกกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้ว นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูก พร้อมกับก้มศีรษะ และน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่าน ด้วยความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน แม้การไหว้ศพก็นิยมปฏิบัติเช่นเดียวกันอย่างนี้
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกันนั้น สำหรับผู้มีวัยรุ่นราวคราวเดียวกัน แสดงความเคารพด้วยการไหว้และการรับไหว้ต่อกัน
    การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกันนี้ นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ดั้งจมูก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่คาง ก้มศีรษะลงเล็กน้อย สายตามองกันและกัน ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน
    การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่า
    การรับไหว้บุคคลผุ้มีอาวุโสน้อยกว่านั้น สำหรับผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อย นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นประณมอยู่ระหว่างอกหรือที่หน้า ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ดั้งจมูก ปลายนิ้วหัวแม่มืออยู่ที่คาง สายตามองดูผู้ไหว้ด้วยความเมตตาปรานี
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ต่อครับ

    ระเบียบปฏิบัติการนั่งคุกเข่า
    การนั่งคุกเข่า
    การนั่งคุกเข่า คือการนั่งกระหย่งตัวขึ้น เป็นกิริยาอาการนั่งเตรียมตัวเพื่อจะกราบพระรัตนตรัย แบบเบญจางคประดิษฐ์
    วิธีการนั่งคุกเข่าสำหรับชาย
    การนั่งคุกเข่าเตรียมตัวกราบพระรัตนตรัย สำหรับชายนั้น นิยมนั่งคุกเข่าตั้งปลายเท้าทั้งสองยันพื้น ให้นิ้วเท้าพับลงราบกับพื้น เท้าทั้งคู่แนบชิดสนิทกัน นั่งทับลงบนส้นเท้าทั้งคู่ แยกหัวเข่าทั้งสองออกห่างกันประมาณ ๑ คืบ อวัยวะที่ยันพื้นจะได้ฉากเป็นรูปสามเส้า เพื่อป้องกันมิให้ล้มได้ง่าย มือทั้งสองวางทอดราบไว้ที่เหนือหัวเข่าทั้งสอง ให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกัน วางมืออย่างสบาย ไม่มีอาการเกร็ง
    วิธีการนั่งคุกเข่าสำหรับหญิง
    การนั่งคุกเข่าเตรียมตัวกราบพระรัตนตรัยสำหรับหญิงนั้น นิยมนั่งคุกเข่าราบ เหยียดหลังเท้าทั้งคู่ให้ราบกับพื้นไปทางด้านหลัง ให้ฝ่าเท้าทั้งสองแนบชิดสนิทกัน หรือให้ปลายเท้าทั้งสองทับกันเล็กน้อยก็ได้ นั่งทับลงบนฝ่าเท้าทั้งสอง ให้หัวเข่าทั้งสองแนบชิดกัน มือทั้งสองวางทอดราบไว้ที่หัวเข่าทั้งสอง ให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกัน วางมืออย่างสบาย ไม่มีอาการเกร็ง

    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการกราบ
    การกราบ
    การกราบ มาจากคำว่า “อภิวาท” คือ การหมอบลงที่พื้นพร้อมกับกระพุ่มมือ หรือ พร้อมกับการประณมมือ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างสูงสุด ในบรรดากิริยาอาการแสดงความเคารพทั้งหลาย ทั้งในทางคดีโลกและในทางคดีธรรม
    วิธีกราบพระรัตนตรัย
    การกราบพระรัตนตรัย คือ กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปูชนียวัตถุปูชนียสถานที่นับเนื่องกับพระรัตนตรัยทุกอย่าง นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือ การกราบด้วยการตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ ๕ (คือหัวเข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑) ให้จรดลงแนบกับพื้น ซึ่งมีจังหวะปฏิบัติ ๓ จังหวะ คือ :-
    จังหวะที่ ๑ ยกมือขึ้นประณมอยู่ระหว่างอก
    จังหวะที่ ๒ ยกมือประณมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก
    จังหวะที่ ๓ หมอบลงให้หน้าผากจรดพื้น ฝ่ามือทั้งสองแบราบลงแนบกับพื้น แล้วลุกขึ้นนั่ง ตั้งตัวตรง ประณมมือยกขึ้นผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปตามลำดับ ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ ๓ ครั้ง ทุกคราวที่กราบพระรัตนตรัย
    วิธีการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับชาย
    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับชายนั้น นิยมนั่งคุกเข่า (แบบชาย) ประณมมือยกขึ้นผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปตามลำดับดังกล่าวแล้ว แต่ขณะที่หมอบลงกับพื้นนั้น นิยมให้ข้อศอกทั้งสองต่อกับหัวเข่าทั้งสอง นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกัน วางฝ่ามือทั้งสองลงราบกับพื้น ให้มือทั้งสองแยกออกห่างกันประมาณ ๔ นิ้ว ก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดกับพื้นในระหว่างมือทั้งสอง แล้วลุกขึ้นนั่ง ตั้งตัวตรง ยกมือประณมขึ้นผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปตามลำดับ อย่าหยุดชะงักเป็นระยะ ๆ จะดูไม่งาม ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ ๓ ครั้ง เมื่อครบ ๓ ครั้งแล้ว นิยมยกมือประณมขึ้นจบอยู่ในระหว่างคิ้วอีกครั้งหนึ่ง จึงเสร็จพิธีการกราบ
    วิธีการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับหญิง
    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับหญิงนั้น ก็นิยมปฏิบัติเช่นเดียวกับชาย ต่างกันแต่ขณะที่หมอบลงกับพื้นเท่านั้น คือ นิยมให้ข้อศอกทั้งสองอยู่ข้างตัวแนบชิดกับขาพับทั้งสอง ไม่นิยมให้ข้อศอกทั้งสองต่อกับหัวเข่าแบบชาย ส่วนวิธีปฏิบัตินอกจากนี้เหมือนกัน
    ขณะที่หมอบกราบนั้น ทั้งชายและหญิง นิยมไม่ให้ก้นโด่งขึ้น จะดูไม่งาม
    ขณะที่ยกประณมมือจากจังหวะที่ ๑ คือ จากระหว่างอก ขึ้นสู่จังหวะที่ ๒ คือ ระหว่างคิ้วนั้น นิยมก้มศีรษะลงมารับกัน แล้วหมอบลงสู่พื้น โดยแยกมือที่ประณมออกจากกัน นำมือขวาลดลงก่อน มือซ้ายลดลงตามระยะไล่เลี่ยกันลงไป
    วิธีการกราบบุคคลและกราบศพ
    การกราบบุคคลและกราบศพนั้น นิยมกราบเหมือนกัน ด้วยวิธีกระพุ่มมือกราบ ไม่แบมือราบพับพื้นเหมือนกราบพระรัตนตรัย และนิยมกราบเพียงครั้งเดียว ไม่กราบ ๓ ครั้ง เหมือนกราบพระรัตนตรัย มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ :-
    นั่งพับเพียบแบบเก็บเท้า พับขาราบไปทางซ้าย ตะแคงตัวข้างขวาไปทางบุคคล หรือศพ ที่จะกราบนั้น
    หมอบลงกับพื้น พร้อมกับวางแขนขวาลงราบกับพื้นตลอดครึ่งแขน จากข้อศอกถึงมือ ตั้งสันมือขึ้น วางแขนซ้ายลงคู่กับแขนขวา มือทั้งสองแนบชิดแบบประณมมือ ให้ศอกขวาอยู่ข้างตัว ศอกซ้ายต่อกับหัวเข่าขวา
    ก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดสันมือ ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้ว แล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปรกติ เป็นเสร็จพิธีกราบบุคคล หรือกราบศพ
    ส่วนการกราบพ่อและแม่ ในพิธีการพระพุทธศาสนา เช่น การกราบพ่อแม่ก่อนรับผ้าไตรเข้าขอบรรพชาอุปสมบทเป็นต้น นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และกราบ ๓ ครั้ง เหมือนกราบพระรัตนตรัย เพราะถือกันว่า พ่อและแม่นั้นเท่ากับเป็นพระอรหันต์ของลูกในฐานะที่พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์โดยส่วนเดียว ฉันใด พ่อและแม่ทั้งหลายก็มีเมตตากรุณาต่อลูก ๆ ของตนโดยส่วนเดียว ฉันนั้น
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ต่อครับ

    ระเบียบปฏิบัติการแสดงการเคารพพระสงฆ์
    การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์
    การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติต่อพระสงฆ์
    เมื่อพระสงฆ์เถระผู้ใหญ่เดินมาถึงสถานที่พิธีงานนั้น ๆ คฤหัสถ์ชายหญิงซึ่งนั่งอยู่ ณ สถานที่นั้น นิยมปฏิบัติดังนี้ :
    ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาตรงหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงนั่งลงตามเดิม
    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิงนั่งอยู่กับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมยกมือไหว้ หรือกราบ ตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น
    สำหรับท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงานนิยมคอยรอรับพระสงฆ์ที่นิมนต์มาประกอบพิธีในงานนั้น เมื่อพระสงฆ์มาถึง นิยมนิมนต์และนำท่านไปยังสถานที่จัดไว้รับรอง
    การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์
    การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเอื้อเฟื้อแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา มีวิธีปฏิบัติดังนี้ :-
    เมื่อพระสงฆ์มาในพิธีงานนั้น ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้น จัดให้นั่งเก้าอี้ คฤหัสถ์ชายหญิงนิยมลุกขึ้น หลีกไปให้โอกาสพระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า
    ถ้าคฤหัสถ์ชายจำเป็นจะต้องนั่งเก้าอี้แถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งเก้าอี้ด้านซ้ายของพระสงฆ์
    สำหรับสตรีเพศ ไม่นิยมนั่งเก้าอี้แถวเดียว หรือนั่งอาสนะยาวกับพระสงฆ์ เว้นแต่มีสุภาพบุรุษนั่งคั่นในระหว่าง
    ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้น จัดให้นั่งกับพื้น นิยมจัดอาสนะสงฆ์ไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จากอาสนะที่คฤหัสถ์ชายหญิงนั่ง เช่น ปูพรมผืนใหญ่เต็มห้อง เป็นต้น นิยมจัดปูลาดอาสนะเล็กบนพรมผืนใหญ่นั้นอีกชั้นหนึ่ง สำหรับเป็นที่นั่งของพระสงฆ์แต่ละรูป
    การตามส่งพระสงฆ์
    การตามส่งพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพแก่พระสงฆ์อีกประการหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา
    เมื่อพระสงฆ์เถระผู้ใหญ่ หรือพระสงฆ์ที่นิมนต์มาในพิธีงานนั้นจะลากลับ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้ที่อยู่ในพิธีงานนั้น นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนส่งท่าน เมื่อท่านเดินผ่านเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
    ถ้านั่งอยู่กับพื้น นิยมไม่ต้องยืนส่ง เมื่อท่านเดินผ่านเฉพาะหน้า นิยมกราบ หรือยกมือไหว้ ตามควรแก่กรณี
    สำหรับท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงานนิยมเดินตามไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงาน หรือจนกว่าท่านจะขึ้นรถออกพ้นจากบริเวณงานไปแล้ว และก่อนที่ท่านจะจากไปนิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ เป็นการแสดงความเคารพส่งท่านอีกครั้งหนึ่ง
    การหลีกทางให้พระสงฆ์
    การหลีกทางให้แก่พระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพเอื้อเฟื้อแก่พระสงฆ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา
    วิธีปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์เดินตามมาข้างหลัง
    ถ้าพระสงฆ์เดิมมาข้างหลัง คฤหัสถ์ชายหญิงเดินไปข้างหน้า รู้สึกตัวว่ามีพระสงฆ์เดินตามมาข้างหลัง นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    ยืนตรง มือทั้งสองห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามาทางท่าน
    เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
    ถ้าท่านพูดด้วย นิยมประณมมือพูดกับท่าน (เฉพาะพระเถระ)
    ถ้าท่านมิได้พูดด้วย เมื่อยกมือไหว้แล้ว ลดมือทั้งสองลง ห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า มองดูท่านจนกว่าท่านจะเลยไป จึงเดินตามหลังท่านไป
    วิธีปฏิบัติเมื่อเดินสวนทางกับพระสงฆ์
    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิงเดินสวนทางกับพระสงฆ์ นิยมปฏิบัติ ดังนี้:-
    หลีกเข้าชิดทาง ด้านซ้ายมือของพระสงฆ์
    ยืนตรง มือทั้งสองห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามาทางท่าน
    เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ หรือ นั่งกระหย่งยกมือไหว้ ตามควรแก่กาละเทศะ และบุคคล
    ถ้าท่านพูดด้วย นิยมประณมมือพูดกับท่าน (เฉพาะพระเถระ)
    ถ้าท่านมิได้พูดด้วย เมื่อยกมือไหว้แล้ว ก็ลดมือลงห้อยประสานกันไว้ข้างหน้า มองดูท่านจนกว่าท่านจะผ่านเลยไป จึงเดินไปตามปรกติ
    วิธีปฏิบัติเมื่อพบพระสงฆ์ยืนอยู่
    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิง เดินไปพบพระสงฆ์ท่านยืนอยู่นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    หยุดยืนตรง
    น้อมตัวลงยกมือไหว้
    ถ้าท่านพูดด้วย ประณมมือพูดกับท่าน
    เดินหลีกไปทางซ้ายของพระสงฆ์
    วิธีปฏิบัติเมื่อพบพระสงฆ์นั่งอยู่
    ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิง เดินไปพบพระสงฆ์ท่านนั่งอยู่ นิยมปฏิบัติ ดังนี้ :-
    หยุดนั่งลง ถ้าพื้นที่สะอาด นิยมนั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ ถ้าพื้นไม่สะอาด นิยมนั่งกระหย่ง
    น้อมตัวลงยกมือไหว้
    ถ้าท่านพูดด้วย ประณมมือพูดกับท่าน
    ลุกขึ้นเดินหลีกไปทางซ้ายของพระสงฆ์
    ถ้าพระสงฆ์อยู่ในที่กลางแจ้ง มีเงาปรากฏอยู่ คฤหัสถ์ชายหญิงนิยมไม่เดินเหยียบเงาของพระสงฆ์ นิยมเดินหลีกไปเสียอีกทางหนึ่ง
    วิธีเดินตามหลังของพระสงฆ์
    การเดินตามหลังพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธชายหญิงนิยมปฏิบัติกันสืบมา มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้ :-
    เดินตามไปเบื้องหลังของพระสงฆ์ โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่าน
    ไว้ระยะห่างจากท่านประมาณ ๒-๓ ก้าว
    เดินตามท่านไปด้วยกิริยาอาการสำรวมเรียบร้อย
    นิยมไม่แสดงความเคารพผู้อื่น
    นิยมไม่พูดคุยทักทายปราศรัยกับผู้อื่น<!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ระเบียบปฏิบัติการไปหาพระสงฆ์ที่วัด
    ฐานะของพระสงฆ์
    พระภิกษุสงฆ์นั้น ดำรงอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคลที่พุทธศาสนิกชนชายหญิงทั้งหลาย สมควรสักการะบูชากราบไหว้ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา เพราะว่า พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติซื่อตรง ประพฤติเพื่อให้ออกไปจากทุกข์ ประพฤติถูกต้องอย่างดียิ่ง และเป็นบุญเขตเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของชาวโลก
    พระสงฆ์เป็นผู้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ ด้วยการทรงเพศบรรพชิต และศึกษาเล่าเรียนทรงจำพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้มิให้เสื่อมสูญ
    พระสงฆ์เป็นผู้นำเอาพระศาสนธรรมนั้น มาเทศนาชี้แจงอบรมสั่งสอนชาวพุทธให้ทราบว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
    พระสงฆ์เป็นผู้แนะนำพร่ำสอนชาวพุทธ ให้เลิกละความชั่ว และชักจูงชาวพุทธให้เกิดความยินดีพอใจในการทำความดี
    พระสงฆ์เป็นสักขีพยานเป็นตัวอย่างแห่งความประพฤติดีปฏิบัติชอบ ตามพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกด้วย
    การเตรียมตัวเบื้องต้น
    เพราะพระสงฆ์ดำรงอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคลดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น ชาวพุทธชายหญิงทั้งหลายผู้ประสงค์จะไปหาพระสงฆ์ที่วัด พึงสังวรระวังอยู่เสมอว่าเราไปหาท่านที่เคารพบูชา นิยมรักษากิริยามารยาททางกาย ทางวาจา ตลอดถึงจิตใจ ให้เรียบร้อย อันแสดงออกถึงความมีศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างดียิ่ง
    ถ้าบุคคลผู้ไปหาพระสงฆ์นั้น เพื่อประสงค์จะขออาราธนานิมนต์ท่านไปประกอบพิธีงานมงคล หรืองานอวมงคลก็ตาม นิยมมีเครื่องสักการะบูชา เช่น ดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น ใส่พานนำไปถวาย เพื่อเป็นเครื่องแสดงความเคารพบูชาท่านด้วย ทั้งนี้ เพื่อรักษาประเพณีอันดีงานของมหาอุบาสกและมหาอุบาสิกา เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้ประพฤติเป็นตัวอย่าง กล่าวคือ :-
    o เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเวลาเช้าก่อนเที่ยงวัน ก็นิยมนำภัตตาหารคาวหวานไปถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวก
    o เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเวลาบ่ายหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว ก็นิยมนำเภสัช ๕ มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น ไปถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวกเป็นประจำตลอดมา
    o ชาวพุทธชายหญิงผู้จะไปหาพระสงฆ์ที่วัดนั้น นิยมแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่นิยมแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์สีฉูดฉาดบาดตา ไม่นิยมนุ่งน้อยห่มน้อย หรือเปลือยหน้าเปลือยหลัง ชะเวิกชะวาก เป็นต้น
    วิธีปฏิบัติขณะถึงที่อยู่ของพระสงฆ์
    ก่อนจะเข้าพบท่าน นิยมไต่ถามพระภิกษุสามเณรหรือศิษย์วัด ผู้อยู่ใกล้เคียงว่า ท่านอยู่ หรือไม่อยู่ ท่านว่าง หรือไม่ว่าง ท่านกำลังทำอะไรอยู่ สมควรจะเข้าพบท่านได้หรือไม่ และนิยมแจ้งความจำนงขออนุญาตเข้าพบท่านก่อน เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าพบได้ จึงเข้าพบท่าน
    ถ้าไม่พบผู้ใดที่จะพอไต่ถามได้ นิยมรอคอยดูจังหวะที่สมควร และก่อนที่จะเข้าพบท่าน ขณะท่านอยู่ภายในห้อง นิยมกระแอม หรือไอ หรือเคาะประตูให้เสียงก่อน เพื่อให้ท่านได้ทราบล่วงหน้า เมื่อท่านอนุญาตแล้ว จึงนิยมเปิดประตูห้องเข้าไป (เฉพาะชาย) ส่วนหญิงไม่นิยมเข้าไปหาพระสงฆ์ในห้องเด็ดขาด
    เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ผู้ไปหานิยมนั่งคุกเข่ากราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ (ชาย กราบแบบชาย หญิง กราบแบบหญิง ดังกล่าวแล้วในระเบียบปฏิบัติการกราบข้างต้นนั้น) ๓ ครั้ง
    เมื่อกราบเสร็จแล้ว นิยมนั่งพับเพียบ ไม่นิยมนั่งบนอาสนะเสมอกับพระสงฆ์ เช่น นั่งบนพรมหรือเสื่อผืนเดียวกัน หรือนั่งเก้าอี้เสมอกับพระสงฆ์ เป็นต้น
    กิริยาอาการที่นั่งพับเพียบนั้น นิยมนั่งพับเพียบแบบเก็บเท้าดังกล่าวแล้ว (ในระเบียบปฏิบัติการนั่งพับเพียบข้างต้น) เฉพาะสตรีเพศ นิยมสังวรระวังเครื่องนุ่งห่ม โดยปกปิดอวัยวะที่ควรปิดให้เรียบร้อย
    ขณะที่พระสงฆ์อยู่ชั้นล่าง คฤหัสถ์ชายหญิงไม่นิยมขึ้นไปชั้นบนของกุฏิ และไม่นิยมเข้าไปภายในห้องส่วนตัวของท่าน
    วิธีปฏิบัติขณะสนทนากับพระสงฆ์
    ถ้าพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น เป็นพระเถระผู้ใหญ่ นิยมประณมมือพูดกับท่าน ทุกครั้งที่กราบเรียนท่าน และรับคำพูดของท่าน
    ขณะสนทนาอยู่กับพระสงฆ์นั้น ไม่นิยมพูดล้อเล่นกับท่าน ไม่นิยมพูดคำหยาบโลนกับท่าน ไม่นิยมนำเอาเรื่องส่วนตัวไปเล่าให้ท่านฟัง ไม่นิยมแสดงกิริยาอาการยกตนตีเสมอท่านคล้ายเพื่อนเล่น หรือยกตนสูงกว่าท่าน
    เฉพาะสตรีเพศทั้งหมด แม้จะเป็นญาติกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นก็ตาม ไม่นิยมสนทนากับพระภิกษุสงฆ์สองต่อสอง ทั้งภายในห้องและภายนอกห้อง ทั้งในที่ลับตาและในที่ลับหู เพราะผิดวินัยพุทธบัญญัติ
    เมื่อเสร็จธุรกิจแล้ว นิยมรีบลาท่านกลับ ไม่ควรสนทนาอยู่นานเกินควร เพราะเป็นการรบกวนเวลาของท่าน
    เมื่อจะลาท่านกลับ นิยมนั่งคุกเข่า(ตามเพศ) กราบท่านด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วเดินเข่าออกไป

