วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    แย้งมาทีละข้อเลย สมถะ อย่าพูดแค่ว่า มั่วหรือไม่มั่ว
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อย่างไรก็อย่างนั้นแหละ คุณ สมถะ

    ตอนนี้ผมสนใจ ตรงนี้มากกว่า วิมุติมั่นคง

    โดยเป็นถ้อยคำที่ยกมาโดยคุณ โอม ซึ่งอธิบายว่า
    คือการปรากฏของสามร่มโพธิ์ศรีตามตำนาน พุทธทำนาย

    โดย วิมุติ หมายถึง พระรูปหนึ่ง แล้วก็ตามมาด้วยองค์รอง
    คือ มั่น แล้วก็สุดท้ายด้วย คง

    อะไรแบบนี้ผมไม่เคยทราบมาก่อน คุณสมถะเห็นอย่างไรครับ

    รับรองว่าถูกต้อง

    ถ้ารับรองถูกต้องเรื่องจะได้จบ เพราะทุกวันนี้กลุ่มเว็บพลังจิต
    รวมถึงผมด้วย ก็ยังตั้งตารอการปรากฏอยู่เลย
     
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    ขอกล่าวว่า...ท่านเข้าใจผิดเพราะไปตีความที่ตัวอักษร แต่มิได้เข้าใจความเป็นจริงตามสภาวะธรรมของรู้ญาณทัสสนะ ท่านกล่าวว่าเมื่อใช้รู้ญาณของธรรมกายตรวจดูปฏิจจสมุปบาทในกายมนุษย์นั้น เริ่มแรกเราเห็นดวงดำมืดขุ่นมัวเท่าเมล็ดโพธิ์นี้คือดวงอวิชชา แปลว่าอะไรแปลว่าท่านจะเข้าใจเรื่องนี้ด้วยการตีความด้วยการเทียบเคียงคีมภีร์อื่นๆ หรือด้วยความคิดเห็นต่างๆ นานา ก็ไม่มีวันยุติหรือเข้าใจได้แจ่มแจ้ง เรี่องนี้มีวิธีเดียวก็คือปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายแล้วไปพิจารณาเรื่องปฏิจจสมุปบาทดูว่าเป็นเช่นนี้จริงไหม เอาปัญญาของท่านไปพิจารณาสภาวะธรรมตรงนั้นเลย ไม่ใช่มาตีความแล้วก็ฟุ้งกันไป นั่นแปลว่าท่านไม่ได้กำลังพิสูจน์อะไรเลย เพียงแค่ท่านเอาทิฏฐิความเห็นที่แตกต่างมาคุยกระทบกันนะครับ ผมเสนอวิธีพิสูจน์ให้แล้ว ถ้าท่านไม่พิสูจน์ตามนี้ก็ไม่มีทางจะเข้าใจเรื่องของญาณทัสสนะที่ไปเห็นเรื่องนี้ได้เลย


    ผมขอกล่าวว่า นี่คือปัญหาของท่านเอง ผู้ฝึกวิชชาธรรมกายเมื่อฝึกพิจารณาปฏิจจสมุปบาทมันก็แจ้งใจได้ และทราบความชัดเจนได้เองแต่ถ้าเอามาคุยกับคนที่ไม่มีพื้นเพมันก็ฟุ้งแล้วก็ไม่เชื่อกัน ทีแรกผมคิดว่าจะอธิบายแบบฟังง่ายกว่านั้น แต่เมื่อมีคนยกมาให้อ่านแบบตามตำราการฝึกไปแล้วก็ไม่ว่ากัน ท่านต้องเข้าใจด้วยว่าผู้ฝึกธรรมกายเขารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทตามตำราทางศาสนาที่เราอ่านกันดีท่านไม่ต้องเดือดร้อนใจไปเลย แต่เมื่อใช้รู้ญาณทัสสนะตรวจดูเราเห็นได้ลึกซึ้งเพิ่มขึ้น แต่เมื่อลงมือพิจารณาทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับของปฏิจจสมุปบาทก็ลงหลักการที่อ่านในตำรานั่นเอง เข้าใจเถิดครับว่าสิ่งที่ท่านเคยอ่านเคยเรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นผู้ฝึกภาวนาวิชชาธรรมกายก็ทราบมาตามนั้น แต่ของจริงที่ละเอียดกว่านั้นนั่นเป็นเรื่องเฉพาะตนกระมัง ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิ...ครับ
     
