มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    iรายการที่ 615 เหรียญมหาลาโภรุ่นเหลือกิน เหลือใช้หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูกระเเต อ.เมือง จ.บึงกาฬ หลวงปู่ทองพูนเป็นศิษย์หลวงปู่จวน วัดภูทอก เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2557 เนื้ออัลปาก้า มีตอกโคีต 2 โค๊ต หลังเหรียญ มาพร้อมกล่องเดิม พระใหม่ไม่เคยใช้ ,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ **********บูชาที่ 375 บาฟรีส่งems ประวัติย่อๆหลวงปู่ทองพูล สิริกาโม
    0BAB5E258341454D8D198A15F780E61B.jpg
    หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม เจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ จ.บึงกาฬ ละสังขารแล้ว สิริอายุได้ 83 ปี 63 พรรษา

    เมื่อวันที่ 12 พ.ค. เวลา 19.00 น. พระญาณสิทธาจารย์ หรือ หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม เจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) ต.วิศิษฐ์ อ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ ได้ละสังขารที่วัด หลังจากอาพาธด้วยอาการปอดอักเสบ สิริอายุได้ 83 ปี 63 พรรษา

    ก่อนหน้านี้ หลวงปู่ทองพูล ได้เข้ารับการรักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาลบึงกาฬ ต่อมา คณะสงฆ์และคณะศิษย์ ญาติใกล้ชิด ได้อาราธนา หลวงปู่ฯกลับมาพำนักรักษาต่อที่วัดตามความประสงค์และเจตนารมณ์ของหลวงปู่ฯ โดยหลวงปู่ฯได้ประสงค์ที่จะย้ายจากกุฏิใหญ่มาพักที่กุฏิหมายเลข 15 และเมื่อละสังขารแล้วได้ประสงค์ให้ทำกุฏิที่พักเป็นพิพิธภัณฑ์
    หลวงปู่ทองพูล เป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นศิษย์ของหลวงปู่สีโห เขมโก, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และ หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ เดิมชื่อ นายหนูพูล เอนไชย เกิดเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2475 ที่บ้านเดื่อศรีคันไชย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    หลวงปู่ทองพูลได้อุปสมบทครั้งแรกเป็นพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกายที่วัดท่าเดื่อ ก่อนจะมาพบกับหลวงปู่สีโห เขมโก ศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และได้อุปสมบทใหม่ในฝ่ายธรรมยุตเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2495 โดยมีพระอาจารย์เจดีย์ (จูมพันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สิริกาโม หลังจากอุปสมบทท่านได้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมเรื่อยมา และได้ก่อตั้งวัดสามัคคีอุปถัมภ์ขึ้น โดยมีศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก

    หมายเหตุ>>>>หลวงปู่ทองพูลองค์ท่านเป็นผู้ที่มีพลังจิตสูงมากองค์หนึ่งในสายหลวงปู่มั่น เวลาท่านนั่งสมาธิตัวของหลวงปู่จะลอยขึ้นท้องฟ้าเลยครับ SAM_0849.JPG SAM_8748.JPG SAM_8749.JPG SAM_8750.JPG SAM_7793.JPG
     
  2. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>เมื่อวานได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 2 ท่านครับ เลขที่ ส่งems ตามใบฝอยครับผม SAM_8747.JPG
     
  4. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +929
    จอวเหรียญเหลือกินเหลือใช้
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 616 รูปหล่อเหมือนลอยองค์หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดผาเทพนิมิต อ.นิคมนํ้าอูน จ.สกลนคร หลวงปู่บุญพินเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นต้น องค์พระสร้างปี 2554 เนื้อโลหะผสมเเร่เหล็กไหลเกาะล้าน มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ต 3 โค๊ต โค๊ตตัวเลข 1310 เเละยันต์พระสิวลี เเละคำว่า ไตรมาส ใต้องค์พระ
    >>>>สืบเนื่องจากมีผู้ใหญ่ในศาลยุติธรรมได้ไปขอสร้างพระเพื่อเป็นที่ระลึกในงานปฏิญาณตนของผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานภาคสอง แต่อาจจะเป็นเพราะด้วยเหตุอย่างไรไม่ทราบหรือว่าท่านอาจจะมีเหตุให้ทราบว่าก่อนหลวงปู่ผ่านท่านจะมรณภาพท่านได้ฝากเรื่องนี้ไปกับหลวงปู่บุญหนาท่านจึงนิ่งเสียไม่ได้ปรารภอะไรและต่อมาพระที่จะสร้างเป็นที่ระลึกดังกล่าวก็ได้สร้างเป็นรูปหล่อของหลวงปู่บุญหนา หลังจากนั้นต่อมาท่านจึงได้พูดกับทางผู้ใหญ่ที่จะสร้างพระว่าถ้าได้แร่เหล็กไหลเกาะล้านมาเป็นมวลสารผสมคงจะดีถ้าอยากจะสร้างให้นำแร่ดังกล่าวมาผสม
    จึงเป็นที่มาของการสร้างพระหล่อรูปเหมือนรุ่นนี้
    แร่เกาะล้านเป็นแร่โครตรเหล็กไหลงอกเมื่ออยู่ในถ้ำจะแข็งมากแต่เมื่อถูกนำออกมาจะสามารถแกะเป็นรูปต่างๆได้และงอกได้บางทีงอกจนกรอบที่หุ้มไว้แตก
    เมื่อผสมแร่เข้าเป็นมวลสารจะทำให้ผิวของพระดำเป็นเงางามสวยมากส่วนพุทธคุณสิ่งสูง
    เพราะหลวงปู่ท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้ถึง 1 ไตรมาส
    จำนวนการสร้างไม่มากสร้างเท่าไหร่เอากลับมาหมดเลยเพราะมีการจองหมดตั้งแต่ยังสร้างไม่เสร็จ >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *************บูชาที่ 355 บาทฟรีส่งems
    หมายเหตุ>>>>>>>หลวงปู่บุญพินวัตถุมงคลขององค์ท่านเท่าี่ผมไปคลุกคลีกับหลวงปู่(ไปนวดประจำครับ) วัตถุมงคลหลวงปู่จะเน้นทางเมตตา โชคลาภครับ เพราะหลวงปู่จะสร้างเกี่ยวกับพระสิวลีเถระครับ sam_0656-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8497-jpg-jpg.jpg sam_8498-jpg-jpg.jpg sam_8500-jpg-jpg.jpg sam_8516-jpg.jpg sam_7605-jpg-jpg.jpg
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 617
    รูปหล่อปั๊มเหมือนรุ่นเเรกไตรมาส 2538หลวงตาพวง สุขินนทริโย พระอรหันต์เจ้าวัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงตาพวงเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย องค์พระสร้างปี 2538 เนื้อทองเหลือง มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ต พ หลังองค์พระ พระใหม่ไม่เคยใช้ องค์จริงสวยมากครับ ******พิเศษรายการนี้มีเเถมมอบเหรียญรุ่นมหาโชคลาภ-มหามงคล 2544 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มาบูชาเพิ่มอีก 1 เหรียญ มีพระเกศาหลวงตาขาวๆใส ๆ มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ**>>>>>>>>>บูชาที่ 450 บาทฟรีส่ง ems
    พระเทพสังวรญาณ
    (พวง สุขินฺทฺริโย)
    %B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%BA%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A2.jpg
    เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470
    มรณภาพ 2 เมษายน พ.ศ. 2552
    อายุ 81 ปี 301 วัน
    อุปสมบท 24 พฤศจิกายน 2490
    พรรษา 62
    วัด วัดศรีธรรมาราม
    จังหวัด ยโสธร
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    วุฒิ นักธรรมเอก
    ตำแหน่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม
    อดีตรองเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต)
    อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต)
    30px-Dharmacakra_flag_%28Thailand%29.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    พระเทพสังวรญาณ หรือที่ประชนชนทั่วไปมักเรียกองค์ท่านว่า หลวงตาพวง ได้รับการขนานนามว่า พระอริยเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี เป็นพระภิกษุคณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดยโสธร เคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม , เจ้าคณะจังหวัดยโสธร (ธ) , รองเจ้าคณะภาค 10 (ธ) และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10
    ประวัติ[แก้]

    กำเนิด[แก้]
    พระเทพสังวรญาณ หรือ หลวงตาพวง สุขินทริโย มีนามเดิมว่า “พวง” นามสกุล “ลุล่วง” ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ที่บ้านศรีฐาน ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร) เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเนียม และนางบัพพา ลุล่วง มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 6 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน ดังต่อไปนี้[1]



      • นายจันทา ลุล่วง อดีตกำนันตำบลกระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (ถึงแก่กรรม)
      • นางผา ละม่อม (ถึงแก่กรรม)
      • นางสา วันเที่ยง (ถึงแก่กรรม)
      • หลวงตาพวง สุขินทริโย
      • นางจำปา ป้องกัน
    ต้นตระกูลเดิมของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนานับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดาและโยมมารดา มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชายคือ หลวงตาสรวง สิริปุญโญ หลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงครองสมณเพศมาจนถึงปัจจุบัน สภาพความเป็นอยู่ของบ้านศรีฐานในสมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ไม่ได้ทำไร่มันสำปะหลังหรือปลูกปอเช่นในปัจจุบัน ในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีสัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณ ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวบ้านศรีฐาน ยังมีอาชีพการทำหมอนขิด ที่มีชื่อเสียง ส่งออกขายทั่วประเทศ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ครอบครัวของหลวงตาถือได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีความเป็นอยู่สบาย ไม่เดือดร้อน มีอาชีพทำนาเป็นหลัก มีนาอยู่ 3 แปลง แต่จำไม่ได้ว่ามีแปลงละกี่ไร่ โดยมีลูกๆ ช่วยกันทำนา นอกจากนั้นก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชนบท หลวงตาเองก็ได้ช่วยบิดา มารดา ทำนามาตั้งแต่เด็ก ๆ และหากมีเวลาว่างก็จะนำวัวควายออกไปเลี้ยงเป็นประจำเพื่อแบ่งเบาภาระของโยมบิดามารดา

    การศึกษา[แก้]




      • พ.ศ. 2486 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี
      • พ.ศ. 2487 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท
      • พ.ศ. 2488 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
    บรรพชา และอุปสมบท[แก้]
    ท่านบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่พระอุฌบสถวัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูพิบูลสมณกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบท เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ที่โบสถ์น้ำ วัดป่าบ้านหนองโดก ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุขินฺทริโย แปลว่า ผู้มีความสุขเป็นใหญ่[2] หลังจากอุปสมบทแล้ว พระภิกษุพวง สุขินทริโย ก็ได้เข้าศึกษาอบรมธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และขอนิสัยจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุนาเวง ตตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสลกนคร จังหวัดสกลนคร

    ชีวิตในเพศบรรพชิต[แก้]




      • พรรษาที่ 1 (พ.ศ. 2491) อุปสมบท ณ โบสถ์น้ำ วัดป่าบ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดป่าท่าสองคอน ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
      • พรรษาที่ 2 (พ.ศ. 2492) ย้ายไปจำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
      • พรรษาที่ 3 (พ.ศ. 2493) หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพ และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว ไปจำพรรษากับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
      • พรรษาที่ 4-5 (พ.ศ. 2594-2495) จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร ร่วมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
      • พรรษาที่ 6 (พ.ศ. 2496) หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เกิดนิมิตระหว่างนั่งสมาธิในกลางพรรษาว่าเห็นถ้ำที่สว่างไสว เหมาะแก่การปฏิบัติ จึงได้ไปค้นหาจนพบถ้ำขาม แล้วได้บุกเบิกจนเป็นวัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนครในปัจจุบัน ในพรรษานั้น หลวงตาพวง สุขินทริโยได้ไปบุกเบิกถ้ำขามและจำพรรษาที่นั่น
      • พรรษาที่ 7-8 (พ.ศ. 2497-2498) กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
      • พรรษาที่ 9 (พ.ศ. 2499) กลับบ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะโยมบิดาเสียชีวิต ประกอบกับพระอาจารย์บุญช่วย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน ที่เคยเป็นพระอาจารย์สมัยบวชเป็นเณร เกิดอาพาธ จึงอยู่ดูแลรับใช้ปรนนิบัติ
      • พรรษาที่ 10 (พ.ศ. 2500) พระอาจารย์บุญช่วย ธัมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี มรณภาพ ไม่มีพระภิกษุดูแลวัด ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน เพื่อดูแลวัด
      • พรรษาที่ 11 (พ.ศ. 2501) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในในอย่างเป็นทางการ
      • พรรษาที่ 12-18 (พ.ศ. 2502-2508) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีฐานในจนมีความเจริญรุ่งเรือง
      • พรรษาที่ 19 (พ.ศ. 2509) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ในราชทินนามที่ พระครูใบฎีกา พวง สุขินทริโย
      • พรรษาที่ 20 (พ.ศ. 2510) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี
      • พรรษาที่ 21 (พ.ศ. 2511) เนื่องจากวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลาชธานี ไม่มีเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัดและชาวบ้านไปนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
      • พรรษาที่ 22 (พ.ศ. 2512) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลในเมือง อ.ยโสธร
      • พรรษาที่ 23 (พ.ศ. 2513) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูอมรวิสุทธิ์
      • พรรษาที่ 24 (พ.ศ. 2514) พัฒนาวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
      • พรรษาที่ 25 (พ.ศ. 2515) อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี ยกฐานะเป็นจังหวัด ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดยโสธร (โดยไม่ได้เป็นเจ้าคณะอำเภอมาก่อน)
      • พรรษาที่ 26 (พ.ศ. 2516) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระสุนทรธรรมภาณ และได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดยโสธรอย่างเป็นทางการ
      • พรรษาที่ 27-33 (พ.ศ. 2516-2523) จำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
      • พรรษาที่ 34 (พ.ศ. 2524) หลังจากบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร เสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัด กม.3 ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
      • พรรษาที่ 35-46 (พ.ศ. 2525-2536) กลับมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร โดยตลอด พัฒนาวัดศรีธรรมารามจนเจริญก้าวหน้าและได้รับจนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนา ตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 และยกระดับเป็นพระอารามหลวง ในปี พ.ศ. 2532
      • พรรษาที่ 47 (พ.ศ. 2537) ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชธรรมสุธี และได้รับพระราชทานธรรมจักรทองคำจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี พ.ศ. 2537
      • พรรษาที่ 51 (พ.ศ. 2541) ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต)
      • พรรษาที่ 54 (พ.ศ. 2544) ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพสังวรญาณ
      • พรรษาที่ 52 (พ.ศ. 2542) สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร และจำพรรษาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน
      • พรรษาที่ 62 (พ.ศ. 2552 ) หลวงตามรณภาพ พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2553
    ตำแหน่ง และหน้าที่[แก้]



