สภาวะของร่างกาย ที่เห็นได้เมื่อจิตเป็นสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณบพิธ, 30 พฤษภาคม 2012.

  1. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ไม่เป็นไร ผมเข้าใจดี ระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงหลงผิดนั้นอยู่ มันเข้าใจว่าตัวเองถูกที่สุดเสมอหละ คำสอนครูบาอาจารย์ หรือผู้ที่ปฏิบัติไปได้ไกลว่า มันไม่สนใจหรอก มันคิดว่าตัวเองหนะเป็นที่สุดแล้ว

    ถึงเวลาก็จะพ้นจากตรงนี้มาได้เองนะ แต่จะเร็วหรือช้า จะภายในชาตินี้ หรือจะหลงไปอีกหลายๆ ชาติ ขึ้นอยู่กับ บุญกรรม เหตุปัจจัย ที่สะสมมา
     
  2. สุชีโว

    สุชีโว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    154
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +579
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การปฏิบัติธรรม ตามหลักพุทธศาสนาตามตำราแล้ว แบ่งไว้เป็นสองประเภท คือ

    ๑. สมาธิ หรือ สมถะกัมมัฏฐาน
    ๒.วิปัสสนา หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน

    การปฏิบัติสมาธิ ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ ฌาน(ชาน) ๔ (บ้างก็ว่า ฌาน(ชาน)๕) คำว่า ให้ได้ฌาน(ชาน)๔ หมายถึง ให้ได้ความเป็น เอกัคคตา คือ ความเป็นสมาธิ ฌาน ๑,๒,๓ ไม่เอา ต้องละต้องสำรอก ต้องขจัด ให้เหลือเฉพาะฌาน(ชาน)ที่ ๔ เพียงอย่างเดียว อย่างนี้เรียกว่า มีสมาธิ คือ จิตสงบ หากบุคคลกล่าวว่า รู้สึกอย่างนั้น ปีติอย่างนี้ ซาบซ่านอย่างโน้น นั่นคือ วิตก วิจารณ์ แท้จริงแล้วเป็นการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์เหล่านั้น ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้จิตสงบ

    ฌาน(ชาน) เป็นลักษณะงานของระบบการทำงานของร่างกายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกโอกาส และจะเกิดขึ้นไปตามลำดับขั้นตอน ๑-๔ หากได้สัมผัส ก็จะเกิดฌาน(ชาน)ขึ้น และเมื่อปฏิบัติสมาธิ ก็จะเกิดฌาน(ชาน) เช่นกัน อันเนื่องจากความจำ ความต้องการ ของตัวบุคคลนั้นๆ
    เมื่อ ปฏิบัติสมาธิ คือ ฝึกจนจิตสงบดีแล้ว ก็ฝึกวิปัสสนา อันนี้ก็ไปศึกษาเอาตามหลักวิปัสสนา ๙ อย่าง ฝึกวิปัสสนาก็คล้ายคลึงกับการฝึกสมาธิ หากวอกแวก ไม่ได้คิดพิจารณาอยู่ในหลักการวิปัสสนา ก็เรียกว่า ฟุ้งซ่าน หรือ อาจจะเรียกว่า ถอยหลังลงสู่ชั้น ฌาน(ชาน)ขั้นที่ ๑,๒,๓ นั่นก็หมายความว่า ฝึกวิปัสสนาไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฉะนี้

    อนึ่ง ในทางตำราหรือ ในพระไตรปิฎก ยังมีหลักวิธีการ วิปัสสนา ทางลัด คือเป็นการฝึกวิปัสสนาแบบง่าย หรือจะเรียกว่า เป็นหลักการพื้นฐานหรือหัวข้อพื้นฐานในการวิปัสสนา นั้นก็คือ “หลัก สติปัฏฐาน ๔” หรือหากจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่ง “สติปัฏฐาน๔” ก็คือ หลักวิปัสสนาแบบง่าย แบบทางลัดหรือ เป็นหลักการพื้นฐานหรือหัวข้อพื้นฐานในการวิปัสสนา ขอรับ

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน) ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2014
  4. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ยังงี้สมมติว่าผมได้ฌานแล้ว มาทำสติปัฏฐาน4 ก็ทำได้ง่ายเลยสิครับ เพราะสมาธิ
    แข็งแรงอย่แล้ว ไม่มีนิวรณ์รบกวนเลย

    สติปัฏฐาน4 ถึงจะเปนทางลัด และเน้นดูกายให้ได้ก่อน แต่ก้มีหลักการกำหนด
    การพิจารณาเยอะแยะ ต้องเข้าใจถึงหมวดใหญ่ๆถึง4 หมวด ต้องรักษาอริยาบถ4
    ต้องมีสติแนบอย่กับจิตเปนประจำ เพราะเน้นสติเป็นใหญ่ ถึงจะเปนทางลัดแต่ก้ใช่จะทำได้โดยง่าย ต้องใช้ความเพียรอย่างมากเช่นกัน เพื่อแลกกับผลลัพธ์อันคุ้มค่นี้
     
