มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. ธรรมศิล

    ธรรมศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +800
    รายการที่บูชา 801 803 811 812 814 817 823 824 825 รวม 9 รายการ โอนแล้วครับ 762354.jpg
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>>เมื่อวานได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 3 ท่านครับ เลขที่จัดส่งemsตามใบฝอย SAM_7507.JPG SAM_7508.JPG
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ******วันนี้ได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 1 ท่านครับ เลขที่จัดส่งems ตามใบฝอยครับผม SAM_7509.JPG
     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 846
    รูปหล่อเหมือนลอยองค์หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม พระอรหันต์เจ้าวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่ดุล อตุโล รูปหล่อเหมือนสร้างปี 2554 เนื้อโลหะผสมรมดำ สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 84 ปี มีตอกโค๊ต 3 โค๊ต โค๊ตตัวเลข 4263 เเละโค๊ต อักษร ล ใต้องค์พระ เเละโค๊ตตัวเลข 54 หลังองค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม พระดีที่ควรกราบไหว้รูปหนึ่งในเวลานี้คือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม หรือ พระราชปัญญาวิสารัท เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)....>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ>>>>>>>>>บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems
    .........ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม ท่านเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร และพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์ หลวงปู่เหลืองมีนามเดิมว่า เหลือง ทรงแก้ว ท่านเกิดในยามใกล้รุ่งของวันอังคารที่ 1 พ.ค. ปี พ.ศ. 2470 ที่บ้านนาตรัง หมู่ที่ 2 ต.เขวาสินรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นบุตรคนที่ 6 ในครอบครัวของนายเที่ยง ทรงแก้ว และนางเบียน ทองเชิด หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขณะอายุได้ 15 ปี แล้วออกจาริกเดินตามหลังพระพี่ชายไปตอนอายุ 16 ปี หลังจากนั้นชีวิตของหลวงปู่เหลืองก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด.ช.เหลือง ออกจากบ้านเดินตาม พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล และพระอาจารย์สมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ 2 ภิกษุศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “มือขวา” ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปใน พ.ศ. 2486 จากสุรินทร์ไปถึงนครราชสีมา ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง
    ด้วยอายุเพียงเท่านั้นแต่ท่านมีบุญได้พบครูบาอาจารย์แล้วหลายรูป อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระผู้สรุปอริยสัจ 4 จากการปฏิบัติไว้ชนิดคนสามัญขนานนามท่านว่า เจ้าแห่งจิต ท่านพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดป่าคลองกุ้ง ฯลฯ รวมทั้งได้มอบกายถวายใจเป็นศิษย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเล่าถึงวันคืนในอดีตครั้งไปกราบท่านพ่อลีที่วัดป่าคลองกุ้งว่า “ตอนนั้นวัดป่าคลองกุ้งยังเป็นป่าอยู่ ต้นไม้ใหญ่ๆ มีศาลทำบุญไม้หนึ่งหลังและกุฏิกรรมฐานเล็กๆ ตั้งอยู่ตามโคนต้นไม้ เงียบสงัด พระฉันแล้วก็เข้ากรรมฐานหมด ไม่เพ่นพ่านรุ่งเรืองเหมือนสมัยนี้ ไปพักอยู่กับท่าน 1 เดือน ...บอกกับท่านว่าจะขอธุดงค์ต่อไปทางบ่อไพลิน เข้าสู่แดนเขมร ท่านพ่อลีก็ห้าม ตอนนั้นปลายสงครามโลก เหตุการณ์ยังไม่ปกติ เกรงจะเป็นอันตราย แต่พระอาจารย์ฉัตรพี่ชายก็จะขอไปให้ได้ก็ต้องยอมผ่อนผันให้ไป ท่านพ่อลีเมตตาอาตมามากเพราะยังเป็นเด็ก กลัวจะลำบาก ท่านเลยบอกว่า จะให้คาถากันตัว สั่งให้ท่องไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวเสือช้างอะไรทั้งสิ้น
    คาถาของท่านยังจำได้จนถึงบัดนี้ว่า นะบัง โมบัง พุทโธบังหน้า ธัมโมบังหลัง”
    สภาพบ้านเมืองในเวลานั้นช่างต่างจากเวลานี้นัก
    ท่านว่าใช้เวลาเดิน 3 คืนบุกป่าฝ่าดงจากจันทบุรีถึงทะลุถึงบ่อไพลิน ตามรายทางนั้น “เห็นพลอยเกลื่อนกลาด แต่ไม่ได้เก็บเพราะอาจารย์ฉัตรท่านว่า เรามาธุดงค์แสวงบุญไม่ได้มาหาเพชรพลอย”
    การธุดงค์จบลงด้วยการย้อนกลับมาที่ วัดป่าศรัทธารวม จ.นครราชสีมา
    ณ พ.ศ.นั้น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร กำลังเป็นสดมภ์หลักในการบุกเบิกขยายวงพระกรรมฐานโดยใช้ จ.นครราชสีมา เป็นฐาน โดยท่านเองรับเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้อยู่ถึง 12 ปีคือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2487 ช่วงเวลานั้น วัดป่าศรัทธารวมซึ่งเป็นป่าช้าเก่าเป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานจำนวนมากไม่ว่า พระมหาปิ่น ปัญญาพโล หลวงปู่เทกส์ เทสรังสี หลวงปู่ภุมมี ฐิตธัมโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ฯลฯ หลวงปู่เหลืองเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น ขณะอายุ 17 ปี หรือราวช่วง พ.ศ. 2486-2487 โดยบรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา มีพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) หรือเจ้าคุณโพธิฯ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ลุถึง พ.ศ. 2490 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดป่าศรัทธารวมนั่นเอง
    “ไทยดำ” ผู้เคยเขียนประวัติหลวงปู่เหลืองลงในนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับเดือน ธ.ค. 2530 เคยเรียนถามท่านว่า ระหว่างอยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้นหลวงปู่ฝั้นสอนอย่างไรบ้าง หลวงปู่เหลืองตอบทีเดียวเป็นความ 4 ประโยค แต่ครอบคลุมพระไตรปิฎกหมด 90 เล่ม ความนั้นมีว่า
    ท่านสอนง่ายๆ ว่า “ประสูติ หมายถึง ลมเข้า
    พระวินัย หมายถึง ลมออก
    ปรมัตถ์ หมายถึง ผู้รู้ลมเข้าลมออก
    เป็นอันจบพระไตรปิฎก นอกนั้นเป็นแต่กิ่งก้าน”
    การได้อยู่ที่ จ.นครราชสีมา ณ พ.ศ.นั้นเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ได้พบและศึกษากับพ่อแม่ครูอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งท่านเหล่านั้นกระจายกันอยู่หลายแห่ง อาทิ วัดป่าสาลวัน วัดสุทธจินดา วัดสว่างอารมณ์ ฯลฯ แต่รูปที่อัธยาศัยต้องกันมากที่สุดและจะมีผลต่อชีวิตของท่านในกาลข้างหน้าคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)
    เวลานั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายธรรมยุต ท่าน|ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังสติปัญญาจนทำให้การของคณะสงฆ์เป็นปึกแผ่น แต่ยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ก็เหนี่ยวรั้งท่านให้ห่างหายจากการปฏิบัติได้ไม่ กลับเตือนตนอยู่ตลอดเวลาว่า “การคลุกคลีกับหมู่คณะมากเกินไปทำให้เป็นผู้ประมาท...”
    เพราะตระหนักเช่นนั้นจึงมักจะปลีกตัวออกวิเวกเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ ก่อนจะตัดสินใจทิ้งพัดยศออกปฏิบัติอย่างเดียวใน พ.ศ. 2498 นั้น ครั้งหนึ่งท่านชวนหลวงปู่เหลือง ซึ่งยังเป็นพระหนุ่มอยู่ในขณะนั้นออกไปปฏิบัติอยู่ในป่า จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน
    ท่านทั้งสองอยู่ด้วยกันสองคนหนึ่งพรรษา จากนั้นพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็ต้องกลับมารรับภาระทางการคณะสงฆ์ต่อ ขณะที่หลวงปู่เหลืองได้พำนักและภาวนาอยู่ในสำนักสงฆ์กลางป่า อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ต่อเนื่องไปอีกถึง 7 ปี ต่อมาป่าแห่งนั้นได้รับการพัฒนากลายเป็น วัดป่ารังสีปาลิวัน ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) จนท่านละสังขาร เมื่อ พ.ศ. 2543
    ตลอดเวลาที่อยู่นั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็จะแวะเวียนมาภาวนาอยู่ ณ สำนักสงฆ์แห่งนั้นและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ให้ชาวบ้านได้อาศัยแหล่งน้ำ ฯลฯ มาตลอด โดยมีหลวงปู่เหลืองเป็นผู้ช่วย แม้แต่เมื่อตัดสินใจออกจาริกอีกครั้งหลังอยู่ที่นั่นมาแล้ว 7 ปีก็เป็นการออกจาริกโดยมีพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นผู้นำ ท่านทั้งสองจาริกในถิ่นต่างๆ มีประสบการณ์ในภาวนาอันพิสดารหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะที่ถ้ำขันตี ซึ่งอยู่ในเทือกเขาภูพาน ท่านว่า การภาวนา ณ สถานที่แห่งนั้นทำให้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ขณะเดียวกันท่านทั้งสองก็ผ่านเป็นผ่านตายมาพร้อมกันด้วย กล่าวคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นไข้ป่าเกือบจะเสียชีวิต ก็ได้หลวงปู่เหลืองดูแล พอหลวงปู่เหลืองเองล้มเจ็บเพราะไข้ป่าก็ได้ “เจ้าคุณอาจารย์” เป็นคนรักษา ท่านกล่าวถึงความทุกข์ยากในเวลานั้นว่า “แต่ก่อนที่อาตมาจะเป็นไข้นั้น ท่านเจ้าคุณเป็นมาก่อน เมื่อสองอาทิตย์ก่อน เรียกว่าเป็นมากทีเดียว จนเพ้อ ยาก็ไม่มีรักษา ท่านมีสติสั่งว่า ถ้าท่านตายก็ให้เผาที่นี่ แล้วกวาดขี้เถ้าทิ้งลงเขาไป อย่าเอาไปลำบากเพราะไม่ใช่ตัวตนอะไรของเรา อีกอย่างหนึ่งแม้ท่านจะลาออกจากตำแหน่งแล้วแต่พัดยศอยู่ที่กุฏิ ยังไม่ได้ส่งคืน ขอให้จัดการเอาไปคืนด้วยซึ่งทำให้ประทับใจในตัวท่านมาก ท่านไม่เคยแสดงความพรั่นพรึงต่อการมรณะเลย เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันต้องตาย...ถึงตาอาตมาบ้าง...ท่านเจ้าคุณก็ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เราฝากผีฝากไข้กันมาอย่างนี้” เพราะฝากผีฝากไข้ ผ่านเป็นผ่านตายร่วมกันมา จึงไม่แปลกที่ต่อมาเมื่อ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) อาพาธ เนื่องจาก|เส้นเลือดฝอยในสมองแตกในปี 2527 ทำให้อวัยวะเบื้องขวาเป็นอัมพาต ใครนิมนต์ไปปฏิบัติอุปัฏฐากที่ไหนท่านก็ไม่ไป แต่เมื่อหลวงปู่เหลืองนิมนต์ ท่านรับ
    ทุกวันนี้หลวงปู่เหลือง รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าเข้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต) ภาระนี้เกิดมาต่อเนื่องตั้งแต่กึ่งศตวรรษก่อนโน้นเพราะปี พ.ศ. 2499 ท่านเป็นเป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระอริยเวที พร้อมกับเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน พอปี พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง และเป็นเจ้าคณะตำบล วัดแห่งนี้เดิมเป็นวัดที่พระอาจารย์สมุห์เสร็จ พี่ชายเป็นคนบุกเบิกสร้างไว้ เมื่อท่านออกวิเวกเสียชีวิตเพราะไข้ป่า พระสมุห์ฉัตร พี่ชายคนรองก็เป็นคนมาดูแลแทน ถึงปี พ.ศ. 2519 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง พ.ศ. 2523 เป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)
    หลวงปู่เหลืองกล่าวว่า พระพุทธองค์มิได้สอนให้เชื่อพระองค์เพียงอย่างเดียว หากแต่ให้ชื่อว่า “จิต คือ พุทธะ” ถ้าเราดำเนินตามที่พระองค์ทรงสอน จิตของเราก็เป็นพุทธะอย่างพระพุทธองค์ได้ ถ้าจะให้ถึงซึ่งพุทธะก็เหมือนกับเอาแก่ของต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะเอาแก่นต้องใช้ขวานถากเปลือก ถากกระพี้ออก จิตคนเรานั้นเป็นพุทธะอยู่แล้ว หากแต่เราปล่อยให้กิเลสตัณหาห่อหุ้มจนจิตไม่ประภัสสร
    “จิตประภัสสรก็หมายถึงจิตเดิม ซึ่งเปรียบเสมือนเพชร ลักษณะแวววาวสุกใสอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่ที่มันเศร้าหมองจนเรามองไม่เห็นความประภัสสรของมัน เพราะมีสิ่งอื่นมาห่อหุ้ม ทำให้รัศมีเปล่งออกมาไม่ได้ อย่างไฟฉายของเรา พอเปิดสวิตช์ขึ้น มันก็สว่างเป็นลำพุ่งออกไปพอปิดสวิตช์มันก็มืด ไม่เห็นดวงไฟ ทั้งที่ความจริงจิตมันประภัสสรอยู่แล้วแต่คนเราทุกวันนี้ ก็เอากิเลส ความโกรธ ความหลงที่เปรียบเหมือนดินทรายเขม่าไฟต่างๆ ไปห่อหุ้มปิดบังมันเสียเอง มันเลยมืดบอดอยู่อย่างนั้น...เราอยากจะเห็นตามพระองค์บ้างก็ต้องลงทุนลงแรงเอาสิ่งที่หุ้มห่อออก แล้วจึงจัดสีให้มันเปล่งแสงประภัสสรขึ้น เอาอะไรมาขัดสีล่ะ ก็เอาสมาธินั่นแหละมาขัดสี...”
    “สิ่งต่างๆ ในโลกนี้มันก็อยู่ที่จิตนี้เอง ความรู้สึกของเราอยู่ที่ไหน จิตใจก็อยู่ที่นั้น หลวงปู่มั่นท่านก็เคยพูดว่า อยู่ที่ใจของเจ้า โลกนี้ไม่มีใจก็ไม่มีความหมาย โลกกับธรรมมันอิงกันอยู่ ก็อยู่อย่างไม่ขัดโลกขัดธรรมเขา รูปนาม ถ้าแยกออกก็เป็นอภิธรรมทั้งหมด
    รูปกับนามเป็นจุดแรกของปัญหา เรื่องราวต่างๆ ที่เราไม่รู้ก็เพราะไม่ได้ค้นคว้ากำหนด ท่านว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนตั้งแต่จุดเล็กไปถึงจุดใหญ่ เหมือนกับความมืดกับความแจ้ง มันต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่คนละช่วง มันเกิดพร้อมกันไม่ได้
    ความจริงรูปนามมันมีอยู่แล้ว ถ้าปลงความเชื่อว่า คำสอนต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มี ท่านก็ไม่มีอะไรจะพูด เมื่อไม่มีอะไรจะพูดมันก็หยุดเป็นวิมุตติไป ถ้าเอามาพูดถึงมันก็เป็นสมมติไป ธรรมะจริงๆ จะพูดหรือไม่พูดมันมีอยู่แล้ว...”
    หลวงปู่เหลือง เป็นพระมหาเถระที่ควรแก่การอัญชลี ท่านเจริญรอยตามครูบาอาจารย์ของท่านคือ แน่วแน่กับการปฏิบัติภาวนาไม่เสื่อมคลาย อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย แทบไม่มีใครจำสมณศักดิ์ของท่านได้เรียกกันแต่ว่า หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง

    ************หยาดเหงื่อของพระผู้เฒ่า...“หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม” เกจิดังแดนอีสานใต้ ศิษย์หลวงปู่ฝั้น ผู้ไม่เคยถือสมณะศักดิ์ หรือชื่อเสียงใดใด

    หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม ...พระอรหันต์เจ้าแห่งบุรีรัมย์

    17264425_1318210878241151_6727615596988056689_n-1-jpg-jpg.jpg


    18195138_1299825823469287_5894137482331668998_n-20-1-jpg-jpg.jpg 18301921_1299825850135951_4657292737319483411_n-jpg-jpg.jpg


    11029896_918936891501887_5893762049328451839_n-1-jpg-jpg.jpg


    12295245_885208031597737_4176000914326203055_n-jpg-jpg.jpg

    SAM_7518.JPG SAM_7522.JPG SAM_7523.JPG SAM_7528.JPG SAM_7489.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2020
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 847 เหรียญเจิญพรบนหลวงปู่เคน เขมาสโย พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองหว้า อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร เหรียญสร้างปี 2557 เนื้อทองเเดงรมมันปู มีตอกโค๊ตยันต์ นะ หน้าเหรียญ ******เหรียญใหม่ไม่เคยใช้
    *******ประวัติโดยย่อพอสังเขปหลวงปู่เคน เขมาสโย
    วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
    ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “นิ่งแนน” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เป็นบุตรของคุณพ่อไพ คุณแม่บับ ท่านเกิดได้ไม่นานแม่ก็เสียชีวิต น้าสาวเลยเอาท่านไปเลี้ยงเป็นลูก แล้วเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ฤกษ์งาม”
    ในสมัยเด็ก ๆ องค์ท่าน มีจิตใจในทางเมตตา ใฝ่ใจใคร่รู้ในทางธรรมมาก และมีจิตเมตตา สงสารในสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และมีชีวิตที่ไม่โลดโผนมากนัก ผิดกับวัยรุ่นวัยหนุ่ม ที่คะนองตามแบบหนุ่มบ้านนอกลูกทุ่งโดยทั่วไป ด้วยใจที่ใฝ่ในทางธรรม จึงออกปากขอโยมพ่อ โยมแม่ ขอออกบวช ก็เป็นที่น่ายินดีกับทุกคนที่ได้รับฟังเวลานั้น ช่วงนั้นเป็นเดือน ๑๑ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว พอตอนเย็น ท่านกับเพื่อน ๆ ที่พร้อมจะบวชด้วยกันทั้ง ๔ คน ก็มาฝึกขานนาคกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ สิมกลางน้ำ วัดป่าบ้านหนองดินดำ(ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดป่าคามวาสี) ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล โดยมีพระอธิการพุฒ ยโส (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูพุทธิวาคม) เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่นนท์ โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่หอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    พระอาจารย์เคน ได้รับฉายาว่า "เขมาสโย" แปลว่า "ผู้ยินดีอาศัยในธรรม" ในการบวชครั้งนั้นได้มีการเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อมกัน ๔ นาค คือ
    ๑.นาคเคน ฤกษ์งาม หรือท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย
    ๒.นาคประสาร รำไพ หรือท่านพระอาจารย์ประสาร ปัญญาพโล
    ๓.นาคสมัย โสภาจาร หรือท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก
    ๔.นาคชาลี โคตรสมบูรณ์ บวชเป็นสามเณร เพราะอายุยังไม่ถึง ต่อมาได้ลาสิกขาบท
    หลังจากท่านบวชแล้วก็ติดตามหลวงปู่นนท์ โกวิโท เที่ยวไปธุดงค์ที่ จ.นครพนม ได้ไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่บุญมา มหายโส ที่วัดอรัญญิกาวาส อ.เมือง จ.นครพนม อยู่พักหนึ่ง
    ภายหลังหลวงพ่อวัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ได้ฝากให้ท่านไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต เพื่อให้ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานในเบื้องต้นให้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่คำ มีอายุ ๖๐ ปี ที่วัดศรีจำปาชนบท บ้านพังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เป็นพรรษแรก คือปี พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงปู่คำ ให้อาตมาฝึกนั่งสมาธิเจริญคำภาวนาว่า “พุทโธ” ด้วยการให้พิจารณาการหายใจเข้าหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ และให้มีสติกำหนดรู้อยู่ในการหายใจ ฝึกอยู่ได้หนึ่งพรรษาจิตยังหยาบอยู่ จึงต้องตั้งสติอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ
    จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์จันทร์ ไปอยู่บ้านนาเหมือง จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์จันทร์ ได้สอนการอ่านตัวธรรมที่จารอยู่ในใบลานต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการฝึกจิตเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนจิตใจสงบดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่านเหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้หูตาสว่างไสวไปอีกขั้นหนึ่ง คือมองอะไรก็เป็นธรรมดา จิตใจไม่ว้าวุ่นเป็นสมาธิดี ท่านพระอาจารย์เคนอยู่อบรมธรรมกับพระอาจารย์จันทร์อยู่ ๓ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนแสนคำ บ้านทุ่งคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ณ ที่นี้ ก็เป็นสัปปายะดี คือเป็นสถานที่ดี มีความสงบสงัด เป็นที่ถูกใจ เหมาะแก่การภาวนาปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่ ๑ พรรษ คือปี พ.ศ.๒๔๙๘
    จากนั้นจึงมาอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๔ พรรษา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ จากนั้นท่านทราบข่าวว่าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระที่มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส จึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาอบรมธรรมอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อีก ๑ พรรษา คือปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่อ่อน ได้อบรมสั่งสอนในเรื่องทางการฝึกจิต ความเจริญทางจิตใจนั้น เราจะปล่อยไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะใจจะไหลลงต่ำ ไม่ดีงาม เราต้องรู้จักควบคุมบังคับ ฝืนไม่ให้อาหารในทางเสื่อม ไม่อย่างนั้นจิตใจจะไม่เจริญก้าวหน้า ท่านสอนให้ยึดคำบริกรรม “พุทโธ” เป็นหลัก เพราะไม่มีคำบริกรรมอย่างใดจะดีเท่าการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อบรมเรื่องการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปอยู่ป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามีนี่เพื่อทำปัญญาให้เกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกกับเรา ถ้าปัญญาดีแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อท่านพระอาจารย์เคน รับการอบรมจากหลวงปู่อ่อนแล้ว ก็ได้กราบลา แล้วธุดงค์ไปที่ดงหม้อทอง แล้วไปอยู่ตามเขาตามถ้ำต่าง ๆ ที่ อ.บ้านผือ
    สมัยนั้นยังมีป่าไม้ให้ร่มเย็น สมัยที่องค์ท่านออกเดินธุดงค์ ไม่ต้องกล่าวถึงความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกว่า มีแต่ป่ากับป่า ท่านเล่าว่าสิงสาราสัตว์ อย่างเสือ กวาง เก้ง แม้ช้างป่า มากมายจริง ๆ แต่ก็ไม่ทำให้องค์ท่านท้อในการเดินทางเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ การไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ได้พิจารณายึดเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้แนะนำให้ไปปฏิบัติตามครรลองของพระพุทธศาสนา การบิณฑบาตในสมัยนั้นก็ได้แต่ข้าวเหนียว ไม่มีกับข้าว อดบ้างอิ่มบ้างก็อดทนอดกลั้น แม้จะพบความยากลำบาก ก็ไม่กังวลกับสิ่งใดใด
    ท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย ได้ธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว ขึ้นไปธุดงค์อยู่รุกขมูลตามร่มไม้ เพิงหิน โถงถ้ำที่ภูเขาควาย ประเทศลาว ที่ภูเขาควายนี้เป็นที่มีอาถรรพณ์ และศักดิ์สิทธิ์ เต็มไปด้วยภูตผีวิญญาณร้าย พระธุดงค์มากมายเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่เป็นจำนวนมาก ท่านเล่าว่า ที่ภูเขาควายนี้เป็นภูเขาที่สูงมากของฝั่งลาว สูงกว่าดอยสุเทพเสียอีก เป็นภูเขาที่น่ากลัวจริง ๆ เพราะเป็นป่าทึบดงดิบหนา มีสัตว์ป่ามากมาย เช่นช้าง เสือ หมี งู และสัตว์มีพิษอื่น ๆ อยู่มาก ที่สำคัญอากาศบนยอดเขาภูเขาควายหนาวเย็นมาก ถ้ามองรอบตัวจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะป่ามันทึบมาก
    เวลาขึ้นเขาไปต้องค่อย ๆ มีสติเหยียบก้อนหินขึ้นไปทีละก้อนอย่างเชื่องช้า เพราะหินบางก้อนลื่นมาก เขาก็สูงชันมาก กลัวจะพลาดตกลงไป ทั้งบนบ่าก็แบกกลด แบกบาตรอัฐบริขารหนักมาก ท่านนึกถึงตนเองสมัยนั้นก็น่าสงสารตนเองยิ่งนัก แต่เราเป็นพระที่ขึ้นชื่อว่าเสียสละในทุกสิ่งทุกอย่างก็เลยปลงได้ เพราะถือว่าครูบาอาจารย์ก็เคยลำบากมาก่อนแล้ว ท่านจึงได้ดีมีอรรถมีธรรม ครูบาอาจารย์ที่เคยมาเยือนที่ภูเขาควายแห่งนี้ในสมัยก่อน ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่เครื่อง ธัมมธโร หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ก็เคยมาเยือนที่ภูเขาควายเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้แล้วทั้งนั้น
    เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขา ท่านพระอาจารย์เคน ได้เห็นตาผ้าขาว กำลังกวาดใบไม้อยู่บนพลาญหิน จึงรู้สึกดีใจว่าบนยอดภูเขาควายนี้ ก็มีผู้มาบำเพ็ญสมณธรรมเช่นกัน ท่านจึงรีบเดินตรงเข้าไปหาหวังพูดคุยเจรจาด้วย เพราะไม่ได้พูดคุยกับใครมานานแล้ว แต่พอไปถึงที่นั้นกลับไม่พบใคร มีแต่ความว่างเปล่า หรือจะเป็นเทพเทวดาอารักษ์รักษาป่าก็เกินจะคาดเดาได้ คืนนั้นท่านพระอาจารย์เคน พักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำที่ท่านไปอยู่ก็มีโครงกระดูก ไม่ทราบเป็นของพระธุดงค์หรือของโยมชาวบ้านที่มาล่าสัตว์ คงจะมาพักแล้วโดนงูกันตายก็เป็นได้ เพราะมีสิ่งของบางอย่างวางทิ้งไว้เช่นกาน้ำ การมาอยู่ที่ภูเขาควายก็ได้ความสงบสงัด ความวิเวกดี ได้ความก้าวหน้าในสมาธิตามลำดับ ท่านได้เที่ยวไปที่ต่าง ๆ ในเขตฝั่งลาวอยู่ถึง ๒ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๕๐๔ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕
    ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบของบ้านเมืองในประเทศลาว ชาวบ้านจึงให้ความเห็นให้ท่านเดินทางกลับมาฝั่งไทยจะดีกว่า ท่านธุดงค์ข้ามมาทางบึงกาฬ-ปากคาด-โซ่พิสัย เรื่อยมาทางคำตะกล้า-บ้านม่วง ผ่านวานรนิวาส จนมาถึงสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์เคน เขมสโย ได้มาวิเวกมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่บ้านหนองหว้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ บริเวณด้านหลังกุฏิไม้(หลังเก่า)ขององค์ท่าน ท่านว่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยมาปักกลดอยู่ที่นี่ เมื่อก่อนแถบนี้เป็นป่ารกชัฏ แล้วก็ยังมีเสืออยู่ แต่ปัจจุบันก็เป็นอย่างที่เห็น กลายเป็นไร่นาของชาวบ้านหมดแล้ว สมัยที่ท่านพระอาจารย์เคน มาวิเวกอยู่ที่นี่ครั้งแรก มีชายรูปร่างสูงใหญ่ เป็นคนโบราณ ตัวดำทมึน เดินเข้ามาหา บอกว่าตามมาดูแลรักษา มิให้เกิดอันตรายใดใดทั้งสิ้น ขอให้ปฏิบัติธรรมไปด้วยความสบายใจ เขาบอกว่าเขาตามมาจากฝั่งลาว จะมาขออยู่ด้วยตลอดไป ท่านพระอาจารย์เคน ก็ไม่ได้ว่าอะไร
    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้เข้าไปศึกษาอบรมธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ที่ถ้ำพวง ภูผาเหล็ก อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์วัน เป็นพระที่มีเมตตาธรรมมาก เป็นพระปฏิบัติดีเคร่งครัดพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านพระอาจารย์วัน นับเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่านพระอาจารย์เคน ที่ท่านมีแต่ให้มาตลอด ข้อธรรมที่ไม่รู้ ท่านก็สอนให้รู้โดยไม่ปิดบังแต่อย่างใด ท่านสอนให้พิจารณษสังขารร่างกายนั้นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่าไปยึดติดในสิ่งที่อยู่นอกกาย เช่น เนื้อหนังมังสาที่สวยงาม ล้วนแต่เป็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงแท้ทั้งนั้น
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้มากลับมาอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี มีโยมอุบาสกคนหนึ่งชื่อ “จันทร์เรียน” ได้มาฝึกขานนาคด้วย มีท่านพระอาจารย์เคน และท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก ช่วยกันสอนการออกเสียงอักขระ การขานนาคให้กับท่านจันทร์เรียน ท่านพระอาจารย์เคน จึงถือได้ว่าเป็นพระอาจารย์ และเมื่อครั้งท่านอาจารย์จันทร์เรียน อุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ ท่านพระอาจารย์เคน ก็ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร แห่งวัดถ้ำสหาย อีกด้วย
    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้กลับไปวิเวกอยู่ที่ป่าช้า บ้านหนองหว้าอีกครั้งนึง แล้วจึงได้อยู่โปรดญาติโยม จนได้สร้างเป็นวัดป่าหนองหว้า ได้อยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๖ หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านไปจำพรรษาที่วัดถ้ำสหายกับหลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เนื่องจากหลวงปู่เคนท่านอาพาธ หลวงพ่อจันทร์เรียนเลยอาราธนานิมนต์ท่านไปอยู่ด้วย ท่านเล่าว่าสมัยอยู่วัดป่านิโครธาราม ญาติโยมเอาหลวงพ่อจันทร์เรียนไปฝากท่านให้สอนขานนาคเนื่องจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริไม่อยู่ เพราะหลวงปู่อ่อนไปทำธุระที่กรุงเทพ ฯ ที่แรกท่านว่าจะไม่รับ รอหลวงปู่อ่อนกลับมาค่อยเอามาฝากหลวงปู่อ่อนใหม่ ญาติโยมไม่ยอม จำเป็นท่านเลยรับไว้ และก็สอนขานนาคให้ หลวงพ่อจันทร์เรียน นึกถึงบุญคุณครูบาอาจารย์สมัยหลวงปู่เคน ท่านเคยสอนนาค และอยู่อบรมธรรมด้วยกันมาเสมอ
    หลวงปู่เคน เขมาสโย มีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก คือ
    ๑.หลวงปู่ประสาร ปัญญาพโล วัดคามวาสี บ้านหนองดินดำ ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพุธที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
    ๒.หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก วัดป่าโนนแสงทอง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ๓.หลวงปู่เกิ่ง วิทิโต วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง อารมณ์ดี เยือกเย็นเสมอ พร้อมให้การสังเคราะห์ต่อศรัทธาญาติโยม ท่านมีอัธยาศัยเป็นพระที่ไม่ค่อยเก่งในการปฏิสัณฐานกับศรัทธาญาติโยมมากนัก เรียกว่าไม่ค่อยพูด นอกเสียจากว่านาน ๆ ครั้งองค์ท่านก็มีเมตตาสอนให้ข้อคิดคติธรรมบ้าง ในลักษณะคำสอนสั้น ๆ แต่ก็ถึงใจกับลูกศิษย์ลูกหา เมื่อได้น้อมใจที่พยายามเข้าใจในธรรมที่องค์ท่านเมตตาสอน ทั้งผิวพรรณขององค์ท่านก็สดใส ขาวผ่อง สมกับความเป็นพระอริยเจ้าผู้มีคุณธรรมขั้นสูง หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ศิษย์ผู้มีความผูกพันกับหลวงปู่เคน เคยกล่าวไว้ว่า "พระผู้เฒ่าไม่ต้องห่วงแล้ว ท่านสบายแล้ว”