      • พ.ศ. 2501 เจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน
      • พ.ศ. 2512 เจ้าคณะตำบลในเมือง
      • พ.ศ. 2532 เจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง)
      • พ.ศ. 2537 รองเจ้าคณะภาค 10 (ธ)
      • พ.ศ. 2542 ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ธ)
    การสาธารณสงเคราะห์[แก้]
    สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม[แก้]
    เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 หลวงตาพวงได้กลับมาบ้านศรีฐาน บ้านเกิดของท่าน ได้ดำริที่จะสร้างวัดที่บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว เพื่อให้ชาวบ้านได้พึ่งพิง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนารามแห่งนี้ จากเดิมมีที่เพียงป่าช้าบ้านนิคมที่รกร้างมานานเพียง 10 ไร่ ปัจจุบันสามารถขยายออกไปได้กว่า 80 ไร่ ด้วยบารมีของท่าน ลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลาย ก็ติดตามมาที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนารามเพื่อช่วยท่านพัฒนาวัดแห่งนี้ ได้เงินเพื่อใช้ในการสร้างวัดกว่า 7 ล้านบาท ท่านพาชาวบ้านตัดถนน ต่อไฟฟ้า นำความเจริญมาสู่มาตภูมิของท่านเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังพาชาวบ้านเข้าวัดทำบุญ ปฏิบัติธรรม พัฒนาจิตใจให้มีความสงบร่มเย็น เป็นที่พึ่งของชาวบ้านแถบนั้น ถึงแม้ว่าท่านจะดำรงสมณศักดิ์ถึงระดับท่านเจ้าคุณพระราชธรรมสุธี รองเจ้าคณะภาค 10 (ธ) อายุของท่านกว่า 75 ปีแล้ว ท่านก็ยังพาพระเณรในวัดบิณฑบาตทุกเช้าเป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังดูแลความเรียบร้อยภายในวัด ดูแลการก่อสร้างต่างๆ ด้วยตัวของท่านเองมิได้ขาด ท่านเป็นพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ที่ทำงานหนักโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เป็นแบบอย่างที่ดีกับพระเณรรุ่นต่อๆ มาเป็นอย่างดี

    สมณศักดิ์[แก้]




      • พ.ศ. 2501 เป็นพระครูใบฎีกาพวง สุขินทริโย
      • พ.ศ. 2512 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูอมรวิสุทธิ์
      • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุนทรธรรมภาณ ยโสธาการวิจิตร ธรรมิกคณิสสร
      • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็น พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมสุธี ศรีธรรมคณานุสิฏฐ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
      • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสังวรญาณ ภาวนาวิธานนิวิฐ วิจิตรสีลคุณาภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    อาพาธ และมรณภาพ[แก้]
    ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 และรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลศิริราช ก่อนจะมาพักรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร เมื่อเวลา 10.54 น. ของวันที่ 2 เมษายน พ.ส. 2552 พระเทพสังวรญาณ (พวง สุขินทริโย) ได้ละสังขารเข้าสุ่แดนอนุปาทิเสสนิพพาน สิริรวมอายุ 82 ปี พรรษา 57 พรรษา ที่โรงพยาบาลยโสธร ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร หลังจากอาพาธด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย
    ******หมายเหตุ>>>>>>หลวงตาพวงท่านมาเป็นที่รู้จักของศิษย์ยานุศิษย์เพราะมีคนหาปลาช่วงเช้ามืด เเอบเห็นหลวงตาเดินบนนํ้าข้ามเเม่นํ้าชีมาบิณฑบาตรหมู่บ้านที่อยู่ตรงข้ามวัดของหลวงตา อีกฝั่งเเม่ชี , เเละอีกเรื่องมีคนได้รับฝ้าย 7 สีของหลวงตาที่มอบให้ไปสวมข้อมือ ปรากฏว่าลูกศิษย์คนนั้นได้เสียชีวิต เเละญาตีๆนำร่างไปเผา (ฌาปนกิจ) ปรากฎว่าเผายังไงก็ไม่ไหม้ ทำให้ญาติเเกะโลงศพหาสาเหตุ จนญาติๆไปเห็นฝ้าย 7 สีของหลวงตาพวงที่ข้อมือ ทำให้ญาติวิเคราะห์ว่าสาเหตุที่ร่างไม่ไหม้คงเป็นสาเหตุฝ้ายหลวงตาพวงนี้เอง พอเขาถอดฝ้ายที่ข้อมือออก เเล้วลองเผาร่างศพใหม่ ปรากฏว่าไฟได้ลุกไหม้ตามปกติครับ(*******รูปตัวอย่างฝ้าย 7 สีครับ สีชาวนะของหลวงปู่ไมครับ ผีกลัวครับของหลวงไม
    อ้างอิง

    sam_6175-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5714-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3893-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8239-jpg-jpg.jpg sam_8240-jpg-jpg.jpg sam_8241-jpg-jpg.jpg sam_3896-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3897-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5913-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5914-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1262-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1264-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1610-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg SAM_8755.JPG

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2021
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 618
    sam_8011-jpg-jpg.jpg sam_8012-jpg-jpg.jpg sam_7605-jpg-jpg.jpg เหรียญรูปหน้าครึ่งองค์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสุนทราราม หลวงปู่สิงห์องเป็นศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน(ศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น) เนื้อทองเเดง สร้างเนื่องสมทบทุนสร้างอุโบสถ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ **************บูชาที่ 295 บาทฟรีส่งems
    ss1-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร
    เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ศิษยานุศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร ได้แจ้งข่าวเศร้า หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ได้ละสังขารเข้าอนุเสสนิพพานอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เมื่อเวลา 18.38 น. สิริอายุ 95 ปี 6 เดือน 18 วัน 70 พรรษา


    ss3-jpg-jpg.jpg
    ภาพจาก
    ศิษยานุศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร

    ss4-jpg-jpg.jpg
    หมายเหตุ....เป็นพระอรหันต์ที่มีฉายาว่า ผีกลัวหรือย่านอีกองค์หนึ่งครับในสายหลวงปู่มั่น รู้วาระจิตล่วงหน้าด้วยครับ ผมเจอมากับตัวเองมาเเล้ว วันเเรกที่ไปกราบท่าน หลวงปู่ทักเลยครับว่าผมมาจากเชียงใหม่เหรอ ผมงี้ขนลุกเลย หลวงปู่รู้ได้ไง ทั้งที่ๆผมยังไม่เอ่ยอะไรเลย ก้มกราบเสร็จเเล้วเงยหน้าขึ้นเท่านั้น หลวงปู่เอ่ยทักเลยว่ามาจากเชียงใหม่เหรอ ตั้งเเต่นั้นมาผมจะเเวะไปกราบเเละนวดรับใช้เเละสรงนํ้าหลวงปู่ประจำ ส่วนตัวผมหลวงปู่เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์องค์หนึ่งครับ หลวงปู่เองได้มอบคำหมากให้ผมก้อนหนึ่งส่วนตัวเลยครับ เพราะช่วงปลายหลวงปู่จะเคี้ยวหมาก 7 วันเคี้ยวหนึ่งคำ,อีกเรื่องครับ มีวันหนึ่งมีลูกศิษย์ที่วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา (อำเภอที่วัดหลวงปู่ตั้งอยู่ครับ) ได้มีนักเรียนนักศึกษาี่การอาชีพเลิงนกทาได้เกิดอุปทานหมู่เป็น 100 กว่า ได้พากันกรีดร้องเหมือนมีผีเข้าร่าง ร้องโวยวาย ทางอาจารย์คือเพื่อนผมเองที่เป็นรองผู้อำนวยวิทยาลัย ได้มานิมนต์หลวงปู่สิงห์ทอง ไปดูให้หน่อยครับ พอหลวงปู่สิงห์ทองท่านลงจากรถยนต์ หลวงปู่สิงห์ทองได้เดินไปที่ศาลเจ้าที่อยู่ในวิทยาลัยการอาชีพ พอหลวงปู่ไปยืนหน้าศาลเเล้งยืนหลับตาไม่ถึงนาที พอหลวงปู่หลวงปู่สิงห์ทองลืมตา ก็เอ่ยขึ้นว่าให้รื้อศาลที้งทันที เเละปรากฎว่าตั้งเเต่นั้นมาเด็กนักษาก็ไม่มีอาการผีเข้าอีกเลยครับ เพื่อนผมที่เป็นรองผ.อ. ได้เอ่ยกับผมว่าหลวงปู่สิงห์ทองเเน่นอนจริงๆ
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 619
    เหรียญหล่อรูปไข่รุ่นเเรกเเละรุ่นเดียวหลวงปู่จันเเรม เขมสิริ พระอรหันต์เจ้าวัดเกาะเเก้วธุดงคสถาน(วัดระหาน) อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ หลวงปู่จันทร์เเรมเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย เหรียญหล่อสร้างปี 2545 เนื้อทองเหลือง สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 80 ปี อนึ่ง.....หายากหลวงปู่สร้างวัตถุมงคลน้อยมากครับ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชา *************บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งemsสส
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ จันทร์เต็มดวง ประทีปธรรมแห่งอีสานใต้

    วันที่ 14 ธ.ค. 2552 เวลา 17:40 น.
    ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงต้นเดือนธ.ค.นี้ มีพระกรรมฐานชั้นผู้ใหญ่ละดับขันธ์ไปแล้วถึง 6 รูป หลวงตาพวง สุขินทริโย หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร หลวงพ่อเพียร วิริโย หลวงปู่หลอด ปโมทิโต หลวงปู่มา ญาณวโร หลวงปู่สอ พันธุโล นึกว่าปีนี้จะหมดกันแค่นี้ ไหนได้เช้าวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา พุทธศาสนิกชนตื่นขึ้นมาก็ได้รับรู้ว่า หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ ก็มาจากไปอีกรูปหนึ่งแล้ว ประมาทในวันเวลาไม่ได้จริงๆ
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ หรือ พระครูเขมคุณโสภณ มีนามเดิมว่า จันทร์ นามสกุล ร้อยตะคุ เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 5 ปีจอ ตรงกับวันที่ 17 เม.ย. 2465 เวลาเย็น ณ บ้านปะหลาน ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โยมบิดาชื่ออ่อนสี โยมมารดาชื่อแก้ว มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 8 คน

    เดิมทีนั้นครอบครัวของหลวงปู่ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ มีถิ่นฐานทำกินอยู่ที่บ้านตะคุ ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า ซึ่งตามภาษาอีสาน เรียกขานกันว่า “นายฮ้อย” อันเป็นที่มาของนามสกุลว่า ฮ้อยตะคุ (เรียกตามภาษาท้องถิ่นอีสาน) หรือร้อยตะคุนั่นเอง ต่อมาโยมบิดาของท่านได้อพยพโยกย้ายครอบครัวไปทำมาหากินอยู่ที่บ้านปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ซึ่งหลวงปู่ได้ถือกำเนิด ณ หมู่บ้านแห่งนี้

