สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    * รู้ด้วย "ญาณ" นั้นน่ะ
    รู้ได้อย่างไร ?
    รู้ด้วย "ญาณ"
    รู้ว่า กายมนุษย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด
    เป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
    เป็น "อนิจจัง" เป็นไฉน ?
    ไม่คงทนอยู่ที่ เปลี่ยนแปรผันไป
    เป็น "ทุกข์" นั้นเป็นไฉน ?
    ถึงซึ่งความลำบาก ไม่สบาย
    เบญจขันธ์ทั้งห้า มีอยู่ตราบใด
    ไม่มีความสบาย มีเย็น มีร้อน เป็นต้น
    เดือดร้อนอยู่เสมอด้วยความเบียดเบียน ๖ อย่างนี้
    เย็น ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ
    ไม่มีสุข เบียดเบียนอยู่เสมอ
    รู้ว่าเบญจขันธ์ทั้งห้า เป็นทุกข์
    เราจะบังคับได้ไหมล่ะ ?
    ให้เป็นสุข ไม่ให้เป็นทุกข์
    บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร
    ที่ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครนั้น
    เรียกว่า ไม่ใช่ตัว
    เรียกว่า "อนัตตา"
    เป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" อยู่เช่นนี้
    รู้ด้วย "ญาณ"
    เห็นด้วยตา "ธรรมกาย"




    * พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    ** จากพระธรรมเทศนาเรื่อง :
    ประพฤติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่นที่ 23
    ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม - 15 เมษายน 2559
    "ครั้งหนึ่งในชีวิต บวชอุทิศแทนคุณบิดา - มารดา"
    หลักการและเหตุผล
    "เยาวชน" เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ การสร้างเยาวชนให้เป็นผู้ที่เพียบพร้อม ด้วยความรู้คู่คุณธรรม อาจกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานในสังคมไทย คือ การบรรพชาอุปสมบท เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม อันเป็นรูปแบบของการฝึกฝนอบรมและควบคุมตน พร้อมทั้งขจัดขัดเกลากิเลสในใจตน เพื่อให้เป็นผู้มีกาย วาจา ที่เรียบร้อย และจิตใจที่ดีงาม ตามแนวทางคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถนำหลักธรรมที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนปฏิบัติด้วยดีนั้น ไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตสืบต่อไป
    คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
    1.เป็นชาย อายุระหว่าง 10-19 ปี
    2.มีความประพฤติดี มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติ และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของวัดได้
    3.มีสุขภาพแข็งแรง และไม่ติดสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ เป็นต้น
    4.ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
    สิ่งที่ต้องเตรียมมา
    1.รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ไม่เกิน 6 เดือน)
    2.เฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ให้มีเอกสารจากทางแพทย์หรือจากสถาบันศึกษารับรองมาด้วย
    3.เสื้อผ้าชุดขาว 2 ชุด หรือชุดนักเรียน/นักศึกษา (เสื้อขาว-ผ้านุ่งสีขาว สำหรับใช้ในเฉพาะวันบวช ทางวัดได้เตรียมไว้ให้แล้ว ไม่ต้องนำมาด้วย)
    4.ของใช้ส่วนตัว เช่น ไฟฉาย, ยาประจำตัว เป็นต้น
    กำหนดการปี 2559
    30 มีนาคม รับสมัครและมอบตัวอยู่วัด ปฐมนิเทศ
    2 เมษายน ปลงผม
    3 เมษายน พิธีบรรพชา
    4 -15 เมษายน อยู่ปฏิบัติธรรม
    15 เมษายน พิธีลาสิกขา



    ติดต่อสอบถามได้ที่
    ประชาสัมพันธ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130
    โทร.090-5955162, 090-595-5164





    [​IMG]



    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    บุญจากการได้ธรรมกาย มากไม่มีอะไรเปรียบเทียบได้ สร้างวัดเป็น 100 วัดก็เทียบไม่ได้ เพราะมันเป็นการสร้างวัตถุ ไม่ทำให้หลุดพ้น
    ในงานมาฆบูชาหรือวิสาขบูชา หลวงพ่อจะเปิดให้คนดู ให้เห็นพระพุทธเจ้า คนที่ไม่เชื่อจะได้เห็นเป็นส่วนใหญ่ มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง ภรรยาเห็นธรรมะสว่างไสว กลางวงไพ่ ทิ้งไพ่เลย ไม่เล่นอีกแล้ว สามีไม่เชื่อ อยู่มาวันหนึ่งสามีมาเวียนเทียนที่วัดปากน้ำ เขามองไปบนท้องฟ้า เห็นพระพุทธเจ้า องค์ชัดใสสว่าง เขาก้มลงกราบ น้ำตาไหลเลย เดี๋ยวนี้ศรัทธามาก ยังมีชีวิตอยู่
    ตอนหลวงพ่อท่านมรณะภาพ ท่านให้เก็บศพของท่านไว้ช่วยคนได้ ท่านต้องการให้ทุกคนไปนิพพาน
    หลังจากท่านสิ้น ก็มีการแยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง บางคนก็ไม่กลับ ก่อนท่านจะสิ้นได้สั่งเรื่องธรรมะไว้ว่า ให้ทำวิชชาให้ตลอดอย่าทิ้ง ก็ได้รักษามโนปณิธานเอาไว้ ปัจจุบันก็ยังคงทำกันอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลงทำตามที่หลวงพ่อสั่ง ใช้วิชชาเผยแผ่ธรรม ช่วยทุกเรื่องทั้งเจ็บไข้ได้ป่วยบ้านเมือง อยากให้ทุกคนได้เห็นธรรมะเหมือนเรา แล้วเข้าใจให้เหมือนกัน ไม่อยากปิดบังใครเลย การเข้าถึงธรรมะ ถ้าใจไม่สะอาดพอก็เข้ายาก ต้องปล่อยวาง ปล่อยให้ใจมันว่าง ความคิดทุกสิ่งทุกอย่าง คิดดีคิดชั่ว ต้องไม่คิดทั้งนั้น ปล่อยวางจนใจว่าง ใสสว่าง คนเราเข้าถึงธรรมกายได้ทั้งนั้น ได้ทุกชาติทุกภาษา ถ้าไม่ปฏิเสธ คนต่างประเทศก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรมกายคือมนุษยชาติคุยกันด้วยข้างใน สื่อกันด้วยพระธรรม ไม่ใช่ภาษาพูด มารคือความชั่ว มารจะแกล้งตลอด มารจะไม่อยากให้ทำความดีให้ขี้เกียจ ใส่กิเลสให้ตัวเรา
    สิ่งที่หลวงพ่อสอน ท่านบอกวิธีแล้วเราต้องทำเอง ใครก็ไม่สามารถช่วยเราได้นอกจากเรา เหมือนกับเราจะจมน้ำ ถ้าไม่ตะเกียกตะกายเราก็จม หลวงพ่อจะบอกวิธีที่พ้นจากการจมน้ำ แต่เราต้องทำด้วยตัวเอง


