เรื่องเด่น มนุษย์ต่างดาวติดต่อเราหรือยัง-ควรบอกว่า เมื่อไหร่จะไป

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chandayot, 18 เมษายน 2012.

  1. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ยินดีครับ เมื่อคืนจะอัพเรื่องการติดต่อ 58เผ่าชาวต่างดาวแต่ว่า มันค้างๆ เครื่องกดไม่ไปครับ---8เผ่า เป็นของทางรัสเซีย ก็มีภาพข่าวรั่วออกไปเยอะ ที่ไม่ปิดคืออังกฤษครับ
    ------อเมริกาเคยกว่าวหาอิรัคมีอาวุธนิวเคลียร์ไปโน่น และรีบร้อนโจมตีมากไป
    เพราะหวังงาบน้ำมันเค้า มาเที่ยวนี้ อเมริกากลัวจะเป็นเด็กเลี้ยงแกะ ในสายตาชาวโลก
    เลยต้องรักนวลสสงวนตัวมากขึ้นนิดนึง
    --------------------------------------------
     น้ำ ใ บ ย่ า น า ง . . คลอโรฟิลวิเศษช่วยชีวิต (Chlorophyll Drink)

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
    ชื่อสามัญ : Bamboo grass
    วงศ์ : Menispermaceae

    มาจากหนังสือของหมอเขียว ใจเพชร กล้าจน
    ย่านาง เป็นหนึ่งในสมุนไพร ที่หมอเขียวแนะนำไว้ว่ามีฤทธิ์เย็น
    มีคุณสมบัติดีเด่นนานับประการ
    รักษาอาการต่างๆ ที่เกิดจากภาวะร้อนเกินของร่างกายได้ดีนัก
    ขอยกตัวอย่างโรคและอาการที่เกิดจากภาวะร้อนเกินในร่างกายได้แก่

    โรคหัวใจ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ตับอักเสบ
    กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร
    มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วในไต
    นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน
    ต่อมลูกหมากโต โรคเกาต์ ความดันสูง เบาหวาน

    ฉันเริ่มจากกระเพาะปัสสวะอักเสบ แล้วอาการก็เพลินพัฒนาเป็นกรวยไตอักเสบ
    ไทรอยด์เป็นพิษด้วยนะ ริดสีดวงทวารก็มีนิดหน่อย
    ไซนัสอักเสบน่ะโรคเก่าแก่ดั้งเดิม เป็นๆ หายๆ
    และอื่นๆ อีกอย่างละกระจุ๊กกระจิ๊ก
    ซึ่งทั้งหลายเหล่านั้น มีผลทำให้ฉันอ่อนเพลียง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม
    มีปัญหาเรื่องปัสสาวะถี่ ปัสสาวะขัด ปวดเมื่อยเนื้อตัวตลอด
    ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ปวดข้อเท้า และลามปามไปปวดใจ 55

    ตอนเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบน่ะเลี่ยงการกินยาแผนปัจจุบันไม่ได้
    อาการบางอย่างก็ต้องสกัดดาวรุ่งรักษาให้ทันท่วงที ด้วยการกินยาตามแพทย์สั่ง
    ดื่มน้ำย่านางเป็นประจำควบคู่ไปด้วย ( จนถึงปัจจุบันนี้ไม่ได้กินยาแพทย์แล้ว )

    เห็นผลดีของการดื่มน้ำย่านางอย่างชัดเจน แนะนำเพื่อนและคนใกล้ชิด
    ซื้อหนังสือให้อ่าน ส่งลิงค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปให้
    ต่างก็บอกตรงกันว่า ได้ผลดีมาก

    ฉันใช้ย่านางประมาณ 15 - 20 ใบ เด็ดเป็นใบๆ ล้างน้ำให้สะอาดค่ะ
    บดหรือโขลก ให้ช้ำๆ ละเอียดพอประมาณ หรือบางคนก็ใช้วิธีขยี้ค่ะ
    ใส่น้ำดื่มอุณหภูมิปกติ ประมาณ 1 ลิตร บีบย่านางให้หมดเมือกเขียวๆ แล้วกรองเอาแต่น้ำค่ะ
    บีบได้ที่ ใบย่านางจะแห้งๆ ประมาณนี้นะคะ หรือบางคนอาจบีบคั้นได้แห้งกว่านี้อีก
    เรียบร้อยค่ะ ได้น้ำใบย่านาง อุดมด้วยคลอโรฟิลล์ และสารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์อีกมหาศาล
    ใส่ตู้เย็นไว้ดื่มได้ประมาณสามวันนะคะ แต่ถ้าจะให้ดี ทำทุกวันสดๆ ใหม่ๆ ดีกว่าค่ะ
    ดื่มเวลาท้องว่าง หรือ ดื่มแทนน้ำก็ยังไหว
    สดชื่นทั้งกายใจนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  2. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ภูมิวิทยาศาสตร์
    ---อำนาจแห่งเหตุผล บันดลวิถี
    เพราะสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมีอยู่
    เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ได้รู้
    ให้ได้ดูได้เห็นตามเป็ฌนจริง
    ------นี้คือวิทยาศาสตร์ แห่งสัจจะ
    เปฌรนกฏเกณฑ์ เป็นพันธะ แห่งสรรพสิ่ง
    ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจอ้างอิง
    ประยุกต์เป็นประโยชน์ยิ่งต่อมวลมนุษย์

    (เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูล -ยังไม่จบครับ)--- ขอแวบไปย้ายข้อมูลเข้าทัมไดรฟ์ ความจริงก็แฟฃชไดรฟ์ เล็กเท่าเล็บนิ้วก้อย--- 8 จิ๊ก หนัง8เรื่องเก็บได้สบาย ความจริงมีมากถึง 32จิ๊กก็เก็บได้ เล็กมาก หายง่าย ข้อมูลจารกรรมซ่อนง่ายครับสมัยนี้ 2-3วินาทีเขาโหลดกัน เป็น หลายร้อยจิ๊ก---ซ้าต้า3 ส่งข้อมูลเร็่วมาก ฮารน์ดดิสก์ก็่เล็กราวลมจะพัด ปลิวไป เท่าซองบุหรี่แต่บางๆ
     
  3. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Xsn42IZP4Pw]Lamborghini Countach, Ferrari 355: 2,000 Subscriber Special!! - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=vhCYcHsNEEs"]Lamborghini Diablo VT 6.0 Acceleration - YouTube[/ame]
    ราคาไใม่ตก ลัมบอร์กินี่ คูนทาช เคยเห็นที่ปั๊มน้ำมันแถวรัตนาธิเบศร์ หลังคาส่วนสูงสุด เท่ากับกระบะผมเลย ท้องเตี้ย 5เซ็นคงไปไหนไมได้ดีนัก ดูเหมือน ยานอวกาศมากๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  4. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=AIezVQJWCSw]Arab Aventador Seized by Police within 48 hours! - YouTube[/ame]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=kt0Snnm9riI]Police STOPS Noisy Lamborghini Aventador! - YouTube[/ame]
    ที่เรียกเพราะัอยากเห็นใกล้ๆใช่มะ คลิปที่2 คลิปแรกของอาหรับ แต่งเว่อร์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  5. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=q4JjXqk33DU]จีบได้แฟนตายแล้ว ยิ้ม อาร์ สยาม - YouTube[/ame]
    เพลงนี้ยอดดูทางยูทิ้วบ์สูงมาก เพลงแต่งออกมาดีด้วย ไม่ขายเซ็กซี่--24ล้านวิว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  6. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=xbwsyInfDMk]Olivia Ong - Fly Me To The Moon - YouTube[/ame]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=yMMQxz9TlTE]Olivia Ong - Sometimes When We Touch - YouTube[/ame]

    โอลิเวีย อึ้ง หมวยสิงคโปร์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  7. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    โทรคุยกับพี่สาว แล้วโดนต่อว่ามาแรงๆ
    1.พอบอกว่าพ่อแก่แล้ว ไม่มีใคนดูแล พี่บอกว่า ตอนนี้พ่อตาบอดข้างนึง อีกข้างก็มองเห็นราว ครึ่งของคนปกติ ผมก้เสียใจเหมือนกัน มีหลายๆอย่างทั้งตัวพ่อด้วย ที่ไม่ยอมให้ใครดูแลท่าน ท่านคงดูแลตัวเอง พร้อมทดลองสมุนไพร
    2. พี่สาวว่าถ้าไม่หัดนั่งสมาธิบ้าง ตายไปก็เป็นพวกเปรต หรือเกิดมาเป็นสัตว์ พวกหมูหมากาไก่
    3.ภาวนาพุท-โธ แม้จะยึดพระพุทธองค์ ก็ดีกว่าไม่มีอะไรจะให้ยึด
    --- แม้ว่าจะพูดแรง แต่คนวิปัสสนาเขาต้องพูดแรงๆบ้าง ไม่งั้นเราก้ไม่ได้คิดไง ทีา่่่ว่าแรงคือเพราะว่ามันขัดกับกิเลสของเราน่ะ
    ----อะไรต่างๆ ผมไม่ยึดนิพพานมากมาย แต่อยากให้ทุกท่านหลุดพ้น แม้ว่าวันที่เรารู้วันแรก คือตอนที่เราตายไปแล้วก็ตาม
    ----เราเกิดมา ทำอาฃีพอะไร ชาวไร่ ชาวสวน--- ชาวกรุง ค้าขาย อะไร คือสิ่งเดียวที่ควรยึดคิอ----เดินตามหลักการของธรรมมะ
    ----ไม่ขัดกับเวลาในอาชีพ-การทำมา-หายัดกระเพาะ--ทุกลมหายใจ--เราสามารถภาวนาได้
    ---เหมือนเริ่มนับ1ใหม่ แต่ก็ไม่ใช่ทีเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  8. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    MOUTH BHUDDHA4 ภาคสดท้ายเด็ดสุดครับ

    Mouth buddha4

    รูปอรหันต์
    เป็นวลีที่ไม่มีในอภิธรรม แต่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายให้เกิดความเข้าใจ เพื่อแยกแยะระหว่าง พระอรหันต์ที่เป็น "สัจธรรมแท้" ไม่ใช่ "รูปนามแห่งพระอรหันต์" เหมือนมีคนพูดถึงมังกร เราไม่เคยเห็นมังกร เราก็จะนึก "มโนภาพของมังกร" ออกมาในความคิด, ความเชื่อของเรา เมื่อเราไปเจออะไรที่เหมือน หรือสอดคล้องกับความคิด, ความเชื่อของเรา หรือเราเหนื่อยที่จะหาแล้ว อยากพบมังกรแล้ว พอสิ่งแวดล้อมเอื้อหนุนให้เราเชื่อ เช่น คนจำนวนมากมายกำลังกราบไหว้มังกรอยู่ เราไม่ทันรู้ว่าเป็นมังกรจริงหรือเปล่า เราก็เชื่อว่า "นี่แหละมังกร" เช่นเดียวกัน เราไม่เคยเป็น "พระอรหันตสาวก" เราก็นึกไปตามความคึิด, ตามความเื่ชื่อของเรา พอเราไปเจอใครที่คล้ายตามความคิดเรานั้น พร้อมกับสิ่งแวดล้อมเื้อื้ออำนวยให้เรามีความเชื่อ เราก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อ พอเชื่อไปแล้วก็เกิดความกลัว กลัวว่าจะมีใครมาทำลายความเชื่อของเรา ยึดความเชื่อของเราซึ่งจริงหรือไม่ ก็ยังไม่ทราบ เป็นสรณะที่พึ่ง ใครเข้ามาทำลายความเชื่อ เราก็จะปกป้องเพื่อไม่ให้ใครมาทำลายความเชื่อเรานั้น ทำให้เราปกป้องคนที่เราเื่ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ด้วย ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะใช่พระอรหันต์จริงหรือไม่ ก็ตาม ดังนั้น สิ่งที่เราเห็นหรือนึกภาพ "วาดภาพพระอรหันต์ไว้ในความคิด, ความเข้าใจเรา" นี่เอง ที่เรียกว่า "รูปอรหันต์" จัดเป็นเพียง "รูปนาม" อย่างหนึ่ง ที่ทำให้เราติดภาพว่า "พระอรหันต์น่าจะเป็นอย่างนี้นะ อย่างนั้นนะ" โดยที่เรายังไม่เคยเห็นพระอรหันต์จริงๆ เช่น ถ้าเราไปเห็นพระรูปหนึ่งถูกใจเราแล้ว เราคิดและเชื่อว่าท่านคือพระอรหันต์แล้ว เราก็จะยึดท่านเป็น "ต้นแบบของพระอรหันต์" ของเรา เราจะสร้าง "รูปพระอรหันต์" ขึ้นมาในความคิด, ความเชื่อของเราว่าพระอรหันต์เป็นเช่นนี้ น่าศรัทธาอย่างนี้, ทำตัวสงบเสงี่ยมอย่างนี้, ทำวัด, สวดมนต์, นั่งสมาธิ, สอนธรรม อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ ยังไม่ใช่พระอรหันต์แท้ๆ ที่เป็นสัจธรรมจริงๆ เป็นแค่ "รูปอรหันต์" ที่เราสร้างขึ้นมาใน "มโนสำนึก" และความเชื่อของเราเท่านั้นเอง เมื่อเรายึดติดรูปอรหันต์เหล่านี้แล้ว เราก็จะปักใจไปว่าอย่างนี้แหละพระอรหันต์ พระอรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้แหละ พอเราพบพระอรหันต์จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิด เราืเชื่อ เราก็จะปฏิเสธว่าท่านไม่ใช่พระอรหันต์ (ทั้งๆ ที่ท่านคือพระอรหันต์ของจริง)

    ปัจจุบัน มีผู้ติดในรูปอรหันต์มากมายเหลือคณานับ ไม่ต่างจากการยึดติด "รูปตถาคต" เพราะคนเรามักจะชอบคิดฝัน, วาดหวัง, สร้างภาพสิ่งต่างๆ ที่เรายังไม่เคยเจอจริงๆ ไปเสียก่อน แทนที่จะเปิดใจกว้างๆ ไว้ แล้วรอให้พบของจริง ค่อยว่ากัน เราก็จะวาดภาพพระอรหันต์ของเราเอง ขึ้นมาในใจ ในความเชื่อของเราเอง แล้วเราก็ยึดมั่้นถือมั่นภาพนั้นไว้ ที่แย่กว่านั้นคือ การไปเก็บภาพทรงจำจากคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ แล้วหลงไปว่าเป็นพระอรหันต์ เข้ามาประกอบความเข้าใจ ทำให้เข้าใจผิดในความเป็นพระอรหันต์ไป พอได้พบเจอของจริง หรือคำอธิบายที่แตกต่างออกไปจากความคิด, ความเชื่อ, ภาพอรหันต์ในความคิดของตัวเอง ก็จะเกิดการต่อต้าน การไม่ยอมรับ, การไม่เปิดใจรับฟัง สุดท้าย ก็จะพบแต่อรหันต์เทียมเท็จ อนึ่ง ในทางพุทธฝ่ายมหายานมีการจัดจำแนกพระอรหันต์ไว้อีกแบบ ซึ่งไม่เหมือนพระอรหันต์แบบดั้งเดิม เรียกว่า "อรหันตโพธิสัตว์" บ้าง ท่านเหล่านี้ จะทำหน้าที่, ทำกิจเอง โดยพละการณ์ได้ ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก ซึ่งไม่ใช่วิสัยของพระสาวกและพระอรหันตสาวก คนที่กล้าึิึิคิดเองทำเองนั้น ไม่ใช่คนที่เป็นผู้ตาม เป็นสาวกชั้นดี ที่คอยฟังคำสั่งจากเจ้านายได้เลย เพราะวิสัยของพระโพธิืสัตว์และพระสาวกต่างกัน

    ปัจเจกชน
    เป็นผู้ที่มีวิสัยคล้ายปัจเจกพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่ศรัทธาใครอย่างสาวกเลย หมายความว่าอย่างไร?  หมายความว่าเขาอาจศรัทธาผู้อื่นได้แต่จะไม่ใช่แบบสาวก เช่น ไปอ่านหนังสือของท่านพุทธทาสแล้วศรัทธาท่านพุทธทาส แต่ไม่ไปต่อสายธรรมโดยตรงแบบตัวต่อตัว ยังคงเชื่อตัวเอง อ่านเอง ศึกษาเองอยู่ต่อไป ต่อให้เขาได้ครูอาจารย์ที่ดี มีครูอาจารย์ที่ดี จะสอน จะถ่ายทอดอะไรให้ เขาก็จะไม่เอา ไม่รับ แต่ยินดีที่จะ "ศึกษาด้วยตนเอง" และมักจะใช้การ "อ่านเอา" ยิ่งอ่านมาก ยิ่งเหมือนรู้มาก ยิ่งรู้มาก ก็หลงตัวเองมาก ยิ่งมีคนชื่นชมในความรู้ของตนมาก ก็ยิ่งเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่ คือ หลงตัวเองคิดว่าได้อรหันต์แล้ว ด้วยการ "อ่านเอง" ศึกษาเอง, ปฏิบัติเอง อย่างนั้น อันไม่ใช่วิถีของพระพุทธศาสนาเลย เป็นวิถีแบบปัจเจกชน แบบพระปัจเจกพุทธเจ้า ในพระพุทธศาสนานั้น จะไม่ศึกษาเอง แต่จะมีการต่อสายธรรม และรับธรรมจากพระพุทธเ้จ้า เพราะไม่ใช่ปัจเจกชน ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า นี่คือวิถีปกติในพระพุทธศาสนา    อนึ่ง ปัจเจกชนไม่ใช่คนที่ไม่มีเืพื่อน เขาอาจมีคนรู้จักมากมาย มีลูกศิษย์มากมายได้ แต่ด้วยจิตที่ไม่ยอมก้มจำนนต่อใครเลยทั้งนั้นนอกจากตัวเองเขาย่อมเข้าถึงซึ่งความเป็นปัจเจกชนได้ไม่จากต่างพระเทวทัตที่แม้จะมีคนหลงเชื่อตามท่านไปมากมาย แต่สุดท้าย ท่านก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ดี

    การต่อสายธรรม และการรับธรรมนั้น เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา และเราควรไปต่อสายธรรมที่ตรงทางจากพระพุทธเจ้า เพราะท่านคือผู้ที่ได้รับกิจโปรดสัตว์มา ไม่ใช่ผู้อื่น แม้พระพุทธเจ้าจะไม่มีขันธ์ห้าแล้ว เราสามารถรับธรรมจากท่านได้โดยตรงง่ายกว่ายามที่ท่านมีขันธ์ห้าเสียอีก หลายคนได้ขอธรรมโดยตรงจากพระพุทธเจ้าแล้วท่านก็ให้โดยตรง พิสูจน์ได้จริง เห็นจริงแก่ตัวเองมาแล้วมากมาย แต่การได้รับธรรมโดยตรงจากพระพุทธเจ้าไม่ผ่านสังขารมนุษย์นี้ มีข้อเสียคือ ทำให้คนผู้นั้นคิดว่าตัวเองได้ธรรมเอง ไม่มีใครทำให้ตนได้รับ ก็จะยังเหลือ "สักกายทิฏฐิ" อยู่ จึงทำให้ไม่อาจสำเร็จเป็นอริยบุคคล จำต้องได้รับการทำลายสักกายทิฏฐิจากมนุษย์ที่มีสังขารด้วย พร้อมๆ กัน จึงจะสำเร็จผลเป็นพระอริยบุคคลได้ ดังนั้น "มนุษย์บางคน" จึงทำตนดั่ง "สะพานเชื่อม" เื่พื่อให้พระพุทธเจ้าที่ไม่มีสังขารแล้ว ได้มาโปรดสัตว์ โดยขณะเดียวกัน ก็จะช่วยทำให้คนเหล่านั้น หมดสักกายทิฏฐิไปด้วย แต่เพราะภาพลักษณ์เปลือกนอกที่ดูเหมือนการ "เข้าทรง" มากเกินไป ทำให้คนเข้าใจผิด คิดว่าบ้า คิดว่าเพี้ยน การเข้าทรงพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีจริง เป็นไปไม่ได้ เพราะเข้าใจผิดและมีอคติต่อการเข้าทรง แท้แล้ววิธีนี้ ไม่ใช่การเข้าทรงแต่อย่างใด เป็นเพียงการใช้่สังขารช่วยเป็นสะพานเชื่อมโยงไปสู่พระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง อนึ่ง ท่านที่รับไม่ได้กับวิธีการนี้ สามารถรับธรรมโดยตรงจากพระพุทธเจ้าได้ แต่ท่านอาจต้องอาศัยผู้อื่นช่วยทำลายสักกายทิฏฐิให้ท่านต่ออีกเท่านั้นเอง โดยปกติแล้ว ควรทำลายสักกายทิฏฐิก่อนแล้วจึงรับธรรมภายหลัง