    ต่อมาบิดาของท่าน ก็ได้โยกย้ายครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง ไปทำมาหากิน ณ บ้านระหาร ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวัดเกาะแก้วธุดงคสถานในปัจจุบันนี้
    หลวงปู่เคยเล่าถึงชีวิตในวัยเด็กว่า “บิดามารดาเป็นชาวนาชาวไร่ ทำมาหาเลี้ยงชีพ ซึ่งชาวนาไทยเรานั้นถึงจะลำบากยากไร้แค่ไหนก็เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนจนเกินไป อันความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้านั้น ใครๆ ก็ไม่อยากได้รับ แต่ชาวนาจะหลบหลีกได้หรือ ก็ต้องอดทนจนกลายเป็นความเคยชินนั่นแหละ ก็อย่างญาติโยมชาวกรุงเทพฯ ที่ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตี 4 อาบน้ำแต่งตัว ดื่มกาแฟพอรองท้อง ก็ต้องขับรถออกไปทำงาน ถ้าออกสายรถก็ติด บางรายถึงกับต้องเอาเสบียงอาหารติดรถไปด้วย เมื่อไปถึงที่ทำงานก็รับประทานอาหารเสร็จแล้วแปรงฟันอีกที เสร็จพิธีก็ทำงานกับหมู่คณะได้ ชาวนาก็เช่นเดียวกัน ทำงานเหนื่อยก็ต้องอาศัยร่มไม้ใบเงา หายเหนื่อยก็ทำงานต่อไป”

    [​IMG]หลวงปู่จันนทร์แรม เขมสิริ
    บรรพชา

    ขณะที่ช่วยเหลือพ่อแม่ทำนาทำไร่นั้น จิตใจที่เคยคิดจะบวชก็ปะทุอยู่ภายในตลอดเวลา ทุกเช้าเมื่อเห็นพระสงฆ์ห่มคลุมผ้าเหลืองเดินบิณฑบาตทีไร จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน นึกถึงภาพในอดีตอันประทับใจสมัยที่เคยเป็นเด็กวัด มโนภาพยังปรากฏชัด ความปรารถนาที่กรุ่นอยู่ในใจยิ่งระอุขึ้น พออายุได้ 17 ปี บิดามารดาและญาติพี่น้องทุกคนต่างก็สนับสนุนให้ไปเริ่มชีวิตในเพศบรรพชิต

    ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี 2482 ณ วัดสระทองนพคุณ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม มีพระครูจันทรศรีธรคุณ เจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชปีแรกสอบได้นักธรรมชั้นตรี ปีต่อๆ มาสอบได้นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอกตามลำดับ

    หลังจากที่สอบได้นักธรรมชั้นเอกแล้วขณะนั้นอายุได้ 20 ปี จิตใจก็เริ่มเปลี่ยนแปลง จึงได้ลาสิกขา เพราะความที่เริ่มจะเป็นหนุ่ม อีกทั้งจะเข้าเกณฑ์ทหารด้วย

    พบพระธุดงค์กรรมฐาน
    สมัยนั้นหนุ่มๆ ทั้งหลาย ชอบเรียนคาถาอาคมไว้เพื่อป้องกันตัวเพราะมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ว่า เป็นสิ่งที่ทำให้อยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาดจากอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ โยมแม่ซึ่งมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้สั่งลูกชายให้ไปเรียนคาถาอาคมกับพระอาจารย์บุญหนัก เกสโว พระธุดงค์กรรมฐานศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ศิษย์ร่วมรุ่นกับหลวงปู่คำดี ปภาโส แห่งวัดถ้ำผาปู่ จ.เลย) ซึ่งท่านได้จาริกธุดงค์ผ่านมาจำพรรษาในละแวกนั้นพอดี

    การเรียนคาถาอาคมนั้น จะต้องไปพักค้างแรมอยู่กับ พระอาจารย์บุญหนัก ท่านมีโอกาสได้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์ ถวายน้ำใช้น้ำฉัน ทำความสะอาดสถานที่อยู่อาศัย ตอนเช้าพระอาจารย์ออกบิณฑบาต หลวงปู่ซึ่งขณะนั้นเป็นปะขาว ก็เดินตามคอยรับอาหารบิณฑบาตที่ญาติโยมใส่มา ตอนเย็นท่านอาจารย์ก็เรียกมาสอนคาถาโดยให้ท่องตามที่ท่านบอก ซึ่งการให้ท่องคาถาอาคมนี้ จะเป็นอุบายการสอนของครูบาอาจารย์สมัยก่อน ที่ท่านฉลาดสอนภาวนาแก่ศิษย์ให้ถูกต้องตามลักษณะอุปนิสัย เพราะผู้ที่ชอบคาถาอาคมอยากให้คาถาอาคมขลังศักดิ์สิทธิ์ ก็จักขะมักเขม้นนั่งบริกรรมการบริกรรมนี้แหละ เป็นเครื่องโน้มน้าวจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่านวอกแวก และได้สมาธิเกิดความสงบโดยไม่รู้ตัว

    หลวงปู่ได้เล่าถึงพระอาจารย์บุญหนักว่า “พระอาจารย์บุญหนักท่านเป็นชาวบ้าน จ.ขอนแก่น เป็นศิษย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น นี่แหละท่านเป็นพระรุ่นเดียวกับหลวงปู่คำดี เดินธุดงค์ และเคยมาฝึกจิตอบรมธรรมะที่วัดป่าสาลวันด้วยกัน โดยมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นผู้ให้กรรมฐาน ท่านเดินธุดงค์ ไปอยู่ถ้ำพระเวส ถ้ำพระ และสถานที่อันวิเวกหลายๆ แห่ง ปฏิปทาของท่านงดงามมาก ตามแบบฉบับศิษย์หลวงปู่มั่นเลยทีเดียว

    ในเรื่องการสอน การอบรม ท่านพระอาจารย์บุญหนัก ท่านมีปฏิภาณโวหารในการสอนคนได้เก่งมาก อย่างเหตุการณ์ที่ปรากฏแก่ตนเอง พอได้ฟังครั้งแรกก็คิดในใจว่า เอ...เราไม่เคยได้ยินธรรมะแบบนี้มาก่อนเลย ท่านเริ่มพูดก็เสียดแทงหัวใจได้เผงๆ เลยไม่เหมือนที่เราเคยเห็นพระองค์อื่นๆ เลย ก็อ่านตามใบลานที่ช่างพิมพ์มาให้ เอาตามใบลานมาเทศน์มาสอนชาวบ้าน นี่ท่านไม่มีหนังสืออะไรทั้งนั้นนั่งหลับตาก็พูดๆ ออกมา มีอะไรที่ทำชั่วช้าอยู่ ท่านดักใจหงายท้องไปหลายราย

    ท่านสอนให้นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง หลับตาแล้วบริกรรมภาวนาในใจพร้อมกับกำหนดลมหายใจเข้าว่า พุท กำหนดลมหายใจออกว่า โธ พุทโธๆๆ พอนั่งไปๆ ฟังท่านพูดไปเรื่อยๆ จิตใจก็เกิดความสงบอย่างบอกไม่ถูก เป็นความรู้สึกใหม่ที่ได้รับ

    ท่านพูดได้ว่าพระอาจารย์บุญหนักรูปนี้เป็นผู้มีพระคุณมาก ด้วยท่านเป็นผู้ให้กรรมฐานเป็นรูปแรก

    ตัดสินใจออกบวช

    ก่อนที่หลวงปู่จะอุปสมบทนั้น ได้มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความสลดสังเวชใจ เบื่อหน่ายในการครองชีวิตฆราวาส ได้มรณานุสติกรรมฐาน หลายครั้งหลายครา จนกระทั่งถึงกาลเวลาแห่งความแก่รอบของบารมีธรรม ท่านจึงตัดสินใจเป็นแน่วแน่ว่าจะบวช

    แต่ก่อนที่จะบวชจริงๆ ท่านได้ครุ่นคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตดีหนอ เพราะตอนนี้เป็นเหมือนเดินมาสู่ทางสองแพร่ง ลังเลสงสัยว่าจะเลือกทางไหนดี จะออกบวชหรือจะอยู่ครองฆราวาสวิสัย ได้นั่งวาดมโนภาพในเรื่องฆราวาสวิสัยว่า

    “ถ้าหากเราแต่งงานมีภรรยา มีลูก 3 คน มีบ้านมีที่นา มีสวน มีทุกสิ่งทุกอย่างตามที่ชาวโลกเขามีกัน แล้วสมมติว่าเราตายก่อนภรรยา ภรรยาเราเขาก็ต้องแต่งงานใหม่ เพราะยังสาวอยู่ บังเอิญไปได้นักเลง นักการพนัน ขี้เหล้าเมายา คนไม่ดีมาเป็นสามีใหม่ เขาก็ต้องมาล้างผลาญทรัพย์สมบัติที่เราหามาไว้จนหมดเกลี้ยง มิหนำซ้ำยังทิ้งลูกเราภรรยาเรา ให้อดอยากลำบากยากแค้น แล้วเราจะทำอย่างไร”

    เมื่อพิจารณาถึงเหตุนี้ ทำให้ตัดสินใจได้ว่า “อย่างกระนั้นเลยกับชีวิตฆราวาส การแต่งงาน การสร้างโลก สร้างภพ สร้างชาติ ไม่มีที่สิ้นสุด เราจะเลือกเอาทางบวชดีกว่า” เมื่อตัดสินใจจะบวชก็คิดทบทวนอีกว่า “ถ้าบวช ก็จะเสียเวลาทำมาหากิน สมมติว่าเราบวช 5 ปี ถ้าปลูกมะม่วงในระยะเวลาเท่านี้ ก็จะได้กินหมากกินผล หากสึกออกมาก็จะสร้างฐานะสร้างตัวไม่ทันคนอื่นเขา ถ้าบวชเราต้องไม่สึก ถ้าบวชแล้วสึก เราจะไม่บวช”

    ท่านได้ตั้งปณิธานไว้ในใจเช่นนี้ “เอาล่ะ บ้านแห่งนี้ ฉันจะไม่กลับมาเหยียบในเพศเป็นฆราวาสอีก” เพราะพิจารณาเห็นว่า ชีวิตของฆราวาสแก่นสารสาระไม่ได้เลย มันขัดข้องวุ่นวายไปหมด เฉกเช่นคนอื่นๆ ได้อีกต่อไป แม้ว่าจะพยายามทำตามอย่างหนุ่มๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน ถึงจะมีสาวๆ มาหลงรัก ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างที่คนอื่นๆ เขาต้องการได้เลย กลับมามองเห็นว่า คนเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้สูงศักดิ์ หรือยาจกผู้เข็ญใจ ก็ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได้ ไม่ว่าจะคิดอะไรก็มาลงที่ความตายทุกที

    อุปสมบท

    เมื่อตัดสินใจว่าจะบวช บิดามารดาจึงนำไปฝากเป็นนาคที่วัดกระดึงทอง ซึ่งขณะนั้นมีพระอาจารย์แก้วเป็นผู้ปกครองได้รับเข้าเป็นนาคแล้วถามว่า "จะบวชนานไหม" หลวงปู่ตอบว่า "บวช 3 ครับ" เพราะไม่กล้าบอกออกไปว่าจะบวชไม่สึก เพราะโดยอุปนิสัยของท่านแล้ว ถ้าทำอะไรยังไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้จะไม่พูดไปก่อน แต่คำว่า "สาม" ของท่านนั้น คงจะหมายถึง ปฐมวัย มัชิมวัย ปัจฉิมวัย ซึ่งท่านได้ อุทิศถวายให้แก่พระพุทธศาสนาแล้ว

    ในสมัยนั้น การจะบวชเป็นพระธรรมยุตเป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควร จะต้องเดินทางไปเป็นแรมคืนทีเดียว เพราะในแถบ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ ที่เป็นวัดธรรมยุต มีพัทธสีมาสามารถให้การอุปสมบทได้ ก็มีเพียงวัดเดียวเท่านั้น คือ วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

    หลวงปู่ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบูรพาราม เมื่อปี 2488 โดยมี พระครูรัตนากรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เป็นพระอุปัชาย์ พระครูคุณสารสัมปัน (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน) แห่งวัดวชิราลงกรณ วราราม จ.นครราชสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาจากพระอุปัชาย์ว่า เขมสิริ ขณะที่อายุได้ 23 ปีเต็ม

    หลวงปู่ท่านเมตตาเล่าไว้ว่า "ช่วงที่บวชใหม่ๆ นั้น ยังไม่รู้จักกับหลวงปู่ดูลย์มากนัก เพราะไม่ได้อยู่ จ.สุรินทร์ แต่ก็ได้รับโอวาทธรรมในเรื่องการประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางสำหรับพระใหม่มาบ้าง"

    ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะไม่ได้อยู่ อุปัฏฐากบำรุงพระอุปัชาย์ในฐานะที่เป็นสัทธิวิหาริก แต่ท่านก็ยึดถือปฏิปทาของพระอุปัชาย์เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นพระที่พูดน้อย แต่เคร่งครัดในการปฏิบัติ ยึดมั่นในพระธรรมวินัยเป็นหลักตามแบบฉบับของหลวงปู่พระอุปัชาย์ ซึ่ง สิ่งเหล่านี้หลวงปู่ได้ยึดถือเป็นแบบปฏิบัติ ดังปรากฏเป็นคติสอนศิษยานุศิษย์เรื่อยมาไม่ผิดเพี้ยน

