สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๙๒ ฉบับบาลี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕

    "ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ ฯ"

    ("ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต")
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    วิธีเจริญภาวนาให้ได้ผลดี : https://www.youtube.com/watch?v=ki0tsbYwgBw
    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ขอขอบคุณข้อความ คัดลอกบางส่วนจาก "ข่าวระฆังธรรม ฉบับ ๕"



    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    อบายภูมิ

    [​IMG]






    #สาธุชนพึงศึกษาเพื่อความเกรงกลัวและละอายต่อบาปยิ่งขึ้น

    ถ้าว่าสัตว์ในโลกมีธรรมดำล้วน ไม่ได้มีธรรมขาวเข้าไปเจือปนเลยเท่าปลายผมปลายขน ดำล้วนทีเดียว แตกกายทำลายขันธ์ โน่น #อายตนะโลกันต์ดึงดูด ต่ำกว่าภพ ๓ ลงไปนี้ เท่าภพ ๓ ส่วนโลกันต์เท่ากับภพ ๓ นี้ แต่ต่ำกว่าภพ ๓ ลงไปอีก ๓ เท่าภพ ๓ นี้ นั่นมันอายตนะโลกันต์ดึงดูด ดึงดูดโน่นไปอื่นไม่ได้ อายตนะโลกันต์มีกำลังกว่า พอถูกกระแสถูกสายเข้าแล้วจะเยื้องยักไปทางอื่นไม่ได้ อายตนะของโลกันต์ก็ดึงดูดทีเดียว ไปติดอยู่ในโลกันต์โน่น กว่าจะครบกำหนดออกมาน่ะมันไม่มีเวลา เวลาน่ะนานนัก ไม่ต้องนับเวลากันหละ เข้าถึงโลกันต์แล้วกว่าจะได้ออก #อจินฺเตยฺโย ไม่ควรคิด ไม่มีกำหนดกัน นั่น แน่นดึงดูดติดขนาดนั้น นั่น อายตนะโลกันต์หนา

    #อายตนะอเวจี ถ้าไปตกนรกอเวจีก็ ฆ่าพระพุทธเจ้า ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าพระพุทธเจ้าหรือฆ่าพระอรหันต์ ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น ยุยงสงฆ์แตกจากกัน เหล่านี้ ปิตุฆาต มาตุฆาต ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เหล่านี้ แตกกายทำลายขันธ์ต้องไปตกอเวจี อ้ายนี้อยู่ในภพขอบภพข้างล่าง ขอบภพข้างล่างพอดี อเวจี ๔ เหลี่ยม เหล็กรอบตัว ๔ ด้าน ๔ เหลี่ยมทีเดียว ไปอยู่ในห้องขังนั้น ในห้องขังอเวจีนั้นแดงก่ำเหมือนกับเหล็กแดงทั้งวันทั้งคืน อะไรไม่ต่างกันกันหละ ตัวเทวทัตแดงเป็นเหล็กแดงทีเดียว ไหม้เป็นเหล็กแดงทีเดียว แต่ไม่ตาย กรรมบังคับให้ทนอยู่ได้ นั่น ไปตกอเวจีหละ ทำถึงขนาดนั้น อนันตริยกรรมเข้า พอแตกกายทำลายขันธ์กุศลอื่นไม่มีกำลังสู้อเวจีไม่ได้ อเวจีดึงดูดวูบทีเดียว สู่โยคเผด็จของตน ไปเกิดในอเวจีโน่น

    หย่อนขึ้นมากว่านั้น ไม่ถึงกับฆ่ามารดาบิดา ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้า ไม่ถึงยุยงพระสงฆ์ ทำลายพระสงฆ์ ยุยงให้แตกจากกันเหล่านี้ ไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่านั้นลงมา เพียงแต่ว่าเกือบๆจะฆ่ากันหละ แต่ว่าไม่ถึงกับฆ่า ไม่ถึงตาย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก #ไปอยู่มหาตาปนรกโน่น มหาตาปนรกโน่น มหาตาปน่ะร้อนเหลือเกิน แต่ว่าหย่อนกว่าอเวจีหน่อยขึ้นมา

    ถ้าว่าไม่ถึงขนาดนั้น ทำชั่วไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่ามหาตาปนรก #ก็ไปอยู่ตาปนรก นั่นก็ร้อนพอร้อน แต่ว่าร้อนหย่อนกว่านั้นขึ้นมาหน่อย หย่อนกว่านั้นขึ้นมายิ่งกว่า เรื่อยขึ้นไป

    ถ้าว่าทำหย่อนขึ้นไปกว่านั้น ความชั่วหย่อนขึ้นไปกว่านั้น #เข้าไปอยู่ในมหาโรรุวนรก ร้องไห้ร้องครางกันเถอะ ไม่มีเวลาหยุดกันหละ มหาร้องไห้ทีเดียว

    ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา #อยู่ในโรรุวนรก ก็ร้องไห้ไปเถอะ ไม่มีหยุดเหมือนกัน

    แต่ว่าถ้าหย่อนกว่า ถ้าไม่ถึงขนาดโรรุวนรก หย่อนกว่านั้นขึ้นมาก็ #ไปอยู่สังฆาฏนรก

    ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีกก็ #ไปกาฬสุตตนรก

    หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีกก็ #ไปสัญชีวนรก

    รวม ๘ ขุม นี่ นรกขุมใหญ่ หรือ มหานรก

    ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา ก็ไปอยู่ในบริวารนรก เรียกว่า #อุสสทนรก อยู่รอบมหานรกทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๔ ขุม แต่ละมหานรกจึงมีนรกบริวาร หรือ อุสสทนรก ๑๖ ขุม มหานรก ๘ ขุม ก็มีนรกบริวารรวม ๑๒๘ ขุม

    หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปอยู่ในบริวารนรก ซึ่งอยู่รอบนอกของมหานรกออกมาอีกทั้ง ๔ ด้าน เรียกว่า #ยมโลกนรก แต่ละด้านของมหานรกก็จะมียมโลกนรกด้านละ ๑๐ ขุม นรกบริวานรอบนอกของมหานรกทั้ง ๘ ขุม จึงมี ๓๒๐ ขุม

    มหานรก ๘ ขุม กับนรกบริวานรอบใน คืออุสสทนรกอีก ๑๒๘ ขุม และนรกบริวารรอบนอก คือยมโลกนรกอีก ๓๒๐ ขุม รวมเป็น ๔๕๖ ขุม นี่ อายตนะนรกดึงดูดอย่างนี้

    ไม่ถึงขนาดนั้น ความชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจ ความชั่วด้วยกาย วาจา ไม่ถึงนรก #แตกกายทำลายขันธ์ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ที่เราเห็นตัวปรากฏอยู่นี่ นั่นมันมนุษย์แท้ๆ มนุษย์ทั้งนั้นอ้ายสัตว์เดรัจฉานน่ะ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเสีย อ้ายตัวข้างในเป็นมนุษย์ทั้งนั้นแหละ อ้ายกายละเอียดข้างใน แต่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน น่าเกลียดน่าชังจริง นั่นเพราะทำชั่วของตัวไปเกิด มันดึงดูด อายตนะของสัตว์เดรัจฉานดึงดูด ดึงดูดอย่างไรล่ะ?? อ้าว ก็ดึงดูดเข้าไปเกิดในท้องสุนัขน่ะซี ท้องหมูบ้าง ท้องสุนัขบ้าง ตามยถากรรมของมันซี ท้องเป็ด ท้องไก่ โน้น ดึงดูดเข้าไปอย่างนี้แหละ ดึงดูดเข้าไปได้แรงนักทีเดียว ความดึงดูดนั่น ให้รู้จักอายตนะดึงดูดอย่างนี้ อ้ายที่มันดึงดูดในพวกเหล่านี้

    ถ้าว่าหย่อนขึ้นมากว่านี้ #ไปเกิดเป็นเปรต ไฟไหม้ติดตามตัวไป

    #อสุรกาย หย่อนกว่านั้นขึ้นมา

    นี่ พวกอบายภูมิทั้งนั้น นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ๔ อย่างนี่ อบายภูมิทั้งนั้น

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จนฺทสโร
    _______________

    ที่มา
    บางตอนจากเทศนาธรรมเรื่อง

    ติลักขณาทิคาถา (ต่อ)
    ๗ สิงหาคม ๒๔๙๗
    ________________
    เพจ อมตวัชรวจีหลวงป๋า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    อะไรคือกิเลสของสมาธิ : https://www.youtube.com/watch?v=UKmBnVzCLn0
    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ขอขอบคุณข้อความ คัดลอกบางส่วนจาก "ข่าวระฆังธรรม ฉบับ ๔ "



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    " วิธีอธิษฐาน "


    ก่อนหรือหลังการทำบุญ (ทาน ศีล ภาวนา)
    ให้รวม “ใจ”
    อันได้แก่ ความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้
    ให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน
    ณ “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก
    เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ
    สำหรับผู้ที่ถึง “ธรรมกาย” แล้ว
    ก็ให้รวมใจของทุกกายให้ "หยุดในหยุด"
    อยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด
    แล้วรำลึกถึง “บุญบารมี”
    ที่ได้เคยสั่งสมอบรมไว้ในอดีต
    ที่กำลังทำในปัจจุบัน
    และที่จะได้กระทำต่อไปในอนาคต
    ให้มารวมกันเข้าที่ “ศูนย์กลางกาย” นั้น
    ผู้ถึง “ธรรมกาย” แล้ว
    จะเห็น “ดวงบุญ”
    ซึ่งตั้งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม
    ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ใสละเอียดขึ้น
    แล้วให้ตั้งใจอธิษฐานดังต่อไปนี้
    “ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมบุญบารมี
    ที่ได้เคยสั่งสมอบรมไว้ในอดีต
    ที่กำลังทำในปัจจุบัน
    และที่จะได้ทำต่อไปในอนาคต
    เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    และขออุทิศส่วนกุศลผลบุญนี้แก่
    คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ คุณมารดาบิดา ญาติพี่น้อง
    ผู้มีพระคุณ และสัตว์ร่วมโลกทั้งหลาย
    ตลอดจนมนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลายทุกถิ่นฐาน
    รวมทั้งตัวข้าพระพุทธเจ้าเองด้วย
    ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้รับบุญบารมี
    ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้อุทิศแล้วนี้ด้วยกายวาจาใจ
    และขอให้พ้นจากเหตุวิบัติ บาปศักดิ์สิทธิ์
    ภัยพิบัติ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ โรคาพยาธิ
    อวิชชา กิเลส กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
    และอุปาทาน เครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
    ขอให้บริสุทธิ์ สมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วย
    ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
    ไม่เบียดเบียนท่านผู้อื่น ไม่เบียดเบียนตนเอง
    ด้วยกายวาจาใจ
    ขอให้ละชั่ว ด้วยกายวาจาใจ
    ประกอบแต่กรรมดี ด้วยกายวาจาใจ
    ทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์
    ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
    ท่านผู้หนึ่งผู้ใดปรารถนาเป็น
    พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
    พระปัจเจกพุทธเจ้า
    พระอัครสาวก
    พุทธอุปัฏฐาก
    พระอสีติมหาสาวก
    ปรกติสาวก
    พุทธบิดา พุทธมารดา
    จักรพรรดิรัตนะเจ็ด
    ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านี้
    จงช่วยประคับประคองท่านทั้งหลายเหล่านั้น
    ให้ได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน ฝ่ายสัมมาทิฏฐิแต่ส่วนเดียว
    ด้วยผลบุญบารมีที่ข้าพระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้
    ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เกิดในฤกษ์สร้างบารมี
    ได้ซึ่งอำนาจ สิทธิ และสำเร็จกิจแห่ง
    (พระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    หรือพระอรหันต์สาวก ตามแต่ปรารถนา)
    ฝ่ายสัมมาทิฏฐิแต่ส่วนเดียว.


    * พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ



    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]






    พบใครได้ดวงหรือแช่อิ่มองค์พระ(มองเฉยๆ โดยไม่เจริญวิชชาสะสางธาตุธรรม)

    ช่วยกันแนะนำให้ต่อวิชชานะครับ


    เพระการเห็นองค์พระ เป็นเพียงแค่ " ฌาณ " เท่านั้นเอง
    ( และ ยังสามารถทำอกุศลกรรมได้ ถ้าไม่อาศัย
    ญาณพระธรรมกายเพื่อสะสางกิเลส ตัณหา และดับอวิชชา ตัดสังโยชน์ )

    " ธรรมกายของแท้ 1 คน ช่วยคนได้ครึ่งเมือง "







    [​IMG]




    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปี

    และ 1-14 ธันวาคม



    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้)

    ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี

    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส
    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน
    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้

    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่
    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร
    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ




    หรือใครที่ได้ดวงธรรมเบื้องต้นแล้ว......ขอเชิญ



    [​IMG]




    หมายเลขโทรศัพท์ ที่วัดหลวงพ่อสดฯ รับรอง สำหรับการใช้ติดต่อ


    090-595-5162 ปชส.1
    090-595-5164 ปชส.2
    081-586-8685 ปชส.1 (พระมหาสมชาติ สุชาโต)
    090-595-5166 ปชส.1 (พระมหาพร้อมไพบูลย์)
    090-595-9562, 083-032-8907 ปชส.1 (พระมหาอธิโชค)
    086-660-4140 พระมหาธีรชัย ธีรชโย
    086-604-3665 พระมหาอนุชา จนฺทปภาโส
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    โอวาทหลวงปู่วัดปากน้ำ ตอนที่ 70 โดยสิงหล

    คุณยายได้อยู่ในช่วง การทำพระของขวัญรุ่น 1 แต่ก่อนไม่มีสูตรอะไรหรอก
    ได้แป้งมาผสมเกสรดอกไม้ปั้นเป็นก้อน แล้วอัดเป็นบล็อกออกมา ละลายน้ำง่าย ดังนั้นรุ่น 1 ไม่มีสวย
    พระผงรุ่น 1 ใส่แล้วจะแคล้วคลาดได้ดี โดยเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุ ถ้าใครยังใส่พระอยู่ในตัว แล้วยังเกิดอุบัติเหตุ หลวงพ่อท่านบอกว่าต้องไปต่อว่า เข้าไปในธาตุในธรรมไปต่อว่า ฤทธิ์ยังไม่พอ ยังคุ้มครองไม่ได้ ต้องไปต่อว่าเจ้าของในธาตุในธรรม ไปขอฤทธิ์มา เพราะยังใช้ไม่ได้ พระผงหลวงพ่อทำ 84,000 องค์ ไม่ขาด ไม่เกิน เพื่อพอดีกับ 84,000 พระธรรมขันธ์ ศักดิ์สิทธิ์หมดทุกองค์ พระของหลวงพ่อ มีเจ้าของทุกองค์ คนที่เป็นเจ้าของพระ เมื่อถึงเวลา แม้อยู่ที่ไหนก็ต้องมา ข้ามน้ำ ข้ามทะเล ก็ต้องมาเอา หลวงพ่อเน้นการทำวิชชามาก เรื่องธรรมะเป็นเรื่องแรก ท่านต้องการเผยแผ่ธรรมะของท่านมากกว่า ส่วนเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ที่คนมาให้ช่วยแก้ เป็นผลพลอยได้ แต่มั่นที่หลักคือวิชชามากกว่า หลวงพ่อท่านเข็มแข็งไม่อ่อนแอ ตั้งแต่อยู่มา ไม่เคยเห็นท่านไปค้างที่ไหนเลย ก็มีแต่เฉพาะตอนเข้าโรงพยาบาลเท่านั้น
    ปัจจุบันคุณยายอายุ 89 ปี ก็ยังรักษามโนปณิธานในการทำวิชชา ตั้งแต่อายุ 20 กว่าจนมาถึงเดี๋ยวนี้ก็คือ ไม่ได้คิดอะไรเรื่องสังขาร หลวงพ่อสอนอย่างไรเราก็ทำไปตามนั้น มีที่ไปตั้งสำนักสอนสมาธิ ก็มีแม่ชีจันทร์ เก่งธรรมะ สอนธรรมะแล้วก็ขยับขยายไปเรื่อยๆ ที่แคบก็ขยาย มีนักศึกษามาฝึกกันเยอะ ในสมัยแรกๆ คนเหล่านี้มาจากบารมีของหลวงพ่อวัดปากน้ำไปตามมาทั้งนั้น สอนจนเดี๋ยวนี้ตั้งสำนักใหญ่ชื่อวัดพระธรรมกาย คนมาเป็นหมื่นเป็นแสน แม่ชีหวานใจก็ไปตั้งสำนักสวนแก้วที่ราชบุรี ส่วนที่อยู่ในวัดปากน้ำ ที่อยู่สมัยหลวงพ่อเฉพาะแม่ชีก็มี 1.พี่ตรีธา เนียมขำ เป็นประธานมูลนิธิวัดปากน้ำ 2.ตัวฉันแม่ชีรัมภา โพธิ์คำฉาย 3.แม่ชีทวีพร ปัจจุบันก็ยังมีทำวิชชากันอยู่ตลอด แต่ก็ไม่เคร่งครัดเหมือนสมัยหลวงพ่อยังอยู่


    (เรื่องเล่าโดย คุณยายแม่ชีรัมภา โพธิ์คำฉาย บุคคลยุคต้นวิชชาเล่ม 1)



    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์




    “อหํ สุคต เต มาตา

    ตุวํ ธีร ปิตา มม



    สทฺธมฺมสุขโท นาถ

    ตยา ชาตมฺหิ โคตม.



    สํวทฺธิโตยํ สุคต

    รูปกาโย มยา ตว



    อานนฺทิโย ธมฺมกาโย

    มม สํวทฺธิโต ตยา.



    มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ

    ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา



    ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ

    ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.



    พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ

    อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”


    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรม
    อันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

    ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๒ หน้า ๒๐ บรรทัดที่ ๙ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕



    ได้กล่าวถึงว่า



    "...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา..."



    ("พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก)
    จากข้อความนี้แสดงว่า แม้ในพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงมีธรรมกาย ดังนั้นลักษณะที่เหมือนกันของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย คือมีธรรมกาย
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ลักษณะการเกิดด-ดับของใจ ที่เห็นได้ตามแนววิชชาธรรมกาย

    ------------------------------------------------------



    “..... ให้ตั้งใจไว้ตรงกลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    อันนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดฐานที่ตั้งใจไว้...สำคัญนัก
    เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งของ ธรรมในธรรม ฝ่ายบุญฝ่ายกุศล
    และก็ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต
    คือ ทั้งธรรม และกาย และใจ...ตั้งอยู่ตรงนั้น
    ณ ภายในมีเท่าไร สุดละเอียดเพียงไหน...อยู่ตรงนั้น ถึงนิพพานทีเดียว

    เพราะฉะนั้น ท่านให้เอาใจไปจรดไว้ตรงนั้น
    ที่นี้ ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อยู่เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ
    ถ้าท่านหายใจเข้าออก ท่านจะพบว่า...ลมหายใจเข้าไปจนสุดนั้น
    สุดตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี
    และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้น เป็น “ต้นทางลม” และก็เป็น “ปลายทางลม” หายใจเข้าออก
    ตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี
    ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า “กลางพระนาภี”


    พระพุทธเจ้าทรงสอน “อานาปานสติ”
    เมื่อลมหยุด ก็ไปหยุด... “กลางพระนาภี”
    ถึงให้กำหนดใจกี่ฐานๆ ก็แล้วแต่
    สำหรับผู้ทำอานาปานสติ กำหนดที่ตั้งสติลมหายใจผ่านเข้าออก
    ทาง ปากช่องจมูก หรือ ปลายจมูก
    ที่ ลำคอ
    และที่ กลางพระนาภี
    นี่อย่างน้อย ๓ ฐาน … เขามักจะกำหนดกัน

    กำหนดอานาปานสติ ๓ ฐาน เป็นอย่างน้อย
    กำหนดอะไร กำหนดสติ รู้ลมหายใจเข้าออก...กระทบอย่างน้อย ๓ ฐาน นี้สำหรับผู้ปฏิบัติทั่วไป
    แต่เมื่อลมละเอียดเข้าไป ๆ ๆ แล้ว โดยธรรมชาติลมหายใจมันจะสั้นเข้า ๆ ๆ ละเอียดเข้า
    ทรงสอนว่า ลมหายใจเข้าออก ... พึงมีสติรู้
    ลมหยาบ ลมละเอียด ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น ... พึงรู้ มีสติรู้



    จนถึงลมหยุด ... หยุดที่ไหน ?
    หยุดที่ “กลางพระนาภี”

    หยุดกลางพระนาภี ก็คือ ศูนย์กลางกายนั่นแหละ
    ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก หรือ ที่ตั้งต้น
    หรือจะเรียกว่า “ต้นทางลม” หรือ “ปลายทางลม” ... ก็แล้วแต่จะเรียก


    จริงๆ แล้ว อยู่ตรงกลางกาย...ตรงระดับสะดือพอดี
    ที่หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖




    แต่ว่า ... ถ้าว่าเอาใจไปจรดตรงนั้นนะ
    จะไม่เห็น ธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้ชัด


    เพราะเหมือนอะไร ?
    เหมือนเอาตาแนบกระจก ไม่เห็นเงาหรือภาพข้างใน ... ฉันใด


    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยให้ขยับ “เห็น จำ คิด รู้” คือ “ใจ”
    ที่ตั้ง “เห็น จำ คิด รู้” ให้สูงขึ้นมา ... เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ
    เหมือนเราขยับสายตาเรา...ห่างจากกระจก เราจะเห็นเงาได้ชัดเจน





    ประกอบกับดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายและใจ
    มีธรรมชาติ หรือ อาการเกิดดับ...ตามระดับจิต หรือ ภูมิของจิต
    คือ เมื่อจิตสะอาดยิ่งขึ้นจากกิเลส จิตดวงเดิมก็ตกศูนย์
    จาก “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ลงไปสู่ “ศูนย์กลางฐานที่ ๖”
    ธรรมในธรรม ที่ใสบริสุทธิ์ ซึ่งมีจิต หรือ จิตในจิตซ้อนกันอยู่...ที่ใสบริสุทธิ์กว่า
    ก็ลอยเด่นขึ้นมา “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... แล้วก็ทำหน้าที่ของตนไป

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...
    เมื่อสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    จิตดวงเดิม ... จะตกศูนย์
    จิตดวงใหม่ ... ลอยเด่นขึ้นมาตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... เพื่อทำหน้าที่ต่อไป




    ตรงนี้นักปริยัติบางท่านก็เข้าใจว่า…จิตเกิดดับ
    แต่เกิดดับอย่างไร...ไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็น
    และยังมีบางท่าน...ที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก
    บอกว่า จิตเดิมแท้ๆ ไม่ได้เกิดดับนะ
    ที่เกิดดับนั้น มันเฉพาะ...อาการของจิต ที่มีกิเลสของจรมาผสม
    หรือว่า มีบุญเข้ามาชำระกิเลสนั้น จิตก็เปลี่ยนวาระ เป็นอาการของจิต คือถูกทั้งนั้น

    แต่ว่า อาการของจิตที่เกิดดับตรงนั้น มันมาปรากฏตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยกำหนดที่เหมาะๆ
    สำหรับที่ควรเอาใจ ... ไปหยุด ไปจรด ไปนิ่ง ตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    อันเป็น “ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม”
    เป็นที่ตั้งของ กายในกาย จิตในจิต และ ธรรมในธรรม