    สาวกชน
    เป็นคำที่ไม่มีในพระอภิธรรม แต่ได้เขียนขึ้นใหม่ เพื่ออธิบายความจริงของคนบางกลุ่ม ที่มีลักษณะเป็น "ผู้ตามที่ดี" จะมีความเป็นผู้นำเหมือนกัน แต่น้อยมาก เมื่อเข้าร่วมกลุ่มแล้วจะแสดงตัวเป็นผู้ตามมากกว่า อนึ่ง สาวกชน เหล่านี้ จะแตกต่างจากปัจเจกชนตรงที่ พวกเขาแสวงหา "เจ้านาย หรือ ผู้นำ"  ที่พึ่งพาได้ แล้วก็จะเกาะอาศัยผู้นำนั้นต่อไป เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพอยู่ในโลกปัจจุบัน ก็มี หรือเพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นทุกข์ (ทางธรรม) ก็มี และกลุ่ม "สาวกชน" เหล่านี้เอง ที่กลายเป็น "อรหันตสาวก" อันแท้จริง คำว่า "อรหันตสาวก" อันแท้จริง นั้น หมายถึง พระอรหันต์ที่เป็นสาวกแท้ๆ มีจิตใจเป็น "สาวกชน" ไม่มีความเป็นผู้นำมากนัก หรือแทบไม่แสดงออกซึ่งความเป็นผู้นำเลย แต่จะแสดงบทบาทผู้ตามที่ดีโดยจะเจริญรอยตามพระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่ทำสิ่งอื่นใด โดยพละการณ์ รอฟังแ่ต่คำสั่งจากพระพุทธเจ้า (ผู้นำหมู่สาวก) เท่านั้น ข้อนี้ สาวกจึงแตกต่างจาก "พระโพธิสัตว์" มาก เพราะพระโพธิสัตว์รู้จักคิดเอง, ทำเอง โดยพละการณ์ ตามเหตุการณ์ โดยไม่ต้องรอคำสั่งจากพระพุทธเจ้า จึงควรแยกแยะให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะเกิดความสับสนระหว่าง "พระอรหันตสาวก" และ "พระโพธิสัตว์" เช่น เมื่อเห็นพระสงฆ์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เด่นดัง รับเงินทอง แล้วสร้างวัด พัฒนาประเทศ อันเป็นกิจที่พระ พุทธเจ้ามิได้สอน มิได้สั่ง เป็นกิจทางโลก (แม้แต่กุฏิดิน พระพุทธเจ้ายังสั่งให้ทุบ ไม่ให้สร้างถาวรวัตถุ) ก็ควรเข้าใจให้ชัดว่านั่นเข้าลักษณะของ "พระโพธิสัตว์" ไม่ใช่ "พระอรหันตสาวก" อนึ่ง พระอรหันตสาวก นั้นมีความเป็นผู้ตามมาก ถ้าท่านเข้าใจว่า "วิสัยสาวกชน" เป็นอย่างไร ท่านจะทราบว่าพระอรหันตสาวกก็มีวิสัยเช่นนั้นเ็ป็นพื้นฐาน ท่านจะไม่ทำกิจอื่นใด ออกนอกลู่นอกทาง ไม่คิดเอง ทำเองโดยพละการณ์ แต่จะรอฟังคำสั่งจากพระพุทธเจ้าก่อน ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ได้สั่ง ท่านก็ไม่ทำ ท่านก็อยู่เฉยๆ ปลงอุเบกขาไป ละวางซึ่งกิจโดยสิ้นเชิงแล้ว เพราะท่านคือ "พระอรหันตสาวก" ที่พร้อมจะนิพพาน ไม่ใช่พระโพธิสัตว์

    หลายท่านเข้าใจผิด เพราะหลงศรัทธาพระโพธิสัตว์ว่าเป็นพระอรหันตสาวก มากเกินไป แล้วไปเห็นท่านเหล่านั้น ศรัทธาในการกระทำ ปฏิปทาของท่านเหล่านั้น แล้วยึดมั่นถือมั่นเป็น "รูปอรหันต์" เป็นภาพจำว่าพระอรหันตสาวก ต้องเป็นอย่างนี้ ทำอะไรๆ ก็ได้ โดยถือเอาว่า "จิตพระอรหันต์ไม่ยึดแล้ว ไม่มีกรรม" คือ เมื่อไม่มีเจตนา จะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น ไม่มีกรรมแน่นอน กรรมทั้งสามคือ มโนกรรม, วจีกรรม, กายกรรม ก็ยึดรวมไว้แต่ "มโนกรรม" ตัวเดียว ถือเอามโนกรรมเป็นใหญ่ว่าถ้าไม่มีเจตนาแล้ว วจีกรรมและกายกรรมก็จะไม่มีไปด้วย ทีนี้ พระอรหันต์จะฆ่าคน ก็ทำได้, จะเสพยาบ้า ก็ทำได้, จะก่อกบถยึดอำนาจ ก็ทำได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นการเปิดทางให้มีคนแอบอ้าง สวมรอยเป็นพระอรหันต์ แล้วกระทำความผิด เพื่ออ้างเอาว่าตนคือ พระอรหันต์ ไม่มีเจตนาแล้ว ย่อมไม่มีกรรม อันจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมอีกมาก
     
  9. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    โพธิชน
    เป็นคำใหม่ไม่มีในพระอภิธรรม (ในพระอภิธรรมมีแต่คำว่า พระโพธิสัตว์) เพื่อให้เกิดความเข้าใจจึงได้นำมาอธิบายขยายความเพิ่ม คำว่า "โพธิชน" ก็คือ หมู่ชนที่มีความเป็นพระโพธิสัตว์ นั่นเอง ซึ่งจะแตกต่่างจาก "สาวกชน" และ "ปัจเจกชน" (ท่านผู้อ่านควรแยกแยะให้ได้ระหว่าง ปัจเจกชน, สาวกชนและโพธิชน) กล่าวคือ โพธิชนจะมีความเป็นผู้นำสูงแตกต่างจากสาวกชน สามารถคิดทำสิ่งต่างๆ ได้เองโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากผู้ใด และมีความศรัทธาตรงต่อผู้มีธรรมแตกต่างจากปัจเจกชนที่จะไม่ศรัทธาใครได้อย่างแท้จริง (แม้ปัจเจกชนศรัทธาใคร ก็จะไม่ศรัทธาแบบสาวก) และในเหล่าบรรดาโพธิชนเหล่านั้นเอง จะมีผู้ที่เป็นเลิศที่สุดในเหล่าโพธิชนอยู่หนึ่งท่านในยุคพุทธกาลสมัย ที่จะได้ตรัสรู้พุทธะเป็นองค์แรก ได้ชื่อว่า "พระพุทธเจ้า" ส่วนโพธิชนคนอื่น บางท่านอาจได้ตรัสรู้พุทธะตามภายหลัง แต่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า และโพธิชนคนอื่น บางท่านอาจยังไม่ได้ตรัสรู้พุทธะ แล้วทำหน้าที่เป็น "พระโพธิสัตว์" ต่อไป บางท่านก็อาจจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ปนอยู่กับอรหันตสาวก แต่ด้วยวิสัยที่แตกต่างกัน จึงมักทำสิ่งใดไปโดยพละการณ์ โดยมิได้รับคำสั่งจากพระพุทธเจ้าก่อนเช่น พระมหากัสสปทำ "สังคายนาพระไตรปิฎก" โดยที่ไม่ได้รับคำสั่งจากพระพุทธเจ้า ลักษณะเช่นนี้เป็นวิสัยของพระโพธิสัตว์ซึ่งได้อรหันต์แล้ว แต่จะยังไม่นิพพานทันทีในชาตินั้นๆ ในฝ่ายมหายานจึงมีคำเรียกท่านเหล่านี้ว่า "อรหันตโพธิสัตว์" เพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่่างว่าท่านไม่เหมือน "อรหันตสาวก" แม้ว่าทั้งสองจะมีความเป็นอรหันต์เหมือนกัน ก็ตาม

    หลายท่านไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง พระอรหันตสาวก, อรหันตโพธิสัตว์ ก็เหมารวม หรือคิดไปว่าพระอรหันตโพธิสัตว์ เป็นพระอรหันตสาวก เพราะความที่เคยพบเห็นแต่พระอรหันตโพธิสัตว์ นั่นเอง จึงไปจดจำเป็น "ภาพติดตา" หรือ "มโนภาพ" ติดใจ ยึดอยู่ในความคิด ความเชื่อ ของตนเองว่าพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าน่าจะเป็นเช่นนี้ แท้แล้วไม่ใช่ เพราะท่านเหล่านั้นอาจเป็น "อรหันตโพธิสัตว์" นั่นเป็นความเข้าใจผิด อันส่งผลร้ายแรงให้เกิดความไม่เข้าใจ อีกหลายอย่างตามมามากมาย เช่น ถ้าได้พบพระอรหันตสาวกจริงๆ ซึ่งท่านอาจไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือคำสั่งพระพุทธเจ้าเลย จึงไม่โดดเด่น ไม่มีผลงาน แม้แต่จะเทศน์ธรรมะ ท่านก็ไม่แสดง เพราะคิดว่าตนไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่มีใครมาเชิญให้ทำกิจนี้ ก็ให้เป็นกิจของพระพุทธเจ้าดีกว่า เช่นนี้ ตรงทางนิพพาน ทว่า คนอาจคิดว่าท่านไม่ได้อรหันตผลไป ก็เพราะท่านไม่ได้แสดงว่าตนมีความรู้ในธรรมมากมายอะไร นั่นเอง ในขณะเดียวกันอาจหลงคิดว่าการทำกิจของพระอรหันตโพธิสัตว์คือ สิ่งที่ถูกต้องตรงทางนิพพานแล้วเช่น การสร้างวัดโดยอ้างว่าตนได้สำเร็จ อรหันตผลแล้ว จึงไม่มีเจตนา ย่อมไม่มีกรรมใดๆ ให้รับ นิพพานแน่นอน (ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้พระอรหันตสาวกรูปใดทำหรือคิดเช่นนี้เลย) ส่งผลให้เกิดการ "ทำตามๆ กัน" ว่า เป็นอรหันต์แล้วก็ทำอะไรได้ทั้งหมด เพราะไม่มีเจตนา จึงไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งแม้วันนี้ ปัญหาจะไม่เกิด แต่วันหน้า อาจมีผู้สวมรอย ทำตาม หรือทำสิ่งที่เลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ อันก่อให้เกิดภัยต่อทั้งทางโลกและทางธรรมได้

    ศิษย์ตถาคต
    คำว่า ศิษย์ตถาคต หรือศิษย์ของพระตถาคตไม่มีในอภิธรรม แต่เป็นวลีที่ใช้เพื่ออธิบายถึงการได้ต่อสายธรรม ได้รับธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพุทธแท้ๆ อนึ่ง แม้บุคคลจะมีบุญได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ แต่ความเป็นชาวพุทธของเขานั้น ก็เป็นเพียง "ชาวพุทธทางโลก" เท่านั้น ไม่ต่างอะไรกับพราหมณ์ที่เกิดมาในตระกูลที่มีศาสนาของตน ยังไม่ัจัดว่าได้เข้าถึงซึ่งพุทธทางธรรมและยังไม่ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยแท้ เพราะยังไม่เข้าถึงพระพุทธเจ้า, พระธรรม, พระสงฆ์ ที่แท้จริง ยังอยู่แต่ในศาสนาทางโลกอยู่ ตราบจนกว่าจะได้เพียรพยายามไปจนถึงพระพุทธเจ้าจริงๆ, ได้รับพระธรรมจากท่านโดยตรงจริงๆ และได้ต่อสายธรรมจากพระสงฆ์สาวกจริงๆ จึงจะนับได้ว่าได้เข้าถึงซึ่งพระรัตนตรัยจริงๆ

    หลายท่านอยู่ในความประมาท โดยคิดว่าตนเกิดมาเป็นชาวพุทธ ย่อมต้องเป็นพุทธอยู่แล้ว ย่อมต้องมีพระรัตนตรัยครบอยู่แล้ว คิดว่าวัดที่ตนเข้า, พระที่ตนศรัทธา ล้วนเป็นพุทธแท้ๆ อยู่แล้ว แท้แล้วไม่ใช่ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องทางโลก ยังไม่ใช่ทางธรรมที่แท้จริง พระพุทธที่แท้จริง, พระธรรมที่แท้จริง หรือพระสงฆ์ที่แ้ท้จริงเลย บางคนยิ่งไปกว่านั้น ใช้การอ่านเอา, การฟังต่อๆ กันมา ฯลฯ เก็บเกี่ยวความรู้ให้มาก ก็คิดว่าตนเข้าถึงแล้ว บ้างปฏิบัติด้วย แต่ผิดทางเช่น ปฏิบัติโดยเริ่มจากจิตที่ไม่มีปัญญา มีอวิชชาอยู่ เห็นกิเลส, เห็นกาม เป็นสิ่งไม่ดี มีทัศนคติที่ไม่เป็นกลาง มองอย่างปฏิเสธ และเป็นลบต่อสิ่งเหล่านั้น จึงเริ่มต้นปฏิบัติด้วยจิตที่ไม่เป็นกลาง ไม่ตรงมรรค ไม่เข้าทาง ด้วยจิตมีความเอนเอียง ทีทัศนคติเชิงลบ แล้วใช้ทัศนคติเชิงลบที่มีต่อกิเลสก็ดี, กามก็ดี กดข่มไว้บ้าง, ตัดเสียด้วยการปฏิเสธบ้าง ฯลฯ แล้วก็หลงตนว่าได้บรรลุอรหันตผลแล้ว ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่มรรค ไม่ใช่การฝึกจิตที่ถูกวิธีแต่อย่างใดเลย ดังนั้น การได้เป็น "ศิษย์พระตถาคต" ได้พบพระพุทธเจ้า ได้รับธรรมโดยตรงจากท่าน จึงทำให้เรารอดพ้นจากความหลงเหล่านี้ได้ และได้เข้าถึงพระพุทธศาสนาทางธรรม มิใช่พระพุทธศาสนาทางโลก มีปัญญาแท้จริง

    ตำรา
    เป็นคำที่ไม่ใช่ธรรมในหมวดอภิธรรม แต่จำต้องเขียนขึ้นเพื่ออธิบายสัจธรรมความจริงบางประการ กล่าวคือ พระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ ที่พระพุทธเจ้าทรงยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ไม่มีหลักฐานใดๆ ปรากฏว่าทรงใช้ "ตำราใด" ในการเรียนรู้ หรือปฏิบัติธรรมเลย หรือกล่าวง่ายๆ คือ พระธรรมทั้งหมดมาจากองค์พระพุทธเจ้าเอง ไม่ได้มาจากตำราใดๆ การใช้ตำราในพระพุทธศาสนานั้น จึงไม่ใช่วิถีทางของพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ แต่เป็นวิถีทางโลกซึ่งได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงพระพุทธศาสนาหลังจากพระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว นับเป็นยุคที่ ๓ กล่าวคือ ถ้าเราจะนับยุคที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยพระ องค์เอง เป็นยุคที่หนึ่ง, ยุคที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้วเกิดการสังคายนา จากนั้นจึงจดจำธรรมะที่พระพุทธเจ้าเคยสอนสั่ง สืบทอดกันแบบไม่มีการบันทึก เป็นยุคที่สอง, และยุคที่เริ่มมีการจดบันทึกลงในตำราต่างๆ เช่น ใบไม้, คัมภีร์ใบลาน ฯลฯ เป็นต้น นับเป็นยุคที่สาม ซึ่งในยุคที่สามที่ใช้ตำราธรรมในการศึกษาเล่าเรียนนี้ มิใช่วิถีทางดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา เพราะวิถีทางดั้งเดิมของพระพุทธศาสนานี้ คือ "การไปให้ถึงยังพระพุทธเ้จ้า" เพื่อรับธรรมโดยตรงจากพระพุทธเจ้า มิใช่ศึกษาธรรมผ่านสิ่งอื่นใด

    อนึ่ง การใช้ตำราธรรม การเล่าเรียนธรรมผ่านตำรานั้น ผู้เขียนมิได้โจมตีเนื้อหาสาระในนั้น เพียงแต่จะชี้ให้เห็นถึง "วิถีการปฏิบัติ" หรือ "มรรควิธี" ในการเข้าถึงธรรม ที่เปลี่ยนไป ซึ่งไม่เกี่ยวกับว่าธรรมนั้นจะถูกบิดเบือนหรือไม่ (เนื้อหาธรรมอาจจะเหมือนเดิม หรือสมมุติว่าเหมือนเดิม) ทว่า สิ่งที่ผู้เขียนพยายามสื่อ คือ เรื่องของ "วิถี" หรือ "วิธีการในการเข้าถึงธรรม" ไม่ใช่ตัวเนื้อหาธรรม กล่าวคือ เนื้อหาธรรมอาจจะถูกหรือผิดมากน้อยอย่างไรนั้น มิได้กล่าวในที่นี้ แต่วิถีการเข้าถึงธรรมโดยอาศัยตำรานั้น ไม่ใช่วิถีดั้งเดิม ไม่ใช่วิถีของพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ เท่านั้นเอง มิใช่เพื่อจะโจมตีหรือทำลายผู้ใด เพียงสะกิดให้มีสติรู้ตัวให้พ้นจากความหลงว่าตนได้อ่านตำราธรรมมามาก รู้มากแล้ว ถูกต้องแล้ว ย่อมบรรลุธรรมแน่แล้ว

    จับแย้
    เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่ปรากฏในส่วนอื่นของพระไตรปิฎกมาจากครั้งหนึ่งท่านใบลานเปล่าซึ่งรู้มาก และ "เป็นครูผู้อื่น" มีจิตยึดมั่นแต่จะสอนคนอื่นเท่านั้น คือ เอาแต่จะสอนๆๆ จนพระพุทธเจ้าได้ให้สติด้วยการเรียกนามท่านว่า "ท่านใบลานเปล่า" ซ้ำๆ วันหนึ่งเมื่อท่านเริ่มได้สติว่าตนมิใช่ผู้บรรลุธรรมอันใดเลย (แม้พระพุทธเจ้าจะรู้เห็นพฤติกรรม การชอบไปสอนคนอื่น และรู้ว่าท่านนี้ยังไม่ไ้ด้บรรลุธรรม แต่ท่านก็ไม่ได้ว่ากล่าวตรงๆ) ทั้งศิษย์ของตนซึ่งเป็นสามเณร ได้บรรลุอรหันตผลแล้ว จึงได้ยอมไปถามสามเณรว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุธรรมได้ สามเณรจึงอุปมาเหมือนการจับแย้ ให้มันออกรูเดียว เท่านั้นเอง แล้วท่่านก็ได้บรรลุธรรม อนึ่ง ที่สามเณรบรรลุธรรมได้เร็วกว่านั้น ด้วยเพราะความยึดถือตัวตนของตัวน้อย แต่ที่ท่านใบลานเปล่าบรรลุได้ยาก เพราะความยึดถือในตัวมาก มีอัตตาว่าตนเป็นครู แท้แล้วในการบรรลุธรรม ก็เหมือนๆ กัน คือ ธรรมเพียงหยิบมือเท่านั้นที่ทำให้แจ้งได้ก็บรรลุธรรมแล้ว ไม่ใช่ว่าต้องรู้หรือเข้าใจทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงก็หาไม่ การที่เราไปอ่่านแล้วใช้ความรู้ ความเข้าใจของเราในการตามจับพระธรรมนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการ "วิ่งไล่จับแย้" ซึ่งท่านใบลานเปล่า ไม่เคยจับได้มาก่อน เพราะเอาแต่สร้างความรู้ ความเข้าใจให้บังเกิดขึ้น ยิ่งรู้มาก ยิ่งวิ่งหนีได้เก่ง จิตที่รู้เกินไป ยิ่งจับได้ยาก ก็ไม่ต่างจากการที่เราทำให้แย้มันฉลาด ทำให้มันรู้ทาง ทำให้มันรู้มาก มันก็ยิ่งหาทางหนีไปได้ มากยิ่งขึ้น ยิ่งเราฝึกให้ตัวเองรู้ อัตตาแห่งตัวรู้ของเรา ก็ยิ่งมีกำลังมาก พอเราจะไล่จับมัน มันก็ฉลาดที่จะหนีไปได้เรื่อยๆ เช่น หนีไปในทางที่ว่า "ข้ารู้แล้ว เอ็งเข้าใจผิดตรงไหน" เป็นต้น คือ จิตมันหลุดออกไปจับคนอื่น ตัวเองจึงไล่จับจิตตัวเองไม่ไ่ด้ เหมือนไล่จับแย้ไม่ได้ นั่นเอง เหตุนี้ ท่านตั๊กม้อจึงมิได้สอนธรรมอะไรให้ท่านหุยเคอเลย เมื่อท่านหุยเคอขอธรรมเพื่อให้ตนได้หลุดพ้นทุกข์ ท่านว่า "ใจนี้ทุกข์เหลือเกิน" ท่านจึงถามกลับไปเพียงว่า "ไหนเอาใจมาดูหน่อยสิ" (ไม่ให้ธรรมะอะไรเลย) เท่านั้น ท่านหุยเคอก็หวนกลับไปดูจิต ดูใจ จับที่จิต ที่ใจตัวเองได้ทันที เสมอจับแย้ได้อยู่มือฉะนั้น ท่านก็บรรลุธรรมทันที แล้วท่านก็บอกออกมาว่า "ใจไม่มี" แล้วอย่างนี้ ที่ว่า "ใจมีทุกข์ มันจะมาจากไหน?" นี่แหละ "ดูจิตก็เหมือนการจับแย้" ยิ่งโง่ ยิ่งรู้น้อย จิตยิ่งโดนจับง่าย ก็จะรู้ตัวอัตตาของตัวเองเร็ว ก็บรรลุธรรมได้ง่าย เหมือนจับแย้โง่ตัวหนึ่ง

