รวมคำทำนายและวิเคราะห์ภัยพิบัติ - What's Next ?

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย hiflyer, 8 พฤศจิกายน 2012.

  1. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ยังไม่ได้ใส่ข้อมูล ช่วง 2014 ครึ่งปีหลัง เอาแค่นี้ไปดูก่อนแล้วกัน ครับ
    ข้อมูลมีไว้เพื่อการศึกษาว่า เคยมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรบ้าง แล้วได้เกิดขึ้นจริงตามนั้นหรือไม่


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    .
     
  2. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    เฝ้าสังเกตดูอาการวัวป่าไบซัน ในเยลโล่สโตนบริเวณ Old Faithful Geyser ช่วง 4 วันนี้ ก็ไม่เห็นมีอาการตื่นกลัว ตกใจ เดินหากินช้าๆ ดูไม่มีอะไรผิดปกตินะ นักท่องเที่ยวก็มีตลอด อุณหภูมิเมื่อ 2-3 วันที่แล้ว -1 องศา C แต่วันนี้ 4 องศา

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2015
  3. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    จากประกาศของ USGS และ ทีมเฝ้าระวัง Yellowstone เมื่อวันที่ 2 กพ. 2015 ไม่มีการยกระดับการเตือนภัยใดๆ ยังอยู่ระดับปกติ แต่ข่าวและสื่อที่ออกมา หาว่า USGS กำลังปกปิดข่าวเพราะกลัวคนจะแตกตื่น

    โยงไปที่โพสต์ก่อนหน้านี้ >> http://palungjit.org/9479345-post4211.html


    [​IMG]

    [​IMG]


    กราฟสถิติแผ่นดินไหวที่ Yellowstone ปี 2014 และ มค. 2015 ตามลิงค์ >>> http://palungjit.org/9481527-post4216.html

    .
     
  4. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ของที่เก็บตุนเอาไว้ ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น จะขยายเวลา shelf life ได้อีกนะครับ

    <iframe width="854" height="510" src="https://www.youtube.com/embed/-BAUcBOBuP4" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    .
     
  5. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    Yellowstone เมื่อประมาณ ชั่วโมงครึ่ง ที่ผ่านมา


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    <iframe width="854" height="510" src="https://www.youtube.com/embed/gnEr-9erRio" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="854" height="510" src="https://www.youtube.com/embed/eqpq6YlMKrM" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="854" height="510" src="https://www.youtube.com/embed/XW_ulmwJV5g" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    .
     
  6. Unexpected

    Unexpected เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    683
    ค่าพลัง:
    +1,513
    คุณ hiflyer ถ้าดาวเคราะห์เรียงตัวกันมากกว่า 3 ดวง จะมีผลทำให้เกิดภัยพิบัติ อากาศเปลี่ยนรุนแรง แผ่นดินไหว มันขนาดนั้นเลยหรอคะ
    เห็นจากเพจเสธน้ำเงินแว๊บ ๆวันนี้ แกมโนหรือป่าวคะ
     
  7. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681

    เพิ่งเข้าไปอ่านมาตะกี้ก่อนตอบ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยอ่านมาหลายเรื่องโดยเฉพาะแนวเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่เห็นก็จะเป็นการนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาประกอบการเขียน เช่น ดร.ก้องภพ อยู่เย็น / กรมอุตุฯ อาจมีของ อ.ปิยะชีพด้วย บวกกับความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งผมมองว่ายังไม่มีข้อมูลเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนการอธิบายเลย แค่จะมองแต่ว่า ถ้ามันเกิด แสดงว่า ทำนายถูก แล้วก็ตั้งเป็นทฤษฎีได้เลย ซึ่งมันดูจะง่ายไป ในทางวิทยาศาสตร์ กว่าจะมาเป็นทฤษฎีได้ ไม่ว่าจะทดลองกี่ครั้ง ผลลัพท์ต้องออกมาเหมือนเดิมทุกครั้ง แล้วนี่พิสูจน์ได้มั๊ยว่า มันเกิดทุกครั้งที่เรียงตัวกัน ? สิ่งที่หลายคนรู้คือ ในหนึ่งเดือน ดาวเรียงตัวกัน 3 ดวงขึ้นไป มีนับ 10 ครั้ง และแผ่นดินก็ไม่ได้ไหวทุกครั้งที่เรียงตัวกัน
    การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง มันเป็นเรื่องของระบบใหญ่ ที่มีองค์ประกอบร่วมมากมาย ไม่ใช่องค์ประกอบเดียวก็ทำให้เกิดได้ นักวิทยาศาสตร์เฉพาะด้านที่ศึกษาวิจัยกันมาหลายสิบปี เป็นหน่วยงานระดับประเทศ รู้มากกว่าที่เราๆท่านๆรวมกัน เขายังไม่ฟันธงขนาดนั้น ถ้ายังไม่มั่นใจเขาจะใช้คำว่า if หรือ may be แต่ที่เห็นในเฟสบ้านเราหลายๆท่าน ฟันธงกันมาตลอดเลย แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น