    หลวงปู่จันทร์แรมเป็นศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และที่สำคัญท่านเป็นพระภิกษุรูปแรกจาก จ.บุรีรัมย์ ที่ได้พบหลวงปู่มั่น เมื่อบวชได้ 4 พรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือ

    ท่านเข้าสู่สำนักบ้านหนองผือได้แต่อยู่ได้เพียงเดือนเศษ เพราะไม่มีพระผู้ใหญ่รับรอง ระหว่างนั้นมีโอกาสได้รับเทศนาโดยตรงจากหลวงปู่มั่นเพียงครั้งเดียว

    ท่านว่าวันที่ได้พบหลวงปู่มั่นนั้นกำลังกวาดตาดอยู่ จู่ๆ พระอาจารย์มั่นเดินผ่านมาพอดี พอเห็นท่านเข้าก็รีบหลบหน้าด้วยความเกรงกลัว แต่ท่านพระอาจารย์มั่นได้เรียกไว้ก่อนว่า "หยุดก่อนๆ พระน้อย อย่าเดินหนี อย่ากวาดเร็ว มันไม่สะอาด" แล้วท่านก็ได้ถามขึ้นว่า "มาจากจังหวัดไหน" เมื่อกราบเรียนว่า"มาจากบุรีรัมย์ ขอรับ" ท่านก็ว่า "เพิ่งเห็นพระมาจากบุรีรัมย์" แล้วท่านก็มีคำอีกว่า "ไล่ทหารหรือยัง" จึงกราบเรียนว่า "เรียบร้อยแล้วครับ" จากนั้นท่านได้กำชับขึ้นว่า "อย่าหนีน่ะ อย่ากลับบ้านน่ะ ถ้ากลับบ้าน ก็จะกลายเป็นคนบ้า"

    "การภาวนาอย่านอน 3 ทุ่ม 4 ทุ่มจึงนอน นอนตื่นเดียวไม่ให้นอนซ้ำ เมื่อตื่นขึ้นให้ภาวนาต่อ ก่อนภาวนาต้องมีสติ เอาใจใส่ต่องานที่เราทำ อย่าทำแบบลวกๆ กลางวันอย่านอน ให้เดินจงกรมนั่งสมาธิ ให้ไปทำหลังวัดที่เป็นป่ากระบาก นอกจากนั้นให้ไปที่ถ้ำพระบ้านนาใน เป็นถ้ำที่มีเสือเดินผ่าน ด้วยความกลัวจะทำให้จิตเป็นสมาธิเร็ว อย่าขี้เกียจ"

    นี่เป็นธรรมโอวาท ที่หลวงปู่มั่นเมตตาเทศนาอบรมพระภิกษุใหม่รูปนี้ แม้จะเป็นการรับธรรมเทศนาตรงเพียงครั้งเดียวแต่ศิษย์รูปนี้ก็ได้น้อมนำมาเป็นประทีปส่องทางให้แก่ชีวิตมาตลอด

    ช่วงเดือนเศษนั้นท่านยังได้รับเมตตาจาก พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และหลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นพระพี่เลี้ยง อบรมกรรมฐานให้

    หลวงปู่จันทร์แรมเจริญในธรรมมากระทั่งเป็นพระมหาสมณะ เป็นประทีปธรรมแก่สาธุชนในแถบอีสานใต้ กระทั่งวันที่ 8 ธ.ค.2552 ที่ผ่านมา หลวงปู่จึงได้แสดงธรรมอันยิ่งใหญ่ต่อโลก โดยทิ้งธาตุขันธ์ อันเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ทำงานมาก ก่อตัวขึ้นมามาก หลวงปู่ได้ละสังขารเข้าอนุเสสนิพพาน สิริอายุ 87 ปี หลังเข้ารับการรักษาอาการอาพาธในห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา

    เปิดดูไฟล์ 5732884 SAM_8756.JPG sam_8377-jpg.jpg sam_8378-jpg.jpg sam_8379-jpg.jpg sam_8380-jpg.jpg


     
  9. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +929
    จองรูปเหมือนลป.พวง
     
  10. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +929
    โอนแล้วที่อยู่ตามpm
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 619 เหรียญหลวงปู่สมภาร ปัญญาวุโธ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าพัฒนาวิเวก อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ หลวงปู่สมภารเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ปัจจุบันนี้ครับ (องค์ท่านรุ่นเดียวกับหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระใหม่ไม่เคยใช้ สร้างปี 2553 เนื้อทองเเดงรมดำ,มีตอกโค๊ต รูปพระพุทธรูปหลังเหรียญ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *************(หายากครับ หลวงปู่สร้างวัตถุมงคลน้อยครับ)>>>>>>>>>บูชาที่ 305 บาทฟรีส่งems
    เนื้อนาบุญโดยแท้! อายุครบ93ปี ยังนั่งสมาธิทุกวัน เปิดประวัติ "หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร" จริยวัตรงดงามสมเป็น "อริยเจ้าแห่งบึงกาฬ"

    เนื้อนาบุญโดยแท้! อายุครบ93ปี ยังนั่งสมาธิทุกวัน เปิดประวัติ "หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร" จริยวัตรงดงามสมเป็น "อริยเจ้าแห่งบึงกาฬ"
    130802-1-1-jpg-jpg.jpg
    เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคมเป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๙๓ ปี ลูกหลานขออาราธนาอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ขอให้หลวงปู่สมภาร มีธาตุขันธ์แข็งแรง อยู่สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้สืบนานเท่านนานด้วยเทอญ ธรรมอันใดที่องค์หลวงปู่สมภารได้รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ลูกหลานขออนุโมทนาบุญธรรมส่วนนั้นและขอมีส่วนแห่งธรรมนั้นด้วยเทอญ
    130802-1-2-jpg-jpg.jpg


    130802-2-1-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่สมภาร ท่านมีนามเดิม สมภาร อุนาพรหม บิดาชื่อ นายลี มารดาชื่อ นางปุ อุนาพรหม เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ ปีชวด ณ ต.ชมภูพรอ.บึงกาฬ จ.หนองคาย การศึกษา ประถมปีที่ ๔ ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ อายุได้ ๒๑ ปี วัดไชยมงคล ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร พระอุปัชฌาย์ฮวด พระกรรมวาจารย์พระมหาสิริ ชื่อ พระสมภาร ฉายา ปัญญาวโร สังกัดนิกายธรรมยุต
    ภายหลังเข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ท่าน สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกในเวลานั้น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระมหาสมภารรับทราบกิตติศัพท์ มีความเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ท่านจึงเดินทางไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือ จ.สกลนคร ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้ไปๆ มารับฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อยู่ ๖ ปี หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ละสังขารแล้วท่านจึงเดินทางสู่แดนใต้ ปี พ.ศ.๒๔๙๓ ได้เดินร่วมกองทัพธรรมสู่แดนใต้ นำโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แม่ทัพธรรม และท่านได้จำวัดที่ วัดเกาะลอย อ.เมือง จ.พังงา เคยจำพรรษากับหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ที่จันทบุรี ,อ.แกลง ระยอง ปี พ.ศ.๒๕๐๗ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่าเป็นผู้มีความพร้อมทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ จึงแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม


    130802-3-1-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่สมภาร ท่านเริ่มมีชื่อเสียงอยู่ในศรัทธาของญาติโยมชาว จ.บึงกาฬ และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ธรรมะที่ท่านสั่งสอนญาติโยม จะเน้นไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท ท่านมีอุปนิสัยเยือกเย็นสุขุมรอบคอบ แม้ท่านจะมีอายุมากถึง ๙๓ ปี แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติศาสนกิจ ท่านยังรับกิจนิมนต์ และนั่งสมาธิทุกวัน รวมทั้งคอยรับแขกญาติโยม แม้บางครั้งท่านจะไม่ค่อยสบาย แต่หาปริปากบ่นไม่ ยังคงรักษาศรัทธาของญาติโยมมิเสื่อมคลาย
    พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูปัญญาวรากร
    พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทิน นามเดิม
    พ.ศ.๒๕๔๔ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม รวมทั้งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอพรเจริญ
    วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาจำพรรษาที่ วัดฐิติธรรมาราม ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร ท่านเป็นเพชรเม็ดงามของพุทธศาสนิกชนชาว จ.บึงกาฬ โดยแท้

    SAM_8770.JPG SAM_8771.JPG SAM_8108.JPG
    130802-3-2-jpg-jpg.jpg
    sam_8300-jpg-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2021
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 622 รูปหล่อเหมือนลอยองค์ครบ 88 ปีหลวงปู่ลิอ สุขปัญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดป่านาทาม อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร หลวงปู่ลือเป็นศษย์หลวงปู่มั่น ยุคกลาง เหรียญสร้างปี 2538 เนื้อโลหะรมดำ มีพระเกศาเเละผงอังคารธาตุที่เเปรเป็นพระธาตุเเล้วมาบูชาเป็นมงคลครับ ***********มีตอกโค๊ตพระธรรมจักรตรงผ้าสังฆาฏิ มาพร้อมกล่องเดิม >>>>>บูชาที่ 475 บาท
    พระสงฆ์ พระผู้มีบัญญาฤทธิ์และบุญญาธิการสูงองค์หนึ่งในดินแดนที่ราบสูง จังหวัดมุกดาหาร โดยอัตโนประวัติโดยสังเขปของพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งที่มีความเพรียบพร้อมทุกอย่าง

    พระสุปฏิปันโนผู้มีศีลจารวัตร ยึดถือปฏิบัติเคร่งครัดมาเป็นเวลานานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ในขณะที่ครองเพศบรรพชิต ซึ่งในทุกวันนี้ยากนักที่จะหาพระผู้มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด

    "หลวงปู่ลือ ปุญโญ" เกิดที่บ้านไร่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2542 ปีระกา ขึ้น 10 ค่ำ ในตระกูล "ใจทัศน์" ปัจจุบันท่านอายุ 87 ปี 67 พรรษา โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ พัน ท่านสละเพศฆราวาสเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์เมื่ออายุได้ 18 ปี ได้ร่ำเรียนวิชา สน-มูล-นาม ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาบาลีไวยากรณ์ในเบื้องต้นจนแตกฉาน พออายุได้ 22 ปี จึงได้เปลี่ยนญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุต โดยมีหลวงพ่อดี วัดศิลามงคล จังหวัดมุกดาหาร สอนกรรมฐานให้ท่านเป็นท่านแรก

    หลวงปู่ลือ ท่านมีจิตใจแน่วแน่ที่ไม่สามารถหลอมให้กลายเป็นอย่างอื่นได้ ด้วยความตั้งมั่นของท่านถึงขนาดนั่งภาวนาหันหน้าลงเหว เพื่อฝึกปฏิบัติขัดเกลาจิตใจให้เป็นสมาธิ เป้าหมายคือความหลุดพ้น เป็นที่ตั้งสถานที่วิเวกทุกแห่งที่อาจารย์สายกรรมฐาน ศิษย์หลวงปู่มั่นทุกท่านธุดงค์ไปปักกลดฝึกภาวนา ท่านก็ได้ธุดงค์ไปมาหมดแล้วทุกแห่ง

    ครั้งหนึ่งได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดินธุดงค์มาจำพรรษาที่เกาะแก้ว ใกล้วัดพระธาตุพนม หลวงปู่ลือจึงได้เดินทางไปกราบนมัสการ และขอปวารณาตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาแนวธรรมะจากท่าน

    หลวงปู่ลือ ได้ธุดงค์ไปพร้อมกับ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และเพื่อสหธรรมิกจำนวนมากมาย เช่น หลวงปู่สิม หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ขาว หลวงปู่จาม พระอาจารย์จวน พระอาจารย์ฝั้น อาจารย์ชา หลวงพ่อบุญมา วิเวกไปตามป่าเขาโปรดญาติโยมโดยทั่วแถบภาคอีสานและภาคเหนือ ขณะร่วมธุดงค์เมื่อถึงจุดหมายต่าง ๆ ก็แยกย้ายกันปักกลดฝึกกรรมฐาน พอถึงเวลา 4 โมงเย็นของทุกวันก็จะพร้อมเพรียงกันเพื่อรับฟังโอวาทธรรมจากหลวงปู่มั่น

    ในระหว่างที่ท่านอบรมกรรมฐานท่านมักจะกล่าวยกย่องหลวงปู่ลือเสมอว่าเป็น "พระใจเด็ดใจเพชร" สหธรรมมิกที่ร่วมคณะมาด้วยจึงสมญานามว่า "พระลือโลก…ผีย่าน(ผีกลัว)"