    ยังมีคนอีกมากมายในยุคปัจจุบันที่เหมือนท่านใบลานเปล่า คือ ฝึกเรียนรู้ธรรมะ เพื่อไปเสริมสร้างกำลังให้ตัวอัตตา ยิ่งมันรู้มาก อัตตามันก็ยิ่งมาก พอจะวิ่งไล่จับมัน มันก็เก่งมาก หนีได้ดี ทีนี้ การบรรลุธรรมก็ยิ่งยากกว่าคนโง่เสียอีก คนโง่ หรือแม้แต่เด็กจึงบรรลุธรรมได้ง่าย หรือเร็วกว่าคนฉลาดเกินไป ด้วยเหตุนี้

    การอ้างอิง
    ไม่ใช่ศัพท์ธรรมในอภิธรรม แต่จำเป็นต้องนำมาอธิบาย เพราะเนื่องจากปัจจุบัน มีผู้นิยมใช้การอ้างอิงมาก เช่น การอ้างอิงตำรา, การอ้างอิงครูบาอาจารย์, การอ้างอิงคำกล่าวของผู้มีชื่อเสียง ฯลฯ อนึ่ง การอ้างอิงเหล่านี้ ทำให้คำพูดดูน่าเชื่อถือมากขึ้น และบางอย่างก็ใช้ในวงการวิชาการ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการสื่อสารนั้นๆ ทว่า ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ และแม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ท่านจะไม่ใช้การอ้างอิงเพื่อสร้างความศรัทธาหรือความน่าเชื่อถือใดๆ เนื่องจาก ความเชื่อ, การยอมรับ ที่มาจากการอ้างอิงนั้น ไม่ใช่ "ศรัทธา" ที่แท้จริงในทางธรรม บุคคลจะเกิดศรัทธาแน่วแน่ตรงต่อผู้หนึ่งผู้ใดได้ ไม่ได้มาจากผู้นั้นอ้างอิงสิ่งอื่น เพื่อให้ตัวเองดูน่าเชื่อถือ แต่เป็นเพราะผู้นั้นเองที่สมควรได้นับความน่าเชื่อถือ หรือความศรัทธาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการอ้างอิงสิ่งใด อนึ่ง การอ้างอิง เป็นเรื่องทางโลกที่ไม่ได้เป็นความผิดอะไร เพียงแต่ในทางธรรม ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ สิ่งนี้ไม่ใช่ทางที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ, ความศรัทธาที่แท้จริง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยกระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่เพิ่งเข้ามาไม่นานมานี้

    การอ้างอิงอาจจำเป็นต้องทำบ้างในการสื่อสาร แต่ไม่จำเป็นต้องทำตลอด หรือทำทุกครั้ง เช่น ในการเขียนบทความครั้งหนึ่ง อาจมีการอ้างอิงแค่ครั้งเดียวเฉพาะส่วนเนื้อหาที่จำเป็น ก็พอแล้ว ไม่จำเ็ป็นต้องอ้างอิงทุกคำพูด เช่น อ้างอิงว่าทุกตัวอักษรมาจากพระไตรปิฎก เพราะหากยึดติดอยู่เช่นนี้ ก็จะกลายเป็น "ทาสของตำรา" ที่ตนอ้างอิงนั้น คนเราคือ มนุษย์ มีทั้งความคิด, ความรู้สึก, ความจำ, ความเข้าใจ, ความเห็นที่แตกต่างกันไป ฯลฯ สามารถแสดงได้ทั้งหมดตามปกติวิสัยชนของมนุษย์ ที่พึงมี พึงได้ ตามที่ธรรมชาติสร้างให้มา เรามิใช่ "หุ่นยนต์" ที่ถูกโปรแกรมให้ "ต้องอ้างอิงทุกอย่างจากตำรา" ตำราันั้น ตำรานี้ ไม่จำเป็น กล่าวคือ จะอ้างอิงบ้างได้ แต่ไม่ใช่ว่าต้องอ้างอิงทุกครั้ง หรือมากเกินไป

    ตรีเอกานุภาพ
    เป็นศัพท์ที่ปรากฏในคริสตศาสนา ไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎก แต่จำเป็นต้องนำมาอธิบายให้เข้าใจ เนื่องจากหลังจากพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านได้ตรัสไว้ว่า "พระธรรมจักเป็นศาสดาของเธอ" ทำให้พระสงฆ์ส่วนหนึ่งนำโดยพระมหากัสสปะ คิดว่า พระธรรมคำสอน คือ สิ่งที่ใช้แทนองค์พระศาสดา ทำให้คนจดจำพระธรรมต่อๆ กันไป โดยหารู้ไม่ว่า "ธรรมนั้นเหมือนยารักษาโรคเฉพาะคน" เรียกว่า ใครป่วยโรคไหน พระพุทธเจ้าก็ทรงให้ยาที่เหมาะสมกับคนผู้นั้น ดังนั้น "ธรรมโอสถ" ของพระุพุทธเจ้า จึงไม่อาจใช้ครอบจักรวาลได้ หมายความว่า เราจะไปเอาธรรมของพระพุทธเจ้า ที่ได้แสดงแก่ผู้อื่น (อันพระพุทธเจ้าได้ใช้ัสัพพัญญูญาณ พิจารณาแล้วว่าธรรมนั้นเหมาะสมกับเขา) แล้วเอามาเป็นธรรมของตน โดยคิดว่าเหมาะสมกับตนนั้น "หาได้ไม่" อุปมาเหมือนไปเอายาของคนอื่นเขามากิน ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ทั้งหลายไม่ประสงค์จะทำ สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือ "ไปหาหมอ แล้วให้หมอตรวจก่อน เขาจึงจะสั่งยาที่เหมาะสมให้" ไม่ใช่ไปหาคนไข้ด้วยกันแล้วเอายาของเขามากินบ้าง (ไปหาพระสาวกรูปอื่น เพื่อให้เขาแสดงธรรมที่เขาผู้นั้นมี ให้แก่ตนบ้าง) โดยไม่ผ่านการวินิจฉัยโดยพระพุทธเจ้าก่อน ว่าอะไรที่เหมาะสม ธรรมใดที่เหมาะควรแก่ตน อย่างนี้ ไม่ใช่วิถีของพระพุทธศาสนา ที่เคยเป็นมาแต่เก่าก่อนเลย

    ดังนั้น การคิดว่าพระธรรมอันเป็นสิ่งแทนองค์พระศาสดานั้น คือ "ตำราไตรปิฎก" ก็ดี, คือ "พระธรรม" อันพระสาวกรูปใดๆ จดจำต่อๆ มาให้แก่ตน ก็ดี ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมิใ่ช่ "ธรรมที่จักแทนที่องค์พระศาสดา" ได้เลย แล้วคำว่า "พระธรรมจักเป็นศาสดา" นั้น หมายถึงอะไร? ก็หมายความว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรินิพพานแล้ว ท่านมิใช่ว่าง หายสูญไป ท่านก็คือ ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่เกิด ไม่ดับอีก ก็เท่านั้น และสิ่งนี้เองคือ "พระธรรม" คือ องค์ธรรมแห่งท่าน หรือคือ พระศาสดา ก็คือ "พระพุทธเจ้าที่ปรินิพพานแล้ว" นั่นเอง อันเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีพระสงฆ์สาวก คอยเป็น "สะพานเชื่อม" อธิบายเรื่องนี้ ให้คนเข้าใจ เข้าถึงซึ่งพระพุทธ, พระธรรมนี้ ผ่านพระสงฆ์ที่ไม่เอาตนมาเป็นองค์ธรรม องค์แทนพระศาสดา แสดงธรรมแทนพระศาสดา เพียงแต่แสดงธรรมเพื่อล่อให้ปวงสัตว์เข้ามา ใช้ตนเป็นดั่งสะพานเชื่อมต่อเนื่องไปใหุ้ถึง พระพุทธ, พระธรรม ดังนี้ พระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ จึงเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่เรียกว่า "ตรีเอกานุภาพ" อันมิได้ลอกเลียนอย่างชาวคริสต์มา แต่เป็นเช่นนี้จริงๆ หมายความว่า เราต้องไปพบพระสาวกของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ท่านเป็นสะพานเชื่อมไปให้ถึง "พระพุทธเจ้า" ที่แท้จริงก่อน แล้วจึงได้รับ "พระธรรม" จากท่านโดยตรง แล้วจึงได้อาศัยพระสงฆ์สาวกนั้น ในการแนะนำผ่านการสื่อสารระดับสังขารต่อไป

    นักเลงธรรม
    เป็นคำที่ไม่มีในพระอภิธรรม แต่ได้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายสัจธรรมความจริงบางอย่าง ของคนที่ศึกษาธรรมแต่ไม่ "น้อมธรรมมาสู่ตัวเอง" แต่กลับ "นำธรรมไปกระทบกระทั่งกับผู้อื่น" แทน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ด้วยจิตที่คิดจะสอนผู้อื่น โปรดผู้อื่น ทว่า ไม่ทันได้ดูความพร้อมด้านต่างๆ ของผู้่ฟัง ทำให้ผู้รับฟังไม่มีความยินดีที่จะฟัง ไม่เปิดใจรับฟัง และนำไปสู่การกระทบกระทั่ง แทนที่จะนำไปสู่ความเข้าใจกัน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมาย
    เนื่องจากธรรมะนั้นได้รับการบันทึกหรือเขียนไว้ในตำราอย่างแพร่หลาย ผู้ที่สนใจศึกษาย่อมสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เมื่อศึกษาด้วยตนเองแล้ว ไม่มีผู้รู้ที่แท้จริง คอยแนะนำ จึงเกิดความหลงธรรมะ หลงตำรา หรือหลงตนเองได้
    จากนั้น จึงตั้งตนเป็นผู้สอน, ครูธรรม ฯลฯ คอยชี้แนะสั่งสอนผู้อื่น และเพราะเหตุว่าไม่มี "สมันตรจักษุ" หรือ "ดวงตาหยั่งรู้อินทรีย์ของสัตว์" ที่จะสามารถหยั่งรู้ได้ว่าสรรพสัตว์นั้น ผู้ใดมีอินทรีย์พร้อมมูล ควรแก่การรับธรรม การให้ธรรมจึงกลายเป็นการยัดเยียดบ้าง, การเอาชนะคะคานกันบ้าง ฯลฯ ไม่อาจนำไปสู่ปัญญาความหลุดพ้นที่แท้จริงได้ ผู้นั้นจึงเริ่มก่อตัวตนแห่ง "นักเลงธรรม" ขึ้นมาอย่างไม่รู้ัตัว จากพฤติกรรม และการกระทำเช่นนี้ ที่สั่งสมไปทีละเล็กละน้อยนั้นเอง

    บางครั้ง ผู้ที่ปรารถนาจะเป็น "ครู" ผู้อื่น นั้นเองแหละ ที่กลายสภาพเป็น "นักเลงธรรม" เพียงเพราะว่าเมื่อถ่ายทอดธรรมไม่สำเร็จ หรือไม่มีผู้ใดเปิดใจรับฟังแล้ว ก็จะเกิดความไม่พอใจ และนำไปสู่การทะเลาะกันได้ เริ่มจากจิตที่ปราุรถนาที่จะสอนผู้อื่น เป็นครูผู้อื่น ผูกไว้เอง บุคคลนั้นจึงต้องเป็นผู้แก้เอง อนึ่ง การที่มีผู้มีธรรม มารับธรรมจากผู้ที่ไม่มีธรรมแท้จริง (แต่อยากเป็นครู) ก็นับเป็นการรับบิณฑบาตรธรรมะ เพื่อให้ผู้ที่อยากทำ "ธรรมทาน" นั้น ได้สมใจปรารถนา เมื่อสมดังใจปรารถนาแล้ว ก็จะพร้อมนิพพานต่อไป เช่นนี้ บางครั้ง ผู้โปรดสัตว์ที่แท้จริง จึงอาจทำตนดั่งผู้ถูกโปรด ถ่ายทอดธรรมโดยไม่ถ่ายทอด สอนโดยไม่ต้องสอน เป็นต้น เพื่อโปรดให้นักเลงธรรมเหล่านี้ หลุดพ้นจากวังวนที่ตนได้สร้างขึ้นมาเองนั้นๆ อนึ่ง ที่เขาเหล่านี้ ทำกิจสอนธรรมแก่ปวงสัตว์ หาใช่เพราะเป็นหน้าที่อันแท้จริงไม่ และไม่มีพระพรหมมาทูลเชิญให้กระทำ แต่ล้วนเป็นไปด้วยอำนาจแ่ห่ง "ความปรารถนาเก่าก่อน" ของตน ที่ตนผูกปมไว้ ก็เท่านั้นเอง
     
  10. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    นิพพานปัจจัย
    ไม่ใช่คำในอภิธรรม แต่เขียนขึ้นเพื่อใช้อธิบายความเป็นจริงบางประการ กล่าวคือ นิพพานนี้ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยให้เกิดหรือดับ ด้วยนิพพานพ้นแล้วจากธรรมอันเกิดและดับตามเหตุปัจจัยใดๆ ไม่จำเป็นต้องมีเหตุปัจจัยใดให้เกิดนิพพาน หรือดับนิพพานลงได้ ก็จริง แต่นิพพานเอง กลับเป็นปัจจัยให้เกิดอย่างอื่นได้ (สิ่งอื่นไม่ใช่ปัจจัยแก่นิพพาน แ่ต่นิพพานเป็นปัจจัยแก่สิ่งอื่น) เช่น จิตและเจตสิก
    หรือจะกล่าวง่ายๆ ด้วยการยกตัวอย่างเช่น เมื่อบุคคลมีจิตหยั่งถึงนิพพานแล้วยึดอยู่ในอารมณ์นิพพาน ได้อาศัยเอานิพพานเป็นอารมณ์ สิ่งใดที่ไม่ใช่นิพพาน ก็จะเห็นว่าไร้สาระบ้าง, น่ารำคาญบ้าง, หลงทิศผิดทางบ้าง ฯลฯ นำไปสู่ความคิดที่ "หนีทางโลกหรือหนีวิบากกรรม" แล้วเอาตัวเองไปสู่ "นิพพาน" อยู่อย่างนั้น คือ ได้ถึงอารมณ์นิพพานแล้ว ปฏิบัติถึงแล้ว แต่แช่อยู่ในนิพพานเป็นอารมณ์ ทำให้ไม่ออกจากอารมณ์นั้นๆ แล้วหลบเลี่ยงหรือเบื่อหน่ายซึ่งวิบากกรรมทางโลก ทำให้ไม่อาจชำระวิบากกรรมทางโลกได้หมด ด้วยหลบเลี่ยงสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่นิพพานนั่นเอง เช่นนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ และส่งผลให้สุดท้าย "ไม่ได้นิพพาน" ก็ด้วย "จิตแช่ดองในอารมณ์นิพพาน" มากเกินไป ไม่ออกไปสู่วิบากกรรมแล้วชำระ ชดใช้ให้หมดเสีย จึงมีวิบากกรรมเหลืออยู่ เหลือเศษกรรมอยู่ที่ชำระยังไม่หมดสิ้น เพราะแช่ดองอยู่ในอารมณ์นิพพาน

    มีวลีหนึ่งกล่าวว่า นิพพานเป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกได้ ก็ด้วยเหตุนี้ (บุคคลเอานิพพานเป็นอารมณ์จึงก่อให้เกิดจิตสังขารใหม่ๆ และเจตสิกได้อีก) ด้วยอำนาจแห่ง "อารัมมณปัจจัย" คือ จิตเสวยอารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิด เช่นนี้ ส่งผลให้แม้จิตเข้าถึงซึ่งพระนิพพานแล้ว แต่เขาก็อาจไม่ได้นิพพานได้ เพราะเสวยอารมณ์นิพพานอยู่ไม่ยอมออกไปสู่วิบากกรรมตามจริงของตน ไม่ยอมกลับไปรับวิบากกรรมตามจริงของตนให้หมดสิ้น นั่นเอง ดังนั้น แม้ถึงซึ่งอรหันตผลแล้ว ก็อาจยังไม่ได้นิพพานในชาตินั้นๆ เลยก็ได้ ดังนี้

    ธรรมกิจ
    เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่ได้เขียนเืพื่ออธิบายสัจธรรมอย่างหนึ่ง หมายถึง "กิจตามธรรมะ ธรรมชาติ" การทำหน้าที่ของสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติของมัน ไม่ใช่ทำกิจด้วยอุปทานหรือความนึกคิดเอาว่านี่คือ "กิจของฉัน"
    ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้ามีกิจโปรดสัตว์, พระอรหันตสาวกมีกิจเป็นเนื้อนาบุญ แต่ก็มีพระอรหันตสาวกบางรูปมีกิจอื่นๆ บ้าง ทว่า ไม่จำเป็นต้่องแย่งกิจของพระพุทธเจ้า ไม่จำเ็ป็นต้องทำหน้าที่แทนองค์พระศาสดา การทำหน้าที่ของพระอรหันตสาวก เพื่อแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักพระพุทธเจ้า ไปถึงยังพระพุทธเจ้า ก็พอ ไม่ต้องเอาตัวเองมาแทนองค์พระศาสดา เอาตัวเองขึ้นเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ เป็นศูนย์กลาง โดยการอ้างพระศาสนาเืพื่อให้เกิดความน่าเลื่อมใส เช่นนี้ ก็หาไม่ นี่ไม่ใช่กิจของพระสาวก
    ดังนั้น คำว่า "ธรรมกิจ" จึงเป็นคำกว้างๆ ที่อธิบายถึง กิจต่างๆ ตามธรรมชาติของบุคคลทั้งหลาย ซึ่งเมื่อบุคคลมีธรรมแล้ว เข้าถึงธรรมแล้ว ย่อมจะมี "ธรรมกิจ" อันแตกต่างกันไป เืพื่อเกื้อกูลแก่สัตว์โลกทั้งหลาย แม้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่มีกิจอย่างพระพุทธเจ้า ทว่า ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะกิจต่างๆ นั้น ไม่อาจปล่อยปละละเลยได้ เป็น "วิบากกรรม" ของเขาผู้นั้นที่ต้องกระทำกิจก่อน จึงหมดวิบากกรรมได้ เช่น พระสาวก ก็มีกิจบิณฑบาตร เป็นเนื้อนาบุญแก่ปวงสัตว์ ไม่ใช่จะปล่อยปละละเลยไม่กระทำกิจนี้ได้ เมื่อทำกิจจนหมดสิ้นแล้ว พระอรหันตสาวกจะนิพพานก็ได้ จึงค่อยนิพพานไป หลัง "ธรรมกิจ" สิ้นลง

    อนึ่ง บุคคลสามารถรับวิบากกรรมได้สองแบบ คือ ๑. แบบไม่ต้องทำกิจ ๒. แบบการทำกิจ กล่าวคือ ถ้าบุคคลรับกรรมแบบไม่ต้องทำกิจ เพียงอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร วิบากกรรมก็มาถึงตัวเอง ตนเองเป็นแค่เพียง "ผู้ถูกกระทำเท่านั้น" วิบากกรรมนั้นก็ได้รับการชดใช้ หมดสิ้นไป
    ส่วนแบบที่สองนั้น เป็นแบบการชำระกรรมด้วยการกระทำกิจ อันเป็นกิจที่ตนไม่ได้อยากทำ แต่ก็ต้องทำ ไม่ได้นิยมชมชอบ ก็ต้องทำ นี่ด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรม ให้่้ต้องกระทำกิจเพื่อชำระวิบากกรรมเช่นนั้น เช่นนี้ บุคคลจะเป็นผู้กระทำกิจ มิใช่ผู้ถูกกระทำ แต่อาจเป็นกิจที่ถูกผู้อื่นสั่งให้ทำ บังคับให้ทำ หรือเป็นไปด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรมให้ต้องกระทำ เพื่อชดใช้กรรม ชำระวิบากกรรมเท่านั้น หาใช่เพื่อสนองความต้องการส่วนตนเลย