    ให้มองง่ายๆ เครื่องซักผ้าเวลาปั่นหมาด ถ้าผ้าพันกัน จุดศูนย์ถ่วงจะไม่อยู่ตรงกลาง เวลาปั่นจะแกว่งและสั่น องค์ประกอบชั้นในของโลกก็ไม่ได้แบบผลิตขึ้นจากโรงงาน จุดศูนย์ถ่วงมันไม่ได้อยู่กึ่งกลางโลกเป๊ะ เวลาหมุนองค์ประกอบที่อยู่ด้านในก็จะเหวี่ยงและเคลื่อนที่ไปตามแรงหมุนของโลก ตามกฎของแรงเฉื่อย ทั้งหินหนืด แม๊กม่าที่เหลวร้อน จนทำให้เกิดแรงดันสูง พยายามดันตัวเองขึ้นมาตามช่องโหว่ หรือรอยแยกระหว่างเพลท(แนว ring of fire) เกิดเป็นสันเขาและขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ( ทฤษฎี seafloor spreading ) แรงดึงดูดน้ำขึ้นน้ำลง( tidal force)ของดวงจันทร์และจากดาวอืื่นๆอีกเล็กน้อย ก็จะดึงน้ำจากด้านหนึ่งของโลกไปเพิ่มอีกด้านหนึ่งที่ดวงจันทร์อยู่ ทำให้น้ำสูงขึ้น 2-3 เมตร (อีกด้านก็จะลดลงบ้าง) ทำให้แรงกดทับบนพื้นทะเลมหาสมุทรมากขึ้นและลดลงในแต่ละด้าน จุดศูนย์ถ่วงของโลกก็จะเอียงไปตามด้านที่ดวงจันทร์อยู่ไปด้วย

    เรื่องมันยาว สัมพันธ์กันหมด เพราะมันคือ THE WHOLE SYSTEM นี่แค่บางส่วนเท่านั้น

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2015
  8. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ในทางวิทยาศตร์ แรงดึงดูดน้ำขึ้นน้ำลง( Tidal force ) เป็นผลกระทบทุติยภูมิจากแรงโน้มถ่วง( Gravitational force ) และสามารถคำนวณได้ตามตาราง เมื่อเทียบดาวดวงอื่นกับดวงจันทร์ ต่างกันมากเลยนะครับ

    .
     
  9. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    มาดูว่าช่วง 20 วันที่ผ่านมา ( 23 มค. - 11 กพ. ) ที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด M6.0+ 4 ครั้ง ซึ่งห่างกัน 5 - 5 - 9 วัน และเปรียบเทียบการเรียงตัวกันของดวงดาวต่างๆ ผมมีคำถามในใจว่า จากมุมและองศาที่ใกล้เคียงกัน ทำไมไม่ส่งผลกระทบถี่กว่านี้ เช่นทุกวันหรือทุก 2 วัน ?


    [​IMG]

    [​IMG]

    .
     