  5. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ร่ายกายเป็นรังของโรค
    ร่างกายคือ ความคิดความปรุง มีอวิชชาเป็นปัจจัย

    จริงๆแล้วภาวนาให้ใจสบายได้จริงๆ ก็ถือว่าภาวนาถูกหมด แหละ

    แต่ถ้าอยากออกแนวตามคำภีร์ แบบพุทธๆ

    ก็ให้กำหนดว่าทุกอย่างในสมาธิ ไม่ว่าฌานอะไร ญาณอะไร
    ทั้งหมดคืออวิชชา ตอนนี้เรามีอัญหาในอวิชชษ ในธรรมารมณืนี้ๆนั้นๆ
    รอให้เราเห็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ให้ ชุ่มใจ พอทุกข์ชุ่มใจแล้วกำหนด รู้ตัญหา
    อันเป็นที่มาแห่งทุกข์ ก็คืออวิชชา

    เป็นขั้นตอน
    1 มั่วเลย ทุกข์ธรรมารมณืเป็นอวิชชา เพราะเราสิขขามาไม่พอ อวิชชาทั้งหมด
    ไม่รู้ว่านี่ในหรือนอก มีแต่ธรรมารมณ์ สั่วๆไม่มีธรรมวิจจายะ
    2 ปรกติผ่านข้อแรก ทุกข์หมดทุกคน
    3 ปรกติผ่านข้อที่สอง ไม่มีใครรู้หรอกว่าเรามีตัญหาในอะไร
    จรึ่งหนะรู้แล้วว่าเรามีตัญหาในอะไร ตัญหาใน "อะไร" <=อวิชชา
    แต่ด้วยความขาดการสิขขา เเราจะไม่ยอมรับว่าเรารู้ เราเข้าใจว่าอวิชชาจะนำมาซึ่งความสุข อวิชชาจะเป็นปัจจัยให้ทุกข์ ในข้อสองหายไป ไม่ใช่ รับรองว่าติดตรงนี้แหละ
    4 ทุกข์หนะต้องการอาหารคือผัสสะ แยกอวิชชาออกจากทุกข์ด้วยการกำหนดรู้ว่าเรานี้แหละกำหนัดยินดีในอวิชชา ปรกติคนจะเข้าใจว่ากำหนดรู้จะยิ่งทุกข์
    ไม่จริงกำหนดรู้อาหารของเวทนาจะหมด เรียกอาหารนั้นว่าผัสสะ
     
  6. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    จิตหนะต้องการอาหาร ต้องการผัสสะ
    ถ้าเราไม่เลือกเฉพาะข้าง ในตำราจะกำหนด บันทึกไว้ว่าข้างในข้างนอก
    ปรกติครูบาอาจารย์ให้เลือกผัสสะใน

    เหลือเฉพาะผัสสะในอะไรคือข้างใน เข้าข้องตัวเอง
    เคยเข้าข้างตัวเองมะ
    เคยอยากให้คนอื่นมาเข้าข้างมะ นั้นแหละผัสสะใน

    ให้กำหนดทุก ธรรมารมณืที่เราไม่ได้กำหนดเฉพาะผัสสะใน
    ทั้งหมด ต่อให้เป็น เนวสัญญานาสัญญา ทั้งหมด ว่าคืออะวิชชา
    ดูความทะยานอยากใน อวิชชานั้น
    ดูซิว่า ไอ้อวิชชาเข้าข้างใคร
    เรียกข้างในข้างนอก กันตรงนี้

    เมือทุกข์โดนตัดการส่งกำลังบำรุง จะดับ
    ทุกข์ที่เกิดใหม่ให้อยู่ข้างใน ให้เข้าข้างเราร ให้เข้าข้างตัวเอง และ
    เข้าข้างเราเข้าข้างตัวเองก็อวิชชา ก็ทุกข์อีก ดับอีก
    เพราะหมดอาหาร ทำไปเรีื่อยๆ สวดมนต์ไปด้วยก็ดี เอาชินปัญชร
    หรือถ้ายากไปก็อิติปิโส
     
  7. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เนียะผมเนียะ เป็นคนชอบคิดเข้าข้างตัวเอง
    ผมถามว่าข้างผมเนียะ สุข หรือ ทุกข์
    ไปภาวนาเอานิวรณ์ มีแต่ฉิบหาย ไม่มีทางได้อะไรเลย
    ไสยะก็แบบ รั่วๆ
     
  8. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ถ้ายังไม่เห็น นิโรโธ ไม่เห็นมรรคะ

    ไอ้คำภีร์บ้าบอกคอแตก แต่งตำราหาไรนั้น
    จิตเห็นจิตนั้นเอาไปเผาทิ้งให้หมด
    แม่งไสยเวทย์ แท้ๆ
     
