สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พรหมชาลสูตร
    พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยม

    ทิฏฐิ ๖๒
                 [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังมีธรรมอย่างอื่นอีกแลที่ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยากสงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน?
    ก. ปุพพันตกัปปิกาทิฏฐิ ๑๘
                 [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๑๘ ประการก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไร จึงกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๑๘ ประการ.

    สัสสตทิฏฐิ ๔
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?
    ปุพเพนิวาสานุสสติ
                 ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการคือ ตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้างร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
    เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขาตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาทอาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้างสามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้างห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้างหลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
    มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยงย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.

    สัสสตทิฏฐิ ๔

                 [๒๘] ๒. อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
    มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไปย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
    อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้างว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้นแม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขาตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.

                 [๒๙] ๓. อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึก
    ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียดส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสอาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิกัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้นมีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้นครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้นครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น
    ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.

                 [๓๐] ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกนั้นมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ นี้แล.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่มีทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้นความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

    จบภาณวารที่หนึ่ง.

    เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔

                 [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?
                 ๕. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านานที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศอยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลยืดยาวช้านาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้กลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่า ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหารมีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสันความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจาก
    ชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหม เป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเองสัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลายบรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เราเป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างเป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้เรานิรมิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า เราได้มีความคิดอย่างนี้ก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้ และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจเป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า พวกเราได้เห็นพระพรหมผู้เจริญนี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดภายหลัง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณกว่ามีศักดิ์มากกว่า ส่วนผู้ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาทอาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้ใดแลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระเป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดที่นิรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นนิรมิตแล้วนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้

    เช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้วจึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง.

                 [๓๒] ๖. (๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ใน
    ความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมไม่หลงลืม เพราะสติไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกเรานั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้เช่นนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
    จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง.

                 [๓๓] ๗. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกัน
    เกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน
    จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควรเมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกันแล้ว ก็ไม่ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราได้เป็นพวกมโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน ก็พากันลำบากกาย ลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

                 [๓๔] ๘. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
    กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดีฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยงยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว

    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง จะบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้นความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับเฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


    อันตานันติกทิฏฐิ ๔

                 [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ.

                 ๙. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาทอาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ย่อมมีความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า
    ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆอาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิตจึงมีความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด. ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภ
    แล้ว มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้.

                 [๓๖] ๑๐. (๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้?

    ดูกรภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่นอาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความสำคัญในโลกว่าไม่มีที่สุด เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ สมณพราหมณพวกที่พูดว่า โลกนี้มีที่สุดกลมโดยรอบนั้นเท็จโลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความสำคัญในโลกว่าหาที่สุดมิได้ ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้วปรารภแล้วมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้.

                 [๓๗] ๑๑. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้?

    ดูกรภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่นอาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต จึงมีความสำคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางหาที่สุดมิได้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่าโลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเท็จ ถึงสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบมิได้ นั้นก็เท็จ โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิตย่อมมีความสำคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้
    ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้.

                 [๓๘] ๑๒. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ บัญญัติว่า โลกนี้มีที่สุดและหาที่สุดมิได้?

    ดูกรภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิญาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเท็จ ถึงสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบมิได้ นั้นก็เท็จ ทั้งสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุดนั้นเท็จ โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ จะบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ สมณพราหมณ์พวกนั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดนั้น ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


    อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔
                 [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ?
                 ๑๓. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล คำพยากรณ์นั้นของเราจะพึงเป็นคำเท็จ คำเท็จของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เราเพราะฉะนั้น เขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การกล่าวเท็จ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

                 [๔๐] ๑๔. (๒) อนึ่งในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศลก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศลนี้เป็นอกุศล ความพอใจ ความติดใจ หรือความเคืองใจ ความขัดใจในข้อนั้น พึงมีแก่เรา ข้อที่มีความพอใจ ความติดใจหรือความเคืองใจ ความขัดใจนั้น จะพึงเป็นอุปาทานของเรา อุปาทานของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่อุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

                 [๔๑] ๑๕. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศลก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศลก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด ชำนาญการโต้วาทะเป็นดุจคนแม่นธนูมีอยู่แลแม้ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวทำลายทิฏฐิด้วยปัญญา เขาจะพึงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนเราในข้อนั้น เราไม่อาจโต้ตอบเขาได้ การที่โต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เราความเดือดร้อนของเรานั้น จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การซักถาม เพราะเกลียดแต่การซักถาม เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

                 [๔๒] ๑๖. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นคนเขลา งมงาย เพราะเขลา เพราะงมงาย เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ เขาจึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ถ้าท่านถามเราอย่างนี้ว่าโลกหน้ามีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกหน้ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า โลกหน้ามี แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้าไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ...ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี ... ถ้าท่านถามเราว่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ... ถ้าท่านถามเราว่า
    สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ... ถ้าท่านถามเราว่าผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่หรือถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีอยู่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
    ไม่มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มีอยู่ ... ถ้าท่านถามเราว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยเราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลายสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริงจึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


    อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒

                 [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ?

                 ๑๗. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าอสัญญีสัตว์มีอยู่ ก็และเทวดาเหล่านั้นย่อมจุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิตเมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ย่อมตามระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญาได้ เบื้องหน้าแต่นั้นไประลึกมิได้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้าพเจ้าเมื่อก่อนไม่ได้มีแล้วเดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นมี. เพราะมิได้น้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบแล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ.

                 [๔๔] ๑๘. (๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด เขากล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ สมณพราหมณ์พวกนั้นทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๒ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนา เหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุทั้ง ๑๘ ประการนี้แล.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวยืนยัน ด้วยเหตุ ๑๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไปคุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


    อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔

                 [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๔๔ ประการก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ประการ?

    สัญญีทิฏฐิ ๑๖

                 [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ.

    ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ?

    สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย.
                 ๑๙. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๐. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๑. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๒. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๓. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๔. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๕. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๖. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๗. (๙) อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๘. (๑๐) อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๒๙. (๑๑) อัตตาที่มีสัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๓๐. (๑๒) อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๓๑. (๑๓) อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๓๒. (๑๔) อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๓๓. (๑๕) อัตตาที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา.
                 ๓๔. (๑๖) อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการนี้แล.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๑๖ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้ชัดยิ่งกว่านั้นทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

    อสัญญีทิฏฐิ ๘
                 [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ?สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย
                 ๓๕. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
                 ๓๖. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
                 ๓๗. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
                 ๓๘. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
                 ๓๙. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
                 ๔๐. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
                 ๔๑. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
                 ๔๒. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญาด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


    เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘
                 [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ย่อมบัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ประการ? สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย
                 ๔๓. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
                 ๔๔. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
                 ๔๕. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
                 ๔๖. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
                 ๔๗. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
                 ๔๘. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
                 ๔๙. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่สัญญาก็มิใช่.
                 ๕๐. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
    พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้นความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


    อุจเฉททิฏฐิ ๗
                 [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า ขาดสูญย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๗ ประการ?
                 ๕๑. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิดฉะนั้นอัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

                 ๕๒. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์มีรูป เป็นกามาพจร บริโภคกวฬิงการาหาร ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้นท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                 ๕๓. (๓) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นอีกที่เป็นทิพย์ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบครัน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ท่านยังไม่รู้ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

                 ๕๔. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเพราะไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                 ๕๕. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญเพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิดอัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                 ๕๖. (๖) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ ว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตกอัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                 ๕๗. (๗) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะขาดสูญอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (มีอารมณ์ว่า นั่นละเอียด นั่นประณีต ๑-) เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ ท่านยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้ จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า ขาดสูญย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งมีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๗ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี?
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


    ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
                 [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบันบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?
                 ๕๘. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณห้าฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง.
    พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                 ๕๙. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะกามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็นธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.

                 ๖๐. (๓) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่าปฐมฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีวิตกและวิจารอยู่ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพาน ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                 ๖๑. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่า ทุติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีปีติเป็นเหตุให้จิตกระเหิมอยู่ เพราะอัตตานี้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติเสวยสุขอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบัน เป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                 ๖๒. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเพราะเหตุว่า ตติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยจิตยังคำนึงถึงสุขอยู่ เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งพวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๕ ประการนี้เท่านั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต
    มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยเหตุ ๔๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี ...?

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ๖๒ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วน
    อดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยเหตุ ๖๒ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.


                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้นความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

    จบทิฏฐิ ๖๒.

    ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ
                 [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.

                 [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการแม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็นเป็นความแส่หาเป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการแม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หาเป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการแม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หาเป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการแม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หาเป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการแม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หาเป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.

                 [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ๖๒ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหา เหมือนกัน.

                 [๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการแม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้มิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๕ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการแม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน บัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ๖๒ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

                 [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการเขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆย่อมบัญญัติว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตมีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการเขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการเขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานที่จะมีได้.

                 [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ๖๒ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

                 [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการพวกที่มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง ... พวกที่มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ... พวกที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ...พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ... พวกที่มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ...
    พวกที่มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ... พวกที่มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ...พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกถูกต้องๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพเพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับคุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
    เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตกล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้วเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้วผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.

                 เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่าน่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละก็ได้ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้.

                 ครั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชมเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้วแล.
    จบพรหมชาลสูตรที่ ๑.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    โลกของสำนักวัดนาป่าพง เป็นสำนักที่มี อุปนิสัยและอัชฌาสัยของสัตว์โลก ดุจทิฏฐิเพียง บัวสามเหล่า สัตว์โลกมีเพียงสามอัชฌาสัย โลกที่ไม่มีเดียร์ถีย์ ศาสนิกลัทธิอื่น ก็พังทันที เป็นเหตุเป็นผลอันใดไม่ได้เลย ไม่มีคุณสมบัติแม้ ในการเป็นสมณพราหมณ์ในการกล่าว ทิฏฐิด้วยเหตุ ๖๒ ประการ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างมีเหตุผล ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างนี้เพราะเรารู้เราเห็นด้วย เราประพฤติอย่างนี้ เราเห็นอย่างนั้น เพ่งสิ่งนั้น จึงรู้ด้วยอาการนั้น เป็นต้น

    แต่บังอาจไปวิสัชนา เด็ดดอกบัวของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทิ้ง เหลือไว้แค่สาม บางเหล่า ไม่เอา ไม่สามารถขยายความ บัวที่เป็นนียัตถะ และ เนยยัตถะ ของเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งสหโลกธาตุทุกภพภูมิ สหโลกธาตุที่มีสัตว์เพียงสาม อัชฌาสัย จึงไม่ใช่โลกของพระพุทธศาสนาในโลกธาตุที่องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงประกาศพระสัทธรรมเอาไว้นี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยเหตุ ๖๒ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

    ไม่มีแม้ฐานะผู้ถือทิฏฐิได้ เป็น สัมมาทิฏฐิ ก็เป็นไม่ได้ เป็น มิจฉาทิฏฐิ โดยรู้เห็นเหตุอันสมเหตุผล ก็ไม่สามารถมีและเป็นได้ จึงต้องบ้าและเพี้ยนสถานเดียว

    น่าเวทนาสงสารลูกศิษย์ลูกหา ลูกหมาตาบอดจริงๆเจ้าข้าเอ้ย เอาทั้งคนบ้า คนปาราชิก 2 in 1เพราะต้องมิตฉัตตะ ๑๐ และ ความฉิบหาย ๑๐ ประการมาเป็นครูเป็นอาจารย์

    มิน่ามันถึงมั่วและเกรียนเขาไปทั่วด้วยตัณหา

    โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง มาร ๕ นี่แสบจริงๆ ใช้คนบ้าคนปาราชิกมาหลอกคนให้หลุดออกจากกระแสธรรมอันเป็นความดี







    มันบ้าจริง

    "พระอรหันต์สาวกท่านนี้เป็นพระองค์แรก ที่มีคุณอันประเสริฐต่อศาสนาพุทธ ของไทยที่ผ่าน 2,558ปี พระท่านใดก็มิอาจเทียบบารมี"

    ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สาธุ สาธุ สาธุ ทัสนานุตริยะ นี้ สมแล้วที่ทรงตรัสว่า เป็นพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยม ต้องพิจารณาคุณอันลึกนี้อยู่เนืองๆ


    คึกฤทธิ์ ฐานะของผู้ถือทิฐิยังไม่สามารถจะมีได้ จึงเป็นผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหา เท่านั้น เราคิดว่าเขาเป็น สัสสตทิฏฐิ หรือเป็น อุจเฉททิฏฐิ แต่ก็ไม่สามารถเป็นได้ เพราะขาดคุณสมบัติ ในการรู้การเห็นอันสมฐานะ ในการชี้ชัดในสภาวะที่รู้ที่ทราบในสิ่งที่เป็น และก็ถูกที่เราวิสัชนาไว้ คือ มาร ๕ ครอบ เป็นมิจฉาทิฐิ โดยต้องมิตฉัตตะ ๑๐ และ ต้องความฉิบหาย ๑๐ จริงๆ

    มาร ๕ ยุคกึ่งพุทธกาล เป็นกงจักรเสแสร้งแปลงเป็นดอกบัว วิสัชนาธรรมมั่วซั่ว หลอกสัตว์ตาบอดลบหลู่ทำลายพระรัตนตรัย นำพาสัตว์ไปทนทุกข์ในนรก


       มิจฉัตตะ ๑๐  แปลว่า ภาวะที่ผิด หรือความเป็นสิ่งที่ผิด มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
            ๑. มิจฉาทิฏฐิ  เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้น
            ๒. มิจฉาสังกัปปะ  ดำริผิด ได้แก่ ดำริแส่ไปในกาม ดำริพยาบาท ดำริเบียดเบียนเขา
            ๓. มิจฉาวาจา  วาจาผิด, เจรจาผิด ได้แก่ ๑. มุสาวาท พูดปด  ๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด  ๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ  ๔. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
            ๔. มิจฉากัมมันตะ  ทำการผิด ได้แก่กายทุจริต ๓ คือ  ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์  ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์  ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
            ๕. มิจฉาอาชีวะ  เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ หาเลี้ยงชีพในทางทุจริตผิดวินัยหรือผิดศีลธรรม เช่น หลอกลวงเขา เป็นต้น
            ๖. มิจฉาวายามะ  พยายามผิด ได้แก่ พยายามทำบาป พยายามทำอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น
            ๗. มิจฉาสติ  ระลึกผิด ได้แก่ ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ
            ๘. มิจฉาสมาธิ  ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ  ในพยาบาท  ในความสุขสงบสบายอย่างติดเพลินในฌานสมาธิ เป็นต้น
            ๙. มิจฉาญาณ  รู้ผิด เข้าใจผิด เช่น ความรู้ในการคิดอุบายทำความชั่ว, รู้เข้าใจผิดๆอันยังให้เกิดโทษหรือกิเลส
            ๑๐. มิจฉาวิมุตติ  ความสุขสงบ ความพ้นผิด เช่นการระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก  การระงับกิเลสนั้นแม้ดี แต่ยังเป็นการระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าสร้างโลกนั้น จึงยังผิดทางอยู่  จึงไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริงหรือถาวร

    พยสนสูตร
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
    กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุนั้นไม่
    บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้น
    ย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑ เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่
    ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ย่อมถูกโรค
    อย่างหนัก ๑ ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑ เมื่อ
    ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษ
    เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย
    ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ




    เฮ้อ ! ฉิบหายแล้ว เรื่องใหญ่ขนาดนี้ สงสารศิษย์สำนักนี้จริงๆที่ไปหาที่พึ่งผิดๆ อย่างคึกฤทธิ์ น่าเวทนาเหลือเกินcatt19catt19catt19catt19catt19catt19catt19

    คุณสมบัติที่จะเป็นคนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างมีเหตุมีผล สมเหตุสมผลแก่องค์ความรู้ที่มี ยังไม่มีเลย จักไปเป็นครูบาอาจารย์สอนคน พวกสำนักดอกบัวสามแพร่งอันแห้งแล้ง


    ไม่รู้ไม่เห็นไม่มีอะไร?แม้ในทิฏฐิทั้ง ๖๒ แต่อยากดังด้วยกิเลสตัณหา อยากใหญ่




    แล้วจะเอาคุณสมบัติของพระอเสขะหรืออุดมด้วยปฎิสัมภิทาญาน อันเป็นผู้ที่สมควรเป็นครูอาจารย์ผู้กล่าวสอนมาแต่ไหน? ให้ชั่วอย่างมีเหตุผลยังมียังเป็นไม่ได้ จะเอาดีมาจากไหนเล่าสัตว์โลกเอย

    โรงบาลบ้ากล้ารับไหม?เนี่ย สมเหตุสมผลแล้วถ้าจะบ้า ได้คนบ้าฟั่นเฟือนเป็นอาจารย์ มิน่า จึงยุคนบ้าให้เป็นพระอรหันต์ที่ดีที่สุดในรอบ ๒,๕๐๐ ปี เลยโดนคนบ้าตัณหา ยุคืนแจก อริยะอันมี พระโสดา - อนาคามี กันทั้งสำนัก



    คำสอนคึกวจน
    สำคัญผิดไปเลยว่าได้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์โลกจะได้สงบสุข **สำคัญผิดไปเลย ยิ่งมากยิ่งดี โลกยิ่งสงบ**


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=09&A=0&Z=1071
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2016
  3. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    เรามีความรูัสึกไม่ไว้วางใจท่านเลยค่ะในตอนนี้ ทำไมเรามีความรู้สึกว่าท่านว่าเราด้วย แต่ท่านไม่กล่าวตรงๆ
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    Acatheคึก Awards


    (f)(f)(f)(f)(f)(f)(f)(f)(f)(f)

    THE END

    มหากาพย์เรื่องนี้ คึกฤทธิ์ เชิญรับตุ๊กตาทอง สาขา ผู้สร้าง ชะตากรรมที่โลกไม่มีวันลืม

    THE END
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • hqdefault.jpg
      hqdefault.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.8 KB
      เปิดดู:
      109
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2016
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้ารู้ว่า คึกฤทธิ์ บ้าและเพี้ยนแล้วแบบนี้ ไม่ว่าจะเกิดอะไร?ขึ้นก็ตามหลังจากนี้ ก็เป็นไปตามกรรมแล้ว




    บุญของเธอและสหธรรมมิก คือช่วยเหลือบุคคลที่หลงผิด ยกเพื่อออกจากอสัทธรรม เธอเขาเหล่านั้นย่อมได้อานิสงส์

    น้องหญิง เธอน้อมนำ พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมมาให้เราตามกาลแล้ว ข้อนี้เธอจึงควรพิจารณา ธรรมนี้เป็นคุณอันลึก เมื่อรู้จึงสามารถวิสัชนาได้ ไม่รู้จึงคาดคะเนเอาไม่ได้ ผิดแก้ใหม่ตามวิสัยเพราะเราต่างเป็นผู้เสขะยังต้องคงแก่เรียน

    ทางรอดที่บริสุทธิ์หมดจดคือ ต้องแสดงเนื้อความประโยค ที่ได้ตีความหมายให้รู้ซึ้งถึงเจตนาของอาจารย์ผู้สอน ให้ถูกต้องตามหลักธรรมทั้งมวลฯ โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบรู้ในธรรมของอาจารย์ดีแล้ว โดยนำสรุป เข้าสู่กระบวนการไตร่ตรอง พิจารณาตามหลักธรรมทั้งหลายฯ สรุปผลให้เป็น [สัมมาทิฏฐิ] นั่นคือ การแสดงเป็นอรรถาธิบาย โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ที่ไม่ว่าผู้ใด ก็ไม่สามารถหาเหตุข้อติดขัดใดๆ มาโต้แย้งได้

    อย่าฆ่าอาจารย์ เพราะมีผู้รู้เห็น รักอาจารย์ ต้องพิจารณาธรรมจากอาจารย์ ให้ดีแล้วค่อย เอามาสอน เอามาประกาศ อย่าทำร้ายอาจารย์ อันเป็นเหตุให้สำนักอื่นที่ขัดกันหาเหตุโจทย์อธิกรณ์ได้

    ผู้นำธรรมมาแสดงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยไม่รู้จักการตีความให้บริสุทธิ์ แล้วจึงนำมาแสดง อันจะเกิดเป็นขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติธรรม โดยไม่ทำลายขวัญกำลังใจและศรัทธา ผู้เดินมาตามหลัง ทั้งจะถูกเยาะเย้ยจากศาสนาอื่น เดียร์ถีย์นอกลัทธินิยมนั่นด้วย โดยแสวงอื่น คือการเพ่งโทษ ย่อมทำลายมรรค ๘ ในทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย สาธุธรรมฯ



    กระแสธรรมจะหลอมรวมไปสู่แสดงธรรมอันลึก ยิ่งวิสัชนายิ่งลุ่มลึก

    อย่าลืมว่า ในยุทธจักรคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวมักจะไม่เปิดเผย

    ข้อควรนำไปคิด เพื่อแปลงสภาพ ภาวะฐานะธรรม
    "ถ้าเราท่านมีพลังฝีมือ และมียอดวิชา ที่ตัวเองถนัดอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ทว่ามีอุปสรรคบางอย่าง ทำให้ไปไม่ถึงไหน อาศัยแต่ทริกเล็กๆ หลอกขู่คนอื่นไปได้ แต่ถ้าเจอของจริงที่จับสังเกตุได้ เราท่านนี้ก็อาจจะสู้ไม่ได้ อย่างง่ายดายเหมือนกัน" เรื่องแพ้-ชนะแล้วจะได้อะไร? ค่อยว่ากันอีกที


    จงระวังภัยที่ ๕ ซึ่งกำลังคืบคลานมาอย่างช้าๆ

    ขอจงสรรเสริญแด่ พระธรรม พระพุทธ พระสงฆ์ที่อยู่ในสารคุณดีแล้วนั้นเทอญฯ

    นี่ไม่ใช่ความรู้ ที่เรามีอยู่ในร่างกายและสมองเน่าๆของเรา เราไม่มีอะไร นอกจาก คำว่า รัก และ ห่วง


    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ


    https://youtu.be/4VzhGhusKAo
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดา ทรงมีพุทธวิสัย อันกว้างขวางลึกล้ำเป็นอจิณไตย ที่ทรงปฎิบัติทรงสอน ใน จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล หรือตลอดจนในศีลพระธรรมวินัยทั้งหลายฯ ที่ทรงอบรมสั่งสอนนั่นก็มีไว้ให้น้อมนำไปปฎิบัติ เพื่อความสำรวมระวังไปจนกว่าจะถึงความหลุดพ้นจากภัยในวัฎสงสาร เรื่องราวของสหโลกธาตุในตลอดอนัตริยะจักรวาล ในพุทธวิสัย เรื่องบางเรื่องที่ไม่อาจหยั่งรู้และเห็น อย่าสรุปว่า พระองค์ ไม่มี ไม่เป็น ไม่ปฎิบัติ ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นปัจจัยอันเอื้อเฟื้อแก่เหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ฯ


    EMPEROR OF GOD

    พระพุทธเจ้า คือ สมเด็จพระบรมมหาจักรพรรดิ พระธรรมราชา อย่างแท้จริง



    ผู้ยิ่งใหญ่ที่ครอบครองปกป้อง ดูแลอนันตริยะจักรวาลที่แท้จริง

    เรื่องพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังจักรวาลอื่น


    ณ สถานที่ที่หมู่
    มารทั้งหลายนั่งประชุม พึงทราบว่า มารบริษัท อนึ่ง บริษัทนั้นแม้ทั้งหมด
    ของมารทั้งหลาย ไม่ได้ถือเอาด้วยสามารถแห่งการเห็นสถานที่เลิศ. เพราะ
    มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่อาจเพื่อจะกล่าวแม้คำปกติว่า พระราชาประทับนั่งใน
    ที่นี้ เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากรักแร้. ขัตติยบริษัทเลิศอย่างนี้.

    พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในเวทสาม. คหบดีทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดในโวหารต่าง ๆ และในการคิดอักษร. สมณะทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดในวาทะของตนและวาทะของคนอื่น.

    ชื่อว่า การกล่าวธรรมกถาในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้นเป็นภาระหนักอย่างยิ่ง. แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นผู้เลิศ. เพราะครั้นแม้เพียงกล่าวว่า อมนุษย์ สรีระทั้งสิ้นย่อมสั่น. สัตว์ทั้งหลายได้เห็นรูป หรือฟังเสียงของอมนุษย์นั้น ย่อมปราศจากสัญญาได้. บริษัทของอมนุษย์เลิศอย่างนี้.

    ชื่อว่าการแสดงธรรมกถาในอมนุษย์บริษัทแม้เหล่านั้น ย่อมเป็นภาระหนักมาก.
    อมนุษย์บริษัทเหล่านั้น พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการเห็น
    ฐานะอันเลิศ ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า อชฺโฌคาหติ คือ ตามเข้าไป. บทว่า
    อเนกสต ขตฺติยปริส คือ เช่น สมาคมพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมพระญาติ
    และสมาคมเจ้าลิจฉวี. ย่อมได้ในจักรวาลแม้เหล่าอื่น.


    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่แม้จักรวาลเหล่าอื่นหรือ. เออ เสด็จ
    ไป. เป็นเช่นไร. เขาเหล่านั้นเป็นเช่นใด พระองค์ก็เป็นเช่นนั้นเทียว. เพราะ
    ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็เราเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อย ย่อมรู้เฉพาะแล ว่า ในบริษัทนั้น พวกเขามีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้น พวกเขามีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น และเราให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา และพวกเขาไม่รู้เราผู้กล่าวอยู่ว่า ผู้กล่าวนี้เป็นใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ และครั้นให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้รื่นเริงแล้ว ด้วยธรรมีกถาก็หายไป และพวกเขาไม่รู้เราผู้หายไปว่า ผู้ที่หายไปนี้เป็นใครหนอแล เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้.

    เหล่ากษัตริย์ทรงประดับประดาด้วยสังวาลมาลา และของหอมเป็นต้น ทรงผ้าหลากสี ทรงสวมกุณฑลแก้วมณี ทรงโมลี ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับพระองค์เช่นนั้นหรือ กษัตริย์แม้เหล่านั้นมีพระฉวีขาวบ้าง ดำบ้าง คล้ำบ้าง แม้พระศาสดาทรงเป็นเช่นนั้นหรือ. พระศาสดาเสด็จไปด้วยเพศบรรพชิตของพระองค์เอง แต่ทรงปรากฏเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้น ครั้นเสด็จไปแล้วทรงแสดงพระองค์ซึ่งประทับนั่งบนพระราชอาสน์ ย่อมเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า ในวันนี้พระราชาของพวกเรารุ่งโรจน์ยิ่งนัก
    ดังนี้.