    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการใช้คำพูดกับพระสงฆ์ต่างชั้น
    การใช้คำทูลสมเด็จพระสังฆราช คำแทนตัวพระองค์ท่าน ว่า “ฝ่าพระบาท” หรือ “ฝ่าบาท”คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “เกล้ากระหม่อม” หรือ “กระหม่อม”คำแทนตัวผู้พูด(หญิง) ว่า “กระหม่อมฉัน” หรือ “หม่อมฉัน”คำรับพระดำรัส (ชาย) ว่า “พ่ะย่ะค่ะ” หรือ “กระหม่อม”คำรับพระดำรัส (หญิง) ว่า “เพคะ”
    การใช้คำพูดกับสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป คำแทนตัวท่านว่า “พระเดชพระคุณ” หรือ “ใต้เท้า”คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “เกล้ากระผม” หรือ “เกล้าฯ”คำแทนตัวผู้พูด (หญิง) ว่า “ดิฉัน” หรือ “อีฉัน”คำรับคำพูด (ชาย) ว่า “ขอรับกระผม” “ครับกระผม” หรือ “ครับผม”คำรับคำพูด (หญิง) ว่า “เจ้าค่ะ”
    การใช้คำพูดกับพระราชาคณะชั้นสามัญลงมา
    พระราชาคณะให้คำแทนตัวท่านว่า “ท่านเจ้าคุณ” หรือ “ท่าน”
    พระครูสัญญาบัตรและพระครูฐานานุกรม ใช้คำแทนตัวท่านว่า “ท่านพระครู” หรือ “ท่าน”
    พระเปรียญ ใช้คำแทนตัวท่านว่า “ท่านมหา” หรือ “ท่าน”
    พระอันดับธรรมดา ใช้คำแทนตัวท่านว่า “พระคุณเจ้า” หรือ “ท่าน”
    พระผู้เฒ่า ใช้คำแทนตัวท่านว่า “หลวงพ่อ” หรือ “หลวงปู่” เป็นต้น
    ถ้าพระสงฆ์นั้นเป็นญาติกับผู้พูด นิยมใช้คำพูดแทนตัวแทนตามฐานะที่เป็นญาติกัน เช่น ใช้คำแทนตัวท่านว่า “หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ หลวงลุง หลวงอา หลวงน้า หลวงพี่” เป็นต้น
    คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “กระผม” หรือ “ผม”
    คำแทนตัวผู้พูด (หญิง) ว่า “ดิฉัน” หรือ “อีฉัน”
    คำรับคำพูด (ชาย) ว่า “ครับ”
    คำรับคำพูด (หญิง) ว่า “เจ้าค่ะ” หรือ “ค่ะ”
    การใช้คำพูดกับพระธรรมดาสามัญทั่วไป
    ถ้าผู้พูดไม่รู้จักกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น ไม่ทราบว่าท่านมีสมณศักดิ์ชั้นไหน นิยมใช้คำพูดสามัญเป็นกลาง ๆ ดังนี้ :-คำแทนตัวพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นว่า “พระคุณเจ้า” หรือ “พระคุณท่าน” หรือ “ท่าน”คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “กระผม” หรือ “ผม”คำแทนตัวผู้พูด (หญิง) ว่า “ดิฉัน” หรือ “อีฉัน” หรือ “ฉัน”คำรับคำพูด (ชาย) ว่า “ครับ”คำรับคำพูด (หญิง) ว่า “เจ้าค่ะ” หรือ “ค่ะ”

    [​IMG]
    ระเบียบปฏิบัติการรับสิ่งของจากพระสงฆ์
    ขณะพระสงฆ์ยืนอยู่ หรือ นั่งบนอาสนะสูง
    เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม โดยไม่เร็ว หรือช้าเกินไป เมื่อเข้าใกล้พอสมควร ประมาณพอยื่นมือเข้าไปรับสิ่งของได้พอดี
    ยืนตรง น้อมตัวลงยกมือไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองเข้าไปรับ พร้อมกับน้อมตัวลงเล็กน้อย สำหรับชายรับสิ่งของจากมือท่าน สำหรับหญิงแบมือทั้งสองชิดกันคอยรองรับสิ่งของ
    เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของเล็ก นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับสิ่งของที่อยู่ในมือ ถ้าสิ่งของที่รับนั้นใหญ่หรือหนัก นิยมไม่ต้องยกมือไหว้ แล้วก้าวเท้าซ้ายถอยหลังออกไป ๑ ก้าว ชักเท้าขวามาชิด แล้วหันหลังกลับเดินไปได้
    ขณะพระสงฆ์นั่งเก้าอี้
    เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม เมื่อเข้าไปใกล้ประมาณ ๒ ศอก แล้วยืนตรง ก้าวเท้าขวาออกไป ๑ ก้าว แล้วนั่งคุกเข่าซ้าย ชันเข่าขวาขึ้น น้อมตัวลงยกมือไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าวแล้ว
    เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของนั้นเล็ก นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ พร้อมกับสิ่งของที่อยู่ในมือ ถ้าสิ่งของนั้นใหญ่หรือหนัก นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างตัว ด้านซ้ายมือ น้อมตัวลงยกมือไหว้ แล้วยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสองประคองยกยืนขึ้น ชักเท้าขวากลับมายืนตรง ก้าวเท้าซ้ายถอยหลังไป ๑ ก้าว และชักเท้าขวาชิด หันหลังกลับเดินไปได้
    ขณะพระสงฆ์นั่งกับพื้น
    เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม เมื่อถึงบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้ นั่งคุกเข่าลง แล้วเดินเข่าเข้าไป เมื่อถึงที่ใกล้ประมาณ ๑ ศอกเศษ นั่งคุกเข่า (ตามเพศ) กราบ ๓ หน ยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าวแล้ว
    เมื่อรับสิ่งของแล้ว นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างหน้าด้านขวามือ กราบ ๓ หน แล้วหยิบสิ่งของนั้นถือด้วยมือสองประคอง เดินเข่าถอยหลังออกไปจนสุดบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้แล้วลุกขึ้นยืนกลับไปได้
    กิริยาอาการเดินเข่านั้น นิยมตั้งตัวตรง ถ้าไม่ได้ถือสิ่งของ มือทั้งสองห้อยอยู่ข้างตัว ถ้าถือสิ่งของ มือทั้งสองประคองถือสิ่งของ ยกขึ้นอยู่ระดับอก ศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง
    ขณะเดินเข่า ร่างกายส่วนบนไม่เคลื่อนไหว ไม่ซัดส่าย ไม่โยกโคลงไปมา ไม่เอียงซ้ายไม่เอียงขวา เฉพาะร่างกายส่วนล่างเท่านั้นที่เคลื่อนไหว และขณะเดินเข่าเข้าไป หรือถอยหลังออกมานั้น นิยมให้ตรงเข้าไป และตรงออกมา
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://hits.truehits.in.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ต่อกันด้วย



    ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธี(๑)

    คัดลอกจาก http://www.thai.net/watthasai/sasanapiti.htm
    และhttp://www.dharma-gateway.com/misc/misc-94-01.htm


    บทนมัสการ
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ฯ
    - - - - - - - - - - - - - - -
    บทนมัสการนี้ ประกอบด้วยบทที่เป็นคำบาลี ๕ บท มี นโม เป็นต้น นับเรียงพยางค์ได้ ๑๘ พยางค์ บท ๓ บท คือ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ประกาศพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระกรุณาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ ตามลำดับ

    ผู้ตั้งบทนมัสการ
    <TABLE width="50%" border=0><TBODY><TR><TD>นโม
    </TD><TD>สาตาคิรายักษ์
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR><TR><TD>ตสฺส
    </TD><TD>อสุรินทราหู
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR><TR><TD>ภควโต
    </TD><TD>ท้าวจาตุมหาราช
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR><TR><TD>อรหโต
    </TD><TD>ท้าวสักกะ
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR><TR><TD>สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    </TD><TD>ท้าวมหาพรหม
    </TD><TD>เป็นผู้ตั้ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาระบุผู้ตั้งนโม
    <TABLE cellSpacing=1 width="56%" border=0><TBODY><TR><TD width=226>นโม สาตาคิรายกฺโข
    </TD><TD>ภควโต จาตุมหาราชา
    </TD></TR><TR><TD width=226>สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส มหาพฺรหฺมา
    </TD><TD>ตสฺส จ อสุรินฺทโก
    </TD></TR><TR><TD width=226>สกฺโก อรหโต ตถา
    </TD><TD>ปญฺจ เทวา มสฺสเร ฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ประโยชน์ของการตั้งบทนมัสการ ๔ ประการ
    ๑. เพื่อดำเนินตามร่องรอยของอารยชน
    ๒. เพื่อขออานุภาพพระคุณคุ้มครอง
    ๓. เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์
    ๔. เพื่อทำชีวิตให้มีสาระ

    ระเบียบในการตั้งบทนมัสการ
    การเปล่งวาจาว่าบทนมัสการ ต้องว่า ๓ จบเสมอ มีเหตุผลดังนี้
    จบที่ ๑ เพื่อนมัสการพระวิริยาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๑๖ อสงไขย ๑ แสนกัป
    จบที่ ๒ เพื่อนมัสการพระสัทธาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๘ อสงไขย ๑ แสนกัป
    จบที่ ๓ เพื่อนมัสการพระปัญญาธิกพุทธเจ้า ระยะกาลบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขย ๑ แสนกัป
    อีกมติหนึ่งให้เหตุผลว่า.-
    จบที่ ๑ เป็นบริกรรม
    จบที่ ๒ เป็นอุปจาร
    จบที่ ๓ เป็นอัปปนา

    วิธีตั้งบทนมัสการ มี ๔ แบบ คือ
    ๑. นโม ชั้นเดียว ขึ้น นโม แล้วรับ ตสฺส ฯเปฯ หยุดตามสังโยค ใช้เป็นบทนมัสการในการสวดมาติกาบังสุกุล
    ๒. นโม ๓ ชั้น เป็นบทนมัสการ ใช้ในการให้ศีล ว่าทีละบท ๆ
    ๓. นโม ๕ ชั้น เป็นบทนมัสการใช้ในการแสดงพระธรรมเทศนา และใช้ในการสวดกรรมวาจา
    ๔. นโม ๙ ชั้น เป็นบทนมัสการ ใช้ในการเจริญพระพุทธมนต์ ที่ใช้ทำนองสังโยค
    นโม ชั้นเดียว
    นโม- ตสฺ// ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม
    ตสฺ// ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม
    ตสฺ// ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ// ธสฺ// ส ฯ
    นโม ๓ ชั้น
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ๕ ชั้น
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส//
    ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ตสฺส ภควโต//
    อรหโต สมฺมา//
    สมฺพุทฺธสฺส//
    นโม ๙ ชั้น
    (ขึ้น) นโม ตสฺส ภควโต//
    (รับ) อรหโต//
    สมฺมา//
    สมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม ตสฺ// ส ภควโต//
    อรหโต//
    สมฺมา//
    สมฺพุทฺ// ธสฺ// ส นโม ตสฺ// ส ภควโต//
    อรหโต//
    สมฺมา//
    สมฺพุทฺ// ธสฺ////


    [​IMG]
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธี
    การจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ

    การจัดสถานที่งานพิธีทำบุญในทางพระพุทธศาสนาทุกอย่าง ทั้งงานมงคล และงานอวมงคลนั้น เบื้องต้น เจ้าภาพ หรือ เจ้าของงาน จะต้องคำนึงถึงสถานที่ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ และเหมาะสมจะจัดให้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนา สำหรับจัดเป็นห้องพิธี อันประกอบด้วยสถานที่สำคัญ ๓ ประการ คือ :-
    ๑. สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
    ๒. สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์ และ
    ๓. สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน
    <TABLE class=MsoTableGrid id=table1 style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 464.3pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=619>
    แผนผังการจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ
    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#000000 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: #000000 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-TOP-COLOR: #000000; BORDER-BOTTOM: medium none"></TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>u
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none" rowSpan=3>


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    v

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    w

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-TOP-COLOR: #000000; BORDER-BOTTOM: medium none" rowSpan=3>


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    x

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    y

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-TOP-COLOR: #000000; BORDER-BOTTOM: medium none" rowSpan=3>


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    z

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    {

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-TOP-COLOR: #000000; BORDER-BOTTOM: medium none" rowSpan=3>


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    |

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #000000 1px solid; BORDER-TOP: #000000 1px solid; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid" rowSpan=3>
    }

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none"></TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none">
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none"></TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: 1px solid; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: 1px solid" colSpan=20></TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #000000 1px solid; BORDER-TOP: 1px solid; BORDER-LEFT: #000000 1px solid; BORDER-BOTTOM: #000000 1px solid" colSpan=20>
    เจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    อธิบายแผนผังการจัดสถานที่งานพิธีทำบุญ
    ๑. สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
    ๒. u - }สถานที่จัดตั้งเป็นอาสน์สงฆ์ สำหรับพระสงฆ์ ๙ รูป
    ๓. สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน
    อักษรที่เรียงซ้อนกันนั้น คือ ที่ตั้งกระโถน คือ ที่ตั้งภาชนะน้ำเย็น คือ ที่ตั้งพานหมากพลู- บุหรี่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย

    - โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น นิยมจัดตั้งไว้ด้านขวาของอาสน์สงฆ์ ตั้งไว้สูงกว่าอาสน์สงฆ์พอสมควร และนิยมตั้ง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพราะเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็น พระพุทธเจ้า ถ้าขัดข้องเพราะสถานที่ไม่อำนวย ก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศใต้ ทิศใดทิศหนึ่ง แต่ไม่นิยมตั้ง หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะถือกันว่าทิศตะวันตกเป็นทิศอัสดงคตแห่งพระอาทิตย์ เป็นทิศแห่งความเสื่อม ไม่เจริญ รุ่งเรือง
    - โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น โดยมาก นิยมตั้งไว้บนอาสน์สงฆ์ ทางต้นอาสน์สงฆ์ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการ คือ .-
    ๑. พระพุทธรูป ๑ องค์ (นิยมพระปางมารวิชัย)
    ๒. กระถางธูป ๑ ลูก พร้อมทั้งธูป ๓ ดอก เป็นอย่างน้อย
    ๓. เขิงเทียน ๑ คู่ พร้อมทั้งเทียน ๒ เล่ม เป็นอย่างน้อย
    ๔ .แจกัน ๑ คู่ พร้อมทั้งดอกไม้ประดับ และนิยมมีพานดอกไม้ตั้งบูชาด้วย
    ๕. โต๊ะหมู่ ๑ หมู่
    เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยนั้น นิยมจัดหาสิ่งของที่ดีที่สุด ประณีตที่สุด เท่าที่จะสามารถหามาจัดได้กล่าวคือ
    ๑. ธูป นิยมใช้ธูปหอมอย่างดี
    ๒. เทียน นิยมใช้เทียนเล่มใหญ่พอสมควรแก่เชิงเทียน
    ๓. ดอกไม้ นิยมใช้ดอกไม้ที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ มีสีสวย มีกลิ่นหอม และ กำลังสดชื่น
    สถานที่จัดเป็นอาสน์สงฆ์
    อาสน์สงฆ์ คือ สถานที่สำหรับพระสงฆ์นั่งนั้น นิยมจัดตั้งไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย และนิยมจัดแยกออกเป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากจากที่นั่งของคฤหัสถ์ชายหญิง ประกอบด้วยเครื่องรับรองพระสงฆ์ ดังนี้
    ๑. พรมเล็ก สำหรับปูเป็นที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป
    ๒. กระโถน (ตั้งไว้ด้านในสุด)
    ๓. ภาชนะน้ำเย็น (ตั้งไว้ถัดออกมา)
    ๔. พานหมากพลู- บุหรี่ (ตั้งไว้ข้างหน้า)
    ๕. ภาชนะน้ำร้อน (นิยมนำมาถวาย เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว)
    เครื่องรับรองพระภิกษุสงฆ์นั้น นิยมจัดตั้งไว้ด้านขวามือของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป โดยจัดตั้งกระโถนไว้ด้านในสุด จัดตั้ง ภาชนะน้ำเย็นไว้ถัดออกมา จัดตั้งพานหมากพลู- บุหรี่ ไว้ถัดออกมาข้างนอก ส่วนภาชนะน้ำร้อนนั้น นิยมจัดมาถวายภายหลัง เมื่อพระภิกษุสงฆ์มานั่งเรียบร้อยแล้ว เพราะถ้านำมาตั้งไว้ก่อน น้ำร้อนจะเย็นเสียก่อน ทำให้เสียรสน้ำชา ถ้าสถานที่ห้องประกอบพิธีสงฆ์นั้นคับแคบ หรือสิ่งของเครื่องรับรองมีไม่เพียงพอที่จะจัดถวายให้ได้ครบทั้ง ๙ ที่ สำหรับพระภิกษุสงฆ์ทั้ง ๙ รูป ก็นิยมจัดเครื่องรับรองเพียง ๕ ที่ ก็เพียงพอ คือ
    ๑. สำหรับพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ จัดตั้งไว้ด้านขวามือของท่านหนึ่งที่
    ๒. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๒ กับพระภิกษุรูปที่ ๓ หนึ่งที่
    ๓. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๔ กับพระภิกษุรูปที่ ๕ หนึ่งที่
    ๔. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๖ กับพระภิกษุรูปที่ ๗ หนึ่งที่
    ๕. จัดตั้งไว้ระหว่างพระภิกษุรูปที่ ๘ กับพระภิกษุรูปที่ ๙ หนึ่งที่
    สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน
    สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน นั้น นิยมจัดไว้ด้านหน้าของอาสน์สงฆ์ และนิยมจัดแยกออกเป็น เป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากจากอาสน์สงฆ์ เพื่อป้องกันมิให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอาบัติโทษ เพราะนั่งอาสนะเดียวกับสตรีเพศ ถ้าสถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น ปูลาดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับอาสน์สงฆ์ โดยปูเสื่อหรือ พรมเชื่อมเป็นอันเดียวกัน นิยมปูเสื่อหรือพรมผืนที่เป็นอาสน์สงฆ์ ทับผืนที่เป็นที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน โดย ปูลาดทับกันออกมาตามลำดับ และนิยมจัดปูลาดพรมเล็กสำหรับเป็นอาสนะที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูปเพื่อให้สูงกว่าที่นั่ง ของคฤหัสถ์อีกด้วย
    สถานที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น นิยมกันทั่วไปว่า จะต้องไม่ดีกว่า ไม่ประณีตกว่า และไม่อยู่ ณ ที่สูงกว่าอาสน์สงฆ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพคารวะแก่พระสงฆ์ การปูลาดอาสน์สงฆ์ และอาสนะที่นั่งสำหรับเจ้าภาพและผู้มาร่วมงานนั้น โดยทั่วไป นิยมจัดแยกออกจากกัน คนละส่วน เพื่อความสบายใจด้วยกันทุกฝ่าย
    การจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์
    การจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์งานพิธีทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น นิยมจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์เฉพาะพิธีทำบุญงาน มงคลทุกชนิด เช่น งานทำบุญมงคลสมรส งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญฉลองต่าง ๆ เป็นต้น และนิยมจัดตั้งภาชนะ น้ำมนต์นี้ไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชา ด้านพระเถระประธานสงฆ์นั่ง ส่วนพิธีทำบุญงานอวมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับศพ เช่น งานทำบุญสัตตมวาร (ทำบุญ ๗ วัน) งานทำบุญ ปัญญาสมวาร(ทำบุญ ๕๐ วัน) งานทำบุญสตมวาร (ทำบุญ ๑๐๐ วัน) เป็นต้น ไม่นิยมจัดตั้งภาชนะน้ำมนต์ เพราะพิธีทำบุญ งานศพนั้น เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น ไม่ใช่จัดทำเพื่อความเป็นศิริมงคลแก ่เจ้าของงาน
    ภาชนะน้ำมนต์
    - ภาชนะสำหรับใส่น้ำมนต์นั้น นิยมใช้หม้อน้ำมนต์โดยเฉพาะ หรือใช้บาตรพระสงฆ์แทนก็ได้ แต่ไม่นิยมใช้ ขันเงินแทน เพราะเป็นวัตถุอนามาสที่พระภิกษุสงฆ์ไม่ควรจับต้อง เพราะเกิดอาบัติโทษแก่พระสงฆ์ผู้จับต้อง
    - น้ำสำหรับทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้น้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ใส่น้ำขนาดเกือบเต็มภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์นั้น และมีวัตถุที่นิยมกันว่าเป็นมงคล ตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ ใส่ในภาชนะน้ำมนต์นั้นด้วย
    เทียนสำหรับทำน้ำมนต์
    - เทียนสำหรับทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ มีขนาดเล่มใหญ่พอสมควร ขนาดอย่างเล็ก นิยมมีน้ำหนัก ๑ บาทขึ้นไป และนิยมใช้เทียนที่มีไส้ใหญ่ ๆ เพื่อป้องกันมิให้ไฟดับง่าย เมื่อถูกลมพัด
    การมอบเทียนชนวนแก่ผู้ใหญ่
    - ผู้เป็นพิธีกรทำหน้าที่มอบเทียนชนวนแก่ผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานพิธีงานนั้น ๆ หรือมอบให้แก่ท่านเจ้าภาพ งานทำบุญต่าง ๆ จะต้องเตรียมจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ไว้ให้มีพร้อม ดังนี้
    ๑. เชิงเทียนขนาดกลาง ๑ ที่ (ควรเป็นเชิงเทียนทองเหลือง เพราะติดเทียนได้มั่นคงดี)
    ๒. เทียนขี้ผึ้ง มีขนาดใหญ่พอสมควร ๑ เล่ม (ควรหาเทียนที่มีไส้ใหญ่ ๆ เพื่อไฟไม่ดับง่าย)
    ๓. น้ำมันยาง น้ำมันก๊าด หรือ น้ำมันเบนซิน พร้อมทั้งสำลีสำหรับใช้เป็นชนวนติดไว้ที่ธูป และเทียน เพื่อสะดวกแก่การจุดไฟติดได้ง่าย
    วิธีการถือเชิงเทียนชนวน
    - การถือเชิงเทียนชนวนมอบให้แก่ผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นประธานพิธีงานนั้น ๆ หรือ ให้แก่ท่านเจ้าภาพงานทำบุญนั้น ๆ นิยมถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือ นิ้วมือทั้ง ๔ นิ้ว รองรับเชิงเทียน หัวแม่มือจับอยู่บนเชิงเทียน
    - ไม่นิยมจับกึ่งกลางเชิงเทียนเพราะจะทำให้ผู้ใหญ่รับเชิงเทียนชนวนไม่สะดวกหรือจะทำให้ผู้ใหญ่ต้องเสียภูมิ เพราะจับเชิงเทียนขนวนภายใต้มือของพิธีกรผู้ส่งให้ แสดงว่าไม่รู้ระเบียบ
    วิธีการมอบเชิงเทียนชนวน
    - เมื่อถึงเวลาตามกำหนดการแล้ว พิธีกรพึงจุดเทียนชนวน ถือด้วยมือขวา มือซ้ายควรถือไม้ขีดไฟติดมือไปด้วย (เมื่อเทียนชนวนดับ จะได้จุดได้ทันท่วงที) เดินเข้าไปหา ท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือท่านเจ้าภาพงานทำบุญ ยืนตรงโค้งคำนับท่าน (สำหรับพิธีกร และประธานพิธีเป็นคฤหัสถ์) ถ้าประธานพิธีเป็นพระเถระผู้ใหญ่ พิธีกรพึงนั่งคุกเข่าลง กราบเรียนให้ท่านทราบ หรือ
    - เมื่อพิธีกรเริ่มจุดเทียนชนวน ท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือท่านเจ้าภาพงานเห็นแล้ว ลุกจากที่นั่ง เดินไปที่โต๊ะ หมู่บูชาพระรัตนตรัยเอง พิธีกรพึงเดินตามหลังท่านไป โดยเดินตามไปทางด้านซ้ายมือของท่าน
    - ถ้าประธานพิธี หรือ เจ้าภาพงาน หยุดยืนที่ข้างหน้าที่บูชา พิธีกรพึงนั่งชันเข่า ถ้าท่านนั่งคุกเข่า พิธีกรพึง นั่งคุกเข่าทางด้านซ้ายมือของท่าน ยื่นมือขวาส่งเชิงเทียนชนวนมอบให้ท่าน ส่วนมือซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว
    - เมื่อมอบเชิงเทียนชนวนให้ท่านแล้ว พิธีกรพึงถอยหลังออกมาให้ห่างจากท่านพอสมควร เพื่อไม่ให้ขัดขวาง การถ่ายรูปของช่างภาพ โดยถอยห่างออกมานั่งชันเข่า หรือนั่งคุกเข่า ตามควรแก่กรณีพร้อมกับคอยสังเกตดู ถ้าเทียนขนวนดับพึงรีบเข้าไปจุดได้ทันที วิธีการรับเชิงเทียนชนวนจากผู้ใหญ่
    - เมื่อท่านผู้ใหญ่จุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว พิธีกรพึงเข้าไปทางด้านซ้ายมือของท่าน ถ้าท่านยืนจุด พิธีกรพึงนั่งชันเข่ารับ ถ้าท่านนั่งคุกเข่าจุด พิธีกรพึงนั่งคุกเข่ารับเชิงเทียนชนวน
    - การรับเชิงเทียนชนวนจากผู้ใหญ่นั้น นิยมยื่นมือขวาแบมือเข้าไปรองรับเชิงเทียนชนวนจากท่าน เมื่อรับเชิงเทียนชนวนแล้ว นิยมถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อยแล้วเดินกลับไปได้
    ข้อควรสังวรระวัง
    - พิธีกรอย่าจับเชิงเทียนชนวนเหนือมือท่านผู้ใหญ่ที่ท่านจับอยู่ ถือว่าเป็นการแสดงความไม่เคารพท่าน ทั้งเป็นการแสดงว่า ตนเป็นคนไม่รู้ระเบียบอีกด้วย
    - ขณะส่งเชิงเทียนชนวนมอบให้ท่านผู้ใหญ่ อย่าถือกึ่งกลางเชิงเทียนส่งมอบให้ท่าน เพราะจะทำให้ท่าน รับเชิงเทียนไม่สะดวก
    - ต้องเตรียมไม้ขีดไฟ เป็นต้น ติดมือไปด้วย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะจุดได้ทันที เมื่อไฟเทียนชนวนดับลง และต้องกำหนดดูทิศทางของลมที่พัดมา โดยเฉพาะ คือ ทิศทางลมที่เกิดจากพัดลม จะทำให้ไฟเทียนชนวนดับ หรือจะทำให้การจุดไฟเครื่องสักการบูชาไม่ติด หรือ จุดไฟติดได้ยาก
    - ถ้าเป็นงานมงคลที่มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบทมงคลสูตรว่า
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธีการทำบุญ(๒)

    การจุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
    - เมื่อถึงเวลาตามกำหนดการแล้ว และพิธีกรถือเชิงเทียนชนวนเข้ามาเชิญไปจุดเครื่องสักการบูชา พระรัตนตรัย ผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงาน นิยมปฏิบัติดังนี้
    - ลุกขึ้นจากที่นั่ง เดินไปที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย ถ้าโต๊ะหมู่บูชาตั้งอยู่ที่สูง นิยมยืน ถ้าโต๊ะหมู่บูชา ตั้งอยู่ที่ไม่สูงนัก พอนั่งคุกเข่าจุดถึง ก็นิยมนั่งคุกเข่าลงแล้วรับเชิงเทียนชนวนมาจากพิธีกร แต่ไม่นิยมรับเขิงเทียนชนวนจากพิธีกรมาก่อนที่ยังไม่ถึงหน้าโต๊ะหมู่บูชา
    - นิยมจุดเทียนเล่มขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเทียนเล่มซ้ายต่อไป ถ้ามีเทียนตั้งอยู่หลายคู่ นิยมจุดเทียน คู่บนก่อน แล้วจึงจุดเทียนคู่ล่าง ๆ ลงมาตามลำดับจนครบทุกคู่ แล้วจึงจุดธูป
    - ถ้ามีสายชนวนเชื่อมโยงจากธูปไปยังเทียนทุกคู่แล้ว ก็นิยมจุดธูปเป็นอันดับแรก ถ้าธูปมิได้จุ่มน้ำมันเตรียมไว้ นิยมถอนธูปมาจุดกับเทียนชนวน ถ้าธูปจุ่มน้ำมันเตรียมไว้แล้ว ก็จุดโดยไม่ต้องถอนธูปมาจุดกับเทียนชนวน
    - เมื่อจุดธูปเสร็จแล้ว ก็ส่งเทียนชนวนคืนให้แก่พิธีกร แล้วปักธูปไว้ตามเดิม วิธีการปักธูปนั้น นิยมปักเรียงหนึ่ง เป็นแถวเดียวกัน โดยเว้นระยะห่างเท่า ๆ กัน ให้ธูปแต่ละดอกสูงต่ำพอ ๆ กัน หรือ
    - นิยมปักธูปเป็นสามเส้าก็ได้ และนิยมปักธูปไว้กึ่งกลางกระถางธูป โดยปักธูปทุกดอกให้ตั้งตรง อันเป็นการ แสดงถึงนิสัยอัธยาศัยของผู้นั้นว่า เป็นคนซื่อตรง เป็นคนมีระเบียบเรียบร้อย ไม่ใช่คนมักง่าย

    คำบูชาพระรัตนตรัย
    - เมื่อปักธูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว นิยมตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย โดยนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย (เพียงแต่นึกในใจ) ว่า
    นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ//
    อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ//
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ//
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ//

    การกราบพระรัตนตรัย
    - เมื่อกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยจบแล้ว นิยมกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ (คือการตั้งหน้าผาก ฝ่ามือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ลงจรดพื้น) ๓ ครั้ง และในขณะที่หมอบกราบแต่ละครั้งนั้น นิยมระลึกถึงพระรัตนตรัย ดังนี้
    กราบครั้งที่ ๑ ระลึกว่า “พุทโธ เม นาโถ” พระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ของข้าพเจ้า/
    กราบครั้งที่ ๒ ระลึกว่า “ธัมโม เม นาโถ” พระธรรม เป็นที่พึ่ง ของข้าพเจ้า/
    กราบครั้งที่ ๓ ระลึกว่า “สังโฆ เม นาโถ” พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ของข้าพเจ้า//
    - กิริยาอาการที่กราบนั้น นิยมไม่เร็ว หรือ ช้าเกินไป และนิยมกราบให้ถูกต้อง ตามแบบเบญจางคประดิษฐ์ จริง ๆ ทุกครั้งที่กราบพระรัตนตรัย ทั้งนี้ เพื่อเป็นทิฏฐานุคติ แก่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ถือเป็นแบบอย่างปฏิบัติตามได้ถูกต้องสืบไป

    การอาราธนาศีล
    - ในพิธีทำบุญงานมงคลทุกชนิด นิยมกล่าวคำอาราธนาศีลก่อน แล้วจึงกล่าวคำอาราธนาพระปริตร ในภายหลังจากรับศีลเสร็จแล้ว
    - เมื่อประธานพิธี หรือ เจ้าภาพงาน จุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว พิธีกรพึงกล่าวคำ อาราธนาศีลเป็นอันดับแรก

    วิธีปฏิบัติในการอาราธนาศีล
    พิธีกรผู้ทำหน้าที่อาราธนาศีลและพระปริตรนั้น นิยมปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานที่ของงานพิธีนั้น ๆ ดังนี้
    - ถ้าเขาจัดปูลาดอาสน์สงฆ์อยู่กับพื้น และผู้มาร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทั้งหมดก็นั่งกับพื้น ในกรณีเช่นนี้ พิธีกรก็นิยมนั่งคุกเข่าประนมมือกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนาศีล
    - ถ้าเขาจัดอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น แต่เจ้าภาพ หรือประธานพิธีและผู้มาร่วมงานทั้งหลายนั่งอยู่กับพื้น ในกรณีเช่นนี้ พิธีกรก็นิยมนั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำอาราธนาศีลเหมือนกัน
    - ถ้าเขาจัดอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น เจ้าภาพ หรือประธานพิธีและผู้มาร่วมงานทั้งหลายนั่งเก้าอี้ ในกรณีเช่นนี้พิธีกรนิยมยืนทางท้ายอาสน์สงฆ์ประมาณข้างหน้า พระสงฆ์รูปที่ ๔- ๕ ท้ายแถว หันหน้าไปทางพระเถระประธานสงฆ์ ประนมมือกล่าวคำอาราธนาศีล
    - ลักษณะการกล่าวคำอาราธนาศีลนั้น นิยมกล่าวคำอาราธนาอย่างชัดถ้อยชัดคำ จังหวะที่กล่าวไม่เร็ว หรือ ช้าเกินไป นิยมหยุดทอดเสียงเป็นระยะ ๆ ดังนี้
    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ// ติสะระเณนะ สะหะ// ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ//
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ// ติสะระเณนะ สะหะ// ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ//
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ// ติสะระเณนะ สะหะ// ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ//