    หลังจากแยกย้ายคณะธุดงค์ หลวงปู่ลือได้ออกธุดงค์ไปตามลำพังเพื่อหาสถานที่วิเวกฝึกกรรมฐานไปจนถึงฝั่งประเทศลาว และแผ่เมตตาแก่ญาติโยมชาวลาว เป็นเวลานาน จึงข้ามมาฝั่งไทย ท่านไปพบทหารกลุ่มหนึ่งกำลังสู้รบกับ ผกค.(ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์) ท่านจึงสละชายจีวรมอบแก่ทหารเหล่านั้น เพื่อปกป้องคุ้มครองผองภัยอันตรายทั้งปวง จนทหารกลุ่มนั้นแคล้วคลาดกลับที่ตั้งโดยปลอดภัยทุกคนชาวบ้านดอนตาลดง ผกค. ในยุคนั้นจึงขนานนามทหารกลุ่มนั้นว่า "ทหารผีสิง" เพราะโดยปกติจะไม่มีใครรอดพ้นดงกับระเบิดและฝ่าแนวกระสุนออกมาได้เลย ทำให้ผู้คนทุกสารทิศที่ได้ยินกิตติศัพท์ หลวงปู่ลือ จึงหลั่งไหลกันไปกราบไหว้นมัสการ
    ฟรีlส่งems SAM_8758.JPG SAM_8760.JPG SAM_8761.JPG SAM_8762.JPG sam_8156-jpg.jpg sam_8123-jpg.jpg sam_7839-jpg.jpg
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 622 พระกริ่งรุ่น 1 คูณสุเมโธรุ่นคูณเเสนล้านหลวงปู่คูณ สุเมโธ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี หลวงปู่คูณเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร เป็นต้น องค์พระสร้างปี 2555 เนื้อสัมริด มีตอกโค๊ต ค หลังองค์พระเเละโค๊ตตัวเลขยิงเลเซอร์ใต้ องค์พระเลข 1466 มาพร้อมกล่องเดืม พระใหม่ไม่เคยใช้ *******มีพระอังคารธาตุเเละพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ***********(พิ้นที่ 1000 บาทชึ้นครับ)************บูชาที่ 795 บาทฟรีส่งems
    2854-747f-jpg-jpg-jpg.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    พระครูวิมลภาวนาคุณ (หลวงพ่อคูณ สุเมโธ)
    พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม
    วัดป่าภูทอง บ้านภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


    ๏ ชาติกำเนิด และบุพกรรม

    หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ท่านถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๖ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะแม ในสกุล “ชูรัตน์” เป็นบุตรของ พ่อบุญธรรม ชูรัตน์ และแม่จันทร์ ชูรัตน์ ณ บ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร (หมู่บ้านเดียวกับวัดป่าหนองแสงของหลวงปู่สอ พันธุโล) ครอบครัวของท่านมีอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อท่านอายุได้ขวบเศษๆ ญาติของท่านได้อุ้มไปเดินเล่นบริเวณทุ่งนา และได้ร้องเรียกลูกวัวเล่นๆ ว่า “แบ๊ แบ๊ แบ๊ แบ๊” เป็นเชิงล้อเล่นกับวัว ทันใดนั้นลูกวัวก็กระโจนพุ่งเข้ามาชนญาติซึ่งขณะนั้นกำลังอุ้มท่านอยู่ ลูกวัวได้ขวิดเด็กชายคูณบริเวณศีรษะเหวอะหวะจนเป็นแผลเป็นด้านข้างศีรษะด้านขวามาจนถึงปัจจุบัน

    หลวงพ่อคูณท่านเล่าว่า ท่านได้กำหนดสมาธิดูถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น จึงทราบว่าเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรมหรือบุพกรรม ครั้งอดีตชาติท่านเองเคยเกิดเป็นผู้ใหญ่บ้าน วันหนึ่งมีโจรมาขโมยวัว ท่านจับโจรคนนั้นได้ แต่โจรดื้อดึง พยายามจะหนี ท่านจึงเอาด้ามปืนทุบไปที่หัวของโจรจนหัวแตก ด้วยวิบากแห่งกรรม โจรนั้นได้มาเกิดเป็นลูกวัวในชาติปัจจุบัน ได้ผูกอาฆาตท่านไว้ ด้วยแรงพยาบาตเมื่อเห็นท่านด้วยสัญญาหมายรู้ แม้เป็นเด็กน้อยก็จำได้ จึงต้องมาชดใช้กันในชาตินี้

    ท่านเองมีน้องชายอีกคนชื่อ อุดม ชูรัตน์ เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ นางจันทร์ ชูรัตน์ มารดาของท่านก็ได้เสียชีวิตลง ฉะนั้น ชีวิตในวัยเด็ก ๒ พี่น้องได้ช่วยบิดาทำไร่ไถนา ท่านจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งเป็นการศึกษาสูงสุดในขณะนั้น ณ โรงเรียนบ้านหนองแสง ครั้นเมื่อเติบใหญ่ท่านก็ลงไปปักษ์ใต้ รับจ้างขนหินขึ้นรถบรรทุกไปโรงโม่หิน ทำงานได้ ๓ ปีจึงเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ญาติพี่น้องได้ขอร้องให้ท่านบวช


    ๏ การอุปสมบท

    เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร ตรงกับเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๐๙ โดยมี พระครูทัศนประกาศ (หลวงปู่คำบุ จันทสิริ) เจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิเวศ จ.อำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระอาจารย์จำปี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านพระมหาวิสุทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุเมโธ” แปลว่า ผู้มีปัญญาดี, ผู้มีความรู้ดี

    จากนั้นจึงไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดป่าหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ได้ ๖ เดือน ช่วงนั้นหลวงปู่สอ พันธุโล ได้แวะมาที่บ้านเกิด คือบ้านหนองแสง และได้ชักชวนให้พระอาจารย์คูณ ออกเที่ยววิเวกด้วยกัน ในครั้งนั้นมีพระติดตามด้วยกัน ๗ รูป ออกวิเวกพำนักอยู่วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีหลวงปู่สอ พันธุโล เป็นผู้นำอบรมสั่งสอนการภาวนา และได้พาท่านไปฟังธรรมะภาคปฏิบัติกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อยู่ ๑ อาทิตย์ หลวงปู่ขาวท่านเน้นสอบอบรมด้านจิตใจ

    2855-9435-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาว อนาลโย

    2856-36c6-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    2857-c240-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่สอ พันธุโล

    นิมิตหลวงตามหาบัวมาสั่งสอนให้เร่งความเพียร

    หลังจากได้ฟังธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย แล้ว หลวงปู่สอได้พาพระอาจารย์คูณไปกราบรับฟังโอวาทธรรมจากหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านตาด หลวงตามหาบัวท่านเน้นหนักในการภาวนารักษาจิตรักษาใจ เพียรฝึกจิตฝึกใจในทุกอริยบท ให้เร่งทำความเพียรให้เต็มที่ ทั้งเดินจงกรม นั่งภาวนา ขนาดพระคูณ จะล้มตัวเอนกายลงนอน ซักพักก็ได้ปรากฏนิมิตเห็นหลวงตามหาบัว เปิดประตูเข้ามาดุ “มันจะมานอนเฝ้าอะไร” พระอาจารย์คูณได้ฟังดังนั้น จึงตอบในนิมิตไปว่า “เอ้า ไม่นอนก็ไม่นอน” หลวงตามหาบัว ย้ำเตือนไปว่า “ไม่ให้นอน ตายเป็นตาย” ในระยะนั้นพระอาจารย์คูณ ได้เห็นนิมิตหลวงตามหาบัว มาตักเตือนอยู่ทุกๆ คืน ท่านว่า ท่านเกรงกลัวหลวงตามหาบัวมาก “กลัวหลวงตามหาบัว เหมือนยังกับกลัวเสือ” จึงได้เร่งความเพียรตั้งสัจจาธิษฐานถือเนสัชชิก อยู่ในอริยบท ๓ ยืน เดิน นั่ง โดยไม่เอนกายลงนอนเลยตลอดไตรมาส ในช่วงเข้าพรรษาแรกนั้น

    ตลอดพรรษาพระอาจารย์คูณได้อุบายธรรมจากหลวงปู่สอ พันธุโล มาคอยอบรมสั่งสอนย้ำเตือนว่า “ท่านคูณต้องพิจารณาทุกข์ให้มันเห็นทุกข์ ให้มันเบื่อทุกข์” เมื่อจะเดินจงกรม พระอาจารย์คูณก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้าจะเดินจงกรม ทำความเพียรไปจนกว่าเดือนจะตก จึงจะหยุดเดินจงกรม” กิเลสที่ฝังตัวอยู่ในจิตก็คอยมาหลอกว่า “หยุดเถอะ พอเถอะ ไม่ไหว” พระอาจารย์คูณท่านก็ใช้สติกับจิตข่มกิเลสไว้ โดยรำลึกถึงคำสอนครูบาอาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่สอ พันธุโล ซึ่งท่านจะเน้นกำชับพระอาจารย์คูณให้เป็นผู้ประพฤติให้มีสัจจะ ตั้งใจจริงจัง ถ้าทำอะไรก็ต้องให้ได้อย่างนั้น ถ้าได้พูดลั่นวาจาไปแล้วก็ต้องให้ได้อย่างนั้น พูดจริง ปฏิบัติจริง จริงจึงจะเห็นผลจริง

    ในการทำความพากเพียรในพรรษาแรกนั้น สำหรับการอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สอ พันธุโล ที่วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พระอาจารย์คูณกลางคืนก็อดนอน พากเพียร ฝึกสติอย่างหนัก กลางวันก็ปฏิบัติด้านกิจของสงฆ์ บิณฑบาต ทำความสะอาดกวาดลานวัด อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ พอตกกลางคืนก็เร่งความเพียรต่อ ท่านว่า “ความทุกข์ทรมานนั้น สาหัสสากรรจ์มาก เจ็บปวดทรมานที่สุด ทรมานอย่างยิ่ง มันอยากจะนอน อยากให้มันหลับก็ไม่กล้าหลับ กลัวเสียสัจจะ เอ้า...ไม่นอนหล่ะ ถ้ามันจะล้มตัวนอน ก็พามันลุกหนีจากที่นอน” ท่านทำความเพียรอย่างอุกฤษ์นี้จนครบสัจจะ ๓ เดือน

    ในพรรษาที่ ๒ พ.ศ.๒๕๑๐ พระอาจารย์คูณ สุเมโธ ท่านได้พบเพื่อนสหธรรมิก คือ หลวงปู่พงษ์ ธัมมาภิรโต(แห่งวัดป่าถ้ำหีบ ต.จำปาโมง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ท่านละสังขารไปแล้วเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งอัฐิได้กลายสภาพเป็นพระธาตุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) หลวงปู่พงษ์ท่านมาบวชเมื่อตอนอายุมากแล้ว ตอนอายุ ๔๗ ปี ในพรรษาที่ ๒ นี้ ท่านทั้ง ๒ ได้ร่วมกันตั้งสัจจะถือเนสัชชิก อยู่ในอริยบท ๓ ยืน เดิน นั่ง โดยไม่เอนกายลงนอนเลยตลอด ๓ เดือนเต็ม ทั้งกลางวันทั้งกลางคืนก็เดินจงกรมภาวนาตั้งแต่หัวค่ำ เดินจงกรมภาวนาไปจนสว่าง เพียรในลักษณะนี้ตลอดพรรษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาถึง ๓ พรรษา

    2858-cf3a-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แนะนำให้ไปภาวนาที่ถ้ำขาม

    ปี พ.ศ.๒๕๑๒ ท่านพระอาจารย์ทองดี วรธัมโม ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร มาเที่ยววิเวกอยู่แถวเขตอำเภอบ้านผือ พระอาจารย์คูณได้สังเกตกิริยามารยาท วัตรปฏิปทา การเทศน์อบรมของท่านพระอาจารย์ทองดีแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงขอโอกาสหลวงปู่สอ พันธุโล ออกธุดงค์ติดตามท่านพระอาจารย์ทองดี หลวงปู่สอ เพิ่นว่า “ไปวิเวก ไม่ห้ามหรอก” จากนั้นท่านทั้ง ๒ รูป ก็เก็บอัฐบริขารเดินธุดงค์เข้าสู่ป่าลึก ผ่านขุนเขา หุบเหว หน้าผา ถ้ำน้อยใหญ่ไปทาง อ.น้ำโสม อ.นายูง ค่ำไหนก็พำนักที่นั่น แล้วจึงย้อนกลับมาวัดป่าอรัญญิกาวาส เพื่อกราบลาหลวงปู่สอ พันธุโล อีกครั้ง โดยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเข้าสู่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เพื่อไปกราบขอฟังธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ในพรรษานี้เดิมที พระอาจารย์คูณ ตั้งใจจะขออยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แต่เนื่องจากมีพระมาขอว่าที่ถ้ำขามนี้ มีพระอยู่เพียงรูปเดียว หลวงปู่ฝั้น จึงถามพระเณรว่า มีใครจะขึ้นไปอยู่ที่ถ้ำขามนี้ไหม ท่านพระอาจารย์ทองดี วรธัมโม จึงตอบ “ผมขอโอกาสขึ้นถ้ำขาม” พระอาจารย์คูณ จึงได้กราบเรียนหลวงปู่ฝั้นว่า “ผมก็จะขอขึ้นไปด้วยกับพระอาจารย์ทองดี” หลวงปู่ฝั้น เพิ่นว่า “ขึ้นก็ขึ้น”