    อาตมาพูด “จิตในจิต” ให้พึงเข้าใจว่า
    รวมทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ...เข้าด้วยกัน



    ที่ หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดไว้ เพื่อให้เข้าพิจารณาเห็น
    กาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ... ไปสุดละเอียด
    เป็นตัว “สติปัฏฐาน ๔” ไปจนถึง ... “นิพพาน”


    และเป็นตัวชำระกิเลส ณ ที่ตรงนั้น ด้วยหยุดในหยุด กลางของหยุด
    เพราะ ถูกกลางของกลางธรรมในธรรม
    ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป เป็นการละ หรือ ปหานอกุศลจิตเรื่อยไป
    จึงมีสภาวะที่เป็น “นิโรธ” ดับสมุทัย


    พระเทพญาณมงคล( หลวงป๋า ) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านสอนให้น้อมใจเข้าไปตามฐานต่างๆ ในเบื้องต้น เพียงเพื่อให้รู้ทางเดินของจิตว่า เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตนั้นเข้าออกทางไหน อย่างไร ในตอนแรกของการปฏิบัติภาวนานั้น ในการปฏิบัติคราวต่อๆ ไป ท่านให้เอาใจไปจรดที่ศูนย์กลางกายโดยตลอด ไม่ให้ส่งใจออกนอกเลย

    ในการน้อมใจไปตามฐานต่างๆ นั้น ท่านสอนให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสเท่าดวงตาดำ กลมใสดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ให้ปรากฏขึ้นที่ปากช่องจมูก (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) นี่ฐานที่ 1 ให้ใจอยู่กลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” 3 ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนดวงแก้วนั้นเข้าไปหยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านใน (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) ให้หยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านในนั้น นี่ฐานที่ 2 ให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” 3 ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนไปหยุดที่กลางกั๊กศีรษะ เป็นฐานที่ 3 แล้วก็เลื่อนไปหยุดที่ฐานที่ 4 ช่องเพดานปาก ฐานที่ 5 ปากช่องลำคอ, ฐานที่ 6 เลื่อนลงไปตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ, แล้วก็เลื่อนกลับสูงขึ้นมาตรงๆ อีกประมาณ 2 นิ้วมือ นี่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งของกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต และธรรม ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกาย และพระนิพพานอีกด้วย เวลาสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้วจิตดวงใหม่ซึ่งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมของกายละเอียด ก็จะลอยเด่นมาที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ก่อนจะทำหน้าที่ต่อไป จุดนี้จึงเป็นที่ตั้งถาวรของใจ

    ทีนี้ ก็ให้เอาใจจรดที่ตรงนี้เรื่อยไปตลอด ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ไม่ไปทั้งนั้น ทำใจให้หยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ที่ตรงนี้เรื่อยไป ไม่ถอยหลังกลับ เพราะการทำใจหยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี้ จิตหยุดปรุงแต่ง (ไม่สังขาร) จึงถูกถิ่นทำเลของพระ (กุสลาธัมมา) แต่ถ้าใจออกนอกตัวก็จะปรุงแต่งด้วยอำนาจของกิเลสได้มาก จุดอื่นนอกจากตรงศูนย์กลางกายจึงเป็นถิ่นทำเลของภาคมาร (อกุสลาธัมมา) เพราะเหตุนี้ จึงให้เอาใจจรดตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไว้เสมอ เวลาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นและถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และของกายอื่นๆ ตลอดถึงดวงธรรมของกายธรรมต่อๆ ไปจนสุดละเอียดที่แท้จริง จะได้ไม่ถูกหลอกด้วยนิมิตลวงที่จิตปรุงขึ้น (สังขาร)

    หลวงพ่อท่านจึงไม่ยอมให้ใครสอนโดยให้เอาใจไปไว้นอกตัว ให้เห็นดวงใสก่อน แล้วจึงค่อยน้อมเข้ามาภายใน .......เพราะแม้ว่าวิธีกำหนดนิมิตภายนอกตัวก่อนนั้นมันง่ายกว่าการเอาใจไปจรด ณ ที่ศูนย์กลางกายตั้งแต่เบื้องต้นก็จริง .... แต่การเห็นนิมิตนอกตัวนั้น แม้จะน้อมเข้ามา ณ ภายในได้ ก็เสี่ยงต่อการที่จิตจะเคลื่อนจากศูนย์ออกไปรับอารมณ์ภายนอกตัว อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสเข้ามาประสม แล้วปรุงแต่งจิตให้เห็นนิมิตที่จิตปรุงแต่งขึ้นในดวงกสิณภายนอกตัวนั้นได้มากทีเดียว แปลว่า อาจถูกกิเลสมารแทรกซ้อนให้เห็นนิมิตลวง (ไม่จริง) ได้ง่าย อันเป็นเหตุให้รู้ผิด เห็นผิด จึงคิดผิด พูดผิด ทำผิด ได้ง่ายมาก และนี่แหละคืออันตรายของการเห็นนิมิตนอกตัว
    ท่านจึงสอนให้ทำใจหยุด ณ ศูนย์กลางกายเลย เพื่อให้ติดเป็นนิสัยปัจจัยตั้งแต่ต้น และให้ทำไว้ในทุกอิริยาบถ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมใดที่เคยฝึกทำนิมิตหรือเพ่งกสิณนอกตัวก่อน ท่านจะสอนให้รีบนำใจเข้าไปหยุด ณ ภายใน ศูนย์กลางกายไว้เสมอ เวลาปฏิบัติภาวนาไม่ให้ส่งใจออกนอกตัว และไม่ให้ใช้นิมิตที่เกิดขึ้นหรือที่เห็นภายนอกตัวเลย เพราะฉะนั้น ถ้าประสงค์ของจริงในพระพุทธศาสนา เวลาเจริญหรือปฏิบัติภาวนา ต้องพยายามไม่ส่งใจออกนอกตัว และไม่ควรเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติภาวนาไปเป็นวิธีเอาใจออกนอกตัวเป็นอันขาด
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เข้าสิบ เข้าศูนย์





    เมื่อวางภารกิจทางกาย วาจาและใจเรียบร้อยแล้ว
    ให้ตั้งจิตอฐิษฐานเข้าที่ศูนย์กลางกาย น้อมระลึกถึงคุณพระ
    พุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณครูอุปัชฌาอาจารย์
    คุณมารดาบิดา และบุญบารมีทั้งหลายที่เคยสั่งสมอบรมกันมา
    ให้มาช่วยประคับประคองใจให้หยุดให้นิ่ง ให้เกิดปัญญา
    ได้ดวงตาเห็นธรรม พร้อมด้วยขอให้ช่วยปกป้อง ปกปักรักษา
    คุ้มครองอย่าให้สรรพอันตรายเข้ามากล้ำกลายขัดขวางการ
    เจริญภาวนา และเมื่อตั้งใจอย่างมั่นคงดีแล้วจึงค่อยหลับตา
    ลงเบาๆ

    ในการเจริญภาวนาธรรมให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็น
    ดวงแก้วใส ขึ้นที่ปากช่องจมูกหญิงซ้ายชายขวา พร้อมด้วย
    บริกรรมภาวนาว่า ...

    “สัมมา อรหัง ๆ ๆ ....... ”

    ประคองบริกรรมนิมิตไว้ให้ใจมารวมกันหยุด ในการบริกรรม
    นิมิต ให้เลื่อนบริกรรมนิมิตไปหยุดตามฐานต่างๆ คือที่หัวตา
    ด้านใน ที่กลางกั๊กศีรษะ ที่เพดานปาก ที่ปากช่องลำคอ แล้ว
    ค่อยๆเลื่อนเครื่องหมายที่ใสสะอาดนั้นไปหยุดที่ศูนย์กลาง
    กายตรงสะดือ แล้วเลื่อนขึ้นมาตรงๆ มาหยุดอยู่ที่ฐานที่ 7
    เหนือสะดือ 2 นิ้ว

    สำหรับผู้ที่ชำนาญในการทำให้ใจหยุด ณ ศูนย์กลาง
    กายฐานที่ 7 ได้แล้ว แต่ยังไม่ได้ดวงปฐมมรรค เวลาเจริญ
    ภาวนาก็ให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสรอบตัว
    ขนาดโตเท่าฟองไข่แดงของไก่ กำหนดขึ้นที่ศูนย์กลางกาย
    ฐานที่ 7 พร้อมกับบริกรรมภาวนาว่า “สัมมา อรหัง ๆ ๆ”
    เพื่อช่วยประคองใจให้หยุดให้นิ่ง เป็นสมาธิตรงฐานที่ 7
    นี่แหละเป็นที่ตั้งของดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใส
    สะอาดบริสุทธ์เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่



    ภายในดวงธรรมนี้มีศูนย์เป็นดวงกลมใสเล็กๆ
    อยู่ 5 ศูนย์ คือศูนย์กลาง ศูนย์ข้างหน้า ศูนย์ข้างขวา ศูนย์
    ข้างหลังและข้างซ้าย ศูนย์กลางคืออากาศธาตุ

    1. ศูนย์ข้างหน้า คือธาตุน้ำ
    2. ศูนย์ข้างขวา คือธาตุดิน
    3. ศูนย์ข้างหลัง ธาตุไฟ
    4. ศูนย์ข้างซ้าย ธาตุลม
    5. ตรงกลางอากาศตรงนี้เรียกว่า ศูนย์

    ศูนย์นี้สำคัญเป็นที่ตั้ง ที่จบ และที่หยุดของจิตเวลาที่สัตว์จะ
    ไปเกิด มาเกิด ก็มาหยุดที่ฐานที่ 6 คือเข้าสิบ แล้วลอยขึ้นมา
    หยุดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี้ก่อน เรียกว่า “จิตตกศูนย์”
    ศูนย์นี้จึงสำคัญนักเพราะเป็นที่ตั้งของกำเนิดเดิม การจะเข้า
    มรรคผลนิพพานก็จะต้องเข้าที่ศูนย์นี้ด้วยเช่นกัน

    ให้ทุกคนทำใจให้หยุดเข้ากลางที่ศูนย์นี้ศูนย์กลาง
    กายฐานที่ 7 แห่งนี้แห่งเดียว หลวงพ่อสอนว่า

    "หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ"

    ถ้าเราทำใจให้เข้าสิบ เข้าศูนย์ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
    แล้วจะให้ความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรม
    โลกก็จะได้รับความสุขใจ ต้องหยุดตามส่วนของโลก
    ธรรมจะได้รับความสุขได้ใจ ต้องหยุดตามส่วนของธรรม

    นตถิ สนติ ปร สุขํ
    สุขอื่นใดนอกจากการหยุดการนิ่งไม่มี
    หยุดนั่นเองคือตัวสำคัญ
    “หยุด” คำเดียวเท่านั้นที่ถูกทาง
    ตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์ เป็นตัวศาสนาแท้ๆ

    เมื่อทำใจให้หยุดได้แล้ว ก็ต้อง “หยุดในหยุด ๆ ๆ”
    ไม่มีถอยหลังกลับ หยุดในหยุด ๆ ๆ เข้าไปในศูนย์กลางกาย
    ฐานที่ 7 ใจที่หยุดนั้นต้องถูกกลาง ถ้าไม่กลางใช้ไม่ได้
    ต้องหยุดเข้าสิบ เข้าศูนย์ เข้าส่วน ถูกศูนย์ ถูกส่วน
    ถ้าหยุดกลางกายเข้าถูกสิบ ไม่ช้าก็จะเข้าถึงศูนย์

    เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา
    เที่ยงแท้แน่หนักหนา ตั้งอนิจจาเป็นอาจินต์
    จุติแล้วปฏิสนธิ ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น
    สังขาราไม่ยืนยิน ราคีสิ้นเป็นตัวมา

