มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,965
    ค่าพลัง:
    +6,562
    ขอจองรายการ597ครับ
     
  2. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 603 เหรียญ 100 ปีหลวงปู่จาม มหาปุญโญ พระมหาโพธิสัตว์โตวัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.มุกดาหาร หน้าเหรียญเป็นรูปนั่งเต็มองค์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล (ปรมารย์จารย์สายวัดป่าผู้ซี่งเป็นพระอาจารย์องค์เเรกเเละอุปฐากรับใช้ครับ เนื้อทองเเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ต จ หลังพระเจดีย์บู่ สร้างประมาณปี 2553 ลูกศิษย์ชาวจังหวัดมุกดาหาร สร้างถวาย โดยมีท่านผู้ว่าราชการสมัยนั้นเป็นประธาน มีพิธีพุทธาพิเเษกใหญ่มาก มีพระสงฆ์ทั้งสองฝั่งโขงปลุกเสกทั้งวันทั้งคืนจนรุ่งเช้า สวยๆ หายาก หลวงปู่จามเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล,หลวงปู่มั่น ภูริทัติโต ตั้งเเต่บวชเป็นเณรเหรียญใหม่ไม่เคยใช้******หมายเหตุ อดีตชาติหลวงปู่จาม ท่านเคยเกิดเป็นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช,พระนารายณ์มหาราช,พระนเรศวรมหาราช,พระปิยะมหาราชหรือ ร. 5 เป้นต้น
    cuyb0kppmtyfrwz-u-vbwzjva4tzxhijcfg9rue2wxjnrkzjvkxhoorcqmfafpwhvg-cs9eiodhw-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    >>>>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เกิดในสกุล ผิวขำ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2453 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร บิดา-มารดา ชื่อ นายกา และนางมะแง้ ผิวขำ ครอบครัวมีพี่น้องร่วมอุทรรวม 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3
    เมื่อวัยเยาว์ อายุได้ 6 ขวบ พ่อแม่พาไปกราบหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า ซึ่งได้มาจำพรรษาอยู่ใกล้บ้านที่ภูผากูด คำชะอี
    กระทั่งอายุได้ 16 ปี โยมพ่อแม่ได้พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จ.อุบลราชธานี ให้นุ่งขาวห่มขาวเป็นเวลา 9 เดือน
    ปีถัดมา เข้าพิธีบรรพชา อยู่รับใช้ หลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองขอน อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงพ่อลี ธัมมธโร, หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เป็นต้น
    แต่ผ่านไปได้เพียง 2 ปี จำต้องลาสิกขาออกมา เพื่อรักษาโรคเหน็บชา อันเนื่องมาแต่ตกบันไดกุฏิ และการประกอบความเพียรมากเกินไป เช่น นั่งภาวนาในน้ำ ถือไม่นอน และฉันน้อย เป็นต้น ทำให้ต้องหันกลับไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ค้าขาย
    เมื่ออายุได้ 27 ปี พ่อกา (โยมพ่อ) ได้บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก 6 ปี ก็มรณภาพ) ส่วนแม่มะแง้ (โยมแม่) ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก 36 ปี จนถึงแก่กรรม) ก่อนที่จะไปกราบไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่ออธิษฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา
    เมื่ออายุได้ 29 เต็มปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระเทพกวี (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังอุปสมบท ท่านออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ได้จำพรรษาสังกัดวัดเจดีย์หลวง ถึง 32 พรรษา โดยอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    อีกทั้ง ยังเคยออกธุดงค์หาประสบการณ์ในเขตภาคอีสาน เคยปฏิบัติธรรมร่วมกับเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทร ปราการ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าบ้านข่า จ.นครพนม เป็นต้น
    พ.ศ.2521 เดินธุดงค์กลับมาทางภาคอีสานและเดินธุดงค์มายังบ้านเกิด คือ บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี และจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
    ชาวบ้านและคณะศิษยานุศิษย์ นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาปักกลดที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม และพัฒนาให้เป็นที่พำนักนั่งวิปัสสนากรรมฐานเผยแผ่พระธรรมปรมัตถ์แผ่เมตตาให้แก่ชาวบ้านในละแวกนั้นตลอดจนปัจจุบัน
    ส่วนผลงานที่เป็นรูปธรรมอันทรงคุณค่านั้น หลวงปู่จามได้สร้างไว้เป็นที่ประจักษ์ชัดมากมาย อาทิ สร้างพระเจดีย์ทรงจุฬามณีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสร้างกุฏิเสาเดียว จำนวน 11 หลัง รวมทั้งสร้างศาลาการเปรียญ และหอฉันสำหรับไว้เทศนาญาติโยมในวันสำคัญต่างๆ
    ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2553 ชาวจังหวัดมุกดาหารพร้อมใจจัดทำโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนสีขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 39.99 เมตร องค์พระสูง 59.55 เมตร ความสูงจากเศียรพระ 84 เมตร ประดิษฐาน ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
    ซึ่งเป็นโอกาสเดียวกับที่หลวงปู่จาม มีอายุครบ 100 ปี หลวงปู่จามพร้อมด้วย พระธัมมธโร หรือ ครูบาแจ๋ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม เมตตาอนุญาตให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก 100 ปี หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระ เกียรติ
    >>>>หลวงปู่จามมรณภาพอย่างสงบด้วยโรคปอดติดเชื้อ สิริอายุ 104 พรรษา 75 ขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลมุกดาหาร เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 ม.ค. 2556>>>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********(........หายากเเล้วครับวัตถุมงคลของหลวงปู่ลูกศิษย์เก็บหมด) >*********** มาพร้อมกล่องเดิม>>>>>> บูชาที่ 455 บาทฟรีส่งems sam_8579-jpg.jpg sam_8584-jpg.jpg sam_8585-jpg.jpg sam_7609-jpg.jpg
     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 604 พระกริ่งสุวีโรรุ่น 1 เเละมีรุ่นเดียวหลวงปู่พวง สุวีโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าปูลู อ.หนองหาน จ.อุดรธานี หลวงปู่พวงท่านเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญานสิริ ,หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถั้ากลองเพล เป็นต้น สร้างปี 2544 เนื้อโลหะผสม,มีตอกโค๊ตตัวเลข 4770 .ใต้องค์พระ ,,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ**********บูชาที่ 485 บาทมาพร้อมกล่องเดิม
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่พวง สุวีโร (พระครูวีรธรรมานุยุต) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    -e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-3-712x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร (พระครูวีรธรรมานุยุต) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    หลวงปู่พวง สุวีโร มีนามเดิมว่า พวง สีทะเบียน เกิดวันจันทร์ ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะโรง ณ บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    บิดา-มารดา ชื่อ นายจุ่น สีทะเบียน และนางมา ขันตีพันธุวงศ์ มีพี่น้องทั้งหมด ๑๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘

    เรื่องราวในชีวิต เมื่อท่านอายุได้ ๑๖ ปี ได้ทำงานประมงบ้าง ทำงานต้มสุราบ้าง ไม่นานก็ได้ยินข่าวว่ามารดาป่วยหนักจึงลางานไปเยี่ยมมารดา ก่อนมารดาของท่านจะสิ้นลม ได้สั่งท่านว่า

    “บวชให้แม่นะ ถ้าลูกไม่บวชให้ แม่จะตายตาไม่หลับ”

    ท่านก็รับปาก แล้วมารดาก็สิ้นใจ ด้วยจิตศรัทธาอยากจะบวชอยู่แล้ว ในช่วงที่รอเวลาเหมาะที่จะบวชอยู่นั้น ท่านได้แสวงหาฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์อยู่เรื่อย ๆ เช่น ไปฟังธรรมะพระอาจารย์สิงห์ สหธัมโม , พระอาจารย์พร สุมโน , พระอาจารย์สีลา เทวมิตโต

    b9-e0-b8-aa-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-jpg.jpg
    พระครูวีรธรรมานุยุต (หลวงปู่พวง สุวีโร) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    เมื่อ ถึง พ.ศ.๒๔๙๐ ท่านได้นุ่งขาวห่มขาวอยู่กับพระอาจารย์สีลา เทวมิตโต อยู่ถึง ๒ ปี จึงได้บรรพชา เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓

    ในช่วงระยะนั้นท่านยังได้ฟังธรรมของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มาแวะเวียนธุดงค์อยู่แถวนั้นด้วย ท่านเล่าว่า ท่านเองได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย วันหนึ่งนั่งสมาธิเห็นโยมแม่ที่ตายแล้ว ได้เป็นอยู่อย่างอัตคัด ไม่มีผ้านุ่งผ้าห่ม ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย จึงอธิษฐานกับพระประธานว่า

    “ช่วงเช้าไปบิณฑบาต ขอให้มีคนมาถวายผ้า”

    ครั้นไปบิณฑบาตก็มีคนมาถวายผ้าขาวจริงๆ ท่านจึงนำผ้าขาวไปย้อมด้วยหินสีแดง แล้วนำไปซักตาก พอแห้งก็นำมาย้อมแล้วซักตากอีกรอบ จากนั้นก็นำไปพับถวายหลวงปู่ขาว กราบเรียนท่านว่า

    “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ บังสกุลแหน่ อุทิศให้แม่”

    หลวงปู่ขาว จึงชักผ้าบังสุกุลให้ คืนนั้นหลวงปู่พวง นั่งภาวนาเห็นโยมแม่ มีผ้านุ่งผ้าห่มผืนใหม่ แล้วยังมีผ้าอีกหลายผืนห้อยเต็มไปหมด

    จากนั้นหลวงปู่พวงจึงคิดว่าทำอย่างไร โยมแม่จึงมีที่อยู่ที่อาศัย หลายวันต่อมา มีโยมนิมนต์หลวงปู่ขาว กับพระที่วัดไปสวดมนต์ที่บ้าน หลวงปู่พวง จึงได้มีโอกาสตามไปด้วย ญาติโยมได้ถวายปัจจัย หลวงปู่ขาว จึงบอกกับพระสงฆ์ว่า อัฐบริขารเราก็มีอยู่พร้อมแล้ว ให้นำปัจจัยนี้ไปสร้างกุฏิ และถาน(ส้วม) ตามที่ท่านพวง อธิษฐานไว้ ครั้นเมื่อสร้างเสร็จ หลวงปู่พวง จึงได้น้อมถวายกุฏิ และถาน(ส้วม) แก่หลวงปู่ขาว อนาลโย

    จากนั้นตกกลางคืน หลวงปู่พวงได้นั่งสมาธิ มองหาแม่ ออกตามหาทั้งคืนก็ไม่เห็น ผ่านไป ๔ วัน จึงไปกราบเรียนหลวงปู่ขาว

    “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ หาแม่บ่เห็น”

    หลวงปู่ขาว บอกให้ “ขึ้นสูงๆ”

    หลวงปู่พวง จึงนั่งสมาธิหาตามยอดไม้ก็ไม่เห็น หรือจะเป็นที่สวรรค์กันแน่ ท่านจึงรวบรวมพลังจิตทั้งหมดขึ้นไปดู จึงเห็นวิมานของโยมแม่บนสวรรค์ เห็นร่างกายที่เป็นทิพย์ของโยมแม่ จึงสบายใจขึ้นว่า โยมแม่พ้นทุกข์แล้ว ก็เพราะด้วยบารมีธรรมของของพระผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ หากเราได้ถวายทานแก่พระภิกษุ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว อานิสงส์ย่อมส่งผลไปถึงญาติของเราแม้นอยู่ปรโลก ก็สามารถให้พ้นทุกข์ พ้นโทษภัยได้ อย่างองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านจึงถือว่าเป็นเนื้อนาบุญเอกของโลก

    ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาพาธหนัก พำนัก ณ สำนักป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร คณะศิษย์ได้อาราธนา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ขึ้นแคร่เพื่อหามท่านไปละสังขารที่ตัวเมืองสกลนคร สามเณรพวงได้ช่วยหามหลวงปู่มั่นไปจนถึงวัดป่ากลางโนนภู่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร และติดตามคณะนำหลวงปู่มั่นไปถึงวัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร และหลวงปู่มั่นก็มรณภาพ ณ ที่นั้น

    สามเณรพวงจึงได้อยู่ช่วยงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่นจนแล้วเสร็จและ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๕.๔๐ น. ณ อุทกุกเขปสีมากลางน้ำหนองแวง อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม (พุฒ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    -e0-b9-88-e0-b8-9e-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-aa-e0-b8-b8-e0-b8-a7-e0-b8-b5-e0-b9-82-e0-b8-a3-3-jpg.jpg
    แถวยืนจากซ้าย :
    หลวงปู่พวง สุวีโร, หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    และหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
    แถวนั่งจากซ้าย :
    หลวงปู่คำพอง ติสฺโส, หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป,
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ และหลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ออกปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ได้ออกธุดงค์กรรมฐานไปในเขตหลายจังหวัด ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือ และได้รับการอบรมกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ , หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ , หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต , หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น และได้มาก่อตั้งวัดป่าปูลูสันติวัฒนา ที่บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    -e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-2-712x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    aa-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-768x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    หลวงปู่พวง สุวีโร มีสหธรรมมิกที่เคยร่วมปฏิบัติธรรมด้วยกัน หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ , หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร , หลวงปู่ท่อน ญาณธโร , หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม เป็นต้น

    หลวงปู่พวง สุวีโร ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง และดำเนินปฏิปทาสืบทอดมาจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กระจายไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ ด้วยน้ำเสียงและสำนวนการเทศนาที่ไพเราะน่าฟังของท่านเป็นเหตูให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและองค์ท่านเป็นจำนวนมาก

    หลวงปู่พวง สุวีโร ท่านได้ถึงแก่มรณภาพในขณะกำลังนั่งภาวนา เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๕๐ น. ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ

    b9-e0-b9-88-e0-b8-9e-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-aa-e0-b8-b8-e0-b8-a7-e0-b8-b5-e0-b9-82-e0-b8-a3-jpg.jpg
    หีบศพของท่าน หลวงปู่พวง สุวีโร
    a-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-1024x1024-jpg.jpg
    เกศา ของท่าน หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒน SAM_8674.JPG SAM_8676.JPG SAM_8677.JPG SAM_8681.JPG SAM_7793.JPG
     
  5. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,965
    ค่าพลัง:
    +6,562
    ขอจองครับ
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 605 พระกริ่งมงคลประกาศิตหลวงปู่ขันตี ญาณวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าม่วงไข่ อ.ภูเรือ จ.เลย หลวงปู่ขันตีเป็นสิายืหลวงปู่ขอบ ฐานสโม,หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นต้น เนื้ออัลปาก้า มีตอกโค๊ต ใบโพธิ์ ด้านหลังองค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *******บูชาที่ 495 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฎิปทาหลวงพ่อขันตี ญาณวโร

    49fc4d3905845c73ea8e8aeb8973e831-1.jpg
    หลวงพ่อขันตี ญาณวโร
    วัดป่าม่วงไข่ ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย

    หลวงพ่อขันตี เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2486 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม เป็นชาวขอนแก่นโดยกำเนิด ปัจจุบัน สิริอายุ 74 พรรษา 54 (เมื่อปี พ.ศ.2561) ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าม่วงไข่
    หลวงพ่อขันตี เกิด ณ บ้านเลขที่ 136 หมู่ 8 ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ของแก่น(ปัจจุบันคือ บ้านหนองบัว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น) โยมบิดาชื่อ นายชัย แสนคำ โยมมารดาชื่อ นางแพง แสนคำ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาทั้งหมด 7 คน โดยหลวงพ่อขันตี ญาณวโร เป็นลูกคนโต หลวงพ่อทวี ปุญฺญปญฺโญ เป็นลูกคนเล็กสุด(ชื่อเดิมนายทวี แสนคำ)
    21578100512f10b.jpg ในวัยเด็กของหลวงพ่อขันตีนั้น ท่านเป็นคนขยันขันแข็น ช่วยงานพ่อแม่ทำไร่ ทำนาและดูแลน้องๆ แทนพ่อแม่อยู่เสมอๆ เป็นคนที่มีความอดทน อ่อนน้อม และหลวงพ่อท่านในวัยเด็กยังเป็นคนสนใจ ใฝ่ธรรมะ ชอบไหว้พระสวดมนต์อยู่เป็นประจำ หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า "สมัยตอนท่านเด็กๆท่านเป็นคนไม่ค่อยแข็งแรงนัก เจ็บป่วยออดๆแอดๆ อยู่เสมอบางทีก็เกือบถึงแก่ชีวิตหลายต่อหลายครั้ง โยมแม่ของหลวงพ่อ จึงได้ไปฝากให้หลวงพ่อขันตีเป็นลูกบุญธรรมหลวงปู่คำดี ปภาโส อาการเจ็บป่วยต่างๆก็ค่อยๆหายไป" เมื่อหลวงพ่อท่านเรียนจบชั้น ป.4 ท่านก็ขออนุญาตโยมพ่อโยมแม่เพื่อขอบวชสามเณร โยมพ่อแม่ก็เห็นดีด้วยและอนุญาตให้หลวงพ่อบวชเณรได้..

