สิ่งเร้นลับมหัศจรรย์(พบพระพุทธเจ้าที่นิพพานไปแล้ว)...และท่องยมโลก (มีคลิปครับ)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ผู้เตือน warn, 17 พฤษภาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ไปศึกษาพระธรรมวินัยบ้างครับ มีอยู่ในพระไตรปิฏกครับ
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
    [๑๐๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา
    มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นศีลของ
    เธอประการหนึ่ง.
    ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่
    เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
    เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ
    เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.
    ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
    เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตก
    ร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อม
    เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก
    จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง
    อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
    โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๘. เธอเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
    ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
    ๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
    ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ
    เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
    ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
    ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
    ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
    ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
    ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
    ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
    ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
    ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
    ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
    ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
    ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
    ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
    ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่อง
    ตวงวัด.
    ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
    ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    จบจุลศีล.
    มัชฌิมศีล
    [๑๐๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม
    เห็นปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด
    เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๐๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
    เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง
    ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๐๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น อย่างที่สมณ
    พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็น
    ข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่า
    นิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่น
    ของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ
    ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล
    การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๐๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย
    เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละ
    สิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา
    เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่น
    ธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    [๑๐๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่น อย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน
    อันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว
    เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มี
    สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ
    เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและ
    เงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด
    หลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขน
    อ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๐๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการ
    แต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง
    ขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว
    ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า
    ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้า
    ประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
    ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา
    เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
    เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
    เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ
    ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๑] ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็น
    ปานนี้ เช่น ว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านรู้จักทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
    ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูกถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์
    คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
    ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว
    ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๒] ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณ
    พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและ
    การรับใช้เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี
    และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้
    ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๓] ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูด
    เลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    จบมัชฌิมศีล.
    มหาศีล
    [๑๑๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่าง
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
    ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด
    รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า
    บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
    ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ
    เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา
    เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    [๑๑๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง
    ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ
    ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส
    ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ
    ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา
    ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    [๑๑๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
    พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
    พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอก
    จักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุ
    นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
    ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
    จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น
    อย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
    ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง
    จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
    หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน
    คำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์
    หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์
    ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอ
    ทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม
    ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๒๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
    เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย
    แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
    ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข
    อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง
    พร้อมด้วยศีล.
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความคิดเห็นที่ 5

    ตามที่ คห1 คุณVees ยกมานั่น ดีแล้วครับ

    "อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดีให้รับก็ดี ซึ่ง เงิน-ทอง
    หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์"

    แล้วจะเอาเหตุผลมาอ้างว่า ยุคสมัยเปลี่ยนวินัยต้องเปลี่ยนอย่างนี้ไม่ได้ครับ
    เพราะจะขัดกับคำพระพุทธเจ้าที่ว่า "อกาลิโก"

    อนึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติวินัยสำหรับฆราวาส แต่บัญญัติสำหรับภิกษุ
    ฉะนั้นไม่มีวินัยที่ห้ามฆราวาสให้เงินพระ แต่ทรงบัญญัติภิกษุห้ามรับเงินทอง
    ที่นี่ก็อยู่ที่ไหวพริบปฏิภาณว่าภิกษุจะมีการปฏิเสธอย่างไร หรือพูดอย่างไรให้เชื่อมกับไวยาวัจกร

    ตัวอย่างเช่นเรื่องการรับเงินเพื่อใช้จ่ายจีวร
    “อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี
    ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า
    เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร,

    ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
    ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร,

    ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า
    พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล;
    ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมี หรือ?
    ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสก ให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า
    คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย,

    *ดูที่ "พระบัญญัติ"
    #เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๔๘๒ - ๑๖๕๖. หน้าที่ ๖๓ - ๖๙.

    PANTIP.COM : Y12114296
     
  4. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    ออกตัวชัดแล้วนะครับ สนันสนุนการทำลายพระพุทธรูป


    เป็นลูกชายหน่อยครับ อย่าพูดกลับกรอกครับ
     
  5. ผู้เตือน warn

    ผู้เตือน warn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +688
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-LEFT: rgb(239,239,239) 1px solid; WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 16px arial, verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(239,239,239) 1px solid; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" id=post6150775 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-LEFT: rgb(255,255,255) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" class=alt2 width=175>พรานยึ้ม
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Mar 2010
    ข้อความ: 221
    Groans: 58
    Groaned at 15 Times in 10 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 173
    ได้รับอนุโมทนา 86 ครั้ง ใน 27 โพส
    พลังการให้คะแนน: 53[​IMG]



