มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 695 เหรียญกลมรุ่นสมปรารถนาหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต พระอรหันต์เจ้าวัดสวนทิพย์ (ซอยวัดกู้) อ.ปากเกร็ด จ,นนทบุรี หลวงปู่บุญฤทธิ์เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เนื้อสำริด มีตอกโค๊ต คำว่า จิต หลังเหรียญ ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่บุญฤทธิ์
    หลวงปู่บุญฤทธิ์ มีนามเดิมว่า บุญฤทธิ์ จันทรสมบูรณ์ เป็นบุตรชายของหลวงพินิจจินเภท กับ คุณแส จันทรสมบูรณ์ ท่านเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2458 ที่บ้านท่าอิฐ ต.ท่าอิฐ อ.พิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ ในวัยเยาว์ มารดาเป็นผู้มีความศรัทธาในพุทธศาสนา รวมถึงเคยเข้ารับการอบรมในวัง จึงถ่ายทอดลักษณะนิสัย ระเบียบชีวิต แนวคิดต่างๆ ให้หลวงปู่ สอนให้หลวงปู่สวดมนต์ไหว้พระ อ่านหนังสือธรรมะจนติดเป็นนิสัย

    160202-3-2.jpg

    ในอดีตท่านเป็นนักศึกษาปริญญาจากต่างประเทศ เป็นข้าราชการหนุ่มอนาคตสดใส ครั้งอายุ 10-11 ปี ถูกส่งตัวเข้ามาเรียนที่โรงเรียนเซ็นคาเบรียล กรุงเทพฯ รุ่นที่ 1 อาศัยอยู่กับคุณพระโสภณเพชรรัตน์ จนจบม.8 ภาษาฝรั่งเศส หลวงปู่บุญฤทธิ์ เคยได้รับรางวัลประกวดเรียงความชนะเลิศจาก จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ซึ่งเป็น รมต.กลาโหมสมัยนั้น จากนั้นได้สอบชิงทุน (กพ.) ได้ไปศึกษาต่อที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม พ.ศ. ๒๔๗๕ กลับจากเวียดนามรับราชการที่หอสมุดแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และภายหลังเป็นทูตที่พระตะบอง

    44521372_2427482870612125_1041978200088903680_n.jpg
    แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงลาออกจากราชการแล้วออกบวช โดยบรรพชาอุปสมบทในปี 2489 ที่วัดศรีเมือง จ.หนองคาย และปฏิบัติธรรม ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด จนกลายเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และจำพรรษาด้วยกัน อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ชอบอยู่หลายเดือน จากนั้น หลวงปู่บุญฤทธิ์ ได้เป็นพระธรรมทูต เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศกว่า 30 ปี เช่น เม็กซิโก สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ จีน เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ซึ่งหลวงปู่พูดได้ถึง 6 ภาษา กระทั่งจำพรรษาที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ก่อนมีอาการอาพาธ ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง และได้ละสังขารเมื่อวันที่ 14 พ.ย. เวลา 22.22 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สิริอายุ 104 ปี
    “หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต” ละสังขารแล้ว ปี2561 สิริอายุ 104 ปี
    เปิดคำสอนสุดท้ายของ “หลวงปู่บุญฤทธิ์” ทุกสิ่งล้วนมีสังขาร >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *******บูชาที่ 450 บาทฟรีส่งems SAM_0351.JPG SAM_6769.JPG SAM_6770.JPG SAM_1439.JPG
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการี่ 696 เหรียญเศรษฐี 88 หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม พระอรหันต์เจ้าวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ เหรียญสร้างปี 2558 เนื้อองเเดงผีวไฟ สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 88 ปี มาพร้อมกล่องเดิม พระดีที่ควรกราบไหว้รูปหนึ่งในเวลานี้คือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม หรือ พระราชปัญญาวิสารัท เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)....
    .........ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม ท่านเป็นศิษย์อาวุโสรูปหนึ่งของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร และพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์ หลวงปู่เหลืองมีนามเดิมว่า เหลือง ทรงแก้ว ท่านเกิดในยามใกล้รุ่งของวันอังคารที่ 1 พ.ค. ปี พ.ศ. 2470 ที่บ้านนาตรัง หมู่ที่ 2 ต.เขวาสินรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นบุตรคนที่ 6 ในครอบครัวของนายเที่ยง ทรงแก้ว และนางเบียน ทองเชิด หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขณะอายุได้ 15 ปี แล้วออกจาริกเดินตามหลังพระพี่ชายไปตอนอายุ 16 ปี หลังจากนั้นชีวิตของหลวงปู่เหลืองก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด.ช.เหลือง ออกจากบ้านเดินตาม พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล และพระอาจารย์สมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ 2 ภิกษุศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “มือขวา” ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปใน พ.ศ. 2486 จากสุรินทร์ไปถึงนครราชสีมา ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง
    ด้วยอายุเพียงเท่านั้นแต่ท่านมีบุญได้พบครูบาอาจารย์แล้วหลายรูป อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระผู้สรุปอริยสัจ 4 จากการปฏิบัติไว้ชนิดคนสามัญขนานนามท่านว่า เจ้าแห่งจิต ท่านพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดป่าคลองกุ้ง ฯลฯ รวมทั้งได้มอบกายถวายใจเป็นศิษย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเล่าถึงวันคืนในอดีตครั้งไปกราบท่านพ่อลีที่วัดป่าคลองกุ้งว่า “ตอนนั้นวัดป่าคลองกุ้งยังเป็นป่าอยู่ ต้นไม้ใหญ่ๆ มีศาลทำบุญไม้หนึ่งหลังและกุฏิกรรมฐานเล็กๆ ตั้งอยู่ตามโคนต้นไม้ เงียบสงัด พระฉันแล้วก็เข้ากรรมฐานหมด ไม่เพ่นพ่านรุ่งเรืองเหมือนสมัยนี้ ไปพักอยู่กับท่าน 1 เดือน ...บอกกับท่านว่าจะขอธุดงค์ต่อไปทางบ่อไพลิน เข้าสู่แดนเขมร ท่านพ่อลีก็ห้าม ตอนนั้นปลายสงครามโลก เหตุการณ์ยังไม่ปกติ เกรงจะเป็นอันตราย แต่พระอาจารย์ฉัตรพี่ชายก็จะขอไปให้ได้ก็ต้องยอมผ่อนผันให้ไป ท่านพ่อลีเมตตาอาตมามากเพราะยังเป็นเด็ก กลัวจะลำบาก ท่านเลยบอกว่า จะให้คาถากันตัว สั่งให้ท่องไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวเสือช้างอะไรทั้งสิ้น
    คาถาของท่านยังจำได้จนถึงบัดนี้ว่า นะบัง โมบัง พุทโธบังหน้า ธัมโมบังหลัง”
    สภาพบ้านเมืองในเวลานั้นช่างต่างจากเวลานี้นัก
    ท่านว่าใช้เวลาเดิน 3 คืนบุกป่าฝ่าดงจากจันทบุรีถึงทะลุถึงบ่อไพลิน ตามรายทางนั้น “เห็นพลอยเกลื่อนกลาด แต่ไม่ได้เก็บเพราะอาจารย์ฉัตรท่านว่า เรามาธุดงค์แสวงบุญไม่ได้มาหาเพชรพลอย”
    การธุดงค์จบลงด้วยการย้อนกลับมาที่ วัดป่าศรัทธารวม จ.นครราชสีมา
    ณ พ.ศ.นั้น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร กำลังเป็นสดมภ์หลักในการบุกเบิกขยายวงพระกรรมฐานโดยใช้ จ.นครราชสีมา เป็นฐาน โดยท่านเองรับเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้อยู่ถึง 12 ปีคือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2487 ช่วงเวลานั้น วัดป่าศรัทธารวมซึ่งเป็นป่าช้าเก่าเป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานจำนวนมากไม่ว่า พระมหาปิ่น ปัญญาพโล หลวงปู่เทกส์ เทสรังสี หลวงปู่ภุมมี ฐิตธัมโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ฯลฯ หลวงปู่เหลืองเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น ขณะอายุ 17 ปี หรือราวช่วง พ.ศ. 2486-2487 โดยบรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา มีพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) หรือเจ้าคุณโพธิฯ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ลุถึง พ.ศ. 2490 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดป่าศรัทธารวมนั่นเอง
    “ไทยดำ” ผู้เคยเขียนประวัติหลวงปู่เหลืองลงในนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับเดือน ธ.ค. 2530 เคยเรียนถามท่านว่า ระหว่างอยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้นหลวงปู่ฝั้นสอนอย่างไรบ้าง หลวงปู่เหลืองตอบทีเดียวเป็นความ 4 ประโยค แต่ครอบคลุมพระไตรปิฎกหมด 90 เล่ม ความนั้นมีว่า
    ท่านสอนง่ายๆ ว่า “ประสูติ หมายถึง ลมเข้า
    พระวินัย หมายถึง ลมออก
    ปรมัตถ์ หมายถึง ผู้รู้ลมเข้าลมออก
    เป็นอันจบพระไตรปิฎก นอกนั้นเป็นแต่กิ่งก้าน”
    การได้อยู่ที่ จ.นครราชสีมา ณ พ.ศ.นั้นเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ได้พบและศึกษากับพ่อแม่ครูอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งท่านเหล่านั้นกระจายกันอยู่หลายแห่ง อาทิ วัดป่าสาลวัน วัดสุทธจินดา วัดสว่างอารมณ์ ฯลฯ แต่รูปที่อัธยาศัยต้องกันมากที่สุดและจะมีผลต่อชีวิตของท่านในกาลข้างหน้าคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)
    เวลานั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายธรรมยุต ท่าน|ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังสติปัญญาจนทำให้การของคณะสงฆ์เป็นปึกแผ่น แต่ยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ก็เหนี่ยวรั้งท่านให้ห่างหายจากการปฏิบัติได้ไม่ กลับเตือนตนอยู่ตลอดเวลาว่า “การคลุกคลีกับหมู่คณะมากเกินไปทำให้เป็นผู้ประมาท...”
    เพราะตระหนักเช่นนั้นจึงมักจะปลีกตัวออกวิเวกเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ ก่อนจะตัดสินใจทิ้งพัดยศออกปฏิบัติอย่างเดียวใน พ.ศ. 2498 นั้น ครั้งหนึ่งท่านชวนหลวงปู่เหลือง ซึ่งยังเป็นพระหนุ่มอยู่ในขณะนั้นออกไปปฏิบัติอยู่ในป่า จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน
    ท่านทั้งสองอยู่ด้วยกันสองคนหนึ่งพรรษา จากนั้นพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็ต้องกลับมารรับภาระทางการคณะสงฆ์ต่อ ขณะที่หลวงปู่เหลืองได้พำนักและภาวนาอยู่ในสำนักสงฆ์กลางป่า อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ต่อเนื่องไปอีกถึง 7 ปี ต่อมาป่าแห่งนั้นได้รับการพัฒนากลายเป็น วัดป่ารังสีปาลิวัน ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) จนท่านละสังขาร เมื่อ พ.ศ. 2543
    ตลอดเวลาที่อยู่นั้น พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ก็จะแวะเวียนมาภาวนาอยู่ ณ สำนักสงฆ์แห่งนั้นและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ให้ชาวบ้านได้อาศัยแหล่งน้ำ ฯลฯ มาตลอด โดยมีหลวงปู่เหลืองเป็นผู้ช่วย แม้แต่เมื่อตัดสินใจออกจาริกอีกครั้งหลังอยู่ที่นั่นมาแล้ว 7 ปีก็เป็นการออกจาริกโดยมีพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นผู้นำ ท่านทั้งสองจาริกในถิ่นต่างๆ มีประสบการณ์ในภาวนาอันพิสดารหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะที่ถ้ำขันตี ซึ่งอยู่ในเทือกเขาภูพาน ท่านว่า การภาวนา ณ สถานที่แห่งนั้นทำให้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ขณะเดียวกันท่านทั้งสองก็ผ่านเป็นผ่านตายมาพร้อมกันด้วย กล่าวคือ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) เป็นไข้ป่าเกือบจะเสียชีวิต ก็ได้หลวงปู่เหลืองดูแล พอหลวงปู่เหลืองเองล้มเจ็บเพราะไข้ป่าก็ได้ “เจ้าคุณอาจารย์” เป็นคนรักษา ท่านกล่าวถึงความทุกข์ยากในเวลานั้นว่า “แต่ก่อนที่อาตมาจะเป็นไข้นั้น ท่านเจ้าคุณเป็นมาก่อน เมื่อสองอาทิตย์ก่อน เรียกว่าเป็นมากทีเดียว จนเพ้อ ยาก็ไม่มีรักษา ท่านมีสติสั่งว่า ถ้าท่านตายก็ให้เผาที่นี่ แล้วกวาดขี้เถ้าทิ้งลงเขาไป อย่าเอาไปลำบากเพราะไม่ใช่ตัวตนอะไรของเรา อีกอย่างหนึ่งแม้ท่านจะลาออกจากตำแหน่งแล้วแต่พัดยศอยู่ที่กุฏิ ยังไม่ได้ส่งคืน ขอให้จัดการเอาไปคืนด้วยซึ่งทำให้ประทับใจในตัวท่านมาก ท่านไม่เคยแสดงความพรั่นพรึงต่อการมรณะเลย เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันต้องตาย...ถึงตาอาตมาบ้าง...ท่านเจ้าคุณก็ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เราฝากผีฝากไข้กันมาอย่างนี้” เพราะฝากผีฝากไข้ ผ่านเป็นผ่านตายร่วมกันมา จึงไม่แปลกที่ต่อมาเมื่อ พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) อาพาธ เนื่องจาก|เส้นเลือดฝอยในสมองแตกในปี 2527 ทำให้อวัยวะเบื้องขวาเป็นอัมพาต ใครนิมนต์ไปปฏิบัติอุปัฏฐากที่ไหนท่านก็ไม่ไป แต่เมื่อหลวงปู่เหลืองนิมนต์ ท่านรับ
    ทุกวันนี้หลวงปู่เหลือง รับภาระการบริหารคณะสงฆ์เป็นเจ้าเข้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต) ภาระนี้เกิดมาต่อเนื่องตั้งแต่กึ่งศตวรรษก่อนโน้นเพราะปี พ.ศ. 2499 ท่านเป็นเป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระอริยเวที พร้อมกับเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน พอปี พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง และเป็นเจ้าคณะตำบล วัดแห่งนี้เดิมเป็นวัดที่พระอาจารย์สมุห์เสร็จ พี่ชายเป็นคนบุกเบิกสร้างไว้ เมื่อท่านออกวิเวกเสียชีวิตเพราะไข้ป่า พระสมุห์ฉัตร พี่ชายคนรองก็เป็นคนมาดูแลแทน ถึงปี พ.ศ. 2519 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง พ.ศ. 2523 เป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)
    หลวงปู่เหลืองกล่าวว่า พระพุทธองค์มิได้สอนให้เชื่อพระองค์เพียงอย่างเดียว หากแต่ให้ชื่อว่า “จิต คือ พุทธะ” ถ้าเราดำเนินตามที่พระองค์ทรงสอน จิตของเราก็เป็นพุทธะอย่างพระพุทธองค์ได้ ถ้าจะให้ถึงซึ่งพุทธะก็เหมือนกับเอาแก่ของต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะเอาแก่นต้องใช้ขวานถากเปลือก ถากกระพี้ออก จิตคนเรานั้นเป็นพุทธะอยู่แล้ว หากแต่เราปล่อยให้กิเลสตัณหาห่อหุ้มจนจิตไม่ประภัสสร
    “จิตประภัสสรก็หมายถึงจิตเดิม ซึ่งเปรียบเสมือนเพชร ลักษณะแวววาวสุกใสอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่ที่มันเศร้าหมองจนเรามองไม่เห็นความประภัสสรของมัน เพราะมีสิ่งอื่นมาห่อหุ้ม ทำให้รัศมีเปล่งออกมาไม่ได้ อย่างไฟฉายของเรา พอเปิดสวิตช์ขึ้น มันก็สว่างเป็นลำพุ่งออกไปพอปิดสวิตช์มันก็มืด ไม่เห็นดวงไฟ ทั้งที่ความจริงจิตมันประภัสสรอยู่แล้วแต่คนเราทุกวันนี้ ก็เอากิเลส ความโกรธ ความหลงที่เปรียบเหมือนดินทรายเขม่าไฟต่างๆ ไปห่อหุ้มปิดบังมันเสียเอง มันเลยมืดบอดอยู่อย่างนั้น...เราอยากจะเห็นตามพระองค์บ้างก็ต้องลงทุนลงแรงเอาสิ่งที่หุ้มห่อออก แล้วจึงจัดสีให้มันเปล่งแสงประภัสสรขึ้น เอาอะไรมาขัดสีล่ะ ก็เอาสมาธินั่นแหละมาขัดสี...”
    “สิ่งต่างๆ ในโลกนี้มันก็อยู่ที่จิตนี้เอง ความรู้สึกของเราอยู่ที่ไหน จิตใจก็อยู่ที่นั้น หลวงปู่มั่นท่านก็เคยพูดว่า อยู่ที่ใจของเจ้า โลกนี้ไม่มีใจก็ไม่มีความหมาย โลกกับธรรมมันอิงกันอยู่ ก็อยู่อย่างไม่ขัดโลกขัดธรรมเขา รูปนาม ถ้าแยกออกก็เป็นอภิธรรมทั้งหมด
    รูปกับนามเป็นจุดแรกของปัญหา เรื่องราวต่างๆ ที่เราไม่รู้ก็เพราะไม่ได้ค้นคว้ากำหนด ท่านว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนตั้งแต่จุดเล็กไปถึงจุดใหญ่ เหมือนกับความมืดกับความแจ้ง มันต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่คนละช่วง มันเกิดพร้อมกันไม่ได้
    ความจริงรูปนามมันมีอยู่แล้ว ถ้าปลงความเชื่อว่า คำสอนต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มี ท่านก็ไม่มีอะไรจะพูด เมื่อไม่มีอะไรจะพูดมันก็หยุดเป็นวิมุตติไป ถ้าเอามาพูดถึงมันก็เป็นสมมติไป ธรรมะจริงๆ จะพูดหรือไม่พูดมันมีอยู่แล้ว...”
    หลวงปู่เหลือง เป็นพระมหาเถระที่ควรแก่การอัญชลี ท่านเจริญรอยตามครูบาอาจารย์ของท่านคือ แน่วแน่กับการปฏิบัติภาวนาไม่เสื่อมคลาย อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย แทบไม่มีใครจำสมณศักดิ์ของท่านได้เรียกกันแต่ว่า หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอ
    ************หยาดเหงื่อของพระผู้เฒ่า...“หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม” เกจิดังแดนอีสานใต้ ศิษย์หลวงปู่ฝั้น ผู้ไม่เคยถือสมณะศักดิ์ หรือชื่อเสียงใดใด

    หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม ...พระอรหันต์เจ้าแห่งบุรีรัมย์

    17264425_1318210878241151_6727615596988056689_n(1).jpg



    18195138_1299825823469287_5894137482331668998_n%20(1).jpg 18301921_1299825850135951_4657292737319483411_n.jpg


    11029896_918936891501887_5893762049328451839_n(1).jpg


    12295245_885208031597737_4176000914326203055_n.jpg

    >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *******บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems SAM_6941.JPG SAM_6944.JPG SAM_6943.JPG SAM_3985.JPG
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 697 เหรียญกลม หลวงปู่จาม มหาปุญโญ พระมหาโพธิสัตว์โตวัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.มุกดาหาร หลังพระเจดีย์บู่ สร้างประมาณปี 2556 ลูกศิษย์ดี.เอส.ไอ สร้างถวาย เนื้อทองแดง สวยๆ หายาก หลวงปู่จามเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล,หลวงปู่มั่น ภูริทัติโต ตั้งเเต่บวชเป็นเณรเหรียญใหม่ไม่เคยใช้
    xxyoetgs7tcfcuyb0kppmtyfrwz-u-vbwzjva4tzxhijcfg9rue2wxjnrkzjvkxhoorcqmfafpwhvg-cs9eiodhw-jpg-jpg.jpg
    >>>>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เกิดในสกุล ผิวขำ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2453 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร บิดา-มารดา ชื่อ นายกา และนางมะแง้ ผิวขำ ครอบครัวมีพี่น้องร่วมอุทรรวม 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3
    เมื่อวัยเยาว์ อายุได้ 6 ขวบ พ่อแม่พาไปกราบหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า ซึ่งได้มาจำพรรษาอยู่ใกล้บ้านที่ภูผากูด คำชะอี
    กระทั่งอายุได้ 16 ปี โยมพ่อแม่ได้พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จ.อุบลราชธานี ให้นุ่งขาวห่มขาวเป็นเวลา 9 เดือน
    ปีถัดมา เข้าพิธีบรรพชา อยู่รับใช้ หลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองขอน อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงพ่อลี ธัมมธโร, หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เป็นต้น
    แต่ผ่านไปได้เพียง 2 ปี จำต้องลาสิกขาออกมา เพื่อรักษาโรคเหน็บชา อันเนื่องมาแต่ตกบันไดกุฏิ และการประกอบความเพียรมากเกินไป เช่น นั่งภาวนาในน้ำ ถือไม่นอน และฉันน้อย เป็นต้น ทำให้ต้องหันกลับไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ค้าขาย
    เมื่ออายุได้ 27 ปี พ่อกา (โยมพ่อ) ได้บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก 6 ปี ก็มรณภาพ) ส่วนแม่มะแง้ (โยมแม่) ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก 36 ปี จนถึงแก่กรรม) ก่อนที่จะไปกราบไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่ออธิษฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา
    เมื่ออายุได้ 29 เต็มปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระเทพกวี (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังอุปสมบท ท่านออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ได้จำพรรษาสังกัดวัดเจดีย์หลวง ถึง 32 พรรษา โดยอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    อีกทั้ง ยังเคยออกธุดงค์หาประสบการณ์ในเขตภาคอีสาน เคยปฏิบัติธรรมร่วมกับเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทร ปราการ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าบ้านข่า จ.นครพนม เป็นต้น
    พ.ศ.2521 เดินธุดงค์กลับมาทางภาคอีสานและเดินธุดงค์มายังบ้านเกิด คือ บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี และจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
    ชาวบ้านและคณะศิษยานุศิษย์ นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาปักกลดที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม และพัฒนาให้เป็นที่พำนักนั่งวิปัสสนากรรมฐานเผยแผ่พระธรรมปรมัตถ์แผ่เมตตาให้แก่ชาวบ้านในละแวกนั้นตลอดจนปัจจุบัน
    ส่วนผลงานที่เป็นรูปธรรมอันทรงคุณค่านั้น หลวงปู่จามได้สร้างไว้เป็นที่ประจักษ์ชัดมากมาย อาทิ สร้างพระเจดีย์ทรงจุฬามณีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสร้างกุฏิเสาเดียว จำนวน 11 หลัง รวมทั้งสร้างศาลาการเปรียญ และหอฉันสำหรับไว้เทศนาญาติโยมในวันสำคัญต่างๆ
    ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2553 ชาวจังหวัดมุกดาหารพร้อมใจจัดทำโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนสีขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 39.99 เมตร องค์พระสูง 59.55 เมตร ความสูงจากเศียรพระ 84 เมตร ประดิษฐาน ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
    ซึ่งเป็นโอกาสเดียวกับที่หลวงปู่จาม มีอายุครบ 100 ปี หลวงปู่จามพร้อมด้วย พระธัมมธโร หรือ ครูบาแจ๋ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม เมตตาอนุญาตให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก 100 ปี หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระ เกียรติ
    >>>>หลวงปู่จามมรณภาพอย่างสงบด้วยโรคปอดติดเชื้อ สิริอายุ 104 พรรษา 75 ขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลมุกดาหาร เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 ม.ค. 2556>>>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********บูชาที่ 385 บาทฟรีส่งems(........หายากเเล้วครับวัตถุมงคลของหลวงปู่ลูกศิษย์เก็บหมด) SAM_0396.JPG SAM_6965.JPG SAM_6961.JPG SAM_1299.JPG
     
  4. ธรรมศิล

    ธรรมศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +800
    ขอบูชา รายการ 697 ครับ
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 698
    เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่คำพอง ขันติโก พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่คำพองเป็นศิษย์หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์เหรียญรุ่นเเรกสร้างปี 2538 เนื้อทองเเดงรมดำ เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ของหลวงปู่ครับ หลวงปู่เป็นพระที่เงียบไม่ค่อยพูดเเต่พลังจิตสูงมากองค์หนึ่งในสายหลวงปู่มั่น หลวงปู่ไม่ดังไม่ค่อยเปิดตัว เวลาผมไปเมืองเลยผมจะเเวะไปกราบหลวงปู่ทุกครั้งสมัยที่องค์ท่านยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ มีวันหนึ่งขณะที่ผมไปกราบองค์หลวงปู่เเละได้อุปฐากพาหลวงปู่ไปเข้าห้องนํ้า ได้มีขบวนรถของตำรวจเเละฝ่ายปกครองของจ.เลย ขี่เข้ามาในวัดเยอะมาก เเล้วเข้ามาถามหาพระอุปฐากองค์หลวงปู่ ผมเองเห็นคนมาเยอะเลยเข้าไปถามพวกตำรวจว่ามาอะไรกันเยอะเเยะ เขาบอกว่าเมื่อกี้พวกได้เอาเหรียญรุ่นเเรกของหลวงปู่ไปลองยิง ปรากฏว่าปืนด้านยิงไมออก พอยิงขึ้นฟ้ากลับยิงออก เขาลองยิงหลายครั้งก็เหมือนเดิม เพราะฉนั้นพวกเขาจึงมาขอบูชาเหรียญที่วัดกับพระอุปฐากเองเลย เรื่องก็เป็นอย่างนี้ละครับ(>>>>>>>>วันนั้นผมเองก็อยู่ที่วัดของหลวงปู่ด้วยครับ) เหรียญสร้างปี 2538 สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 60 ปี sam_9675-jpg.jpg sam_5037-jpg.jpg sam_5038-jpg.jpg sam_1606-jpg.jpg
    ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อคำพอง ขันติโก
    วัดป่าอัมพวัน ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
    ๏ อัตโนประวัติ

    ในจังหวัดเลยมีพระเถราจารย์สายปฏิบัติธุดงควัตรปรากฏอยู่มากมาย อาทิเช่น หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน, หลวงพ่อขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่, หลวงพ่อโกวิทย์ ฐานยุตโต หรือพระปิยทัสสี วัดป่านาอีเลิศ (วัดป่าผาเจริญ) เป็นต้น รวมไปถึง “หลวงพ่อคำพอง ขันติโก” แห่งวัดป่าอัมพวัน บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมือง จ.เลย ซึ่งเป็นศิษย์เอกและทายาทธรรมของ “หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล” พระบูรพาจารย์สายพระธุดงค์กรรมฐาน แห่งวัดเลียบ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และ “หลวงปู่แหวน สุจิณโณ” แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ พระสายธุดงค์กรรมฐานชื่อดังอีกรูปหนึ่ง
    หลวงพ่อคำพอง ขันติโก มีนามเดิมว่า คำพอง แสงจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม พุทธศักราช 2478 ณ บ้านชนบท ต.ชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายภู และนางทองมาก แสงจันทร์ ปัจจุบัน สิริอายุได้ 72 พรรษา 52 (เมื่อปี พ.ศ.2549) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวัน จ.เลย
    2582%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2581_1.jpg

    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท
    อายุ 19 ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดป่าธรรมวิเวก ต.ชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น โดยมีพระครูศีลสังวราภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังจากบรรพชาแล้ว ได้อยู่จำพรรษาที่วัดป่าธรรมวิเวก จนอายุครบ 21 ปี ถึงวัยต้องถูกคัดเลือกเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ปรากฏว่านายคำพองจับได้ใบดำ ไม่ต้องเป็นทหาร
    ต่อมาหลวงพ่อคำพอง ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสายธรรมยุต
    ๏ ทายาทธรรมของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่แหวน

    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ยึดหลักการในการปฏิบัติตนตามแบบอย่าง หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล แนวปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ คือ การอยู่คนเดียวให้รักษาจิต อยู่กลางมิตรให้รักษาวาจา และยึดถือแนวปฏิบัติของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นแนวปฏิบัติมาตั้งแต่ท่านบวช และออกเดินธุดงค์มาโดยตลอด
    เมื่อครั้งออกธุดงควัตรในครั้งหนึ่ง หลวงพ่อคำพองได้นิมิตว่าได้นั่งบนธรรมาสน์ใหญ่ เทศนาให้พระเถระฟัง จึงได้ตั้งอธิษฐานเอาไว้ตั้งแต่บัดนั้นว่า จะครองตนในเพศบรรพชิตตลอดชีวิต
    ในการออกธุดงค์ของหลวงพ่อคำพอง ได้ท่องธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ บางครั้งข้ามไปประเทศพม่าและลาว ในช่วงแรกจะอยู่ในภาคเหนือ โดยได้ปฏิบัติธรรมตามแนวทางของหลวงปู่แหวน เป็นประจำ ช่วงที่อยู่ภาคเหนือ หลวงพ่อคำพอง เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจริญธรรม อ.สันป่าตอง, วัดห้วยน้ำริน อ.แม่ริน, วัดสันติบถ อ.แม่แตง, วัดช่อแฮ อ.แม่แตง, วัดสระหลวง อ.แม่ริน และวัดผาเด้น อ.แม่ริม เป็นต้น
    ในส่วนของภาคอีสาน ก่อนที่จะมาอยู่จำพรรษาที่ จ.เลย เมื่อออกจากทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่ หลวงพ่อคำพองจะอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำปาง ก่อนย้ายไปจำพรรษาอยู่ทางภาคกลางระยะหนึ่ง และเดินทางมาอยู่จำพรรษาที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครพนม และ จ.สกลนคร
    รวมทั้ง ยังเคยไปจำพรรษาอยู่ที่วัดของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และอีกหลายวัดในภาคอีสาน
    ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวัน
    หลวงพ่อคำพองรู้จักและสนิทสนมกับ หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวัน จ.เลย ซึ่งปัจจุบันท่านมรณภาพไปนานแล้ว ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อคำพองพร้อมด้วยหลวงปู่ซามา ได้พากันเดินทางไปที่วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ เพื่อปฏิบัติภาวนาและศึกษาธรรมกับหลวงปู่แหวน
    ต่อมา ได้พากันเดินทางกลับจังหวัดเลย หลวงปู่แหวนได้มอบเงินมา 400 บาท ให้มาแบ่งเป็นค่ารถคนละ 200 บาท เพื่อเดินทางกลับจังหวัดเลย แต่หลวงพ่อคำพองเดินทางท่องธุดงควัตรต่อไปในภาคกลาง ไม่ได้กลับจังหวัดเลยพร้อมกับหลวงปู่ซามา
    ภายหลังหลวงปู่ซามา อาจุตฺโต มรณภาพลง คณะศรัทธาญาติโยมบ้านไร่ม่วงและพระผู้ใหญ่ในจังหวัดเลย จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อคำพอง ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2523 ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ตามที่หลวงปู่ซามา ได้ฝากฝังเอาไว้ก่อนที่ท่านจะมรณภาพลง
    หลวงพ่อคำพอง ขันติโก เป็นพระนักปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง รูปหนึ่ง แม้ชื่อเสียงท่านจะไม่โด่งดัง ด้วยความเป็นพระที่มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย สงบ และสมถะ จึงทำให้ท่านเป็นพระเถระที่พุทธศาสนิกชนชาวเมืองเลยให้ความเลื่อมใสศรัทธามาโดยตลอด
    HCtHFA7ele6Q2dULVOFjEGB7u7ReNEAHe9gDL6DE6DsUENegBUIJNbJdezVg1v7Lli.jpg
    หลวงปู่คำพอง ขันติโก' เจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวัน เมืองเลยละสังขาร เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2558 ด้วยโรคอัมพฤกษ์ และโรคชรา สิริอายุ 80 ปี 60 พรรษา
    >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *******บูชาที่ 605 บาทฟรีส่งems เหรียญใหม่ไม่เคยใช้สวยมากดำๆมันปู
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 699 เหรียญรุ่นให้พรพระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เหรียญสร้าง 12 สิงหาคม 2553(วันเกิดหลวงตา) เนื้ออัลปาก้า หน้ากากทอง สวยมากครับมีตอกโค๊ตดอกบัว หลังเหรียญ มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศา,พระธาตุมาบูชาด้วยครับ >>>>>(พระใหม่ไม่เคยใช้ ทันพระหลวงตาครับ ท่านละสังขาร ปี 2554) >>>>>>>บูชาที่ 550 บาทฟรีส่งems SAM_0510.JPG SAM_6893.JPG SAM_7107.JPG SAM_7108.JPG SAM_2767.JPG
     