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จยุพราชสว่างแดนดิน เนื่องจากลื่นหกล้มที่กุฏิ ในช่วงก่อนวันคล้ายวันเกิดในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ซึ่งทำให้สะโพกท่านหัก ภายหลังจึงได้นำตัวท่านส่งไปโรงพยาบาลสกลนคร และได้ละสังขารเข้าอนุปาทีเสสนิพพานลงด้วยสาเหตุไตวาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา สิริรวมอายุ ๘๖ ปี ๗ วัน พรรษา ๖๓
    6418_n-jpg-_nc_cat-102-_nc_sid-2d5d41-_nc_ohc-laes_fxmx4ax80hvwd-_nc_ht-scontent-fkkc2-1-jpg-jpg.jpg
    sam_3035-jpg-jpg.jpg
    >>
    >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******บูชาที่ 200 บาทฟรีส่ง SAM_7510.JPG SAM_7511.JPG SAM_7512.JPG
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการี่ 848 เหรียญรับทรัพย์หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหมู่ใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่ประสิทธิ์เป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เหรียญสร้างปี เนื้อสำริด ,มีตอกโค๊ตยันต์หน้าเหรียญ >>>>>ประวัติโดยย่อพอสังเขปหลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    4B53C1CF8AB640B38BCFF58D43361ECB.jpg
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เจ้าอาวาส วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ละสังขารแล้ว สิริอายุ 75 ปี 55 พรรษา
    ถิ่นกำเนิด-ชาติสกุล
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เกิดที่บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2484 บิดาชื่อ พ่อสนธิ์ มารดาชื่อแม่มุก นามสกุล สิมมะลี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน เป็นชาย และหญิง 4 คน
    ชีวิตในวัยเด็ก
    หลวงพ่อประสิทธิ์ เท่ากับเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว เมื่อมีอายุ 7 ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ สอบไล่ได้ตำแหน่งที่ 1 หรือ ที่ 2 เป็นประจำทุกปี ตลอดจนจบชั้นประถมปีที่ 4 พอจบชั้นประถมแล้ว ครูใหญ่ชื่อ “ปรีชา” ให้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมพิทยานุกุล ในตัวจังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อได้ถามบิดาว่า “ จะเรียนดีหรือไม่เรียนดี” และเมื่อบิดาบอกว่ “ทำไร่ทำนาดีกว่า สบายใจดี” หลวงพ่อฯ จึงตัดสินใจช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา
    หลวงพ่อประสิทธิ์ เมื่อเยาว์วัย จึงเป็นแรงสำคัญช่วยงานบิดา มารดา อย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่ยังเรียนหนังสือชั้นประถม จนเช้าสู่วัยหนุ่มอายุ 19 ปี จึงเกิดความคิดอยากเข้าวัด เนื่องจากวัดป่านิโครธาราม ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อยู่ใกล้บ้าน ท่านได้ทบทวนชีวิตฆราวาส ผ่านมาได้ช่วยบิดามารดามา จนเป็นที่พอใจแล้ว ฐานะทางครอบครัวก็พอดีๆ ไม่รวยและไม่จน และพี่น้องต่างก็โต พอจะช่วยงานของครอบครัว พ่อแม่ได้แล้ว หลวงพ่อท่านคิดว่า ได้เกิดมาใช้หนี้บุญคุณพ่อแม่พอที่ได้อาศัย ท่านมาเกิดในชาตินี้แล้ว จึงคิดมองหา เส้นทางจิต ที่คิด ไม่อยากกลับมาเกิดเป็นหนี้ภพชาติอีกต่อไป โดยเกิดศรัทธาปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คิดจะบวชไม่มีกำหนดตลอดชีวิต หวังอยู่ปฏิบัติ ตนเพื่อหลุดพ้น ความเกิดจนถึงอมตะพระนิพพาน
    บรรพชาและอุปสมบท
    ต่อมาครอบครัว ได้พาหลวงพ่อเข้าไปฝากตัวกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2503 เวลา 19.00 น. และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2503 ณ วัดโพธสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปี พ.ศ.2504 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี ในวันที่ 1 มิถุนายน โดยมีพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุดรคณานุศาสน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    การปฏิบัติธรรม
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร ได้บวชและอยู่ศึกษาอบรมธรรมะกับหลวงปู่อ่ออน ญาณสิริ วัดนิโครธาราม ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ภายหลังหลวงปู่อ่อน มรณภาพลง ท่านได้ไปปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    จากนั้นได้เดินธุดงค์ขึ้นสู่ภาคเหนือ มาอยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่แหวน สุจิณฺโร วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แล้วเดินธุดงค์ แสวงหาความวิเวก จนกระทั่งมาพบสถานที่ป่าสงบเงียบ หลังที่ทำการชลประทานแม่แตง จึงได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ และยกฐานะเป็นวัดตามลำดับ

    วัดป่าหมู่ใหม่ เป็นวัดป่าสายธรรมยุตที่สงบเงียบ หลวงพ่อประสิทธิ์ ได้อนุรักษ์สภาพพื้นที่ป่าเดิม พร้อมกับปลูกป่าเสริมเพิ่มต้นไม้ตลอดเวลา ทำให้วัดมีต้นไม้ใหญ่สมบูรณ์ร่มรื่น

    การที่วัดป่าหมู่ใหม่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง แต่ละกฏิไม่มีการสะสมสิ่งของ ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ เป็นวัดปฏิบัติธรรม จึงเป็นวัดป่าศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์สำหรับผู้เข้าไปสัมผัส ทั้งนี้เพื่อ มรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริงนั่นเอง >>>>"กรรมใหญ่ของหลวงพ่อมันมาถึงแล้ว กรรมหมู่ใหญ่ครั้งนี้มันระดมต่อแถว พากันมาทวงคืนกับเราทั้งหมด ชาติสุดท้ายแล้วอะไรๆ มันก็พากันมาทวงคืนเอาทั้งหมด มันเป็นกรรมในอดีตชาติของเราทั้งหมด กรรมที่เราเคยเบียดเบียนมนุษย์ กรรมที่เราเคยเบียดเบียนสัตว์ กรรมที่เราเคยเบียดเบียน ทุบตีวัวนี้มันจะเข้ามาสนองก่อนเพื่อน กรรมนี้จะเป็นตัวเปิดประตู ให้กรรมอื่นๆ ในอดีตตามมา.." หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    หลวงปู่ประสิทธิ์ได้ละสังขารเข้าอนุปาิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2559 เวลา 14.23น. ด้วยโรคหัวใจอุดตัน สิริอายุ 75 ปี 4เดือน 26 วัน 55 พรรษา (ย่าง 56 พรรษา)