    </TD><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(239,235,239); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" id=td_post_6150775 class=alt1><CENTER>บาปกรรมที่ได้รับจากการเผา ทุบ ทำลายพระพุทธรูป วินิจฉัยจากพระไตรปิฏก

    </CENTER>
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); COLOR: rgb(255,255,255)" SIZE=1><INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 336px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; HEIGHT: 280px; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="BORDER-BOTTOM: medium none; POSITION: relative; BORDER-LEFT: medium none; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 336px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; HEIGHT: 280px; VISIBILITY: visible; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; PADDING-TOP: 0px" id=aswift_0_anchor><IFRAME style="POSITION: absolute; TOP: 0px; LEFT: 0px" id=aswift_0 onload="var i=this.id,s=window.google_iframe_oncopy,H=s&&s.handlers,h=H&&H,w=this.contentWindow,d;try{d=w.document}catch(e){}if(h&&d&&(!d.body||!d.body.firstChild)){if(h.call){i+='.call';setTimeout(h,0)}else if(h.match){i+='.nav';w.location.replace(h)}s.log&&s.log.push(i)</IFRAME></INS></INS>
    การเผา-ทำลายพระเจดีย์หรือพระปฏิมา (พระพุทธรูป) มีกรรมหนังเท่า อนันตริยกรรม
    ในช่วงนี้ มีเรื่องที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับวงการพระพุทธศาสนาให้เสื่อมเสียเกิดขึ้นมา ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเรื่องเก่าเกี่ยวกับ "การห้ามบูชาพระพุทธรูป" โดยเห็นว่าเป็นเพียงแค่ทองเหลือง แล้วมีการนำเอาพระพุทธรูปมาเผา ผมจึงได้ืทำการศึกษาค้นคว้า และค้นพบความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ในชั้นอรรถกถา จึงนำมาให้ทุกท่านได้ทราบว่าอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้อย่างไร ขอให้ทุกท่านอ่านแล้วทำในสิ่งที่เห็นผิดอยู่จงกลับมาเห็นถูก หากทำผิดอันไม่สมควรจงกลับใจมาทำในสิ่งที่ถูกต้องเถิด...

    =============================
    วินิจฉัยอนันตริยกรรม ๕
    =============================
    พึงทราบวินิจฉัยใน โลหิตุปปาทกรรม (กรรมคือการทำพระโลหิต
    ให้ห้อ) ต่อไป ชื่อว่าการทำให้หนังขาดด้วยความพยายามของคนอื่น แล้ว
    ทำให้เลือดออก ไม่มีแก่พระตถาคต เพราะพระองค์มีพระวรกายไม่แตก แต่
    พระโลหิตคั่งอยู่ในที่เดียวกันในภายในพระสรีระ. แม้สะเก็ดหินที่แตกกระเด็น
    ไปจากศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงไป กระทบปลายพระบาทของพระตถาคต
    พระบาทได้มีพระโลหิตห้ออยู่ข้างในทีเดียว ประหนึ่งถูกขวานทุบ. เมื่อพระ-
    เทวทัตทำเช่นนั้น จึงจัดเป็นอนันตริยกรรม. ส่วนหมอชีวกเอามีดตัดหนัง
    พระบาท ตามที่พระตถาคตทรงเห็นชอบ นำเลือดเสียออกจากที่นั้น ทำให้
    ทรงพระสำราญ เมื่อทำอย่างนั้น เป็นการกระทำที่เป็นบุญทีเดียว
    ถามว่า ต่อมา เมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วชนเหล่าใด
    ทำลายเจดีย์ ทำลายต้นโพธิ์ ประทุษร้ายพระบรมธาตุ กรรมอะไรจะเกิดแก่
    ชนเหล่านั้น ?
    ตอบว่า (การทำเช่นนั้น) เป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริยกรรม.
    แต่การตัดกิ่งไม้โพธิ์ที่ขึ้นเบียดพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ หรือพระปฏิมา ควร
    ทำ แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้นถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเหมือน
    กัน. ก็เจดีย์ที่บรรจุพระสรีรธาตุสำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุเครื่อง
    ใช้สอยของพระพุทธเจ้า) แม้รากโพธิ์ที่งอกออกไปทำลายพื้นที่ ที่ตั้งเจดีย์
    จะตัดทิ้งก็ควร ส่วนกิ่งโพธิ์กิ่งใดขึ้นเบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อ
    รักษาเรือน (โพธิ์) ไม่ควร. ด้วยว่า เรือนมีไว้เพื่อต้นโพธิ์ ไม่ใช่ต้นโพธิ์มี
    ไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือน แม้ในเรือนอาสนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในเรือน
    อาสนะใด เขาบรรจุพระบรมธาตุไว้ เพื่อจะรักษาเรือนอาสนะนั้น จะตัดกิ่ง
    โพธิ์เสียก็ได้. เพื่อการบำรุงต้นโพธิ์จะตัดกิ่งที่ค้อมลง หรือที่ (เนื้อ) เสีย
    ออกไปก็ควรเหมือนกัน แม้บุญก็ได้ เหมือนในการปฏิบัติพระสรีระของ
    พระผู้มีพระภาคเจ้า.
    ที่มา : เล่มที่ ๒๒ อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปํณณาสก์ หน้า ๓๑๓ ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. ผู้เตือน warn