    ถ้ากษัตริย์เหล่านั้น มีพระสุรเสียงแตกพร่าบ้าง ลึกบ้าง ดุจเสียงกาบ้าง
    พระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมด้วยเสียงแห่งพรหมนั้นเทียว ก็บทนี้ว่า เราก็มี
    เสียงเช่นนั้น ตรัสหมายถึงลำดับภาษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังเสียงนั้นแล้ว
    ย่อมมีความคิดว่า วันนี้ พระราชาตรัสด้วยเสียงอันอ่อนหวาน. ก็ครั้นเมื่อ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไป เห็นพระราชาเสด็จมาอีก ก็เกิดการ
    พิจารณาว่า บุคคลนี้ใครหนอแล. พระองค์จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า บุคคลนี้ใคร
    หนอแล อยู่ในที่นี้ บัดนี้ แสดงด้วยเสียงอ่อนหวาน ด้วยภาษามคธ ด้วยภาษา
    สีหล หายไป เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้. ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคล
    ทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์
    ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้ ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้น
    เทียว.


    จูฬนีสูตร
                  ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
    แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับฟัง
    มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

    ดูกรอานนท์ สาวกของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีนามว่า อภิภู ยืนอยู่ในพรหมโลก ให้พันแห่งโลกธาตุรู้แจ้งได้ด้วยเสียง พระเจ้าข้า ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเล่า ทรงสามารถที่จะทำโลกธาตุเท่าไรให้รู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

    ดูกรอานนท์ นั้นสาวก ส่วนพระตถาคตนับไม่ถ้วน ฯ

                 ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

    ดูกรอานนท์ สาวกของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีนามว่า อภิภู ยืนอยู่ใน
    พรหมโลก ทำให้พันแห่งโลกธาตุรู้แจ้งได้ด้วยเสียง พระเจ้าข้า ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเล่า ทรงสามารถที่จะทำโลกธาตุเท่าไรให้รู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง ฯ

                 พ. ดูกรอานนท์ นั้นเป็นสาวก ส่วนพระตถาคตนับไม่ถ้วน

                 ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคแม้เป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

    ดูกรอานนท์ สาวกของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีนามว่า อภิภู ยืนอยู่ใน
    พรหมโลก ทำให้พันแห่งโลกธาตุรู้แจ้งได้ด้วยเสียง พระเจ้าข้า ส่วนพระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเล่า ทรงสามารถที่จะทำโลกธาตุเท่าไรให้รู้แจ้งได้ด้วย
    พระสุรเสียง ฯ

                 พ. ดูกรอานนท์ นั้นเป็นสาวก ส่วนพระตถาคตนับไม่ถ้วน
                 ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคแม้เป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

    ดูกรอานนท์ สาวกของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีนามว่า อภิภู ยืนอยู่ในพรหมโลก
    ทำให้พันโลกธาตุรู้แจ้งได้ด้วยเสียง พระเจ้าข้า ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเล่า ทรงสามารถที่จะทำโลกธาตุเท่าไรให้รู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง ฯ

                 พ. ดูกรอานนท์ เธอได้ฟังเรื่องพันโลกธาตุ เพียงเล็กน้อย ฯ

                 อา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลเวลาแห่ง
    เทศนาที่พระองค์จะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้สดับธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาค
    แล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

                 พ. ดูกรอานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

    ดูกรอานนท์ จักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับโอกาสที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร ทั่วทิศ
    สว่างไสวรุ่งโรจน์ โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น มีพระจันทร์
    พันดวง มีอาทิตย์พันดวง มีขุนเขาสิเนรุพันหนึ่ง มีชมพูทวีปพันหนึ่ง มี
    อปรโคยานทวีปพันหนึ่ง มีอุตตรกุรุทวีปพันหนึ่ง มีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง มี
    มหาสมุทรสี่พัน มีท้าวมหาราชสี่พัน มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง มี
    เทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดุสิตพัน
    หนึ่ง มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสตีพันหนึ่ง มี
    พรหมโลกพันหนึ่ง

    ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล โลก
    คูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุอย่างเล็ก ซึ่งมีพันจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุ
    อย่างกลางมีล้านจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุ อย่างกลางมีล้าน
    จักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาล

    ดูกรอานนท์ตถาคตมุ่งหมายอยู่ พึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาลให้รู้แจ้งได้ด้วยเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่มุ่งหมาย ฯ

                 อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคพึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่
    ประมาณแสนโกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งด้วยพระสุรเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่
    พระองค์ทรงมุ่งหมายอย่างไร ฯ

                 พ. ดูกรอานนท์ พระตถาคตในโลกนี้ พึงแผ่รัศมีไปทั่วโลกธาตุอย่าง
    ใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาล เมื่อใด หมู่สัตว์พึงจำแสงสว่างนั้นได้ เมื่อนั้น
    พระตถาคตพึงเปล่งพระสุรเสียงให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน พระตถาคตพึงทำให้โลกธาตุ
    อย่างใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาลให้รู้แจ้งได้ด้วยพระสุรเสียง หรือพึงทำให้รู้
    แจ้งได้เท่าที่พระองค์ทรงมุ่งหมาย ด้วยอาการเช่นนี้แล ฯ

                 เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลว่า เป็น
    ลาภของข้าพระองค์หนอ ข้าพระองค์ได้ดีแล้วหนอที่ข้าพระองค์มีพระศาสดาผู้มีฤทธิ์
    มีอานุภาพมากอย่างนี้ เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้
    กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า

    ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ท่านจะได้ประโยชน์อะไร ถ้าศาสดาของท่านมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอุทายีว่า

    ดูกรอุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะเช่นนี้ พึงทำกาละไป เธอพึงเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่เทวดา ๗ ครั้งพึงเป็นเจ้าจักรพรรดิในชมพูทวีปนี้แหละ ๗ ครั้ง เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น

    ดูกรอุทายีก็แต่ว่าอานนท์จักปรินิพพานในอัตภาพนี้เอง ฯ

    จบอานันทวรรคที่ ๓



    ผนวก


    เพื่อความสำรวมระวังอันเกิดจากกระแสมาร ๕

    ๑ . กามาสวะ

    กามาสวะ คือ กิเลสอันหมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ที่ทำให้เกิดความใคร่และจมอยู่หรือติดใจอยู่ในการแสวงหากามคุณทั้ง 5 ประการ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส

    ๒ . ภวาสวะ

    ภวาสวะ คือ กิเลสอันหมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ที่ทำให้อยากมีอยากเป็นและจมอยู่หรือติดใจอยู่ในความชอบใจยินดีต่อภพใดภพหนึ่งใน 3 ภพนี้ ได้แก่ กามภพ (ภพของมนุษย์) รูปภพ (ภพของรูปพรหม) และอรูปภพ (ภพของอรูปพรหม)

    ๓ . ทิฏฐาสวะ

    ทิฏฐาสวะ คือ กิเลสอันหมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ที่ทำให้เกิดทิฏฐิและจมอยู่หรือติดใจอยู่ในความเห็นผิดจากความเป็นจริงแห่งสภาวธรรม หรือผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าเที่ยง เห็นว่าเป็นสุข และเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน

    ๔ . อวิชชาสวะ

    อวิชชาสวะ คือ กิเลสอันหมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ที่ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริงและจมอยู่หรือติดใจอยู่ในความไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริงนั้น เช่น การไม่รู้ในทุกข์ การไม่รู้ในเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ การไม่รู้ในความดับทุกข์ และการไม่รู้ในหนทางที่ทำให้ถึงความดับทุกข์

    พระพุทธเจาจะบัญญัติสิกขาบทปาฏิโมกข แกสาวกเพื่อกําจัดอาสวัฏฐานิยธรรม
    การที่อาสวัฏฐานิยธรรมจะปรากฏในสงฆหรือในศาสนานั้นมีเหตุอยู๓ ประการ
    ๒๐ วิ.ม. ( ไทย ) ๔/๑๓/๒๐. ๒๑ วิ.ม. ( ไทย ) ๔/๑๓๒/๒๐๗-๒๑๐. ๒๒ วิ.มหา. ( ไทย ) ๑/๑๘/๑๐. ๑๕

    ๑.สงฆเปนหมูใหญโดยภิกษุผูบวชนานแลว หมายถึง เปนหมูใหญเพราะมีภิกษุเถระ
    จํานวนมากซึ่งบวชมานาน เพราะจะมีเหตุใหพระพุทธเจาบัญญัติสิกขาบทเกี่ยวกับพระเถระ เชนพระเถระรูปใดโงเขลาไมพึงใหอุปสมบท เปนตน

    ๒.สงฆเปนหมูใหญโดยแพรหลายแลว หมายถึง มีแพรหลายทั้งพระเถระ พระภิกษุ
    ปานกลาง และ พระภิกษุผูบวชใหมเพราะจะมีเหตุใหพระพุทธเจาบัญญัติสิกขาบทเกี่ยวกับการวางตัวระหวางภิกษุที่ตางพรรษากัน

    ๓.สงฆเปนหมูใหญเลิศโดยลาภแลว เพราะจะมีเหตุใหพระพุทธเจาบัญญัติสิกขาบท
    เกี่ยวกับเรื่องลาภสักการะ เชน ภิกษุใดใหของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภคดวยมือของตนแกนักบวชเปลือยก็ดี แกปริพาชกก็ดี แกปริพาชิกาก็ดี ภิกษุนั้นตองอาบัติปาจิตตียเปนตน๒๓


    ๑. จุ ด เ ริ่ ม ต้ น พ ร ะ วิ นั ย

    เกิดจากการปรารถความดำรงอยู่ยาวนานแห่งพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า
    ในพรรษาที่ ๑๒ ณ เมืองเวรัญชรา

    พระสารีบุตรทูลอาราธนาให้บัญญัติในสิกขาบท โดยกราบทูลว่า

    ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงบัญญัติสิกขาบท
    ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่พระสาวก อันจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่ได้ยืนนาน

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบแก่พระสารีบุตรว่า

    จงรอไปก่อนเถิดสารีบุตร
    ตถาคตรู้เวลาในเรื่องที่จะบัญญัติสิกขาบทนั้น
    ศาสดาจะยังไม่บัญญัตสิกขาบทแก่สาวก ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
    ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรมในหมู่สงฆ์

    เมื่ออาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างขึ้นในหมู่สงฆ์ ตถาคตจึงจะบัญญัติสิกขาบท
    และจักปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น

    อาสวัฏฐานิยธรรม ในที่นี้คือ
    การกระทำผิดอันเป็นต้นกำเนิดของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

    แต่หลังจากออกพรรษานั้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงบัญญัติสิกขาบทบทแรก
    คือ ปาราชิก ข้อห้ามที่ภิกษุเสพเมถุน

    ผู้ที่ประพฤติคนแรกนั้นเรียกว่า อาทิกัมมิกะ เป็นต้นบัญญัติ ไม่ต้องรับตามบัญญัติแห่งสิกขาบทนั้น หมายเอาที่สิกขาบทปาราชิกถึงอนิยต


    เหตุให้เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม นอกจากบุพกรรมเก่าแล้ว ว่าด้วย ยังว่าด้วยกิเลสและตัณหา อวิชชาที่โคจรมา จึงทำให้เกิดอุปสรรคเป็นอันมาก ที่เข้ามาขัดขวาง การปฎิบัติธรรมทั้งหลาย ฯ แม้ผู้มีฤทธิ์มาก มารยังเข้าสิงกายพรหม และด้วยกำลังของมาร พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ยังหนีไม่พ้น หรือแม้กับพระพุทธเจ้าพระผู้ทรงพระพุทธเมตตาบารมี มารยังคอยตามรังควาญ จนถึงขั้นทูลขอให้ทรงดับขันธปรินิพพาน

    ฉนั้น อย่าคิดว่าการจะสำเร็จและบรรลุธรรมได้โดยง่าย และจะสามารถครองตนให้บริสุทธิ์สะอาดได้ ตราบใดที่ยังมีวัตรปฎิบัติที่เอื้อต่อการ ข้องเกี่ยวในวิสัยปุถุชนอยู่ ภัยอันมากมีย่อมตามมา

    มาร ๕

    ฝูงที่ ๑ ชื่อกิเลสมาร
    ได้แก่ ความขุ่นมัวที่ฝังติดใจคนเราแล้วทำให้เราคิดแต่เรื่องร้ายๆ ซึ่งถ้าจะถามว่า เกิดจากอะไร? ก็เกิดจากการที่ใจของเราเคลื่อนออกจากศูนย์กลางกายไปแล้วเลยทำให้กิเลสได้โอกาสฝังติดใจแนบแน่น จึงทำให้ใจเกิดความคิดร้ายๆ ขึ้นมาเมื่อความคิดร้ายๆ นั้นเกิดขึ้นมาแล้ว ก็เลยทำให้เราคิด พูด ทำแต่สิ่งที่ไม่ดีเป็นการตัดรอนความดีของเราลง แล้วเราเองก็กลายเป็นเสนาหรือผู้รับใช้ของเทวบุตรมารไปอีกทอดหนึ่งด้วย

    ฝูงที่ ๒ ชื่อขันธมาร
    ได้แก่ร่างกายและจิตใจของเราที่ไม่สมประกอบ พิการไปด้วยเหตุอันใดอันหนึ่งเช่นสุขภาพไม่ดี ร่างกายเสื่อมโทรม เจ็บไข้ได้ป่วย ก็เลยทำให้ขันธ์ของเราเป็นมารแก่ตัวเองแม้ที่สุดการที่กินข้าวผิดเวลา นอนดึกๆ ดื่นๆหรืออยู่ในอิริยาบถเดียวต่อเนื่องกันไปนานๆ เช่น นั่งนานๆเลยทำให้ปวดเมื่อยเกินเหตุ รวมทั้งการที่ตัวเรามีประสาทสัมผัสเสื่อม ความจำเสื่อมความคิดไม่แล่น การตัดสินใจยืดยาด ไม่เด็ดขาด เหล่านี้เป็นต้นสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นขันธมารบั่นทอนความดีของเราลงทั้งสิ้น

    ฝูงที่ ๓ ชื่ออภิสังขารมาร
    ได้แก่ผลกรรมชั่วในอดีตที่ตามมาล้างมาผลาญเรา แม้เราเลิกการกระทำเหล่านั้นแล้วบาปกรรมก็ยังตามล้างผลาญไม่ลดละ แม้แต่ชาวบ้าน เขาก็ไม่เชื่อถือเรา ตามสาปแช่งเราตายแล้วยังแถมตกนรกหมกไหม้อีกด้วย พอเกิดมาใหม่ก็พิการ ใบ้ บ้า ปัญญาอ่อน

    ฝูงที่ ๔ ชื่อมัจจุมารคือความตายที่คอยจ้องตัดรอนชีวิตอยู่ทุกขณะจิต หากประมาทเมื่อใดเพียงหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย ออกแล้วไม่เข้าก็ตายยิ่งไม่ออกไม่เข้ายิ่งตายเร็วหนักเข้าไปอีก รวมทั้งความกลัวตายที่พลอยผสมโรงริดรอนกำลังใจด้วย

    มารทั้ง ๔ ฝูงนี้ล้วนอาศัยอยู่ในตัวของเราแต่ละคน มีแต่

    มารฝูงที่ ๕ ชื่อเทวบุตรมาร
    ซึ่งอยู่นอกตัวเราแต่ก็พร้อมจะเข้ามาสิงในตัวเราเมื่อไหร่ก็ได้ มันมีตัวตนจริงๆพร้อมที่จะแสดงตัวออกมาด้วยกายหยาบก็ได้ กายละเอียดก็ได้แม้แต่ท้องพระอรหันต์อย่างพระมหาโมคคัลลานะซึ่งทีฤทธิ์มาก มันก็ยังเข้าไปได้ง่ายๆหากมันได้โอกาสก็พร้อมจะพิฆาตเข่นฆ่าเราทันทีอุปมาให้คิดและวิสัชนาดังนี้แล

    ๑. ขันธมาร

    ๒. ธาตุมาร

    ๓. อายตนะมาร

    ๔. คติมาร

    ๕. อุปบัติมาร

    ๖. ปฏิสนธิมาร

    ๗. ภวมาร

    ๘. สังสารมาร

    ๙. วัฏฏมาร

    ในการจำบัญญัติสิกขาบทแต่ละข้อนั้น จะมีลำดับดังนี้

    ๑. เกิดเรื่องมัวหมองขึ้นภายในคณะสงฆ์

    ๒. พระพุทธเจ้าตรัสประชุมสงฆ์ แล้วตรัสถามพระภิกษุผู้ก่อเหตุ

    ๓. พระภิกษุรูปหรือคณะนั้นๆ รับในการกระทำความผิด

    ๔. พระพุทธเจ้าทรงตรัสโทษของการประพฤติผิดเช่นนั้น แลอานิสงส์ของการสำรวมระวัง

    ๕. ทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อห้ามกระทำต่อไป

    ๖. ผู้ฝ่าฝืนหรือละเมิดสิกขาบทนั้นเรียกว่า “ปรับอาบัติ”

    ๒. วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ก า ร บั ญ ญั ติ พ ร ะ วิ นั ย

    • เพื่อความดีแก่สงฆ์

    • เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์

    • เพื่อมาข่มบุคคลผู้เก้ออยาก

    • เพื่อความอยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีล

    • เพื่อปิดกั้นอาสวะอันบังเกิดในปัจจุบัน

    • เพื่อป้องกันอาสวะอันบังเกิดในอนาคต

    • เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

    • เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

    • เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

    • เพื่อเอื้อต่อ (ถือตาม) วินัย


    ประโยชน์หรืออานิสงส์แห่งพระวินัยนั้น มีดังนี้

    ๑. เพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม

    ๒. ไม่เดือดร้อนปราโมทย์

    ๓. อิ่มใจ

    ๔. ปัสสัทธิ

    ๕. สุข

    ๖. สมาธิ

    ๗. เห็นตามความจริง

    ๘. เบื่อหน่าย

    ๙. คลายกำหนัด

    ๑๐. วิมุตติ



    มารมีฤทธิ์มีอิทธิพลยิ่งใหญ่มาก แม้แต่พระอินทร์ พอมารมา ก็หนีไม่รอหน้า ไปหลบอยู่สุดขอบจักรวาล พระพรหมก็หลีกเลี่ยงบางคราวมารก็ขึ้นไปรังควานถึงพรหมโลกซึ่งเป็นชั้นรูปาวจรสูงกว่าระดับของตน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "บรรดาผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ"

    แม้ มารจะมีอำนาจยิ่งใหญ่ถึงอย่างนี้ แต่มนุษย์ผู้ฝึกอบรมดีแล้ว ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ก็พิชิตมารได้ด้วยคุณธรรมของตน และมนุษย์ที่มีคุณธรรมสูงเช่นนี้ เทพเจ้าทั้งปวงตลอดถึงพรหมย่อมนบไหว้



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้วย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้นธรรม ๓ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑
    เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑
    เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบแล้วด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้วย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้นฯ"

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปดประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือการปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้าพระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลง ติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร


    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษคนหนึ่งเดินทางไกลมาพบแม่น้ำขวางหน้า แต่ฝั่งนี้มีอันตราย ส่วนฝั่งโน้นเป็นที่สบายปลอดภัย เรือหรือสะพานจะข้ามฝั่งก็ไม่มี บุรุษหนุ่มนั้นคิดว่าจะอยู่ช้าไม่ได้แล้วเพราะมีอันตรายรออยู่ เขาจึงรวบรวมกิ่งไม้และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วพยายามถ่อแพไปจนถึงฝั่งตรงข้ามโดยปลอดภัย หลังจากนั้น เขาจึงคิดว่าแพนี้มีประโยชน์แก่เขามาก พาเขาข้ามฝั่งพ้นอันตรายมาได้ อย่ากระนั้นเลย เราแบกแพนี้ขึ้นทูนหัวไปด้วยดีกว่า แล้วเขาก็เอาแพนั้นทูนหัวเดินไป

    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดว่า บุรุษนั้นทำถูกต้องหรือไม่”

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

    “ไม่ถูกต้อง พระเจ้าข้า ความจริงบุรุษนั้นควรผูกแพไว้ที่ริมฝั่ง หรือยกแพขึ้นมาเกยบนบก แล้วจึงเดินทางต่อไปเพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องอาศัยแพอีกแล้ว”

    พระพุทธองค์ตรัสว่า

    เช่นเดียวกันภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อเป็นอุปกรณ์ให้ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ดุจแพน้ำไปสู่ฝั่ง ไม่ใช่เพื่อให้ยึดมั่นถือมั่น แม้ธรรมะเรายังสอนให้ละวาง ไม่ต้องพูดถึงอธรรมเลย”


    "ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป แล้ว"บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว"

    "ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

    พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"




    ขอจงมีขวัญและกำลังใจ มีความเพียรเพ่งและตั้งใจ เพื่อผ่านข้ามพ้นไปยังดินแดนแห่งพระนิพพานเถิด สหายธรรมกัลยาณมิตรทั้งหลายฯ


    ขอจงเคารพและสรรเสริญแด่ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ นั้นเทอญฯ

    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ใครจะบริสุทธิ์ผุดผ่องได้

    วินิจฉัยว่าด้วยการแสดงพระโอวาทปาฎิโมกขครั้งสุดท้าย

    อัคคิขันธูปมสูตร

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัส
    ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)
    ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้
    แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ


    [โอวาทปาฏิโมกขคาถา]
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ ในบริษัทผู้นั่งประชุมกันแล้วว่า๑-
    ความอดทน คือความอดกลั้น เป็น
    ธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อม
    กล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม ผู้ทำร้ายผู้อื่น
    ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย ผู้เบียดเบียนผู้อื่น
    อยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ.
    ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศล
    ให้ถึงพร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส
    นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    ความไม่กล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย
    ๑ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็น
    ผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นอนที่นั่งอัน
    สงัด ๑ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธทั้งหลาย.

    พึงทราบปาฏิโมกขุทเทสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้นอกนี้โดยอุบายนี้นั่นแล. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีพระโอวาทปาฏิโมกขคาถาเพียง ๓ คาถานี้เท่านั้น. คาถาเหล่านั้นย่อมมาสู่อุเทศจนถึงที่สุดแห่งพระศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระชนมายุยืนยาวนานทั้งหลาย. แต่สำหรับพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุน้อยทั้งหลาย คาถาเหล่านั้นมาสู่อุเทศเฉพาะในปฐมโพธิกาลเท่านั้น.
    ด้วยว่า จำเดิมตั้งแต่เวลาทรงบัญญัติสิกขาบทมา ก็แสดงเฉพาะอาณาปาฏิโมกข์เท่านั้น. ก็แลอาณาปาฏิโมกข์นั้น พวกภิกษุเท่านั้นแสดง. พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาทรงแสดงไม่. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพวกเรา ก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ตลอดเวลาเพียง ๒๐ พรรษาในปฐมโพธิกาลเท่านั้น.



    [เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงทำอุโบสถและปาฏิโมกข์]
    ต่อมาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ที่ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า๑- ภิกษุทั้งหลาย! ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาฏิโมกข์, ภิกษุทั้งหลาย! ต่อแต่นี้ไปพวกเธอเท่านั้น พึงทำอุโบสถ พึงแสดงปาฏิโมกข์, ภิกษุทั้งหลาย! มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่พระตถาคตจะพึงทำอุโบสถ พึงแสดงปาฏิโมกข์ ในบริษัท ผู้ไม่บริสุทธิ์.

    ตั้งแต่นั้นมา พวกภิกษุก็แสดงอาณาปาฏิโมกข์. อาณาปาฏิโมกข์นี้เป็นของอันพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์มีพระวิปัสสีเป็นต้น ไม่ทรงยกขึ้นแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อนุทฺทิฏฺฐํ ปาฏิโมกฺขํ.