    เอการกโข
    เป็นศัพท์ที่อยู่ในพระอภิธรรมหมวด อริยวาสธรรม คือ ธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า 10 ประการ และหนึ่งในสิบประการนั้นคือ "เอการกโข" ซึ่งตามตำราให้คำแปลไว้ว่า มีธรรมรักษาทั่วกันอันหนึ่งคือสติ และทำให้บางท่านเข้าใจว่าพระอรหันต์หรืออริยเจ้า จะต้องรักษาธรรมตัวนี้ คือ การรักษาสติให้คงอยู่ตลอด แต่ผู้เขียนมีความคิดเห็นต่างไปกับการให้ึความหมายที่ว่า "มีธรรมรักษาทั่วกันอันหนึ่งคือสติ" นั้น ไม่ได้หมายความว่าพระอริยเจ้าจะต้องรักษาสติ แต่หมายความว่า "สติ" อันเป็นธรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ตื่นแล้ว จะเป็นธรรมอันรักษาพระอริยเจ้านั้นๆ ให้ไม่หลงออกนอกทาง เช่น เมื่อใดที่พระอริยเจ้าจะหลงออกนอกทาง สติก็จะทำงาน ตื่นขึ้น ทำให้พระอริยเจ้าไม่หลงออกนอกทางไป ดังนั้น พระอริยเจ้าจึงไม่ใช่ผู้รักษาสติ หรือมีตัวตนแห่งผู้รักษาสติ แต่สติต่างหาก ที่เป็นธรรมเครื่องรักษาพระอริยเจ้า ดังนั้น พระอริยเจ้าเช่น พระอรหันต์ ย่อมไม่ต้องปฏิบัติเพื่อรักษาสติ เป็นผู้ปล่อยวางแม้การปฏิบัติได้แล้ว เรียกว่า "อเสขบุคคล" ดังนี้ฯ

    ขันธ์จร
    เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่จำเป็นต้องเขียนขึ้นเพื่ออธิบายความจริงบางประการ ถึง ขันธ์หรือ วิญญาณขันธ์ ที่ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับได้เป็นธรรมดา ไม่อาจยึดมั่นเป็นตัวตนของตน กล่าวคือ ปกติ มนุษย์มีขันธ์ห้าเป็นประจำชาติภพนั้นๆ อยู่แล้ว แต่ก็มี "ขันธ์จร" เหมือนเป็น "อาคันตุกะ" มาเยี่ยมเยียนเป็นบางครั้งบางคราวได้ ตามอำนาจแห่งวิบากกรรม ส่งผลให้มี "พฤติกรรมแปลกๆ" เพิ่มเติมขึ้นมากว่าปกติที่เคยเป็น อันไม่ใช่พฤติกรรมความเคยชินเดิมๆ ในคนธรรมดา "ขันธ์จร" ก็มีได้ แต่อาจดูไม่ชัดเจน เพราะขันธ์ประจำของพวกเขา ไม่บริสุทธิ์มากนัก มีกิเลสเจือปนอยู่ มีพฤติกรรมซับซ้อนอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน ทว่า ในพระอรหันต์ ผู้มีขันธ์บริสุทธิ์แล้ว ใสดีแล้ว ย่อมมองเห็น "ขันธ์จร" ได้่ชัดเจนมากกว่าคนทั่วไป เช่น ท่านสุภัททะ ที่หลังบรรลุธรรมก็ปรามาสพระธรรมวินัย อนึ่ง ขันธ์จรเหล่านี้ ไม่ต้องไปยึดว่าจะต้องไม่เกิด หรือไม่มี หากมีวิบากกรรมเป็นเหตุ ก็ทำให้เกิดขันธ์จรขึ้นมาได้ ดังนั้น แม้บุคคลบรรลุอรหันต์แล้วขันธ์ประจำใสบริสุทธิ์แล้ว ก็อาจมีขันธ์จรที่ทำให้ดูแปลกๆ หรือดูไม่บริสุทธิ์ได้ แต่ไม่เป็นปัญหาใดๆ

    อนึ่ง การที่มีขันธ์จรเกิดขึ้นนี้ เพราะขันธ์ที่เหลืออยู่หลังบรรลุธรรมนั้น ยังเป็น "เชื้อเกิดได้อีก" ทำให้เกิดขันธ์จรขึ้นได้ ตราบใดที่ขันธ์ยังเหลืออยู่ ก็จะเป็นเชื้อเกิดได้ต่อไป เรียกว่า "นิพพานเป็นปัจจัย ให้เกิด จิตและเจตสิก โดยอาศัยอำนาจแห่งอารัมมณปัจจัย" หรือ กล่าวง่ายๆ คือ อาศัยอารมณ์นิพพานเป็นปัจจัย ให้เกิดจิตและเจตสิกได้ เมื่อเกิดจิตและเจตสิกแล้ว ทั้งจิตและเจตสิกก็ทำงานต่อไป สามารถรับรู้รูปต่างๆ ได้ ตามกระบวนการปกติ ก่อให้เิกิดสิ่งอื่นๆ ตามมาตามวงจรปฏิจสมุปบาท เพียงแต่ในพระอรหันต์นั้น จะไม่เกิดมากหรือยาวไปจนถึงชาติภพต่อไป ก็จะหมดอำนาจ จบลงได้ก่อน ดังนี้ พระอรหันต์ก็มีลักษณะที่คล้ายคนปกติได้ มีอารมณ์ึความรู้สึกต่างๆ ได้ เพียงแต่ไม่มากพอที่จะทำให้เกิดชาติภพใหม่ๆ เท่านั้นเอง

    เทพประจำตัว
    เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แ่ต่จำเป็นต้องนำมาอธิบายเพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบางอย่าง กล่าวคือ มนุษย์ปกติจะมีความเชื่อมโยงกับเทพผู้ดูแลตนเองที่เรียกว่า "เทพประจำตัว" ตั้งแต่เกิดจนถึงก่อนตาย ๗ วันๆ เทพประจำตัวก็จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับมนุษย์ผู้นั้น ปล่อยให้เ้จ้ากรรมนายเวรเข้ามาเล่นงานจนตายไปตามธรรมชาติ อนึ่ง แม้เทพประจำตัวจะดูแลมนุษย์ แต่เทพประจำตัวก็ไม่ได้ขัดขวางระบบกรรม เมื่อมีวิบากกรรมเข้าถึงตัวมนุษย์ เทพเหล่านั้นจะเปิดทางให้เจ้ากรรมนายเวร ทำหน้าที่ของตนไปตามอำนาจแห่งวิบากกรรม เทพประจำตัวมีหน้าที่เพียงนำทางให้มนุษย์ทำสิ่งที่เหมาะควรเท่านั้น ดังนั้น จึงทำหน้าที่ดลจิตดลใจในการตัดสินใจและทำสิ่งต่างๆ เหมือนกุนซือ ไม่เหมือนองครักษ์ที่คอยปกป้องทุกอย่าง อนึ่ง เทพประจำตัวของแต่ละคนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามวาระเหมาะสม (สัตว์เดรัจฉานปกติไม่มีเทพประจำตัว ยกเว้นสัตว์เดรัจฉานบางตนที่มีความพิเศษจริงๆ จะมีเทพประจำตัวได้) และหากบุคคลได้เชื่อมต่อสายธรรมในพุทธศาสนาแท้ ได้มรรคผลทางธรรมแล้ว เทพประจำตัวของเขา จะมาจากเทพที่ดูแลพระพุทธศาสนา นั่นเอง ส่งผลให้วิถีชีวิตของเขาเปลี่ยนไป เข้าสู่ทางแห่งพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้มากขึ้น แต่หากเขายังไม่ได้ต่อสายธรรม ไม่บรรลุมรรคผล ก็จะได้รับการดูแลจากเทพชุดอื่น ทำให้มีวิถีชีวิตที่เป๋ออกไป เปลี่ยนไปจากเส้นทางของพระพุทธศาสนาได้ แต่ก็ไม่ใช่ความผิดแ่ต่อย่างใด

    การพิจารณาว่าผู้ใดเข้าสู่พระพุทธศาสนาแท้แล้วหรือไม่ ก็พิจารณาจาก "เทพประจำตัว" ได้เ่ช่นกัน บางคน จะมีเทพประจำตัวทีู่ดูแลพระพุทธศาสนาเข้ามาเชื่อมประสานก่อน ทั้งๆ ที่ยังไม่ไ่ด้เข้าสู่พระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ เพื่อที่เทพประจำตัวจะค่อยๆ นำทางเขาเข้าสู่พระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ ในวาาระต่อไป ในขณะที่บางท่านมีปัญญาญาณ หรือรู้เรื่องนิพพานมาก แต่อาจไม่ได้อยู่ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ หรือมีเทพประจำตัวที่ดูแลศาสนาอื่น หรือทำหน้าที่อื่นๆ ก็มี ทำให้แม้เขาจะมีปัญญาและเข้าถึงเรื่องนิพพานได้ ก็จริง แต่เขาจะมีเทพคุ้มครองที่ไม่ได้นำทางเข้าสู่นิพพาน ซึ่งก็มีได้ เป็นได้เช่นกัน
     
  11. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    พิษธรรมะ
    เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่ได้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายความจริงบางประการ ที่กล่าวถึง บุคคลที่หยิบฉวยธรรมะไปศึกษาเอง โดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยจากเจ้าของธรรม (พระพุทธเ้จ้า) อุปมา ไม่ต่างจากคนไข้ที่หยิบฉวยยาไปกินเอง ไม่ผ่านการตรวจของแพทย์ แม้ว่ายารักษาโรคจะรักษาโรคได้ แต่ถ้าใช้โดยไม่ผ่านการตรวจและสั่งยาโดยแพทย์ก่อน ก็อาจใช้ยาผิดและก่อให้เกิดพิษจากการใช้ยานั้นๆ ได้ การหยิบฉวยธรรมะไปใช้เองก็ไม่ต่างกัน หากไม่ผ่านการตรวจและสั่งให้โดยพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อาจยังผลให้เกิด "พิษธรรมะ" ได้ อนึ่ง ในช่วงแรกๆ ของการศึกษาธรรมด้วยตนเอง อาจไม่พบว่ามีปัญหา ไม่ได้รับพิษจากธรรมะนั้นๆ แต่เมื่อหมดฤทธิ์, หมดบุญ, หมดพลังคุ้มกันตัวแล้ว ก็จะได้รับพิษธรรมะ กำเริบทำให้เป็นคนที่หลงตัวเอง, หลงในธรรม, หลงว่าตนมีธรรม ทั้งๆ ที่มีความเข้าใจในธรรมไม่ถูกต้อง เช่น เมื่ออ่านในตำราว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" ก็คิดว่าตนปฏิบัติเอง โดยไม่้ต้องรับธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็สามารถบรรลุธรรมได้เอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดด้วยพิษธรรมะ หรืออ่านในตำราว่า "ธรรมะจะเ็ป็นศาสดาแทนองค์" ก็คิดว่าคัมภีร์ไตรปิฎกคือ "ศาสดา" แทนพระพุทธเจ้าไป ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสสอนหรือสั่งให้ไปรจนาคัมภีร์ขึ้นมาแทนพระองค์ แต่ทรงหมายถึง "พระธรรม" ที่เรียกว่า "ธรรมกาย" ของพระองค์ต่างหากที่จะเป็นศาสดาทำหน้าที่ต่อไป เมื่อเข้าใจผิดแล้วจึงหยิบฉวยธรรมะไปปฏิบัติกันเอง ได้รับ "พิษธรรมะ" ไป

    อนึ่ง บุคคลมีปัญญาบารมีทำมาต่างกัน ทำให้รับธรรมะได้มากน้อยต่างกัน อุปมาเหมือนภาชนะใส่ธรรมที่มีขนาดไม่เท่ากันฉะนั้น คนที่สร้างแต่ส่วนบุญมาเพื่อให้ได้ศึกษาธรรมะมาก โดยไม่มีปัญญาบารมีรองรับ ในช่วงแรกที่ผลบุญสนองผล ให้ได้เสวยผลบุญเป็นการศึกษาธรรม อาจยังไม่ไ่ด้รับผลร้ายจากพิษธรรมะ แต่เมื่อหมดอำนาจแห่งผลบุญนั้นแล้วก็อาจได้รับพิษธรรมะได้ ทั้งนี้ มิใช่ว่าธรรมะมีความผิด อุปมา เช่นยารักษาโรคก็ไม่มีความผิด แต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นจากการใช้ยาโดยไม่ผ่านแพทย์ตรวจสั่งก่อน หรือก็คือการหยิบฉวยธรรมะไปศึกษาโดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยพระพุทธเจ้าก่อนเป็นเหตุทำให้ได้รับพิษธรรมะ ดังนั้น การศึกษาธรรมะมากๆ ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เหมือนกับการกินยาเกินขนาดย่อมไม่ดีฉันนั้น อนึ่ง ผู้ที่จะทราบว่าปวงสัตว์ควรได้รับธรรมะใด มากน้อยแค่ไหน คือ พระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันตสาวกอื่นๆ ไม่อาจวินิจฉัยปวงสัตว์เช่นนี้ได้ อุปมาเหมือนคนไข้ที่หายจากโรค ก็ใช่ว่าจะเป็นหมอรักษาโรคได้

    อาจริยวาท
    เป็นคำที่ไม่มีในพระอภิธรรมแต่เกิดขึ้นใหม่หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วสาเหตุมาจาก ความแตกแยกของหมู่สงฆ์ ที่มิได้มีพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์รวมใจเหมือนเก่าก่อน ทำให้พระมหากัสสปะใช้การอ้างเหตุจากพระสุภัททะปรามาสพระธรรมวินัย เพื่อสังคายนาพระไตรปิฎก ก่อให้เกิดนิกายเซนขึ้นมาก่อน ซึ่งมีพระสงฆ์อีกกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการสังคายนานั้นก็แตกออกไปกลายเป็นมหายาน จากนั้น พระสงฆ์ส่วนนิกายเซน ก็เกิดการแตกแยกอีก ส่วนหนึ่งคิดว่าควรจดจำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเอาไว้ จึงคิดวิธีการสวดมนต์เืพื่อท่องจำพระธรรมขึ้นมา กลายเป็นนิกายเถรวาท (มีการสวดมนต์เช้าเย็น) ซึ่ง นิกายเซนแต่เดิมจะไม่มีการสวดมนต์และการทำสมา่ธิ แต่จะใช้วิธีการถ่ายทอดแบบจิตสู่จิตแล้วจึงบรรลุธรรมโดยตรง ต่อมา นิกายเถรวาทก็เกิดแตกแยกกันอีก เพราะมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งคิดว่าธรรมของอาจารย์ของตนถูกต้องมากกว่า ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ ก็เชื่อในครูบาอาจารย์ของตนมากกว่า สุดท้าย จึงได้ยกย่องให้ครูบาอาจารย์ของตนเหนือกว่าผู้อื่นเป็นดั่งเทพเจ้าใครจะมาลบหลู่หรือแตะต้องไม่ไ่ด้ ก่อเกิดเป็นลัทธิอาจริยวาทขึ้น ลัทธิอาจาริยวาทนี้ จะนับถือ "ธรรม" จากครูบาอาจารย์ของตนเป็นใหญ่กว่าสิ่งอื่นใด

    ลัทธิอาจริยวาท เริ่มกลับมาแพร่ระบาดในประเทศไทยอย่างหนักแต่เป็นไปด้วยอาการแนบเนียน คือ คนไม่ทราบว่านี่คือ "ลัทธิอาจริยวาท" เพราะมีลักษณะคล้ายนิกายเถรวาทมากในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๕ พบว่านิกายเถรวาทในไทย ไม่ลงรอยกันแตกเป็นวัดใครวัดมัน, แนวทางของใครของมัน, ครูบาอาจารย์ของใครก็ของมัน ต่างเชื่อว่าพระธรรมคำสอนของ "หลวงปู่, หลวงพ่อ" ของตนเป็นที่สุด ถูกต้องมากที่สุดแล้ว จะลบหลู่ไม่ได้ ถือเป็นการปรามาสไปหมด (ทั้งๆ ที่ไม่ใช่การปรามาส เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่างไปเท่านั้น ก็จะถูกกล่าวหาว่าปรามาสทันที) ทำให้เกิดชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ขึ้นเช่น กลุ่มสันติอโศก, กลุ่มธรรมกาย, กลุ่มทำนายภัยพิบัติ, กลุ่มเคร่งครัดไม่รับเงินทอง, กลุ่มอ้างพุทธวัจนะ, กลุ่มสร้างวัดอวดบารมีแข่งกัน,กลุ่มปริยัติธรรมฯลฯ ซึ่งกลุ่มต่างๆ เหล่านี้แม้่อาจไม่มีเรื่องกระทบกระทั่งกันก็มีแนวทางการปฏิบัติและความเชื่อที่แตกต่างกัน และไม่ยอมให้ใครมาตำหนิติเตียนแนวทางของตนต่างมีบริวารห้อมล้อมเป็นองครักษ์คอยปกป้องอย่างผิดๆ ไม่เปิดใจรับฟังแนวคิดหรือความคิดเห็นที่แตกต่างจากคนนอกเลย

    อตัมยตา
    หมายถึง "จิตที่หลุดพ้น จิตที่เหนือโลก" ไม่หลงโลก ไม่ยึดติดใดๆ ในโลกนี้ และโลกหน้า (หรือดาวไหนๆ ดาวพ่อ ดาวแม่ ต่างดาว ก็ไม่ยึดติดแสวงหา) ไม่ยึดติดในชาติภพนี้และชาติภพหน้า เป็นจิตที่พร้อมนิพพานแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะอย่่างหนึ่งของ "พระอรหันต์" อนึ่ง ผู้ที่มีจิตลักษณะนี้ อาจจะดูเหมือนคนที่หลุดๆ ลอยๆ หรือเหมือนคนบ้าๆ เพี้ยนๆ ได้ เพราะเป็นจิตที่หลุดพ้นโลก จึงดูเหมือนคนหลุดๆ ก็ได้ ดังนั้น หากท่านเห็นใครแปลกๆ ดูหลุดๆ ท่านไม่ใช่จิตแพทย์ ไม่อาจตรวจวินิจฉัยว่าเขาเป็นอะไร ก็อย่าไปทำหน้าที่ใส่ร้ายว่าเขาเป็นอะไร ก็จะไม่เกิดกรรม เพราะหากกระทำจนติดเป็นนิสัย ไม่แน่ว่าท่านอาจจะปรามาสพระอรหันต์เข้าสักวันหนึ่งได้ โดยไม่รู้ตัว จิตที่ดูสงบ น่านับถืิอศรัทธาและอยู่ในกรอบจารีตที่ดีนั้น ไม่ใช่ "อตัมยตา" เนื่องจากยังยึดติดในกรอบจารีตที่ดีงามอยู่ ยังไม่หลุดพ้นความน่าเชื่อถือศรัทธาไปได้ หรือกล่าวง่ายๆ คือ ท่านเหล่านี้กลัวคนไม่นับถือศรัทธา ยังตกอยู่ในอำนาจแห่งสรรเสริญ-นินทา อันเป็นหนึ่งในโลกธรรม ๘ เท่านั้นหาได้มีจิตหลุดพ้นทางโลกจริงไม่ ยังวนอยู่ในโลกธรรม ๘ คือ สรรเสริญ-นินทา อนึ่ง คนที่ดูน่าศรัทธา ตรงตามสเป็คของ "ปุถุชนที่ยังมีกิเลส" อาจไม่ใช่พระอรหันต์ แต่เป็นผู้ที่มีลักษณะตรง "อุปทาน" ของแต่ละคน เช่น ถ้าเราอุปทานไปก่อนว่า "พระอรหันต์ต้องสงบเสงี่ยม" พอเราไปเจอพระที่สงบเสงี่ยมและมีอะไรดีๆ มากมาย เราก็หลงว่า "นั่นคือ พระอรหันต์" ของเรา ด้วยอุปทานนั้น

