สมถะ ตาที่สาม..

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 18 สิงหาคม 2014.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    มารศาสนา คำด่าที่ผิดกฎหมาย คำที่ 14


    มารศาสนา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2525 คำว่า มารศาสนา ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึง บุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้า คอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นทำบุญและกีดกันบุญกุศลที่จะมาถึงตน ซึ่งเป็นบุคคลประเภทที่สาธารณชนย่อมรังเกียจที่จะคบหาสมาคมด้วย จำเลยพูดว่าผู้เสียหายด้วยถ้อยคำดังกล่าวต่อหน้าผู้เสียหาย จึงต้องมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมายอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับ 1,000 บาท
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อีดอก - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2521

    อีเหี้ย-อีสัตว์ -อีควาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2548

    อีตอแหล คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8919/2552

    ไอ้ระยำ-ไอ้เบื๊อก-ไอ้ตัวแสบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2538

    เฮงซวย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2551

    ผู้หญิงต่ำๆ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537

    พระหน้าผี-พระหน้าเปรต คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2527

    มารศาสนา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2525

    ไอ้หน้าโง่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7572/2542

    อีร้อย...(ตามด้วยคำลามก), อีดอกทอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2495


    ที่มา https://www.nationtv.tv/main/content/378556318/
     
  3. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    ฮี้ ฮี้ ฮี้ ฮี้

    ไกรทอง มาแว้ว !!!

    แช๊ะ แช๊ะ แช๊ะ ......เขวี้ยงทิ้ง หนึ่งก้าน สภาเต่าถุย

    แช๊ะ แช๊ะ แช๊ะ ......เขวี้ยงทิ้ง อีกหนึ่งก้าน สภาเต่าถุย

    แช๊ะ แช๊ะ แช๊ะ ......พรึ๊บ !!!

    ข้าฯ แต่ ศาลาวัด ที่ เคารพ

    กาล เทศะ คืออะไร ...?

    การอยู่ใน สถาณที่ดังกล่าว คืออะไร ..?

    ก็สถาณที่ดังกล่าว มี กติกา ระบุ
    ให้ตกลง ยอมรับ ....................

    ก็สถาณที่นั้น จะมีใครปฏิเสธ กติกา
    ระหว่างที่อยู่ ....รึเปล่า

    ก็อาศัย อำนาจแห่ง กติกา ที่ยอมรับ
    นั้น แสดงถึง "การเสวนาธรรม" ทุก
    อย่างที่ปรากฏ เป็นไปเพื่อ ".........."

    อาศัย อำนาจ การเสวนาธรรม เป็น
    ไปเพื่อ "......" อัน ทุกรูปนาม ยอมรับ

    ก็ความเสียหาย จะมีได้ อย่างไร

    เว้นแต่ ผู้มาเสวนา ไม่เข้าใจ กติกา
    และไม่รู้ว่า เสวนาธรรม นั้นเพื่อ "....."

    .............................
    ...............................

    ศาลาวัดที่เคารพ : อ้าวนั้น จะไปไหน แล้ว
    ทำไมพาไปด้วยอีกสอง เว้ยเฮ้ย !!!

    ปัง.....ฟู่....... ( เสียงปิดประตู เสียงเป่าดับบางอย่าง )
     
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    index.jpg
     
  5. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ยัง ปุพเพ ตัง วิโส เส หิ


     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    โยคา เว ชายะเต ภูริ


     
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    The truth brightens the eyes

    Like a friend to bright eyes


    It is a good friendship.

     
  8. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    81af1fda7414a99f0852f0361bd5982d.gif
     
  9. Picolo Fanta

    Picolo Fanta ต้นคต ปลายตรง ไม่มี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +651
  10. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ก้อปในเวปมาน่ะ
     
  11. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
  12. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    3cb9e2f48e5768dcbe29df5ff720f4bc.jpg

     
  13. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    22c6938c371ad6339364727759c0eb7e.gif


     
  14. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
  15. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    1358775441-IMG2087JPG-o.jpg

    เกิดมา มี กระติก ทูกกกกกกกก คง
     
  16. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    7cc0a2e2d44423ff8664636a66376c3f.gif

    ว่าแต่ว่า ใคร รวย ใครจน ตอน สี่โมงเย็น

    สุกี้เว้ย เอ้ย
     
  17. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
  18. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    AW2763421_02.gif
     
  19. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่
    พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อ
    แก่กระแตเขตพระนครราชคฤห์.

    ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนา
    ภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง. วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว
    ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า


    ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไร ที่
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ ?

    ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า
    ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
    รูปูปาทานขันธ์ ๑, เวทนูปาทานขันธ์ ๑,
    สัญญูปาทานขันธ์ ๑, สังขารูปาทานขันธ์ ๑,
    วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.

    วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของ
    ธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้
    แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า

    ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไร
    ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดใน
    ภพใหม่ สหรคตด้วย (ประกอบพร้อมไปด้วย)
    ความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ
    คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา
    นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไร
    ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลาย
    กำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละ
    คืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น
    นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิ
    โรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไร ที่พระผู้มี
    พระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑
    วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑
    ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความ
    ตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์
    ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทานเป็นอย่าง
    อื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทาน
    ขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่ อุปาทานเป็น
    อย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่

    ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
    เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิ มีได้อย่างไร ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
    ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
    ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ
    ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของ
    สัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง
    ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง
    ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา...
    ย่อมตามเห็นสัญญา... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย...
    ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง
    ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณ
    ในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง
    อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไริสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
    ในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
    ของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
    ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ฝึกดี
    แล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป
    โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
    ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง
    ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา... ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา...
    ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย... ย่อมไม่ตาม
    เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็น
    ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง
    ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกาย
    ทิฏฐิจึงจะไม่มี.

    ( เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓ )
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน ?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑
    ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑
    ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ
    หรือเป็นอสังขตะ ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา)
    พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘

    หรือว่าอริยมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
    สงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘

    พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ
    วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑
    ทรงสงเคราะห์ด้วย ศีลขันธ์

    ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิต
    ไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วย สมาธิขันธ์

    ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ ทรง
    สงเคราะห์ด้วย ปัญญาขันธ์.



    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ
    ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ ธรรมเหล่าใด
    เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ
    เป็นอย่างไร ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็น
    อย่างเดียว เป็นสมาธิ

    สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิมิตของสมาธิ
    สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ

    ความเสพคุ้น ความเจริญ ความทำให้มากซึ่ง
    ธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการ
    คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร
    วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็นอย่างไร ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลม
    หายใจเข้า เป็นกายสังขาร

    วิตกและวิจาร เป็นวจีสังขาร

    สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและ
    ลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร

    วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร

    สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร ?


    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจ
    เข้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกาย เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น
    ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร

    บุคคลย่อมตรึก ย่อมตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา
    ฉะนั้น วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร

    สัญญาและเวทนาเป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต
    ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.

    ( เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ )
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    เป็นอย่างไร ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ว่าเราเข้า
    สัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว

    ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
    อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก.


    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    ธรรม คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน
    ย่อมดับไปก่อน ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารก็ดับ จิตตสังขาร
    ดับทีหลัง.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
    สมาบัติ เป็นอย่างไร ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิต
    นิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจาก
    สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าเรากำลังออกจากสัญญา
    เวทยิตนิโรธสมาบัติว่าเราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว

    ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
    อันท่านให้เกิดแล้วแต่แรก.


    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิต
    นิโรธสมาบัติ ธรรมคือกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
    อย่างไหน เกิดขึ้นก่อน ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิต
    นิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกาย
    สังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุ
    ผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรสมาบัติ ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ผัสสะ ๓ ประการ คือ
    ผัสสะชื่อสุญญตะ (รู้สึกว่าว่าง)
    ผัสสะชื่ออนิมิตตะ (รู้สึกว่าไม่มีนิมิต) และ
    ผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ (รู้สึกว่าไม่มีที่ตั้ง)
    ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวท
    ยิตนิโรธสมาบัติ. มีจิตน้อมไปในธรรมอะไร โอนไป
    ในธรรมอะไร เอนไปในธรรมอะไร ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิต
    นิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปใน
    วิเวก โอนไปในวิเวก เอนไปในวิเวก.