    552.jpg
    สามเณรขันตี
    หลวงพ่อขันตีท่านได้บวชเณรครั้งแรกเมื่ออายุ 12 ปี ในปี พ.ศ.2499 ณ วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีท่าน
    พระครูพิศาลสารคุณ เป็นผู้บรรพชาให้ในปีนั้น เมื่อบวชเณรแล้วหลวงพ่อขันตีก็อยู่ดูแลอุปัฏฐาก ท่านพระครูเจ้าอาวาสอย่างใกล้ชิตและมีความขยันอดทนหมั่นเพียรในการศึกษาธรรมะ ท่านพระครูพิศาลสารคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ จึงได้เรียกชื่อหลวงพ่อขันตีใหม่ จากเดิมชื่อตรีเฉยๆ เรียกใหม่ว่า "ขันตี" หรือ ขันติ แปลว่าผู้มีความอดทน


    u97z5_1456467352.jpg
    พระอุโบสถวัดศรีจันทร์

    ท่านได้บวชเณรมาเรื่อยๆ จนท่านมีอายุครบบวชพระ อายุ 20 ปี ท่านจึงได้รับการอุปสมทบในวันอังคาร ขึ้น8ค่ำ ปีมะโรง โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.2507 ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น มีท่านพระ ครูพิศาลสารคุณเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีธรรมาลังการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระมหาศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า "ญาณวโร" แปลว่า ผู้ปรีชาหยังรู้สูง
    lp-boonpeng.jpg
    หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก

    ในพรรษาที่ 1 ปี พ.ศ.2507 ในปีแรกนี้หลวงพ่อขันตีท่านได้ไปอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก ณ วัดป่าคีรีวัน จ.ขอนแก่น ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่บุญเพ็ง ท่านจะสอนพระเณรในพรรษานั้น ในเรื่องการพิจารณาการ มีสติเป็นไปในกาย ขอวัตรปฎิบัติต่างๆ ในส่วนของหลวงพ่อขันตีนั้น ท่านก็เป็นพระบวชใหม่หลวงปู่บุญเพ็งท่านจะเน้นสอนการภาวนา และ ข้อวัตรต่างๆในเบื้องต้นกับหลวงพ่อขันตี



    268_1263214635.jpg_177.jpg
    หลวงปู่คำดี ปภาโส

    ครั้งออกพรรษา ท่านก็ได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดถ้ำผาปู่ อ.เมือง จ.เลย ในพรรษาที่ 2 ปี พ.ศ. 2508 เพื่อมาฝึกหัดการภาวนา โดยท่านกล่าวว่า "ท่านกับหลวงปู่คำดี เป็นคนบ้านเดียวกัน(คนจังหวัดขอนแก่น) จึงมีความคุ้นเคยกับท่านมาก่อน จึงได้มาอยู่จำพรรษากับท่านที่จังหวัดเลยเพื่อมาฝึกอบรมณ์ภาวนา" หลวงปู่คำดี ปภาโส ท่านก็ให้ความเมตตาหลวงพ่อขันตี โดยสอบถามหลวงพ่อขันตีครั้งมาอยู่จำพรรษาวัดถ้ำผาปู่ครั้งแรกว่า "ท่านใช่อะไรภาวนา" และสอบถามถึงเรื่องจริตต่างๆ ครั้งหลวงพ่อขันตีก็กราบเรียนหลวงปู่คำดีตามความรู้ ความเข้าใจแล้ว หลวงปู่คำดีก็บอกสอนเกี่ยวกับจริตภาวนา แจกแจงความเป็นมาและความเหมาะสมของจริตพร้อมอธิบายหลักการภาวนาให้หลวงพ่อขันตีฟังอย่างละเอียดลึกซึ้งจนเข้าใจ

    ในปีดังกล่าวที่ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่ มีพระเณรทั้งหมด 40 รูป หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า"ในปีนั้นจิตใจท่านฟุ้งซ่าน วุ้นวายเป็นอย่างมาก" ซึ่งหลวงปู่คำดีท่านก็ทราบดี ท่านจึงแนะนำให้หลวงพ่อขันตีมีความอดทน ปรารบให้เร่งความเพียรมากยิ่งขึ้น ให้หลีกเร้นจากหมู่คณะ ให้หาที่สงบภาวนาให้มาก ให้ละความกังวนต่างๆ กลับมาตั้งสติตั้งใจภาวนาเร่งให้เกิดความสงบ..."

    จนในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ.2509 หลวงปู่คำดี จึงพาหลวงพ่อขันตีไปจำพรรษา ณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี กับ หลวงปู่บัว สิริปุณโณ ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น เมื่อไปถึงที่วัดหลวงปู่บัวท่านก็ให้โอวาทธรรมว่า"เรื่องจิตใจที่หลอกลวงตลอดเวลานั้น เป็นเพราะการ
    lp-bua.jpg
    หลวงปู่บัว สิริปุณโณ
    ขาดสติ ขาดปัญญา จึงกลายเป็นตัวกิเลสทำให้เกิดทุกข์ หรือพาไปหาความทุกข์ไปที่ไหนถ้าใจไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ความศรัทธาความเชื่อความ เลื่อมใสในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยังไม่มีหลักสรณะทางจิตใจ หากมีแต่ปล่อยจิต ปล่อยใจไปตามสัญญาแห่งอามรณ์ทั้งวัน ทั้งคืนไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีแต่ความทุกข์ร้อนเป็นไฟ เพราะใจได้ถูกแผดเผาด้วย ราคะ โทสะ โมหะ ดังนั้นควรที่จะมีสติระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดไป จะมานั่งมานอนรอความตาย ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ จะต้องหมั่นภาวนาศึกษา ให้จิตให้ใจมีที่พึ่ง ไม่ใช่ปล่อยเวลาให้เสียไปวันๆ"
    เป็นโอวาทสำคัญที่หลวงปู่บัว ท่านอบรมณ์สั่งสอนหลวงพ่อขันตี ในพรรษที่มาจำที่วัดป่าหนองแซงนี้

    ครั้งพอออกพรรษาในปี 2509 นั้นหลวงปู่คำดีท่านก็กลับไปอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ โดยหลวงพ่อขันตีกราบเรียนขออนุญาตจากหลวงปู่คำดี ไม่กลับไปวัดถ้ำผาปู่ด้วย แต่จะอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่บัวนี้ก่อนสักระยะหนึ่ง หลวงปู่คำดีท่านก็เมตตาอนุญาต ในระหว่างที่อยู่วัดป่าหนองแซงนี้ หลวงพ่อขันตีท่านก็อยากเที่ยวไปกราบครูบาอาจารย์ในที่อื่นๆ หลวงปู่บัวท่านก็ทราบว่า หลวงพ่อขันตีท่านตอนนี้ มีจิตใจที่ยังวุ้นวายอยู่ท่านจึงให้โอวาท หลวงพ่อขันตีเตือนใจว่า"การที่เราจะเที่ยวไปหาครูบาอาจารย์ทั้งหลายนั้น ต้องพิจารณาดูว่าไปด้วยเหตุผลอันใด การปฏิบัติทำความเพียรนั้นร่วนเกิดแต่ตัวเราทั้งสิ้น ครูบาอาจารย์ท่านจะปฎิบัติแทนเราไม่ได้ การบำเพ็ญเพียรภาวนา เราต้องทำด้วยตัวเราเองเท่านั้นผลจึงจะเกิดกับตัวเรา ครูบาอาจารย์จะมาทำแทนเราได้หรือ ท่านเป็นแต่เพียงผู้บอก ผู้สอนเราเท่านั้น" ท่านจึงกลับมาพิจารณาในคำสอนเตือนสติของหลวงปู่บัว จึงทำให้ท่านมีกำลังใจใน ความพากความเพียรเพิ่มมากขึ้น ทั้งแล้วก็ทำให้จิตใจท่านสงบลงมาก ท่านจึงอยู่ภาวนากับหลวงปู่บัว ที่วัดหนองแซงนี้อีก 4 พรรษา รวมเป็น 5 พรรษากับการอยู่ปฎิบัติที่นี้...

    ต่อมาในพรรษาที่ 13 ปี พ.ศ. 2519 ท่านได้จาริกธุดงค์ไปจำพรรษา
    2.png
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    ปรนนิบัติ และอยู่ปฎิบัติ กับ
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ณ วัดป่าสานตม อ.ภูเรือ จ.เลย โดยหลวงพ่อขันตีท่านได้มีโอกาสอยู่อุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ และได้รับอุบายธรรมกับหลวงปู่ชอบ เพื่อนำไปปฎิบัติ ซึ่งในช่วงนี้ เป็นช่วงที่หลวงปู่ชอบ ท่านมาสร้างวัดใหม่ชื่อว่าวัดป่าสานตม หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า"ในช่วงนี้ลำบากมาก เพราะที่นี้อากาศหนาวมาก หลวงปู่ชอบท่านก็ไม่ให้พระที่มาอยู่ด้วยก่อไฟผิง เพราะจะมีแต่มาสุมหัว พูดคุยกันในเรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่หลวงปู่ชอบจะให้พระเดินจงกรมแทน เพื่อเป็นการกระตุ้นธาตุไฟให้เกิดความอบอุ้นภายใน"

    ในพรรษาที่ 14-15 ประมาณปี พ.ศ. 2520-2521 ท่านได้ธุดงค์ไปจำ
    1e68337c4ca9d191dd06e19d888992b5.jpg
    พรรษา ณ วัดป่าแม่ริน(ห้วยน้ำริม) อ.แม่ริมจ.เชียงใหม่ และที่ อ.ปาย แม่ฮ่องสอน สถานที่แห่งนี้ทำให้จิตใจหลวงพ่อขันตี ได้มีโอกาสรละว่างความโกรธความพยาบาทลงได้ เพราะได้ตั้งใจทำความเพียรทั้งวันทั้งคืน ทำให้จิตสงบทำให้ได้เห็นอานิสงค์ ว่าคนที่ดุด่าว่ากล่าวตนล้วนแต่เป็นผู้มีพระคุณทั้งนั้น หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า"อยุ่ปฎิบัติที่นี้ ท่านก็ได้นำคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่คำดีมา พิจารณาว่าหากใจยินดีในสุข ก็ต้องเป็นทุกข์ ทุกข์นี้ก็มีคุณมากเพราะจะทำให้เราเห็นโทษเห็นภัย และจะได้ตั้งใจให้ออกจากทุกข์ เร่งการบำเพ็ญให้มากเพื่อจะได้หนีจากทุกข์ เพราะถ้ามีแต่สุขจะไม่เห็นโทษแห่งทุกข์ที่มีอยู่เลย จะประมาทมัวเมาในชีวิต ไม่ตั้งใจบำเพ็ญภาวนา ก็ต้องตกเป็นธาตุของกิเลสตลอด แล้วก็ตายโดยไม่พบแสงสว่าง ตายโดยไม่ได้มรรค ไม่ได้ผลอะไรเพราะใจนั้นมืดบอด อยู่กับวัตถุข้าวของ เงินทอง ที่ไม่มีแก่นสารอะไร" นี้คือคำสอนของหลวงปู่คำดีที่สอนหลวงพ่อขันตี ให้ภาวนาตั้วใจบำเพ็ญเพียร อย่าอยากได้โน่น ได้นี้ ให้ตั้งใจปฎิบัติบูชาคุณพระพุทธเจ้า ไม่ต้องส่งจิตส่งใจออกไปภายนอก ทั้งคดีทั้งอนาคต ให้กำหนดรู้ปัจจุบันภายในจิตเท่านั้น วันเวลาล้วงไปล้วงไปบัดนี้เราทำอะไรอยู่ ถ้ามีสติธรรมก็จะเกิด ละทุกข์ได้ ให้ตั้งใจปฎิบัติตามคำสอน ไม่ใช่เอาแต่หลับนอนเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ สิ่งที่หน้ากลัวที่สุดคือกิเลสภายในใจเรานี้เอง...



    135-U1511924-635025692578317235-1.jpg
    หลวงปู่ขาว อนาลโย


    พรรษาที่ 16 ประมาณ พ.ศ.2522 หลวงพ่อขันตี ท่านก็ได้จาริธุดงค์ไปพักจำพรรษา ณ วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี กับหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นเวลา 1 พรรษา ในหว่างอยู่จำพรรษากับหลวงปู่ขาวนี้ หลวงปู่ขาวท่านสอนหลวงพ่อขันตี ให้บำเพ็ญเพียร โดยการตั้งสัจจะ รักษาสัจจะ ในการบำเพ็ญภาวนา

    ช่วงพรรษาที่ 17 พ.ศ.2523 ท่านได้กลับไปจำพรรษาที่จังหวัดเลยอีกครั้ง ในช่วงพรรษาที่ 18 ราวปี 2524 ได้ธุดงค์ไปจำพรรษา ณ วัดอโศการาม จ.สมุทปราการ พอพรรษา 19-23 ใน พ.ศ.2525-2529 ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดห้วยเดื่อ อ.วังสะพุง จ.เลย ในช่วงพรรษาที่ 24 ท่านได้มาจำพรรษาวัดป่าบ้านบง อ.ภูเรือ จ.เลย ในปี พ.ศ.2530

    ช่วงพรรษาที่ 25-34 พ.ศ.2531-2540 ท่านก็ได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าห้วยเดื่อ อ.วังสะพุง จ.เลย(วัดป่าสันติธรรม) ซึ่งในช่วง 10 ปีนี้ ท่านได้มีโอกาสแวะเวียนไปดูแล ปฎิบัติกับหลวงปู่ชอบ ที่วัดป่าโคมน อยู่เป็นประจำ จนถึงปี 2538 หลวงปู่ชอบท่านก็ละสังขาร ซึ่งหลวงพ่อขันตี ท่านก็อยู่ช่วยงานตั้งแต่แรก จนงานพระราชทานเพลิงแล้วเสร็จ


    222.jpg
    หลวงปู่ไชย สัญตุฏฐิโก
    ในปี 2529 หลวงปู่ไชย สัญตุฏฐิโก วัดป่าห้วยเดื่อ โยมบิดาของหลวงพ่อขันตี ญาณวโร(ที่มาบวช) ก็ละสังขารมรณะภาพ เมื่ออายุได้ 88 ปี 29 พรรษา ทำให้ท่านปรงอนิจจังการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คนเราเกิดมาไม่มีอะไรมาด้วย ไปก็ไม่มีอะไรไปด้วย ทั้งหลายทั้งมวลเป็นอนิจจังจึงทำให้หลวงพ่อขันตี ออกภาวนาเร่งความเพียรเพิ่มมาขึ้น หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า "เพราะได้พิจารณาแล้ว อายุย้อมจะมีแต่ผ่านพ้นและหมดไป ไม่มีอะไรที่จะยังยืนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีแต่เกิดมาแก่ เกิดมาเจ็บ เกิดมาตายด้วยกันหมดทั้งโลก ร่างกายก็เต็มไปด้วยของที่ไม่สะอาดมีประการต่างๆไม่ว่าจะ ผม ขน เล็บ ฟันหนังเนื้อ ที่มีเต็มอยู่ภายใน ไม่มีอะไรที่จะอยู่คงทนอยู่ได้ มีแต่เสือมโทรม ลงไปทุกขณะลมหายใจ ถ้าหมดลมปราณเมื่อใดก็ไม่มีอะไรเหลือ บางคนตอนมีชีวิตอยู่อวัยวะบางส่วนยังต้องเสียไป บางคนเป็นเบาหวาน ต้องตัดขา ตัดแขนไปก็มี หรือประสบอุบัติเหตุต้องสูญเสียอวัยวะบางแห่งไปก็มี แม้เรารักเราหวงแหนมากขนาดไหน ก็ไม่อาจรักษาคงทนอยู่กับเราได้ตลอดไป ควรเร่งความเพียรให้มาก อย่าไปวนเวียนเพียรเป็นคนมักมาก ความเสียใจจะตามมาในภายหลัง...."

    image1158_4.jpg
    พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ชอบ วัดป่าม่วงไข่


    ปัจจุบันหลวงพ่อขันตี ญาณวโร มาจำพรรษา ณ วัดป่าม่วงไข่ ตั้งแต่ ปี 2545 จวบจนปัจจุบัน ซึ่งที่วัดป่าม่วงไข่แห่งนี้ ท่านเคยมาอยู่พักภาวนาก่อนแล้วสมัยหลวงปู่ชอบ และหลวงปู่ชอบ ท่านก็ได้สร้างไว้มาก่อน...

    **ประสบการเที่ยวจาริกธุดงค์อยู่กับครูบาอาจารย์**

    หลวงพ่อขันตีในระหว่างที่ท่านเที่ยวธุดงค์อยู่นั้น ท่านกล่าวว่า ท่านเคยไปอยู่ปฎิบัติกับครูบาอาจารย์หลายองค์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทุกองค์ต่างให้ความเมตตาสั่งสอนท่าน ทำให้ท่านมีกำลังใจ แม้ว่าจะธุดงค์ลำบากยากเข็นขนาดไหน ท่านก็อด ก็ทน เอาชีวิตเข้าแลกธรรม บูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยะสงฆ์....



    _temp_hash%253D2963d362c853eb5030e95b6dc23651af%2B%25282%2529.jpg
    หลวงพ่อขันตี หลวงปู่คำดี
    หลวงพ่อท่านเริ่มออกจาริธุดงค์หลังจากพรรษาได้ 10 กว่าๆแล้ว

    โดยทีแรกอยู่ถ้ำผาปู่กับหลวงปู่คำดี ปภาโส 2 พรรษา หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า"หลวงปู่คำดีท่าน จะสอนให้เราภาวนา แรกๆท่านอธิบายเรื่องจริตทางธรรมอย่างละเอียดให้ฟัง จนเข้าใจแล้วไปปฎิบัติ ท่านสอนให้รู้จักอด จักทน ก่อนเราจะออกจากท่านไป ท่านก็ให้โอวาทว่า"ขันตีเอ่ยไปไหนก็ให้อด ให้ทนเด้อ อย่าทำตัวดีตัวเด่น ให้รู้จักสำรวมมีสติเด้อ..""


