วิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร ปฏิบัติอย่างไร การรู้แจ้งในธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 8 มีนาคม 2024.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +52
    วิปัสสนากรรมฐาน เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่นั่งสมาธิที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเห็นสภาวะของธรรมชาติหรือธรรมะตามความเป็นจริง นำไปสู่การเกิดปัญญาทางธรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น อริยสัจสี่ หรือ สติปัฏฐฐานสี่ ล้วนแล้วต้องใช้ปัญญาที่ฝึกฝนมาจากสมาธิที่สร้างปัญญาแบบไม่มีมิจฉาทิฐิ เช่น เห็นตามความเป็นจริง ก็การเกิด ดับ เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องพบเจอ

    วิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร

    วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง แตกต่างจากและวิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธี
    ปัสสนา แปลว่า การเห็น คือ การหยั่งรู้ด้วยปัญญา ซึ่งเกิดจากวิปัสสนาวิธี
    กรรม แปลว่า การกระทำ คือ การกระทำด้วยใจอัน ประกอบด้วยความเพียร สติ สัมปชัญญะ ตามวิธี การ
    ฐาน แปลว่า การงาน คือ สิ่งที่ตัวกระทำ ได้แก่ ใจเข้าไปกำหนดเพื่อความรู้แจ้ง

    วิปัสสนากรรมฐาน คือ การเพียรใช้สติ สัมปชัญญะ เข้าไปกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและใจเพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้อย่าง

    “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 นี้ที่บุคคลลงมือปฏิบัติเต็มที่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพานโดยส่วนเดียว”

    ขอบคุณจากเพจ https://www.banpisan.com

    หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำอย่างไร
    โดยเบื้องต้นควรที่จะทำให้ใจสงบเสียก่อน โดยทำสมถะกรรมฐาน คือการกำหนดให้จิตแน่วแน่ไม่ส่ายไปมา สงบตัวลง เพราะจะทำให้การพิจารณาตามหลักธรรมได้ง่าย และมีความเห็นที่ถูกต้อง เพราะหลายท่านมักจะสงสัยว่า ทำอะไรก่อนกันแน่ ระหว่างสมถะกับวิปัสสนากรรมฐาน แต่โดยแท้จริงแล้วก็จะนำมาจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ มุ่งสู่นิพาน บรรลุมรรคผล

    สมถะ คือ การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์


    เพราะเหตุใดควรต้องทำ สมถะก่อนวิปัสสนา

    คำตอบคือ เพราะจิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น บางคนมีสมาธิดีตั้งแต่เด็ก หรือ มีจิตที่มุ่งมั่นและความจำดี เปรียบเสมือนคนเรา เรียนและรรับรู้ได้ไม่เท่ากัน บางคนเรียนรู้ไว บางคนจำไม่เก่งแต่มีความเพียร เพราะฉนั้น ควรที่จะทำให้จิตสงบตัวลงก่อน แต่บุคคลใดที่มีพื้นฐานจิตเป็นสมาธิดีอยู่แล้ว ก็สามารถโน้นจิตเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐานได้ง่าย

    หลักธรรมควรนำมาเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติร่วมพิจารณาคือ กฏไตรลักษณ์ เป็นการนำจิตที่สงบนั้นเข้าพิจารณาว่า ร่างกายเรานี้ ไม่เที่ยง แก่ลงไปทุกวัน ไม่แน่นอน เเข็งแรง แต่ก็ป่วยได้ และสักวันก็ต้องพรัดพรากจากของรัก สุดท้ายก็ไม่มีตัวตนในโลกใบนี้

    เครดิตจากเพจ https://dharayath.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...