    (เรื่องเล่าโดย แม่ชีรัมภา โพธิ์คำฉาย บุคคลยุคต้นวิชชาเล่ม1)
    ปัจจุบันเป็นหัวหน้าแม่ชีที่เจริญวิชชาชั้นสูง โรงงานทำวิชชาฯ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ



    [​IMG]



    เครดิต https://www.facebook.com/photo.php?...689.1073741889.100000590302892&type=3&theater
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    <object classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0" width="1" height="1"><param name="scale" value="noscale" /><param name="allowFullScreen" value="true" /><param name="allowScriptAccess" value="always" /><param name="allowNetworking" value="all" /><param name="bgcolor" value="#777777" /><param name="movie" value="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" /><param name="flashVars" value="&file=http%3A%2F%2Fwww.mongkoldhamma.org%2Fvideos.php%3Fvid%3D7176abf21&type=video&config=http%3A%2F%2Fwww.mongkoldhamma.org%2Fjwembed.xml" /><embed src="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" width="1" height="1" scale="noscale" bgcolor="777777" type="application/x-shockwave-flash" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="always" wmode="window" flashvars="&file=http%3A%2F%2Fwww.mongkoldhamma.org%2Fvideos.php%3Fvid%3D7176abf21&type=video&config=http%3A%2F%2Fwww.mongkoldhamma.org%2Fjwembed.xml"></embed></object><p><a href="http://www.mongkoldhamma.org/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%90-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a3-video_7176abf21.html" target="_blank">พระราชญาณวิสิฐ - หลักธรรมปฏิบัติ - การบำเพ็ญบารมีของพระมหาโพธิสัตว์</a></p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มีนาคม 2016
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    เมื่อถึง "ธรรมกาย" แล้ว
    ตรงนี้แหละ !
    ผู้ปฏิบัติพึงเจริญ “ฌานสมาบัติ”
    เพื่อพิจารณา “อริยสัจ”
    ในกายมนุษย์, ทิพย์, พรหม, อรูปพรหม
    ... ให้เห็นตามที่เป็นจริง
    ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง ...
    การพิจารณาสภาวะของ “สังขารธรรม”
    ให้รู้แจ้งแทงตลอดใน “พระไตรลักษณ์”
    แล้วก็ “ทำนิโรธ ดับสมุทัย”
    ปหานอกุศลจิตของ กายในภพสาม
    เป็น “ธรรมกาย” ที่บริสุทธิ์
    ทับทวีต่อไปจนสุดละเอียด ฯลฯ
    แล้วก็จะได้เห็น “วิสังขาร” คือ “พระนิพพาน”
    ให้สามารถ "เจริญปัญญา"
    ได้จากการที่ "ทั้งรู้" และ "ทั้งเห็น"



    * หลวงป๋า
    (พระเทพญาณมงคล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี




    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    สลัดตนออกจากทุกข์ทั้งปวง ๑/๒ : https://www.youtube.com/watch?v=AR5TakXTHMw

    สลัดตนออกจากทุกข์ทั้งปวง ๒/๒ : https://www.youtube.com/watch?v=p_RCzIJs5Ik

    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ขอบคุณหนังสือ "ทางบริสุทธิ์" คติธรรมโดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ หน้า ๕





    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]



    การเห็นนิมิต
    มิได้หมายความว่า ... ติดนิมิต
    หากแต่เป็นเพียงอาศัย
    การกำหนด "บริกรรมนิมิต" ขึ้นเพื่อเจริญสมาธิ
    จึงพัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็น
    "อุคคหนิมิต" และ "ปฏิภาคนิมิต"
    ... ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น
    และเป็นความจำเป็นที่จะต้องน้อมนำเอา "นิมิต"
    คือ สิ่งที่จะนำมาพิจารณาให้เกิด "ปัญญา"
    รู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติ ตามที่เป็นจริง
    ด้วยเหตุนี้ใน "สติปัฏฐานสูตร" จึงอธิบาย
    - กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ว่าคือ การมีสติสัมปชัญญะพิจารณา
    - เห็นกายในกาย
    - เห็นเวทนาในเวทนา
    - เห็นจิตในจิต
    และ เห็นธรรมในธรรม
    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี
    สามารถ "เจริญวิชชา"
    และมี "อภิญญา" เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์
    ให้สามารถรู้เห็น ... สิ่งที่ละเอียดประณีต
    หรือลี้ลับห่างไกลได้กว่าอายตนะของกายเนื้อ
    อย่างเช่น ตา หู ของกายเนื้อ
    จึงสามารถ "เห็น" สัตว์ในภูมิต่างๆที่ละเอียด
    อย่างเช่น นรก สวรรค์
    และแม้แต่เห็น "อายตนะนิพพาน" นั้น
    ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน
    และก็เป็น "การเห็น ... ธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว"
    เหมือนกับตาเนื้อ ... เห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง
    ก็เหมือนกับเราผ่านไปทางไหน
    ก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง ผู้คน
    หรือสัตว์ทั้งหลาย ตามปกติธรรมดา
    แม้จะเจตนาที่จะพิจารณาดู
    ความเป็นไปในอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น
    ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
    เพื่อให้เกิด "ปัญญา"
    จากการที่ได้ "ทั้งรู้ และ ทั้งเห็น"
    เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์
    จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
    ให้ "รู้แจ้งเห็นจริง" ว่า ...
    "นรก, สวรรค์, นิพพาน" นั้นมีจริงหรือเปล่า
    ถ้ามี ... มีอย่างไร ?
    มีความเป็นไปใน "นรก, สวรรค์"
    ตลอดทั้ง "อายตนะนิพพาน" อย่างไร
    ด้วยผลบุญและผลบาปอะไร
    จึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ในนรกหรือสวรรค์
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    การรู้จักความเป็นไปใน "นิพพาน" นั้น
    เป็น "ยอดของความรู้"
    เป็น "ยอดของปัญญา" ทีเดียว
    * พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    สนทนาธรรม เรื่อง สติปัฏฐาน 4 : https://www.youtube.com/watch?v=X1QatTpLZD4