    หลังพอออกพรรษาแล้วหลวงพ่อขันที่ ท่านก็ไปอยู่กับ หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี ไปอยู่กับหลวงปู่บัวถึง 5 พรรษา ตอนนนั้นท่านกล่าวว่า "เราตั้งหน้า ตั้งตาภาวนาเต็มที่ละตอน
    lp-bua.jpg
    หลวงปู่บัว สิริปุณโณ
    นั้นจิตก็ยังฟุ้งซานอยู่ เลยมาจับลมหายใจระลึกพุทโธๆ เหมือนลมหายใจมันจะขาดนี้ละ เลยตกใจกลัวตายว่างันเถอะ แต่จิตมันก็ยังฟุ้งซานอยู่นั้นละ เราเลยไปเล่าให้หลวงปู่บัวท่านฟัง หลวงปู่บัวท่านว่า"ทำไปเลย ถ้าภาวนาแล้วมันจะตาย ก็ให้มันตายไปอย่าไปกลัว ทำไปๆกิเลสมันหลอกว่าจะตายๆนะไปกลัวมันทำไม ไปๆไปทำอย่าพูดมาก" .
    ...จากนั้นท่านก็ตั้งสัจจะว่าจะภาวนาจนให้จิตสงบ จะตายก็ตายลองดูสิ ถึงตายก็ตายเพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จากนั้นมาท่านตั้งหน้าตั้งตา ภาวนาอย่างหนัก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นท่านก็มีสติจดจ่ออยุ่กับคำภาวนานั้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ลดละความเพียร จนในที่สุดจิตมันสงบลงได้ ท่านกล่าวว่า.."เราทำทั้งคืนละ ทั้งเดินจงกรมนั่งภาวนา ตัดสินใจตายเป็นตายลองดู สุดท้ายคืนนั้นทั้งคืน เดินจงกรมจิตก็สงบลงจริงๆ สบายเลยภาวนาจนถึงเช้า "...


    หลังจากอยู่กับหลวงปู่บัวจนได้หลักจิต หลักใจพอสมควรแล้ว
    _temp_hash%253D2963d362c853eb5030e95b6dc23651af%2B%25281%2529.jpg
    หลวงพ่อขันตี หลวงปู่ชอบ
    ท่านก็เที่ยวไปอยู่กับ หลวงปู่ชอบบ้าง หลวงปู่หลุยบ้าง หลวงปู่ขาวบ้าง โดยท่านกล่าวว่า ..
    "เราไปอยู่กับหลวงปู่ชอบที่สานตม ตอนนั้นท่านก็เดินไม่ได้แล้ว แต่ท่านก็ให้โอวาทคำสอนอยู่ตลอด กับหลวงปู่ชอบนี้ เราอยู่กับท่านที่วัดโคกมน 5 ปีนะ ท่านก็เล่าเรื่องนั้น เรื่องนี้ให้ฟังอยู่เรื่อยๆเป็นอุบายธรรมให้เรามีกำลังใจปฎิบัติ หลวงปู่ชอบนี้ท่านถือข้อวัตรมาก มักน้อย ขนาดสบงจีวรท่านนี้ ขาดชุนแล้วชุนอีกนะ ท่านใช้มาถึง 12 ปี คิดดูสิน่ะ..."


    ท่านเล่าต่อไปว่า ท่านไปอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย 1 พรรษา

    ตอนนั้นหลวงปู่ขาวท่านก็อาพาธหน่อยแล้วละ หลวงปู่ขาวเล่าให้ท่านฟังเกี่ยวกับหลวงปู่ชอบว่า "หลวงปู่ชอบนี้ สมัยไปเที่ยวธุดงค์ด้วยกัน
    14938113_640493329445761_9108023071072613412_n.jpg
    หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ
    ปาฏิหาริย์ท่านเยอะ มีครั้งหนึ่งไปธุดงค์หลงอยู่บนเขา ไม่ได้ฉันท์อาหารมาเป็นวันแล้ว เพราะไม่มีบ้านคน น้ำก็หมด หลวงปู่ขาวท่านว่า อดข้าวนี้พอทนได้ แต่ทดน้ำนี้ลำบาก สักพักหลวงปู่ชอบท่านก็ ลงไปแถวๆซอกหินท่านอธิษฐานจิตให้น้ำผุดนะ น้ำผุดขึ้นมาจริงๆละ ผุดขึ้นมาจากซอกหิน ก็เลยได้ตัก ได้กินกันเลย ล้างหน้า ล้างตาอาบดื่มกันจนก็หายกระหายแล้ว น้ำนั้นก็หายไป"
    หลวงพ่อขันตีท่านย้ำว่านี้เป็นเรื่องที่หลวงปู่ขาว เล่าให้ท่านฟังเอง


    ประมาณพรรษาได้ 10 กว่าๆหลวงพ่อขันตี ท่านเคยไปอยู่กับ
    _temp_hash%253D2963d362c853eb5030e95b6dc23651af%2B%25283%2529.jpg
    หลวงพ่อขันตี หลวงปู่หลุย
    หลวงปู่หลุยที่ถ้ำผาบิ้ง อยู่กับหลวงปู่หลุยประมาณ 1 ปี ท่านว่า...
    "หลวงปู่หลุยนี้ท่านมักน้อยที่สุด ขนาดสบง จีวรท่านนี้ ท่านจะไปนำเก็บพวกเศษผ้าที่เขาไม่ใช่แล้วนั้นนะ ไปบังสกุลมาว่างันเถอะ เศษเล็ก เศษน้อยมา แล้วมาเย็บๆปะๆแล้วย้อมสีใส่ ตัดเป็นผ้าสบงจีวร จีวรท่านนี้ผืน ผืนหนึ่ง ท่านใช้เป็น 10 ปีขึ้นนะหลวงปู่หลุย นี้ล่ะ ท่านทำให้ลูกศิษย์ ลูกหาดูเป็นตัวอย่าง..."



    pbr0k9u0qJHH5fmlOaY-o.jpg
    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ SAM_8722.JPG SAM_8723.JPG SAM_8724.JPG SAM_8725.JPG SAM_8108.JPG
     
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 606 พระผงเนื้อว่านหลวงปู่ทวดรุ่นเเรก+เหรียญเมตตาธรรม คํ้าจุนโลกหลวงปู่ท่อน ญาณธโร พระอรหันต์เเห่งวัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่่ท่อนเป็นศิษย์คนโตหลวงปู่คำดี ปภาโส พระอรหันต์เเห่งวัดถํ้าผาปู่ พระผงสร้างปี 2543 มีตอกโค๊ตหมึกใต้องค์พระ รุ่นนี้หลวงปู่อฐิษฐานจิตให้ 1 ไตรมาส 3 เดือนครับ มาพร้อมกล่องเดิม ,ส่วนเหรียญสร้างปี 2551 มีตอกโค๊ตยันต์ นะบนผ้าสังฆาฏิ เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **********บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งemsสส
    200px-Por_ton.jpg
    เกิด 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2471
    มรณภาพ เสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 16.46 น.
    อายุ 89
    อุปสมบท 7 มิถุนายน พ.ศ. 2491
    พรรษา 69
    วัด วัดศรีอภัยวัน
    จังหวัด เลย
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    วุฒิ นักธรรมชั้นเอก
    ตำแหน่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน (จ.เลย) อดีตเจ้าคณะจังหวัดเลยธรรมยุต
    30px-Dharmacakra_flag_%28Thailand%29.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    พระราชญาณวิสุทธิโสภณ
    หรือ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย

    ประวัติ[แก้]
    ชาติกำเนิด[แก้]
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร ชื่อเดิมว่า ท่อน ประเสริฐพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2471 ณ บ้านหินขาว ต.สาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง บิดา-มารดาชื่อ นายแจ่ม และนางทา ประเสริฐพงศ์ มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 19 คน ท่านบุตรคนที่ 6

    การอุปสมบทและศึกษาธรรม[แก้]
    หลวงปู่ท่อน อุปสมบทมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2491 ณ วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระเทพบัณฑิต (มหาอินทร์ ถิรเสวี สินโพธิ์ ป.ธ.5) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูคัมภีรนิเทศเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ อุตฺตโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังการบวช ท่านได้เดินทางมาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงปู่คำดี ปภาโส ณ วัดป่าชัยวัน โดยหลวงปู่คำดีเป็นอาจารย์กัมมัฏฐาน คอยสอนให้ทำภาวนา นั่งสมาธิกัมมัฏฐาน เน้นเรื่องสติ สมาธิ และปัญญา ระยะเวลาผ่านไปนานพอสมควร ท่านได้ช่วยครูบาอาจารย์แบ่งเบาภาระในการสอนคนที่จะมาบวช ด้วยการสอนขานนาค เป็นต้น ครั้นถึงช่วงออกพรรษา ได้เป็นหัวหน้าออกเดินธุดงค์เข้าป่าเป็นกิจวัตรและได้ช่วยหลวงปู่คำดีสร้างวัดถ้ำผาปู่ จวบจนหลวงปู่คำดีมรณภาพ

    ครั้งหนึ่งท่านได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และได้รับโอวาทอันทรงคุณค่าอย่างหาที่เปรียบมิได้จากหลวงปู่มั่น “ให้เร่งทำความเพียร มิให้ประมาท ชีวิตนี้อยู่ได้ไม่นานก็ต้องตาย” หลวงปู่ท่อน ยังได้มีโอกาสไปกราบเยี่ยมครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต เป็นต้น

    300px-Porton2.jpg
    กุฎิที่พักรักษาอาการอาพาธและรับญาติโยมของ แก้][/paste:font]
    • พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดวัดศรีอภัยวัน
    • พ.ศ. 2510 เป็นเจ้าคณะตำบลเมือง เขต 2 (ธรรมยุต)
    • พ.ศ. 2526 เป็นเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน-ภูเรือ (ธรรมยุต)
    • พ.ศ. 2532 เป็นเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน-ปากชม (ธรรมยุต)
    • พ.ศ. 2550 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต)
    • พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธรรมยุต)
    สมณศักดิ์[แก้]
    • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูญาณธราภิรัต[1]
    • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณทีปาจารย์[2]
    • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ วิมลศาสนกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
    ปัจฉิมวัย
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร ท่านพักรักษาอาการอาพาธอยู่ที่ วัดป่ามณีกาญจน์ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย นนทบุรี

    มรณภาพ
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร ได้ละสังขารอย่างสงบ ในวันเสาร์ที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๔๖ น. ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพ

    SAM_8729.JPG SAM_8726.JPG SAM_8727.JPG SAM_8728.JPG SAM_8730.JPG SAM_8731.JPG SAM_7616.JPG
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 607 เหรียญกลม 78 ปี +พระราชทานเพลิงหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม พระอรหันต์เจ้าเเห่งวัดเหวลึก อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่ลีเป็นศิษย์หลวงปู่พรหม จีรปุญโญ พระอรหันต์วัดป่าประสิทธิธรรม(วัดบ้านดงเย็น) เหรียญ 78 ปีสร้างปี 2541 เนื้ออัลปาก้า ,ส่วนเหรียญพระราชทานเพลิง เนื้อทองเเดงรมดำ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********บูชาที่ 295 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม)

    วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม)
    ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    B9%82%E0%B8%A1-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81.jpg
    หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม
    วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม)
    ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ๏ อัตโนประวัติ
    พระครูฐิติธรรมญาณ หรือ “หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม” อดีตเจ้าอาวาสวัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีชมพู ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีชื่อเลื่องลือยิ่งในฐานะศูนย์รวมใจธรรม ใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตใต้ร่มกาสาวพัสตร์ แนะนำพร่ำสอนคณะศรัทธาญาติโยมผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ให้รู้จักบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา และตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์

    หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม ท่านมีนามเดิมว่า ลี แสนเลิศ เกิดเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก ณ บ้านบึงโนนอก ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    โยมบิดาชื่อ พ่อใหญ่เคน แสนเลิศ โยมมารดาชื่อ แม่ใหญ่ปึ้ง แสนเลิศ หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๓ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๑ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ โดยมีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑. โยมพี่ชาย (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)

    ๒. หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม (มรณภาพแล้ว)

    ๓. โยมน้องสาว นางบุญ แสนเลิศ (เสียชีวิตแล้ว)

    ๏ ภูมิลำเนาเดิม
    ภูมิลำเนาเดิมของโยมบิดาอยู่ที่บ้านแดง ตำบลหนองดินดำ อำเภอท่าวัดบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนโยมมารดานั้นเป็นคนบ้านดอนแคนน้ำ ตำบลหนองดินดำ อำเภอท่าวัดบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด อาชีพหลักของท่านทั้งสองคือการทำนา สำหรับโยมบิดาของหลวงปู่นั้น ยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพืชสมุนไพรต่างๆ ด้วย ท่านจึงทำหน้าที่เป็นหมอยารักษาชีวิตคนด้วยความเมตตาอีกทางหนึ่ง

    พ่อใหญ่เคน แสนเลิศ โยมบิดาของหลวงปู่ เดิมมีภรรยาคนแรกและมีบุตรด้วยกัน ๔ คน (ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว) หลังจากที่ภรรยาคนแรกเสียชีวิตลง โยมบิดาได้แต่งงานใหม่กับแม่ใหญ่ปึ้ง แสนเลิศ โยมมารดาของหลวงปู่ โดยท่านทั้งสองได้ใช้ชีวิตร่วมกันที่บ้านดอนแคนน้ำ จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ แม่น้ำชีหนุนขึ้นสูงจนเกิดน้ำท่วมใหญ่และโรคระบาดอย่างรุนแรง ทำให้ผู้คนล้มตายกันมากมาย

    โยมบิดาและโยมมารดาของหลวงปู่ จึงตัดสินใจอพยพย้ายถิ่นฐานที่อยู่มายังบ้านบึงโนนอก ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ร่วมกับชาวบ้านอีกประมาณ ๖๐ ครัวเรือน ด้วยได้ยินกิติศัพท์ว่า บ้านบึงโนนอกเป็นสถานที่อุดมสมบูรณ์มาก ผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า ในสมัยนั้นบ้านบึงโนนอกจะมีต้นโสน และต้นแซง ขึ้นเต็มบึง แต่ละต้นมีลำต้นโตเท่าแขน หลวงปู่เล่าว่า “ต้นใหญ่ขนาดคนตัวโตนั่งเล่นได้ ไม่ตก”

    บ้านบึงโนนอกในครั้งนั้นยังเป็นป่าดิบ เรื่อยมาตั้งแต่ดงผาลาด ดงบัง ต่อเนื่องจนถึงดงหม้อทอง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ทั้งช้างป่า เสือ เก้ง กวาง ละมั่ง หมูป่า ไก่ป่า หลวงปู่เล่าว่า “สมบูรณ์ขนาดปลาในบึง จับวันเดียวกินได้ทั้งอาทิตย์”

    ในช่วงอพยพย้ายถิ่นฐานที่อยู่จากบ้านดอนแคนน้ำ จังหวัดร้อยเอ็ด มาที่บ้านบึงโนนอก จังหวัดสกลนครนั้น โยมมารดาของหลวงปู่กำลังตั้งครรภ์ท่านอยู่ ด้วยเหตุนี้หลวงปู่จึงมักปรารภว่า “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด” ด้วยถือว่าท่านถือกำเนิดนับแต่โยมมารดาตั้งครรภ์

    ๏ ชีวิตปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น
    แม่ใหญ่ปึ้ง แสนเลิศ โยมมารดาของหลวงปู่นั้นเสียชีวิตในขณะที่หลวงปู่ยังเล็กอยู่มาก คือหลังจากคลอดน้องสาว (นางบุญ แสนเลิศ) ได้ไม่นาน ส่วนโยมพี่ชายของหลวงปู่ก็เช่นกัน เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก โดยในตอนนั้นบ้านบึงโนยังไม่มีป่าช้า ท่านเคยเล่าขำๆ ว่า พี่ชายของท่านตายจองป่าช้า โยมบิดาของหลวงปู่ได้แต่งงานใหม่อีกครั้งหนึ่งกับแม่หม้ายลูกติด ๑ คน ชื่อแม่หมุน มีลูกสาวด้วยกัน ๑ คน ชื่อ บัว

    ดังได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า พ่อใหญ่เคน แสนเลิศ โยมบิดาเป็นหมอยาสมุนไพรช่วยรักษาชีวิตคน จึงเป็นเหตุให้บางครั้งต้องจากบ้านไปเพื่อรักษาชีวิตคน นานอาทิตย์หนึ่งบ้าง ครึ่งเดือนบ้าง หนึ่งเดือนบ้าง หลวงปู่กับน้องสาว (นางบุญ แสนเลิศ) จึงถูกทอดทิ้งให้อยู่กับแม่เลี้ยง ท่านว่า “ครั้งหนึ่งเคยเกือบเป็นฆาตกร ฆ่าแม่เลี้ยงไปแล้ว เนื่องจากน้องสาวของท่านถูกแม่เลี้ยงรังแก แต่โชคดีที่ท่านมีสติระงับได้ทัน”

    เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรมในขณะที่หลวงปู่มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปีนั้น จึงนับว่าเป็นภาระหนักหนาสำหรับเด็กชายวัยนี้ ที่ต้องรับผิดชอบดูแลทุกอย่างในครอบครัว ทั้งเลี้ยงน้องที่ยังเล็กถึง ๓ คน ทั้งต้องเลี้ยงวัวควาย ทำไร่ไถนา ด้วยความยากลำบาก และต้องอยู่กับแม่หมุนผู้เป็นแม่เลี้ยง