    เข้าสิบแล้วเห็นศูนย์ ก็อุปมาดังเราเขียนตัวเลย
    1 2 3 4 5 6 7 8 9 0
    แล้วก็ลบตัวเลข 1 ถึง 9 ทิ้งเสียเหลือแต่ 0 ตัวเดียว
    (ศูนย์ ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่า ศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไร
    จะนำไปบวก ลบ คูณ หาร กับเลขจำนวนใด ๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น
    แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีก็หาได้ไม่ เพราะปรากฏอยู่ว่า 0 ศูนย์)

    นี่แหละคือปัญญารอบรู้ เพราะทำลายกิริยา คือ ความสมมติ

    หรือว่าลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น ไม่เข้าไปยึดถือสมมติหมด
    แล้ว จะประจักษ์แกผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติอาจรู้ได้
    ไม่ ส่วนตัว 1 2 3 4 5 6 7 8 9 เป็นจำนวนตัวเลขที่นับได้
    อ่านได้ บวก ลบ คูณ หาร กันได้ เลขสิบก็คือเลข 1 กับ 0
    เราจะเอาเลข 0 ไป บวก ลบ คูณ หาร กับเลขจำนวนใดๆ
    ก็ไม่ทำให้เลขนั้นมีค่าสูงขึ้น และเลขศูนย์นี้เมื่ออยู่โดยลำพังก็
    ไม่มีค่าอะไร แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นศูนย์ที่
    ปรากฏอยู่

    จิตก็เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะเหมือนกับเลขศูนย์นี่เอง
    เมื่อนำเข้าไปต่อกับอะไรกับตัวเลขใด ก็ย่อมทำให้ตัวเลขนั้น
    เพิ่มค่าขึ้น เช่นเลข 1 เมื่อเอา 0 ต่อเข้ามาก็กลายเป็น 10
    จิตก็เช่นกัน จิตใจเมื่อต่อเข้ากับสิ่งทั้งหลาย ก็ทำให้กลายเป็น
    สิ่งวิจิตพิสดารมากมายขึ้นมาทันที แต่จิตที่รู้จักหยุดจักนิ่ง รู้จัก
    การทำลายกริยา ความสมมติ รู้ถึงสภาวธรรมว่า สรรพสิ่งนั้น
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เราอย่าไปยึดไปเหนี่ยวว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นของตนนั้นไม่
    ได้ จิตที่ได้รับการฝึกอบรมจนฉลาด เกิดปัญญา รู้ธรรมะแล้ว
    ย่อมกลับคืนสู่สภาพ ศูนย์ คือความว่างโปร่ง พ้นจากการนับ
    การอ่าน เราก็จะสามารถหยุดภพชาติได้ ตราบใดที่ยังมีค่า
    เหมือนตัวเลข 1 ถึง 9 การเวียนว่ายตายเกิดในภพสาม
    ก็ยังไม่สามารถที่จะแหวกว่ายพ้นจากวัฏจักรแห่งนี้ได้

    ภพสาม

    กามภพ: กามภพเป็นที่อยู่ของสัตว์ที่เสพกาม
    ก็มีเทวโลก มนุษย์โลก และอบายโลก รวมกันเป็นหนึ่ง

    รูปภพ: เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่สำเร็จรูปฌาน มี 4

    อรูปภพ: เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่สำเร็จอรูปฌาน มี 4

    รวมทั้งสิ้นเป็น 9 เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้เวียนว่ายตายเกิด
    พระอรหันต์ผู้หมดจดจากกิเลสย่อมจากที่อยู่ของสัตว์ไม่ต้องมา
    อยู่ในที่ 9 แห่งนี้ พระอรหันต์จึงประทับอยู่บนที่สิบ คือ
    อายตนะนิพพาน พระอรหันต์จึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์สิบ
    ย่อมพ้นจากวัฎสงสาร การดับภพสามได้นั้นท่านมิได้เหาะขึ้น
    ไป กามภพ, รูปภพ, อรูปภพ คงอยู่กับที่นั้นเอง


    แม้พระบรมศาสดาพึงจะดับภพสาม ก็พึงดับที่จิตของตน
    คือทำลายตัวสมมติทั้งหมดทั้งสิ้นจากจิต เป็นฐิติจิต
    ฐิติธรรม อันไม่รู้จักตาย เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม
    เป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน เป็นธาตุเป็น ธรรมเป็น

    ฉะนั้นหลวงพ่อจึงกล่าวเสมอว่า “หยุดคือตัวสำเร็จ”
    ใจที่หยุดถูกกลาง เข้าสิบ เข้าศูนย์ ถูกสิบ ถูกศูนย์แล้ว
    ย่อมสามารถทำลายความสมมติแห่งภพชาติได้หมด
    ถ้าเราปฏิบัติกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติให้ถูกทาง ก็จะ
    ประจักษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ พึงรู้ พึงเห็น ได้ด้วยตัวของตัว
    เอง

    พระอรหันต์ทั้งหลายดับภพสามได้ด้วยความเพียร
    ทำให้มาก เจริญให้มาก
    จนจิตมีกำลังสามารถทำลายความสมมติทั้งหลายลงได้หมด
    ดับสิ้นอาสวะกิเลส ดับภพ ดับชาติได้

    หลวงพ่อบอกว่า

    “สิบศูนย์นี้เป็นตัวสำคัญมาก เข้าสิบ แล้วก็ตกเข้าศูนย์”

    ตกศูนย์ก็คือใจหยุด พอใจหยุด เรียกว่าเข้าสิบแล้ว จะเห็น
    ดวงปฐมมรรคใสแจ่มขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั่นแสดง
    ว่าเห็นศูนย์แล้ว พอเห็นศูนย์ใจก็จะหยุดอยู่กลางศูนย์ ต้องเข้า
    กลางดวงนั้นแห่งเดียว ไปได้ทางเดียวทางอื่นไม่มี ทางนี้เป็น
    ทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย

    ถ้าจะเข้าสู่นิพพานได้ก็ต้องไปทางนี้ทางเดียว
    ไม่มีทางแยกจากกันอื่นไปแนวเดียวกันหมด
    เรียกว่า “เอกายนมรรค” หนทางเอก

    มรรคาสายนี้เป็นที่ทำญาณ
    รู้ทุกประการทำซึ่งดวงตา
    ย่อมจักเป็นไปเพื่อให้นำมา
    ความรู้ยิ่งพา พบ สงบ นิพพาน

    เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วก็ให้รวมใจ หยุดในหยุด หยุด
    ลงไปที่ตรงศูนย์กลางแห่งนี้ ประคองใจให้หยุดให้นิ่งเข้าไป
    ที่กลางของกลางๆๆ ดับหยาบไปหาละเอียดๆๆ ใส
    ละเอียดๆๆ พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็นดวงใสแจ่มบังเกิดขึ้น
    ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ หรืออย่างเล็กเท่าดวงดาวใน
    อากาศ อย่างโตเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเรียกว่า
    “ดวงปฐมมรรค” หนทางเบื้องต้นไปสู่มรรคผลนิพพาน

    เมื่อเห็นดวงปฐมมรรคนี้แล้วก็ให้หยุดบริกรรมภาวนา
    น้อมใจเบาๆ จดที่ศูนย์กลางดวง เอาใจแตะเบาๆ เข้าที่กลาง
    ศูนย์กลาง จะเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม พอใจหยุด ใจนิ่ง
    ได้ถูกส่วนเข้าดวงนี้ก็จะว่างหายไป ดวงใหม่ก็จะผุดขึ้นมา
    แทนที่ใสละเอียดยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดวงนี้เป็น “ดวงศีล”

    ให้น้อมใจหยุดลงไปในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นดวง
    ศีล มีที่หมายเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม นี่คือเหตุว่างของดวง
    ศีล พอหยุดได้ถูกส่วนเข้าดวงเดิมก็จะหายไป “ดวง
    สมาธิ” ก็จะผุดขึ้นมาแทนที่ ใสบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นละเอียดยิ่ง
    ขึ้น หยุดในหยุด ๆ ๆ หยุดลงไปในดวงธรรมที่ทำให้เป็นดวง
    สมาธิ เมื่อหยุดได้นิ่งถูกส่วนเข้า ดวงเดิมก็จะว่างหายไป
    “ดวงปัญญา” ก็จะผุดลอยขึ้นมาแทนที่ ใสขึ้น
    ละเอียดขึ้น จดใจเบาๆ เข้าไปที่กลางดวงปัญญา เมื่อนิ่งได้
    ถูกส่วนดวงปัญญาก็จะว่างหายไป “ดวงวิมุตติ”
    ก็จะผุดลอยขึ้นมาแทนที่ หยุดในหยุดลงไปในดวงวิมุตตินั่น
    พอหยุดได้ถูกส่วนเข้าดวงวิมุตก็จะว่างหายไป เป็น
    “ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ” ผุดลอยขึ้นมาแทนที่ ใสและ
    มีรัศมีสว่างมากขึ้น

    น้อมใจหยุดลงไปที่ดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น
    พอหยุดได้ถูกส่วนเข้าดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างหายไป
    ก็จะปรากฏ “กายมนุษย์ละเอียด” หรือธรรมกายเกตุดอกบัว
    ตูมใสบริสุทธิ์ ผุดลอยขึ้นมาแทนที่ ถ้าปรากฏกายละเอียด
    ใดๆ หรือเห็นเป็นองค์พระแก้วใสเกตุดอกบัวตูม ให้น้อมใจหยุด
    เข้าไปในกลางกายใหม่ที่เราเห็น ถ้าบางคนยังเห็นไม่ชัดไม่ใน
    ก็ให้รวมใจหยุดลงไปที่ศูนย์กลางกายใหม่นี้ก็จะค่อยๆ เห็นใส
    ขึ้นและชัดขึ้น จะเห็นดวงธรรมในศูนย์กลางกายใหม่นี้ ก็ให้
    ดำเนินมองเข้ากลาง

    หยุดเข้ากลาง เห็นดวงเดินดวง เห็นกายเดินกาย

    น้อมใจหยุดลงไปในศูนย์กลาง หยุดในหยุด ๆ ๆ กายที่
    เห็นก็จะเปลี่ยนขึ้นมาเป็นละเอียดขึ้น ๆ ๆ ใสขึ้น ๆ ๆ รวมใจ
    หยุดลงไปในศูนย์กลางกายเรื่อยไป ที่เรียกกว่า เข้ากลางนี่
    เอง กลางในกลาง ๆ ๆ ๆ หยุดเรื่อยเข้ากลางไม่มีถอยหลัง
    เราจะพบความสุขความสงบและได้ปัญญา อันเกิดจากการ
    ปฏิบัติการรู้เห็นเอง

    ธรรมะเป็น อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ
    ธรรมะไม่มีกาลเวลาเป็น เป็นของชี้ชวนดูกันไม่ได้
    ผู้ปฏิบัติได้ ปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบ
    พึงรู้ พึงเห็น ได้ด้วยตัวของตัวท่านเอง

    ข้อสำคัญอยู่ที่ ให้ตั้งใจจริง ทำจริง ทำอย่างสม่ำเสมอ
    ไม่ว่าท่านจะเห็นภาพนิมิตใด ถ้าไม่ได้เห็นที่ศูนย์กลางกาย
    แล้ว ก็ให้พยายามเหลือกตากลับขึ้นข้างบน เพื่อให้ เห็น จำ
    คิด รู้ กลับเข้าไปข้างใน ให้ความเห็นกลับเข้าข้างใน พร้อม
    กับรวมใจหยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไว้เสมอ มีที่
    หมายเท่าจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มพยายามแตะใจเบาๆ เข้าที่
    ศูนย์กลาง กลางในกลาง ๆ ๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ๆ ๆ
    ใสละเอียด ๆ ๆ หยุดในหยุด ๆ ๆ นิ่งในนิ่ง ๆ ๆ กลางของ
    กลาง ๆ ๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ๆ ๆ ในไม่ช้านิมิตที่เคย
    เห็นอยู่ที่อื่นก็จะปรากฏที่ศูนย์กลางกาย

    ถ้าเห็นนิมิตเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายแล้วก็ให้น้อมใน
    หยุด หยุดในหยุด ๆ ๆ เข้ากลาง กลางของกลาง ๆ ๆ เรื่อยไป
    ไม่ถอยหลังกลับ ให้เดินจิตเข้ากลาง ถูกศูนย์ ถูกส่วน ก็จะไม่
    ปรากฏนิมิตลวงให้เห็นแต่อย่างไร เราไม่ต้องไปวิตกกังวล
    หรือสะดุ้งหวาดกลัวในวิธีเข้ากลางของกลาง ๆ ๆ อย่างนี้
    ธรรมะหรือสมาธิก็จะได้เห็นกายในกาย ธรรมในธรรม ที่ละ
    เอียดปราณีต ใสบริสุทธิ์ เย็นตาเย็นใจ จะได้พบกับความสุข
    ที่แท้จริง และจะเข้าใจว่า..........

    สุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบ คือใจหยุด ใจนิ่ง ไม่มี
    การวางใจให้ถูกสิบถูกศูนย์ การกำหนดใจวางใจนี้เราจะตั้งที่
    ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แห่งเดียวจะเอาใจไปตั้งไว้ที่ผิด
    จากศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ก็จะผิดตลอดไปถ้าใจตั้งถูกที่
    ก็จะถูกหนทางเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย จุดสำคัญคือ
    หยุดจิต หยุดความคิดทั้งหลาย ให้รวมกันเป็นหนึ่งลงไปสู่
    ภายใน เมื่อใจที่รู้จักหยุด รู้จักนิ่ง ถึงที่หยุดที่นิ่งแล้ว
    อายตนะภายในก็จะดึงดูดลงสู่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เอง
    อัตโนมัติ

    เหตุที่ต้องนำใจไปจดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
    ที่เรียกว่าเข้าสิบเข้าศูนย์

    เพราะที่ศูนย์กลางกายนี้เป็นที่ตั้งของดวงธรรมเรียกว่า
    ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือดวงปฐมมรรค ถ้าไม่ตั้งใจ
    ตรงนี้แปลว่าไม่ถูกมรรคไม่ถูกทาง เมื่อไม่ถูกทาง เราก็จะไม่
    พบดวงปัญญา เพราะที่ศูนย์กลางกาย เป็นที่สุดของลมหาย
    ใจเข้าออก เป็นที่ดับ เป็นที่หลับ เป็นที่ตื่น ที่สุดของลมหายใจ
    เข้า เป็นที่สุดที่หยุด เป็นจุดหมายที่นิ่งของใจ เป็นจุดที่เห็น
    ธรรม เป็นที่เกิด หมายความว่า เป็นจุดที่ใจของมนุษย์ต้อง
    หยุดและนิ่งตรงนั้นจึงจะเกิดได้ เป็นที่ดับ ก็คือตาย เมื่อจะ
    ตาย ใจต้องหยุดตรงนั้นก่อนจึงจะตาย เป็นที่หลับตรงอยู่ตรง
    นั้นจึงจะหลับ ถ้าใจไม่หยุดตรงนั้นจะหลับไม่ได้ เป็นที่ตื่น
    คือตื่นจากนอนหลับ ใจหยุดตรงนั้นแล้วจึงตื่น

    หรืออีกความหมายหนึ่ง ก็คือเป็นที่ตื่นจากอวิชชา
    หมายความว่า ดวงตาเห็นธรรม ฉะนั้นถ้าไม่ตั้งใจไว้ที่ศูนย์
    กลางกายเราจะรู้ผิด เห็นผิด ความเกิด ความดับ ความหลับ
    และความตื่นจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกอวิชชา
    กิเลส เครื่องเศร้าหมองตลอดไป

    เพราะศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็น เอกายนมรรค หน
    ทางเอก ทางสายเดียวที่พระพุทธเจ้า ทศทิศ สามกาล ทุก
    พระองค์ ต้องเอาใจมาจดไว้ที่ตรงนี้จึงสามารถบรรลุซึ่ง
    อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ อย่ากำหนดใจนอกเหนือจุด
    ที่กล่าว การกำหนดใจของฝ่ายพระและฝ่ายมารจะต่างกัน
    ฝ่ายพระหรือฝ่ายสัมมาทิฐินี้เป็นฝ่ายบุญ
    ฝ่ายมารเป็นมิจฉาทิฐิเป็นฝ่ายบาป
    หรือฝ่ายอกุศลเรียกว่าอกุศลาธรรมาหรืออวิชชา กิเลส ตัณหา
    อุปาทาน

    การกำหนดใจของพระ เราจะกำหนดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐาน
    ที่ 7 เท่านั้น ส่วนการกำหนดใจไว้นอกศูนย์กลางกายเช่น
    กำหนดไว้ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า กระหม่อม ซอกคอ หน้าอก หน้า
    ผาก หรือกำหนดอยู่ ตรงเบื้องหน้าไม่เข้าไปข้างใน การ
    กำหนดใจดังกล่าวนี้ ทำให้ไม่ถูกแนวทางที่จะพบจะเห็นรู้ของ
    จริงของฝ่ายบุญ

    เมื่อได้เข้าใจถึงความสำคัญของการเข้าสิบเข้าศูนย์
    จุดศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วแล้ว
    ก็ให้ตั้งใจเดินดวงเดินกาย หยุดในหยุด ๆ ๆ นิ่งในนิ่ง ๆ ๆ
    กลางของกลาง ๆ ๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ๆ ๆ ใสละเอียด
    ๆ ๆ เข้าที่ศูนย์กลางกายแห่งนี้แห่งเดียว ให้ทำสมาธิเข้า
    กลาง กลางในกลาง ๆ ๆ ใสในใน ๆ ๆ เรื่อยไป
    .........................................

    ก่อนที่จะหยุดการภาวนาให้รวมใจ เห็น จำ คิด รู้ หยุด
    เป็นจุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตรงสุดลมหายใจ
    เข้าออก เหนือระดับสะดือ 2 นิ้ว สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว
    ก็ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดในหยุดในศูนย์กลางกายองค์ที่
    ละเอียดที่สุดแล้วรำลึกถึงบุญบารมี ที่ได้สั่งสมมาทั้งอดีต
    ปัจจุบัน และอนาคต ให้อยู่รวมกันเข้าที่ศูนย์กลางกายแล้ว
    ตั้งจิตอธิษฐานดังต่อไปนี้...........

    ข้าพเจ้าขอน้อมบุญบารมีทั้งหลายเหล่านี้ถวายคุณ
    พระศรีรัตนตรัย กายสิทธิ์ภาคผู้เลี้ยง ผู้รักษา พระเดชพระคุณ
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ คุณครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ คุณมารดาบิดา
    ญาติพี่น้อง ผู้มีพระคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พระบรมราชินีนาถ ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ผู้รักษาประเทศ
    ชาติ ศาสนา อาณาจักร พุทธจักร ธาตุธรรม มรรคผล นิพพาน
    มนุษย์ อมนุษย์ เจ้ากรรมนายเวร รวมทั้งตัวของข้าพเจ้าและ
    ครอบครัว

    ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านี้ จงรวมกันเป็นตบะ เดชะ
    พลวะปัจจัย ส่งผลดลบัลดาลให้ข้าพเจ้า ได้เกิดในฤกษ์สร้าง
    บารมีในตระกูลสัมมาทิฐิ พ้นจากวิบัติบาปศักดิ์สิทธิ์ ภัยพิบัติ
    ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ ภัยเศรษฐกิจ กิเลส อวิชชา เครื่อง
    เศร้าหมองทั้งหลาย

    ให้ข้าพเจ้าถึงพร้อมด้วยกำลัง 3 คือ กำลังคน กำลัง
    ทรัพย์ กำลังสติปัญญา และสมบัติ 3 คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์
    สมบัติ นิพพานสมบัติ ได้ดวงตาเห็นธรรม ปฏิบัติเข้าสู่มรรค
    ผลนิพพานในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่ส่วนเดียว ด้วยกายเจริญอริยะ
    จิตเจริญเมตตา ไม่มีท่านผู้หนึ่งผู้ใด สิ่งหนึ่งสิ่งใด รวมทั้งตัว
    ของข้าพเจ้าเองด้วย มาทำลายล้างแย่งอำนาจสิทธิในการ
    สร้างบารมีเหล่านี้

    ข้าพเจ้าทรงไว้ซึ่งอำนาจสิทธิความสำเร็จกิจ
    ในฝ่ายสัมมาทิฐิทั้งทางโลกและทางธรรม

    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    วิชชาธรรมกายนี้ เป็นวิปัสสนาหรือไม่ ? อย่างไร ? หรือเป็นเพียงสมาธิ คือ สมถกัมมัฏฐาน ?

    เมื่อไรที่อบรมใจให้สงบหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง เป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ ชื่อว่า “สมถ-กัมมัฏฐาน”
    และเมื่อไรเข้าไปรู้ไปเห็นกาย-เวทนา-จิต-ธรรม ทั้ง ณ ภายในและภายนอก เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เพียงสองอย่างนั้น ก็ยังจัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน ในระดับสมาธิ คือให้ใจสงบ
    แต่เมื่อไรเห็นแจ้งถึงความเป็นอนัตตา คือ ธรรมชาติที่เป็นสังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ว่าลงท้ายล้วนแตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไปหมด แล้วเห็นว่าความเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงอย่างนี้เป็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นโดยมีอวิชชา คือ ความไม่รู้สัจธรรมตามที่เป็นจริง ไม่รู้เหตุในเหตุไปถึงต้น ๆ เหตุ แห่งทุกข์ ทำให้บุคคลคิดผิด เห็นผิด รู้ผิด แล้วประพฤติผิด ๆ ด้วยอำนาจของกิเลสและความ เข้าไปยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เมื่อรู้แจ้งอย่างนี้ คือรู้แจ้งในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์และได้สัมผัสที่ สภาวะแห่งทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และรู้แจ้งในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ปัญญาแจ้งชัด เหล่านี้ชื่อว่า วิปัสสนาปัญญา และโลกุตตรปัญญา การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายให้ สามารถเข้าถึง และรู้เห็นอย่างนี้ จึงเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ที่นำมาโพสนี้ เบื้องต้นเป็นเพียงแค่อุบายการชำระกิเลส วิธีหนึ่ง
    ของครูบาอาจารย์
    และก็ทำประโยชน์ต่อส่วนรวมไปในตัว ด้วยวิถีเจโตวิมุตติเป็นตัวนำ

    สรรพวิธีที่บางท่านที่จะประยุกต์ใช้ โดยไม่ทิ้งแกนวิชชาคือ สติปัฏฐานสี่ ครับ


    วิชชาธรรมกายที่หลวงปู่สดสอนแต่ดั้งเดิม เป็นไปเพื่อรู้แจ้งแทงตลอดนิมิตจนเข้าถึงสิ่งที่ไม่ใช่นิมิต เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม คือ พระธรรมกายที่เข้าเขต
    มรรคผลตัดสังโยชน์ได้ตังแต่สามข้อแรกครับ
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    พระพุทธเจ้าทรงสอนถึง อุปกิเลสที่ทำให้ไม่สามารถนึกแสงสว่างและรูปได้ อันมีวิจิกิจฉาเป็นต้น นี่ก็ชัดเจนอยู่แล้ว

    อีกอย่างแค่ประโยคเริ่มต้นที่ว่า "พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล" ก็คงไม่ต้องแปลอะไรให้ซับซ้อนแล้วล่ะครับ




    ครูบาอาจารย์ไทยๆแต่โบราณ ท่านเน้นสอนศีล สมาธิ ปัญญา ครบถ้วนไตรสิกขา ไม่รังเกียจสมถะ ไม่ปฏิเสธนิมิต แต่รู้เท่าทันและแทงตลอด ทั้งนิมิต อย่างสูงคือแทงตลอดอริยสัจ

