มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>เมื่อวานเเละวันนี้ได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 3ท่านครับ เลขที่จัดส่งems เลขที่จัดส่งตามใบฝอยครับ SAM_8550.JPG SAM_8554.JPG
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 546 รูปเหมือนลอยองค์รุ่นย้อนยุคของหลวงปู่ไม อินทสิริ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าเขาภูหลวง อ.วังนํ้าเขียว จ,นครราชสีมา หลวงปู่ไมชาติปัจจุบันเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านีโครธาราม******( อดีตชาติสมัยพุทธกาลองค์ท่านเป็นลูกศิษย์พระอุปคุตเถระเจ้า) รูปเหมือนย้อนยุคสร้างปี 2554 เนื้อทองทิพย์ ,มีตอกโค๊ต ตัวอักษร ส เเละโค๊ตตัวเลข ๙ ใต้องค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *************บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems sam_0259-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7266-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7270-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7271-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7644-jpg-jpg.jpg sam_7273-jpg-jpg-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2021
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 547
    รูปหล่อเหมือนลอยองค์โบราณรุ่นเเรกหลวงปู่อุดม ญาณรโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสถิตย์ธรรมมาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นต้น รูปหล่อเหมือนสร้างปี 2542 เนื้อโลหะรมดำมันปู >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ************บูชาที่ 215 บาฟรีส่งems sam_2151-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2152-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2153-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7313-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7314-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7316-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2488-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 548 เหรียญรูปไข่เศรษฐีธรรม+เหรียญกลมรุ่นพิเศษหลวงปู่ลี กุสลธโร พระอรหันต์วัดป่าภูผาเเดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หลวงปู่ลีเป็นศิษย์เอกหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด เหรียญเศรษฐีธรรมสร้างปี 2550 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีตอกโค๊ต ล หน้าเหรียญ ,ส่วนเหรียญรุ่นพิเศษสร้างปี 2560 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 95 ปี เนื้อกะไหล่ทอง มีตอกโค๊ต ยันต์รูปใบโพธิ์ หน้าเหรียญ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **************บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems
    561000011428001-jpg-jpg.jpg

    หลวงปู่ลี กุสลธโร ได้ละสังขารแล้ววันนี้ (3พ.ย.61) สิริอายุ 96 ปี 1 เดือน 11 วัน

    อุดรธานี-ละสังขารแล้ว! พระบวชหน้าไฟหลวงปู่มั่น “หลวงปู่ลี กุสลธโร” ละสังขารแล้วด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุ 96 ปี 1 เดือน 11 วัน

    หมายเหตุ>>>>>>หลวงปู่ลีองค์ท่านสำเร็จธรรมขั้นสูง คือได้พระอรหันต์ตั้งเเต่พรรษาที่ 11 ที่วัดป่าบ้านกกกอก อ.วังสะพุง จังหวัดเลย

    561000011428002-jpg-jpg.jpg


    วันนี้ (3พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.15 น. ที่วัดป่าเกสรศีลคุณธรรมเจดีย์ (วัดภูผาแดง) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้ออกประกาศแจ้งเตือนไปยังคณะศิษยานุศิษย์ หลวงปู่ลี กุสลธโร ว่าหลวงปู่ ได้ละสังขาร เมื่อวันที่ 3 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2561 เวลา 15.15.น ที่กุฏิปลอดเชื้อวัดภูผาแดง

    ประกาศ ระบุว่าเนื่องด้วยหลวงปู่ลี กุสลธโล มีอาการอาพาธด้วยโรคชรา ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 คณะศิษยานุศิษย์และพระอุปัชฌาย์ก ได้ดูแลอย่างใกล้ชิดจนถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.15 หลวงปู่ละสังขารอย่างสงบ ณ ห้องปลอดเชื้อ ข้างศาลาใหญ่รวมสิริอายุ 96 ปี 1 เดือน 11 วัน ลงชื่อพระอาจารย์วันชัย วิจิตรโต เจ้าอาวาสวัดศรีคุณธรรมเจดีย์วัดป่าภูผาแดง

    สำหรับประวัติ “หลวงปู่ลี กุสลธโร” เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2465 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ ที่บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายปุ่น และนางโพธิ์ สาลีเชียงพิณ มีพี่น้องร่วมกัน 9 คน สมัยเป็นเด็กพ่อแม่พาไปทำบุญเหมือนชาวบ้านทั่วๆไป อายุได้ 12 ปี เรียนจบชั้นป.3 พออายุได้ 20 กว่าปีก็ได้แต่งงานกับนางสาวตี

    เมื่อภรรยาตั้งท้องแล้วคลอดลูกออกมาตาย ท่านได้เกิดความสลดใจเป็นยิ่งนัก ท่านเล่าว่าการแต่งงานก็มิได้แต่งกันด้วยความรัก แต่งงานกันตามประเพณีที่พ่อแม่บอกให้แต่งกันเท่านั้น ท่านเองไม่เคยมีคนที่รัก และยังไม่เคยรักหญิงใดเลย ท่านอยู่กินกับภรรยาได้ 2 ปี 6 เดือน จึงขอออกบวชเพราะได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐานที่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่นที่เดินธุดงค์มาพักยังป่าแถบหมู่บ้านของท่าน

    561000011428003-jpg-jpg.jpg


    561000011428004-jpg-jpg.jpg

    หลวงปู่ลี อุปสมบทที่วัดศรีโพนเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2493 โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านบวชพระเมื่อครั้งงานเผาศพพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต) เมื่ออุปสมบทได้ฉายานามว่า “กุสลธโร” แปลว่า “พระผู้ทรงไว้ซึ่งความ sam_8318-jpg-jpg.jpg sam_8319-jpg-jpg.jpg sam_8316-jpg-jpg.jpg sam_8317-jpg-jpg.jpg sam_7793-jpg-jpg.jpg
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 549
    พระสังกัจจาย์มหาลาภรุ่นเศรษฐีไตรมาส 47หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโสติถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่บุญหนาเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เนื้อกะไหล่ทอง มาพร้อมกล่องเดิม ใต้องค์พระมีบบรจุมวลสาร 108 ชนิด เเละมีฝังพระเกศาหลวงปู่บุญหนาที่กลายเป็นสีทอง **************มีพระเกศาขาวใสมาบูชาด้วยครับ>>>>>>>บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems sam_8400-jpg.jpg sam_8401-jpg.jpg sam_8402-jpg.jpg sam_8404-jpg.jpg sam_7616-jpg.jpg

     
  6. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    รับครับ
     
  7. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +269
    ขอจองครับ
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 550 ล็อกเก็ตจัมโบ้รุ่นสร้างบารมีรุ่น 1 หลวงปู่บุญเพ็ง ขันติโก พระอรหันต์เจ้าวัดหนองเเสง อ.นาหว้า จ.นครพนม หลวงปู่บุญเพ็งเป็นศิษย์หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม พระอรหันค์วัดศรีวิชัย ล็อกเก็ตสร้างปี 2555 รุ่นนี้หลวงปู่อฐิษฐานจิตปลุกเสกให้ 1 ไตรมาสครับ ด้านหลังล็อกเก็ตติดเเผ่นทองเเดงจะเป็นรูปท่านท้าวมหาพรหม 4 หน้านั่งเเท่นบรรลังก์ มีตอกโค๊ต ตัวเลข 191 เเละโค๊ตดอกบัว มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ************บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งems (หลวงปู่บุญเพ็งท่านเป็นพระที่หลวงปู่รินทร์พระอาจารย์ของผม ท่านการันตีว่าหลวงปู่องค์นี้เป็นพระอรหันต์นะ ท่านไปเจอกันงานรับนิมนต์ฉันบ้านโยม พอองค์ท่านทั้งสองเจอกันเท่านั้น ท่านทั้งสองเพ่งเเสงใส่กันเลยครับ พอกลับมาถึงวัดหลวงปู่รินทร์ บอกผมว่าหลวงพ่อที่อยู่อำเภอนาหว้าองค์นั้นเป็นพระอรหันต์นะสมชาย ผมเองไม่เเปลกใจเลย เพราะว่าผมเห็นหลวงพ่อองค์นี้ทุกอาทิตย์ที่วัดป่าบ้านตาดสมัยที่พระหลวงตามหาบัว ทำโครงการทองคำเข้าคลังหลวง ผมจะเห็นหลวงพ่อบุญเพ็งท่านมาถวายทองคำเเละปัจจัยเงินสดเข้าคลังหลวงกับพระหลวงตามหาบัวเสมอ บางครั้งอาทิตย์ละสองครั้งเลย หลวงตาเคยกล่าวเอ่ย ว่าหลวงพ่อองค์นี้เป็นพระเเท้นะ เเต่ตอนนั้นผมยังไม่เข้าใจความหมายของพระหลวงตา มาเข้าใจก็ที่หลวงปู่รินทร์ท่านบอกผมนี้ละ่ครับ
    sam_8308-jpg.jpg sam_8309-jpg.jpg sam_8311-jpg.jpg sam_8183-jpg.jpg

     
  9. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    รับครับ
     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    สส
    ประวัติและปฏิปทา

    หลวงปู่มี (หลวงปู่เกล้า) ปมุตฺโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย)
    บ้านหนองแซง ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