    ผู้เตือน warn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +688
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-LEFT: rgb(239,239,239) 1px solid; WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 16px arial, verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(239,239,239) 1px solid; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" id=post6150786 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TR vAlign=top><TD style="BORDER-LEFT: rgb(255,255,255) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" class=alt2 width=175>พรานยึ้ม
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Mar 2010
    ข้อความ: 221
    Groans: 58
    Groaned at 15 Times in 10 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 173
    ได้รับอนุโมทนา 86 ครั้ง ใน 27 โพส
    พลังการให้คะแนน: 53[​IMG]


    </TD><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(239,235,239); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" id=td_post_6150786 class=alt1><CENTER>ทุบพระพุทธรูปแล้วไปเกิดเป็นเปรต

    </CENTER>
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); COLOR: rgb(255,255,255)" SIZE=1>[​IMG]


    พบเปรตสมัยใหม่
    ประสบการณ์ส่วนหนึ่งของ หลวงปู่แหวน ขณะอยู่ที่ถ้ำเชียงดาว มีดังนี้ :-
    ในระหว่างพรรษา วันหนึ่งประมาณ ๕ โมงเย็น หลวงปู่แหวน กำลังเดินจงกรมอยู่ ก็มีเสียงดังโครมครามเหมือนกิ่งไม้ใหญ่หักลงมา จึงเหลียวไปดู กลายเป็นสัตว์ร่างใหญ่ร่างหนึ่ง เอาเท้าเกาะอยู่บนกิ่งไม้ห้อยหัวลงมา มีผมยาวรุงรัง เสียงร้องโหยหวน
    หลวงปู่บอกว่า ท่านไม่ได้นึกกลัว และไม่ได้ให้ความสนใจ ยังคงเดินจงกรมต่อไป
    เมื่อร่างนั้นเห็นว่า หลวงปู่ไม่สนใจ ก็หนีหายไป
    สองสามวันต่อมา ก็มาปรากฏอีก แต่หลวงปู่ก็เดินจงกรมโดยไม่สนใจ หลังจากนั้นจึงมาปรากฏตัวให้เห็นทุกเย็น แต่ไม่ได้เข้ามาใกล้หลวงปู่ คงแสดงอาการเหมือนเดิมทุกครั้ง
    วันหนึ่ง หลวงปู่ได้กำหนดจิตถามไปว่า ที่มานั้นเขาต้องการอะไร ทีแรกเขาทำเฉยเหมือนไม่เข้าใจ หลวงปู่จึงกำหนดจิตถามอีก เขาจึงบอกว่า ต้องการมาขอส่วนบุญ
    หลวงปู่ จึงกำหนดจิตถามต่อไปว่า เขาเคยทำกรรมอะไรมา จึงต้องมาทุกข์ทรมานอยู่ในสภาพเช่นนี้
    ร่างนั้นได้เล่าถึงบุพกรรมของเขาว่า เขาเคยเป็นคนอยู่ที่เชียงดาวนี้ มีอาชีพลักขโมยและปล้นเขากิน ก่อนไปปล้น เขาจะเอาดอกไม้ธูปเทียน ไปขอพรและขอคุ้มครองกับพระพุทธรูปองค์หนึ่งในถ้ำ
    เขาทำอย่างนี้ทุกครั้ง และก็แคล้วคลาดตลอดมา
    อยู่มาวันหนึ่ง เขาไปขอพรพระพุทธรูป แล้วออกไปปล้นเช่นเคย บังเอิญเจ้าของบ้านรู้ตัวก่อน จึงเตรียมต่อสู้ เขาถูกเจ้าของบ้านฟันบาดเจ็บสาหัส จึงหนีตายเอาตัวรอดมาได้
    ด้วยความโมโหว่า พระไม่คุ้มครอง เขาจึงกลับไปที่ถ้ำแล้วเอาขวานทุบเศียรพระพุทธรูป จนคอหัก ขณะเดียวกัน ก็ยังคุมแค้นอยู่ ตั้งใจว่า บาดแผลหายแล้ว จะกลับไปแก้แค้นเจ้าของบ้านให้ได้
    เผอิญบาดแผลที่ถูกฟันนั้นสาหัสมาก เขาจึงต้องตายในเวลาต่อมา วิญญาณเขาจึงต้องมาเป็นเปรตทนทุกข์ทรมานอยู่ที่เชียงดาวแห่งนี้ จึงได้พยายามมาขอส่วนบุญ เพื่อให้พระท่านช่วยแผ่ให้ จะได้คลายความทุกข์ทรมานลงไปได้บ้าง
    หลวงปู่แหวนท่านเล่าว่า บุพกรรมของเปรตตนนั้น หนักมากเหลือเกิน ท่านได้รวบรวมจิต อุทิศบุญกุศลไปให้ ตั้งแต่นั้นมา ร่างนั้นก็ไม่ปรากฏให้เห็นอีก แต่จะได้รับบุญกุศลเพียงใดขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง
    หลวงปู่บอกว่า เปรตตนนั้นเป็นเปรตสมัยใหม่ เพราะใช้คำแทนตัวเขาเองว่า "ผม" แต่เปรตตนอื่นๆ ที่หลวงปู่เคยพบมา จะใช้คำแทนตนว่า "เรา" หรือ "ข้าพเจ้า" จึงนับว่าเปรตตนนี้ เป็นเปรตสมัยใหม่
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(255,255,255) 1px solid; BORDER-LEFT: rgb(255,255,255) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" class=alt2>[​IMG] [​IMG] [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    /////////