    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ขอบคุณหนังสือ "๑๐๘ มงคลธรรม ๓๕ " คติธรรมโดย พระเทพญาณมงคล
    เจตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) (บาลี: cetasika; สันสกฤต: caitasika) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ






    [​IMG]
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว

    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น

    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชากับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม )
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ





    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]



    สนทนาธรรม เรื่อง กฏแห่งกรรม : https://www.youtube.com/watch?v=xf18xN7-iHg



    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ขอบคุณหนังสือ "ความสุข" คติธรรมโดย พระเทพญาณมงคล หน้า ๙๕
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]


    [​IMG]





    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG][​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    เจริญสมาบัติ(รูปฌาณ4) พิจารณาอริยสัจ4 เข้ามรรคผล

    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด

    และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป




    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด

    เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก

    เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด


    โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน

    แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน)

    ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3

    ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียดปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น



    1.ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ
    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก


    2.แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ


    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสังโยชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา

    3.แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา



    4.แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้น เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป



    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสังโยชน์พินาศไปในพริบตา


    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    เห็นนิมิตนอกตัว กับ เห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันอย่างไร ?

    
    เห็นนิมิตนอกตัว กับ เห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันอย่างไร ?
    -----------------------------------------------------

    ตอบ:


    เห็นนิมิตนอกตัวกับเห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันมากสำหรับผลการปฏิบัติ ยกตัวอย่างให้ฟัง

    แม้การปฏิบัติสายพุทโธ ก็ใช้นิมิตในตัว
    หลวงปู่มั่นท่านนั่งเห็นนิมิตเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสแจ่มในเบื้องต้น ท่านเห็นอยู่ข้างนอก ท่านก็ตามนิมิตไปเรื่อย จะเห็นอดีตก็ได้ เห็นอนาคตก็ได้ บางทีก็แม่น บางทีก็ถูก บางทีก็ผิด ถูกค่อนข้างมากเหมือนกัน ไปๆ ก็เห็นอดีตของตนเองก็ได้ หลวงปู่บอกว่า เอ ! เห็นอย่างนี้อยู่ตั้ง 3-4 เดือน ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเรื่องอะไรกันนี่ สรุปแล้วหลวงปู่มั่นก็ทราบว่า เห็นนิมิตนอกตัว ถูกหลอกได้โดยง่าย และมิได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน 4 หลวงปู่มั่นจึงเพ่งนิมิตเข้าไปในตัว ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” กระผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง ท่านก็สอนศิษยานุศิษย์ ถ้าเห็นนิมิตนอกตัว ให้พิจารณาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าไปตามนิมิตนั้น ตามไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีการกำจัดกิเลสสักที แต่นิมิตในตัว (กระผมได้ในเห็นประวัติของท่าน ซึ่งหลายท่าน คงได้อ่านประวัติแล้ว) ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” มีชาวป่าชาวเขาที่ท่านได้เคยไปพักห่างจากหมู่บ้านพอประมาณ ท่านเดินจงกรม ดูดวงใส ชาวป่าชาวเขาสังเกต เอ ท่านดูอะไรหนอ เลยมาถามท่าน “ตุ๊เจ้า ดูอันหยัง เดินหาอันหยัง” ท่านบอกว่า “เดินหาดวงพุทโธ” ชาวเขาถามท่านว่าตัวเขาอยากจะช่วยตุ๊เจ้าหาบ้างได้ไหม ท่านบอก “ได้ซิ หาเถิด ดวงพุทโธนี้พระพุทธเจ้าประทานมาให้ แต่บางทีมันก็หาย ต้องเดินหา” อุบายของท่านลึก แต่ว่าหาได้นะ หาได้ก็เป็นของตัวเอง คนป่าคนเขาก็หา ลองทำดูว่าทำอย่างไร ท่านก็ว่าพุทโธ สอนไป พวกเจ้าเหล่านั้น ไปเดินก็หาพบจริงๆ บางคนพบแล้วถึงธรรมกาย ในประวัติหลวงพ่อบอกว่าเจ้านี่ถึงธรรมกาย ท่านเล่า อยู่ในประวัติของท่าน ที่กระผมกล่าวนี้ เป็นเรื่องย่อ

    แม้ที่ปฏิบัติพุทโธ เขาก็เอานิมิตเข้าใน พิจารณาภายใน ไม่ได้เอาไว้ข้างนอก เหตุเพราะอะไร ? เพราะข้างนอกเป็นนิมิตหลอก เป็นกสิณ เป็นปฏิภาคนิมิต ติดปฏิภาคนิมิต บางครั้งมันจริงบ้าง มันเพี้ยนบ้าง เพราะเห็นจำคิดรู้มันไม่ได้ซ้อนกัน ฝรั่งเขาเรียก โฟกัสซ้อนกัน เหมือนเราปรับกล้องถ่ายรูป เหมือนแว่นแก้ว หรือแว่นสายตา จะปรับโฟกัสหรือจุดรวมแสง คล้ายกันอย่างนั้น ไม่ได้มีโอกาสปรับอย่างนั้น เพราะไม่ได้หยุด ณ ภายใน ไม่ได้หยุด ณ ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ซึ่งเขาตั้งอยู่กลางของกลางกันและกันตามลำดับตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม มันแตกต่างกันอย่างนี้ จึงไม่มีสภาวะจะไปพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม กิเลสก็ไม่หมด และการเห็นนิมิตภายนอกกายด้วยความเห็น (ด้วยใจ) ความจำ ความคิด ความรู้ บางครั้งก็เที่ยง บางครั้งก็เล่ห์ คือไม่ตรงตามที่เป็นจริง เพราะถูกภาคมารเขาสอดละเอียดให้เห็นนิมิตหลอกได้ง่าย