    B8%95-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2.jpg
    รายการที่ 551 เหรียญหลวงปู่มี (หลวงปู่เกล้า) ปมุตฺโต พระอรหันต์เจ้า
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย)
    บ้านหนองแซง ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หลวงปู่เกล้าเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญานสิริ พระอรหันต์วัดป่านิโครธาราม เหรียญสร้างปี 2560 เนื้อทองฝาบาตร มีตอกโค๊ตตัวเลข ๙ หน้าเหรียญ อฐิษฐานจิตโดยหลวงปู่ลี กุสลธโร พระน้องชายหลวงปู่เกล้า(เเต่บวชพระก่อนพี่ชาย) มีพระเกศาหลวงปู่เกล้ามาบูชาเป้นมงคลด้วยครับ ********บูชาที่ 235 บาฟรีส่งems(มาพร้อมกล่องเดิม)
    ประวัติย่อๆหลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตฺโต พระอริยสงฆ์แห่งถ้ำเกีย องค์ท่านเป็นพระพี่ชายแท้ๆ ของหลวงปู่ลี กุสลธโร องค์หลวงปู่มี ปมุตฺโต หรือที่รู้จัก หลวงปู่เกล้า อดีตเจ้าอาวาสวัดดอยเทพนิมิตร (ถ้ำเกีย) บ้านหนองแซง ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    หลวงปู่มี ปมุตฺโต นามเดิม นายมี ชาลีเชียงพิณ เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ณ บ้านเก่า ต.บ้านเก่า อ.ด้านซ้าย จ.เลย

    โยมบิดาชื่อ นายอู๊ด ทองคำ อาชีพเป็นช่างตีทอง และโยมมารดาชื่อ นางโพธิ์ ชาลีเชียงพิณ มีพี่น้องรวมกัน ๔ คน คือ

    ๑. นางวันดี เพ็งลี (ชาลีเชียงพิณ) ถึงแก่กรรมแล้ว
    ๒. หลวงปู่มี ปมุตโต
    ๓. หลวงปู่ลี กุสลธโร
    ๔. นางบุญก่อง ศรีบุญเรือง (ชาลีเชียงพิณ) น้องสาวต่างบิดา

    ต่อมามารดาได้พาพี่น้องทั้ง ๔ คน เดินทางอพยพมาตั้งรกรากที่ บ้านหนองบัวบาน ตำบลหมากหญ้า (ในขณะนั้น) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่เกล้า ได้รับการศึกษาถึงระดับ ประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนบ้านหนองบัวบาน ในช่วงวัยเยาว์ท่านได้เคยบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงได้ลาสิกขาออกมาทำงานช่วยมารดา และครอบครัว จากนั้นเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม ในครั้งที่ยั้งเป็นฆราวาสนั้น ท่านได้สมรสกับ นางใคร่ มีบุตรธิดารวม ๔ คน คือ

    ๑. นางเกล้า ชาลีเชียงพิณ
    ๒. นายแดง ชาลีเชียงพิณ
    ๓. นายวีระชัย ชาลีเชียงพิณ
    ๔. นางวิไล ชาลีเชียงพิณ

    ชื่อหลวงปู่ท่านมีสองชื่อคือ “หลวงปู่มี” ซึ่งเป็นชื่อที่บิดามารดาตั้งให้ และอีกชื่อที่บุคคลทั่วไปทั้งฆราวาส พระเณร เอ่ยเรียกท่านด้วยความเคารพว่า “หลวงปู่เกล้า” ชื่อหลวงปู่เกล้านั้นมาจากธรรมเนียมชาวอีสาน ที่ถือปฏิบัติคล้ายๆ กันในการเรียกแทนชื่อของผู้เป็นพ่อหรือแทนชื่อของคนผู้เป็นแม่ ด้วยชื่อของลูกคนโต ด้วยท่านมีลูกคนโตชื่อ เกล้า ดังนั้นเพื่อนบ้านคนรู้จักมักคุ้นจึงเรียกชื่อท่านว่า พ่อเกล้า และเรียกกันจนติดปากเรื่อยมาเป็น หลวงปู่เกล้า เช่นทุกวันสมัยเป็นฆราวาส

    สมัยเป็นฆราวาสหลวงปู่ท่านเป็นนายพรานล่าเนื้อจนเป็นที่รู้จักคนทั้งหมู่บ้านและยังเป็นหมอยาสมุนไพรรักษาคนป่วยวิธีการรักษาของหลวงปู่ก็คือเอาเหล็กที่แดงๆ จากการเผาด้วยไฟมาว่างไว้แล้วเท้าหลวงปู่เหยียบลงที่เหล็กแล้วยกขาขึ้นไปเหยียบกับคนไข้ที่ปวดที่ต่างๆ ของร่างกายพอไปเหยียบคนไข้คนไข้ก็ร้องว่าร้อนแต่หลวงปู่ไม่ได้แสดงอาการว่าร้อนแต่อย่างไรเลย

    อุปนิสัยของท่านเมื่อยังเป็นฆราวาสนั้น ถ้าจะกล่าวว่าเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ก็ไม่เป็นการกล่าวผิดไปจากความเป็นจริงที่ท่านเป็นเลย จะลองให้ลูกศิษย์พระเณรฟังในขณะจับเส้นถวายท่านว่า เมื่ออดีตสมัยเป็นฆราวาส ท่านเคยเป็นผ้าขาวติดตามหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ในช่วงที่หลวงปู่ขาวออกวิเวกหลีกเร้นแสวงหาสถานที่ภาวนาไปตามป่าเขา เพื่อหลีกเร้นจากผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โอกาสเช่นนี้ ทำให้ท่านได้ติดตามหลวงปู่ขาวเข้าไปสู่บริเวณป่าลึกที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายอันตราย

    นอกจากต้องมีความสันโดษมักน้อยในเรื่องการกินอยู่แล้ว จิตใจต้องก็ยิ่งหนักแน่นมั่นคงกล้าหาญอย่างยิ่งด้วย การที่ได้อุปัฎฐากหลวงปู่ขาวทำให้ท่านได้มีโอกาสพบเจอครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน และรู้จักคุ้นเคยกับปฏิปทาพระกรรมฐานจนเป็นแรงศรัทธาประทับไว้ในใจ ในสมัยเป็นฆราวาส หลวงปู่ท่านพูดให้ฟังว่า เฮาอยู่กับหลวงปู่ขาว เมื่อหนึงไปล่างกระโถน หลวงปู่ขาว เฮาลืมเซ็ดให้แห่ง หลวงปู่ขาวไปเจอท่านเลยโยนกระโถนใส่หน้าเฮา ท่านกะว่าอยู่กับหลวงปู่มั่นบ่ได๋เด้อแบบนี้นะ เฮานะต้อนอยู่กับหลวงปู่ขาว อยู่ในป่าบางมื้อ หลวงปู่ขาวไปบิณฑบาตได๋แต่หมากพริกแห้งกับเกลือ เฮากะเอาหมากพริกแห้งกับเกลือมาตำแล้วเอาน้ำใส่ แล้วกะไปถวาย หลวงปู่ขาว ฉันเข่ากับน้ำพริก มันทุกบ่หมู่โต้คิดดู๊

    B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%95.jpg
    หนังสือสุทธิของ หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตฺโต
    %B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81.jpg
    หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตฺโต วัดถ้ำเกีย ในวัยพรรษายังไม่มากนัก
    ◎ ชีวิตพรหมจรรย์เริ่มต้นกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    ชีวิตครองเรือนของท่าน ขณะที่ลูกสาวคนสุดท้องยังเป็นเด็ก ภรรยาของท่านก็ได้เสียชีวิต ท่านก็ผละจากการเป็นผู้ครองเรือนเข้าบวชกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม หลวงปู่อ่อน ท่านได้วางระเบียบสำหรับฝึกฝนผู้ที่จะเป็นพระไว้อย่างเคร่งครัดทั้งนี้เพื่อสือทอดรักษาประเพณีข้อวัตรปติบัติตามแบบฉบับที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านดำเนินไว้เป็นแบบอย่าง หลวงปู่พูดอีกว่า ท่านเป็นผ้าขาวอยู่หนึ่งปีกับหลวงปู่อ่อน มีหลวงปู่อว้าน เขมโก เป็นพระสอนนาค จากบันทึกหลวงปู่อว้าน ท่านว่าหลวงตาเกล้าตอนเป็นนาค หลวงปู่อว้านได้ใช้หลวงปู่เกล้า ไปตัดไม้ไผ่มาทำไม้กวาด แต่ไปพลาดท่าไหนมีดเลยไปบาดมือหลวงปู่เกล้าเลือดไหลออกมามาก หลวงปู่พูดต่อว่า พอเลือดไหลออกมาแล้วหลวงปู่เกล้าจ่มคาถาไรไม่รู้แล้วเป่าเลือดก็หยุดไหล แล้วก็ไม่มีบาดแผลเลย

    มีอีกเหตุการณ์หนึ่งสมัยเป็นผ้าขาว วันหนึ่งหลวงปู่นั้นภาวนาอยู่ใต้ต้นยาง วันนั้นมีลมพัดเอากิ่งไม้ยางตกลง แต่ก็ไม่ถูกองค์หลวงปู่ เฉียดออกไม่ถึงสอกแต่หลวงปู่ยังนั่งทำสมาธิต่อโดยไม่มีอาการลุกหนีจนครบเจ็ดวันหลวงปู่จึงออกจากสมาธิแล้วมีคนไปถามหลวงปู่นั่งสมาธิอยู่นั้นไม่ได้ยินเสียกิ่งไม้ตกลงมาหรอหลวงปู่ก็ตอบว่าไม่ได้ยิน