    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า เวทนามีเท่าไร ?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เวทนานี้มี ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ๑
    ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนา
    เป็นอย่างไร อทุกขมสุขเวทนา
    เป็นอย่างไร?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ
    อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นสุขเวทนา
    ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่สำราญ อันเป็นไปทางกาย
    หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นทุกขเวทนา

    ความเสวยอารมณ์ที่มิใช่ความสำราญ และมิใช่ความไม่สำราญ
    (เป็นส่วนกลางมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อันเป็นไปทางกาย
    หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นอทุกขมสุขเวทนา.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนา เป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่
    เป็นทุกข์เพราะแปรไป ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่
    เป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ
    เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ใน
    สุขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนา
    อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา

    ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนา

    อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.


    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยตามนอนอยู่ในสุข
    เวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยตามนอนอยู่ในทุกข
    เวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุก
    ขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ใน
    สุขเวทนาทั้งหมด หามิได้

    ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้

    อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอะไรจะพึงละได้ใน
    สุขเวทนา ธรรมอะไร จะพึงละได้ในทุกขเวทนา
    ธรรมอะไรจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนา
    ปฏิฆานุสัย จะพึงละได้ในทุกขเวทนา
    อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ใน
    สุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยจะพึงละเสียได้ใน
    ทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้
    ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล ?

    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละเสียได้
    ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้

    ปฏิฆานุสัยจะพึงละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด
    หามิได้

    อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขมสุขเวทนา
    ทั้งหมด หามิได้

    ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
    ย่อมละราคาด้วยปฐมฌานนั้น

    ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น
    อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น
    อยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะ
    ทั้งหลายบรรลุแล้วอยู่ในบัดนี้ ดังนี้

    เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปตั้งความปรารถนาในวิโมกข์
    ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้ โทมนัส
    ย่อมเกิดขึ้น เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย
    ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น

    ปฏิฆานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในความโทมนัสนั้น

    อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน
    อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
    ดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ
    ให้สติบริสุทธิ์อยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น

    อวิชชานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในจตุตฌานนั้น.

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา ?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคะ เป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา ?
    ธ. ปฏิฆะ เป็นส่วนแห่งเปรียบแห่งทุกขเวทนา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา ?
    ธ. อวิชชา เป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา ?
    ธ. วิชชา เป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา ?
    ธ. วิมุติ เป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุติ ?
    ธ. นิพพาน เป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุติ
    วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่งนิพพาน ?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ท่านล่วงเลยปัญหาเสียแล้ว
    ไม่อาจถือเอาส่วนสุดแห่งปัญหาได้
    ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เพราะพรหมจรรย์หยั่งลง
    ในพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่ถึงในเบื้องหน้า
    มีพระนิพพานเป็นที่สุด ถ้าท่านจำนงอยู่
    ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามเนื้อ
    ความนี้เถิด พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์
    แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงจำทรงพระพยากรณ์นั้นไว้
    อย่างนั้นเถิด.

    ( วิสาขอุบาสกสรรเสริญธรรมทินนาภิกษุณี )
    ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา
    ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว ลุกจากอาสนะ
    อภิวาทธรรมทินนาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวาย
    อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลเรื่องที่ตน
    สนทนาธรรมกถากับธรรมทินนาภิกษุณีให้
    ทรงทราบทุกประการ.

    เมื่อวิสาขาอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว
    พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า

    ดูกรวิสาขะ
    ธรรมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หาก
    ท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา แม้เราก็พึง
    พยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี
    พยากรณ์แล้ว เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้นเป็นดังนั้น
    นั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก
    ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.

    พระไตรปิฎกภาษาไทย(ฉบับหลวง)
    เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๘๗ ข้อที่ ๕๐๕.
     
  20. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ช่วยไม่ล่ายก็โป๋ยยย
     

แชร์หน้านี้

Loading...