เรื่องเด่น มนุษย์ต่างดาวติดต่อเราหรือยัง-ควรบอกว่า เมื่อไหร่จะไป

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chandayot, 18 เมษายน 2012.

  1. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    (ิอาจมีซ้ำ เพราะ จขกท. ตาลายครับ แต่เป็นข้อเขียนที่มาจากคนที่รู้จริงไม่ใช่มาหาธรรมมะจากในเน็ต ไม่ใช่ละ เด็กประถมก็ทำได้นะ แบบนั้น)

    ภพ
    คือ สถานที่รองรับการเกิดขึ้น, ดำรงอยู่ จวบจนกระทั่งดับไปของสัตว์ตามระบบระบอบแห่งสิ่งศักดิสิทธิ์ ซึ่งปกติ จะมีทั้งหมด ๓ ภพ คือ สวรรค์, โลกมนุษย์ และนรก ทั้งสามภพนี้่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของสิ่งศักดิสิทธิ์ว่า "ถูกต้องตามระบบการเวียนว่ายตายเกิด" หากปวงสัตว์เวียนว่ายตายเกิดในสามภพนี้ ทว่า ยังมีสัตว์กลุ่มหนึ่งที่หลุดออกจากระบบทั้งสามนี้ ไปแสวงหาการดำีรงอยู่ในแบบ, ในที่ของตนเองที่เรียกว่า "อันตรภพ" ซึ่งสิ่งศักดิสิทธิ์ไม่นับว่าเป็นภพที่ถูกต้อง เช่น เทพเทวดาที่ทำผิดกฏสวรรค์ แล้วไม่ยอมรับการลงทัณฑ์ ได้หนีลงมาอยู่ในโลกมนุษย์ แทรกอยู่กับมนุษย์แทน นี่ก็นับว่าเป็น "อันตรภพ" เช่นกัน บางท่านอาจเรียกอันตรภพว่า "ภพมืด" และเรียกเหล่าผู้ที่แอบหนีมาอยู่ในภพเหล่านี้ว่า "จิตวิญญาณภาคมืด" เช่น เหล่าซาตานทั้งหลาย อนึ่ง สวรรค์นั้นไม่มีมืด มีแต่ความสว่างไสว เป็นภพแห่งแสงสว่างไปด้วยรัศมีของเหล่าเทพเทวดา ส่วนโลกนั้นมีทั้งด้านมืดและด้านสว่างแต่โลกด้านมืดหรือในเวลากลางคืน  ก็ไม่ใช่ภพมืดหรืออันตรภพแต่อย่างใด ยังจัดอยู่ใน "ภพโลกมนุษย์" อยู่นั่นเอง เพียงแต่เป็นเวลากลางคืนเท่านั้น ภพมืดหรืออันตรภพใช้หมายถึงภพที่ไม่ได้รับการยอมรับ ไม่มีอยู่ในระบบสามภพจริง ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยเทพที่หลงผิดเท่านั้น นอกจากนี้ ทั้งจักรวาลย่อมมีภพต่างๆ ได้เพียงสามภพนี้ ดาวบางดวงมีเพียงภพเดียว คือ ภพสวรรค์ ในภพโลกมนุษย์หรือภพแห่งวัตถุ-สังขาร กลับไม่มีตัวตน, สิ่งมีชีวิตอยู่เลย, แต่ในดาวโลกดวงนี้ จะมีภพและสัตว์ทั้งสามภพอยู่ครบ จึงเรียกว่า "ตรีสหัสสโลกธาตุ" หรือ "ไตรภพ"

    อนึ่ง คำว่า "ภพ" นั้น ต่างจากคำว่า "มิติ" คำว่า "มิติ" ใช้ในความหมายที่กว้างกว่าคำว่าภพ ส่วนคำว่าภพใช้เฉพาะในความหมายอันเป็นที่ยอมรับ ถูกสร้างขึ้นหรือดูแลโดยสิ่งศักดิสิทธิ์ คำว่า "มิติ" อาจเป็นเพียงนามธรรมที่ไม่อาจเกิดขึ้นหรือดำีรงอยู่ได้จริง เช่น มิติแห่งความฝัน, มิติแห่งจินตนาการ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยในการอธิบายหรือทำความเข้าใจความเป็นจริงแบบ "แยกส่วนย่อย" ไม่ได้มองเห็นทั้งหมดรวมกัน ซึ่งอาจยากเกินไปสำหรับบางท่าน ก็เท่านั้นเอง ทั้งนี้จิตจะเวียนว่ายจุติจากภพหนึ่งไปสู่ภพหนึ่ง ไม่จบสิ้น จนกว่าจะนิพพาน ก็จะหลุดพ้นจากภพต่างๆ ได้ การจุติไปยังภพใดก็แล้วแต่ แต่ละภพจะมีผู้สร้าง, ผู้รักษาดูแล, ผู้ปกครองอยู่ ทำให้จิตนั้นไม่มีอิืสระต้องอยู่ภายใต้ระบบ, ระบอบนั้นๆ ตราบจนกว่าจะนิพพานไป

    "พระไตรปิฎก"
    เป็นตำราธรรมสามหมวด ที่เกิดจากการสังคายนาของพระมหากัสสปะในภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ดับขันธปรินิพพานแล้ว อันเป็น "เครื่องประกอบสำคัญ" ในการศึกษาธรรมของพระพุทธศาสนานิกาย "เซน" ซึ่งแต่ดั้งเดิมแท้ที่พระพุทธเจ้าทรงยังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น มิได้มีพุทธประเพณีการเรียนธรรมผ่านตำราใดๆ เลย ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าก็ทรงอ่านออก เขียนได้ หรือสอนให้พระสาวกจดลงในใบไม้ ใบลาน ก็สามารถทำได้ ทว่า พระองค์ก็ไม่ทรงทำ เพราะไม่ใช่วิถี ไม่ใช่มรรคในการเข้าถึงธรรมอันแท้จริงแต่อย่างใด ถึงขั้นที่ท่่านเคยตรัสเตือนสติแก่พระสาวกรูปหนึ่งว่า "ท่านใบลานเปล่า" ด้วยซ้ำไป อันมีความหมายถึงการหลงติดในความรู้ แต่ไม่เกิดปัญญาอย่างแท้จริง ประดุจใบลานเปล่าฉะนั้น ดังนั้น การร่ำเรียนธรรมผ่านตำราธรรม จึงไม่ใ่ช่วิถีธรรมแต่ดั้งเดิม ที่พระพุทธเจ้าจะโปรดสัตว์โดยตรง ไม่่ผ่าน การใ้ช้ตำราธรรมใดๆ อนึ่ง การสังคายนาพระไตรปิฎกก็ดี, การจัดทำตำราธรรมก็ดี, การใช้พระไตรปิฎกเป็นเครื่องมือในการศึกษาธรรมก็ดี ฯลฯ ไม่เคยมีในสมัยพุทธกาล ทั้งพระพุทธเจ้าก็มิได้ทรงสั่งให้กระทำแต่อย่างใด ทั้งหมดเกิดขึ้นโดย "ความคิดของพระมหากัสสปะ" เท่านั้น ที่มองว่าพระสุภัททะก้าวล่วงพระธรรมวินัย จึงคิดทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นมา ทว่า ในขณะที่ธรรมสายเซนของท่านตั๊กม้อที่ได้รับสือทอดมาจากพระมหากัสสปะนั้น กลับมุ่งเน้น "จิตสู่จิต" มิได้ผ่านตำราธรรมหรือตัวอักษร ใดๆ อนึ่ง การมีพระธรรม, ตำรา, ไตรปิฎก ก็ไม่ได้เสียหายเป็นเหมือนการเรียนรู้เบื้องต้นเพื่อให้ได้ "สุตมยปัญญา" เท่านั้น ไม่อาจได้ถึง "ภาวนามยปัญญา" อย่างแท้จริง บุคคลผู้ได้อ่าน, ศึกษา, เล่าเรียนแล้ว ไม่หลงตัวเองว่าได้ธรรมมาก ย่อมเข้าใจอย่างนี้แจ้งชัด แล้วอาศัยการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นพื้นฐานในการบรรลุธรรมต่อไป

    พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง ท่านสามารถเขียนและบันทึกพระธรรมเองได้ แตกฉานในหลายภาษา การที่จะบันทึกลงใบไม้, ใบลาน ฯลฯ ก็ดี สามารถทำได้ไม่ยากเลย ทั้งสิ้น ทว่า "ท่านก็ไม่ทำ" เพราะไม่ใช่ทางหลุดพ้นที่แท้จริง ท่านจึงไม่ได้ใช้การโปรดสัตว์แบบการเรียนรู้ผ่านตำราเลย พระไตรปิฎกเป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากการสังคายนา พระธรรม, ตำรา ฯลฯ ก็เกิดขึ้นตามมาภายหลัง โดยที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงทำขึ้น, ไม่ได้สั่งให้พระสาวกรูปใดทำขึ้น เป็นความคิดของพระมหากัสสปะเองทั้งสิ้น ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร หากบุคคลเหล่านั้นไม่หลงในพระธรรม, ตำรา ฯลฯ เหล่านั้น จนอัตตาพองโต ก็จะเข้าสู่มรรคแห่งการบรรลุธรรมที่แท้จริง ตามแบบ "พระพุทธศาสนาดั้งเดิม" ก่อนมีลัทธินิกายต่างๆ ได้ ในที่สุด

    ชาติ
    คือ ชีวิตที่เกิดขึ้นในภพหนึ่งๆ ของสังขารทั้งปวง ในส่วนที่เป็นชีวิตหรือที่เรียกว่า "ชีวิตินทรีย์" หรือ "ชีวะ" หรือ "รูปธรรมชีวิต" ซึ่งจะเป็นหนึ่งในสามภพใดก็ได้ เช่น ภพนรก, ภพมนุษย์, ภพสวรรค์ ในสามภพนี้ ไม่มีภพอื่นมากกว่านี้ (ทว่า ก็ยังมี "รูปธรรมชีวิต" บางส่วนที่มีชาติอยู่นอกระบบสามภพนี้ ที่เรียกว่า "อันตรภพ" หรือ "ภพมืด") อนึ่ง การที่จะเกิดมี "ชาติ" ได้นั้น ตามลำดับวงจรปฏิจสมุปบาทแล้วจะต้องมี "ภพ" เกิดก่อน และก่อนมีภพ จำต้องมี อวิชชา, สังขาร, วิญญาณ, นามรูป, สฬายตนะ, ผัสสะ, เวทนา, ตัณหา, อุปทาน เกิดขึ้นก่อน ดังนั้น ถ้าจะนับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเช่น น้ำที่ละลายจากก้อนน้ำแข็ง เราจะเรียกว่า "น้ำเกิดจากน้ำแข็งละลาย" ว่าเป็น "ชาติ" ได้หรือไม่? ก็ต้องกลับไปดูว่าการเกิดขึ้นนี้มี อวิชชา, สังขาร, วิญญาณ, นามรูป, สฬายตนะ, ผัสสะ, เวทนา, ตัณหา, อุปทาน และภพ เกิดขึ้นก่อนหรือไม่ ถ้ามีจึงนับเป็น "ชาติ" ได้ แต่ถ้าไม่มี ไม่ครบ ก็ยังไม่ถึงธรรมที่จะนับได้ว่าเป็น "ชาติ" จัดเป็นเพียง "ธาตุน้ำ" ที่แปรเปลี่ยน "รูป" ไปเพราะความไม่เที่ยง เท่านั้น ดังนั้น ธรรมในหมวด "ปฏิจสมุปบาท" ที่กล่าวถึงคำว่า "ชาติ" นี้ จึงใช้กับธรรมที่มีกระบวนการเกิดตามลำดับคือ อวิชชา, สังขาร, วิญญาณ, นามรูป, สฬายตนะ, ผัสสะ, เวทนา, ตัณหา, อุปทาน และภพ ไม่ได้หมายรวมธรรมที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นเป็นลำดับสืบเนื่องกัน ดังเช่น "ธาตุน้ำ" ดังที่ได้ยกตัวอย่างไว้แล้วข้างต้น อนึ่ง ในลำดับการเกิดทั้งหมดนั้น มี "เวทนา" อันหมายถึง "ความรู้สึกสุข, ทุกข์ หรือเฉยๆ" อยู่ด้วย นั่นหมายความว่า ในกระบวนการเกิดนี้ จึงเป็นการเกิดของสิ่งที่ "มีจิตรับรู้สุขทุกข์" ได้ นั่นเอง ไม่ได้หมายถึง การเกิดของสิ่งที่ไม่อาจรับรู้เวทนาได้ ดังนั้น ชาติจึงไม่ได้ถูกนำมานับสิ่งที่ไม่มีชีวิต (เพราะสิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีเวทนา ดังกล่าว) อนึ่ง ในปฏิจสมุปบาทนี้ จึงเป็นเรื่องของสิ่งที่มี "จิต" (มโนธาตุ) อยู่ด้วย และจิตนั้นก็ผสมอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า "อวิชชา" แล้วตั้งแต่ต้น จึงเกิดอย่างเป็นลำดับไป เช่นนั้นได้ สำหรับธรรมชาติที่ไม่มีจิต (มโนธาตุ) ดำรงอยู่ เราจะไม่ันับลำดับการเกิดเช่นนี้