    8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5.jpg
    หลวงปู่มี (หลวงปู่เกล้า) ปมุตฺโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%95.jpg
    หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตฺโต วัดถ้ำเกีย
    ◎ การตั้งวัดดอยเทพนิมิตร (ถ้ำเกีย)
    ขณะที่หลวงปู่เป็นพระนวกะ (บวชใหม่) ที่หนองบัวบานมีโครงการทำเขื่อนกักเก็บน้ำ (เขื่อนห้วยหลวง) หากสร้างเสร็จแล้วพื้นที่ที่กักเก็บน้ำอาจกินเนื้อที่บริเวณวัดหนองบัวบาน อาจถูกน้ำท่วมจนจมหายไปหมด จึงได้ขอพระราชทานวิสุงคาสีมา และได้ออกปากกับบรรดาลูกศิษย์ในวัดว่า ใครจะไปอยู่ไหนก็รีบไป ให้รีบหาวัดอยู่เพราะไม่แน่ว่าน้ำจะท่วมวัดจนจมอยู่ในเขื่อนหรือไม่ ด้วยเหตุหนี้พระลูกศิษย์ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลายรูป ได้กราบลาท่านออกจากวัดหนองบัวบานรวมถึงหลวงปู่ด้วยที่จำพรรษาอยู่กับท่านผ่านมา ๓ พรรษาแล้วด้วย เมื่อหลวงปู่เกล้าออกวัดหนองบัวบานแล้ว ได้วิเวกมาจนถึงภูกำพร้าแต่ก่อนบริเวณภูนี้ท่านเคยเที่ยวลัดเลาะผ่านมาเมื่อครั้งเป็นนายพราน ด้วยกุศลจิต ความศรัทธา เสียสละจากชาวบ้าน ทั้งขวนขาวยอนุเคราะห์ในการอุปัฎฐาก สถานที่ที่ท่านอาศัยวิเวกตรงนี้ จึงได้เป็นวัดดอยเทพนิมิตร หรือวัดถ้ำเกีย ในปัจจุบันนี้ (จากศาลาวัดห่างออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร มีถ้ำที่มีค้างคาวอยูอาสัยจำนวนมาก จนเป็นชื่อว่า “ถ้ำเกีย” เกียเป็นภาษาอิสาน หมายถึง “ค้างคาว“

    8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5.jpg
    หลวงปู่มี (หลวงปู่เกล้า) ปมุตฺโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    ◎ ความเพียร
    ข้อวัตรปฏิปทาของหลวงปู่มี ทุกวันฉันเสร็จแล้วจะเข้าทางจงกรม จากนั้นจึงขึ้นกุฎินั่งสมาธิภาวนา ท่านเล่าว่า สมัยท่านเป็นพระบวชใหม่ได้หักหาญทำความเพียรอย่างหนักในการแก้นิวรณ์ อดหลับ อดนอน ๔ วัน ๔ คืนจนเป็นลมสลบไปในคืนที่ ๔ หลังจากนั้นก็ไม่มีอาการโงกง่วงสัปหงกในการภาวนาอีกเลย กับครูบาอาจารย์ผู้เป็นมงคล สมันเป็นฆราวาสหลวงปู่มีโอกาสได้ติดตามหลวงปู่ขาว อนาลโย นับเป็นสิริมงคลอย่างสูง เมื่อบวชเป็นพระหลวงปู่ก็ได้อยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นอาจารย์ผู้ให้นิสัย นับเป็นมงคลอย่างสูง เมื่อพระมหาเถระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ได้เมตตาเดินทางมาเยี่ยมที่วัดถ้ำเกียหลายครั้งหลายคราว ดังนั้นการปกครองพระเณรของหลวงปู่เกล้า ท่านจึงระวังไม่ให้เสียปกิปทาที่รักษามาจากพ่อแม่ครูอาจารย์ทั้ง ๓ องค์

    B8%95-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2.jpg
    หลวงปู่มี (หลวงปู่เกล้า) ปมุตฺโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    ◎ ละสังขาร
    ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ หลวงปู่เกล้าเริ่มอาพาธมีอาการอาพาธทางด้านสมอง แพทย์ตรวจวินิจฉัยว่าสมององค์ท่านเป็นโรคสมองฝ่อ อาการของโรคชนิดนี้มักจะเป็นมากในผู้สูงอายุ ถ้าหากใครได้เป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดนั้นยาก มีแต่ทรงไว้เท่านั้น แต่ร่างกายของท่านก็ยังดูแข็งแรงดีสมกับกาลพรรษา ยังเดินได้สะดวกและแววตาของท่านก็ยังสดใส หากโรคนี้ไม่มาเบียดเบียนท่าน ปฏิปทาข้อวัตรขององค์ท่านนั้นจะยังเหมือนเดิมทุกประการ

    ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ อาการป่วยขององค์ท่านก็เริ่มแสดงอาการอย่างเห็นได้ชัดว่าสังขารนี้เป็นของไม่เที่ยง องค์ท่านต้องเข้าโรงพยาบาลอีกครั้งและเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตของท่านและมาสิ้นสุดลงแค่นี้ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๘.๐๐น. ท่านก็ได้ละธาตุขันธ์ ในระหว่างพรรษาที่ ๔๒ สิริอายุได้ ๘๙ ปี ๔ เดือน ๑๑ วัน ณ ศาลาวัดดอยเทพนิมิตร (ถ้ำเกีย) คงทิ้งไว้แต่บทเรียนปฏิปทาของท่านให้ลูกศิษย์ได้เห็นสัจธรรมและการปฏิบัติของท่านเพื่อให้เป็นข้อวัตรทางดำเนินเดินตาม “รอยเท้าพ่อ”

    • ◎ บรรณานุกรมอ้างอิง
    จากหนังสือ “รอยเท้าพ่อ พระมี ปมุตฺโต” หนังสือที่ระลึกงานประชุมเพลิงศพ หลวงปู่มี ปมุตฺโต(หลวงปู่เกล้า) ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ ; พิมพ์เมื่อ สิงหาคม ๒๕๕๑

    ที่มา : ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน

    %B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95-1024x683.jpg
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์องค์หลวงปู่มี(เกล้า)ปมุตโต
    วัดดอยเทพนิมิต (ถ้ำเกีย) ต.หนองบัวบาน
    อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95.jpg
    รูปเหมือน หลวงปู่เกล้า ภายในเจดีย์พิพิธภัณฑ์องค์หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตโต
    B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95.jpg
    เครื่องอัฐบริขาร ภายในเจดีย์พิพิธภัณฑ์องค์หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตโต
    B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95-614x1024.jpg
    รูปเหมือน ภายในเจดีย์พิพิธภัณฑ์องค์หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตโต SAM_8556.JPG SAM_8558.JPG SAM_8559.JPG SAM_7605.JPG 561000011428003-jpg-jpg-jpg.jpg


    561000011428004-jpg-jpg-jpg.jpg

    หลวงปู่ลี กุสลธโร พระน้องชายหลวงปุ่เกล้าศิษย์เอกพระหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด(หลวงปู่ลีบวชพระก่อนตั้งเเต่ พ.ศ.2492 ครับ) หลวงปู่เกล้าเเต่ก่อนท่านเป็นนายพรานเคยอุปฐากอารักขารับใช้หลวงปู่ชาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพลในป่า 9 ปีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2021
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 552 เหรียญเจรีญพรบนหลวงปู่เคน เขมาสโย พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองหว้า อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่เคนเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2557 เนื้อทองเเดงรมดำมันปู มีตอกโค๊ตยันต์นะ หน้าเหรียญ(อนึ่ง.....เหรียญรุ่น 1 ของหลวงปู่เคนที่เป็นสีทองฝาบาตร ที่เเจกในงานกฐินวัดของหลวงปู่ ดังมาก เพราะว่ามีคนห้อยคอเหรียญรุ่นนี้เเล้วมีคนมาเเอบยิงด้วยลูกปืน เเต่ปืนยิงเท่าไหร่กระสุนด้านยิงไม่ออกครับ ทำให้คนที่ห้อยเหรียญหลวงปู่เคนรอดชีวิต) มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ **************บูชาที่ 185 บาทฟรีส่ง
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า บ้านหนองหว้า ต.ทรายมูล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b8-ab-e0-b8-a7-e0-b9-89-e0-b8-b2-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พระอริยสงฆ์ผู้ยินดีอาศัยในธรรม

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง อารมณ์ดี เยือกเย็นเสมอ พร้อมให้การสังเคราะห์ต่อศรัทธาญาติโยม ท่านมีอัธยาศัยเป็นพระที่ไม่ค่อยเก่งในการปฏิสัณฐานกับศรัทธาญาติโยมมากนัก เรียกว่าไม่ค่อยพูด นอกเสียจากว่านาน ๆ ครั้งองค์ท่านก็มีเมตตาสอนให้ข้อคิดคติธรรมบ้าง ในลักษณะคำสอนสั้น ๆ แต่ก็ถึงใจกับลูกศิษย์ลูกหา เมื่อได้น้อมใจที่พยายามเข้าใจในธรรมที่องค์ท่านเมตตาสอน ทั้งผิวพรรณขององค์ท่านก็สดใส ขาวผ่อง สมกับความเป็นพระอริยเจ้าผู้มีคุณธรรมขั้นสูง หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ศิษย์ผู้มีความผูกพันกับหลวงปู่เคน เคยกล่าวไว้ว่า “พระผู้เฒ่าไม่ต้องห่วงแล้ว ท่านสบายแล้ว”