    เมื่อบุคคลสำเร็จอรหันตผล จะมีลักษณะ "อตัมยตา" คือ ดูเหมือนคนหลุดๆ หลุดโลก หรือหลุดออกจากกรอบ คือ เขาหลุดพ้นแล้ว ออกจากโลกและกรอบใดๆ ได้แล้ว เขาจึงดูหลุดๆ หรือหลุดโลกหน่อยๆ เช่นนั้น ทั้งนี้ ไม่เหมือนกับคนบ้า และคนหลุดโลกแบบไร้ปัญญา เพราะเมื่อเราได้สนทนากับท่านดูแล้ว จะมีความแตกต่างชัดเจน คือ ท่านที่มีลักษณะ "อตัมยตา" จะมีปัญญาชัดเจน ไม่ใช่คนที่อยู่ในกรอบจารีตที่ดีงาม เพื่อหวังให้คนศรัทธา กลัวไม่มีใครศรัทธา เพราะติดอยู่ในโลกธรรม ๘ คือ สรรเสริญ-นินทา เลย
    ซื่อเทียม
    เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรมปิฎก แต่จำต้องเขียนขึ้นเพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ว่ายังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ทำตัว พูดจา หรือมีบุคลิกภาพเปลือกนอก เหมือนคน "โง่ซื่อ" แต่มิใช่ความโง่ซื่อแท้จริง เช่น ทำเป็นโง่ๆ แต่ตอนกระทำกลับฉลาด ทำไ้ด้ไม่ต่างจากคนฉลาดคิด เพียงแต่ไม่แสดงความฉลาดออกมาให้คนอื่นเห็น ก็เท่านั้น พระบางรูปทำตัวเหมือนคนซื่อมากๆ แต่พอให้เงิน ก็รับเงินทุกราย ไม่ต่างไปจากนักการเมืองที่ทำตัวเป็นคนดี พอให้เงินก็รับทุกราย ครั้งหนึ่ง ผมยังเด็ก ครูทดสอบให้ไปซื้อของ แล้วให้เงิน ลองใจว่าผมจะรับเงินไหม? ผมไม่ไ่ด้อยากได้แต่ก็รับไปเพราะครูคะยั้นคะยอมให้เอา สุดท้าย ครูก็ดูหมิ่นผมลับหลังว่า "ไม่ใช่คนดีจริง" จึงเป็นบทเรียนผมแต่นั้นมาว่า "เรารับเงินด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่ใช่อยากได้ แต่เพราะเขาคะยั้นคะยอ" สุดท้าย เขาก็เอาไปพูดได้ว่าเราซื้อได้ นั่นแหละ จึงเป็นสิ่งที่ผมระวังอย่างยิ่ง เพราะบางคน "ไม่ได้ให้ด้วยใจบริสุทธิ์" แม้เราจะรับด้วยใจบริสุทธิ์ ก็จะกลายเป็นเรื่องไม่ดี ตามมาทีหลังได้ เมื่อเทียบเงินที่ได้รับกับคุณความดีที่เราทำมาแล้ว มันต่างกันมากจริงๆ เงินเพียงน้อย แต่คุณความดีของเราทำอย่างยากยิ่ง กลับต้องมาเสียเงินแค่นั้น ปัจจุบัน นักการเมืองรับเงินกันได้ง่ายมาก ถ้าคุณทำธุรกิจอยากให้ได้รับการช่วยเหลืออะไร ก็ใช้เงินซื้อได้ ค่านิยมที่ผิดนี้ แพร่ระบาดไปจนถึง "ทางธรรม" พวกคนใหญ่คนโต ต้องการเหยียดหยามผู้มีธรรมทางอ้อมแบบเนียนๆ ก็เอาเงินก้อนใหญ่โตไปให้ ทดสอบใจดูว่า "จะปฏิเสธไม่รับเงินไหม?" ปรากฏว่าพระดังๆ ที่ว่ามีธรรม ไม่มีกิเลส ไม่โลภ ก็รับกันทั้งนั้น ไม่รับทางตรง ก็รับทางอ้อม ให้คนอื่นรับแทนก็มี สุดท้าย คนพวกนี้ไม่โง่ จึงดัดหลัง เอาเงินทุจริตที่ได้มาจากทางมิชอบ มาฟอกเงินผ่านวัดต่างๆ ผ่านการทำบุญต่างๆ อันเป็นวิธีฟอกเงินของพวกองค์กรลับ ที่ทำผ่านองค์กรการกุศลมานานแล้ว และคนระดับนี้ (ซึ่งมักมีระดับสูงในสังคม) จะรู้กันดีในวงแคบ คนระดับล่าง รากหญ้า ไม่เคยมีใครทันเกมนี้เลย ดังนั้น พระที่รับเงิน ทำตัวเหมือนคนไม่มีกิเลส น่านับถือ ทำหน้าซื่อ เหมือนคนไม่มีเล่ห์เหลี่ยมอะไร ที่แท้ก็ไม่ซื่อจริง รับเงินทอง โดยไม่แจ้งกล่าวแก่โยมไปว่า "อาตมามีศีล ห้ามรับเงินทอง" พอไม่ได้อ้างศีล ก็ไม่มีศีลปกป้อง (ไม่มีธรรม ธรรมย่อมไม่คุ้มครอง) เขาจึงตกเป็นเหยื่อของ "ขบวนการฟอกเงิน" ซึ่งได้เงินมาจากการทำบาปหนัก ผิดกฏหมายแบบต่างๆ เช่น การค้ายาเสพติด, การค้ามนุษย์, การค้าสัตว์ป่า, การค้าหนีภาษี, การค้าอาวุธ, การทุจริตคอรัปชั่น ฯลฯ การทำบุญ จึงกลายสภาพเป็น "รังแห่งบาป" สนับสนุนให้ขบวนการผิดกฏหมายเหล่านี้ฟอกเงินและอยู่รอดได้ต่อไป  พวกนี้โยงใยกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้การก่อสร้างเป็นธุรกิจถูกกฏหมายเพื่อฟอกเิิงินแล้วใช้องค์กรการกุศลเป็นฉากหน้า ให้คนทำบุญร่วมเข้ามาก่อสร้างโครงการการกุศลต่างๆ โดยพวกเขาจะเอาเงินที่ผิดกฏหมาย ไปทำบุญมากๆ ล่อให้เศรษฐีคนอื่นๆ ทำตามบ้าง เงินของเขาที่ผิดกฏหมาย ก็จะได้รับการฟอกเงิน

    เปลือกนอก มีการทำบุญมากมาย ไม่ต่างจากองค์กรลับที่มีองค์กรการกุศลเยอะๆ แต่แท้แล้ว เบื้องหลังโยงใยทั้งธุรกิจมืดและการเมือง คนอยู่เบื้องหน้า ทำตัวเหมือนดูดี น่าศรัทธา ดูโง่ซื่อ ไม่น่ามีเล่ห์เหลี่ยมอะไร แต่แท้แล้ว "ก็ไม่ซื่อจริง" เรียกว่า "ซื่อเทียม" ไม่ได้น้ำใสใจจริง ไม่ได้บรรลุธรรมอย่างแท้จริงเลย
     
  12. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ปราชญ์ควาย
    หมายถึง คนที่มีความรู้มากดั่งปราญช์แต่ถูกสนทะพายหลอกใช้อยู่ เช่น คนที่มีความรู้ทางพระพุทธศาสนามาก ตั้งใจพยายามทำเืพื่อพระพุทธศาสนา แต่ถูกหลอกให้ไปเล่นงานฆราวาสที่ตั้งใจทำเพื่อพระพุทธศาสนาเช่นกัน อย่างสำนักธรรมบางสำนัก, ลัทธินิกายบางแห่ง ไม่ได้ถึงอรหันต์ เพราะเป็นเพียงฆราวาส แต่ก็ไม่ทำให้เกิดสังฆเภทไม่ได้อาศัยผ้าเหลืองหากิน อาจทำผิดหรือแสดงธรรมไม่ถูกต้อง ทำให้มีจุดอ่อนและจับผิดได้มากมาย ก็เลยจับผิดผิดที่ผิดคน แทนที่จะไปจับดู "พระที่ทำสังฆเภท" ยกตนเป็นผู้นำ นำพาพระสงฆ์เหล่าอื่นออกนอกทางนิพพานไปโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นอนันตริยกรรม "สังฆเภท" มีขบวนการของลัทธิ "อาจริยวาท" คอยสนับสนุน และยังมีผลประโยชน์ร่วมกับ "ขบวนการฟอกเงิน" ซึ่งโยงใยอยู่กับธุรกิจมืด ผิดกฏหมายและศีลธรรมอีกมากมาย ทว่า ปราชญ์ควายกลับไม่ทันฉุกคิด ไม่ได้สติ ไม่ได้เฉลียวใจเลย เอาแต่ปกป้องคนผิด แล้วเล่นงานอีกฝ่ายแทน คนบางกลุ่มมีความผิดชัดเจน แต่ก็ไม่มาก ปราชญ์ควายก็ตามไปเล่นงาน ส่วนคนบางคนมีความผิดมหันต์แต่มองเห็นได้ยาก ปราชญ์ควายไม่รู้ก็เอาแต่ปกป้องไว้ สุดท้าย ปราชญ์ควายจึงถูกหลอกใช้ให้เล่นงานผิดคนผิดที่ตกเป็นเครื่องมือของคนชั่ว

    อนึ่ง ปัจจุบัน คนที่มีลักษณะเข้าข่าย "ปราชญ์ควาย" ยังมีอีกเยอะมาก ถูกหลอกใช้ ถูกสนทะพาย ให้ไปเล่นงานคนผิด กลุ่มขบวนการที่อยู่เบื้องหลัง ใช้ปราชญ์ควายอยู่เบื้องหน้า ไปท้าชนกับศัตรูของตนเอง ปราชญ์ควายไม่ได้อะไรเลย คิดว่าตนเองได้ทำเพื่อพระพุทธศาสนาแล้ว ทว่า กลับกลายเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาไปโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของกลุ่มขบวนการที่อยู่เบื้องหลังเหล่านั้น

    ติดจิต
    ติดจิต เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่จำเป็นต้องเขียนขึ้นเพื่ออธิบายความจริงบางประการ กล่าวคือ จิตนั้นประภัสสรบริสุทธิ์ผ่องใส เมื่อบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน "ดูจิต เห็นจิต" แล้ว ย่อมเห็นความบริสุทธิ์ประภัสสร  เขาจึงสงบสงัดมีสุข และบางครั้งอาจคิดไปว่า "บรรลุอรหันต์แล้ว" แต่เขายังไม่เห็นจิตในจิต เพราะเขายัง "ติดอยู่เพียงเปลือกจิต" เรียกว่า เห็นจิตแล้ว แต่ยังไม่เห็นแจ้งทะลุจิต เพราะยังไม่ได้เห็น "จิตในจิต" ดังนี้ จึงเห็นเพียงความบริสุทธิ์ประภัสสรของจิต ทำให้จิตสงบผ่องใส และนึกว่าได้นิพพานแล้ว เมื่อถึงขั้นนี้ ก็จะมีอาการ "ติดความบริสุทธิ์" อันเป็นผลพวงตามมาจาก "จิตประภัสสรที่บริสุทธิ์" ที่ไ้ด้สัมผัส รับรู้มานั้นๆ เมื่อเกิดอาการติดความบริสุทธิ์มากๆ เข้า ก็จะเริ่มไม่ชอบ, หลีกห่างออก จากสิ่งที่ตรงข้าม เช่น กิเลสและความไม่บริสุทธิ์ต่างๆ เห็นความโลภ, โกรธ, หลง เป็นความไม่บริสุทธิ์ จึงเริ่มเอนเอียง ไปอยู่ฝั่งฝ่ายของธรรมบริสุทธิ์ ไม่เป็นกลางต่อธรรมฝ่ายไม่บริสุทธิ์ทั้งหลาย เช่นนี้ ย่อมไม่ใช่ "อริยมรรค" อันมีความเป็นกลาง สัมมาสมาธิที่เคยได้ เคยมี ก็จะเอนเอียงไป มิใช่สัมมาสมาธิแ่ต่ดั้งเดิม ทำให้ไม่บรรลุธรรมในที่สุด

    การ "ดูจิต" มิใช่ดูเพียงอาการของจิต เพราะการดูอาการของจิตนั้น เป็นการ "ดูเจตสิก" ต่างหาก นอกจากนี้ การดูจิตแล้วเห็น "จิตประภัสสร" แม้เ็ห็นถูกถึง "จิต" แล้ว ไม่หลงเจตสิกแล้ว ก็ตาม แต่ก็ยังไม่เห็น "จิตในจิต" อยู่ดี ยังต้องทะลุทะลวงให้พ้น "จิต" ทำให้แจ้งไป ทำให้บรรลุไป มิใช่แค่เห็น หรือแค่ตามรู้ การที่เราแค่เห็นแล้วสักแต่ว่าเห็นมันจึงเป็นเพียง "ผัสสะ" รับรู้สิ่งที่เข้ามากระทบเท่านั้น ต่อให้รับรู้ได้ถึงนิพพาน  ก็เป็นเพียง "ผัสสะ" อยู่ดี คือ ผัสสะเข้ากับนิพพาน, รับรู้นิพพาน, เห็นนิพพาน, รับอารมณ์นิพพาน, เสพอารมร์นิพพาน ฯลฯ แต่มิใช่ "บรรลุแจ้งในนิพพาน" นั้น อุปมาดั่ง มือกระบี่แทงตรงหัวใจศัตรู แต่มิได้ทิ่มทะลุลงไป เพียงแต่จรดจ่ออยู่ตรงหัวใจศัตรูนั้น ย่อมไม่อาจสำเร็จผลดังใจหมายได้ ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    รูปนิพพาน
    รูปนิพพาน เป็นคำที่ไม่มีในพระอภิธรรม แต่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายภาวะบางอย่าง อันเกิดจากจิตหยั่งไปถึงนิพพานได้ แล้วทำให้จิตรับรู้นิพพานนั้นๆ ว่ามีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ต่างๆ นั้น ล้วนเป็น "รูปของนิพพาน" ยังมิใช่นิพพานจริงๆ เช่น บางท่านที่ได้ "ธรรมกาย" อาศัยธรรมกายนั้นจึงหยั่งถึงนิพพาน เป็นอายตนะรับรู้นิพพาน (อายตนะนิพพาน) แล้วรับรู้นิพพานว่ามีลักษณะต่างๆ เช่น เห็นเป็นดินแดน มีบ้านเมืองเป็นแก้ว สวยสดงดงามเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็น "รูป" ของนิพพาน เหมือนภาพฉายของนิพพาน, ภาพสะท้อนของนิพพาน, เหมือนเงาจันทร์ในน้ำ ฯลฯ แต่ยังไม่ใช่นิพพานจริงๆ ซึ่งหากท่านได้ศึกษา "ปรมัตถธรรม" พระพุทธเจ้าจะทรงจำแนกธรรมหมวดนี้ไว้ ๔ ธรรมขันธ์ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน โดยสิ่งใดที่ "ถูกรับรู้ได้" นับเป็น "รูป" ทั้งหมด สิ่งใดที่เป็นผู้รับรู้รูปต่างๆ นับเป็น "นาม" ทั้งหมด ซึ่งนามนั้นได้แก่ จิตและเจตสิก นั่นเอง นอกจากนี้ สิ่งที่นอกเหนือจากการ "รู้" และ "ถูกรับรู้" ก็คือ "นิพพาน" ในท่านที่ฝึกวิปัสสนาพิจารณา "รูปนาม" ท่านจะเห็นธรรมสองฝั่งฝ่าย คือ ฝ่ายผู้รู้เรียกว่า "นาม" ฝ่ายสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่า "รูป" ตราบใดที่ท่านยังเห็น "รูปนาม" อยู่ ท่านก็จะยังไม่เข้าถึงซึ่ง "นิพพาน" แท้จริง เพราะทั้งหมดนั้นยังเป็นรูปและนามมิใช่นิพพานอยู่นั่นเอง อุปมาดั่งบุคคลนั่งมองภาพในกระจกเงาฉะนั้น

    บุคคลที่สำเร็จธรรมกาย หรือสร้างสมบุญบารมีมาจนเต็มแก่แล้ว จะมี "ธรรมกาย" เป็นกายธรรมภายในที่จะสามารถหยั่งรู้และสัมผัสนิพพานได้ บางท่านไม่เห็นเป็นรูปใดๆ แต่สัมผัสเป็นความรู้สึุกที่ผ่องใส สงบ สงัด บริสุทธิ์ ประภัสสร และติดอยู่ในอารมณ์นี้ เรียกว่า "อารมณ์นิพพาน" ทำให้ค้างคาอยู่เพียง "อรหันตมรรค" คือ จิตดำเินินตามอริยมรรคตรงทางมาแล้ว พอพบนิพพานแล้วก็เสพอารมณ์นิพพาน แช่อยู่ ดองอยู่ในอารมณ์นี้ เหมือนบุคคลที่เคยชินกับการทำกรรมฐาน เมื่อรับรู้นิพพานแล้ว เอานิพพานเป็นอารมณ์กรรมฐานไปโดยไม่รู้ตัว ก็จะรู้สึกว่าสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่นิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ดี เช่น กิเลสไม่บริสุทธิ์ดั่งเช่นนิพพาน, โลกวุ่นวานไม่สงบดั่งนิพพาน, วิบากกรรมนำมาซึ่งทุกข์ไม่สุขเหมือนนิพพาน ฯลฯ ให้ท่านมีสติขึ้นรู้ตัวว่า "มรรคของท่าน" กำลังเอนเอียง ไม่เป็นกลาง ไม่ใช่สัมมาสมาธิแล้ว เพราะท่านเอนเข้าไปทางนิพพานที่ถูกรับรู้ได้นั้น จึงไม่ใช่ทางนิพพานแท้ เป็นเพียง "รูปของนิพพาน" ที่ท่านยังติดข้องอยู่เท่านั้น

    เปลือกธรรม
    เป็นคำที่ไม่มีในอธิธรรม แต่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายความจริงบางประการ ของคนที่ศึกษาธรรมของผู้อื่น มิได้ตรัสรู้เอง แล้วติดเพียงเปลือกนอกของธรรมนั้นๆ เช่น เมื่อได้ไปศึกษาธรรมของพระพุทธองค์แล้ว มิได้เกิดปัญญาแจ้งในธรรมนั้น มิเห็น "ธรรมในธรรม" ว่า แท้แล้วแก่นแท้ในธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น ล้วนเป็น "สัจธรรม, ธรรมะ, ธรรมชาติ และธรรมดา" เมื่อไม่เห็นเป็นธรรมดา จิตจึงไม่เป็นกลางต่อธรรม ธรรมใดเป็นฝ่ายให้คุณก็เกิดทัศนคติเชิงบวกกับธรรมนั้น ธรรมใดเป็นฝ่ายให้โทษก็เกิดทัศนคติเชิงลบกับธรรมนั้น เช่น เห็นว่ากิเลส, อวิชชา, ตัณหา, อุปทาน เป็นของไม่ดี ต้องกำจัด, ต้องทำลาย, ต้องตัด, ต้องดับ ฯลฯ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพียงธรรมะ ธรรมดา ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา แต่แรกแล้ว อนิจจัง ไม่เที่ยง เกิดแล้ว ดับไป ไม่ยั่งยืนอยู่ได้ ตามแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง สิ้นอำนาจแห่งเหตุปัจจัยนั้น ธรรมนั้นก็ดับลง เท่านั้นเอง เมื่อไม่เห็น "ธรรมดาในธรรม" หรือ "ธรรมในธรรม" ดังนี้ แล้ว ทั้งยังเกิดเวทนาหวั่นไหวเพราะธรรมที่ได้ยิน, ได้ฟัง, ได้อ่าน ฯลฯ มานั้น มีทัศนคติเชิงลบและบวก ไม่เป็นกลางต่อธรรมทั้งหลายนั้น ก็นำไปสู่การ "ปฏิบัติที่เอนเอียง" ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นกลาง ไม่ใช่อริยมรรคที่แท้จริง เช่น ไปเพียรจม นั่งตัดกิเลส, ไปเพียรจมนั่งดับอวิชชา, ไปเพียรจมนั่งทำนิพพานให้แจ้ง ฯลฯ อนึ่ง การได้รับธรรมเพียงน้อยนิด แต่เข้าถึง "ธรรมในธรรม" ที่ได้รับนั้น ยังดีเสียกว่าได้รับธรรมมากมาย แต่ไม่เข้าถึง "ธรรมในธรรม" เลย เพราะการไม่เข้าถึงธรรมในธรรม อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด และปัญหามากมายได้

    อัน "ธรรมของพระพุึทธเจ้า" นั้น มิใช่อัตตา มิใช่ธรรมของเราทั้งหลาย ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หลายท่านอยากเก่ง อยากเด่น อยากดัง อยากเป็นพระมีชื่อเสียง อยากเป็นฆราวาสสอนธรรมผู้อื่น มิได้ตรัสรู้เอง มิได้ค้นพบธรรมเอง ไปอ่านเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามา แล้วไม่ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ กลายเป็น "ติดเปลือกธรรม" เมื่อเกิดเวทนาหวั่นไหวในเปลือกธรรมนั้น ก็นำไปสู่การมีทัศนคติที่เอนเอียงต่อธรรม แล้วนำไปสู่การปฏิบัติที่เอียง มิใช่ทางสายกลางแต่อย่างใด สุดท้าย เมื่อการปฏิบัติผิด นำไปสู่ปัญหาต่างๆ กลายเป็น "พิษ" ที่เรียกว่า "พิษธรรมะ" ได้ในท้ายที่สุด จึงได้เตือนท่านทั้งหลายไว้ ด้วยความปราถนาดี ณ ที่นี้

    พุทธวัจนะ
    ไม่ใช่คำที่หมายถึงธรรมข้อใดใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์แต่เป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่เพื่ออธิบายถึง "ธรรมที่มาจากพระโอษฐ์โดยตรงของพระพุทธเจ้า" เช่น ธรรมที่พระอานนท์ได้ยินมาจากพระพุทธเจ้าตรัสโดยตรง, ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสโดยตรงสู่ผู้อื่น ฯลฯ เป็นการตรัสโดยตรงไม่ผ่านตำราใดๆ ไม่ผ่านผู้อื่นใด แต่ยังมิใช่ธรรมแบบ "จิตสู่จิต" (ธรรมแบบจิตสู่จิต อธิบายเป็นคำพูดผ่านวัจนะภาษาไม่ได้) ทว่า ภายหลังได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก และมีการบันทึกเป็นตำราคัมภีร์ต่างๆ จึงมีบางท่านแยกแยะตำราบางส่วนที่ตนมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า มีความคล้ายคลึงหรือน่าจะตรงคำ "พุทธวัจนะ" แล้วได้คัดแยกออกมาเป็นส่วนต่างหาก ที่เรียกกันว่า "พุทธวัจนะ" บ้าง "ธรรมจากพระโอษฐ์" บ้าง แท้แล้ว ธรรมเหล่านี้ มิใช่ธรรมจากพระโอษฐ์ หรือพุทธวัจนะจริงๆ แต่เป็น "ธรรมจากตำรา" ที่มีผู้คิดเห็นกันเองว่าน่าจะมีความใกล้เคียงกับ "พุทธวัจนะ" มาก จึงเรียกกันว่า "พุทธวัจนะ" ทั้งๆ ที่ไม่ใช่พุทธวัจนะ เพราะไม่ใช่สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า แต่เป็น "ธรรมจากตำรา" ที่ผู้อ่านมีความคิดเห็นส่วนตัวว่าน่าจะใกล้เคียงกับพุทธวัจนะมากที่สุด นั่นเอง (ทั้งนี้ ผู้อ่านตำราท่านอื่นๆ อาจมีความคิดเห็นต่างไปจากนี้ก็ได้)