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ไม่เกี่ยวครับ

    ที่ผมกล่าวเข้าใจผิด เพราะผมจงใจแสดงความเข้าใจผิด

    เป็นอุบาย ที่จะทำให้เพื่อนผม (คือ คุณเต้าเจี้ยว ซึ่งพอจะคุยๆกันได้
    ไม่ได้ด่ากลับด้วยความหยาบคายอะไร ยังพอที่จะเสวนาธรรมด้วย
    เมตตาได้ ) เขาค่อยๆ แสดงวาทะที่เป็นเจตนาออกมา

    พอแสดงออกมาแล้ว ก็ใช่เพื่อต่อว่าประหัดประหาร แต่ต้องการล้อม
    ประเด็นเข้ามา เพื่อรอให้คุณขันธ์กล่าวคำขอโทษแก่เขา

    ทุกอย่างจะได้มีน้ำหนักเกื้อหนุนกรรมของกันและกัน ซึ่ง ผมก็หวังว่าจะ
    ช่วยให้ลดการกระทบกระทั่งได้ ไม่มากก็น้อย แต่จะหวังว่าหยุดขาดไป
    เลยไหม อันนั้นไม่ได้หวัง
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    5555 ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ นี่มันประโยคคลาสสิคแทนใบไม้ได้เลยนะนี่

    ผมยกให้ ชื่อว่า ใบไม้2 ก็ดีเหมือนกัน มาแทนใบไม้ ผมได้มีเพื่อนทะเลาะต่อ

    เอาว่ามาเลย ใบไม้2 ว่าของผมมีจุดผิดพลาดอะไร
     
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ส่วนเรื่อง ขนาดของอวิชชาอะไรนั้น หรือ อวิชชาเป็นสาย หรือ แหวกออกเพราะ
    มันมีอาการห่อหุ้ม

    ผมก็ชี้แจงไปแล้ว โดยทัศนะผมเห็นเป็นการแหวกออก เพราะรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ

    ซึ่งดูๆแล้ว ผมขัดแย้งใครไหมในเรื่องทัศนะการมองอวิชชา ผมก็กล่าวไว้ชัดว่าไม่ได้
    ขัดแย้ง เห็นเป็นเพียง สำนวน ซึ่งขึ้นกับความชอบใจในการมอง หรือ ตีความ แถมยัง
    เสนอทัศนะของฝ่ายมหายานเพิ่มเติมเข้าไปด้วย

    ไม่เห็นจะมีอะไรที่ผมจะไปต่อว่าอะไรใครในเรื่องนี้
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ท่านเอกวีร์ อวิชชานี้ มีอยู่หลายสายมากมาย ยุ่งเหยิง
    เมื่อเราไม่ทันต่อ สภาวะ อะไรสักอย่างหนึ่ง อวิชชา สายนั้นเกิดจึงเป็นเหตุให้ สฬายตนะ นามรูป ในสิ่งนั้นเรื่องนั้นเกิด ทำให้เกิด ผัสสะ และ เวทนาในเรื่องนั้นทำให้เกิดตัณหา จนกลายเป็น โทสะ หรือ โมหะไป เฉพาะเรื่องๆ

    ทีนี้ การแจ้งไปถึงโคตรภูญาณนั้น คือ อวิชชาทุกสายดับขาดแว็บหนึ่ง จึงปรากฎทัสนะที่แจ่มขึ้นมา