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 700 ล็อกเก็ตฉากฟ้าปลอดภัยครอบจักรวาลหลวงปู่สอ พันธุโล พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านหนองเเสง อ.เมือง จ.ยโสธร สร้างปี 2550 สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 86 ปี หลังล็อกเก็ตฝังตะกรุด 1 ดอกฝังฝ้ายเจ็ดสี,เเละฝังพระเกศาหลวงปู่สอ
    >>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขป "พระครูภาวนากิจโกศล" หรือ "หลวงปู่สอ พันธุโล" วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร พระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา
    เกิดในสกุลขันเงิน เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับวันที่ 7 ก.ค. 2464 ที่บ้านทุ่งมน ต.ทุ่งมน อ.ลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) จ.อุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 2 คน เป็นชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรชายคนโต
    ในสมัยหนุ่มเป็นฆราวาสนั้น นายสอเป็นคนที่ชอบสนุกสนานร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกันยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด (ผญา) เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง แม้เรียนจบเพียงแค่ชั้น ป.3
    ถึงจะชอบสนุกสนานรื่นเริง แต่มีนิสัยประจำตัวอย่างหนึ่งคือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร นับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่ง ที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภายหลังจากอุปสมบทแล้วมีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ
    กระทั่งอายุประมาณ 20 ปี แต่งงานกับนางบับ หญิงสาวชาวบ้านเดียวกัน
    หลังจากแต่งงานมีครอบครัว ด้วยความเป็นหัวหน้าครอบครัวทำให้ต้องตื่นแต่เช้า ขยันทำการงาน หนักเอาเบาสู้ โดยหวังจะให้ภรรยาและลูกๆ มีความสุข บางครั้งต้องเดินทางรอนแรมไปต่างจังหวัดเพื่อหาเงินมาจุนเจือเลี้ยงครอบครัว
    ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ตัดสินใจบอกภรรยาว่าจะขอออกบวช
    ในปีพ.ศ.2496 ขณะอายุ 32 ปี นายสอเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เป็นครั้งแรก ที่พัทธสีมา วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม) ต.ในเมือง อ.ยโสธร จ.อุบลราช ธานี มีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ภายหลังอุปสมบทพระสอมีความพอใจมาก มีความปลอดโปร่ง เกิดความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง
    ในการบวชครั้งนี้ท่านพยายามจะทำตามกำหนดเวลาของภรรยา คือบวช 15 วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา
    สุดท้ายเมื่อครบ 15 วันท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านอยู่ในเพศบรรพชิตและปฏิบัติธรรมแสวงหาควพ.ศ.2496 ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ (ปัจจุบันอยู่วัดป่าบ้านนาคู) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา
    แต่ด้วยสาเหตุจากครอบครัวทำให้จำใจต้องลาสิกขา แม้จะเป็นเช่นนั้นแต่ท่านก็ตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสจะกลับมาบวชอีก
    พ.ศ.2501 อุปสมบทอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2501 ขณะมีอายุ 37 ปี ที่พัทธสีมา วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร โดยมี พระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระมหาสาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พันธุโล
    เมื่อได้อุปสมบทแล้วหลวงปู่สอพยายามฝึกฝนอบรมตัวเองด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติและฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้เร่งประกอบความเพียรมากขึ้นโดยลำดับ
    ครั้นมีปัญหาอุปสรรคจากการภาวนาท่านจะเข้าไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เคารพนับถืออยู่เสมอ พระมหาเถระที่หลวงปู่ท่านให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง และไปพักปฏิบัติธรรมรับการแนะนำสั่งสอนจากท่านเป็นประจำคือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    นอกจากนี้ยังมีครูบาอาจารย์ที่เคยเดินทางไปธุดงค์ด้วยกัน อาทิ หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น
    สุดท้ายได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
    พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่พระครูภาวนากิจโกศล
    ด้วยวัยชราภาพหลวงปู่สอมีอาการอาพาธเป็นประจำ ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลยโสธร
    จนกระทั่งวันที่ 8 พ.ย.2552 เวลา 15.47 น. หลวงปู่สอมรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ 88 ปี 4 เดือน 4 วัน พรรษา 51

    หลวงปู่สอเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด หลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญมากๆท่านปฏิบัติจริงชนิดยอมตายได้ถ้าไม่บรรลุธรรม และสิ่งที่เป็นสิ่งที่เป็นบุญวาสนาที่หลวงปู่สอมีไว้ได้แก่ " องค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ " ที่เป็นพระที่ได้จากสมาธิและเป็นพระที่เป็นคุณอันวิเศษอย่างยิ่งและเป็นที่พึ่งของคนไทยทั้งประเทศ ( โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้หล่อหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ขนาด 99 " ไว้ในทุกๆเขื่อนของประเทศ
    ในส่วนภูมิธรรมของหลวงปู่สอ ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณท่านได้กล่าวไว้ว่า " ท่านหลวงปู่สอ พัลธุโล ท่านเป็นพระที่บริสุทธิแล้วและท่านไม่เกิดอีกแล้ว " และที่พิเศษก็คือ เกสา และเล็บของหลวงปู่สอ ท่านแปรเป็นพระธาตุแม้ชีวิตท่านยังไม่สิ้นเลยก็ตาม (>>>>หมายเหตุ.....หลวงปู่สอก็เป็นพระอีกองค์ี่ผมเคยไปนวดรับใช้ท่านมาเเล้วครับ)>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *********บูชาที่ 505 บาฟรีส่งems SAM_6896.JPG SAM_6897.JPG SAM_6884.JPG SAM_6885.JPG SAM_1040.JPG SAM_3774.JPG
     