    หลวงปู่เล่าว่า ท่านลำบากแม้กระทั่งการเรียน เรียนไปได้ ๑ ปี ที่โรงเรียนวัดบ้านโคกสี ก็ต้องหยุดการเรียนการสอน เนื่องจากครูผู้สอนเสียชีวิต มาได้เรียนอีกทีก็เมื่อบ้านบึงโนนอกได้ตั้งโรงเรียนวัดบ้านบึงโนนอก (โรงเรียนวัดศรีชมพู ในปัจจุบัน) ขึ้น ท่านจึงได้มีโอกาสเรียนต่อจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ อายุ ๑๕ ปี

    ๏ ชีวิตวัยหนุ่ม
    ขณะอายุได้ ๑๕-๑๖ ปี หลวงปู่มีความฉลาดเฉลียว อุปนิสัยอาจหาญ ร่าเริง พูดเก่ง และเป็นผู้นำในหมู่ พ่อใหญ่สุด สหายในวัยเด็กของหลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่จะเป็นผู้นำในทุกเรื่อง บางครั้งเวลาไปเลี้ยงควายคุยกัยแค่ ๒-๓ คน แต่สนุกสนานเฮฮาเหมือนคุยกัน ๙ คน ๑๐ คน เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นในหมู่วัวควาย หลวงปู่ก็จะนำวัวควายที่เกิดโรคระบาดนี้ ไปในที่ห่างไกลจากหมู่บ้าน ไม่ให้แพร่เชื้อ ไปติดตัวอื่นที่ยังไม่เป็น

    ในด้านอุปนิสัยผู้นำของหลวงปู่นั้น หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร แห่งวัดถ้ำประทุน ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้เคยกล่าวรับรองในหลายโอกาสว่า “หลวงปู่ลีท่านเก่ง เป็นผู้นำมาแต่น้อย เราแอบหลังท่าน ไม่กล้า โตมาด้วยกัน เล่นกันมา ไล่หลังกันมา เพราะเราเป็นรุ่นน้องหลวงปู่ลี ๒-๓ ปี”

    ช่วงอายุ ๑๘-๒๒ ปี ถ้าไม่ใช่ฤดูทำนา หลวงปู่มักจะพาหมู่ไปค้าขายไกลๆ ถึงร้อยเอ็ดบ้าง มหาสารคามบ้าง โดยใช้เกวียนเดินทาง ไปครั้งละ ๑ เดือนบ้าง๕ วันบ้าง แล้วแต่ระยะทางและสินค้าที่นำไป สินค้าที่หลวงปู่นำไปขายส่วนใหญ่มักจะเป็นจำพวก หวาย ปลาร้า และเข (เครื่องมือในการย้อมไหม) พ่อใหญ่สุดเล่าว่า ไปกับหลวงปู่แล้วสนุกมาก ไม่เบื่อเลย เพราะหลวงปู่จะเป็นผู้นำที่ดีมาก รักหมู่รักเพื่อน ไม่ทอดทิ้งและดูแลทุกคนเสมอกัน

    ๏ การอุปสมบท
    ล่วงเข้าสู่วัยหนุ่มฉกรรจ์อายุได้ ๒๓ ปี หลวงปู่มีความคิดที่จะแต่งงาน แต่หลวงปู่ธรรม เจ้าอาวาสวัดดอนชัยมงคล อำเภอบ้านหัน (อำเภอสว่างแดนดิน ในปัจจุบัน) จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของหลวงปู่ได้ห้ามเอาไว้ โดยบอกว่า “พ่อแม่ก็ล้มหายตายจากไปแล้ว ก็น่าจะบวชให้สักปีสองปีก่อน จึงค่อยลาสิกขามาแต่งงานก็ได้” ด้วยความกตัญญูหลวงปู่จึงตัดสินใจบวชเพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดาในปีนั้นนั่นเอง

    ในสมัยนั้น การบวชเป็นพระธรรมยุต จะต้องไปบวชที่วัดซึ่งมีพระอุปัชฌาย์เป็นพระธรรมยุตด้วยกัน และวัดที่อยู่ใกล้ที่สุดก็อยู่ไกลถึงวัดจอมศรี ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แต่เมื่อตัดสินใจเด็ดเดี่ยวแล้ว หลวงปู่ก็มิได้ย่อท้อแต่อย่างใด มุ่งมั่นเป็นผ้าขาวอยู่นานหลายเดือน จึงเดินตามรอยเท้าครูบาอาจารย์ จากบ้านบึงโน จังหวัดสกลนคร ไปยังวัดจอมศรี จังหวัดอุดรธานี เข้าสู่ชีวิตใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

    B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม
    วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม)
    ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๕ ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ พัทธสีมาวัดจอมศรี ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระครูพิทักษ์คณานุกร วัดจอมศรี จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ภา วัดจอมศรี จังหวัดอุดรธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระฮวด สุมโน วัดชัยมงคล ตำบลสว่าง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ฐิตธมฺโม” ซึ่งแปลว่า “ผู้ตั้งอยู่ในธรรม”

    ๏ ลำดับการจำพรรษา
    พรรษาที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๘๕)
    เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่ได้เดินทางกลับบ้านบึงโนนอก มาจำพรรษาแรกอยู่กับ หลวงปู่ชาดี วัดธรรมิการาม ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร หลวงปู่เล่าว่า พอครบพรรษาก็เตรียมเก็บกระเป๋า ตั้งใจไปกราบลาสิกขากับหลวงปู่ชาดี เพื่อไปสร้างครอบครัวตามความตั้งใจเดิม แต่หลวงปู่ชาดีได้พูดยับยั้งไว้ว่า “อย่าเพิ่งสึกเลย บวชไปก่อนอีกสัก ๕ พรรษา ค่อยสึก” หลวงปู่จึงว่า “ถ้าอย่างนั้นกระผมจะขอลาไปธุดงค์ก่อน” ความข้อนี้หลวงปู่ได้เคยขยายความว่า หลวงปู่ชาดีท่านใช้อุบายล่อหลอกไว้

    พรรษาที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๖)
    หลวงปู่ได้จำพรรษา ณ วัดผดุงธรรม บ้านดงเย็น ตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กับหลวงพ่อหรั่ง เนื่องจากเป็นช่วงที่หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ รับนิมนต์ชาวบ้านออกไปจำพรรษาในป่านอกวัดแต่ไม่ไกลกัน (ปัจจุบันบริเวณป่านอกวัดได้กลายเป็น “วัดประสิทธิธรรม” เขตต่อเนื่องกันกับวัดผดุงธรรม)

    30730-2.jpg
    หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
    หลวงปู่เล่าว่า “ต้องเดินข้ามดงเสือไปฟังธรรมหลวงปู่พรหม ทุกคืนตลอดพรรษา” พอออกพรรษาก็ธุดงค์ไปจังหวัดอุดรธานี กับเพื่อนพระด้วยกัน ตอนแรกหลวงปู่ตั้งใจจะไปเพียง ๓ วัน ก็จะกลับ แต่ในที่สุดก็ออกธุดงค์เรื่อยไปจนถึงจังหวัดร้อยเอ็ด (เพื่อนพระที่ไปด้วยกันในตอนแรกขอกลับก่อน) และที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่ได้พบ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย แห่งวัดเขาสุกิม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และได้ออกเที่ยวธุดงค์ด้วยกันหลายเดือน และหลายหนต่อมา แต่ไม่เคยได้จำพรรษาด้วยกัน หลวงปู่เล่าว่า เที่ยวธุดงค์ไปหลายที่หลายแห่ง รวมทั้งวัดท่าคันโธ แต่ก็ไม่ได้จำพรรษาที่นี่

    %B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%A3.jpg
    หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม
    พรรษาที่ ๓-๔ (พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๘)
    หลวงปู่จำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์เพ็ง พุทฺธธมฺโม ณ วัดป่าศรีไพรวัลย์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด พระอาจารย์เพ็งนี้เป็นพระลูกชายของ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ วัดราษฎรสงเคราะห์ (วัดป่าหนองแซง) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๙ หลวงปู่ได้เที่ยวธุดงค์ไปกับ หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล แห่งวัดป่าสันติกาวาส อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี เพื่อนสหมิกธรรมคู่บารมีของท่าน

    หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่บุญจันทร์นั้นเป็นคู่บารมีของท่าน เที่ยวป่าด้วยกันถึง ๓ ปี แล้วก็จากกันไปนาน มาพบกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงปู่บุญจันทร์ได้มาอยู่ที่อำเภอไชยวานแล้ว ไม่ไกลจากวัดเหวลึกมากนัก แต่ก็ไม่เคยพบกัน จนกระทั่งวันหนึ่ง หลวงปู่ลีนั่งรถมาทำธุระที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งหลวงปู่บุญจันทร์ก็นั่งอยู่ในรถคันเดียวกัน

    ท่านว่า เรามองหน้าท่าน จำได้คลับคล้ายคลับคลา แต่ไม่แน่ใจ คิดมาตลอดทางจนถึงอุดรธานี พอลงรถ ก็ตัดสินใจเข้าไปจับมือ แล้วถามว่า “หลวงปู่บุญจันทร์ใช่ไหม ?” เมื่อท่านตอบว่า “ใช่” นั่นแหละความหลังจึงคืนมา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาหลวงปู่ลีก็ไปมาหาสู่หลวงปู่บุญจันทร์มาตลอด จนกระทั่งหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ได้ละสังขารไปก่อน เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘

    %B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B5.jpg
    หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล เพื่อนสหธรรมิกของหลวงปู่ลี
    พรรษาที่ ๕-๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐)
    หลวงปู่เที่ยวธุดงค์มาจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ วัดประชานิยม ของท่านเจ้าคุณแดง หรือ พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต) แต่ก็ยังเทียวไปเทียวมาระหว่างวัดท่าคันโธอยู่ หลวงปู่เล่าว่า ที่กาฬสินธุ์เนื่องจากญาติโยมดี คือสนใจในพระพุทธศาสนา ท่านว่าภาวนาก็ดี ก้าวหน้าโดยลำดับดีมาก

    ในช่วงที่อยู่กับท่านเจ้าคุณแดง ท่านเคยถูกเจ้าคุณแดงดุเอาเหมือนกัน ท่านเล่าให้ฟังว่า พระที่อยู่ในวัด ๑๘ รูป ไม่มีใครกล้าขึ้นไปหาท่านเจ้าคุณแดง เวลาขุดหลุมลึกๆ แล้วใช้เสาสว่านขุด พองัดขึ้น หมุดเสาสว่านก็หัก พระทุกรูปกลัวท่านเจ้าคุณแดงจะดุ จึงไม่มีใครกล้าขึ้นไปบอกให้ท่านเจ้าคุณทราบ หลวงปู่ก็ได้พูดขึ้นว่า “คนจะกินคนหรือ” แล้วท่านก็ขึ้นไปกราบเรียนเรื่องหมุดเสาสว่านหัก ท่านเจ้าคุณก็ว่า “หักมันก็หักไป คนเรายังมีวันตาย” ท่านเจ้าคุณแดงพูดอย่างนี้ หลวงปู่จึงลงมาด้วยความสบายใจ

    นอกจากนี้ พ.ศ.๒๔๙๐ หลวงปู่ได้เริ่มเป็นครูพระปริยัติธรรม ณ วัดศรีชมพู เรื่อยมาจนท่านมรณภาพ

    พรรษาที่ ๗-๘ (พ.ศ.๒๔๙๑-๒๔๙๒)
    พอออกพรรษา หลวงปู่ก็คิดถึงบ้าน จึงกราบลาท่านเจ้าคุณแดงออกจากวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ เดินทางกลับบ้านบึงโนนอก ผ่านมาทางอำเภอธาตุพนม ระหว่างทางพบ พระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตฺโต (พระครูอุดมธรรมคุณ) และได้เดินทางกลับบ้านบึงโนนอกพร้อมกัน

    B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%95.jpg
    พระมหาทองสุก สุจิตฺโต วัดป่าสุทธาวาส
    สองพรรษานี้หลวงปู่อยู่ที่วัดธรรมิการาม เพื่อช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดบ้านเดิมของท่าน หลวงปู่ได้นำพาพระเณรชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิ และอื่นๆ จนเสร็จสมบูรณ์ หลวงปู่เล่าว่า ช่วงพรรษาที่ ๖ ต่อพรรษาที่ ๗ ท่านเคยคิดที่จะสึกเพราะมีโยมอยากได้หลวงปู่เป็นลูกบุญธรรม จะมอบทรัพย์สมบัติทั้งปวงให้ครอบครอง หลวงปู่ได้พิจารณาตามและเกิดความเบื่อหน่าย ท่านว่า “ของเหล่านี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าไปเอาของเขามา ก็จะเป็นการสร้างบาปสร้างกรรมให้ยืดเยื้อต่อไปอีก” คิดได้ดังนี้ จึงไม่คิดสึกออกไปอีกเลย

    พรรษาที่ ๙ (พ.ศ.๒๔๙๓)
    คณะศรัทธาญาติโยมได้นิมนต์หลวงปู่ให้อยู่จำพรรษาที่วัดศรีชมพู หลวงปู่รับนิมนต์และอยู่สร้างโบสถ์ที่วัดศรีชมพูจนแล้วเสร็จ ได้ฉลองโบสถ์ในพรรษานี้ด้วยกัน ต้นปี พ.ศ.๒๔๙๓ หลวงปู่ได้เดินทางไปร่วมงานประชุมเพลิงศพพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดป่าสุทธาวาส ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในฐานะลูกศิษย์คนหนึ่ง อัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ส่วนซี่โครง ๑ ชิ้นที่หลวงปู่ได้มานั้น ท่านได้นำไปประดิษฐานไว้บนยอดเศียรพระประธานวัดศรีชมพู ต่อมาหลวงปู่นึกสังหรณ์ใจจึงปีนขึ้นไปดู แต่ไม่พบ นึกสงสัยอยู่นานว่าหายไปได้อย่างไร เพราะไม่มีผู้ใดรู้ว่าหลวงปู่นำอัฐิธาตุท่านพระอาจารย์มั่นมาเก็บไว้ ณ ที่นี้ แต่พอนึกทบทวนดูจึงรู้ว่า เอาลูกไว้บนหัวพ่อ ท่านไม่ยอมอยู่จึงหนีไป

    B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%8F%E0%B9%82%E0%B8%90.jpg
    ภาพวาดสีน้ำมันภายในพระเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

    จากซ้าย :: หลวงปู่สุภาพ ธมฺมปญฺโญ วัดทุ่งสว่าง, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (วัดภูกระแต), พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม, หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม), พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล
    หลวงปู่เคยพูดว่า “การอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้นต้องระมัดระวังความคิดมากเป็นพิเศษ อย่าคิดนอกลู่นอกทาง เพราะท่านจะรู้เท่าทันหมด ต้องสำรวมกาย-วาจา-ใจ ไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์อื่น ใครๆ ก็ว่าหลวงปู่มั่นดุ ท่านดุก็เพราะคนผู้นั้นทำผิด ท่านดุก็เพื่อให้ผู้นั้นกลับตัว”

    หลวงปู่เคยเล่าให้ฟังถึงการอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นไว้สั้นๆ ว่า “เราคิดว่าเราไวแล้ว เรายังไวไม่เท่าเพื่อนเลย”

    ในพรรษานี้ หลวงปู่ได้สร้างอุโบสถวัดเจริญราษฎร์บำรุง บ้านมาย ตำบลมาย อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร

    พรรษาที่ ๑๐-๑๑ (พ.ศ.๒๔๙๔-๒๔๙๕)
    สองพรรษานี้หลวงปู่กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรีไพวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด อีกวาระหนึ่ง ช่วงในระหว่างพรรษา สหธรรมิกที่หลวงปู่ปรารภเสมอว่า เป็นคู่ทุกข์คู่ยากของหลวงปู่ ซึ่งได้ออกเที่ยวธุดงค์กับหลวงปู่ด้วย คือ พระอาจารย์อุดม ญาณรโต (พระครูอุดมศีลวัตร) แห่งวัดป่าสถิตธรรมวนาราม บ้านหนองผักแว่น ตำบลพรเจริญ อำเภอพรเจริญ จังหวัดหนองคาย

    %B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3.jpg
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต (พระครูอุดมศีลวัตร) วัดป่าสถิตธรรมวนาราม
    จากคำเล่าของหลวงปู่อุดม ท่านว่า หลวงปู่ลีมีอัธยาศัยช่างพูด ช่างเล่า เที่ยวธุดงค์จำพรรษาด้วยกัน ๖ พรรษาจนกลายเป็นศิษย์-พระอาจารย์กัน พระอาจารย์อุดมว่า “อาตมาเทิดทูนท่านมากน่ะ ปู่ลีท่านเป็นครูเป็นอาจารย์ ตีเสมอครูบาอาจารย์ไม่ดีน่ะ” ท่านว่ามีกิจกรรมร่วมกันมาตลอดจนตายจากกัน

    พรรษาที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๔๙๖)
    หลวงปู่เล่าว่า ก่อนเข้าพรรษาปีนี้ หลวงปู่อุดมมารับหลวงปู่ที่บ้านบึงโนนอก เพื่อจะไปธุดงค์ด้วยกัน ที่จังหวัดกาฬสินธุ์นั้น ฝนตกตลอด แม่น้ำชีไหลเชี่ยวกราก ต้องโยงสายลวดให้ผู้คนช่วยดึงเพื่อให้เรือแล่นไปตามสายลวด ไม่เช่นนั้นเรือจะข้ามฟากไปไม่ได้ ครั้นไปถึงวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนเข้าพรรษาแค่วันเดียว จึงเข้าไปขอนิสสัยจากท่านเจ้าคุณแดง เจ้าอาวาส มีพระเณรมาจำพรรษาทั้งสิ้นรวม ๙ รูป