    เข้าพรรษาที่ ๔ ณ ถ้ำขาม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เส้นทางขึ้น-ลงเขาก็ลำบากมาก ทั้งเส้นทางบิณฑบาตก็ไกล ไป-กลับระยะทางเป็น ๑๐ กิโลเมตร เว้นแต่ว่าวันไหนไม่ฉัน ก็ไปต้องลงมาบิณฑบาต ส่วนช่วงหน้าฝนนี้หินยิ่งลื่น พระอาจารย์คูณต้องใช้มือหนึ่งประคองบาตร อีกมือหนึ่งกางร่ม หากมีทีท่าว่าจะหกล้ม ก็ต้องปล่อยมือที่ถือร่มออก แล้วใช้สองมือประคองบาตรไม่ให้ตกกระแทกพื้น พระอาจารย์คูณ สุเมโธ สู้ทนทุกข์ต่อความยากลำบากต่างๆ นานาบนถ้ำขามทุกรูปแบบ อีกทั้งการอยู่ในป่าในเขา การบำเพ็ญเพียรรักษาสติในศีลวัตรก็มิขาดตกบกพร่อง เปิดดูไฟล์ 5734784 เปิดดูไฟล์ 5734785 เปิดดูไฟล์ 5734786 SAM_8763.JPG SAM_8764.JPG SAM_8766.JPG SAM_8765.JPG SAM_8767.JPG sam_7666-jpg.jpg
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 623 เหรียญรุ่น1ช่วยชาติพระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าเเห่งวัดป่าบ้านตาด หลวงตามหาบัวเป็นศีษย์ยุคกลางหลวงปุ่มั่น ภูริทัตโต เหรียญสร้างปี 2545 เนื้อทองเเดง รมนํ้าตาล มีพระเกศา,พระธาตุ มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **********บูชาที่ 405 บาฟรีส่งems SAM_7955.JPG SAM_8772.JPG SAM_8773.JPG SAM_8198.JPG
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ ุ624 พระกริ่ง 90 ปีหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสีห์พนม อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่บุญมาเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล,หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เป็นต้น องค์พระกริ่งสร้างปี 2561 สร้างเนื่องในวาระหลวงปุ่อายุครบ 90 ปี เนื้อนวะ มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ต ใบโพธิ์ด้านหลังองค์พระเเละโค๊ตตัวเลข 474 ใต้องค์พระ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา ******* (หลวงปู่ยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ครับปัจจุบัน)**********>>>>>บูชาที่ 4ุ65 บาทฟรีส่งems sam_6386-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5578-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5579-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5580-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5581-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3985-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 625 เหรียญหล่อรูปเหมือนนั่งปักกลดหลวงปู่ประสิทธิ์ ปุณญมากโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหมู่ใหม่ อ.เเม่เเตง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่ประสิทธิ์เป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญานสิริ วัดป่านิโครธาราม ,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เป็นต้น เหรียญสร้าง 27 พ.ย. 2555 เนื้อสำริด พร้อมกล่องเดิม ,มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ******,มีตอกโค๊ต ยันต์ เเละโค๊ตตัวเลข 650*******(รุ่นนี้ทันหลวงปู่ปลุกเสกครับ วัดป่าท่าสุดเป็นวัดสาขาของหลวงปู่ครับ)*********บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งems สส
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร

    วัดป่าหมู่ใหม่
    อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    116348142.jpg
    หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    ถิ่นกำเนิด-ชาติสกุล
    หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร ท่านถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ณ บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

    บิดาชื่อ พ่อสนธิ์ มารดาชื่อ แม่มุก นามสกุล สิมมะลี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน เป็นชาย และหญิง ๔ คน

    ชีวิตในวัยเด็ก
    หลวงปู่ประสิทธิ์ เท่ากับเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว เมื่อมีอายุ ๗ ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ สอบไล่ได้ตำแหน่งที่ ๑ หรือ ที่ ๒ เป็นประจำทุกปี ตลอดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ พอจบชั้นประถมแล้ว ครูใหญ่ชื่อ “ปรีชา” ให้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมพิทยานุกุล ในตัวจังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อได้ถามบิดาว่า “จะเรียนดีหรือไม่เรียนดี” และเมื่อบิดาบอกว่า “ทำไร่ทำนาดีกว่า สบายใจดี” หลวงปู่ประสิทธิ์ จึงตัดสินใจช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา

    หลวงปู่ประสิทธิ์ เมื่อเยาว์วัย จึงเป็นแรงสำคัญช่วยงานบิดา มารดา อย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่ยังเรียนหนังสือชั้นประถม จนเช้าสู่วัยหนุ่มอายุ ๑๙ ปี จึงเกิดความคิดอยากเข้าวัด เนื่องจากวัดป่านิโครธาราม ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อยู่ใกล้บ้าน ท่านได้ทบทวนชีวิตฆราวาส ผ่านมาได้ช่วยบิดามารดามา จนเป็นที่พอใจแล้ว ฐานะทางครอบครัวก็พอดีๆ ไม่รวยและไม่จน และพี่น้องต่างก็โต พอจะช่วยงานของครอบครัว พ่อแม่ได้แล้ว หลวงปู่ท่านคิดว่า ได้เกิดมาใช้หนี้บุญคุณพ่อแม่พอที่ได้อาศัย ท่านมาเกิดในชาตินี้แล้ว จึงคิดมองหา เส้นทางจิต ที่คิด ไม่อยากกลับมาเกิดเป็นหนี้ภพชาติอีกต่อไป โดยเกิดศรัทธาปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คิดจะบวชไม่มีกำหนดตลอดชีวิต หวังอยู่ปฏิบัติ ตนเพื่อหลุดพ้น ความเกิดจนถึงอมตะพระนิพพาน

    %B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C.jpg
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร
    บรรพชาและอุปสมบท
    ต่อมาครอบครัว ได้พา หลวงปู่ประสิทธิ์ เข้าไปฝากตัวกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ณ วัดโพธสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๐๔ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี ในวันที่ ๑ มิถุนายน โดยมีพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุดรคณานุศาสน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    55798675920180525_142020.jpg
    พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์
    %88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4-1-909x1024.jpg
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม
    การปฏิบัติธรรม
    หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร ได้บวชและอยู่ศึกษาอบรมธรรมะกับ หลวงปู่อ่ออน ญาณสิริ วัดนิโครธาราม ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ภายหลังหลวงปู่อ่อน มรณภาพลง ท่านได้ไปปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    %B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.jpg
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร..เล่าว่า ปี พ.ศ.๒๕๐๘ เรากับอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป อยู่ปฏิบัตินอกพรรษาด้วยกัน หลวงปู่แหวนท่านบอกหมู่คณะอยู่ดอยแม่ปั๋ง “หมู่สูเจ้าผ่อเน้อ (พวกเอ็งทั้งหลายดูนะ) ตุ๊สิทธิ์ (หลวงพ่อประสิทธิ์) นี่หนา ตุ๊เปลี่ยน (ท่านพระอาจารย์เปลี่ยน) นี่หนา ตุ๊เจ้าหนุ่มสองต๋นนี่จะเป๋นตุ๊เจ้าหลวงต๋นแต้ กอยผ่อเต๊อะ (คอยดูเลย)”
    B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%9B.jpg
    (ซ้าย) หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร (ขวา) หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    %B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.jpg
    (ซ้าย) หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร (ขวา) หลวงปู่ชอบ ฐานสโม มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐
    จากนั้นได้เดินธุดงค์ขึ้นสู่ภาคเหนือ มาอยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกับ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แล้วเดินธุดงค์ แสวงหาความวิเวก จนกระทั่งมาพบสถานที่ป่าสงบเงียบ หลังที่ทำการชลประทานแม่แตง จึงได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ และยกฐานะเป็นวัดตามลำดับ

    B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3.jpg
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่
    %B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.jpg
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร
    วัดป่าหมู่ใหม่ เป็นวัดป่าสายธรรมยุตที่สงบเงียบ หลวงปู่ประสิทธิ์ ได้อนุรักษ์สภาพพื้นที่ป่าเดิม พร้อมกับปลูกป่าเสริมเพิ่มต้นไม้ตลอดเวลา ทำให้วัดมีต้นไม้ใหญ่สมบูรณ์ร่มรื่น การที่วัดป่าหมู่ใหม่มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง แต่ละกฏิไม่มีการสะสมสิ่งของ ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ เป็นวัดปฏิบัติธรรม จึงเป็นวัดป่าศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์สำหรับผู้เข้าไปสัมผัส ทั้งนี้เพื่อ มรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริงนั่นเอง

    กาลมรณภาพ
    องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร แห่งวัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานเมื่อเวลา ๑๔.๒๓ น. ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ สิริอายุ ๗๕ ปี ๔ เดือน ๒๖ วัน พรรษา ๕๕ (พรรษานั้นเป็นพรรษาที่ ๕๖)

    %B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C.jpg
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    %B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-731x1024.jpg
    ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมสมทบปัจจัยเพื่อสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์บรรจุอัฐิองค์หลวงพ่อ
    บัญชีเลขที่ 458-0-70066-6 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาตลาดแม่มาลัย
    โอวาทธรรมคำสอนของหลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร

    “..คนสมัยใหม่นี่เป็นคนสุขสบาย คือไม่อยากทำแต่อยากได้…มันเป็นไปไม่ได้ เพราะธรรมก็ชื่อว่าทำอยู่แล้ว คือจะต้องลงมือทำ จะต้องใช้ร่างกายทำ ไม่ใช่ว่าเราพูดทำได้ คือเราพูดให้เป็นวัตถุเป็นสมบัติเป็นอะไร ให้มันเป็นขึ้นมา มันเป็นไม่ได้หรอก มันเป็นได้ก็เพราะการทำ เราจึงพูดว่าธรรม เราทำมันน้อยไปมันก็ไม่เห็นเพราะว่าพระพุทธเจ้าเราทำมามาก ทำมาจนเกินหละทีนี้ จนว่าสละชีวิต เลือดเนื้อร่างกายทุกอย่างพระองค์สละหมดแล้วไม่ห่วงคือไม่ห่วงร่างกายไม่ห่วงชีวิต..”

    “..มนุษย์นี้ หนีตาย ไม่ได้หรอกอยากจะบอก ตามตรง กันหลงใหลเมื่อยังอยู่ ควรรู้ธรรม นำจิตใจครั้นตายไป ไกลอบาย ได้วิมานองค์หลวงปู่ ประสิทธิ์ จิตผ่องใสตระหนักใน สมถะ กรรมฐานสมาธิ วิปัสสนา ปัญญาญาณพบนิพพาน ประมาณได้ เมื่อตายลง..”

    “..คนติดในรูป หลงในรูป มันต้องมาปฏิบัติจะได้ละได้ปล่อยได้วาง รูปมันก็ของเก่า คนก็คนเก่า ส่องกระจกดูก็เห็น คนปฏิบัติแค่อาบน้ำก็พอแค่นี้เนื้อตัวก็สะอาด ไม่ต้องไปดัดไปย้อมไปแต่ง มันผิดธรรมชาติ..”

    “..ต้องดูที่จิตของเรา ถ้าทำถูกทำน้อย แต่ว่าถูกที่ถูกทาง มันก็ได้มาก แต่ถ้าเราทำมาก แต่มันไม่ถูกที่ถูกทาง มันก็ได้น้อย..”