  10. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    2 ภาพนี้ ให้ความรู้สึกแตกต่างกันมากเลยนะ


    [​IMG]

    [​IMG]

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2015
  11. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ข่าว FIREBALL ที่เมือง Catalan, Spain เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา คนที่เห็นในสื่อ จะรู้สึกตื่นเต้น น่ากลัว ทึ่ง กับภาพอันสวยงาม

    [​IMG]


    แต่จริงๆแล้ว มันเป็นแค่ภาพประกอบ ที่เกิดจากการแต่งภาพ และมีขายตามเวบขายรูป ( shutterstock / photostock )


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    .
     
  12. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    มาดูปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาและยาวไปถึงปลายสัปดาห์นี้กันครับ

    10 กพ. >> รายงานว่าคืนวันที่ 9 กพ. เกิด solar flare M2.4 และ CME แต่กระจายไปทางทิศตะวันออก ไม่ตรงกับโลก และจะไม่ส่งผลกระทบต่อสนามแม่้หล็กโลก
    11 กพ. >> รายงานว่าปฏิกิริยาดวงอาทิตย์น้อยลง จุดดับเริ่มลดขนาดลง ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาไม่มี CME ตรงมาทางโลก พายุสนามแม่เหล็กจึงไม่น่าจะมีในช่วงนี้


    [​IMG]


    กราฟข้างล่าง จะเห็นว่าช่วงตั้งแต่วันที่ 10-11-12 กพ. ทั้งความเร็วและอุณหภูมิไม่ได้สูงขึ้นเลย และยังต่ำกว่าในช่วงวันที่ 8 กพ. อีกด้วย

    [​IMG]


    12 กพ. >> ปฏิกิริยาดวงอาทิตย์อยู่ในระดับต่ำ solar flare ระดับ C และ B ช่วงนี้ Corona hole แถวเส้นศูนย์สูตรได้เปิดออกและคาดว่า solar wind จะเดินทางมาถึงโลกช่วงปลายสัปดาห์นี้ และอาจส่งผลต่อสนามแม่เหล็กโลกได้ ( 15-16 กพ. )

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    กราฟขัอมูลเพิ่มเติมครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    ตามที่ทราบกัน ช่วง Solar Maximum น่าจะผ่านไปแล้วเมื่อปลายปี 2014 ปฏิกิริยาดวงอาทิตย์ดูจะผ่อนๆลงไปพอสมควร แต่กว่าจะไปถึงช่วง Solar Minimum ก็อีกประมาณ 5 ปีเลยนะครับ

    .
     
  13. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    การแต่งภาพ ในยุคปัจจุบันมันง่ายแค่คลิ๊กเม๊าส์ ส่วนตัวอย่างแบบข้างล่าง เคยทำใน ACDSEE มานานกว่า 7-8 ปีแล้ว แค่เลือก effect ที่ต้องการเท่านั้น


    [​IMG]

    .
     
  14. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    3 วันที่ผ่านมา มันเงียบๆนะ ยังไม่มีวี่แววจะมีเหตุการณ์อะไรเป็นพิเศษ มีแค่ solar flare เล็กๆไม่กี่ครั้ง เกจ์วัดปฎิกิริยาดวงอาทิตย์ สถานะ GREEN ทุกตัว


    [​IMG]

    [​IMG]

    .
     
  15. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ภาพเวบแคมจาก Old faithful Geyser - Yellowstone เมื่อ 10 นาทีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวเยอะมาก วันวาเลนไทน์ ไม่เห็นเค้าจะสนใจว่ามันจะระเบิดเลย ในเวบฯจะมีการคาดการณ์ว่า อีก ไม่ถึง 10 นาทีน้ำพุจะพุ่งสู่ท้องฟ้าด้วย เมื่อคืนผมนั่งดู ก็ตรงเวลาเป๊ะเลย เยี่ยม !


    [​IMG]

    [​IMG]

    .
     
  16. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    สถิติการเกิดแผ่นดินไหวขนาด M3.0+ ในบริเวณ Yellowstone

    ปี 2014 เกิด 8 ครั้ง ในบริเวณใกล้เคียงกัน ( Grizzly Lake )
    ปี 2015 เกิดแล้ว 1 ครั้ง เมื่อ 11 กพ.