    วิธีการรับศีล
    - การรับศีลนี้ คือ วิธีการประกาศสมาทานศีลว่า ตนจะเป็นผู้ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติทุจริตทางกาย และทางวาจาตามสิกขาบทนั้น ๆ ด้วยความสมัครใจ ของตนเอง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่พระสงฆ์ท่านสั่งห้ามไม่ให้ประพฤติทุจริตเช่นนั้น
    - เพราะการสมาทานศีลนี้ เป็นเรื่องของความสมัครใจงดเว้นจากความชั่วของคฤหัสถ์แต่ละบุคคลโดยตรง ดังจะพิจารณารู้ได้จากคำสมาทานศีลแต่ละสิกขาบท ตัวอย่างเช่น ศีล ๕ สิกขาบทที่ ๑ ว่า
    “ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ” แปลความว่า “ข้าพเจ้าขอสมาทาน ซึ่งสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการยังสัตว์มีลมปราณให้ตกล่วงไป คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์” ดังนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านสมัครใจ ตั้งใจงดเว้นเอง ไม่ใช่เป็นคำสั่งห้ามของพระสงฆ์ ทั้งไม่ใช่วิสัยของพระสงฆ์ที่จะบังคับให้ชาวบ้านประพฤติเช่นนั้นได้ ถ้าเขาไม่สมัครใจที่จะประพฤติเช่นนั้น
    - แต่เพราะชาวบ้านไม่สามารถจะทรงจำคำประกาศสมาทานศีลได้ด้วยตนเอง จึงต้องขอร้องให้พระสงฆ์ท่านช่วยกล่าวนำให้ด้วย เช่นเดียวกับคำกล่าวถวายสังฆทาน โดยมากชาวบ้านผู้ถวายมักจำคำถวายไม่ได้ จึงต้องขอร้องให้ พระสงฆ์ท่านช่วยกล่าวนำให้ด้วย ฉะนั้น
    - เพราะเหตุนี้ บุคคลผู้รับศีล คือ บุคคลผู้สมาทานศีลทุกคน จึงนิยมต้องกล่าวคำประกาศสมาทานรับศีลให้พระสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน เพื่อพระสงฆ์จะได้เป็นสักขีพยาน ในการที่ตนตั้งใจจะงดเว้นจากความชั่ว และตั้งใจจะประ กอบความดีต่อไป

    การให้ศีล ๕
    เมื่อพิธิกรกล่าวคำอาราธนาศีล เริ่มครั้งที่ ๒ ว่า “ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ฯเปฯ” พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ พึงเริ่มจับพัดรองตั้งเตรียมให้ศีล เมื่อพิธิกรกล่าวคำอาราธนาศีลจบลงแล้ว พึงเริ่มตั้ง นะโม ทันทีโดยไม่ชักช้า การให้ศีลนั้น นิยมกล่าวนำตั้ง นะโม ๓ ชั้น ดังนี้:-
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ//
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ//
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ//
    การให้ศีล ๕ นั้น เมื่อกล่าวนำไตรสรณคมน์จบแล้ว ไม่นิยมบอกว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง” (แปลว่า การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกจบแล้ว)
    การกล่าวนำให้ศีลแต่ละสิกขาบทนั้น นิยมทอดเสียง ในระหว่างกลางทุกสิกขาบท ตัวอย่าง เช่น สิกขาบทที่ ๑ ว่า “ปาณาติปาตา” ทอดเสียงหน่อยหนึ่งแล้วจึงกล่าวต่อไป “เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ” แม้สิกขาบทต่อ ๆ ไป ก็นิยม ทอดเสียงหน่อยหนึ่ง อย่างนี้เหมือนกัน
    - การกล่าวสรุปท้ายบอกอานิสงส์ศีลนั้น นิยมหยุดเป็นตอน ๆ ดังนี้:-
    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ//
    สีเลนะ สุคะติง ยันติ// สีเลนะ โภคะสัมปะทา//
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ// ตัสมา สีลัง วิโสธะเย//

    การอาราธนาพระปริตร
    - เมื่อพระเถระประธานสงฆ์ให้ศีลจบแล้ว พิธีกรพึงกล่าวคำอาราธนาพระปริตรสืบต่อไป โดยการกล่าวหยุดทอดเสียงเป็นตอน ๆ ไป ดังนี้:-
    วิปัตติปะฏิพาหายะ// สัพพะสัมปัตติสิทธิยา//
    สัพพะทุกขะวินาสายะ// ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง//
    วิปัตติปะฏิพาหายะ// สัพพะสัมปัตติสิทธิยา//
    สัพพะภะยะวินาสายะ// ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง//
    วิปัตติปะฏิพาหายะ// สัพพะสัมปัตติสิทธิยา//
    สัพพะโรคะวินาสายะ// ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง//

    การกล่าวชุมนุมเทวดา
    - การกล่าวชุมนุมเทวดา คือ การกล่าวอัญเชิญเทวดาให้มาร่วมงานมงคลนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพงานมงคลนั้น ๆ จะต้องเป็นผู้กล่าวอัญเชิญด้วยตนเอง หาใช่เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ไม่ แต่เนื่องจากเจ้าภาพงานนั้น ๆ ไม่สามารถจะกล่าวคำอัญเชิญได้ด้วยตนเอง จึงขอร้องให้พระสงฆ์ช่วยกล่าวอัญเชิญแทนตน ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันนี้ การกล่าวชุมนุมเทวดานี้ จึงกลายเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์โดยตรงทีเดียว
    - การกล่าวชุมนุมเทวดา และการขัดตำนาน ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ในงานพิธีทำบุญทุกชนิด นิยมเป็นหน้าที่ของพระภิกษุรูปที่ ๓ เป็นผู้กล่าวชุมนุมเทวดาและกล่าวขัดตำนาน ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากพระเถระรูปที่ ๒ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ชราภาพมีเสียงเครือ หรือ อาจเนื่องมาจากพระเถระรูปที่ ๒ จะต้องคอยรับช่วงบทเจริญพระพุทธมนต์ต่อจากพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ ถ้าพระเถระรูปที่ ๒ ทำหน้าที่กล่าวชุมนุมเทวดา และกล่าวขัดตำนานเอง เมื่อกล่าวชุมนุมเทวดา หรือกล่าวขัดตำนานจบแล้วกว่าจะเก็บพัดรองไว้ที่เดิมเสร็จ มักจะรับช่วงบทเจริญพระพุทธมนต์จากพระเถระประธานสงฆ์ไม่ทัน ทำให้เสียระเบียบการเจริญพระพุทธมนต์ได้ จึงนิยมมอบหน้าที่การกล่าวชุมนุมเทวดาและกล่าวขัดตำนาน ให้เป็นภาระหน้าที่ของพระภิกษุรูปที่ ๓ สืบต่อกันมาจนปัจจุบันนี้
    - ถ้าพระภิกษุรูปที่ ๓ มีความขัดข้อง ก็อาจมอบให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุรูปที่ ๔ - ๕ ทำหน้าที่แทนตนก็ได้ หรือ อาจขอร้องให้พระเถระรูปที่ ๒ ขัดแทนก็ได้ ในเมื่อพิจารณาเห็นว่า พระเถระรูปที่ ๒ เป็นผู้มีเสียงดี และขัดได้ไพเราะดีซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่โดยทั่วไป
    - เมื่อพิธีกรกล่าวคำอาราธนาพระปริตร เริ่มครั้งที่ ๒ ว่า “วิปัตติปะฏิพาหายะ” พระภิกษุรูปที่ ๓ พึงเริ่มจับพัดตั้งเตรียมกล่าวชุมนุมเทวดา เมื่อพิธีกรกล่าวคำอาราธนาพระปริตรจบลงแล้ว นิยมเริ่มกล่าวชุมนุมเทวดาทันที โดยไม่ชักช้า

    การกล่าวชุมนุมเทวดางานพิธีมงคลทั่วไป
    - การกล่าวชุมนุมเทวดา ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพิธีมงคลทั้งหลายทั่วไป เช่น งานมงคลสมรส งานพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานพิธีทำบุญอายุ งานพิธีฉลองยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น นิยมกล่าวชุมนุมเทวดา ดังนี้:-
    ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา//
    อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ//
    สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ// จันตะลิกเข วิมาเน//
    ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน// เคหะวัตถุมหิ เขตเต//
    ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม// ยักขะคันธัพพะนาคา//
    ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง// สาธะโว เม สะณันตุ//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//

    การกล่าวชุมนุมเทวดางานพิธีมงคลส่วนรวม
    - การกล่าวชุมนุมเทวดา ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพิธีมงคลส่วนรวม เช่น งานรัฐพิธีขึ้นปีใหม่ งานรัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ งานรัฐพิธีสาบานธง งานพิธีฉลองวัด งานทำบุญกลางบ้าน เป็นต้น นิยมกล่าวชุมนุมเทวดา ดังนี้.
    สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา//
    สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง//
    สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ// จันตะลิกเข วิมาเน//
    ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน// เคหะวัตถุมหิ เขตเต//
    ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม// ยักขะคันธัพพะนาคา//
    ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง// สาธะโว เม สุณันตุ//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//

    การกล่าวชุมนุมเทวดางานพระราชพิธี
    - การกล่าวชุมนุมเทวดา ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพระราชพิธีมงคลทุกประเภท เช่น งานพระราชพิธีมงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น นิยมกล่าวชุมนุมเทวดา ดังนี้.
    สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง//
    ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ//
    ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา//
    อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ//
    สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ// จันตะลิกเข วิมาเน//
    ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน// เคหะวัตถุมหิ เขตเต//
    ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม// ยักขะคันธัพพะนาคา//
    ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง// สาธะโว เม สุณันตุ//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//
    ธัมมัสสะวะนะกาโล// อะยัมภะทันตา//

    การประนมมือในศาสนพิธีการทำบุญ
    - การประนมมือในการเจริญพระพุทธมนต์ หรือในการสวดพระพุทธมนต์นั้น เป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธมนต์ที่กำลังกล่าวสวดอยู่นั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องกระทำด้วยความประณีตเรียบร้อย อันแสดงออกถึงกิริยาอาการที่ทำด้วยความเคารพ เอื้อเฟื้อเป็นอย่างดี ทั้งเป็นการแสดงตัวอย่างให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ยึดถือเป็นทิฏฐานุคติ ดำเนินรอยตามอีกด้วย
    - นิยมประนมมือ โดยยกมือทั้งสองขึ้นบรรจบกันระหว่างอก ให้นิ้วมือทั้งสิบแนบขิดสนิทกัน ตั้งปลายนิ้วมือขึ้นข้างบน ศอกทั้งสองข้างวางแนบชิดกับชายโครง
    - ไม่นิยมประนมมือแบบไม้ค้างถั่ว คือ เอานิ้วมือทั้งสองข้างวางประสานไขว้กัน ไม่นิยมประนมมือแบบแง่งขิงแง่งข่า คือ เอานิ้วมืองอเข้าหากัน ทำมือหงิกมืองอ ไม่นิยมประนมมือแบบฝ่ามือโก่งออกจากกันเป็นกระโปรง
    - ไม่นิยมยกกระพุ่มมือประนมขึ้นยันคาง หรือ ยกขึ้นปิดปาก หรือ ลดกระพุ่มมือประนมลงวางไว้ที่พุง หรือ ปล่อยให้กระพุ่มมือประนมหันปลายนิ้วลงเบื้องล่างซึ่งเป็นกิริยาอาการที่ไม่น่าเลื่อมใส

    การเจริญพระพุทธมนต์
    - การเจริญพระพุทธมนต์ ในงานพิธีการทำบุญเพื่อความเป็นศิริมงคลต่างชนิดนั้น นิยมใช้บทพระพุทธมนต์เหมาะแก่งาน พอเหมาะแก่กาลเวลา และใช้จังหวะการสวดเหมาะแก่บุคคลผู้ฟัง คือ.
    - ถ้าผู้ฟังเป็นผู้ใหญ่ หรือ เป็นคนสูงอายุ นิยมสวดจังหวะช้าลง ไม่กระชั้นนัก
    - ถ้าผู้ฟังเป็นข้าราชการ นิยมใช้จังหวะปานกลาง ไม่เร็วนักและไม่ช้านัก
    - ถ้าผู้ฟังเป็นเด็กนักเรียน นักศึกษา นิยมสวดเร่งให้เร็วขึ้นหน่อย
    - เมื่อประธานพิธี หรือ เจ้าภาพ เริ่มจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ พึงเริ่มหยิบกลุ่มด้ายสายสิญจน์คลี่ส่งให้พระภิกษุรูปที่ ๒ คลี่ส่งต่อ ๆ กันไปตามลำดับ
    - พระภิกษุรูปสุดท้าย พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพานสำหรับรองรับ ถ้าไม่มีพานตั้งไว้สำหรับรองรับ ก็นิยมวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพานหมากพลู- บุหรี่ ถ้าไม่มีพานหมากพลู- บุหรี่ ก็นิยมวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้ในย่ามของตน
    - เมื่อเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทสุดท้าย คือ “ภะวุตุ สัพพะมังคะลัง” พระภิกษุรูปสุดท้ายพึงเริ่มม้วนเก็บด้ายสายสิญจน์ส่งกลับตืน
    - ด้ายสายสิญจน์ที่โยงมาจากพระพุทธรูปนั้น นิยมกันว่า ห้ามข้ามกราย ถ้ามีความจำเป็นจะต้องรับประเคนสิ่งของ ในขณะที่กำลังถือด้ายสายสิญจน์อยู่นั้น นิยมใช้มือสอดลอดใต้ด้ายสายสิญจน์รับประเคน

    การจุดเทียนน้ำมนต์
    - ผู้เป็นประธานพิธี หรือ ผู้เป็นเจ้าภาพงานทำบุญนั้น นิยมรอคอยเวลาจุดเทียนน้ำมนต์ถวายพระสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง แม้จะมีธุระอย่างใด ก็ควรงดไว้ก่อน
    - เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงบทมงคลสูตรว่า “อะเสวนา จะ พาลานัง” พิธีกรพึงจุดเทียนชนวนเข้าไปเชิญประธานพิธี หรือเจ้าภาพงานไปจุดเทียนน้ำมนต์ ซึ่งตั้งอยู่ข้างหน้าของพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์
    - เมื่อจะจุดเทียนน้ำมนต์นั้น นิยมหยดน้ำตาเทียนชนวนลงที่ไส้ของเทียนน้ำมนต์นั้นก่อน เพื่อจะทำให้การจุดไฟติดได้ง่าย และไส้เทียนน้ำมนต์นั้นจะไม่ถูกไฟไหม้หมดไปเสียก่อน
    - เมื่อจุดเทียนน้ำมนต์แล้ว ก็ส่งเทียนชนวนคืนให้แก่พิธีกร แล้วยกภาชนะน้ำมนต์นั้น ถวายแก่พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ เมื่อยกภาชนะน้ำมนต์ถวายแล้ว นิยมยกมือไหว้พระเถระประธานสงฆ์นั้น แล้วกลับไปนั่งที่เดิม
    - ต่อจากนั้น ถ้ามีธุระจำเป็น ก็พอปลีกตัวไปได้บ้าง แต่ตามความนิยมแล้วผู้เป็นประธานพิธี หรือ เจ้าภาพงาน ไม่นิยมปลีกตัวไปไหนในขณะที่พระสงฆ์กำลังเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ประธานพิธี หรือ แก่เจ้าภาพงานนั้น นิยมนั่งอยู่เป็นประธานจนกว่าจะเสร็จพิธี จึงจะเป็นการถูกต้องและเหมาะสมทุกประการ


    [​IMG]
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ระเบียบปฏิบัติศาสนพิธีการทำบุญ 02";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://hits.truehits.in.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    มานั่งทานกาแฟแล้วอดต่อไม่ได้ครับ