    “…เหตุนั้นคนที่มาฝึกภาวนา
    มาฝึกจิต มาฝึกทำสมาธิทำสมาธิภาวนา
    ก็เรียกว่ามาฝึกความตาย
    ให้รู้เรื่องกาย เรื่องจิต…”



    หลวงปู่กระดูกใสเป็นแก้วตั้งแต่สมัยยังครองขันธ์
    (ข่าวเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๕)

    %B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7.jpg
    อัฐิธาตุหลวงปู่ประสิทธิ์ ใสเป็นแก้ว ตั้งแต่ยังครองธาตุขันธ์

    แพทย์และหมอ ฮือฮา….เพราะเอกซเรย์พระคุณเจ้ารูปหนึ่งปรากฎว่ากระดูกแขนเป็นแก้วสีใสหมดทั้งตัว ผอ.โรงพยาบาลได้สอบถามที่มาที่ไป ปรากฎว่า เป็นหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร แห่งวัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ท่านเป็นพระป่ากรรมฐานศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คุณหมอทั้งหลายใน ร.พ.มหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) ต่างยกย่องกล่าวขานถึงหลวงพ่อประสิทธิ์ว่าน่าอัศจรรย์แท้ เพราะเขาถ่าย x-ray ท่านออกมาปรากฎว่ากระดูกข้างในเป็นแก้วทั้งหมด หมอทั้งหลายในโรงพยาบาลสวนดอก เลยเคารพท่านมาก
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร องค์นี้หลวงตาพระมหาบัวยกย่องในความดีและคุณธรรมของท่าน


    ภายหลังต่อมา หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร ท่านเปิดสมุดบันทึกเล่มสีดำที่องค์ท่านจดบันทึกเอาไว้ให้ดู วันที่องค์ท่านถอน “กามคุณ” ออกจากจิตใจของตนเอง (บรรลุพระอนาคามี) คือ วันที่ ๑๒ ตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐
    วันที่องค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร บรรลุ “ธรรมธาตุ” สำเร็จมรรคผล คือ วันเพ็ญเดือนหก ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑
    ดังเรื่องราวรายละเอียดดังต่อไปนี้
    เหตุการณ์สำคัญในเพศพรหมจรรย์ของหลวงพ่อประสิทธิ์ วันที่ท่าน สำเร็จมรรคผลเป็น “พระอนาคามี” วันที่ท่าน สำเร็จมรรคผลเป็น “พระอรหันต์”
    ผู้บันทึกถาม – ตอนหลวงพ่อบรรลุธรรมพ้นจากกาม หลวงพ่อบรรลุธรรมในอิริยาบถไหน
    หลวงพ่อประสิทธิ์ – ในอิริยาบถนั่ง
    ผู้บันทึกถาม – ตอนนั้นหลวงพ่อหันหน้าไปทางทิศไหน
    หลวงพ่อประสิทธิ์ – เราหันหน้าไปทางอำเภอแม่สรวย
    ท่านบอก – วันนั้นเราเดินจงกรมพิจารณาในธรรมทั้งวัน ตอนอยู่ในทางจงกรมเหมือนปัญญามันจะเข่นฆ่ากามคุณให้ตายคาทางเดินจงกรมได้ สติปัญญาเราเอามันบ่ลง กิเลสตัวนี้มันแหลมคมในชั้นเชิงมากสติปัญญาเราตอนนั้นยังมีกำลังบ่พอ
    หลังเดินจงกรมเหนื่อยแล้วเรามานั่งภาวนาพิจารณาธรรมอยู่ระเบียงกระท่อมที่พัก เราพิจารณาเข้าออกในธรรมหลายๆ รอบจนเห็นอุปาทานกามคุณ พอเราจับเงื่อนมันได้ มหาสติมหาปัญญาเข้าพิจารณาในธรรมนั้นทันที ลุยกันปานสงครามโลก จิตเห็นโทษเห็นทุกข์ในกามคุณ จิตเราขาดสะบั้นกันกับกามคุณเวลาประมาณห้าโมงเย็น เดือนตุลาคม ปี ๒๕๒๐ พอธรรมแจ้งแก่ใจของตนเองแล้ว เราลืมตาขึ้นมาอีกทีเป็นเวลาพระอาทิตย์กำลังจะลับเหลี่ยมภูเขาทางฝั่งแม่สรวย เชียงราย..
    ผู้บันทึกถาม – จากเหตุการณ์หลวงพ่อบรรลุภูมิธรรมอนาคามี จนถึงบรรลุธรรมธาตุเป็นอรหันต์นี้ เหตุการณ์ทั้งสองมันต่อเนื่องกันในปีนั้นหรือไม่
    หลวงพ่อประสิทธิ์ – บ่ มันเว้นช่วงข้ามปีกันอยู่ มันมาแล้วทั้งเบิ่ดในปีต่อมา
    ผู้บันทึกถาม – หลวงพ่อใช้เวลานานมั๊ยในการถอนกามคุณออกไปจากจิตใจ
    หลวงพ่อประสิทธิ์ – หลวงพ่อใช้เวลาทั้งหมดนับตั้งแต่วันที่บวชมา แต่มันละกันไม่ได้ซักที จนมันมาจบกันที่บ้านมูเซอร์ป่ายาง
    ผู้บันทึก – หลวงพ่อจำวันเวลาที่ตนเองเอาชนะกามคุณบรรลุธรรมอนาคามีได้ไหม
    หลวงพ่อประสิทธิ์ – วันที่หลวงพ่อจำบ่ได้ จำได้แต่ว่าเป็นเดือนตุลาคม ตอนออกพรรษาแล้วใหม่ๆ เวลาก็กะเอาว่าประมาณห้าโมงเย็น เพราะหลวงพ่อบ่มีนาฬิกาดู ทุกวันนี้หลวงพ่อก็บ่เคยพกนาฬิกา หลวงพ่อเอานาฬิกาธรรมชาติว่า เอานาฬิกาในจิตว่า
    ผู้บันทึก – วันที่ประมาณได้ไหมว่าวันที่เท่าไร ต้นเดือน กลางเดือน ท้ายเดือนตุลาคม
    หลวงพ่อประสิทธิ์ – มันยังบ่ถึงกลางเดือนดี ประมาณวันที่สิบกว่านี่แหละ
    ภายหลังต่อมา หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร ท่านเปิดสมุดบันทึกเล่มสีดำที่องค์ท่านจดบันทึกเอาไว้ให้ดู วันที่องค์ท่านถอน “กามคุณ” ออกจากจิตใจของตนเอง คือ วันที่ ๑๒ ตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐
    วันที่องค์ท่านหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร บรรลุ “ธรรมธาตุ” สำเร็จมรรคผลเป็น “พระอรหันต์” คือ วันเพ็ญเดือนหก ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑


    20431527.jpg
    หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงให

    sam_6739-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8178-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8181-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8179-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8180-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8183-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 625
    เหรียญเจริญพรบนรุ่นอุดมทรัพย์หลวงปุ่อุดม ญาณรโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ หลวงปู่อุดมเป็นศิษย์หลวงปุ่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง,หลวงปุ่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารย์ตื้อ เหรียญสร้างปี 2557 เนื้อทองฝาบาตร มีตอก 2โค๊ต โค๊ตตัวเลขด้านหน้าเหรียญ 136 หลังเหรียญเป็นโค๊ตยันต์ มาพร้อมกล่องเดิม เหรียญใหม่ไม่เคยใช้,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ***********บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems สส
    ประวัติย่อๆหลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ

    0kdov.gif

    ชาติภูมิ หลวงปู่อุดม ญาณรโต
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต ท่านเกิดในตระกูลชาวนา บิดาและมารดาท่านเป็นชาวนา ที่บ้านดงเฒ่าเก่า ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม อยู่ในสกุล เชื้อขาวพิมพ์ รูปร่างสันทัด สีผิวดำแดง โดยมีโยมบิดาชื่อ นายแว่น เชื้อขาวพิมพ์ และมารดาชื่อนางบับ เชื้อขาวพิมพ์ และมีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด 4 คน รวมหลวงปู่

    ชีวิตในสมัยเด็ก ท่านก็เหมือนเด็กชาวนาทั่วไปบิดามารดาทำนา ท่านก็ไปช่วยทำนา ท่านชอบในเพศบรรพชิตมาก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์เดินผ่านมาท่านเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาเองตั้งแต่วัยเด็ก นี่ก็เนื่องมาจาก โยมบิดามารดาของท่านได้พาปฏิบัติศาสนกิจต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ในพุทธศาสนา เช่น ครูบาอาจารย์ในสมัยท่านพระอาจารย์มั่น บิดามารดาท่านมักพาไปปฏิบัติศาสนกิจมาโดยตลอด เช่น หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่า สาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงปู่สิงห์ เป็นต้น ท่านเล่าต่อว่าโยมบิดาท่านเคยได้บวชเณรอยู่ และสึกออกมามีครอบครัว ส่วนมารดาของท่านก็เข้าวัดทำบุญอยู่เป็นปกตินิสัย จึงทำให้ท่านมีความสนิทสนมและใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอดนั่นเอง

    บรรพชา หลวงปู่อุดม ญาณรโต
    เนื่อง จากในวัยเด็ก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว เกิดความปีติเลื่อมใสในสมณะสงฆ์ (มีความสุขเมื่อได้เห็นพระสงฆ์) ท่านคงมีความคิดที่อยากออกบวชอยู่ภายในใจมาโดยตลอด จากนั้นเมื่อท่านเริ่มโตเป็นหนุ่มท่านเคยได้อ่านหนังสือสวดมนต์และปฏิบัติ สมาธิภาวนา ของหลวงปู่สิงห์ ขัตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งทำให้ท่านจับจิตจับใจ มีจิตใจเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว และมั่นใจในการที่จะได้บวชถือคลองเพศสมณะ ท่านได้ช่วยบิดามารดาทำนา หาปูหาปลาตามประสาชาวโลก ท่านเล่าว่าปูปลาสมัยก่อนหาง่ายมาก ตัวก็ใหญ่โตทั้งนั้น ท่านเคยดำน้ำเพื่อหาปลา น้ำลึกมากๆหลายเมตรอยู่ ทำให้ท่านเลือดไหลออกมาจากหู (หูหนวก) ท่านมีอาการหูหนวกอยู่แรมเดื่อนกว่าจะหายเหมือนเดิม ท่านบอกว่าชีวิตฆราวาสนั้นเป็นทุกข์ ต้องทำบาป สร้างกรรมเวรอยู่โดยตลอด จนในที่สุดเมื่อท่านมีอายุครบ ๒๓ ปี ท่านจึงได้ขอบิดามารดาของท่าน เข้าบรรพชาอุปสมบท ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่มัน ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส มรณะภาพนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ. วานรนิวาส จ. สกลนคร และพระครูพิพิธธรรมสุนทร (พระคำฟอง เขมจาโร) วัดสำราญนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุว่า ญาณรโต (ซึ่งแปลว่าผู้ทรงไว้ซึ้งญาณ) และในปีนั้นนั่นเอง ท่านได้เดินทางไปร่วมพิธีเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์ และพระกรรมวาจาจารย์ของท่านทั้งสองด้วย ท่านบอกว่างานศพหลวงปู่มั่นใหญ่โตมาก มีพระกรรมฐานมากมายเต็มไปหมด โดยสมัยก่อนวัดป่าสุทธาวาสยังคงมีสภาพเป็นป่าดงพงไพรอยู่ มีต้นไม้ใหญ่มากมายไม่เหมือนสมัยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านเต็มไปหมด

    พรรษาที่1-2 (พ.ศ.2492-2493)
    ท่านอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ที่วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
    พรรษาที่3-5(พ.ศ.2494-2497)
    ท่านเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆและกลับมา อยู่ที่วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์
    พรรษา ที่7-15(พ.ศ.2498-2506)
    วัดบ้านนาโสก อ.นาแก ต.บ้านแก้ง จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านญาติของท่านและเป็นบ้านเกิดของท่านเองต่อจากนั้นท่านได้ไปพัก อาศัยอยู่กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ตอนนั้นหลวงปู่ลี ท่านอยู่วัดศรีชมพู ต.โคกสี
    อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 20 (พ.ศ.2507-2515)
    ท่านธุดงค์ไปอยู่ทางภาคเหนือบ้าง เช่น สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เลื่อยมา โดยท่านได้ไปพบกับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปูตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท จ.ลำปาง โดย
    ช่วงระยะเวลาที่ธุดงค์ในแถบภาคเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ท่านมีสหธรรมมิกที่ร่วมเดินทางไป
    ด้วยกัน คือ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา และหลังจากที่ท่านไปธุดงค์ที่เชียงใหม่
    กลับมาท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดป่า สถิตย์ธรรมวนาราม ต.ศรีชมภู อ.พรเจริญ จ.หนองคาย จนกาลสมัย
    ปัจจุบันนี้ (นี้เป็นเพียงประวัติย่อ ๆ เท่านั้น)

    ครูบาอาจารย์ที่หลวง ปู่ได้ไปพำนักอาศัย และฟังธรรม
    ครูบาอาจารย์เท่าที่หลวงปู่จำได้และเล่าให้ฟังมานั้น ในอดีตที่ผ่านมาแล้วทั้งหลาย ในบางคราวท่านก็ลืมไปบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ละเอียดมากนัก เท่าที่ท่านพอจะจำได้นั้น มี ดังนี้
    1. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    2. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    4. หลวง ปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.เชียงใหม่
    5. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    5. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    6. เจ้า คุณแดง วัดป่าประชานิยม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    7. หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์

    การเดินธุดงค์ หลวงปู่อุดม ญาณรโต
    ท่านเล่าว่าตั้งแต่โยมบิดาของท่านเสีย ชีวิตด้วยโรคชรา ตอนอายุ ได้ 73 ปี ก่อนท่านออกเดินธุดงค์ และมารดาท่านก็เสียชีวิตด้วยโรคชราเช่นกัน เมื่อตอนอายุได้ 79 ปี หลังจากที่ท่านธุดงค์กลับมาจากจ.เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าตอนที่ท่านได้ไปพำนักอยู่ เพื่อฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น ท่านเกิดความประทับใจมาก ท่านเล่าว่าหลวงปู่แหวนท่านเทศแบบง่ายๆ สั้นๆ แต่มีคุณภาพมากๆ คำพูดของท่านลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก น่าเลื่อมใสมากๆ ซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่ลี วัดเหวลึก ท่านก็ได้ไปร่วมฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน กับท่านด้วย ท่านอยู่ฟังธรรมกัน ประมาณ๒-๓ คืน
    จากนั้นท่านได้เดินทางไปจังหวัดลำปาง และเพชรบูรณ์ โดยเดินเท้าไป บางทีฆราวาสเห็นก็อาสาพาไปส่งเป็นบ้าง ท่านใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือนเศษ โดยท่านเดินทางผ่านจังหวัด สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิถต์ พิจิตร และเพชรบูรณ์ และใช้เวลาเดินทางจากเพชรบูรณ์ไปเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณอีก 2 เดือน ท่านเล่าว่าตอนเดินทางผ่าน จ.สุโขทัย ได้พบฆราวาสที่กินเจ มักใส่ขนมปัง และน้ำตาลอ้อย โดยบางครั้งเขาจะนำขนมกับข้าวสุกใส่ให้เต็มบาตรเลย ไม่มีกับข้าวคาวเลย ท่านฉันทีแรกๆก็อร่อยดี แต่หลายวันเข้ามันชักไม่อร่อย โดยในตอนนั้นท่านได้เดินเท้าธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ไพบูรณ์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา ซึ่งท่านทั้งสอง สนิทสนมมักคุ้นกันอยู่