    อานาปานสติ ก็เช่นกัน ต้อง "ระงับกายสังขาร"

    แต่ในยุคหลังๆ มีคนนำการปฏิบัติบางอย่างประยุกต์เข้ามา ก็มักจะเน้นแต่สำนวนปรมัตถ์ เน้นแต่คำว่าวิปัสสนา ปฏิเสธนิมิต รังเกียจสมถะ ใช้ใจหยาบๆสังเกตุปรากฏการณ์ แล้วพยายามทำใจว่าสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น นั่นเอง สายนี้มักจะกล่าวล่วงเกินสำนักปฏิบัติที่ไม่ตรงกับทัศนะตนบ่อยๆ ยิ่งเรื่องสมถะและนิมิตนี่ รังเกียจออกนอกหน้า ลองไปสิกขาสำนักเหล่านี้ดูจะทราบได้เลยครับ

    หนักกว่าในปัจจุบัน เริ่มมีสำนักที่คิดเองเออเอง เน้นการปล่อยวาง ว่างเปล่า อะไรๆก็พูด ปล่อยวางๆ ว่างๆ ละวาง โดยปฏิเสธบุญ บารมี การกระทำใดๆ แล้วไตรสิกขา คืออะไร แล้วมีไว้เพื่ออะไรกัน

    พวกเขาคงไปมองแต่พระอรหันต์ท่านผู้มีบารมีเต็มบำเพ็ญไตรสิกขามามาพร้อมแล้ว ซึ่งท่านเหล่านี้ แค่ใบมีดจรดศรีษะยังไม่ทันฟังธรรมจริงจังก็บรรลุแล้ว เพราะบารมีท่านล้นแล้ว และอีกอย่างพวกเขาคงชื่นชอบการสอนแบบนิกายเซน ที่เน้นทำนองว่าปล่อยวาง ว่างเปล่า

    (กำลังใจ(บารมี)ของตน มีไม่มากดังท่าน แล้วจะแค่นึกเอาว่าว่าง ปล่อยวาง ไม่เดินจิตใจตามลำดับขั้น ก็แค่คิดนึกว่าพ้นเท่านั้น พอเจอสิ่งเร้าแรงๆ ก็จะทราบเอง)
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบธรรมกาย


    วิปัสสนากรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิปัสสนาแบบที่มุ่งหวังผลอันสืบแต่ปัจจัยภายใน หรือ สูงกว่าวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ได้แก่การเจริญวิปัสสนาโดยใช้ เจโตสมาธิเป็นบาท


    เจโตสมาธิ คือ สมาธิที่ประดับด้วยอภิญญา หรือวิชชาสาม ถ้าบรรลุความหลุดพ้นโดยทางนี้ เรียกว่า หลุดพ้นโดยทางเจโตวิมุตติ วิปัสสนาประเภทนี้ เป็นประเภทที่ใคร่เชิญชวนให้ท่านทั้งหลาย ลองปฏิบัติดูบ้าง ถึงแม้จะปฏิบัติไปยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรคผล ก็ยังอาจจะได้ ความสามารถทางสมาธิบางประการ ไว้เป็นเครื่องแก้เหงา ถ้าโชคดีบรรลุมรรคผล ก็จะตระหนักด้วยตนเองว่า สุขใดจะสุขยิ่งไปกว่าสุขในกายตนนิพพานไม่มี ทั้งในขณะที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนาแบบนี้อยู่ ใคร่จะปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์บ้าง เพียงแต่น้อมใจไปพิจารณาวิปัสสนาญาณ ไม่ช้าก็อาจจะบรรลุมรรคผลทางปัญญา เป็นผลพลอยได้อีกทางหนึ่ง


    การเจริญวิปัสสนาโดยใช้เจโตสมาธิเป็นบาท ปฏิบัติกันมากในหมู่ผู้เลื่อมใสในนิกายมหายาน ในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทก็อ้างถึงวิชชาแขนงนี้ไว้หลายตอน พุทโธวาทตอนใน ที่กล่าวถึงอาโลก หรือแสงสว่าง ที่กล่าวถึง


    ทิพพจักขุ วิชชาสาม และธรรมกาย เป็นเรื่องของวิปัสสนาแบบนี้ทั้งสิ้น การเจริญวิปัสสนาแบบนี้ไม่รุ่งเรืองทางฝ่ายเถรวาท แต่ทางมหายานกลับนิยมปฏิบัติกันทั่วไป อาจจะสันนิษฐานได้ว่า คงสืบมาแต่การกระทำทุติยสังคายนา ที่เมืองไพสาลี หลังจาก ปฐมสังคายนาราว 100 ปี ในครั้งนั้น พระสงฆ์ได้แตกแยกออกไปเป็นสองนิกาย เถรวาทนิกายหนึ่ง มหายานนิกายหนึ่ง ต่อมาต่างฝ่ายต่างพยายามแสดงว่าตนสังกัดในนิกายหนึ่งนิกายใดอย่างเคร่งครัด ผลก็คือว่า หลักปฏิบัติวิปัสสนาแขนงนี้ได้สูญไปจากนิกายเถรวาท หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพิ่งได้ค้นพบวิชชานี้อย่างใหม่อย่างพิสดาร เมื่อปี พ.ศ. 2459 นี้เอง และได้ให้นามว่า “วิชชาธรรมกาย”


    วิชชาธรรมกาย เป็นกรรมฐานแบบเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา อาการของคู่กันนั้น ตามปฏิสัมภิทามรรค ยุคอรรถกถากล่าวว่า 1.คู่กันด้วยอารมณ์ 2.ด้วยความเป็นโคจร 3.คู่กันด้วยความละ 4.ด้วยความสละ 5.ด้วยความออก 6.ด้วยความหลีกพ้นไปจากกิเลส 7.คู่กันด้วยความเป็นธรรมละเอียด 8.ด้วยความเป็นธรรมประณีต 9.ด้วยความหลุดพ้น 10.ด้วยความไม่มีอาสวะ 11.ด้วยความเป็นเครื่องข้าม 12.คู่กันด้วยความไม่มีนิมิต 13.ด้วยความไม่มีที่ตั้ง 14.ด้วยความว่างเปล่า 15.คู่กันด้วยการภาวนา 16.คู่กันด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน 17.ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน และ 18.คู่กันด้วยความเป็นคู่กัน
    อาการคู่กันข้างต้น มีข้อที่น่าสนใจเป็นพิเศษอยู่ข้อหนึ่ง ได้แก่อาการคู่กันด้วยความไม่มีนิมิต การเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตนี้ ก็คือ อนิมิตเจโตสมาธิ นั่นเอง พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ ณ บ้านเวฬุคาม ในนครไพสาลี ก่อนจะทรงปลงอายุสังขารเล็กน้อยว่า [FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]
    <CENTER>"อนิมิตเจโตสมาธินี้ ถ้าทำให้มากแล้วสามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่านั้น"</CENTER>
    [/FONT]
    [FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]ถ้าจะอธิบาย อนิมิตเจโตสมาธิ ตามหลักของสมาธิแล้วอาจอธิบายได้ว่า ได้แก่การเกิดสมาบัติภายหลังที่ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว โดยเดินสมาบัติตามแบบของเจโตสมาธิ ให้นิมิตละเอียดเข้าๆ จนไม่เห็นนิมิต ทำนองอรูปฌาน ถึงขั้นนี้อำนาจสมาบัติจะทำให้ไม่มีมลทินและเชื้อโรคอะไรเหลืออยู่ในกายเลย การเดินสมาบัติทำนองนี้มากๆ ก็เท่ากับเป็นการพักผ่อนระบบของร่างกาย รวมทั้งสมองไปในตัว จึงมีเหตุผลพอเพียงที่จะทำให้อายุยืนได้ [/FONT]มีผู้แปลความหมายของ อนิมิตเจโตสมาธินี้ว่า เป็นอิทธิบาท 4 บ้าง นำความหมายของวิโมกข์ มาอธิบายว่า เป็นสมาธิที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นนิมิตบ้าง ซึ่งก็ถูกด้วยกันทั้งสิ้น แต่ถ้าจะให้ตรงกันจริงแล้ว น่าจะอธิบายดังที่ได้อธิบายม
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447


    .........เมื่อมีทุกข์ ชีวิตทั้งหลายก็ดิ้นรนไปตามทางที่เคยชิน

    หาทางดับทุกข์หรือหนีจากอาการทุกข์ ด้วยการเสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์ที่ไม่เที่ยง ที่คาดหวังว่าจะไม่ต้องเสพอารมณ์อันเป็นทุกข์อีก

    ยิ่งกว่านั้น ก็ไปหาหมอดู ทรงเจ้าเข้าผี เซ่นสังเวย วิญญามิจฉาทิฐิ พาตนเข้าสู่วังวนแห่งกองทุกข์เหนียวแน่นขึ้นไปอีก

    บ้างก็ก่อกรรมใหม่ที่ไม่ดี ไปทำสิ่งผิดศีล ก่อเวรกับชีวิตอื่นเพื่อหาสิ่งต่างๆมาสนองความอยาก อันมีแต่จะนำพาให้วนในทะเลทุกข์ไม่สิ้นสุด


    .....ลืม ไม่ทราบว่า ผลแห่งกรรมดี อันปรากฏเป็นดวงบุญ อยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั่นแหละ เมื่อทุกข์ ให้ระลึกถึงบุญกุศลที่ตนบำเพ็ญมาเป็นที่พึ่งเสียสิ ตรงกลางกายนั่นแหละ ..........มิตรแท้ คือความดีที่ตนทำสั่งสมมานั่นแหละ...







    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    “อมตะวาทะ” หลวงพ่อวัดปากน้ำ

    ------------------------------
    ให้ดวงบุญนั้นช่วย

    เมื่อต้องภัยได้ทุกข์อะไร จรดอยู่ดวงบุญนั้น ให้ดวงบุญนั้นช่วย อย่าไปนึกถึงสิ่งอื่นนะ นึกถึงบุญกุศลที่ตนกระทำนั่นแหละ เป็นที่พึ่งของตัวจริง ช่วยตัวได้จริงๆ พระพุทธเจ้าเมื่อเข้าที่คับขัน ท่านยังนึกถึงบุญของท่าน ที่ท่านได้บำเพ็ญบารมีของท่านมา แน่วแน่ทีเดียว มั่นคงทีเดียว

    เมื่อมั่นคงเช่นนั้น นางธรณีก็ผุดขึ้นมา บำบัดพญามารให้พ่ายแพ้ ด้วยน้ำที่พระองค์ทรงหลั่งให้ตกลงเหนือพื้นปฐพี นางธรณีรับไว้รูดปราดเดียวเป็นทะเลท่วมพญามารป่นปี้หมด ยับเยิน แพ้พระพุทธเจ้าด้วยน้ำที่พระองค์ทรงกรวดนั่นแหละ

    นี่พระองค์ทรงนึกถึงทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ให้เป็นอาวุธ ผจญพญามารให้อันตรธานพ่ายแพ้พระองค์ไป

    เราก็เหมือนกันต้องภัยได้ทุกข์ ก็นึกถึงบุญบารมีที่เราได้สั่งสมอบรมมานี้ นิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ กลางดวงนั่นแหละ ถูกดวงบุญพอดี ทาน การให้ สำเร็จเป็นบุญดังนี้ เมื่อสำเร็จเป็นบุญแล้ว ก็เป็นที่ระลึกดังนี้ นี้เรียกว่า ทานัจะ

    จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๕
    เรื่อง สังคหวัตถุ
    ๒๐ กันยายน ๒๔๙๖


    ____
    เพจระฆังธรรม วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม



    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    มหาสติปัฏฐานสูตร

    10 ตุลาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)


    [​IMG]





    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโทสํ วา จิตฺตํ วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ. อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนฺสส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปติสฺสติมตฺตาย อนิสฺสิโต จ วิหรติ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ. เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรตีติ.




