ว่ากันเรื่อง วัดธรรมกาย

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย วิถีคนจร, 14 มกราคม 2011.

  1. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649

    ใครกันที่เชื่อมั่นในตัวเองจนไม่ยอมรับฟังความเห็นของคนอื่น นี่ไม่ใช่เรื่องความเห็น ผมว่ามันเป็นเรื่องของความจริง สิ่งใดจริง สิ่งนั้นย่อมไม่เท็จ


    เอ...ผมคุ้นๆน่ะครับ คุณกัปปะ ไม่ทราบเคยแสดงความเห็นอะไรกับผมหรือเปล่าครับ
     
  2. NuJulie

    NuJulie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +64
    ชอบคุณวงบุญพิเศษจังเลยค่ะ ที่เสนอความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
    ดิฉันตามอ่านบอร์ดที่คุณวงบุญพิเศษเข้ามาเล่นแล้วรู้สึกมีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนามากขึ้นเลยค่ะ

    สุดท้ายนี้ขอให้คุณวงบุญพิเศษสู้ต่อไปโดยใช้หลักเหตุผลเช่นนี้น่ะค่ะ

    เป็นกำลังใจให้ค่ะ

    อย่าสนใจพวกที่เข้ามาว่าคุณวงบุญพิเศษแบบไม่มีเหตุผลเลยค่ะ

    อ่านไปก็ไม่มีประโยชน์
     
  3. pigbuta

    pigbuta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +294
    จริงๆมันก็แล้วแต่จริตคนนะครับ
    การสร้างบุญก็เช่นกัน ทำทานให้คนยากไร้ ตักบาตร หยอดตู้ ช่วยคน รักษาศีลให้ดีที่สุด สวดมนต์นั่งสมาธิ ทำให้เหมาะสมกับอัตภาพของตัวเอง เงินส่วนนึงก็ต้องกันไว้เลี้ยงดูพ่อแม่ครอบครัวเข้าสังคมใช้ชีวิต ตามอัตภาพ

    แต่สำหรับบางคน อาจจะถูกจริตกับการทำบุญอีกแบบ อาจจะต้องมีสิ่งกระตุ้นเตือนเสมอๆว่าต้องทำบุญ นั่งสมาธิ ถึงแม้มันจะดูโอเวอร์ในสายตาหลายๆคน(จริงๆก็รวมถึงผมด้วยนะ) แต่ในแง่ดีก็ดึงคน ให้เข้าวัดห่างไกลอบายมุขได้ ส่วนจะไปถึงสวรรค์หรือนิพพานขั้นไหนนั้นผมไม่ได้มี ญาณทัศนะถึงขนาดนั้นครับเลยไม่กล้าจะวิจารณ์

    สำหรับเบื้องลึกผมก็ไม่ทราบเหมือนกันนะเพราะผมก็มีเพื่อนหลายคนที่เข้าวัดธรรมกาย มีออกมาทั้งแปลกๆ(เช่นจะมีความรู้สึกเหมือนชอบหนีปัญหา สนใจแต่สะสมบุญ ชอบพูดว่าจะไปแล้วนะละทางโลกแล้วเวลาเจอสิ่งไม่พอใจ..พ่อแม่ห้ามก็ไม่ฟัง)และก็ออกมาแบบดีๆก็มี นิสัยดี ร่าเริง ชอบทำบุญ แต่งงานเจอผู้ชายดีมีความสุข ก็เห็นเข้าวัดธรรมกายสม่ำเสมอ

    เลยพิจารณาด้วยตัวเองว่า การทำอะไรที่โอเวอร์เกินไปบางคนคิดเองไม่ได้ว่าความพอดีอยู่ที่ไหน บางทีก็สุดโต่งเกินไปเลยทำให้เกิดปัญหาและภาพพจน์ออกไปแย่ แต่สำหรับคนที่คิดได้ ก็ดึงส่วนที่ดีของธรรมกายออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ

    ผมเลย เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่อง ทางสายกลาง นะครับเพราะทุกอย่างมันก็แค่นั้นจะไปยึดติดอะไรมาก ทำอะไรก็ที่เหมาะสมกับตัวเองไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ผมเลยถูกจริตกับวัดที่มีความ สมถะมากกว่า ไม่ได้จะหนีทุกข์หรือหนีสุข แต่อยู่กับความจริง
     
  4. สามเณร เดช

    สามเณร เดช สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +9
    ก็มีดีอีกกย่างที่ทำแบบนี้ อย่างน้อยพอคนได้เห็น ก็นึกอยากขึ้นสวรรค์แล้วเขาก้จะพยายามทำดี
     
  5. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    ใครจะยึดติดสิ่งใดก้อช่าง
    ใครจะเชื่อสิ่งใดก้อช่าง
    ใครจะหมกมุ่นสิ่งใดก้อช่าง
    ใครจะรับฟังสิ่งใดก้อช่าง
    ใครไม่รับฟังสิ่งใดก้อช่าง
    ใครจะเบียดเบียนใครก้อช่าง
    ใครจะก่อกรรมชั่วก้อช่าง
    ใครจะหลอกลวงคนหมู่มากก้อช่าง
    ใครไม่ยึดคำสอนของพุทธศาสนาก้อช่าง
    ใครจะบิดเบือนคำสอนของพุทธศาสนาก้อช่าง
    ***ตราบใดที่เรายังยึดคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นย่อมหมายถึง เรายังใฝ่ทำตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า***
    อย่างที่กล่าวไว้ ***ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว***
    อย่าไปเกลือกกลั้ว กับคำสอนที่บิดเบือน ประเภทถวายปัจจัยที่เป็น เงิน ทอง ให้มากๆ จะได้สู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือ ไม่ต้องมาเกิดอีก เพราะคำสอนเหล่านี้ ไม่สามารถมีหลักประกันว่า จะเป็นจริงตามที่พูด ทำตามแต่อัตภาพ และไม่จำเป็นต้องถวายปัจจัยกับพระเสมอไป สถานที่ๆเดือดร้อน มีอยู่เยอะ..
     
  6. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
  7. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226

    ปัญหาของวัดพระธรรมกาย
    ส่วนที่กระทบต่อพระธรรมวินัย
    สำนักวัดพระธรรมกาย (วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี และวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ราชบุรี) เผยแพร่คำสอนคลาดเคลื่อนไปจากหลักพระพุทธศาสนาหลายประการ เช่น
    1. สอนว่าพระนิพพานเป็นอัตตา
    2. สอนเรื่องธรรมกายอย่างเป็นภาพนิมิต และให้มีธรรมกายที่เป็นตัวตน เป็นอัตตาของพระพุทธเจ้ามากมายหลายพระองค์ ไปรวมกันอยู่ในอายตนนิพพาน
    3. สอนเรื่องอายตนนิพพาน ให้เข้าใจผิดต่อนิพพานเหมือนเป็นดินแดนที่จะเข้าสมาธิ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ ถึงกับมีพิธีถวายข้าวพระที่จะนำข้าวบูชาไปถวายแด่พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพานนั้น
    คำสอนเหล่านี้ ทางสำนักวัดพระธรรมกายคิดขึ้นใหม่ เป็นของนอกธรรมนอกวินัยของพระพุทธเจ้า แต่แทนที่จะสอนไปตามตรงว่า เป็นลัทธิของครูอาจารย์ (คือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ทางวัดพระธรรมกายกลับพยายามนำเอาคำสอนใหม่ของตน เข้าใส่แทนที่ หลักคำสอนเดิมที่แท้ของพระพุทธศาสนา
    ยิ่งกว่านั้น เพื่อหาทางให้ลัทธิของตนเข้าแทนที่พระธรรมวินัยได้สำเร็จ สำนักวัดพระธรรมกายยังได้เผยแพร่เอกสาร ที่จ้วงจาบพระธรรมวินัย ชักจูงให้คนเข้าใจผิด สับสน หรือแม้แต่ลบหลู่พระไตรปิฎกบาลี ที่เป็นหลัก ของพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น
    -ให้เข้าใจว่าพระไตรปิฎกบาลีบันทึกคำสอนไว้ตกหล่น หรือมีฐานะเป็นเพียงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เชื่อถือหรือใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้
    -ให้นำเอาพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ เช่น พระไตรปิฎกภาษาจีน และคำสอนอื่นๆ ภายนอกมาร่วมวินิจฉัยพระพุทธศาสนาเถรวาท
    -ให้เข้าใจเขวไปว่า หลักการของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องอภิปรัชญา ขึ้นต่อการตีความและความคิดเห็น ตลอดจนการถกเถียงกันทางวิชาการ
    -อ้างนักวิชาการต่างประเทศและการปฏิบัติของตน ดังว่าจะใช้วินิจฉัย หลักพระพุทธศาสนาได้
    ฯลฯ
    อีกสิ่งที่ยกมาอ้าง เช่น คัมภีร์ของมหายาน และทัศนะของนักวิชาการตะวันตก ก็ไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือไม่ก็เลื่อนลอย
    นอกจากนั้น ยังนำคำว่า “บุญ” มาใช้ในลักษณะที่ชักจูงประชาชน ให้วนเวียนจมอยู่กับการบริจาคทรัพย์ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ชนิดที่ส่งเสริมความยึดติด ถือมั่นในตัวตนและในตัวบุคคล อันอาจกลายเป็นแนวโน้มที่บั่นรอนสังคมไทยในระยะยาว พร้อมทั้งทำพระธรรมวินัยให้เลือนลางไปด้วย
    พฤติการณ์ของสำนักวัดพระธรรมกายอย่างนี้ เป็นการจาบจ้วง ลบหลู่ ย่ำยีพระธรรมวินัย สร้างความสับสนไขว้เขวและความหลงผิดแก่ประชาชน
    ข้อความต่อไปนี้ ได้เขียนไว้เพื่อเป็นทางแห่งการศึกษา ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
    พร้อมทั้งเป็นเหมือนคำขอร้องต่อชาววัดพระธรรมกาย ผู้ยังเห็นแก่พระพุทธศาสนา เมื่อรู้เข้าใจแล้วจะได้หันมาร่วมกันทำบุญที่ยิ่งใหญ่ และสนองพระคุณบรรพบุรุษไทย ด้วยการรักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์สืบไป