    ยังไม่เข้าใจหรือ. ว่าที่คุณยกมา กับการแปลเจตนามันขัดแย้งกัน
    มีบ้าง ที่คุณยกมามีทั้งที่คุณเข้าใจถูกต้อง และบางเรื่องก็มั่วคิดไปเอง

    มันจึงเกิดขัดแย้งอย่างที่เห็นนี้
     
  8. ผู้เตือน warn

    ผู้เตือน warn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +688
    ๓๙ อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตก-สุตตนิบาต ห้า ๒๓๖

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-LEFT: rgb(239,239,239) 1px solid; WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 16px arial, verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(239,239,239) 1px solid; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" id=post6150797 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-LEFT: rgb(255,255,255) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" class=alt2 width=175>พรานยึ้ม
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Mar 2010
    ข้อความ: 221
    Groans: 58
    Groaned at 15 Times in 10 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 173
    ได้รับอนุโมทนา 86 ครั้ง ใน 27 โพส
    พลังการให้คะแนน: 53[​IMG]






    </TD><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(239,235,239); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" id=td_post_6150797 class=alt1>พระปฏิมา (พระพุทธรูป) และพระเจดีย์ควรเป็นที่เคารพยำเกรง
    ====================================================

    ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำให้
    เกิดความเคารพยำเกรง พระตถาคตเท่านั้น ก็ชื่อว่า รัตนะ. จริงอยู่
    เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว เทวดาแลมนุษย์ ผู้มีศักดิ์มาก ทุกหมู่เหล่า
    เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่ทำ ความเคารพยำเกรงในรัตนะอื่น ย่อม
    ไม่บูชารัตนะไร ๆ อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ก็บูชาพระ
    ตถาคต ด้วยพวงรัตนะขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ. และเทวดาเหล่าอื่นและมนุษย์
    ทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศลและท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นต้น
    ก็บูชาตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ ๙๖ โกฏิ
    ทรงสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ทั่วชมพูทวีป อุทิศถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
    แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว. ก็จะป่วยกล่าวไปไย สำหรับหมู่คนที่เคารพ
    ยำเกรงเหล่าอื่นเล่า. อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไร ๆ อื่น แม้ปรินิพพาน
    แล้ว การทำความเคารพยำเกรง อุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศ
    พระธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือ พระปฏิมา [พระ-
    พุทธรูป] ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถา-
    คต แม้เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความเคารพยำเกรง ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้.
    ที่มา : เล่มที่ ๓๙ อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตก-สุตตนิบาต ห้า ๒๓๖ เวรัญชกัณฑวรรณนา




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. ผู้เตือน warn

    ผู้เตือน warn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +688
    ถึงคุณ อุรุเวลา โพสโดยท่านถิ่นธรรมเมื่อสักครู่นี่เอง