    ปัจจุบัน มีการอ้างอิง "พุทธวัจนะ" มาใช้ในการเผยแพร่ธรรม เพื่อให้แตกต่างจากการเผยแพร่ธรรมของผู้อื่น เพื่อให้เห็นว่าผู้เผยแพร่ธรรม พิเศษกว่าผู้อื่น เนื่องจากเป็น "พุทธวัจนะ" ส่วนผู้อื่นที่เผยแพร่ มิใช่พุทธวัจนะ อีกทั้งยังมีการตั้งสำนักของตนให้แตกต่างไป มีหมู่สงฆ์เข้าร่วม มีแนวทางที่แตกต่่างออกไปจากเดิม ซึ่งเป็น "การแตกหน่อแตกกอ" เป็นสายธรรมใหม่ แม้มิได้ตั้งขึ้นเป็นลัทธินิกาย แต่ก็ก่อให้เกิดความแตกแยก แตกต่างในหมู่สงฆ์ ซึ่งจะเข้าข่ายกลายเป็น "สังฆเภท" ได้ ในที่สุด แม้ว่าจะปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเพียงใด แต่หากปฏิบัติแตกต่างออกไป และไม่ใช่ทางนิพพานเหมือนแต่เก่าก่อน ก็เข้าข่ายสังฆเภทได้

    อรหันตมรรค
    คือ อริยมรรคที่เข้าทางอรหันต์แล้ว หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ เมื่อเราปฏิบัติเข้าทางอรหันต์แล้ว ก็นับเป็น "อรหันตมรรค" คือ ปฏิบัติตรงทางแล้ว หยั่งถึงนิพพาน แจ้งในนิพพานว่านิพพานมีอยู่จริงแล้ว ก็นับให้ว่าได้อรหันต์ แต่เพราะยังไม่ละจาก "มรรค" ที่ดำเนินอยู่ ก็จะนับให้เป็น "อรหันตมรรค" เมื่อใดที่ละจากมรรคได้ ปล่อยวางไม่ยึดติดแม้แต่มรรค ก็จะถึง "อรหันตผล" ในที่สุด เรียกว่า "อเสขบุคคล" คือ ผู้ไม่ต้องปฏิบัติอะไรอีก อนึ่ง การไม่ต้องปฏิบัติอะไร ไม่ไ่ด้หมายความว่าอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร แต่จะเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกรรม เช่น บางท่านมีวิบากกรรมถูกใช้ให้ทำงาน เขาก็ทำงานได้ ด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรมนั้น มิใช่เจตนาที่เขาอยากจะทำ หรือดำริว่าตนจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไปด้วยถูกกระทำให้ต้องทำ เป็นเพียงวิบากเท่านั้น อนึ่ง "อรหันตมรรค" เป็นเหมือน "มรรคที่ไร้มรรค" มิใช่ด้วยวิธีการทำสมาธิแบบใดแบบหนึ่ง จึงได้อรหันตมรรค แต่เป็นไปได้อย่างไม่อาจคาดเดาด้วย "กรรมของปวงสัตว์เป็นอจิณไตย" จึงไม่อาจกำหนดได้ว่าปวงสัตว์ต้องปฏิบัติเช่นนั้นหรือเช่นนี้ เพราะกรรมของปวงสัตว์ทำมาแต่ก่อนนั้น ต่างกัน จึงต้องเสวยผลกรรมต่างกันไป เช่น พระพุทธเจ้าต้องเสวยผลกรรมด้วยการทำทุกขกริยา ๖ ปี ก่อนจึงบรรลุธรรมได้, องคุลีมาล ต้องเสวยผลกรรมก่อนด้วยการถูกหลอกให้หลงทางไปฆ่าคน เมื่อหมดอำนาจแห่งวิบากกรรมนั้นแล้ว จึงหลุดพ้นได้ ดังนั้น จึงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ว่าทางหรือวิธีใดที่ถูกต้อง หรือผิด สำหรับคนทุกคน ทุกคนมี "วิบากกรรม" เป็นทางอยู่แล้ว ต่างกันไป เป็นอจิณไตย มิอาจคาดเดา ล้วนเป็นไปได้ทั้งนั้น ไม่มีทางใดผิด และไม่มีทางใดที่จัดว่าถูก ทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจกรรมเท่านั้น

    อนึ่ง เมื่อบุคคลเข้าถึง "อรหันตมรรค" เข้าถึง "มรรคที่ไร้มรรค" นี้แล้ว หากยังอยู่ใน "มรรคที่ไร้มรรค" ต่อ ก็จะยังไม่ึถึง "อรหันตผล" อยู่ดี ไม่ว่าจะมีมรรคที่มีวิธี หรือมีมรรคที่ไร้วิธี ทั้งสองอย่างก็ยังคงเป็นมรรคอยู่เช่นกัน เพียงแต่ "มรรคที่ไร้วิธี" อาจใกล้นิพพานมากกว่า ก็เท่านั้น แต่เมื่อใด บุคคลได้ยึดว่า "นี่แหละทางที่ถูกต้อง" นี่แหละ "มรรค" เมื่อนั้น บุคคลก็จะติดมรรค แ้ม้มรรคนั้นนำพาถึงนิพพานได้ก็จริง แต่ถ้าบุคคลยึดติดไว้ในมรรคนั้นๆ ก็จะยังมิเกิด "อรหันตผล" ได้ เพราะติดในมรรคนี้ ไม่ได้ปล่อยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามวิบากกรรมอย่างแท้จริง แต่จะเพียรจมอยู่ เพื่อให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามมรรคแห่งนิพพานที่พบนั้น
     
  13. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ปราชญ์ควาย
    หมายถึง คนที่มีความรู้มากดั่งปราญช์แต่ถูกสนตะพายหลอกใช้อยู่ เช่น คนที่มีความรู้ทางพระพุทธศาสนามาก ตั้งใจพยายามทำเืพื่อพระพุทธศาสนา แต่ถูกหลอกให้ไปเล่นงานฆราวาสที่ตั้งใจทำเพื่อพระพุทธศาสนาเช่นกัน อย่างสำนักธรรมบางสำนัก, ลัทธินิกายบางแห่ง ไม่ได้ถึงอรหันต์ เพราะเป็นเพียงฆราวาส แต่ก็ไม่ทำให้เกิดสังฆเภท ไม่ได้อาศัยผ้าเหลืองหากิน อาจทำผิดหรือแสดงธรรมไม่ถูกต้อง ทำให้มีจุดอ่อนและจับผิดได้มากมาย ก็เลยจับผิดผิดที่ผิดคน แทนที่จะไปจับดู "พระที่ทำสังฆเภท" ยกตนเป็นผู้นำ นำพาพระสงฆ์เหล่าอื่นออกนอกทางนิพพานไปโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นอนันตริยกรรม "สังฆเภท" มีขบวนการของลัทธิ "อาจริยวาท" คอยสนับสนุน และยังมีผลประโยชน์ร่วมกับ "ขบวนการฟอกเงิน" ซึ่งโยงใยอยู่กับธุรกิจมืด ผิดกฏหมายและศีลธรรมอีกมากมาย ทว่า ปราชญ์ควาย กลับไม่ทันฉุกคิด ไม่ได้สติ ไม่ได้เฉลียวใจเลย เอาแต่ปกป้องคนผิด แล้วเล่นงานอีกฝ่ายแทน คนบางกลุ่มมีความผิดชัดเจน แต่ก็ไม่มาก ปราชญ์ควายก็ตามไปเล่นงาน ส่วนคนบางคนมีความผิดมหันต์แต่มองเห็นได้ยาก ปราชญ์ควายไม่รู้ก็เอาแต่ปกป้องไว้ สุดท้าย ปราชญ์ควาย จึงถูกหลอกใช้ให้เล่นงานผิดคนผิดที่ตกเป็นเครื่องมือของคนชั่ว

    อนึ่ง ปัจจุบัน คนที่มีลักษณะเข้าข่าย "ปราชญ์ควาย" ยังมีอีกเยอะมาก ถูกหลอกใช้ ถูกสนตะพาย ให้ไปเล่นงานคนผิด กลุ่มขบวนการที่อยู่เบื้องหลัง ใช้ปราชญ์ควายอยู่เบื้องหน้า ไปท้าชนกับศัตรูของตนเอง ปราชญ์ควายไม่ได้อะไรเลย คิดว่าตนเองได้ทำเพื่อพระพุทธศาสนาแล้ว ทว่า กลับกลายเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาไปโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของกลุ่มขบวนการที่อยู่เบื้องหลังเหล่านั้น

    ติดจิต
    ติดจิต เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่จำเป็นต้องเขียนขึ้นเพื่ออธิบายความจริงบางประการ กล่าวคือ จิตนั้นประภัสสรบริสุทธิ์ผ่องใส เมื่อบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน "ดูจิต เห็นจิต" แล้ว ย่อมเห็นความบริสุทธิ์ประภัสสร  เขาจึงสงบสงัดมีสุข และบางครั้งอาจคิดไปว่า "บรรลุอรหันต์แล้ว" แต่เขายังไม่เห็นจิตในจิต เพราะเขายัง "ติดอยู่เพียงเปลือกจิต" เรียกว่า เห็นจิตแล้ว แต่ยังไม่เห็นแจ้งทะลุจิต เพราะยังไม่ได้เห็น "จิตในจิต" ดังนี้ จึงเห็นเพียงความบริสุทธิ์ประภัสสรของจิต ทำให้จิตสงบผ่องใส และนึกว่าได้นิพพานแล้ว เมื่อถึงขั้นนี้ ก็จะมีอาการ "ติดความบริสุทธิ์" อันเป็นผลพวงตามมาจาก "จิตประภัสสรที่บริสุทธิ์" ที่ไ้ด้สัมผัส รับรู้มานั้นๆ เมื่อเกิดอาการติดความบริสุทธิ์มากๆ เข้า ก็จะเริ่มไม่ชอบ, หลีกห่างออก จากสิ่งที่ตรงข้าม เช่น กิเลสและความไม่บริสุทธิ์ต่างๆ เห็นความโลภ, โกรธ, หลง เป็นความไม่บริสุทธิ์ จึงเริ่มเอนเอียง ไปอยู่ฝั่งฝ่ายของธรรมบริสุทธิ์ ไม่เป็นกลางต่อธรรมฝ่ายไม่บริสุทธิ์ทั้งหลาย เช่นนี้ ย่อมไม่ใช่ "อริยมรรค" อันมีความเป็นกลาง สัมมาสมาธิที่เคยได้ เคยมี ก็จะเอนเอียงไป มิใช่สัมมาสมาธิแ่ต่ดั้งเดิม ทำให้ไม่บรรลุธรรมในที่สุด

    การ "ดูจิต" มิใช่ดูเพียงอาการของจิต เพราะการดูอาการของจิตนั้น เป็นการ "ดูเจตสิก" ต่างหาก นอกจากนี้ การดูจิตแล้วเห็น "จิตประภัสสร" แม้เ็ห็นถูกถึง "จิต" แล้ว ไม่หลงเจตสิกแล้ว ก็ตาม แต่ก็ยังไม่เห็น "จิตในจิต" อยู่ดี ยังต้องทะลุทะลวงให้พ้น "จิต" ทำให้แจ้งไป ทำให้บรรลุไป มิใช่แค่เห็น หรือแค่ตามรู้ การที่เราแค่เห็นแล้วสักแต่ว่าเห็นมันจึงเป็นเพียง "ผัสสะ" รับรู้สิ่งที่เข้ามากระทบเท่านั้น ต่อให้รับรู้ได้ถึงนิพพาน  ก็เป็นเพียง "ผัสสะ" อยู่ดี คือ ผัสสะเข้ากับนิพพาน, รับรู้นิพพาน, เห็นนิพพาน, รับอารมณ์นิพพาน, เสพอารมร์นิพพาน ฯลฯ แต่มิใช่ "บรรลุแจ้งในนิพพาน" นั้น อุปมาดั่ง มือกระบี่แทงตรงหัวใจศัตรู แต่มิได้ทิ่มทะลุลงไป เพียงแต่จรดจ่ออยู่ตรงหัวใจศัตรูนั้น ย่อมไม่อาจสำเร็จผลดังใจหมายได้ ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    รูปนิพพาน
    รูปนิพพาน เป็นคำที่ไม่มีในพระอภิธรรม แต่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายภาวะบางอย่าง อันเกิดจากจิตหยั่งไปถึงนิพพานได้ แล้วทำให้จิตรับรู้นิพพานนั้นๆ ว่ามีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ต่างๆ นั้น ล้วนเป็น "รูปของนิพพาน" ยังมิใช่นิพพานจริงๆ เช่น บางท่านที่ได้ "ธรรมกาย" อาศัยธรรมกายนั้นจึงหยั่งถึงนิพพาน เป็นอายตนะรับรู้นิพพาน (อายตนะนิพพาน) แล้วรับรู้นิพพานว่ามีลักษณะต่างๆ เช่น เห็นเป็นดินแดน มีบ้านเมืองเป็นแก้ว สวยสดงดงามเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็น "รูป" ของนิพพาน เหมือนภาพฉายของนิพพาน, ภาพสะท้อนของนิพพาน, เหมือนเงาจันทร์ในน้ำ ฯลฯ แต่ยังไม่ใช่นิพพานจริงๆ ซึ่งหากท่านได้ศึกษา "ปรมัตถธรรม" พระพุทธเจ้าจะทรงจำแนกธรรมหมวดนี้ไว้ ๔ ธรรมขันธ์ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน โดยสิ่งใดที่ "ถูกรับรู้ได้" นับเป็น "รูป" ทั้งหมด สิ่งใดที่เป็นผู้รับรู้รูปต่างๆ นับเป็น "นาม" ทั้งหมด ซึ่งนามนั้นได้แก่ จิตและเจตสิก นั่นเอง นอกจากนี้ สิ่งที่นอกเหนือจากการ "รู้" และ "ถูกรับรู้" ก็คือ "นิพพาน" ในท่านที่ฝึกวิปัสสนาพิจารณา "รูปนาม" ท่านจะเห็นธรรมสองฝั่งฝ่าย คือ ฝ่ายผู้รู้เรียกว่า "นาม" ฝ่ายสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่า "รูป" ตราบใดที่ท่านยังเห็น "รูปนาม" อยู่ ท่านก็จะยังไม่เข้าถึงซึ่ง "นิพพาน" แท้จริง เพราะทั้งหมดนั้นยังเป็นรูปและนามมิใช่นิพพานอยู่นั่นเอง อุปมาดั่งบุคคลนั่งมองภาพในกระจกเงาฉะนั้น

    บุคคลที่สำเร็จธรรมกาย หรือสร้างสมบุญบารมีมาจนเต็มแก่แล้ว จะมี "ธรรมกาย" เป็นกายธรรมภายในที่จะสามารถหยั่งรู้และสัมผัสนิพพานได้ บางท่านไม่เห็นเป็นรูปใดๆ แต่สัมผัสเป็นความรู้สึุกที่ผ่องใส สงบ สงัด บริสุทธิ์ ประภัสสร และติดอยู่ในอารมณ์นี้ เรียกว่า "อารมณ์นิพพาน" ทำให้ค้างคาอยู่เพียง "อรหันตมรรค" คือ จิตดำเินินตามอริยมรรคตรงทางมาแล้ว พอพบนิพพานแล้วก็เสพอารมณ์นิพพาน แช่อยู่ ดองอยู่ในอารมณ์นี้ เหมือนบุคคลที่เคยชินกับการทำกรรมฐาน เมื่อรับรู้นิพพานแล้ว เอานิพพานเป็นอารมณ์กรรมฐานไปโดยไม่รู้ตัว ก็จะรู้สึกว่าสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่นิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ดี เช่น กิเลสไม่บริสุทธิ์ดั่งเช่นนิพพาน, โลกวุ่นวานไม่สงบดั่งนิพพาน, วิบากกรรมนำมาซึ่งทุกข์ไม่สุขเหมือนนิพพาน ฯลฯ ให้ท่านมีสติขึ้นรู้ตัวว่า "มรรคของท่าน" กำลังเอนเอียง ไม่เป็นกลาง ไม่ใช่สัมมาสมาธิแล้ว เพราะท่านเอนเข้าไปทางนิพพานที่ถูกรับรู้ได้นั้น จึงไม่ใช่ทางนิพพานแท้ เป็นเพียง "รูปของนิพพาน" ที่ท่านยังติดข้องอยู่เท่านั้น

    เปลือกธรรม
    เป็นคำที่ไม่มีในอธิธรรม แต่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายความจริงบางประการ ของคนที่ศึกษาธรรมของผู้อื่น มิได้ตรัสรู้เอง แล้วติดเพียงเปลือกนอกของธรรมนั้นๆ เช่น เมื่อได้ไปศึกษาธรรมของพระพุทธองค์แล้ว มิได้เกิดปัญญาแจ้งในธรรมนั้น มิเห็น "ธรรมในธรรม" ว่า แท้แล้วแก่นแท้ในธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น ล้วนเป็น "สัจธรรม, ธรรมะ, ธรรมชาติ และธรรมดา" เมื่อไม่เห็นเป็นธรรมดา จิตจึงไม่เป็นกลางต่อธรรม ธรรมใดเป็นฝ่ายให้คุณก็เกิดทัศนคติเชิงบวกกับธรรมนั้น ธรรมใดเป็นฝ่ายให้โทษก็เกิดทัศนคติเชิงลบกับธรรมนั้น เช่น เห็นว่ากิเลส, อวิชชา, ตัณหา, อุปทาน เป็นของไม่ดี ต้องกำจัด, ต้องทำลาย, ต้องตัด, ต้องดับ ฯลฯ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพียงธรรมะ ธรรมดา ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา แต่แรกแล้ว อนิจจัง ไม่เที่ยง เกิดแล้ว ดับไป ไม่ยั่งยืนอยู่ได้ ตามแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง สิ้นอำนาจแห่งเหตุปัจจัยนั้น ธรรมนั้นก็ดับลง เท่านั้นเอง เมื่อไม่เห็น "ธรรมดาในธรรม" หรือ "ธรรมในธรรม" ดังนี้ แล้ว ทั้งยังเกิดเวทนาหวั่นไหวเพราะธรรมที่ได้ยิน, ได้ฟัง, ได้อ่าน ฯลฯ มานั้น มีทัศนคติเชิงลบและบวก ไม่เป็นกลางต่อธรรมทั้งหลายนั้น ก็นำไปสู่การ "ปฏิบัติที่เอนเอียง" ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นกลาง ไม่ใช่อริยมรรคที่แท้จริง เช่น ไปเพียรจม นั่งตัดกิเลส, ไปเพียรจมนั่งดับอวิชชา, ไปเพียรจมนั่งทำนิพพานให้แจ้ง ฯลฯ อนึ่ง การได้รับธรรมเพียงน้อยนิด แต่เข้าถึง "ธรรมในธรรม" ที่ได้รับนั้น ยังดีเสียกว่าได้รับธรรมมากมาย แต่ไม่เข้าถึง "ธรรมในธรรม" เลย เพราะการไม่เข้าถึงธรรมในธรรม อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด และปัญหามากมายได้

    อัน "ธรรมของพระพุึทธเจ้า" นั้น มิใช่อัตตา มิใช่ธรรมของเราทั้งหลาย ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หลายท่านอยากเก่ง อยากเด่น อยากดัง อยากเป็นพระมีชื่อเสียง อยากเป็นฆราวาสสอนธรรมผู้อื่น มิได้ตรัสรู้เอง มิได้ค้นพบธรรมเอง ไปอ่านเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามา แล้วไม่ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ กลายเป็น "ติดเปลือกธรรม" เมื่อเกิดเวทนาหวั่นไหวในเปลือกธรรมนั้น ก็นำไปสู่การมีทัศนคติที่เอนเอียงต่อธรรม แล้วนำไปสู่การปฏิบัติที่เอียง มิใช่ทางสายกลางแต่อย่างใด สุดท้าย เมื่อการปฏิบัติผิด นำไปสู่ปัญหาต่างๆ กลายเป็น "พิษ" ที่เรียกว่า "พิษธรรมะ" ได้ในท้ายที่สุด จึงได้เตือนท่านทั้งหลายไว้ ด้วยความปราถนาดี ณ ที่นี้