    หลวงปู่อุดมเล่าว่า พรรษานี้สมภารไม่ค่อยจะเข้ากับหลวงปู่ลีท่านเท่าไรนัก เนื่องจากหลวงปู่ลีเทศน์เก่ง พูดคุยสนุก คณะศรัทธาญาติโยมจึงชอบสนทนาธรรมกับหลวงปู่มากกว่าหมู่ หลวงปู่อุดมเล่าว่า ท่านได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ลีมาก หลวงปู่ลีจะคอยแนะนำพร่ำสอนการงานทุกอย่าง ทำศาลา ทำกุฏิ ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ท่านสอนหมด เพราะติดตามท่านไม่ห่าง ท่านเล่าว่า หลวงปู่ลีเป็นผู้ละเอียดมากทั้งงานภายนอกงานภายใน ระหว่างพรรษานี้ได้ขุดบ่อน้ำ ๒ แห่ง แต่ใช้ไม่ได้เลย เพราะขุดลงไปก็พังหมด เนื่องจากเป็นดินทรายและน้ำก็เหม็นมาก ท่านต้องหาน้ำ หาบน้ำมาต้มน้ำให้หลวงปู่ลีสรงน้ำอาบตลอดพรรษา

    นอกจากนี้หลวงปู่อุดมยังเล่าให้ฟังว่า ความเมตตาที่ท่านได้รับจากหลวงปู่ลี จนประทับจิตประทับใจเป็นที่สุดก็คือ คำชี้แนะเรื่องข้ออรรถข้อธรรมและการภาวนา ท่านว่า หลวงปู่ลีไม่เคยปิดบังอำพราง แต่จะพูดเปิดเผยทุกอย่าง โดยเฉพาะเวลาค่ำๆ ที่อยู่เฉพาะกันเพียง ๒ องค์ บางครั้งปิติกับคำสอนจนสามารถปฏิบัติได้ถึงขนาด หลวงปู่อุดมเล่าว่า พรรษานี้เป็นพรรษาที่ปฏิบัติความดีมาก เร่งรัดความเพียรเป็นที่สุด แต่กิจการงานภายนอกก็ไม่ขาดน่ะ เรื่องนี้หลวงปู่ลีท่านเข้มงวดมาก ขาดไม่ได้เลยทั้งสองส่วน

    พรรษาที่ ๑๓ (พ.ศ.๒๔๙๗)
    ก่อนเข้าพรรษานี้ หลวงปู่และพระอาจารย์อุดม พร้อมด้วยคณะศรัทธาญาติโยมอีกประมาณ ๒๐ คน ได้เดินทางจากกุดเรือคำไปถึงดงหม้อทอง เพื่อกราบนมัสการเยี่ยม หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ ซึ่งท่านทั้งสองได้มาพักที่ดงหม้อทอง ครั้งที่ยังเป็นป่าสมบูรณ์ ไม่เห็นแดด ครึ้มตลอด มีแต่เสียงหริ่งเรไรร้อง มีโขลงช้าง ซึ่งเวลามาที คนก็วิ่งแตกตื่นขึ้นบนขอนไม้ใหญ่ ก็ไปเจอทากข้าอีก (ภาษาอีสานเรียกว่า ปลิงโคก) ก็วิ่งหนีกันจนผ้าผ่อนเปิด ไม่ได้สนใจกัน หลวงปู่อยู่บนก้อนหิน (พระลานหิน) เป็นลูกๆ คล้ายโบกี้รถไฟติดต่อกัน ต้องทำสะพานเชื่อมกันไว้ลูกสูงขึ้นไปต้องทำบันไดขึ้น เมื่อขึ้นไปแล้วก็ชักบันไดขึ้น ไม่ต้องกลัวเสือ ข้างบนมองลงมาเห็นช้าง เห็นเสือ แต่มันขึ้นไปกวนไม่ได้

    B8%A7%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%8F%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%90.jpg
    (ซ้าย) หลวงปู่ขาว อนาลโย (ขวา) พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    หลวงปู่ยังเล่าเพิ่มเติมถึงประวัติของดงหม้อทองอีกว่า เดิมมีน้ำตกลงมาจากที่สูง ลงมาเป็นอ่างน้ำ เป็นวังวน ถ้ามุดใต้น้ำเข้าไปจะพบถ้ำ (แอ่งน้ำอยู่หลังถ้ำ) แล้วจึงจะพบหม้อทองโบราณอยู่ภายในถ้ำ หลวงปู่เล่าว่า ที่ดงหม้อทองนี้ท่านไม่ได้อยู่จำพรษา เพียงแค่ไปกราบเยี่ยมครูบาอาจารย์ พักอยู่หลายวันจึงเดินทางกลับออกมา ถึง วัดกุดเรือคำ ตำบลกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ก่อนเข้าพรรษา ๗ วัน เป็นอันว่าพรรษานี้หลวงปู่กับหลวงปู่อุดมอยู่จำพรรษาที่ วัดกุดเรือคำของ ท่านพระครูอดุลสังฆกิจ (หลวงปู่มหาเถื่อน อุชุกโร) หลวงปู่ได้ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างกุฏิเจ้าอาวาส ที่วัดกุดเรือคำ นี้ ๑ หลัง จนแล้วเสร็จในพรรษานี้เช่นกัน

    %E0%B9%82%E0%B8%A3-%E0%B8%99.%E0%B8%98.%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%9B.%E0%B8%98.%E0%B9%95.jpg
    หลวงปู่พระครูอดุลสังฆกิจ (เถื่อน อุชุกโร) น.ธ.เอก ป.ธ.๕
    ณ วัดกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
    พรรษาที่ ๑๔-๑๖ (พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๐๐)
    ระหว่าง ๓ พรรษานี้ หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดศรีชมพู จังหวัดสกลนคร แต่จะไปมาระหว่างวัดศรีชมพู กับวัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น ตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวัดของ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ เพื่อกราบเยี่ยมสนทนาธรรมกับองค์หลวงปู่พรหม เป็นประจำมิได้ขาด แต่ไม่เคยอยู่จำพรรษากับท่าน

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงปู่สอบได้นักธรรมชั้นโท และในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

    ระยะเวลา ๒ ปีแรก คือ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๔๙๙ ศาลาข้างโบสถ์วัดศรีชมพูก็สร้างจนแล้วเสร็จในช่วงนี้เช่นกัน

    พรรษาที่ ๑๗-๒๑ (พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๐๕)
    หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมิการามบ้าง วัดศรีโพนสูง (วัดป่าบ้านถ่อน) บ้าง และมาจำพรรษาที่วัดศรีชมพู (วัดบ้านบึงโนนอก) ตามคำกราบนิมนต์ของญาติโยมบ้าง ในช่วงออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ท่านได้รับเจตนารมณ์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ เพื่อสร้างวัดศรีโพนสูง (วัดป่าบ้านถ่อน) ตำบลโพนสูง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ใช้เวลาดำเนินการ ๒ ปี จึงแล้วเสร็จ

    และในพรรษาที่ ๑๘ นี้เช่นกันที่สหธรรมิกของหลวงปู่คือ หลวงปู่อุดมได้ขอลาไปเที่ยวธุดงค์ หลังจากที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยากจำพรรษาด้วยกันมาถึง ๖ พรรษา

    พรรษาที่ ๒๒ (พ.ศ.๒๕๐๖)
    ปีนี้หลวงปู่ปลีกวิเวกจากหมู่ไปจำพรรษาที่วัดเนินเขาแก้ว ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ของ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท มูลเหตุแห่งการปลีกวิเวกในครั้งนี้ เป็นเพราะในระหว่างที่หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีชมพูนั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล) แห่งวัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประสงค์จะให้หลวงปู่เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่หลวงปู่ปฏิเสธ

    พ่อใหญ่สด (โยมอุปัฏฐาก) ได้กราบเรียนถามว่า เพราะเหตุใดหลวงปู่จึงปฏิเสธไม่รับตำแหน่งทั้งๆ ที่บ้านบึงโนยังไม่มีพระอุปัชฌาย์ ชาวบ้านจะบวชพระธรรมยุติลำบาก

    หลวงปู่ตอบว่า “บ้านพวกเจ้านี้หรือที่อยากจะได้พระอุปัชฌาย์ เห็นแต่ละคนไม่พากันเข้าวัดเลย แล้วจะอยากได้พระอุปัชฌาย์ไปทำไม ที่เรามาบวชนี้ก็เพราะอยากทำความเพียร ทำภาวนา สร้างบุญ สร้างกุศล ไม่ได้ต้องการเป็นพระเจ้าพระนาย มีตำแหน่งใหญ่โตให้ผู้คนรู้จัก”

    พ่อใหญ่สดเล่าว่า เจตนาข้อนี้ของหลวงปู่ได้แสดงให้เห็นแจ้งชัดกันอีกครั้ง เมื่อเจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดินมรณภาพลง คณะสงฆ์ประชุมกัน ๔-๕ ครั้ง ลงมติมอบตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอให้ท่าน แต่ท่านก็ไม่ยอมรับเช่นกัน ในที่สุดหลวงปู่จึงปลีกวิเวกหลบไปจำพรรษาที่จังหวัดจันทบุรี เป็นการยุติเรื่องทั้งมวล

    พรรษาที่ ๒๓-๒๔ (พ.ศ.๒๕๐๗-๒๕๐๘)
    หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีโพนสูง (วัดป่าบ้านถ่อน) ตำบลโพนสูง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เพื่อสอนธรรมศึกษา สำหรับเรื่องธรรมศึกษานี้เป็นที่ประจักษ์กันในหมู่พระเณรที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ว่า ท่านสนับสนุนให้พระเณรแตกฉานในทางธรรม เรียนกันตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี โท ถึงเอก ตามลำดับ นอกเหนือจากการปฏิบัติภาวนาอันเป็นหลักของใจ ด้วยเหตุนี้ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลวงปู่จึงรับเป็นพระธรรมทูต สายที่ ๕ นอกจากนี้ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านยังได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสว่าง เขต ๒ (ธรรมยุต)

    พรรษาที่ ๒๕ (พ.ศ.๒๕๐๙)
    ไม่แน่ชัดว่าหลวงปู่ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดเนินเขาแก้ว จังหวัดจันทบุรี อีกครั้ง หรือจำพรรษาที่วัดศรีชมพู จังหวัดสกลนคร อย่างไรก็ดีหลวงปู่ท่านเคยเล่าให้ญาติโยมฟังสนุกๆ ว่า ท่านหนีไปจำพรรษาและบิณฑบาตฉันแต่ทุเรียนอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙

    พรรษาที่ ๒๖-๓๑ (พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๕)
    ๖ พรรษานี้ หลวงปู่พำนักอยู่ประจำวัดศรีชมพูโดยตลอด ถ้าจะรับกิจนิมนต์ไปที่ใดก็เป็นระยะเวลาไม่นานนัก เนื่องด้วยหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ซึ่งหลวงปู่เคารพเทิดทูนนับถือเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์อยู่ในวัยชรามากแล้ว องค์หลวงปู่พรหมเองท่านก็ให้ความเมตตาไว้ให้หลวงปู่ลีดูแลรับผิดชอบในกิจการงานต่างๆ ของท่านสืบแทน ตราบถึงกิจการงานสุดท้ายนั้น คือ งานสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุอัฐิธาตุและเครื่องอัฐบริขารของท่าน (เจดีย์จิรปุญโญ)

    หลวงปู่เล่าว่า ท่านมอบกายถวายชีวิตเพื่อเป็นเครื่องสักการบูชาพ่อแม่ครูบาอาจารย์เป็นครั้งสุดท้าย หลวงปู่ในฐานะศิษย์รุ่นใหญ่ร่วมกับ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นประธานร่วมในงานประชุมเพลิงศพหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔

    B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%BA%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    (ซ้าย)หลวงปู่บุญ ชินวํโส (กลาง)พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    และ (ขวา) หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม (พระครูฐิติธรรมญาณ)
    ในงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในเจดีย์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
    ณ วัดประสิทธิธรรม ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
    ท่านว่า “งานศพพระกัมมัฏฐานไม่ควรต้องมีอะไรมาก ไม่ต้องมีมหรสพให้วุ่นวาย ตอนกลางวันมีครูบาอาจารย์เป็นองค์แสดงธรรม พอกลางคืนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา พร้อมกันทำวัตรสวดมนต์ และมีเทศน์ตลอดคืน เท่านี้ก็พอสมควรแก่พระกัมมัฏฐานโดยแท้แล้ว”

    ท่านเจ้าคุณพระญาณเวที ได้เล่าเท้าความถึงงานประชุมเพลิงศพหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ในครั้งนั้นว่า สาธารณชนได้มีโอกาสรู้จักและกราบไหว้ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เพื่อนสหธรรมิกขององค์หลวงปู่พรหม เป็นครั้งแรกเช่นกัน และนับเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เมตตาแสดงธรรม และเล่าถึงปฏิปทาขององค์หลวงปู่พรหม ในระหว่างเที่ยวธุดงค์ด้วยกันท่ามกลางสาธารณชน

    ในส่วนของงานก่อสร้าง เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ เครื่องอัฐบริขาร และเครื่องใช้ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ (เจดีย์จิรปุญโญ) นั้น หลวงปู่ลีได้เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างตามเจตนารมณ์ของหลวงปู่พรหม จนสร้างแล้วเสร็จในปีเดียวกันกับที่หลวงปู่พรหมได้มรณภาพ คือ ปี พ.ศ.๒๕๑๒ นั่นเอง

    เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๑๔ หลวงปู่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีชมพู บ้านบึงโนนอก และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีชมพู ตราบจนกระทั่งพรรษาสุดท้ายของท่าน

    พรรษาที่ ๓๒-๕๖ (พ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๔๒)
    เมื่อหลวงปู่ได้ตัดสินใจปักหลักสร้างวัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) ณ บ้านบึงโนใน ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แล้วนั้น ท่านก็ได้จำพรรษาที่วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) มาโดยตลอดมิได้ขาด



    B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    ภาพหมู่องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ พระกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น บันทึกภาพร่วมกันหน้าพระอุโบสถ
    วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งพระศาสดา ญสส. (รุ่นแรก)
    เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

    แถวนั่ง จากซ้าย : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ, หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม,
    หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก, หลวงปู่บุญมา คมฺภีรธมฺโม,
    พระอาจารย์สนั่น รกฺขิตสีโล, พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป,
    หลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปญฺโญ และพระอาจารย์จันดี เขมปญฺโญ

    แถวยืน จากซ้าย : หลวงปู่ไม อินฺทสิริ, หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
    และพระพรหมวชิรญาณ (พระมหาประสิทธิ์ เขมงฺกโร)


    ๏ การมรณภาพ
    แม้ในระยะหลังที่กิจนิมนต์ของหลวงปู่มากขึ้น ตามจำนวนลูกศิษย์ที่เพิ่มขึ้นมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลวงปู่ท่านก็ยังคงดำรงตนแผ่กิ่งก้านแห่งความร่มเย็นปกคลุมไปทั่ว โดยมิได้เหน็ดเหนื่อยโดยมิได้ละเว้น เมตตาของหลวงปู่ไม่มีประมาณ ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่เคยตกหล่น แม้ลูกศิษย์ตัวน้อย

    ด้วยเหตุนี้ เรื่องราวใน ๒๔ พรรษาของท่าน จึงเป็นบันทึกเล่าขานที่ไม่มีม้วนเทปม้วนใด บุคคลใด บันทึกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรษาสุดท้าย ที่อาการอาพาธของหลวงปู่หนักขึ้นเรื่อยๆ แต่กระนั้น หลวงปู่ก็ยังดำรงองค์เหมือนไม่มีอะไร หลวงปู่ไม่ได้สนใจต่อโรคร้าย ที่แสดงตัวกำเริบขึ้นทุกที ท่านยังคงทำหน้าที่ “พระธรรมทูต” เผยแผ่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เป็นปกติ ตราบถึงวินาทีสุดท้าย

    หลวงปู่ลี มีโรคประจำองค์คือ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคไขมันในเลือดสูง ฉันยาที่ได้รับการ ถวายจากลูกศิษย์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นต้นมา ได้ฉันยาจากลูกศิษย์โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร

    หลวงปู่ได้เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อสิบกว่าปีก่อน เคยเอ็กซเรย์ที่โรงพยาบาลโรคทรวงอกโดยไม่ตั้งใจ แพทย์ได้บอกว่ามีจุดที่ปอดขนาดเม็ดถั่วเขียว และได้รับยารักษาวัณโรค ฉันอยู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นยังได้เอกซเรย์อีกหลายแห่ง จุดนั้นก็ยังอยู่ ต่อมาได้ตรวจสุขภาพอยู่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลเวชศาสตร์ หลวงปู่อาการสบายดีมาตลอด

    ประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑ ขณะที่หลวงปู่เข้ามากรุงเทพมหานคร พำนักอยู่ที่วัดปทุมวนาราม แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน หลวงปู่เริ่มมีอาการเหนื่อยหลังจากเทศน์โปรดลูกศิษย์ในบางครั้ง ประมาณเดือนกรกฎาคม หลวงปู่เริ่มปรารภว่าท่านมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด พยายามฉันอาหารแต่ก็ฉันได้ไม่ดี

    วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๑ หลวงปู่รับกิจนิมนต์เข้ากรุงเทพมหานคร ช่วงนี้น้ำหนักของหลวงปู่ลดลงอย่างชัดเจน ท่านได้รับการกราบขออนุญาตนิมนต์ให้ไปตรวจเช็คสุขภาพที่โรงพยาบาลราชวิถี และได้ไปตรวจเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ วันนั้นผลเอกซเรย์ปอดพบว่ามีก้อนผิดปกติที่ปอดข้างขวา ๒ ก้อน หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยก้อนเนื้อผิดปกติโดยละเอียด เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ คณะแพทย์โรงพยาบาลราชวิถี รายงานผลการตรวจวินิจฉัยแสดงว่าเป็นก้อนเนื้อร้าย (มะเร็งปอด) มีขนาดโดยประมาณ ๑ เซนติเมตร และ ๒.๕ เซนติเมตร หลวงปู่ได้รับการส่องกล้องตรวจทางหลอดลม เพื่อตัดชิ้นเนื้อมาตรวจหาชนิดของเนื้อร้าย แต่ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อได้เพราะก้อนเนื้ออยู่ลึกมาก ผลการตรวจอย่างอื่นพบว่าน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่รุนแรง และไม่พบอาการของโรคหัวใจ (ซึ่งหลวงปู่เคยปรารภมาก่อนนี้แล้วว่า ท่านไม่เป็นโรคหัวใจ ท่านคิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับปอดมากกว่า)

    หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ติดต่อลูกศิษย์ซึ่งเป็นแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เพื่อตรวจเพิ่มเติม ทางโรงพยาบาลศรีนครินทร์จะถวายการผ่าตัด ซึ่งบังเอิญขณะนั้นเป็นระยะเข้าพรรษาพอดี และหลวงปู่ก็ได้ปรารภว่าหมอไม่ได้บอกว่าจะหายขาดหรือไม่ จึงยังไม่ได้พิจารณาเรื่องการผ่าตัด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาหลวงปู่ได้ฉันยาสมุนไพรหลายๆ ชนิดที่ลูกศิษย์และครูบาอาจารย์ทั้งหลายนำมาถวาย อาการที่ดีขึ้นและโรคหายไปโดยไม่ต้องฉันยาต่อคือโรคเบาหวาน แต่ก้อนมะเร็งที่ปอดยังอยู่และขนาดโตขึ้น

    วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ คณะศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศ พร้อมใจกันจัดงานวันเกิดถวายหลวงปู่ ที่วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) จังหวัดสกลนคร ด้วยท่านมิได้รับกิจนิมนต์งานใหญ่หรือที่ต้องเดินทางไกลเลย นับแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา หลวงปู่รับแขกทั้งพระภิกษุสงฆ์ทั้งฆารวาสตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจรดค่ำไม่ได้พักเลย หลวงปู่จึงดูมีอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด แต่ท่านไม่บ่นเลย

    จากการติดตามผลเอ็กซเรย์ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ พบว่าก้อนเนื้อร้ายโตเร็วในระยะหลังๆ ซึ่งโตมากกว่าเดิมประมาณ ๓ เท่า (เอกซเรย์เดือนตุลาคม ก้อนโตกว่าเดิมเล็กน้อยเท่านั้น) อาการทั่วๆ ไปของหลวงปู่ จะมีเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย บางวันหากใช้เสียงเนื่องจากรับกิจนิมนต์ หรือได้พักผ่อนไม่เพียงพอ เสียงหลวงปู่ก็จะแหบแห้งไป บางวันเพลียมากต้องได้รับการถวายน้ำเกลือจากแพทย์โรงพยาบาลสว่างแดนดิน

    วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๒ คณะญาติธรรมจากกรุงเทพมหานคร นำผ้าป่ามาถวายที่วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) หลวงปู่เมตตาแสดงธรรมเทศนากว่า ๒ ชั่วโมง

    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงปู่ได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า มีก้อนโตขนาดผลมะนาวเกิดขึ้นบริเวณรักแร้ข้างซ้าย หลวงปู่จึงรับนิมนต์จากแพทย์ไปตรวจและผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ หลังผ่าตัดนำก้อนเนื้อออก หลวงปู่ได้รับการรักษาต่อโดยวิธีฉายแสงบริเวณที่ผ่าตัด และบริเวณก้อนเนื้อที่ปอดข้างขวา

    แต่เนื่องจากแพทย์ตรวจพบว่าปอดยังแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ได้ (จากผลเอ็กซเรย์ปรากฏว่า มะเร็งได้กระจายมาที่ปอดซ้ายแล้ว) แพทย์จึงขออนุญาตถวายยาเคมีบำบัดต่อ ครั้งแรกหลวงปู่พำนักอยู่รักษาองค์นานถึง ๕๐ วัน อาการดีขึ้น หายใจได้ยาวขึ้นโดยไม่ติดขัดเหมือนก่อน แต่ก็ยังมีอาการปวดไหล่ซ้าย ซึ่งท่านได้บอกกับแพทย์ที่รักษาแล้ว แพทย์บอกว่ามีการอักเสบของกล้ามเนื้อ ครั้นถวายยานวด แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น

    วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงปู่รับกิจนิมนต์ไปร่วมงานวันคล้ายวันเกิดหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย แต่หลังจากรับกิจนิมนต์อย่างเป็นทางการครั้งนี้แล้ว ปรากฏว่าหลวงปู่ก็มีอาการอาพาธหนักอย่างเห็นได้ชัดเจน

    วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงปู่เดินทางเข้ารับการรักษาครั้งแรก ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น และเข้ารับการรักษาต่อระหว่างวันที่ ๕-๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๒ ด้วยยาเคมีบำบัด ครั้งที่ ๒ ครั้งนี้การตอบสนองตอบต่อยาเคมีบำบัดไม่ดี ก้อนเนื้อที่ปอดลดจำนวนลงเล็กน้อย แต่ก้อนเนื้อที่เกิดเพิ่มขึ้นบริเวณชายโครงขวาและหลังไม่ยุบ หลวงปู่มีอาการปวดไหล่ซ้ายมากขึ้น พักผ่อนได้น้อยเพราะเวลากระเทือนอาการปวดจะกระจายไปทั่วองค์ช่วงบน แพทย์บอกว่ามะเร็งได้กระจายไปกระดูกแล้ว

    วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๒ คณะศิษย์ยานุศิษย์แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อหลวงปู่ โดยการขออนุญาตนิมนต์พ่อแม่ครูบาอาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน มาร่วมทำบุญต่ออายุถวายแด่หลวงปู่ ที่วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) น่าประหลาดใจที่หลวงปู่เจาะจงให้ลูกศิษย์ที่ไปร่วมงานนี้ได้มีโอกาส “มหาเถเร ปะมาเทนะ, ทวาระตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต…” กล่าวคำขอขมาต่อพระมหาเถระคือองค์หลวงปู่ ถ้วนทั่วทุกคน

    วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงปู่ได้เข้าโรงพยาบาลเพื่อรับยาเคมีบำบัด ครั้งที่ ๓ มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นใหม่กระจายหลายที่แม้กระทั่งท้องน้อย ปวดไหล่และปวดแขนซ้ายมาก ยกไม่ได้เลย แขนซ้ายและเท้าบวมเห็นได้ชัดเจน เหนื่อยง่าย บางครั้งมีเหนื่อยหอบเล็กน้อย อาการปวดกระจายไปทั่วองค์ช่วงบน ขยับองค์เพียงเล็กน้อยก็ปวดและปวดเกือบตลอดเวลา ได้ฉันยาแก้ปวดอย่างแรงก็ไม่หาย ทำให้จำวัดได้น้อยครั้งๆ ละประมาณครึ่งชั่งโมงเท่านั้น จึงทำให้อ่อนเพลียมาก ฉันอาหารได้น้อย ผอมลงชัดเจน ไม่สามารถเดินได้ด้วยองค์เองต้องได้รับการพยุงช่วยประคองจึงสามารถเดินได้สั้นๆ

    แต่ด้วยบุญบารมีของหลวงปู่สูงมาก ท่านจึงดูมีหน้าตาและผิวใสออกสีชมพูตลอดเวลา ทั้งๆ ที่อาการทั่วไปไม่ดี วันนั้นแพทย์ได้ตรวจอาการพบว่า หลวงปู่มีอาการหัวใจวาย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดไม่ดี เอกซเรย์ปอดทั้งสองข้างพบว่าจำนวนก้อนมะเร็งเพิ่มปริมาณมากขึ้น หลังจากถวายยาได้ ๒ วัน ก็มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงเพราะเกิดการติดเชื้อเข้ากระแสโลหิต

    ต่อมามีอาการมากขึ้น หายใจหอบเหนื่อยมาก ความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจผิดปกติรุนแรง ต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจช่วย และได้นิมนต์หลวงปู่รักษาองค์อยู่ในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา

    วันที่สองของการอยู่หอผู้ป่วยหนัก หลวงปู่มีอาการทั่วไปดีขึ้นเห็นชัดเจน เมตตาให้กำลังใจลูกศิษย์ โดยการหันมาทักทายด้วยการยิ้ม และเขียนหนังสือลงกระดาษให้ลูกศิษย์ที่เฝ้าดูอาการอยู่นอกห้อง ทั้งๆ ที่หลวงปู่ยังใส่ท่อหายใจทางปากอยู่ และลุกนั่งไม่ได้ หลวงปู่ยังได้เขียนข้อความที่จำเป็นอื่นๆ อีกในวันนั้น นับแต่ช่วงเวลาเย็นของวันนั้น ต่อมาเป็นเวลาสองอาทิตย์ อาการหลวงปู่เริ่มไม่ดีอีก แต่รู้สึกองค์ตลอด มีอาการเหนื่อยหอบ มีการติดเชื้อที่ปอด ต้องเจาะปอดซ้ายและใส่ท่อระบายหนองลงขวด บางวันจะเหนื่อยหอบมาก เนื่องจากมีอาการปอดข้างซ้ายแตก ได้รับการถวายอาหารทางสายยางตลอด สามารถลดจำนวนออกซิเจนทางเครื่องช่วยหายใจได้ในช่วงต้นๆ แต่หลังจากมีอาการติดเชื้อที่ปอด และปอดแตกต้องได้รับการถวายจำนวนออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น

    แล้วต่อมาแพทย์ไม่สามารถลดจำนวนออกซิเจนทางเครื่องช่วยหายใจได้อีกเลย ทำให้โอกาสในการนำเครื่องช่วยหายใจออก มีน้อยลง เม็ดเลือดขาวต่ำมาก อาการหลวงปู่ทรงและทรุดเป็นระยะๆ ประมาณ ๑๐ วันก่อนละสังขาร หลวงปู่มีอาการเหนื่อยหอบมาก มีอาการปอดข้างขวาแตกต้องเจาะปอด ใส่ท่อค้างไว้ และต่อสายยางระบายลมจากปอดลงขวด (หลังจากที่เพิ่งนำท่อที่ใส่ไว้ที่ปอดข้างซ้ายออกได้เพียง ๑ วัน)

    แพทย์ได้ถวายยาเคมีบำบัด ครั้งที่ ๔ เม็ดเลือดขาวของหลวงปู่ตกลงถึงขีดต่ำสุด ถึงแม้จะถวายยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวก็ไม่เกิดผล และมีอาการรุนแรงมากขึ้นอีก เนื่องจากเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต ครั้งที่ ๒ ที่ถ่ายเหลวบ่อย ไข้สูง โดยเฉพาะในระยะ ๑ วันสุดท้ายก่อนที่หลวงปู่จะละสังขาร เริ่มมีอาการของไตวาย มีปัสสาวะออกในแต่ละชั่วโมงน้อยลง

    วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงปู่มีอาการไตวายชัดเจน มีอาการบวมทั้งองค์ ปัสสาวะไม่ออกเลย เวลาประมาณ ๐๘.๑๕ นาฬิกา หัวใจหยุดเต้น แพทย์ที่อยู่เวรประจำได้ทำการปั้มหัวใจ และถวายยาฉีดกระตุ้นหัวใจให้หัวใจทำงานต่ออีก ประมาณเวลาประมาณ ๐๘.๔๕ นาฬิกา ค่าออกซิเจนในเลือดเริ่มลดต่ำลง ความดันโลหิตตก และหัวใจเต้นช้าลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดเต้น เครื่องมือไม่สามารถวัดสัญญาณชีพของหลวงปู่ได้อีก คณะแพทย์ได้พยายามรักษาอย่างสุดความสามารถ จนกระทั่งหลวงปู่ลี ได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ สิริอายุรวม ๗๘ ปี ๘ เดือน ๘ วัน พรรษา ๕๖

    ท่ามกลางความเศร้าสลดอาลัยของคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก เหลือทิ้งไว้แต่ผลงานอันทรงคุณค่ายิ่งที่อุทิศให้แด่พระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำไว้เบื้องหลัง

    B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม
    วัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม)
    ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81.jpg
    วัดฐิติธรรมาราม (วัดเหวลึก) บ้านบึงโนอก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81.jpg
    เจดีย์ฐิตธมฺมานุสรณ์ หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม
    วัดฐิติธรรมาราม(วัดเหวลึก)
    B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%A1-1024x680.jpg
    พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม
    วัดฐิติธรรมาราม (วัดเหวลึก) บ้านบึงโนอก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%A12.jpg
    อัฐิธาตุของหลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม วัดเหวลึก SAM_8701.JPG SAM_8702.JPG SAM_8703.JPG SAM_8704.JPG SAM_7823.JPG
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 608 เหรียญรุ่นจงสำเร็จหลวงปู่เเสง ญาณวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่ามโนรมย์ จ. อำนาจเจริญ หลวงปู่เเสงเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร,หลวงปุ่คำดี ปภาโส เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2548 สร้าง เนื้ออัลปาก้า สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกในการฉลองพระเจดีย์ เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **********บูชาที่ 295 บาทฟรีส่งems >>>>>>>>ประวัติย่อหลวงปู่แสง ญาณวโร

    เดิมชื่อ นายแสง ดีหอม เกิดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๖๗ อ. ฟ้าหยาด จ. อุบลราชธานี
    (๑๗ เมษายน ๒๔๘๒ กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนชื่อ อ.ฟ้าหยาด เป็น อ.มหาชนะชัย
    และเมื่อ ๑ มีนาคม๒๕๑๕ อ.มหาชนะชัย ย้ายไปขึ้นกับ จ. ยโสธร จนถึงปัจจุบัน )
    อุปสมบทเมื่อ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ณ วัดศรีจันทร์ อ. เมือง จ. ขอนแก่น
    ปัจจุบันจำพรรษาที่ วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา) บ้านห้วยฆ้อง
    ตำบลหนองข่า อำเภอ ปทุมราชวงศา จัดหวัด อำนาจเจริญ

    ท่านได้จำพรรษา - วิเวกธุดงค์ทั้งในประเทศไทย ลาว และพม่า

    ประวัติการจำพรรษา ? วิเวกธุดงค์และไปมาหาสู่กับพระรูปต่างๆ

    - ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    (ช่วงบั้นปลายของท่านอาจารย์มั่นที่อยู่บ้านหนองผือ)
    - หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ. เลย (พ.ศ.๒๔๙๔-๒๔๙๖)
    - พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร - ได้ร่วมสร้างวัดถ้ำขาม (พ.ศ. ๒๔๙๗)
    - หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย (๑ พรรษา)
    - หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดราษฎร์สงเคราะห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี (๒๐ พรรษา)
    - พระอาจารย์แบน ธนากโร - ได้ร่วมสร้างกุฏิศาลาที่วัดธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
    - หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    - หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี - ได้ร่วมธุดงค์ที่ภูวัว
    - หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    - หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย
    - หลวงปู่ศรี มหาวีโร - ได้วิเวกธุดงค์ที่ภูเกล้า ภูเวียง จ.ขอนแก่น
    - หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย - ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่วัดดอยหินหมากเป้ง
    - หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี - ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่ อ.ผือ อ.สามพราน และ อ.น้ำโสม
    - พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตะโม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต และพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร - ได้วิเวก
    ธุดงค์ร่วมกันที่ถ้ำสาลิกา ภูสิงห์ ภูทอง ภูพานคำ และ ภูทอก ฯลฯ
    - หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม - ได้จำพรรษาด้วยกัน (พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓)
    - ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ จำพรรษา ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก บ้านไก่คำ จ.อำนาจเจริญ
    - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ - ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ จำพรรษาที่วัดป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (เสนาสนป่าโคกค่าย)
    บ้านหนองไฮน้อย ต.หนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    - ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ จำพรรษาที่วัดป่านาเกิ้งญาณวโร บ้านนาเกิ้ง อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ
    - ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ - ปัจจุบัน จำพรรษาที่วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา)
    บ้านห้วยฆ้อง ตำบลหนองข่า อำเภอ ปทุมราชวงศา จัดหวัด อำนาจเจริญ SAM_6717.JPG SAM_8732.JPG SAM_8733.JPG SAM_7605.JPG
     
  10. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +868
    จองพระกริ่งลป.พวง /พระลป.ท่อน /ลป ลี และลด.แสงครับ
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 609 เหรียญรุ่น 3 หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโนนเเพง อ.บ้านเเพง จ.นครพนม หลวงปู่อ่อนศรีเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว ท่านบวชเมี่อเเก่ เหรียญสร้างปี 2540 เนื้อองเเดงผิวไฟ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 285 บาฟรีส่งemsparagraph__868.jpg

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่อ่อนศรี ขนฺติกโร
    วัดป่าโนนแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม
    ---------------------------------------------------------
    SAM_8739.JPG