    [​IMG]

    .
     
  17. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ข้อมูลแผ่นดินไหวขนาด M6.0+ มาดูว่า 3 ครั้งล่าสุด มีความสัมพันธ์กับ ปฏิกิริยาดวงอาทิตย์ และ ดาวเคราะห์เรียงตัว หรือไม่ ????


    [​IMG]


    ช่วงที่เกิดการไหวทั้ง 3 ครั้ง อยู่ในช่วงที่ปฏิกิริยาดวงอาทิตย์(solar flare จากการวัด x-ray flux)ต่ำมาก ความเข้มและระดับพลังงานของอนุภาค(proton flux)ก็ต่ำมาก ความเร็ว (300กว่า กม/วินาที) และอุณหภูมิ(ต่ำกว่า 1แสน) ก็ไม่สูง ค่า Kp index ประมาณ 1-2 ไม่มีพายุสนามแม่เหล็ก ไม่มีการบีบอัดรอบๆ Magnetosphere

    [​IMG]

    [​IMG]


    การเรียงตัวของดาวเคระห์ก็ไม่อยู่ในระนาบเส้นตรงเสียทีเดียว

    1. ดาวพฤหัส - โลก - ดาวพุธ ( วันที่ 11 และ วันที่ 13 กพ. )

    [​IMG]

    [​IMG]


    2. ดาวยูเรนัส - ดาวอังคาร - ดาวศกร์ - ดาวพุธ ( วันที่ 11 และ วันที่ 13 กพ. )

    [​IMG]

    [​IMG]

    คงต้องติดตามและนำมาเปรียบเทียบอีกในครั้งต่อๆไป เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์เหล่านี้ได้ดีมากขึ้น

    .
     
  18. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    เนื่องจากตั้งแต่ช่วงปลาย มค. ไปถึงต้นเดือน มีค. ตำแหน่งดาวเคราะห์เรียงตัวกันจะมีต่อเนื่อง ท่านที่เห็นด้วยกับทฤษฎีการเรียงตัวของดาวเคราะห์ อาจรูสึกว่า มันน่าจะสัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว เพราะมันเกิดใกล้เคียงกัน แต่ถ้ากลับไปดูช่วงเดือน ธค. ที่ผ่านมา ที่ดาวเคราะห์แทบไม่เรียงกันเลย ก็ยังเกิดแผ่นดินไหว 10 ครั้ง ไล่ๆกันเลย เดี๋ยวจะลองทำข้อมูลเปรียบเทียบมาให้ดูกัน

    [​IMG]

    .
     
  19. 888899krung

    888899krung สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2015
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    คุณไฮไฟน่าจะเอานายเกษมไปใส่ในตารางความแป้กผู้วิเศษด้วย ประกาศมานานละว่า พ.ศ.2556 ตลิ่งจะพัง แผ่นดินถิ่นอธรรมจะถล่มเป็นทะเล
     
  20. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    หลายๆท่านคงเคยใช้แบบจำลองระบบสุริยะจักรวาล SOLAR SYSTEM SCOPE มาแล้ว option ของ model สามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบ Orrery หรือแบบ realistic

    1. แบบ Orrery เป็นแบบจำลองแบบง่ายๆ ไม่ได้เน้นรายละเอียดของระยะทาง หรือ ขนาด

    [​IMG]


    2. แบบ realistic เน้นระยะทางตามสัดส่วนจริง สามารถเลือกขนาดของดาวเคราะห์ได้

    มาลองเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 2 แบบดูกันครับ ซึ่งบางครั้งจะมีความแตกต่างกันพอควร

    [​IMG]

    [​IMG]


    และข้างล่างแบบจำลอง ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2014 ซึ่งเกิดแผ่นดินไหว M6.6 ที่ฟิลิปปินส์ ดูความแตกต่าง ว่าห่างไกลกันขนาดไหน

    [​IMG]

    [​IMG]


    ลิงค์ :
    Solar System Scope

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...