    พุทธวัจนะ
    ไม่ใช่คำที่หมายถึงธรรมข้อใดใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์แต่เป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่เพื่ออธิบายถึง "ธรรมที่มาจากพระโอษฐ์โดยตรงของพระพุทธเจ้า" เช่น ธรรมที่พระอานนท์ได้ยินมาจากพระพุทธเจ้าตรัสโดยตรง, ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสโดยตรงสู่ผู้อื่น ฯลฯ เป็นการตรัสโดยตรงไม่ผ่านตำราใดๆ ไม่ผ่านผู้อื่นใด แต่ยังมิใช่ธรรมแบบ "จิตสู่จิต" (ธรรมแบบจิตสู่จิต อธิบายเป็นคำพูดผ่านวัจนะภาษาไม่ได้) ทว่า ภายหลังได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก และมีการบันทึกเป็นตำราคัมภีร์ต่างๆ จึงมีบางท่านแยกแยะตำราบางส่วนที่ตนมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า มีความคล้ายคลึงหรือน่าจะตรงคำ "พุทธวัจนะ" แล้วได้คัดแยกออกมาเป็นส่วนต่างหาก ที่เรียกกันว่า "พุทธวัจนะ" บ้าง "ธรรมจากพระโอษฐ์" บ้าง แท้แล้ว ธรรมเหล่านี้ มิใช่ธรรมจากพระโอษฐ์ หรือพุทธวัจนะจริงๆ แต่เป็น "ธรรมจากตำรา" ที่มีผู้คิดเห็นกันเองว่าน่าจะมีความใกล้เคียงกับ "พุทธวัจนะ" มาก จึงเรียกกันว่า "พุทธวัจนะ" ทั้งๆ ที่ไม่ใช่พุทธวัจนะ เพราะไม่ใช่สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า แต่เป็น "ธรรมจากตำรา" ที่ผู้อ่านมีความคิดเห็นส่วนตัวว่าน่าจะใกล้เคียงกับพุทธวัจนะมากที่สุด นั่นเอง (ทั้งนี้ ผู้อ่านตำราท่านอื่นๆ อาจมีความคิดเห็นต่างไปจากนี้ก็ได้)

    ปัจจุบัน มีการอ้างอิง "พุทธวัจนะ" มาใช้ในการเผยแพร่ธรรม เพื่อให้แตกต่างจากการเผยแพร่ธรรมของผู้อื่น เพื่อให้เห็นว่าผู้เผยแพร่ธรรม พิเศษกว่าผู้อื่น เนื่องจากเป็น "พุทธวัจนะ" ส่วนผู้อื่นที่เผยแพร่ มิใช่พุทธวัจนะ อีกทั้งยังมีการตั้งสำนักของตนให้แตกต่างไป มีหมู่สงฆ์เข้าร่วม มีแนวทางที่แตกต่่างออกไปจากเดิม ซึ่งเป็น "การแตกหน่อแตกกอ" เป็นสายธรรมใหม่ แม้มิได้ตั้งขึ้นเป็นลัทธินิกาย แต่ก็ก่อให้เกิดความแตกแยก แตกต่างในหมู่สงฆ์ ซึ่งจะเข้าข่ายกลายเป็น "สังฆเภท" ได้ ในที่สุด แม้ว่าจะปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเพียงใด แต่หากปฏิบัติแตกต่างออกไป และไม่ใช่ทางนิพพานเหมือนแต่เก่าก่อน ก็เข้าข่ายสังฆเภทได้

    อรหันตมรรค
    คือ อริยมรรคที่เข้าทางอรหันต์แล้ว หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ เมื่อเราปฏิบัติเข้าทางอรหันต์แล้ว ก็นับเป็น "อรหันตมรรค" คือ ปฏิบัติตรงทางแล้ว หยั่งถึงนิพพาน แจ้งในนิพพานว่านิพพานมีอยู่จริงแล้ว ก็นับให้ว่าได้อรหันต์ แต่เพราะยังไม่ละจาก "มรรค" ที่ดำเนินอยู่ ก็จะนับให้เป็น "อรหันตมรรค" เมื่อใดที่ละจากมรรคได้ ปล่อยวางไม่ยึดติดแม้แต่มรรค ก็จะถึง "อรหันตผล" ในที่สุด เรียกว่า "อเสขบุคคล" คือ ผู้ไม่ต้องปฏิบัติอะไรอีก อนึ่ง การไม่ต้องปฏิบัติอะไร ไม่ไ่ด้หมายความว่าอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร แต่จะเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกรรม เช่น บางท่านมีวิบากกรรมถูกใช้ให้ทำงาน เขาก็ทำงานได้ ด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรมนั้น มิใช่เจตนาที่เขาอยากจะทำ หรือดำริว่าตนจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไปด้วยถูกกระทำให้ต้องทำ เป็นเพียงวิบากเท่านั้น อนึ่ง "อรหันตมรรค" เป็นเหมือน "มรรคที่ไร้มรรค" มิใช่ด้วยวิธีการทำสมาธิแบบใดแบบหนึ่ง จึงได้อรหันตมรรค แต่เป็นไปได้อย่างไม่อาจคาดเดาด้วย "กรรมของปวงสัตว์เป็นอจิณไตย" จึงไม่อาจกำหนดได้ว่าปวงสัตว์ต้องปฏิบัติเช่นนั้นหรือเช่นนี้ เพราะกรรมของปวงสัตว์ทำมาแต่ก่อนนั้น ต่างกัน จึงต้องเสวยผลกรรมต่างกันไป เช่น พระพุทธเจ้าต้องเสวยผลกรรมด้วยการทำทุกขกริยา ๖ ปี ก่อนจึงบรรลุธรรมได้, องคุลีมาล ต้องเสวยผลกรรมก่อนด้วยการถูกหลอกให้หลงทางไปฆ่าคน เมื่อหมดอำนาจแห่งวิบากกรรมนั้นแล้ว จึงหลุดพ้นได้ ดังนั้น จึงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ว่าทางหรือวิธีใดที่ถูกต้อง หรือผิด สำหรับคนทุกคน ทุกคนมี "วิบากกรรม" เป็นทางอยู่แล้ว ต่างกันไป เป็นอจิณไตย มิอาจคาดเดา ล้วนเป็นไปได้ทั้งนั้น ไม่มีทางใดผิด และไม่มีทางใดที่จัดว่าถูก ทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจกรรมเท่านั้น

    อนึ่ง เมื่อบุคคลเข้าถึง "อรหันตมรรค" เข้าถึง "มรรคที่ไร้มรรค" นี้แล้ว หากยังอยู่ใน "มรรคที่ไร้มรรค" ต่อ ก็จะยังไม่ึถึง "อรหันตผล" อยู่ดี ไม่ว่าจะมีมรรคที่มีวิธี หรือมีมรรคที่ไร้วิธี ทั้งสองอย่างก็ยังคงเป็นมรรคอยู่เช่นกัน เพียงแต่ "มรรคที่ไร้วิธี" อาจใกล้นิพพานมากกว่า ก็เท่านั้น แต่เมื่อใด บุคคลได้ยึดว่า "นี่แหละทางที่ถูกต้อง" นี่แหละ "มรรค" เมื่อนั้น บุคคลก็จะติดมรรค แ้ม้มรรคนั้นนำพาถึงนิพพานได้ก็จริง แต่ถ้าบุคคลยึดติดไว้ในมรรคนั้นๆ ก็จะยังมิเกิด "อรหันตผล" ได้ เพราะติดในมรรคนี้ ไม่ได้ปล่อยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามวิบากกรรมอย่างแท้จริง แต่จะเพียรจมอยู่ เพื่อให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามมรรคแห่งนิพพานที่พบนั้น

    ไกวัลยธรรม
    เป็นคำที่อยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบางท่านได้นำมาอธิบายขยายความเพิ่มเติม เช่น ท่านพุทธทาส ได้ขยายความเพิ่มเติมไว้ บางส่วนเช่น ไกวัลยธรรม คือ "สิ่งที่มีอยู่มาก่อนสิ่งทั้งปวง" แต่บางครั้งก็อาจพบบางท่านแปลเป็น "ความว่าง" ก็มี อนึ่ง พึงเข้าใจว่า "ไกลวัลยธรรม" ไม่ใช่ "ความว่าง" ด้วย ความว่างหากพิจารณาตาม "ธาตุ" เป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่งใน ๗ ธาตุ เรียกว่า "อากาสธาตุ" หากพิจารณาตาม "รูป" จะจัดเป็นเพียงรูปอย่างหนึ่งที่เีรียกว่า "ปริเฉทรูป" ซึ่งหมายถึง "ช่องว่างระหว่างรูป" ดังนั้น คำว่า ไกลวัยลธรรม จึงไม่ควรแปลว่า "ความว่าง" แต่หากใช้หมายถึง "ธรรมที่มีมาก่อนสมมุติธรรม" มาก่อนธรรมที่เกิดดับ นั้น ก็น่าจะเหมาะสมมากกว่า ดังนี้ "ไกวัลยธรรม" จึงอาจมีความหมายคล้าย "นิพพาน" คือ นิพพานก็เป็นธรรมะ ธรรมชาติ ที่มีอยู่จริง มิใช่ความว่างสูญ ไม่ใช่ธาตุแห่งความว่างเปล่า แต่เป็นสิ่งที่ไม่เกิดและไม่ดับอีกแล้ว ไม่ใช่ธรรมฝ่าย "สมมุติธรรม" ทว่า เราจะกล่าวคำว่า "นิพพาน" เมื่อ "สมมุติธรรม" ได้พ้นจากวังวนแห่งการเกิดดับแล้วเท่านั้น เช่น กิเลสนิพพาน หมายถึง กิเลสที่เคยเป็นสมมุติธรรม เกิดแล้วดับไป ไม่เที่ยงนั้น ได้พ้นจากวังวนแห่งการเกิดดับแล้วเีรียกว่า "กิเลสนิพพาน" หรือ "ขันธปรินิพพาน" ก็หมายถึง "สมมุติธรรมที่เรียกว่าขันธ์" ได้พ้นจากวังวนแห่งการเกิดดับ หลุดพ้นจาก "สมมุติธรรม" ไป

    ดังนี้ เราจึงไม่กล่าวว่า "นิพพานเป็นสิ่งที่มีมาอยู่ก่อน" แต่จะกล่าวเพียงว่า "นิพพาน" คือ ความหลุดพ้นไปจากสมมุตินั้นๆ (มีสมมุติมาก่อน แล้วพ้นจากสมมุติ ก็ใช้คำว่านิพพาน) ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" นั้น เป็นธรรมที่มีมาก่อน "สมมุติธรรม" ก่อนที่สมมุติต่างๆ จะเกิดหรือดับไป ดังนี้ "นิพพาน" จึงมีคำแปลว่า "ดับ" หรือ "สูญ" ซึ่งหมายถึง "อาการดับหรือสูญไปแห่งสมมุติที่มีอยู่แต่เดิม" แต่มิใช่ธรรมแห่งความว่างสูญ คือ เมื่อสมมุติที่มีมาอยู่แต่เดิม ดับสูญไป ก็กลับคืนสู่สภาวธรรมแต่ก่อนมีสมมุตินั้น ที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ซึ่งจะกลับคืนสู่ไกวัลยธรรมได้นั้น จำต้องผ่าน "นิพพาน" ก่อน หรือกล่าวง่ายๆ คือ "นิพพาน" ใช้เรียกแค่ "อาการของสิ่งสมมุติ" ที่ดับสูญไปเท่านั้น มิได้กล่าวถึง "สภาวะธรรม" หลังจากสมมุติดับสูญไปเลย ด้วยสภาวธรรมของสิ่งที่นิพพานแล้วนั้น มิได้แปลกใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่เหมือนเดิมก่อนที่จะมีสมมุติขึ้น เกิดและดับ เท่านั้น คือ "ไกวัลยธรรม" แค่นั้นเอง ซึ่งไม่อาจอธิบายสภาวะเหล่านี้ด้วย "สมมุติใดๆ" ได้ ท่านจึงเรียก "สภาวะ" หรือ "ลักษณะ" เหล่านี้ด้วยคำเพียงว่า "ตถตา" ที่แปลว่า "ความเ็ป็นเช่นนั้นเอง"

    กินเจ
    คือ การกินอาหารที่ละเว้นเนื้อสัตว์และผักบางชนิด เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม ไม่ใช่หลักปฏิบัติเพื่อให้ได้บรรลุธรรมอะไร แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง อนึ่ง การกินเจ เกิดขึ้นได้ ๒ กรณีใหญ่ๆ คือ

    ๑. พระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ต้องอยู่ในป่า เช่น ป่าหิมพานต์ ไม่ได้เดินบิณฑบาตร ดังนั้น จึงต้องฉันเจ เพราะไม่ต้องเข่นฆ่าสัตว์ ดังนั้น พระปัจเจกโพธิญาณทั้งหลาย จึงต้องบำเพ็ญบารมีด้วยการกินเจมาก่อนด้วย

    ๒. พระพุทธเ้จ้าที่ฉันเจ คือ ในอดีตชาติบำเพ็ญบารมีด้วยการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานที่กินพืช มิใช่สัตว์กินเนื้อ ทำให้บุญบารมีที่สร้างมานั้น ส่งผลให้ต้องฉันเจ ซึ่งปกติ ไม่ค่อยมี เพราะพระพุทธเจ้า จะต้องเกิดเป็นสัตว์ทุกชนิด ทั้งสัตว์กินพืช และสัตว์กินเนื้อ แต่ก็อาจพบได้บางชาติ ที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญฉันเจ

    อนึ่ง การกินเจไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไร แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องถ้าจะไปยึดมั่นถือมั่น เพราะ "อาหาร" นั้น มาโดยวิบากกรรม แต่สำหรับผู้ที่ก่อกรรมเพื่อให้ได้อาหารมา อันจะส่งผลให้เกิดชาติภพสืบต่อไปนั้น ย่อมเลือกอาหาร ก่อกรรมชี้เฉพาะอาหารที่ตนจะบริโภค มิได้ปล่อยให้อาหารถูกจัดสรรมาตามวิบากกรรม ซึ่งครั้งหนึ่งพระเทวทัตก็เึคยพยายามบงการให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันเจ แต่พระพุทธเจ้าก็มิได้ทำตามนั้น เพราะไม่จำเป็น และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการบรรลุธรรมเลย เป็นเพียงการสร้างบุญบารมี นำไปสู่ชาติภพใหม่ข้างหน้าเท่านั้น อนึ่ง "เนื้อสัตว์" เป็นอาหารของสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อและมนุษย์ สำหรับเทพชั้นสูงก็จะไม่กินเนื้อสัตว์ แต่จะมีอาหารทิพย์อีกแบบ แตกต่างกันไปตาม "บุญ" ที่ตนได้สร้างทำมานั้น การกินอาหารสำหรับผู้ต้องการหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร จึงไม่ได้กินตามใจเลือก แต่จะกินตามวิบากกรรม โดยจะพิจารณาอาหารนั้นก่อนกินก็ได้ ดังนั้น พระพุทธศาสนาดั้งเดิมจึงไม่ได้ยึดถือการกินเจ ส่วนลัทธินิกายบางลัทธินิกาย อาจแตกต่างไป ยึดถือเอาการ "กินเจ" เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ก็มี

    ฤาษีองค์ทอง
    ไม่ใช่ศัพท์ในอภิธรรม แต่ปรากฏในคำทำนายบางแหล่ง ใช้หมายถึง "ผู้ทรงธรรม" บวชพระ ห่มเหลือง แต่มิได้ปฏิบัติอย่างภิกษุสาวกเพราะมีแนวทางการปฏิบัติอย่างฤาษี กล่าวคือพระภิกษุสาวกจะเป็นเพียงสาวกผู้น้อย ที่รอรับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า มิใช่พราหมณ์ที่มีหลักการปฏิบัติ แนวทางการทำสมาธิแบบต่างๆ แต่หากมี หรือเคยมี ก็จะละวางของเก่าก่อน แล้วจึงรับธรรมจากพระพุทธเจ้าเพื่อเริ่มต้นใหม่ ดังนั้น พราหมณ์ฤาษีและพระพุทธศาสนา จึงมีความแตกต่างกันดังนี้ ทว่า เมื่อถึงกึ่งกลางพุทธกาล พระสาวกขาดผู้นำทางที่ถูกต้อง จึงไม่ทราบหลักการปฏิบัติ "แบบภิกษุสาวก" หลายท่านได้เคยชินที่เคยเป็นพราหมณ์ฤาษีมาก่อน (ไม่ว่าจะชาตินี้หรือในอดีตชาติ) ก็จะใช้แนวทางการปฏิบัติเช่น พราหมณ์ฤาษีนั้น เช่น การสอนสมาธิตามแบบของตน, การเปิดสำนัก, การสร้างศรัทธา, การอยู่ได้้้ด้วยชื่อเสียง อันนำลาภสักการะมาสู่ตน, การสร้างสาวกบริวารของตนเอง ฯลฯ เหล่านี้่ ล้วนเป็นวิถีการดำรงอยู่แบบพราหมณ์ทั้งสิ้น มิใช่การดำรงอยู่แบบ "ภิกษุสาวก" ในพระพุทธศาสนาแต่ดั้งเดิมเลย จึงเรียกท่านเหล่านี้ว่า "ฤาษีองค์ทอง" หรือ "ฤาษีห่มผ้าเหลือง" นั่นเอง เพราะมิใช่ "ภิกษุสาวก" แท้ แต่เป็นฤาษีในคราบพระสงฆ์

    ตามคำทำนายนั้น กล่าวถึง "ฤาษีองค์ทอง" จะสึกมาเป็นพ่อค้า หมายความว่า เหล่าผู้ปฏิบัติผิดทาง มิใช่แนวทางของพระภิกษุสาวกแท้ จะสึกออกมาจากผ้าเหลือง เพื่อชำระพระพุทธศาสนาให้ถูกต้อง ไม่นำแนวทางการปฏิบัติของตนที่ผิดทางออกไป มาใช้ในพระพุทธศาสนา เพราะการทำเช่นนั้น ในขณะที่เป็นพระภิกษุสาวก ย่อมส่งผลให้เกิด "การแตกหน่อแตกกอ" เป็นลัทธิ, นิกายใหม่ๆ แม้ไม่ได้มีการตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าลัทธินิกาย ก็ส่งผลให้เกิดการแตกแยกในพระพุทธศาสนาได้ เป็นอนันตริยกรรม คือ "สังฆเภท" นั่นเอง ดังนั้น "ฤาษีองค์ทอง" จึงต้องสึกมาเป็นพ่อค้า เพื่อไม่ให้พระพุทธศาสนามัวหมองผิดทาง นั่นเอง

    มโนกรรม
    เป็นคำศัพท์ที่พบในอภิธรรมปิฎก ในส่วนของกรรมที่ประกอบด้วย มโนกรรม, วจีกรรม และกายกรรม โดยมโนกรรมหมายถึง "กรรมที่เกิดจากส่วนของจิต" ไม่ใช่ส่วนของวาจา, หรือกาย อนึ่ง บางท่านสับสนกับคำว่า "ความคิด" คิดว่าความคิดเป็นมโนกรรมด้วย แท้แล้วอาจจะไม่ใช่ ก็ำได้ เพราะความคิด นั้นเป็นส่วนหนึ่งสมองซึ่งนับรวมเป็นส่วนของ "สังขารขันธ์" ยังไม่ใช่จิตหรือกริยาของจิต (เจตสิก) แต่ "ความคิด" อาจนำพาจิตไปสู่กริยาต่างๆ จนนำไปสู่ "มโนกรรม" ตามความคิดนั้นๆ หรือไม่ก็ได้ เช่น บางครั้ง จิตอาจไหลตามความคิด ก่อให้เกิดมโนกรรมตามความคิดนั้นๆ หรือบางครั้งจิตอาจเบี่ยงเบนไปในทางตรงข้ามกับความคิด ทำให้เกิดมโนกรรมที่ตรงข้ามกับความคิด ก็ได้ เช่น ในคนที่มีความคิดเห็นเป็น "มิจฉาทิฏฐิ" แม้ว่าเขาจะคิดดี คิดเป็นบุญ แต่อาจขัดแย้งหรือสวนทางกับจิต ซึ่งเป็น "อกุศล" อยู่ก็ได้ ดังนั้น คำว่า "มโนกรรม" จึงเกี่ยวข้องกับจิตและมาจากจิตโดยตรง และมโนกรรมนี้ จะยังไม่ได้เกิด ณ จุดที่มี "ทิฏฐิ" (ความคิดเห็น) ที่ยังอยู่ภายใน คือ จัดว่ายังเป็นเพียงความคิด ความเห็นอยู่ ยังไม่มากไปกว่านี้ จนเมื่อจิตมีกริยาตอบสนองแล้ว ทำให้เกิด "ดำริ" ขึ้นนั่นแหละ จึงนับเป็น "มโนกรรม" ได้ ด้วยเหตุนี้ การมี "สัมมาทิฏฐิ" จึงนำไปสู่ "สัมมาสังกัปปะ" (ดำริชอบ) ซึ่งหากมีเพียง "ทิฏฐิ" ยังไม่นับเป็นมโนกรรม แต่หากเกิด "ดำริ" ตามมาแล้ว จึงนับเป็นมโนกรรม การมีสัมมาทิฏฐิ จึงช่วยทำให้เกิดดำริชอบ อันเป็นมโนกรรมฝ่ายกลางๆ ไม่ใช่ทั้งกุศลและอกุศล ส่วนการมี "กุศลทิฏฐิ" ย่อมนำไปสู่ "กุศลสังกัปปะ" หรือ ดำริอันเป็นกุศล ได้ อันจะนำไปสู่ "มโนกรรม" ที่เป็นฝ่ายกุศลได้ต่อไป และมโนกรรมฝ่ายกุศลนี้เอง ที่เรียกว่า "บุญ" อย่่่างหนึ่ง