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-LEFT: rgb(239,239,239) 1px solid; WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 16px arial, verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(239,239,239) 1px solid; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" id=post6153724 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TR vAlign=top><TD style="BORDER-LEFT: rgb(255,255,255) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" class=alt2 width=175>ถิ่นธรรม
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jun 2006
    ข้อความ: 1,335
    Groans: 43
    Groaned at 56 Times in 26 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 232
    ได้รับอนุโมทนา 4,611 ครั้ง ใน 946 โพส
    พลังการให้คะแนน: 427[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(239,235,239); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" id=td_post_6153724 class=alt1>ทำลายพระพุทธรูปกรรมหนักถึงขั้นลงอเวจีได้ แต่โมหะที่พยายามชักชวนให้คนเกลียดชังพระพุทธรูปบาปหนาจนอเวจีรับไม่ไหวต้องไปถึงโลกันตร์
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(255,255,255) 1px solid; BORDER-LEFT: rgb(255,255,255) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" class=alt2>[​IMG] [​IMG] [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฏก ภาษาไทย(มหามกุฏ) เล่มที่ ๓๒ หน้า ๒๑๔/๒๑๕
    บทว่า อสหาโย ความว่า ชื่อว่าไม่มีสหาย เพราะท่านไม่มี
    สหายผู้เช่นกับด้วยอัตภาพ หรือด้วยธรรมที่ทรงแทงตลอดแล้ว.
    ก็พระเสขะและพระอเสขะ ชื่อว่า เป็นสหายขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    โดยปริยายนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้เสกขปฎิปทา และ
    อเสกขปฏิปทาเป็นสหายแล.

    บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพเรียกว่า
    รูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพ
    ของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใด
    ล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า
    ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของ
    พระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย
    ประการทั้งปวง. บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า
    ไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต
    นั้นไม่มี.

    บทว่า อปฺปฏิภาโค (ไม่มีผู้เทียม) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียม
    เพราะธรรมเหล่าใดอันพระตถาคตทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า
    สติปัฏฐานมี ๔ ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะทำเทียมในธรรมเหล่านั้น
    โดยนัยมีอาทิว่า น จตฺตาโร สติปฏฺานา ตโย วา ปญฺจ วา (สติปัฏฐาน
    ไม่ใช่ ๔ สติปัฏฐานมี ๓ หรือ ๕.) บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล (ไม่มีบุคคล
    ผู้แข็ง) ความว่า ชื่อว่าไม่มีบุคคลผู้แข่ง เพราะไม่มีบุคคลอื่นไร ๆ
    ชื่อว่าสามารถเพื่อให้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.
    บทว่า อสโม (ไม่มีผู้เสมอ) ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เสมอด้วย
    สัตว์ทั้งปวง เพราะไม่มีบุคคลเทียมนั่นเอง. บทว่า อสมสโม (ผู้เสมอ
    กันบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ) ความว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ที่เป็นอดีตและอนาคต ท่านเรียกว่า ไม่มีผู้เสมอ ผู้เสมอด้วยพระ
    สัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใคร ๆ เสมอเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ผู้เสมอกับบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ.
    บทว่า ทฺวิปทานํ อคฺโค ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น
    ยอดของเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก สัตว์ผู้มีรูป
    ไม่มีรูป ผู้มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของเหล่าสัตว์ ๒ เท้า ?
    เพราะเนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่ ธรรมดาว่า
    ท่านผู้ประเสริฐ เมื่อจะอุบัติในโลกนี้ หาอุบัติในสัตว์ไม่มีเท้า มี ๔ เท้า
    และมีเท้ามากไม่ ย่อมอุบัติเฉพาะในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น. ในสัตว์ ๒ เท้า
    ชนิดไหน ? ในมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย. ก็เมื่อเสด็จอุบัติในหมู่
    มนุษย์ ย่อมอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถเพื่อทำสามพันโลกธาตุ
    และหลายพันโลกธาตุ ให้อยู่ในอำนาจได้. เมื่ออุบัติในหมู่เทวดา
    ย่อมอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ทำหมื่นโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้
    ท้าวมหาพรหมนั้น พร้อมที่จะเป็นกัปปิยการก หรือเป็นอารามิก
    ของพระองค์ ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นยอดของสัตว์ ๒ เท้า ด้วย
    อำนาจเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวดาแม้นั้นทีเดียว
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฏก ภาษาไทย(มหามกุฏ) เล่มที่ ๓๒ หน้า ๒๑๔/๒๑๕
    บทว่า อสหาโย ความว่า ชื่อว่าไม่มีสหาย เพราะท่านไม่มี
    สหายผู้เช่นกับด้วยอัตภาพ หรือด้วยธรรมที่ทรงแทงตลอดแล้ว.
    ก็พระเสขะและพระอเสขะ ชื่อว่า เป็นสหายขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    โดยปริยายนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้เสกขปฎิปทา และ
    อเสกขปฏิปทาเป็นสหายแล.

    บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพเรียกว่า
    รูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพ
    ของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใด
    ล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า
    ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของ
    พระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย
    ประการทั้งปวง. บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า
    ไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต
    นั้นไม่มี.

    บทว่า อปฺปฏิภาโค (ไม่มีผู้เทียม) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียม
    เพราะธรรมเหล่าใดอันพระตถาคตทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า
    สติปัฏฐานมี ๔ ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะทำเทียมในธรรมเหล่านั้น
    โดยนัยมีอาทิว่า น จตฺตาโร สติปฏฺานา ตโย วา ปญฺจ วา (สติปัฏฐาน
    ไม่ใช่ ๔ สติปัฏฐานมี ๓ หรือ ๕.) บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล (ไม่มีบุคคล
    ผู้แข็ง) ความว่า ชื่อว่าไม่มีบุคคลผู้แข่ง เพราะไม่มีบุคคลอื่นไร ๆ
    ชื่อว่าสามารถเพื่อให้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.
    บทว่า อสโม (ไม่มีผู้เสมอ) ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เสมอด้วย
    สัตว์ทั้งปวง เพราะไม่มีบุคคลเทียมนั่นเอง. บทว่า อสมสโม (ผู้เสมอ
    กันบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ) ความว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ที่เป็นอดีตและอนาคต ท่านเรียกว่า ไม่มีผู้เสมอ ผู้เสมอด้วยพระ
    สัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใคร ๆ เสมอเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ผู้เสมอกับบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ.
    บทว่า ทฺวิปทานํ อคฺโค ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น
    ยอดของเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก สัตว์ผู้มีรูป
    ไม่มีรูป ผู้มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของเหล่าสัตว์ ๒ เท้า ?
    เพราะเนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่ ธรรมดาว่า
    ท่านผู้ประเสริฐ เมื่อจะอุบัติในโลกนี้ หาอุบัติในสัตว์ไม่มีเท้า มี ๔ เท้า
    และมีเท้ามากไม่ ย่อมอุบัติเฉพาะในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น. ในสัตว์ ๒ เท้า
    ชนิดไหน ? ในมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย. ก็เมื่อเสด็จอุบัติในหมู่
    มนุษย์ ย่อมอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถเพื่อทำสามพันโลกธาตุ
    และหลายพันโลกธาตุ ให้อยู่ในอำนาจได้. เมื่ออุบัติในหมู่เทวดา
    ย่อมอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ทำหมื่นโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้
    ท้าวมหาพรหมนั้น พร้อมที่จะเป็นกัปปิยการก หรือเป็นอารามิก
    ของพระองค์ ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นยอดของสัตว์ ๒ เท้า ด้วย
    อำนาจเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวดาแม้นั้นทีเดียว
     
  12. ผู้เตือน warn

    ผู้เตือน warn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +688
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ผู้เตือน warn [​IMG]
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-LEFT: rgb(239,239,239) 1px solid; WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 16px arial, verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(239,239,239) 1px solid; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" id=post5455924 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-LEFT: rgb(255,255,255) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" class=alt2 width=175>อุรุเวลา
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Dec 2011
    ข้อความ: 1,506
    Groans: 1
    Groaned at 93 Times in 26 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 68
    ได้รับอนุโมทนา 148 ครั้ง ใน 43 โพส
    พลังการให้คะแนน: 0[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]







    </TD><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(239,235,239); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" id=td_post_5455924 class=alt1>อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>














    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระอรหันต์ไปนรกสวรรค์ด้วยกายทิพย์ครับ กายเนื้อท่านนั่งนิ่งๆ ท่านไปแต่กายทิพย์ครับ พระอรหันต์สร้างพระพุทธรูปและพระเครื่อง ท่านทำผิดพระธรรมวินัยแต่เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วพระพุทธเจ้าไม่ปรับอาบัติแต่ความผิดนั้นยังมีอยู่ พระอรหันต์ตัวท่านเองท่านยังไม่พ้นกรรม กายเนื้อท่านยังต้องรับกรรมเก่าอยู่ พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลก็เคยกระทำความผิด พระพุทธเจ้าก็ทรงประกาศความผิดนั้นและทรงกำหนดศีลขึ้น แต่สมัยนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าแล้ว และพระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้ใครแก้ไขหรือเพิ่มเติมพระธรรมของพระองค์ อนุญาตให้ยกเลิกศีลข้อเล็กน้อยเท่านั้น