  8. surasakkarun

    surasakkarun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    265
    ค่าพลัง:
    +136
    จอง695 698 700
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 701 เหรียญกษาปณ์ 7 รอบหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญวิเวก อ.เเม่เเตง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่เปลี่ยนเป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก,หลวงปุ่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง เป้นต้น เหรียญสร้างปี 2560 เนื้ออัลปาก้า **************************************************** ประวัติเเละการปฏิบัติธรรมโดยย่อพอสังเขป
    C79E6BBDAEC5444CAF97DFCE1D7429E7.jpg
    ปีพ.ศ. 2470 ชาวบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ยินข่าวว่ามีพระกรรมฐานรูปหนึ่งจาริกมาพำนักอยู่ที่วัดไทยใหญ่ ในเขตอำเภอแห่งนั้น ชาวบ้านปงซึ่งเป็นผู้มีศรัทธาปสาทะในพุทธศาสนาเป็นทุนอยู่เดิมแล้ว จึงมอบให้ตัวแทน 9 คนไปนิมนต์พระภิกษุรูปนั้นมาโปรดชาวบ้านปง
    อาจารย์กรรมฐานรูปนั้นคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ บุรพาจารย์ของเหล่าพระป่าในยุคกึ่งพุทธกาล
    ในวันที่รับอาราธนานั้นเอง หลวงปู่มั่นก็เดินทางด้วยเท้า 6 กิโลเมตร กลับมากับผู้แทนชาวบ้านปงทั้ง 9 หลังพาท่านไปพักที่ป่าช้าได้ 3 วัน ก็พบที่สัปปายะเป็นเนินเขาเตี้ยๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากฐานของพระวิหารอันเป็นเครื่องหมายบ่งว่า สถานที่แห่งนั้นเป็นวัดร้างมาก่อน จึงได้ปลูกที่พักให้ท่านได้พำนักอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น
    นับแต่นั้นมาศิษยานุศิษย์ของพระอาจารย์มั่นจากทั่วสารทิศก็หลั่งไหลมาสู่บ้านปง
    ในพรรษาแรกมี 5 รูป หมดพรรษานั้นพระอาจารย์มั่นได้ออกเที่ยวธุดงค์ต่อ แต่ก่อนจะออกเดินทาง ท่านได้เมตตาตั้งชื่อสถานที่แห่งนั้นให้ว่า “สำนักอรัญญวิเวก บ้านปง” ซึ่งต่อมาเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดบ้านปง”
    พระอาจารย์มั่นยังสั่งไว้ด้วยว่า “ขอให้คณะศรัทธาญาติโยม จงพากันรักษาปฏิบัติดูแลสำนักแห่งนี้ไว้ให้ดี ต่อไปในอนาคตข้างหน้า จะมีเจ้าของเขามาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองในอนาคตภายภาคหน้าแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายสืบไป”
    หลังพระอาจารย์มั่นจากไป ก็มีพระกรรมฐานธุดงค์หลายรูปผ่านมาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่ว่า หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ฯลฯ โดยเฉพาะหลวงปู่แหวนนั้นมาจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี่ถึง 10 พรรษา แต่ก็ไม่มีรูปใดส่อแววว่า จะเป็นเจ้าของผู้มาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองดังที่พระอาจารย์มั่นระบุไว้
    กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 12 ก.พ. ปีพ.ศ. 2509 พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งก็มาถึง จากวันนั้นถึงวันนี้ ชื่อและนามของท่านก็ปรากฏเป็นที่เรียกขานคู่กันรู้จักกันทั่วไปว่า “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดอรัญญวิเวก” หรือ “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดบ้านปง”
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระหนุ่มในพ.ศ.โน้น เป็นหลวงปู่เปลี่ยนแล้วในวันนี้ แต่ผู้ที่ได้พบมักจะกล่าวตรงกันว่า โดยรูปลักษณ์ที่เห็นนั้น ท่านไม่น่าจะมีอายุถึง 77 ปี
    พระอาจารย์เปลี่ยน เป็นคนบ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เกิดในสกุล วงษาจันทร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ปีพ.ศ. 2476 บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ตาและยายซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูเป็นกำนัน ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ในเรื่องศาสนามาตั้งแต่เล็กแต่น้อย อาจเพราะพื้นเพวาสนา มาแต่เก่าก่อนนั้นประการหนึ่ง การได้คลุกคลีกับพระสงฆ์มาแต่วัยเยาว์นั้นก็อีกส่วนหนึ่ง แต่ถึงจะเอ่ยปากขอบวชมาตั้งแต่อายุ 12 ปี จนกระทั่ง 20 ปี มารดาก็ไม่อนุญาต
    กระทั่งบิดาเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2497 และอีก 5 ปีถัดมาลุงก็เสียชีวิตตามไป เมื่อสบโอกาสว่าจะขอบวชแทนพระคุณท่านทั้งสอง ทั้งตาและแม่เลยอนุญาตให้บวช 7 วัน แต่ 7 วันนั้นก็เป็นแต่เพียงกำหนดที่ไม่เป็นจริง
    พระอาจารย์เปลี่ยน อุปสมบทที่วัดพระธาตุมีชัย บ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ปีพ.ศ. 2502 โดยมีพระครูอดุลยย์สังฆกิจเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพิธธรรมสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยปฏิญาณต่อพระปฏิมากรว่า “การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นหน้าที่ของพระทุกรูปที่ได้มาบวชในศาสนา”
    บวชครบ 7 วัน พอโยมแม่มาขอให้สึกก็ขอผลัดเป็นให้รอออกพรรษาไป 21 วัน คำปฏิญาณตอนบวชได้ย้อนมาเตือนใจอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ลงมือทำทางจงกรมเพื่อเจริญภาวนา และเพียงเดินจงกรมไป 2 ชั่วโมงและนั่งภาวนาอีก 3 ชั่วโมงในวันแรกของการจงกรม
    หลังนั่งลงโดยตั้งสัจจะว่า “ถ้ายุงตัวใดจะดูดกินเลือด ก็จะถือเป็นพระพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะต้องเป็นไข้มาลาเรียตายก็ยอม เพราะรุ่งขึ้นเช้าไปบิณฑบาตมาฉันแล้วก็เปลี่ยนเป็นเลือดได้”
    ท่านว่า หลังปล่อยวางจิตเข้าสู่สมาธิแล้ว ก็หายไปหมดทั้งร่าง แล้วความสงบครั้งแรกในชีวิตก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปกระทั่ง 3 ชั่วโมงเศษ ถึงรู้สึกตัว
    พระอาจารย์เปลี่ยนจำพรรษาแรกอยู่กับพระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ และพระอาจารย์สุภาพนี่เองที่นำไปพบ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระอรหันต์แห่งวัดบ้านดงเย็น หรือวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
    วันแรกที่ได้ไปกราบคารวะทำวัตรกับหลวงปู่พรหม หลวงปู่ได้เทศน์ให้ฟัง พอกลับมาภาวนาและเข้าที่ด้วยท่าสีหไสยาสน์ พอนึกไปถึงเทศนานั้นจิตก็ลงสู่ความสงบ ปรากฏว่า ตัวท่านไปนั่งอยู่หน้าหลวงปู่พรหมที่วัดบ้านดงเย็น แล้วหลวงปู่พรหมจึงเทศน์ให้ฟังเรื่องอริยสัจ 4 แล้วเร่งให้ปฏิบัติให้มาก
    หลังจากนั้นหลวงปู่พรหมจะมาชี้แนะวิธีการภาวนาให้ในสมาธิอย่างน้อยเดือนละ 2 หน
    พอออกพรรษาวันแรก โยมมารดาก็มาถามเรื่องสึกอีก หนนี้ท่านผลัดว่า ขอรับกฐินก่อน พอรับกฐินท่านออกธุดงค์ไปองค์เดียว จนพบหมู่คณะ พากันออกไปตามหาท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    ท่านอาจารย์จวนชี้แนะว่า “ต้องเปลี่ยนสมมติให้รู้ ข้ามสมมติให้ได้”
    จากท่านอาจารย์จวน ตัดลงใต้ไปถึงภูเก็ตเพื่อไปศึกษากับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ระหว่างนั้นหลวงปู่พรหมก็ยังมาสอนในสมาธิอยู่เสมอๆ
    ขณะนั้นการดำเนินจิตของท่านมาถึงจุดที่นั่งภาวนาแล้วจิตดิ่งลึกไปโดยไม่รู้ว่า จิตอยู่ที่ไหน ทุกอย่างดับจนไม่ได้ยินเสียงอะไรทั้งสิ้น แต่เกิดปีติมากจนไม่อยากฉันอาหาร
    หลวงปู่เทสก์แก้ปัญหาให้ว่า “อาการเช่นนี้เรียกว่า นิพพานพรหม จิตดับกระทั่งไม่ได้ยินเสียง ไม่รับรู้อะไรจากภายนอก จิตลงไปสู่ส่วนลึกที่สุดเป็นอัปปนาฌาน เรียกว่า พรหมลูกฟัก เป็นพรหมชั้นสูง ถ้าไม่แก้ไขผู้นั้นจะคิดว่าตนได้พบพระนิพพาน จะไปไหนไม่รอด...”
    ท่านว่า ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่ขาวติดตามหลวงปู่มั่นไปยังภาคเหนือ หลวงปู่ขาวนั่งภาวนารวดเดียวตั้งแต่ 6 โมงเย็นไปถึง 6 โมงเช้า ที่สำนักสงฆ์อรัญญวิเวก น้ำค้างจับร่างหลวงปู่ขาวจนเปียกชุ่ม พอหลวงขาวออกจากสมาธิไม่รู้ว่า จิตไปอยู่ที่ไหน เลยไปเรียนถามหลวงปู่ใน
    หนนั้นหลวงปู่มั่นชี้แนะเพียงนิดเดียวว่า ให้ตั้งต้นใหม่ ติดตามดูจิตตั้งแต่เริ่มต้น เข้าสมาธิ ใช้สติปัญญาตามดูจิตให้ดีว่า วางอารมณ์อะไรจึงดับเสียงไปหมด ให้ดูว่าจิตไปอยู่ที่ไหน ต้องตามให้รู้
    พระอาจารย์เปลี่ยนก็ใช้กลวิธีเดียวกันนั้นแก้หลุมพรางของจิตที่ประสบอยู่ขึ้นมาจากภูเก็ต ท่านไปกราบคาราวะรับการชี้แนะจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ขาว ฯลฯ และหลวงปู่ขาวก็ย้ำว่าให้แก้ด้วยวิธีการเช่นว่า
    การเบนเข็มจากภาคอีสานมาสู่ภาคเหนือเกิดขึ้นหลังพรรษาที่ 4 เมื่อได้ยินข่าวว่า หลวงปู่ตื้อเทศน์เก่ง หลวงปู่แหวนไม่เทศน์ แต่เป็นนักปฏิบัติ การมุ่งขึ้นเหนือคราวนี้ ทำให้ได้พบและอยู่ศึกษากับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แล้วไปอยู่กับหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวนดังใจหมาย
    ท่านว่า หลวงปู่ตื้อนั้นมีความสามารถในการสอนธรรมะและไขปัญหาต่างๆ ให้ได้พบความกระจ่างแจ้งอย่างที่ร่ำลือ
    ค่ำบีบนวดถวาย ระหว่างนั้นหลวงปู่ตื้อจะเทศน์ ทั้งสอนทั้งแก้ไขปัญหาที่สงสัย เที่ยงคืนออกมาปฏิบัติถึง 02.00 น. ถึงพักนอนแค่ 2 ชั่วโมง 04.00 น. ตื่นทำวัตร หลวงปู่ตื้อสอนทุกอย่าง รวมทั้งฝึกให้ท่าใช้อนาคตังสญาณคือ แรกๆ จะบอกล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา ถึงเวลาก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อท่านฝึกตามที่ได้รับการชี้แนะ พระอาจารย์เปลี่ยนก็ได้ญาณนั้นเช่นกันคือ รู้ก่อนล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา มากี่คน ใส่เสื้อสีอะไร
    ออกจากหลวงปู่ตื้อ ก็ไปพำนักกับหลวงปู่แหวน
    ในพรรษาที่ 6 ท่านควบคุมจิตได้
    กลวิธีที่ท่านใช้ คือ ทำความเพียรทั้ง 4 อิริยาบถ พอเมื่อยล้าเมื่อไหร่ก็หันไปอ่านหนังสือวิสุทธิมรรค
    ท่านว่า “การดูเข้าไปในจิตเรื่อยๆ มันจะเริ่มวางเสียงลงได้ เสียงจะเบาลงๆ จนกระทั่งดับนิ่ง จึงรู้ว่าจิตเราวางเสียงดังนี้นี่เอง เมื่ออยู่นิ่งๆ นานเข้า ใช้สติปัญญาเข้าไปครองจิตให้นิ่ง มันก็จะสงบลงไปหมด ว่างไปเหมือนไม่มีตัว ไม่มีกาย ว่างอยู่เฉยๆ มันนิ่งสบาย จึงรู้ว่าจิตมาอยู่นี่เอง ร่างกายก็เหมือนไม่มี อยู่ว่างๆ สบาย คอยดูจิตอยู่ มันเหมือนไม่มีใครอยู่ด้วย เหมือนจำพรรษาอยู่คนเดียว การดูจิตของเราไปตลอดเวลา ทำให้หนังสือที่เคยท่องมา เช่น วิสุทธิมรรคที่อ่านอยู่ เกิดตัวรู้ขึ้นมาทันทีตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย เหมือนกับอ่านบาลีและรู้ทั้งหมดในทันทีนั้นเอง”
    พระอาจารย์เปลี่ยนเจริญในธรรมมาตามลำดับ โดยได้รับการชี้แนะจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลายรูป ไม่ว่า หลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ขาว หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงปู่พรหม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่สาม อกิญจโน อาจารย์บัวพา ปัญญาภาโส หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ฯลฯ
    หลายรูปที่สอนการภาวนาให้ทั้งมาโดยในนิมิตและการได้พบกันเป็นๆ ในจังหวะต่างๆ
    หลวงปู่แหวนนั้นบอกว่า “เอามันให้ได้ มรรค ผล นิพพาน มันยังมีอยู่ ไม่ได้ไปไหน ...”
    ทุกวันนี้พระอาจารย์เปลี่ยนยังโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล นอกจากจะพัฒนาวัดป่าอรัญญวิเวกให้เจริญก้าวหน้าดังที่พระอาจารย์มั่นได้กล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว ท่านยังเผยแผ่ธรรมะไปในที่ต่างๆ ทั่วโลกอีกทางหนึ่งด้วย ท่านเทศนาได้หลายภาษา ภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ ฯลฯ
    กับผู้อยู่ในโลกตะวันตกนั้น ท่านได้ไปสอนบรรดาโปรเฟสเซอร์ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกทั้งหลายให้รู้จักธรรมะของพุทธศาสนา ท่านว่า จับโจรต้องจับหัวหน้าโจร เมื่อผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นคนนำปัญญาได้รู้ได้เห็นธรรมะแล้ว ธรรมะก็จะเผยแผ่ได้ง่าย
    ผมเคยเรียนถามท่านว่า ท่านเรียนภาษาเหล่านั้นมาจากไหน ถึงเขียนหรือเทศน์เป็นภาษานั้นๆ ได้ ท่านว่า จะไปยากอะไร ก็ภาวนาเอาสิ ภาวนาแล้วมันก็รู้ขึ้นมาเองล่ะ อยากรู้ภาษาอะไรก็ได้รู้
    ท่านเคยเทศนาไว้ว่า ผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะรู้ตนว่ามีศีล 5 ศีล 8 ครบบริบูรณ์ ถ้ารู้ว่าปฏิบัติได้มากกว่านั้น ก็รู้ตัวว่าได้มากกว่านั้น ไม่สงสัย ไม่ลูบคลำว่าศีลข้อนั้นมันดีหรือไม่ดี พระสกิทาคามีนั้น ละความโลภ ความโกรธ ความหลงให้เบาบางลงได้แต่ไม่หมด พระอนาคามีนั้นอยู่ในฌานเป็นพรหมจรรย์อยู่โดดเดี่ยว เหมือนคนไม่มีคู่เรียงเคียงหมอน จิตวิญญาณมีอยู่ขันธ์เดียว อยู่กับความสุข ไม่ยุ่งกับใคร ศีล 8 สมบูรณ์
    สำหรับพระอรหันต์นั้น รู้แจ้งหมดแล้ว หายสงสัยในโลกหมดแล้ว รู้โลกแจ้งชัดเจนแล้ว ไม่หลงโลก ใครจะทำให้หลงก็ไม่หลง ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีความต้องการ ร่างกายก็รู้หมด รู้เฒ่า รู้แก่ รู้เจ็บ รู้ตาย รู้ทุกข์ รู้ยาก พอแล้ว อิ่มแล้ว ไม่เอารูปขันธ์นี้แล้ว เรียกว่าตัดกิเลสขาด ขาดจากความยึดมั่น ถือมั่น วิราโค คลายความกำหนด สิ้นความยินดี ไม่ยินดีกับอะไรในโลกนี้ ความรัก ความชังขาดลอยหมดแล้ว ไม่แต่อุเบกขาญาณ วางเฉยอยู่แต่ยังสอนคนอยู่ จะเอาไม่เอาช่างมัน สอนด้วยความเมตตาเฉยๆ แต่ตัวท่านนั้นทำงานเสร็จแล้ว ไม่มีงานจะทำแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือ การปฏิบัติธรรมอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำไม่มีอีก ที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะมาเกิดอีกไม่มี จิตของท่านไม่ต้องพูดถึง เป็นสมาธิทั้งวันทั้งคืน เป็นอยู่ทุกขณะ รู้อยู่ตลอด พุทโธเต็มอยู่บริบูรณ์อยู่ตลอด มีธัมโม สังโฆอยู่ในตัวตลอด...
    ท่านว่า ผู้ที่รู้ธรรมย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง และวิญญูชน รู้ด้วยเฉพาะตัวเอง เหมือนว่า ร้อนเรารู้ หนาวเรารู้ เรารู้อยู่คนเดียว คนอื่นไม่รู้ด้วย ทุกข์เรา ก็รู้อยู่คนเดียวของเรา คนอื่นจะมารู้ไม่ได้..
    วิญญูชนรู้ได้ด้วยเฉพาะตนเอง ไม่ต้องไปวัดหรอก ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มาวัดหรอก เขาจะวัดของเขาเอง ถ้าเขาหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ เขาก็จะรู้ของเขาเองว่าหลุดพ้นแล้ว ไม่มีอะไรขัดข้องกับจิตใจ”
    พระอาจารย์เปลี่ยนปฏิบัติมาถึงระดับใดท่านรู้ของท่านเอง แต่ที่แน่ๆ คือ เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรแก่การสักการะ เป็นพุทธบุตรที่ยังดำรงขันธ์ให้เราอยู่เห็นในพ.ศ.นี้
    *************************************
    ในวันที่ 15 ก.พ. 2561 พระอาจารย์เปลี่ยนได้ละสังขารแล้วอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 29 วัน พรรษา 59
    >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********บูชาที่ 305 บาทฟรีส่งems SAM_3033.JPG SAM_6122.JPG SAM_6125.JPG SAM_2258.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2020
  10. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +290
    จองครับ
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 702 รูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่เสน ปัญญาธโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองเเซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หลวงปู่เสน เป็นศิษย์หลวงปู่บัว สิริปุณโญ วัดป่าหนองเเซง
    พระอาจารย์เสน ปญฺญาธโร เจ้าอาวาส
    สามเณร เสน ผู้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เคยได้รับการปรนนิบัติจากสามเณรน้อยรูปหนึ่งชื่อ สามเณรเสน สามเณรน้อยรูปนี้อยู่กับท่านมานาน แล้วได้จากหายไป จนสึกออกไปมีภรรยาและบุตร แม้เณรจะจากท่านไปเป็นเวลานานท่านก็ยังจำได้เป็นอย่างดี อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่บัว ได้พูดคุยกับหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชายของท่านว่า
    “เอ...เณรน้อยคนนั้น มันไปไหนหนอ มันเป็นไข้มาลาเรีย...เราพยายามรักษามันจนจะหายแล้วไม่พาหนีจากเราไป ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน”
    หลัง จากหลวงปู่ปรารภถึงสามเณรน้อยของท่านได้เพียง ๒ วันเท่านั้น สามเณรของท่านก็กลับมา แต่มาในฐานะพระภิกษุเสน ปญฺญาธโร บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว การปรารภของหลวงปู่ในครั้งนั้นเหมือนท่านได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
    ต่อ มาภายหลัง พระอาจารย์เสน ได้รับมอบภาระให้เป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัดป่าบ้านหนองแซง สืบต่อจากหลวงปู่ ได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน
    รูปเหมือนสร้างปี 2560 เนื้อทองทิพย์ สร้างเนื่องจากหลวงปู่อายุครบ 7 รอบ(84 พรรษา) สร้างโดยคณะศิษย์การบินไทย มาพร้องกล่องเดิม
    มีตอกโค๊ต ดอกจำปี สัญลักษณ์การบินไทยใต้องค์พระ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ >>>>>>>>>บูชาที่ 405 บาทฟรีส่งems SAM_7049.JPG SAM_6777.JPG SAM_6778.JPG SAM_6779.JPG SAM_6780.JPG SAM_3774.JPG
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 703 เหรียญเสมาสมปรารถนาหลวงปู่เเก้ว สุจิณโณ พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่เเก้วเป็นศิษย์หลวงปู่เเบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์,หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถํ้าผาบิ้ง เหรียญสร้างปี 2559 เนื้ออัลปาก้าลงยาเเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ตตัวเลข 2850 เเละโค๊ต อักษร ส หลังเหรียญมาพร้อมกล่องเดิม >>>>>>>ประวัติโดยย่อของหลวงปู่เเก้วเเละประวัติวัดถํ้าเจ้าผู้ข้า หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ละสังขารอย่างสงบแล้ววันนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สิริอายุ ๗๖ ปี ๗ เดือน ๒๘ วัน พรรษา ๕๒ ท่านเป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร , หลวงปู่แบน ธนากโร
    ".. ถ้าอยากจะชำระก็ขอให้ชำระกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจของเรา อย่าไปชำระบาป บาปนั้นชำระไม่ได้ ถ้าไม่อยากจะรับผลของบาป ก็อย่าไปทำเสียตั้งแต่วันนี้ .." โอวาทธรรมหลวงปู่แก้ว สุจิณโณ
    #อัตโนประวัติหลวงปู่แก้ว_สุจิณฺโณ
    ท่านมีนามเดิมว่า "ทองแก้ว ฮ่มป่า" เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม ณ บ้านห้วยหีบ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์ และนางวงศ์ ฮ่มป่า
    ในช่วงวัยเยาว์ หลังจากที่ได้เรียนจบภาคบังคับในหมู่บ้านแล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา ทำสวน ทำไร่ เหมือนชาวชนบทภาคอีสานทั่วไป
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกเกณฑ์ทหารแล้ว จึงได้คิดอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ อย่างไรก็ดี ท่านยังหาโอกาสเหมาะสมมิได้ เนื่องจากติดขัดที่ฐานะทางบ้านต้องช่วยเหลือครอบครัว แต่จิตใจก็ยังคิดใฝ่หาที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตลอดเวลา
    กระทั่งอายุได้ ๒๕ ปีพอดี โยมพ่อแม่จึงได้ให้นายทองแก้วเข้าไปบวชเป็นตาผ้าขาวอยู่กับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ เพื่อให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับพระภิกษุ ซึ่งผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรนั้นในวัดพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จะให้บวชเป็นตาผ้าขาวก่อน เพื่อให้หัดท่องคำขานนาค ท่องบทสวดมนต์ และให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติ
    รวมทั้งอยู่ดูนิสัยไปก่อน เรียกง่ายๆ คือ อยู่ดัดนิสัยเดิมเสียก่อน ฝึกกิริยามารยาทให้งดงาม ให้รู้จักครรลองครองธรรมของพระสงฆ์ ฝึกความอดทน ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ต้องใช้เวลานานพอสมควร บางคน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน หรือเป็นปีสองสามปีก็มี แล้วแต่ใครจะฝึกหัดได้ง่ายได้ยาก
    จนเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ หลวงพ่อแบน ธนากโร จึงได้นำนายทองแก้วเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ณ วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระวิบูลธรรมภาณ (ไพบูลย์ อภิวณฺโณ) วัดศรีโพนเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแบน ธนากโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้วท่านก็ได้กลับไปพักปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อยู่ปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เร่งรัดปฏิบัติข้อวัตรมิให้ตกหล่น ตรงตามเป้าหมายที่ประสงค์ไว้ จนเกิดความช่ำชอง
    เมื่อเห็นว่าสามารถที่จะดูแลตัวเองได้แล้วจึงได้กราบลาหลวงพ่อแบน ธนากโร ออกเดินธุดงค์จาริกปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ และได้ขึ้นมาอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ครั้นต่อมา หลวงปู่หลุยได้มรณภาพลง จึงได้จำพรรษาตั้งแต่ครั้งนั้นจนกระทั่งปัจจุบัน
    พระอาจารย์ทองแก้วเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ที่เดินตามรอยครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่เป็นต้นแบบ เป็นพระที่ต้องการอยู่ที่เงียบสงบอยู่แต่ป่า จึงนับได้ว่าเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกอย่างแท้จริง
    พระอาจารย์ทองแก้วมักสอนญาติโยมทุกครั้งในเรื่อง "มาแต่ตัวก็ต้องไปแต่ตัว ขอให้เร่งสร้างความดีงามเอาไว้ อย่าเบียดเบียนกัน"
    พระอาจารย์ทองแก้วถือเป็นร่มธรรมองค์หนึ่งของชาวสกลนคร ที่มีความตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    #ประวัติวัดถ้ำเจ้าผู้ข้า
    บ้านทิดไทย ต.ไร่ อ.พรรรณานิคม จ.สกลนคร
    .. ก่อนที่จะมีการเรียกว่าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้านั้นก็มีประวัติความเป็นมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลด้วยตนเองดังนี้ ในอดีตเมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้วได้มีชาวบ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบันได้ออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ มาพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวรถ้ำแห่งนี้โดยที่ท่านไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นอาหารเพราะเมื่อท่านรับประทานเข้าไปแล้วจะอาเจียนออกมาหมดก่อนที่ท่านจะสละทางโลกเข้ามาทางธรรมนั้นท่านก็มีครอบครัวเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป มีบุตรสาวหนึ่งคน จากการบอกเล่าของลูกหลาน เชื้อสายเจ้าผู้ข้าอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือก่อนที่ท่านเจ้าผู้ข้าจะออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ นั้น วันนึงในฤดูทำนาภรรยาท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ไปเก็บหอยขมมาทำอาหาร การที่นำหอยขมมาทำอาหารนั้น บางคนก็ตัดก้นหอยเพื่อที่จะนำมาแกง บางคนก็ต้มเลยไม่ต้องตัดก้นหอย การที่นำหอยเป็นๆมาต้มก็เหมือนกับเราต้มเปรตปลาไหลนั้นเอง หอยเป็นๆพอถูกน้ำร้อนมันจะร้อนแค่ไหน ลองพิจารณาเอาเองก็แล้วกัน
    ภรรยาของท่านเจ้าผู้ข้าก็เช่นกันนำหอยขมที่ได้มานั้นต้มเพื่อเป็นอาหาร ขณะที่น้ำในหม้อต้มหอยกำลังเดือด ท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ยินเสียงหอยขมในหม้อต้มนั้นร้องว่า “โอ้ยร้อนจัง ช่วยด้วย ร้อน ร้อน ” ซึ่งเสียงนั้นท่านเจ้าผู้ข้าได้ยินเพียงผู้เดียว ตั้งแต่นั้นมาท่านเจ้าผู้ข้าก็มีอาการผิดปกติคือรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ได้ รับประทานเข้าไปก็มีอาหารเคลื่อนไส้ อาเจียนทันที มีการบันทึกไว้ว่าก่อนที่จะมีการเรียกชื่อเจ้าผู้ข้านั้น ท่านมีนามว่า น้อยหน่า ส่วนนามสกุลนั้นมีการแต่งขึ้นในภายหลังจากท่านออกบวชแล้ว
    >>>>>>สาเหตุทำไมถึงเรียกว่า.. "เจ้าผู้ข้า"
    ท่านเจ้าผู้ข้านั้นชอบเรียกตัวเองว่า ผู้ข้า ซึ่งไปเป็นภาษาภูไท หมายความว่า กระผม หรือ ข้า หรือ ข้าพเจ้าประมาณนั้น และมีคนพบท่านเจ้าผู้ข้าครั้งสุดท้ายที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านนอนป่วยอยู่จึงนำท่านลงไปรักษาในหมู่บ้านที่มีผู้ศรัทธาท่านจนท่านเจ้าผู้ข้านั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาจึงมีผู้คนเรียกถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำเจ้าผู้ข้า" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    และถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้เป็นที่ละสังขารของท่านพระอาจายร์กู่ ธมฺมทินฺโน ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และลูกศิษย์ซึ่งมีสามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน.รวมอยู่ด้วย ท่านได้มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้โดยมีกุฏิหลังเก่าไว้เป็นหลักฐาน เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ก็ได้ละขันธ์ในท่านั้งสมาธิในกุฏิหลังนี้เพระท่านเป็นโรคฝีฝักบัวอยู่ที่ก้นจนทนไม่ได้จึงละขันธ์เมื่อ สิริอายุ ๕๓ ปี พรรษา ๓๓ และเพื่อระลึกถึงท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ที่ท่านมาละขันธ์ที่สถานที่แห่งนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ขออนุญาติ หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ สร้างรูปเหมือนเท่าองค์จริงของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ไว้ที่หน้ากุฏิที่พระอาจารย์ท่านละขันธ์ เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ได้กราบไว้บูชา >>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ******บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งems SAM_8872.JPG SAM_7111.JPG SAM_7109.JPG SAM_7110.JPG SAM_1590.JPG
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 704 พระกริ่ง 86 ปีหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย พระกริ่งสร้างปี 2541 เนื้อสำริด สร้างเนื่องจากฉลองพระเจดีย์หลวงปู่เหรียญ มีตอกโค๊ต 2 โค๊ต โค๊ตยันต์เเละโค๊ตตัวเลข ๑ ใต้องค์พระ ก้นอุดทองเเดง ประวัติโดยย่อพอสังเขป
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    นามเดิม เหรียญ ใจขาน เกิดวันที่ 8 มกราคม 2455 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ณ บ้านหม้อ ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย บิดาชื่อ ผา มารดาชื่อ พิมพา
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    จิตมีธรรมปรารถนาออกบวช
    มื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี เห็นจะด้วยบุญบารมีแต่ปางก่อน รู้สึกว่าชีวิตปุถุชนไม่มีแก่นสาร จึงลาบิดามารดาเข้าเรียนครองบวชอยู่สิบห้าวันก็ได้บวชที่อุโบสถวัดบ้านหงษ์ทอง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มี ท่านพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจารย์ บวชแล้วได้กลับมาอยู่ วัดโพธิ์ชัย บ้านหม้อ บวชเมื่อ เดือนมกราคม 2475 อาจารย์วัดโพธิ์ชัย สอนให้ภาวนา อนุสสติ 10 ด้วยวิธีท่องเอา แล้วบริกรรมในใจว่า พุทธานุสสติ สังฆานุสสติ ไปจนถึง อปสมานุสสติ จบแล้วตั้งต้นใหม่เรื่อยไป จิตสงบเบิกบานดี บริกรรมทุกอิริยาบถเป็นอารมณ์ติดต่อกันไป
    ในระหว่างนั้นโยมบิดาได้นำหนังสือเกี่ยวกับการเจริญสมถะและวิปัสสนาของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม มาให้อ่าน ท่านอธิบายเรื่อง สติปัฏฐาน4 โดยเฉพาะเรื่องกายานุปัสสนา ให้พิจารณาร่างกายเพ่งดูแยกออกเป็นส่วนๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตลอดจนอาการ 32 แล้วให้ถามตัวเองว่า ตัวตน อยู่ที่ไหน แท้จริงก็ไม่มี เมื่อไฟเผาแลัว ย่อมเหลือแต่เถ้ากระดูก
    กำหนดเอากระดูกใส่ครกบดให้ละเอียดแล้วซัดไปตามลมพัดหายก็ไม่เหลืออะไร ร่างกายนี้ไม่มีอะไรเป็นของตนสักอย่างเดียว มีแต่เกิดแล้วดับไปดังปรากฏ
    แล้วใครเป็นผู้รู้ว่าร่างกายเป็นอย่างนั้น ก็จิตนี้เป็นผู้รู้ เมื่อสติกลับมา รู้จิต จิตก็รวมลงเป็นหนึ่ง แสดงว่า จิตปล่อยวางร่างกายได้ตามสภาพ จึงประคองจิตให้สงบอยู่ต่อไปนานเท่าที่จะอยู่นานได้ ในขณะนั้นจะมีความรู้สึกว่า กายก็เบา จิตก็เบา คิดจะไปอยู่ป่า พอดำริจะไปอยู่ป่าเท่านั้น มาร คือ กิเลส ก็แสดงอาการขัดขวาง เกิดความรู้สึกนึกคิดเป็นสองทาง ใจหนึ่งอยากสึกออกไปครองเรือน ใจหนึ่งอยากออกปฏิบัติเจริญสมถะวิปัสสนาตามที่ตั้งใจไว้ วันแล้ววันเล่ายังตัดสินใจไม่ได้ จึงลองอดข้าวหนึ่งวัน พอตกค่ำเวลาประมาณสามทุ่ม ก็ห่มผ้าสังฆาฎิแล้วทำวัตร อธิษฐานจิตว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนาเพื่อพิจารณาตัดสินใจลงทางใด ทางหนึ่งให้ได้ ถ้าตัดสินใจไม่ได้จะไม่ลุกออกจากที่นั่งนี้เลย ภายหลังได้ตัดสินใจประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป ได้พบพระอารย์กู่ ธมฺมทินฺโน บ้านเดิมท่านอยู่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านเที่ยวธุดงค์ไปทางหนองคาย พักอยู่ที่วัดเดียวกัน ได้รับคำอธิบายในอุบายภาวนาเพิ่มเติมจนเข้าใจดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้พบกับ ท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม อยู่วัดสิริสาลวัน ได้พาบวชเป็นพระธรรมยุตที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
    พ.ศ. 2476 จำพรรษาวัดป่าสาระวารี บ้านค้อ อำเภอผือ อุดรธานี
    เป็นที่ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยจำพรรษา ได้ตั้งใจทำความเพียรสงบใจมาก แต่วิปัสสนายังไม่แกกล้า ได้แต่สมถะ ออกพรรษาแล้วจึงธุดงค์ไปจังหวัดเลย พักวิเวกอยู่ถ้ำผาปู่ และ ถ้ำผาบิ้ง ได้ความสงบสงัดมาก
    พ.ศ. 2477 พรรษาสอง จำพรรษาวัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ หนองคาย
    มีพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เป็นหัวหน้า ตั้งใจไม่นอนกลางวัน ค่ำลงทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิ ถึงตีสอง แล้วลุกขึ้นทำความเพียรจนสว่าง พอถึงเดือนหกเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ วัดป่าบ้านค้อ ตามเิด
    พ.ศ. 2478 พรรษาสาม จำพรรษาที่วัดป่าสาระวารี
    พ.ศ. 2479-2480 พรรษาสี่และห้า จำพรรษาที่วัดอรัญญบรรพต
    ทำภาวนาจิตสงบแล้วพิจารณาขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาตามสภาพความเป็นจริง แล้วปล่อยวาง จิตสงบพร้อมกับความรู้เป็นอย่างดี คล้ายหมดกิเเลส แต่ต่อมามีเรื่องต่างๆ มากระทบ ก็รู้สึกจิดผิดปกติ หวั่นไหวไป ตามอารมณ์นั้นๆ อยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรง ก็แสดงว่ากิเลสยังไม่หมดสิ้น พยายามแก้ก็ไม่ตก นึกในใจว่าใครหนอจะช่วยแก้จิตให้ได้ จึงนึกไปถึงกิตติศัพท์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงชวนภิกษุรูปหนึ่งลงเรือจากหลวงพระบางขึ้นไปทางอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เดินทางไปหาท่าน
    พ.ศ. 2481 ได้พบท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยความเมตตาของหลวงตาเกต ซึ่งเป็นสัทธิ วิหาริก ของท่าน ได้พาไปพบที่ป่าละเมาะใกล้ๆ โรงเรียนแม่โจ้ อำเภอสันทราย ได้เห็นด้วยความอัศจรรย์ใจเพราะตรงกับในนิมิตทุกประการ ท่านได้แนะนำว่านักภาวนา พากันติดสุขจากสมาธิจึงไม่พิจารณาค้นคว้าหาความจริงของชีวิตกัน
    ท่านซักรูปเปรียญให้ฟังว่า ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศแลย เขาทำใส่บนพี้นดินจึงได้ผล ฉันใด โยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายควร พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามรูป ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละจึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดอยู่ในความสงบโดยส่วนเดียว
    เมื่อท่านให้โอวาทแล้วจึงพิจารณาดูตังเองว่าได้เจริญเพียงสมถะไม่ได้เจริญ วิปัสสนาเพียงรู้แจ้งในธรรมที่ควรรู้ คือ อริยสัจสึ่ จึงเจริญวิปัสสนาเรื่อยมา ตั้งแต่พรรษาที่ 6 อยู่ในเขตภาคเหนือจนถึงพรรษาที่ 16 แล้วเดินทางกลับธุดงค์ ผ่านหลวงพระบาง ประเทศลาว เข้าเวียงจันทน์ มายังหนองคาย
    พรรษาที่ 19 ถึง 26 จำพรรษาเผยแพร่ธรรมะปฏิบัติอยู่ภาคใต้ แล้วจึงย้ายไปอยู่วัดอรัญญบรรพต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 เรื่อยมา
    >>>>>>ธรรมโอวาท
    1. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นโทษทั่งนักบวช ทั้งคฤหัสถ์ ถ้าใครสะสมกิเลอให้แน่นหนาทั้งในใจ ใจก็ให้ทุกข์ ให้โทษกับผู้นั้น ไม่ใช่ให้ทุกข์แก่นักบวชฝ่ายเดียว