    อย่าไปฟังตามคนที่ตีความ ผมไม่รู้ว่าท่านเอกวีร์ ยังงงในข้อนี้หรือไม่ จึงได้กล่าวอธิบายให้ฟังอีกที
     
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    ถามถึงการมีเหตุอะไรรองรับ แปลว่าจะถามว่ามันเป็นอย่างนั้นได้ยังไง


    อวิชชา ที่มีเมล็ดเท่าเมล็ดโพธิ์นั้น มีเหตุอะไรมารองรับ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นแต่เหตุ
    ปิฎกธาตุปิฎกธรรมของอกุศลธัมมาเป็นเหตุรองรับ อวิชชาจึงเป็นเช่นนั้น


    สายปฏิจสมุปบาท นั้น ทำไมต้องมีดวง ตัณหา ดวงอะไรต่างๆ อยู่ในดวงอวิชชา ซ้อนกันไป มีเหตุอะไรมารองรับ หรือธรรมใดมารองรับ
    กุศลธัมมา อกุศลาธัมมา อัพยากตาธัมมา อันมีปิฎกธาตุปิฎกธรรมของแต่ละธรรมธาตุทั้ง ๓ ฝ่ายนี้เป็นเหตุรองรับ ผลจึงเป็นเช่นนั้น


    กายพระอรหันต์ กายพระโสดา ต่างๆ นั้น มีเหตุอะไรมารองรับ ให้มีกายเช่นนั้น ใหญ่เท่านั้นเท่านี้ แตกต่างกันไป ซึ่งขัดกับปรมัตธรรม คือ ไม่ขึ้นอยู่กับ มิติ ไม่ขึ้นอยู่กับ สถานที่ และ กาลเวลา ถ้าสิ่งนั้นเป็นธรรมจริงจะต้องเป็นอกาลิโก นั้นหมายความว่า ขนาดนั้นต้องคงที่ตลอดไป
    กุศลาธัมมา อันมีปิฎกธาตุปิฎกธรรมเป็นเหตุรองรับ กายในกายไม่ขึ้นอยู่กับมิติ ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เป็นอกาลิโก เรื่องคงที่หรือไม่เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยตามสภาวธรรม ไม่ใช่เรื่องที่ขัดหรือไม่ขัด แปลว่าอย่าคิดเองเออเอง เหมือนนายขันธ์ทำไมต้องรูปร่างหน้าตาอย่างนี้ นิสัยอย่างนี้ ก็เพราะเหตุปัจจัย ทุกอย่างมีที่มาที่ไป เพียงแต่บางอย่างไม่ขึ้นกับปัญญาสามัญ เรื่องญาณทัสสนะปัญญาสามัญมิอาจจะหยั่งได้
     
  9. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    ผมมิอาจหาญจะไปรับรองอะไรอย่างนั้นดอกครับ เรื่องนี้ฟังหูไว้หูดีที่สุดครับ
     
  10. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972


    เรื่องนี้ถ้ากระทำโดยกุศลเจตนาก็อนุโมทนาด้วยครับ คุณขันธ์ควรหยุดความร้นแรงและร้อนรนและความจริงก็ควรหยุดหรือเพลาลงทั้ง ๒ ฝ่าย
     
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    ถ้าตั้งต้นคิดจะทะเลาะต่อ ก็แปลว่าไม่ควรเสวนาด้วย อเสวนาจะพาลานัง ขอรับกระผม...ผมไม่ใช่ที่ระบายความใคร่ของคุณขันธ์นะครับ
     
  12. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    เรื่องนี้ต้องพิจารณาให้ถึงความดับของสายปฏฺจจสมสุปบาทฝ่ายนิโรธวารครับ
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181

    ปิฎกธาตุ ปิฎกธรรม นี่มันอะไร อย่าเอามาปนกับ เรื่องหน้าตาของผม เพราะนี่มันโลกียวิสัยจะเอาไป ปนกับธรรมได้อย่างไร ถ้าเช่นนั้นแล้ว ปิฎกธาตุ ปิฎกธรรมของท่านก็เป็นโลกีวิสัยอันหาข้อยุติ และ เหตุแห่งธรรมนั้นไม่ได้
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ไม่รับรองก็ได้ แต่อยากทราบคุณเคยได้ยินมาก่อนหรือเปล่า
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ก็ขอรู้แบบค่อยเป็นค่อยไปครับ