    มาต่อกันอีกสักเรื่องนะครับ

    พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ
    โดย อั๋น พระรามแปด
    คัดลอกจาก: ภควา ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖
    ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗
    http://www.dharma-gateway.com/misc/m...index-page.htm
    โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดชีวิตกับธรรมะ กระทู้ 12159 โดย: mayrin 01 มิ.ย. 47
    พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ
    กับสถานที่ประดิษฐานอันสำคัญในประเทศไทย
    ลังกา อินเดีย แหล่งกำเนิดอารยธรรม อันเจริญรุ่งเรืองแต่เก่าก่อน ทั้งด้านการปกครอง ศาสนา พิธีกรรม มีการเผยแพร่สู่ถิ่นอื่น ๆ โดยเฉพาะเมืองที่ผู้ปกครองหรือผู้นำที่เข้มแข็ง จะมีการสืบ ความรู้แขนงต่าง ๆ ที่รับมาจากลังกา และอินเดีย
    นำมาประยุกต์ใช้การสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา มีพระมหาธาตุเจดีย์ตั้งอยู่กลางเมือง ตามคติธรรมราชา ราชาปกครองด้วยธรรมค้ำจุนพระศาสนา เป็นหลักชัยของบ้านเมือง นำศาสนาเป็นสื่อกลางความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของกลุ่มชนเป็นอยู่กระจัดกระจาย เป็นก๊ก เป็นเหล่า
    พระบรมธาตุเจดีย์ พระมหาธาตุเจดีย์ ดำรงความเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ตามคตินิยมของชาวพุทธ การได้สักการะปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปเจดีย์ รวมเรียกว่า อุทเทสิกเจดีย์ ย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และยิ่งมีเรื่องราวสนับสนุนเป็นตำนาน พุทธประวัติ เกี่ยวเนื่องกับสถานที่นั้น ก็ยิ่งเป็นแรงเพิ่มศรัทธาเป็นเท่าทวีคูณ
    พระธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ ทั้งพระบรมสารีริกธาตุ อรหันตธาตุ แม้แต่พระมหากษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้ว ก็นำอัฐิธาตุไปบรรจุไว้ โบราณได้แบ่งเจดีย์ออกเป็น ๔ อย่าง
    . ธาตุเจดีย์ หมายถึง เจดีย์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุต่าง ๆ
    . บริโภคเจดีย์ หมายถึง เจดีย์อันมีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และสถานที่ดับขันธ์ ปรินิพพาน
    . พระธรรมเจดีย์ หมายถึง พระคัมภีร์ ซึ่งแสดงถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหนังสือหรือแผ่นจารึก แม้แต่คำจารึกพระธรรมทั้งหลาย บรรจุไว้ ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็ถือเป็นพระธรรมเจดีย์ด้วย
    . อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึงเจดีย์ที่สร้างขึ้นอุทิศเฉพาะพระพุทธเจ้า เป็นต้นว่า พระพุทธรูป พระพุทธบาท และอาสนะ คือ สิ่งที่สร้างขึ้น แล้วอุทิศถวายพระพุทธเจ้า
    เจดีย์มีมาก่อนพระพุทธกาล ต้นไม้ ภูเขา และป่า ตลอดจนสัตว์บางชนิด ก็ได้รับนับถือยกย่องให้เป็นเจดีย์ได้ อย่างนี้มีอยู่ก่อนแล้ว ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนาในประเทศอินเดีย พระพุทธองค์ก็ยอมรับเจดีย์อันเป็นที่เคารพนับถือของหมู่ชนมาแต่เดิม
    ดังที่เห็นได้ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระฉันทะโค่นต้นไม้ใหญ่ อันเป็นเจดีย์ของหมู่บ้านเพื่อสร้างวิหาร จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านติเตียน เมื่อพระพุทธองค์ทราบบัญญัติพระวินัยว่า พระภิกษุสงฆ์ห้ามโค่นต้นไม้ใหญ่ อันเป็นที่นับถือของหมู่บ้าน
    แต่คำว่าเจดีย์ที่เราเข้าใจในปัจจุบันนั่น ไม่ปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ ณ ที่แห่งใดเลย มีแต่ทรงตรัสถึง ธูปารหะบุคคล คือ บุคคลอันควรแก่สถูปเท่านั้น หน้าที่เจดีย์ ๔ อย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น น่าจะเป็นของที่เกิดขึ้นในครั้งหลัง
    แต่ต้องไม่นับถ้อยคำ กล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถ้อยคำว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล นั้น เป็นธรรมเจดีย์ ดังมีมาในธรรมเจติยสูตร
    เจดีย์ ทุกท่านจะนึกรู้ทันทีว่า หมายถึงสถาปัตยกรรม อันมิใช่ตัวอาคารที่จะเข้าไปอยู่อาศัยได้ เหมือนดังโบสถ์หรือวิหาร บางทีก็เรียกว่า สถูปเจดีย์ หรือพระปรางค์ก็ได้
    บรรดาเมืองหลวง หรือเมืองที่จัดอยู่ในระดับราชธานี ตามคติโบราณของไทยนับถือพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ เมืองจะต้องมีวัดที่สำคัญ เช่น วัดมหาธาตุ อยู่เป็นหลัก หรือเป็นประธานของเมืองนั้น ๆ
    จึงปรากฏชื่อวัดมหาธาตุอยู่เป็นหลักสำคัญของเมือง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงรัตนโกสินทร์ทั้งยังเป็นที่สถิตประทับอยู่ของพระมหาเถระที่ได้ราชทินนามว่า "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ
    วัดมหาธาตุจึงเป็นวัดที่แตกต่างจากวัดทั่ว ๆ ไป โดยจะมีพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างถวายตามความเชื่อ เพื่อเป็นประธานของเมือง นอกจากวัดมหาธาตุแล้วยังมีสถานที่อื่น ๆ สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่กันขึ้นทุกยุคทุกสมัย ตามศูนย์กลางความเจริญในแต่ละสถานที่นั้น ๆ
    อาทิ พระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช พระธาตุไชยา พระธาตุพนม พระธาตุหริภุญชัย ฯลฯ แต่ละสถานที่ก็มีเรื่องเล่า ตำนานความศักดิ์สิทธิ์ แต่ละจุดศูนย์กลาง เน้นไปที่พระบรมสารีริกธาตุ
    พระธาตุที่บรรจุอยุ่ในองค์พระเจดีย์ตามตำนานต่าง ๆ พื้นฐานจะมาจากที่แห่งเดียวกัน คือ มาจากชมพูทวีป ในประเทศอินเดีย แต่การให้ได้มาประดิษฐานยัง ณ สถานที่แห่งนั้น ๆ มักมีเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์แตกต่างกันออกไปอย่างสลับซับซ้อน เพื่อสนับสนุนเพิ่มความศรัทธาเป็นเท่าทวีคูณ
    พระบรมธาตุตามตำนาน

    พระบรมธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ มีลักษณะแตกต่างกับอัฐิหรือกระดูกของปุถุชนคนธรรมดา โดยพระองค์ท่านเป็นผู้ที่สำเร็จและปรินิพพานไปแล้ว
    จึงเป็นสิ่งควร เคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง ทั้งยังเป็นอานิสงส์แก่ผู้กราบไหว้ เคารพบูชาให้สำเร็จประโยชน์และสุขสมบูรณ์ ผลานิสงส์ นี้จะปรากฏแต่เฉพาะ ผู้มีความเลื่อมใส กระทำการสักการะ โดยสุจริต เท่านั้น
    พระบรมสารีริกธาตุ
    ประดิษฐานในประเทศไทย

    พระบรมสารีริกธาตุที่ปรากฏในประเทศ ในเมืองไทย มีเรื่องเล่า การได้มาซึ่งพระธาตุมีปาฏิหาริย์แตกต่างกันออกไป แต่พื้นฐานก็มาจากประเทศอินเดีย จะยกตำนานเรื่องเล่าของการได้มาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นตำนานที่เล่าสืบทอดคู่กับพระเจดีย์นั้นสักแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์
    เพื่อสนับสนุนให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธา มีมาแต่ครั้งโบราณก็จะได้ยกถึงประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช อันเป็นศูนย์กลางศาสนาวัฒนธรรมมาแต่โบราณ
    กล่าวตำนานพระบรมธาตุเจดีย์

    นครศรีธรรมราช
    เริ่มต้นจากประเทศอินเดียก่อน หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ดับขันธ์ ปรินิพพานแล้วมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐาน ณ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทั้งบนสวรรค์ โลกมนุษย์ และบาดาล
    มาในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงได้นิมนต์พระมหากัสสปะ ให้ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานในที่ต่าง ๆ รวบรวมมาไว้ที่กรุงราชคฤห์ ชมพูทวีป โดยให้ขุดหลุมฝังแล้วทำพิธีกรรมผูกพหุ่นยนต์ หรือหุ่นฝางหญ้า ปลุกเสกด้วยเวทมนต์ให้หุ่นพยนต์นี้อารักษ์รักษาพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้
    ครั้นถึง พ.ศ. ๒๒๔ สมัยพญาอโศกราชแห่งนครอินทรปัตต์ ได้โปรดให้ขุดพระบรมสารีริกธาตุที่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรูฝังไว้ ขึ้นมาแจกจ่ายยังนครต่าง ๆ ๘๔,๐๐๐ แห่ง
    กษัตริย์สิงหราช เจ้าเมืองทนธบุรี (ท้าวโกสีหราช หรือ อังกุศราช) ได้รับพระทันตธาตุไปบูชา จึงเป็นเหตุให้กษัตริย์แห่งอื่น ๆ ยกทัพมาหวังจะแย่งชิง พระทันตธาตุ มิได้ขาด จนสุดท้ายเมืองนี้ถูกโจมตีจากกองทัพ ๕ เมือง
    กษัตริย์สิงหราชทรงเห็นว่า ไม่สามารถรักษาพระทันตธาตุองค์นี้ไว้ได้จึงรับสั่งให้พระราชธิดา คือ พระนางเหมชาลา และพระราชโอรสนามว่า เจ้าชายทนธกุมาร ให้อัญเชิญพระทันตธาตุลงเรือไปถวาย พระเจ้ากรุงลังกา
    ระหว่างที่เดินทางเกิดพายุใหญ่ เรืออับปาง ขบวนเสด็จของพระนางและเจ้าชายถูกพัดมาขึ้นฝั่ง จึงได้ฝังพระทันตธาตุไว้ ณ ที่แห่งนั้นระหว่างอยู่ที่หาดทรายแก้ว ได้ถูกท้าวนาคา ลอบมาลักพระทันตธาตุไว้ในนาคพิภพ หรือเมืองพญานาค
    พระมหาเถรพรหมเทพได้ช่วยพระนางชิงคืนกลับมาแล้วได้นำไปถวายถึงมือเจ้ากรุงลังกา แต่พระเจ้าทศคามิมี พระจ้ากรุงลังกาได้ประทานพระทันตธาตุคืนให้พระนางทะนานหนึ่ง ส่วนหนึ่งนำกลับไปฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว แล้วเหลือกลับไปประดิษฐานคืนเมือทนธบุรีดังเดิม
    ถึงยุคพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช อพยพพลเมืองหนีโรคห่าไปถึงหาดทรายแก้ว เทพยดาแสดงปาฏิหาริย์ดลใจให้พระองค์พบสถานที่ซ่อนพระทันตธาตุ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ ด้วยอิทธิฤทธิ์หุ่นยนต์ที่ถูกผูกขึ้นไว้มารักษาพระธาตุ เป็นฝูงนกการออกมาทำร้าย
    ต่อมาได้เจ้ากากภาษา โอรสเจ้าเมืองโรมพิสัย อาสามาแก้อาถรรพณ์ให้ได้สำเร็จ แล้วสร้างพระเจดีย์ขึ้นบรรจุพระบรมธาตุ ตามตำนานกล่าวว่าพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๘๕๔ นี่คือเรื่องราวตำนานหนึ่งในหลาย ๆ ตำนานพระธาตุเจดีย์สำคัญของไทย เน้นปาฏิหาริย์ดึงศรัทธาของกลุ่มคน
    พระธาตุในยุคปัจจุบัน

    โลกที่ไม่ว่างจากพระอรหันต์ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ทำการสักการะพระพุทธรูปในสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง นอกจากจะมีพระพุทธรูปให้ได้ทำการสักการะแล้วจะมีกระดูกของครูบาอาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า พระธาตุ ให้ได้สักการะกัน
    โดยเฉพาะวัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมในสายพระป่า เช่น วัดป่าสาละวัน จังหวัดนครราชสีมา จะนำอัฐิของครูบาอาจารย์พระป่าสายวิปัสสนาที่สำคัญๆ หลาย ๆ องค์นำมาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่พุธ
    อัฐิ หรือ กระดูก ท่านทั้งหลาย ปรากฏเกิดเป็นแก้วผลึกใส ที่เรียกว่า พระธาตุ น่าอัศจรรย์พระธาตุท่านทั้งหลายเหล่านี้ ครูบาอาจารย์ในชั้นลูกศิษย์ถือได้ว่าเป็นพระธาตุที่มีค่ามาก เพราะเป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นกับครูบาอาจารย์ของท่านเอง
    เมื่อท่านได้ละสังขารไปแล้ว หลังจากกระทำพิธีสามหาบ(การเก็บกระดูก หลังจากเผาเรียบร้อยแล้ว) ลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถือจะแบ่งไปเพื่อประดิษฐานยังสำนักปฏิบัติธรรมของตน จึงถือว่าเป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นจริง มิใช่พระธาตุที่กล่าวขึ้นในตำนาน

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ต่อครับ

    พระธาตุเกิดขึ้นได้อย่างไร

    ครูบาอาจารย์ ท่านกล่าวไว้ว่า เหตุการเกิดพระธาตุเท่าที่พบเกิดขึ้นได้ ๓ เหตุ
    . เกิดจากอานิสงส์ ผลจากการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด
    . เกิดจากพระผู้มีคุณธรรมอันวิเศษ ทำให้เกิด
    . เกิดจากการอัญเชิญมาจากอากาศ
    . เกิดจากอานิสงส์การปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักปฏิบัติเท่านั้นถึงจะเข้าใจ ผลการเกิดพระธาตุในลักษณะนี้ จะเกิดจากผลการปฏิบัติตามภูมิธรรมยังภูมิของท่านนั้น ๆ มีภูมิธรรมที่บรรลุถึงจุดสูงสุด
    พระธาตุของท่านสัณฐานใสเป็นเพชร เป็นแก้ว อัญมณี ครูบาอาจารย์ที่ท่านเริ่มจากการพิจารณาว่า คนเราเกิดจากการประชุมกันหรือการร่วมกันของธาตุ มีพื้นฐานจากธาตุ ๔ และธาตุ ๖ ธาตุ ๔ หมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมกันเกิดเป็นร่างกาย ร่วมกับธาตุ ๖ เพียงแต่เพิ่มอีก ๒ ธาตุคือ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ ทำให้เกิดชีวิต
    อากาศธาตุ เหมือนกันกับเครื่องยนต์กลไก เลือดลม ที่สูบฉีดเลี้ยงร่างกาย ร่วมกับวิญญาณธาตุ หรือธาตุรู้ นี่คือการประชุมกันเพื่อให้เกิดร่างกายขึ้นมา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้เห็นในส่วนนี้นำมาพิจารณาโดยแยกกันเป็น ๒ ส่วน จิตกับกาย
    จิตมีธาตุรู้วิญญาณธาตุ อาศัยกายที่ประกอบจากธาตุ ๔ เป็นเครื่องพิจารณา จิตได้ความรู้จากกาย โดยท่านอาศัยข้อพิจารณาธรรมจากสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
    กาย ท่านพิจารณาเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของร่างกาย ยึดไว้ก็เป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เมื่อพิจารณาท่านก็ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่น
    เวทนา ท่านพิจารณาความสุข ความทุกข์ ความไม่สุข ไม่ทุกข์ (ที่ไม่ใช่อุเบกขา)
    จิต จิตของเราความรู้สึกดีชั่ว
    ธรรม กิเลส กิเลสไม่เกิดขึ้นได้ ส่วนดี ส่วนที่เสีย ก็ดับไป
    เมื่อจิตใจท่านขัดเกลา โลภะ โมหะ โทสะ หรือเรียกว่า ฟัดกับกิเลส จิตใจ สะอาดขึ้น ละเอียดขึ้นจากผิวหนังไปถึงใต้ผิวหนัง ถึงเนื้อจนถึงกระดูก ธาตุขันธ์จะสะอาดเป็นอานิสงส์ ร่างกายได้รับอานิสงส์ เริ่มสู่ความเป็นอริยบุคคล เข้าสู่ชั้นโสดาบัน
    เมื่อภูมิธรรมการปฏิบัติของท่านนั้น ๆ สูงขั้นตามธาตุขันธ์ ร่างกายยิ่งสะอาด ปฏิบัติขัดเกลาลดน้อยลงเหลือแต่สิ่งที่ดี จนถึงขั้นไกลจากกิเลสวรรณะ ความสดใสของกายเหมือนดั่งทองคำ
    เคยมีครั้งหนึ่งเป็นเรื่องที่เล่าว่า หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา ท่านกล่าวว่า หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ท่านจะมีวรรณะ ผิวพรรณที่ผ่องใส ในตามีความสุกสกาวเหมือนท้องฟ้า มีใบหน้ายิ้มแย้ม แสดงถึงความร่มเย็น ที่มาจากผลานิสงส์แห่งการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวด
    เมื่อท่านเหล่านั้นได้ละสังขารไป อัฐิของท่านอัศจรรย์เป็นพระธาตุเหมือนกับอัญมณีสดใส บางองค์อัฐิธาตุของท่านเกิดเป็นพระธาตุขึ้นเลยทันที บางองค์หลังจากนั้นไม่นาน อัฐิธาตุของท่านก็ค่อย ๆ แปรสภาพเป็นพระธาตุไปตามกาลเวลา ส่วนใหญ่ พบเห็นมากในพระวิปัสสนาจารย์สายพระป่า
    บางองค์สังขารของท่านเป็นพระธาตุ ทั้ง ๆ ที่ท่านยังไม่ได้มรณภาพไป อย่างเช่น หลวงปู่เขียว วัดหรงบน จ.นครศรีธรรมราช ท่านถอนฟันและให้ลูกศิษย์เก็บไว้ ต่อมาฟันนี้ได้เกิดเป็นพระธาตุแก้วผลึกใส
    หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ท่านเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล พยาบาลท่านหนึ่งเก็บชิ้นส่วนกระดูกอ่อนที่หลังจากผ่าตัดเอาไว้ ปรากฏว่าชิ้นกระดูกนั้นกลายเป็นผลึกแก้วใส หรือพระธาตุนั่นเอง ยังความศรัทธาอย่างสูงของชาวเชียงใหม่
    หลวงปู่เจี๊ยะ เคยได้รับฟันของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ต่อมาฟันนั้นก็กลายเป็นผลึกแก้วใสเหมือนกัน
    ฉะนั้นแล้ว เหตุที่เกิดจากอานิสงส์ ผลการปฏิบัติธรรมอันยิ่งยวดจนร่างกายเป็นพระธาตุ ส่วนใหญ่จะปรากฏขึ้นในนักปฏิบัติ แต่มิใช่หมายถึงแต่พระสงฆ์เท่านั้น ยังเกิดขึ้นกับปุถุชนคนทั่วไปได้ แต่ต้องเป็นนักปฏิบัติธรรม
    ถึงแม้เกิดเป็นผู้หญิงเองก็อาจได้รับอานิสงส์แบบนี้ เหมือนกับท่านอุบาสิกาบุญเรือน วัดอาวุธฯ บางพลัด ท่านก็สำเร็จภูมิธรรมชั้นสูง มีอัฐิกลายเป็นพระธาตุ ฉะนั้นแล้วการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาให้เกิดผลสูงสุดจึงไม่มีความเกี่ยวข้องในการแบ่งชนชั้นวรรณะ หรือเพศชายหญิงเลย
    . เกิดจากพระผู้มีคุณธรรมอันวิเศษ ทำให้เกิดพื้นฐานก็มาจากอย่างแรกต้องบรรลุภูมิธรรมชั้นสูง นอกจากสังขารของท่าน บังเกิดเป็นพระธาตุแล้ว ยังให้สิ่งอื่น ๆ เกิดเป็นพระธาตุได้จิตตานุภาพ อย่างเช่น หลวงปู่เขียน วัดหรงบน ท่านฉันภัตตาหารเกิดก้างปลาติดฟัน และท่านได้นำก้างปลาที่ติดฟันออก แล้วให้ลูกศิษย์เก็บก้างปลาไว้
    ซึ่งต่อมาก้างปลาชิ้นนี้กลายเป็นพระธาตุผลึกแก้วใส หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา ท่านชอบสร้างพระเนื้อผงสีขาว แต่ทำไมพระเครื่องท่านจึงขึ้นพระธาตุได้ พระธาตุที่ขึ้นกับพระเครื่องหลวงปู่ดู่ จะขึ้นเป็นเกล็ดใส ๆ แวววาว คล้าย ๆ ผลึกน้ำแข็ง
    ซึ่งพระของท่านก็เป็นเนื้อผงสีขาว ๆ คล้ายชอล์ก ไม่มีส่วนผสมอื่น ๆ ที่แปลกไปกว่านั้น ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ แต่พระท่านก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นพระธาตุได้
    แต่มีข้อแม้ว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของพระของท่านที่ขึ้นพระธาตุส่วนใหญ่จะเป็นนักปฏิบัติธรรม อย่างนี้ก็เป็นเรื่องของจิตตานุภาพเหมือนกัน
    เป็นเรื่องแปลกอีกอย่างหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีกายสะอาดขึ้นถึงเป็นพระธาตุ ขี้หรืออุจจาระ ท่านจะหอม หรืออุจจาระท่านจะไม่มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจเหมือนคนทั่ว ๆ ไป เพราะการบริโภคอาหารของท่าน
    เมื่อสังขารของท่านสะอาด การบริโภคอาหารผ่านร่างกายของท่านที่สะอาด ผ่องใส กากอาหารที่ผ่านร่างกายนั่นจะเป็นกากอาหารที่ไม่มีกลิ่นสกปรก น่ารังเกียจเหมือนปุถุชนคนทั่วไป อย่างเช่น หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค จ.นครสวรรค์ ขี้ท่านหอม อาจจะด้วยสังขาร อายุเกิน ๑๐๐ ปี การขบฉันจึงไม่เต็มที่เหมือนคนทั่วไป
    ๓. เกิดจากการอัญเชิญมาจากอากาศ โบราณมีความเชื่อว่าพระธาตุท่านจะเสด็จมาได้ตามอากาศ โดยท่านมาจากพระธาตุในส่วนที่ตกเรี่ยราด ผู้รักษาเกศาไว้ไม่ดี รักษาไม่สะอาด จนเขากล่าวไว้ว่าพระธาตุเมื่อรักษาดี ท่านจะเสด็จมาและเพิ่มได้ ถ้ารักษาไว้ไม่ดี ท่านก็จะค่อย ๆ หายไป
    เรื่องนี้มีข้อพิสูจน์ได้จากหลาย ๆ ท่านได้พิสูจน์มาแล้วว่า พระธาตุเสด็จมาเองโดยผู้ที่ศรัทธา ผู้นั้นเตรียมอัญเชิญพระธาตุ โดยวิธีการเตรียมผอบ ปูด้วยผ้าขาว ดอกไม้หอม ตั้งไว้ในที่สะอาด สวดมนต์ ภาวนาอัญเชิญพระธาตุด้วยบท อิติปิโสเรือนเตี้ย
    ถือศีลภาวนาแล้วพระธาตุจะเสด็จมาเอง แต่ทั้งนี้ผู้นั้นต้องศรัทธาอย่างแน่วแน่และแท้จริง เรื่องนี้ได้มีการพิสูจน์มาแล้ว สมัยหลวงปู่ลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ท่านได้อัญเชิญโดยวิธีนี้
    ปรากฏว่าอัญเชิญอาราธนาสำเร็จ พระธาตุเสด็จมาได้จริง ๆ ท่านจึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ เพื่อประดิษฐานพระธาตุองค์นี้ ให้ได้สักการะดังที่เห็นในปัจจุบัน
    ชาวพุทธนับถือพระธาตุสูงสุด สร้างเจดีย์ก็จะบรรจุพระธาตุไว้บนยอด นิยมนำของที่มีค่าและวิจิตรอลังการ ถวายเป็นเครื่องบูชา ดั่งที่ดู ได้จากพิพิธภัณฑ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดแสดงสิ่งของที่นำมาบูชาพระบรมธาตุ ตั้งแต่ครั้งในอดีต
    อาทิ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง มงคลวัตถุ และเครื่องรางของขลัง เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องประดับอันมีค่า ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ เครื่องเงิน เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องถม ตลอดจนสิ่งของที่แปลกผิดธรรมชาติ ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของบรรพชนได้อย่างดี
    ถึงแม้ในปัจจุบันการบูชาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย แทนที่จะสรรหาหรือจัดทำสิ่งของนำมาถวายมักใช้ถวายด้วยเงินบำรุงแทนดูไม่ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต
    ตามความเชื่อที่ว่า พระธาตุ หมายถึงสิ่งแทนความศักดิ์สิทธิ์อันสูงสุด แม้บรรจุไว้ในเจดีย์ยังต้องไว้ที่บนยอดสุด จึงไม่มีใครนิยมนำติดตัวไว้เหมือนพระเครื่อง เพราะคนเราอาจจะเข้าไปในสถานที่ที่สกปรก ที่ไม่สมควร หรือที่อโคจร จะเกิดกรรมแก่ทั้งตัวเองและผู้อื่น
    เช่น ใส่พระธาตุไปลอดราวผ้า หรือไปลอดในสถานที่ ที่มีผู้อื่นอยู่สูงกว่า เท่ากับว่าเรานำพระธาตุไปลอดใต้สถานที่นั้น ๆ นอกจากเกิดกรรมแก่เราแล้ว บุคคลอื่น ๆ ที่อยู่สูงกว่า พาต้องรับกรรมไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คือเรื่องของความเชื่อใน "พระธาตุ" มาแต่โบราณ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ต่อครับ