    เมื่อตนไม่สามารถอยู่ในศีลอันเป็นสารคุณ จึงมีศีลมาบังคับ ยิ่งศีลมีมากเท่าไหร่ ภิกษุผู้มีโทษย่อมมากเพียงเท่านั้น ไม่รู้จักการรักษาศีลโดยไม่ต้องมีศีลก็เป็นเช่นนี้

    อปฺปญฺญตฺตํ สาวกานํ สิกฺขาปทํ ความว่า สิกขาบท คือข้อบังคับด้วยอำนาจอาบัติ ๗ กองที่ควรทรงบัญญัติ โดยสมควรแก่โทษอันพระพุทธเจ้ามีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น. ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้แก่พระสาวกทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ไม่มีโทษ.
                   สองบทว่า อนุทฺทิฏฐํ ปาฏิโมกฺขํ ความว่า พระปาฏิโมกข์คือข้อบังคับ ก็มิได้ทรงแสดงทุกกึ่งเดือน. พระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ทรงแสดงเฉพาะโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น และแม้โอวาทปาฏิโมกข์นั้น ก็มิได้แสดงทุกกึ่งเดือน.
                   ๑- จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ๖ เดือนต่อครั้งๆ ก็แลโอวาทปาฏิโมกข์นั้น ทรงแสดงด้วยพระองค์เองทั้งนั้น.
                   ส่วนพวกสาวกของพระองค์มิได้แสดงในที่อยู่ของตนๆ ภิกษุสงฆ์แม้ทั้งหมดในสกลชมพูทวีป กระทำอุโบสถในที่แห่งเดียวเท่านั้น คือในอุทยานเขมมฤคทายวันใกล้ราชธานี ชื่อพันธุมดี อันเป็นที่เสด็จประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี.
                   ก็แล อุโบสถนั้นได้กระทำเป็นสังฆอุโบสถอย่างเดียว หาได้กระทำเป็นคณะอุโบสถ บุคคลอุโบสถ ปาริสุทธิอุโบสถ อธิษฐานอุโบสถไม่ ได้ทราบว่าในเวลานั้น ในชมพูทวีปมีวิหารแปดหมื่นสี่พันตำบล ในวิหารแต่ละตำบลมีภิกษุอยู่เกลื่อนไป วิหารและหมื่นรูปบ้าง สองหมื่นรูปบ้าง สามหมื่นรูปบ้าง เกินไปบ้าง.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=14
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คึกฤทธิ์และสาวก แห่งสำนักวัดนาป่าพง ปทุมธานี คลองสิบ หมิ่นรอยพระพุทธบาท ไม่ใช่ของจริงเป็นของปลอม และจะสร้างด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม จึงทำเล่ห์ถามตอบให้เป็นเดรัจฉานวิชา เป็นสิ่งสูญเปล่า ไม่มีมรรคไม่มีกุศลผลบุญฯ และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบรมวงค์ศานุวงค์ ในพระราชกิจหลวงหลายประการ อ้างพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ

    http://palungjit.org/threads/ตำนานพระพุทธบาทสี่รอย.190016/


    มั่นใจคนที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต้องได้อ่าน ตอนนี้ สำนักวัดนาป่าพง ได้เดินทางเข้าสู่ การทำลายสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อย่างเต็มตัวแล้ว ข่าวสารกำลังกระจายไปสู่พี่น้องเหล่าพุทธศาสนิกชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเพจต่างๆ เราเปิดเผยความจริง เราสู้เพื่อปกป้องรักษา พิทักษ์รักพระพุทธศาสนาและสถาบันของชาติบ้านเมือง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือส่วนได้ส่วนเสีย ไม่มีการว่าจ้าง หรือ รับมีรับจ่าย หรือรับสิทธิ์สินบนใดๆ ให้กระทำการเปิดโปงหรือใส่ความใดๆแก่ สำนักวัดนาป่าพง หรือ อลัชชีคึกฤทธิ์ และศิษย์สำนัก มีแต่ความจริง กล่าวจริง ไม่มีข้อมูลอันเป็นเท็จ โจทก์จริง ด้วยโลกะวัชชะของเหล่าพุทธบริษัท ที่มีดวงตาไม่มืดบอด ไม่เคยตำหนิพระไตรปิฏกว่าไม่ได้เรื่อง ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะอาศัยสติปัญญา มีความคิดอ่านพิจารณามากเพียงพอแก่การศึกษา ไม่ได้ตำหนิพระไตรปิฏก ไม่ได้ตำหนิพระสังฆราชและพระราชาคณะ ที่ทรงชำระพระไตรปิฏก แม้ฉบับหลวงก็ดี ฉบับสยามรัฐก็ดี หรือฉบับอื่นๆก็ดี ว่าเป็นชนรุ่นหลังแต่งคำปลอม ยัดเรื่องนอกแนวเข้าสู่พระไตรปิฏก
    อย่างที่ คึกฤทธิ์ชาวคณะสำนักวัดนาป่าพงพูดและกระทำอยู่ในทุกๆวันนี้ โดยมีเจตนาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของบรรพกษัตริย์ จนถึงพระบรมวงค์สานุวงค์ในราชกาลปัจจุบัน และอาณาประชาราฏร์ ที่พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจัดสร้างจัดพิมพ์มาโดยตลอด จนถึงเมื่อปี ๒๕๕๕ ฉลอง ๒๖๐๐ปี แต่สำนักวัดนาป่าพงประกาศจะเอาหนังสือ พุทธวจนปิฏก ซึ่งเป็นสัทธรรมปฎิรูป โดยแอบอ้างว่ารู้พุทธวจนกว่าผู้ใด ที่ไม่ถูกต้องในระเบียบการชำระ มาแทนที่พระไตรปิฏกในประเทศไทยและในโลก เป็นการทำลายสถาบัน ชาติและบ้านเมืองให้เกิดความวุ่นวายสับสนแตกแยกในบวรพระพุทธศาสนา และได้หลอกลวงกลุ่มพุทธบริษัท ที่ยังอ่อนต่อการพิจารณาศึกษา ในการเจริญในพระสัทธรรม ด้วยจิตที่เปรียบประดุจลูกโคอ่อนแรกเกิด ลืมตาขึ้นมา ไม่ได้เห็นแม่วัว ได้ไปเห็นเสือก็คิดว่าเป็นพ่อแม่ของตน จึงต้องตกเป็นอาหารของเหล่าพยัคฆ์ราชสีห์ไปดังนี้แล
    ขอท่านผู้อ่าน ที่มาด้วยมิตรก็ดีไม่ใช่มิตรก็ดี โปรดพิจารณา ช่วยกันตักเตือนญาติมิตรสหาย และบุตรหลานของท่าน อย่าได้หลงเชื่อ สำนักที่สร้างสัทธรรมปฎิรูปนี้ เพื่อความพ้นภัยในวัฎสงสาร ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญในพระสัทธรรมอันสมเด็จพระบรมหาศาสดาทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้นเทอญฯ
    ด้วยรักและปรารถนาดี
    ว่าที่ พระธรรมบุตร ธรรมราชา
    ขออนุโมทนาบุญฯ




    จากวิดีโอนี้
    https://youtu.be/j_9ELWsTlB4


    คึกฤทธิ์ ทำลายอรรถกถา บอกพูดแต่คำของพระพุทธเจ้า สอนแต่คำพุทธเจ้า แต่ตนเองอธิบายเองแบบชักจูงชนิดน้ำไหลไฟดับ ไม่รู้จักปฎิสัมภิทา ๔ และเข้าใจว่า พระไตรปิฏกทั้งหลาย ล้วนสืบทอดมาจาก การจารึกบันทึกทรงจำของพระสงฆ์สาวก ว่าด้วยสาวกจดจำมาจากพระดำรัสตรัสสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่ออีกทอดหนึ่งเพียงเท่านั้น นี่จึงแสดงให้เห็นว่าคึกฤทธิ์ไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทา ๔

    ผู้ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระไตรปิฏก อย่างชัดเจนคือผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น สำหรับพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ในโลกมนุษย์ อย่างที่เราเห็นกันทุกๆวันนี้ โดยลอกแบบออกมาจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท (ทิพย์) เป็นแบบตรวจทานแก้ไข ต่อให้ไม่ครบบุบสลายเพียงไร?ไปก็ตาม ใครจะเปลี่ยนอย่างไร? เขียนอย่างไร? สุดท้ายก็จะมีผู้มาทะนุบำรุงรักษา เหมือนเดิมจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสนานี่คือความพิเศษ วิเศษ ของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำลายได้ ถึงกาลเวลาอันสมควร พระธรรมอันบริสุทธิ์คุณนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาดังเดิม และแน่นอน ท่านผู้นั้น ย่อมแสดง สถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม ให้ผู้มีบุญได้เห็นเป็นขวัญตา ในที่นี้ยังหมายถึง การสาธุการของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะปรากฎตนขึ้นด้วย เพราะอานุภาพใหญ่

    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}
    (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"

    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน

    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว




    คึกฤทธฺ์สอนพุทธบริษัทที่ตาบอดให้ ไม่เอาลูกนิมิต ไม่เอากรวดน้ำ ไม่เอาพระธาตุ ไม่เอารอยพุทธบาท ไม่เอาการเรียนนักธรรม เปรียญธรรม หรือการศึกษาในด้านอื่น ไม่ส่งเสริมการสร้างโรงพยาบาล หรือ ให้ยาพยาบาลผู้ป่วยโดยพระภิกษุ อ้างพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ เป็นของแต่งใหม่ ไม่มีอานิสงส์ ทำเล่ห์แสร้งถามตอบ ให้จัดอยู่ในเดรัจฉานวิชา หมิ่นสถาบันและพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา


    พระพุทธองค์ได้กำหนดไว้ 8 ประการ ได้แก่ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และน้ำนิ่ง

    ฝังลูกนิมิต


    คึกฤทธิ์วิสัชนา สอนคนว่าการกรวดน้ำหรือการหลั่งทักษิโณทก เพื่ออุทิศกระแสบุญและกระแสธารไม่มีจริง เป็นคำแต่งใหม่ ไม่มีอานิสงส์เป็นสิ่งสูญเปล่า เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ นั่นก้หมายถึง สอนคนไม่ให้เชื่อในการตรัสรู้ที่ใต้ มหาโพธิบัลลังก์ขององค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดานั้นด้วย ที่พระแม่ธรณียืนยันพระมหากรุณาและบุญบารมีที่ทรงสั่งสมไว้เพื่อขจัดพญามารและเสนามาร

    คึกฤทธิ์สอนไม่ให้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแม้จะมีส่วนร่วมสร้าง โรงพยาบาล หรือส่งเสริมด้าน ยารักษาโรค ในที่จะปรุงยา หรือเรียนรู้หรือเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคใดๆ แก่คฤหัสถ์ฆราวาสชนผู้ยากไร้ หรือแม้แต่ที่จะปรุงยารักษาภิกษุด้วยกันเอง

    ถ้าภิกษุไม่ได้หากินด้วยวิธีการ หลอกลวงผู้คน ด้วยติรัจฉานวิชา ตาม ศีล 3 แต่ให้ยาและพยาบาลผู้เจ็บไข้ ว่าด้วยเป็น ฆราวาสและคฤหัสถ์ผู้ยากไร้


    อย่าดูหมิ่นในพระมหากรุณาของพระตถาคต

    ไม่ว่าอะไร? ถ้าเหลือเฟือ มากเยอะ และจักเป็นของเสื่อม บูด เน่า เสีย ได้ง่าย โดยเฉพาะ เครื่องบริโภค

    ขนมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ (เหลือเฟือ) พระผู้มีพระภาคจึงทรงโปรดให้พระอานนท์แจกเป็นทานแก่คนอดอยาก พระอานนท์จึงแจก มีนักบวชนอกศาสนาที่เป็นผู้หญิงมารับแจกด้วย เผอิญให้เกินไป ๑ ก้อน แก่นักบวชหญิงนั้น ด้วยเข้าใจผิด พวกเขาเองจึงล้อกันว่า พระอานนท์เป็นชู้ของหญิงนั้น. และภิกษุรูปหนึ่งฉันเสร็จก็เอาข้าวสุกคลุกเนยใสให้แก่อาชีวกผู้หนึ่ง. มีผู้เห็นว่าไม่เหมาะสม (เพราะการยื่นให้ด้วยมือ แสดงคล้ายเป็นศิษย์ หรือคฤหัสถ์ประเคนของพระ จะกลายเป็นเหยียดตัวเองลงเป็นคฤหัสถ์). พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามให้อาหารแก่ชีเปลือย แก่ปริพพาชก แก่ปริพพาชิกา ด้วยมือของตน ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.


    การลงโทษให้ขอขมาคฤหัสถ์ (ปฏิสารณียกรรม)
    พระสุธัมมะอาศัยอยู่ในวัดของจิตตะคฤหบดี ณ ราวป่าชื่อมัจฉิกา โกรธว่า คฤหบดีนิมนต์พระเถระรูปอื่นไปฉัน โดยไม่บอกเล่า หรือปรึกษาหารือตนก่อน จึงแกล้งพูดให้กระทบถึงการสืบสกุลของคฤหบดี ผู้นั้นในที่ซึ่งพระเถระอื่นอยู่ด้วยว่า ของเคี้ยวของฉันของท่านสมบูรณ์หมด ไม่มีอยู่ก็แต่ขนมคลุกงา (ติลสังคุลิกา)๒ และได้แสดงอาหารอย่างอื่นในทางที่ไม่สมควร.

    พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงแนะให้สงฆ์สวดประกาศลงปฏิสารณียกรรม คือให้ไปขอโทษคฤหัสถ์ที่ตนรุกรานล่วงเกิน.

    แล้วทรงแสดงลักษณะของการทำปฏิสารณียกรรมที่ไม่เป็นธรรมและที่เป็นธรรม ในทำนองเดียวกับตัชชนียกรรมที่กล่าวมาแล้ว.

    ส่วนลักษณะของภิกษุผู้ควรลงโทษแบบนี้ ท่านแสดงไว้ ๔ หมวด หมวดละ ๕ ข้อ คือ

    ๑.
    ๑. ขวนขวายเพื่อเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์
    ๒. ขวนขวายเพื่อความเสียหาย (อนัตถะ) แก่คฤหัสถ์
    ๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แก่คฤหัสถ์
    ๔. ด่าหรือบริภาษคฤหัสถ์ (บริภาษคือด่าโดยอ้อม)
    ๕. ทำคฤหัสถ์ให้แตกกับคฤหัสถ์.

    ๒.
    ๑. ติเตียนพระพุทธเจ้าให้คฤหัสถ์ฟัง
    ๒. ติเตียนพระธรรมให้คฤหัสถ์ฟัง
    ๓. ติเตียนพระสงฆ์ให้คฤหัสถ์ฟัง
    ๔. ด่าหรือพูดข่มคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว
    ๕. รับปากอันเป็นธรรมแก่คฤหัสถ์ไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน คือไม่ทำตามนั้น.


    ๓.ภิกษุ ๕ รูป แต่ละรูปทำความไม่ดีดั่งที่กล่าวไว้ในหมวด ๑ รูปละอย่าง.

    ๔.ภิกษุ ๕ รูป แต่ละรูปทำความไม่ดีดั่งที่กล่าวไว้ในหมวด ๒ รูปละอย่าง.

    ทั้งสี่หมวด หมวดละ ๕ ข้อนี้ เพียงหมวดใดหมวดหนึ่งที่ภิกษุได้กระทำลงไป ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะลงโทษ ให้ขอขมาคฤหัสถ์ (ปฏิสารณียกรรม) ก็ทำได้ ต่อจากนั้นทรงแสดงการเสียสิทธิ หรือการประพฤติวัตร ๑๘ อย่างเหมือนที่กล่าวไว้ในตัชชนียกรรม.แล้วทรงแสดงวิธีที่จะปฏิบัติในการขอขมาคฤหัสถ์ ซึ่งจะต้องมีการสวดประกาศสงฆ์ ส่งภิกษุเป็นพูตไปด้วยรูปหนึ่งร่วมกับภิกษุที่ถูกลงโทษ เพื่อช่วยเจรจาให้เขายกโทษให้ เมื่อทำได้ดังนี้ สงฆ์จึงสวดประกาศเพิกถอนการลงโทษนั้น.ต่อจากนั้น จึงทรงแสดงลักษณะของภิกษุที่ไม่ควรและควรเพิกถอนการลงโทษแบนี้ ฝ่ายละ ๑๘ ข้อ เช่นเดียวกับตัชชนียกรรม.


    พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ
    สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคท้องเสีย เธอนอนจนปัสสาวะ อุจจาระของตนอยู่. ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค มีท่านพระอานนท์ตามเสด็จ เที่ยวตรวจเสนาสนะไปยังที่อยู่ของภิกษุนั้น ทอดพระเนตรเห็นเธอนอนจมปัสสาวะ อุจจาระของตนอยู่ จึงเสด็จเข้าไปหา ตรัสถามว่า "ดูก่อนภิกษุ เธออาพาธด้วยโรคอะไร?"
    ภิกษุนั้นกราบทูลว่า "โรคท้องเสีย พระเจ้าข้า"
    "ภิกษุผู้พยาบาลเธอไม่มีหรือ?"
    "ไม่มี, พระเจ้าข้า"
    "เพราะเหตุไรเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?"
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลข้าพระองค์."
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า "ดูก่อนอานนท์ เธอจงไปนำน้ำมา เรา๑จะอาบน้ำให้ภิกษุนี้."
    พระอานนท์รับพระพุทธดำรัสแล้ว จึงไปนำน้ำมา.
    พระผู้มีพระภาคทรงรดน้ำ พระอานนท์ทำความสะอาด. พระผู้มีพระภาคทรงจับทางศีรษะ พระอานนท์ยกทางเท้าให้ภิกษุนั้นนอนบนเตียง.
    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงเรียกประชุมภิษุทั้งหลาย เพราะเหตุการณ์นั้น ตรัสถามว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มีภิกษุไข้อยู่ในวิหารโน้นมิใช่หรือ? "
    "มี พระเจ้าข้า"
    "เธออาพาธด้วยโรคอะไร ?"
    ด้วยโรคท้องเสีย พระเจ้าข้า."
    "มีใครพยาบาลภิกษุนั้นหรือเปล่า ?"
    "ไม่มี พระเจ้าข้า"
    "ทำไมเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลภิกษุนั้น."

    "ภิกษุทั้งหลายไม่พยาบาลเธอ เพราะเธอไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาผู้จะพึงพยาบาลพวกเธอก็ไม่มี. ถ้าเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพยาบาลเรา ก็พึงพยาลภิกษุไข้เถิด. ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปชฌายะ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์พึงพยาบาลเธอ. ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ๒."

    ทว่าพระองค์ไม่สอนเรื่องนอกแนว แล้วพระองค์สอนเรื่องในแนว คือ เรื่องการพยาบาลให้ภิกษุเพียงแต่เท่านั้นหรือ? หรือว่าสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสสอนใช้ได้ในธรณีสงฆ์เพียงเท่านั้น ไม่สามารถนำไปปฎิบัติได้ในโลกภายนอก เรื่องอื่นๆก็มีอีกมากที่เป็นเรื่องภายนอก ทว่าจะพิจารณาแบบนั้น

    ฉนั้นการปรุงยา ที่คึกฤทธิ์วิสัชนาสอนลูกศิษย์ตาบอดใจบอดทั้งหลายมา จัดยารักษาภิกษุก็ผิดศีลผิดธรรมหมดสิ เอาอย่างนั้นเหรอ?

    ๔๕. คนไข้ที่พยาบาลยากและพยาบาลง่าย

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง เป็นผู้ที่พยาบาลยาก คือ
    ๑. มักทำสิ่งซึ่งไม่เป็นที่สบาย๓
    ๒. ไม่รู้ประมาณในสิ่งที่สบาย
    ๓. ไม่กินยา
    ๔. ไม่บอกอาการป่วยตามความจริงแก่ผู้พยาบาล ผู้ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ว่าอาการป่วยเพิ่มขึ้น ทุเลาหรือทรงอยู่
    ๕. ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด ไม่เป็นที่พอใจถึงขนาดจะคร่าชีวิต
    คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล เป็นผู้ที่พยาบาลยาก"

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง เป็นผู้ที่พยาบาลง่าย คือ
    ๑. มักทำสิ่งอันเป็นที่สบาย
    ๒. รู้ประมาณในสิ่งอันเป็นที่สบาย
    ๓. กินยา
    ๔. บอกอาการป่วยตามความจริงแก่ผู้พยาบาล ผู้ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ว่าอาการป่วยเพิ่มขึ้น ทุเลาลง หรือทรงอยู่
    ๕. อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น อันเป็นเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด ไม่เป็นที่พอใจถึงขนาดจะคร่าชีวิต คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล เป็นผู้พยาบาลง่าย."
    ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๖๑
    ๔๖. คนพยาบาลไข้ที่ดีและไม่ดี

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ไม่ควรที่จะพยาบาลคนไข้คือ
    ๑. ไม่สามารถที่จะจัดยา
    ๒. ไม่รู้ของควร ของแสลง นำของแสลงเข้าไปให้ นำของไม่แสลงออก
    ๓. เป็นผู้เห็นแก่อามิสพยาบาลคนไข้ ไม่มีเมตตาจิต
    ๔. รังเกียจที่จะนำไปเทซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน และเขฬะ
    ๕. ไม่สามารถที่จะชี้แจงชักจูง ปลุกใจ ปลอบใจคนไข้ด้วยธรรมิกถาเป็นครั้งคราว
    คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่ควรที่จะพยาบาลคนไข้.


    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ควรที่จะพยาบาลคนไข้ คือ
    ๑. สามารถที่จะจัดยา
    ๒. รู้ของควร ของแสลง นำของแสลงออก นำของควรเข้าไปให้
    ๓. มีเมตตาจิตพยาบาลคนไข้ ไม่มุ่งอามิส
    ๔. ไม่รังเกียจที่จะนำไปเทซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือเขฬะ
    ๕. เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงชักชวน ปลุกใจ ปลอบใจคนไข้ด้วยธรรมิกถาเป็นครั้งคราว
    คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ เหล่านี้แล ควรที่จะพยาบาลคนไข้."




    คึกฤทธิ์เป็นผู้ยังให้สงฆ์และคฤหัสถ์แตกกันแล้ว นั่นก็คือโทษอีกประการหนึ่ง ด้วยเหตุไม่เอื้อเฟื้อต่อ คฤหัสถ์ฆราวาสผู้ยากไร้ เจ็บไข้ได้ป่วย

    แต่ยินดีและออดอ้อนเชื้อเชิญ ให้พยาบาลหญิงมารักษาตน ทั้งๆที่บุรุษแพทย์มีมากมาย ความเห็นแก่ตัวนี้ มีในสมณะเพศหรือ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนหรือ ? พระองค์ท่านกระทำเป็นตัวอย่างแล้วมิใช่หรือ?


    โปรดระวังภัยในพระพุทธศาสนา ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ด้วยความรักและเทิดทูนต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ช่วยกันปกป้องรักษาสอดส่องดูแลลูกหลานญาติมิตรผู้ใกล้ชิดไม่ให้ตกเป็นเหยื่อด้วยเถิด สหายกัลยาณมิตรธรรมทั้งหลายฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • maxresdefault.jpg
      maxresdefault.jpg
      ขนาดไฟล์:
      124.4 KB
      เปิดดู:
      101
    • download.jpg
      download.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.6 KB
      เปิดดู:
      116
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2016
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คึกฤทธิ์สอนพุทธบริษัทที่ตาบอดให้ ไม่เอาลูกนิมิต ไม่เอากรวดน้ำ ไม่เอาพระธาตุ ไม่เอารอยพุทธบาท ไม่เอาการเรียนนักธรรม เปรียญธรรม หรือการศึกษาในด้านอื่น ไม่ส่งเสริมการสร้างโรงพยาบาล หรือ ให้ยาพยาบาลผู้ป่วยโดยพระภิกษุ อ้างพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ เป็นของแต่งใหม่ ไม่มีอานิสงส์ ทำเล่ห์แสร้งถามตอบ ให้จัดอยู่ในเดรัจฉานวิชา หมิ่นสถาบันและพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา

    รอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี

    ความจริง รอยพระพุทธบาท เป็นอุทเทสิกเจดีย์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนสมัยก่อน นิยมสร้างขึ้นมาเพื่อสักการะบูชา ก่อนที่จะสร้างพระพุทธรูป สมัยก่อน พุทธศาสนิกชนเคารพพระศาสดามาก จึงไม่นิยมสร้างรูปเหมือน หรือพระพุทธรูป จะสร้างเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ เช่น จะสร้างปางประสูติ ก็จะสร้างเฉพาะดอกบัว 7 ดอก และมีพุทธมารดายืนอยู่ใต้ต้นสาละ ปางตรัสรู้ จะสร้างเฉพาะบัลลังก์ประทับนั่งตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา จะสร้างเฉพาะธรรมจักร และกวางมอบ เป็นต้น การสร้างพระพุทธรูป เริ่มสร้างในสมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือ เมนันเดอร์ กษัตริย์ชนชาติกรีก ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงให้ครองอินเดีย หันมานับถือพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นในลักษณะแบบเทพเจ้ากรีก พระพุทธบาท จึงเป็นอุทเทสิกเจดีย์สำหรับกราบไหว้บูชา ซึ่งพุทธศาสนิกชนสมัยก่อน นิยมสร้างขึ้น

    พระพุทธบาทสระบุรี รอยนี้ ยาว 5 ฟุต 1 นิ้ว กว้าง 20 นิ้ว ลึก 10 นิ้ว มีประวัติและตำนานการค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา ประวัติการพบรอยพระพุทธบาทนี้ สืบเนื่องมาจากว่า พระพุทธศาสนิกชน จากประเทศไทย ได้เดินทางไปนมัสการกราบไหว้รอยพระพุทธบาทที่ลังกา ผู้ที่ไปนมัสการกันแล้ว ต่างก็พากลับมาเล่าต่อ ๆ กันว่า ชาวลังกา ได้บอกรอยพระพุทธบาทในประเทศไทยก็มี ทำไมจึงต้องพากันมากราบไหว้กันถึงเกาะลังกา ชาวลังกาก็ยังได้อ้างคัมภีร์ทางศาสนาของลังกา ซึ่งปรากฏอย่างชัดแจ้งว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ ถึง 5 แห่ง คือ

    1
    เขาสุวรรณมาลิก
    2
    เขาสุมนกูฎ
    3
    เมืองโยนกบุรี
    4
    หาดในลำน้ำนัมมทานที และ
    5
    เขาสุวรรณบรรพต ประเทศไทย
    ตามพระราชพงศาวดาร กล่าวถึงประวัติการพบรอยพระพุทธบาท เมืองสระบุรีไว้ว่า "ลุศักราช 968 (พ.ศ. 2149 ปีนั้น เมืองสระบุรีบอกมาว่า พรานบุญพบรอยเท้าอันใหญ่ บนไหล่เขา เห็นปลาด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีพระทัย เสด็จด้วยเรือพระที่นั่ง ชัยพยุหยาตรา พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาสามนตราช ดาษดาโดยชลมารคคนทีธารประทับท่าเรือ รุ่งขึ้นสด็จทรงพระที่นั่งสุวรรณปฐษฎางค์ พร้อมด้วยคเชนทรเสนางคนิกรเป็นอันมาก ครั้งนั้น ยังมิได้มีทางสถลมารค (ทางบก) พรานบุญเป็นมัคคุเทสก์นำลัดตัดดงไปถึงเชิงเขา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครัสทอดพระเนตรเห็นแท้ว่า เป็นรอยพระพุทธบาท มีลายลักษณ์กงจักร ประกอบด้วยอัฏฐตุตรสตมหามงคลร้อยแปดประการ สมด้วยพระบาลีแล้ว มีรอยพระพุทธบาทอยู่เหนือยอดเขาสุวรรณบรรพต ก็ทรงโสมนัสปรีดาปราโมทย์ ถวายทสนัข (สิบนิ้ว) เหนือพระอุตมางคศิโรตม์ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์เป็นหลายครา กระทำสักการะบูชาด้วยธูปเทียนสุคนธรสจะนับมิได้ ทั้งท้าวพระยา เสนาบดี กว่ราชนักปราชญ์บัณฑิตชาติทั้งหลาย ก็ถวายวันทนาประนมน้อมเกล้า ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ต่างคนต่างมีจิตโสมนัส ปราโมทย์ยิ่งนัก กระทำสักการะบูชา"

    พระเจ้าทรงธรรม เมื่อทอดพระเนคร พบรอยพระพุทธบาทด้วยพระองค์แล้ว ก็ดีพระทัยเป็นล้นพ้น ทรงนมัสการกราบไหว้ และทรงคิดว่ารอยพระพุทธบาทแห่งนี้ เป็นบริโภคเจดีย์ เนื่องจากชิดติดต่อกันถึงพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเสริฐยิ่งกว่า อุทเทสิกเจดีย์ เช่น พระพุทธรูป และพระสถูปเจดีย์ ซึ่งเป็นของสร้างขึ้นโดยสมมติ จึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดีย์ มีพระมณฑปโถงสวมรอยพระพุทธบาท และพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และสร้างบริเวณราชนิเวศน์ที่เชิงเขาพระพุทธบาทที่ท่าเจ้าสนุกริมแม่น้ำป่าสักแห่งหนึ่ง สำหรับประทับเวลาเสด็จไปบูชาแล้วโปรดฯ ให้ช่างชาวฮอลันดาส่องกล้อง ทำถนนและเรือขึ้นไปจนถึงเขาสุวรรณบรรพต เพื่อให้เป็นทางมหาชนไปมาได้โดยสะดวก รวมเป็นเวลา 4 ปี จึงสร้างสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สำเร็จ โปรดฯ ให้มีพิธีฉลองสมโภชน์งานพระพุทธบาทถึง 7 วัน 7 คืน