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ถ้าคุณทราบว่าทุกข์ มันต้องมีอาหารคือผัสสะ
    ถ้าคุณกินในสลับนอก เรียกว่าร้อยรัด เรียกว่าสังโยชน์
    ไปเอานิโรโธ มา ไปเอามรรคะมา

    และไม่้ต้องพูดไรคุณจะรู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว
    จิตเห็นจิตคืออะไร

    ผมถือพระโพธิญาณ ปิดมรรค ผิดผล พวกผมชิน แปลว่าเป็นฌาน
    แปลว่าชำนาญ

    ปิดเนียะ มีข้างในข้างนอก

    ผมจะปากหมาด่า จิตเห็นจิตเอง ใครไม่อยากด่าไม่ต้อง ผมทำให้
     
  10. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ขออนุโมทนาทุกท่าน

    และขออนุญาตบอกเล่าประสบการณ์ตามหัวข้อกระทู้

    เนื่องด้วยข้าพเจ้าปฏิบัติโดยเน้น อานาปานสติ จึงอาจจะออกไปในทางเห็นลมมากกว่า
    เมื่อสมาธิเริ่มละเอียด เราจะเริ่มรู้สึกถึงลมที่เข้าออกในกายละเอียดจนเป็นถึงเม็ดอณูพลังงาน และเราจะรู้ถึงลมร้อนและเย็นทั้งในกายและนอกกายและนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่นเมื่ออากาศร้อนเราก็ดึงลมเย็นมาใช้ เมื่ออากาศหนาวเย็นเราก็ดึงลมร้อนมาใช้ (สามารถดึงมาใช้ได้ทั้งจากลมภายนอกและลมภายใน) อีกอย่างในเรื่องของการรักษาโรค ข้าพเจ้าเคยอ่านแนวทางของหลวงพ่อโต คือการใช้ลมในการรักษา ข้าพเจ้าจึงนำมาใช้ ถ้าเราเกิดอาการไม่สบายตรงจุดไหนของร่างกายก็ให้กำหนดตรวจดูโดยสมาธิ ถ้าเป็นความรู้สึกที่เย็นตรงบริเวณนั้นก็กำหนดเอาลมร้อนรักษา แต่ถ้ามีอาการร้อนตรงบริเวณนั้นๆก็กำหนดเอาลมเย็นรักษา ส่วนเรื่องอาการลมขัดใช้ลมสบายรักษา (การรักษาโดยลมนี้คือการทำสมาธิให้รู้ถึงลมละเอียดก่อน แล้วกำหนดเพ่งตรงบริเวณนั้นๆ โดยให้รู้สึกถึงลมที่ใช้ไหลผ่านบริเวณนั้นๆโดยตลอด)

    แล้วด้วยกำลังสมาธิและสติที่พอจะมีของข้าพเจ้าก็จะพอทำให้ทราบได้ว่าอาการเจ็บป่วยนี้เกิดมาจากอะไร เพราะอาหาร การเคลื่อนไหว ถูกกระทบ ฯลฯ

    แต่ทุกท่านลองสังเกตดูเถิด เมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นบริเวณใด ถ้าเราไปปล่อยให้เป็นไปตามความรู้สึกนั้น มันจะเจ็บปวดทรมานมาก แต่ถ้าเรากำหนดดูไปตรงที่เจ็บปวดอยู่นั้น เราจะไม่เจ็บปวดอย่างทรมาน แต่จะเห็นเป็นอาการอาการหนึ่งที่เป็นสภาวะของร่างกายอย่างหนึ่ง (ตรงนี้จริงๆแล้ว จะหมายถึงว่าเราไปยึดอยู่ที่ความเจ็บปวดทรมานเพียงอย่างเดียวหรือเราจะตั้งสติสมาธิดู อาการที่รับรู้จะออกมาต่างกัน)

    ขอขยายความตรงนี้อีกหน่อย ในสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกได้นั้น ความรู้สึกเจ็บปวดทรมานจะอยู่วงนอก ของอาการนั้นๆ (ข้าพเจ้าขออนุญาตเรียกว่า ภพของเวทนา) แต่ถ้ากำหนดเข้าไปดูตรงจุดนั้นตรงๆ จะเป็นการไปดูรู้เห็นอาการนั้นๆโดยตรง โดยไม่อยู่ในภพของเวทนา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับพลังของขันติ และความมั่นคงของสติและสมาธิของตนด้วยว่าจะกลับไปคลุกอยู่กับเวทนานั้นอีกหรือไม่ เพราะภพของเวทนานั้นมันก็ยังอยู่ จิตหลุดกลับไปหาเวทนา เราก็จะเจ็บปวดทรมานอย่างนั้นอีก

    เอาเท่านี้ก่อนครับ

    สุดท้ายนี้ขออย่าได้เชื่อถือหรือยึดมั่นในสิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป

    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2014
  11. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    กำลังติดขัดตรงนี้อยู่พอดีเลยค่ะคุณ Supop ขอบคุณค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...