    อนาคตของพระบรมธาตุ

    เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไปจนถึง พ.ศ. ๕๐๐๐ พระบรมธาตุทั้งหลายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดียฐาน ณ เกาะลังกา และดำรงคงอยู่ตลอด เพื่อจะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคล ด้วยการกระทำพิธีสักการบูชาพระคุณพระองค์ท่านก่อนพระพุทธศาสนาใกล้จะสูญสิ้นไป
    ครั้นถึง พ.ศ.๔๙๙๙ และล่วงได้ ๑๑ เดือน กับ ๒๒ วัน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ เป็นเวลาคิมหันต์ฤดู ปีชวด นักษัตรอัฐศก เวลารุ่งอรุณ พระบรมธาตุทุกพระองค์จะเสด็จไปยังสถานที่ประชุมทันที แล้วทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์
    ด้วยพุทธฤทธิ์อันวิเศษ บังเกิดเป็นพระพุทธนิเวศน์ และพระวรกายสูง ๑๘ ศอก เปล่งรัศมีอก ๖ ประการ มีพระบวรสัณฐานงดงามยิ่งนัก ดวงพระพักตร์ผุดผ่อง ดังสีสุวรรณ พระรูปองค์เสด็จขึ้นประทับบนบัลลังก์ในควงต้นพระศรีมหาโพธิ์
    ทรงพระสมาธิและกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรด สัตว์ คนธรรพ์ เทวดา ฤาษี กินนร นาคราช ทั้งอสูรพร้อมหน้านั่งแน่นเหนือแผ่นดิน พระองค์ตรัสพระธรรมเทศนา โปรดสัตว์อยู่ ๗ วัน มีผู้ฟังในครั้งนั้นถึงสี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิ แล้วพระเพลิงก็พวยพุ่งขึ้นเผาพลาญพระรูปองค์ให้หมดสิ้นไป ในวันพุทธ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวด นักษัตร อัฐศก พระพุทธศาสนาก็สิ้นสุดลงเพียง ๕๐๐๐ ปีเต็ม...
    พระบรมสารีริกธาตุ

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสด็จสู่พระปรินิพพานแล้ว มีพระพุทธสรีธาตุเหลืออยู่ ๗ องค์ คือ
    . พระรากขวัญ (ไหปลาร้า)๒ องค์ คือ
    - พระรากขวัญเบื้องซ้าย ๑ องค์
    - พระรากขวัญเบื้องขวา ๑ องค์
    . พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทันตธาตุ ๔ องค์ คือ
    - พระเขี้ยวแก้วซ้ายบน ๑ องค์ ล่าง ๑ องค์
    - พระเขี้ยวแก้วขวาบน ๑ องค์ ล่าง ๑ องค์
    . พระอุณหิส หรือ พระนลาฏอุณหิส ๑ องค์
    พระพุทธสรีรธาตุ ทั้ง ๗ องค์นี้ คงสภาพเดิมเมื่อพระเพลิงเผาก็ไม่เปลี่ยนแปลง และได้ถูกอัญเชิญเสด็จไปประดิษฐาน เพื่อเป็นที่สักการบูชาของเทพยดา และมนุษย์ในที่ต่าง ๆ กัน คือ
    . พระรากขวัญเบื้องซ้าย ประดิษฐานอยู่ ณ เทวโลก
    . พระรากขวัญเบื้องขวา และ
    . พระอุณหิส ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองอนุราชสิงหฬ
    . พระเขี้ยวแก้วซ้ายบน ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราช
    . พระเขี้ยวแก้วซ้ายล่าง ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองนาคพิภพ
    . พระเขี้ยวแก้วขวาบน ประดิษฐานอยู่ ณ ดาวดึงส์เทวโลก
    . พระเขี้ยวแก้วขวาล่าง ประดิษฐานอยู่ ณ เกาะลังกาสิงหฬ
    พระบรมสารีริกธาตุ
    เมื่ออัฐิน้อยใหญ่ ทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เว้นพระสรีรธาตุทั้ง ๗ องค์ ถูกพระเพลิงเผาไหม้ได้แหลกละเอียดลงเหลือเป็น พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งตักตวงได้ ๑๖ ทะนาน มี ๓ ขนาด คือ
    . ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีจำนวน ๖ ทะนาน มีวรรณะดังสีดอกพิกุล
    . ขนาดกลาง เท่าเมล็ดข้าวสารหัก มีจำนวน ๕ ทะนาน มีวรรณะดังสีแก้วผลึก
    . ขนาดใหญ่ เท่าเมล็ดถั่วหัก มีจำนวน ๕ ทะนาน มีวรรณะดังสีทองอุไร
    พระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๑๖ ทะนานนี้ ประดิษฐานอยู่บนพื้นพิภพที่มีอยู่มาก ๘ แห่งคือ
    . เมืองราชคฤห์
    . เมืองเวสาลี
    . เมืองกบิลพัสดุ์
    . เมืองอัลปัปปะบุรี
    . บ้านพรหมณนิคม
    . เมืองเทวทหะราฐ
    . เมืองปาวาขะบุรี
    . เมืองนครกุสินารา
    นอกจากพระพุทธสรีรธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุที่กล่าวแล้ว ยังมีพระเกศา โลมา นขา ทันตา ทั้งหลายของพระองค์ท่านเรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล
    กำเนิดพระธาตุ

    เมื่อได้ทราบถึงประวัติตั้งแต่ต้นของพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ากันแล้ว ต่อไปน่าจะกล่าวถึงพระอรหันตธาตุ หรือพระธาตุพระสาวกของพระพุทธองค์ เมื่อถึงซึ่งพระปรินิพพานไปแล้วมีอยู่ ๘๐ องค์
    เรียกว่า พระอสีติมหาสาวก ตามตำนาน พระอัฐิธาตุหรือพระธาตุอรหันต์มีเหลืออยู่ และประดิษฐานในที่ต่างกัน เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการบูชาแก่เทพยดาและมนุษย์ ตามความเชื่อพระธาตุของพระอรหันต์แต่ละองค์จะมีสัณฐานและวรรณแตกต่างกัน
    พระธาตุพระสารีบุตร สัณฐาน กลม รี เป็นไข่จิ้งจก เป็นดังรูปบาตรคว่ำ
    วรรณะ ขาวดังสีสังข์ เหลืองดังหวายตะค้า สีดอกพิกุลแห้ง
    พระธาตุพระโมคคัลลานะ สัณฐาน กลม รี เป็นผลมะตูม รีเป็นเมล็ดทองหลาง รีเป็นเมล็ดข้าวสาร
    วรรณะ ดำ ขาว เหลือง ดังหวายตะค้า
    พระธาตุพระสีวลี สัณฐาน เป็นดังเมล็ดในพุทรา เป็นดังผลยอป่า เป็นดังเมล็ดมะละกอ
    วรรณะ เขียวดังดอกผักตบ แดงดังสีหม้อใหม่ เหลืองดังหวายตะค้า ขาวดังสีสังข์ สีดอกพิกุลแห้ง
    พระธาตุพระองคุลิมาละ สัณฐาน คอดดังคอสากที่มีรูปโปร่ง ตลอดเส้นผลลอดได้ก็มี
    วรรณะ ขาวดังสีสังข์ เหลืองดังดอกจำปา สีฟ้าหมอก
    พระธาตุพระอัญญาโกณฑัญญะ สัณฐาน งอนช้อยดังงาช้าง
    วรรณะ ขาวดังดอกมะลิตูม เหลือง ดำ
    ที่กล่าวมาทั้ง ๕ องค์ใน ๘๐ องค์ ตำนานได้กล่าวแยกแยะจากสัณฐานและวรรณะขององค์พระธาตุโดยแตกต่างจากพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีสัณฐานคล้ายเมล็ดข้าวสารหัก วรรณะดังสีแก้วผลึก แตกต่างจากพระอรหันตธาตุ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่ตำนานได้กล่าวไว้
    ท่านทั้งหลายที่เคยไปสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามวัดวาอารามต่าง ๆ หลายแห่ง จะกล่าวถึงสถานที่นี้ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุให้ท่านได้สักการบูชา ถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไรว่า พระบรมสารีริกธาตุนั้น เป็นพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    อาศัยโบราณจารย์ท่านอุปมาตามสัณฐานและวรรณะที่ตำนานได้กล่าวไว้ ถ้าต้องตามลักษณะสัณฐานและวรรณะ จึงยึดถือพระบรมสารีริกธาตุตามความเชื่อนั้น
    ----------------------------------------------------------------------------------
    อั๋น พระรามแปด
    หนังสืออ้างอิง
    คงเดช ประพัฒน์ทอง,โบราณคดีประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ
    : กรมศิลปากร ๒๕๒๙ สำนักพิมพ์สารคดี, นครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ :๒๕๓๗
    พล.อ.จ.สดับ ธีระบุตร, พระบรมธาตุพระธาตุอรหันตสาวก. กรุงเทพฯ:๒๕๐๑
    --------------------------------------
    คัดลอกจาก: ภควา ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖
    ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗

    [​IMG]
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    โพสท์ในกระทู้ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิโดย พี่เณร...นำมาฝาก [7 ก.พ. 2548]
    การตั้งนโม เป็นกิจกรรมเบื้องต้นของผู้นับถือพระพุทธศาสนา ผู้จะบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ต้องเปล่งวาจาว่า นโม ก่อน แล้วจึงจะทำกิจนั้นๆ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ เมื่อจะทำกิจสังฆกรรมต่างๆ เช่น บรรพชาอุปสมบท หรือเริ่มการสักการบูชา ก็กล่าวคำนมัสการว่า “นโม” ก่อน แล้วจึงจะทำกิจนั้นๆ
    คำว่า“นโม” แต่เดิมเป็นคำอุทาน คือเปล่งวาจาออกมาด้วยความเลื่อมใสเบิกบานใจในพระคุณมีพระพุทธาทิรัตน์ เป็นต้น หรือบางทีผู้นั้นมีความเลื่อมใสจับใจอยู่แล้ว มีเหตุมากระทบทำให้ตกใจ จึงได้อุทานว่า “นโม” เป็นต้น
    ได้พบที่มาในพระบาลี ๔ แห่ง คือ ในสักกปัณหสูตร ธรรมเจตียสูตร พรหมายุสูตร และ ธนัญชานีสูตร
    ในสักกปัณหสูตร เล่าว่า ครั้งหนึ่งพระศาสดาประทับอยู่ ณ อินทศาลคูหา ภูเขาเวทยิกบรรพต ท้าวสักกะพร้อมด้วยเทวบริพาร เสด็จมาเฝ้าทูลถามปัญหา พระศาสดาทรงชี้แจงให้ท้าวเธอสิ้นสงสัย ท้าวสักกะมีพระทัยโสมนัสยินดียิ่ง ทรงเปล่งพระอุทานว่า“นโม” เป็นต้น
    ในธรรมเจตียสูตร เล่าว่า ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวธรรมเจติยปริยาย แสดงความเลื่อมใส จบแล้วทรงเปล่งอุทานว่า “นโม” เป็นต้น
    ในพรหมายุสูตร เล่าว่า อาจารย์ใหญ่ของพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อ พรหมายุ เป็นผู้มีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี อยู่ ณ เมืองมิถิลานคร ได้ฟังกิตติศัพท์สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงได้ส่งมาณพคนหนึ่งชื่อ อุตรมาณพ เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ ไปสืบความดูให้รู้แน่ว่าพระองค์จะทรงพระคุณเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงดังคำเล่าลือหรือไม่ อุตรมาณพไปเฝ้าพิจารณาดูมหาบุรุษลักษณะในพระกาย เห็นครบถ้วนตามตำราในลักษณมนต์ แต่ยังเฝ้าสะกดรอยดูพระอิริยาบถอยู่อีก ๗ เดือน จึงกลับไปบอกเล่าให้อาจารย์พรหมายุฟัง
    เมื่อพรหมายุได้ฟังแล้ว เกิดความเลื่อมใส ลุกจากอาสนะทำผ้าห่มเฉียงบ่า ยกมืออัญชลีประณม ผันหน้าสู่ทิศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ เปล่งอุทานว่า “นโม” เป็นต้น ด้วยความเลื่อมใส
    ในธนัญชานีสูตร เล่าว่า นางธนัญชานีพราหมณี เป็นพระโสดาบันอริยสาวิกา พราหมณ์ผู้เป็นสามีขอให้งดคำว่านโม ในวันเลี้ยงพวกพราหมณ์ แต่ในขณะที่นางยกภาชนะใส่ปายาสพลัดมือตกลง นางก็อุทานด้วยความตกใจว่า “นโม ตสฺส” ทำให้พราหมณ์ผู้เป็นสามีโกรธเคืองมาก
    ส่วนที่ว่า ใครจะเป็นผู้กล่าว“นโม”ขึ้นก่อนนั้น ยืนยันไม่ได้ เพราะในพระสูตรไม่ได้ระบุไว้แน่ชัด เพียงแต่อ้างว่า ครั้งหนึ่ง สมัยหนึ่ง เท่านั้น
    นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า เด็กคนหนึ่งในแคว้นมคธไปหลงทางในป่า เวลากลางคืนต้องนอนที่โคนไม้ ครั้นเวลาดึก มีอนุษย์ตนหนึ่งผ่านมาทางนั้น เห็นเด็กกำลังนอนหลับอยู่ ก็ตรงเข้าดึงขาเพื่อจะกินเป็นอาหาร เด็กตื่นขึ้นตกใจ ร้องว่า “นโม ตสฺส” พออมุษย์ได้ยินดังนั้น ก็ตกใจปล่อยเด็ก แล้วรีบหนีไป นี้เป็นเรื่องเล่าในชั้นอรรถกถา หลังจากพระบาลี ๔ พระสูตรที่กล่าวข้างต้น
    อีกตำราหนึ่งกล่าวว่า
    (ฎีกา นโม)
    นโม สาตาคิรี ยกฺโข ตสฺส จ อสุรินฺทโก
    ภควโต มหาราชา สกฺโก อรหโต ตถา
    สมฺพุทฺธสฺส มหาพฺรหฺมา เอเต ปญฺจ นมสฺสเร
    แปลว่า...
    สาตาคีรียักษ์กล่าวว่า “นโม”
    อสุรินทราหูว่า “ตสฺส”
    ท้าวจตุมหาราชว่า “ภควโต”
    ท้าวสักกะว่า “อรหโต”
    และท้าวมหาพรหมว่า “สมฺพุทฺธสฺส”
    ท่านทั้ง ๕ นี้ ได้กล่าวถวายบังคม สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ เนื้อความของ “นโม” นั้นว่า...