    ครั้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดฯ ให้แต่งธารทองแดงเป็นที่ประพาส และโปรดฯ ให้สร้างพระตำหนักเป็นที่ประทับ สำหรับเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทด้วย และขนานนามว่า "พระตำหนักธารเกษม" แห่งหนึ่ง ตกแต่งพระตำหนักที่ท่าเจ้าสนุกแห่งหนึ่ง และโปรดฯ ให้ขุดบ่อทำศาลาราย ริมถนนหลวงขึ้นไปจนถึงพระพุทธบาท

    เมื่อถึงรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้สร้างถนน เป็นทางพระราชดำเนิน คือ เริ่มตั้งแต่เมือลพบุรีไปจนถึงเขาสุวรรณบรรพตอีกสายหนึ่ง โปรดฯ ให้สร้างอ่างแก้วและก่อกำแพงกั้นตามไหล่เขา ชักน้ำฝนให้ไหลลงไปในอ่างแก้ว เพื่อสำหรับให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้ใช้บริโภค

    ต่อมา ในรัชกาลของสมเด็จ พระสุริเยนทราธิบดี หรือสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ ทรงปฏิสังขรณ์ พระมณฑปลักษณะเป็นยอดเดียว มีอายุถึง 70 ปีเศษ เห็นจะชำรุดทรุดโทรม ก็ทรงโปรดฯ ให้เปลี่ยนเครื่องบน โดยแปลงเป็นพระมณฑป 5 ยอด และปฏิสังขรณ์สิ่งอื่น ๆ ทั่วไป ในพระอารามอีกหลายแห่ง

    รัชกาล สมเด็จพระภูมิทราธิบดี หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ทรงปฏิสังขรณ์เฉพาะองค์พระมณฑป ซึ่งแต่เดิมเป็นพระมณฑปโปร่งโถง โปรดฯ ให้ทำเป็นมณฑปทึบ ด้วยการก่ออิฐอุดช่องโถงนั้นเสีย และโปรดฯ ให้เอากระจกเงาแผ่นใหญ่ ประดับฝาผนังข้างในพระมณฑป และปั้นลายปิดทอง ประกอบตามแนวที่ต่อกระจก เพื่อให้งดงามยิ่งขึ้น เฉพาะองค์พระมณฑป สูงถึง 18 วา 2 ศอก พืันพระมณฑปใช้เงินคาดว่า หนักถึง 600 ชั่ง โดยใช้ทองคำปูลาดหลังคาพระมณฑปหนักถึง 62 ชั่ง โปรดฯ ให้ใช้ทองคำเปลว ปิดประดับถึง 2,946,000 แผ่น

    ในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ยุคเมืองไทยมีพม่ามาติดพัน และพม่าเข้าทำการล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีจอ พ.ศ. 2309 พวกจีนที่พำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ขันอาสาต่อสู้พม่า ชาวจีนจึงจัดให้มีกองระบจีน ตั้งค่ายอยู่ ณ ตำบลคลองสวนพลู แต่นานวันเข้าพวกจีนคิดมิซื่อ รวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ 300 คน พากันขึ้นไปยังพระพุทธบาท แล้วช่วยกันเลิกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อย ซึ่งทรงรอยพระพุทธบาทอยู่ และพร้อมกับเอาแผ่นเงินที่ปูลาดพื้นพระมณฑป ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และถือโอกาสเผาพระมณฑป เป็นทำนองกลบเกลื่อนว่า เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้เสียหายไปในกองไฟ

    จนถึงสมัย กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวร สุรสิงหนาท เสด็จขึ้นไปทรงอำนวยการในการปฏิสังขรณ์พระมณฑป พระพุทธบาท เมื่อ พ.ศ. 2330 การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ กรมพระราชวังบวรฯ แต่งตั้งให้พระยาราชสงคราม เป็นนายช่างปรุงเครื่องบนพระมณฑป โดยขนไปจากกรุงเทพฯ เฉพาะกรมพระราชวังบวรฯ ทรงพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า ทรงแบกตัวลำยองเครื่องบนตัวหนึ่ง พระราชดำเนินตั้งแต่ท่าเรือขึ้นไปจนถึงพระพุทธบาท





    อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
    ปุณโณวาทสูตร
    ๓. อรรถกถาปุณโณวาทสูตร

    ปุณโณวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
    ในพระสูตรนั้น ความอยู่ผู้เดียว ชื่อว่า การหลีกเร้น.
    คำว่า ถ้าหากว่า นั้น ได้แก่ ตาและรูปนั้น.
    คำว่า เพราะความเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิดขึ้น คือ การรวมเอาทุกข์ในขันธ์ ๕ ย่อมมีด้วยการรวมเอาความเพลินอันได้แก่ตัณหามาอยู่ด้วยกัน. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันทรงทำให้วัฏฏะถึงที่สุดด้วยอำนาจแห่งสัจจะทั้ง ๒ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ในทวารทั้ง ๖ แล้วจึงทรงแสดง.
    ในนัยที่ ๒ ทรงทำวิวัฏฏะให้ถึงที่สุดด้วยอำนาจสัจจะ ๒ ข้อคือ นิโรธ มรรค แล้วจึงทรงแสดง. อนุสนธิที่แยกไว้โดยเฉพาะคือคำว่า และด้วยอาการอย่างนี้ ปุณณะเธอ. ครั้นทรงใส่เทศนาด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะในพระอรหัตอย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงให้ท่านปุณณเถระเปล่งสีหนาทในฐานทั้ง ๗ จึงได้ตรัสคำว่า และด้วยอาการอย่างนี้ เธอ ดังนี้เป็นต้น.
    คำว่า ดุ คือ ดุร้าย ร้ายกาจ.
    คำว่า หยาบคาย คือ หยาบช้า.
    คำว่า ย่อมด่า คือ ย่อมด่าด้วยเรื่องสำหรับด่า ๑๐ อย่าง.
    คำว่า ย่อมตะคอก คือ ย่อมขู่ตะคอกว่า แกนี่เป็นสมณะได้อย่างไร ข้าจะเล่นงานแกอย่างนี้และอย่างนี้.
    คำว่า อย่างนี้ในกรณีนี้ คือ สิ่งอย่างนี้ ในกรณีนี้จะมีแก่ข้าพระพุทธเจ้า.
    คำว่า ด้วยกระบอง คือ ด้วยกระบองยาว ๔ ศอกหรือด้วยท่อนไม้และไม้ค้อน.
    คำว่า ด้วยศัสตรา คือ ด้วยอาวุธที่มีคมข้างเดียวเป็นต้น.
    คำว่า แสวงหาเครื่องประหารคือศัสตรา คือ แสวงหาศัสตราเครื่องคร่าชีวิต.
    ข้อนี้พระเถระกล่าวหมายถึงพวกภิกษุที่ฟังเรื่องไม่งามในวัตถุแห่งปาราชิกข้อที่ ๓ เกิดความสะอิดสะเอียนร่างกาย แล้วแสวงหาเครื่องคร่าชีวิตคือศัสตรา.
    คำว่า ข่มใจ ในคำว่า ด้วยความข่มใจและความเข้าไปสงบ นี้เป็นชื่อแห่งการสำรวมอินทรีย์เป็นต้น.
    จริงอยู่ ความสำรวมอินทรีย์ในคำว่า ข่มแล้วด้วยสัจจะเข้าถึงการข่มใจ ถึงที่สุดพระเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ. ปัญญาในคำว่า หากยังมีอะไรที่ยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติในกรณีนี้ นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ. อุโบสถกรรมในคำว่า ด้วยทาน ด้วยทมะ ด้วยสัญญมะ ด้วยการกล่าวคำจริง นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นความข่มใจ. แต่ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า ความอดทน คือความข่มใจ. คำว่า ความเข้าไประงับ เป็นคำใช้แทนคำว่า ความข่มใจ นั้นเอง.
    คำว่า ครั้งนั้นแล ท่านปุณณะ ความว่า อยากทราบว่า ก็ท่านปุณณะ นี้เป็นใคร และทำไมจึงอยากไปในที่นั่น. ท่านรูปนี้ ก็คือชาวเมืองสุนาปรันตะนั่นแหละ. ก็ท่านกำหนดว่า ในกรุงสาวัตถี อยู่ไม่สบาย จึงอยากจะไปเมืองสุนาปรันตะนั้น.
    ต่อไปนี้ เป็นลำดับถ้อยคำในเรื่องนั้น.
    เล่ามาว่า ในแคว้นสุนาปรันตะ มีสองพี่น้องในหมู่บ้านพ่อค้าแห่งหนึ่ง ในสองพี่น้องนั้น บางทีพี่ชายก็นำเกวียน ๕๐๐ เล่มไปชนบทแล้วก็บรรทุกสินค้ามา. บางทีก็น้องชาย. ส่วนในตอนนี้ พี่ชายให้น้องชายอยู่เฝ้าบ้านแล้วตัวเองก็นำเอาเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวไปตามหัวเมือง มาถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ พักกองเกวียนอยู่ใกล้ ๆ พระเชตวัน กินอาหารมื้อเช้าแล้ว อันผู้ติดตามล้อมแล้วนั่งพักผ่อนตามสบาย.
    ก็แลสมัยนั้น ชาวกรุงสาวัตถีกินอาหารมื้อเช้าแล้ว อธิษฐานองค์อุโปสถ สวมเสื้อสะอาด ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น โน้มน้อมโอนเงื้อมไปยังที่ซึ่งมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อยู่ แล้วพากันออกไปทางประตูทิศใต้ไปสู่พระเชตวัน. เมื่อเขาเห็นคนเหล่านั้น จึงถามชายคนหนึ่งว่า พวกนี้ไปไหนกัน. นี่นาย คุณไม่รู้อะไรเลยหรือ แก้วคือพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เพราะเหตุนี้ มหาชนนี้จึงพากันไปฟังธรรมกถาในสำนักของพระศาสดา.
    คำว่า พุทธะ ของชายคนนั้น ทำลายผิวหนังเป็นต้นเข้าไปจรดเยื่อกระดูก ตั้งอยู่. ต่อมา เขามีบริวารของตนแวดล้อมได้ไปสู่วิหารกับบริษัทนั้น ยืนอยู่ท้ายสุดของบริษัทฟังธรรมของพระศาสดาที่กำลังแสดงธรรมอยู่ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะ แล้วเกิดความคิดอยากจะบวชขึ้นมา. เมื่อบริษัทที่พระตถาคตเจ้าทรงทราบเวลาแล้วส่งไปแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารในวันพรุ่ง ในวันที่สองให้สร้างปะรำ แต่งตั้งอาสนะ ถวายมหาทานแด่พระสงฆ์มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นพระประมุข ในที่สุดภัตกิจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาเสด็จกลับ รับประทานอาหารเช้าแล้วอธิฐานองค์อุโบสถ แล้วให้เรียกเจ้าหน้าที่คุมของมาบอกทุกสิ่งทุกอย่างว่า ของเท่านี้ได้จำหน่ายไปแล้ว ได้มอบหมายทุกสิ่งทุกอย่างว่า จงให้สมบัตินี้แก่น้องชายฉัน แล้วก็บวชในสำนักพระศาสดา ตั้งหน้าตั้งตาทำกัมมัฏฐาน.
    ครั้งนั้น เมื่อท่านเอาใจใส่ทำกัมมัฏฐานอยู่ กัมมัฏฐานก็ไม่ปรากฏ. ต่อมาท่านจึงคิดว่า ชนบทนี้ไม่สะดวกแก่เรา อย่างไรเสีย เราต้องรับกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วไปสู่ถิ่นเดิมของเรา จึงเมื่อท่านเที่ยวบิณฑบาตในตอนเช้าแล้ว ออกจากการหลีกเร้นในตอนบ่ายแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้ทรงบอกกัมมัฏฐาน ได้เปล่งสีหนาท ๗ อย่างแล้วจึงหลีกไป. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะ ฯลฯ อยู่ ดังนี้.
    ก็ท่านปุณณะนี้อยู่ที่ไหน. ท่านอยู่ในที่ ๔ แห่ง. ตอนแรกท่านเข้าสู่แคว้นสุนาปรันตะแล้วเข้าไปสู่อัมพหัฏฐบรรพต เข้าสู่หมู่บ้านพ่อค้าเพื่อบิณฑบาต. ทีนั้นน้องชายจำท่านได้ จึงถวายอาหาร แล้วเรียนท่านว่า ท่านครับ ท่านไม่ต้องไปที่อื่น นิมนต์อยู่ที่นี้แหละ ให้ท่านรับคำแล้วก็นิมนต์ให้อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ.
    ต่อจากนั้น ท่านได้ไปสู่วัดสมุทรคิรี. ในที่นั้นมีที่สำหรับเดินจงกรมที่เขาตัดเอาแผ่นหินที่เสียบเหล็กไว้ตรงปลายมาทำ. ไม่มีใครเดินเหยียบแผ่นหินนั้นได้. ในที่นั้น คลื่นทะเลชัดมากระทบแผ่นหินที่เสียบเหล็กตรงปลายเกิดเสียงดังมาก.
    พระเถระคิดว่า จงเป็นที่อยู่สำราญสำหรับผู้เอาใจใส่ทำกัมมัฏฐานเถิด แล้วก็อธิษฐานทำให้ทะเลสงบเสียง.
    ต่อจากนั้นท่านได้ไปยังมาตุลคิรี. ในที่นั้นมีพวกนกชุกชุม เสียงอึกทึกทั้งคืนทั้งวัน. พระเถระคิดว่า ที่นี้ไม่สำราญ ต่อจากนั้นก็ไปวัดมกุฬการาม. วัดนั้นอยู่ไม่ไกลไม่ใกล้หมู่บ้านพ่อค้ามากนัก ไปมาสะดวกเงียบ ไม่มีเสียง. พระเถระคิดว่า ที่นี้สำราญ จึงให้สร้างที่พักกลางคืนและกลางวันพร้อมกับที่จงกรม เป็นต้นแล้ว ก็เข้าจำพรรษาในที่นั้น. ท่านอยู่ในที่ ๔ แห่งดังกล่าวมานี้.
    ต่อมาอีกวันหนึ่ง ภายในพรรษานั้นเอง มีพ่อค้า ๕๐๐ คนตั้งใจว่า พวกเราจะไปทะเลอื่น จึงเอาสินค้าบรรทุกลงเรือ ในวันลงเรือ น้องชายของพระเถระเลี้ยงพระเถระแล้วรับสิกขาบทในสำนักพระเถระไหว้เสร็จแล้ว เมื่อจะไปได้เรียนท่านว่า ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าทะเลหลวงมีอันตรายมากมายเหลือจะประมาณได้ ขอให้ท่านช่วยสอดส่องพวกกระผมด้วย แล้วก็ลงเรือ. เรือก็แล่นไปด้วยความเร็วสูงจนถึงเกาะหนึ่ง. พวกคนคิดว่า พวกเราจะกินอาหารเช้าแล้วก็พากันขึ้นเกาะ. บนเกาะนั้นอะไรๆ อย่างอื่น หามีไม่ มีแต่ป่าจันทน์ทั้งนั้น. ตอนนั้น คนหนึ่งเอามีดฟันต้นไม้ ก็รู้ว่าเป็นจันทน์แดง จึงกล่าวว่า นี่แน่ะ พวกเราไปสู่ทะเลอื่นเพื่อประโยชน์แก่ลาภ ขึ้นชื่อว่าลาภที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ไม้ท่อนขนาดยาว ๔ นิ้ว ก็ราคาตั้งแสนแล้ว เราเอาแต่ของที่ควรแก่ของที่จะต้องเอาไปแล้วก็เอาไม้จันทน์บรรทุกให้เต็ม. พวกเขาก็กระทำอย่างนั้น.
    พวกอมนุษย์ที่สิ่งในป่าจันทน์โกรธ พากันคิดว่า คนพวกนี้มันทำป่าจันทน์ของพวกเราให้ฉิบหายแล้ว พวกเราจะฆ่าพวกมัน แล้วพูดว่า เมื่อพวกมันถูกฆ่าในที่นี้ ป่าทั้งหมดก็จะกลายเป็นซากศพไปหนึ่งป่าที่เทียว พวกเราจะให้เรือมันจมกลางทะเล. แล้วต่อมาในเวลาที่คนพวกนั้นขึ้นเรือแล้วแล่นไปได้ครู่เดียวเท่านั้น ก็ทำให้เกิดพายุลมอย่างแรง แล้วพวกอมนุษย์เหล่านั้นเองก็พากันแสดงรูปที่น่ากลัวต่างๆ นานา. พวกคนก็กลัวพากันไหว้เทพเจ้าของตนๆ. จูฬปุณณกุฎุมพี น้องชายพระเถระคิดว่า ขอให้พี่ชายของข้าจงเป็นที่พึ่งด้วยเถิดแล้ว ก็ยืนระลึกถึงพระเถระอยู่.
    ได้ยินว่า ในขณะนั้นเอง พระเถระพิจารณาดูก็ได้ทราบว่าพวกเขากำลังตกอยู่ในความฉิบหาย จึงเหาะขึ้นสู่ฟ้ามายืนอยู่ตรงหน้า. พวกอมนุษย์เห็นพระเถระพูดว่า พระคุณเจ้าปุณณเถระมา แล้วพากันหลีกไป. พายุร้ายก็สงบทันที. พระเถระปลอบคนเหล่านั้นว่า ไม่ต้องกลัว แล้วถามว่า อยากจะไปไหนกัน. พวกกระผมจะไปที่เดิมของตัวเองนั่นแหละครับท่าน. พระเถระเหยียบแผ่นเรือแล้วอธิษฐานว่า จงไปสู่ที่ที่คนพวกนี้ต้องการ. พวกพ่อค้าเมื่อไปถึงที่ของตนแล้ว ก็เล่าเรื่องนั้นให้ลูกเมียฟังแล้วชวนว่า มาเถิด พวกเราจงถึงพระเถระเป็นที่พึ่งเถิด จึงทั้ง ๕๐๐ คนพร้อมกับพวกแม่บ้านของตนอีก ๕๐๐ คน ตั้งอยู่ในสรณะสาม ประกาศตัวเป็นอุบาสก. ต่อจากนั้นก็ให้ขนสินค้าลงจากเรือ แบ่งถวายพระเถระส่วนหนึ่ง เรียนท่านว่า ท่านครับ นี้เป็นส่วนของพระคุณท่าน. พระเถระตอบว่า อาตมาไม่มีกิจด้วยส่วนหนึ่งต่างหากหรอก แต่พวกคุณเคยเห็นพระศาสดาแล้วหรือ. ยังไม่เคยเห็นเลยท่าน. ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกคุณเอาส่วนนี้ไปสร้างโรงปะรำถวายพระศาสดา แล้วพวกคุณจะได้เห็นพระศาสดาด้วยอาการอย่างนี้. พวกนั้นก็รับว่า ดีแล้วท่าน แล้วก็เริ่มสร้างโรงปะรำด้วยส่วนนั้นและด้วยส่วนของตนอีกมาก.
    เล่ากันว่า แม้พระศาสดาก็ได้ทรงกระทำการบริโภคตั้งแต่เวลาเริ่มงาน. พวกคนยามได้เห็นแสงในเวลากลางคืนเข้าใจกันว่า มีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่. พวกอุบาสกช่วยกันสร้างโรงปะรำและเสนาสนะสำหรับพระภิกษุสงฆ์จนสำเร็จ แล้วเตรียมเครื่องทาน แล้วกราบเรียนพระเถระว่า พระคุณเจ้า พวกกระผมได้ทำกิจเสร็จแล้ว ขอให้พระคุณเจ้าโปรดทูลพระศาสดามาเถิด. ตอนบ่าย พระเถระไปถึงกรุงสาวัตถีด้วยฤทธิ์แล้วกราบทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชาวหมู่บ้านพ่อค้าอยากเฝ้าพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ได้โปรดกระทำอนุเคราะห์แก่พวกเขาเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว. พระเถระทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้วก็กลับไปยังถิ่นของตนตามเดิม.
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกพระอานนทเถระมาสั่งว่า อานนท์ พรุ่งนี้พวกเราจะเที่ยวบิณฑบาตที่หมู่บ้านพ่อค้าในแคว้นสุนาปรันตะ เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙ รูป. พระเถระสนองพระพุทธบัญชาว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า บอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วพูดว่า ขอให้พวกภิกษุที่เที่ยวไปบิณฑบาตจงอย่าจับสลาก.
    ในวันนั้น ท่านกุณฑธานเถระได้จับสลากแรก. ฝ่ายชาวหมู่บ้านพ่อค้าทราบว่า นัยว่าพรุ่งนี้พระศาสดาจะเสด็จมาถึง จึงสร้างปะรำกลางบ้าน ตระเตรียมของถวายทานชั้นเลิศ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการปฏิบัติพระสรีระตั้งแต่เช้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ. ปัณฑุกัมพลสิลาสนะของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมา.
    ท้าวสักกะนั้นทรงพิจารณาว่า อะไรนี้ ทรงเห็นว่าพระศาสดาจะเสด็จไปแคว้นสุนาปรันตะ จึงรับสั่งเรียกพระวิศวกรรมมาสั่งว่า พ่อ วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ระยะทางไกลประมาณสามร้อยโยชน์#- พ่อจงเนรมิตเรือนยอดไว้ ๕๐๐ หลังทำการเตรียมระยะทางเสด็จที่ท้ายสุดซุ้มประตูพระเชตวัน ตั้งไว้ให้พร้อม. พระวิศวกรรมนั้นได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. เรือนยอดสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ มุข. ของสองพระอัศรสาวกมี ๒ มุข. ที่เหลือมีมุขเดียว.
    ____________________________
    #- ๑ กมพุช. สามพันโยชน์

    พระศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทรงเข้าสู่เรือนยอดอันประเสริฐในหมู่เรือนยอดที่ตั้งไว้ตามลำดับ. เหล่าภิกษุ ๔๙๙ รูป เริ่มแต่พระอัครสาวกทั้งสองต่างก็ไปสู่เรือนยอด ๔๙๙ หลัง. มีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง. เรือนยอดทั้ง ๕๐๐ หลังลอยไปในอากาศ.
    พระศาสดาเสด็จถึงภูเขาชื่อสัจจพันธ์ แล้วทรงหยุดเรือนยอดไว้ในอากาศ. ที่ภูเขานั้น มีดาบสมิจฉาทิฐิ ชื่อว่าสัจจพันธ์ ทำให้มหาชนถือเอาความเห็นผิดเป็นผู้ถึงลาภเลิศและยศเลิศอยู่. ก็ภายในตัวดาบสนั้นมีอุปนิสัยแห่งพระอรหัต โชติช่วงอยู่เหมือนประทีปที่อยู่ในตุ่ม. ครั้นทรงเห็นดาบสนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า เราจะแสดงธรรมแก่เขา จึงเสด็จไปทรงแสดงธรรม. เมื่อทรงเทศน์จบ ดาบสก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์. อภิญญาของท่านก็มากับมรรคนั่นเอง. ท่านเป็นเอหิภิกษุ ทรงบาตรจีวรที่สำเร็จเพราะฤทธิ์แล้วเข้าสู่เรือนยอด.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปถึงหมู่บ้านพ่อค้าพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่อยู่ในเรือนยอด ทรงทำให้ใครๆ มองไม่เห็นเรือนยอดแล้วเสด็จไปสู่หมู่บ้านพ่อค้า. พวกพ่อค้าได้ถวายทานใหญ่แก่หมู่ภิกษุซึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาเสด็จไปยังมกุฬการาม. พระศาสดาทรงเข้าสู่โรงปะรำ. มหาชนรอเวลาจนพระศาสดาดับความกระวนกระวายเกี่ยวกับพระอาหารให้สงบ ต่างรับประทานอาหารมื้อเช้าเสร็จแล้วสมาทานองค์อุโบสถ์ถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากกลับมาวัดเพื่อต้องการฟังธรรม. พระศาสดาทรงแสดงธรรม. การหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกเกิดแก่มหาชนแล้ว. ความโกลาหลเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ขนานใหญ่ได้มีแล้ว.
    เพื่อสงเคราะห์มหาชน พระศาสดาประทับ ๒-๓ วันในที่นั้นเอง. และก็ทรงยังอรุณให้ตั้งขึ้นในพระมหาคันธกุฏีนั่นแหละ. เมื่อประทับในที่นั้น ๒-๓ วันแล้วก็เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านพ่อค้าแล้วตรัสสั่งให้พระปุณณเถระกลับว่า เธอจงอยู่ในที่นี้แหละ ในระหว่างทางมีแม่น้ำชื่อนิมมทา ได้เสด็จไปถึงฝั่งของแม่น้ำนั้น. นิมมทานาคราชถวายการต้อนรับพระศาสดา ทูลเสด็จเข้าสู่ภพนาคได้กระทำสักการะพระรัตนตรัยแล้ว. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่นาคราชนั้นแล้ว ก็เสด็จออกจากภพนาค. นาคราชนั้นกราบทูลขอว่าได้โปรดประทานสิ่งที่พึงบำเรอแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบทเจดีย์ รอยพระบาท ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนิมมทา. รอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิด เมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด. กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่. เมื่อพระศาสดาทรงออกจากนั้นแล้วก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์ ตรัสกับพระสัจจพันธ์ว่า มหาชนถูกเธอทำให้จมลงในทางอบาย เธอต้องอยู่ในที่นี้แหละ แก้ลัทธิของพวกคนเหล่านี้เสีย แล้วให้พวกเขาดำรงอยู่ในทางพระนิพพาน. แม้ท่านพระสัจจพันธ์นั้นก็ทูลขอสิ่งที่จะต้องบำรุง. พระศาสดาก็ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบ เหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดๆ ฉะนั้น. ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวันทีเดียว. ท่านหมายเอาข้อความนี้จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วยภายในพรรษานั้นเองดังนี้.
    คำว่า ปรินิพพานแล้ว คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. มหาชนทำการบูชาสรีระของพระเถระตลอด ๗ วัน แล้วเอาไม้หอมเป็นอันมากมากองเผาสรีระ เก็บธาตุ (กระดูก) แล้วสร้างเจดีย์บรรจุ.
    คำว่า ภิกษุมากหลาย คือ พวกภิกษุที่อยู่ในที่ฌาปนกิจศพของพระเถระ.
    คำที่เหลือในที่ทุกแห่งล้วนแต่ตื้นๆ ทั้งนั้นแล.