    2. อันสตินี้ สัมปชัญญะนี้ ก็สมมติเป็นโชเฟอร์กำพวงมาลีย มีสติคอยระมัดระวัง กาย วาจา จิต อยู่เสมอๆ คอยระวังเรื่องต่างๆ ระมัดระวังไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเที่ยวประกาศ ห้ามใครมาติชมเรา ที่ว่าระวังนั้น คือ เมื่อมีเรื่องมากระทบให้รู้ทัน ในทันที เราจะห้ามจิตไม่ให้หวั่นไหวไปไม่ได้ แต่ให้ระวัง ต้องควบคุมจิตด้วยสติให้ถี่ๆ กระชับสติสัมปชัญญะให้มันถี่เข้ามา จะได้ไม่หวั่นไหวกับคำพูดเสียดแสงใจต่างๆ
    3. ถ้าจิตสงบมีกำลังพักผ่อนเต็มที่แล้ว มันก็จะอยากรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ ต้องกำหนดหาเรื่องที่ควรจะรู้ สิ่งใดที่เรายังไม่รู้ก็ต้องกำหนดพิจารณา เช่น กำหนดพิจารณาทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เบื่อในทุกข์ของขันธ์5 อันไม่เที่ยงแปรปรวน อาการหวั่นไหวกันไปมานั่นแหละ เรียกว่า ทุกขลักษณะ เมื่อจิตรู้อย่างนี้ ก็จะได้ไม่หวั่นไหว ไม่ยึดเอาของไม่เที่ยงมาเป็นทุกข์ หลวงปู่เหรียญได้อาพาธด้วยโรคไต และต่อมลูกหมากโต เส้นเลือดในสมองและหัวใจตีบ ความดันโลหิตและโรคชรา ต้องเข้ารักษาอาการที่ รพ.เอกอุดร จ.อุดรธานี และโรงพยาบาลวิชัยยุทธอย่างต่อเนื่องมานานถึง 2 ปี ก่อนเข้าเป็นคนไข้ในพระราชินูปถัมภ์ และย้ายไปรักษาที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.48 จนกระทั่งเวลา 11.50 น.วันที่ 5 มิ.ย.48 หลวงปู่ได้ละสังขารด้วยอาการที่สงบ รวมสิริอายุ ได้ 93 ปี 73 พรรษา >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ **********บูชาที่ 545 บาทฟรีส่งems SAM_7272.JPG SAM_7113.JPG SAM_7116.JPG SAM_7117.JPG SAM_7118.JPG SAM_1808.JPG
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 705 เหรียญเศรษฐีธรรมหลวงปู่ลี กุสลธโล พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูผาเเดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หลวงปู่ลีเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เหรียญสร้างปี 2550 เนื้อสำริด มีตอกโค๊ต ล หลังเหรียญ #ประวัติหลวงปู่ลี กุสลธโร ประธานสงฆ์วัดเกษรศิลคุณธรรมเจดีย์ (วัดภูผาแดง) ต.หนองอ้อ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    --------หลวงปู่ลี กุสลธโร จะอายุครบ ๙๔ ปี หากถือตามวันจันทรคติคือวันเพ็ญ เดือน ๑๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ รวม ๖๗ พรรษา
    หลวงปู่ลี กุสลธโร แท้ที่จริงท่านเกิดวันจันทร์ที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ปีจอ โดยท่านหลวงปู่ลีให้ถือตามครูบาท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ออกแบบแผ่นศิลาฤกษ์ เพื่อวางศิลาฤกษ์สถานที่ก่อสร้างเจดีย์ที่วัดภูผาแดง อ. หนองวัวซอ จ. อุดรธานี โดยนำ เอาดวงเกิดหลวงปู่ หลวงตา แล้วก็วันที่ ที่วางศิลาฤกษ์ ไปกราบเรียนถามท่านหลวงปู่ลีว่า วันที่ ที่ในใบสุทธิของท่านไม่ถูกต้อง เมื่ออ้างอิงจากปฏิทินร้อยปี เพราะวันที่ ๑๔ ไม่ตรงกับวันจันทร์ และขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่ ที่ถูกต้อง ต้องเป็นวันจันทร์ ที่ ๕ กันยายน ๒๔๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ

    ท่านเกิดที่บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายปุ่น และนางโพธิ์ สาลีเชียงพิณ มีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน ชาย ๔ คน หญิง ๕ คน ท่านเล่าชีวิตในวัยเด็กว่า สมัยเป็นเด็กพ่อแม่ก็พาทำบุญเหมือนกับชาวบ้านทั่ว ๆ ไป อายุได้ ๑๒ ปี เรียนจบชั้น ป. ๓ พออายุ ๒๐ กว่าปีก็ได้แต่งงานกับนางสาวตี ภรรยาตั้งท้องแล้วคลอดลูกออกมาตาย
    ท่านได้เกิดความสลดใจเป็นยิ่งนัก ท่านเล่าว่า การแต่งงานก็มิได้แต่งกันด้วยความรัก แต่งงานกันตามประเพณีที่พ่อแม่บอกให้แต่งเท่านั้น ท่านเองไม่เคยมีคนที่รัก และยังไม่เคยรักหญิงใดเลย ท่านอยู่กินกับภรรยาได้ ๒ ปี ๖ เดือน จึงขอออกบวช เพราะได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐานที่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ที่เดินธุดงค์มาพักยังป่าแถบหมู่บ้านของท่านเก่งนักในการพิจารณาอสุภะกรรมฐาน พิจารณาเมื่อไหร่ ก็ได้เรื่องได้ราวเมื่อนั้น เห็นผลเป็นที่ประจักษ์เป็นอุปนิสัยดั้งเดิมของท่าน
    #อุปสมบท...
    ท่านบวชพระเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโตและเมื่ออุปสมบทได้ฉายานามว่า “กุสลธโร” แปลว่า “พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี” เป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)
    หลวงปู่ลี อุปสมบทที่วัดศรีโพนเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมือวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๖.๑๒ น. โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามว่า กุสลธโร แปลว่า พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี
    ท่านเล่าการภาวนาในพรรษาแรกว่า “ภาวนาบริกรรม พุทโธ ๆ ๆ เกิดแสงสว่างวาบฉายเข้ามาเห็นภรรยาเดินเข้ามาหา มาได้ระยะห่างประมาณวากว่าๆ จึงล้มลง ร่างกายแรกกระจุยเป็นผุยผง แม้แต่กระดูกก็มองไม่เห็น กลายเป็นดินเป็นหญ้า เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สัญญาความจำได้หมายรู้ในรูปนาม ไม่ยึดไม่ติด การภาวนาจะเป็นแบบนี้ได้ต้องเกิดแสงสว่างก่อน จากนั้นการออกพิจารณาทางด้านปัญญาไหลคล่องตัวเหมือนสายน้ำตกจากที่สูงลงที่ต่ำไม่มีติดขัด
    หลวงปู่ลี ท่านนั้นติดสอยห้อยตามหลวงตามหาบัวตลอดมา แม้หลวงตาจะหนีออกวิเวกไปทางไหน หรือจะดุจะว่าจะไล่ให้หนีไปอย่างไรหลวงปู่ลีก็อดทนติดตามไปทุกหนทุกแห่งไม่เลิกไม่ราไม่ท้อถอย หวังให้ท่านช่วยอบรมสั่งสอนให้ สุดท้ายหลวงตาก็ยอมรับเป็นศิษย์ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ต่อจากนั้นท่านได้ติดตามหลวงตาไปจำพรรษายังจังหวัดจันทบุรี และย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    ในสมัยที่หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พักอาพาธที่วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จังหวัดปทุมธานี หลวงปู่ลีมักจะมาเยี่ยมเยียนเสมอ และองค์หลวงปู่เจี๊ยะท่านก็ชื่นชมรักใคร่หลวงปู่ลีเป็นอย่างมากเช่นกัน ท่านทั้งสองจึงเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาก
    ท่านได้แสวงหาสถานที่เที่ยววิเวกด้วยการออกเที่ยวธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ มากมาย เช่น ภูวัว ถ้ำจันทร์ จังหวัดหนองคาย และป่าแถวสกลนคร และจังหวัดเลย เป็นต้น ท่านสามารถภาวนาพิจารณาอสุภะและสุภะกรรมฐาน ตั้งเป็นภาพปฏิภาคนิมิตขึ้นแล้วเพ่งกระแสจิตทำลายเผาผลาญกิเลสได้ตั้งแต่สมัยยังเป็น ฆราวาส เมื่อบวชได้เพียง ๑๑ วัน ท่านตั้งใจภาวนาไม่ลดลาความพากเพียร ได้นิมิตว่า “ตนเองเดินทางเข้าไปในป่ากว้าง ผ่านห้วยหนองคลองบึง มีขอนไม้ชาติยาวใหญ่ดำสุดสายตา จึงเดินปีนขึ้นไปไต่ตามขอนนั้นไปเรื่อยๆ พอสุดปลายขอนไม้ชาตินั้น พลันเจอป่าอันรกชัฏมีขวากหนามรกรุงรัง จะหันหลังกลับก็ไม่ได้ จึงต้องพยายามแหวกคมหนามมุดมอดบุกผ่าเข้าไปให้ผ่านป่าอันแสนจะข้ามยากนั้น เมื่อผ่านมาได้ด้วยความยากลำบาก เจอทุ่งโล่งอันเวิ้งว้างมีหอพระไตรปิฎกอันวิจิตรตระการตาตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ จึงก้าวเดินขึ้นไป เห็นห้องหอประตูตู้ กำลังจะเดินเข้าไปเปิด แต่ยังไม่ทันได้เปิด แต่ได้เข้าไปถึง จิตก็ถอนออกจากนิมิตนั้น”