    ด้วยเหตุนี้ ทั้งธรรมหมวดปฏิจสมุปบาท ก็ดี และคำว่า "ชาติ" ก็ดี จึงใช้เฉพาะกับสิ่งที่มีจิต นั่นเอง ธรรมอื่นๆ ที่ไม่มีจิตดำรงอยู่ด้วย ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นตามลำดับของปฏิจสมุปบาทได้ (ไม่มีจิต ย่อมไม่อาจมีเวทนา รับรู้สุข, ทุกข์ได้) ดังนั้น หากเห็นน้ำแข็งละลายเป็นน้ำ จะนับว่าน้ำแข็งหมดสิ้น ๑ ชาติแล้วนั้น ไม่ได้ เนื่องจากน้ำแข็งไม่มีจิต และไม่มีเวทนารับรู้สุข-ทุกข์ใดๆ เราจะเรียกว่า "รูปน้ำแข็ง" ดับไป เกิด "รูปน้ำเหลวๆ" ขึ้นมาแทนที่ ในการพิจารณาธาตุน้ำนั้นๆ เท่านั้นเอง ไม่จำเป็นต้องใช้หลักปฏิจสมุปบาทเลย



    สังขตธรรม
    คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับ "อสังขตธรรม" (ที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น) อนึ่ง พึงเข้าใจก่อนว่าสรรพสิ่ง (ธรรม) ทั้งหลายที่ยังมี "เกิดขึ้น, ตั้งอยู่ และดับไป" นั้น จะ "เหตุ" และ "ผล" ในกระบวนการเกิดและัดับเสมอ (นอกจากพ้นแล้วจากการเกิดขึ้น, ตั้งอยู่ และดับ จึงไม่มีเหตุและผลในกระบวนการนั้นๆ) เช่น การดับไปของน้ำแข็ง (เหตุ) ก่อให้เกิดน้ำเหลว (ผล) การดับไปของน้ำเหลว (เหตุ) ก่อให้เกิดไอน้ำ (ผล) เป็นต้น ทว่า บางครั้ง การเกิดขึ้นของบางสิ่งเป็นการเกิดขึ้นแบบร่วมกัน ผสมกัน และไม่ใช่เหตุและผลของกันและกัน ที่เราเรียกว่า "เหตุปัจจัย" เช่น กบร้องขณะฝนตก เป็นต้น  ดังนั้น สังขตธรรมอันมี "เหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้่น" จึงเป็นธรรมที่เกิดแล้วไม่ได้เกิดเดี่ยวๆ แต่มีธรรมอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย (แต่ไม่ได้เป็นเหตุและผลกัน ดังเช่น ฝนตก, กบร้อง) จึงเป็นธรรมที่ถูกผสม, ถูกปรุงแต่งใน "สถานการณ์ร่วมหนึ่งๆ" ยังไม่ได้ถูกแยกแยะ ยังไม่ได้ถูกจำแนกส่วนธรรม ยังไม่บริสุทธิ์เป็นธรรมหนึ่งเดียว อย่างหนึ่งอย่างใด ยังไม่ใช่ "อสังขตธรรม" ในการพิจารณาธรรม จากหยาบไปละเอียด จึงพิจารณาธรรมจาก "สังขตธรรม" ไปสู่ "อสังขตธรรม" เมื่อสุดแล้วแห่งอสังขตธรรมๆ ดับไปสิ้นแล้ว จึงพิจารณาได้ถึงนิพพาน (ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทั้งคู่นี้ ธรรมคู่นี้ ยังไม่พ้นจาก "เหตุ" เกิด แต่นิพพานพ้นแล้วจากการเกิด-ดับ จึงพ้นแล้วจากเหตุเกิด) ในการพิจารณาสังขตธรรม จึงจำต้องใช้การแยกแยะเนื้อธรรม เอาส่วน "ปัจจัยปรุงแต่งร่วม" ออกไป จนเหลือแต่ "อสังขตธรรม หรือ ธรรมบริสุทธิ์เนื้อแท้แต่อย่างเดียว" เช่น มหาภูติรูป ๔ (ธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ) เกิดร่วมกัน แยกกันไม่ไ่ด้ หากแยกจากกันก็จะสิ้นสลายไปทั้งหมด แต่ในการพิจารณา เราจะพิจารณาเป็น "สังขตธรรม" ก่อน จึงแยกแยะธรรมในใจของเรา ไม่ได้ไปแยกในธรรมชาติจริงๆ เช่น อาจจะแยกแยะเหลือ "ธาตุไฟ" อย่างเดียว ขึ้นมาพิจารณา นี่เรียกว่า "อสังขตธรรม" ซึ่งไม่มีอยู่จริง ทำไม่ได้จริง (มหาภูติรูปสี่ ไม่อาจแยกออกจากกันได้จริง) แ่ต่มันแยกได้ในใจเราพิจารณา ในมุมมองของเรา เท่านั้น พิจารณาธาตุไฟจนดับสิ้นสูญแล้วจึงถึงนิพพานได้

    ในการพิจารณาเรื่อง "สังขตธรรม" และ "อสังขตธรรม" นั้น จำต้องเข้าใจเรื่อง "เหตุปัจจัย" และ "เหตุผล" ก่อน หากไม่เข้าใจเรื่องอะไรคือ "เหตุปัจจัย" และ อะไรคือ "เหตุผล" ก็จะสับสนระหว่างเหตุผลและเหตุปัจจัย แล้วแยกแยะไม่ถูกได้ อนึ่ง ทั้ง "สังขตธรรม" และ "อสังขตธรรม" นั้น ต่างก็ยังมีการเกิดและดับไป มีอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่อาจยึดเป็นตัวตนของตนได้ ทั้งสิ้น และยังไม่ใช่นิพพาน เนื่องจากยังเป็นธรรมซึ่งเกิดและดับไป นั่นเอง เพียงแต่ "สังขตธรรม" อาจดูยุ่งเหยิงและปรุงแต่งมากกว่า เพราะมี "เหตุปัจจัย" มาร่วมอยู่ด้วย ก็เท่านั้นเอง แต่แม้ "อสังขตธรรม" จะไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่งร่วม แต่อสังขตธรรม ก็ยังไม่พ้นจากวังวนแ่ห่งการเกิดดับอยู่ดี เรียกได้ว่า "ต่อให้บริสุทธิ์แล้ว แต่ก็ยังไม่พ้นเกิด-ดับ" อยู่ดี นั่นเอง

    อสังขตธรรม
    คือ ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัย เป็นธรรมบริสุทธิ์เนื้อแท้ ซึ่งก็คือ ธรรมทุกอย่างที่อยู่ในข่ายนี้ สรรพสิ่งใดๆ ที่อยู่ในข่ายนี้ หรือแม้แต่ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่อยู่ในข่ายนี้ก็ตาม เช่น ธาตุดิน ปกติย่อมเกิดร่วมกับธาตุน้ำ, ธาตุลม, ธาตุไฟ รวมเรียกว่า "มหาภูติรูปสี่" เมื่อใดรับรู้ "รูป" ได้ย่อมเห็นรูปนั้นในมุมมองต่างๆ คือ มุมมองของธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุลม, ธาตุไฟ ได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าหยิบยกขึ้นมาเพื่อพิจารณาในใจของเราอย่างเดียว อย่างบริสุทธิ์ ก็นับว่าเป็น "อสังขตธรรม" ได้ (นับได้เฉพาะส่วนที่ยกขึ้นมาพิจารณาในใจ แต่ไม่ได้ันับรวมธาตุดินที่อยู่ร่วมในมหาภูติรูปสี่จริงๆ) ดังนั้น อสังขตธรรมจึงมีได้ ในการพิจารณาในใจ, ในความคิด ฯลฯ แบบไม่เอาเหตุปัจจัยอื่นๆ มาปรุงแต่ง แล้วก็อาจมีได้ในธรรมชาติ   เพียงบางชนิดที่ไม่ใช่ "รูป" (เนื่องจากธรรมชาติจริงๆ รูปทั้งหลายย่อมอาศัยมหาภูติรูปสี่ปรุงประกอบเป็นเหตุปัจจัยร่วมกันมาเกิด) ซึ่งก็มีเพียง "นาม" หรือ "ตัวผู้รู้" ซึ่งนามในที่นี้ ก็มิได้บริสุทธิ์เพราะมีการปรุงแต่งร่วมกันเกิดเป็นนามขึ้นด้วย ได้แก่ จิต และ เจตสิก เมื่อใดที่เจตสิกไม่ร่วมปรุงแต่งด้วยกับจิต หรือจิตผ่านการอบรมเป็น "อธิจิต" สามารถรับรู้ถึง "นิพพาน" ได้ โดยไม่ถูกปรุงแต่งด้วยเจตสิก เช่นนี้ จึงจะนับว่าเป็นอสังขตธรรมได้ ซึ่งการรับรู้ในที่นี้จะต่างจาก "นาม" เพราะ "รู้ก็เหมือนไม่รู้" แต่ไม่ใช่การไม่รู้ และก็ไม่ใช่การรู้ในแบบ "นาม" (ที่มีตัวผู้รู้ปรุงแต่งจากจิตและเจตสิกร่วมกัน) บางท่านเรียกว่า "การรู้แจ้ง" หรือ การบรรลุธรรม ซึ่งก่อนจะมาถึงขั้นนี้ได้ บุคคลจะหลุดพ้นจาก "สังขตธรรม" ก่อน เข้าสู่อสังขตธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง แต่ก็ยังไม่รู้แจ้ง (เหมือนคนใสซื่อบริสุทธิ์ แต่ไม่รู้แจ้งยังโง่ซื่ออยู่) หากนับจากวงจรปฏิจสมุปบาทแล้ว นับว่าพ้นจาก "สังขาร" (ธรรมที่เกิดจากการปรุงแต่ง) แต่ยังไม่พ้นจาก "อวิชชา" จนเมื่อพ้นแล้วจากความไม่รู้แจ้ง จึงจะบรรลุธรรม

    อสังขตธรรม จึงนับได้ว่ามีทั้งส่วนที่ "บริสุทธิ์แต่ไม่รู้แจ้ง" และยังติดในภาวะแห่งความบริสุทธิ์นั้นๆ และส่วนที่หลุดพ้นแล้วจากการติดภาวะความบริุสุทธิ์ อันนำไปสู่ความรู้แ้จ้งถึงซึ่งพระนิพพาน บางท่านจะนับเอา "นิพพาน" ว่าหลุดพ้นแล้วจากทั้ง "สังขตธรรม" และ "อสังขตธรรม" ด้วย โดยพิจารณาธรรมไล่ลำดับจากหยาบไปละเีอียดคือ จากสังขตธรรมไปอสังขตธรรม เมื่อหลุดพ้นแล้วจากอสังขตธรรมก็คือนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  2. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279

    จิตสังขาร
    คือ คำสมมุติใหม่ที่พระอรรถกฐาจารย์ผู้รจนาเรื่องจิตและเจตสิกได้บัญญัติขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่มีอยู่จริง และไม่มีในคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า แต่เพื่อให้เราเข้าใจเรื่องจิตและเจตสิกง่ายๆ เท่านั้น จึงเป็นเหมือนคำสมมุติเท่านั้น โดยท่านได้จำแนก "จิตสังขาร" ไว้ถึง ๑๒๑ ดวงเพื่ออธิบายจิตและเจตสิกที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งแท้จริงแล้ว "จิตนั้นมีเพียงลักษณะเดียว" เรียกว่า "จิตหนึ่ง" คือ "จิตประภัสสร" ไม่ใช่ "จิตพุทธะ" ไม่ใช่ "อธิจิต" มาก่อนแต่ต้น จำต้องฝึกอบรมจิตก่อน จิตประภัสสรที่บริสุทธิ์แต่ยังไม่รู้แจ้งจึงจะพัฒนาไปเป็น "จิตพุทธะ" หรือ "อธิจิต" ได้ต่อไป ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่าทุกคนมีจิตพุทธะอยู่แล้วหรือเกิดมาไม่ต้องทำอะไรเลยก็มีจิตพุทธะ แต่จริงที่ว่าทุกคนมีจิตประภัสสร คือ บริสุทธิ์เหมือนกันหมด มาก่อนแม้ ว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ก็ตาม หรือกล่าวง่ายๆ คือ เรามีจิตที่บริสุทธิ์ใสซื่อลึกๆ อยู่ภายในทั้งสิ้น แต่เราก็ยังต้องมาฝึกอบรมจิต เพื่อให้จิตพัฒนาไปมากกว่าแค่ "บริสุทธิ์" แต่ต้องรู้แจ้งถึงนิพพานด้วย รับรู้แจ้งได้ถึงนิพพานด้วย ซึ่งจะไปถึงขั้นนั้นได้ จิตประภัสสรจะต้องพัฒนาไปอยู่ในระดับที่เรียกว่า จิตพุทธะหรืออธิจิต