    เพราะ รู้ แล้วจะได้ วาง เป็น

    ถ้ารู้ไปลึกมาก เดี๋ยววางไม่เป็นจะแย่ เพราะยังชอบที่จะฟังอะไรเรื่อยๆ
    ก็อยากที่เรียนให้ทราบ ผมจะฟังธรรมจากแหล่งไหนก็ได้ เมื่อคืนก็
    ฟังจากของอิสลาม ก็เห็นว่า จุดแตกต่างนั้นมาจากหลักข้อที่ 6 jihad
    ก็ฟังไปเรื่อยๆ

    ลัทธิทรงเจ้าเข้าผี รายการของไต้หวันก็ดูเรื่อยๆ แล้วแต่จะเปิดไปเจอ
    อะไร หรือสายตาไปเห็นอะไร หูไปได้ยินอะไร

    รู้ แล้ว ก็วาง

    รู้ เท่าที่รู้

    รู้ พอแต่ประโชยน์ของมัน รู้ลึกไปไม่มีประโยชน์มากกว่านั้นก็จะได้รู้
    จุดว่าควรระงับรู้ตรงไหน ถ้าไม่ฝึกการหยุดรู้เอาไว้ จะยิ่งยุ่ง
     
  16. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    เป็นธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม ในแง่ของความหมายนี้พิจารณาให้ดีว่าครอบคลุมไปได้แค่ไหน...?
     
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    เคยอ่านเจอในเว็ปไซต์แห่งหนึ่ง โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้ใส่ใจครับ
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ขอบพระคุณครับที่ตอบ เพราะมันจะเปิดโลกทัศน์ของผมที่มีต่อ
    คนใน ของธรรมกายได้อย่างมาก
     
  19. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
  20. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เอาเป็นว่าขอเข้าเรื่องที่คุยค้างกันไว้เมื่อวันก่อน เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังนี้
    ปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ละเอียด ประณีต เห็นได้ยาก รู้ได้ยาก ปฏิจจสมุปบาทกล่าวโดยย่ออธิบายโดยย่อก็ได้แก่อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทยังจัดเป็นมัชฌิมาปฏิปทาคือปรารภความเป็นธรรมสายกลางไม่เอาเอียงไปในทางสุดโต่งด้านใดด้านหนึ่งนั่นเอง ธรรมที่อาศัยกันเป็นเหตุเป็นปัจจัยของกันและกันเกิดขึ้นนี้ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท


    ในการปฏิบัติภาวนาวิชชาธรรมกายนั้น เมื่อเราต้องการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทไปตลอดสายทั้งในฝ่ายเกิด(สมุทยวาร) และในฝ่ายดับ(นิโรธวาร)นั้น ท่านให้ยกเอากายโลกีย์ขึ้นมาพิจารณา อันประกอบด้วย กายมนุษย์หยาบ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ละเอียด กายพรหมหยาบ-ละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด พิจารณาให้แจ้งใจไปทีละกาย ว่าโดยย่อดังนี้


    เดินวิชชาอนุโลมปฏิโลม 18 กาย ให้มากเที่ยวจนกระทั่ง ใจหยุด นิ่ง ใส ปราศจากนิวรณ์ ๕ ใจควรแก่งานดีแล้ว ให้ใช้รู้ญาณทัสสนะของพระธรรมกายตรวจดูปฏิจจสมุปบาทในกายมนุษย์หยาบก่อน โดยส่งใจนิ่งไปที่กายมนุษย์หยาบ ดูเข้าไปที่ใจ(เห็น จำ คิด รู้) เราจะเห็น ดวงทุกข์ กับดวงสมุทัย ขอกล่าวแบบรวบรัดเพื่อความเข้าใจง่าย ในดวงเหล่านี้มีอวิชชาหุ้มเคลือบอยู่