    จบอรรถกถาปุณโณวาทสูตรที่ ๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คึกฤทธิ์สอนพุทธบริษัทที่ตาบอดให้ ไม่เอาลูกนิมิต ไม่เอากรวดน้ำ ไม่เอาพระธาตุ ไม่เอารอยพุทธบาท ไม่เอาการเรียนนักธรรม เปรียญธรรม หรือการศึกษาในด้านอื่น ไม่ส่งเสริมการสร้างโรงพยาบาล หรือ ให้ยาพยาบาลผู้ป่วยโดยพระภิกษุ อ้างพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ เป็นของแต่งใหม่ ไม่มีอานิสงส์ ทำเล่ห์แสร้งถามตอบ ให้จัดอยู่ในเดรัจฉานวิชา หมิ่นสถาบันและพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา

    รอยพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง


    ในอินเดียโบราณความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ในทุกศาสนา ไม่ว่าในศาสนาพราหมณ์ เชน และพุทธ สำหรับพุทธศาสนาหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเก่าแก่ที่สุดที่แสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท คือ ปุณโณวาทสูตร ในอรรถกถาของพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมานิกาย กล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงทิ้งรอยพระบาทไว้สองแห่ง คือ ฝั่งแม่น้ำนัมมทาและบนภูเขาสัจจพันธคีรี ส่วนหลักฐานที่เป็นรอยพระพุทธบาท เริ่มพบในศิลปะอินเดียตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว จากนั้นจึงปรากฏแพร่หลายทั่วไปในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา

    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ถึงคติการนับถือรอยพระพุทธบาทของไทยว่า รับสืบเนื่องมาจากชาวอินเดียและลังกา โดยชาวอินเดียแต่ครั้งพุทธกาลหรือก่อนหน้านั้น ไม่นิยมสร้างรูปเทวดาหรือมนุษย์ไว้บูชา เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนจึงสร้างสถูปหรือวัตถุต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ รอยพระพุทธบาทเป็นวัตถุหนึ่งที่นิยมทำในสมัยนั้น

    ส่วนคติของชาวลังกาเกิดขึ้นภายหลัง มีกล่าวถึงในตำนานเรื่อง มหาวงศ์ ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จทางอากาศไปยังลังกาทวีปและทรงเทศนาสั่งสอนชาวลังกาจนเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับมัชฌิมประเทศ จึงได้ทรงทำปาฏิหาริย์ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ยอดเขาสุมนกูฎ เพื่อให้ชาวลังกาได้ทำการสักการบูชา

    ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เมื่อหลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาถึงลังกา ได้บันทึกโดยเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาทไว้สองแห่งในลังกา คือ ยอดเขาสุมนกูฏแห่งหนึ่ง กับอีกรอยทางทิศเหนือของเมืองอนุราธปุระ ซึ่งในเอกสารลังกากลับไม่พบการยืนยันถึงสถานที่ดังกล่าว หากแต่ในบทสวดบาลีที่ใช้กันในเมืองไทย มีการกล่าวถึง "สุวัณณมาลิก" ว่าเป็นหนึ่งในรอยพระบาทในจำนวน ๕ แห่งที่พระพุทธเจ้าประทับไว้ ได้แก่ เขาสัจจพันธ์คีรี ฝั่งแม่น้ำนัมมทา เขาสุมนกูฏ และโยนกปุระ จึงเห็นได้ว่าความเชื่อที่ว่ามีรอยพระพุทธบาทแท้จริงที่เขาสัจจพันธ์คีรีและฝั่งแม่น้ำนัมมทานั้นเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่สุด เกิดขึ้นในอินเดียและปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ส่วนเขาสุมนกูฎและสุวรรณมาลิกเกิดขึ้นในลังกา และลังกาก็ได้ลืมรอยพระพุทธบาทที่เขาสุวรรณมาลิกไปแล้ว แต่มาเหลือตกค้างอยู่ในบทสวดมนต์ที่ใช้ในเมืองไทย ซึ่งรับอิทธิพลทางพุทธศาสนามาจากลังกา ส่วนโยนกปุระเป็นสถานที่ที่ฝ่ายไทยเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง และอาจหมายถึงดินแดนอาณาจักรล้านนาที่เป็นอาณาจักรโยนกมาก่อน

    หลักฐานการบูชารอยพระพุทธบาทในไทยที่เก่าสุด คือ รอยพระบาทคู่ที่สระมรกต จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๓ ในวัฒนธรรมสมัยทวารวดี หลังจากนั้นไม่ปรากฏหลักฐานการทำรอยพระบาทอีกจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงพบแพร่หลายขึ้นทั้งในสุโขทัยและล้านนา อันอาจเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่พระเถระจากสุโขทัยและล้านนาหลายรูปได้เดินทางไปลังกาหรือพม่าอันเป็นดินแดนที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ไปเจริญอยู่ กระทั่งสืบคติดังกล่าวต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา โดยเฉพาะเมื่อมีการค้นพบรอยพระพุทธบาทบนเขาสุวรรณบรรพตในจังหวัดสระบุรี การบูชารอยพระพุทธบาทยิ่งแพร่หลายขึ้นอีกมาก มีการค้นพบรอยพระบาทตามที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่ง พร้อมไปกับความนิยมในการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ก็มีมากยิ่งขึ้น ด้วยเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทจำลองย่อมมีอานุภาพและสิริมงคลประดุจรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง

    คำนมัสการรอยพระพุทธบาท 5 แห่ง

    วันทามิ พุทธัง ภะวะปาระติณณัง
    ติโลกะเกตุง ติภะเวกะนาถัง
    โย โลกะเสฏโฐ สะกะลังกิเลสัง
    เฉตะวานะ โพเธสิ ชะนัง อะนันตัง
    ยัง นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน จะ ตีเร
    ยัง สัจจะพันธะคิริเก สุเมนา จะลัคเค
    ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะ ปาทัง
    ตัง ปาทะัลัญชะนะมะหังสิระสา นะมามิ
    สุวัณณะมาลิเก สุวัณณะปัพพะเต สุมะนะกูเฏ
    โยนะกะปุเร นัมมะทายะ นะทิยา
    ปัญจะปาทะวะรัง ฐานัง อะหัง วันทามิ ทูระโต ฯ
    อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
    นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
    ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
    ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ
    อามันตะยามิ โว ภิกขะเว ปะฏิเวทะยามิ โว ภิกขะเว
    ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติฯ


    คำแปล

    ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ข้ามพ้นฝั่งแห่งภพ,
    ผู้เป็นธงชัยของไตรโลก ผู้เป็นนาถะเอกของไตรภพ,
    ผู้ประเสริฐในโลก ตัดกิเลสทั้งสิ้นได้แล้ว ช่วยปลุกชน
    หาที่สุดมิได้ให้ตรัสรู้มรรคผลและนิพพาน,
    รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
    ในหาดทรายแทบฝั่งแม่น้ำนัมมะทา,
    รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
    เหนือยอดเขาสัจจะพันธ์ และเหนือยอดเขาสุมะนา,
    รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
    ในเมืองโยนะกะ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระบาท และ
    รอยพระบาทนั้น ๆ ของพระมุนีด้วยเศียรเกล้า,
    ข้าพเจ้าขอนมัสการสถานที่มีรอยพระบาท,
    อันประเสริฐ ๕ สถานแต่ที่ไกล, คือที่เขาสุวรรณมาลิก ๑
    ที่เขาสุวรรณะบรรพต ๑, ที่ยอดเขาสุมะนะกูฏ ๑,
    ที่โยนะกะบุรี ๑, ที่แม่น้ำชื่อนัมมะทา ๑,
    ข้าพเจ้าขอนมัสการอยู่ซึ่งพระรัตนตรัยใดๆ อันบุคคล
    ควรไหว้โดยส่วนยิ่ง, อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้,
    ได้แล้วซึ่งกองบุญอันไพบูลย์,
    ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้นจงขจัดภัยอันตราย เสียเถิด,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอให้ท่านทั้งหลายทราบไว้ว่า
    สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา,
    ขอให้ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน
    ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด,
    ด้วยประการฉะนี้แล ฯ

    จากบทสวดมนต์นี้มีรอยพระพุทธบาทห้าแห่ง คือ
    1) สุวัณณะมาลิเก 2) สุวัณณะปัพพะเต 3) สุมะนะกูเฏ 4) โยนะกะปุเร 5) นัมมะทายะ นะทิยา
    จากการค้นหาข้อมูลจากพระไตรปิฎกในปุณโณวาทสูตร อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกายและแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่มีการค้นหา สุวรรณมาลิกและสุมนกูฏ อยู่ในประเทศศรีลังกา ส่วนอีกสามแห่งอยู่ในประเทศไทย ในพระไตรปิฎกเรียกว่า แคว้นสุนาปรันตะ ห่างจากเชตวันวิหาร 3000 โยชน์ (บางตำราว่า 300 โยชน์) ทรงเสด็จทางอากาศพร้อมภิกษุอรหันต์ 499 รูปไปโปรดดาบสที่เขาสัจจพันธ์ (สระบุรี) ให้บรรลุพระอรหันต์บวชแล้วตามเสด็จพระพุทธองค์ไปโปรดนิมมทานาคราช พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนิมมทา (เชื่อกันว่าคือรอยพระพุทธบาทที่เกาะแก้วพิศดาร ปลายแหลมพรหมเทพ จ.ภูเก็ต) จากนั้นโปรดให้พระสัจจพันธ์กลับไปพำนักที่เขาสัจพันธ์ตามเดิม พระสัจพันธ์ทูลขอเครื่องสักการะบูชา พระพุทธองค์จึงประทับรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบเหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดเป็นตำนานที่มาของรอยพระพุทธบาทบนเขาสัจจพันธ์ จ.สระบุรี ส่วนรอยพระพุทธบาทที่โยนกบุรี คงหมายเอาชื่อโยนกนครอันเป็นชื่อเดิมของล้านนาตามที่กล่าวไว้ข้างบนที่ ส่วนที่ศรีลังกานั้นมีเจดีย์องค์หนึ่งบนเขาอภัยคีรี หรือ Abhayagiri Dagoba (ไทยเรียกว่า สุวรรณมาลิก หรือ สุวรรณมาลี) สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ดังข้อความภาษาอังกฤษอ้างอิงดังนี้

    The Abhayagiri Dagoba is the second biggest brick structure in the world after the Jetavana Dagoba. The Abhayagiri Dagoba was built by King Gajabahu (114-136AD) and reaches a height of 370 feet (115m). Abhayagiri monastery is one of the eight sacred sites for Buddhists in Anuradhapura, Sri Lanka. It is believed that the Abhayagiri Dagoba was built over the footprint of the Buddha. The Buddha came to Lanka and by his supernatural powers placed one foot in the north of Anuradhapura, the other on top of Adam's Peak.

    ส่วนรอยพระพุทธบาทอีกแห่งบนเขาสุมนกูเฏในศรีลังกา ปัจจุบันเรียกว่า ยอดเขาของอดัม (Adam's Peak)

    ยอดเขาศรีปาทะ ศรีลังกา
    https://youtu.be/KSv1oxp7zdk
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • AdamsPeak.jpg
      AdamsPeak.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.6 KB
      เปิดดู:
      136
    • footpt_06.jpg
      footpt_06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.5 KB
      เปิดดู:
      116
    • footpt_03.jpg
      footpt_03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.5 KB
      เปิดดู:
      108
    • footpt_01.jpg
      footpt_01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85.4 KB
      เปิดดู:
      108
    • footpt_05.jpg
      footpt_05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.9 KB
      เปิดดู:
      129
    • footpt_04.jpg
      footpt_04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.1 KB
      เปิดดู:
      130
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คึกฤทธิ์สอนพุทธบริษัทที่ตาบอดให้ ไม่เอาลูกนิมิต ไม่เอากรวดน้ำ ไม่เอาพระธาตุ ไม่เอารอยพุทธบาท ไม่เอาการเรียนนักธรรม เปรียญธรรม หรือการศึกษาในด้านอื่น ไม่ส่งเสริมการสร้างโรงพยาบาล หรือ ให้ยาพยาบาลผู้ป่วยโดยพระภิกษุ อ้างพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ เป็นของแต่งใหม่ ไม่มีอานิสงส์ ทำเล่ห์แสร้งถามตอบ ให้จัดอยู่ในเดรัจฉานวิชา หมิ่นสถาบันและพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา

    คำนมัสการ ลายลักษณ์พระพุทธบาท

    (ตั้ง นะโม ๓ จบ)


    ข้าพเจ้าขอบังคม พระพุทธบาทบรม ทั้งคู่เรืองรอง, สิบนิ้วของลูก ต่างธูปเทียนทอง นัยเนตรทั้งสอง ต่างประทีปทูลถวาย, ผมเผ้าเกล้าเกศ ต่างดอกปทุมเมศ บัวทองพรรณราย, วาจาเพราะพร้อง ต่างฆ้องกลองถวาย ดวงฤทัย มั่นหมาย ต่างรสสุคนธา,

    พระบาททศพล ทั้งคู่เลิศล้น ปรากฏรจนา มีกงจักรแก้ว เพริศแพร้วทอตา กงกำโสภาดวงดุมเพลาทอง, มงคลงามสรรพ ร้อยแปดประดับ บาทบงสุ์ทั้งสอง, ทั่วทั้งไตรภพ มีครบทุกช่อง ลายลักษณ์เรืองรอง ทุกห้องเฉิดฉันท์,

    มีทั้งฉัตรแก้ว พระขรรค์เลิศแล้ว หอกทองไพพรรณ, มีนางชูแว่น อ้อนแอ้นเอววัลย์ มือถือบุษบัน สอดสร้อยสังวาลย์, มีปราสาทราชวัง แท่นทิพย์เตียงตั่ง เกยแก้วสุริยกาญจน์, เฉิดฉายพรายแพรว เขนยเกยแก้ว พัดใบตาลโบกแล้ว พัดหางยูงทอง, มีมงกุฏรัตน์ พัชนีโบกปัด บาตรแก้วแววว่อง, ดวงแก้วมณี รัศมีขาวผ่อง กระออมเงิน กระออมทอง กระออมแก้วแววไว, ยังมีถาดทอง ถาดเงินเรืองรอง ถาดแก้วประไพ, มีวิมานพระอิศวร พระนารายณ์เลิศไกร เทวาไสวเข้าเฝ้าวันทา,

    มีป่าหิมพานต์ ต้นพฤกษาสาร ตระการรจนา, มีผลแก่อ่อน แซมซ้อนบุปผา ครุฑธิราชปักษา อยู่ป่าฉิมพลี, มีพญาไก่แก้ว นกกระเรียนเลิศแล้ว กินรากินรี, คาบพวงมาลา ร่ายรำงามดีการะเวกโนรี แขกเต้าเขาขัน, หงษ์เหินสกุณาภุมรีภุมรา งามตาสารพัน, มีพญานกกระหิตวิจิตรแดงฉันท์ ยูงทองลาวัลย์ สีสันเฉิดฉาย,มีพญาไกรสร ช้างแก้วกุญชร ม้าแก้วเพริศพราย, ราชสีห์ย่างเยื้อง เสือเหลืองเรียงรายนาคราชผันผาย นางโคคลาไคล, ให้ลูกกินนมเคล้าเคลียน่าชม ละเมียดละไม,

    มีจักรพรรตรา เสนาเกรียงไกร ถือธงทิวไสว ดูงามยรรยง, มีฉ้อฉกามา สิบหกชั้นฟ้า พระอินทร์จำนง, แสนสาวชาวสวรรค์ เทวัญล้อมองค์ เข้าเฝ้าเป็นวง ยังแท่นทิพย์วิมาน, มีพรหมโสฬส สิบหกชั้นปรากฏ ล้วนแก้วแกมกาญจน์,ประดับมุขทุกชั้น โบกบันสิงห์หาญ พระพรหมชมฌาน ทุกชั้นพรหมา,

    มีทั้งพระอาทิตย์ พระจันทร์เรืองฤทธิ์ชักรถไคลคลา, เวียนรอบราศี รัศมีรุ่งฟ้า ดวงดาวดารา ประดับเมืองสวรรค์, ทวีปใหญ่ทั้งสี่ทวีปน้อยนั้นมี นับได้สองพัน, มีจักรวาลเวียน พิศเพียนอนันต์ เขาพระสุเมรุเรืองฉันท์ หลักโลกโลกา, มีเขาสัตตภัณฑ ์ ล้อมรอบเจ็ดชั้นเขาแก้วนาๆ, มีสีทันดร อยู่หว่างบรรพตา มีเจ็ดคงคา สายสินธุ์แสงใส,

    มีเขาไกรลาศ เงินยวงเดียรดาษ ขาวผ่องประไพ, มีเจ็ดสระศรี ชลธีหลั่งไหล บัวบานไสวดูงามเบญจพรรณ, มีมหาสมุทรทัย ลึกล้ำ กว้างใหญ่ มัจฉาอนันต์, ปลาเงินปลาทอง ลอยล่องตามกัน มังกรผายผัน จระเข้เหรา, มีทั้งเต่าทอง ดำผุดลอยล่อง ในท้องคงคา, มีสำเภาแก้ว พรายแพรวทอตา สำเภาเงินโสภา สำเภาทองบรรจง,

    มีสิ้นไตรภพ พรรณนามาจบ ลายลักษณ์พระองค์, มีสิ้นทุกสิ่ง งามยิ่งยรรยง ในพื้นบาทบงสุ์ พุทธบาทบาทา, พระศรีสรรเพชญ์พระพุทธเจ้าเสด็จ โปรดโลกโลกา, มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากพสุธา รองรับบาท บงสุ์, ทุกย่างพระบาท ปวงดอกปทุมมาศ มิได้ คลาดทุกสถาน, ที่ใดไม่สบาย พระพายพัดพาน หอบเอาสุคนธาน นมัสการพระองค์,

    หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้วมาโปรยปรายลง, ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบงสุ์พระพุทธเจ้าเสด็จลง โปรดโลกหญิงชาย, ยามเยื้องยุรยาตร ปวงดอกปทุมมาศ อันตรธานหาย, จึงได้ประจักษ์ ลายลักษณ์ทั้งหลาย เหยียบย่ำ ทำลาย จะเป็นโทษนักหนา,

    พระศาสดาเจ้า เสด็จเข้านิพพาน สิ้นแล้วตัณหา, ยังแต่รอยบาทบงสุ์ อันทรงพระกรุณาบรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี, พระบาทหนึ่งปรากฏ อยู่เหนือบรรพต สุวรรณมาลี, พระบาทสองนั้น อยู่ สุวรรณคีรี ใกล้สระบุรีศรีพระนคร, พระบาทสามนั้นโสต อยู่เขา สุมนกูฏ ลังกาบวร, พระบาทสี่ทศพล อยู่บน สิงขร ฝ่ายเบื้องอุดร โยนกบุรี, พระบาทห้า ประดิษฐานอยู่ริมชลธาร นัมทานที, เป็นที่วันทา นาคาธิบดี มัจฉาภุมภีร์ เข้าไหว้แน่นอนันต์,

    พระบาทห้าแห่ง พระพุทธเจ้าสำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น, เป็นที่วันทา เทวาทุกชั้น มนุษย์คนธรรพ์ ครุฑธิราชอสุรา, ลายลักษณ์เลิศไตร บูชาเข้าไว้ หญิงชายถ้วนหน้า, เช้าค่ำ ไก่ขัน ทุกวันเวลา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจนิรันดร์, ใครว่าลายลักษณ์ ได้บุญมากนัก แปดหมื่นสี่พัน, เหมือนได้พบองค์ พระผู้ทรงธรรม์ พรรณนามานั้น หวังเข้านิพพาน.

    อะหัง วันทามิ ทูระโต, อะหัง วันทามิ ธาตุโย, อะหัง วันทามิ สัพพะโส, สาธุ..สาธุ.. อนุโมทามิ, นิพพานะ ปัจจะโย โหตุฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • footpt_06.jpg
      footpt_06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.5 KB
      เปิดดู:
      109
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2016
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากวิดีโอนี้
    https://youtu.be/j_9ELWsTlB4

    พุทธวจน-ความเข้าใจผิดของชาวพุทธ

    คึกฤทธิ์และสาวก แห่งสำนักวัดนาป่าพง ปทุมธานี คลองสิบ หมิ่นรอยพระพุทธบาท ไม่ใช่ของจริงเป็นของปลอม และจะสร้างด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม จึงทำเล่ห์ถามตอบให้เป็นเดรัจฉานวิชา เป็นสิ่งสูญเปล่า ไม่มีมรรคไม่มีกุศลผลบุญฯ และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบรมวงค์ศานุวงค์ ในพระราชกิจหลวงหลายประการ อ้างพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ

    ร่องรอยพระพุทธบาทจากที่ต่างๆ พอสังเขป
    https://youtu.be/raufO4io5XE

    https://youtu.be/HPsfzv9yf54

    https://youtu.be/Jct-GIZVTWw

    https://youtu.be/l_zeVlp5aX8

    https://youtu.be/cxmKjew7EBQ

    https://youtu.be/KmRgA5bBmvA

    https://youtu.be/J1JMzsLDVeI

    https://youtu.be/oJZy58Xr3G0

    https://youtu.be/W0lJpKfYtsM
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธวจน - เรื่องรอยพระบาทเป็นคำแต่งใหม่

    คึกฤทธิ์พูดแสร้งเน้นด้วยจริตเยาะเย้ยไปที่รอยพระพุทธบาทที่สระบุรี


    https://youtu.be/j_9ELWsTlB4


    พุทธวจน -ทำเล่ห์ถามตอบ กับ หญิงคฤหัสถ์ เพื่อถามตอบ ปัญหา หมิ่น พระพุทธบาท, พระธาตุ เป็นต้น "ความเข้าใจผิดของชาวพุทธ"

    https://youtu.be/cGBaHOhreKk


    แบบชัดๆ อ้าง รอยพระพุทธบาทเป็นคำแต่งใหม่ อ้างพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ เป็นของแต่งใหม่ ไม่มีอานิสงส์ ทำเล่ห์แสร้งถามตอบ ให้จัดอยู่ในเดรัจฉานวิชา หมิ่นสถาบันและพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา



    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๘. นาคสมาลวรรค]
    ๓. สุสัญญกเถราปทาน

    ๒. ปทสัญญกเถราปทาน
    ประวัติในอดีตชาติของพระปทสัญญกเถระ
    (พระปทสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
    [๕] ข้าพเจ้าได้เห็นรอยพระบาทที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าติสสะ
    ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงประทับไว้แล้ว
    จึงเป็นผู้มีจิตร่าเริงเบิกบาน ทำจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท
    [๖] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
    ข้าพเจ้าได้ความทรงจำในรอยพระบาทในครั้งนั้น
    จึงไม่รู้จักทุคติเลย
    นี้เป็นผลแห่งความทรงจำในรอยพระบาท
    [๗] ในกัปที่ ๗ นับจากกัปนี้ไป
    ได้เป็นกษัตริย์ผู้จักรพรรดิพระนามว่าสุเมธะ
    สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
    [๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
    และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
    ได้ทราบว่า ท่านพระปทสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
    ปทสัญญกเถราปทานที่ ๒ จบ

    นี้เป็นอานิสงค์ ในการจดจำ ซึ่งรอยพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า




    ๘. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
    ประวัติในอดีตชาติของพระโกรัณฑปุปผิยเถระ
    (พระโกรัณฑปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
    [๓๕] ข้าพเจ้าได้เห็นรอยพระบาท
    ซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับคือจักร
    ที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
    ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงเหยียบไว้
    จึงเดินตามรอยพระบาทไป
    [๓๖] ข้าพเจ้าได้เห็นต้นหงอนไก่ มีดอกบาน
    จึงนำไปบูชาพร้อมทั้งราก มีจิตร่าเริงเบิกบาน
    จึงได้ไหว้รอยพระบาทที่ล้ำเลิศ
    [๓๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
    ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
    จึงไม่รู้จักทุคติเลย
    นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
    [๓๘] ในกัปที่ ๕๗ (นับจากกัปนี้ไป)
    ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งพระนามว่าวีตมละ
    สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
    [๓๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
    และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
    ได้ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
    โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๘ จบ



    นี้เป็นอานิสงค์ ในการถวายเครื่องสักการะ บูชา ด้วยดอกไม้ ( ดอกหงอนไก่ )

    ๔. สโกสกโกรัณฑทายกเถราปทาน
    ประวัติในอดีตชาติของพระสโกสกโกรัณฑทายกเถระ
    (พระสโกสกโกรัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
    กล่าวว่า)
    [๑๔] ข้าพเจ้าได้พบรอยพระบาทที่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
    ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกทรงเหยียบไว้
    จึงห่มหนังสัตว์เฉวียงบ่า
    ได้ไหว้รอยพระบาทที่ประเสริฐแล้ว
    [๑๕] เห็นต้นหงอนไก่งอกขึ้นอยู่บนแผ่นดินมีดอกบานสะพรั่ง
    จึง(เด็ด)ถือมาพร้อมทั้งก้าน
    ได้บูชารอยพระบาทที่วิจิตรด้วยลายจักร
    [๑๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
    ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
    จึงไม่รู้จักทุคติเลย
    นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
    [๑๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
    และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
    ได้ทราบว่า ท่านพระสโกสกโกรัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
    ประการฉะนี้
    สโกสกโกรัณฑทายกเถราปทานที่ ๔ จบ


    ปุณโณวาทสูตร ในอรรถกถาของพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมานิกาย กล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงทิ้งรอยพระบาทไว้สองแห่ง คือ ฝั่งแม่น้ำนัมมทาและบนภูเขาสัจจพันธคีรี

    สัจจพันธ์

    ภูเขาสัจจพันธ์ อยู่ในแคว้น สุนาปรันตะเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะพร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์สาวกจำนวนมากระหว่างทางทรงหยุดประทับโปรดสัจจพันธดาบสที่ภูเขา สัจจพันธ์ จากนั้นพระสัจจพันธ์ ซึ่งบรรลุพระอรหัตตผลแล้วมาในขบวนด้วย หลังจากทรงแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะ และประทับรอยพระบาทรอยแรกไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทาแล้ว จากนั้นเสด็จต่อไปถึงภูเขาสัจจพันธ์ตรัส สั่งพระสัจจพันธ์ให้อยู่สั่งสอน ประชาชน ณ ที่นั้น พระสัจจพันธ์ทูลขอสิ่งที่ระลึกไว้บูชา พระพุทธเจ้าทรงประทับรอบพระบาทไว้ที่ภูเขาสัจจพันธ์นั้น อันนับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทสองรอยแรก

    อ้างอิง

    บุณโณวาทคำฉันท์

    ผู้แต่ง

    พระมหานาค จำพรรษา ณ วัดท่าทราย กรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

    ประวัติ

    ฉันท์ เรื่องนี้ได้ชื่อว่า บุณโณวาท เพราะบรรยายถึงพระพุทธบาท ซึ่งมีเรื่องปรากฏอยู่ในปุณโณวาทสูตร พระมหานาคแต่งบุณโณวาทคำฉันท์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแขวงสระบุรี


    อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
    ปุณโณวาทสูตร
    ๓. อรรถกถาปุณโณวาทสูตร
    ปุณโณวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
    ในพระสูตรนั้น ความอยู่ผู้เดียว ชื่อว่า การหลีกเร้น.
    คำว่า ถ้าหากว่า นั้น ได้แก่ ตาและรูปนั้น.
    คำว่า เพราะความเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิดขึ้น คือ การรวมเอาทุกข์ในขันธ์ ๕ ย่อมมีด้วยการรวมเอาความเพลินอันได้แก่ตัณหามาอยู่ด้วยกัน. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันทรงทำให้วัฏฏะถึงที่สุดด้วยอำนาจแห่งสัจจะทั้ง ๒ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ในทวารทั้ง ๖ แล้วจึงทรงแสดง.
    ในนัยที่ ๒ ทรงทำวิวัฏฏะให้ถึงที่สุดด้วยอำนาจสัจจะ ๒ ข้อคือ นิโรธ มรรค แล้วจึงทรงแสดง. อนุสนธิที่แยกไว้โดยเฉพาะคือคำว่า และด้วยอาการอย่างนี้ ปุณณะเธอ. ครั้นทรงใส่เทศนาด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะในพระอรหัตอย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงให้ท่านปุณณเถระเปล่งสีหนาทในฐานทั้ง ๗ จึงได้ตรัสคำว่า และด้วยอาการอย่างนี้ เธอ ดังนี้เป็นต้น.
    คำว่า ดุ คือ ดุร้าย ร้ายกาจ.
    คำว่า หยาบคาย คือ หยาบช้า.
    คำว่า ย่อมด่า คือ ย่อมด่าด้วยเรื่องสำหรับด่า ๑๐ อย่าง.
    คำว่า ย่อมตะคอก คือ ย่อมขู่ตะคอกว่า แกนี่เป็นสมณะได้อย่างไร ข้าจะเล่นงานแกอย่างนี้และอย่างนี้.
    คำว่า อย่างนี้ในกรณีนี้ คือ สิ่งอย่างนี้ ในกรณีนี้จะมีแก่ข้าพระพุทธเจ้า.
    คำว่า ด้วยกระบอง คือ ด้วยกระบองยาว ๔ ศอกหรือด้วยท่อนไม้และไม้ค้อน.
    คำว่า ด้วยศัสตรา คือ ด้วยอาวุธที่มีคมข้างเดียวเป็นต้น.
    คำว่า แสวงหาเครื่องประหารคือศัสตรา คือ แสวงหาศัสตราเครื่องคร่าชีวิต.
    ข้อนี้พระเถระกล่าวหมายถึงพวกภิกษุที่ฟังเรื่องไม่งามในวัตถุแห่งปาราชิกข้อที่ ๓ เกิดความสะอิดสะเอียนร่างกาย แล้วแสวงหาเครื่องคร่าชีวิตคือศัสตรา.
    คำว่า ข่มใจ ในคำว่า ด้วยความข่มใจและความเข้าไปสงบ นี้เป็นชื่อแห่งการสำรวมอินทรีย์เป็นต้น.
    จริงอยู่ ความสำรวมอินทรีย์ในคำว่า ข่มแล้วด้วยสัจจะเข้าถึงการข่มใจ ถึงที่สุดพระเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ. ปัญญาในคำว่า หากยังมีอะไรที่ยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติในกรณีนี้ นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ. อุโบสถกรรมในคำว่า ด้วยทาน ด้วยทมะ ด้วยสัญญมะ ด้วยการกล่าวคำจริง นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นความข่มใจ. แต่ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า ความอดทน คือความข่มใจ. คำว่า ความเข้าไประงับ เป็นคำใช้แทนคำว่า ความข่มใจ นั้นเอง.
    คำว่า ครั้งนั้นแล ท่านปุณณะ ความว่า อยากทราบว่า ก็ท่านปุณณะ นี้เป็นใคร และทำไมจึงอยากไปในที่นั่น. ท่านรูปนี้ ก็คือชาวเมืองสุนาปรันตะนั่นแหละ. ก็ท่านกำหนดว่า ในกรุงสาวัตถี อยู่ไม่สบาย จึงอยากจะไปเมืองสุนาปรันตะนั้น.
    ต่อไปนี้ เป็นลำดับถ้อยคำในเรื่องนั้น.
    เล่ามาว่า ในแคว้นสุนาปรันตะ มีสองพี่น้องในหมู่บ้านพ่อค้าแห่งหนึ่ง ในสองพี่น้องนั้น บางทีพี่ชายก็นำเกวียน ๕๐๐ เล่มไปชนบทแล้วก็บรรทุกสินค้ามา. บางทีก็น้องชาย. ส่วนในตอนนี้ พี่ชายให้น้องชายอยู่เฝ้าบ้านแล้วตัวเองก็นำเอาเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวไปตามหัวเมือง มาถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ พักกองเกวียนอยู่ใกล้ ๆ พระเชตวัน กินอาหารมื้อเช้าแล้ว อันผู้ติดตามล้อมแล้วนั่งพักผ่อนตามสบาย.
    ก็แลสมัยนั้น ชาวกรุงสาวัตถีกินอาหารมื้อเช้าแล้ว อธิษฐานองค์อุโปสถ สวมเสื้อสะอาด ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น โน้มน้อมโอนเงื้อมไปยังที่ซึ่งมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อยู่ แล้วพากันออกไปทางประตูทิศใต้ไปสู่พระเชตวัน. เมื่อเขาเห็นคนเหล่านั้น จึงถามชายคนหนึ่งว่า พวกนี้ไปไหนกัน. นี่นาย คุณไม่รู้อะไรเลยหรือ แก้วคือพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เพราะเหตุนี้ มหาชนนี้จึงพากันไปฟังธรรมกถาในสำนักของพระศาสดา.
    คำว่า พุทธะ ของชายคนนั้น ทำลายผิวหนังเป็นต้นเข้าไปจรดเยื่อกระดูก ตั้งอยู่. ต่อมา เขามีบริวารของตนแวดล้อมได้ไปสู่วิหารกับบริษัทนั้น ยืนอยู่ท้ายสุดของบริษัทฟังธรรมของพระศาสดาที่กำลังแสดงธรรมอยู่ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะ แล้วเกิดความคิดอยากจะบวชขึ้นมา. เมื่อบริษัทที่พระตถาคตเจ้าทรงทราบเวลาแล้วส่งไปแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารในวันพรุ่ง ในวันที่สองให้สร้างปะรำ แต่งตั้งอาสนะ ถวายมหาทานแด่พระสงฆ์มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นพระประมุข ในที่สุดภัตกิจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาเสด็จกลับ รับประทานอาหารเช้าแล้วอธิฐานองค์อุโบสถ แล้วให้เรียกเจ้าหน้าที่คุมของมาบอกทุกสิ่งทุกอย่างว่า ของเท่านี้ได้จำหน่ายไปแล้ว ได้มอบหมายทุกสิ่งทุกอย่างว่า จงให้สมบัตินี้แก่น้องชายฉัน แล้วก็บวชในสำนักพระศาสดา ตั้งหน้าตั้งตาทำกัมมัฏฐาน.
    ครั้งนั้น เมื่อท่านเอาใจใส่ทำกัมมัฏฐานอยู่ กัมมัฏฐานก็ไม่ปรากฏ. ต่อมาท่านจึงคิดว่า ชนบทนี้ไม่สะดวกแก่เรา อย่างไรเสีย เราต้องรับกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วไปสู่ถิ่นเดิมของเรา จึงเมื่อท่านเที่ยวบิณฑบาตในตอนเช้าแล้ว ออกจากการหลีกเร้นในตอนบ่ายแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้ทรงบอกกัมมัฏฐาน ได้เปล่งสีหนาท ๗ อย่างแล้วจึงหลีกไป. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะ ฯลฯ อยู่ ดังนี้.
    ก็ท่านปุณณะนี้อยู่ที่ไหน. ท่านอยู่ในที่ ๔ แห่ง. ตอนแรกท่านเข้าสู่แคว้นสุนาปรันตะแล้วเข้าไปสู่อัมพหัฏฐบรรพต เข้าสู่หมู่บ้านพ่อค้าเพื่อบิณฑบาต. ทีนั้นน้องชายจำท่านได้ จึงถวายอาหาร แล้วเรียนท่านว่า ท่านครับ ท่านไม่ต้องไปที่อื่น นิมนต์อยู่ที่นี้แหละ ให้ท่านรับคำแล้วก็นิมนต์ให้อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ.
    ต่อจากนั้น ท่านได้ไปสู่วัดสมุทรคิรี. ในที่นั้นมีที่สำหรับเดินจงกรมที่เขาตัดเอาแผ่นหินที่เสียบเหล็กไว้ตรงปลายมาทำ. ไม่มีใครเดินเหยียบแผ่นหินนั้นได้. ในที่นั้น คลื่นทะเลชัดมากระทบแผ่นหินที่เสียบเหล็กตรงปลายเกิดเสียงดังมาก.
    พระเถระคิดว่า จงเป็นที่อยู่สำราญสำหรับผู้เอาใจใส่ทำกัมมัฏฐานเถิด แล้วก็อธิษฐานทำให้ทะเลสงบเสียง.
    ต่อจากนั้นท่านได้ไปยังมาตุลคิรี. ในที่นั้นมีพวกนกชุกชุม เสียงอึกทึกทั้งคืนทั้งวัน. พระเถระคิดว่า ที่นี้ไม่สำราญ ต่อจากนั้นก็ไปวัดมกุฬการาม. วัดนั้นอยู่ไม่ไกลไม่ใกล้หมู่บ้านพ่อค้ามากนัก ไปมาสะดวกเงียบ ไม่มีเสียง. พระเถระคิดว่า ที่นี้สำราญ จึงให้สร้างที่พักกลางคืนและกลางวันพร้อมกับที่จงกรม เป็นต้นแล้ว ก็เข้าจำพรรษาในที่นั้น. ท่านอยู่ในที่ ๔ แห่งดังกล่าวมานี้.
    ต่อมาอีกวันหนึ่ง ภายในพรรษานั้นเอง มีพ่อค้า ๕๐๐ คนตั้งใจว่า พวกเราจะไปทะเลอื่น จึงเอาสินค้าบรรทุกลงเรือ ในวันลงเรือ น้องชายของพระเถระเลี้ยงพระเถระแล้วรับสิกขาบทในสำนักพระเถระไหว้เสร็จแล้ว เมื่อจะไปได้เรียนท่านว่า ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าทะเลหลวงมีอันตรายมากมายเหลือจะประมาณได้ ขอให้ท่านช่วยสอดส่องพวกกระผมด้วย แล้วก็ลงเรือ. เรือก็แล่นไปด้วยความเร็วสูงจนถึงเกาะหนึ่ง. พวกคนคิดว่า พวกเราจะกินอาหารเช้าแล้วก็พากันขึ้นเกาะ. บนเกาะนั้นอะไรๆ อย่างอื่น หามีไม่ มีแต่ป่าจันทน์ทั้งนั้น. ตอนนั้น คนหนึ่งเอามีดฟันต้นไม้ ก็รู้ว่าเป็นจันทน์แดง จึงกล่าวว่า นี่แน่ะ พวกเราไปสู่ทะเลอื่นเพื่อประโยชน์แก่ลาภ ขึ้นชื่อว่าลาภที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ไม้ท่อนขนาดยาว ๔ นิ้ว ก็ราคาตั้งแสนแล้ว เราเอาแต่ของที่ควรแก่ของที่จะต้องเอาไปแล้วก็เอาไม้จันทน์บรรทุกให้เต็ม. พวกเขาก็กระทำอย่างนั้น.
    พวกอมนุษย์ที่สิ่งในป่าจันทน์โกรธ พากันคิดว่า คนพวกนี้มันทำป่าจันทน์ของพวกเราให้ฉิบหายแล้ว พวกเราจะฆ่าพวกมัน แล้วพูดว่า เมื่อพวกมันถูกฆ่าในที่นี้ ป่าทั้งหมดก็จะกลายเป็นซากศพไปหนึ่งป่าที่เทียว พวกเราจะให้เรือมันจมกลางทะเล. แล้วต่อมาในเวลาที่คนพวกนั้นขึ้นเรือแล้วแล่นไปได้ครู่เดียวเท่านั้น ก็ทำให้เกิดพายุลมอย่างแรง แล้วพวกอมนุษย์เหล่านั้นเองก็พากันแสดงรูปที่น่ากลัวต่างๆ นานา. พวกคนก็กลัวพากันไหว้เทพเจ้าของตนๆ. จูฬปุณณกุฎุมพี น้องชายพระเถระคิดว่า ขอให้พี่ชายของข้าจงเป็นที่พึ่งด้วยเถิดแล้ว ก็ยืนระลึกถึงพระเถระอยู่.
    ได้ยินว่า ในขณะนั้นเอง พระเถระพิจารณาดูก็ได้ทราบว่าพวกเขากำลังตกอยู่ในความฉิบหาย จึงเหาะขึ้นสู่ฟ้ามายืนอยู่ตรงหน้า. พวกอมนุษย์เห็นพระเถระพูดว่า พระคุณเจ้าปุณณเถระมา แล้วพากันหลีกไป. พายุร้ายก็สงบทันที. พระเถระปลอบคนเหล่านั้นว่า ไม่ต้องกลัว แล้วถามว่า อยากจะไปไหนกัน. พวกกระผมจะไปที่เดิมของตัวเองนั่นแหละครับท่าน. พระเถระเหยียบแผ่นเรือแล้วอธิษฐานว่า จงไปสู่ที่ที่คนพวกนี้ต้องการ. พวกพ่อค้าเมื่อไปถึงที่ของตนแล้ว ก็เล่าเรื่องนั้นให้ลูกเมียฟังแล้วชวนว่า มาเถิด พวกเราจงถึงพระเถระเป็นที่พึ่งเถิด จึงทั้ง ๕๐๐ คนพร้อมกับพวกแม่บ้านของตนอีก ๕๐๐ คน ตั้งอยู่ในสรณะสาม ประกาศตัวเป็นอุบาสก. ต่อจากนั้นก็ให้ขนสินค้าลงจากเรือ แบ่งถวายพระเถระส่วนหนึ่ง เรียนท่านว่า ท่านครับ นี้เป็นส่วนของพระคุณท่าน. พระเถระตอบว่า อาตมาไม่มีกิจด้วยส่วนหนึ่งต่างหากหรอก แต่พวกคุณเคยเห็นพระศาสดาแล้วหรือ. ยังไม่เคยเห็นเลยท่าน. ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกคุณเอาส่วนนี้ไปสร้างโรงปะรำถวายพระศาสดา แล้วพวกคุณจะได้เห็นพระศาสดาด้วยอาการอย่างนี้. พวกนั้นก็รับว่า ดีแล้วท่าน แล้วก็เริ่มสร้างโรงปะรำด้วยส่วนนั้นและด้วยส่วนของตนอีกมาก.
    เล่ากันว่า แม้พระศาสดาก็ได้ทรงกระทำการบริโภคตั้งแต่เวลาเริ่มงาน. พวกคนยามได้เห็นแสงในเวลากลางคืนเข้าใจกันว่า มีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่. พวกอุบาสกช่วยกันสร้างโรงปะรำและเสนาสนะสำหรับพระภิกษุสงฆ์จนสำเร็จ แล้วเตรียมเครื่องทาน แล้วกราบเรียนพระเถระว่า พระคุณเจ้า พวกกระผมได้ทำกิจเสร็จแล้ว ขอให้พระคุณเจ้าโปรดทูลพระศาสดามาเถิด. ตอนบ่าย พระเถระไปถึงกรุงสาวัตถีด้วยฤทธิ์แล้วกราบทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชาวหมู่บ้านพ่อค้าอยากเฝ้าพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ได้โปรดกระทำอนุเคราะห์แก่พวกเขาเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว. พระเถระทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้วก็กลับไปยังถิ่นของตนตามเดิม.
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกพระอานนทเถระมาสั่งว่า อานนท์ พรุ่งนี้พวกเราจะเที่ยวบิณฑบาตที่หมู่บ้านพ่อค้าในแคว้นสุนาปรันตะ เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙ รูป. พระเถระสนองพระพุทธบัญชาว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า บอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วพูดว่า ขอให้พวกภิกษุที่เที่ยวไปบิณฑบาตจงอย่าจับสลาก.
    ในวันนั้น ท่านกุณฑธานเถระได้จับสลากแรก. ฝ่ายชาวหมู่บ้านพ่อค้าทราบว่า นัยว่าพรุ่งนี้พระศาสดาจะเสด็จมาถึง จึงสร้างปะรำกลางบ้าน ตระเตรียมของถวายทานชั้นเลิศ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการปฏิบัติพระสรีระตั้งแต่เช้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ. ปัณฑุกัมพลสิลาสนะของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมา.
    ท้าวสักกะนั้นทรงพิจารณาว่า อะไรนี้ ทรงเห็นว่าพระศาสดาจะเสด็จไปแคว้นสุนาปรันตะ จึงรับสั่งเรียกพระวิศวกรรมมาสั่งว่า พ่อ วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ระยะทางไกลประมาณสามร้อยโยชน์#- พ่อจงเนรมิตเรือนยอดไว้ ๕๐๐ หลังทำการเตรียมระยะทางเสด็จที่ท้ายสุดซุ้มประตูพระเชตวัน ตั้งไว้ให้พร้อม. พระวิศวกรรมนั้นได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. เรือนยอดสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ มุข. ของสองพระอัศรสาวกมี ๒ มุข. ที่เหลือมีมุขเดียว.
    ____________________________
    #- ๑ กมพุช. สามพันโยชน์

    พระศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทรงเข้าสู่เรือนยอดอันประเสริฐในหมู่เรือนยอดที่ตั้งไว้ตามลำดับ. เหล่าภิกษุ ๔๙๙ รูป เริ่มแต่พระอัครสาวกทั้งสองต่างก็ไปสู่เรือนยอด ๔๙๙ หลัง. มีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง. เรือนยอดทั้ง ๕๐๐ หลังลอยไปในอากาศ.
    พระศาสดาเสด็จถึงภูเขาชื่อสัจจพันธ์ แล้วทรงหยุดเรือนยอดไว้ในอากาศ. ที่ภูเขานั้น มีดาบสมิจฉาทิฐิ ชื่อว่าสัจจพันธ์ ทำให้มหาชนถือเอาความเห็นผิดเป็นผู้ถึงลาภเลิศและยศเลิศอยู่. ก็ภายในตัวดาบสนั้นมีอุปนิสัยแห่งพระอรหัต โชติช่วงอยู่เหมือนประทีปที่อยู่ในตุ่ม. ครั้นทรงเห็นดาบสนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า เราจะแสดงธรรมแก่เขา จึงเสด็จไปทรงแสดงธรรม. เมื่อทรงเทศน์จบ ดาบสก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์. อภิญญาของท่านก็มากับมรรคนั่นเอง. ท่านเป็นเอหิภิกษุ ทรงบาตรจีวรที่สำเร็จเพราะฤทธิ์แล้วเข้าสู่เรือนยอด.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปถึงหมู่บ้านพ่อค้าพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่อยู่ในเรือนยอด ทรงทำให้ใครๆ มองไม่เห็นเรือนยอดแล้วเสด็จไปสู่หมู่บ้านพ่อค้า. พวกพ่อค้าได้ถวายทานใหญ่แก่หมู่ภิกษุซึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาเสด็จไปยังมกุฬการาม. พระศาสดาทรงเข้าสู่โรงปะรำ. มหาชนรอเวลาจนพระศาสดาดับความกระวนกระวายเกี่ยวกับพระอาหารให้สงบ ต่างรับประทานอาหารมื้อเช้าเสร็จแล้วสมาทานองค์อุโบสถ์ถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากกลับมาวัดเพื่อต้องการฟังธรรม. พระศาสดาทรงแสดงธรรม. การหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกเกิดแก่มหาชนแล้ว. ความโกลาหลเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ขนานใหญ่ได้มีแล้ว.
    เพื่อสงเคราะห์มหาชน พระศาสดาประทับ ๒-๓ วันในที่นั้นเอง. และก็ทรงยังอรุณให้ตั้งขึ้นในพระมหาคันธกุฏีนั่นแหละ. เมื่อประทับในที่นั้น ๒-๓ วันแล้วก็เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านพ่อค้าแล้วตรัสสั่งให้พระปุณณเถระกลับว่า เธอจงอยู่ในที่นี้แหละ ในระหว่างทางมีแม่น้ำชื่อนิมมทา ได้เสด็จไปถึงฝั่งของแม่น้ำนั้น. นิมมทานาคราชถวายการต้อนรับพระศาสดา ทูลเสด็จเข้าสู่ภพนาคได้กระทำสักการะพระรัตนตรัยแล้ว. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่นาคราชนั้นแล้ว ก็เสด็จออกจากภพนาค. นาคราชนั้นกราบทูลขอว่าได้โปรดประทานสิ่งที่พึงบำเรอแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบทเจดีย์ รอยพระบาท ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนิมมทา. รอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิด เมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด. กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่. เมื่อพระศาสดาทรงออกจากนั้นแล้วก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์ ตรัสกับพระสัจจพันธ์ว่า มหาชนถูกเธอทำให้จมลงในทางอบาย เธอต้องอยู่ในที่นี้แหละ แก้ลัทธิของพวกคนเหล่านี้เสีย แล้วให้พวกเขาดำรงอยู่ในทางพระนิพพาน. แม้ท่านพระสัจจพันธ์นั้นก็ทูลขอสิ่งที่จะต้องบำรุง. พระศาสดาก็ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบ เหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดๆ ฉะนั้น. ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวันทีเดียว. ท่านหมายเอาข้อความนี้จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วยภายในพรรษานั้นเองดังนี้.
    คำว่า ปรินิพพานแล้ว คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. มหาชนทำการบูชาสรีระของพระเถระตลอด ๗ วัน แล้วเอาไม้หอมเป็นอันมากมากองเผาสรีระ เก็บธาตุ (กระดูก) แล้วสร้างเจดีย์บรรจุ.
    คำว่า ภิกษุมากหลาย คือ พวกภิกษุที่อยู่ในที่ฌาปนกิจศพของพระเถระ.
    คำที่เหลือในที่ทุกแห่งล้วนแต่ตื้นๆ ทั้งนั้นแล.

    จบอรรถกถาปุณโณวาทสูตรที่ ๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2016
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2016
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คึกฤทธิ์ หมิ่นญานทัสสนะหลวงพ่อฤษีฯ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพและญานทัสนะของในหลวง

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) สนทนา ธรรม กับในหลวง

    พระองค์ก็ทรงพระเมตตามาตรัสถามเรื่องธรรมะ ความจริงที่ท่านถามไม่ได้ถามเรื่องบ้านเมืองกิจการงาน เป็นเรื่องธรรมะ การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา พระราชดำรัสที่ตรัสถาม อาตมาเกือบจะจนแต้มหลายหนนี้พูดกันอย่างจริง ๆ ของจริงเป็นของจริง เพราะว่า พระปรีชาสามารถที่ตรัสออกมา ทำให้อาตมาคิดว่า นี้พระองค์ทรงปฏิบัติได้ดีจริง ๆ ไม่ใช่ลอกตำรากัน ในช่วงเวลานั้นสมเด็จพระบรมราชินีนาถกับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์ก็เสด็จเยี่ยมราษฎร แบ่งงานกันทำเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสร็จภารกิจจากการสั่งสนทนากับอาตมาแล้ว


    ที่พระองค์ตรัสถามอยู่ตอนหนึ่งว่า

    “ที่หลวงพ่อก็ดี อาจารย์องค์อื่นก็ดี มักจะขู่อยู่เสมอว่า คนที่เจริญสมาธิจะต้องมีศีลบริสุทธิ์ แต่กระผมเห็นว่า ถึงแม้ว่าศีลไม่บริสุทธิ์ก็เจริญสมาธิได้..?”