    ดังนั้น จิตสังขาร จึงไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ใช่จิตจริงๆ ของมนุษย์ แต่เป็นเพียงการสมมุติึคำขึ้นมาใช้เพื่ออธิบายว่า "ผล" จากการที่จิตประภัสสรทำงานร่วมกับเจตสิกแล้ว ทำให้เกิดอะไรขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ก็เลยสมมุติว่าเป็น "จิตสังขารเกิดขึ้น" (ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจริง) เท่านั้นเอง เช่น เมื่อเรามีความโกรธ แท้แล้ว จิตก็ยังบริสุทธิ์ ยังเป็นจิตประภัสสรอยู่เช่นเดิม เพียงแต่มี "เจตสิกที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการโกรธ" ที่เกิดขึ้น ปรุงแต่งร่วมอยู่กับจิต ก็เท่านั้นเอง ซึ่งเจตสิกที่ทำให้เรามีความโกรธนี้ "ไม่เที่ยง" ไม่ใช่สาระใดเลย เหมือนพยับแดดที่สะท้อนจากน้ำ วูบวาบ แล้วก็ดับหายไปในที่สุด ไม่เที่ยง ไม่จีรัง ไม่ใช่ตัวตนของตน "ไม่มีสารธรรม" ไม่ใช่ "ธาตุ" แก่นแท้อะไรที่ต้องมาทำให้นิพพานเลย ไม่ใช่ธาตุทั้งสี่, ไม่ใช่มโนธาตุ ที่เราจะต้องมาทำ "พระธาตุนิพพาน" เลย ไม่ใช่ขันธ์ห้าที่จะต้องกระทำ "ขันธปรินิพพาน" เลย มันเป็นแค่เพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแ้ล้วดับไป ไม่มีแก่นสารในตัวเอง แล้วแต่ว่า จิต ของเรา จะไปส่งเสริมมามากแค่ไหนก็เท่านั้น ถ้าจิตไม่ส่งเสริมมันแล้ว มันก็ดับลงไปเอง ดังนั้น คำว่า "กิเลสนิพพาน" นั้น จึงไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่สาระที่เราจะต้องไปทำให้กิเลสนั้นนิพพาน เพราะแม้แต่เจตสิกที่เป็นมูลเหตุของกิเลสนั้น ก็ไม่มีสาระใด ไม่มีแก่นสารเนื้อธรรมใดๆ เลย เกิดแล้วไม่คงอยู่ได้ จำต้องดับสลายไปในที่สุด ไม่เที่ยงเลย เพียงแต่ในเวลาที่มันเกิดอยู่ มันอาจจะขับดันให้่เราไปทำกรรมอะไรได้มากมาย ทำให้กรรมนำพาเราหลงไปสู่วัฏฏสงสารก็เท่านั้นเอง ถ้าระหว่างที่เกิดกิเลสนั้น เราไม่พลาดท่า ไม่หลงออกไปทำกรรมใดๆ การที่กิเลสจะเกิดหรือไม่ ก็ไม่ใช่สาระ ไม่ใช่แก่นสาร ไม่ใช่ปัญหาใดๆ เลย ในพระพุทธศาสนากล่าวถึง พระอรหันต์ที่ยังมีกิเลสได้อยู่ แต่เข้าถึงธรรมด้วยปัญญาว่า "ปัญญาวิมุติ" ท่านว่ายังมีกิเลส แ่ต่กิเลสไม่อาจมีผลได้

    จิตประภัสสร
    คือ จิตที่บริสุทธิ์ใสซื่อ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ ก็ตาม โดยธรรมชาติแล้วจะทำงานร่วมกับเจตสิก ซึ่งเจตสิกไม่เที่ยง ไม่มีแก่นสารสาระ (ไม่ใช่ธาตุ) เกิดขึ้นแล้วดับไป ทำให้จิตเหมือนไม่บริสุทธิ์ ถูกปรุงแต่งไปด้วยอาการต่างๆ ตามแต่เจกสิกนั้นๆ ทว่า แท้แล้วจิตก็ยังบริสุทธิ์อยู่เช่นเดิม ส่วนที่ไม่บริสุทธิ์นั้น ก็คือ "เจตสิก" ซึ่งไม่เที่ยง เกิดได้ ดับได้ ตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นที่เราจะต้อง "ไปทำกรรมเพื่อดับมัน" ในนักวิปัสสนา จะไม่ทำการดับสิ่งนี้ ปล่อยตามธรรมชาติ แล้วในที่สุดก็เห็นอนิจจังใน "เจตสิก" ว่าเกิดแล้วดับไปเอง ไม่มีสาระอะไร เหมือนเงาหลอกหลอน เมื่อเจตสิกดับหมดแล้ว จึงชัดแจ้งว่าจิตนั้นบริสุทธิ์อยู่แต่อย่างเดียว มีหนึ่งลักษณะเดียวนี้ ไม่มีอื่น นอกจากนี้ จิตเมื่อทำงานร่วมกับ "ขันธ์" เช่น วิญญาณขันธ์แล้ว ก็จะทำหน้าที่ "รับรู้" (ตอนทำงานร่วมกับเจตสิก จะแสดงอาการต่างๆ เช่น โลภ, โกรธ, หลง แต่พอทำงานร่วมกับวิญญาณขันธ์จะทำหน้าที่รับรู้) โดยมี "วิญญาณขันธ์" เป็นตัวผู้รู้, รู้มาก, รู้เยอะ, จอมรู้ และชอบสู่รู้ โดยจะดึงเอาจิตไปร่วมรู้ด้วย เช่น ถ้านิ้วแตะแก้วน้ำเย็น วิญญาณขันธ์ก็ดึงเอาจิตไปรับรู้ความเย็น แต่ก็มีบางครั้งที่ "จิต" ไม่ได้ถูกดึงไปรู้ ทำให้ไม่รู้สึกรับรู้ในจุดนั้นๆ เช่น เผลอถูกอะไรเป็นแผลเล็กน้อย ในขณะที่กำลังมีสมาธิกับอย่างอื่นอยู่ พอมาเห็นอีกทีจึงรู้ว่ามีเลือดออก (แต่ไม่มาก) เป็นต้น เหตุการณ์เช่นนี้ หลายคนอาจเคยประสบกับตัวนะครับ เอาง่ายๆ บางคนถูกเรียกแล้วแต่ไม่ได้ยิน นั่นแหละ จิตไม่ได้ไปรับรู้ อาจเพราะรวมสมาธิจิตไปอยู่กับเรื่องอื่นอยู่ เช่น มัวคุยโทรศัพท์กับแฟนเลยไม่ได้ยินแม่เรียก เป็นต้น

    ดังนั้น จิตประภัสสรจึงเป็นผู้บริสุทธิ์เสมอ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม เหมือนคนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ อาจจะรู้หรือไม่รู้บ้างก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น "ตัวผู้รู้" เสมอไป และจิตประภัสสรนี่ก็มีลักษณะที่ใสซื่อ บริสุทธิ์ดุจเด็กที่โง่ซื่ออีกด้วย คือ ยังไม่รู้แจ้งในนิพพาน จำจะต้องได้รับการอบรม เหมือนเด็กที่ต้องได้รับการสั่งสอน จิตที่บริสุทธิ์ (จิตประภัสสร) จึงจะพัฒนาไปรับรู้ได้ถึงนิพพานได้ ซึ่งเราเีรียกจิตที่รับรู้ได้ถึงนิพพานนี้ว่า "อธิจิต" แต่ถ้ามองเป็น "อายตนะรับรู้" เราจะไม่นับเข้ารวมในอายตนะหก แต่เรียกเฉพาะว่า "อายตนะนิพพาน" หากพิจารณาแบบ "กายานุสติปัฏฐาน" ใช้สติพิจารณา "กายในกาย" ให้ละเอียดลงไปเรื่อยๆ เราเรียกกายนี้ว่า "ธรรมกาย" นั่นเอง ทั้งหมดคือ อธิจิต, ธรรมกาย, อายตนะนิพพาน นั้นหมายถึงสิ่งเดียวกัน แต่มองผ่าน "ธรรมต่างหมวด ต่างมุม" ทำให้มีชื่อเรียกต่างกันไปเท่านั้นเอง

    อธิจิต
    คือ จิตที่ผ่านการอบรมจนมีธรรมอันยิ่ง ดังพระบาลีว่า "อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ"  การทำให้ "จิต" มีธรรมอันยิ่ง (อธิจิต) เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนั้น ท่านควรเข้าใจว่า "อธิจิต" มิได้มีหรือเกิดขึ้นอยู่แล้วทันทีทันใด หรือมีมาอยู่นานแล้ว ก่อนแล้วก็หาไม่ แต่มามี เกิดขึ้นในภายหลังจาก "การฝึกอบรม" ซึ่งเดิมทีนั้น จิตเดิมแท้จะเรียกว่า "จิตประภัสสร" เป็นจิตที่บริสุทธิ์ เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกปรุงแต่งอะไรอยู่ก่อน นับเป็น "อสังขตธรรม" อย่างหนึ่ง แต่เมื่อจิตได้อยู่ร่วมกับธรรมอื่นๆ เช่น วิญญาณ, สังขาร ฯลฯ ผสมรวมด้วยกันแล้ว เป็น "มนุษย์รูปนามหนึ่ง" มนุษย์ทั้งตัวนั้นคือ ส่วนผสมของธรรมหลายๆ ส่วน จัดเป็น "สังขตธรรม" ซึ่งมีจิตอยู่ภายในด้วย ก่อให้เกิดความรู้สึก รัก, โลภ, โกรธ, หลง ฯลฯ ได้มากมาย อันความรู้สึกทั้งหลายนั้น ล้วนมิใช่จิต ด้วยจิตยังคงบริสุทธิ์อยู่้ดังเดิม เป็นเพียงผู้เข้าไปร่วมรับรู้อารมณ์ ร่วมกับธรรมอื่่นๆ เช่น วิญญาณขันธ์ เป็นต้น เท่านั้นเอง จิตยังคงเป็นจิตประภัสสร บริสุทธิ์อยู่ดังเดิม ทว่า แม้จิตจะบริสุทธิ์อยู่เช่นนี้ ก็ไม่อาจรับรู้ถึง "นิพพาน" ได้ และไม่แจ้งในธรรม อุปมาดั่งคนใสซื่อ บริสุทธิ์ แต่ก็โง่ ไม่รู้แจ้งจริงฉะนั้น จึงมักถูกวิญญาณขันธ์ชวนไปร่วมรับรู้ผ่านอาตนะ (เช่น ตา, หู, จมูก ฯลฯ) ต่างๆ อยู่เสมอ ดังนั้น การอบรมจิตให้พัฒนาเป็น "อธิจิต" จนสามารถรับรู้ได้ถึงนิพพานได้ แจ้งในธรรมได้ จึงเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า "อธิจิต" ก็คือ พระธรรมกาย คือ "อาตนะนิพพาน" หรือนามที่รับรู้นิพพานได้ นั่นเอง หากไม่มีการอบรมจิตแล้ว จิตไม่พัฒนาไปถึง "อธิจิต" แล้ว ก็ไม่อาจรับรู้ได้ถึงนิพพาน ย่อมไม่อาจแจ้งในธรรม ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป ยกเว้นมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า แม้ไม่สำเร็จถึง "อธิจิต" ไม่มีอายตนะนิพพาน ก็อาศัยบารมีพระพุทธเจ้านำพาึถึงนิพพานได้เช่นกัน (ดังนั้น พระอรหันต์จึงมีทั้งที่ได้อธิจิต-ธรรมกายและที่ไม่ได้อธิจิต-ธรรมกาย) ซึ่งจะมีคำเรียกพระอรหันต์ที่ถึงด้วยจิตแบบนี้ว่า "เจโตวิมุติ" คือ จิตหยั่งถึงนิพพานได้ ไม่ใช่แปลว่ากิเลสดับเที่ยง (กิเลสแม้จะมีเกิด-ดับอีก ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่สาระ ถ้าจิตท่านหยั่งถึงนิพพานได้แล้ว นับเป็นเจโตฯ)

    อนึ่ง มีคำหนึ่งที่บางท่านนิยมใช้ว่า "จิตสังขาร" อันไม่มีอยู่จริง และไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้ามาก่อน ทว่า พระอรรถกาฐาจารย์ ท่านหนึ่งได้สมมุติขึ้นไว้เพื่ออธิบายอาการแสดงออกของจิต เพื่อให้เข้าใจเรื่อง "เจตสิก" เท่านั้นเอง นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "มโนธาตุ" อันหมายถึง "จิต" ในมุมมองของธาตุ อีกด้วย ซึ่ง "มโนธาตุ" นี้ ไม่ใช่ "นิพพานธาตุ" จึงไม่ใช่ "นิพพาน" บางท่านคิดว่า "จิตไม่เกิด ไม่ดับ" ดังนี้ จิตย่อมเป็น "ตัวนิพพาน" หรือ "นิพพาน" นั่นเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ด้วยท่านมีคำศัพท์สองคำเรียกใช้แยกกันอยู่แล้วคือ มโนธาตุ ก็อย่างหนึ่ง นิพพานธาตุ ก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ดังนั้น จิตสังขารย่อมมีอาการเกิดดับ แต่ิจิตประภัสสรย่อมไม่เป็นเช่นนั้น ย่อมมีแต่อาการ "ดำรงอยู่" อย่างเดียว (เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป ทั้งสามอาการเป็นอาการของธรรมทั้งหลายที่ไม่เที่ยง) เมื่อพ้นจากอาการดำีรงอยู่เป็นจิตแล้ว จิตนั้นจึงนิพพานไป หากยังมี "สภาวะติดอาการดำีรงอยู่" ต่อไป แม้ไม่เกิดดับ จิตนั้นก็จะยังไม่นิพพาน