    เราจะเห็นเป็นดวงดำมืดขุ่นมัว เมื่อเห็นความมืดขุ่นมัวอันเป็นส่วนของอวิชชาแล้ว อธิษฐานพิจารณาปฏิจจสมุปบาทในกายมนุษย์ ดังนี้


    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร เราจะเห็นว่าเพราะความไม่รู้ไม่เห็นอริยสัจความคิดปรุงแต่งแห่งสังขารจึงเกิดขึ้น

    สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ในรู้ญาณจะเห็นว่าวิญญาณคือ “การรับรู้” ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นเป็นการรู้ไม่ตรงความจริงรู้สักแต่ว่ารู้

    วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ในส่วนนี้เมื่อมีการรับรู้ก็ต้องมีเครื่องมือรับรู้ก็คือกายกับใจ แลในความหมายของวัฏฏะ ๓ เมื่อวิญญาณก้างลงสู่ครรภ์นามรูปจึงปรากฏ

    นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ หรืออายตนะภายนอก ๖ อายตนะภายใน ๖ เราจะเห็นเครื่องมือรับกระทบเหล่านี้ทำงานอย่างไร

    สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ คือการสัมผัสสะทางประสาทต่างๆ เห็นเป็นกระบวนการต่อเนื่องกับอายตนะรับกระทบ

    ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ความรู้สึกอันเกิดจากการรับกระทบของผัสสะ เราต้องเห็นเป็นกระบวนการต่อเนื่องกันไป หรือจะพิจารณาไปทีละอายตนะรับกระทบก็ได้

    เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา คือความอยากอันรับมาจากการความรู้สึกของเวทนาแล้ว ก็คืออารมณ์แส่ดิ้นใคร่อยากติดใจ โดยพิสดารตัณหาก็เจริญไปเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา พิจารณาไปถึงมูลฝ่ายเกิดแห่งวัฏฏะก็ได้

    ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นอันเป็นผลมาจากตัณหา ทั้งในส่วนหยาบส่วนละเอียด พิจารณาให้เห็นจริงทั้งในแง่ปัจจุบันขณะที่กำลังพิจารณากายมนุษย์ของตนเองอยู่ และในแง่พิสดารของวัฏฏะ ๓ อันได้แก่ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ

    อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ คือภาวะรองรับ ในทางพิสดารของวัฏฏะ ๓ ก็คือภพ ๓ อันได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

    ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ คือการเกิดขึ้น ในขณะจิตปัจจุบันก็ดูว่าความยึดถือก่อให้เกิดภพชาติอย่างไร ในทางพิสดารก็คือวัฏฏ ๓ ที่ไม่มีสิ้นสุด

    ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะ เป็นลูกโซ่ติดต่อกันไปตลอดสาย


    อย่างนี้เราพิจารณาปฏิจจสมุปบาทในสายเกิด(ทุกข์-สมุทัย) ให้เห็นจริงตลอดสาย ถ้าจะพิจารณาสายดับ(นิโรธวาร) ก็ทำได้ลองเพียรทำดูว่าเกิดความขาวใสขึ้นหรือไม่ ดับได้ชั่วครั้งชั่วคราวเป็นตทังควิมุตติ หรือดับได้เด็ดขาดเป็นสมุทเฉทวิมุตติ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรและบารมีที่สั่งสมอบรมมา


    เราจะพิจารณาปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอริยสัจ ๔ อย่างไร จะพิจารณาแบบในขณะจิตหนึ่งหรือแบบพิสดารเป็นวัฏฏ ๓ ก็ได้ เมื่อพิจารณาได้อย่างถ่องแท้เราจะรู้เห็นว่ามัชฌิมมาปฏิปทาคือความไม่ยึดสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่งนั้นก็มาจากเราเข้าถึงกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เพราะทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามเหตุปัจจัยของกันและกันในสายเกิดและสายดับของปฏิจจสมุปบาทธรรมเท่านั้น นี่ว่าโดยส่วนของโลกียธาตุ โลกียธรรม