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “นิ่งแนน” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    เป็นบุตรของคุณพ่อไพ คุณแม่บับ ท่านเกิดได้ไม่นานแม่ก็เสียชีวิต น้าสาวเลยเอาท่านไปเลี้ยงเป็นลูก แล้วเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ฤกษ์งาม”

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ในสมัยเด็ก ๆ องค์ท่าน มีจิตใจในทางเมตตา ใฝ่ใจใคร่รู้ในทางธรรมมาก และมีจิตเมตตา สงสารในสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และมีชีวิตที่ไม่โลดโผนมากนัก ผิดกับวัยรุ่นวัยหนุ่ม ที่คะนองตามแบบหนุ่มบ้านนอกลูกทุ่งโดยทั่วไป ด้วยใจที่ใฝ่ในทางธรรม จึงออกปากขอโยมพ่อ โยมแม่ ขอออกบวช ก็เป็นที่น่ายินดีกับทุกคนที่ได้รับฟังเวลานั้น ช่วงนั้นเป็นเดือน ๑๑ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว พอตอนเย็น ท่านกับเพื่อน ๆ ที่พร้อมจะบวชด้วยกันทั้ง ๔ คน ก็มาฝึกขานนาคกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง

    0-b8-a7-e0-b9-89-e0-b8-b2-e0-b8-88-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสํโย วัดป่าหนองหว้า จ.สกลนคร
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ สิมกลางน้ำ วัดป่าบ้านหนองดินดำ (ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดป่าคามวาสี) ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล โดยมีพระอธิการพุฒ ยโส (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูพุทธิวาคม) เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่นนท์ โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่หอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    พระอาจารย์เคน ได้รับฉายาว่า “เขมาสโย” แปลว่า “ผู้ยินดีอาศัยในธรรม” ในการบวชครั้งนั้นได้มีการเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อมกัน ๔ นาค คือ
    ๑.นาคเคน ฤกษ์งาม หรือท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย
    ๒.นาคประสาร รำไพ หรือท่านพระอาจารย์ประสาร ปัญญาพโล
    ๓.นาคสมัย โสภาจาร หรือท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก
    ๔.นาคชาลี โคตรสมบูรณ์ บวชเป็นสามเณร เพราะอายุยังไม่ถึง ต่อมาได้ลาสิกขาบท

    หลังจากท่านบวชแล้วก็ติดตามหลวงปู่นนท์ โกวิโท เที่ยวไปธุดงค์ที่ จ.นครพนม ได้ไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่บุญมา มหายโส ที่วัดอรัญญิกาวาส อ.เมือง จ.นครพนม อยู่พักหนึ่ง

    ภายหลังพระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ได้ฝากให้ท่านไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต เพื่อให้ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานในเบื้องต้นให้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่คำ มีอายุ ๖๐ ปี ที่วัดศรีจำปาชนบท บ้านพังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เป็นพรรษแรก คือปี พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงปู่คำ ให้อาตมาฝึกนั่งสมาธิเจริญคำภาวนาว่า “พุทโธ” ด้วยการให้พิจารณาการหายใจเข้าหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ และให้มีสติกำหนดรู้อยู่ในการหายใจ ฝึกอยู่ได้หนึ่งพรรษาจิตยังหยาบอยู่ จึงต้องตั้งสติอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ

    จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์จันทร์ ไปอยู่บ้านนาเหมือง จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์จันทร์ ได้สอนการอ่านตัวธรรมที่จารอยู่ในใบลานต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการฝึกจิตเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนจิตใจสงบดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่านเหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้หูตาสว่างไสวไปอีกขั้นหนึ่ง คือมองอะไรก็เป็นธรรมดา จิตใจไม่ว้าวุ่นเป็นสมาธิดี ท่านพระอาจารย์เคนอยู่อบรมธรรมกับพระอาจารย์จันทร์ อยู่ ๓ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนแสนคำ บ้านทุ่งคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ณ ที่นี้ ก็เป็นสัปปายะดี คือเป็นสถานที่ดี มีความสงบสงัด เป็นที่ถูกใจ เหมาะแก่การภาวนาปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่ ๑ พรรษ คือปี พ.ศ.๒๔๙๘

    จากนั้นจึงมาอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๔ พรรษา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ จากนั้นท่านทราบข่าวว่าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระที่มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส จึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาอบรมธรรมอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อีก ๑ พรรษา คือปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่อ่อน ได้อบรมสั่งสอนในเรื่องทางการฝึกจิต ความเจริญทางจิตใจนั้น เราจะปล่อยไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะใจจะไหลลงต่ำ ไม่ดีงาม เราต้องรู้จักควบคุมบังคับ ฝืนไม่ให้อาหารในทางเสื่อม ไม่อย่างนั้นจิตใจจะไม่เจริญก้าวหน้า ท่านสอนให้ยึดคำบริกรรม “พุทโธ” เป็นหลัก เพราะไม่มีคำบริกรรมอย่างใดจะดีเท่าการสรรเสริญพระพุทธเจ้า

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อบรมเรื่องการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปอยู่ป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามีนี่เพื่อทำปัญญาให้เกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกกับเรา ถ้าปัญญาดีแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อท่านพระอาจารย์เคน รับการอบรมจากหลวงปู่อ่อนแล้ว ก็ได้กราบลา แล้วธุดงค์ไปที่ดงหม้อทอง แล้วไปอยู่ตามเขาตามถ้ำต่าง ๆ ที่ อ.บ้านผือ

    สมัยนั้นยังมีป่าไม้ให้ร่มเย็น สมัยที่องค์ท่านออกเดินธุดงค์ ไม่ต้องกล่าวถึงความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกว่า มีแต่ป่ากับป่า ท่านเล่าว่าสิงสาราสัตว์ อย่างเสือ กวาง เก้ง แม้ช้างป่า มากมายจริง ๆ แต่ก็ไม่ทำให้องค์ท่านท้อในการเดินทางเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ การไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ได้พิจารณายึดเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้แนะนำให้ไปปฏิบัติตามครรลองของพระพุทธศาสนา การบิณฑบาตในสมัยนั้นก็ได้แต่ข้าวเหนียว ไม่มีกับข้าว อดบ้างอิ่มบ้างก็อดทนอดกลั้น แม้จะพบความยากลำบาก ก็ไม่กังวลกับสิ่งใดใด

    ท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย ได้ธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว ขึ้นไปธุดงค์อยู่รุกขมูลตามร่มไม้ เพิงหิน โถงถ้ำที่ภูเขาควาย ประเทศลาว ที่ภูเขาควายนี้เป็นที่มีอาถรรพณ์ และศักดิ์สิทธิ์ เต็มไปด้วยภูตผีวิญญาณร้าย พระธุดงค์มากมายเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่เป็นจำนวนมาก ท่านเล่าว่า ที่ภูเขาควายนี้เป็นภูเขาที่สูงมากของฝั่งลาว สูงกว่าดอยสุเทพเสียอีก เป็นภูเขาที่น่ากลัวจริง ๆ เพราะเป็นป่าทึบดงดิบหนา มีสัตว์ป่ามากมาย เช่นช้าง เสือ หมี งู และสัตว์มีพิษอื่น ๆ อยู่มาก ที่สำคัญอากาศบนยอดเขาภูเขาควายหนาวเย็นมาก ถ้ามองรอบตัวจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะป่ามันทึบมาก

    เวลาขึ้นเขาไปต้องค่อย ๆ มีสติเหยียบก้อนหินขึ้นไปทีละก้อนอย่างเชื่องช้า เพราะหินบางก้อนลื่นมาก เขาก็สูงชันมาก กลัวจะพลาดตกลงไป ทั้งบนบ่าก็แบกกลด แบกบาตรอัฐบริขารหนักมาก ท่านนึกถึงตนเองสมัยนั้นก็น่าสงสารตนเองยิ่งนัก แต่เราเป็นพระที่ขึ้นชื่อว่าเสียสละในทุกสิ่งทุกอย่างก็เลยปลงได้ เพราะถือว่าครูบาอาจารย์ก็เคยลำบากมาก่อนแล้ว ท่านจึงได้ดีมีอรรถมีธรรม ครูบาอาจารย์ที่เคยมาเยือนที่ภูเขาควายแห่งนี้ในสมัยก่อน ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่เครื่อง ธัมมธโร หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ก็เคยมาเยือนที่ภูเขาควายเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้แล้วทั้งนั้น

    เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขา ท่านพระอาจารย์เคน ได้เห็นตาผ้าขาว กำลังกวาดใบไม้อยู่บนพลาญหิน จึงรู้สึกดีใจว่าบนยอดภูเขาควายนี้ ก็มีผู้มาบำเพ็ญสมณธรรมเช่นกัน ท่านจึงรีบเดินตรงเข้าไปหาหวังพูดคุยเจรจาด้วย เพราะไม่ได้พูดคุยกับใครมานานแล้ว แต่พอไปถึงที่นั้นกลับไม่พบใคร มีแต่ความว่างเปล่า หรือจะเป็นเทพเทวดาอารักษ์รักษาป่าก็เกินจะคาดเดาได้ คืนนั้นท่านพระอาจารย์เคน พักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำที่ท่านไปอยู่ก็มีโครงกระดูก ไม่ทราบเป็นของพระธุดงค์หรือของโยมชาวบ้านที่มาล่าสัตว์ คงจะมาพักแล้วโดนงูกันตายก็เป็นได้ เพราะมีสิ่งของบางอย่างวางทิ้งไว้เช่นกาน้ำ การมาอยู่ที่ภูเขาควายก็ได้ความสงบสงัด ความวิเวกดี ได้ความก้าวหน้าในสมาธิตามลำดับ ท่านได้เที่ยวไปที่ต่าง ๆ ในเขตฝั่งลาวอยู่ถึง ๒ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๕๐๔ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕

    ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบของบ้านเมืองในประเทศลาว ชาวบ้านจึงให้ความเห็นให้ท่านเดินทางกลับมาฝั่งไทยจะดีกว่า ท่านธุดงค์ข้ามมาทางบึงกาฬ-ปากคาด-โซ่พิสัย เรื่อยมาทางคำตะกล้า-บ้านม่วง ผ่านวานรนิวาส จนมาถึงสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์เคน เขมสโย ได้มาวิเวกมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่บ้านหนองหว้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ บริเวณด้านหลังกุฏิไม้(หลังเก่า)ขององค์ท่าน ท่านว่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยมาปักกลดอยู่ที่นี่ เมื่อก่อนแถบนี้เป็นป่ารกชัฏ แล้วก็ยังมีเสืออยู่ แต่ปัจจุบันก็เป็นอย่างที่เห็น กลายเป็นไร่นาของชาวบ้านหมดแล้ว สมัยที่ท่านพระอาจารย์เคน มาวิเวกอยู่ที่นี่ครั้งแรก มีชายรูปร่างสูงใหญ่ เป็นคนโบราณ ตัวดำทมึน เดินเข้ามาหา บอกว่าตามมาดูแลรักษา มิให้เกิดอันตรายใดใดทั้งสิ้น ขอให้ปฏิบัติธรรมไปด้วยความสบายใจ เขาบอกว่าเขาตามมาจากฝั่งลาว จะมาขออยู่ด้วยตลอดไป ท่านพระอาจารย์เคน ก็ไม่ได้ว่าอะไร

    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้เข้าไปศึกษาอบรมธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ที่ถ้ำพวง ภูผาเหล็ก อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์วัน เป็นพระที่มีเมตตาธรรมมาก เป็นพระปฏิบัติดีเคร่งครัดพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านพระอาจารย์วัน นับเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่านพระอาจารย์เคน ที่ท่านมีแต่ให้มาตลอด ข้อธรรมที่ไม่รู้ ท่านก็สอนให้รู้โดยไม่ปิดบังแต่อย่างใด ท่านสอนให้พิจารณษสังขารร่างกายนั้นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่าไปยึดติดในสิ่งที่อยู่นอกกาย เช่น เนื้อหนังมังสาที่สวยงาม ล้วนแต่เป็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงแท้ทั้งนั้น

    0-b9-88-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b8-ab-e0-b8-a7-e0-b9-89-e0-b8-b2-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสํโย วัดป่าหนองหว้า
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้มากลับมาอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี มีโยมอุบาสกคนหนึ่งชื่อ “จันทร์เรียน” ได้มาฝึกขานนาคด้วย มีท่านพระอาจารย์เคน และท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก ช่วยกันสอนการออกเสียงอักขระ การขานนาคให้กับท่านจันทร์เรียน ท่านพระอาจารย์เคน จึงถือได้ว่าเป็นพระอาจารย์ และเมื่อครั้งท่านอาจารย์จันทร์เรียน อุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ ท่านพระอาจารย์เคน ก็ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร แห่งวัดถ้ำสหาย อีกด้วย

    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้กลับไปวิเวกอยู่ที่ป่าช้า บ้านหนองหว้าอีกครั้งนึง แล้วจึงได้อยู่โปรดญาติโยม จนได้สร้างเป็นวัดป่าหนองหว้า ได้อยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    0-b9-89-e0-b8-b2-e0-b8-88-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-970x1024-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า จ.สกลนคร
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๖ หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านไปจำพรรษาที่วัดถ้ำสหายกับหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร เนื่องจากหลวงปู่เคนท่านอาพาธ หลวงปู่จันทร์เรียนเลยอาราธนานิมนต์ท่านไปอยู่ด้วย ท่านเล่าว่าสมัยอยู่วัดป่านิโครธาราม ญาติโยมเอาหลวงปู่จันทร์เรียนไปฝากท่านให้สอนขานนาคเนื่องจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ไม่อยู่ เพราะหลวงปู่อ่อนไปทำธุระที่กรุงเทพ ฯ ที่แรกท่านว่าจะไม่รับ รอหลวงปู่อ่อนกลับมาค่อยเอามาฝากหลวงปู่อ่อนใหม่ ญาติโยมไม่ยอม จำเป็นท่านเลยรับไว้ และก็สอนขานนาคให้ หลวงปู่จันทร์เรียน นึกถึงบุญคุณครูบาอาจารย์สมัยหลวงปู่เคน ท่านเคยสอนนาค และอยู่อบรมธรรมด้วยกันมาเสมอ

    หลวงปู่เคน เขมาสโย มีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก คือ
    ๑.หลวงปู่ประสาร ปัญญาพโล วัดคามวาสี บ้านหนองดินดำ ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพุธที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
    ๒.หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก วัดป่าโนนแสงทอง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ๓.หลวงปู่เกิ่ง วิทิโต วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ท่านมรณภาพแล้ว วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านได้เข้ารับการรักษาตัวที่ โรงพยาบาลยุพราชสว่างแดนดิน เนื่องจากลื่นหกล้มที่กุฏิ ในช่วงก่อนวันคล้ายวันเกิดในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งทำให้สะโพกท่านหัก ภายหลังจึงได้นำตัวท่านส่งไปโรงพยาบาลสกลนคร และได้ละสังขารลงเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา สิริรวมอายุ ๘๖ ปี ๗ วัน พรรษา ๖๓
    0-b8-94-e0-b8-b4-e0-b8-99-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-498x1024-jpg-jpg.jpg
    เจดีย์ หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า สว่างแดนดิน สกลนคร
    0-b8-99-e0-b8-94-e0-b8-b4-e0-b8-99-e0-b8-aa-e0-b8-81-e0-b8-a5-e0-b8-99-e0-b8-84-e0-b8-a3-jpg-jpg.jpg
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    14100515_1133369610086050_7953009226358946418_n-jpg-jpg.jpg
    อัฐิธาตุของท่านหลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า sam_8109-jpg-jpg.jpg sam_8110-jpg-jpg.jpg SAM_7793.JPG
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 553
    เหรียญเสมาสุขัง พะลังหลวงตาพวง สุขินทริโย พระอรหันต์เจ้าวัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงตาพวงเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย,ศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร เหรียญสร้างปี 2544 เนื้อทองเเดงรมมันปู มีพระเกศาขาวๆใสๆหลวงตามาบูชาเป็นมงคล *************บูชาที่ 185 บาทฟรีส่งems sam_6175-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6875-jpg.jpg sam_6177-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6178-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1885-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 554 เหรียญปรกใบมะขามรุ่นเเรกเเละรุ่นเดียวของหลวงปู่ทองพูล สิริกาโม พระอรหันตืเจ้าวัดสามัคคีอุปถัมถ์ สร้างปี 2546 เนื้้อทองเเดง มาพร้อมกล่องเดิม 3 องค์ สร้างโดยวิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *********บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems(พื้นที่ 500 บาทขึ้นครับหายากสร้างน้อยเพียง 3500 องค์เท่านั้น) หลวงปู่ทองพูลตั้งจิตแน่วแน่ในการปฏิบัติธรรม ถึงขั้นที่เรียกว่ามอบกายถวายชีวิต โดยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวก เพื่อเร่งความเพียรบำเพ็ญภาวนา เพียงพรรษาแรกอาจารย์ได้ถือเนสัชชิธุดงค์ คือการไม่นอน ไม่ยอมให้หลังแตะกับพื้นตลอดพรรษา พร้อมกับอดอาหารควบคู่กันไปด้อาพาธเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก แต่อาศัยธรรมโอสถ ขันติธรรมที่เกิดขึ้น จนไข้มาลาเรียหายไปเอสําหรับวัดแห่งนี้ หลวงปู่ทองพูลเดินทางมาในช่วงปี พ.ศ.2502 ครั้งแรกยังเป็นแค่ภูดิน อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอบึงกาฬ โดยชาวบ้านเรียกภูดินแห่งนี้ว่า ภูกระแต เนื่องจากมีสัตว์พวกกระรอก กระแต รวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ อาศัยอยู่ชุกชุมตามสภาพที่เป็นป่าดงทึบรกครึ้มเมื่อมาถึงบริเวณภูกระแต ในคืนแรกจำวัดใต้ต้นบก และอีก 3-4 วันต่อมา ชาวบ้านได้ทำเพิงพักนั่งร้านและกุฏิชั่วคราวแบบง่ายๆ ทำด้วยไม้ไผ่ป่า จากนั้นก็ได้พัฒนาวัดเรื่อยมาจวบจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแรงศรัทธาสามัคคีร่วมใจจากคณะลูกศิษย์ลูกหา ทั้งพระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านมีความสามารถด้านการแสดงธรรมเทศนา ท่านมักจะใช้ภาษาที่ง่าย สามารถสื่อให้ชาวบ้านเข้าใจง่าย มีตัวอย่างประกอบหลักธรรมเชิงบุคลาธิษฐานขณะเดียวกัน ยังให้ความเมตตาแก่ประชาชนทุกระดับ เมื่อได้รับนิมนต์ให้ไปแสดงธรรม ตามงานบุญทั่วไป หรืองานฌาปนกิจศพไร้ญาติ โดยเฉพาะวันธรรมสวนะ จึงทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความศรัทธาน้อมนำคำสอนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันตลอดชีวิตทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจให้กิจการคณะสงฆ์ทั้งในด้านปริยัติ ปฏิบัติ รวมถึงสาธารณสงเคราะห์ด้วยแต่ด้วยอายุขัยที่ล่วงเลยเข้าสู่วัยชราภาพ บ่อยครั้งทำให้ท่านอ่อนแรง สุขภาพไม่แข็งแรงคืนวันอังคารที่ 12 พ.ค.2558 เวลา 18.59 น. จึงละสังขารด้วยอาการ สงบสิริอายุ 83 ปี 1 เดือน 19 วัน พรรษา 63สส
    หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม วัดภูกระเเต อดีตเจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) ต.วิศิษฐ์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย-บึงกาฬ (ธรรมยุต) เป็นพระกัมมัฏฐานรุ่นแรก แห่งกองทัพธรรมสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg

    มีนามเดิมว่า หนูพูล เอนไชย เกิดเมื่อวันที่ 21 มี.ค.2475 ที่บ้านเดื่อศรีคันไชย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    ในช่วงวัยเด็ก มีลักษณะนิสัยสุขุมเยือกเย็น พูดน้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ญาติพี่น้อง มีจิตเมตตา

    เข้าพิธีอุปสมบทครั้งแรก เป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดท่าเดื่อ มีพระครูนรสีหสาสน์ธำรง รองเจ้าคณะอำเภอวานรนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

    ต่อมาได้พบกับพระอาจารย์สีโห เขมโก ศิษย์ของพระอาจารย์หลวงปู่มั่น และเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    ต่อมาญัตติเปลี่ยนนิกายใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.2495 มีหลวงปู่จูม พันธุโล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสมุห์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ SAM_0849.JPG SAM_8560.JPG SAM_8561.JPG SAM_8563.JPG SAM_8380.JPG




















     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2021
  14. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    รับครับ
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 555 เหรียญรุ่นสร้างศาลาการเปรียญหลวงปู่ประครอง ปียธัมโม วัดดอยเทวธรรมมาราม อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย หลวงปู่ประครองเป็นศิษย์หลวงปุ่ขาน ฐานวโร พระอรหันต์วัดป่าบ้านเหล่า เหรียญสร้างปี 2551 เนื้อกะไหล่ทอง มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ***********บูชาที่ 195 บาทฟรีส่งems l
    ประวัติและปฏิปทา

    หลวงปู่ประครอง ปิยธัมโม
    วัดดอยธรรมาราม
    อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    %AD%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-0-727x1024.jpg
    พระครูปิยธรรมคุปต์ (หลวงปู่ประครอง ปิยธมฺโม) วัดดอยธรรมาราม เหรียญรุ่นสร้างศาลาหลวงปู่ประครอง ปิยธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดดอยเทวธรรมมาราม อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย หลวงปู่ประครองเป็นศิษย์หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า เหรียญสร้างปี 2551 เนื้อทองเหลือง มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชา **********บูชาที่ 195 บาทฟรีส่งems
    พระครูปิยธรรมคุปต์ (หลวงปู่ประครอง ปิยธัมโม) เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๘ พื้นเพท่านเป็นชาวจังหวัดสกลนครโดยกำเนิด บิดาชื่อ นายทอง ศรีอุทัย มารดาชื่อ นางครอง ศรีอุทัย มีพี่น้องร่วมท้อง ๕ คน ซึ่งท่านเป็นพี่ชายคนโต

    8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-2.jpg
    พระครูปิยธรรมคุปต์ (หลวงปู่ประครอง ปิยธมฺโม) วัดดอยธรรมาราม
    เมื่อหลวงปู่ประครอง จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๔-๑๕ ปี ก็ได้ออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานกิจการงานที่บ้าน จนอายุ ๒๐ ปี จึงได้ศึกษาและออกบวชทางพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญสมณธรรมวัดในหมู่บ้านเป็นเวลา ๑ พรรษา จึงได้เดินออกธุดงค์ตามครูบาอาจารย์ที่เคารพ หลวงปู่ครองได้รับการอบรมฝึกปฏิบัติทางจิตใจก็ยิ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น ตั้งใจจะปฏิบัติหาเหตุผลให้กับชีวิต ตลอดจนตั้งใจปฏิบัติให้พ้นวัฏฏะสงสาร และได้ไปประพฤติปฏิบัติธรรมที่ จ.จันทบุรี ๒-๓ พรรษา จนได้กลับมาเยี่ยมบ้าน เห็นว่าอย่างไร พ่อแม่ก็ยังมีน้องๆ คอยช่วยดูแลอยู่ ท่านจึงออกเดินธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมเริ่มจาก จ.อุดรธานี จ.เลย พิษณุโลก กำแพงเพชร เชียงใหม่ จนกระทั่งถึง จ.เชียงราย เดินเท้าบ้าง นั่งรถบ้าง หิวโหยบ้าง จนถึงกระทั่ง จ.เชียงราย คิดเห็นว่าบริเวณบ้านป่าสักงาม ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง แห่งนี้เหมาะที่จะเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ต่อมา อยู่ต่อบ้านมีภูมิเทวดาได้ลงมาฟังเทศน์ฟังธรรมจึงได้รู้ว่ามีพระธุดงค์ท่านมาแสวงหาโมกขธรรม เริ่มแรก ได้เกิดนิมิตต่างๆ ได้บำเพ็ญอยู่บนยอดดอยในพรรษา ได้นิมิตเห็นแสงสว่างบนเจดีย์ ๓ ชั้น และในเวลาต่อมา มีโยมสองสามีภรรยา ซึ่งน่าจะเป็นเทวดา มากราบขอเป็นโยมอุปัฏฐาก

    ต่อมาได้มีชาวบ้านป่าสักงามมาร่วมกันอุปถัมภ์ดูแลสถานที่ปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นป่าชุมชน ชาวบ้านได้สร้างถนนขึ้นไปถึงบนดอย หลวงปู่ประครอง ได้อยู่จำพรรษา ๒ พรรษา จากนั้นจึงได้กลับมา จ.สกลนคร และในเวลาต่อมา หลวงปู่ได้กลับไปบ้านป่าสักงามอีกครั้ง ชาวบ้านได้ลงมติให้สถานที่นั้นเป็นสำนักสงฆ์ ต่อมาหลวงปู่ได้ตั้งชื่อว่า “ดอยเทวธรรมาราม” ชาวบ้านได้ก่อสร้างกุฏิ เสนาสนะ และได้มีพระมาจำพรรษาอยู่ด้วย ๒-๓ รูป ปี พ.ศ.๒๕๕๓ ทางสำนักพุทธได้แต่งตั้งให้เป็นวัดถูกต้องตามกฏหมาย โดยได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดดอยธรรมาราม“

    94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-2-1.jpg
    วัดดอยธรรมาราม บ.ป่าสักงาม ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    หลวงปู่ประครอง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสมาตั้งแต่นั้นมา ในช่วง ๒-๓ ปีหลัง สุขภาพหลวงปู่ไม่แข็งแรงนัก ศิษยานุศิษย์ที่ จ.สกลนคร จึงอาราธนาให้ท่านมาพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเกิดท่าน หลวงปู่ประครองได้ลงมาพำนักรักษาตัวอยู่ที่วัดป่าศรีลาธรรมาราม บ้านโคกศิลา อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร

    8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-1.jpg
    พระครูปิยธรรมคุปต์ (หลวงปู่ประครอง ปิยธมฺโม) วัดดอยธรรมาราม
    ปัจจุบัน พระครูปิยธรรมคุปต์ (หลวงปู่ประครอง ปิยธมฺโม) ท่านได้มาพักจำพรรษา ณ วัดดอยธรรมาราม บ.ป่าสักงาม ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๗๕ ปี พรรษา ๕๒ ( กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๓)

    B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-%E0%B9%85%E0%B9%85%E0%B9%85.jpg
    หลวงปู่ประครอง ปิยธมฺโม