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ตำรานี้ว่าท่านทั้ง ๕ ได้กล่าว นโม เป็นหนแรกใน โลก แต่เมื่อคำนึงว่า หนังสือประเภทฎีกานั้นมีอายุภายหลังพระบาลีมาก ก็ทำให้ฟังเอาเป็นแน่ไม่ได้
    มีเรื่องเล่ากันมาว่า ครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดให้ขอแรงพระเถรานุเถระให้ค้นหาพุทธวจนะที่แปลก เป็นข้อสอนเตือนสติผู้ได้พบเห็น เป็นข้อความสั้นๆเพื่อให้จดจำง่าย นัยว่าจะโปรดให้คัดติดไว้ในที่ต่างๆในบริเวณพระราชฐาน
    สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม ก็ได้รับอาราธนาด้วย ท่านเขียนคำว่า “นโม” ใส่กระดาษส่งเข้าไปถวาย พร้อมทั้งถวายพระพรว่า ธรรมะสูงๆและลึกซึ้ง พระเถรานุเถระที่เป็นพระธรรมกถึก มีความรู้ดี แตกฉานในพระสุตตันตปิฎก คงจะคัดส่งเข้ามาถวายหมดแล้ว เหลือแต่ “นโม” คำนี้ไม่มีใครนึกถึง ...เรื่องที่เล่ามาเป็นทำนองนี้
    อย่างไรก็ดี ใครจะกล่าวก่อนหรือกล่าวทีหลัง ก็ไม่น่าจะถือเป็นข้อกังวล ใครๆก็ว่า“นโม”กันทั้งนั้น จนกลายเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ควรประมาท พิธีการที่ต้องการความศักดิ์สิทธิ์ นิยมว่าต้องสวดนโม ๘ บท ที่เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นอกจากนั้น เกจิอาจารย์ในทางเครื่องรางของขลัง ได้จัดทำแหวนชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า “แหวนนโม” นัยว่าเมื่อสวมแหวนนโมประจำอยู่แล้ว สามารถป้องกันอันตรายได้ดี เป็นที่นิยมเชื่อถือกันอยู่
    อนึ่ง ในสมัยก่อน มีคาถาอยู่บทหนึ่ง เป็นคาถาสำหรับว่าเวลาลงอาบน้ำในแม่น้ำ(สมัยนั้นห้องน้ำยังไม่มีใครรู้จัก) คาถานั้นยึด นโม เป็นหลัก เช่นว่า
    “นโม นมัตถ์ ขจัดออกไป สัตว์ร้ายอย่าใกล้กายามณฑล”
    ทำนองนี้ นัยว่าเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายในแม่น้ำลำคลอง เช่น จระเข้ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ คำ “นโม” จึงกลายเป็นคำบอกความเคารพความเลื่อมใส หรือเป็นคำนมัสการ เป็นคำที่มีอำนาจ มีตบะเดชะ เป็นเครื่องช่วยกำลังใจได้อย่างดีในเวลาเผชิญอันตราย
    ส่วนคำอุทานในเวลาตกใจเสียใจ หรือปลงธรรมสังเวช ใช้เอ่ยนามพระพุทธเจ้าโดยตรงทีเดียว เช่นที่ว่า “พุทโธ่ๆ” บางทีก็ว่า “อพิโธ่” บางทีก็ว่า“ปั๊ดโธ่” หรือ “ปู้โธ่” บางรายก็ว่า “พิโธ่ พิถัง” อะไรเหล่านี้ ก็น่าจะเลอะ เลือนมาจากคำว่า “พุทฺโธ พุทฺธํ” (พุทโธ พุทธัง) ทั้งนั้น
    ที่มา : หนังสือ ภาษาวัด

    [​IMG]
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="นโม";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://hits.truehits.in.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  15. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    ประโยชน์ของการคบมิตร

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    [FONT=ms Sans Serif,]<DD><DD>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภมิตรของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสว่า " ธรรมดามิตร จะเป็นคนเล็กน้อยไม่มี ผู้สามารถรักษามิตรไว้ได้เป็นสิ่งประเสริฐ มิตรผู้เสมอกัน ต่ำกว่ากัน หรือสูงกว่ากันควรคบไว้ เพราะมิตรเหล่านั้น ย่อมช่วยแบ่งเบาภาระของเราได้ทั้งนั้น " แล้วนำอดีตนิทานมาสาธกว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นเทวดาอยู่ที่กอหญ้าคาในพระราชอุทยาน เป็นมิตรกับเทวราชผู้ศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง ผู้อาศัยที่ต้นไม้มงคลของพระราชาอยู่ในพระราชอุทยานนั้นด้วย ครั้งนั้น พระราชาประทับอยู่ในปราสาทเสาเดียว เสาของปราสาทนั้นสั่นไหวขึ้น พระองค์จึงรับสั่งให้พวกช่างไม้หาไม้แก่น มาเปลี่ยนเสาปราสาทใหม่ พวกช่างไม้เสาะแสวงหาไม้แก่นในพระราชอุทยาน ตกลงกันจะเอาต้นไม้มงคลนั้นทำเป็นเสาปราสาท จึงกราบทูลพระราชา พระองค์จึงอนุญาตให้ตัดได้

    วันนั้น พวกนายช่างได้ไปทำพลีกรรมต้นไม้มงคล และกำหนดตัดในวันพรุ่งนี้ ฝ่ายเทวราช พอทราบว่าต้นไม้ที่อยู่อาศัยจะถูกตัด ไม่เห็นที่จะไป จึงกอดคอลูกน้อยร้องไห้อยู่ หมู่รุกขเทวดาทราบเรื่องแล้ว ก็ไม่มีใครจะช่วยแก้ปัญหาได้ เทวดาพระโพธิสัตว์ทราบเรื่อง จึงพูดปลอบเทวราชผู้สหายนั้นว่า " พรุ่งนี้เราจะไม่ให้ตัดต้นไม้นั้น พวกเราคอยดูเราเถิด "
    </DD>

    [FONT=ms Sans Serif,]ครั้นรุ่งขึ้น พอพวกช่างไม้มาถึง ท่านก็แปลงตัวเป็นกิ่งก่าวิ่งนำหน้าพวกช่างไม้ไป มุดเข้าที่โคนต้นไม้มงคลไปโผล่ออกทางยอดไม้นอนผงกหัวอยู่ ทำประหนึ่งว่าต้นไม้นั้นเป็นโพรง

    นายช่างไม้เห็นเช่นนั้นแล้ว ก็เอามือตบต้นไม้นั้นแล้วตำหนิว่า " ต้นไม้นี้ มีโพรง ไร้แก่น เมื่อวานไม่ทันได้ตรวจดูถ้วนถี่ หลงทำพลีกรรมกันเสียแล้ว " ก็พากันหนีกลับไป

    เทวราชพอเห็นวิมานของตนไม่ถูกทำลาย ก็ยกย่องพระโพธิสัตว์ ท่ามกลางหมู่รุกขเทวดา ด้วยคาถาว่า

    <DD></DD>
    " บุคคลผู้เสมอกัน ประเสริฐกว่ากันหรือเลวกว่ากัน ก็ควรคบกันไว้ เพราะมิตรเหล่านั้น เมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น ก็พึงทำประโยชน์อันอุดมให้ได้ เหมือนเราผู้เป็นเทวดาสถิตอยู่ที่ต้นรุจา กับเทวดาผู้สถิตที่กอหญ้าคาคบกัน "

    เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า... ผู้คนควรมีมิตรทุกชั้นวรรณะ เมื่อคราวลำบากจะมีผู้ช่วยเหลือ


    <CENTER>[​IMG] </CENTER>

    โดย เทพธรรม..นำมาฝาก
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  16. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    ช็อตเด็ด จากงาน บุญคุณแผ่นดิน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.4 KB
      เปิดดู:
      21
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133.1 KB
      เปิดดู:
      21
    • ransan.jpg
      ransan.jpg
      ขนาดไฟล์:
      243.9 KB
      เปิดดู:
      19
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    การปฎิบัติวิปัสนากรรมฐาน

    http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-meditation.html#1


    <!-- InstanceBeginEditable name="content" --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "เกิดเป็นคนต้องช่วยตนเสียก่อน แล้วกลับย้อนช่วยคนอื่นจึงจะได้
    ต้องรู้จักฝึกหัดทั้งกายใจ จึงค่อยไปแนะคนอื่นให้ทำตาม"​

    [​IMG]วิปัสสนากรรมฐานคืออะไร
    วิปัสสนากรรมฐาน เป็นเรื่องของการศึกษาชีวิตเพื่อจะปลดเปลื้องความทุกข์นานาประการ ออกเสียจากชีวิต เป็นเรื่องของการค้นหาความจริงว่า ชีวิตมันคืออะไรกันแน่ ปกติเราปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามความเคยชินของมัน ปีแล้วปีเล่า มันมีแต่ความมืดบอด
    วิปัสสนากรรมฐาน เป็นเรื่องของการตีปัญหาซับซ้อนของชีวิต เป็นเรื่องของการค้นหาความจริงของชีวิตตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำมา
    วิปัสสนาฯ เป็นการเริ่มต้นในการปลดเปลื้องตัวเราให้พ้นจากความเป็นทางของความเคยชิน
    ในตัวเรานั้น เรามีของดีที่มีคุณค่าอยู่แล้ว คือ สติสัมปชัญญะ แต่เรานำออกมาใช้น้อยนัก ทั้งที่เป็นของมีคุณค่าแก่ชีวิตหาประมาณมิได้ วิปัสสนาฯ เป็นการระดมเอาสติทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวเรา เอาออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์
    วิปัสสนากรรมฐาน คือการอัญเชิญ สติ ที่ถูกทอดทิ้งขึ้นมานั่งบัลลังก์ของชีวิต เมื่อสติขึ้นมานั่งสู่บัลลังก์แล้ว จิตก็จะคลานเข้ามาหมอบถวายบังคมอยู่เบื้องหน้าสติ สติจะควบคุมจิตมิให้แส่ออกไปคบหาอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอก ในที่สุดจิตก็จะค่อยคุ้นเคยกับการสงบอยู่กับอารมณ์เดียว เมื่อจิตสงบตั้งมั่นดีแล้ว การรู้ตามความจริงก็เป็นผลตามมา เมื่อนั้นแหละเราก็จะทราบได้ว่าความทุกข์มันมาจากไหน เราจะสกัดกั้นมันได้อย่างไร นั่นแหละผลงานของ สติ ละ
    ภายหลังจากได้ทุ่มเทสติสัมปชัญญะลงไปอย่างเต็มที่แล้ว จิตใจของผู้ปฏิบัติก็จะได้สัมผัสกับสัจจะแห่งสภาวธรรมต่าง ๆ อันผู้ปฏิบัติไม่เคยเห็นอย่างซึ้งใจมาก่อน ผลงานอันมีค่าล้ำเลิศของสติสัมปชัญญะ จะทำให้เราเห็นอย่างแจ้งชัดว่า ความทุกข์ร้อนนานาประการนั้น มันไหลเข้ามาสู่ชีวิตของเราทางช่องทวาร ๖ ช่องทวาร นั้นเป็นที่ต่อและบ่อเกิดสิ่งเหล่านี้คือ ขันธ์ ๕ จิต กิเลส
    ช่องทวาร ๖ นี้ ทางพระพุทธศาสนาท่านเรียกว่า อายตนะ อายตนะมีภายใน ๖ ภายนอก ๖ ดังนี้ อายตนะภายในมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอกมี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (กายถูกต้องสัมผัส) ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดจากใจ) รวม ๑๒ อย่างนี้ มีหน้าที่ต่อกันแบบ คู่ คู่ คือ ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับการสัมผัสถูกต้อง ใจคู่กับอารมณ์ที่เกิดจากใจ เมื่ออายตนะคู่ใดคู่หนึ่ง ต่อถึงกันเข้า จิตก็จะเกิดขึ้น ณ ที่นั้นเองและจะดับไป ณ ที่นั้นทันที จึงเห็นไดว่า จิตไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน การที่เราเห็นว่าจิตเป็นตัวตนนั้น ก็เพราะว่าการเกิดดับของจิตรวดเร็วมาก การเกิดดับของจิต เป็นสันตติคือ เกิดดับต่อเนื่องไม่ขาดสาย เราจึงไม่มีทางทราบได้ถึงความไม่มีตัวตนของจิต ต่อเมื่อเราทำการกำหนด รูป นาม เป็นอารมณ์ตามระบบวิปัสสนากรรมฐาน ทำการสำรวม สติสัมปชัญญะอย่างมั่นคง จนจิตตั้งมั่นดีแล้ว เราจึงจะรู้เห็นการเกิด ดับ ของจิต รวมทั้งสภาวธรรมต่าง ๆ ตามความเป็นจริง
    การที่จิตเกิดทางอายตนะต่าง ๆ นั้นมันเป็นการทำงานร่วมกันของขันธ์ ๕ เช่น ตากระทบรูป เจตสิกต่าง ๆ ก็เกิดตามมาพร้อมกันคือ เวทนา เสวยอารมณ์ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สัญญา จำได้ว่ารูปอะไร สังขาร ทำหน้าที่ปรุงแต่ง วิญญาณ รู้ว่ารูปนี้ ดี ไม่ดี หรือเฉย ๆ ขาดสติกำหนดเป็นโมหะ อันนี้เองจะบันดาลให้อกุศลกรรมต่าง ๆ เกิดติดตามมา อันความประพฤติชั่วร้ายต่าง ๆ ก็จะเกิด ณ ตรงนี้เอง
    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับจิตตามช่องทวารทั้ง ๖ เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าติดต่ออายตนะทั้ง ๖ คู่นั้นไม่ให้ติดต่อกันได้โดยจะเห็นตามความเป็นจริงว่า เมื่อตากระทบรูปก็จะเห็นว่า สักแต่ว่าเป็นแค่รูปไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน บุคคลเราเข้าไม่ทำให้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความพอใจหรือไม่ พอใจเกิดขึ้น รูปก็จะดับลงอยู่ ณ ตรงนั้นเอง ไม่ให้ไหลเข้ามาสู่ภายในจิตใจได้ อกุศลกรรมทั้งหลายก็จะไม่ตามเข้ามา
    สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น นอกจากจะคอยสกัดกั้นกิเลสไม่ให้เข้ามาทางอายตนะแล้วยังเพ่งเล็งอยู่ที่รูปกับนาม เมื่อเพ่งอยู่ก็จะเห็นความเกิดดับของรูปนาม นั้นจักนำไปสู่การเห็นพระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตนของสังขารหรืออัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง
    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะมีผลน้อยมากเพียงใด อยู่ที่หลักใหญ่ ๓ ประการ
    ๑. อาตาปี ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
    ๒. สติมา มีสติ
    ๓. สัมปชาโนมีสัมปชัญญะอยู่กับรูปนามตลอดเวลาเป็นหลักสำคัญ
    นอกจากนั้นผู้ปฏิบัติต้องมีศรัทธา ความเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้มีผลจริง ความมีศรัทธาความเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้มีผลจริง ความมีศรัทธานี้ เปรียบประดุจเมล็ดพืชที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะงอกงามได้ทันทีที่นำไปปลูก ความเพียร ประดุจน้ำที่พรมลงไปที่เมล็ดพืชนั้นเมื่อ เมล็ดพืชให้น้ำพรมลงไป ก็จะงอกงามสมบูรณ์ขึ้นทันที เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจะได้ผลมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ด้วย
    การปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติจะต้องเปรียบเทียบดู จิตใจของเราในระหว่าง ๒ วาระ ว่า ก่อนที่ยังไม่ปฏิบัติและหลังการปฏิบัติแล้ว วิเคราะห์ตัวเองว่ามีความแตกต่างกันประการใด
    หมายเหตุ เรื่องของวิปัสสนากรรมฐานที่เขียนขึ้นดังต่อไปนี้ จะยึดถือเป็นตำราไม่ได้ ผู้เขียนเขียนขึ้น เป็นแนวปฏิบัติเท่านั้น โดยพยายามเขียนให้ง่ายแก่การศึกษา และปฏิบัติมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เท่านั้นเอง
    วิปัสสนากรรมฐานธุระในพระศาสนามี ๒ อย่างคือ
    ๑. คันถธุระ
    ๒. วิปัสสนาธุระ
    คันถธุระ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนให้รู้เรื่องพระศาสนา และหลักศีลธรรม
    วิปัสสนาธุระ ได้แก่ธุระหรืองานอย่างสูงในพระศาสนา ซึ่งเป็นงานที่จะช่วยให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนาได้รู้จักดับทุกข์ หรือเปลื้องทุกข์ออกจากตนได้มากน้อยตามควรแก่การปฏิบัติ ทางนี้ทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้คนพ้นทุกข์ตั้งแต่ทุกข์เล็กจนถึงทุกข์ใหญ่ เช่น การเกิด แก่ เจ็บตาย และเป็นทางปฏิบัติที่มีอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
    วิปัสสนาธุระ คือ ส่วนมากเราเรียกกันว่า วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เมื่อกล่าวถึงกรรมฐานขอให้ผู้ปฏิบัติแยกกรรมฐานออกเป็น ๒ ประเภทเสียก่อนการปฏิบัติจึงจะไม่ปะปนกัน กรรมฐานมี ๒ ประเภทคือ
    • สมถกรรมฐาน กรรมฐานชนิดนี้เป็นอุบายให้ใจสงบคือ ใจที่อบรมในทางสมถะแล้วจะเกิดนิ่ง และเกาะอยู่กับอารมณ์หนึ่งเพียงอย่างเดียว อารมณ์ของสมถะกรรมฐานนั้น แบ่งออกเป็น ๔๐ กอง คือ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุวัฏฐาน ๑ อรูปธรรม ๔
    • วิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายให้เรืองปัญญา คือ เกิดปัญญาเห็นแจ้งหมายความว่า เห็นปัจจุบัน เห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ และเห็น มรรค ผล นิพพาน
    การเรียนรู้วิปัสสนากรรมฐานนั้นเรียนได้ ๒ อย่างคือ ๑. เรียนอันดับ ๒. เรียนสันโดษ
    การเรียนอันดับ คือ การเรียนให้รู้จัก ขันธ์ ๕ ว่าได้แก่อะไรบ้าง ย่อให้สั้นในทางปฏิบัติ เหลือเท่าใด ได้แก่อะไร เกิดที่ไหน เกิดเมื่อไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วอะไรจะเกิดตามมาอีก จะกำหนดตรงไหนจึงจะถูกขันธ์ ๕ เมื่อกำหนดถูกแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง เป็นต้น นอกจากนี้ก็ต้องเรียนให้รู้เรื่องใน อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยละเอียดเสียก่อน เรียกว่า เรียนภาคปริยัติ วิปัสสนาภูมินั่นเอง แล้วจึงจะลงมือปฏิบัติได้
    การเรียนสันโดษ คือ การเรียนย่อ ๆ สั้น ๆ สอนเฉพาะที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น เรียนชั่วโมงนี้ก็ปฏิบัติชั่วโมงนี้เลย เช่น สอนการเดินจงกรม สอนวิธีนั่ง กำหนด สอนวิธีกำหนดเวทนา สอนวิธีกำหนดจิต แล้วลงมือปฏิบัติเลย
    หลักใหญ่ในการปฏิบัติวิปัสสนาฯ มีหลักอยู่ ๓ ประการ คือ
    • อาตาปี ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
    • สติมา มีสติ คือระลึกอยู่เสมอว่าขณะนี้เราทำอะไร
    • สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ คือขณะนี้ทำอะไรอยู่นั้นต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    การปฎิบัติวิปัสนากรรมฐาน (ต่อครับ)