    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่แสดงไปแล้วนั้น โดยอุเทศวาร ปฏินิเทศวาร แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นอุเทศวารนั้น ตามวาระพระบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย. แค่นี้ จบอุเทศวารของมหาสติปัฏฐานสูตร


    แปลภาษาบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อยํ มคฺโค อันว่า หนทางนี้ เอกายโน เป็นเอก เอกายโน อยํ มคฺโค หนทางนี้เป็นหนทางเอก ไม่มีสองแพร่ง เป็นหนทางเดียวแท้ๆ หนทางหนึ่งแท้ๆ เอกน่ะ คือหนึ่ง

    เอโก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ เหล่านี้ เอโก เขาแปลว่า หนึ่ง หนทางนี้เป็นหนึ่งไม่มีสองต่อไป สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อความล่วงเสียซึ่งโศก ความแห้งใจ ความปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่ออัสดงคตหมดไปแห่งเหล่าทุกข์โทมนัส ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุซึ่งธรรมที่ควรรู้ นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นี่แสดงดังนี้เพียงเท่านี้ เรียกว่า อุเทศวาร จักได้แสดงเป็นปฏินิเทศวารสืบต่อไป

    กตเม จตฺตาโร 4 อย่างอะไรบ้าง ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา นี้คือ สติปัฏฐาน 4 กตเม จตฺตาโร สติปฏฺฐานา สติปัฏฐาน 4 คืออะไรบ้างล่ะ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. 4 อย่างนี้ เรียกว่าปฏินิเทศวาร อุเทศวารแสดงแล้ว อีก 2 นี้เป็นปฏินิเทศวาร อุเทศน่ะแสดงออกเป็นหนึ่งทีเดียว ปฏินิเทศนั้นแสดงหนึ่งออกไปเป็น 4 กาย เวทนา จิตธรรม แปลภาษาบาลีว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ นั้นเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อ้ายนี้ต้องคอยจำนะ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ถ้าเห็นเข้าแล้ว ทำให้ อาตาปี เพียรเทียว เพียรให้เห็นอยู่เสมอนั้นไม่เผลอทีเดียว สมฺปชาโน รู้รอบคอบอยู่ เพียรแล้วก็รู้รอบคอบ สติมา มีสติด้วยไม่เผลอ รู้รอบคอบไม่เผลอ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ คอยกำจัดความเพ่งเฉพาะอยากได้และโทมนัสเสียใจที่ไม่ได้สมบัติ นำอภิชฌาโทมนัสในโลกออกเสีย อย่าเพ่งเฉพาะเสียใจ เพราะอยากได้แล้วไม่สมหวัง มันจะทำกายในกายให้เป็นที่เสื่อมไปเสีย อภิชฌา สำคัญนัก เพ่งเฉพาะอยากได้ เมื่อไม่ได้ มันก็เสียใจเพราะไม่สมหวัง ไอ้ดีใจเสียใจนี่แหละอย่าให้เล็ดลอดเข้าไปได้ทีเดียว เมื่อเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่แล้วก็ อาตาปี มีความเพียรเร่งเร้าทีเดียว มีความรู้รอบคอบ ประกอบด้วยสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ นี่ข้อต้น ข้อที่ 2 คือ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีความรู้รอบคอบ มีสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน นำอภิชฌา โทมนัสในโลกออกเสีย ไม่ให้ลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่ส่วนเวทนา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติไม่พลั้งเผลอ นำอภิชฌาในโลกนี้ออกเสียได้ อย่าให้ความยินดียินร้ายมันลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่เป็นข้อ 3 ข้อที่ 4 ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เมื่อเห็นแล้วให้มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน กำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกนี้เสียได้ 4 ข้อนี้แหละเรียกว่า ปฏินิเทศวาร กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่ นี่ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสอนต่อไปเป็นลำดับ

    เห็นกายในกาย นี่เห็นอย่างไร เห็นกายในกายนั่นเหมือนกับนอนฝันนั่นแหละ เห็นชัดๆ อย่างนั้นนะ เห็นกายในกายก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดเท่ากายมนุษย์นี้แหละ นอนฝันในกายมนุษย์นี่ต่อไป ทำหน้าที่ไป ผู้เห็นกายในกายก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นเอง เห็นเวทนาในเวทนาล่ะ มนุษย์นี่มันก็มีเวทนาเหมือนกัน เห็น นี่ ไม่ได้พูดรู้นี่ เวทนาในเวทนานั่นเป็นอย่างไรล่ะ สุข กายนั้นเป็นสุข ก็เห็นเป็นสุข กายนั้นเป็นทุกข์ ก็กายละเอียดนั่นแหละ ที่เห็นกายนั้นเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์ เมื่อกายนั้นไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เห็นว่าไม่สุขไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ อย่างนี้ เห็นจิตในจิต ล่ะ ลึกนี่เห็นจิตได้หรือ ไม่ใช่เห็นง่ายๆ นี่ จิตเป็นดวงนี่ เท่าดวงตาดำข้างนอกนี่แหละ เท่าดวงตาดำของตัวทุกคนๆ นั่นแหละดวงจิต เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ถ้าเห็นอย่างนี้ไม่หลับ เป็นประธาน เห็นกายในกายชัดๆ ก็เห็นกายละเอียดนั่น

    เห็นเวทนาในเวทนา เห็นกายแล้วก็เห็นเวทนา เวทนาเพราะใจกำหนดอยู่ที่จะดูกาย เห็นกายน่ะ ต้องกำหนดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เมื่ออยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละก้อ นั่นแหละ ตาเห็นกาย ก็เห็นอยู่ในกลางกายมนุษย์นั่นแหละ เห็นเวทนาล่ะ เป็นอย่างไรล่ะ เห็นสุขเป็นดวงกลมใสอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียดนั่น เห็นสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ เป็นดวงอยู่กลางกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เวทนาของกายมนุษย์นี้เป็นเวทนานอก เวทนาของกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นเวทนาของกายมนุษย์ละเอียดข้างใน นั่นแหละเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต ล่ะ ดวงจิต ก็เห็นดวงจิตของกายละเอียดนั่น เห็นดวงจิตเท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นดวงจิต มั่นอยู่ในกลางดวงจิตนี่แหละ อยู่ในกลางดวงจิตมนุษย์หยาบนี่แหละ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียดมันก็ไปเห็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่เห็นจิตในจิต

    เห็นธรรมในธรรม ล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ มันมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนั่น พอไปเห็นกายละเอียด มันก็เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เป็นธรรมข้างใน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ นี่เป็นดวงธรรมข้างนอก เห็นจริงอย่างนี้นะ วัดปากน้ำเขาเห็นกัน จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นเล่นๆ

    นี่ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เห็นจริงๆ อย่างนี้ นี่อุเทศวาร แล้วก็เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นไป กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม วัดปากน้ำเห็นเข้าไปตั้ง 18 กายนั่นแน่ะ เห็นเข้าไปอย่างนี้แหละ 18 กาย ชัดๆ ทีเดียว ชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ใช่พอดีพอร้ายหละ เห็นชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ชัดแต่ว่าเห็นหละ ถ้าว่าสนใจจริงๆ ก็เห็นจริงๆ เห็นจริงๆ อย่างนี้ เมื่อเห็นจริงๆ เป็นจริงๆ อย่างนี้แล้วละก็ ตำราบอกไว้ตรงๆ อย่างนี้แล้วมันก็ถูกตำรับตำราทีเดียว แล้วจะได้แสดงในกาย เวทนา จิต ธรรม ต่อไปอีก คัมภีร์นิเทศวารต่อไป

    มีคำถามสอดเข้ามาว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ นั่นเป็นไฉน อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ อันนี้แล้ว อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา นี่ปฏินิเทศวาร อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุ ํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา โส สโต ว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฑีฆํ วา อสฺสสนฺโต ฑีฆํ อสฺสสามีติ ฯเปฯ ฑีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ฯเปฯ อสฺสสนฺโต ฯเปฯ รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํปสฺสสามีติ ปชานาติ. นี่เป็นปฏินิเทศวาร กว้างออกไปทีเดียว กว้างนี่แหละที่แสดงไปแล้ว ส่วนกายที่แสดงไปแล้ว ท่านจัดออกเป็น ข้อกำหนด เป็น ปัพพะ คือเรียก อานาปานปัพพะ ข้อกำหนด ด้วยลมหายใจเข้าออก อิริยาปถปัพพะ ข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน สัมปชัญญปัพพะ ข้อกำหนดด้วยกิริยาในอิริยาบถแห่งอวัยวะ รู้อยู่เสมอ นั่นเรียกว่า สัมปชัญญปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ข้อกำหนดด้วยข้อปฏิกูลแห่งร่างกายของคนเราแห่งฟัน หนัง เนื้อ ตามบาลีว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา ทนฺตา ปฏิกูลนั้นไม่น่ารักน่าชมเลย ปฏิกูลแห่งร่างกาย นี้ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ที่ไหน ประสมกันแล้วก็เป็นร่างกาย ล้วนแต่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไป นี้เป็น ธาตุปัพพะ พอกายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์หยาบแล้วก็เน่ากันทั้งนั้น เป็นปฏิกูลอย่างนี้ ปฏิกูลนั่นเป็นข้อที่ 5 นวสีวถิกปัพพะ ข้อกำหนด ด้วยศพ 9 รูป ตายวันหนึ่ง สองวัน ท้องเขียว น้ำเลือดน้ำหนองไหล เป็นลำดับไปจนกระทั่งเหลือแต่กระดูกนั่น นี้ได้แสดงมาแล้ว

    วันนี้จะแสดง เห็นเวทนาในเวทนา สืบต่อไปว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ สามิสํ วา สุขํ เวทนํเวทิยมาโน สามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ ทุกขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. อันนี้เวทนาไม่ใช่เป็นของฟังง่ายเลย เป็นของฟังยากนัก แต่ว่าท่านแสดงไว้ย่อๆ ว่า สุข เมื่อเราเสวยความสุขอยู่ ก็รู้ชัดว่าเวลานี้เสวยความสุขอยู่ เมื่อเราเสวยความทุกข์อยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์อยู่ เมื่อเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์อยู่ เมื่อเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส เมื่อเสวยสุขที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความสุขที่ปราศจากอามิส เมื่อเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส เมื่อสวยความทุกข์ที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์ที่ปราศจากอามิส เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่ปราศจากอามิส นี้เรียกว่า เวทนา รู้จักเวทนาอย่างนี้ แต่เวทนาที่จะแสดงวันนี้จะแสดง เวทนาในจิต

    คำว่า จิต นะ เป็นของจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นมันก็บังคับเราใช้มันอยู่ทุกๆ วัน ถ้าเราใช้มันไม่เป็นมันจะกลับมาข่มเหงเอาเราเข้า จิตนั่นเป็นตัวสำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันตามวาระพระบาลีว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ นั่นเป็นไฉน อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยราคะ วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ วา จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากราคะ สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโทสะ วีตโทสํ วา จิตฺตํnbsp; วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโทสะ สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโมหะ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโมหะ สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหดหู่ ก็ทราบชัดว่าจิตหดหู่ วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตฟุ้งซ่าน ก็ทราบชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตเป็นมหัคคตะ ก็ทราบชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตประกอบด้วยบุญกุศลยิ่งใหญ่ เรียกว่า มหัคคตกุศล กุศลเกิดด้วยรูปฌาน เป็นมหัคคตกุศล อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ประกอบด้วยมหัคคตะ ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ประกอบด้วยมหัคคตะ สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตยิ่งก็ทราบชัดว่าจิตยิ่ง อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็ทราบชัดว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่น ก็ทราบชัดว่าจิตตั้งมั่น อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ตั้งมั่น ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหลุดพ้น ก็ทราบชัดว่าจิตหลุดพ้น อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่หลุดพ้น ก็ทราบชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดังนี้ แหละ ภิกษุเห็นจิตในจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อันเป็นภายนอกอยู่ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิต ในจิตเนืองๆ ทั้งเป็นภายในและภายนอกอยู่ สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็น ธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นในจิตอยู่ วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นธรรมดาซึ่งความเสื่อมไปในจิตอยู่ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเพียงในจิตอยู่ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอเข้าปรากฏว่าจิตมีอยู่ ยาวเทว ญาณมตฺตาย เพียงสักแต่ว่ารู้ ปติสฺสติมตฺตาย เพียงสักแต่ว่าอาศัยระลึก อนิสฺสิโต จ วิหรติ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิยึดถือไม่ได้ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ยึดถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อย่างนี้แหละ ภิกษุเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ ความเพียงเท่านี้

    ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายขยายความในเรื่องจิต จิตนั่นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร คำที่เรียกว่า “จิต” นั่น หนึ่งใน 4 ของใจ ดวงวิญญาณเท่าดวงตาดำข้างใน ดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นชัดอยู่อย่างนี้แล้วก็ ดวงจำ ก็โตไปอีกหน่อย อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงเห็น อยู่ในกลางกาย โตไปอีกหน่อย ดวงเห็นอยู่ข้างนอก มันซ้อนกันอยู่

    ดวงเห็นอยู่ข้างนอก ดวงจำอยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้อยู่ข้างในดวงคิด

    ดวงรู้ เท่าตาดำข้างใน นั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างใน เขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ

    เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นเขาเรียกว่า ดวงจิต หรือ ดวงคิด

    โตออกไปกว่านั้น โตออกไปกว่าดวงจิต เท่าดวงตานั่นแหละ นั่นเขาเรียกว่า ดวงใจ หรือ ดวงจำ

    โตกว่านั้นอีกหน่อย เท่ากระบอกตานั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงเห็น ดวงเห็นนั้นคือ ดวงกายทีเดียว 4 ดวงนั้นมีเท่านี้แหละ

    ดวงกาย นั่นแหละ เป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลาง อยู่ศูนย์กลางกำเนิดดวงกายนั้น อ้ายดวงใจนั่นแหละเป็นที่ตั้งของจำ ธาตุจำอยู่ศูนย์กลางดวงใจนั่นแหละ อ้ายดวงจิตนั่นแหละเป็นที่ตั้งของคิด ธาตุคิดอยู่ศูนย์กลางจิตนั่นแหละ อ้ายดวงวิญญาณเป็นที่ตั้งของรู้ ธาตุรู้อยู่ศูนย์กลางดวงวิญญาณนั่นแหละ ธาตุเห็น จำ คิด รู้ 4 ประการนั้น ธาตุเห็นเป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุจำเป็นที่อยู่ของจำ ธาตุคิดเป็นที่อยู่ของคิด ธาตุรู้เป็นที่อยู่ของรู้ เห็น จำ คิด รู้ 4 ประการ ยกแพลบเดียวโน้นไปนครศรีธรรมราช ไปแล้ว เห็นจำคิดรู้ไปแล้ว ยกไปอย่างนั้นแหละไปได้ ไปได้ ไปเสียลิบเลย ไปเสียไม่บอกใครทีเดียว ไปอยู่เสียที่นครศรีธรรมราชโน้น ถ้าว่าคนเขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช ไปเห็นเอากายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว อ้ายคนนี้ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนั้น แต่งเนื้อแต่งตัวเป็นอย่างนั้น เราคิดว่าเราส่งใจไปนี่นะ ส่งไปนครศรีธรรมราช อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช เห็นทีเดียว เขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ที่นี้แล้ว เราก็ยกเห็น จำ คิด รู้ ไปนี่ ไม่ได้ไปทั้งตัว นั่นแหละกายละเอียดไปแล้ว ไปยุ่งอยู่โน้นแล้ว ดูก็ได้ ลองไปดูก็ได้ พวกมีธรรมกายเขามี เขาเห็นทีเดียว อ้ายนี้มายุ่งอยู่นี่แล้ว จำหน้าจำตาจำตัวได้ เอ! ก็แปลกจริงนะ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย พระพุทธศาสนาเป็นของลึกซึ้งอยู่ แต่ว่าจะส่งใจไปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามเถอะ ไปได้อย่างนี้แหละ 4 อย่างไปได้อย่างนี้ คือ เห็น จำ คิด รู้ มันหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็นกายละเอียด มันแยกกันไม่ได้ แยกไม่ได้เด็ดขาดเชียว เป็นตัวเป็นตัวตายอยู่ เหมือนกายมนุษย์นี่เราจะเอาแยกเป็นหัวใจเสีย จากหัวใจเสีย หัวใจแยกจากดวงจิตเสีย จิตแยกจากดวงวิญญาณเสียไม่ได้ ถ้าแยกไม่เป็นเลย แยกตายหมด ถ้าแยกเวลาใด มนุษย์ก็ตายเวลานั้น ถ้าไม่แยกก็เป็นอย่างนี้ เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่างนี้แยกไม่ได้ แยกก็ตายเหมือนกัน แยกเข้าอ้ายกายละเอียดนั้นตาย แยกหัวใจออกไป ดวงจำ ดวงเห็น ตาย แยกไม่ได้ หากว่ากายทิพย์ก็เหมือนกัน แยกไม่ได้ มันเป็นตัวของมันอยู่อย่างนั้นแหละ เอาแต่ตัว กายมนุษย์ละเอียด มันก็ละเอียดพอแล้ว พอเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็ยิ่งละเอียดไปกว่านั้นอีก ละเอียดพอแล้วหรือ พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก

    นี่ถ้าว่าทำธรรมกายเป็นละก้อ มันฉลาดกว่ามนุษย์หลายสิบเท่าเชียวนะ นี่พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็ฉลาดกว่าเท่าหนึ่งแล้ว สูงกว่าเท่าหนึ่งแล้ว เข้าถึงกายทิพย์ก็ 2 เท่าแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็ 3 เท่าแล้ว กายรูปพรหม 4 เท่า กายรูปพรหมละเอียด 5 เท่า กายอรูปพรหมหกเท่า กายอรูปพรหมละเอียดเจ็ดเท่า เข้าถึงกายธรรมและกายธรรมละเอียด 8-9 เท่าเข้าไปแล้ว มันมีความฉลาดกว่ากันอย่างนี้นะ ให้รู้จักว่าของสูงของต่ำอย่างนี้ เมื่อรู้จักอย่างนี้แล้วก้อ วันนี้ที่จะแสดง จิต ตำราท่านวางไว้แค่จิต เอาดวงจิตนี้เท่านั้น ดวงเห็นก็ไม่ได้เอามาพูด ดวงจำไม่ได้มาพูด ดวงรู้ไม่ได้มาพูด มาพูดแต่ดวงจิตดวงเดียว ที่เราแปลจิต ถ้าเราเอามาใส่ปนกันกับเรื่องจิตก็ป่นปี้หมด เพราะจิตมีหน้าที่คิดอย่างเดียวเท่านั้นแหละ ดวงรู้ก็มีหน้าที่รู้อย่างเดียว ไม่มีหน้าที่คิด ดวงจิตก็มีหน้าที่คิดอย่างเดียว ดวงจำก็มีหน้าที่จำอย่างเดียว ดวงเห็นก็มีหน้าที่เห็นอย่างเดียว จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้ แต่ว่า ถ้าไม่รู้หลักความจริงแน่นอนอย่างนี้ละก็ ท่านก็แปลเอาดวงจิตไปรวมเข้ากับรู้เสียว่า รู้ก็คือจิตนั่นแหละ วิจิตฺตารมฺมณํ ดวงจิตวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ นี่วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ อย่างนี้ ดวงจิตนั่นอีกนัยหนึ่ง อารมฺมณํ วิชานาตีติ จิตฺตํ จิตรู้ซึ่งอารมณ์ จิตรู้เสียอีกแล้ว เอาละซี เอาวิญญาณไปไว้ที่ไหนแล้ว ไม่พูดดวงวิญญาณเสียอีกแล้ว พูดเป็นรู้เสียแล้ว

    เพราะฉะนั้น คำว่า จิต นี่แหละ เป็นดวงใสเท่าดวงตาดำข้างนอก ใสเกินใส ปกติมโน ใจเป็นปกติ คือ ภวังคจิต จิตที่เป็นภวังคจิตน่ะ ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใส ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใสนะ จิตที่ใสนั่นแหละ เมื่อระคนด้วยราคะเหมือนยังกับน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว มันก็ปนเป็นนะซี นี่เป็นอย่างนั้นนา เมื่อจิตระคนด้วยราคะเหมือนน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว จิตระคนด้วยโทสะเล่า เหมือนยังกับน้ำเขียวน้ำดำเข้าไปปน น้ำเขียวเข้าไปปนระคนเสียแล้ว จิตระคนด้วยโมหะเหมือนน้ำตมเข้าไประคนเสียแล้ว ไอ้จิตใสนะมันก็ลางไป ก็รู้นะซี

    สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยราคะ จิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จิตหดหู่ที่ใสน่ะ หดหู่ไป ผู้สร้างพอรู้ว่าผู้สร้างเป็นอติวิสัย ไม่คงที่เสียแล้ว ผู้สร้างก็รู้ว่าผู้สร้าง จิตประกอบด้วยกุศลที่ระคนด้วยญาณ เป็นมหัคคตจิต จิตไม่ประกอบด้วยกุศลก็เห็น จิตประกอบด้วยกุศลก็เห็นชัดๆ ดังนี้ สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่นใสมั่นดิ่งลงไปก็เห็นชัดๆ ดังนี้ รู้ชัดๆ อย่างนี้ จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตพ้น ใสพ้นจากเครื่องกิเลส ก็รู้ว่าพ้น ไม่พ้นก็รู้ว่าไม่พ้น เห็นชัดๆ อย่างนี้ เมื่อเห็น ชัดเข้าดังนี้ละก็ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ภายในน่ะคือจิตกายละเอียดเห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตเป็นภายนอกนี้ จิตของกายมนุษย์ เห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิต ทั้งภายในภายนอก เห็นเป็นรูปจิต เป็นจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นทั้ง 2 ทีเดียว เห็นทั้งภายในและภายนอก เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความเสื่อมไป ความเกิดขึ้นของจิต เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความดับไปของจิต คือความดับไปในจิต เมื่อเห็นเนืองๆ เป็นธรรมดา ทั้งเกิดขึ้นทั้งความดับไป เมื่อเห็นชัดดังนี้ละก็ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอเข้าไปปรากฏว่าจิตมีอยู่ เห็นจิตแล้ว เมื่อจิตมีสติของเธอ ปรากฏว่าจิตมีอยู่ เพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยความระลึก อันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัยไม่ได้เลย น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ถือมั่นอะไรเลยในโลก รู้ว่าปล่อยวางแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ติด ไม่แตะ ไม่อะไรแล้ว ให้รู้ชัดๆ เห็นชัดๆ อย่างนี้ อย่างนี้แหละเรียกว่าภิกษุทั้งหลาย เห็นในจิต เนืองๆ อยู่ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เพราะได้ยินเสียงระฆังหง่างๆ อยู่แล้ว เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อธิบายอ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพได้ชี้แจงแสดงมาตามสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
    อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
    ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
    ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
    ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้
    หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
    อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
    เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
    ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
    เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
    ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
    พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
    อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
    พระอนาคามี ๑ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า
    สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ
    บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
    ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว
    แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต




    ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ
    จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...