    วัดดอยธรรมาราม บ้านป่าสักงาม ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง(สำหรับผมเองจะไปอ.เจริญศิลป์บ่อยๆ ไปกราบหลวงปู่เนย สมจิตโต ,เเล้วเลยไปกราบหลวงปู่ประครอง เเละไปกราบหลวงพ่อน้อย ฐานิสสโร วัดป่าภูหินกอง ถ้าใครไปเจริญศิลป์ จะรู้ว่าที่นี้มีอรหันต์ 3 องค์พี่น้องครับ) จ.เชียงราย SAM_8568.JPG SAM_8569.JPG SAM_7605.JPG SAM_8568.JPG SAM_8569.JPG SAM_7605.JPG %AD%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-0-727x1024.jpg 8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-2.jpg 94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-2-1.jpg 8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-1.jpg B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-%E0%B9%85%E0%B9%85%E0%B9%85.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2021
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 556 เหรียญรุ่นฉลองสาลา+เหรียญที่ระลึก 87 ปี หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร เหรียญรุ่นฉลองศาลาสร้างปี 2556 เนื้อทองเเดงรมมันปู ,ส่วนเหรียญ 87 ปี สร้างปี 2558 เนื้อทองเเดงผิวไฟ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ************บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งemsมีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วย sam_7984-jpg.jpg SAM_7980.JPG SAM_7981.JPG SAM_7772.JPG SAM_7773.JPG SAM_8108.JPG หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ พระอริยะสงห์แห่งวัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่ท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ชอบอยู่เงียบๆเรียบง่าย ไม่ติดในลาภสักการะ เมื่อเข้าไปพบเจอ สนทนากับหลวงปู่ มีแต่ความเยือกเย็น เมตตาหาที่สุดไม่มีประมาณ เป็นธรรมยิ่งนัก สาธุ สาธุ สาธุ.(หลวงปู่หนูเพชร องค์ท่านไม่รับกิจนิมนต์ออกจากนอกวัดเลย ใครจะมากราบก็มากราบที่วัดได้ตลอดเวลาครับผม) >>>>ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    วัดป่าภูมิพิทักษ์
    ต.คำสะอาด อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๒
    ณ.บ้านบึงโน ต.บ้านหัน อ.บ้านหัน จ.สกลนคร
    ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น
    ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    บิดาชื่อนายบุญ ไพบูลย์ มารดาชื่อนางเคน ไพบูลย์
    มีบุตรร่วมกัน 6คน
    ๑.หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ (ไพบูลย์)
    ๒.นางเล็ก ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๓.นางสอง ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๔.นางทอง ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๕.น้องชาย (ไม่ทราบชื่อ) เสียชีวิตแล้ว
    ๖.น้องชาย (ไม่ทราบชื่อ)เสียชีวิตแล้ว
    เมื่ออายุ ๗ ปีท่านได้เข้าเรียนโรงเรียนวัดศรีชมภู
    บ้านบึงโนในปีพ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ ในปีพ.ศ.๒๔๘๓ ใช้เรียนเรียนอยู่๕ปี ช้ากว่าเด็กไว้เดียวกัน ๑ปี เพราะไม่ได้ไปสอบเลื่อนชั้น จึงได้เรียน ๕ปี เมื่อจบโรงเรียนวัดศรีชมภู
    ท่านมีอายุ๑๑ปี ในปี๒๔๘๓ หลวงปู่ธรรม เคยเป็นสามี พี่สาวมารดาหลวงปู่ เคยแต่งงานกับพี่สาวมารดาหลวงปู่แต่งไม่มีลูก จึงเลี้ยงดูหลวงปู่
    ต่อมาได้ทราบประวัติหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
    ว่าท่านสละทรัพย์สมบัติ ชวนภรรยาออกบวช
    หลวงปู่ธรรมจึงได้ชวนภรรยาที่เป็นพี่สาวมารดาหลวงปู่ออกบวชเหมือนกัน
    หลวงปู่ธรรมได้มารับเด็กชายหนูเพชร ไพบูลย์
    ไปอยู่ด้วยที่วัดผดุงธรรม บ.ดงเย็น ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.สกลนคร (ซึ่งเป็นวัดแรกที่องค์หลวงปู่พรหม. จิรปุญโญได้สร้างขึ้น ก่อนจะสร้าวัดประสิทธิธรรม) ในปี ๒๔๘๓-๒๔๘๗ องค์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ท่านยังไปวิเวกในเขตภาคเหนือ และเดินทางกับมาภาคอีสานในปีพ.ศ.๒๔๘๗
    เข้าร่มผ้ากาสาวพัสตร์ครั้งแรก
    อายุได้๑๒ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชัยมงคล
    บ้านง่อน ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ในปี.พ.ศ.๒๔๘๔ โดยมีพระอุปัชฌาย์ฮวด สุมโน
    เป็นพระอุปัชฌาย์
    พรรษาที่๑ ได้สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีพ.ศ.๒๔๘๔
    พรรษาที่๒ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้ในปี พ.ศ.๒๔๘๕
    พรรรษาที่๓ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปีพ.ศ.๒๔๘๖
    พรรษาที่ ๔ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปี พ.ศ.
    ๒๔๘๗
    พรรษาที่๕ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปีพ.ศ.๒๔๘๘
    รวมระยะเวลาท่านสอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อยู่๔ปี
    ท่านจึงเลิกสอบ
    พรรษาที่ 6. พ.ศ. ๒๔๘๙ ระหว่างปี๒๕๘๗-๒๔๘๙ สามเณรหนูเพชร ไพบูลย์ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมกับองค์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ศิษยในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่พรหมถือเป็นศิษย์ในหลวงปู่มั่นที่สำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์องค์แรกที่หลวงปู่มั่นชมเชย
    เนื่องจากปี๒๔๘๗องค์หลวงปู่พรหมกลับภาคอีสาน
    ต่อมาไม่นานปี๒๔๘๙
    บิดาหลวงปู่ได้ป่วยไม่มีใครทำนาท่านจึงได้ตัดสินใจลาสิกขาออกไปทำนาเพื่อเลี้ยงน้องๆ ตามประเพณีที่ท่านเป็นลูกชายคนเดียวและคนโต
    *****เข้าร่มผ้ากาสาวพัสตร์ครั้งที่สอง
    ต่อมาอายุ ๒๐ย่าง๒๑ปี
    ท่านได้ชอบสาวในหมู่บ้านเดียวกัน เลยขอมารดาอยากแต่งงาน แต่มารดาไม่อนุญาติ พร้อมขอให้ท่าน
    อุปสมบทให้มารดาก่อนเพราะท่านเป็นลูกชายคนเดียวและคนโต ท่านจึงได้ตกลงจึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม ณ.วัดศรีชมภู เพื่อให้พระอยู่ในสำนักสอนขานนาค (คำขออุปสมบท)
    ขณะท่านเข้านาคเป็นผ้าขาวอยู่นั้นผู้สอนคำอุปสมบทให้ท่านคือหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
    ขณะนั้นทางวัดศรีชมภู ชาวบ้านและครูบาอาจารย์ กำลังร่วมกันสร้างโบสถ์ขึ้น โดยมี พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม(พระครูฐิตธรรมญาณ) เป็นหัวหน้า
    พระอาจารย์มหาเถื่อน อุชุกโร(พระครูอดุลสังฆกิจ)
    พระอาจารย์คำฟอง เขมจาโร(พระครูพิพิธธรมสุนทร) พระอาจารย์โง่น โสรโย พระอาจารย์สมภาร ปัญญาวโร(พระครูปัญญาวรากร) พระอาจารย์อ่อนศรี ฐานวโร พระอาจารย์อุดม ญาณรโต(พระครูอุดมศีลวัฒน์) จนเสร็จสมบูรณ์ จึงทำการผูกพัทธสีมาพร้อมทั้งอุปสมบทพระภิกษุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
    บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นของขวัญแก่ชาวบ้าน
    นาคผ้าขาวหนูเพชร ได้รับการอุปสมบทหลังจากผ่านการฝึกหัดท่องคำขออุปสมบท พร้อมข้อวัตรปฏิบัติสมควรแก่การอุปสมบท
    >>>>>อุปสมบท
    ในวันจันทร์ที่ ๓๐ เดือนมกราคม ๒๔๙๓
    เวลาประมาณ๐๔ฺ.๐๐น เริ่มปลงผมโกนผมเวลา๐๒.๐๐น. ณ.อุโบสถวัดศรีชมภู บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    เช้าวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๙๓
    เป็นวันถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์ใหญ่
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ.วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง
    จ.สกลนคร
    โดยมี
    ๑.พระครูพุฒิวรคม (พุฒิ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ๒.พระอาจารย์คำฟอง เขมจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (พระครูพิพิธธรรมสุนทร )
    ๓.พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    (พระครูฐิติธรรมญาณ)
    มีนาคผ้าขาวร่วมอุปสมบทจำนวณ๑๒ตัว(คน)
    จาก๔หมู่บ้าน
    ✅หลังจากเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว ท่านได้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของพระอาจารย์มั่น อยู่ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานกับหลวงปู่พรหมระยะหนึ่ง หลังจากนั้นท่านได้ไปเดินธุดงค์กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ถึงปี พ.ศ.2513 หลวงปู่หนูเพชรได้มาเจอวัดโบราณที่เป็นวัดร้าง ได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดป่าภูมิพิทักษ์" ท่านจึงมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมจนถึงปัจจุบัน
    หลวงปู่หนูเพชร เป็นพระเถระที่วัตรปฏิบัติเคร่งครัด เป็นพระชอบเก็บตัวเงียบ ซึ่งในขณะนั้น คณะศิษย์สายชลบุรีได้รู้จักจากการแนะนำของหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน จ.ชลบุรี เนื่องจากหลวงปู่หนูเพชรได้เคยป
    pic_2067_1-jpg.jpg
    pic_2067_2-jpg.jpg
    ( บน )ภาพแจกงานศพหลวงปู่