    >>>>มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 435 บาทฟรีส่งems(.....เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ หายากครับวัตถุมงคลหลวงปู่ มีประสบการณ์หมด ) SAM_7532.JPG SAM_7533.JPG SAM_6860.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2020
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 849 เหรียญนั่งโต๊ะหมู่รุ่นมหาเศรษฐีหลวงปู่คำผา ฆรมุตโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าคำนกถัว อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร สร้างปี 2556 เนื้อทองเเดงรมดำ มีตอกโค๊ตยันต์เเละโค๊ตตัวเลข 1786 หลังเหรียญ >>>>>>>..............ประวัติหลวงปู่คำผาโดยย่อพอสังเขป _/\_ _/\_ _/\_
    ประวัติ(ย่อ)หลวงปู่คำผา ฆรมุตฺโต
    การดำเนินชีวิตตั้งแต่วันเกิดเป็นมนุษย์มาหลวงปู่เอากำเนิดในตระกูลมณีเทพฝ่ายบิดา ฝ่ายมารดานามสกุลอุฒาธรรม มารดาเล่าให้หลวงปู่ฟัง ก่อนหลวงปู่จะลงสู่ครรถ์มารดามารดาฝันว่าหลวงปู่ที พันฺธุโล เอามีดโกนมาให้ ซึ่งหลวงปู่ที เป็นญาติของหลวงปู่ฝ่ายมารดา แต่นั้นมาจนคลอดออกมาบิดามารดา ตั้งชื่อให้ว่า คำผา มณีเทพ หลวงปู่เกิดวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๔๗๒ วันจันทร์ บิดานามว่า อ่อน มณีเทพ มารดานามว่า หมิด อุฒาธรรม เกิดในตระกูลยากจน เกิดที่บ้านนาเตียง หมู่ ๔ ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอบ้านหัน จังหวัดสกลนคร สมัยนี้เป็นอำเภอสว่างแดนดิน สมัยก่อนความเจริญไม่มี การศึกษาก็โรงเรียนที่วัด วันหยุดก็วันเดียวคือวันพระน้อยวันพระใหญ่ หลวงปู่เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๓ ออกโรงเรียน พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๕ มารดาเสียชีวิตหลวงปู่ได้ดูแลครอบครัวมาตลอด เป็นทั้งผู้ชายและผู้หญิง จนอายุได้ ๑๘ ปีได้เข้าบวชกับหลวงปู่ที พันธุโล ญาติของหลวงปู่เอง บวชเป็นสามเณรอยู่ ๓ ปีบวชเป็นพระอีก ๑ ปี ได้สิกขาลาเพศออกไปช่วยบิดาและน้องๆทำงาน เมื่ออายุได้ ๒๑ ปีได้แต่งงานกับ นาง สม โคตรสมบูรณ์ มีบุตรด้วยกัน ๑๐ คน ชาย ๕ คน หญิง ๕ คน

    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เกิดขัดสนทางการทำมาหากินจึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านหนองหว้า ตำบลทรายมูล อำเภอสว่างแดนดิน ห่างจากบ้านเดิมประมาณ ๑๐-๒๐ กิโลเมตร ได้อยู่กินกันมาตลอดถึง ๒๐กว่าปี จนอายุหลวงปู่ได้ ๕๒ ปีจึงได้เข้าร่มกาสาวพัสตร์
    ประวัติของหลวงปู่ตอนเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์
    ขอลาแม่ออกอยู่ถึง ๓ ปี เขาจึงอนุญาตให้อุปสมบท วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่พัทธสีมา วัดสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดย พระครูวิทิตคุณาภรณ์(เกิ่ง) วิทิโต เป็นอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลปัญญาคม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก เป็นอนุสาวนาจารย์ ให้ฉายาว่า พระคำผา ฆรมุตฺโต แปลว่า “ผู้พ้นจากเรือนแล้ว”
    พรรษาที่ ๑ จำพรรษาที่ถ้ำโพธิ์ทอง
    พรรษาที่ ๒ จำพรรษาที่วัดป่าหนองหว้า
    พรรษาที่ ๓ จำพรรษาที่วัดป่าแก้วเจริญธรรม บ้านคำเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

    จากนั้น เมื่อออกพรรษาก็เที่ยวธุดงค์ไปที่ต่างๆ เช่น จังหวัดนครพนม ไปฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ มี หลวงปู่หล้า เขมปัตฺโต หลวงปู่ลือ หลวงปู่สาม ทางจังหวัดอุดรธานี อำเภอหนองบัวลำภู ไปกราบนมัสการ หลวงปู่ขาว หลวงปู่อ่อน หลวงปู่คำฟอง หลวงปู่บุญเพ็ง หลวงปู่จันทา ถึงฤดูเข้าพรรษาก็จำพรรษากับครูบาอาจารย์

    ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ญาติโยมบ้านดงสวรรค์ไปนิมนต์หลวงปู่มาอยู่วัดป่าคำนกถัว เพราะวัดป่าคำนกถัวไม่มีพระนำปฏิบัติและไม่มีผู้บูรณะวัดวาศาสนา แต่ไม่ได้จำพรรษาที่นี่ พอออกพรรษาญาติโยมไปนิมนต์หลวงปู่กลับมา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมาญาติโยมเขาไม่ให้หนีถ้าหลวงปู่ไม่กลับมา วัดจะร้างเขาว่าอย่างนั้น เพราะว่าหลวงปู่ก็นับวันแก่ลง ไปไหนก็ลำบาก อีกอย่างหลวงปู่เป็นพระพูดจริงทำจริง และเป็นพระหน้าด้านนักรบ ไม่ใช่พระนักหลบใครว่าอะไรอย่างไรหลวงปู่เฉยไม่สนใจ ขอแค่ทำถูกต้อง

    ปี พ.ศ.๒๕๓๖ เกิดภัยอย่างร้ายแรง คือมีคนมาตีหัวพระลูกวัดของหลวงปู่ ท่านไปทำความเพียรอยู่ที่ศาลารวมญาติที่เมรุโน่น เวลาตีสี่ท่านเดินเหนื่อยท่านมานั่ง เขาย่องเข้ามาตีหัวพระด้วยฆ้อนตีตะปู กะโหลกแตกไปโรงพยาบาลไม่ฟื้น เขาว่า เขาตีผิดตัว หลวงปู่ประกาศให้มาตีใหม่จะได้ไม่ผิดตัว หลวงปู่ว่า ก่อนจะเกิดเรื่อง หลวงปู่ประชุมสองหมู่บ้าน คือ บ้านดงสวรรค์และบ้านหนองไผ่ ให้ปิดถนนกลางวัด ผู้ที่เข้าประชุมก็ไม่ขัดข้อง ผู้ที่ไม่มาประชุมนั้นเขาด่าว่าหลวงปู่ไปต่างๆนาๆ หลวงปู่ก็เฉย เรื่องของหมาเทวดาอย่างเราอย่าไปยุ่งหลวงปู่ว่า เมื่อปิดถนนแล้วหลวงปู่ก็ทำถนนรอบวัดให้ลงหินลูกรัง ต่อมาพวกเป็นปฏิปักษ์กับพระ เขาก็กลับบ้านเก่าไปหมดแล้ว

    ต่อมาหลวงปู่ก็บำรุงวัดศสนสมบัติมาตลอด มีญาติโยมเขาจะสร้างซุ้มประตู หลวงปู่ก็อนุญาตให้ทำ เมื่อก่อนค่าของก็ไม่แพง ค่าแรงทั้งหมดรวมค่าอุปกรณ์ ราคาก็ ๖๐๐๐๐ บาท หลวงปู่หาขอไม่เป็น มีแต่ญาติโยมเขาช่วย ได้กำแพงไปหลายล็อกด้วย ปีต่อมาก็ทำกำแพงไปเรื่อยๆทำอยู่ ๓ ปีก็สำเร็จ ทั้งที่ดินป่าช้า ทั้งที่ดินวัดรวม ๓๔ ไร่จนสำเร็จ บูรณะศาลาการเปรียญ ขอทะเบียนวัดในปีพ.ศ.๒๕๔๐ สร้างทรัพย์ภายนอกเสร็จแล้ว บัดนี้ก็สร้างทรัพย์ภายใน คืออริยทรัพย์ เป็นทรัพย์อันประเสริฐสุด คือสัทธา,สีล,หิริ,โอตตัปปะ,พาหุสัจจะ,จาคะ,ปัญญา อริยทรัพย์ดีกว่าทรัพย์ภายนอก คือแก้วแหวน เงินทอง เป็นต้น, อีกอย่าง สีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีตลาดขาย อยู่ที่ตัวของเราเอง ทำเอง ปฏิบัติเองจึงจะได้จะมี ไม่มีตลาดขายเหมือนสิ่งของภายนอก

    ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ปลายปีเกิดอุบัติเหตุอย่างแรง ตอนเช้าเวลา ๐๖.๓๐ น หลวงปู่ออกบิณฑบาต วันนั้นรถทัวร์วิ่งมาจากอุดร มาชนหลวงปู่ ที่กำลังบิณฑบาตโปรดสัตว์และญาติโยม หลวงปู่ไม่รู้สึกตัวเลย เป็นตายร้ายดีอย่างไรก็ไม่รู้สึกตัวอยู่วันกับคืนหนึ่ง เขานำตัวหลวงปู่ไปโรงพยาบาลเอกอุดร หลวงปู่ยืนดูศพตัวเอง เขาหามขึ้นรถ หลวงปู่ถามเขาจะเอาศพไปไหน เขาก็ไม่พูดไม่บอก เมื่อรถออกหลวงปู่ก็ไม่รู้สึกตัว ตอนค่ำตอนเย็นหลวงปู่ฟื้นตัวขึ้นมารู้สึกทรมานเหลือเกิน เขาว่ากระดูกซี่โครงหักข้างขวาหัก ๖ ซี่ ซี่โครงข้างซ้ายหัก ๒ ซี่ พักฟื้นอยู่โรงพยาบาลเอกอุดร ๔ คืน เขาส่งไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ๒๕ วันจึงได้กลับวัด

    หลังจากนั้นมาหลวงปู่ไปไหนเองไม่ได้ ต้องขี่รถสามล้อไป วันไหนไม่ฉันก็ไม่ไป ไม่รับนิมนต์ทางไหนเลย ใครจะติฉินนินทา จะสรรเสริญเยินยออย่างไรหลวงปู่เฉย ในทำนองที่ว่า เรื่องของหมา เทวดาอย่าไปยุ่ง ถ้าหลวงปู่พูดไม่ถูกกิเลสใคร หลวงปู่ขออภัยด้วยนะ ขอเจริญพร

    ลวงปู่คำผา ฆรมุตโต วัดป่าคำนกถัว อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานแล้วเวลา ๒๒.๐๕ น. ในวันจันทร์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๗ สิริอายุรวม ๘๔ ปี ๑ เดือน ๑๘ วัน พรรษา ๓๒

    _/\_ _/\_ _/\_มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems(>>>>พระรุ่นนี้หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันตฺ์วัดป่าโสตถิผลเเละหลวงปู่เคน เขมาสโย พระอรหันต์วัดป่าบ้านหนองหว้า ก็ได้ร่วมเมตตาอฐิษบานจิตให้ด้วยครับ )
    _1535816163_o.jpg?_nc_cat=110&_nc_sid=2d5d41&_nc_ohc=wKFncoZ79kMAX-igfJ6&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg
    SAM_7536.JPG SAM_7537.JPG SAM_6806.JPG SAM_7538.JPG SAM_7539.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2020
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 850 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่เบ็ง ฐิตธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าคีรีวงศ์(วัดป่าภูสิงห์) อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ หลวงปู่เบ็ง ฐิตธัมโม เจ้าอาวาสวัดป่าคีรีวงค์ภูสิงห์ บ้านใหม่ชมภู ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ศิษย์ในองค์หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ ละสังขารอย่างสงบแล้ววันนี้ ณ กุฏิปลอดเชื่อภายในวัด เมื่อเวลา ๑๐.๓๗ น. ตรงกับวันอังคารที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ สิริอายุ ๙๕ ปี ๖ เดือน ๑๖ วัน ๔๓ พรรษา >>>>>>ประวัติโดยย่อพอสังเขปหลวงปู่เบ็ง ฐิตธัมโม หลวงปู่เบ็ง ฐิตธัมโม วัดป่าคีรีวงศ์ภูสิงห์ อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ อีกรูปหนึ่ง หลวงปู่เกิดตรงกับวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๗(รอตรวจสอบอีกครั้งครับ/แอดมินท่องถิ่นธรรม) หลวงปู่เบ็งท่านเล่าว่า องค์ท่านเคยบวชครั้งแรกแล้วได้มีโอกาสไปฟังธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ด้วย บวชครั้งแรกอยู่ ๔ พรรษา จากนั้นจึงลาสิกขาไปใช้ชีวิตทางโลกอยู่ ๙ ปี จึงได้กลับมาบวชใหม่อีกครั้งได้ ๔๐ กว่าพรรษาแล้ว ที่เทือกเขาภูสิงห์นี้ แบ่งเป็น ภูสิงห์น้อย กับภูสิงห์ใหญ่ อยู่ในอาณาเขตติดกัน ครั้งหนึ่งหลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ ท่านมาบำเพ็ญสมณะธรรมอยู่ที่ถ้ำแห่งนึงบนภูสิงห์ ระหว่างนั่งทำสมาธิอยู่ที่ถ้ำแห่งนึ้น องค์ท่านได้ยินเสียงปืนดังขึ้น ๒ นัด ไม่นานก็เห็นกวาง ๒ ตัว วิ่งกระหืดกระหอบเข้ามายืนทำตาละห้อยอยู่ข้างล่าง คล้ายจะมาขอฝากตัวหลบภัย ต่อจากนั้นไม่นาน ก็ได้ยินเสียงปืนระเบิดดังสนั่น และได้ยินเสียงร้องครวญครางขอความช่วยเหลือ ท่านจึงลุกไปดู เห็นชายคนหนึ่งถูกปืนนอนร้องอยู่ มีเพื่อนช่วยประคองอยู่ข้างๆ ถามได้ความว่า พวกเขาเข้ามาล่าสัตว์ ในเขตวัด เห็นกวาง ๒ ตัวผัวเมีย ก็เอาปืนยิง แต่พลาด เขาไล่ตามมา เห็นกวางหยุดยืนตรงหน้าถ้ำ จึงยกปืนยิงอีก แต่ยิงไม่ออกถึง ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ยิงได้ แต่ปืนแตก สะท้อนมาถูกผู้ยิงเอง ตามมือและเนื้อตัวเหวอะหวะหมด เลือดไหลโกรกอย่างน่ากลัว ท่านจึงช่วยเพ่งให้เลือดหยุด และตักเตือนให้เขานึกถึงบาปบุญคุณโทษในการตั้งใจทำลายชีวิตผู้อื่น โดยเฉพาะในเขตวัดและท่านให้เขาปฏิญาณรับศีล ๕ แล้วก็ให้กลับบ้านไป เขาก็เล่าลือกันต่อๆ ไป ไม่ให้ไปล่วงเกินสัตว์ในเขตวัด เพราะอาจมีอันตราย ก็เป็นการดี คือทำให้สัตว์ทั้งหมดอยู่ด้วยความสงบขึ้น ด้านบนภูสิงห์มีวัดพระกัมมัฏฐานอยู่หลายแห่งด้วยกัน และหนึ่งในนั้นก็คือ วัดป่าคีรีวงศ์ภูสิงห์ วัดของหลวงปู่เบ็ง ที่รักษาข้อวัตรปฏิบัติไว้อย่างดี