    จุติจิต
    หมายถึง จิตที่เคลื่อนย้ายจากภพหนึ่งไปสู่ภพหนึ่ง เมื่อสิ้่นรูปนามเดิม (รูปนามเดิมดับไป) อนึ่ง จิตนั้นยังดำรงอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้เกิดหรือดับไปด้วย สิ่งที่เกิดดับไปนั้น เป็นเพียง "ขันธ์ห้า" ที่อยู่โดยรอบจิตเท่านั้น หากจุติจิตไม่ก้าวล่วงไปสู่ "ขันธ์ห้าใหม่" ก็จะไม่เป็น "ปฏิสนธิจิต" ในลำดับต่อไป จิตนั้นจะคงดำรงอยู่แต่จิต เป็นมโนธาตุที่สว่างไสวอยู่เท่านั้น ไม่มีขันธ์ห้าปรุงแต่งโดยรอบ นั่นคือ การดำีรงอยู่ของจิต ซึ่งไม่้ได้เกิดดับตามขันธ์ห้าไป นอกจากนี้ ในบางท่านกระทำสอุปาทิเสสนิพพานคือนิพพานบางส่วน เฉพาะส่วนที่เรียกว่่า "ขันธ์ห้า" หรือที่เรียกว่่า "ขันธปรินิพพาน" แล้ว จิตก็ยังคงดำรงอยู่ ยังไม่นิพพาน จนกว่่าจะมี "พระธาตุนิพพาน" พระธาตุที่เหลืออยู่ ดำรงอยู่ จึงจะนิพพานหมดไป ไม่เหลือเชื้ออีก อนึ่ง คำว่า "พระธาตุนิพพาน" นั้น หมายรวมถึง ธาตุทั้งหลายที่ยังคงเหลือ ดำรงอยู่ หลังดับขันธปรินิพพานแล้ว เช่น มโนธาตุ ก็หมายรวมอยู่ใน "พระธาตุนิพพาน" นั้นด้วย อนึ่ง ด้วยเพราะทรงมิได้ "นิพพาน" ทั้งหมดแต่ทรงกระทำเฉพาะ "ขันธ์ห้า" นิพพาน คือ "ขันธปรินิพพาน" จึงทำให้เหลือ "อธิจิต" ไว้โปรดสัตว์ และอธิจิตนั้นก็ดำรงอยู่เหนือชาติและภพใดๆ ไม่จุติลงสู่ภพใด ไม่ปฏิสนธิร่วมกับขันธ์ใด ไม่ก่อให้เกิดชาติใดๆ ขึ้นอีก

    อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงกระทำเพียง "สอุปาทิเสสนิพพาน" คือ นิพพานบางส่วน เฉพาะ "ขันธ์ห้า" ที่อยู่โดยรอบจิต ที่เรียกว่า "ขันธปรินิพพาน" เื่พื่อเหลือ "มโนธาตุ" ไว้ ให้ดำรง คงหน้าที่โปรดสัตว์ต่อไป จนกว่าจะถึงสิ้นอายุพุทธกาล ๕,๐๐๐ ปี ก็จะทรงกระทำ "พระธาตุนิพพาน" เพื่อนิพพานแบบ "อนุปาทิเสสนิพพาน" คือ นิพพานไม่เหลือเชื้อใดๆ อีก ในการณ์นี้ จิตไม่เคลื่อนไปสู่ภพใดภพหนึ่งเพื่อถือกำเนิด จึงไม่เกิดเป็นจุติจิตและปฏิสนธิจิตขึ้น และด้วยทรงอบรมจิตมาอย่่างดี จิตนั้นจึงยังคงเป็น "อธิจิต" ที่ดำรงคงอยู่เพื่อการโปรดสัตว์แบบ "จิตสู่จิต" อยู่ต่อไป จนกว่าจะถึง ๕,๐๐๐ ปีครบอายุพุทธกาล ก็จะทรงกระทำพระธาตุนิพพาน โดยการรวมเอาพระธาตุบนโลกประสานรวมเข้ากับ "อธิจิต" (มโนธาตุ) แล้วแสดงธรรมด้วยพระ พุทธปาฏิหาริย์ครั้งสุดท้าย เพื่อโปรดเฉพาะเหล่าเทวดา (มนุษย์มองไม่เห็น) แล้วจึงนิพพานไป ซึ่งเป็นไปตามพันธสัญญาและสัจวาจาของพระพุทธองค์ที่ให้ไว้เมื่อครั้งพญามารทูลให้ทรงนิพพานเสีย แต่ท่านเห็นว่า "กิจยังไม่สมบูรณ์" จึงได้ทรงตั้งปณิธานอยู่ต่อ เืพื่อทำกิจให้สมบูรณ์ก่อนนิพพาน จึงกระทำเพียงปรินิพพานก่อนเท่านั้น ตามข้อมูลที่บันทึกไว้ดังนี้
     
  3. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    มหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ทีฆนิกาย มหาวรรค

    ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราแรกตรัสรู้ พักอยู่ที่ต้นไม้
    อชปาลนิโครธแทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้น มารผู้มีบาป
    ได้เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นมาร
    ผู้มีบาปยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค
    จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลา
    ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรมาร
    ผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับแนะนำ ไม่
    แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่
    ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง
    บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์
    ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่
    ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ
    ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลมไม่ได้รับแนะนำ
    ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่
    ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง
    บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์
    ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ
    ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลมไม่ได้รับแนะนำ
    ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่
    ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง
    บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์
    ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ
    ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับแนะ
    นำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่
    ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง
    บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์
    ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้
    เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ
    ดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง
    แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดามนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว
    เพียงใด เราจักไม่ปรินิพพานเพียงนั้น
    ดูกรอานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้เอง มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเราที่ปาวาลเจดีย์
    ครั้นเข้ามาหาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มารผู้มีบาปครั้นยืนเรียบร้อย
    แล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพาน
    ในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพาน
    ของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป
    ภิกษุผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกา
    ของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... อุบาสกผู้เป็นสาวกของเราจักยัง
    ไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ...
    เพียงใด ... พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กัน
    โดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้วเพียงใด เรา
    จักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มี-
    พระภาคสมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น
    จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานใน
    บัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของ
    พระผู้มีพระภาค ฯ
    ดูกรอานนท์ เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรมารผู้มีบาป
    ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดย
    ล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน

    สัพพัญญูญาณ
    เป็นญาณหยั่งรู้ได้ทุกสิ่งมีเฉพาะในพระพุทธเจ้าเท่านั้นและด้วยเพราะพระพุทธเจ้ามีญาณนี้ จึงหยั่งรู้ได้ถึง "นิพพาน" ซึ่ง ญาณของปวงสัตว์ทั่วไป "ล้วนหยั่งไม่ึถึง" ยกเว้นแต่ "พระปัจเจกพุทธเจ้า" เท่านั้น ที่จะมีญาณหยั่งรู้ได้ึถึงนิพพานด้วยตนเอง อัน "ญาณหยั่งรู้" ของสาวกทั้งหลายนั้น ไม่มีผู้ใดเลยที่จะหยั่งถึงซึ่งนิพพานได้เอง แม้ว่าจะได้ถึงซึ่ง "อาสวักขยญาณ" แล้วก็ตาม ไม่เช่นนั้น พวกเขาคงตรัสรู้ได้เอง โดยไม่ต้องมีพระพุทธเจ้าลงมาตรัสรู้และโปรดพวกเขาแล้ว อนึ่ง อาสวักขยญาณ นั้น เป็นญาณที่คนทั่วไปก็มีได้ทั้งนั้น ถ้าปฏิบัติถูกต้องได้มรรคผลจริงแต่ไม่มีกำลังมากพอที่จะหยั่งได้ถึงนิพพานเลย (ถ้าทำได้ก็ไม่ต้องมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ดังที่กล่าว นั่นแหละ) ดังนั้น ที่พระอรหันตสาวกทั้งหลายบรรลุธรรมได้ถึงซึ่งพระนิพพานนั้น "มิใช่้ด้วยกำลังญาณของอาสวักขยญาณ" แต่ด้วยมีกำลังของความเชื่อ, ความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าได้กล่าวแสดงถึงที่สุดแห่งธรรมไว้คือ "นิพพาน" ด้วยจึงทำให้แจ้งในพระนิพพานได้ นอกจากนี้ เมื่อพระอรหันตสาวกยังทรงขันธ์อยู่นั้น ก็ไม่ได้มีญาณทราบถึงขั้นว่าอะไรที่ไม่ควรปฏิบัติ หรือควรระวัง อันอาจจะทำให้ไม่ได้นิพพานเมื่อละสังขารได้ เช่น กรณีที่ "พระอรหันต์ชินปัญจระ" ผู้ได้นิพพานแล้วตั้งแต่ ๗ ขวบ ทว่า ถูกหญิงสาวสวมกอดทางด้านหลัง ทำให้ตกใจและถอดกายทิพย์ออกจากร่างฉับพลันจุติยังสวรรค์พรหมโลกไปเกิดเป็น "ท้าวมหาพรหมชินปัญจระ" นั้น เห็นได้ชัดว่าแม้จะบรรลุอรหันต์แล้วก็ตาม แต่ยังไม่อาจประมาทได้ เพราะอาจจะไม่ได้นิพพานได้ครับ ดังนั้น จึงต้องมีพระพุทธเจ้าทรงให้ "พระวินัย" ควบคู่ไปกับ "พระธรรม" ด้วย เรียกรวมกันว่า "พระธรรมวินัย" นั่นเอง ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วว่า "พระอรหันตสาวก" ไม่มีสัพพัญญูญาณดังเช่นพระพุทธเจ้า อาจประมาทพลาดพลั้งแม้ได้บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม อาจไม่ไ่ด้นิพพานก็ได้ จึงต้องมีพระพุึทธเจ้า มีพระวินัยดังกล่าว

    บางท่านคิดว่า "อรหันต์เที่ยง" แน่นอน จีรัง ต้องนิพพานแน่ๆ แล้วกระทำกรรมโดยประมาทไป เพราะเชื่อว่าอย่างไรเสียก็ต้องนิพพานแน่นอน เที่ยงแท้ ไม่แปรผัน จะทำอะไรก็ได้ เพราะเป็นพระอรหันต์แล้ว จิตไม่ยึด เลยทำได้ทุกอย่าง ทำแล้วก็ว่างเปล่าไป ไม่มีกรรม เพราะไม่มีเจตนา กรรมไม่มี อะไรแบบนั้น ซึ่ง "เป็นความเข้าใจผิด" ด้วยมิจฉาทิิฐิที่ว่า "กรรมไม่มีผล" ถ้าเป็นพระอรหัึนต์ทำ เพราะทำโดยไม่มีเจตนา เป็นต้น นี่คือ "ความประมาท" อันเกิดจากความไม่เข้าใจว่า "ญาณของพระิอรหันต์" ไม่อาจเทียบเท่า "ญาณของพระพุทธเจ้า" จึงทำให้หลงว่าตนเองได้อรหันต์แล้ว จะทำอย่างไรก็ได้นิพพานแน่นอน!

    ปฏิสนธิจิต
    คือ จิตที่เคลื่อนจากจุติจิตไปสู่ "ขันธ์ใหม่" หรือ "สังขารใหม่" ทำให้เกิด "วิญญาณใหม่" และทำให้เกิด "รูปนาม" ใหม่ ตามมาเป็นลำดับด้วย ดังนี้ จึงเกิดชาติและภพใหม่ตามมา กลายเป็นชีวิตใหม่อีกหนึ่งชีวิตที่ัยังไม่พ้นต้องแ่ก่, เจ็บป่วย และตาย ในที่สุด เมื่อใดจิตไม่เคลื่อนสู่ภพใดๆ ย่อมไม่เรียกว่า "จุติจิต" ถ้าไม่ประสานร่วมกับขันธ์ใหม่ ย่อมไม่เรีียกว่า "ปฏิสนธิจิต" หากจิตนั้นจะดำรงคงอยู่โดยยังไม่นิพพาน ก็จะดำรงอยู่ได้เช่นนั้น จิตนั้นก็จะไม่มีขันธ์รองรับ ย่อมไม่มีชาติ, ชรา, เจ็บป่วย, และมรณะตามมาเป็นลำดับ จิตจะดำรงอยู่อย่างนั้น ติดอยู่ในสภาวะแห่งความเป็นจิตอย่างนั้น จนกว่าจะนิพพานไป ซึ่งบางท่านเรียกจิตที่ไม่มีขันธ์รองรับนี้ว่า "พระเจ้า" หรือ "พระเจ้าแสงแห่งธรรม" ก็มีเช่นกัน เนื่องจาก มักพบจิตลักษณะนี้ มาโปรดสอนธรรมแก่ปวงสัตว์ นั่นเอง หลายท่านอาจสับสนและคิดว่าจิตคือตัวนิพพาน คือ นิพพาน คือ คิดว่าถ้าไม่มีการปฏิสนธิใหม่ ไม่มี "ขันธ์ใหม่มารองรับ" ก็ไม่เกิดในชาติภพใดๆ อีกแล้ว ย่อมนิพพาน ซึ่งไม่จริง เพราะยังเหลือ "จิตอยู่" และจิตนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ไร้แก่นสาร แต่เป็นสิ่งที่มีแก่นสารในธรรม เรียกว่า "มโนธาตุ" หรือมีธาตุแท้อยู่ ไม่ต่างจากมหาภูติรูปสี่ คือ ธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ เลย ดังนั้น หากจิตดำรงอยู่่ต่อไป ก็จะมี "มโนธาตุ" ดำรงอยู่ต่อไป ไม่ใช่นิพพานก็ต่อเมื่อกระทำ "พระธาตุนิพพาน" แล้ว มโนธาตุก็ดับสิ้นไป จิตย่อมหลุดพ้นไปจากสภาวะเดิม และเป็นหนึ่งเดียวกับนิพพานคือ นิพพาน ได้ อันเป็นธรรมที่ละเอียดยิ่งกว่าธาตุใดๆ เป็นธรรมแท้ที่ไม่ใช่สมมุติธรรม ย่อมไม่เกิด ไม่ดับ ไม่ดำีรงอยู่ แต่ไม่ใช่ความไม่มี ไม่ใช่ความว่างเปล่า เป็นธรรมเช่นนั้นเอง เป็นนิพพานเช่นนั้นเอง ไม่เป็นธรรมอย่างอื่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  4. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    สรรพสิ่งทั้งหลาย มีทั้งที่มีแก่นสารแห่งธรรม คือ มีธาตุธรรมอยู่ เช่น สังขาร ของเรามาจากมหาภูติรูปสี่ คือ ธาตุิดิน, น้ำ, ลม, ไฟ และไม่มีแก่นสารแห่งธรรม คือ ไม่มีธาตุธรรมอยู่ เช่น กิเลส, เจตสิก ซึ่งสิ่งที่ไม่มีแก่นสารแห่งธรรม ไม่มีธาตุแท้อยู่นี้ ย่อมไม่ต่างอะไรกับพยับแดด ที่เกิดขึ้นจากแสงสะท้อน ไม่ใช่สิ่งที่มีแก่นสารสาระอยู่จริง เกิดขึ้นด้วยอาศัยสิ่งอื่นปรุงแต่งให้เกิด เกิดแล้วดับไป ตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปทำอะไรให้ดับสิ้นสูญ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องทำกรรมฐานอะไรให้มันดับ ไม่ต้องไปทำกรรมดับมัน เช่น "กิเลสหรือเจตสิก" ก็ตาม ไม่ต่างอะไรกับพยับแดด ไร้สาระแก่นสาร เกิดดั่งมายาภาพหลอกหลอน แล้วดับไป ตามธรรมชาติ ตามอนิจจัง แม้แต่ขันธ์ทั้งห้านั้น หากจิตไม่ก้าวล่วงไปสู่วัฏฏสงสารใหม่แล้ว จิตก็ไม่ต้องจุติยังภพใหม่ ไม่ต้องปฏิสนธิกับขันธ์ใหม่ในชาติใหม่ จิตก็จะดำรงอยู่ในสภาพเดิม คือ เป็นธาตุแท้ที่เรียกว่า "มโนธาตุ" ไม่ดับสูญ จนกว่าจะกระทำ "พระธาตุนิพพาน" จิตนั้นจึงนิพพาน อนึ่ง การกระทำที่เรียกว่า "ดับขันธปรินิพพาน" นั้น เป็น "สอุปาทิเสสนิพพาน" (นิพพานบางส่วน) เฉพาะส่วนขันธ์ห้าเท่านั้น เป็นการ "ดับรอบ" รอบอะไร? รอบมโนธาตุ อันเ็ป็นแก่นแท้ของบุคคลนั่นเอง แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงกระทำอนุปาทิเสสนิพพาน ยังเหลือมโนธาตุไว้ นิพพานยังไม่หมด ก็ไม่แปลกอันใด เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนมีพระชนม์มายุ ๘ พัน ถึง ๘ หมื่นปี กันทั้งสิ้น หากว่าพระพุทธเจ้าสมณโคดมจะมีพระชนมายุสัก ๕,๐๐๐ ปี แล้ว ก็ไม่ได้มีความผิดอันใดเลย หรือการที่จะทรงโปรดสัตว์โดยไม่มีขันธ์ห้ารองรับแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะทรงกระทำไม่ได้ เพราะทรงมี "พระพุทธปาฏิหาริย์" นั่นเอง 