    ทีนี้เราพิจารณาเฉพาะกายมนุษย์หยาบยังไม่เพียงพอ เราต้องพิจารณากายในกายอื่นให้ครบทุกกายด้วย พิจารณาดูให้เห็นกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทในกายทิพย์ พรหม อรูปพหรมด้วยว่าปฏิจจสมุปบาทในกายเหล่านี้มีกระบวนการทำงานอย่างไร พิจารณาโดยดูที่ดวงทุกข์ สมุทัยที่กำกับอยู่ที่ใจของกายเหล่านี้ก่อน แล้วเราจะเห็นอวิชชาที่หุ้มเคลือบใจของเรา


    แล้วก็ดูไปตลอดสายทั้งสายเกิดและสายดับ เพียรพิจารณาไปก็จะเกิดรู้ญาณทัสสะ เห็นว่ากายในกายเหล่านี้ตกอยู่ในกระแสพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร จะเห็นได้ว่าการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นเรื่องของรู้ญาณทัสสนะที่ละอียด สุขุม ลุ่มลึก เห็นได้ยาก รู้ได้ยาก เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นยาหม้อใหญ่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมอื่นๆ มากมาย


    เป็นห่วงโซ่แห่งวัฏฏะสงสารคล้องใจสัตว?ในติดในภพ เวียนว่ายตายเกิดไปตามกระแส วัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ ไม่สิ้นสุด


    ในการปฏิบัติวิชชาธรรมกายภาคพิจารณาปฏิจจสมุปบาทนั้น เราต้องพิจารณาทั้งสายเกิดและสายดับ ถ้ากำลังความเพียรและบารมีในการดับยังไม่เต็มส่วนเพียงพอเราก็ได้เพียงตทังควิมุตติ ดับทุกข์ได้ชั่วครั้งชั่วคราว ในรู้ญาณทัสสนะเมื่อเราดับไปจนกระทั่งถึงอวิชชา จะเกิดความสว่างใสขึ้น อารมณ์ใจของเราจะบันเทิงโล่งโปรงสบาย


    กิเลสจะเบาบางลงเป็นตทังควิมุตติอันเนื่องมาจากความเพียรและบารมีเป็นอุปการะ เพียรปฏิบัติเนืองๆ ถ้าวาสนาบารมียังไม่ถึงที่สุดก็เป็นอุปการะปัจจัยต่อไปในเบื้องหน้า ถ้าวาสนาบารมีเต็มส่วนก็สามารถหมดกิเลสเป็นสมุทเฉทวิมุตติได้ในบัดนั้น


    ที่อธิบายมานี้ย่นย่อที่สุดแล้วเพราะเมื่อเราลงมือปฏิบัติจริงรู้ญาณทัสสนะที่ละเอียดของธรรมกายจะทำให้เราเห็นกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทได้พิสดารเกินที่จะนำมาบรรยายได้มากมายนัก สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ว่า
    “อานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง เป็นของรู้ยาก บุคคลไม่เข้าใจ ไม่รู้ ไม่แทงตลอดในธรรมนี้แหละ หมู่สัตว์จึงพากันวุ่นวายกันไม่รู้ จักจบสิ้นไป ความวุ่นวายยุ่งยากเปรียบ เหมือนเส้นด้ายที่ขอดเข้าหากันจนยุ่งเป็น ปุ่มเป็นปมเหมือนกับหญ้าคาหญ้าปล้องนี่แหละอานนท์หมู่สัตว์จึง วุ่นวายดิ้นรน เดือดร้อนกันมากจึงผ่านพ้นอบายทุคติวินิบาต (นรก) สังสารวัฏไปไม่ได้”
     

แชร์หน้านี้

Loading...