    "ไปไหนมาไหน อย่าลืมพุทโธเด้อ ดีที่สุด" โอวาทธรรมหลวงปู่เบ็ง ฐิตธัมโม

    _/\_ _/\_ _/\_

    33182578688_o.jpg?_nc_cat=100&_nc_sid=110474&_nc_ohc=n8834T21cEQAX8JIvh3&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg

    หลวงปู่เบ็งองค์ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร วัดป่าวิเวกพัฒนารามครับ เคยอยู่ทันอุปฐากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผมได้เองได้ไปกราบองค์่านครั้งสุดท้ายก่อนท่านละสังขารเข้าก่อนองค์ท่านละสังขารประมาณก่อน 2 อาทิตย์ วันที่ผมไปกราบได้อุปฐากรับใช้สรงนํ้าให้หลวงปู่ด้วยครับ เเละหลวงปู่ได้เมตตาเขียนยันต์ใส่กระดาษมอบให้ผมครับมีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******บูชาที่ 475 บาทฟรีส่งems(......สุดยอดหายากมากๆๆสร้างน้อยมีรุ่นเดียวครับเเละผมมีเหลือเหรียญเดียวครับผม) ****เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ SAM_7534.JPG SAM_7535.JPG SAM_6877.JPG SAM_7540.JPG
     
  9. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองนะครับ
     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 851 เหรียญเสมารุ่นเเรกเเละรุ่นเดียวหลวงปู่หลวง กตปุญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดสุคีรีบรรพต อ.เมือง จ.ลำปาง หลวงปู่หลวงเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้าย เหรียญสร้างปี 2543 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล สร้างเนื่องฉลองหลวงปู่อายุครบ 79 ปี มีตอกโค๊ต ตรงผ้าสังฆาฏิ มีรอยจารมือตรงผ้าสังฆาฏิ เลี่ยมกันน๊้าอย่างดี >>>>>>มีพระเกศาเเละอัฐิธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งems ประวัติย่อพอสังเขป
    "หลวงปู่หลวง กตปุญโญ" หรือ พระครูการุณยธรรมนิวาส พระสายปฏิบัติเมืองลำปาง หนึ่งในศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระป่า

    นามเดิมชื่อ หลวง สอนวงค์ษา เกิดเมื่อวันที่ 27 ก.พ.2464 ตรงกับปีระกา ที่บ้านบัว หมู่ที่ 5 ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    เนื่องจากเป็นพี่ชายคนโต จึงต้องรับภาระช่วยพ่อ-แม่ ทำไร่นาและดูแลน้องๆ อีก 5 คน เมื่ออายุได้ 7-8 ขวบไปปรนนิบัติหลวงลุง ซึ่งเป็นพระมหานิกายอยู่วัดใกล้บ้าน พร้อมกับเรียนหนังสือไปด้วย จึงมีจิตใจโน้มเอียงทางพุทธศาสนา จนได้อ่านหนังสือพระไตรสรณคมน์ ของพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จนมีความเลื่อมใสมากขึ้น

    พออายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบทในสังกัดพระมหานิกาย เมื่อปีพ.ศ.2485 ที่พัทธสีมา วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้รับฉายา "ขันติพโล"

    มีความหมั่นเพียรขยันอดทนทั้งปริยัติและปฏิบัติจนสอบได้นักธรรมชั้นโท

    ระยะนั้น หลวงปู่สิม พุทธจาโร กลับไปเยี่ยมบ้านเกิด พระหลวงได้ไปกราบและศึกษาข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทา ตลอดจนได้อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ สิมอยู่หลายเดือน

    ครั้งหนึ่งพระหลวงไปนมัสการ หลวงปู่แว่น ธนปาโล ที่ อ.เมือง จ.สกลนคร จึงมีโอกาสพบ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ฟังพระธรรมเทศนาคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่นจนซาบซึ้ง

    จึงเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือ เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่สิม พุทธจาโร ที่วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอญัตติใหม่ เมื่อวันที่ 9 ก.ค.2493 ที่วัดเชตวัน อ.เมือง จ.ลำปาง โดยมีพระครูธรรมาภิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌายะ หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาใหม่ว่า "กตปุญโญ"

    เดินทางธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่สิม พุทธจาโร, หลวงปู่แว่น ธนปาโล ไปในหลายจังหวัดเขตภาคเหนือ เพื่อฝึกปฏิบัติอบรมกัมมัฏฐานภาวนา จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส ในปีพ.ศ.2506 ในปีเดียวกันเป็นเจ้าคณะตำบล อ.เกาะคา ต่อมาในปีพ.ศ.2509 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูการุณยธรรมนิวาส และปีพ.ศ.2511 เป็นพระอุปัชฌาย์
    4.jpg
    ประวัติหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
    พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ)
    วัดป่าสำราญนิวาส จังหวัดลำปาง
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นญาติกับ
    หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    และหลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง หลวงปู่หลวงเป็นพระนักปฏิบัติท่านออกธุดงค์กรรมฐานไปหลาย จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่เทสก์ เทสรังษี หลวงปู่หลวงท่านเป็นผู้ทรงศีลตามรอยพระพุทธบาท ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ควรค่ายิ่งแห่งความเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธทั้งหลาย

    1.jpg
    พระธาตุหลวง กตปุญฺโญแปรสภาพจากเถ้าอังคาร

    2.jpg
    อัฐิธาตุของหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
    3.jpg อัฐิธาตุหลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ ส่วนไหปลาร้า SAM_7541.JPG รูปสุดท้ายคือพระธาตุของหลวงปู่หลวงี่เเปรสภาพเป็นเพชรที่ผมมีไว้บูชาด้วยครับ SAM_6697.JPG SAM_7542.JPG SAM_6695.JPG








     
  11. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,333
    ค่าพลัง:
    +4,793
    บูชาครับ
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 852 พระผงสมเด็จปรกโพธิ์หลังรูปเหมือนหลวงปู่นั่งเต็มองค์ในซุ้มหลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอรหันต์เจ้าวัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี องค์พระสร้างปี 2533 มีตอกโคีตหมึก มีฝังพระเกศาเห็นด้านรูปเหมือนหลวงปู่บุดดา องค์นี้มีเห็นเส้นเกศาหลวงปู่โผล่หลายเส้น เช่น ตรงผ้าข้างลำตัวด้านซ้ายเเละตรงปมผ้ารัดลำตัวหลวงปู่ มีเห็นโผล่ 2 เส้นขาวใสมากเเละเส้นสีดำ 1 เส้นทั้งด้านบนเเละล่าง,ตรงในซุ้มมีเห็นอีกเส้นครับสีทอง เป็นต้น พระใหม่ไม่เคยใช้ ,มีพระเกศาหลวงปู่,เเป้งเสก,จีวร มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>>>บูชาที่ 455 บาทฟรีส่งems >>>> ประวัติโดยย่อๆพอสังเขป พระบุดดา ถาวโร
    (บุดดา ถาวโร)
    หลวงปู่บุดดา

    5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B2_copy.jpg
    เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2436
    มรณภาพ 12 มกราคม พ.ศ. 2537
    อายุ 101
    อุปสมบท พ.ศ. 2465
    พรรษา 72
    วัด วัดกลางชูศรีเจริญสุข
    จังหวัด สิงห์บุรี
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร มีนามเดิมว่า บุดดา นามสกุล มงคลทอง เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2437 (พุทธศักราชแบบเก่า) สถานที่เกิด หมู่บ้านหนองเกวียนหัก ต.พุคา อ.บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ได้บรรพชาและอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเนินยาว ต.หนองทรายขาว อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ในปีพ.ศ. 2465 โดยมีพระครูธรรมขันธ์สุนทร (หม่อมราชวงศ์เอี่ยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ 12 มกราคม พ.ศ. 2537 สิริอายุ 99 ปี 7 วัน 72 พรรษา ตรงกับวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา
    หลวงปู่บุดดา มีโยมบิดาชื่อ นายน้อย มงคลทอง โยมมารดาชื่อ นางอึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ในช่วงวัยเด็กท่านได้เกิดมีสัญญาความจำระลึกย้อนอดีตชาติได้ว่า บิดาของท่านในอดีตชาติเคยเป็นพี่ชายของท่าน
    พอเข้าสู่วัยฉกรรจ์อายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2458 ได้ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ทหารบกปืน 3 ในสมัยรัชกาลที่ 6 รับราชการทหารอยู่ 2 ปี ในกองทัพที่ 3 ลพบุรี สมัยเมื่อเป็นพลทหารหนุ่มรูปงาม มีผู้หญิงมาชอบ เข้ามาพูดจาทำนองเกี้ยว แต่ท่านพูดกลับไปว่า "กลับไปเสียเถิด ฉันเป็นทหารตัวเมีย ไม่ชอบผู้หญิง ถ้าไปเจอทหารตัวผู้คนอื่นเข้าก็จะลำบาก"

    ในปี พ.ศ. 2460 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทางการได้มีการรับสมัครคัดเลือกทหารอาสาไปราชการรบในสงคราม ณ ทวีปยุโรป หลวงปู่บุดดาได้เข้าสมัครอาสาด้วยเหมือนกัน แต่ท่านกินเหล้าไม่เป็น เขาจึงไม่รับโดยได้อธิบายเหตุผลว่า ในทวีปยุโรปนั้นอากาศหนาวเย็นมาก ทหารทุกคนจำเป็นต้องดื่มเหล้าเพื่อช่วยให้คลายหนาว ดังนั้นท่านจึงไม่ได้เข้าร่วมในสงครามคราวนั้น
    สู่ร่มกาสาวพัสตร์
    หลังรับราชการทหาร ท่านได้ช่วยโยมบิดามารดาทำงานเกษตรกรรมอยู่ 4 ปี โดยท่านมีความปรารถนาในใจเสมอมาว่า อยากจะได้บวชในร่มเงาพระพุทธศาสนา ด้วยจิตที่เบื่อหน่ายในทางโลกมาตั้งแต่เด็กแล้ว ดังนั้นเมื่อมีโอกาสจึงขออนุญาตต่อบิดามารดาบวช เมื่ออายุได้ 28 ปี ที่วัดเนินยาว โดยมีพระครูธรรมขันธ์สุนทร (ม.ร.ว.เอี่ยม อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเรือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการไพล เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    โดยมีคณะสงฆ์ 25 รูป นั่งเป็นพระอันดับ ได้ฉายาว่า "ถาวโร"
    หลวงปู่บุดดา ท่านกล่าวเสมอว่า ท่านถือพระอุปัชฌาย์ และพระสงฆ์ 25 รูป เป็นครูบาอาจารย์อุปัชฌาย์ทุกองค์ ท่านสอนปัญจกรรมฐานให้แล้วในวันอุปสมบท คือเกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ หรือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยพิจารณาเรียงไปตามลำดับและย้อนกลับ จนเห็นชัดเจน
    แสวงโมกขธรรม
    หลังจากบวช เมื่อออกพรรษาแรกแล้วหลวงปู่บุดดาได้ออกจาริกแสวงหาสถานที่วิเวก เจริญสมณธรรมตามอัธยาศัยเพียงองค์เดียว หลวงปู่บุดดามุ่งปฏิบัติกรรมฐานพิจารณากายภายในอยู่เสมอ ข้อวัตรปฏิบัติเคยทำอย่างไรก็ยังคงทำมิได้ขาด ท่านทำความเพียรอยู่โดยตลอด บางครั้งบางคราว กิเลสราคะอันมักจะเกิดขึ้นมาให้รู้ได้ว่ายังมีอยู่ท่านก็ได้เพียรพยายามดับมันด้วยอุบายวิธีต่าง ๆ

    หลวงปู่บุดดาท่านจาริกธุดงค์บำเพ็ญเพียรมาโดยตลอด จนถึงพรรษาที่ 4 ท่านได้ออกธุดงค์อยู่ในป่าแถบเทือกเขาภูพานนั้น ท่านได้พบกับพระธุดงค์องค์หนึ่งคือ พระสงฆ์ พรหมสโร ซึ่งมีอายุแก่กว่าท่าน 10 ปี พรรษามากกว่า 1 ปี ทันทีที่ได้พบหน้าท่านระลึกชาติได้ว่าพระสงฆ์ พรหมสโร เคยเป็นบิดาในอดีตชาติ ท่านจึงเรียกพระสงฆ์ พรหมสโร ว่าคุณพ่อสงฆ์ หลวงปู่บุดดากับพระสงฆ์ พรหมสโร มีอัชฌาสัยตรงกัน