    >>>>>>>ท่านสิ้นกิเลสพรรษาที่ ๑๑ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลาตีสอง ตรงกับวันพุธที่ ๕ ตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ที่วัดบ้านกกกอก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ...คืนนั้นฝนตกทั้งคืน ท่านเพลิดเพลินในการภาวนา ธรรม คือ สติ สมาธิ และปัญญา หลั่งไหลเหมือนสายน้ำ จิตเต็มอิ่มในธรรม เดินจงกรมคล้ายกับว่าเท้าไม่ได้เหยียบพื้นดิน นั่งภาวนาคล้าย กับว่าตัวลอยอยู่เหนือพื้น ทำสมาธิทั้งคืนไม่นอน ไม่พักผ่อน ในขณะที่พิจารณาเข้าด้ายเข้าเข็มธรรมขั้นสุดท้าย เสียงเทวดาไชโยโห่ร้องก้องทิวเขาพนา เสียงฆ้องทิพย์ดังกระหึ่มมาเป็นระยะๆ สลับกับเสียงเทวดาไชโยแว่วมาแต่ไกล เสียงสาธุการปานว่าโลกธาตุทั้งมวลหวั่นไหว น้ำตาร่วงอัศจรรย์เกินที่จำมาเล่าได้ คืนนั้นเสวยวิมุตติสุขสุดที่จะพรรณนา ต่อมาท่านได้นำเรื่องธรรมที่ได้รู้เห็นไปกราบเรียนหลวงตามหาบัว ผู้เป็นอาจารย์ทุกประการ
    หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านบวชเณรเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากนั้นท่านก็ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จนกระทั่งมาสร้างวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี หลวงปู่ฯท่านพระลูกศิษย์หลวงตามหาบัว รุ่นแรก ๆ เลยก็ว่าได้ สำหรับภูมิธรรมของหลวงปู่ฯนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้หลวงตาบัวท่านก็ได้เทศน์ประกาศให้ลูกศิษย์ได้รับรู้รับทราบกันกระจ่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ว่าหลวงปู่ลีท่านถึงที่สุดแห่งธรรมมานานแล้วนะ แต่ท่านอยู่ของท่านอย่างเงียบ ๆ รู้กันเฉพาะในวงกรรมฐานเท่านั้น
    ลังจากงานประชุมเพลิงหลวงปู่ใหญ่มั่นฯ เสร็จแล้ว องค์ท่านก็ได้มาอยู่สำนักของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่บ้านหนองบัวบานก่อน (ต่อมาบริเวณนี้ได้กลายเป็นวัดป่านิโครธาราม) องค์ท่านเองได้เป็นพระพี่เลี้ยง พระอาจารย์จันทร์เรียน และได้ร่วมวิเวกด้วยกันหลาย ต่อหลายแห่ง และได้พบกันบ้างเมื่อติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เข้าป่าไป มีเรื่องอภินิหารที่ได้รับฟังจากประสบการณ์ของหลวงพ่อจันทร์เรียน ครั้นที่ท่านทั้ง ๒ อยู่ร่วมกันหลายเรื่อง แต่ถ้าเล่าไปคงต้องโดนท่านเข่น ภายหลังแน่ ฉะนั้นไปสอบถามท่านเองดีกว่า
    หลังจากนั้นองค์หลวงปู่ลี ท่านก็ได้มาอยู่ที่ดอยน้ำจั่น ใครไปภูสังโฆ คงเห็นป้ายอยู่ ปัจจุบันท่านพระอาจารย์สมหมาย อริโย ศิษย์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว มาอยู่ดูแลแทน และได้ตั้งเป็นวัดดอยน้ำจั่น บ.ห้วยไร่ ต.อุบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี สมัยที่หลวงปู่ลี ไปอยู่เกิดเหตุการณ์ถูกรบกวนจากพวกนายหน้าตัดไม้ทำลายป่า เข้ามาก่อกวน ท่านจึงวิเวกมาอยูที่ วัดป่าภูทอง บ.ภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เดิมที หลวงปู่มหาบุญมี สิรินธโร มาสร้างไว้ ก่อนไปอยู่ถ้ำและวัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม ตามลำดับ
    ซึ่งปัจจุบันเจ้าอาวาส วัดป่าภูทอง คือ หลวงปู่คูณ สุเมโธ (ศิษย์ หลวงปู่สิงห์ทอง หลวงปู่ฝั้น หลวงตามหาบัว) หลังจากนั้น หลวงปู่ลี ก็ออกมาวิเวก ไปแถบภูลังกาต่อ ที่นี่ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ (วัดป่าบ้านนาคูณ) เคยมาอยู่ก่อนแล้ว (คนละด้านกับวัดถ้ำยา ของ หลวงปู่วัง ฐิติสาโร ศิษย์หลวงปู่ใหญ่มั่น เป็นเจ้าอาวาส)
    พระธรรมเทศนา (ภาษาอิสาน) หลวงปู่ลี กุสลธโร
    "...บ่ทันนาน คั่นจิตเป็นปัจจุบันอยู่ฮั่น บ่เห็นหนึ่งต้องแนวหนึ่งหละ มันซิเกิดเฮ็ดให้มันเป็นปัจจุบัน อดีตที่ล่วงมาแล้ว ก็อย่าไปคำนึงเลย มันก็ออกไปจากปัจจุบันนั่นหละ อนาคตคือกัน มันออกไปจากปัจจุบันนี่ละ อย่าไปคำนึงมันเลย คุมมันเข้า เบิ่ง ให้เบิ่งหัวใจเจ้าของนั่นละ อย่าไปเบิ่งหัวใจผู้อื่น... คั่นคุมเจ้าของแท้ๆ ต้องเห็น คั่นพิจารณาสภาพร่างกายก็พิจารณาอยู่ฮั่น แต่พื้นเท้ามาศีรษะ แต่ศีรษะลงมาพื้นเท้า ให้พิจารณาอยู่ฮั่น เอาแหมะ ๒๔ ชั่วโมงนี่ บ่ให้มันปากมาเลย ต้องเกิดแน่... อันนี้หัวใจมันแลนอยู่นำโลกนำสงสารพุ่น มันบ่ปักมั่น แล้วซิเห็นหยังฮั่น คือกินข้าวเนี่ย กินนอนอยู่ ย้ายไปนั่น นอนอยู่ก็ไปฮั่น นอนก็ไปนี่ เลยบ่อิ่มจักที นี่เรื่องมัน
    เอ้า พิจารณามันซี คั่นคุมเข้าแท้ๆ มันซิต้องจับได้เงื่อน เดี๋ยวมันซิเกิดอันนั้นเกิดอันนี่โลด นี่เฮ็ดจริงทำจริงมันต้องรู้จริง... ไอ้ พิจารณาโตนี่ละ โตสำคัญ ถ้าหากว่าได้จับจุดได้ละ เออ มันซิออกอุทานบัดทีนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อริยสัจทั้งนั้น... คั่นตีแตกอริยสัจนี่ได้แล้ว ฮ่วย! กราบพระพุทธเจ้ากราบครูอาจารย์ โอ๊ย มันก็กราบอยู่จังซั่นหละ หมดคืนหละ นี่ เพิ่นเว่าจริงเฮ็ดจริง มันซิประมวลมาหมดดอก อันพระพุทธเจ้าเพิ่นเห็นนะ มันซิมาเกิดจากใจเฮานี่ละ... ให้พากันเร่งความพากความเพียร..."
    ท่านระลึกชาติในภพที่เกิดเป็นช้างว่า ท่านเป็นช้างชื่อว่า “คำต้น” เจ้าของช้างชื่อพ่อส่วน เขามีลูกสาว ๒ คน ชื่ออีหวัน และอีพัน ถูกเขาใช้ลากซุงเสมอ ส่วนนายควาญช้างชื่อว่า “บักคำต้น” เหมือนกับชื่อของท่าน... ท่านระลึกย้อนในภพชาติหลังๆ ของท่านมักเกี่ยวข้องกับหลวงตาเสมอ

    พรรษาแรกท่านจำพรรษาที่วัดป่าทรงคุณ จังหวัดปราจีนบุรี อยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม แม้อายุพรรษามากท่านมักวางตนเป็นเสมือนผู้น้อย มักติดตามหลวงตามหาบัวไปตามสถานที่ต่างๆ เสมือนเณรน้อยๆ ท่านเป็นศิษย์ที่ซื่อสัตย์ เคารพยำเกรงและปฏิบัติตามคำสอนครูบาอาจารย์ อย่างหาที่ติมิได้ ท่านได้รับการยกย่องจากหลวงตาว่าเป็น “เศรษฐีธรรม” และหลวงตามักเรียกนามท่านสั้นๆว่า “ธรรมลี” อดีตสะท้อนปัจจุบันเป็นที่อัศจรรย์เสมอในบุญบารมี ใครจะคาดคิดได้ว่า พระรูปร่างเล็กๆ อยู่ในป่า ไม่มีโวหารเทศนาต้อนรับแขกผู้มาเยือนเช่นท่านจะสามารถหาทองคำช่วยชาติกับหลวงตาได้ถึง ๕๐๐ กว่ากิโลกรัม คิดเป็นเงินหาน้อยไม่ ขอเกาะชายฝ้าเหลืองไปด้วยนะ ท่านเล่าว่า อดีตชาติท่านเกิดเป็นสุนัขรับใช้องค์หลวงตามาหลายภพชาติ แม้ในภพชาติที่เป็นสุนัข นั้น หลวงตาก็ได้เมตตาอบรมสั่งสอน ดัดนิสัยจนเป็นสุนัขที่มีนิสัยดี ไม่เกเร นอกจากนั้น ท่านยังเคยเกิดเป็นช้าง 561000011428001.jpg หลวงปู่ลี กุสลธโร ได้ละสังขารแล้ววันที่ (3พ.ย.61) สิริอายุ 96 ปี 1 เดือน 11 ละสังขารแล้วพระบวชหน้าไฟหลวงปู่มั่น “หลวงปู่ลี กุสลธโร” ละสังขารแล้วด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุ 96 ปี 1 เดือน 11 วัน >>>>>>>>>>.....มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล *******บูชาที่ 265 บาทฟรีส่งems SAM_5706.JPG SAM_6409.JPG SAM_6412.JPG SAM_7119.JPG SAM_2320.JPG
     