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ---------------------------------



    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-LEFT: rgb(239,239,239) 1px solid; WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 16px arial, verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-TOP: rgb(239,239,239) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(239,239,239) 1px solid; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" id=post6150797 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-LEFT: rgb(255,255,255) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(247,243,247); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" class=alt2 width=175>[​IMG]

    วันที่สมัคร: Mar 2010
    ข้อความ: 221
    Groans: 58
    Groaned at 15 Times in 10 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 173
    ได้รับอนุโมทนา 86 ครั้ง ใน 27 โพส
    พลังการให้คะแนน: 53[​IMG]













    </TD><TD style="BACKGROUND-COLOR: rgb(239,235,239); FONT: 12pt verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif; COLOR: rgb(0,0,0); BORDER-RIGHT: rgb(255,255,255) 1px solid" id=td_post_6150797 class=alt1>พระปฏิมา (พระพุทธรูป) และพระเจดีย์ควรเป็นที่เคารพยำเกรง
    ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำให้
    เกิดความเคารพยำเกรง พระตถาคตเท่านั้น ก็ชื่อว่า รัตนะ. จริงอยู่
    เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว เทวดาแลมนุษย์ ผู้มีศักดิ์มาก ทุกหมู่เหล่า
    เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่ทำ ความเคารพยำเกรงในรัตนะอื่น ย่อม
    ไม่บูชารัตนะไร ๆ อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ก็บูชาพระ
    ตถาคต ด้วยพวงรัตนะขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ. และเทวดาเหล่าอื่นและมนุษย์
    ทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศลและท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นต้น
    ก็บูชาตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ ๙๖ โกฏิ
    ทรงสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ทั่วชมพูทวีป อุทิศถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
    แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว. ก็จะป่วยการกล่าวไปไย สำหรับหมู่คนที่เคารพ
    ยำเกรงเหล่าอื่นเล่า. อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไร ๆ อื่น แม้ปรินิพพาน
    แล้ว การทำความเคารพยำเกรง อุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศ
    พระธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือ พระปฏิมา [พระพุทธรูป] ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถา-
    คต แม้เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความเคารพยำเกรง ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้.
    ที่มา : เล่มที่ ๓๙ อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตก-สุตตนิบาต ห้า ๒๓๖ เวรัญชกัณฑวรรณนา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2012
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ยิ่งเห็นด้วยอย่างยิ่ง ผู้ปฎิบัติแล้วนำมาบอกเล่า คนแค่อ่านนำประเด็นมาเถียงกันมันส์มันส์
     
  14. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,027
    [​IMG]
    ถึงลูกรักของพ่อทุกๆคน
    ________________________________________
    พ่อสอนลูก
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานที่เคารพรักของเรา สอนเราไว้ว่า
    2) ต้องทราบไว้เสมอว่าคนที่เกิดมานี้ มีต้นกรรมไม่เสมอกัน คนในโลกแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
    2.1 คนฉลาดมาก ที่ทำบุญไว้เต็มที่แล้ว มีบารมีครบถ้วน เพียงแนะนำแต่เพียงหัวข้อย่อ ๆ ก็บรรลุมรรคผลทันที
    2.2 บางพวกปัญญาบารมีหย่อนนิดหน่อย พออธิบายก็บรรลุมรรคผล
    2.3 บางพวกพอแนะนำให้เข้าใจในกุศลเบื้องต้นได้ แต่เอาบรรลุมรรคผลไม่ได้
    2.4 พวกสุดท้าย เป็นพวกเหลือขอ พูดไม่รู้เรื่อง อวดตัวว่าเป็นผู้วิเศษ หมดทางแนะนำ
    คนในโลกแบ่งออกเป็น 4 พวกนี้ ลูกจงอย่าคิดว่าเขาจะเหมือนเราเสมอไป การแนะนำเป็นของดี แต่อย่าเอาใจไปผูกพัน ถือว่าบอกปล่อย เขาทำตามก็ดีไม่ทำตามก็ช่าง เอาตัวรอดเป็นการพอแล้ว ปล่อยเขา เขาจะคิด จะพูด จะทำอย่างไร อย่าสนใจเป็นอันขาด
     
  15. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    สาธุ...ครับ...คุณ Chang_oncb...