    วางท่าทีต่อปัญหาให้ถูกต้อง
    เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายเกิดแก่พระศาสนา ชาวพุทธก็ควรตื่นตัวขึ้นมาช่วยกันขจัดและปกป้องรักษาพระศาสนาไว้ อย่างน้อยก็ใช้เป็นโอกาสที่จะได้ศึกษา สร้างเสริม หรือแม่แต่ชำระสะสาง ความรู้ความเข้าใจในพระศาสนา ที่ตนนับถือ ทำความเห็นให้ถูกต้อง ให้ได้ชื่อว่าสามารถถือเอาประโยชน์ จากสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามา และผ่านพ้นปัญหาไปอย่างได้ปัญญา
    ขอให้จำตระหนักต้นเรื่องเดิมไว้ให้ดีว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนที่เป็นฝักเป็นฝ่ายมาโต้เถียงทะเลาะกัน แต่เรื่องอยู่ที่ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในที่แห่งหนึ่ง โดยมีบุคคลหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ทำความเสียหาย หรือมีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าจะเป็นความผิดหรือเป็นภัย มีผู้พบเห็นแล้วนำมาร้องเรียนแก่เจ้าหน้าที่ และบอกกล่าวแก่มหาชน เจ้าหน้าที่และประชาชนทั้งหลาย จึงต้องมาช่วยกันแก้ไขระงับปัญหา
    โดยเฉพาะกรณีนี้ก็คือ มีกลุ่มคนที่มีพฤติการณ์อันทำให้เกิดความสงสัยกันว่า กำลังทำความเสียหายต่อพระธรรมวินัย และต่อประโยชน์สุข โดยเฉพาะประโยชน์ทางปัญญาของประชาชน จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธและประชาชนทุกคน ที่จะต้องสนใจช่วยกันปกป้องรักษาธรรมวินัยไว้

    รู้ให้ทันวิธีการซ่อนแฝงให้เกิดความสับสน
    เอกสารของวัดพระธรรมกายที่เผยแพร่ออกมานั้น มีลักษณะที่ทำให้เกิดความสับสน เช่น เอาเรื่องข้อเท็จจริงบ้าง หลักฐานบ้าง เหตุผลความคิดเห็นต่างๆ บ้าง มาปะปนกันไปหมด จำทำให้คนเกิดความรู้สึกที่มองว่า แม้แต่พระไตรปิฎกก็เป็นเรื่องของความคิดเห็น

    ทำพระธรรมวินัยให้วิปริตร้ายแรงที่สุด
    ปัญหาเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย ที่กำลังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่นี้มีหลายเรื่อง แยกได้หลายแง่หลายประเด็น เช่น เรื่องความประพฤติส่วนตัวของพระ เรื่องการดำเนินงานขององค์กร คือวัดและมูลนิธิ เกี่ยวกับการครอบครอง กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นต้น ตลอดจนการดำเนินธุรกิจต่างๆ การแสวงหาเงินทอง โดยวิธีซึ่งเป็นที่สงสัยว่าจะไม่ถูกต้อง ในแง่กฎหมายบ้าง ในแง่พระวินัยบ้าง โดยเฉพาะการยกอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ขึ้นมาเผยแผ่ ในลักษณะที่ เป็นการชักจูงให้คนบริจาคเงิน การใช้วิธีกึ่งเกณฑ์ให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนข้าราชการ เป็นต้น จำนวนมากๆ มาร่วมกิจกรรม โดยมีเป้าหมายที่น่าสงสัยว่า จะมุ่งไปที่การให้บริจาคเงินหรือไม่ ตลอดจนในที่สุดก็คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับพระธรรมวินัยโดยตรง โดยเฉพาะการแสดงหลักการของพระพุทธศาสนาเรื่องพระนิพพานเป็นอัตตาและเรื่องธรรมกาย
    ปัญหาทั้งหมดนั้นล้วนมีความสำคัญ และจะต้องแก้ไขด้วยวิธีที่เหมาะสม ให้ถูกต้องแต่ละอย่าง แต่เมื่อพิจารณาในแง่ของการดำรงรักษาพระศาสนา ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ซึ่งกระทบถึงหลักการของพระพุทธศาสนา พูดให้เข้าใจง่ายว่า การทำพระธรรมวินัยให้วิปริต

    ถ้าเคารพพระพุทธเจ้าก็ต้องเอาพระไตรปิฎกเป็นเกณฑ์วินิจฉัย
    พระไตรปิฎกบาลีของเถรวาทนี้ เป็นหลักฐานแสดงพุทธวจนะที่
    -ดั้งเดิมแท้เก่าแก่ที่สุด
    -รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ได้แม่นยำที่สุด
    -ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด
    ที่ว่านี้มิใช่หมายความว่าพระไตรปิฎกบาลีจะมีพุทธดำรัสครบถ้วนทุกถ้อยคำของพระพุทธเจ้า หรือว่าทุกถ้อยคำในพระไตรปิฎกเป็นพุทธดำรัส
    แต่หมายความว่า พุทธพจน์เท่าที่บันทึกไว้ได้และมีมาถึงเรา อยู่ในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกนั้นเรียกได้ว่าเป็นแหล่งเดียวที่เราจะหาคำสอนที่แท้ของพระพุทธเจ้าได้
    เมื่อเรานับถือพระพุทธศาสนาและปฏิบัติพระพุทธศาสนา ก็คือเรายอมรับ และต้องการปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ซึ่งหมายความว่า เราจะต้องไปเฝ้าและไปฟังพระพุทธเจ้าตรัสเอง ถึงจะมีใครเช่นครูอาจารย์ช่วยเล่าต่อให้ฟัง ก็ไม่เท่าได้ไปฟังพระองค์ตรัสเอง เพราะฉะนั้น แม้แต่ในสมัยพุทธกาล คนที่อยู่เมืองไกลได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระอาจารย์ นำเข้าสู่พระพุทธศาสนาแล้ว ต่อมาในที่สุดก็เพียรพยายามเดินทางบุกป่าฝ่าดงแสนไกลมาเฝ้าพระพุทธเจ้า
    บัดนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เราจึงไม่มีทางเลี่ยง ที่จะต้องไปหา และไปเอาคำสอนของพระองค์จากพระไตรปิฎก และใช้คำตรัสสอนในพระไตรปิฎกนั้นเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า สิ่งที่ใครก็ตามเชื่อถือหรือปฏิบัติอยู่ เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่
    ใครก็ตามที่กล่าวอ้างว่า ตนปฏิบัติได้โดยไม่ต้องอาศัยพระไตรปิฎก ก็คือพูดว่าตนปฏิบัติได้โดยไม่ต้องอาศัยพระพุทธเจ้า เมื่อเขาปฏิบัติโดยไม่อาศัยคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้า เราจะเรียกการปฏิบัตินั้นว่าเป็นพระพุทธศาสนาได้อย่างไร แน่นอนว่านั่นเป็นการปฏิบัติลัทธิความเชื่อ หรือความคิดเห็นของตัวเขาเอง หรือของใครอื่นที่คิดข้อปฏิบัติขึ้นมา หรืออย่างดีก็เป็นความที่เอามาเล่าต่อจากพระไตรปิฎกแบบฟังตามๆ กันมา ซึ่งเสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยน
    เวลานี้ชาวพุทธควรจะติติงและตักเตือนกัน ให้ตระหนักถึงความสำคัญ ของการปฏิบัติต่อพระพุทธเจ้าให้ถูกต้อง เพราะมีการกล่าวอ้างพระพุทธเจ้า หรือกล่าวอ้างพระพุทธศาสนา (แปลว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า) กันง่ายๆ โดยมิได้มีการตรวจสอบว่าพระองค์ตรัสไว้หรือไม่ หรือเป็นเพียงความเชื่อหรือการคิดเอาของตนเอง ซึ่งถ้าไม่ถือว่าเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า ก็เป็นการไม่เป็นธรรมต่อพระองค์ และถ้าไม่ถือว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน ก็เป็นความไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนเช่นเดียวกัน
    ในเมืองไทยเรา น่าเป็นห่วงว่ากำลังมีความโน้มเอียงจะเป็นอาจริยวาท (ยกอาจารย์ของตนขึ้นเป็นใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า) กันมาก มักมีการอ้างพระเถระ พระมหาเถระ องค์นั้นองค์นี้ จนจะเป็นการเอาอาจารย์ของตนไปตัดสินพระพุทธเจ้า แทนที่จะอัญเชิญพระพุทธเจ้ามาเป็นมาตรฐานแก่อาจารย์ ฯลฯ
    คัมภีร์ศาสนา เช่น ในพระพุทธศาสนาคือพระไตรปิฎกนี้ เป็นมาตรฐาน เป็นเกณฑ์ตัดสิน ความเชื่อ และการประพฤติปฏิบัติ เป็นที่มา เป็นแหล่งรักษาหลักการของศาสนานั้นๆ ถ้าคำสอนหรือหลักการที่แท้ ของพระศาสดา ที่รักษาไว้ในพระไตรปิฎก หรือในคัมภีร์นั้นสูญสิ้นหมดไป ก็ถือว่าศาสนานั้นสูญสิ้น ดังนั้น ศาสนาทั้งหลาย จึงถือการรักษาคัมภีร์ศาสนาของตน เป็นเรื่องสำคัญที่สุด และพระพุทธศาสนา ก็ถือว่าการรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด
    พระพุทธเจ้าเองก็ตรัสไว้ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว ธรรมวินัยที่ทรงแสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลายนั้น จะเป็นศาสดาแทนพระองค์สืบต่อไป ธรรมวินัยนั้นเวลานี้อยู่ที่ไหน ก็รักษาไว้ในพระไตรปิฎก