    เพราะฉะนั้น ให้ไปถามบูรพาจารย์ของเราที่ดีๆ ประเสริฐๆ ท่านต่างเพ่งไปข้างในหมดทั้งนั้น จึงจะถึงนิพพาน เพราะที่นั่นจะสามารถพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายในแบบเบื้องต้น คือ เอาปัจจัยในตัวเรา กายมนุษย์นี้แหละ เป็นปัจจัยในการน้อมนำกาย เวทนา จิต ธรรมของคนอื่นมาเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องพิจารณา ณ ภายนอก

    แต่ถ้าทำละเอียดไปๆ ก็เหมือนอย่างวิธีปฏิบัติของเรา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน

    แต่การจะเข้าถึงกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ต้องเหมือนขึ้นบันได ขึ้นบันไดขั้นที่ 1 เมื่อขึ้นไปยืนแล้ว เรายืนบนชั้นที่ 1 แล้วจึงก้าวขึ้นชั้นที่ 2 เอาชั้นที่ 1 เป็นฐาน จึงก้าวขึ้นชั้นที่ 2 ยืนอยู่บนชั้นที่ 2 เรียบร้อยมั่นคงแล้ว เอาชั้นที่ 2 เป็นฐาน ก้าวขึ้นสู่ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 ตามลำดับ ดังนี้ ใจก็เหมือนกัน ที่จะสะอาดบริสุทธิ์ ต้องอาศัยฐานที่ตั้ง ฐานในการพิจารณา ฐานในการกำจัดกิเลสเป็นชั้นๆ ไป กิเลสของเรา มีตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียด

    กิเลสหยาบ มี อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หนาเตอะ อยู่ในกายมนุษย์หยาบ
    กิเลสละเอียดต่อไป โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายทิพย์
    ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายรูปพรหม นี้ละเอียดไป
    ปฏิฆะ กามราคะ อวิชชา นั่นกิเลสละเอียดค้างอยู่ในใจของกายอรูปพรหม

    แต่ว่ากายหยาบลงมามีกิเลสทั้งหมดที่ละเอียดๆ ไปก็กิเลสที่เหลือๆ บางลงไปๆ จากกิเลสหยาบไปเป็นกิเลสละเอียดๆๆๆ อยู่ที่ไหน ? อยู่ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ นั่นเอง แต่เมื่อสุดละเอียดของกายรูปพรหม อรูปพรหม พ้นจากอรูปภพ นั่นเป็นธาตุธรรมบริสุทธิ์ที่ พ้นโลก คือ ธรรมกาย เพราะฉะนั้น จะเข้าถึงธรรมกาย เข้าถึงพระนิพพาน ต้องปฏิบัติภาวนาธรรม ให้ทั้งรู้ ทั้งเห็น และ ทั้งเป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ชำระกิเลสเป็นชั้นๆ ผ่านกาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายในละเอียดไปสุดละเอียดเป็นชั้นๆ ไป

    การจะไปรู้เห็นอย่างนั้น ใจจะต้องหยุดอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จึงไปพิจารณาเห็นอยู่ตรงนั้น คนไม่ได้ปฏิบัติก็ไม่รู้ เลยเหมาเอาว่าการปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายติดนิมิต นั่นเขาไม่รู้ว่า เมื่อเอาใจเข้าใน หยุดนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมแล้ว เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไปจนสุดละเอียด มันติดนิมิตเดิมที่ไหน ? คนพูดไม่รู้ พูดตำหนิเขาอย่างง่ายๆ นั่น ตัวเองไม่รู้ตัว เพราะไม่รู้ว่านิมิตเป็นอย่างไร

    นิมิตนั้นเรากำหนดขึ้นเพื่อรวมใจ เพราะสายตาเนื้อมองไม่เห็นว่าใจมีรูปร่างเป็นอย่างไร เพราะใจไม่มีรูปร่าง แต่ธาตุละเอียดเขามี เห็นได้ด้วยตาใน ตาเนื้อมองเห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องอาศัยอุบายวิธีรวมธรรมชาติของใจ 4 อย่าง คือ ความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มาหยุดข้างใน ก็ต้องให้นึกเห็นนิมิตข้างในไว้ นึกให้เห็นเครื่องหมายหรือนิมิต “นิมิต” แปลได้หลายอย่าง ความฝันก็ได้ สิ่งที่เห็นอย่างอื่น เรียกนิมิตก็ได้ นิมิตนึกให้เห็นเครื่องหมายหรือนิมิตด้วยใจ เรียกกำหนด "บริกรรมนิมิต" เป็นเครื่องหมายที่นึกเห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามาอยู่ในองค์บริกรรมนิมิต เมื่อใจค่อยๆ มาหยุดนิ่งแล้ว เห็นสิ่งที่เราเอามาเป็นเครื่องหมายนั้นใส แต่เห็นเดี๋ยวเดียวก็หาย เห็นได้ชั่วคราว เรียก อุคคหนิมิต

    ถ้าว่าใจแค่นึกเห็นได้บริกรรมนิมิต คือกำหนดนิมิตได้นั้น เป็นสมาธิอยู่ในระดับขณิกสมาธิ คือนิดหน่อย แต่พอเอาเกศา (เส้นผม) มาเพ่ง คือนึกให้เห็นด้วยใจ และบริกรรมภาวนา คือนึกท่องในใจว่า “เกศาๆๆ” จนกระทั่งเห็นเกศาใส เรียกว่าพอสามารถถือเอา “อุคคหนิมิต” ได้ นี้เป็นสมาธิในขั้น “อุปจารสมาธิ” ขั้นตอนนิมิตอันมีผลในเกิดสมาธิระดับต่างๆ เป็นไปอย่างนี้

    ถ้าจิตนิ่งสนิท เห็นใสแจ่ม ทีนี้เส้นเกศานิดเดียว จะขยายให้เท่าตึกนี้ก็ได้ ย่อลงมาเล็กนิดเดียวก็ได้ ใส อย่างนี้เรียก “ปฏิภาคนิมิต” นิมิตติดตา ลืมตาก็เห็น ยืนก็เห็น เดินก็เห็น หลับตาก็เห็น เรียกว่าได้ปฏิภาคนิมิต นี้เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ

    นิมิตนี้ตั้งแต่นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามา ใจก็ค่อยๆ หยุดเครื่องหมายเดิมที่คิดเห็น มาเป็นเห็นใส จากใสก็เห็นติดตา ติดตาติดใจ เป็นปฏิภาคนิมิต ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น นอนหลับไปแล้วตื่นมาก็เห็นอีก ก็อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น นิมิตเป็นเครื่องช่วยให้ใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงถึงอัปปนาสมาธิ โดยมีนิมิตหรือเครื่องหมายเป็นสื่อ ให้รวมใจมาหยุดมานิ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่ง ถ้าเห็นนิมิตอยู่ภายนอก นั้นเป็นปฏิภาคนิมิตล้วนๆ ภายนอกนั้น เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจ มันเล่ห์ได้ เช่นว่า พอใครเห็นนิมิตอยู่ภายนอก จะอธิษฐานเห็นอะไรๆ เดี๋ยวเดียวมันเห็น ใจลำเอียงนิดเดียวก็เห็น ตามที่ใจนึกลำเอียงไว้ก่อนได้ เพราะใจหยุดยังไม่จริง ไม่หยุดนิ่งจริง ความปรุงแต่งจึงยังมีได้ บางทีก็มีมากด้วย

    แต่การนึกให้เห็นด้วยใจในครั้งแรก เป็นอุบายวิธีที่กระทำขึ้น เพื่อรวมใจเข้ามา ตั้งแต่บริกรรมนิมิต นึกให้เห็นด้วยใจ อย่างนี้ไม่ผิด ถูกทีเดียว เป็นวิธีให้ได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ให้ได้สมาธิตั้งแต่ระดับขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ แล้วใจหยุดนิ่งสนิทจริงๆ เมื่อได้ปฏิภาคนิมิต ก็เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน

    คนที่เจริญสมาธินอกศาสนา กระทำสมาธิโดยไม่รู้ที่ตั้งของใจ เพราะเขาไม่รู้มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ไม่รู้วิธีเจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นเอกายนมรรคคือทางสายเอก ว่า ฐานที่ตั้งของใจควรจะอยู่ที่ไหน ก็ต้องอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เอง แต่เขาไม่เคยเห็น ก็เลยไม่รู้ว่าเอกายนมรรคอยู่ตรงไหน รู้แต่เพียงตัวหนังสือ นี่ความแตกต่างจากอ่านหนังสือกับการลงมือปฏิบัติภาวนา มันแตกต่างกันอย่างนี้ ประสบการณ์มันไม่มี จึงต่างกันตรงนี้

    ความจริงการเจริญภาวนาสมาธิมันมีตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณนานมาแล้ว ก่อนพุทธกาลก็มี แต่มันเป็นมิจฉาสมาธิ คือมิได้เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา มิได้เป็นไปเพื่อละกิเลส แต่ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีบุญบารมีจะพัฒนาวิธีปฏิบัติเข้าไปสู่จุดนี้เอง ได้แก่ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สด เป็นต้น ท่านจึงเอานิมิตเข้าไปพิจารณา ณ ภายใน

    หลวงปู่สดหรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านทราบเหตุและผล จึงได้ชี้แจงอธิบายออกมาเลยทีเดียวว่า เมื่อใจไปหยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จิตดวงเดิมตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสก็จะลอยเด่นขึ้นมา จิตนี้เป็น “วิสุทธิจิต” วิสุทธิจิตนี้มิได้เป็นเพราะการอ่านหนังสือแล้ว เรียกวิสุทธิจิต แต่ต้องรู้ต้องเห็น ต้องเป็นที่ใจซึ่งอยู่ท่ามกลางวิสุทธิศีล หรือศีลวิสุทธิ ศีลที่บริสุทธิ์อยู่ที่ใจ เจตนาความคิดอ่านผ่องใสอยู่ นั่นเป็นสีลานุสติ หลวงพ่อท่านเรียก “ศีลเห็น”

    ศีลเห็นเป็นอย่างไร ? ถ้าศีลมัวหมอง เห็นเลย ข้างใน ไม่ได้เรื่อง มัวหมอง ในใจนี่แหละ สีลานุสติ หรือ ศีลวิสุทธิ ตั้งอยู่ในท่ามกลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มนุษย์ละเอียดนี่เอง

    เมื่อใจไปจรดนิ่งอยู่ตรงนั้นเข้า ถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย จิตดวงเดิมตกศูนย์ ดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมา ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดวงใหม่ที่ผ่องใส เพราะฉะนั้น จิตดวงใหม่ ละคือปล่อยนิมิตไปแล้ว ดวงเก่าไปแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจดวงใหม่ จึงปรากฏขึ้นมา จึงไม่ใช่ปฏิภาคนิมิตดวงเดิมแล้ว เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย แล้วเขาก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป ถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดถึงธรรมกาย

    ถ้าจะนับว่า กรณีที่เห็นกาย ในกาย/ธรรมในธรรมนี้ เป็นนิมิต คือสิ่งที่สัมผัสและเห็นได้ เหมือนเรากำลังเห็นซึ่งกันและกัน เห็นอาคารบ้านเรือน เรียกว่านิมิตก็ได้ แต่เป็นการเห็นนิมิตของจริงโดยสมมติ เห็นของสมมติ จะเรียกว่านิมิตก็เรียกไป นิมิตนั่นแหละ สิ่งที่เห็นนั้นมีอยู่จริงในใจเรา ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของเรา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนา ในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบของกายเนื้อไปสุดละเอียด ของกายมนุษย์ ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย

    นิมิตในส่วนที่กล่าวนั้น ของโลกิยะตั้งแต่กายมนุษย์หยาบไปสุดละเอียด ไปถึงกายอรูปพรหม นั่นแหละเป็นของจริงโดยสมมุติ เป็น “บัญญัติ” ที่เราเรียกว่า “อ้อ นี่ตัวตนของเรา” บัญญัติขึ้น ที่แท้จริงไม่ใช่ตัวตนแท้จริง เป็นอนัตตา ตรงนี้แหละเข้าใจให้ดี