  15. สักการะ

    สักการะ ชิวิตดั่งอาทิตย์อัศดง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,968
    ค่าพลัง:
    +5,787
    ได้รับแล้วครับ ขอบคุณครับ
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 706 เหรียญหล่อหยดนํ้าพระพุทธรุ่นเเรกหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญวิเวก อ.เเม่เเตง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่เปลี่ยนเป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก,หลวงปุ่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง เป้นต้น เหรียญสร้างปี 2540 เนื้อทองเหลือง มีตอกโค๊ตตัวอักษร ป หลังเหรียญ มาพร้อมกล่องเดิม ************* ประวัติเเละการปฏิบัติธรรมโดยย่อพอสังเขป
    c79e6bbdaec5444caf97dfce1d7429e7-jpg.jpg
    ปีพ.ศ. 2470 ชาวบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ยินข่าวว่ามีพระกรรมฐานรูปหนึ่งจาริกมาพำนักอยู่ที่วัดไทยใหญ่ ในเขตอำเภอแห่งนั้น ชาวบ้านปงซึ่งเป็นผู้มีศรัทธาปสาทะในพุทธศาสนาเป็นทุนอยู่เดิมแล้ว จึงมอบให้ตัวแทน 9 คนไปนิมนต์พระภิกษุรูปนั้นมาโปรดชาวบ้านปง
    อาจารย์กรรมฐานรูปนั้นคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ บุรพาจารย์ของเหล่าพระป่าในยุคกึ่งพุทธกาล
    ในวันที่รับอาราธนานั้นเอง หลวงปู่มั่นก็เดินทางด้วยเท้า 6 กิโลเมตร กลับมากับผู้แทนชาวบ้านปงทั้ง 9 หลังพาท่านไปพักที่ป่าช้าได้ 3 วัน ก็พบที่สัปปายะเป็นเนินเขาเตี้ยๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากฐานของพระวิหารอันเป็นเครื่องหมายบ่งว่า สถานที่แห่งนั้นเป็นวัดร้างมาก่อน จึงได้ปลูกที่พักให้ท่านได้พำนักอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น
    นับแต่นั้นมาศิษยานุศิษย์ของพระอาจารย์มั่นจากทั่วสารทิศก็หลั่งไหลมาสู่บ้านปง
    ในพรรษาแรกมี 5 รูป หมดพรรษานั้นพระอาจารย์มั่นได้ออกเที่ยวธุดงค์ต่อ แต่ก่อนจะออกเดินทาง ท่านได้เมตตาตั้งชื่อสถานที่แห่งนั้นให้ว่า “สำนักอรัญญวิเวก บ้านปง” ซึ่งต่อมาเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดบ้านปง”
    พระอาจารย์มั่นยังสั่งไว้ด้วยว่า “ขอให้คณะศรัทธาญาติโยม จงพากันรักษาปฏิบัติดูแลสำนักแห่งนี้ไว้ให้ดี ต่อไปในอนาคตข้างหน้า จะมีเจ้าของเขามาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองในอนาคตภายภาคหน้าแก่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายสืบไป”
    หลังพระอาจารย์มั่นจากไป ก็มีพระกรรมฐานธุดงค์หลายรูปผ่านมาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่ว่า หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ฯลฯ โดยเฉพาะหลวงปู่แหวนนั้นมาจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี่ถึง 10 พรรษา แต่ก็ไม่มีรูปใดส่อแววว่า จะเป็นเจ้าของผู้มาสร้างพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองดังที่พระอาจารย์มั่นระบุไว้
    กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 12 ก.พ. ปีพ.ศ. 2509 พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งก็มาถึง จากวันนั้นถึงวันนี้ ชื่อและนามของท่านก็ปรากฏเป็นที่เรียกขานคู่กันรู้จักกันทั่วไปว่า “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดอรัญญวิเวก” หรือ “พระอาจารย์เปลี่ยนวัดบ้านปง”
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระหนุ่มในพ.ศ.โน้น เป็นหลวงปู่เปลี่ยนแล้วในวันนี้ แต่ผู้ที่ได้พบมักจะกล่าวตรงกันว่า โดยรูปลักษณ์ที่เห็นนั้น ท่านไม่น่าจะมีอายุถึง 77 ปี
    พระอาจารย์เปลี่ยน เป็นคนบ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เกิดในสกุล วงษาจันทร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ปีพ.ศ. 2476 บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ตาและยายซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูเป็นกำนัน ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ในเรื่องศาสนามาตั้งแต่เล็กแต่น้อย อาจเพราะพื้นเพวาสนา มาแต่เก่าก่อนนั้นประการหนึ่ง การได้คลุกคลีกับพระสงฆ์มาแต่วัยเยาว์นั้นก็อีกส่วนหนึ่ง แต่ถึงจะเอ่ยปากขอบวชมาตั้งแต่อายุ 12 ปี จนกระทั่ง 20 ปี มารดาก็ไม่อนุญาต
    กระทั่งบิดาเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2497 และอีก 5 ปีถัดมาลุงก็เสียชีวิตตามไป เมื่อสบโอกาสว่าจะขอบวชแทนพระคุณท่านทั้งสอง ทั้งตาและแม่เลยอนุญาตให้บวช 7 วัน แต่ 7 วันนั้นก็เป็นแต่เพียงกำหนดที่ไม่เป็นจริง
    พระอาจารย์เปลี่ยน อุปสมบทที่วัดพระธาตุมีชัย บ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ปีพ.ศ. 2502 โดยมีพระครูอดุลยย์สังฆกิจเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพิธธรรมสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยปฏิญาณต่อพระปฏิมากรว่า “การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นหน้าที่ของพระทุกรูปที่ได้มาบวชในศาสนา”
    บวชครบ 7 วัน พอโยมแม่มาขอให้สึกก็ขอผลัดเป็นให้รอออกพรรษาไป 21 วัน คำปฏิญาณตอนบวชได้ย้อนมาเตือนใจอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ลงมือทำทางจงกรมเพื่อเจริญภาวนา และเพียงเดินจงกรมไป 2 ชั่วโมงและนั่งภาวนาอีก 3 ชั่วโมงในวันแรกของการจงกรม
    หลังนั่งลงโดยตั้งสัจจะว่า “ถ้ายุงตัวใดจะดูดกินเลือด ก็จะถือเป็นพระพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะต้องเป็นไข้มาลาเรียตายก็ยอม เพราะรุ่งขึ้นเช้าไปบิณฑบาตมาฉันแล้วก็เปลี่ยนเป็นเลือดได้”
    ท่านว่า หลังปล่อยวางจิตเข้าสู่สมาธิแล้ว ก็หายไปหมดทั้งร่าง แล้วความสงบครั้งแรกในชีวิตก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปกระทั่ง 3 ชั่วโมงเศษ ถึงรู้สึกตัว
    พระอาจารย์เปลี่ยนจำพรรษาแรกอยู่กับพระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ และพระอาจารย์สุภาพนี่เองที่นำไปพบ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระอรหันต์แห่งวัดบ้านดงเย็น หรือวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
    วันแรกที่ได้ไปกราบคารวะทำวัตรกับหลวงปู่พรหม หลวงปู่ได้เทศน์ให้ฟัง พอกลับมาภาวนาและเข้าที่ด้วยท่าสีหไสยาสน์ พอนึกไปถึงเทศนานั้นจิตก็ลงสู่ความสงบ ปรากฏว่า ตัวท่านไปนั่งอยู่หน้าหลวงปู่พรหมที่วัดบ้านดงเย็น แล้วหลวงปู่พรหมจึงเทศน์ให้ฟังเรื่องอริยสัจ 4 แล้วเร่งให้ปฏิบัติให้มาก
    หลังจากนั้นหลวงปู่พรหมจะมาชี้แนะวิธีการภาวนาให้ในสมาธิอย่างน้อยเดือนละ 2 หน
    พอออกพรรษาวันแรก โยมมารดาก็มาถามเรื่องสึกอีก หนนี้ท่านผลัดว่า ขอรับกฐินก่อน พอรับกฐินท่านออกธุดงค์ไปองค์เดียว จนพบหมู่คณะ พากันออกไปตามหาท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    ท่านอาจารย์จวนชี้แนะว่า “ต้องเปลี่ยนสมมติให้รู้ ข้ามสมมติให้ได้”
    จากท่านอาจารย์จวน ตัดลงใต้ไปถึงภูเก็ตเพื่อไปศึกษากับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ระหว่างนั้นหลวงปู่พรหมก็ยังมาสอนในสมาธิอยู่เสมอๆ
    ขณะนั้นการดำเนินจิตของท่านมาถึงจุดที่นั่งภาวนาแล้วจิตดิ่งลึกไปโดยไม่รู้ว่า จิตอยู่ที่ไหน ทุกอย่างดับจนไม่ได้ยินเสียงอะไรทั้งสิ้น แต่เกิดปีติมากจนไม่อยากฉันอาหาร
    หลวงปู่เทสก์แก้ปัญหาให้ว่า “อาการเช่นนี้เรียกว่า นิพพานพรหม จิตดับกระทั่งไม่ได้ยินเสียง ไม่รับรู้อะไรจากภายนอก จิตลงไปสู่ส่วนลึกที่สุดเป็นอัปปนาฌาน เรียกว่า พรหมลูกฟัก เป็นพรหมชั้นสูง ถ้าไม่แก้ไขผู้นั้นจะคิดว่าตนได้พบพระนิพพาน จะไปไหนไม่รอด...”
    ท่านว่า ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่ขาวติดตามหลวงปู่มั่นไปยังภาคเหนือ หลวงปู่ขาวนั่งภาวนารวดเดียวตั้งแต่ 6 โมงเย็นไปถึง 6 โมงเช้า ที่สำนักสงฆ์อรัญญวิเวก น้ำค้างจับร่างหลวงปู่ขาวจนเปียกชุ่ม พอหลวงขาวออกจากสมาธิไม่รู้ว่า จิตไปอยู่ที่ไหน เลยไปเรียนถามหลวงปู่ใน
    หนนั้นหลวงปู่มั่นชี้แนะเพียงนิดเดียวว่า ให้ตั้งต้นใหม่ ติดตามดูจิตตั้งแต่เริ่มต้น เข้าสมาธิ ใช้สติปัญญาตามดูจิตให้ดีว่า วางอารมณ์อะไรจึงดับเสียงไปหมด ให้ดูว่าจิตไปอยู่ที่ไหน ต้องตามให้รู้
    พระอาจารย์เปลี่ยนก็ใช้กลวิธีเดียวกันนั้นแก้หลุมพรางของจิตที่ประสบอยู่ขึ้นมาจากภูเก็ต ท่านไปกราบคาราวะรับการชี้แนะจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ขาว ฯลฯ และหลวงปู่ขาวก็ย้ำว่าให้แก้ด้วยวิธีการเช่นว่า
    การเบนเข็มจากภาคอีสานมาสู่ภาคเหนือเกิดขึ้นหลังพรรษาที่ 4 เมื่อได้ยินข่าวว่า หลวงปู่ตื้อเทศน์เก่ง หลวงปู่แหวนไม่เทศน์ แต่เป็นนักปฏิบัติ การมุ่งขึ้นเหนือคราวนี้ ทำให้ได้พบและอยู่ศึกษากับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แล้วไปอยู่กับหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่แหวนดังใจหมาย
    ท่านว่า หลวงปู่ตื้อนั้นมีความสามารถในการสอนธรรมะและไขปัญหาต่างๆ ให้ได้พบความกระจ่างแจ้งอย่างที่ร่ำลือ
    ค่ำบีบนวดถวาย ระหว่างนั้นหลวงปู่ตื้อจะเทศน์ ทั้งสอนทั้งแก้ไขปัญหาที่สงสัย เที่ยงคืนออกมาปฏิบัติถึง 02.00 น. ถึงพักนอนแค่ 2 ชั่วโมง 04.00 น. ตื่นทำวัตร หลวงปู่ตื้อสอนทุกอย่าง รวมทั้งฝึกให้ท่าใช้อนาคตังสญาณคือ แรกๆ จะบอกล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา ถึงเวลาก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อท่านฝึกตามที่ได้รับการชี้แนะ พระอาจารย์เปลี่ยนก็ได้ญาณนั้นเช่นกันคือ รู้ก่อนล่วงหน้าว่า ใครจะมาหา มากี่คน ใส่เสื้อสีอะไร
    ออกจากหลวงปู่ตื้อ ก็ไปพำนักกับหลวงปู่แหวน
    ในพรรษาที่ 6 ท่านควบคุมจิตได้
    กลวิธีที่ท่านใช้ คือ ทำความเพียรทั้ง 4 อิริยาบถ พอเมื่อยล้าเมื่อไหร่ก็หันไปอ่านหนังสือวิสุทธิมรรค
    ท่านว่า “การดูเข้าไปในจิตเรื่อยๆ มันจะเริ่มวางเสียงลงได้ เสียงจะเบาลงๆ จนกระทั่งดับนิ่ง จึงรู้ว่าจิตเราวางเสียงดังนี้นี่เอง เมื่ออยู่นิ่งๆ นานเข้า ใช้สติปัญญาเข้าไปครองจิตให้นิ่ง มันก็จะสงบลงไปหมด ว่างไปเหมือนไม่มีตัว ไม่มีกาย ว่างอยู่เฉยๆ มันนิ่งสบาย จึงรู้ว่าจิตมาอยู่นี่เอง ร่างกายก็เหมือนไม่มี อยู่ว่างๆ สบาย คอยดูจิตอยู่ มันเหมือนไม่มีใครอยู่ด้วย เหมือนจำพรรษาอยู่คนเดียว การดูจิตของเราไปตลอดเวลา ทำให้หนังสือที่เคยท่องมา เช่น วิสุทธิมรรคที่อ่านอยู่ เกิดตัวรู้ขึ้นมาทันทีตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย เหมือนกับอ่านบาลีและรู้ทั้งหมดในทันทีนั้นเอง”
    พระอาจารย์เปลี่ยนเจริญในธรรมมาตามลำดับ โดยได้รับการชี้แนะจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลายรูป ไม่ว่า หลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ขาว หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงปู่พรหม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่สาม อกิญจโน อาจารย์บัวพา ปัญญาภาโส หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ฯลฯ
    หลายรูปที่สอนการภาวนาให้ทั้งมาโดยในนิมิตและการได้พบกันเป็นๆ ในจังหวะต่างๆ
    หลวงปู่แหวนนั้นบอกว่า “เอามันให้ได้ มรรค ผล นิพพาน มันยังมีอยู่ ไม่ได้ไปไหน ...”
    ทุกวันนี้พระอาจารย์เปลี่ยนยังโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล นอกจากจะพัฒนาวัดป่าอรัญญวิเวกให้เจริญก้าวหน้าดังที่พระอาจารย์มั่นได้กล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว ท่านยังเผยแผ่ธรรมะไปในที่ต่างๆ ทั่วโลกอีกทางหนึ่งด้วย ท่านเทศนาได้หลายภาษา ภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ ฯลฯ
    กับผู้อยู่ในโลกตะวันตกนั้น ท่านได้ไปสอนบรรดาโปรเฟสเซอร์ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกทั้งหลายให้รู้จักธรรมะของพุทธศาสนา ท่านว่า จับโจรต้องจับหัวหน้าโจร เมื่อผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นคนนำปัญญาได้รู้ได้เห็นธรรมะแล้ว ธรรมะก็จะเผยแผ่ได้ง่าย
    ผมเคยเรียนถามท่านว่า ท่านเรียนภาษาเหล่านั้นมาจากไหน ถึงเขียนหรือเทศน์เป็นภาษานั้นๆ ได้ ท่านว่า จะไปยากอะไร ก็ภาวนาเอาสิ ภาวนาแล้วมันก็รู้ขึ้นมาเองล่ะ อยากรู้ภาษาอะไรก็ได้รู้
    ท่านเคยเทศนาไว้ว่า ผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะรู้ตนว่ามีศีล 5 ศีล 8 ครบบริบูรณ์ ถ้ารู้ว่าปฏิบัติได้มากกว่านั้น ก็รู้ตัวว่าได้มากกว่านั้น ไม่สงสัย ไม่ลูบคลำว่าศีลข้อนั้นมันดีหรือไม่ดี พระสกิทาคามีนั้น ละความโลภ ความโกรธ ความหลงให้เบาบางลงได้แต่ไม่หมด พระอนาคามีนั้นอยู่ในฌานเป็นพรหมจรรย์อยู่โดดเดี่ยว เหมือนคนไม่มีคู่เรียงเคียงหมอน จิตวิญญาณมีอยู่ขันธ์เดียว อยู่กับความสุข ไม่ยุ่งกับใคร ศีล 8 สมบูรณ์
    สำหรับพระอรหันต์นั้น รู้แจ้งหมดแล้ว หายสงสัยในโลกหมดแล้ว รู้โลกแจ้งชัดเจนแล้ว ไม่หลงโลก ใครจะทำให้หลงก็ไม่หลง ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีความต้องการ ร่างกายก็รู้หมด รู้เฒ่า รู้แก่ รู้เจ็บ รู้ตาย รู้ทุกข์ รู้ยาก พอแล้ว อิ่มแล้ว ไม่เอารูปขันธ์นี้แล้ว เรียกว่าตัดกิเลสขาด ขาดจากความยึดมั่น ถือมั่น วิราโค คลายความกำหนด สิ้นความยินดี ไม่ยินดีกับอะไรในโลกนี้ ความรัก ความชังขาดลอยหมดแล้ว ไม่แต่อุเบกขาญาณ วางเฉยอยู่แต่ยังสอนคนอยู่ จะเอาไม่เอาช่างมัน สอนด้วยความเมตตาเฉยๆ แต่ตัวท่านนั้นทำงานเสร็จแล้ว ไม่มีงานจะทำแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือ การปฏิบัติธรรมอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำไม่มีอีก ที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะมาเกิดอีกไม่มี จิตของท่านไม่ต้องพูดถึง เป็นสมาธิทั้งวันทั้งคืน เป็นอยู่ทุกขณะ รู้อยู่ตลอด พุทโธเต็มอยู่บริบูรณ์อยู่ตลอด มีธัมโม สังโฆอยู่ในตัวตลอด...
    ท่านว่า ผู้ที่รู้ธรรมย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง และวิญญูชน รู้ด้วยเฉพาะตัวเอง เหมือนว่า ร้อนเรารู้ หนาวเรารู้ เรารู้อยู่คนเดียว คนอื่นไม่รู้ด้วย ทุกข์เรา ก็รู้อยู่คนเดียวของเรา คนอื่นจะมารู้ไม่ได้..
    วิญญูชนรู้ได้ด้วยเฉพาะตนเอง ไม่ต้องไปวัดหรอก ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มาวัดหรอก เขาจะวัดของเขาเอง ถ้าเขาหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ เขาก็จะรู้ของเขาเองว่าหลุดพ้นแล้ว ไม่มีอะไรขัดข้องกับจิตใจ”
    พระอาจารย์เปลี่ยนปฏิบัติมาถึงระดับใดท่านรู้ของท่านเอง แต่ที่แน่ๆ คือ เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ควรแก่การสักการะ เป็นพุทธบุตรที่ยังดำรงขันธ์ให้เราอยู่เห็นในพ.ศ.นี้
    *************************************
    >>>ในวันที่ 15 ก.พ. 2561 พระอาจารย์เปลี่ยนได้ละสังขารแล้วอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 29 วัน พรรษา 59
    >>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *********บูชาที่ 475 บาทฟรีส่งems(......หายากครับเหรียญหล่อรุ่นเเรกของหลวงปู่มาพร้อมกล่องเดิมๆจากวัด) SAM_3033.JPG SAM_7128.JPG SAM_7125.JPG SAM_7127.JPG SAM_2488.JPG
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 707 เหรียญรุ่น 81 ปีหลวงปู่ครูบาวงค์ศาพัฒนา พระโพธิสัตว์โตเเห่งวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน หลวงปู่วงศาเป็นศิษย์หลวงปู่ครูบาพรหมมาจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า เหรียญสร้างปี 2537 สร้างเนื่องหลวงปู่ครูบาวงศาอายุครบ 81 ปี เนื้อทองเเดงรมดำมันปู ด้านหลังเป็นยันต์พระโมคลานะเถระเต็มเหรียญ มาพร้อมกล่องเดิม (....รุ่นนี้หลวงปู่ปลุกเสก 1 ไตรมาส พระใหม่ไม่เคยใช้)
    ครูบาวงศ์
    con374_20160421130240_2.jpg
    ครูบาวงศ์
    ประวัติย่อพอสังเขปครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)
    วัยเด็ก
    ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ครูบาวงศ์” มีนามเดิมว่า วงศ์ หรือ ชัยวงศ์ นามสกุล ต๊ะแหนม เกิดที่ ตำบลหันก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนเมื่อวันอังคาร เดือน 7 แรม 2 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 22 เมษายน พ.ศง 2456 เวลา 24.15 น. โยมบิดาชื่อ น้อย จันต๊ะ (ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ 44 ปี) โยมมารดาชื่อ บัวแก้ว (ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ 78 ปี) จำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 มีน้องต่างบิดาอีก 1 คน รวมเป็น 9 คน
    ท่านเกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนาที่ยากจน พ่อแม่ของท่านมีสมบัติติดตัวมาแค่ที่นาไม่กี่ไร่ ทำนาได้ข้าวปีละแค่ 20-30 หาบ แม้ว่าครอบครัวของท่านต้องดิ้นรนต่อสู้กับความอดทนอยากแต่ก็ไม่เคยละทิ้งเรื่องการทำบุญให้ทาน
    ท่านมีโรคประจำตัวคือ โรคลมสันนิบาต ตั้งแต่เด็กๆ แต่ท่านก็ยังช่วยพ่อและแม่ทำนา เก็บของป่าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นับว่าท่านเป้นผู้ที่มีความขยันอดทนและกตัญญูเป็นอย่างมาก
    >>>>>บรรพชาและอุปสมบท
    เมื่อท่านอายุย่าง 13 ปี (พ.ศ. 2468) ท่านได้รบเร้าขอให้พ่อแม่พาท่านไปบวช เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพ่อแม่ก็ได้นำท่านไปฝากกับหลวงอา จากนั้นหลวงอานำท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์และบวชเณรกับครูบาชัยลังก๋า (เป็นธุดงค์กรรมฐานรุ่นพี่ของครูบาศรีชัย) ครูบาชัยลังก๋าได้ตั้งชื่อให้ท่านใหม่หลังจากเป็นสามเณรแล้วว่า “สามเณรชัยลังก๋า” เช่นเดียวกับชื่อของครูบาชัยลังก๋า
    เมื่ออายุ 20ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้าเป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ชัยยะวงศา” ในระหว่างนั้น ท่านได้อยู่ปฏิบัติและศึกษาธรรมะกับครูบาพรหมจักร ในบางโอกาสท่านก็จะเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆทั้งลาวและพม่า ท่านได้อยู่กับครูบาพรหมจักรระยะหนึ่งแล้ว จึงได้กราบลาครูบาพรหมจักรออกจาริกธุดงค์ไปแสวงหาสัจจธรรมความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งนี้เพียงลำพังองค์เดียวต่อ เพื่อเผยแพร่สั่งสอนธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกชาวเขาในที่ต่างๆ
    เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ร่วมกับครูบาขาวปี และชาวกะเหรี่ยง
    >>>>>>ละสังขาร
    นับตั้งแต่ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา ได้มาอยู่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ที่หลวงปู่ ได้เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จนกระทั่งมรณภาพในเวลา 01.00 น. ของวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เป็นเวลาถึง 54 ปี หลวงปู่ได้ใช้ความพยายามพัฒนาวัด จนสามารถพลิกสภาพความเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีความเจริญ จนทำให้ผู้คนจากทุกสารทิศ ทั้งในและต่างประเทศ ทุกระดับชั้นทางสังคม หลั่งไหลเข้ามาสักการะ สมกับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของประเทศไทย
    โอวาทธรรม“อย่าเข้าใจว่า มาทำบุญที่นี่ จะตัดบาป ตัดกรรม ตัดเวร ได้นะ ... ตัดไม่ได้
    อโหสิกรรม ... ถือว่าตัดได้
    จะต้องขอเอง ... ให้คนอื่นไปขอไม่ได้ ไม่พ้นจากกรรม
    เราต้องของเอง ต้องอ่อนน้อม กล่าวคำสารภาพกับตัวเขา
    เขาจึงจะอโหสิ งดโทษให้เรา...”