     
  8. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    พระนิพพานเป็นอนัตตา
    นิพพาน ไม่ใช่เรื่องอภิปรัชญา แต่เป็นหลักการ ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ชัดเจน
    เอกสารของวัดพระธรรมกาย กล่าวไว้ว่า
    “...เรื่องซึ่งอยู่พ้นเกินกว่าประสบการณ์ของปุถุชนคนสามัญจะไปถึงหรือเข้าใจได้ เช่น เรื่องนรก สวรรค์ กฎแห่งกรรม นิพพาน ที่ท่านเรียกว่าเป็นเรื่องอภิปรัชญา หรือเรื่องที่เป็นอจินไตยนั้น หลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องนิพพาน ในทางวิชาการสามารถตีความได้หลายนัย”
    คำกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง เพราะพระนิพพานไม่ใช่ทั้งเรื่องอจินไตย และก็ไม่ใช่เรื่องปัญหาอภิปรัชญาด้วย
    อจินไตย (เรื่องที่ไม่ควรคิด) มี 4 อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย อจินไตยมี 4 อันไม่พึงคิด (ไม่ได้หมายความว่าห้ามคิด แต่ถ้าคิด จะคิดไม่ออก คือเป็นสิ่งที่ไม่สำเร็จด้วยการคิด หรือไม่สามารถเข้าถึงด้วยการคิด) ซึ่งเมื่อคิด จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า จิตเครียดไปเปล่า 4 อย่างนั้น คือ
    1. พุทธวิสัย 2. ฌานวิสัย 3.กรรมวิบาก หรือวิบากแห่งกรรม และ 4. โลกจินตา ความคิดเกี่ยวกับโลก
    นิพพานไม่อยู่ในอจินไตย 4 นี้ และก็ไม่ได้เป็นปัญหา metaphysics หรืออภิปรัชญา
    ปัญหา Metaphysics หรืออภิปรัชญานั้นเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ คือไม่ทรงตอบ หรือไม่ทรงเสียเวลาที่จะพยายามทำให้กระจ่าง แต่นิพพานนั้นตรงข้ามกับปัญหา metaphysics เลยทีเดียว
    พระพุทธเจ้าทรงสอนหรือทรงพยากรณ์เรื่องที่จะทำให้ดับทุกข์ได้ คือนิพพานนี้ และนิพพานก็อยู่ในข้อทุกขนิโรธ ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรัสโดยตรง และเป็นเรื่อง ตรงข้ามกับอภิปรัชญา
    เพราะฉะนั้น นิพพานสำหรับชาวพุทธไม่ใช่เรื่องอภิปรัชญา แต่นักปรัชญาอาจจะเอาเรื่องนิพพานนี้ไปถกเถียงในแง่ของปรัชญาของเขาก็ได้ ส่วนใครจะไปร่วมวงถกเถียงเรื่องนิพพานในแง่อภิปรัชญากับนักปรัชญาก็แล้วแต่ แต่ถ้ามัวถกเถียงกันอยู่ก็ไม่ได้ปฏิบัติและก็ไม่บรรลุนิพพาน
    นิพพานเป็นเรื่องของความไร้ทุกข์ ภาวะที่ปราศจากปัญหา หรือภาวะที่ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ภาวะแห่งความสงบ สันติ อิสรภาพ เป็นความบริสุทธิ์ เป็นความสะอาด สว่าง สงบ ด้วยปัญญา ที่รู้เท่าทันความเป็นจริงของสังขาร หรือโลกและชีวิต ที่เป็นอยู่เฉพาะหน้าตลอดเวลานี้

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้แน่นอนเด็ดขาด ว่าลัทธิถืออัตตาไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    “ดูกรเสนิยะ ศาสดา 3 ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก...ในศาสดา 3ประเภทนั้น
    1. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นสัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง)
    2. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เฉพาะในปัจจุบัน ไม่บัญญัติเช่นนั้นในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นอุจเฉทวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าขาดสูญ)
    3. ศาสดาที่ ไม่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่า ศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ)
    สรุปสาระว่า พุทธพจน์ข้างต้นตรัสว่า ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อัตตาไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ อัตตามีเพียงตามภาษาสมมติเท่านั้น
    ขอย้ำว่า ไม่มีเรื่องอัตตาที่จะพิจารณาขึ้นมาถึงขั้นว่านิพพานเป็นอัตตาหรือไม่ เพราะมันจบไปก่อนหน้านั้นแล้ว (คือเมื่อพระพุทธองค์ทรงปฏิเสธว่าไม่มีอัตตาอยู่ในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในรูปใดๆ ทั้งสิ้น ก็จึงไม่จำเป็นจะต้องไปถกเถียง เรื่องยกเอาพระนิพพานมาเป็นอัตตาอีก เหมือนกับว่า ไม่มีกรุงเทพมหานครอยู่ในประเทศไทย ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปถกเถียงกันว่ากรุงเทพ ฯ มีลักษณะเช่นใด ใหญ่หรือเล็กเป็นต้น เพราะว่ามันไม่มี เมื่อไม่มีก็ไม่สามารถจะเอามาถกเถียงได้ นี่คือการย้ำความเข้าใจในหลักการของพุทธศาสนิกชน -พระมหานรินทร์ นรินฺโท)

     
  9. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    พระไตรปิฎกและอรรถกถา ระบุว่านิพพานเป็นอนัตตา
    -ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เริ่มแต่พระไตรปิฎก และอรรถกถา ไม่มีหลักฐานในคัมภีร์ใดเลย ที่กล่าวถ้อยคำระบุลงไปว่า นิพพานเป็นอัตตา
    -แต่หลักฐานในคัมภีร์ที่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตานั้นมี และมีหลายแห่ง
    ขอให้ทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า ที่ว่านิพพานเป็นอนัตตา คำว่า “อนัตตา” นั้น เป็นการทับศัพท์บาลี เพื่อความสะดวก ในการกำหนดหมาย โดยสาระก็คือเป็นการปฏิเสธอัตตา มิใช่หมายความว่า มีอะไรอย่างหนึ่งที่เรียกชื่อว่าอนัตตา (จะแปลอนัตตานี้ว่าไม่ใช่อัตตาหรือไม่มีอัตตา ก็ไม่ต้องถกเถียงกัน อยู่ที่ความเจ้าใจให้ชัด แต่เมื่อว่าโดยสาระก็คือ เป็นการปฏิเสธความเป็นอัตตา)
    หลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ที่ระบุว่านิพพานเป็นอนัตตา มีมากแห่ง ในที่นี้จะยกมาเป็นตัวอย่าง
    1. ในพระไตรปิฎกเล่มมี 8 มีคำสรุประบุชัดไว้ ดังนี้
    อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
    นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ (วินย. 8/826/224)
    แปลว่า: “สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้”
    (5) อรรถกถาที่อธิบายเรื่องเหล่านี้ ยังมีอีกมากมาย จะยกมาเพียง 2-3 แห่งก็เพียงพอ ที่จริงเพียงแห่งเดียว ก็ต้องถือว่าพอ เพราะไม่มีที่ใดขัดแย้ง
    1) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ นิพฺพานํ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตํ(นิท. อ. 2/8)
    แปลว่า: “ข้อความว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” นั้น พระพุทธองค์ตรัสรวมทั้งนิพพานด้วย”
    2) สพฺเพ ธมฺมาติ นิพฺพานมฺปิ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตา อนตฺตา อวสวตฺตนฏฺเฐน.(นิท. อ. 1/219 และ ปฏิสํ.อ.1/68)
    แปลว่า: “ข้อความว่า “ธรรมทั้งปวง” ตรัสไว้รวมแม้ทั้งนิพพานด้วย ชื่อว่าเป็นอนัตตา โดยความหมายว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ”
    เอกสารของวัดพระธรรมกาย กล่าวว่า “อัตตามีนัยมากมาย มีอัตตาโดยสมมติ...และอัตตาในระดับที่สูงขึ้น”
    ขออธิบายสั้นๆ ว่า ในที่นี้ ข้อความในพระไตรปิฎก และอรรถกถานั้น ปฏิเสธตรงไปที่อัตตาเลย ไม่ว่าจะมีกี่นัย คือไม่ต้องปฏิเสธนัยไหนของอัตตาทั้งนั้น แต่ปฏิเสธอัตตาทีเดียวหมดไปเลย คือปฏิเสธอัตตาว่าไม่มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ เป็นอันว่าไม่ต้องไปพูดว่าเป็นอัตตาหรือตัวตนแบบไหน นัยอย่างไหน เพราะท่านไม่ได้ปฏิเสธความหมายต่างๆ ของอัตตา แต่ท่านปฏิเสธที่คำว่าอัตตา ตรงไปตรงมาทีเดียวเสร็จสิ้นไปเลยว่า อัตตาโดยปรมัตถ์ไม่มี
    แต่ที่สำคัญก็คือว่า ไม่มีพุทธพจน์หรือข้อความในอรรถกถาหรือในคัมภีร์ แห่งใดที่ระบุว่านิพพานเป็นอัตตา แต่มีชัดเจนที่ระบุว่านิพพานเป็นอนัตตา
    ส่วนคำว่าอัตตา จะใช้ในนัยไหน อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หรือเป็นอีกประเด็นหนึ่งทีเดียว และก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าเป็นการใช้โดยสมมติทั้งสิ้น