    อนึ่ง หลายท่านมักยึดมั่นถือมั่นคำกล่าวที่ว่า "เจตนาคือตัวกรรม" ซึ่งคำว่าเจตนาเป็นคำทางโลก ที่ไม่ชัด ไม่ละเอียดนัก ทำให้ไม่อาจแยกแยะได้ระหว่าง "ความคิดที่ยังไม่เกิดกรรม" กับ "ดำริที่เกิดเป็นมโนกรรมแล้ว" บางท่านยิ่งเหมารวมไปใหญ่ว่า "พระอรหันต์มีจิตว่าง" ทำอะไรก็ไร้เจตนา จึงไม่มีกรรม (เรียกว่าถ้าพระอรหันต์ฆ่าคนก็ไม่มีกรรม ไม่ผิดอะไรเลย) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด หากยึดมั่นอย่างนั้น ก็จะฝั่งรากลึกเป็นความเชื่อ ความคิดเห็นที่ผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ได้ แท้แล้วพระอรหันต์ไม่ได้มีแต่จิตว่าง แต่มีจิตสังขารได้หลายแบบ เพราะกิเลสจรก็ยังมีได้อยู่ เพียงแต่กิเลสจรหรือแม้แต่ความคิดที่ไม่ดี ไม่อาจมีอำนาจมากพอ ที่จะเหนี่ยวนำจิตของพระอรหันต์แท้ๆ ไปสู่ "ดำริ" จนเกิด "มโนกรรม" ได้ ทว่า ในพระอรหันต์ที่ไม่แท้นั้น ย่อมแตกต่างกัน เช่น พระอรหันต์ที่ไม่แท้ อาจมีดำริในใจว่าอยากสร้างวัด ด้วยอำนาจที่สำเร็จมโนมยิทธิ จึงทำให้มีฤทธิ์ดังใจ มีคนนำเงินทองมาถวายให้สร้างวัด อย่างนี้ เรียกว่า "เกิดดำริ" ขึ้นแล้ว เป็นมโนกรรม ซึ่งไม่ใช่ "สัมมาสังกัปปะ" แต่อย่างใดเลย เพราะไม่เป็นกลาง ไม่ตรงต่อนิพพาน นั่นเอง

    ปรมัตถธรรม
    เป็นธรรมหมวดหนึ่งในอภิธรรมปิฎก มีธรรมย่อยอยู่ ๔ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป, นิพพาน โดยทั้งสี่นี้ นับว่าเป็น "ธรรมเนื้อแท้" ที่ครอบคลุมทั้งหมดทั้งมวล ทุกสรรพสิ่ง ในส่วน "สมมุติธรรม" ทั้งหมด หรือก็คือ "โลกแห่งสมมุติธรรม" แยกพิจารณาได้ออกเป็น ๔ หมวดธรรมย่้อยคือ จิต, เจตสิก, รูป, นิพพาน นั่นเอง ทั้งนี้ ปรมัตถธรรม เป็นเนื้อธรรมแห่งโลกสมมุติ หรือก็คือ ในโลกสมมุตินี้ มีเนื้อหาสาระ แก่นสารที่จัดเป็นธรรมคือ "ปรมัตถธรรม" นี้ ทว่า เมื่อพ้นจากโลกสมมุตินี้ไปแล้ว จำต้องอาศัยธรรมตัวที่สี่ ได้แก่ "นิพพาน" อันเป็นประตูเปิดทาง อันเป็นสิ่งที่ทำให้ "โลกสมมุติ" สิ้นสุดลง เรียกว่า "ดับสูญซึ่งสมมุติธรรม"  นั่นเอง ดังนั้น "นิพพาน" จึงแปลตรงตัวว่า "ความดับ, ความสูญ" ของอะไร? เฉพาะของสมมุติเท่านั้นเอง อันธรรมแท้ๆ ที่ไม่ใช่สมมุติธรรม มิได้ดับไปด้วย เพราะมิได้เกิดในโลกสมมุติแต่แรก ไม่มีการเกิด ย่อมไม่มีการดับ เป็นธรรมดา ธรรมที่ไม่เกิด ไม่ดับ จึงไม่ใช่ธรรมในโลกสมมุตินี้ อาศัยนิพพานเป็นประตูจึงถึงได้ เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" อันเป็นธรรมที่มีมาก่อน "สมมุติธรรม" ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เมื่อผ่านนิพพานได้ สมมุติทั้งหลายย่อมดับสูญสิ้นไป ย่อมไม่มีสมมุติธรรมใดๆ ปิดบังอำพรางไกวัลยธรรมที่เป็นสัจธรรมแืท้แต่ดั้งเดิม ก่อนการเวียนว่ายตายเกิด ก่อนการเกิด ก่อนการดับ ย่อมชัดแจ้ง ชัดเจนในไกวัลยธรรมนั้น

    ดังนั้น ปรมัตถธรรม จึงเป็นธรรมเนื้อแท้ แก่นแท้ ของสมมุติทางโลก แต่มิใช่ "ไกวัลยธรรม" ปรมัตถธรรม จึงเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดและการดับ โดยมี "นิพพานเป็นการดับสนิท" เป็นการดับครั้งสุดท้าย ของสมมุติใดๆ ของปรมัตถธรรมใดๆ (นิพพานเองก็เกี่ยวข้องกับการดับสูญ) เมื่อถึงนิพพานแล้ว สมมุติธรรมทั้งหลาย ดับสูญสนิทลง ไม่เกิดอีก จึงเปิดประตูรู้แจ้งในสัจธรรมแท้ดั้งเดิมก่อนการเกิดดับนั้น
    ----------จบแค่นี้ครับ-------------------------
    -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 สิงหาคม 2013
  14. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    รู้สึกว่าเข้มข้นมาก เช่นการดูจิต เห็นนเจตสิก--- ติดจิต พวกนี้ครับ คนไม่รู้จริงไม่กล้าพูดนะ แค่เห็นความคิด หรือกิเลส ก็ยังยากครับ---เลย กลายเป็นเครื่องมือหาเิงินกััน นิพพานเวอร์ชั่นใหม่--และบลาๆ ได้แจกธรรมชุดนี้ผมโล่งเลย บ่าิยนี้ได้นั่งสมาธิแป็บๆ 5นาที--แล้วหลับไปครับ
    รวมเรื่องแปลกก่อนหวยออก
    วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2556 เวลา 10:23 น.
    ชาวบ้านแห่ขอหวย ซากหมูป่าตาเดียวมีงวง

    เมื่อวันที่ 14 ส.ค. ผู้สื่อข่าว จ.ศรีสะเกษ รับแจ้งจากนายประดิษฐ์ วิจิตร กำนัน ต.หนองห้าง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ว่าพบลูกหมูป่าประหลาด ลักษณะพิเศษผิวขาวเผือก มีนัยน์ตาเพียงข้างเดียว และมีงวงงอกจากศีรษะ อยู่ที่บ้านเลขที่ 29 หมู่ 4 บ้านหนองหญ้าปล้อง ต.หนองห้าง บ้านของนายเสวียน จันทะนัน อายุ 60 ปี มีชาวบ้านกลุ่มใหญ่ มุงดูซากลูกหมูป่าประหลาดเพศเมียตัวดังกล่าว ซึ่งเสียชีวิตหลังคลอดได้เพียง 3 นาที บางคนก็นำดอกไม้ธูปเทียนมาไหว้ขอเลขเด็ดตามความเชื่อ เพราะเห็นว่าลักษณะคล้ายพระพิฆเนศ

    ฮือฮาแมวตา2สีให้โชค

    เมื่อวันที่ 19 ส.ค. มีรายงานว่า ที่ชุมชนโกมินทร์ เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีผู้ใจบุญเลี้ยงแมวไว้หลายตัว แต่มีแมวอยู่ตัวหนึ่ง ลักษณะแปลกแตกต่างไป เนื่องจากดวงตามี 2 สี เป็นที่สนใจของชาวบ้าน สำหรับบ้านหลังดังกล่าวเป็นของนางสุนี นันทพันธ์ อายุ 67 ปี ซึ่งเปิดเผยว่า แมวของตนเป็นเพศผู้ อายุประมาณ 1 ปี 8 เดือน ลำตัวสีขาว ลายดำ ชื่อเจ้าโชคดี ซึ่งดวงตาทั้ง 2 ข้างมีสีไม่เหมือนกัน คือดวงตาข้างขวามีสีเหลือง และดวงตาข้างซ้ายเป็นสีฟ้าคล้ายลักษณะตาเพชร ที่คนโบราณมีความเชื่อกันว่า เป็นแมวเทวดาลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ เพื่อให้โชคลาภแก่ผู้ที่ได้ครอบครอง นางสุนี กล่าวว่าตั้งแต่ เจ้าโชคดีเข้ามาก็ทำให้มีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ ธุรกิจเจริญก้าวหน้าอีกด้วย

    ชาวบ้านแห่กราบไหว้เห็ดประหลาด

    เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ชาวบ้านตำบลบ้านแก้ง อ.เมือง จ.สระแก้ว แห่ไปชมเห็ดประหลาดออกอย่างมหัศจรรย์กลางลานสถานที่สร้างรูปเหมือนสมเด็จโต พรหมรังสี โดยชาวบ้านนำดอกไม้ธูปเทียนกราบไหว้จอมปลวกขนาดใหญ่ประมาณ 2 คนโอบ เกิดขึ้นอยู่กลางต้นไม้ประดู่ทอง ภายในวัดรีนิมิต ต.บ้านแก้ง ที่ยังมีดอกเห็ดสีขาวนวลลักษณะคล้ายดอกบัวสีขาวขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว สัมผัสดูมีความแข็งคล้ายหิน ขึ้นอยู่กลางจอมปลวกจำนวน 9 ดอก และใกล้กันยังพบเห็ดประหลาดออกมาเป็นรูปมือคนลักษณะหงายมือเกิดขึ้นอีก 1 ดอก ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงได้แห่กันมาชมพร้อมบนบานหาเลขเด็ดโดยนำแป้ง พวงมาลัย ขัน 5 มากราบไหว้ขอพรและเลขเด็ดซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นเป็นเลข 80 และ 02

    แม่ควายเผือกตกลูกหน้าประหลาด

    เมื่อวันที่ 22 ส.ค. มีชาวบ้านพบควายเผือกเพศเมีย ท้องแก่ตกลูกตาย มีลักษณะประหลาด ผิดปกติไม่เหมือนกับควายทั่วไป มีรูปหน้าเหมือนลูกแพะ ปากเล็ก มีใบหู 2 ข้าง อยู่ใต้คาง แต่ไม่มีรูหู ส่วนอวัยวะอื่นๆสมบูรณ์ สอบถาม นายมงคล โพธิ์แก้ว อายุ 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ที่ 10 ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เจ้าของควายดังกล่าว เปิดเผยว่า ได้เลี้ยงควาย จำนวน 9 ตัว เพศผู้ 4 ตัว เพศเมีย 5 ตัว ส่วนควายเผือกที่ตกลูกตายนั้นมีท้องแรก อายุ 3 ปี เมื่อลูกควายออกมาจากท้องแม่ก็ชักกระตุก 2-3 ครั้ง แล้วสิ้นใจตาย ขณะที่ชาวบ้าน ที่ทราบข่าว ต่างเดินทางมาดูซากศพลูกควาย พร้อมกับตีเป็นเลขเด็ด

    พบตุ๊กแกห้อยหัวยกมือบ๊ายบายและสวัสดี

    เมื่อวันที่ 22 ส.ค. พ.ต.ท.นิมิตร ล้านคำ อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 49 หมู่ 2 ต.โพธิ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เผยว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 21 ส.ค. ตนเองและภรรยาพาลูกหลานมานั่งเล่นที่บริเวณหน้าบ้านหลังเก่า ซึ่งเป็นของพ่อตาที่เสียชีวิตไปแล้ว จากนั้นตนได้เหลือบมองไปเห็นตุ๊กแกลำตัวยาวตั้งแต่หัวถึงหางกว่า 10 นิ้ว เกาะอยู่ที่ขื่อใต้ถุนบ้าน โดยใช้เพียงขาหลังยึดเหนี่ยวเอาไว้และห้อยหัวอยู่นาน ตั้งแต่ 6 โมงเย็น จนกระทั่งเวลาเที่ยงวัน บางครั้งตุ๊กแกก็ทำท่าเหมือนกำลังสวัสดี และโบกมือบ้ายบาย เพื่อนบ้านที่เริ่มรู้ข่าว ต่างแห่กันมาขอดูและเอากลุ่มเลข 46,49,492,231,4076 คือ บ้านเลขที่ ป้ายทะเบียนกลุ่ม ธกส. และอายุของนายเฉลียว ที่เสียชีวิตไป นำมาตีเป็นเลขเด็ด

    ฮือฮาหนุ่มพ่อค้าขายลาบส้มตำเจ้าที่เข้าฝันให้ของดี

    เมื่อวันที่ 25 ส.ค.มีชาวบ้านพบหัวพญานาค โพล่กลางกอไผ่ ที่ร้านขายลาบ ชื่อร้าน แซบ 101 อยู่ริมถนน สายรอบเกาะสมุย หมู่ 6 ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ผู้สื่อข่าวพบว่ามีประชาชนจำนวนมาก แห่เข้าไปไหว้และ เยี่ยมชมหน่อไม้ไผ่ซึ่งแตกต่างจากหน่อไม้ทั่วไปอยู่ที่ส่วนของหน่อไม้นั้นเป็นงวง ยาวแหลม โค้งงอ คล้ายส่วนหัวของพญานาค มีความยาวถึง 70 ซม. โดยเจ้าของร้านกล่าวว่า ได้พบหน่อไม้ไผ่คล้ายพญานาคจากความฝัน ที่มีคนแก่อายุนับร้อยปีมาบอกว่าเอาของดีมา ให้ ให้เข้าไปดูที่ก่อไผ่ข้างร้าน ตนได้เข้าไปดูก็พบกับหน่อไม้ดังกล่าว จึงนำมาวางไว้ เพื่อให้ลูกค้าและชาวบ้านเข้าไปกราบ ไหว้ และนำธูปเทียนมาจุดบูชา

    ตื่น! งูเฝ้าศาลแทนพ่อปู่ในวัดดังเมืองขุนแผน

    เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีงูเหลือมขนาดใหญ่เฝ้าศาลาพ่อปู ในวัดปู่เจ้า หมู่ 4 ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี จึงไปตรวจสอบที่ศาลาด้านหลังวัดติดแม่น้ำท่าจีน มีศาลเจ้าพ่อปู่ สร้างด้วยไม้สักหลังใหญ่ตั้งอยู่ มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งกำลังจุดธูปกราบไหว้ มุงดูงูเหลือมขนาดใหญ่ความยาวประมาณ 4 เมตร น้ำหนักประมาณ 12 กิโลกรัม นอนขดตัวอยู่บนศาล นอกจากนี้ยังมีกะโหลกจระเข้วางอยู่ ชาวบ้านเชื่อว่างูตัวดังกล่าวเป็นงูลูกศิษย์พ่อปู่ มานอนเฝ้าศาลแทนพ่อปู่ หรือคนโบราณเรียกตะบองศาล ทำให้มีชาวบ้านแห่มาดูพร้อมขอเลขเด็ดไม่ขาดสาย

    ตะลึง! พบกระดูกโบราณ 2,500 ปี แห่ขอหวยเสี่ยงโชค

    เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนายอนันต์ศักดิ์ วุฒิสิงห์ชัย ปลัดอาวุโส อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ว่ามีชาวบ้าน ในหมู่บ้านโพธิ์ หมู่ 11 ต.สำโรง อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา พบโครงกระดูกโบราณ พร้อมเศษกระเบื้องโบราณ และของใช้ โบราณจำนวนมาก ซึ่งคาดว่ามีอายุประมาณ 2,500- 3,500 ปี เมื่อเดินทางไปถึงพบชาวบ้านเดินทางมามุงดูจำนวนมาก ขณะที่บางส่วนนำธูปเทียนมาจุดบูชาเพื่อขอขมาตามความเชื่อ รวมทั้งกราบไหว้ขอหวยเพื่อหวังจะมีโชคลาภ

    ฮือฮา!ปลาไหลทองแม่ลูกแห่ขอหวย

    เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บ้านโฮ่ง เลขที่ 44 ม.5 ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน บ้านของนายสายชล ท้าวภูกา อายุ 42 ปี ชาวบ้านเจ้าของปลาไหลทอง 2 ตัวแม่ลูก โดยนายสายชล เผยว่า ตนไปดักปลาไหลตามปกติที่บริเวณแม่น้ำปายและพบปลาไหลทอง 2 ตัวนี้ติดกับดัก ตนรู้สึกตกใจเพราะตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยพบเห็นปลาไหลสีทองสดแบบนี้มาก่อน และคาดว่าคงเป็นแม่ลูกกัน จึงได้นำเข้ามาบ้านทันที เนื่องจากคิดว่า ปลาไหลตัว 2 ตัวนี้ จะเป็นมงคลให้โชค ให้ลาภ จึงตั้งใจที่จะเลี้ยงไว้เป็นมงคลที่บ้านตนเอง ซึ่งชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างแห่กันมาดูพร้อม ขอโชคลาภ เลขเด็ดต่างๆ

    ฮือฮากล้วยประหลาดเครือดอกบัว

    เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่บ้านของนางใสย เบ็ญจมาศ อายุ 53 ปี เลขที่ 35/2 หมู่ 3 บ.ปวงตึก ต.ตาตุม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ พบต้นกล้วยประหลาดไม่ทราบชนิด มีเครือและออกหวีกล้วย มีกลีบปลีกล้วยห่อหุ้มทุกหวีไปจนจรดปลายเครือ คล้ายดอกบัว มีความสวยงามอย่างยิ่ง แถมยังบานได้ในเวลากลางคืนและหุบลงได้ในเวลากลางวัน ส่วนใบกล้วยมีลักษณะเรียวยาวแหลมปลาย ต่างจากใบกล้วยทั่วไป โดยนับใบได้ทั้งหมด 15 ใบ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวพากันแห่มาดู บางคนกราบไหว้ขอพร ขอเลขเด็ด และเมื่องวด วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมาชาวบ้านก็ซื้อเลขที่บ้านคือเลขที่ 35 จึงถูกเลข 2 ตัวไปตามๆ กัน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  15. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    [​IMG]
    งวดนี้ เลขบ้าๆ ทางผมใก็ถูกเหมือนกัน แต่ให้คนอื่นถูก ไม่แจกเลขเพราะภรรยาฝัน ผมไม่ได้เป็นคนฝัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2013
  16. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    [​IMG]
    ----ดึกๆ หนังเกาหลี พูดเรื่อง รูหนอนทะลุมิติ โลกคู่ขนาน โดยให้หญิงคนบ้า เป็นผู้รอบรู้เรื่องพวกนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2013
  17. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    [​IMG]

    พอิดีเจอเว็ปฝากรูป เจอลัมบอร์กี่นี่ รถอิตาลี่ครับ ของแรง ค่ายนี้
    เดั๋ยวจะนั่งสมาธิแล้่ว หวยจะออก
     
  18. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
  19. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    [​IMG]
    เทียบกัน ---เล่นของสูง ชิชะ ( ห้ามชน ห้ามคว่ำ คุณอาจถูกไฟคลอกตาย เพราัตัวถังเป็น เรซิ่น --ใยแก้วพวกนั้นครับ) ผมก็เล็่กๆอยู่-----บางที่ก็ขายแพง ตั้ง100กว่าบาท เป็นพวกอลูมิเนี่ยม--ตะกั่วหลอม ที่7-11 ก็มี แพงไปอ่ะ ดูรูปไปก่อน ดูยูทิ้ว เหมือนได้ขับ ผู้ชาย รถ กับ อาวุธต่างๆ มันเป็นของคู่กันไปแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  20. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    มีรูปนึง รถคู่กะทหาร แบบว่าใช้ลัมบอร์กินี่ดวลกับรถถังแล้วตายหมด ฝ่ายลัมบอร์ตายน่ะ
    ---หวยออกแล้ว สุงสุดสู่สามัญ 555
    ---ใฃ้นาเสื่อมโทรมปลูกหญ้าแฝกเพื่อแจกจ่าย ถอนหมดแล้วนากลับมีผลผลิตเพิ่มได้เท่าตัว30 เป็น 60ถังต่อไร่-- เพราะรากหญ้าแฝกยาวมาก ทำให้ดินโปร่งขึ้น--น้ำมันจากแฝก-- สามารถใช้แก้ภุมิแพ้ และอื่นๆ--สารพัด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...