    นี่สิ..บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นน้ำพระทัยของ พระองค์ไหม เอาเวลาที่ไหนมาเจริญสมาธิ เหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ทั้งคืน ตอนนี้อาตมาจึงได้ถวายพระพรว่า


    “คนที่มีศีลบริสุทธิ์ หรือไม่มีศีลบริสุทธิ์ ก็มีสมาธิได้ ฝึกสมาธิได้ แต่ว่าผลย่อมต่างกัน ตอนที่คนที่มีศีลบริสุทธิ์ เขามีผลอย่างคนมีศีลบริสุทธิ์ คนที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ก็มีผล อย่างคนที่มีศีลไม่บริสุทธิ์”

    ต่อเนื่องจากกระทู้ พร่องศีลซึ่งนำมาหลอมรวมกันยังภัยที่มาอันเป็นเหตุ บรรจบ
    http://palungjit.org/threads/พร่องใ...ด้สำเร็จผลใดๆ-แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้.548335/

    เพิ่มเติมที่ได้เคยร่วมวิสัชชนาไว้กับสหายธรรม ซึ่งเป็น นิมิต การแจ้งถึงภัยแห่งของการทำลายชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

    http://palungjit.org/threads/วิริยาธิกะพิเศษบันทึก.242863/page-3



    https://youtu.be/5Eryjv7H42c

    บันทึกงานของในหลวง ตอน พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

    https://youtu.be/V4aQOgylfJI

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรางวัลเกษตรกรดีเด่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

    https://youtu.be/MFFGv81FzS0

    ในปี พ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโป­รดเกล้าฯ ให้กรมการข้าว (เดิม) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพันธุ์ข้าวต่างๆ มาปลูกทดลองในบริเวณสวนจิตรลดา และให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล นำควายเหล็กหรือรถไถแบบ 4 ล้อ ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 8.5 แรงม้า ไปใช้เตรียมดินสำหรับปลูกข้าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช­ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำในการปรับปรุง "ควายเหล็ก" ที่ผลิตในประเทศไทย ให้ได้รูปแบบที่ดีเหมาะสมกับการใช้งานด้วย ซึ่งในเวลานั้น พระองค์ท่านทรงขับรถไถนาควายเหล็ก เพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าว ตลอดจนทรงหว่านข้าวและเกี่ยวข้าวด้วยพระอง­ค์เอง และในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีทำขวัญหรือขวัญแม่โพสพขึ้น ณ แปลงนาทดลอง ในระยะที่ต้นข้าวกำลังตั้งท้องรอวันออกรวง ตามประเพณีโบราณด้วย

    ต่อมา ในวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของท­ุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาแรกนา ไปทำพิธีหว่านข้าวที่แปลงนาทดลองในสวนจิตร­ลดา ต่อจากพระราชพิธีที่ท้องสนามหลวงด้วย และพระองค์ท่านก็เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นอ­งค์ประธาน ในพระราชประเพณีนี้สืบมา

    ปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำให้ทดลองปลูกข้าวไร่ ภายในสวนจิตรลดา เพื่อหาวิธีการและหาเมล็ดพันธุ์ที่ดี สำหรับเผยแพร่ให้เกษตรกร เนื่องจากมีเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขัน­ธ์ กราบถวายบังคมทูลเกี่ยวกับข้าวไร่ที่ได้ผล­ผลิตต่ำมาก
    ปัจจุบันนาข้าวทดลองสวนจิตรลดา ได้ทำการปลูกข้าวนาสวน และข้าวไร่ในฤดูฝน หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ในช่วงฤดูแล้ง จะปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียนในนาข้าวด้วย

    เมล็ดพันธุ์ข้าวต่างๆ ที่เก็บเกี่ยวได้ จะนำไปใช้ในพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาข­วัญ ในปีต่อไป และพระราชทาน ให้นำไปบรรจุใส่ซองเล็กๆ สำหรับแจกจ่ายให้พสกนิกร และเกษตรกรทั่วประเทศ เป็นพันธุ์ข้าวพระราชทาน เพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคล ในการประกอบอาชีพการเกษตรของตน ตามประเพณีนิยม

    https://youtu.be/JgVYaeT3_y8

    เนื่องในวันพืชมงคล

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า

    “การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ ก็มีอยู่เสมอเป็นนิจไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่างเหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไปด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นอันตรายไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและหาทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้า จะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทาง ไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด”

    พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ..โบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงให้ความสำคัญ

    http://welovethaiking.com/blog/%E0%B...8%84%E0%B8%A5/

    สรุป ก็หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นเคย แล้วเคสนี้หนักด้วย คงคิดออกนะ อย่างที่คึกฤทธิ์ว่า ตราบใดที่ยังมีพิธีกรรม แรกนาขวัญ เป็นต้น ผู้ที่ส่งเสริมพิธีกรรมนี้ อย่าฝันแม้แต่จะเป็นพระโสดาบัน

    -----------------------------------------------------------------------
    พุทธวจน - พิธีการต่างๆที่ปฎิบัติสืบทอดกันอยู่ ถูกต้องหรือไม่ตามหลักพุทธวจน
    https://youtu.be/hABtR2QRyeY


    http://welovethaiking.com/blog/โบราณราชประเพณีพืชมงคล/



    ขอให้ท่านทั้งหลาย ร่วมปกป้องพระพุทธศาสนา ชาติบ้านเมือง และพระมหากษัตริย์ด้วยกันเถิด ตอนนี้เรามีภยันอันตรายกันแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 007.jpg
      007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.8 KB
      เปิดดู:
      131
    • 008.jpg
      008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.6 KB
      เปิดดู:
      127
    • bb5.jpg
      bb5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.3 KB
      เปิดดู:
      103
    • c41.jpg
      c41.jpg
      ขนาดไฟล์:
      392.3 KB
      เปิดดู:
      136
    • c40.jpg
      c40.jpg
      ขนาดไฟล์:
      187.2 KB
      เปิดดู:
      98
    • c39.jpg
      c39.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.9 KB
      เปิดดู:
      291
    • c37.jpg
      c37.jpg
      ขนาดไฟล์:
      295.3 KB
      เปิดดู:
      87
    • c36.jpg
      c36.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.7 KB
      เปิดดู:
      86
    • c33.jpg
      c33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50 KB
      เปิดดู:
      85
    • c32.jpg
      c32.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.1 KB
      เปิดดู:
      90
    • a67.jpg
      a67.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.4 KB
      เปิดดู:
      107
    • T0009_0009_01.jpg
      T0009_0009_01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      86
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จะยอมให้หมิ่นพระทศพลญาน หมิ่นพระแม่ธรณี หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ หมิ่นพระพุทธศาสนาและชาวพุทธต่อไปอย่างนั้นหรือ

    คึกฤทธิ์สอนพุทธบริษัทที่ตาบอดให้ ไม่เอาลูกนิมิต ไม่เอากรวดน้ำ ไม่เอาพระธาตุ ไม่เอารอยพุทธบาท ไม่เอาการเรียนนักธรรม เปรียญธรรม หรือการศึกษาในด้านอื่น ไม่ส่งเสริมการสร้างโรงพยาบาล หรือ ให้ยาพยาบาลผู้ป่วยโดยพระภิกษุ อ้างพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ เป็นของแต่งใหม่ ไม่มีอานิสงส์ ทำเล่ห์แสร้งถามตอบ ให้จัดอยู่ในเดรัจฉานวิชา หมิ่นสถาบันและพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา

    คึกฤทธิ์วิสัชนา สอนคนว่าการกรวดน้ำหรือการหลั่งทักษิโณทก เพื่ออุทิศกระแสบุญและกระแสธารไม่มีจริง เป็นคำแต่งใหม่ ไม่มีอานิสงส์เป็นสิ่งสูญเปล่า เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ นั่นก็หมายถึง สอนคนไม่ให้เชื่อในการตรัสรู้ที่ใต้ มหาโพธิบัลลังก์ขององค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดานั้นด้วย ที่พระแม่ธรณียืนยันพระมหากรุณาและบุญบารมีที่ทรงสั่งสมไว้เพื่อขจัดพญามารและเสนามาร




    ความปวดร้าวของพระแม่ธรณีนั้นคงมีมากมายเหลือเกิน เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนแต่ฝากไว้ ซึ่งความเจ็บปวดรวดร้าวระทมขมขื่นใจ


    ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมพญามารที่รังควานสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้ ดั่งรายละเอียดตามพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสว่า
    แต่ในชาติอาตมะเป็นพระยาเวสสันดรชาติเดียวนั้น ก็ได้บำเพ็ญทานบารมีถึงบริจาคนางมัทรีเป็นอวสาน พื้นพสุธาก็กัมปนาการถึง 7 ครั้ง แลกาลบัดนี้ อาตมะนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์อาสน์ หมู่มารอริราชมาแวดล้อมยุทธการเป็นไฉนแผ่นพสุธาธารจึงดุษณีภาพอยู่ฉะนี้ แลพระยามารอ้างบริษัทแห่งตนให้เป็นกฎสักขีขานคำมุสา

    แลพื้นปฐพีอันปราศจากเจตนาได้สดับคำอาตมะในครั้งนี้จงรับเป็นสักขีพยานแห่งข้า แล้วเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาอันประดับด้วยจักรลักษณะอันงามดุจงวงไอยรารุ่งเรืองด้วยพระนขามีพรรณอันแดงดุจแก้วประพาฬออกจากห้องแห่งจีวร ครุวนาดุจวิชุลดาในอัมพรอันออกจากระหว่างห้องแห่งรัตวลาหก ยกพระดัชนีชี้เฉพาะพื้นมหินทรา จึงออกพระวาจาประกาศแก่นางพระธรณีว่า

    ดูก่อนวนิดาดลนารี ตั้งแต่อาตมะบำเพ็ญพระสมภารบารมีมาตราบเท่าถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรราช ได้เสียสละบุตรทานบริจาคแลสัตตสดกมหาทานสมณะพราหมณาจารย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะกระทำเป็นสักขีพยานในที่นี้ก็มิได้ มีแต่พสุนธารนารีนี้แลรู้เห็นเป็นพยานอันใหญ่ยิ่ง เป็นไฉนท่านจึงนิ่งมิได้เป็นพยานอาตมาในกาลบัดนี้

    ในขณะนั้น นางพสุนธรีวนิดาก็มิอาจดำรงกายาอยู่ได้ ด้วยโพธิสมภารานุภาพยิ่งใหญ่แห่งพระมหาสัตว์ ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพียืนประดิษฐานเฉพาะพระพุทธังกุรราช เหมือนดุจร้องประกาศกราบทูลพระกรุณาว่าข้าแต่พระมหาบุรุษราช ข้าพระบาททราบซึ่งสมภารบารมีที่พระองค์สั่งสมอบรมบำเพ็ญมา

    แต่น้ำทักษิโณทกตกลงชุ่มอยู่ในเกศาข้าพระพุทธเจ้านี้ ก็มากกว่ามากประมาณมิได้ ข้าพระองค์จะบิดกระแสใสสินโธทกให้ตกไหลหลั่งลง จงเห็นประจักษ์แก่นัยนาในครานี้ แลนางพระธรณีก็บิดน้ำในโมลีแห่งตน อันว่ากระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศโมลีแห่งนางพสุนธรีเป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศที่ทั้งปวงประดุจห้องมหาสาครสมุทร พระผู้เป็นเจ้ารักขิตาจารย์จึงกล่าวสารพระคาถาอรรถาธิบายความก็เหมือนนัยกล่าวแล้วแต่หลัง

    ครั้งนั้น หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาดมิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร อันว่าระเบียบแห่งฉัตรธวัชจามรทั้งหลาย ก็ทักทบท่าวทำลายล้มลงเกลื่อนกลาดและพระยามาราธิราชได้ทัศนาการเห็นมหัศจรรย์ ดังนั้น ก็บันดาลจิตพิศวงครั่นคร้ามขามพระเดชพระคุณเป็นอันมาก พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาสรรเสริญคุณานุภาพโพธิสัตว์อรรถาธิบายความก็ซ้ำหนหลัง

    ครั้งนั้นมหาปฐพีก็ป่วนปั่นปานประหนึ่งว่าจักรแห่งนายช่างหม้อบันลือศัพท์นฤนาทหวาดไหวสะเทือนสะท้าน เบื้องบนอากาศก็นฤโฆษนาการ เสียงมหาเมฆครืนครั่นปิ่มปานจะทำลายภูผาทั้งหลาย มีสัตตภัณฑ์บรรพต เป็นต้น ก็วิจลจลาการขานทรัพย์สำเนียงกึกก้องทั่วทั้งท้องจักรวาล ก็บันดาลโกลาหลทั่วสกลดังสะท้าน ปานดุจเสียงป่าไผ่อันไหม้ด้วยเปลวอัคคี ทั้งเทวทุนทุภีกลองสวรรค์ก็บันลือลั่นไปเอง เสียงครืนเครงดุจวีหิลาชอันสาดทิ้ง ถูกกระเบื้องอันเรืองโรจน์ร้อนในกองอัคนี การอัสนีบาตก็ประหารลงเปรี้ยง ๆ เพียงพื้นแผ่นปฐพีจะพังภาคดังห่าฝน

    ถ่านเพลิงตกต้องพสุธาดลดำเกิงแสงสว่างหมู่มารทั้งหลายต่าง ๆ ตระหนกตกประหม่า กลัวพระเดชานุภาพแพ้พ่าย แตกขจัดขจายหนีไปในทิศานุทิศทั้งปวงมิได้เศษ แลพระยามาราธิราชก็กลัวพระเดชบารมี ปราศจากที่พึ่งที่พำนักซ่อนเร้นให้พ้นภัยหฤทัย ท้อระทดสลดสังเวชจึงออกพระโอษฐ์สรรเสริญพระเดชพระคุณพระมหาบุรุษราชว่า ดังอาตมาจินตนาการอันว่าผลทานศีลสรรพบารมีแห่งพระสิทธัตถกุมารนี้ ปรากฏอาจให้บังเกิดมหิทธฤทธิ์สำเร็จกิจมโนรถปรารถนาทุกประการ มีพระกมลเบิกบานแผ่ไปด้วยประสาทโสมนัส จึงทิ้งเสียซึ่งสรรพาวุธประนมหัตถ์ทั้ง 2,000 อัญชลีกรนมัสการ

    ก็กล่าวสารพระคาถาว่า นโม เต ปุริสาชญญ เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปุริสาชาไนยชาติเป็นอุดมบุรุษราชในโลกนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายวันทนาการชุลีพร้อมด้วยทวารทั้ง 3 คือกายวจีมโนประณามประณตในบทบงกชยุคลบาท บุคคลผู้ใดในมนุษย์โลกธาตุกับทั้งเทวโลก ที่จะปูนเปรียบประเสริฐเสมอพระองค์คงเทียมเทียบนั้นมิได้มี พระองค์ได้ตรัสเป็นพระศรีสรรเพชญ์เสร็จแจ้งจตุราริยสัจจ์ศาสดาจารย์มีพระเดชครอบงำชำนะหมู่มาร เป็นปิ่นปราชญ์ฉลาดในอนุสัยแห่งสรรพสัตวโลกจะข้ามขนนิกรเวไนย์ให้พ้นจตุรโอฆกันดารบรรลุฝั่งฟากอมฤตมหานฤพานอันเกษมสุขปราศจากสังสารทุกข์ในครั้งนี้ แลพระยาวัสวดีมารโถมนาการพระคุณพระมหาบุรุษราชด้วยจิตประสาทเลื่อมใส ผลกุศลนั้นจะตกแต่งให้ได้ตรัสแก่พระปัจเจกโพธิญาณในอนาคตกาลภายหน้า เมื่อพระยามารกล่าวสัมภาวนากถาสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ แล้วก็นิวัตตนาการสู่สกลฐานเทวพิภพ

    ธรณีนี่นี้เป็นพยานความศักดิ์สิทธิ์ของแม่โลก

    พระแม่ธรณี เป็นเทพฝ่ายหญิงที่ผูกพันอยู่กับศาสนาพุทธ และคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งที่พระแม่ธรณีนั้นเคยเป็นเทพของศานาพราหมณ์– ฮินดูเคยกล่าวถึงมาก่อนเพียงแต่พระแม่พระองค์นี้ไม่ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นที่เอิกเกริกอย่างเมืองไทย ส่วนใหญ่ถือเอาดินก้อนหนึ่งมาเป็นเครื่องบูชาแทน “ พระแม่ธรณี ” เท่านั้น ความยิ่งใหญ่ของท่านนั้นแทบไม่ต้องบรรยายถึง เพราะเหย้าเรือน ตึกรามบ้านช่อง ห้องหอเวียงวัง พร้อมด้วยสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนั้นตั้งอยู่บนพระวรกายของท่าน เพียงแต่ท่านไม่ได้ปรากฏรูปกายเป็นเรือนร่างให้เราสัมผัสมองเห็นด้วยตาเท่านั้นเอง
    คนไทยเองสร้างรูปของพระนางในลักษณะบีบมวยผม เป็นจินตนาการที่จำลองเอาจากพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าผจญมารมาสร้างรูปไว้สักการบูชา ปางอื่นๆ ด้วยอิริยาบถยืนก็มี แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่ากับการนั่งพับเพียบเท่านั้นเอง
    ความจริงแล้ว ซึ่งพระแม่ธรณีนั้นเข้าใจง่ายที่สุด ไม่ต้องอธบายมากทั้ง ๆ ที่ท่านเองก็มีชื่อเรียกอื่นเหมือนกัน อาทิ พระศรีวสุนธรา , พระปฤถิวี , พระภูมิเทวี , ธฤตริ , พสุนธร , พสุนธรี
    สถานภาพของพระแม่นั้นโสด ปราศจากการครองคู่กับพระสวามี !!!
    แต่ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนอินเดียนั้น มักไม่ยอมให้ผู้หญิงอยู่เป็นโสด เพราะผู้หญิงที่ปราศจากคู่ครองหนึ่ง หรือ สามีตายหนึ่ง มักจะถูกประณามหยามเหยียด ดูหมิ่นดูแคลนกันไปต่าง ๆ ดังนั้น ... ในยุคแรก ๆ นั้นก็เลยไม่มีการจัดคู่ให้กับแม่ธรณี , พระแม่คงคา ซึ่งมีสถานภาพโสดด้วยกันทั้งคู่ ตำนานว่า กาลก่อนนั้น พระลักษมี , พระสรัสวดี , พระธรณี , พระคงคา นั้นร่วมอยู่ในครอบครัวเดียวกับพระวิษณุเทพ ด้วยเหตุที่มีเรื่องวิวาทกันบ่อย ๆ ตามประสาเมียทั้งหลาย พระวิษณุเทพก็เลยต้องทำหน้าที่แจกจ่ายเมียแจกพระคงคาให้กับพระศิวะ และจะยกพระปฤถิวีให้กับเทวดาองค์หนึ่ง ทำให้นางเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจก็เลยอธิษฐานขอลงมาใช้ชีวิตบนโลก ไม่อยากหาความสำราญบนสวรรค์อีกต่อไป
    ทุกวันนี้พระแม่ธรณีแทบจะหมดความสำคัญในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีหลงเหลืออยู่บ้างก็คือ ชาวฮินดูบางคนให้ความเคารพด้วยการเอาฝ่ามือแตะพื้นธรณีขึ้นมาแตะหน้าผากเพื่อแสดงว่ายังเคารพอยู่เท่านั้นเอง หรือบางคนหลังตื่นนอนก่อนเอาเท้าแตะพื้นก็จะกล่าวคำขอขมาลาโทษ เทพชั้นรองหลายคนที่ลดบทบาทบนสวรรค์ก็เลยมาสมาทานเอาพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพระพรหม พระอินทร์ พระแม่ธรณี เป็นต้น
    ผู้เฒ่าผู้แก่มักจะสอนเด็กว่า ห้ามเหยียบธรณีประตู !!
    จะด้วยเชื่อว่า พระแม่ธรณีสถิตอยู่ตรงนั้น หรือเพราะไม่อยากให้เด็กสะดุดประตูก็แล้วแต่ ก็แสดงว่าพระแม่ธรณีนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ค่อนข้างมาก

    นมราดพื้นบูชาแม่ธรณี
    อินเดียโบราณ คนซึ่งมีอาชีพทำปศุสัตว์ ก็จะแสดงความเคารพแม่องค์นี้ด้วยวิธีการหนึ่งเหมือนกันคือ เมื่อแม่วัวสาวท้องแรกหลังคลอด และก่อนที่จะให้ลูกวัวได้กินนมจากเต้า คนเลี้ยงจะรีดนมลงพื้นเพื่อบูชาพระแม่ธรณี หรือบางแห่งก็จะตั้งเครื่องสังเวยที่พื้นดิน บูขาด้วยข้าว ผลไม้และนมสด และเอานมนั้นเทราดไปบนพื้น
    เพราะการเทราดบนพื้นดินถือเป็นการบูชาแม่ธรณี ตามคติโบราณของคนอินเดียเรื่องพระแม่ธรณีเป็นเพียงแค่เรื่องเครื่องเคียงของเทวนิยมฮินดูเท่านั้น ไม่ได้แสดงบทบาทที่ชัดเจนเหมือนเทพเจ้า เริ่มต้นในสมัยสร้างโลกได้กล่าวถึงพรปฤถิวีที่จมอยู่ใต้น้ำ หลังน้ำท่วมโลกด้วยความทุกข์ทรมานจนพระวิษณุเทพอวตารเป็นหมาป่าไปงัดเอาโลกที่จมอยู่ใต้น้ำ
    ขึ้นมาตั้งอยู่ดังเดิมเพื่อให้สรรพสิ่งในโลกได้ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งพระนางปฤถิวียังทำหน้าที่รับฝาก
    ของวิเศษแบบไม่มีดอกเบี้ยอีกด้วย เช่นพระชนกของนางสีดา ฝากลูกใส่ผอบฝังดินไว้จนลูกโตเป็นสาว หรือพระศิวะฝากรัตนธนูเพื่อถวายพระราม อวตารปางหนึ่งของพระวิษณุเทพ

    แม่ธรณี องค์พยานเอก
    ภารกิจที่สำคัญที่สุดก็คือ ในคืนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พญามารวัสดี และกองทัพมารเข้ารบกวนพระพุทธเจ้าอ้างเอาบัลลังก์เป็นของตน ไม่มีเทพ เทวดา กล้าเป็นประจักษ์พยานให้ ต่างหนีกายหลบเร้นไปหมดด้วยความกลัวในพญามารจนพระพุทธเจ้าต้องอ้างเอาธรณีเป็นพยาน พอพระพุทธเจ้าเปล่งวาจาเท่านั้น แผ่นดินก็จะเสทือนเลื่อนลั่นอยู่ 7 ครั้ง เสียงต้องอ้างเอาธรณีเป็นพอพระพุทธเจ้าเปล่งวาจาเท่านั้น แผ่นดินก็สะเทือนเลื่อนลั่นอยู่ 7 ครั้ง เสียงดังกมปนาท พระแม่ธรณีไม่อาจทนอยู่ได้พอนางได้ยิน ต้องปรากฏกายเป็นพยานเอก แสดงการบิดน้ำจากมวยผมเพื่อแสดงให้เห็นถึงกุศลที่ พระพุทธเจ้าได้กระทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปรากฏว่าน้ำที่กรวดลงบนพื้นแล้วแม่ธรณีรับไว้นั้นมากถึงขั้นเป็นมหาสมุทร พัดเอาเหล่าพญามารกระจัดกระจายหายไป ต้นเหตุนี้ทำให้เกิดพระพุทธรูปในปางมารวิชัยขึ้นในกาลต่อมา
    เรื่องกาอ้างเอาพระแม่ธรณีเป็นพยานนั้น ในประวัติศาสตร์ชาติไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็อ้างเอาธรณีผืนแผ่นดินไทยเป็นพยาน ด้วยการหลั่งน้ำทักษิโณฑกเพื่อประกาศอิสรภาพไม่เป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกต่อไป หรือเมื่อศรีปราชญ์ถูกพระยานครศรีธรรมราชประหารชีวิตก็อ้างเอาแม่ธรณีเป็นพยานจนเป็นที่มาของบทโคลงที่ว่า


    ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
    เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
    เราผิดท่านประหาร เราชอบ
    เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง

    ศาลที่ท้องสนามหลวง

    ศาลพระแม่ธรณีที่เลื่องชื่อที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณสนามหลวงสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2460 นายช่างใหญ่สมัยนั้นใช้เวลาเพียง 4 เดือนในการทำรูปเคารพนี้ ผู้ปั้นหล่อแม่ธรณีองค์นี้ชื่อ ครูเริน บ้ายช่างหล่อ พรานนก ความเป้นมาแต่เดิมนั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ทรงมีพระบรมราชเสาวนีย์โปรดฯ ให้สร้างเทวาลัยเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาและ
    ที่ต้องเป็นรูปพระนางธรณีบีบมวยผม
    ก็เพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำในการอุปโภค – บริโภคอีกด้วย


    การบูชาพระแม่ธรณี



    นอกจากนี้ ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ พิธีการก่อนไปจับช้าง ก็มีการกล่าวบูชาพระแม่ธรณีเช่นกัน แต่ความเชื่อถือเกี่ยวกับแม่พระธรณีในไทยก็มิได้เป็นที่แพร่หลายนัก
    ขณะเดียวกัน ยังมีชื่อแม่พระธรณีปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง อาทิ หนังสือเทศน์มหาชาติปฐมสมโพธิกถา ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น นางพระธรณี พระแม่สุนธราพสุธา ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน คือ ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติ หมายถึงแผ่นดินนั่นเอง สำหรับชาวไทยทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า แม่พระธรณี บ้าง พระแม่ธรณี บ้าง ตามความนิยม
    รูปลักษณะที่เป็นจิตรกรรมของแม่พระธรณีนั้น เป็นเทวดาผู้หญิง ที่มีสรีระรูปร่างใหญ่ หากแต่อ่อนช้อย งดงาม พระฉวีสีดำ พระพักตร์รูปไข่ มวยพระเกศายาวสลวย สีเขียวชอุ่มเหมือนกลุ่มเมฆ พระเนตรสีเหมือนดอกบัวสาย คือ สีน้ำเงิน พระชงฆ์เรียว พระพาหาดุจ งวงไอยรา นิ้วพระหัตถ์เรียวเหมือนลำเทียน มีพระทัยเยือกเย็น ไม่หวั่นไหว พระพักตร์ยิ้มละไมอยู่เสมอ
    ภาพเขียนรูปพระแม่ธรณี ที่ถือกันว่างดงามเป็นพิเศษ คือ ภาพที่ฝาผนังด้านหน้าพระประธานในพระอุโบสถ วัดชมภูเวก อ.เมือง จ.นนทบุรี
    ส่วนรูปลักษณะปฏิมากรรมนั้น แม่พระธรณีในศิลปะไทยที่มีปรากฏอยู่ จะทำเป็นรูปหญิงสาว มีรูปร่างอวบใหญ่ ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือ มวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผม แสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผมนั้น
    ส่วนเครื่องทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของผู้สร้าง บางแห่งสวมพัสตราภรณ์เฉพาะช่วงล่าง แต่บางแห่งทั้งนุ่งผ้าจีบและห่มสไบอย่างสวยงาม ประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ มีกรอบหน้าและจอนหู เป็นต้น
    อ.ราม ยังบอกด้วยว่า การสร้างรูปเคารพของพระแม่ธรณี เท่าที่สามารถสอบทานของไทยเรา พบตำราเก่าแก่สมัยอยุธยา บันทึกเรื่องราวการจัดสร้างนางเทพเทวาที่เป็นรูปแบบแม่ธรณีขึ้นบูชาเพื่อการอำนวยผลทางความมั่นคงและป้องกันสิ่งเลวร้าย ตำรานี้บอกเล่าต่อกันมาว่า ยังเก็บรักษาอยู่ที่ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
    ในด้านภาคอีสาน ก็มีวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับแม่พระธรณีหลายอย่าง เช่น ตะกรุดหัวใจพสุธา ในสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ แม้ในพิธีเบิกโขลนออกจับช้าง ก็ยังมีมนต์ที่กล่าวอ้างถึงแม่พระธรณี เช่น “โอมเผนิกเบิกแนกแยกพระกำกวมงวม พระธรณี ทางเส้นนี้ก็เคยล่วงปล่อยทางนี้ เคยเที่ยว โอมสวาหุโนนะโมตัสสะ”
    ทางภาคเหนือ ก็มีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่พระธรณีอยู่หลากหลาย และที่นับถือเป็นประเพณี เช่น พิธีบนนางธรณี
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีคติความเชื่อด้วยว่า ในการรบทัพจับศึกในสมัยก่อน ก็มีพิธีกรรมหยิบดินที่เหยียบอยู่กลั้นใจว่า “แม่พระธรณีเอ๋ย อยู่หรือยัง สังขาตังโลกะวิทู” แล้วโปรยบนศีรษะ เชื่อว่าจะพ้นภยันตรายทั้งปวง เพราะมีพระธรณีรักษาอยู่
    ประเพณีนี้สืบต่อมาถึงการชกมวยในสมัยก่อน ที่ต้องหยิบดินมา “อาพัดธรณี” ในการเอาชนะคู่แข่งขัน ซึ่งบางท่านที่ไม่เคยได้ศึกษาเรื่องความเชื่อโบราณ มักตีขลุมเอาว่า ที่ทำเช่นนั้นเป็นการดูว่า ดินที่เวทีนั้นอ่อนหรือแข็ง จะได้คะเนไม้มวยเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ อันนี้ก็แล้วแต่จะมีมติว่ากันไป แต่โบราณท่านเชื่อในคุณของแม่พระธรณีนี้ อย่างจริงจังมั่นคง
    คาถาบูชาพระแม่ธรณี การบูชาแม่พระธรณี
    สำหรับวิธีอาราธนา หรือ การบูชาแม่พระธรณี อ.ราม บอกว่า มีหลายตำรา เช่น ให้ตั้งนะโม ๓ จบ ว่า พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วว่า “อิติปิโสภะคะวาสะวาอะระหัง สุคะโตสวาหะ” ๓ จบ หลังจากนั้นสวดด้วย “ตัสสาเกษีสะโต ยะถาคงคา โสตังปะวัตตันติ มาระเสนา ปฏิฐาตุง อาสักโภนโต ปะลายิงสุปาริมานานุภาเวนะมาระ เสนาปะราชิตาทิโส ทิสัง ปะลายันติ วิทังเสนติอะเสสะโต” อย่างน้อย ๓ จบ แต่ถ้าจะให้ดี ๒๑ จบ เพราะกำลังของแม่พระธรณี คือ ๒๑
    คาถาทั้งสองบทนี้ ใช้ได้ตามอธิษฐาน ทำน้ำมนต์แก้คุณเสนียดได้ผลดียิ่ง หากมีศัตรูให้เขียนชื่อนำพระแม่ธรณีทับไว้ อธิษฐานให้อภัยต่อกัน สวดคาถานี้ทำครบ ๗ วัน ฝ่ายตรงข้ามจะแพ้ภัยตัวเองไป แต่อย่าจองเวรเขาเลย จึงจะมีผล
    เวลาเดินทางให้อธิษฐานพระนางธรณีไปจะพ้นภัยทั้งปวง เวลามีเหตุให้นึกถึงแม่พระธรณีแล้วภาวนาว่า “สะนะมะอุ” ไปเรื่อย ๆ จะทรงอานุภาพผ่านพ้นภยันตรายนั้นไปได้เป็นอัศจรรย์
    แม่พระธรณีในพุทธประวัติ
    พระธรณี เป็นเทพมารดาแห่งโลก เพราะเป็นผู้ที่มีคุณต่อสรรพชีวิตบนโลกนี้ ที่ต้องอาศัยคุณของแม่พระธรณี ในศาสตร์ทางจิตเกือบทั่วทุกมุมโลก ล้วนคำนึงถึงพลังจากปฐพีนี้เสมอมา แม้ในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยหลักการและเหตุผล ก็ยังกล่าวอ้างถึงดังปรากฏในปฐมสมโพธิญาณ ภาพพุทธประวัติตอนที่ แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา พญามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี
    เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียร เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย พญามารได้ออกอุบายต่างๆ นานา เพื่อให้พระพุทธองค์ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดี ยินร้ายต่อพวกเหล่ามาร ในครั้งนั้น พระแม่ธรณี ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ปราบเหล่าพญามาร โดยทรงบีบมวยผมให้น้ำไหลออกมาท่วมพวกพญามารทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไป
    สถานที่ที่พระมหาบุรุษประทับนั่ง เพื่อทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ แสวงหาทางตรัสรู้ ซึ่งอยู่ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น เรียกว่า "โพธิบังลังก์ " พระยามารกล่าวตู่ว่า เป็นสมบัติของตน ส่วนพระมหาบุรุษทรงกล่าวแก้ว่า บังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน แล้วทรงอ้าง พระนางธรณีเป็นพยาน ปฐมสมโพธิว่า "พระธรณีก็มิอาจดำรงกายอยู่ได้... ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพี..." แล้วกล่าวเป็นพยานพระมหาบุรุษ พร้อมกับบีบน้ำออกจากมวยผม น้ำนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า "ทักษิโณทก" อันได้แก่ น้ำที่พระมหาบุรุษทรงกรวดทุกครั้ง ที่ทรงบำเพ็ญบุญบารมีแต่ชาติปางก่อน เป็นลำดับมา ซึ่งแม่พระธรณีเก็บไว้ที่มวยผม เมื่อนางบีบก็หลั่งไหลออกมา ปฐมสมโพธิว่า "เป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศทั้งปวง ประดุจห้วงมหาสาครสมุทร... หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำ ปลาสนาการไปสิ้น ส่วนคีรีเมขลชินทร ที่นั่งทรงองค์พระยาวัสสวัสดี ก็มีบาทาอันพลาด มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร... พญามารก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด "


    ก้มกราบแผ่นดิน หรือ การบูชา แม่พระธรณี



    มาถึงยุคปัจจุบัน แม่พระธรณียังได้รับการนับถืออยู่ โดยเฉพาะในหมู่ของผู้ค้าที่ดินจะเชื่อว่า อยากเป็นเศรษฐีที่นา อยากเป็นราชาที่ดิน อยากมีที่ทำกินอยู่อาศัย ต้องบูชาพระแม่ธรณีบีบมวยผม
    ประวัติแม่พระธรณี หรือ พระแม่ธรณี

    อ.ราม วัชรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก นักโบราณคดี อธิบายให้ฟังว่า พระธรณี หรือ เทพแห่งแผ่นดิน ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่า พระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์ องค์หนึ่งคือ พระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี




    พระแม่ธรณี ในคติพราหมณ์ พบเพียงว่า เป็นชายาของพระธุรวะ หรือดาวเหนือ คติความเชื่อเรื่องพระแม่ธรณีได้เผยแพร่มาจากอินเดียสู่ไทย เนื่องจากอิทธิพลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ โดยมีความเชื่อเช่นเดียวกับทางอินเดียว่า เป็นเพศหญิง


    พระแม่ธรณีบีบมวยผม



    ไม่ว่าใครจะก้มกราบแผ่นดินด้วยเหตุใดก็ตาม คติความเชื่อเรื่องการก้มกราบแผ่นดิน หรือ การบูชา แม่พระธรณี นั้น อยู่กับมนุษย์อุษาคเนย์ไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยเฉพาะในอินเดีย มีมาก่อนพุทธศาสนา
    ในสมัยนั้น จะนับถือผีเป็นหลัก ผีสำคัญยุคแรกๆ คือ ผีน้ำและผีดิน ที่ต่อมาเรียกชื่อด้วยคำยกย่องว่า แม่พระคงคา กับ แม่พระธรณี




    ในขณะที่ชาวไทยสมัยโบราณบูชา แม่พระธรณี เพื่อให้แผ่นดินมีความสงบสุข และร่มเย็น เพราะว่า แม่พระธรณี คือ "เทพผู้คุ้มครองแผ่นดิน"


    จากบทความสายน้ำแหล่งอารยธรรม ๑-๕ นั้นเป็นเพียงบอกเล่าเสริมข้อความ ที่ว่าน้ำเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้น
    เป็นการเริ่มต้นสร้างบ้านแปลงเมือง มาตั้งแค่ยุคกรุงสุโชทัย จนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการเริ่มต้นของการเลือกสร้างราชธานีของชนชาติไทยมาแต่โบราณ เริ่มต้นนับเป็นประวัติศาสตร์ของไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเมื่อได้มีบ้านเมือง ประเทศชาติแล้ว ก็เป็นที่เกิดของ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของการดำรงชีพ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒธรรม ของชนชาติ

    น้ำและสายน้ำ กับวิถึชีวิตของคนไทย

    ขอเริ่มต้นด้วยวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ

    ๑. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
    ในพระราชพิธีนี้มีขั้นตอนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับน้ำ คือน้ำมูรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ ซึ่งจะนำน้ำจากสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นที่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ทั้วราชอาณาจักร

    ซึ่งในสมัยรัชกาลปัจจุบันมีการตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษก และน้ำสรงมูรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษกนั้น ต้นตำราให้ใช้น้ำจากสถานที่ สำคัญต่าง ๆ ๑๘ แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พุทธเจดีย์ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร แล้วส่งเข้ามาเจือปนเป็นน้ำมูรธาภิเษกให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรง และทรงรับน้ำอภิเษกในวันพระราชพิธีราชาอภิเษกต่อไป





    วัดโสธรวรารามวรวิหาร
    ขอขอบคุณภาพจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

    พระพุทธเจดีย์ที่สำคัญที่ตั้งพิธีทำน้ำอภิเษก ทั้ง ๑๘ แห่ง คือ

    จังหวัดสระบุรี ที่ตั้งพระพุทธบาท
    จังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ
    จังหวัดสุโขทัย ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
    จังหวัดนครปฐม ที่ตั้งพระปฐมเจดีย์
    จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
    จังหวัดลำพูน ที่ตั้งวัดพระธาตุหริภุญชัย
    จังหวัดนครพนม ที่ตั้งวัดพระธาตุพนม
    จังหวัดน่าน ที่ตั้งวัดพระธาตุแช่แห้ง
    จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ตั้งวัดบึงพระลานชัย
    จังหวัดเพชรบุรี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ
    จังหวัดชัยนาท ที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ
    จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตั้งวัดโสธร
    จังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้งวัดพระนารายณ์มหาราช
    จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งวัดศรีทอง
    จังหวัดจันทบุรี ที่ตั้งวัดพลับ
    จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ อำเภอไชยา
    จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งวัดตานีณรสโมสร
    จังหวัดภูเก็ต ที่ตั้งวัดทอง




    วัดโสธรวรารามวรวิหาร
    ขอขอบคุณภาพจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา



    น้ำสำหรับมูรธาภิเษกเป็นน้ำที่เจือด้วยน้ำจากปัญจมหานทีในอินเดีย คือ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี สรภู มหิ และจากปัญจสุทธคงคา
    ในแม่น้ำสำคัญทั้ง ๕ ของไทย คือ

    แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง
    แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าชัย จังหวัดเพชรบุรี
    แม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม
    แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี
    แม่น้ำบางปะกง ตักที่ตำบลบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก


    และน้ำ ๔ สระ คือสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเคยใช้เป็นน้ำสรงมาแต่โบราณ




     
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับ นำพระมูรธาภิเษก





    พิธีในเบื้องต้น
    มีการตั้งน้ำวงด้ายจุดเทียนชัยละเจริญพระพุทธมนต์ในการพระบรมราชาภิเษก

    เมื่อนำน้ำศักดิ์สิทธิ์มารวมกันแล้ว จะทำพิธีตั้งน้ำวงด้วยสายสิญจ์ โดยมีพระสงฆ์ทำพิธีสวดมนต์และประกาศต่อเทพารักษ์ เป็นเวลา สามวัน ในวันที่สี่พระมหากษัตริย์จะทรงาสรงพระองค์ด้วยน้ำมูรธาภิเษก ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ความเป็นกษัตริย์







    พิธีบรมราชาภิเษก
    เริ่มด้วยการสรงพระมูรธาภิเษกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพร
    พระราชอาสน์ ราชบัณฑิตและพราหมณ์นั่งประจำ ๘ ทิศ กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล ถวายดินแดนแต่ละทิศให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ทรงคุ้มครอง (ในรัชกาลนี้ได้เปลี่ยนจากราชบัณฑิตเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน)








    ในวันที่ ๕ พฤษภาคม อันเป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงมูรธาภิเษก แล้วทรงเครื่องต้นเสด็จออกประทับ เหนือพระที่นั่งอัฐทิศภายใต้สตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร ๗ ชั้น)
    สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษก และพราหมณ์ทำพิธีพวายน้ำเทพมนต์เวียนไปครบ ๘ ทิศ
    เจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศ (จิตต์ ณ สงขลา)ประธานวุฒิสมาชิกสภา ถวายพระพรเป็นภาษามคธ และ
    นายเพียร ราชธรรมนิเทศ ประธานสภาผู้แทนราษฎรถวายพระพรเป็นภาษาไทย
    พระราชครูวามเทพมุนี ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้น) แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พระที่นั่งภัทรบิฐ
    พราหมณ์ร่ายเวทเปิดศิวาลัยไกลาลทูลเกล้าฯ ถวายพระสุพรรณบัฎ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ ด้วยภาษามคธ

    สำหรับพระสุพรรณบัฎ ได้จารึกพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี
    จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร"





    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับพระแสงอัษฎาวุธจากพระมหาราชครู



    เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่างๆ แล้ว พระราชครูวามเทพมุนี ถวายพระพรชัยมงคลด้วยภาษามคธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตอบ พระราชอารักษาแต่ปวงชนชาวไทย ด้วยภาษาไทยว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

    เมื่อพระราชครูวามเทพมุนีรับพระราชโองการด้วยภาษามคธและภาษาไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา

    จากนั้นทรงเปลื้องพระมหาพิชัยมงกุฎ พระธำมรงค์รัตนวราวุธ และพระธำมรงค์วิเชียรจินดา จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ)เลขาธิการพระราชวัง ทูลเกล้าฯ ถวายดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน ทรงโปรยพระราชทานแก่พราหมณ์ แล้วเสด็จฯ ออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณ สู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ๘๐ รูป พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราช
    ถวายอดิเรกเป็นปฐม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายพระพรลา แล้วเสด็จขึ้น สมเด็จพระสังฆราชดับเทียนชัย

    http://bangpakongramsar.blogspot.com/2014/11/blog-post_27.html#


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=28&A=6511

    ประวัติพระพุทธเจ้า

    ตรัสรู้



    ระหว่างทางก่อนถึงต้นโพธิ์ ได้พบคนตัดหญ้า ชื่อโสตถิยะ (หรือสวัสดิกะ) เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ถวายฟ่อนหญ้ากุสะ (คล้ายๆ หญ้าคาของเรา) ๘ ฟ่อนเล็กๆ เมื่อทรงรับฟ่อนหญ้าคาแล้ว ก็เอามาปูลาดเป็นสันถัดประทับนั่งบำเพ็ญเพียรที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพราะที่นี่เป็นทำเลสงบดีกว่าที่อื่นๆ ทรงหันพระพักตร์ไปทางตะวันออก คือแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งในสมัยนั้นไม่ค่อยมีบ้านช่อง จึงมองเห็นแม่น้ำได้อย่างถนัด แสงเดือนในคืนวันเพ็ญสาดลงสู่สายน้ำเป็นประกายแวววับ ทำให้เกิดปิติสุขได้อย่างดี

    ขณะนั้นพญาวสวัตตีมาร เห็นพระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจของตน จึงยกทัพมารบกวนรังแกมิให้ทรงตั้งจิตมั่นเป็นสมาธิได้ พระองค์ได้น้อยพระหฤทัยถึงบารมีธรรม ๑๐ ทัศ ซึ่งทรงบำเพ็ญมาแล้วในอดีต มิได้สะดุ้งตกพระทัยแต่อย่างใด พญามารได้ใช้อาวุธร้ายแรงขว้างไปเพื่อหวังสังหารพระองค์ แต่อาวุธทั้งหลายเหล่านั้นกลับกลายเป็นดอกไม้ และฉัตรกั้นกางอยู่เหนือพระเศียรอย่างน่าอัศจรรย์

    พญามารไม่รู้จะทำอย่างไรก็ได้แต่ร้องตู่ว่ารัตนบัลลังก์นี้ เป็นสมบัติของตน พระองค์จึงทรงอธิษฐาน โดยเอามือขวาจับพื้นดินขอให้แม่ปฐพีเป็นสักขีพยาน (ภาพพระพุทธรูปปางมารวิชัย) ทรงเสี่ยงพระบารมีขันติธรรมเข้าช่วยผจญมาร แม่พระธรณีเทพยดาผู้รักษาพื้นแผ่นดินบริเวณนั้น จึงแปลงเพศเป็นหญิงสาวขึ้นมาบีบมวยผม (ที่มาของรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม) เกิดน้ำไหลท่วมกองทัพพญามารให้พ่ายแพ้ไปหมดสิ้นก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน ทำให้พระองค์ตั้งจิตมั่นเป็นสมาธิได้ลึกและแน่วแน่นับแต่บัดนั้น เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นการเบิกทางไปสู่การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะในราตรีนั้น ตรงกับวันวิสาขปุรณมี ดิถึเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๔๕ (และชาวพุทธเรายึดถือเอาวันนี้เป็นวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นที่ระลึกนึกถึงวันคล้ายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในทางศาสนาพิธี) ทรงพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นาทีที่19.00 ก็เหมือนโยมเกิดมาก็เจอกรวดน้ำแล้ว แต่โยมถามว่ากรวดน้ำเกิดเมื่อไหร่ อาตมาก็ไม่รู้เกิดไม่ทันเหมือนกัน เกิดไม่ทันไอ้คนมันแต่งขึ้นน่ะนะ ก็เท่ากับไปทรงกัลยาณวัตรคนอื่น ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า แสดงว่าไม่มั่นใจว่าพระพุทธเจ้าเก่งพอ จึงไปเชื่อคนอื่นไง เป็นมงคลภายนอกของสมณะพราหมณ์เหล่าอื่น โสดาบันไม่ทำแล้ว ถ้าอยากเป็นโสดาบันต้องเลิก

    พุทธวจน - ความเข้าใจผิดของชาวพุทธ
    https://youtu.be/j_9ELWsTlB4

    การกรวดน้ำ-ไม่มีในคำสอนพระพุทธเจ้า
    https://youtu.be/31Sx3-9LaLA

    จะตอบคำถามให้คนอื่นเข้าใจเรื่องการสวดมนต์ เรื่องการกรวดน้ำ ที่ถูกต้องตรงตามพุทธวจนควรตอบอย่างไร?
    https://youtu.be/7ECwo57CKr4

    สรุปไม่ยอมรับระบบธรรมเนียมประเพณี หาว่าปรุงแต่งกันไปเรื่อย กรวดน้ำ กรวดเสร็จ รถต้นไม้อะไรดีนะ ขิงข่า ตะใครได้ไหม? หัวเราะสนุกสนาน

    บารมีสามสิบทัศ

    ...อิติปิโส ภะคะวา...

    ๑. ทานะปาระมี ทานะอุปะปาระมี ทานะปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๒. สีละปาระมี สีละอุปะปาระมี สีละปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๓. เนกขัมมะปาระมี เนกขัมมะอุปะปาระมี เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๔. ปัญญาปาระมี ปัญญาอุปะปาระมี ปัญญาปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๕. วิริยะปาระมี วิริยะอุปะปาระมี วิริยะประมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๖. ขันติปาระมี ขันติอุปะปาระมี ขันติปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๗. สัจจะปาระมี สัจจะอุปะปารมี สัจจะปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๘. อธิฏฐานะปาระมี อธิฏฐานะอุปะปาระมี อธิฏฐานะปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๙. เมตตาปาระมี เมตตาอุปะปาระมี เมตตาปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ๑๐. อุเบกขาปาระมี อุเบกขาอุปะปาระมี อุเบกขาปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กะรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา

    ...ทะสะปาระมี ทะสะอุปะปาระมี ทะสะปะระมัตถะปาระมี พุทโธ เมตตา ไมยตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขาปาระมีสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา...

    สะมะติงสะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา

    ๑. ธนะปะริจาคะทานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ๒. อังคะปะริจาคะทานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ๓. ชีวิตตะปะริจาคะทานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ๔. ปุตตะปะริจาคะทานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ๕. ภะริยาปะริจาคะทานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา

    ...ปัญจะมะหาปะริจาคะทานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา...

    ๑. พุทธัตถะจะริยานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ๒. ญาตัตถะจะริยานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ๓. โลกัตถะจะริยานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา


    ...ติโสจะริยานะปาระมีสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา...

    ๑. กายะสุจะริตะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ๒. วะจีสุจะริตะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ๓. มะโนสุจะริตะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา

    ...ติวิธะสุจะริตะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา...

    ... พุทโธ อะนันตาทิคุโณ อิติปิโสภะคะวา อิติปิโสภะคะวา ...
    ( พุทโธ )
    ... สาธุ สาธุ สาธุ ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระราชปณิธานแห่งพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีต่อพระพุทธศาสนา

    พ่อขุนรามคำแหง

    "พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน"

    (จารึกสุโขทัย หลักที่ ๑)

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    "พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสประกาศแก่เทพยดาทั้งปวงว่า ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตรจะให้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้แสงสว่างแลข้าศึกเล่า พอตกพระโอษฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเห็นช้างเศวตฉัตร ๑๖ ช้าง มีช้างดั้งช้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก"

    (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา)

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    "พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จะให้เราเข้ารีตดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เช่นนั้นเสียแล้วหรือ"

    (ประชุมพงศาวดาร)

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    อันตัวพ่อ ชื่อว่า "พระยาตาก" ทนทุกข์ยาก กู้ชาติพระศาสนา
    ถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชา แด่พระศาสดาสมณะพระพุทธโคดม
    ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี สมณะพราหมณ์ชีปฏิบัติให้พอสม
    เจริญสมถะวิปัสสนาพ่อชื่นชม ถวายบังคมรอยบาทพระศาสดา
    คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนา
    พุทธศาสนาอยู่ยงคู่องค์กษัตรา พระศาสดาฝากไว้ให้คู่กันฯ

    (จารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช)

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑

    ตั้งในจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา
    จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรีฯ

    (นิราศท่าดินแดง)

    "สิ่งของทั้งนี้ จงจัดทำนุบำรุงไว้ให้จงดี จะได้ป้องกันรักษาแผ่นดิน ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และพระราชอาณาเขตสืบไป

    ครั้งนี้ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นให้จงได้ ฝ่ายข้างอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้นเป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้พระปริยัติบริบูรณ์เป็นมูลที่จะตั้งพระพุทธศาสนาจงได้"

    (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ )

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

    "พระบาทสมเด็จบรมธรรมมิกมหาราชารามาธิราช บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว...ทรงพระราชศรัทธาจะยกรื้อวิสาขบูชามหายัญพิธีอันขาดประเพณีมานั้น ให้กลับคืนเจียรฐิติกาลปรากฏสำหรับแผ่นดินสืบไป"

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

    "เมื่อเห็นว่าบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ราชานุวัตร จะเป็นศาสนูปถัมภกยกพระบวรพุทธศาสนา แลจะปกป้องไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์รักษาแผ่นดินให้สุขสวัสดิ์โดยยิ่ง เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้ ก็สุดแท้แต่จะเห็นดีประนีประนอมพร้อมใจกัน ยกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเสวยมไหสวรรยาธิปัตย์ราชสืบสันตติวงศ์ดำรงราชประเพณีต่อไปเถิด"

    (จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓)

    พระบาทสมเด็จพระจอมแกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔


    "พระนครนี้เป็นถิ่นที่ของคนนับถือพระพุทธศาสนามาแต่เดิม ไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น คนที่ถือศาสนาอื่นมาแต่อื่นก็ดี อยู่ในเมืองนี้ก็ดี จะโทมนัสน้อยใจด้วยริษยาแก่พระพุทธศาสนาเพราะบูชาอันนี้ไม่ได้ ด้วยไม่ใช่เมืองศาสนาตัวเลย ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป"

    (ประชุมประกาศ รัชกาลที่ ๔)

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

    ...ข้าพเจ้าจะไม่มีจิตยินดีน้อมไปในศาสดาอื่นนอกจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมอันพระองค์ได้ตรัสรู้ชอบดีแล้ว กับทั้งพระสงฆ์หมู่ใหญ่ อันได้ประพฤติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเลยเป็นอันขาด จนตราบกว่าสิ้นชีวิต...

    (เสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖)

    "พระราชบิดาของฉันได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะเป็นนักศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่าง ๆ สนใจที่จะคุ้มครองศาสนาของเราและต้องการที่จะให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง"

    (พระราชหัตถเลขาถึง เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์)

    "ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักรให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย "

    (พระราชดำรัสต่อคณะคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๔๐)

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา เราจำเป็นต้องถือด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดาและต้นโคตรวงศ์ของเรา จำเป็นต้องถือไม่มีปัญหาอะไร... เมื่อข้าพเจ้ารู้สึกได้แน่นอน จึงได้กล้าลุกขึ้นยืนแสดงเทศนาทางพระพุทธศาสนาแก่ท่านทั้งหลาย..

    ...เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลาย ผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา...ถ้ามีอันตรายอย่างใดมาถึงพระพุทธศาสนา เราทั้งหลายจะเป็นผู้ที่ได้รับความอับอายด้วยกันเป็นอันมาก...เหตุฉะนี้ เป็นหน้าที่ของเรา ที่จะต้องตั้งใจ ที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อย่าให้มีอันตรายมาถึงได้..."

    (พระบรมราโชวาท เรื่อง เทศนาเสือป่า)

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

    "มาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระปิยมหาราช พระบรมชนกนาถของเรา จึงเริ่มทรงจัดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในมณฑลนี้มาโดยทรงพระราชดำริจะให้พุทธจักร และอาณาจักรเจริญรุ่งเรืองสมสมัย"

    (พระบรมราโชวาทในการเสด็จเลียบ มณฑลฝ่ายเหนือ และมณฑลพายับ พุทธศักราช ๒๔๖๙)

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘

    ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ว่า จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาสักวาระหนึ่ง โดยได้มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง

    วชิรญาณวงศ์ ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนา เพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ ในการที่จะอุปสมบท พระองค์ได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

    "...ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้า..."

    หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน

    "คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ"

    (พระราชดำรัสตรัสต้อนรับโป๊ป จอห์นปอลที่ ๒ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗)

    "โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเราทั้งตามความศรัทธาเชื่อมั่นของข้าพเจ้าเองก็เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณีซึ่งจัดเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบูรพการีตามคตินิยมด้วย และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระเชษฐาธิราชก็ล่วงมากว่าสิบปีแล้ว เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ควรจะทำความตั้งใจไว้นั้นแล้วประการหนึ่ง...จึงได้ตกลงใจที่จะบรรพชาอุปสมบทในวันที่ ๒๒ เดือนนี้"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,968
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    [​IMG]

    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พักผ่อน เรียนพระปริยัติ ศึกษาและพิจารณาเนื้อความในพระไตรปิฏกตามกาล


    ขอให้พึงจดจำเราไว้ว่า "เรามีหน้าที่รักษา อภยปริตร ตามกาลในวาระห้วงกึ่งพุทธกาลในพระพุทธศาสนานี้"
    แม้ครั้งที่
    ขอให้พึงจดจำเราไว้ว่า "เรามีหน้าที่รักษา อภยปริตร ตามกาลในวาระห้วงกึ่งพุทธกาลในพระพุทธศาสนานี้"
    แม้ครั้งที่
    ขอให้พึงจดจำเราไว้ว่า "เรามีหน้าที่รักษา อภยปริตร ตามกาลในวาระห้วงกึ่งพุทธกาลในพระพุทธศาสนานี้"
    แม้ครั้งที่




    https://youtu.be/G_mmgqIwbes

    บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๐/๒๔๐.
    ตรัสแก่ภิกษุ
    ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไป
    ในทางทำตนเองให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก ไม่คิดไป
    ในทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก; เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์
    เกื้อกูล แก่ตนเองเป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่โลกทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก.

    - จตุกฺก. อํ .๒๑/๒๔๑/๑๘๖
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...