     
  10. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    การใช้ตรรกะที่ผิด เพื่อให้คิดว่านิพพานเป็นอัตตา
    นอกจากนั้น เอกสารของวัดพระธรรมกาย ยังเขียนไว้ว่า “และนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่อยู่พ้นจากกฎของไตรลักษณ์แน่นอน เพราะมีพุทธพจน์ยืนยันว่า นิพพานนั้น เป็นนิจจัง คือเที่ยงแท้ ยั่งยืน และเป็นบรมสุข.... นิพพานํ ปรมํ สุขํ แปลว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”
    อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้มีอะไรพิเศษ เพราะรับกันอยู่แล้ว กับพุทธพจน์ แสดงไตรลักษณ์ แต่ควรพูดให้ครบถ้วนว่า นิพพานพ้นจากไตรลักษณ์ 2 ข้อแรก คือ
    ข้อที่ 1. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง, ในเมื่อนิพพานพ้นจากความเป็นสังขาร นิพพานก็เที่ยง เป็นนิจจัง ข้อนี้ถูก
    ข้อที่ 2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์, นิพพานไม่เป็นสังขาร พ้นจากสังขาร เพราะฉะนั้นนิพพานก็เป็นสุข ข้อนี้ก็มีหลักฐานยืนยันอยู่มากมาย ไม่มีปัญหา
    แต่หลักฐานที่จะบอกว่า “นิพพานเป็นอัตตา” นั้น ไม่มี, มีแต่ “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ซึ่งรวมทั้งนิพพานด้วยอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ข้อ 3 นี้ ถึงอย่างไร ก็เอานิพพานเป็นอัตตาไม่ได้
    เอกสารของวัดพระธรรมกาย พยายามใช้วิธีตรรกศาสตร์มาสรุป โดยอ้างพุทธพจน์ว่า “ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ, ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา” ที่แปลว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา” แล้วก็บอกว่า
    “จึงน่าคิดว่า ถ้ามองในเชิงกลับกัน ในเมื่อนิพพานเที่ยงและเป็นสุข เราก็จะสรุปได้ว่า สิ่งใดเที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุข สิ่งใดเป็นสุข สิ่งนั้นก็น่าจะเป็นอัตตา”
    คำว่า “น่าจะ” นั้น เป็นคำที่ท่านว่าเอาเอง ซึ่งไม่มีทางเป็นจริงทั้ง 2 ประการ
    ประการที่ 1 มีบาลีระบุไว้แล้วว่า นิพพานเป็นอนัตตา และไม่มีข้อความใด ระบุว่านิพพานเป็นอัตตา
    ประการที่ 2 การใช้ตรรกะแบบนั้นไม่ถูกต้อง เหมือนกับคำพูดในประโยคที่ว่า
    “ชีวิตใด เคลื่อนไหวย้ายที่เองได้ ชีวิตนั้นเป็นสัตว์, ชีวิตที่เป็นสัตว์ทั้งปวงต้องตาย”
    แล้วก็จะมาสรุปเอาว่า “พืชไม่เป็นชีวิตที่เคลื่อนไหวย้ายที่เองได้ ก็จึงไม่เป็นสัตว์ เพราะฉะนั้น พืชก็ไม่ต้องตาย”
    การสรุปอย่างนี้ใช้ไม่ได้ เป็นตรรกะที่ผิดพลาดไร้ผล เพราะว่าชีวิตที่เป็นพืช ก็ต้องตายเหมือนกัน เฉพาะข้อความที่ว่า ต้องตายนี้ครอบคลุมหมด ไม่เฉพาะชีวิต ที่เคลื่อนไหวย้ายที่เองได้ ที่เป็นสัตว์เท่านั้น เช่นเดียวกับคำว่า “ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา” ก็คลุมไม่เฉพาะสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เท่านั้น แต่รวมทั้งสิ่งที่เที่ยง และเป็นสุขด้วย ฯลฯ