    http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-meditation.html#1

    [​IMG]สติปัฏฐาน ๔
    มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า เราจะปฏิบัติธรรมในแนวไหน หรือสำนักใด จึงจะเป็นการถูกต้องและได้ผล คำถามเช่นนี้เป็นคำถามที่ถูกต้องและไม่ควรถูกตำหนิว่าชอบเลือกนั่นเลือกนี่ ที่ถามก็เพื่อระวังไว้ไม่ให้เดินทางผิด ทางปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ ปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔
    สติปัฏฐาน ๔ แปลให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ฐานที่ตั้งของสติ หรือ เหตุปัจจัยสำหรับปลูกสติให้เกิดขึ้นในฐานทั้ง ๔ คือ
    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณากาย จำแนกโดยละเอียดมี ๑๔ อย่างคือ
    • อัสสาสะปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก
    • อิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
    • อิริยาบถย่อย การก้าวไปข้างหน้า ถอยไปทางหลัง คู้ขาเหยียดขาออก งอแขนเข้า เหยียดแขนออก การถ่ายหนักถ่ายเบา การกิน การดื่ม การเคี้ยว ฯลฯ คือ การเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ
    • ความเป็นปฏิกูลของร่างกาย (อาการ ๓๒)
    • การกำหนดร่างกายเป็นธาตุ ๔
    • ป่าช้า ๙
    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติ เอาเวทนาเป็นที่ตั้ง เวทนาแปลว่า การเสวยอารมณ์ มี ๓ อย่างคือ
    • สุขเวทนา
    • ทุกขเวทนา
    • อุเบกขาเวทนา
    เมื่อเวทนาเกิดขึ้น ก็ให้มีสติสัมปชัญญะกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า เวทนานี้เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ไม่ยินดียินร้าย ตัณหาก็จะไม่เกิดขึ้น และปล่อยวางเสียได้ เวทนานี้เมื่อเจริญให้มาก ๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว อาจทำให้ทุกขเวทนาลดน้อยลง หรือไม่มีอาการเลยก็เป็นได้ อย่างที่เรียกกันว่า สามารถแยก รูปนาม ออกจากกันได้ (เวทนาอย่างละเอียดมี ๙ อย่าง)
    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ การปลูกสติโดยเอา จิตเป็นอารมณ์ หรือเป็นฐานที่ตั้งจิตนี้มี ๑๖ คือ
    • จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ
    • จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ
    • จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ
    • จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน
    • จิตยิ่งใหญ่ (มหัคคตจิต) จิตไม่ยิ่งใหญ่ (อมหัคคตจิต)
    • จิตยิ่ง (สอุตตรจิต) จิตไม่ยิ่ง (อนุตตรจิต)
    • จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น
    • จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น
    การทำวิปัสสนา ให้มีสติพิจารณากำหนดให้เห็นว่า จิตนี้เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ มีสติพิจารณาธรรมทั้งหลายทั้งปวง คือ
    ๔.๑ นิวรณ์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า นิวรณ์ ๕ แต่ละอย่างมีอยู่ในใจ หรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร ให้รู้ชัดตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
    ๔.๒ ขันธ์ ๕ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ ๕ แต่ละอย่างคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
    ๔.๓ อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่าง รู้ชัดในสังโยชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้น ๆ รู้ชัดว่าสังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร
    ๔.๔ โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นว่า โพชฌงค์ ๗ แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
    สรุป ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี้คือ จิต ที่คิดเป็น กุศล อกุศล และ อัพยากฤต เท่านั้น ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ต้องทำความเข้าใจอารมณ์ ๔ ประการให้ถูกต้องคือ
    ๑. กาย ทั่วร่างกายนี้ไม่มีอะไรสวยงามแม้แต่ส่วนเดียว ควรละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๒. เวทนา สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์นั้นแท้จริงแล้วมีแต่ทุกข์ แม้เป็นสุขก็เพียงปิดบังความทุกข์ไว้
    ๓. จิต คือ ความนึกคิด เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแปรผัน ไม่เที่ยง ไม่คงทน
    ๔. ธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับจิต อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อเหตุปัจจัยดับไป อารมณ์นั้นก็ดับไปด้วย ไม่มีสิ่งเป็นอัตตาใด ๆ เลย
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    การปฎิบัติวิปัสนากรรมฐาน (ต่อครับ)

    http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-meditation.html#1

    [​IMG]วิธีปฏิบัติกรรมฐานเืบื้องต้น
    การเดินจงกรม
    ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้ทำความรู้สึกโดย จิต สติ รู้อยู่ตั้งแต่กลางกระหม่อมแล้วกำหนด ยืนหนอ ๕ ครั้ง เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงปลายเท้า เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา ยืนหนอ ๕ ครั้ง แล้ว หลับตา ตั้งตรง ๆ เอาจิตปักไว้ที่กระหม่อม เอาสติตามดังนี้ ยืน……..(ถึงสะดือ) หนอ…..(ถึงปลายเท้า) หลับตาอย่าลืมตา นึกมะโนภาพ เอาจิตมอง ไม่ใช่มองเห็นด้วยสายตา ยืน……(จากปลายเท้าถึงสะดือ หยุด) แล้วก็หนอ…….ถึงปลายผม คนละครึ่ง พอทำได้แล้ว ภาวนา ยืน….หนอ จากปลายผม ถึงปลายเท้า ได้ทันที ไม่ต้องไปหยุดที่สะดือ แล้ว คล่องแคล่วว่องไว ถูกต้อง เป็นธรรม
    ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกายอย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้า ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า ขวา ย่าง หนอ กำหนดในใจคำว่า ขวา ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อม คำว่า ย่าง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าให้ช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่า หนอ เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า อย่าให้ส้นเท้าหลังเปิด เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดคำว่า ซ้าย ย่าง หนอ คงปฏิบัติเช่นเดียวกับ ขวา ย่าง หนอ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้เดินแล้ว พยายามใช้เท้าขวาเป็นหลักคือ ขวา ย่าง หนอ แล้วตามด้วย เท้าซ้าย ย่าง หนอ จะประกบกันพอดี แล้วกำหนดว่า หยุดหนอ จากนั้นเงยหน้า หลับตากำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง เหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า กลับหนอ ๔ ครั้ง คำว่ากลับหนอ
    • ครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา
    • ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา
    • ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่ ๑
    • ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒
    หากฝึกจนชำนาญแล้วเราสามารถกำหนดให้ละเอียดขึ้น โดยการหมุนตัวจาก ๙๐ องศา เป็น ๔๕ องศา จะเป็นการกลับหนอทั้งหมด ๘ ครั้ง
    เมื่ออยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการ
    การนั่ง
    กระทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนลงเมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนด ยืน หนอ อีก ๕ ครั้ง ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ช้า ๆ จนกว่าจะลงสุดเวลานั่งค่อย ๆ ย่อตัวลงพร้อมกับกำหนดตามการการที่ทำไปจริง ๆ เช่น ย่อตัวหนอ ๆ ๆ ๆ เท้าพื้นหนอ ๆ ๆ คุกเข่าหนอ ๆ ๆ นั่งหนอ ๆ ๆ เป็นต้น
    วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิ คือ ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพองยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พอง หนอ ใจนึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า ยุบ หนอ ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน ข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่ พอง ยุบ เท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้องให้มีความรู้สึก ตามความเป็นจริงว่าท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาทางหลัง อย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่าง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด
    เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติแน่นอน จะต้องมีความอดทนเป็นการสร้างขันติบารมี ไปด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียแล้ว การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว
    ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้น ถ้ามีเวทนาความเจ็บ ปวด เมื่อย คัน ๆ เกิดขึ้นให้หยุดเดิน หรือหยุดกำหนดพองยุบ ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่เวทนาเกิด และกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า ปวดหนอ ๆ ๆ เจ็บหนอ ๆ ๆ คันหนอ ๆ ๆ เป็นต้น ให้กำหนดไปเรื่อย ๆ จนกว่าเวทนาจะหายไป เมื่อเวทนาหายไปแล้ว ก็ให้กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป
    จิต เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สินหรือคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ นา ๆ ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่พร้อมกับกำหนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจิตจะหยุดคิด แม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนดเช่นเดียวกันว่า ดีใจหนอ ๆ ๆ ๆ เสียใจหนอ ๆ ๆ ๆ โกรธหนอ ๆ ๆ ๆ เป็นต้น
    เวลานอน
    เวลานอนค่อย ๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า นอนหนอ ๆ ๆ ๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้วให้เอาสติมาจับที่ท้อง แล้วกำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปเรื่อย ๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่า จะหลับไป ตอนพอง หรือตอนยุบ
    อิริยาบถต่าง ๆ การเดินไปในที่ต่าง ๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการกระทำกิจการงานทั้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติ สัมปชัญญะ เป็นปัจจุบัน อยู่ตลอดเวลา
    สรุปการกำหนดต่าง ๆ พอสังเขป ดังนี้
    ๑. ตาเห็นรูป จะหลับตาหรือลืมตาก็แล้วแต่ ให้ตั้งสติไว้ที่ตา กำหนดว่า เห็นหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้ ถ้าหลับตาอยู่ ก็กำหนดไปจนกว่าภาพนั้นจะหายไป
    ๒. หูได้ยินเสียง ให้ตั้งสติไว้ที่หู กำหนดว่า เสียงหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเสียง ก็สักแต่ว่าเสียง ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๓. จมูกได้กลิ่น ตั้งสติไว้ที่จมูก กำหนดว่า กลิ่นหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ากลิ่น ก็สักแต่ว่ากลิ่น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๔. ลิ้นได้รส ตั้งสติไว้ที่ลิ้น กำหนดว่า รสหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ารส ก็สักแต่ว่ารส ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๕. การถูกต้องสัมผัส ตั้งสติไว้ตรงที่สัมผัส กำหนดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๖. ใจนึกคิดอารมณ์ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าความนึกคิดจะหายไป
    ๗. อาการบางอย่างเกิดขึ้น กำหนดไม่ทัน หรือกำหนดไม่ถูกว่าจะกำหนดอย่างไร ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า รู้หนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการนั้นจะหายไป
    การที่เรากำหนดจิต และตั้งสติไว้เช่นนี้ เพราะเหตุว่าจิตของเราอยู่ใต้บังคับของความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่น ตาเห็นรูป ชอบใจ เป็นโลภะ ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ ขาดสติไม่ได้กำหนด เป็นโมหะ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกต้องสัมผัส ก็เช่นเดียวกัน
    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับตามอายตนะนั้น เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าตัดที่ต่อของอายตนะต่าง ๆ เหล่านั้นมิให้ติดต่อกันได้ คือว่า เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่ทำความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความพอใจหรือความไม่พอใจในสิ่งที่ปรากฎให้เห็น และได้ยินนั้น รูป และ เสียงที่ได้เห็นและได้ยินนั้นก็จะดับไป เกิด และดับ อยู่ที่นั้นเอง ไม่ไหลเข้ามาภายใน อกุศลธรรมความทุกข์ร้อนใจที่คอยจะติดตาม รูป เสียง และอายตนะภายนอกอื่น ๆ เข้ามาก็เข้าไม่ได้
    สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น นอกจากจะคอยสกัดกั้นอกุศลธรรม และความทุกข์ร้อนใจที่จะเข้ามาทางอายตนะแล้ว สติเพ่งอยู่ที่ รูป นาม เมื่อเพ่งเล็งอยู่ก็ย่อมเห็นความเกิดดับของ รูป นาม ที่ดำเนินไปตามอายตนะต่าง ๆ อย่างไม่ขาดสาย การเห็นการเกิดดับของ รูป นาม นั้นจะนำไปสู่การเห็น พระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตนของสังขาร หรือ อัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    การปฎิบัติวิปัสนากรรมฐาน (ต่อครับ)

    http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-meditation.html#1

    [​IMG]อานิสงส์ของการปฏิบัติธรรม
    จากหนังสือกฏแห่งกรรมเล่มที่ ๗ ภาคธรรมบรรยาย-ธรรมปฏิบัติ เรื่อง คติกรรมฐาน หน้า ๓๐๓ - ๓๐๔
    ๑. มีวินัยในตัวเอง 3 ประการคือ
    • ๑ รู้จักระวังตัว
    • ๒ รู้จักควบคุมตัวได้
    • ๓ รู้จักเชื่อฟังผู้ใหญ่ ถ้าเป็นเด็กจะไม่เถียงผู้ใหญ่
    ๒. มีกิจนิสัย ๔ ประการ
    • <LI class=dotstyle>๑ ขยันไม่จับจด รักงาน สู้งาน <LI class=dotstyle>๒ ประหยัด รู้จักใช้ชีวิตและทรัพย์สินอย่างถูกต้องและคุ้มค่า <LI class=dotstyle>๓ พัฒนา รู้จักพัฒนาตัวเอง และอาชีพให้ดีขึ้น
    • ๔ สามัคคี รักครอบครัว รักหมู่คณะ และรักประเทศชาติ
    ๓. มีลักษณะนิสัย ๔ ประการ
    • <LI class=dotstyle>๑ มีสัมมาคารวะ <LI class=dotstyle>๒ อุตสาหะพยายาม <LI class=dotstyle>๓ ปฏิบัติตามระเบียบวินัย
    • ๔ รู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่ วางตัวได้เหมาะสม
    ๔. มีความรู้คู่กับคุณธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ๔ ประการได้
    • ๑ รู้จักคิด
    • ๒ รู้จักปรับตัว
    • ๓ รู้จักแก้ปัญหา
    • ๔ มีทักษะในการทำงานและค่านิยมที่ดีงามในอนาคต เจ้านายทิ้งลูกน้องไม่ได้ ลูกน้องทิ้งเจ้านายไม่ได้ เข้าหลักที่ว่า ผู้ใหญ่ดึง ผู้น้อยดัน คนเสมอกันจะได้อุปถัมภ์ค้ำจุนต่อไป
    ๕. อานิสงส์ในการเดินจงกรม
    • ๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
    • ๒. อดทนต่อความเพียร
    • ๓. มีอาพาธน้อย
    • ๔. ย่อยอาหารได้ดี
    • ๕. สมาธิที่ได้ขณะเดินตั้งอยู่ได้นาน (ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่ม ๓๒)
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...