    รสมังสะ
    หมายถึง รสชาติอาหารที่อร่อยผิดปกติ เช่น ผักมีรสเหมือนเนื้อ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เป็นสัญญาณเตือนท่านว่าจะปรินิพพานในไม่ช้าแล้ว และอาหารมื้อนี้ "เป็นมื้อสุดท้าย" ถ้าจะทรงขันธ์ต่อไปอีกหน่อย ก็จะต้องไม่ฉันอะไรอีก หรือฉันอะไรไม่ได้อีกเลย ซึ่งในวันนั้น ท่านจะสุขมาก เรียกว่า "บรมสุข" ถึงขนาดฉันผักก็มีรสเหมือนเนื้อได้เลย เรียกว่ากินอะไรก็อร่อยพิเศษ ไม่เหมือนทุกวัน ผิดสังเกตุ จนสงสัยและสติตื่นขึ้น ปัญญาสว่าง สัพพัญญูญาณทำงาน ทำให้ทราบว่า "นี่คือ อาหารมื้อสุดท้าย" ดังนั้น คำว่า "รสมังสะ" จึงไม่ใช่ "มังสาหาร" หรือ "มังสะ" ที่แปลว่าเนื้อโดยตรง ถ้าผู้เขียนจะใช้คำว่าเนื้อ ก็จะใช้คำว่า "มังสะ" หรือ "มังสาหาร" แทน แต่นี่เป็นคำว่า "รสมังสะ" จึงไม่ใช่ทั้งสองอย่าง คือ ไม่ใช่เนื้อ แต่มีรสอร่อยราวกับกินเนื้อจริงๆ นั่นแหละ เพราะจิตสุขมาก บรมสุข กำลังจะปรินิพพานแล้วนี่เอง เลยเป็นเ่ช่นนี้ กินผักก็อร่อยเหมือนเนื้อไปได้ แปลกจริง ทำให้สังเกตุตัวเองได้ เป็นสัญญาณบ่งบอกได้ ดังกล่าว ถ้าเป็นเนื้อปกติในมื้อสุดท้าย มันก็ไม่ผิดปกติ มันก็ไม่เป็นสัญญาณ ลางบอกเหตุอะไรได้ ดังนั้น จึงไม่ใช่เนื้อปกติ หรือผักปกติ แต่เป็น "รสที่ผิดไปจากปกติ" อร่อยมาก บรมสุขมาก เพราะใกล้จะปรินิพพานแล้ว มิแหล่ มันก็จะสุขมากๆๆ บรมสุขอย่างนี้แหละ ซึ่งจะมีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทราบได้ ในพระอรหันตสาวกทั่วไป ไม่รู้ ไม่มีแบบนี้เลย และเป็นสัพพัญญูญาณอีกนั่นแหละ ที่จะทราบเช่นนี้ได้

    คำว่า "รสมังสะ" ปรากฏอยู่ในเนื้อหาส่วนที่พระพุทธเจ้า จะปรินิพพาน ความว่า ...
    เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า บัดนี้ เราจะประกาศธรรมดาทั่วไปของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มี ๓๐ ถ้วน คือ

    ๑. พระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย มีสัมปชัญญะรู้ตัว ลงสู่พระครรภ์ของพระชนนี
    ๒. พระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิในพระครรภ์ของพระชนนีหันพระพักตร์หันพระพักตร์ออกไปภายนอก
    ๓. พระชนนีของพระโพธิสัตว์ยืนประสูติ
    ๔. พระโพธิสัตว์ออกจากพระครรภ์พระชนนีในป่าเท่านั้น
    ๕. พระโพธิสัตว์วางพระบาทลงบนแผ่นทอง หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ย่างพระบาท ๗ ก้าว เสด็จไปตรวจดู ๔ ทิศแล้วเปล่งสีหนาท
    ๖. พระมหาสัตว์ พอพระโอรสสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้วออกมหาภิเนษกรมณ์
    ๗. พระมหาสัตว์ ทรงถือผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ทรงผนวช ทรงบำเพ็ญเพียรกำหนดอย่างต่ำที่สุด ๗ วัน
    ๘. เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
    ๙. ประทับนั่งเหนือสันถัตหญ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
    ๑๐. ทรงบริกรรมอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน
    ๑๑. ทรงกำจัดกองกำลังของมาร
    ๑๒. ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง ทรงได้คุณมีอสาธารณะญาณ ตั้งแต่วิชชา ๓ เป็นต้นไปเป็นอาทิ
    ๑๓. ทรงยับยั้งใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์
    ๑๔. ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงแสดงธรรม
    ๑๕. ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน
    ๑๖. ในวันมาฆบูรณมี ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมสาวกประกอบด้วยองค์ ๔
    ๑๗. ประทับอยู่ประจำ ณ ที่พระวิหารเชตวัน
    ๑๘. ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี
    ๑๙. ทรงแสดงพระอภิธรรม ณ ภพดาวดึงส์
    ๒๐. เสด็จลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนคร
    ๒๑. ทรงเข้าผลสมาบัติต่อเนื่องกัน
    ๒๒. ทรงตรวจดูเวไนยชน ๒ วาระ
    ๒๓. เมื่อเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
    ๒๔. เมื่อเหตุต้นเรื่องเกิดขึ้น จึงตรัสชาดก
    ๒๕. ตรัสพุทธวงศ์ในสมาคมพระประยูรญาติ
    ๒๖. ทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุอาคันตุกะ
    ๒๗. พวกภิกษุจำพรรษาแล้วถูกนิมนต์ ไม่ทูลบอกลาก่อน ไปไม่ได้
    ๒๘. ทรงทำกิจก่อนและหลังเสวย ยามต้น ยามกลางและยามสุดท้ายทุกๆ วัน
    ๒๙. เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน
    ๓๐. ทรงเข้าสมาบัติยี่สิบสี่แสนโกฏิสมาบัติแล้วจึงปรินิพพาน.
    ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มี ๓๐ ถ้วนดังกล่าวมาฉะนี้. 

    อนึ่ง พระพุทธเจ้าสมณโคดม เข้าสมาบัติไม่ถึง "ยี่สิบสี่แสนโกฏิสมาบัติ" ด้วยพระอนุรุทธ นับได้เพียงไม่กี่สมาบัติเท่านั้น ดังนั้น ท่านจึงยังไม่ได้ "อนุปาทิเสสนิพพาน" (นิพพานทั้งหมด) ท่านจึงกระทำเพียง "สอุปาทิเสนิพพาน" (นิพพานบางส่วน) เท่านั้น และจะทรงกระทำ "พระธาตุนิพพาน" ในส่วนที่เหลือในวันสิ้นสุดพุทธกาล ๕,๐๐๐ ปี เป็นปาฏิหาริย์ครั้งสุดท้ายต่อเหล่าเทวดา (แต่มนุษย์จะไม่เห็น) ดังข้อมูลอ้างอิงตาม มหาปรินิพพานสูตร ว่าด้วยมหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เล่มที่ ๑๐ ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์ เป็นพระสุตตันตปิฎก (เล่ม ๒) ๓. ความบางส่วนว่า 
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  5. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ยนี้ ทรงย้อนกลับไปถึงฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ เรื่อยไปจนถึงฌานที่ ๔ เมื่อออกจากฌานที่ ๔ แล้วก็ปรินิพพาน ( เป็นการไม่ติดในรูปฌานหรือในอรูปฌาน เพราะนิพพานในระหว่างแห่งรูปฌานและอรูปฌาน ) .
        เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ก็เกิดแผ่นดินไหว และมีหลายท่านกล่าวภาษิตในทางธรรม เหตุการณ์นี้ยังความโศกสลดให้เกิดแก่ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากราคะ และยังธรรมสังเวชให้เกิดแก่ภิกษุผู้ปราศจากราคะแล้ว.

    และอ้างอิงตาม "อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค พหุธาตุกสูตร" บางส่วน ความว่า
    ... ปรินิพพาน ๓ 

    ชื่อว่า ปรินิพพานมี ๓ คือ 

    กิเลสปรินิพพาน 
    ขันธปรินิพพาน 
    ธาตุปรินิพพาน. 

    ในปรินิพพาน  ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีแล้ว ณ โพธิบัลลังก์ ขันธปรินิพพานได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต พระธาตุเสด็จมาชุมนุมกัน ได้ยินว่า ในคราวพระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุทั้งหลายจะเสด็จชุมนุมกันที่เกาะลังกานี้ แล้วเสด็จไปยังมหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์เสด็จไปยังราชายตนเจดีย์  ในนาคทวีป จากราชายตนเจดีย์ เสด็จไปยังมหาโพธิ์บัลลังก์. พระธาตุทั้งหลาย จากนาคพิภพก็ดี จากเทวโลกก็ดี จากพรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปยังมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด. จักไม่หายไปในระหว่าง ๆ กาล. พระธาตุทั้งหมด (จะรวม)เป็นกองอยู่ที่มหาโพธิบัลลังก์ เป็นแท่งเดียวกันเหมือนแท่งทองคำเปล่งพระฉัพพรรณรังสี (รัศมีมีสี ๖ ประการ) พระฉัพพรรณรังสีทั้งหลายนั้นจักแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ. แต่นั้น เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จักประชุมกันแสดงความการุณย์อย่างใหญ่ ยิ่งกว่าในวันเสด็จปรินิพพานของพระทศพลว่า วันนี้พระศาสดาจะเสด็จปรินิพพาน วันนี้พระศาสนาจะเสื่อม นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของพวกเรา ณ กาลนี้. เว้นพระอนาคามี และพระขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดำรงอยู่ตามสภาวะของตนได้. เตโชธาตุลุกขึ้นในพระธาตุทั้งหลาย แล้วพลุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงติดอยู่เปลวหนึ่ง เมื่อพระธาตุทั้งหลายหมดไป เปลวเพลิงก็มอดหมดไป. เมื่อพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้วอันตรธานหายไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นอันตรธานไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์ ตราบเท่าที่ยังไม่อันตรธานไปอย่างน.ี้ ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันอย่างนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

    ปรินิพพาน
    หมายถึงการนิพพานบางส่วนไม่ใช่นิพพานครั้งเดียวทั้งหมดจัดเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน ไม่ใช่  อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานหมดทุกส่วน) โดยพระพุทธเจ้าจะมีปรินิพพาน ๓ ครั้งจึงจะนิพพานครบหมดทุกส่วน อนึ่ง คำว่า "ปริ" หมายถึง โดยรอบ (ไม่ได้หมายถึง ทั้งหมด แต่เฉพาะส่วนรอบ) นิพพาน หมายถึง ธรรมที่พ้นแล้วจากการเกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไปนั่นเอง อนึ่ง พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว จึงเหลือบางส่วนรอกระทำ "พระธาตุนิพพาน" ซึ่งการจะรวมพระธาตุเพื่อทำ "พระธาตุปรินิพพาน" ได้นั้น จะต้องมีจิตเหนี่ยวนำร่วมด้วย อยู่ๆ พระธาตุจะนิพพานเองไม่ไ่ด้ (จิตก็คือมโนธาตุ จิตไม่ใช่ขันธ์ห้า เพราะขันธ์ห้าดับรอบหมดแล้วหลังขันธปรินิพพาน) ดังนั้น ขณะนี้ พระพุทธเจ้าจึงนิพพานยังไม่หมด เหลือพระธาตุและ "มโนธาตุ" ดำรงอยู่เพื่อการโปรดสัตว์ตราบจนสิ้นอายุพุทธกาล ดังความตามเนื้อหาในพระไตรปิฎกดังนี้

    อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค พหุธาตุกสูตร

    อันตรธาน ๓ เพราะชื่อว่า อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน. ในอันตรธาน ๓ นั้น ปิฏก ๓ ชื่อว่าปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ. ปฏิปทา (เครื่องดำเนิน) ชื่อว่า ปฏิบัติ. ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ มีบ้าง ไม่มีบ้าง. เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ทรงปฏิเวธ ย่อมมีมากในกาลครั้งเดียว เป็นอันชี้นิ้วแสดงได้ชัดเจนว่า ภิกษุนี้เป็นปุถุชน. ขึ้นชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่จะมีได้ครั้งเดียวในทวีปนี้เท่านั้น. แม้ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติทั้งหลาย บางคราวมีมาก บางคราวก็มีน้อย. ด้วยเหตุนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติจึงชื่อว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง. แต่ว่าปริยัติ(ถือว่า) เป็นสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา. พระผู้เป็นบัณฑิต ได้ศึกษาพระไตรปิฏกแล้ว ย่อมบำเพ็ญปฏิเวธและปฏิบัติให้บริบูรณ์. พระบรมโพธิสัตว์ของพวกเราทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๗ ให้เกิด ในสำนักของ อาฬารดาบส แล้วถามถึงบริกรรม เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่าน อาฬารดาบส บอกว่าไม่รู้. ต่อแต่นั้นพระองค์จึงได้เสด็จไปยังสำนักของ อุทกดาบส เทียบเคียงคุณพิเศษที่ได้ บรรลุแล้ว (กับท่าน) ได้เรียนถามถึงการบริกรรม เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่านดาบสก็บอกให้. ในลำดับแห่งคำพูดของท่านดาบสนั่นเองพระบรมโพธิสัตว์ก็ทำ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้นให้สำเร็จ ฉันใด ภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศึกษาปริยัติแล้วย่อมทำปฏิเวธและปฏิบัติ แม้ทั้งสองประการให้บริบูรณ์ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่. อธิบายปริยัติอันตรธาน ก็เมื่อใด ปริยัติ นั้นอันตรธานหายไป เมื่อนั้น พระอภิธรรม จักเสื่อมก่อน. ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐาน จะอันตรธานก่อนกว่าทุกคัมภีร์. คัมภีร์ธรรมสังคหะ อันตรธานหายไปภายหลัง โดยลำดับ. เมื่อพระอภิธรรมปิฏกอันตรธานหายไปแล้ว แม้ปิฏกทั้งสองยังคงดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. ในปิฏกเหล่านั้น เมื่อพระสุตตันตปิฏก จะอันตรธานหายไป อังคุตตรนิกาย ย่อมอันตรธานหายไปก่อน เริ่มแต่เอกาทสกนิบาต จนถึง เอกกนิบาต. ต่อจากนั้น สังยุตตนิกาย ย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ จักกเปยยาลสูตร จนถึง โอฆตรณสูตร. ต่อจากนั้น มัชฌิมนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ อินทริยภาวนาสูตร จนถึง มูลปริยายสูตร. ต่อจากนั้นทีฆนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ทสุตตรสูตร จนถึง พรหมชาลสูตร. ปุจฉาคาถา (คือคาถาที่เป็นคำถาม) คาถาเดียวบ้าง สองคาถาบ้าง ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่อาจทรงพระศาสนาไว้ได้เหมือน สัพพิยปุจฉา๑ (พม่า-สภิยปุจฉา) และอาฬวก ปุจฉา. ได้ยินว่าระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้ อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้. ก็เมื่อปิฏกทั้งสองแม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฏกยังคง ดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่ เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไป แล้ว เมื่ออุภโตวิภังค์ ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่. เมื่ออุภโตวิภังค์ อันตรธานไปแล้ว มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็น อันตั้งอยู่ได้. เมื่อมาติกา อันตรธานไปแล้ว ปาติโมกข์ การบรรพชา และอุปสมบท จักดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่. เพศ (สมณะ) ยังดำเนินไปได้ระยะกาลยาวนาน. ก็วงศ์ของสมณะผู้ครองผ้าขาว ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ จำเดิมแต่สมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า. พระศาสนาย่อมชื่อว่าเป็นอันเสื่อม จำเดิมแต่คนสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะ และคนสุดท้ายที่ทำลายศีล. จำเดิมแต่นั้น ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแล.

    ปรินิพพาน ๓ ชื่อว่า ปรินิพพานมี ๓ คือ 

    กิเลสปรินิพพาน 
    ขันธปรินิพพาน 
    ธาตุปรินิพพาน 

    ในปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีแล้วณ โพธิบัลลังก์ ขันธปรินิพพานได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต

     พระธาตุเสด็จมาชุมนุมกัน ได้ยินว่า ในคราวพระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุทั้งหลายจะเสด็จชุมนุมกันที่เกาะลังกานี้ แล้วเสด็จไปยังมหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์เสด็จไปยังราชายตนเจดีย์ ในนาคทวีป จากราชายตนเจดีย์ เสด็จไปยังมหาโพธิ์บัลลังก์. พระธาตุทั้งหลาย จากนาคพิภพก็ดี จากเทวโลกก็ดี จากพรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปยังมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด. จักไม่หายไปในระหว่าง ๆ กาล. พระธาตุทั้งหมด (จะรวม)เป็นกองอยู่ที่มหาโพธิบัลลังก์ เป็นแท่งเดียวกันเหมือนแท่งทองคำเปล่งพระฉัพพรรณรังสี (รัศมีมีสี ๖ ประการ) พระฉัพพรรณรังสีทั้งหลายนั้นจักแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ. แต่นั้น เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จักประชุมกันแสดงความการุณย์อย่างใหญ่ ยิ่งกว่าในวันเสด็จปรินิพพานของพระทศพลว่า วันนี้พระศาสดาจะเสด็จปรินิพพาน วันนี้พระศาสนาจะเสื่อม นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของพวกเรา ณ กาลนี้. เว้นพระอนาคามี และพระขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดำรงอยู่ตามสภาวะของตนได้. เตโชธาตุลุกขึ้นในพระธาตุทั้งหลาย แล้วพลุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงติดอยู่เปลวหนึ่ง เมื่อพระธาตุทั้งหลายหมดไป เปลวเพลิงก็มอดหมดไป. เมื่อพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้วอันตรธานหายไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นอันตรธานไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์ ตราบเท่าที่ยังไม่อันตรธานไปอย่างน.ี้ ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันอย่างนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  6. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ที่หายไปในท่้อนสุดท้ายครับ


    ลีลาในการปรินิพพาน
       ครั้นแล้วทรงเข้าฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ เป็นลำดับไปจนครบรูปฌาน ( ฌานมีรูปเป็นอารมณ์ ) ๔ อรูปฌาน ( ฌานมีสิ่งมิใช่รูปเป็นอารมณ์ ) ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ( สมาบัติที่ดับสัญญาความกำหนดหมาย และเวทนา ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข ) ๕.    ต่อจากนั้นทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ ย้อนกลับเข้าสู่อรูปฌานที่ ๔ ( คล้ายกับออกจากตึกชั้นที่ ๙ ย้อนลงสู่ชั้นที่ ๘ ) โดยนัยนี้ ทรงย้อนกลับไปถึงฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ เรื่อยไปจนถึงฌานที่ ๔ เมื่อออกจากฌานที่ ๔ แล้วก็ปรินิพพาน ( เป็นการไม่ติดในรูปฌานหรือในอรูปฌาน เพราะนิพพานในระหว่างแห่งรูปฌานและอรูปฌาน ) .
        เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ก็เกิดแผ่นดินไหว และมีหลายท่านกล่าวภาษิตในทางธรรม เหตุการณ์นี้ยังความโศกสลดให้เกิดแก่ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากราคะ และยังธรรมสังเวชให้เกิดแก่ภิกษุผู้ปราศจากราคะแล้ว.
     
  7. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    หาที่ฝากไฟล์สำหรับการโหลดอยู่ครับ--อิสรีลใจเย็นๆ

    Mouth buddha2.doc
    http://www.filecondo.com/dl.php?f=Fb72661vazQ9
    สงสัยแกจะสะดุ้งทุกครั้งที่พูดถึง อิอิ อย่าไปแกล้งแก เลยครับ
    --คลิกขวาที่ลิ้งค์---เลือก เซฟ ไฟล์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  8. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    เปลี่ยนบรรยากาศ พบ ช้างเผือก ณ เวทีเอ็กซ์แฟคเต้อร์ ป่าเทด เมกา(แอบทำวีดี ออกมา2 แผ่น เพลงจีน กับคริสตี้ วงที่เล่น ไออ้อน ฮอร์ส--เยลโล่ริ้เว่อร์ สบายใจเหมือนได้พบเพื่อนเก่า---ตอนนี้ผมมีหูฟัง3-4คู่ ตอนอยากก็ไม่มี ตอนไม่อยากมาซะเยอะเลย
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=oFVhSDQmIxs]Call Me Maybe - for Choir and Orchestra - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=ffyZNW7Ra7M"]The X Factor USA 2012 - Carly Rose Sonenclar's Audition - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  9. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279

    อย่าตัดสินคนจากรูปร้่างหน้าตาครับ ป้าคนนี้พลังเสียงไม่ใช่ย่อย
    นายคาวบอยนี่ เพลงเดียวฟันไป5ล้านดอลล่าร์


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ID34lX_4m5I]Meet Panda Ross - THE X FACTOR USA 2012 - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=_Q8IAwaGNqg"]Meet Tate Stevens - THE X FACTOR USA 2012 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  10. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    จะๆให้ฟังวง Within Temptation นักร้อวงนำชารอน เดล อะเด็ล-- Sharon del Adel
    เพลงชื่อ ความทรงจำ---วงนี้ เล่นเมทัล แต่เป็น ซิมโฟนิคเมทัล แฟนเพลงมีทั่วโลก ในไมบก้่เยอะ--มรดกดนตรีจากยุโรปตอนเหนือเหนือครับท่าน
    อีกเพลงร้องคูกับเพื่อน--เขาสว่าเป็นเพลงดูโอ้ที่ดีที่สุดในโลก--ตะวชารอนเอง ทั้งร้องเมฌโลดีหลัก และหลบมาประสานอีก น่ารักทั้งคู่เลยครับสองสาวนี่--เป็น เพลงร้องสดกับวง ซิมโฟนี่ของกรุงอัมสเตอร์ดัม เล่นที่สนานที่ที่เรีรยกว่า อะฮอย--หมายถึงความสนุกสนาน--ถ้าใครกำลัีงเศร้าต้องร้องไห้แน่--เพลงชื่อ ซัมแวร์


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=kSZZUo_nSRU"]http://www.youtube.com/watch?v=kSZZUo_nSRU"]Within Temptation ? Somewhere @ Live 1080p HD[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  11. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    เพลงชื่อพระแม่ธรณี--Mother Earth
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Nxd05Ab6Nhc]Within Temptation - Mother Earth Live @ VVAL - YouTube[/ame]

    Mother Earth Lyrics
    from Black Symphony

    l


    SUBMIT CORRECTIONS CANCEL

    Birds and butterflies
    Rivers and mountains she creates
    But you'll never know
    The next move she'll make

    You can try
    But it is useless to ask why
    Cannot control her
    She goes her own way

    She rules until the end of time
    She gives and she takes
    She rules until the end of time
    She goes her way

    With every breath
    And all the choices that we make
    We are only passing through
    On her way

    I find my strength
    Believing that their soul lives on
    Until the end of time
    I'll carry them with me

    She rules until the end of time
    She gives and she takes
    She rules until the end of time
    She goes her way

    Once you will know my dear
    You don't have to fear
    A new beginning
    Always starts at the end

    Once you will know my dear
    You don't have to fear
    Until the end of time
    Until the end of time
    Until the end of time
    She goes her way

    She rules until the end of time
    She gives and she takes
    She rules until the end of time
    Until the end of time
    Until the end of time
    She goes her way


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  12. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    cรกๆผมก็ไปตามเว็ป ไปเจอวงไนทฺวิช จากนอร์เวย์ก่อน นักร้องเดิม คือ ทราจ้่า ทูราเน็น เรียนมาทางร้องโอเปร่า ต่อมาเปลี่ยนนักร้องเป็นแอนเน็ต แฟนเพลงทั่วโลกโวยวายกันมาก
    ทำไมเพลงต้องตีคอร์ดดุๆ ตึ้บๆๆด้วย เพราะเป็นเฮฟวี่เมทัลที่แอบหวานไงครับ
    --เพลงท่านผีเพลง--แฟนท่อม ออฟ ดิ โอเ้ปร่า--
    ธรมมะมากก็เครียด จริงป่ะ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=8VgLKXD-BoY]Nightwish "The Phantom Of The Opera" with lyrics - YouTube[/ame]
     
  13. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    เพลงชาติของโลก และภาพโลกอนาคต
    ]เพลงชาติของโลกจริงๆ แต่งโดย แฟร้งค์มาริโน่ วง มาฮอกกานี รัช--เป็นจังหวะช้าๆ เล่นโดยกีต้าร์ไฟฟ้า2ตัว ประสานเสียงกัน
    [/COLOR