     
  11. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    เมื่อหลักฐานไม่มี ตีความก็ไม่ได้ ก็หันไปอ้างผลจากการปฏิบัติ
    เมื่อไม่มีแหล่งที่มาจากคัมภีร์ที่จะอ้าง ซึ่งระบุว่านิพพานเป็นอัตตา ทางสำนักธรรมกาย นอกจากจะใช้วิธีตีความ หรือแปลผิดพลาด ตลอดจนอ้างคำสอนของลัทธินิกายอื่น และคำถกเถียงของนักวิชาการแล้ว อีกอย่างหนึ่ง คือการอ้างว่า ตนได้เห็นอย่างนั้น จากการปฏิบัติ มีข้อพิจารณาและวิธีที่จะตรวจสอบ คือ
    1. ผู้ที่ได้ยินคำอ้างเช่นนี้ มีสิทธิตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน ว่าการเห็นในการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเห็นนิพพาน หรือเห็นอะไรก็ตามนั้น อาจจะเป็นเหมือนการอ้างของคนที่บอกหวย ว่าเห็นเลขลอตเตอรี่ จากการปฏิบัติ
    2. ขั้นต่อไป จะต้องตรวจสอบการปฏิบัติด้วยหลักการ ซึ่งเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า เป็นการปฏิบัติ ที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะว่า ถ้าเป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักการ ผลที่ได้เห็นนั้นก็ไม่ถูกต้อง
    ในสมัยพุทธกาล ผลการปฏิบัตินั้นต้องได้การตรวจสอบจากพระพุทธเจ้า เพื่อพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ก็ต้องตรวจสอบด้วยคำสอนของพระองค์ คือหลักการ ที่บันทึกไว้ ในพระไตรปิฎก
    สำหรับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ถ้าการปฏิบัตินั้นไม่เป็นไปตามหลักการ ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎก การปฏิบัตินั้น ก็เป็นเรื่องของการปฏิบัติ ไปตามทัศนะ ส่วนตัวของบุคคลนั้น หรือไม่ก็เป็นเพียงเรื่องของสำนักนั้น หรือมีค่าเท่ากับ การปฏิบัติของฤาษีโยคีเป็นต้น นอกพระพุทธศาสนา เป็นแต่เพียงอาศัย รูปแบบในพระพุทธศาสนาเท่านั้น (แบบว่าเอาผ้าเหลืองบังหน้า หรือเอาการปฏิบัติ นอกรีตมาอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้า แบบหลวงพ่อดังๆ ต่างๆ เป็นต้นซึ่งปัจจุบัน มีชาวบ้านที่ไม่รู้จักพระธรรมคำสอนที่แท้จริง ได้หลงเชื่อเป็นอันมาก นับเป็นการสร้าง สัทธรรมปฏิรูป คือพระธรรมปลอมแล้วปนเข้าไป ในพระธรรมคำสอน ของพระพุทธองค์)
    ทั้งๆ ที่ตนอาศัยรูปแบบที่กำหนดไว้ในพระไตรปิฎก แต่เวลาปฏิบัติ กลับปฏิบัติไป ตามความคิดเห็นของตนเอง ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วจะเป็นการปฏิบัติ เรียกว่าพุทธศาสนาได้อย่างไร
    3. เป็นการเสี่ยงต่อการอวดอุตริมนุสสธรรม อย่างที่กล่าวแล้วว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อจะตรวจสอบว่า ตนเองได้บรรลุธรรม ได้เห็นนิพพานหรือไม่ เป็นต้น ก็ต้องไปให้ พระพุทธเจ้าตรัสรับรอง ดังที่เรียกว่าพยากรณ์ ถ้าภิกษุรูปใดกล่าวขึ้นกับภิกษุรูปอื่น แทนที่จะนำไปกล่าวขอรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า อาจจะถูกตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน ว่าอวดอุตริมนุสสธรรม เรื่องนี้จะเห็นได้ว่าแม้แต่พระสารีบุตร อัครสาวก เคยพูดอะไรบางอย่าง ภิกษุบางรูป ยังตั้งข้อกล่าวหาว่าท่านอวดอุตริมนุสสธรรม ซึ่งต้องรับคำวินิจฉัยจากพระพุทธเจ้า
    เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว การที่จะตัดสินก็คือ ตัดสินด้วยหลักการ ที่พระองค์ทรงวางไว้ ซึ่งมีอยู่แล้วในพระไตรปิฎก อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    “ภิกษุเห็นรูปด้วยตา...ได้ยินเสียงด้วยหู...ฯลฯ ย่อมรู้ชัดในตัวของตัวเองว่า ภายในใจของเรามีโลภะ มีโทสะ มีโมหะหรือไม่” (สํ.สฬ. 18/240/173)
    การตรวจสอบตนเองอย่างนี้ จึงจะทำให้รู้ได้ว่าบรรลุธรรมหรือไม่ และพระพุทธเจ้าทรงมุ่งให้แต่ละคนสำรวจตรวจสอบในตนเอง ไม่ใช่ให้ไปอวดอ้างแก่ผู้อื่น
    ถ้าเห็นโน่นเห็นนี่ แล้วมาอวดอ้างแก่คนอื่น บอกว่าได้มรรคได้ผลเห็นนิพพาน ก็ควรจะต้องถูกขอให้ดูในตัวของผู้อวดอ้างนั้นเอง ว่าใจยังมีโลภะ โทสะ โมหะ หรือไม่ พร้อมกับการที่จะต้องถูกตรวจสอบว่าอาจจะเป็นการอวดอุตริ มนุสสธรรม
    เวลานี้ไปกันไกลถึงกับมีการพูดว่า ท่านผู้นั้นผู้นี้ พระภิกษุรูปนั้นรูปนี้ เป็นนักปฏิบัติหรือไม่ โดยจะดูว่าไปนั่งสมาธิหรือเปล่า ไปเข้าป่า ไปนั่งวิปัสสนาหรือเปล่า อะไรทำนองนี้ คือไปติดอยู่ที่รูปแบบ
    จริงอยู่ รูปแบบเหล่านี้ก็ช่วยเป็นเครื่องประกอบในการพิจารณาขั้นต้น แต่ถ้าเป็นวิธีของพระพุทธเจ้าแท้ๆ ไม่ใช่อยู่ที่ตรงนี้ การดูว่าท่านผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติหรือไม่ ก็ดูที่พฤติกรรมของท่านว่าเป็นไปตามศีลหรือไม่ แล้วก็ดูความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต การแสดงออกและอาการความเป็นไปทั้งหลายที่แสดง ว่ามีโลภะ โทสะ โมหะ น้อยหรือมากเพียงใด อันนี้คือการดูการปฏิบัติที่แท้จริง ซึ่งเป็นเนื้อแท้ ตามหลักการของพระพุทธเจ้า

     
  12. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    เพราะไม่เห็นแก่พระธรรมวินัย จึงต้องหาทางดิ้นรนเพื่อหนีให้พ้นสัจจะ
    ...(2) ความชัดเจนในการพิจารณาปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การแยกแยะขั้นตอน หนักเบาของการกระทำ ว่าแค่ไหนจะกระทบกระเทือน หรือถึงกับทำลายพระธรรมวินัย อย่างน้อยจะเห็นได้ว่าสามารถแยกเป็น 3 ขั้น
    1) ขั้นทัศนะส่วนตัว ท่านผู้นั้นยังไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือไม่เชื่อ และอาจจะแสดงทัศนะออกมา เป็นการไม่ยอมรับ ไม่พอใจ หรือน้อยใจต่อคำสั่งสอนในพระธรรมวินัย ซึ่งยังเป็น เรื่องของการที่จะชี้แจงถกเถียง และดำเนินการต่างๆ ในกระบวนการของการศึกษา
    2) ขั้นปฏิเสธพระศาสดา หรือปฏิเสธพระธรรมวินัย เช่น กล่าวว่าพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานที่เชื่อถือไม่ได้ หรือพยายามทำให้ผู้คนเข้าใจสับสนว่า พระไตรปิฎก บันทึกไว้ตกๆ หล่นๆ เอาเป็นมาตรฐานไม่ได้ เพราะฉะนั้นหลักการ ที่มีอยู่ในคัมภีร์ จึงเชื่อถือไม่ได้ (ขั้นนี้คือที่กล่าวว่า ถ้าผู้ปฏิเสธเป็นพระภิกษุ ก็คือปฏิเสธ ความเป็นพระภิกษุของตน เพราะเป็นการปฏิเสธพุทธบัญญัติที่กำหนดการบวชและศีล 227 ที่ตนรักษา)
    3) ขั้นปลอมปนพระธรรมวินัย คือกล่าวให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป เช่น เมื่อพระไตรปิฎกสอนว่าอย่างนี้ กลับบอกว่าพระไตรปิฎกไม่ได้สอนอย่างนี้ แต่สอนอย่างนั้น หรือนำเอาคำสอนและบัญญัติภายนอก แม้แต่ของพุทธศาสนานิกายอื่นๆ เข้ามาแทรกแซงปะปนในพระธรรมวินัยหรือในพระไตรปิฎก
    ขั้นที่ 2 และ 3 นี้ เรียกว่า เป็นการจาบจ้วงพระธรรมวินัย
    จะเห็นว่า พระเถระ และพระมหาเถระทั้งหลาย ที่แสดงมติ ทัศนะ ความเห็นต่างๆ กันไปนั้น มักอยู่เพียงขั้นที่ 1 ท่านไม่ได้ก้าวล่วงมาถึงขั้นที่ 2 และ 3 เมื่อพุทธศาสนิกชน รู้หลักเกณฑ์วินิจฉัยพระศาสนา ก็รับฟังด้วยความเท่าทัน และช่วยกันศึกษาต่อไป
    แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ตามเอกสารของวัดพระธรรมกาย เป็นเหตุให้ต้องแก้ไข ก็เพราะเป็นการกระทำที่ถึงขั้น จ้วงจาบพระธรรมวินัย ทั้งขั้นที่ 2 และ ขั้นที่ 3 (คือการบิดเบือน เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปลี่ยนความหมาย ล้มล้างระบบธรรมคำสอน ในพระไตรปิฎก หรือพระพุทธศาสนานิกายมเถรวาท ในเมืองไทยอย่างถอนรากถอนโคน-พระมหานรินทร์ นรินฺโท)

    ถ้าอยากเห็นนิพพานไม่ต้องไปดูที่ไหน ตรวจสอบได้ที่ในใจของตัวเอง
    โดยสรุป การเห็นนิพพาน มีจุดตรวจสอบที่สำคัญ คือ
    1. รับรู้รูปเสียงหรืออารมณ์ใดๆ ก็มีจิตบริสุทธิ์ เห็นภาวะที่ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ในใจของตน ไม่ใช่เห็นเป็นบุคคล สถานที่ รูปภาพ หรือ องค์อะไรที่ดีวิเศษ
    2. เป็นการเห็นด้วยปัญญา ไม่ใช่เห็นด้วยจิตสมาธิ
    3. ถึงภาวะหลุดพ้น โปร่งโล่งอิสระ ไม่ใช่จมอยู่แค่ความปลาบปลื้ม
    ดื่มด่ำติดใจ
    จะต้องย้ำเตือนกันอย่างยิ่ง ให้มั่นอยู่ในหลักตรวจสอบของพระพุทธเจ้าข้อนี้ คือการมองในจิตใจของตนเองว่า มีโลภะ โทสะ โมหะ เบาบางลงหรือไม่ อยู่กับความเป็นจริง และปฏิบัติต่อประสบการณ์ และสถานการณ์ต่างๆ ด้วยปัญญา ได้ดีขึ้นหรือไม่ หายทุกข์โศก และมีความสุขอย่างเป็นอิสระ เบิกบานโดยไม่ต้องอาศัย สิ่งปลอบประโลมกล่อมใจ หรือพึ่งพาความหวังหรือไม่ ลึกๆ ในใจตรวจดูแล้ว มีความั่นคง สดใส อย่างไม่ต้องพึ่งพา และพร้อมที่จะเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นหรือไม่ ถ้ายัง ก็พึงปฏิบัติในหนทางที่จะให้เป็นอย่างนี้ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการที่จะได้เห็นสิ่งวิเศษใดๆ
    ในที่สุดนี้ ชาวพุทธควรจะพิจารณาตรวจสอบตนเองให้ดี ว่าเราจะรักษาพระพุทธศาสนา ให้ดำรงอยู่ ด้วยความบริสุทธิ์ได้อย่างไร มิใช่กลายเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษ ได้อุตสาหะเพียรพยายามรักษากันมาตั้งเป็นพันๆ ปี ชาวพุทธจะต้องมีการศึกษา แม้แต่ขั้นเบื้องต้น ที่จะทำให้รู้ตระหนักถึงความสำคัญ ของพระธรรมวินัย ที่ท่านรักษาไว้ในพระไตรปิฎก และมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระไตรปิฎกนั้น กับความเป็นไปของพระพุทธศาสนา