    พระพุทธองค์ กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ...
    เรามีกรรมเป็นของตน เรามีกรรมเป็นผู้ให้ยล เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม
    เรามีกรรมเป็นผู้อาศัย
    กรรมอันใดที่ทำไว้ ... ความดี หรือ ความชั่ว ตัวเราเป็นผู้รับผลกรรมนั้น”

    “เวลาเราก็มีไม่มาก เกิดมาชาติหนึ่ง

    เวลาสูญเปล่ามีมาก เวลาทำงานจริงๆ มีไม่มาก
    เวลาสูญเปล่ามีตลอดชีวิต

    เวลาเหลือน้อ จะทำอะไรก็ให้รีบทำ” >>>>>>>มีพระเกศา,สำลีเช็ดนํ้าตาหลวงปู่,จีวร,เเละพระธาตุข้าวบิณฑ์บาตรพระพุทธเจ้ามาบูชา *********บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems SAM_9152.JPG SAM_7122.JPG SAM_7123.JPG SAM_7124.JPG SAM_1900.JPG
     
  18. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 708 เหรียญครบ 89 ปีหลวงปู่หลอด ปโมทิโต พระอรหันต์เจ้าวัดสิริกมลาวาส(วัดลาดพร้าว) กรุงเทพมหานคร หลวงปู่หลอดเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย เหรียญสร้างปี 2546 เนื้อทองเเดงรมดำ >>>>>>> ประวัติโดยย่อพอสังเขปเเละโอวาทธรรมหลวงปู่หลอด พระครูปราโมทย์ธรรมธารา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) เป็นพระเถราจารย์ผู้มีจริยวัตรงดงามทั้งกายและใจ ท่านมักจะสอนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า "ในหมู่คนดี ย่อมมีคนไม่ดีปะปนอยู่ด้วยเป็นของธรรมดา จึงไม่ควรใส่ใจ คนไหนดีเราก็สรรเสริญ คนไหนไม่ดี เราก็ออกห่าง ไม่ยกย่อง จงรักคนทุกคน ไว้ใจบางคน อย่าทำผิดต่อทุกคน และจงดูตนเสมอ" อีกคำสอนหนึ่ง คือ "เกิดเป็นคน จะสอนคน ต้องสอนตนก่อน เมื่อถูกสอน อย่าทำค้อน คำสอนเขา จะดีคน หรือคนดี จงติเรา จะโกรธเขา หรือเขาโกรธ ดูโทษตัว"
    ปัจจุบัน (ปี ๒๕๔๙) หลวงปู่หลอด อายุ ๙๑ ปี พรรษา ๖๙ ตามประวัติของหลวงปู่ ชื่อเดิม "หลอด ขุริมน" เกิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๕๘ ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต.บ้านขาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) บิดาชื่อ "บัวลา" มารดาชื่อ "แหล้" หรือ "แร่" หลวงปู่เป็นบุตรคนสุดท้อง จากพี่น้อง ๓ คน คือ นางเกิ่ง (ถึงแก่กรรม) นางประสงค์ (ถึงแก่กรรม)หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ พออ่านออกเขียนได้ ขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ ๑๖ ปี ผู้เป็นแม่ได้ถึงแก่กรรม หลังจากป่วยหนัก หลวงปู่จึงตั้งใจไว้ว่า จะบรรพชาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้มารดา เมื่ออายุ ๑๘ ปี มีโอกาสบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่น ที่วัดศรีบุญเรือง ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี โดยมี พระอธิการคูณ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ต่อมาไม่นาน โยมพ่อก็เสียชีวิตอย่างกะทันหันอีก หลวงปู่จึงลาสิกขาออกมาช่วยพี่น้องทำไร่ทำสวน ในช่วงเวลานี้เองหลวงปู่ได้ไตร่ตรองเปรียบเทียบชีวิตของทั้ง ๒ เพศ คือ เพศบรรพชิต และเพศฆราวาส ทำให้ท่านพบว่าการออกมาใช้ชีวิตในเพศฆราวาสนั้น มีแต่กองทุกข์ มองชีวิตเป็นเรื่องน่าเบื่อ จำเจอย่างมาก และมองไม่เห็นความก้าวหน้า เมื่อเอาดีทางเพศฆราวาสไม่ได้ ก็ต้องเอาดีทางบรรพชิตให้ได้
    ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่จึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมา วัดธาตุหันเทาว์ ต.บ้านขาม เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน สาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลี วัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ พร้อมศึกษาพระธรรมด้านวิปัสสนากรรมฐานอย่างเคร่งครัด
    ต่อมาหลวงปู่ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต ในสายพระป่ากรรมฐานศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้มาสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดสิริกมลาวาส หรือวัดใหม่เสนานิคม ใกล้สี่แยกวังหิน เขตลาดพร้าว กทม
    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *ปกิณกะธรรมหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    ๑. อย่าถือวิสาสะ ให้รู้จัก กาล เวลา บุคคล และ สถานที่
    ๒. ความรักลูกเหมือนห่วงผูกคอ ความรักสิ่งของเหมือนปอผูกศอก ความรักไร่นาสาโทเหมือนปลอกสวมตีน ใครแก้สามอย่างนี้ไปนิพพานได้
    ๓. มีศิษย์คนหนึ่งเรียนถามปัญหาหนึ่งกับหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครับ เคยมีฝรั่งที่ผมเคยเรียนภาษาอังกฤษด้วยเขาเป็นหมอสอนศาสนาคริสต์ เขาเคยถามผมว่าจิตเดิมมาจากไหน และสุดท้ายเขาก็ยัดเยียดความคิดให้ผมว่า พระเจ้าสร้างจิต แต่ผมไม่ยอมรับครับ ผมอยากทราบว่าจิตเดิมมาจากไหนครับหลวงปู่ ?"
    หลวงปู่ตอบว่า "จิตเดิม พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาจากความไม่รู้ คือ อวิชชา ความไม่รู้นั่นแหละเป็นตัวพาให้มันมาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วก็ทำให้มันรู้ซะ จะได้ไม่ต้องมาเกิดอีก จำไว้ว่ามันเกิดจากอวิชชาทั้งนั้น ทั้งโลภ โกรธ หลง จำไว้นะให้ตอบเขาแบบนี้นะ"
    ๔. คนฉลาดอยู่กับที่ สู้คนโง่เที่ยวไปที่ต่างๆ ไม่ได้
    ๕. มีศิษย์คนหนึ่งเรียนถามปัญหาหนึ่งกับหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครับ พระอริยเจ้าเวลาท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านจะบอกผู้คนไหมครับ"
    หลวงปู่เมตตาตอบว่า "ไม่หรอก ถ้าท่านบอก ก็จะบอกกับโยมที่ใส่บาตรว่า โยมไม่ต้องมาใส่บาตรนะ อีก ๗-๘ วัน อาตมาจะพักผ่อน"
    ลูกศิษย์ถามต่อไปว่า "อย่างนี้แปลว่า พระอริยเจ้าเวลาท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านไม่บอกใช่ไหมครับ" หลวงปู่ตอบว่า "เพิ่นบ่อบอกดอก"
    ๖. มีลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งซึ่งมีรูปร่างใหญ่ เรียนถามหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครับ เวลานั่งภาวนานานๆ ยิ่งปวดขึ้น เป็นเพราะร่างกายเราใหญ่โตหรือเปล่าถึงทำให้ปวดเมื่อยถึงขนาดนี้ อยู่ที่ร่างกายสังขารคนด้วยหรือเปล่าครับ" หลวงปู่ตอบว่า "ไม่เกี่ยวหรอก กิเลสลากไปให้คิดว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ลองใหม่ดูสิ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลยนะ"
    ๗. มีลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครับ การปฏิบัติแบบรูป - นาม กับการปฏิบัติแบบพระป่า เหมือนกันไหมครับ"
    หลวงปู่เมตตาตอบว่า "เหมือนกันอเมริกาหรือเมืองไทยอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน การปฏิบัติก็เหมือนกัน อริยสัจตัวเดียวกัน"
    ๘. มีพระรูปหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครับ จิตของพระอรหันต์เวลาว่างท่านคิดอะไรครับ"
    หลวงปู่ตอบว่า "ไม่คิดอะไรทั้งนั้น คิดแต่วิหารธรรมอย่างเดียว" พระรูปนั้นถามย้ำว่า "มีแต่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เท่านี้ หรือครับหลวงปู่" หลวงปู่ตอบว่า "อืม... กิเลสบ่อมีทางแทรกแซงได้เลย"
    ๙. ในแต่ละครั้ง มักมีผู้มาเรียนปรึกษาปัญหาต่างๆ กับหลวงปู่ แม้กระทั่งเรื่องปัญหาในครอบครัว การหย่าร้าง หลวงปู่ท่านจึงเทศน์ชี้ทางดับปัญหานี้
    "เอาล่ะ เราจะเทศน์ให้ฟังเป็นคุณธรรมสำหรับ คนมีครอบครัว ผู้อยู่ร่วมกันอย่างไรมันก็ต้องกระทบกันบ้างเป็นธรรมดา มนุษยธรรม ๔ ข้อ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ สัจจะ คือ ความซื่อตรง จริงใจต่อกัน ไว้วางใจกัน ไม่คิดว่าเขาจะนอกใจเรา ไม่คิดว่าเขาจะไปมีบ้านเล็กบ้านน้อย ให้อิสระแก่กัน เชื่อในเกียรติของกันและกัน ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทุกข์ใจ ถ้ามีสัจจะต่อกันก็ไม่ต้องทะเลาะกัน
    ทมะ คือ ความอดกลั้นอารมณ์ ระงับอารมณ์ คนโกรธ โกรธเพราะไม่รู้จักระงับอารมณ์ คนเราอยู่ด้วยกัน ถ้าปล่อยให้อารมณ์เป็นใหญ่บ้านก็แตก มันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ คิดบ้างหรือเปล่าว่าลูกเต้าจะเป็นอย่างไร
    ขันติ ความอดทน ทนลำบาก ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักใคร่ปรองดองกัน จะยากจะจนก็ทนกัน อย่าเอาความลำบากเป็นอารมณ์ อดทนต่อสิ่งที่เราไม่ชอบ เช่าเขากินเหล้าใช่ใหม เราบอกให้เขาเลิก เขาไม่เลิก (เหล้า) เราก็ทนสู้ เพื่อลูก คิดดูให้ดี ถ้าเราอดทน แล้วปัญหาก็จะไม่เกิด ถ้าเกิดก็น้อยมาก
    จาคะ คือ การบริจาค ในที่นี้ไม่ใช่การบริจาคเงินทองอย่างเดียวนะ บริจาคกิเลสตัณหา ความโกรธ ความหึงหวงออกไป ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียวเอาความมีกิเลสตัณหาไว้ เมื่อโกรธก็บริจาคออกไป นี่แหละถ้าทำได้ทั้ง ๔ ข้อ ไม่ว่าที่ไหนก็ไม่ทะเลาะกัน นี่รักษาศีล ๕ ได้ไหม
    หลวงพ่อจะแถมให้ ถ้ารักษาไม่ครบ ๕ ข้อ ก็เอาแค่ ๒ ข้อ ก็พอ ข้อ ๓ กับ ข้อ ๕ ถ้าผิด ๒ ข้อนี้ ฆ่ากันได้นะ ไปยุ่งกับเมียเขา ผัวเขารู้โกรธเข้า ก็ฆ่านะซิ กินเหล้าพูดไม่เข้าหู ก็ฆ่ากันได้ แต่ถ้าจะว่า ๕ ข้อ ข้อใดบาปกว่ากัน ก็พอกันนั่นแหละ"

    ๑๐. การปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ย่อมต้องมีศีลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ หลายท่านที่สนใจปฏิบัติธรรมได้กราบเรียนถามธรรมะเพื่อการปฏิบัติ องค์หลวงปู่ท่านได้อธิบายไว้ว่า "ศีล ๕ นี้สำคัญ ศีล ๕ เป็นประธาน ศีลอื่นเป็นศีลบริวาร ศีล ๘ ศีล ๑๐, ๒๒๗ ข้อ ก็เป็นศีลบริวาร การปฏิบัติธรรมนั้นล้วนแต่ต้องประกอบด้วยศีลเป็นสำคัญ ศีล ๕ ขา ๒ แขน ๒ หัว ๑ จะฆ่าสัตว์ ก็เอสแขนทำ ขโมยของก็เอามือหยิบ ขาพาไป ผิดเมียเขา เอาทั้งกายทำ โกหกใช้ปากที่อยู่บนหัวพูด กินเหล้า ก็ใช้ปากกิน ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ ธรรมะปฏิบัติก็จะไม่เจริญ ปฏิบัติก็ไม่ไปไหน นี่สำหรับนักปฏิบัติ ศีลสำคัญมาก พึงรักษาไว้ให้ดี" >>>>>>หลวงปู่หลอดละสังขาร
    พระครูปราโมทย์ธรรมธารา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) วัดใหม่เสนานิคม ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ ละสังขารเมื่อวันอังคารที่ 7 กรกฎาคม 2552 เวลา 12.58 น. ด้วยอาการสงบ ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ขณะมีอายุ 93 ปี .
    lllll1111.jpg
    พระครูปราโมทย์ธรรมธารา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)
    LLLL2222333.jpg

    LLLL3333.jpg
    >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา*******บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems SAM_7321.JPG SAM_7120.JPG SAM_7121.JPG SAM_1360.JPG





     
  20. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,076
    ค่าพลัง:
    +6,788
    ขอจอง706ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...