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Ypnii5BcD74]Future World Music - Anthem of the World - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=1g6xlrZslrY"]frank marino&mahogany rush:caljam2 "world anthem"(enhanced audio) - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2013
  14. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    สาว วสาวๆ วง the three degrees ไพเราะเพราะใช้วงออร์เคสตร้าทั้งวง

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=T6fVDAjs9f0]-The Three Degrees- -When will see you again- - YouTube[/ame]
     
  15. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    มล คือหญิงคนที่ข้าพเจ้าคุยเอ็มด้วยเมื่อคืนนี้ เธอมีลูดก2คนที่กำลังจะขบมหาวิทยาลัย
    และมีอีรกคน พิการ เดินไม่ได้ เรียนที่เชียงใหม่ลูกคนที่สองตามดูแลอยู่ ลูกคนแรก พูดแต่ละคำ ห็ทำใ้ห้เธอน้ต้องำตาตกเป็นประจำ เธอชอบช่ายเหลือคน มันทำให้เธอต้องย่ำแย่ แม้หลานสาวก็ดูถูกว่ายากจน พอจะเลิกคุยเธอก็บอกว่า สบายใจขึ้นมาก และไม่คิดจะฆ่าตัวตายอีกแล้ว ผมจึงบอกว่า ห้ามตาย ตายแบบไหนก็ขอห้าม การแชทครั้งนี้ของผม สามารถปลอบใจให้ผู้หญืงซึ่งเป็นลูกทีดี และเป็นแม่ที่ดี--สุดประเสริฐ-- ไม่ต้องฆ่าตัวตาย ถือว่าคุ้มมากครับ
    ---ทั้งๆที่ผมไม่ค่อยออนเอ็ม ไม่ได้ติดตั้ง-- แต่ผมก็ติดตั้งมันอีกรอบในช่วง7วัน --เหมือนมีอะไรดลใจครับ พอ มล ออนผมก็รีบเข้าไปคุย--พอดีว่าเคยคุยครั้งนึง เธอเป็นคนสุโขทัยและรักจังหวัดนี้มาก แต่ลูกเธอสองคน รักจว.เชียงใหม่ครับ ผมนะ รักจังหวัด พะเยา เชียงราย และเชียงใหม่ครับ กทม ก็รักนิดหน่อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2013
  16. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    สวัสดีครับ เข้าประจำการคืนวันอาทิตย์ คืนนี้จะอัพบทความพุทธศาสนาฃิ้นที่3 และปาโก้ ราบานครับ
    Mouth buddha3
    ปัญญาวิมุติ
    หมายถึง การบรรลุธรรมโดยปัญญาเป็นกำลังสำคัญ แม้จิตนั้นไม่อาจหยั่งถึงซึ่งพระนิพพานได้เอง แต่อาศัยปัญญาแจ้งในนิพพาน ก็สามารถบรรลุธรรมได้ นับเป็น "พระอรหันต์" ประเภทหนึ่งในสองประเภท คือ ๑. เจโตวิมุติ ๒. ปัญญญาวิมุติ อนึ่ง พระอรหันต์ปัญญาวิมุตินั้น เพียงอาศัยความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า และปัญญาแจ้งในนิพพานเป็นสำคัญ โดยตัวท่านเองไม่อาจหยั่งถึงนิพพานได้เอง แต่ด้วยศรัทธาคือ เชื่อในพระพุทธเจ้าและแจ้งในธรรม แจ้งในนิพพานแล้ว จึงบรรลุธรรมได้ แม้ว่าจะหยั่งไม่ถึงนิพพานนั้นด้วยตนเองก็ตาม ซึ่งจิตของพระอรหัึนต์ปัญญาวิมุติเหล่านี้ อาจไม่ถึงขั้นที่เรียกว่า "อธิจิต" ก็ได้ หรือกายในกายของท่านอาจไม่ต้องถึงขั้น "ธรรมกาย" ก็ได้ หรืออายตนะของท่าน ไม่ต้องถึงขั้นที่มี "อายตนะนิพพาน" ก็ได้ ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าพระอรหันต์ปัญญาวิุุมุติบรรลุธรรมได้ด้วยปัญญา มิใช่ด้วยจิตหยั่งถึงหรือกายในกายมีํธรรมถึงขั้น "ธรรมกาย" หรือมีอายตนะนิพพาน หยั่งกระแสนิพพานได้เอง ก็หาไม่ ไม่จำเป็นต้องมีถึงขั้นนั้น ขอเพียงฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว "แจ้งด้วยปัญญา" ก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้เช่นกัน ปกติ พระอรหันต์ปัญญาวิมุตินั้น มักไม่ค่อยมีอภิญญาอื่นๆ มาก แต่ก็มีบ้างเช่นกันที่มีอภิญญาอื่นๆ เช่น มโนมยิทธิ, อิทธิวิธี ฯลฯ เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เกิดขึ้นได้ด้วย "บารมีของพระพุทธเจ้า" และ "ความเชื่อความศรัทธา" ของพระสาวกร่วมกัน จึงทำให้ผู้ที่ไม่อาจหยั่งถึงนิพพานได้เองก็บรรลุธรรมได้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2013
  17. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279


    อนึ่ง ในการบรรลุธรรมของพระอรหันต์ปัญญาวิมุตินั้น อาศัยพละห้าสมังคี คือ ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันดี เริ่มต้นด้วยศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้า ทำให้มีความวิริยะที่จะปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นทุกข์ เมื่อได้ฟังธรรมเกิดสติและมีสมาธิขั้นต้นเพียง "ขณิกสมาธิ" (สมาธิเพียงเล็กน้อยไม่ถึงกับมีฌาน) หากแจ้งในธรรม แจ้งในนิพพานได้ ก็บรรลุธรรมได้ แม้ว่าจิตของท่านจะไม่พัฒนาไปถึงขั้นอธิจิตก็ตาม ท่านไม่ได้เข้าถึงนิพพานด้วยจิตก็ตาม แต่ด้วยวิธีนี้ ด้วยบารมีของพระพุทธเจ้าช่วยนี้ และด้วยตัวท่านเองก็พึ่งพาตนเอง วิริยะพากเพียรด้วยนี้ จึงส่งเสริมให้ท่านบรรลุอรหันตผลได้เช่นเดียวกัน

    เจโตวิมุติ
    หมายถึง การบรรลุธรรมโดยจิตเข้าถึงเป็นสำคัญ ซึ่งย่อมมีปัญญาแจ้งในธรรม ในนิพพานด้วย กล่าวคือ ทั้งการบรรลุธรรมแบบปัญญาวิมุติ ก็ดี, เจโตวิมุติ ก็ดี ล้วนย่อมมีปัญญาแจ้งในธรรม ในนิพพาน ทั้งสิ้น เพียงแต่การบรรลุธรรมแบบ "เจโตวิมุติ" นั้น จะมีเรื่องของ "จิตเข้าถึง" เพิ่มเติมขึ้นมาด้วย กล่าวคือ จิตของผู้ที่บรรลุธรรมแบบเจโตวิมุติย่อมเข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ด้่วยตนเอง เหมือนมีปัญญาแจ้งเมื่อคนกล่าวว่าเกลือเค็มอย่างไร ในขณะเดียวกันก็ได้ชิมรสเกลือด้วยตนเองด้วย ในบางท่าน มีจิตพร้อมหยั่งได้ถึงนิพพานแล้ว แต่ด้วย "สักกายทิฐิ" ยังขวางกั้นไว้อยู่ เมื่อยอมจำนนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแล้ว คือ มาขอบวชในพระพุทธศาสนา ยังไม่้ได้รับฟังธรรม เพียงปลงผมหรือห่มผ้าจีวรก็บรรลุอรหันตผลได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะจิตของเขาหยั่งถึงนิพพานได้เอง อุปมาเหมือนดอกบัวบานแล้วฉะนั้น อนึ่ง พึงเข้าใจว่าท่านที่สำเร็จธรรมแบบเจโตวิมุตินั้นจำต้องอาศัยผู้มีบารมีธรรมมากกว่าในการช่วยทำลายสักกายทิฐิให้ตนเอง เช่นกัน แม้มีญาณหยั่งรู้ถึงนิพพานได้เอง แต่ตราบใดที่ยังมี "สักกายทิฐิ" อยู่ ก็ยังไม่อาจบรรลุธรรมได้

    อนึ่ง พระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมแบบเจโตวิมุตินั้น หากพิจารณาจากจิต ย่อมอบรมจิตถึงขั้น "อธิจิต" หากพิจารณาจากกายในกาย ย่อมสำเร็จถึงขั้น "ธรรมกาย" หากพิจารณาจากอายตนะรับรู้ ย่อมมี "อายตนะนิพพาน" หากพิจารณาจากวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นเป็นผู้สำเร็จ "พุทธะ" เข้าถึงพุทธสภาวะได้ด้วยตนเอง ทางมหายานมีคำเรียกพระอรหันต์เจโตวิมุติ ใช้่แตกต่างออกไปเช่น เรียกว่า "อนุพุทธะ" ก็มี, "พุทธสาวก" ก็มี, "ยูไล" ก็มี ทิเบตถึงกับเรียกว่า "พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง" หรือองค์ต่อๆ มาก็มี ซึ่งทำให้หลายท่านเกิดความสับสนเพราะภัทรกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้นห้าพระองค์ก็จริง แต่ในยุคสมัยหนึ่งของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ย่อมมีพระพุทธเจ้าเพียง ๑ พระองค์เดียวเท่านั้น แต่ด้วยวัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่ต่างกันไป อาจทำให้มีการใช้คำเรียกที่แตกต่างกันได้ ขอให้ท่านเข้าใจว่าคือ "เจโตวิมุติ" นั่นเอง



    ธาตุ
    เป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง อันมีลักษณะแตกต่างกันออกไป จำแนกได้เป็น ๗ ชนิด คือ

    ๑. ธาตุดิน คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะแข็ง, รวมตัว, แน่นิ่ง, หนักแน่น, รองรับสิ่งต่างๆ
    ๒. ธาตุน้ำ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะเย็น, ลื่นไหล, เกาะกุม, ใส, ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
    ๓. ธาตุลม คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะเหมือนว่างเปล่า, ไม่รวมตัว, ฟุ้งกระจาย, ถ่ายเทไปมา
    ๔. ธาตุไฟ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะร้อน, สว่างไสว, แวววาว, ลุกจากที่ต่ำไปสู่ที่สูงกว่า
    ๕. อากาสธาตุ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะว่างเปล่่า เป็นที่อาศัยของธาตุสี่ เป็นเหตุเกิดธาตุสี่
    ๖. วิญญาณธาตุ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะเป็นธาตุรู้, ปรุงแ่ต่งให้ชัด, เกิด ณ จุดที่มีการรับรู้
    ๗. มโนธาตุ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะบริสุทธิ์, ประภัสสร, ไม่ว่ารู้หรือไม่รู้ ก็คือ มโนธาตุิอยู่ดี

    ธาตุสี่จะรวมกันไม่อาจแยกกันได้แท้จริงอยู่ใน "รูป" ทุกรูป (รูปหมายถึงสิ่งใดๆ ก็ตามที่สัมผัสรับรู้ได้ด้วยอาตนะทั้งหก เช่น สิ่งที่ืทำให้เกิด รูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัสต่างๆ) โดยจะเกิดจาก "อากาสธาตุ" หรือความว่าง เมื่อความว่างดับไป เป็นเหตุให้เกิดความมีรูป ซึ่งความมีรูปนี้ มีลักษณะต่างๆ อันพิจารณาแยกได้ ๔ ลักษณะ คือ ธาตุทั้งสี่ นั่นเอง เมื่อใดที่ธาตุทั้งสี่ดับลง ย่อมเป็นเหตุให้ "อากาสธาตุ" ก่อกำเนิด การเกิดและดับลงของธาตุทั้งสี่นั้น ไม่ใช่นิพพาน เป็นเพียงอาการหนึ่งของสรรพสิ่งที่เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสารคือ วัฏจักรของการเกิดและดับเท่านั้น เมื่อธาตุสี่ดับไป ก็ก่อให้เกิด "อากาสธาตุ" แทนที่ แต่เมื่อ "อากาสธาตุ" ดับไป ย่อมก่อให้เกิดธาตุสี่วนเวียนอยู่เช่นนี้ มิใช่นิพพาน เป็นวัฏจักรแ่ห่งการเกิดดับเท่านั้น

    ส่วน "วิญญาณธาตุ" และ "มโนธาตุ" นั้น มักจะผสมอยู่รวมกัน แต่ก็แยกกันอยู่ได้เช่นกัน หากผสมรวมกันเรียกว่า "ปฏิสนธิ" ทำให้เกิด "รูปนาม" เป็นชีวิตขึ้นมา ในชาติภพใหม่ ไม่ว่าจะเป็นภพมนุษย์, สวรรค์, นรก ก็นับเ็ป็นชีวะ หรือชีวิตเช่นกัน ตราบเมื่อกระทำ "ดับขันธปรินิพพาน" แล้ว วิญญาณขันธ์จึงนิพพานไป จะเหลือแต่ "มโนธาตุ" ดำรงอยู่เท่านั้น ตราบจนกว่าจะกระทำ "พระธาตุนิพพาน" อีกเป็นครั้งสุดท้าย มโนธาตุจึงจะนิพพานไป ไม่เช่นนั้น ก็จะคงเหลือมโนธาตุดำรงคงอยู่ดังเดิม โดยไม่มีวิญญาณธาตุผสมอยู่ด้วย มโนธาตุที่ดำีรงอยู่โดยไม่มีวิญญาณธาตุผสมอยู่ด้วยนี้ นับว่ายังไม่นิพพาน แต่ก็อยู่เหนือชาติภพ อนึ่ง บางครั้งท่านจะเห็นคำว่า "นิพพานธาตุ" ด้วย ซึ่งแท้แล้วไม่ใช่ธาตุใดๆ แต่ใช้เพื่ออธิบายนิพพานในมุมมองของธาตุเท่านั้น เพื่อให้หลายท่านเข้าใจว่า "นิพพานธาตุ" ไม่ใช่ํธาตุใดๆ ในธาตุทั้ง ๗ ชนิดนี้