    ประวัติย่อพอสังเขป
    หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร
    นามเดิม อ่อนศรี อภัยโส
    ชาติตระกูล เกิดที่บ้านแพง ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม เมื่อวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2463

    3 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก โยมบิดาชื่อ นายคำแดง อภัยโส
    โยมมารดาชื่อ นางหนู อภัยโส
    ครอบครัวของหลวงปู่เป็นชาวไร่ ชาวนา โดยกำเนิด มีพี่น้อง ร่วมบิดามารดาเดียวกัน 9 คน คือ
    1.นายจารย์ลวด เสียชีวิตแล้ว
    2.นางกา เสียชีวิตแล้ว
    3.นางเพ็ญศรี(เบ้น) เสียชีวิตแล้ว
    4.นายคำมี เสียชีวิตแล้ว
    5.หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร
    6.นางจำปี เสียชีวิตแล้ว
    7.นางเปิง (ยายเปิง) ยังมีชีวิตอยู่
    8. นายเวิง เสียชีวิตแล้ว
    9.เด็กหญิงเวียง เสียชีวิตขณะอายุได้ 5 ขวบ

    ชีวิตก่อนบวช

    ท่านเป็นครูฝึกสอนได้ไม่นานท่านก็ลาออก ท่านก็เดินทางออกจากบ้านแพงไป อุดรธานี โคราช และกรุงเทพๆ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าท่านชกมวยหาเงินในขณะที่ยังไม่ได้งานทำ ข้าพเจ้าถามท่านว่า “ปู่ไปเรียนชกมวยมาจากใคร จากค่ายไหน”ปู่ตอบว่า”ปู่ฝึกฝนเอาเองจากกากรดูนักมวยเขาชกกัน แล้วเอามาฝึกฝนเอาเองจนเกิดความชำนิชำนาญ”

    การชกของท่านนั้น ปู่บอกว่า ขึ้นเวทีชกครั้งหนึ่งก็ได้หนึ่งอาจารย์ ขึ้นเวทีสองครั้งก็ได้สองอาจารย์ ปู่บอกว่าเป็นการเรียนรู้ที่ลงทุนมากเจ็บตัวแต่ละครั้งถือเป็นบทเรียนที่ไม่ลืม แล้วนำไปฝึกหัด การต่อสู้บนเวทีนั้นต้องใช้มันสมอง

    ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการต่อสู้ การตัดสินใจเขาทำการตัดสินใจเป็น

    ไปตามเหตุการณ์ จริงอยู่ว่าเราฝึกฝนท่าต่างๆ ของแม่ไม้มวยไทยไว้จนชำนิชำนาญ แต่พอยู่บนเวทีมันจะเป็นไปอีกรูปแบบหนึ่งคือเรื่องสิต ความรวดเร็วในการอกอาวุธ ในสมัยนั้นหลวงปู่บอกว่าหาคู่ชกที่พอเหมาะไม่ค่อยเจอ ท่านชกเก่งจนหาตัวจับยากด้วยเหตุนี้เองท่านจึงไม่ยอมทำงานอะไร ท่านตระเวรชกมวยตั้งแต่กรุงเทพๆ โคราช ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ถึงกับปลอมตัวชื่อเป็นคนไม่มีหัวนอนปลายเท่าเพื่อขั้นชกมวยหาเงิน และหลวงปู่ก็กลับบ้านเกิด พ่อแม่จึงขอหญิงสาวชาวบ้านเดียวกันให้เป็นภรรยาและมีบุตรด้วยกัน 6 คน เป็นชาย 4 หญิง 2 คน
    ในสมัยท่านเป็นฆราวาส ท่านเป็นคนที่มีจิตใจเมตตาสงสารคนจะเป็นพี่น้องหรือบุคคลอื่นก็ตามท่านจะให้ความอนุเคราะห์ สงเคราะห์เสมอ มา ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านพุดครั้งหนึ่งเกี่ยวกับพี่น้องของท่านว่า “เรากินข้าวจะให้พี่น้องกินแกลบกินรำได้อย่างไร”ด้วยเหตุนี้เองฐานะทางบ้านจึงไม่ดีขึ้น มีอยู่อย่างไรก็อย่างนั้นจนท่านออก บวช เพราะท่านห่วงพี่น้องมากไป พี่น้องมายืมเงินท่าน ปรากฏว่าไม่นำมาคืนสักครั้ง สักครั้ง มีแต่มายืม บางคนก็ยืมข้าวยืมเงินมากบ้างน้อยบ้าง ท่าก็ให้ครั้งแล้วครั้งเล่า ในปีหนึ่งเป็นปีที่อดอยากมาก ข้าวจะกินไม่มี ถึงขนาดขโมยข้าวที่หม่า(แช่น้ำ)เตรียมไว้เพ่อจะนึ่งในวันรุ่งเช้าวันหนึ่งมีคนเอาเห็นมาขอเปลี่ยนข้าวไปประทังชีวิตและครอบครัว พอเปิดในตองที่ห่อเห็ดออก ปรากฏว่าในเห็ดนั้นมีหนอนยั้วเยี้ยไปหมด ชายคนนั้นหน้าถอดสี หลวงปู่ท่านรีบเก็บเห็ดนั้นเข้าไปไว้ในครัว แล้วก็ออกมาพูดคุยกับชายคนนั้นอย่างเป็นกันเอง จนแม่บ้านนึ่งข้าวสุก ปู่ท่านเป็นคนมาด้วยน้ำใจอย่างนี้ มีต่อบ้านต่อเมือง เช่นในครั้งหนึ่งทางอำเภอมีนายอำเภอยงค์เป็นนายอำเภอบ้านแพงขณะนั้น เป็นผู้นำจะให้ชาวบ้านแพงเช่าไร่ยาสูบ ซึ่งไร่ยานั้นพากันทำมาหลายปีดีดักไม่เคยเช่าใคร ไร่ยาที่ว่านั้นคือมีดินงอกออกไปจาก อ.บ้านแพงจึงพากันจับจองเป็นเจ้าของถือสิทธิทำกิน และใช้เป็นที่ปลูกยาสูบหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จ เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านแพง
    สส
    หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร

    หลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร นามเดิมคือ นายอ่อนศรี อภัยโส เกิดที่บ้านแพง ตำบลบ้านแพง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2463 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก โยมบิดาชื่อ นายคำแดง อภัยโส โยมมารดาชื่อ นางหนู อภัยโส เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีอาชีพทำไร่ทำนาแต่งงานกับนางทิพย์ อภัยโส มีลูกด้วยกัน 6 คน หญิง 2 คน ชาย 4 คน

    เมื่อ พ.ศ.2516 หลวงปู่ได้อ่านหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เขียนโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านได้เกิดความเลื่อมใสมากจึงคิดอยากบวช ต่อจากนั้นหลวงปู่จึงเริ่มฝึกหัดนั่งสมาธิบริกรรมภาวนา “ พุท-โธ” เป็นอารมณ์ความสงบเริ่มเข้ามาแทนที่ความวุ่นวายยิ่งหมั่นภาวนาหนักเข้าก็ยิ่งสัมผัสกับความสงบสุขอันเกิดจากความเพียรในทางที่ถูกที่ควรตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานไว้

    ต่อมาหลวงปู่จึงตัดสินใจลาบุตร-ภรรยา ออกไปบำเพ็ญเพียรเป็นชีประขาว ไม่โกนผมที่วัดบนภูลังกา ท่านได้สร้างกระท่อมที่ดอนปลายนา บริเวณวัดโนนแพงปัจจุบันและขึ้นไปภาวนาอยู่ในถ้ำบนภูลังกาแบบไปๆมาๆ

    ในวันที่ 14 เมษายน 2523 ตาประขาวอ่อนศรีได้บรรพชา-อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่ออายุได้ 61 ปี ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

    หลวงปู่มักพูดเสมอว่าบวชเมื่อแก่กลัวไม่ทันการจึงเร่งรีบบำเพ็ญภาวนาจึงเห็นหลวงปู่เดินจงกรมเสมอๆและครั้งละนานเป็นชั่วโมงและหลายชั่วโมง

    ใน พ.ศ. 2540 หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ท่านได้อธิษฐานจิตขอพบลูกหลานคนที่สนิทสนมร่วมเป็นร่วมตายในอดีตชาติ

    พ.ศ. 2541 มีโยมจากกรุงเทพฯไปทำบุญถวายสังฆทานที่วัดหินหมากเป้ง เกิดนิมิตฝันเห็นหลวงปู่อ่อนศรีและได้นำคณะตามหาได้มาพบหลวงปู่จึงนำกฐินมาถวายเป็นประจำทุกปี

    เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2545 หลวงปู่ได้มรณภาพละสังขารจากโลกไปแล้วแต่คุณงามความดียังคงประทับอยู่ในใจผู้พบเห็นไม่รู่ลืม

    คุณธรรมที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง

    1. มีความเพียร เห็นได้จากการทำสมาธิเป็นหลายชั่วโมงในแต่ละวันโดยไม่ย่อท้อจนบางครั้งเกิดภาพนิมิตขณะเดินจงกรมทำสมาธิ

    2. ความมีเมตตา ชอบทำบุญให้ทานเห็นได้จากครั้งหนึ่งเมื่อดำรงชีวิตเป็นฆราวาสมีชาวบ้านนอกนำเห็ดมาขอแลกข้าวท่านก็ถือห่อเห็ดเข้าไปในบ้านแล้วเปิดออกดูในเห็ดมีหนอนเยอะแยะแต่ท่านก็รีบเก็บห่อเห็ดไว้แล้วให้ภรรยานำข้าวสารข้าวสุกมาให้เจ้าของเห็ดด้วยใบหน้าที่เบิกบาน ยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่ทำให้เจ้าของเห็ดต้องอาย

    3. มีความตั้งใจมุ่งมั่น จะทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ สังเกตได้จากการบวชของท่าน บวชเมื่อ 61 ปี แต่ด้วยความตั้งใจสูงจึงทำให้พบความสำเร็จได้ ซึ่งตลอดเวลา 22 ปี ที่มีชีวิตอยู่ในผ้าเหลืองหลวงปู่ต้องฉันข้าววันละมื้อ มีกิจวัตรประจำวันคือเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิครั้งละนานหลายชั่วโมงหลวงปู่มักพูดเสมอๆว่า “บวชเมื่อแก่กลัวไม่ทันการ” ท่านจึงรีบเร่งบำเพ็ญภาวนา ถ้าตายในขณะที่ปฏิบัติธรรมจะเป็นทุนในชาติต่อไป


    บวชเป็นพระ
    เดินจงกรมจนฝ่าเท้าสึกบาง
    การเดินจงกรมของหลวงปู่นั้น ท่านเดินนานนับชั่วโมงๆอย่างที่เขียนผ่านมา มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านเดินจนหนังผ่าเท้าสึกบางข้าพเจ้าได้ซื้อถุงเท้ามาถวาย แม้กระนั้นถุงเท้าคู่หนึ่งท่านเดินได้สองสามวันก็ขาด ต้องเปลี่ยนคู่ใหม่ ตอนฝ่าเท้าถลอกศึกบางนั้น ท่านออกเดินบิณฑบาตไม่ได้ตั้งหลายวัน แม้ท่านจะมาอยู่ประจำที่วัด ท่านก็บำเพ็ญเพียรไม่ท้อถอย ถึงฝนจะตก แดดจะออก จะหนาว จะร้อนท่านก็ทำของท่านไม่หยุด ท่านอกว่ามันเป็นตามาธรรมชาติ เราไม่สนใจกับมัน เรื่องภาวนาทำความพากเพียรไม่เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ดินฟ้าอากาศจะมืดจะแจ้ง ฝนจะตกแดดจะออกก็เป็นเรื่องของมัน ถ้าหากเราไปหาข้ออ้าง เดี๋ยวช้านักไม่ทำงาน เดี๋ยวร้อนนักไม่ทำงาน เดี๋ยวบ่ายแล้วไม่ทำงาน ถ้านักปฎิบัติก็ถือโอกาสเกี่ยงงอนไม่ยอมปฎิบัติธรรม ท่านทำจนเป็นนิสัย วันไหนท่านได้เดินจงกรมก็จะบ่นเหมือนท่านขาดอะไรไปสักอย่าง SAM_8739.JPG SAM_8734.JPG SAM_8736.JPG SAM_8176.JPG
     
  12. สมณธรรม

    สมณธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +138
    สวัสดีครับ ผมขออนุญาตแจ้งการโอนค่าบูชา รายละเอียดในกล่องข้อความ (PM)ครับ
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 610
    พระผงสมเด็จรุ่นพิเศษผสมเกศาหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ชอบเป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต องค์พระสร้างปี 2537 (ทันหลวงปู่ครับ) รุ่นนี้พิเศษมีผสมนํ้าปัสสาวะของหลวงปู่ด้วยครับ พระสวยไม่เคยใช้ มีคราบพระธาตุผุดนิดๆ มีพระเกศาเเละพระธาตุมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********* ( >>>>หมายเหตุรายการองค์นี้ไม่มีกล่องครับ)*********บูชาที่ 405 บาทฟรีส่งems เปิดดูไฟล์ 5731114 เปิดดูไฟล์ 5731115 SAM_8741.JPG SAM_8742.JPG SAM_8743.JPG SAM_8249.JPG sam_8010-jpg.jpg


     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 611 เหรียญรุ่นพิเศษหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์พระพุทธรูปคุ่บารมีหลวงปู่สอ พันธุโล พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านหนองเเสง อ,เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่สอเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด เหรียญสร้างปี 2547 เนื้อกะไหล่ทอง สร้างโดยคณะศิษย์กผฝ หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเเห่งประเทศไทย เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่สอมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **********บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems SAM_0857.JPG SAM_8715.JPG SAM_8716.JPG SAM_8718.JPG SAM_7644.JPG
     
  15. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    บูชาครับ
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 612 เหรียญระฆังหลวงปู่ลิอ สุขปัญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดป่านาทาม อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร หลวงปู่ลือเป็นศษย์หลวงปู่มั่น ยุคกลาง เหรียญสร้างปี 2538 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล เหรียญสร้างเนื่องเป็นที่ระลึกสร้างศาลาการเปรียญวัดป่าก้าวหน้าสามัคคี จ.อำนาจเจริญ >>>>>>มีพระเกศาเเละผงอังคารธาตุที่เเปรเป็นพระธาตุเเล้วมาบูชาเป็นมงคลครับ *************บูชาที่ 305 บาทฟรีส่งems
    พระสงฆ์ พระผู้มีบัญญาฤทธิ์และบุญญาธิการสูงองค์หนึ่งในดินแดนที่ราบสูง จังหวัดมุกดาหาร โดยอัตโนประวัติโดยสังเขปของพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งที่มีความเพรียบพร้อมทุกอย่าง

    พระสุปฏิปันโนผู้มีศีลจารวัตร ยึดถือปฏิบัติเคร่งครัดมาเป็นเวลานานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ในขณะที่ครองเพศบรรพชิต ซึ่งในทุกวันนี้ยากนักที่จะหาพระผู้มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด

    "หลวงปู่ลือ ปุญโญ" เกิดที่บ้านไร่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2442 ปีระกา ขึ้น 10 ค่ำ ในตระกูล "ใจทัศน์" ปัจจุบันท่านอายุ 87 ปี 67 พรรษา โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ พัน ท่านสละเพศฆราวาสเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์เมื่ออายุได้ 18 ปี ได้ร่ำเรียนวิชา สน-มูล-นาม ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาบาลีไวยากรณ์ในเบื้องต้นจนแตกฉาน พออายุได้ 22 ปี จึงได้เปลี่ยนญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุต โดยมีหลวงพ่อดี วัดศิลามงคล จังหวัดมุกดาหาร สอนกรรมฐานให้ท่านเป็นท่านแรก

    หลวงปู่ลือ ท่านมีจิตใจแน่วแน่ที่ไม่สามารถหลอมให้กลายเป็นอย่างอื่นได้ ด้วยความตั้งมั่นของท่านถึงขนาดนั่งภาวนาหันหน้าลงเหว เพื่อฝึกปฏิบัติขัดเกลาจิตใจให้เป็นสมาธิ เป้าหมายคือความหลุดพ้น เป็นที่ตั้งสถานที่วิเวกทุกแห่งที่อาจารย์สายกรรมฐาน ศิษย์หลวงปู่มั่นทุกท่านธุดงค์ไปปักกลดฝึกภาวนา ท่านก็ได้ธุดงค์ไปมาหมดแล้วทุกแห่ง

    ครั้งหนึ่งได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดินธุดงค์มาจำพรรษาที่เกาะแก้ว ใกล้วัดพระธาตุพนม หลวงปู่ลือจึงได้เดินทางไปกราบนมัสการ และขอปวารณาตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาแนวธรรมะจากท่าน

    หลวงปู่ลือ ได้ธุดงค์ไปพร้อมกับ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และเพื่อสหธรรมิกจำนวนมากมาย เช่น หลวงปู่สิม หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ขาว หลวงปู่จาม พระอาจารย์จวน พระอาจารย์ฝั้น อาจารย์ชา หลวงพ่อบุญมา วิเวกไปตามป่าเขาโปรดญาติโยมโดยทั่วแถบภาคอีสานและภาคเหนือ ขณะร่วมธุดงค์เมื่อถึงจุดหมายต่าง ๆ ก็แยกย้ายกันปักกลดฝึกกรรมฐาน พอถึงเวลา 4 โมงเย็นของทุกวันก็จะพร้อมเพรียงกันเพื่อรับฟังโอวาทธรรมจากหลวงปู่มั่น