    หลังจากนั้นท่านได้ออกจาริกร่วมธุดงค์มาด้วยกัน จากอีสานมาสู่ภาคกลาง ผ่านตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี นครสวรรค์พบชัยภูมิคือ ภ้ำภูคา บนภูคา มีบรรยากาศสงบ ร่มเย็นและวิเวกยิ่ง สถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การเจริญกรรมฐานยิ่ง พอใกล้พรรษาทั้งสองจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าหนองคู พอออกพรรษาก็กลับมาที่ถ้ำภูคาอีกครั้ง

    ณ ที่ถ้ำภูคานี้เองที่หลวงปู่บุดดาในพรรษาที่ 4 และพระสงฆ์ พรหมสโร ในพรรษาที่ 5 ได้พำนักอาศัยบำเพ็ญเพียรจนได้รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจธรรมทั้งสององค์

    >>>>สิ้นอาสวะ(บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์)
    หลวงปู่บุดดาท่านได้เล่าเหตุการณ์ในวันที่บรรลุธรรมว่า คืนนั้นขณะที่ท่านทั้งสองกำลังนั่งคุยกันอยู่ โดยนั่งลืมตาคุยกันปกตินี่เอง แล้วหันหน้าเข้าสนทนากันอย่างออกรสชาติอยู่นั่นเอง จู่ ๆหลวงปู่บุดดาก็เงียบเสียงไปเฉย ๆ นั่งลืมตาค้างอยู่ พระสงฆ์ พรหมสโร ท่านก็นั่งเฝ้าอยู่อย่างนั้นมองดูอยู่ ปกติท่านเป็นพระขี้สงสัย ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ก็แปลกใจที่ทำไมหลวงปู่บุดดาจึงเงียบเสียงไปเฉย ๆ ก็ถามหลวงปู่บุดดาว่า "เอ๊ะ เป็นอะไรไป"
    หลวงปู่บุดดาท่านก็นิ่งเฉยไม่ตอบ นัยน์ตาคงเบิกโพลงอยู่อย่างนั้น เป็นอันว่าหลวงปู่บุดดาท่านได้จบกิจพระศาสนา ทำอาสวะให้สิ้นต่อหน้าพระสงฆ์ พรหมสโร นั่นเอง
    หลังจากนั้น 3 วัน ในตอนเช้าก่อนที่จะออกบิณฑบาต พระสงฆ์ พรหมสโร ก็มาบอกต่อหลวงปู่บุดดาว่า "ไม่มีคนไปนรก ไม่มีคนไปสวรรค์ เน้อ" หลวงปู่บุดดาจึงเสริมว่า "โอ๊ย มันจะมีนรก มีสวรรค์อย่างไร นั่นมันกิเลสต่างหากเล่า กิเลสหมด มันก็หมดนรก หมดสวรรค์ซิ" เป็นอันว่าพระสงฆ์ พรหมสโร ท่านได้จบกิจบรรลุธรรมในคืนก่อนนั่นเอง

    SAM_7543.JPG SAM_7544.JPG SAM_7546.JPG SAM_7549.JPG SAM_7550.JPG SAM_7551.JPG SAM_7547.JPG SAM_5634.JPG SAM_6737.JPG
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 853 พระผงหน้าเหมือนรูปไข่หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญวิเวก อ.เเม่เเตง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่เปลี่ยนเป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ,หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ เป็นต้น องค์สร้างปี 2552 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 75 ปี องค์นี้พิเศษมีฝังพระเกศาหลวงปู่เห็นโผล่ชัดเจนครับ มาพร้อมกรอบเเสตนเลส ใส่คอขึ้นบูชาได้เลยครับ .......ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
    พระเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
    (เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป)
    9_-e0-b8-9b-e0-b8-b1-e0-b8-8d-e0-b8-8d-e0-b8-b2-e0-b8-9b-e0-b8-97-e0-b8-b5-e0-b9-82-e0-b8-9b-jpg.jpg
    เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
    มรณภาพ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
    อายุ 84 ปี 2 เดือน 30 วัน
    อุปสมบท 31 มีนาคม พ.ศ. 2502
    พรรษา 59
    วัด วัดอรัญญวิเวก
    ท้องที่ เชียงใหม่
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป นามสกุลเดิม วงษาจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ตรงกับวันพฤหัสบดี ปีระกา ณ บ้านโคกคอน ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ กิ่ง มารดาชื่อ อรดี สกุลเดิม จุนราชภักดี บิดามารดาทำการค้าขาย มีฐานะดี คุณตาเป็นกำนันอยู่ที่ตำบลโคกสี ชื่อ ขุนจุนราชภักดี และคุณยายรักท่านมากจึงรับท่านมาเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน เป็นผู้ชาย 5 คน ผู้หญิง 1 คน มีชื่อตามลำดับ ดังนี้[1]นายสมบิน วงษาจันทร์ (ถึงแก่กรรม,) 2นายคำปิ่น วงษาจันทร์ (ถึงแก่กรรม)3พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป4นายเหรียญ (วงษาจันทร์) นันตสูตร (ถึงแก่กรรม)5นางหนูจีน (วงษาจันทร์) ธรรมจิตร (ถึงแก่กรรม)6นายถวิล วงษาจันทร์ (ถึงแก่กรรม)
    การศึกษาในระยะแรก ได้เรียนกับคุณตาคุณยายที่บ้าน เพราะระหว่างนั้น เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านโคกคอน เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่ออายุ 11 ปี สอบได้ที่หนึ่งในชั้น ท่านมีความประสงค์จะเรียนต่อ แต่มารดาต้องการให้ท่านมาช่วยงานค้าขายของบิดา ท่านจึงต้องปฏิบัติตามความประสงค์ของมารดา
    ในการประกอบอาชีพค้าขายของท่านนั้น ท่านต้องออกเดินทางไปซื้อของถึงจังหวัดอุดรธานี โดยนั่งรถโดยสารบ้าง รถบรรทุกหรือรถขายถ่านบ้าง สินค้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไป เมื่อถึงฤดูทำนาก็จ้างคนมาทำนา แต่ละปีสามารถเก็บเกี่ยวข้าวจากนาได้มาก จึงขยายกิจการไปค้าขายข้าวเปลือกกับโรงสีใหญ่ ๆ ด้วย
    หลังจากผ่านการคัดเลือกทหารแล้ว ท่านหันไปสนใจการรักษาคนเจ็บป่วย ได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้เรื่องยา การรักษาคนไข้จากหมอประจำอำเภอซึ่งเป็นญาติกัน คุณหมอจึงคิดจะส่งท่านไปเรียนต่อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งคุณตาก็สนับสนุน แต่มารดาไม่อนุญาต ต้องการให้ท่านดูแลการค้าต่อไป
    ในการทำการค้านั้น กิจการต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดี ฐานะการเงินของครอบครัวดี พระอาจารย์เปลี่ยนเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการงานสูง ญาติพี่น้องและผู้ใกล้ชิดจึงไว้ใจ ได้พากันนำเงินมาฝากท่านเหมือนหนึ่งเป็นธนาคาร ท่านก็เก็บรักษาให้เขาโดยไม่ได้อะไรตอบแทน ท่านทำให้กับทุกคนด้วยความรักและนับถือเหมือนกับที่เขาวางใจท่าน ส่วนในเรื่องการครองเรือนนั้น ท่านไม่คิดที่จะแต่งงานหรือตกลงใจกับใคร แม้ว่าจะมีเพศตรงข้ามพยายามเข้ามาสนิทสนมด้วยหลายคน
    พระอาจารย์เปลี่ยนมีโอกาสดีได้คุ้นเคยกับพระสงฆ์มาตั้งแต่อายุ 11-12 ปี เมื่อทางบ้านมีงานบุญ ท่านจะทำหน้าที่ไปรับพระที่วัด จึงได้เห็นวิธีเดินจงกรมของพระอาจารย์ลี วัดป่าบ้านตาล และเป็นผู้ที่ได้แนะนำให้ไปหาหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ (ซึ่งบวชเมื่ออายุมากแล้วและติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการยกย่องด้านการบำเพ็ญเพียรไม่ท้อถอย) หลวงปู่พรหมได้เดินจงกรมให้ดู และสอนให้เดินด้วย จึงถือได้ว่าหลวงปู่พรหมเป็นพระอาจารย์องค์แรกของพระอาจารย์เปลี่ยน
    พระอาจารย์เปลี่ยนได้ศึกษากับพระที่บวชกับหลวงปู่พรหมหลายองค์ ซึ่งสรรเสริญการบวชมาก ทำให้พระอาจารย์เปลี่ยนคิดบวชอยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปี 14 ปี 16 ปี จนถึง 20 ปี แต่มารดาก็ไม่อนุญาตทั้ง ๆ ที่พี่ชาย 2 คนก็บวช แล้วตัวมารดาเองก็ไปวัดถือศีลทุกวันพระ และบางครั้งเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตก็ตาม จนกระทั่งบิดาของท่านซึ่งป่วยด้วยวัณโรคถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2497 และอีก 5 ปีต่อมาคุณลุงก็ถึงแก่กรรมอีกคนหนึ่ง พระอาจารย์เปลี่ยนจึงใช้ความพยายามขอบวชอีกครั้งหนึ่งเพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่เหมือนกับพี่ชายทั้ง 2 คน เพราะยังไม่เคยบวชเลย ขณะนั้นพี่ชายได้สึกออกมาประกอบอาชีพแล้ว มารดาและคุณตาทนการรบเร้าของพระอาจารย์ไม่ไหว จึงอนุญาตให้บวชแค่เพียง 7 วัน
    ครั้นทำการฌาปนกิจศพคุณลุงแล้ว วันรุ่งขึ้นท่านก็ถือโอกาสเข้าวัดเพื่อเตรียมตัวบวช หัดขานนาคพร้อมกับคนอื่นซึ่งมาอยู่วัดถือศีลอีก 2 คน ฝึกสวดมนต์เจ็ดตำนานได้เกือบหมดเล่ม ใช้เวลา 40 วัน มีพระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ เป็นครูผู้ฝึกสอน
    พระอาจารย์เปลี่ยนเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดธาตุมีชัย บ้านโคกคอน ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 พระอุปัชฌาย์ชื่อ พระครูอดุลย์สังฆกิจ พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระครูพิพิธธรรมสุนทร ได้ฉายาว่า ปัญญาปทีโป
    เนื่องจากวัดธาตุมีชัยเป็นวัดฝ่ายมหานิกาย ดังนั้น เมื่อพระอาจารย์เปลี่ยนบวชแล้วจึงย้ายไปอยู่วัดทุ่งสว่าง บ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ท่านมีความสบายกายสบายใจมากเพราะได้ปล่อยวางภาระต่าง ๆ ตั้งแต่การรับผิดชอบเงินทองจำนวนมาก ทั้งของท่านเองและเงินฝากของผู้อื่น ความกังวลในการค้าขายให้กับครอบครัวและญาติพี่น้อง รวมทั้งการดูแลรักษาไร่นา วัวควาย และทรัพย์สมบัติอื่น ๆ ที่ท่านแบกอยู่ผู้เดียวมาตั้งแต่อายุ 12 ปี ครั้นบวชได้ 18 วัน โยมมารดาก็ขอให้ท่านสึก เพราะเลยกำหนดเวลาที่อนุญาตแล้ว แต่ด้วยความฝักใฝ่ในการศึกษาธรรมะของท่าน จึงได้ขอโยมมารดาบวชต่อให้ครบ 1 พรรษา
    แสวงโมกขธรรม
    ด้วยความมุ่งมั่นของพระอาจารย์เปลี่ยนที่จะศึกษาธรรมะให้ถึงจุดหมายปลายทางของศาสนา ท่านจึงพยายามบ่ายเบี่ยงโยมมารดาในการสึกและหนีออกไปธุดงค์ตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อแสวงหาโมกขธรรม และได้พบกับพระอาจารย์ที่ได้ยินกิตติศัพท์ ทั้งภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคเหนือ แต่ที่พระอาจารย์เปลี่ยนอยู่ฝึกปฏิบัติธรรมด้วยนาน ๆ และรับใช้ใกล้ชิดอย่างสนิทสนมคือ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม และ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ส่วนองค์อื่น ๆ เช่น อาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก) หลวงปู่สาม อกิญฺจโน พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตฺตโม) หลวงปู่แว่น ธนปาโล หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต พระอาจารย์ที่ท่านได้พบนั้นต่างมีเมตตาเทศน์อบรม ทำให้ท่านมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมยิ่งขึ้นไปเป็นลำดับ
    พระอาจารย์เปลี่ยนเป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน ท่านมีลูกศิษย์มากมายที่ติดตามและฝึกปฏิบัติตามแนวทางของท่าน พระอาจารย์เปลี่ยนได้รับการยอมรับในหมู่นักปฏิบัติว่าเป็นพระป่ากรรมฐานผู้เคร่งครัดในธรรมวินัย มีความเพียรอันยิ่งในการปฏิบัติ เป็นพระสุปฏิปันโนและเป็นพระแท้ที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ท่านเขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อถ่ายทอดธรรมะต่อสาธุชนแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ธรรมบรรยายของท่านนั้นล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องตรงจริตของผู้ฟังและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติของตนเองได้เป็นอย่างดี การสอนของพระอาจารย์เปลี่ยนที่สำคัญนั้นมุ่งเน้นการปฏิบัติที่นำไปสู่นิพพานซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา


    300px-wiharn-jpg.jpg พระวิหาร วัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป ได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนีพพานอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 15.03 น.>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ********บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งems sam_3033-jpg.jpg sam_7196-jpg.jpg sam_7197-jpg.jpg sam_7198-jpg.jpg sam_7199-jpg.jpg sam_7200-jpg.jpg sam_7201-jpg.jpg sam_2258-jpg.jpg

     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 854 พระกริ่งรุ่นฉลองเจดีย์หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย หลวงปู่เหรียญเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง องค์พระสร้างปี 2541 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 86 ปีเเละฉลองพระเจดีย์ หลวงปู่เหรียญมีพระฉายาว่าหลวงปุ่ในวัง เพราะองค์ท่านเคยจำพรรษาที่วังจิตรดาถึง 11 พรรษา มีตอกโค๊ต 2 โค๊ต ใต้องค์ ก้นอุดกริ่งทองเเดง กริ่งดังดี เนื้อสำริด มาพร้อมกล่องเดิม>>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 495 บาทฟรีส่งems
    h4d0761b-jpg.jpg

    sam_6825-jpg-jpg.jpg sam_6676-jpg-jpg.jpg sam_3417-jpg-jpg.jpg

    >>>>>>ประวัติเเละคติธรรมหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    h4d0761b-jpg.jpg

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    วัดอรัญญบรรพต ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    นามเดิม เหรียญ ใจขาน เกิดวันที่ 8 มกราคม 2455 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ณ บ้านหม้อ ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย บิดาชื่อ ผา มารดาชื่อ พิมพา
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    จิตมีธรรมปรารถนาออกบวช

    เมื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี เห็นจะด้วยบุญบารมีแต่ปางก่อน รู้สึกว่าชีวิตปุถุชนไม่มีแก่นสาร จึงลาบิดามารดาเข้าเรียนครองบวชอยู่สิบห้าวันก็ได้บวชที่อุโบสถวัดบ้านหงษ์ทอง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มี ท่านพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจารย์ บวชแล้วได้กลับมาอยู่ วัดโพธิ์ชัย บ้านหม้อ บวชเมื่อ เดือนมกราคม 2475 อาจารย์วัดโพธิ์ชัย สอนให้ภาวนา อนุสสติ 10 ด้วยวิธีท่องเอา แล้วบริกรรมในใจว่า พุทธานุสสติ สังฆานุสสติ ไปจนถึง อปสมานุสสติ จบแล้วตั้งต้นใหม่เรื่อยไป จิตสงบเบิกบานดี บริกรรมทุกอิริยาบถเป็นอารมณ์ติดต่อกันไป
    ในระหว่างนั้นโยมบิดาได้นำหนังสือเกี่ยวกับการเจริญสมถะและวิปัสสนาของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม มาให้อ่าน ท่านอธิบายเรื่อง สติปัฏฐาน4 โดยเฉพาะเรื่องกายานุปัสสนา ให้พิจารณาร่างกายเพ่งดูแยกออกเป็นส่วนๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตลอดจนอาการ 32 แล้วให้ถามตัวเองว่า ตัวตน อยู่ที่ไหน แท้จริงก็ไม่มี เมื่อไฟเผาแลัว ย่อมเหลือแต่เถ้ากระดูก
    กำหนดเอากระดูกใส่ครกบดให้ละเอียดแล้วซัดไปตามลมพัดหายก็ไม่เหลืออะไร ร่างกายนี้ไม่มีอะไรเป็นของตนสักอย่างเดียว มีแต่เกิดแล้วดับไปดังปรากฏ
    แล้วใครเป็นผู้รู้ว่าร่างกายเป็นอย่างนั้น ก็จิตนี้เป็นผู้รู้ เมื่อสติกลับมา รู้จิต จิตก็รวมลงเป็นหนึ่ง แสดงว่า จิตปล่อยวางร่างกายได้ตามสภาพ จึงประคองจิตให้สงบอยู่ต่อไปนานเท่าที่จะอยู่นานได้ ในขณะนั้นจะมีความรู้สึกว่า กายก็เบา จิตก็เบา คิดจะไปอยู่ป่า พอดำริจะไปอยู่ป่าเท่านั้น มาร คือ กิเลส ก็แสดงอาการขัดขวาง เกิดความรู้สึกนึกคิดเป็นสองทาง ใจหนึ่งอยากสึกออกไปครองเรือน ใจหนึ่งอยากออกปฏิบัติเจริญสมถะวิปัสสนาตามที่ตั้งใจไว้ วันแล้ววันเล่ายังตัดสินใจไม่ได้ จึงลองอดข้าวหนึ่งวัน พอตกค่ำเวลาประมาณสามทุ่ม ก็ห่มผ้าสังฆาฎิแล้วทำวัตร อธิษฐานจิตว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนาเพื่อพิจารณาตัดสินใจลงทางใด ทางหนึ่งให้ได้ ถ้าตัดสินใจไม่ได้จะไม่ลุกออกจากที่นั่งนี้เลย ภายหลังได้ตัดสินใจประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป ได้พบพระอารย์กู่ ธมฺมทินฺโน บ้านเดิมท่านอยู่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านเที่ยวธุดงค์ไปทางหนองคาย พักอยู่ที่วัดเดียวกัน ได้รับคำอธิบายในอุบายภาวนาเพิ่มเติมจนเข้าใจดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้พบกับ ท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม อยู่วัดสิริสาลวัน ได้พาบวชเป็นพระธรรมยุตที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
    พ.ศ. 2476 จำพรรษาวัดป่าสาระวารี บ้านค้อ อำเภอผือ อุดรธานี
    เป็นที่ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยจำพรรษา ได้ตั้งใจทำความเพียรสงบใจมาก แต่วิปัสสนายังไม่แกกล้า ได้แต่สมถะ ออกพรรษาแล้วจึงธุดงค์ไปจังหวัดเลย พักวิเวกอยู่ถ้ำผาปู่ และ ถ้ำผาบิ้ง ได้ความสงบสงัดมาก
    พ.ศ. 2477 พรรษาสอง จำพรรษาวัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ หนองคาย
    มีพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เป็นหัวหน้า ตั้งใจไม่นอนกลางวัน ค่ำลงทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิ ถึงตีสอง แล้วลุกขึ้นทำความเพียรจนสว่าง พอถึงเดือนหกเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ วัดป่าบ้านค้อ ตามเิด
    พ.ศ. 2478 พรรษาสาม จำพรรษาที่วัดป่าสาระวารี
    พ.ศ. 2479-2480 พรรษาสี่และห้า จำพรรษาที่วัดอรัญญบรรพต
    ทำภาวนาจิตสงบแล้วพิจารณาขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาตามสภาพความเป็นจริง แล้วปล่อยวาง จิตสงบพร้อมกับความรู้เป็นอย่างดี คล้ายหมดกิเเลส แต่ต่อมามีเรื่องต่างๆ มากระทบ ก็รู้สึกจิดผิดปกติ หวั่นไหวไป ตามอารมณ์นั้นๆ อยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรง ก็แสดงว่ากิเลสยังไม่หมดสิ้น พยายามแก้ก็ไม่ตก นึกในใจว่าใครหนอจะช่วยแก้จิตให้ได้ จึงนึกไปถึงกิตติศัพท์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงชวนภิกษุรูปหนึ่งลงเรือจากหลวงพระบางขึ้นไปทางอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เดินทางไปหาท่าน
    ******พ.ศ. 2481 ได้พบท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยความเมตตาของหลวงตาเกต ซึ่งเป็นสัทธิ วิหาริก ของท่าน ได้พาไปพบที่ป่าละเมาะใกล้ๆ โรงเรียนแม่โจ้ อำเภอสันทราย ได้เห็นด้วยความอัศจรรย์ใจเพราะตรงกับในนิมิตทุกประการ ท่านได้แนะนำว่านักภาวนา พากันติดสุขจากสมาธิจึงไม่พิจารณาค้นคว้าหาความจริงของชีวิตกัน
    ท่านซักรูปเปรียญให้ฟังว่า ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศแลย เขาทำใส่บนพี้นดินจึงได้ผล ฉันใด โยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายควร พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามรูป ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละจึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดอยู่ในความสงบโดยส่วนเดียว
    เมื่อท่านให้โอวาทแล้วจึงพิจารณาดูตังเองว่าได้เจริญเพียงสมถะไม่ได้เจริญ วิปัสสนาเพียงรู้แจ้งในธรรมที่ควรรู้ คือ อริยสัจสึ่ จึงเจริญวิปัสสนาเรื่อยมา ตั้งแต่พรรษาที่ 6 อยู่ในเขตภาคเหนือจนถึงพรรษาที่ 16 แล้วเดินทางกลับธุดงค์ ผ่านหลวงพระบาง ประเทศลาว เข้าเวียงจันทน์ มายังหนองคาย
    พรรษาที่ 19 ถึง 26 จำพรรษาเผยแพร่ธรรมะปฏิบัติอยู่ภาคใต้ แล้วจึงย้ายไปอยู่วัดอรัญญบรรพต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 เรื่อยมา
    ธรรมโอวาท
    1. นาทั่งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นโทษทั่งนักบวช ทั้งคฤหัสถ์ ถ้าใครสะสมกิเลอให้แน่นหนาทั้งในใจ ใจก็ให้ทุกข์ ให้โทษกับผู้นั้น ไม่ใช่ให้ทุกข์แก่นักบวชฝ่ายเดียว
    2. อันสตินี้ สัมปชัญญะนี้ ก็สมมติเป็นโชเฟอร์กำพวงมาลีย มีสติคอยระมัดระวัง กาย วาจา จิต อยู่เสมอๆ คอยระวังเรื่องต่างๆ ระมัดระวังไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเที่ยวประกาศ ห้ามใครมาติชมเรา ที่ว่าระวังนั้น คือ เมื่อมีเรื่องมากระทบให้รู้ทัน ในทันที เราจะห้ามจิตไม่ให้หวั่นไหวไปไม่ได้ แต่ให้ระวัง ต้องควบคุมจิตด้วยสติให้ถี่ๆ กระชับสติสัมปชัญญะให้มันถี่เข้ามา จะได้ไม่หวั่นไหวกับคำพูดเสียดแสงใจต่างๆ
    3. ถ้าจิตสงบมีกำลังพักผ่อนเต็มที่แล้ว มันก็จะอยากรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ ต้องกำหนดหาเรื่องที่ควรจะรู้ สิ่งใดที่เรายังไม่รู้ก็ต้องกำหนดพิจารณา เช่น กำหนดพิจารณาทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เบื่อในทุกข์ของขันธ์5 อันไม่เที่ยงแปรปรวน อาการหวั่นไหวกันไปมานั่นแหละ เรียกว่า ทุกขลักษณะ เมื่อจิตรู้อย่างนี้ ก็จะได้ไม่หวั่นไหว ไม่ยึดเอาของไม่เที่ยงมาเป็นทุกข์ SAM_7553.JPG
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 855 ล็อกเก็ตฉากฟ้าปลอดภัยครอบจักรวาลหลวงปู่สอ พันธุโล พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านหนองเเสง อ.เมือง จ.ยโสธร สร้างปี 2550 สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 86 ปี หลังล็อกเก็ตฝังตะกรุด 1 ดอกฝังฝ้ายเจ็ดสี,เเละฝังพระเกศาหลวงปู่สอ
    >>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขป "พระครูภาวนากิจโกศล" หรือ "หลวงปู่สอ พันธุโล" วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร พระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา
    เกิดในสกุลขันเงิน เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับวันที่ 7 ก.ค. 2464 ที่บ้านทุ่งมน ต.ทุ่งมน อ.ลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) จ.อุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 2 คน เป็นชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรชายคนโต

    ในสมัยหนุ่มเป็นฆราวาสนั้น นายสอเป็นคนที่ชอบสนุกสนานร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกันยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด (ผญา) เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง แม้เรียนจบเพียงแค่ชั้น ป.3
    ถึงจะชอบสนุกสนานรื่นเริง แต่มีนิสัยประจำตัวอย่างหนึ่งคือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร นับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่ง ที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภายหลังจากอุปสมบทแล้วมีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ
    กระทั่งอายุประมาณ 20 ปี แต่งงานกับนางบับ หญิงสาวชาวบ้านเดียวกัน
    หลังจากแต่งงานมีครอบครัว ด้วยความเป็นหัวหน้าครอบครัวทำให้ต้องตื่นแต่เช้า ขยันทำการงาน หนักเอาเบาสู้ โดยหวังจะให้ภรรยาและลูกๆ มีความสุข บางครั้งต้องเดินทางรอนแรมไปต่างจังหวัดเพื่อหาเงินมาจุนเจือเลี้ยงครอบครัว
    ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ตัดสินใจบอกภรรยาว่าจะขอออกบวช
    ในปีพ.ศ.2496 ขณะอายุ 32 ปี นายสอเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เป็นครั้งแรก ที่พัทธสีมา วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม) ต.ในเมือง อ.ยโสธร จ.อุบลราช ธานี มีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ภายหลังอุปสมบทพระสอมีความพอใจมาก มีความปลอดโปร่ง เกิดความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง
    ในการบวชครั้งนี้ท่านพยายามจะทำตามกำหนดเวลาของภรรยา คือบวช 15 วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา
    สุดท้ายเมื่อครบ 15 วันท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านอยู่ในเพศบรรพชิตและปฏิบัติธรรมแสวงหาควพ.ศ.2496 ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ (ปัจจุบันอยู่วัดป่าบ้านนาคู) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา
    แต่ด้วยสาเหตุจากครอบครัวทำให้จำใจต้องลาสิกขา แม้จะเป็นเช่นนั้นแต่ท่านก็ตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสจะกลับมาบวชอีก
    พ.ศ.2501 อุปสมบทอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2501 ขณะมีอายุ 37 ปี ที่พัทธสีมา วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร โดยมี พระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระมหาสาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พันธุโล
    เมื่อได้อุปสมบทแล้วหลวงปู่สอพยายามฝึกฝนอบรมตัวเองด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติและฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้เร่งประกอบความเพียรมากขึ้นโดยลำดับ
    ครั้นมีปัญหาอุปสรรคจากการภาวนาท่านจะเข้าไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เคารพนับถืออยู่เสมอ พระมหาเถระที่หลวงปู่ท่านให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง และไปพักปฏิบัติธรรมรับการแนะนำสั่งสอนจากท่านเป็นประจำคือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    นอกจากนี้ยังมีครูบาอาจารย์ที่เคยเดินทางไปธุดงค์ด้วยกัน อาทิ หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น
    สุดท้ายได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
    พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่พระครูภาวนากิจโกศล
    ด้วยวัยชราภาพหลวงปู่สอมีอาการอาพาธเป็นประจำ ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลยโสธร
    จนกระทั่งวันที่ 8 พ.ย.2552 เวลา 15.47 น. หลวงปู่สอมรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ 88 ปี 4 เดือน 4 วัน พรรษา 51