    ถ้าพ้นนิมิตที่เรียกว่า ตัวตนโดยสมมุติ หรือว่าของเราโดยสมมุติ พ้นสิ่งนี้ไปแล้ว เป็นกายธรรม เป็น “ธรรมกาย” นั้นเป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมนั้น ไม่ใช่ส่วนนิมิตที่เป็นสมมุติแล้ว เป็นธรรมในธรรมที่ละเอียดไปสุดละเอียดพ้นโลกแล้ว เพราะฉะนั้นให้เข้าใจ คนไม่เข้าใจ ก็บอกว่า “ติดนิมิต ติดธรรมกาย” ถ้าท่านได้ปฏิบัติถึงธรรมกาย เป็นธรรมกายแล้ว ท่านจะรู้ว่า ที่ด่ามา ท่านต้องรีบไปกราบขอโทษให้ทั่วนะ เพราะการปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วมีคุณมหาศาล นับประมาณมิได้ อย่าว่าแต่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายเลย ได้แค่ดวงใสอยู่ตรงศูนย์กลางกาย เห็นใสแจ่มอยู่ก็มีคุณมโหฬารแล้ว คุณค่ามหาศาล นับประมาณมิได้ สามารถจะปฏิบัติให้ถึงมรรค ผล นิพพานแม้ในชาตินี้ก็ได้ในเบื้องต้น ถ้าได้เพียงเห็นดวงใส ไม่ต้องพูดถึงธรรมกายหรอก ถึงอย่างไรก็จะต้องถึงธรรมกายจนได้แหละ เพราะฉะนั้น คนไม่รู้ พูดไปก็บาป เพราะธรรมกาย นั่นไม่ใช่นิมิตแล้ว จริงอยู่เห็นได้ สัมผัสได้ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ มีในนิพพานสูตร

    “อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ...”

    “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ที่ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มีอยู่ นะ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มิได้มีอยู่แล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งได้แล้ว กระทำได้แล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว กระทำไม่ได้แล้ว มีอยู่ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งได้แล้ว กระทำได้แล้ว จึงปรากฏ”

    นั้นเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่เรื่องสมมุติ ไม่ใช่เรื่องบัญญัติแล้ว พ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้น โปรดเข้าใจว่านั่นไม่ได้เรียกว่านิมิต ตรัสเรียกว่า “ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว...”

    ที่สถิตอยู่ของพระนิพพาน (คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว) ที่ดับขันธ์ (คือดับรอบ) เข้าปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สถานที่นั้นพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าอายตนะ พระพุทธดำรัสเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องนิมิตทั้งสิ้น

    นิมิตอีกคำหนึ่งคือ สุบินนิมิต ความฝัน

    สิ่งที่เห็นได้ สัมผัสได้ คือที่ชื่อว่า “นิมิต” ดังที่กล่าวมาแล้วเหล่านี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ส่วนธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้วและพระนิพพาน เป็นปรมัตถธรรม เป็นอสังขตธรรม นั่นเป็นอมตธรรม ชื่อว่าวิสังขาร มีสังขารไปปราศแล้ว หรือพ้นไปจากสังขารแล้ว มิใช่เรื่องนิมิต จึงต้องทำความเข้าใจให้ดีโดยทางปฏิบัติภาวนา

    กล่าวสรุปว่า การเห็นนิมิตนอกตัว อาจจะถูกหลอกได้ง่าย ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ อาจเล่ห์ได้ง่าย เห็นผิดพลาดได้ง่าย เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติภาวนาที่เห็นนอกตัว อย่างเช่น พวกฤๅษีชีไพร หรือแม้แต่พระธิเบต มหายาน ที่นิยมตั้งใจ ให้เห็นอยู่ที่กระหม่อม หรือเห็นที่หน้าผากก็มีโอกาสเห็นผิดจนได้ แต่ถ้าตั้งใจให้เข้ามาภายในตัว โอกาสพิจารณาเห็นถูกยิ่งมากขึ้น แต่ก็ไม่วายถูกปรุงแต่งมากมายหนักหนา ก็มีโอกาสพลาดได้เหมือนกัน รู้ไปไม่ตลอด รู้เรื่องธรรมกาย แต่รู้ไม่ตลอด เคยได้ยินว่าพวกพระธิเบตดั้งเดิมเขารู้ธรรมกายตลอด แต่มาหลังๆ มาชักไม่ตลอด นิมิตติดอยู่ที่หน้าผาก เขาเรียกว่า “ตาที่ 3”

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านมีประสบการณ์ ท่านทราบแน่ชัดเลยว่า นิมิตได้แก่ปฏิภาคนิมิต หรือแม้ตั้งแต่บริกรรมนิมิตก็เถอะ ท่านให้เอาใจเข้ามารวมข้างในแล้ว จิตไม่ปรุงแต่ง เมื่อจิตไม่ปรุงแต่งแล้ว กิเลสก็เบาบาง เมื่อกิเลสเบาบาง ธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ได้แก่ ธาตุละเอียดของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ก็จะซ้อนกันอยู่กลางของกลางกันและกันตามลำดับ เป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างใน ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ความเห็น จำ คิด รู้ ก็เที่ยงขึ้น ไปจนถึงคนที่ปฏิบัติภาวนาให้ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ถึงได้ปฏิภาคนิมิต หยุดนิ่งตรงนั้น จิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ ปล่อยนิมิตเดิมไป จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้น นั้นเป็นธรรมในธรรม และกลางธรรมในธรรม มีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด และยิ่งเมื่อเราเข้าถึงกายละเอียดๆ ที่หนึ่ง ก็ผ่องใส ทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม

    อาศัยใจของกาย เวทนา จิต และธรรม ที่ผ่องใสระดับนั้น เป็นพื้นฐานปฏิบัติให้ผ่องใสยิ่งขึ้นไปอีก หยุดนิ่งกลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปอีก เข้าสู่กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปอีก จนสุดละเอียดก็จะถึงธรรมกาย ทีนี้เหมือนกับแว่นขยายซ้อนกันอยู่ เป็นชั้นๆ โฟกัสตรงกัน เมื่อโฟกัสตรงกันตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม การเห็นอะไรๆ จะแม่นยำ แต่ที่ไม่แม่นยำ ก็คือว่า เคลื่อนศูนย์ เมื่อเคลื่อนศูนย์จิตก็ปรุง หลวงพ่อท่านบอกว่า กลางของกลางนั่นแหละถูกพระแล้ว ใครอยากเข้าถึงพระให้หยุด หยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป แต่ถ้าใครเอาใจออกนอกตัว ก็ถูกถิ่นทำเลของมาร เริ่มตั้งแต่จิตของเราออกไปยึดเกาะอารมณ์ภายนอก แล้วก็ปรุงแต่งอารมณ์นั้นๆ แต่เมื่อใจหยุดนิ่ง มันก็หยุดปรุง นี่ธรรมชาติของใจเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น การเอาใจไปวางไปหยุดไปนิ่ง ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือสองนิ้วมือนั้น ถูกศูนย์กลางกายในกาย เวทนา ในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานเลย เพราะฉะนั้น บางคนนั่งภาวนาๆ ไปจนจิตละเอียดขึ้นวูบหนึ่ง เห็นธรรมกาย เห็นพระนิพพานได้เลยก็มี บางคนนั่งไปเห็นดวงธรรม หยุดในหยุดกลางของหยุด ขยายดวงธรรม เห็นธรรมกายใสสว่าง ไม่ต้องผ่านกายมนุษย์ก็มี ข้อนี้ไม่เป็นประมาณ

    เพราะฉะนั้น จึงขอสรุปไว้เท่านี้ก่อนว่า ถ้าเอาใจออกนอกตัวนั้น เป็นถิ่นทำเลของมาร การเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ จะทำหน้าที่ปรุงแต่งได้มากขึ้น การเห็นอะไรๆ จึงไม่เที่ยงร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วก็มักจะผิดพลาดได้เสมอ จึงต้องให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายที่ใสละเอียดต่อๆ ไปจนสุดละเอียด จิตก็จะหยุดปรุงแต่ง ธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ก็จะซ้อนเป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างในตรงกันหมด ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบถึงสุดละเอียด จนถึงธรรมกาย และเป็นธรรมกาย และถึงพระนิพพาน ให้ได้รู้เห็นทั้งสภาวะของสังขารธรรมและวิสังขารธรรมตามที่เป็นจริง ให้เข้าใจจุดนี้ให้ดี นี้คือผลดีของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายที่ตั้ง “ใจ” ไว้ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    แท้ที่จริง กระบวนการของจิต เมื่อจิตดวงเดิมหยุดนิ่งตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม หยุดนิ่งถูกส่วน ก็จะตกศูนย์จากศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ถ่ายทอดกรรมเดิม ปรุงแต่งเป็นจิตดวงใหม่ (ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย) ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นธรรมชาติเกิดดับๆ อยู่อย่างนี้ นี่แหละได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของกาย เวทนา จิต และธรรมของสัตว์โลก

    เพราะฉะนั้น จึงแนะนำให้เอาใจมาหยุดตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมจริงๆ และเป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือ ใจเปลี่ยนวาระตรงนี้ ปรุงแต่งตรงนี้ หยุดปรุงตรงนี้ เข้าถึงมรรคผลนิพพานก็เข้ากันตรงนี้ เพราะเข้าด้วยใจ และด้วยธาตุธรรมละเอียด มิได้เดินเข้าด้วยกายภายนอก แต่เข้าด้วยใจ ใจที่รับรู้ ทางปริยัติเรียกว่า “วิญญาณ” เป็นแกนกลาง ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร ธรรมชาติอีก 3 อย่างของใจ อยู่ในกลางของกลางซึ่งกันและกันไปจนถึงวิญญาณ รวมเรียกว่า “ใจ”

    ใจนี้ เมื่อถึงอรูปพรหมละเอียด สุดละเอียดแล้วตกศูนย์ นี่แหละ “วิญญาณดับ” นั่นแหละ สุดละเอียดของวิญญาณของกายในภพ 3 จึงปรากฏ “ธรรมกาย” รู้ของธรรมกาย ไม่ใช่วิญญาณ แต่เป็นญาณ นี้แหละ ญาณหยั่งรู้ของธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ดับหยาบไปหาละเอียดจนเป็นธรรมกายที่ละเอียด ทีนี้แม่นยำนักเชียว แต่ถ้าเคลื่อนศูนย์เมื่อไร ก็หายแม่น หรือว่าโอ้อวด อยากจะอวด อยากจะโก้ อยากดัง จิตถูกปรุงด้วยกิเลสก็เคลื่อนจากศูนย์ออกมาจากธรรมกาย โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว พวกที่ธรรมกายมัวหมอง ไม่ก็ดับไปเลย ไม่รู้เท่าทันกระบวนการของจิต ไม่รู้เท่าทันกิเลส จึงบอกกัน ณ บัดนี้ว่า มาปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่มีการพยากรณ์กัน เว้นแต่ครูกับศิษย์ ไม่มีการพยากรณ์ว่า ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ข้างหลังจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครให้มาดูว่า พ่อแม่ไปอยู่ไหนนะ เราไม่พูด ที่วัดนี้ไม่ทำ และบอกต่อๆ กันว่า อย่าทำ เพราะใจท่านเริ่มออกไปถิ่นทำเลของมารแล้ว พอจิตปรุงปุ๊บ เดี๋ยวก็หลงลาภสักการะ เสร็จภาคมารเขาเท่านั้นแหละ ฉะนั้น จงจำไว้ เราปฏิบัติธรรมเพื่อกำจัดกิเลส