    ( ล่าง ) หลวงปู่ถ่ายภาพหน้ากุฏิสมัยที่ท่านยังแข็งแรงดีอยู่
    ฏิบัติธรรมกับหลวงปู่อ่อนศรี
    หลวงปู่อ่อนศรี ยังพูดบอกอีกด้วยว่า "หลวงปู่หนูเพชร ท่านเก่งกว่าฉันอีก" ก่อนที่หลวงปู่อ่อนศรี ท่านจะมรณภาพ ท่านเคยสั่งไว้ให้คณะศิษย์ไปกราบหลวงปู่หนูเพชร >>>>> sam_7456-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2021
  17. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,973
    ค่าพลัง:
    +6,570
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  18. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,951
    ค่าพลัง:
    +5,647
    #543 , #544
    โอนเงินแล้ว ตาม PM
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 557
    พระกริ่ง 100 ปีหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต พระอรหันต์เจ้าวัดสวนทิพย์ (ซอยวัดกู้) อ.ปากเกร็ด จ,นนทบุรี หลวงปู่บุญฤทธิ์เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ พระกริ่งสร้างปี 2556 สร้างเนื่องอายุครบ 100 ปีเนื้อทองเเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ต บ ฤ ด้านหลังองค์พระ ใต้ฐาน มีบรรจุ จีรวร,เกศา,ข้าวก้นบาตร,ข้าวสารหิน,เทียนชัย ,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล *******************************************บูชาที่ 650 บาทฟรีส่งems # ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่บุญฤทธิ์
    หลวงปู่บุญฤทธิ์ มีนามเดิมว่า บุญฤทธิ์ จันทรสมบูรณ์ เป็นบุตรชายของหลวงพินิจจินเภท กับ คุณแส จันทรสมบูรณ์ ท่านเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2458 ที่บ้านท่าอิฐ ต.ท่าอิฐ อ.พิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ ในวัยเยาว์ มารดาเป็นผู้มีความศรัทธาในพุทธศาสนา รวมถึงเคยเข้ารับการอบรมในวัง จึงถ่ายทอดลักษณะนิสัย ระเบียบชีวิต แนวคิดต่างๆ ให้หลวงปู่ สอนให้หลวงปู่สวดมนต์ไหว้พระ อ่านหนังสือธรรมะจนติดเป็นนิสัย

    160202-3-2-jpg.jpg

    ในอดีตท่านเป็นนักศึกษาปริญญาจากต่างประเทศ เป็นข้าราชการหนุ่มอนาคตสดใส ครั้งอายุ 10-11 ปี ถูกส่งตัวเข้ามาเรียนที่โรงเรียนเซ็นคาเบรียล กรุงเทพฯ รุ่นที่ 1 อาศัยอยู่กับคุณพระโสภณเพชรรัตน์ จนจบม.8 ภาษาฝรั่งเศส หลวงปู่บุญฤทธิ์ เคยได้รับรางวัลประกวดเรียงความชนะเลิศจาก จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ซึ่งเป็น รมต.กลาโหมสมัยนั้น จากนั้นได้สอบชิงทุน (กพ.) ได้ไปศึกษาต่อที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม พ.ศ. ๒๔๗๕ กลับจากเวียดนามรับราชการที่หอสมุดแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และภายหลังเป็นทูตที่พระตะบอง

    44521372_2427482870612125_1041978200088903680_n-jpg.jpg
    แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงลาออกจากราชการแล้วออกบวช โดยบรรพชาอุปสมบทในปี 2489 ที่วัดศรีเมือง จ.หนองคาย และปฏิบัติธรรม ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด จนกลายเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และจำพรรษาด้วยกัน อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ชอบอยู่หลายเดือน จากนั้น หลวงปู่บุญฤทธิ์ ได้เป็นพระธรรมทูต เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศกว่า 30 ปี เช่น เม็กซิโก สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ จีน เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ซึ่งหลวงปู่พูดได้ถึง 6 ภาษา กระทั่งจำพรรษาที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ก่อนมีอาการอาพาธ ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง และได้ละสังขารเมื่อวันที่ 14 พ.ย. เวลา 22.22 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สิริอายุ 104 ปี

    “หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต” ละสังขารแล้ว ปี2561 สิริอายุ 104 ปี
    เปิดคำสอนสุดท้ายของ “หลวงปู่บุญฤทธิ์” ทุกสิ่งล้วนมีสังขาร >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ * sam_0351-jpg.jpg SAM_8586.JPG SAM_8587.JPG SAM_8591.JPG SAM_8591.JPG SAM_8589.JPG sam_1439-jpg.jpg

     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 558
    เหรียญ 100 ปีหลวงปู่จาม มหาปุญโญ พระมหาโพธิสัตว์โตวัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.มุกดาหาร หน้าเหรียญเป็นรูปนั่งเต็มองค์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล (ฤผู้ซี่งเป็นพระอาจารย์องค์เเรก เนื้อทองเเดงรมดำ มีตอกดค๊ต จ หลังพระเจดีย์บู่ สร้างประมาณปี 2553 ลูกศิษย์ชาวจังหวัดมุกดาหาร สร้างถวาย โดยมีท่านผู้ว่าราชการสมัยนั้นเป็นประธาน มีพิธีพุทธาพิเเษกใหญ่มาก มีพระสงฆ์ทั้งสองฝั่งโขงปลุกเสกทั้งวันทั้งคืนจนรุ่งเช้า สวยๆ หายาก หลวงปู่จามเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล,หลวงปู่มั่น ภูริทัติโต ตั้งเเต่บวชเป็นเณรเหรียญใหม่ไม่เคยใช้
    etgs7tcfcuyb0kppmtyfrwz-u-vbwzjva4tzxhijcfg9rue2wxjnrkzjvkxhoorcqmfafpwhvg-cs9eiodhw-jpg-jpg-jpg.jpg
    >>>>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เกิดในสกุล ผิวขำ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2453 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร บิดา-มารดา ชื่อ นายกา และนางมะแง้ ผิวขำ ครอบครัวมีพี่น้องร่วมอุทรรวม 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3
    เมื่อวัยเยาว์ อายุได้ 6 ขวบ พ่อแม่พาไปกราบหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า ซึ่งได้มาจำพรรษาอยู่ใกล้บ้านที่ภูผากูด คำชะอี
    กระทั่งอายุได้ 16 ปี โยมพ่อแม่ได้พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จ.อุบลราชธานี ให้นุ่งขาวห่มขาวเป็นเวลา 9 เดือน
    ปีถัดมา เข้าพิธีบรรพชา อยู่รับใช้ หลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองขอน อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงพ่อลี ธัมมธโร, หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เป็นต้น
    แต่ผ่านไปได้เพียง 2 ปี จำต้องลาสิกขาออกมา เพื่อรักษาโรคเหน็บชา อันเนื่องมาแต่ตกบันไดกุฏิ และการประกอบความเพียรมากเกินไป เช่น นั่งภาวนาในน้ำ ถือไม่นอน และฉันน้อย เป็นต้น ทำให้ต้องหันกลับไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ค้าขาย
    เมื่ออายุได้ 27 ปี พ่อกา (โยมพ่อ) ได้บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก 6 ปี ก็มรณภาพ) ส่วนแม่มะแง้ (โยมแม่) ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก 36 ปี จนถึงแก่กรรม) ก่อนที่จะไปกราบไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่ออธิษฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา
    เมื่ออายุได้ 29 เต็มปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระเทพกวี (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังอุปสมบท ท่านออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ได้จำพรรษาสังกัดวัดเจดีย์หลวง ถึง 32 พรรษา โดยอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    อีกทั้ง ยังเคยออกธุดงค์หาประสบการณ์ในเขตภาคอีสาน เคยปฏิบัติธรรมร่วมกับเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทร ปราการ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าบ้านข่า จ.นครพนม เป็นต้น
    พ.ศ.2521 เดินธุดงค์กลับมาทางภาคอีสานและเดินธุดงค์มายังบ้านเกิด คือ บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี และจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
    ชาวบ้านและคณะศิษยานุศิษย์ นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาปักกลดที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม และพัฒนาให้เป็นที่พำนักนั่งวิปัสสนากรรมฐานเผยแผ่พระธรรมปรมัตถ์แผ่เมตตาให้แก่ชาวบ้านในละแวกนั้นตลอดจนปัจจุบัน
    ส่วนผลงานที่เป็นรูปธรรมอันทรงคุณค่านั้น หลวงปู่จามได้สร้างไว้เป็นที่ประจักษ์ชัดมากมาย อาทิ สร้างพระเจดีย์ทรงจุฬามณีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสร้างกุฏิเสาเดียว จำนวน 11 หลัง รวมทั้งสร้างศาลาการเปรียญ และหอฉันสำหรับไว้เทศนาญาติโยมในวันสำคัญต่างๆ
    ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2553 ชาวจังหวัดมุกดาหารพร้อมใจจัดทำโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนสีขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 39.99 เมตร องค์พระสูง 59.55 เมตร ความสูงจากเศียรพระ 84 เมตร ประดิษฐาน ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
    ซึ่งเป็นโอกาสเดียวกับที่หลวงปู่จาม มีอายุครบ 100 ปี หลวงปู่จามพร้อมด้วย พระธัมมธโร หรือ ครูบาแจ๋ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม เมตตาอนุญาตให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก 100 ปี หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระ เกียรติ
    >>>>หลวงปู่จามมรณภาพอย่างสงบด้วยโรคปอดติดเชื้อ สิริอายุ 104 พรรษา 75 ขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลมุกดาหาร เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 ม.ค. 2556>>>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********(........หายากเเล้วครับวัตถุมงคลของหลวงปู่ลูกศิษย์เก็บหมด) >>>>>>>บูชาที่ 455 บาทฟรีส่งems,มาพร้อมกล่องเดิม sam_0396-jpg.jpg SAM_8581.JPG SAM_8582.JPG SAM_8583.JPG เปิดดูไฟล์ 5707911 เปิดดูไฟล์ 5707912 sam_1299-jpg.jpg

     

แชร์หน้านี้

Loading...