    หลวงปู่สอเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด หลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญมากๆท่านปฏิบัติจริงชนิดยอมตายได้ถ้าไม่บรรลุธรรม และสิ่งที่เป็นสิ่งที่เป็นบุญวาสนาที่หลวงปู่สอมีไว้ได้แก่ " องค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ " ที่เป็นพระที่ได้จากสมาธิและเป็นพระที่เป็นคุณอันวิเศษอย่างยิ่งและเป็นที่พึ่งของคนไทยทั้งประเทศ ( โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้หล่อหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ขนาด 99 " ไว้ในทุกๆเขื่อนของประเทศ
    ในส่วนภูมิธรรมของหลวงปู่สอ ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณท่านได้กล่าวไว้ว่า " ท่านหลวงปู่สอ พัลธุโล ท่านเป็นพระที่บริสุทธิแล้วและท่านไม่เกิดอีกแล้ว " และที่พิเศษก็คือ เกสา และเล็บของหลวงปู่สอ ท่านแปรเป็นพระธาตุแม้ชีวิตท่านยังไม่สิ้นเลยก็ตาม (>>>>หมายเหตุ.....หลวงปู่สอก็เป็นพระอีกองค์ี่ผมเคยไปนวดรับใช้ท่านมาเเล้วครับ)>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *******บูชาที่ 505 บาทฟรีส่งems
    sam_6896-jpg.jpg sam_6897-jpg.jpg sam_6884-jpg.jpg sam_6885-jpg.jpg sam_1040-jpg.jpg sam_3774-jpg.jpg


     
  16. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,965
    ค่าพลัง:
    +6,562
    ขอจอง853ครับ
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 856 เหรียญจัมโบ้ 100 ปีหลวงปู่จันร์ศรี จันททีโป พระอรหันต์เจ้าวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี เหรียญสร้างปี 2554 สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 100 ปีเนื้ออัลปาก้า มีตอกโค๊ต ยันต์นะ หลังเหรียญ >>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ*******บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems >>>>>>ประวัติโดยย่อๆพอสังเขป หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป พระอรหันต์เจ้าวัดโพธิสมภรณ์ 4dqpjutzluwmjzy369efpjbuvx60ree5idwyekmslgol-jpg-jpg.jpg
    พระอุดมญาณโมลี หรือหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป อายุ 105 ปี sam_7096-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป” หรือ “พระอุดมญาณโมลี” เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ แม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา
    หลวงปู่จันทร์ศรี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญสาร และนางหลุน แสนมงคล ก่อนที่โยมมารดาจะตั้งครรภ์ ในคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 นั้น ฝันเห็นพระ 9 รูป มายืนอยู่ที่ประตูหน้าบ้าน พอรุ่งขึ้นตรงวันขึ้น 15 ค่ำ เพ็ญเดือน 3 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ได้เห็นพระกัมมัฏฐาน 9 รูปมาบิณฑบาตยืนอยู่หน้าบ้าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงรีบจัดภัตตาหารใส่ภาชนะ ไปนั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าพระเถระผู้เป็นหัวหน้า ยกมือไหว้ แล้วใส่บาตรจนครบทั้ง 9 รูป แล้วนั่งพับเพียบประนมมือกล่าวขอพรว่า “ดิฉันปรารถนาอยากได้ลูกชายสัก 1 คน จะให้บวชเหมือนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ”
    พระเถระก็กล่าวอนุโมทนา หลังจากนั้นอีก 1 เดือน นางหลุน แสนมงคล ก็ได้ตั้งครรภ์ และต่อมาก็คลอดบุตรชายรูปงามในวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2445

    ด.ช.จันทร์ศรี แสนมงคล มีแววบวชเรียนตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัย ด้วยโยมบิดา-โยมมารดาได้พาไปใส่บาตรพระทุกวัน จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง ด.ช.จันทร์ศรี จะนำเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันทั้งชายและหญิง 7-8 คน ออกไปเล่นหน้าบ้าน โดยตนเองจะเล่นรับบทเป็นพระภิกษุเป็นประจำ
    อายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาเสียชีวิตลง จนอายุได้ 10 ปี โยมมารดาจึงนำไปฝากไว้กับเจ้าอธิการเป๊ะ ธัมมเมตติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี, เจ้าคณะตำบลโนนทัน และเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โดยรับไว้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด อยู่รับใช้ได้เพียง 1 เดือน เจ้าอธิการเป๊ะนำเด็กชายเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้น ประถม ก.กา จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ เจ้าอธิการเป๊ะเห็นว่ามีความสนใจในทางสมณเพศ จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ณ วัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    ระหว่างปี พ.ศ.2468-2470 สามเณรจันทร์ศรี หมั่นท่องทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และพระสูตรต่างๆ จนชำนาญ อีกทั้งได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรเขมร จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วมาฝึกหัดเทศน์มหาชาติชาดกทำนองภาษาพื้นเมืองของภาคอีสาน แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมถึง 3 ปี
    จากนั้นได้ร่วมเดินทางกับ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์ลี สิรินฺธโร ออกไปแสวงหาความสงัดวิเวกตามป่าเขา และพักตามป่าช้าในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อเข้ากรรมฐานและศึกษาอสุภสัญญา ปฏิบัติธุดงควัตร 13 ตามแบบพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานอย่างเคร่งครัด
    ครั้นต่อมาได้ขึ้นไปแสวงหาวิโมกขธรรมบนภูเก้า อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู เลยขึ้นไปที่ถ้ำผาปู่ จ.เลย วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พักที่วัดหินหมากเป้ง และได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว พักที่โบสถ์วัดจันทน์ 7 วัน แล้วกลับมาหนองคายแล้วเข้าอุดรธานี
    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2474 โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ. ๓) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น และเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐานจำนวน 25 รูปนั่งเป็นพระอันดับ ท่านได้รับนามฉายาว่า “จนฺททีโป” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้าดั่งจันทร์เพ็ญ”
    อุปสมบทได้เพียง 7 วัน ท่านก็ได้ติดตาม พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระกรรมฐานผู้เคร่งวัตรปฏิบัติแห่งวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายกรรมฐานท่านพระอาจารย์มั่น เจ้าสำนักวัดป่านิโครธาราม ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เดินรุกขมูลคืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุดงควัตร 13 ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2475 ก่อนกราบลาหลวงปู่เทสก์เพื่อขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อ
    ๏ การศึกษาพระปริยัติธรรมและงานด้านการศึกษา
    พ.ศ.2474 สอบได้นักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น
    พ.ศ.2475 สอบนักธรรมชั้นโทได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น
    พ.ศ.2477 สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2480 สอบเปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2485 สอบเปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    พ.ศ.2484 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี ณ สำนักเรียนวัดป่าสุทธาวาส ต.พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
    ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2484 ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ได้ไปพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เป็นเวลา 15 วัน ทำให้หลวงปู่จันทร์ศรีได้มีโอกาสใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์มั่นชั่วระยะเวลา หนึ่ง ถือเป็นกำไรแห่งชีวิตอันล้ำค่า
    พ.ศ.2475 ท่านได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษาเปรียญธรรม 5 ประโยค
    พ.ศ.2486 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี เปรียญธรรม 3-4 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นเวลานานถึง 10 ปี
    ๏ ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์
    หลังจากจบเปรียญธรรม 4 ประโยคแล้ว ท่านได้ช่วยเหลืองานพระศาสนา โดยเมื่อปี พ.ศ.2486 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
    ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2497 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ก็ทรงมีพระบัญชาให้มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อทำศาสนกิจคณะสงฆ์ เนื่องจาก พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีอายุเข้าปูนชรา โดยแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อีกตำแหน่งหนึ่ง
    พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อีกตำแหน่งหนึ่ง
    พ.ศ.2505 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ วัดราษฎร์
    พ.ศ.2507 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และในปีเดียวกันท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวงชั้นตรี
    พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะภาค (ธรรมยุต) และรักษาการเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี
    พ.ศ.2522 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะจังหวัดหนองคายและจังหวัดสกลนคร
    พ.ศ.2531 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)
    รวมทั้ง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)
    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป ( พระอุดมญาณโมลี )พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
    ถ่ายภาพอยู่ด้านหน้า “พระบรมธาตุธรรมเจดีย์” วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
    ๏ ลำดับสมณศักดิ์
    พ.ศ.2475 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูสิริสารสุธี
    พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิริสารสุธี
    พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเมธาจารย์
    พ.ศ.2517 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาจารย์
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมบัณฑิต
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองหิรัญบัฏ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระอุดมญาณโมลี นับเป็นพระมหาเถระฝ่ายธรรมยุตรูปแรกที่อยู่ส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้น “รองสมเด็จพระราชาคณะ”
    รวมทั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) >>>>>>>>>>>หลวงปู่จันทร์ศรี องค์ท่านได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันี่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 20.00 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 105 ปี พรรษาที่ 85 (อนึ่ง...หมายเหตุ เส้นเกศาหลวงปู่ผมได้จากพระอุปฐากท่านให้มาสมัยหลวงปู่เส้นผมยังไม่หงอกเท่าไหร่ครับ ) SAM_7515.JPG SAM_7516.JPG SAM_6815.JPG
     
  18. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +269
    จองครับ
     
  19. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองนะครับ
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    SAM_7555.JPG รายการที่ 857 พระผงพิมพ์เตารีดหลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี หลวงปู่อ่อนสาเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง ด้านหลังองค์พระมีฝังเม็ดพระธาตุ >>>>>>>>>>>>>>.................ประวัติย่อๆหลวงปู่มีนามเดิมว่า อ่อนสา เมืองศรีจันทร์ เกิด ณ บ้านโนนทัน ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมือวันที่ 10 กรกฎาคม 2457 ปีขาล วันศุกร์ โยมบิดา นามว่านายมา เมืองศรีจันทร์ โยมมารดาชื่อนางโม้ เมืองศรีจันทร์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 10 คน เป็นผู้ชาย 5 คน ผู้หญิง 5 คน หลวงปู่อ่อนสาเป็นคนโตซึ่งมีน้องต้องค่อยดูแลถึง 9 คน ครอบครัวของหลวงปู่เป็นเกษตรกร และท่านเป็นบุตรคนโตมีโอกาสศึกษาจนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที 4 จากนั้นได้ออกมาช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาและดูแลน้องๆ
    เมื่ออายุได้ 21 ปี ท่านได้ไปเกณฑ์ทหารแต่ไม่ติด ท่านจึงได้ขอโยมบิดา- มาดาไปบวช โดยได้อุปสมบท ณ วัดโยธานิมิต ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานีเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2478 เวลา 13.47 น. โดยมีพระธรรมเจดีย์ ( จูม พันธุโล ) เป็นประอุปัชฌาย์ มีพระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูศาสนูปกรณ์ ( อ่อนตา เขมงกโร ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า สุขกาโร ภิกขุ
    ต่อมาหลวงปู่ได้ออกธุดงไปอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เพื่อหาที่สัปปายะบำเพ็ญภาวนาและบังเอิญท่านได้พบกับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แล้วได้พากันไปภาวนาที่ภูลังกาและออกธุดงค์ด้วยกันตา ต่อมาหลวปู่ได้มีโอกาสกราบนมัสการพระอาจารย์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต และได้ข้าจำพรรษากับพระอาจารย์หลวงปู่มั่น
    หลังจากที่หลวงปู่อ่อนสา ได้บำเพ็ญภาวนาพอสมควรแล้วท่านได้ย้ายกลับมายังภาคอีสาน ท้ายสุดท่านได้มาจำพรรษา ณ วัดประชาชุมพลพัฒนาราม บ้านหนองใหญ่ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี อันเป็นแผ่นดินเกิดของท่าน
    หลวงปู่ละสังขารที่วัด เวลา 16.17 น. หลวงปู่ก็ได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพาน สิริอายุ 95 ปี 75 พรรษา
    >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วย *******บูชาที่ 235 บาทฟรีส่งems SAM_7557.JPG SAM_7556.JPG SAM_6873.JPG sam_0307-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2020

แชร์หน้านี้

Loading...