    ในระหว่างที่ท่านอบรมกรรมฐานท่านมักจะกล่าวยกย่องหลวงปู่ลือเสมอว่าเป็น "พระใจเด็ดใจเพชร" สหธรรมมิกที่ร่วมคณะมาด้วยจึงสมญานามว่า "พระลือโลก…ผีย่าน(ผีกลัว)"

    หลังจากแยกย้ายคณะธุดงค์ หลวงปู่ลือได้ออกธุดงค์ไปตามลำพังเพื่อหาสถานที่วิเวกฝึกกรรมฐานไปจนถึงฝั่งประเทศลาว และแผ่เมตตาแก่ญาติโยมชาวลาว เป็นเวลานาน จึงข้ามมาฝั่งไทย ท่านไปพบทหารกลุ่มหนึ่งกำลังสู้รบกับ ผกค.(ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์) ท่านจึงสละชายจีวรมอบแก่ทหารเหล่านั้น เพื่อปกป้องคุ้มครองผองภัยอันตรายทั้งปวง จนทหารกลุ่มนั้นแคล้วคลาดกลับที่ตั้งโดยปลอดภัยทุกคนชาวบ้านดอนตาลดง ผกค. ในยุคนั้นจึงขนานนามทหารกลุ่มนั้นว่า "ทหารผีสิง" เพราะโดยปกติจะไม่มีใครรอดพ้นดงกับระเบิดและฝ่าแนวกระสุนออกมาได้เลย ทำให้ผู้คนทุกสารทิศที่ได้ยินกิตติศัพท์ หลวงปู่ลือ จึงหลั่งไหลกันไปกราบไหว้นมัสการ
    SAM_8744.JPG SAM_8745.JPG sam_8156-jpg.jpg sam_8123-jpg.jpg sam_7839-jpg.jpg
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 613 พระสมเด็จรุ่นนิโรธญานพิมพ์ใหญ่ผงอังคารธาตุหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร พระรุ่นนี้สร้างปี 2555 สร้างจากผงอังคารธาตุหลวงปู่ผ่าน เเละผงว่าน 108 ชนิด อฐิษฐานจิตโดยหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม พระอรหันต์เจ้าวัดศรีวิชัย หลวงปู่คำพันธ์บอกว่าท่านได้ขอทิพยญานของหลวงปู่ผ่านได้มาร่วมอฐิษฐานจิตร่วมด้วย หลวงปู่ผ่านได้บอกหลวงป่คำพันธ์ว่า " ยินดีเเละเต็มใจ" ,มีพระเกศาหลวงปู่ผ่านมาบูชาเป็นมงคลด้วย *********มาพร้อมกล่องเดิม>>>>>>>>บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems sam_8359-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8601-jpg.jpg sam_8602-jpg.jpg sam_8603-jpg.jpg sam_7605-jpg-jpg.jpg sam_0517-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  18. birdyik

    birdyik Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +129
    โอนเงินให้แล้วครับ แจ้งรายละเอียดทาง PM ครับ
     
  19. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 614 พระผงมงคลขุนเเผนหลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าถํ้าเทพนิมิต อ.กุดจับ จ.อุดรธานี หลวงพ่อสมเกียรติเป็นศิษย์หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ วัดป่านาคูณ(ศิษย์รุ่นใหญ่หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด) องค์พระสร้างปี 2561 ,มีมวลสารที่สร้างตามใบฝอยที่ลง มีตอกโค๊ตหมึกหลังองค์พระ หายากครับ มาพร้อมเกศารวมพ่่อเเม่ครูอาจารย์(เกศาพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ) ***********มีพระเกศารวมของพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่นมาบูชาด้วย เช่นเกศา 1,หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม, 2,หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถํ้ากลองเพล,3,หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตร,4 หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสติถิผล,5 หลวงปู่เเฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย,6 หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญวิเวก,7, หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม,8 หลวงปู่เเปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร,9 หลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโมีพระเกศารวมของพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่นมาบูชาด้วย เช่นเกศา 1,หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม, 2,หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถํ้ากลองเพล,3,หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตร,4 หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสติถิผล,5 หลวงปู่เเฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย,6 หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญวิเวก,7, หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม,8 หลวงปู่เเปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร,9 หลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล,10, หลวงป่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดสุทธาวาส(วัดเลยหลง,11, หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง,12, หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง,13, หลวงปู่ศรี สิริธโร วัดป่าโนนทองอินทร์ 14 ,หลวงปู่รินทร์ สันตมโน วัดป่าธรรมมาราม ,15, หลวงปู่มั่น ถาวโร วัดป่าหัวภูลังกาใต้,16, หลวงปู่เเสง ญานวโร,17, หลวงปู่ขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่,17 ,หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม วัดกระดึงทอง,18, หลวงปู่จันทร์เเรม เขมิโย วัดระหาน,19, หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม,20, หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า, 21, หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม,22, คุณเเม่ชีบุญฮู้ พรหมเทพ สำนัดชีภูกระเเต เป็นต้น มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ***********บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems(.......... หมายเหตุ .........ผมถอดจากคอเลยครับ เพื่อนสมาชิกสังเกตุผมจะนำพระเกศาของพระอรหันต์บรรจุในองค์พระทุกกรอบเลยครับครับ
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร

    วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต (ถ้ำตาลเลียน)
    อ.กุดจับ จ.อุดรธานี

    8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%84-683x1024.jpg
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร ท่านถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม ท่านเกิดในสกุล “จันทร์วงศ์” เป็นบุตรชายคนที่ ๔ ในจำนวนพี่น้อง ๕ คน ณ บ้านสร้างเสี่ยน ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู (ตอนนั้นคือจังหวัด อุดรธานี) สมัยเมื่อเกิดเป็นทารกแรกคลอดมีสายรกพันคอและเฉวี่ยงบ่าคล้ายสายสะพายบาตรออกมาด้วย บิดาท่านจึงอุทานออกมาว่า ลูกคนนี้ต้องได้บวชเป็นพระแน่นอน เมื่อเติบใหญ่หลวงพ่อสมเกียรติ ได้เคยบอกเพื่อนๆว่า…ถ้าอายุครบ ๒๑ ถึงอายุเกณฑ์ทหารแล้ว ถ้าจับไม่โดนใบแดง ติดทหาร ท่านจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ นี่เป็นสัจจะวาจาที่ท่านตั้งไว้เป็นคำสัตย์

    หลังจากไม่ติดทหาร ท่านจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ณ พัทสีมาวัดจันท์ประสิทธิ์ บ้านสร้างเสี่ยน ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู โดยมีหลวงปู่บุญมา สุชีโว วัดป่าสุขเกษม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองสูน สุธัมโม เป็นพระผู้สอนนาค และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จันทร์ลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ชิตมาโร” แปลว่า “ผู้พิชิตมาร“

    ภายหลังอุปสมบท หลวงปู่หวัน จุลปัณฑิโต แห่งวัดถ้ำกลองเพล ได้ขอให้ พระอาจารย์สมเกียรติ ชิตมาโร ขึ้นไปจำพรรษาที่วัดป่าภูเก้า บ้านดอนหัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูเก้า อยู่ถึง ๓ พรรษา จากนั้นในพรรษาที่ ๔ ท่านได้ไปอยู่ที่วัดป่าประสิทธิสามัคคี (วัดของท่านพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม) บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พรรษาที่ ๕ อยู่ที่วัดญาณสังวร อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
    พรรษาที่ ๖ วัดป่าหมากแข้ง (วัดหลวงพ่อผจญ อสโม) อ.วังสะพุง จ.เลย
    พรรษาที่ ๗ วัดป่าทรายทอง อ.แม่จัน จ.เชียงราย
    พรรษาที่ ๘ กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทร์ประสิทธิที่ท่านอุปสมบท
    พรรษาที่ ๙ วัดป่าสานตม ธรรมสถานของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม อ.ภูเรือ จ.เลย
    พรรษาที่ ๑๐-๑๑ วัดถ้ำพระเทพนิมิตบ้านทุ่งตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    พรรษาที่ ๑๒- ๑๓ ท่านปฏิปัติธรรมอยู่ที่ภูลังกากับหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ณ วัดถ้ำยานาโพธิ์ อ.บ้านแพง จ.นครพนม (จนองค์ท่านหลวงปู่บุญมี จะกล่าวกับญาติโยมที่คุ้นเคยว่าหลวงพ่อสมเกียรติ คือลูกชายองค์โตของท่าน)
    พรรษาที่ ๑๔ ได้ติดตามหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านใหม่ ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    จากนั้นจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดถ้ำพระตาลเลียนแห่งนี้ ตั้งแต่พรรษาที่ ๑๕ จนถึงปัจจุบันนี้ พรรษาที่ ๔๕ รวม ๓๑ ปีแล้ว

    9A-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-5-819x1024.jpg
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    สำหรับวัดป่าถ้ำพระเทพนิมิตนี้ แต่เดิมเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ หลวงปู่ลี กุสลธโร , หลวงปู่คำผอง กุสลธโร และ หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร ได้เคยมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในบริเวณใกล้ๆละแวกนั้น คือบ้านตายเลียน เดิมทีที่บ้านตายเลียนนี้ เป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุมเช่น เสือ ช้างป่า หมี หมูป่า เป็นต้น และห่างไกลความเจริญ หากใครได้เป็นโรคมาเลเรียเข้าก็ต้องตายสถานเดียว ที่นี่จึงได้ชื่อว่า “บ้านตายเลียน” ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น “บ้านทุ่งตาลเลียน” หลวงปู่จันทร์เรียน ท่านได้นิมิตว่า มีเทวดามาแนะนำให้ไปภาวนาปฏิบัติธรรมทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านตายเลียน มาอยู่ที่นี่ทำไม “วัดถ้ำเทพนิมิต” จึงนับว่าได้ชื่อนี้แต่นั้นมา

    ปัจจุบันนี้องค์ท่านหลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร เป็นเจ้าอาวาส ท่านเคยเล่าว่า…สมัยนั้นที่ท่านได้มาอยู่ใหม่ๆ ที่นี่ผีดุมาก คงเป็นเพราะที่เป็นไข้ป่าตายกันแล้วหวงสมบัติ ไม่ไปไหน แต่ปัจจุบันนี้ครูบาอาจารย์อุทิศบุญกุศลให้ เขาจึงรับบุญไปกันเกือบหมดแล้ว…

    B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%950-1024x998.jpg
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต (ถ้ำตาลเลียน) อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    โอวาทธรรมคำสอน หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี

    พระอรหันต์บางองค์ท่านยืนนิพพาน บางท่านนั่งนิพพาน บางองค์เดินนิพพาน บางองค์นอนนิพพาน ทำไมท่านจึงทำผิดแปลกจากมนุษย์ทั่วๆไปในโลกนี้เล่า ก็เพราะความรู้ ความเห็น ความสัตย์ ความจริงที่มีอยู่ในใจของท่าน ไม่ได้เหมือนกับโลกทั่วๆไป ธรรมในใจนั้นเป็นสมบัติของท่านโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโลก ท่านจึงไม่ทำเหมือนโลก และโลกก็ทำเหมือนท่านไม่ได้ การที่จะขัดแย้งท่านว่า ท่านทำไม่ได้ ท่านเป็นอย่างนั้นไม่ได้ จึงเป็นโมฆะทั้งสิ้น หาความจริงไม่ได้ เพราะผู้นั้นอยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่เราคาดคะเนไม่ถึง จะให้ท่านมาเป็นอย่างตัวเองได้อย่างไร ท่านเป็นท่านเต็มตัว เราก็เป็นเราแบบนี้อย่างเต็มยศ (ของปุถุชนผู้ที่ชอบชนดะ) ทุกขเวทนาในขันธ์ ก็สักแต่ว่าสมมุติอันหนึ่งเท่านั้น เป็น รูปํ คือกองรูป นี่ก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นอาการอันหนึ่งๆของขันธ์แต่ละอย่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสมมุติทั้งมวล

    แต่จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จิตจึงเหนือสิ่งเหล่านี้ ทุกข์ในร่างกายวาระสุดท้ายจะหนักมากขนาดไหน ก็ไม่สามารถทำใจของท่านให้กระทบกระเทือน ให้หวั่นไหวเอนเอียงไปได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงสามารถนิพพานตามอัธยาศัย ในท่าที่ถนัดในวาระสุดท้ายได้ตามความสะดวกสบาย โดยไม่มีเวทนาตัวใดที่จะเข้าไปเหยียบย่ำทำลายจิตใจของท่านได้เหมือนอย่างสามัญชนคนธรรมดา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงนิพพานได้ในท่าต่างๆตามอัธยาศัยของท่าน ด้วยความเป็นอิสระเสรีภายในใจ เพราะเวทนาทางใจท่านไม่มี คำว่าเวทนานี้หมายถึงเวทนาภายในจิต เวทนาในร่างกายนั้นมี ท่านรับทราบแต่ไม่รับรู้ ไม่เข้าไปยึดไปถือเหมือนแต่ก่อน จะไม่รับทราบอย่างไรเล่า แม้แต่เรามีกิเลสอยู่ภายในจิตใจเรายังรู้ เจ็บปวดตรงไหนในร่างกายเราทราบ ทำไมท่านจะไม่ทราบ แต่ของเรากับของท่านมันต่างกัน ของเรารับทราบไปตามยถากรรมของคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ รู้เห็นก็รู้เห็นแบบหยาบๆ แบบลวกๆแบบผิวเผิน ไม่ได้หยั่งทราบด้วยความรู้จริงเห็นจริงเหมือนพระขีณาสพ (หมายถึง ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว)
    เราจึงต้องยึดต้องถือ เกิดความทุกข์ทรมานภายในจิตใจไม่มีประมาณ เวลาร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ใจเลยกลายเป็นโรคกังวลโรควุ่นวาย โรคเสียอกเสียใจขึ้นมาด้วย แต่พระขีณาสพท่านไม่มี เพียงแต่รับทราบทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นภายในขันธ์เท่านั้น ขันธ์ก็เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต มันไม่ใช่อันเดียวกันสักหน่อย แล้วเวทนาจะไปแทรกจิตท่านได้อย่างไร เมื่อต่างอันต่างจริงแล้วไม่กระทบกัน ทุกขเวทนาแสดงตัวจะหนักจะเบาขนาดไหนก็อยู่ในวงขันธ์ห้านี้เท่านั้น ไม่สามารถไปแสดงตัวในวงจิตของท่านได้ นี่แหละ ระหว่างพระอรหันต์กับพวกเราต่างกันมากราวฟ้ากับดิน ถ้าเป็นโลกก็อยู่คนละโลก ถ้าเป็นฝั่งก็อยู่คนละฝั่ง แล้วจะมาคละเคล้ากันได้อย่างไร พระอรหันต์ท่านไม่มีเวทนาทางใจ เวทนามีอยู่เฉพาะภายในขันธ์นี้เท่านั้น ไม่มีภายในจิตของพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจะไม่นิพพานในท่าต่างๆได้อย่างไร ท่านต้องเป็นท่านโดยสมบูรณ์ตลอดไป ไม่มีสมมุติใดๆ อาจเอื้อมลบล้างความจริงของท่านได้ตลอดอนันตกาล ความจริงเป็นอย่างนี้

    คำว่าเวทนานี่เป็นสมมุติ จะเป็นสุข จะเป็นทุกข์ เป็นอุเบกขาก็ตาม จะเกิดขึ้นภายในกายนี้เท่านั้น ไม่สามารถจะไปเกิดภายในจิตของพระอรหันต์ได้เลย เพราะจิตนั้นเป็น วิสุทธิจิต จิตเป็นวิสุทธิธรรม เป็นวิมุตติจิต ที่พ้นจากสมมุติแล้ว ท่านจึงไม่มีเวทนาใดๆที่จะให้จิตดวงนั้นเสวยอีก ตามหลักความจริงเวทนาทั้งปวงเป็นสมมุติ แต่จิตของท่านเป็นวิมุตติจิต จะเข้ากันได้อย่างไร ฉะนั้น จึงไม่มีเวทนาใดที่จะเข้าเหยียบย่ำทำลายจิตใจของท่านได้ นอกจากสุขในหลักธรรมชาติ ดังที่ท่านว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง สุขในนิพพาน หรือ สุขของท่านผู้บริสุทธิ์ จิตที่บริสุทธิ์นั้นไม่ใช่สุขเวทนา เป็นสุขของวิมุตติจิต จิตเสวยวิมุตในพระนิพพาน จิตเหนือสมมุตินี้ไปแล้ว สุขนั้นจึงไม่มีคำว่า อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา เข้าไปแทรกซึมภายในจิตดวงนั้นได้เลย นี่ผิดกับสุขของโลกที่มีกิเลสหนาเป็นไหนๆ สุขนั้นเป็นสุขในหลักธรรมชาติของความบริสุทธิ์ ไม่ไช่สุขที่เสกสรรปั้นยอขึ้นมา สุขแล้วดับ ดับแล้วเกิดอยู่อย่างนั้น นี่แหละจิตของพระอรหันต์ต่างกันอย่างนี้



    B1%E0%B8%9A-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-1.jpg
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    ปัจจุบัน หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต (ถ้ำตาลเลียน) บ้านทุ่งตาลเลียน ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๕ ปี ๔๕ พรรษา (พ.ศ.๒๕๖๓

    sam_7687-jpg-jpg.jpg sam_7489-jpg-jpg.jpg sam_8546-jpg.jpg SAM_8753.JPG SAM_8754.JPG SAM_8752.JPG sam_7667-jpg-jpg.jpg sam_7489-jpg-jpg.jpg


    ไฟล์ที่แนบมา:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...