    ขอบคุณ http://www.bsyth.com/index.php?mo=3&art=335743

     
  13. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649


    อย่างที่บอกไปก่อนหน้าอ่ะ ผมเหนื่อยที่จะต้องมาตามตอบพวกที่ไม่เป็นเรื่อง คุณรู้ไหม พอผมอ่านจบ ผมรู้เลยว่าจะต้องตอบว่าอะไร ทั้งๆที่กำลังจะสอบ Final แต่ผมก็จะขอตอบพวกนี้ให้ทันท่วงที



    ตั้งแต่คำว่า
    อย่าไปเกลือกกลั้ว กับคำสอนที่บิดเบือน ประเภทถวายปัจจัยที่เป็น เงิน ทอง ให้มากๆ จะได้สู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือ ไม่ต้องมาเกิดอีก เพราะคำสอนเหล่านี้ ไม่สามารถมีหลักประกันว่า จะเป็นจริงตามที่พูด ทำตามแต่อัตภาพ และไม่จำเป็นต้องถวายปัจจัยกับพระเสมอไป สถานที่ๆเดือดร้อน มีอยู่เยอะ..



    คงหมายถึงวัดพระธรรมกาย

    "คำสอนที่บิดเบือน ประเภทถวายปัจจัยที่เป็นเงินทอง ให้มากๆ"

    เอาแค่นี้ก่อนน่ะ คุณน่ะ ผมพูดจริงๆน่ะครับ สุดโต่งอย่างไม่อาจแก้ไขได้เลย คุณว่าแต่คนอื่นว่าไม่ฟังใคร แต่หารู้ตัวไม่ว่าคุณนั่นเองที่ไม่ฟังใคร ผมโต้ปัญหาที่ว่าควรถวายปัจจัยพระหรือไม่ตั้งแต่

    http://palungjit.org/threads/การถวายเงินพระขัดกับพระวินัยหรือไม่.221733/

    ผมพยายามใช้เหตุผลกับคุณน่ะ ในนั้นผมเขียนไว้มาก แสดง

    เหตุผล-วิเคราะห์ วิจารณ์รอบด้านให้คุณดู แต่คุณก็ตั้งธงไว้อย่างที่

    คุณคิด และไม่ยอมรับอะไรเลย ผมสรุปไว้ว่า

    ฉะนั้นการฟันธงไปว่า ไม่ถวายปัจจัยเด็ดขาด อย่างนี่สุดโต่ง
    ฉะนั้นการฟันธงไปว่า ให้ถวายปัจจัยเป็นจำนวนมาก อย่างนี่สุดโต่ง
    ฉะนั้นการฟันธงไปว่า ให้ปฎิบัติตามจริตอัธยาศัยนั้น อย่างนี่มัชฌิมาปฏิปทา<!-- google_ad_section_end -->


    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    แต่ก็เอาอีกแล้ว เรื่องเก่าเล่าใหม่อีกแล้ว ยังมาว่า "ถวายปัจจัย

    มากๆ"


    ผมจะบอกให้น่ะ ที่วัดพระธรรมกายมีตั้งแต่คนจนๆ คนชนชั้นกลาง

    คนรวย คนรวยมากระดับมห่เศรษฐีติด40อันดับในประเทศ พวก

    เศรษฐีพวกนี้เวลาพวกเค้าทำบุญ เค้าทำเป็นสิบล้าน ร้อยล้าน ก็

    คนเค้ารวยนี่ และงานที่วัดก็ต้องใช้ปัจจัยระดับนั้นจริงๆ พระเชตวัน

    มหาวิหารก็ต้องใช้เงินสร้างมากอย่างนั้นน่ะ ก็มีอนาถบิณฑิกเศรษฐี

    ไง


    "สู่สวรรค์ชั้นดาวดึงค์ หรือไม่ต้องมาเกิดอีก"

    หมู่คณะนี้จะไปดุสิตครับ ไม่ใช่ดาวดึงค์ ส่วนที่ว่าไม่ต้องมาเกิดอีก

    นั้น ไม่จริง ตอบได้แค่นี้น่ะ ผมก็ไม่ทราบคุณเอามาจากไหน





    จุเฬกสาฎกพราหมณ์ มีผ้าเพียงผืนเดียว พระพุทธองค์ยังทรงเทศนาให้ถวายผ้านั้น

    อนาถบิณฑิกเศรษฐี ถวายทานจนเหลือแต่น้ำผักดอง พระพุทธเจ้ายังทรงบอกให้ถวายทานต่อ

    สุมนมาลาการ ไม่นำดอกไม้เข้าวังแต่กลับนำไปถวายพระพุทธเจ้าโดยไม่กลัวโทษประหาร พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าได้ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา

    พระศรีอาริยเมตไตรย เมื่อครั้งบำเพ็ญบารมี ก็ตัดศีรษะถวายพระพุทธเจ้าในอดีตเพื่อสร้างบารมี



    ส่วนเรื่องที่ว่าทำบุญที่อื่นก็ได้นั้น ผมตอบไปแล้วในกระทู้ ถวายปัจจัยพระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  14. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    [​IMG]





    คุณดูที่อะไรหรอ????


    คุณดูเงินที่ถวายใช่ไหม



    ผมดูที่มือนั้น เป็นมือเด็ก เด็กทำบุญครับ สาธุ



    มันมีVDOอยู่น่ะว่า เป็นเสียงเด็กร้อง "อึ๊บบบ....บบบ" คือในที่สุดคือภาพเด็ก

    เอื้อมมือใส่บาตรครับ



    ในการใส่บาตรแต่ละครั้ง ถ้าพวกคุณได้ร่วม พิธีกรจะประกาศน่ะว่าไม่ให้ใส่

    ปัจจัยในบาตรเพราะมันจะต้องเทในถุงรวมแล้วก็ลำบากในการแยก จึงแนะนำ

    ให้ถวายในตู้ที่จะถวายเจ้าคณะจังหวัดดีกว่า แต่ภาพนี้คงน่ารักมากครับ มือ

    เด็กน่ะ
     
  15. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649

    [​IMG]

    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ..........อาตมาเองก็เป็นคนงมงายมาก่อน ในกาลก่อนใครพูดเรื่องนิพพานไม่เชื่อ นิพพานมีสภาพสูญ เขาว่าอย่างนั้น ต่อมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นอาจารย์ ท่านเห็นว่า เรามีสันดานชั่วละมั้ง ก็ส่งให้ไปหา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ไปเรียนกับหลวงพ่อสดประมาณ ๑ เดือน ก็ทำได้ตามสมควร เรียกว่าพื้นฐานมีอยู่แล้ว ต่อมาวันหนึ่งประมาณ เวลา ๖ ทุ่มเศษ หลังจากทำวัตร สวดมนต์ เจริญกรรมฐานกันแล้ว หลวงพ่อสดท่านก็คุยชวนคุย คนอื่นเขากลับหมด ก็อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ องค์ วันนั้น ท่านก็บอกว่าฉันมีอะไรจะเล่าให้พวกคุณฟัง คือ พระที่ไปถึงนิพพานแล้ว มีรูปร่างเหมือนแก้วหมด ตัวเป็นแก้ว เราก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปมากแล้ว นิพพานเขาบอกว่ามีสภาพสูญ แล้วทำไมจะมีตัวมีตน

    แล้วท่านก็ยังคุยต่อไปว่า นิพพานนี้เป็นเมือง แต่ว่าเป็นทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก มีพระอรหันต์มากมาย คนที่ไปนิพพานได้ เขาเรียกว่า พระอรหันต์ จะตายเมื่อเป็นฆราวาสจะตายเมื่อเป็นพระก็ตาม ต้องถึงอรหันต์ก่อน เมื่อถึงอรหันต์ก่อนแล้วก็ตาย ตายแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น ร่างกายเป็นแก้วหมด เมืองเป็นแก้ว สถานที่อยู่แพรวพราวเป็นระยับ อาตมาก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปเยอะ ตอนก่อนก็ดี สอนดี มาตอนนี้ชักจะไปมากเสียแล้ว

    แต่ก็ไม่ค้าน ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ ท่านก็คุยต่อไปว่า เมื่อคืนนั้น ขี่ม้าแก้วไปเมืองนิพพาน (เอาเข้าแล้ว) แล้วต่อมาคุยไปคุยมาท่านก็บอกว่า (ท่านคงจะทราบ ท่านไม่โง่เท่าเด็ก เพราะพระขนาดรู้นิพพานไปแล้ว อย่างอื่นก็ต้องรู้หมด แต่ความจริงคำว่า รู้หมด ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ใช่รู้เท่าพระพุทธเจ้า แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ควรจะรู้ ก็สามารถรู้หมด)