    เรากราบ 3 ครั้ง...น้อบน้อมแด่..พระพุทธ..พระธรรม...พระสงฆ์...
    ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย...และ...ขอเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

    จะมีรูปสัญญลักษณ์..หรือ..ไม่มี...เราก็กราบและน้อบน้อม..พระรัตนตรัย..ได้

    รูปสัญญาลักษณ์...มีใว้..ผัสสะ...เพื่อเตือนใจให้ระลึกถึง...รัตนตรัย
    เพราะรักใน..พระรัตนตรัย....รูปสัญญลักษณ์เหล่านั้น...เราถึงถนอมรักษา
    รักษาใว้..เพื่อ..ผัสสะ..ดี ดี

    ก็ไม่เห็นมีใครบ้า...คิดว่า..สัญญาลักษณ์เหล่านี้...เป็นพระพุทธเจ้า...สักคน

    แต่....หมู..หมา..กาไก่..มันอาจจะงง..อยู่ดี ดี...ทำไมคนถึงไปเคารพกราบไหว้รูปปั้น...ก็ไม่รู้?:eek:

    บอกพวกมันดีมั้ย? :(

    ชั่งมันเถอะเน๊าะ...(smile)
     
  16. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516

    อนุโมทนามิ สาธุครับ
     
  17. luecha

    luecha สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +7
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต :cool:
     
  18. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ไร้รูป ไร้นาม เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว เทพ พรหม เทวดาก็ไม่มีผู้ใดเห็นพระองค์ได้อีก
    ยกเว้นผู้ถึงธรรม ผู้ถึงธรรมย่อมดับตัวเองแบบไม่เหลือ จึงกล่าวว่าไม่มีธรรมะ นั่นแหละธรรมะ ไม่มีผู้เสพทุกข์และสุขใดๆในธรรมนั้น จึงสิ้นทุกข์อย่างแท้จริง นี่คือ ตถตา

    ส่วนผู้ใดที่เห็นพระพุทธเจ้าเป็นรูปลักษณ์ มี2 กรณี
    1.มารแปลงกาย
    2.ธรรมนิมิต (ธรรมนั้นไร้รูปลักษณ์ ไร้ชื่อ ปราศจากขอบเขต แต่มีอานุภาพสูงสุด คือแหล่งพลังงานต้นกำเนิดและค้ำจุนสรรพสิ่ง) นิมิตรูปลักษณ์ขึ้นมาเพื่อแสดงธรรม ตามภูมิของผู้นั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2012
  19. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    เห็น ด้วย ครับ ทั้ง สอง ข้อ

    ....นิมิต จะ มา ตาม ภาพ ลักษณ์ ที่ ผู้ เกิด นิมิต รู้ จัก

    และ มาร ก่ จะ มา ใน ลักษณ์ คล้าย กัน คือ ใคร ที่ ชื่น ชอบ อะไร

    ก่ จะ มา แบบ นั้น เช่น มา ใน รูป แบบ มหาเทพตรีมูรติ มาแบบพุุทธะ ก่ มี
     
  20. รักษ์11

    รักษ์11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +516
    ดี..ยังอยู่ดีมีสุขปกติดีทุกอย่าง

    แต่ไม่ติดคุกแล้ว ออกจากคุกแล้ว

    เจ้านายใหญ่ ที่จับนักโทษขังคุกก็คือ

    อวิชชา ตัณหา และอุปทาน มีกิเลสเป็นตัวชักใย

    จับสรรสัตว์ขังไว้ ให้วนเวียนอยู่ใน 3 โลก

    ให้วนอยู่ ใน โลกมนุษย์ โลกนรก และก็โลกสวรรค์

    ผู้ที่ไปนิพพาน ก็คือผู้หลุดออกจาก ภพภูมิ โลกทั้ง 3นี้

    อย่างถาวรแล้ว คนออกจากคุกแล้ว จะมาเยี่ยมคุก

    จะเดินผ่านคุก ก็ไม่มีใครเขาว่า แต่คนติดคุกนี่สิ ออกไปไหน

    ไม่ได้ทั้งนั้น ไม่รู้เห็นโลกภายนอกอะไรทั้งนั้น

    คนที่ไม่ติดคุกแล้วจะสบายขนาดไหน ก็คิดเอาก็แล้วกัน

    ทุกท่านที่ไปนิพพาน อยู่ดีมีสุข มีความสุขอย่างยิ่ง

    ขอไห้ทุกท่าน ได้เข้าถึงธรรมพิศมัย อันมีพระนิพพานเป็นที่ไปเถิดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 พฤษภาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...