    การปฏิบัติธรรม หลวงปู่อุดม ญาณรโต
    โดยปกติหลวงปู่อุดมท่านชอบเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนาเพื่อปฏิบัติทางจิตของท่านอยู่โดยตลอด ท่านบอกว่าถ้าวันไหนไม่ได้เดินจงกรมแล้วหล่ะก็ เดือดร้อนไม่ได้เลยนะ จิตจะเศร้าหมองทันที สมัยที่ท่านอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านปฏิบัติธรรมอยู่นั้น จิตของท่านเกิดความสว่าง มีความสุขมาก จิตตกถึงฐานของจิต เข้าสู่พื้นเดิม ท่านเปรียบเหมือนการสักผ้า ถ้าผ้ามันลาย พื้นเดิมของจิตมันก็ลาย ถ้าผ้ามันดำ จิตพื้นเดิมมันก็ดำ (สำนวนของหลวงปู่อุดม) ท่านบอกว่ามันถึงฐานของมัน มีความสุขมากไม่มีอะไรจะมีความสุขเท่า มันมีความปีติอิ่มอกอิ่มใจมาก ท่านจึงเอาตรงนี้มาเป็นอารมณ์ และค้นหาเข้าไปในจิตต่อจนถึงที่สุดของใจ ท่านเล่าว่ามันมีปัญญามากมายหลายอย่างเกิดขึ้นมา ท่านบอกว่าท่านอดนอน อดอาหารเพื่อทำความเพียรภาวนา อยู่ 5 วัน 5 คืน ท่านบอกว่า อดนอนนี่ทุกข์ยิ่งกว่าอดอาหารอีก แต่เพราะว่ามีปีติอยู่ ท่านจึงสามารถทำได้ ภายหลังจาก 5 วันผ่านไป จิตของท่าน ก็เบาสบายได้กำลังใจ และกำลังกายยังแข็งแรงดีอยู่ เวลาธรรมเกิดขึ้นมา 100% ท่านนั่งสมาธิไปได้จนถึงแจ้งเลย(เช้าเลย) การปฏิบัติของท่านในเวลา 6 โมงเย็น จนถึง 5 ทุ่ม ท่านมักจะเดินจงกรม และในเวลา 5 ทุ่มขึ้นไป ท่านจะนั่งสมาธิภาวนาไปเรื่อยจนบางทีถึงสว่างก็มี ในคราวที่ใจของท่านรวมลงจนถึงสภาวะเดิมของจิต ท่านเล่าว่ามีความสุขมากๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนั้น เหมือนกับอยู่ตรงหน้า สามารถยื่นมือแทบจะจับได้ต่อหน้านี้เลยทีเดียว จิตมันไม่ท้อไม่ถอย กระจ่างหมดทุกอย่าง มันหาใจ แก้ใจตัวเองได้หมดทุกอย่าง ในเวลาฟังธรรมพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพียงนิดหน๋อยเท่านั้นจิตท่านก็สว่างโพรงเลย ท่านบอกว่าจิตท่านเห็นธรรมที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นท่านพำนักอาศัยอยู่กับ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโมนั่นเอง ท่านยังเล่าต่ออีกว่า หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านจะเป็นพระที่เทศตรงไปตรงมามาก จนในบางครั้งดูแล้วอาจจะไม่ไพเราะ แต่ท่านก็บอกว่า ผู้มีปัญญาก็ต้องเลือกฟังให้ถูกกับจิตของตนเอง อันไหนดีก็นำมาปฏิบัติให้ถูกกับจิตของตน ในยามที่ท่านเข้าไปนวดแขน นวดขาให้กับหลวงปู่ตื้อนั้น หลวงปู่ตื้อท่านจะเทศให้หลวงปู่อุดมฟัง หลวงปู่อุดมท่านเล่าว่าจับจิตจับใจมาก เลยทีเดียว ทำให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ของหลวงปู่ตื้อมากมายยิ่งขึ้นเลยทีเดียว องค์หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านขุดดิน ฟันต้นไม้ ต้นกล้วยได้ ซึ่งจริงๆแล้ว สำหรับพระต้องปรับเป็นอาบัติ ส่วนองค์หลวงปู่ตื้อนั้นท่านคงอยู่เหนือสมมุติไปแล้ว เพราะในคราหนึ่งหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านห้ามหลวงปู่ตื้อไม่ให้ทำเช่นนี้ แต่หลวงปู่ตื้อกลับหันมากล่าวกับหลวงปู่แหวนว่า ไม่ต้องมาสอนหรอกน่า เราพ้นแล้ว(จิตท่านหลุดพ้นไปแล้วนั่นเอง)
    sam_7285-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5734-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6180-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6181-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6182-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1590-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg


     
  18. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ ุ626 รูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่เสน ปัญญาธโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองเเซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หลวงปู่เสน เป็นศิษย์หลวงปู่บัว สิริปุณโญ วัดป่าหนองเเซง
    พระอาจารย์เสน ปญฺญาธโร เจ้าอาวาส
    สามเณร เสน ผู้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เคยได้รับการปรนนิบัติจากสามเณรน้อยรูปหนึ่งชื่อ สามเณรเสน สามเณรน้อยรูปนี้อยู่กับท่านมานาน แล้วได้จากหายไป จนสึกออกไปมีภรรยาและบุตร แม้เณรจะจากท่านไปเป็นเวลานานท่านก็ยังจำได้เป็นอย่างดี อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่บัว ได้พูดคุยกับหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชายของท่านว่า
    “เอ...เณรน้อยคนนั้น มันไปไหนหนอ มันเป็นไข้มาลาเรีย...เราพยายามรักษามันจนจะหายแล้วไม่พาหนีจากเราไป ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน”
    หลัง จากหลวงปู่ปรารภถึงสามเณรน้อยของท่านได้เพียง ๒ วันเท่านั้น สามเณรของท่านก็กลับมา แต่มาในฐานะพระภิกษุเสน ปญฺญาธโร บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว การปรารภของหลวงปู่ในครั้งนั้นเหมือนท่านได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
    ต่อ มาภายหลัง พระอาจารย์เสน ได้รับมอบภาระให้เป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัดป่าบ้านหนองแซง สืบต่อจากหลวงปู่ ได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน
    รูปเหมือนสร้างปี 2560 เนื้อทองทิพย์ สร้างเนื่องจากหลวงปู่อายุครบ 7 รอบ(84 พรรษา) สร้างโดยคณะศิษย์การบินไทย มาพร้องกล่องเดิม มีตอกโค๊ต ดอกจำปี สัญลักษณ์การบินไทยใต้องค์พระ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ
    ************บูชาที่ 265 บาทฟรีส่งems
    lส
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร

    วัดป่าหนองแซง
    ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    8%8B%E0%B8%AD-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร นามเดิมท่านชื่อ ประเสน ชัยพันธุ์ ต่อมาบิดาของหลวงปู่ได้เป็นทหารจึงเปลี่ยน นามสกุลเป็น จงประสม ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ถิ่นกำเนิด ณ บ้านหนองอ้อใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

    โยมบิดาชื่อ นายสี จงประสม และโยมมารดาชื่อ พร จงประสม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน (ชาย ๗ คน หญิง ๔ คน)

    B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%87-1012x1024.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง
    การศึกษา
    หลวงปู่เสน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งเป็นความรู้ชั้นสูงสุดที่มีในยุคนั้น ในสมัยนั้นถ้าเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็สามารถเข้ารับราชการบรรจุเป็นครูได้
    ในสมัยหลวงปู่เสน ไม่มีสมุดจดบันทึกวิชาความรู้ ใช้กระดานชนวน และดินสอพอง

    เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เคยได้รับการปรนนิบัติจากสามเณรน้อยรูปหนึ่งชื่อ สามเณรเสน สามเณรน้อยรูปนี้อยู่กับท่านมานาน แล้วได้จากหายไป จนสึกออกไปมีภรรยาและบุตร แม้เณรจะจากท่านไปเป็นเวลานานท่านก็ยังจำได้เป็นอย่างดี
    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่บัว ได้พูดคุยกับหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชายของท่านว่า

    “เอ.. เณรน้อยคนนั้น ไปไหนหนอ ได้เป็นไข้มาลาเรีย..เราพยายามรักษาเณรจวนจะหายแล้วหนีจากเราไป ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน”

    หลังจากหลวงปู่ปรารภถึงสามเณรน้อยของท่านได้เพียง ๒ วันเท่านั้น สามเณรของท่านก็กลับมา แต่มาในฐานะพระภิกษุเสน ปญฺญาธโร บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว การปรารภของหลวงปู่ในครั้งนั้นเหมือนท่านได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า

    ต่อมาภายหลัง พระอาจารย์เสน ได้รับมอบภาระให้เป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัดป่าบ้านหนองแซง สืบต่อจากหลวงปู่บัว ได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน

    8%8B%E0%B8%87-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    ผลงานของหลวงปู่เสน ปัญญาธโร
    ๑. ปลูกป่าติดต่อกันมาเป็นเวลา ๓๐ ปี
    ๒. จัดตั้งบ้านพักคนชรา ดูแลผู้สูงอายุด้วยวิถีพุทธ
    ๓. จัดทำแท่นมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพ
    ๔. จัดทำน้ำมันสมุนไพรรักษาโรค
    ๕. จัดสร้างโรงพยาบาลหลายแห่งในจังหวัดอุดรธานี
    ๖. จัดทำสระเก็บน้ำขนาดใหญ่เก็บกักน้ำไว้ใช้
    ๗. จัดสร้างถังประปาขนาดใหญ่ส่งน้ำให้ชุมชนหลายหมู่บ้านได้ใช้
    ๘. ช่วยเหลือดูแลรักษาผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
    ๙. อบรมสั่งสอนวิชาชีพงานช่างต่าง ๆ แก่ผู้ที่มีความสนใจ
    ๑๐. อบรมสั่งสอนศีลธรรมจริยธรรม สมาธิกรรมฐาน แก่บุคคลที่มีความสนใจ
    ๑๑. ผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืช
    ๑๒. ผลิตน้ำพริกปลาร้าบริจาคแก่ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม
    ๑๓. เมตตาช่วยเหลือปัจจัยสี่แก่ภิกษุสงฆ์ ประชาชน นักเรียน ผู้ที่ขาดแคลน
    ๑๔. บริจาคที่ดิน วัว ควาย แก่ชาวบ้าน
    ๑๕. บริจาคทองคำช่วยชาติ แก่โครงการช่วยชาติ
    ๑๖. จัดสร้างโรงเรียนหลายแห่งในจังหวัดอุดรธานี

    ระเบียบและข้อปฏิบัติ วัดป่าหนองแซง
    หลวงปู่ท่านเน้นความมีระเบียบวินัย พระเณรทุกรูปต้องทำตนเป็นผู้มีสัจจะ และข้อวัตรทุกเมื่อ

    ข้อวัตรกลางวัน พอรุ่งสว่างเป็นวันใหม่ พระเณรทุกรูปนำบริขารของตนที่เกี่ยวกับการฉัน ลงรวมบนศาลาโรงฉัน จัดให้ได้ระเบียบและทำสะอาดบนศาลา พอถึงเวลาที่เที่ยวภิกขาจารบิณฑบาต ต่างองค์ก็เตรียมนุ่งสบงจีวรซ้อนสังฆาฏิ ไปเที่ยวบิณฑบาตตามที่จัดไว้

    เมื่อกลับมาพร้อมเพรียงกันแล้ว จัดอาหารเสร็จ ก็เริ่มลงมือฉัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว ทำข้อวัตรของตนและช่วยกันทำข้อวัตรศาลาจนสะอาด เก็บเครื่องบริขารขึ้นกุฏิ ต่อจากนั้นลงสู่ทางจงกรม เดินจงกรมไปจนถึง ๕ ชั่วโมง ทำข้อวัตรสำหรับตน แล้วลงกวาดตาดทำความสะอาดบริเวณวัด และจัดหาน้ำฉัน ตลอดจนสรงน้ำเรียบร้อย เตรียมลงทำวัตรเย็น ทำสมาธิ ต่อประมาณ ๔ ชั่วโมง

    ปัจจุบัน หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อายุวัฒนะมงคล 87 ปี พรรษา 56

    8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%87-1.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%87-2-682x1024.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    sam_7049-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6777-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6778-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6779-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6780-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3774-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  20. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +929
    จองกริ่งคูณแสนล้านและเหรียญลพ.ประสิทธิ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...