    ท่านก็เลยบอกว่า เธอดูดาวงดวงนี้นะ ดาวดวงนี้สุกสว่างมาก ประเดี๋ยวฉันจะทำให้ดาวดวงนี้ริบหรี่ลง จะค่อย ๆ หรี่ลงจนกระทั่งไม่เห็นแสงดาว ท่านชี้ให้ดู แล้วก็มองต่อไป ตอนนี้เริ่มหรี่ ละ ๆ แสงดาวก็หรี่ไปตามเสียงของท่าน ในที่สุด หรี่ที่สุด ไม่เห็นแสงดาว ท่านถามว่า เวลานี้ทุกคนเห็นแสงดาวไหม ก็กราบเรียนท่านว่า ไม่เห็นแสงขอรับ ท่านบอกว่า ต่อนี้ไป ดาวจะเริ่มค่อย ๆ สว่าง ขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งถึงที่สุด แล้วก็เป็นไปตามนั้น

    พอท่านทำถึงตอนนี้ก็เกิดความเข้าใจว่า ความดีหรือวิชาความรู้ที่เรามีอยู่ มันไม่ได้ ๑ ในล้านที่ท่านมีแล้ว ฉะนั้นคำว่านิพพานจะต้องมีแน่ ท่านมีความสามารถอย่างนี้เกินที่เราจะพึงคิด ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาในด้านกรรมฐานก็ดีหรือที่คุยกันมาก็ดี นี่ท่านรู้จริง ท่านก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพาน คำว่านิพพานสูญท่านไม่ยอมพูด ไปถามท่านเข้าว่านิพพานสูญรึ ท่านนิ่ง ในที่สุดก็ไปถาม ๒ องค์ คือ หลวงพ่อปาน กับหลวงพ่อโหน่ง ถามว่านิพพานสูญรึ ท่านตอบว่า ถ้าคนใดสูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกว่านิพพานสูญ แต่คนไหนไม่สูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกนิพพานไม่สูญ ก็รวมความว่า นิพพานไม่สูญแน่

    ทีนี้ต่อมา หลวงพ่อสดท่านก็ยืนยันเอาจริงเอาจัง ต่อมาท่านก็สงเคราะห์คืนนั้นเอง ท่านก็สงเคราะห์บอกว่า เรื่องต้องการทราบนิพพาน เขาทำกันอย่างนี้ ท่านก็แนะนำวิธีการของท่าน รู้สึกไม่ยาก เพราะเราเรียนกันมาเดือนหนึ่งแล้ว ตามพื้นฐานต่าง ๆ ท่านบอกว่าใช้กำลังใจอย่างนี้ เวลาผ่านไปประมาณสัก ๑๐ นาที รู้สึกว่านานมากหน่อย ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้ คือแพรวพราวเหมือนแก้ว สวยงามระยับทุกอย่างที่พูดนี้ยังนึกถึงบุญคุณหลวงพ่อ สดท่านยังไม่หาย ท่านมีบุญคุณมาก

    รวมความว่า เวลานั้นเรายังเป็นคนโง่ อาจจะมีจิตทึมทึก แต่ความจริงขอพูดตามความเป็นจริงเวลานั้นจิตไม่ดำ จิตใสเป็นแก้ว แต่ความแพรวพราวของจิตไม่มีการใสเป็นแก้วนั้น เวลานั้นเป็นฌานโลกีย์ ฌานสูงสุด ใช้กำลังเฉพาะเวลานะ ฌานโลกีย์นี้เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ จะเอาตลอดเวลานี้ไม่ได้ เพราะอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ แล้วท่านก็สั่งว่า หลังจากนี้ต่อไป ทุก ๆ องค์ จงทำอย่างนี้จิตต่อให้ถึงนิพพานทุกวัน ตามที่จะพึงทำได้ อย่างน้อยที่สุด จงพบนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ๑. เช้ามืด และประการที่ ๒. ก่อนหลับ หลังจากนี้ไป เธอกลับไปแล้ว ทีหลังกลับมาหาฉันใหม่ ฉันจะสอบ

    เมื่อได้ลีลามาอย่างนั้นแล้วก็กลับ มาหาครูบาอาจารย์เดิม คือ หลวงพ่อปาน พอขึ้นจากเรือก็ปรากฏว่าพบหลวงพ่อปานอยู่หน้าท่า ท่านเห็นหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม ว่าอย่างไรท่านนักปราชญ์ทั้งหลาย เห็นนิพพานแล้วใช่ไหม ตกใจ ก็ถามว่า หลวงพ่อทราบหรือครับ บอก เออ ข้าไม่ทราบหรอก วะ เทวดาเขามาบอก บอกว่าเมื่อคืนที่แล้วมานี่ หลวงพ่อสดฝึกพวกเอ็งไปนิพพานใช่ไหม ก็กราบเรียนท่านบอกว่า ใช่ขอรับ ท่านบอกว่า นั่นแหละ เป็นของจริง ของจริงมีตามนั้น หลวงพ่อสดท่านมีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้

    ก็ถามว่า ถ้าหลวงพ่อสอนเองจะได้ไหม ท่านก็ตอบว่า ฉันสอนเองก็ได้ แต่ปากพวกเธอมันมาก มันพูดมาก ดีไม่ดีพูดไปพูดมา งานของฉันก็มาก งานก่อสร้างก็เยอะ งานรักษาคนเป็นโรคก็เป็นประจำวัน ไม่มีเวลาว่าง ถ้าเธอไปพูดเรื่องนิพพาน ฉันสอนเข้าฉันก็ไม่มีเวลาหยุด เวลาจะรักษาคนก็จะไม่มี เวลาที่จะก่อสร้างวัดต่าง ๆ ก็ไม่มี ฉันหวังจะสงเคราะห์ในด้านนี้ จึงได้ส่งเธอไปหาหลวงพ่อสด ก็ถามว่า หลวงพ่อสดกับหลวงพ่อรู้จักกันดีรึ ท่านก็ตอบว่า รู้จักกันดีมาก เคยไปสอบซ้อมกรรมฐานด้วยกัน สอบกันไปสอบกันมาแล้ว ต่างคนต่างต้นเสมอกัน ก็รวมความว่ากำลังไล่เรื่อยกัน บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่เป็นจุดหนึ่งที่อาตมาแสดงถึงความโง่กับครูบาอาจารย์์.........<!-- google_ad_section_end -->

     
  16. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    ผมอยากจะบอกทุกคนว่า ให้ตั้งคำถามที่ตนสงสัยเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายมา

    ให้เต็มที่น่ะ เอาที่ตนสงสัยจริงๆน่ะ อย่าไป COPY มา แล้วมาลง ผม

    เหนื่อยน่ะ คุณเห็นไหม ผมพยายามด้วยใจครับ พิมพ์ทั้งหมด พิมพ์เอง

    ตั้งใจพิมพ์ ใส่ใจตอบครับ แต่พวกคุณก็หามาเรื่อยๆอ่ะ ไม่หยุดเลย


    เอาที่สงสัยจริงๆน่ะ ผมเหนื่อยพอควรที่ต้องตอบ ใช้เหตุผลกันน่ะ


    แต่ถ้า COPYกันแบบนี้ ผมจะ COPYมาบ้างแล้วน่ะ



    เหตุที่ผมไม่ COPY เพราะ ผมจะพิมพ์แต่เนื้อความสำคัญมาตอบ หาคำตอบที่
    ตรงจริตกับพี่ๆให้ เพื่อจะได้ๆคำตอบชัดๆ เข้าใจง่ายๆ





    แต่สัญญากับผมได้ไหมว่า คำถามที่ผมตอบๆไปแล้ว อย่าได้ตั้งกระทู้หรือพิมพ์

    หรือพูดถึงอีกเลย อย่าให้สิ่งที่ผม่สียสละให้ เปล่าประโยชน์น่ะ เพราะกรณีที่

    พี่ๆว่ากันมา ผมเจอมาแล้วทั้งนั้น ตอบมาเป็นสิบๆครั้ง และทุกครั้งพิมพ์ใหม่

    หมด เพื่อให้เข้ากับอัธยาศัยในสถานะนั้นๆ
     
  17. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649

    [​IMG]


    มีเรื่องเล่ากันนานปีมาแล้ว ว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมาหาเถระ

    ท่านเคยเล่า ว่าคืนหนึ่งขณะท่านปฏิบัติอยู่ในป่า ใจร่ำร้องกราบพระพุทธบาทสมเด็จพระบรมศาสดา ขอประทานพระมหาเมตตาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมปรารถนาได้พ้นทุกข์ และสมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงพระเมตตาเสด็จลงให้ท่านพระอาจารย์ได้เฝ้าพระพุทธบาทรับประทานวิธีปฏิบัติธรรมไปสู่ความไกลกิเลสได้สิ้นเชิง

    ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่าสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จลงให้ท่านได้เฝ้าพระพุทธบาท ได้เห็นพระพุทธองค์ดั่งได้เฝ้าพระองค์จริงขณะทรงดำรงพระชนมายุสังขารอยู่ฉะนั้น