    อีกอย่างหนึ่ง โปรดทราบ คือว่า แม้ธรรมกายช่วยอะไรๆ ได้มากพอสมควร แต่ทุกคนต้องช่วยตนเอง มาศึกษามาปฏิบัติให้เป็นเอง ให้พอช่วยตนเองได้ เรื่องธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว จงตั้งใจทำเอง ให้มันเป็นเอง ให้มันเกิดเอง ถ้าจะขอความช่วยเหลือจากครูบาอาจารย์ ขอให้เป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ เพราะกิจสำคัญคือเรื่องกำจัดกิเลส ใครเขามาขอให้ช่วยทำอะไร ท่านจงอย่ารับทำให้ทั่วไป เพราะมารเขาสอดละเอียดให้มีภาระมากๆ เรื่องภายในมิใช่เรื่องธรรมดา ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายทั้งหลาย อย่าเมตตามาก อย่าไปตั้งสำนักรับทำอะไรๆ ถ้ามีเมตตามากเกินอุเบกขา ระวังจะกลายเป็นเมตตุ๊บ คือหล่นตุ๊บ ลงได้ง่ายมาก อย่าอยากดังทางนี้เลยครับ จงปฏิบัติภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสลูกเดียวครับ ให้เขาฝึกปฏิบัติเองครับ เพียงแต่ทำใจให้หยุดให้นิ่ง สัมมาอรหัง ตรงกลางของกลาง ก็ช่วยได้พอสมควรแล้ว ช่วยตัวเองได้มาก ถ้าใจหยุดนิ่งสนิท จนเห็นดวงใสแจ่มละก็ช่วยได้มากเลย แม้โรคภัยไข้เจ็บก็หายได้มากทีเดียว ถ้าทำวิชชาชั้นสูงยิ่งขึ้นไปอีกช่วยได้มากอีก เพราะฉะนั้น จงช่วยตัวเอง และแนะนำผู้อื่นให้ฝึกปฏิบัติให้เข้าถึงธรรม ในธรรม ถึงธรรมกายเอง ก็จะสามารถช่วยตัวเองได้.
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    "หยุด" ต้อง "หยุดให้ถูกที่"
    ถ้า 'ผิดที่' คือ 'ใจออกนอกตัว'
    ไปเห็นนิมิตนอกตัว แล้วตามนิมิตนั้นไป
    จิตก็ 'ปรุงแต่ง' ได้มากขึ้น
    การรู้เห็น ... ก็ไม่ตรง
    ซึ่งอย่าทำ !
    ต้อง "หยุด"
    ให้ตรงกลาง "กำเนิดธาตุธรรมเดิม"
    ถูกธาตุธรรมของฝ่าย "บุญกุศล"
    บาปอกุศล ... ก็ทำอะไรไม่ได้มากขึ้น
    ใจก็ใสสะอาดบริสุทธิ์มากขึ้น


    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี




    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    การนั่งสมาธิ มีอานิสงส์ปัจจุบันอย่างไร ?
    ตอบอย่างง่ายๆ
    ๑. ช่วยกำจัด 'กิเลสนิวรณ์' เครื่องกั้นปัญญา
    ด้วย "สมถะภาวนา" ได้ในเบื้องต้น
    จิตใจก็ผ่องใส
    สามารถเจริญ “อภิญญา”
    แล้วประกอบเป็น “วิชชา”
    คือ น้อมเข้าสู่วิชชา
    มี วิชชา ๓, วิชชา ๘
    และพัฒนาอภิญญาให้เจริญได้
    ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษ
    ให้สามารถทั้ง "เห็นแจ้ง และ รู้แจ้ง"
    ในสภาวะของ “สังขาร” และ “วิสังขารธรรม” ได้
    จึงเจริญปัญญา จากการที่ได้ "ทั้งเห็น ทั้งรู้"
    ชื่อว่า ตรัสรู้ตามธรรมของพระพุทธเจ้า
    นี่เป็น “อานิสงส์” ในปัจจุบัน
    กล่าวย่อเพียงเท่านี้
    เมื่อเห็นอานิสงส์ปัจจุบัน ก็เห็นอานิสงส์อนาคตได้
    เพราะฉะนั้นกล่าวแต่เพียงเท่านี้
    ถ้าจะกล่าว "อานิสงส์ของสมาธิ"
    โดยการเจริญภาวนาวิธีนี้ ... นับประมาณไม่ได้
    เป็นต้นว่า
    ๒. ถ้าใครปฏิบัติถึง "ธรรมกาย" ที่แก่กล้า
    ... เจริญวิชชาชั้นสูง
    ยังจะช่วย “บำบัดทุกข์” และ “บำรุงสุข”
    ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
    และนี้แหละที่ "หลวงพ่อวัดปากน้ำ"
    ท่านได้เคยกล่าวว่า
    “ ธรรมกายคนหนึ่ง ช่วยคนได้ครึ่งเมือง ”




    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,241
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,108
    ค่าพลัง:
    +70,445
    เมื่อเราได้บุญแล้ว เราจะทำอย่างไร ?
    เราจะรักษาบุญอย่างไร ?
    เพราะเราไม่ "เห็น" บุญ
    เราต้องเอาใจไปจรดอยู่ที่
    "ศูนย์กลางดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของเรา
    ทำใจให้หยุด ให้นิ่ง
    บังคับใจให้หยุดให้นิ่งว่า
    "บุญ" ของเรามีอยู่ตรงนี้
    ถ้าพอใจหยุดได้แล้ว และถูกส่วนเข้าแล้ว
    เราจะ "เห็น" ดวงบุญของเรา
    เห็นชัดเจนทีเดียว
    ถ้าเราไปเห็น "ดวงบุญ" เช่นนั้น
    เราจะปลาบปลื้มใจสักเพียงใด
    ย่อมดีอกดีใจเป็นที่สุด
    จะหาเครื่องเปรียบเทียบไม่ได้เลย
    ฉะนั้นจงพยายามอุตส่าห์เอาใจไป "หยุดนิ่ง"
    อยู่ที่ "ศูนย์กลางดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    นึกถึง "บุญ" ที่เราได้กระทำในวันนี้
    อย่าไปติดขัดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเสีย
    ถ้าไปค้าขายติดขัดขึ้น
    ก็ขอให้ "บุญ" ช่วย
    นึกถึงบุญตรง "กลางดวงธรรม" นั้น
    ถ้าว่ามีอุปสรรคเข้ามาแทรกแซงอย่างใดอย่างหนึ่ง
    มีผู้มารุกรานเบียดเบียนประการใด
    ก็ขอให้ "บุญ" ช่วย
    สิ่งอื่นช่วยไม่ได้
    ไม่ต้องไปขอร้องให้ใครมาช่วย
    ให้เอาใจไปหยุดอยู่ "ศูนย์กลาง" ตรงบุญนั่นแหละ
    หยุดอยู่ นิ่งอยู่อย่างนั้น
    "บุญ" เป็นช่วยได้แน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย




    * พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    ** จากพระธรรมเทศนาเรื่อง : ภัตตานุโมทนากถา




    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...