    ไม่ทราบว่าท่านพระอาจารย์ท่านบอกหรือเปล่า ว่าท่านทีความปีติโสมนัสเพียงไรในบุญวาสนาของท่านที่ไม่น่าเป็นไปได้ในชีวิตผู้ใดแต่ได้เกิดแก่ชีวิตท่านพระอาจารย์ท่านแล้วจริงโปรดประทานพระมหากรุณาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีเดินจงกรม วิธีปฏิบัติจิตใจ

    จนในที่สุดท่านพระอาจารย์ท่านก็ได้เป็นดั่งองค์แทนศิษยานุศิษย์ผู้สามารถปฏิบัติธรรมดำเนินถึงความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ได้เป็นพระอาจารย์สายปฏิบัติธรรมองค์สำคัญที่สุดอยู่ในยุคนี้ เป็นที่รู้กันอยู่ในบรรดาผู้ใส่ใจในการปฏิบัติธรรมทุกถ้วนหน้า

    เรื่องนี้ ที่ท่านพระอาจารย์ท่านได้เล่าไว้ ไม่เพียงทำให้ท่านได้เป็นอาจารย์ผู้สอนธัมมะสำคัญแก่ศิษยานุศิษย์มากหลาย แต่ทำให้ได้ความเข้าใจที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย

    ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ในเมืองพระนิพพานแน่ ยังทรงได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง ที่ควรแก่การได้รับพระพุทธเมตตา เช่นท่านอาจารย์มั่นท่านนั่นเอง ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นท่านควรที่สุดแน่นอนแล้วที่จะได้รับพระมหากรุณา ผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้ศึกษาธรรมทั้งหลายย่อมเห็นด้วยกับความจริงนี้แน่นอน.

    : แสงส่องใจ วิสาขบูชา ๒๕๕๐
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  18. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    การถกเถียงเรื่องนิพพานว่าเป็น อัตตา หรืออนัตตา นี้ ไม่ได้มีแต่เฉพาะใน

    ประเทศไทยเราเท่านั้น แต่ในต่างประเทศทั้งทางยุโรป และในประเทศทาง

    ตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น ก็มีการถกเถียงเรื่องนี้กันในหมู่นักวิชาการทางพระ

    พุทธศาสนามาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว มีทั้งผู้ที่คิดว่า นิพพานเป็นอัตตา

    และที่คิดว่า นิพพานเป็นอนัตตา แต่ต่างฝ่ายล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธ

    ศาสนา มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งนั้น ต่างฝ่ายต่างก็ได้หยิบยกหลักฐานในพระ

    ไตรปิฎก และอรรถกถา ฎีกา ขึ้นมาประกอบยืนยันความเห็นของตน หลัก

    ฐานที่มีการหยิบยกนำขึ้นมากล่าวในประเทศไทยเรา จริงๆ ในต่างประเทศ

    เขาก็ได้หยิบยกขึ้นมาอ้างอิงกันก่อนแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังวิเคราะห์กันอย่าง

    ละเอียด เป็นผลงานวิจัยเล่มโตๆ ฝ่ายละหลายๆ เล่มด้วยกัน แต่สุดท้ายก็หา

    ข้อสรุปข้อยุติไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตน

    เรื่องอายตนนิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า มีอยู่จริง และทรง


    อธิบายด้วยการปฏิเสธว่า ไม่ใช่สิ่งนั้น ไม่ใช่สิ่งนี้ เพราะอายตนนิพพานเป็น

    สิ่งที่เกินกว่าวิสัยและประสบการณ์ในโลกของปุถุชนใดๆ จะสามารถเข้าใจได้

    ดังความในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๑๕๘ ปฐมนิพพานสูตร ความว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"

    ดังนั้นสิ่งที่เราชาวพุทธพึงเชื่อมั่นก็คือ อายตนนิพพานนั้นมีอยู่ และเป็นที่สุด


    แห่งทุกข์ เป็นเป้าหมายสูงสุดในการสร้างความดีของชาวพุทธทั้งหลาย และ

    เมื่อทราบดังนั้นแล้ว ก็ขอให้ขวนขวายทำความดีด้วยการเจริญมรรคมีองค์แปด

    ปฏิบัติตหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเราปฏิบัติจนสามารถเข้าถึง อายตน

    นิพพานนั้นได้แล้ว เราย่อมตระหนักชัดด้วยตัวของเราเองว่า นิพพานเป็น

    อัตตา หรืออนัตตา ดีกว่าการมานั่งทะเลาะกันโดยไม่ลงมือปฏิบัติ
     
  19. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    คำกล่าวของ พระสุปฏิปันโน





    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

    "ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึงพระอรหัตละก็ นิจจัง สุขัง อัตตาแท้ๆ กายธรรมมีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสีย มีธาตุเหมือนกัน เป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรมม"





    สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

    "สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"





    หลวงพ่อเกษม เขมโก

    "พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก"





    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

    "พระนิพพานมีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อไร เมื่อนั้นแหละจึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย"



    หลวงปู่บุดดา ถาวโร

    "นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย"



    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    "ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์
    เสด็จมาเยี่ยมท่าน" (อันนี้ หลวงปู่สด และ คุณยายอาจารย์ กล่าวอย่างหลวงปู่มั่นเช่นกัน )



    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    "จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ "



    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

    " สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"



    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    "นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากัน ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง เห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง และหายสงสัยโดยประการทั้งปวง"



    พระเทพสิทธิมุนี
    (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)

    " พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด



    พระนาคเสน มหาเถระ
    ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา

    " ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"





    ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท

    "พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บมิรู้แปรปรวนไปม "



    พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจนฺโท จันทร์

    "พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย"



    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

    "นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น "



    หลวงปู่อ่ำ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)

    "พระพุทธกัสสป เมื่อดับขันธ์ปรินิพพาน เข้าเมืองแสงใส ซึ่งก็คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ คนไทยคงเรียก นิพพาน มานานแล้ว ปราชญ์บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอๆ เช่น ถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานครนฤพาน ดังใน มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์"



    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    "องค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า ...โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ... พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับ"
     
  20. วงบุญพิเศษ

    วงบุญพิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +649
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=F11T>
    พระพุทธเจ้ายืนยันว่า นิพพานเป็นอัตตา

    ศิษย์หลวงพ่อสดและผู้ที่เชื่อว่า นิพพานเป็นอัตตา หาหลักฐานคำตรัสของพระพุทธเจ้าไม่ค่อยจะได้แบบจุใจ ผมเลยช่วยหา หลักฐานจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า มายืนยันว่า นิพพานเป็นอัตตาให้ ฟรีนะครับ ไม่มีมูลค่า


    1. จากพรหมชาลสูตร


    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ "

    แล้วตรัสต่ออีกว่า

    "เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต."


    ผมย้ำท่อนนี้อีกที เพราะมารมันบังตาพวกเราไว้ให้ผ่านท่อนนี้ไป

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต

    คราวนี้เน้นเลย เอาอำนาจมารที่บังตาออกไปให้หมด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต ยังดำรงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต



    2. คราวนี้มาดูอนัตตลักขณสูตรบ้าง ผมขอตัดตอนที่อำนาจมารที่บังตาออกไปให้หมด นะครับ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


    จะเห็นว่า สิ่งที่จะเป็น อัตตาได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (สิ่งนั้น)ต้องไม่อาพาธ (เสื่อม เจ็บไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนา


    สรุป

    ตอนนี้พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทุกองค์ในนิพพาน มีอยู่ ยังดำรงอยู่ และอายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)ของพวกท่าน ก็มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (สิ่งนั้น)ที่ไม่อาพาธ (เสื่อม เจ็บไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนาด้
    วย

    ย้ำ!!! สิ่งที่จะเป็น อัตตาได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (สิ่งนั้น)ต้องไม่อาพาธ (เสื่อม เจ็บไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนา

    ด้วยเหตุนี้ ธรรมกายที่เป็นอายตนะนิพพาน ก็เป็นอัตตา

    อัตตานี้มีขันธ์ 5 เป็นธรรมที่เรียกว่า ธรรมขันธ์ หรือธรรมกาย


    3. ในจักกวัตติสูตร ๑๑/๘๔ ขันธสังยุต ๑๗/๕๓๓๓๓. มหาปรินิพพานสูตร ๑๐ มีความว่า:

    (๑) “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงมีตนเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย จงมีธรรมเป็นที่พึงเถิด อย่างมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย

    ย้ำ! ! พวกเธอจงมี ตน เป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่ถึงเลย จงมี ธรรม เป็นที่พึงเถิด อย่างมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย

    หลักฐานนี้ชัดครับ

    อัตตา = ตน ที่พระพุทธเจ้าหมายถึง คือ ธรรม ตน(อัตตา) กับ ธรรม จึงเป็นสิ่งเดียวกัน เรามีอัตตา(ธรรม)เป็นที่พึ่ง

    เบญจขันธ์ = อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ธรรมขันธ์ = นิจจัง สุขขัง อัตตา
    </TD><TD class=F11T vAlign=bottom rowSpan=2 width=5></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...