    อธาตุ
    เป็นคำใหม่ที่ผู้เขียนสมมุติบัญญัติขึ้นมาเอง เพื่ออธิบายสิ่งที่ไม่มี "ธาตุ" เป็นแก่นสารสาระอันแท้ ซึ่งได้แก่ เจตสิก นั่นเอง ในธรรมหมวดปรมัตถธรรม ได้แ่ก่้ จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน นั้น ทั้งสี่อย่างนี้ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน (จิตไม่ใช่เจตสิก, ไม่ใช่รูป, ไม่ใช่นิพพาน และ นิพพาน ก็ไม่ใช่จิต) เพราะไม่ใช่อย่างเดียวกัน จึงต้องแยกแยะออกเป็นข้อๆ ต่างกันไว้อย่างนี้ โดยในสี่อย่างนั้น สิ่งที่มี "ธาตุ" แท้เป็นแก่นสารอยู่ มีอยู่ ๓ ชนิด คือ จิต, รูป, และนิพพาน ยกเว้นอย่างเดียวที่ไม่มีธาตุเป็นสาระแก่นสาร ก็คือ เจตสิก ซึ่งเจตสิกนี้ เหมือนอาการต่างๆ ของจิตเท่านั้น อุปมาเหมือน ท่านั่ง, นอน, ยืน, เดิน ซึ่งเกิดแล้วดับไป ไม่มีสาระแก่นสาร แต่ตัวคนที่นั่ง, นอน, ยืน, เดิน ต่างหากที่มีธาตุแท้เป็นสาระแก่นสารอยู่ จิตอุปมาก็เหมือนคนที่นั่ง, นอน, ยืน, เดิน ส่วนเจตสิกก็เหมือนท่านั่ง, นอน, ยืน, เดิน ฉะนั้น อนึ่ง สิ่งใดที่มีธาตุอยู่ ย่อมมีการดำรงอยู่ตามสภาวะ มีการเกิดและดับไปตามวาระ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดแล้วดับเองเหมือนดั่งพยับแดดได้ ทั้งนี้ กิเลสก็เป็นสิ่งที่ไม่มีธาตุอยู่เป็นแก่นสารแต่อย่างใด ไม่ต่างอะไรกับเจตสิก เหมือนพยับแดดที่ไม่ได้มีแก่นสารสาระ เกิดแล้วดับไป ไร้ธาตุแท้แห่งธรรมใดๆ ทั้งสิ้น "โดยไม่ต้องไปทำการดับ" แต่ประการใดเลย แตกต่างจาก "ขันธ์ห้า" ที่ประกอบเ็ป็น "รูป" ตัวตนของเรา มีธาตุทั้งสี่ประกอบกันขึ้นมาจำต้องกระทำ  "ขันธปรินิพพาน" ธาตุขันธ์จึงนิพพานได้หมด, "จิต" ก็มี "มโนธาตุ" เป็นแ่ก่นสารภายใน จำต้องกระทำสิ่งที่เรียกว่า "พระธาตุนิพพาน" จึงจะนิพพานได้หมด หากไม่หมดแล้ว จิตจะยังดำรงอยู่ แม้ไม่มีขันธ์ห้ามาผสมรองรับหรือปฏิสนธิเพื่อเกิดในชาติภพใหม่ แต่ก็ยังไม่ได้นิพพานทั้งหมด (เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน) อนึ่ง ใน "ปรินิพพาน ๓" นั้น ประกอบด้วย ๑. กิเลสปรินิพพาน ๒. ขันธปรินิพพาน ๓. พระธาตุปรินิพพาน สองประการหลังคือ ขันธปรินิพพาน และ ธาตุปรินิพพาน เป็นสิ่งที่มีการกระทำแ่ต่ไม่ใช่การกระทำเพื่อก่อให้เกิดกรรมและวิบากสืบต่อไป เป็นการกระทำเพื่อจบกรรมวิบากทั้งมวล ส่วน "กิเลสปรินิพพาน" นั้น ไม่จำเป็นที่ต้องกระทำ เนื่องเพราะกิเลสเกิดแล้วดับไปตามหลักอนิจจัง เพียงมีสติว่องไวเท่าทันยามกิเลสดับแล้วมีพละทั้งห้าสมังคีกัน ก็สามารถแจ้งในธรรม แจ้งในนิพพาน เข้าใจธรรมได้ง่ายดุจมองดวงจันทร์ ยามไร้เมฆบดบังฉะนั้น กล่าวคือ ดวงจันทร์ย่อมสว่างไสวอยู่แล้ว เพียงมีเมฆบดบังเป็นครั้งคราวเท่านั้น อนึ่ง ญาณที่หยั่งรู้ได้อย่างนี้ว่ากิเลสสิ้นไปแล้วมีแต่จิตและธรรมที่บริสุทธิ์นี้ เรียกว่า "อาสวักขยญาณ"
     
  18. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    นอกจากนี้ "นิพพาน" หากมองในมุมธาตุแล้วจะมีคำเรียกว่า "นิพพานธาตุ" ซึ่งแตกต่างจากธาตุทั้งหมดทั้ง ๗ ชนิด เพราะเป็นธาตุที่ไม่ใช่ธาตุ พ้นแล้วจากความเป็นธาตุ หลุดแล้วจากภาวะธาตุทั้งหลาย แม้ดูเหมือนธาตุแต่ก็ไม่ใช่ธาตุ เหมือนไม่มีธาตุแต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรเลย นิพพานเป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริง มีสาระแก่นสาร แต่ไม่เหมือนธาตุอื่นๆ ทั่วไป จะเป็นธาตุแห่งความว่างเปล่า (อากาสธาตุ) หรือ ก็ไม่ใช่, จะเป็นธาตุแ่ห่งความมี อันประกอบกันอยู่เหมือนมหาภูติรูปสี่ (ธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ) หรือก็หาไม่ เป็นดั่งธาตุที่ไม่ใช่ธาตุ หลุดพ้นแล้วจากความเป็นทาสแห่งธาตุ เพียงแต่ใช้คำเรียกว่า "นิพพานธาตุ" เพื่อพิจารณาดูในด้านของธาตุเท่านั้น แต่หาได้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ชัดเจน แน่นอน เหมือนดังธาตุอื่นๆ ไม่ ...

    เทวนิยม
    คือ ค่านิยมที่มุ่งไปสู่การยึดมั่นถือมั่นตัวบุคคลเป็นสำคัญ โดยไม่สนใจความหลุดพ้น, ความจริงใดๆ โดยจะยกย่องสรรเสริญตัวบุคคลที่ไม่ว่ามีตัวตนจริง หรือไม่มีตัวตนก็ตาม ขึ้นเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่เหนือเทพเจ้าอื่นใด สรรเสริญบูชาและเอาอกเอาใจเทพเจ้าของตน เสมือนขุนนางชั่วที่ไม่ทำสิ่งอันควรแล้วประจบสอพลอเจ้านาย หวังว่าจะได้อะไรตามที่ใจต้องการปรารถนานั้น เมื่อมีใครมาทำสิ่งที่กระทบต่อความเชื่ออันมีต่อ "เทพเจ้า" ของตนแล้ว ก็จะเกิดปฏิฆะ, โมโห, โกรธแค้น ฯลฯ คนที่มาทำลายความเชื่อของตน แทนที่จะสนใจเนื้อหาสาระ เรื่องราว ที่เขานำเสนอ เพื่อให้หลุดพ้นทุกข์ไป พวกเทวนิยมบางพวกก็คิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นเหมือนเทพ, เทวดา สรรเสริญบูชาเพื่อแลกมาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติหรือใช้ปัญญาอะไร อนึ่ง เทพ, เทวดาและสวรรค์มีปรากฏชัดเจนในไตรปิฎก ไม่ได้หมายถึง นี่คือ เทวนิยม แต่เป็นความจริงส่วนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมไว้เท่านั้น คำว่า เทวนิยมจริงๆ นั้นจึงไม่ใช่เรื่องความเชื่อถือหรือศรัทธาเทวดา เพราะพระพุทธเจ้าก็สอนให้มี "เทวนุสติ" คือ ระลึกถึงเทวดาเป็นเครื่องเตือนสติด้วย ดังนั้น หากเห็นใครเชื่อเรื่องเทวดา เชื่อเรื่องสวรรค์ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเขาเป็นเทวนิยม เพราะการเป็นเทวนิยมไม่ได้หมายถึงอย่างนั้น หากจะสรุปง่ายๆ ก็คือ พวกเทวนิยมไม่ได้สนใจว่าเนื้อหาสาระ, แก่นธรรมแท้จริงจะเป็นอย่างไร ช่วยให้ตนหลุดพ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่? แต่จะสนใจใครก็ตามที่ยิ่งใหญ่พอให้ยึดเกาะอาศัยได้ ไม่ต้องปฏิบัติอะไร ไม่ต้องใช้ปัญญาให้เข้าถึงธรรมอะไร เพียงแค่สรรเสริญบูชาเทพเจ้าของตนต่อไป เทพเจ้าของตนก็จะบันดาลทุกสิ่งให้ดังใจปรารถนาด้วยฤทธิ์เดชนั้น

    อนึ่ง เหล่าพวก "เทวนิยม" นี้ไม่ใช่เรื่องของศาสนา จะไปกำหนดว่าศาสนาไหนเป็นเทวนิยมหรือไม่นั้น ไม่ได้ เพราะ "เทวนิยม" เป็นเรื่อง "ค่านิยมส่วนบุคคล" กล่าวคือบางคนอาจเป็นเทวนิยมโดยไม่เกี่ยวว่าจะอยู่ในศาสนาใด เช่น หากเข้าอยู่ในศาสนาคริสตร์แล้วไม่สนใจว่าคำสอนของศาสนานี้ ทำให้เกิดปัญญาได้อย่างไร เอาแต่ทำการสรรเสริญบูชา, อธิษฐานร้องขอต่อพระเจ้าเพื่อให้พระเจ้าบันดาลสิ่งที่ตนต้องการ ก็นับว่าเป็นเทวนิยม หรือแม้แต่ชาวพุทธที่ยกย่องครูบาอาจารย์, พระสงฆ์ของตน ให้เป็นใหญ่ ยิ่งใหญ่จนเกินจริง โดยไม่สนใจว่าคำสอนของเขานั้นจะทำให้ตนเกิดปัญญาได้จริงหรือไม่? พ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่? สนใจแต่จะทำให้สิ่งที่ตนเชื่อถือนั้น เป็นที่ชอบรับและนิยมชมชอบของคนอื่นๆ เพื่อเสริมความเชื่อมั่นให้แก่ตนเอง (ด้วยการหาพรรคพวกที่คิดเหมือนตน) และทำไปเพื่อหวังได้อะไรกลับคืนมาจากสิ่งที่ตนนับถือนั้น เช่น ได้บุญ, ได้ของดีติดมือ, ได้พร, ได้สมดังใจปรารถนาเพราะสิ่งที่ตยศรัทธาบันดาลให้ด้วยฤทธิ์ นี่นับว่าเป็น "เทวนิยม" ทั้งหมด มิใช่เรื่องของศาสนาใดๆ แต่เป็นเรื่อง "ค่านิยมของบุคคลบางคน" ก็เท่านั้น

    อเทวนิยม
    คือ ค่านิยมที่แตกต่างไปจากเทวนิยม ตรงข้ามกับเทวนิยม กล่าวคือ ไม่ใช้ค่านิยมตัวบุคคลหรือเทพเจ้า ไม่นิยมสรรเสริญบูชาเพื่อให้ได้มาซึ่งการช่วยเหลือต่างๆ แต่นิยมที่จะพึ่งพาตนเอง เข้าถึงสัจธรรม ความจริง และหลุดพ้นทุกข์ด้วยตนเอง มากกว่าการร้องขอให้ผู้อื่นทำให้ ซึ่งมีสองลักษณะ คือ

    ๑. แบบปัจเจกนิยม คือ ค่านิยมบรรลุด้วยตนเองโดยไม่พึ่งพาใครเลย ไม่สนใจ ไม่เชื่อ ไม่ศรัทธา ไม่ฟังใครเลย นอกจากตัวเอง แม้ว่าจะไม่มีค่านิยมแบบเทวนิยมก็ตาม แต่ก็เอาตัวเองเป็นหลัก เป็นศูนย์กลาง เป็นสำคัญ โดยไม่สนใจผู้อื่นว่าจะมีผู้ใดช่วยให้เกิดปัญญาหรือหลุดพ้นทุกข์ได้ เป็นลักษณะที่สุดโต่งไปอีกทางหนึ่ง ตรงกันข้ามกับพวก "เทวนิยม" พบได้ในศาสนาที่เน้นปรัชญามากๆ และบางลัทธิเช่น เต๋า

    ๒. แบบสังคมนิยม คือ ค่านิยมบรรลุธรรมด้วยการพึ่งพาอาศัยกัน ไม่มุ่งเน้นการสรรเสริญบูชาเทพเทวดา เพื่อร้องขอ, ขอพร, หรือเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากเทพเทวดา แต่มุ่งเน้นทำให้เกิดปัญญา หลุดพ้นทุกข์ โดยอาศัยความช่วยเหลือพึ่งพากันในสังคม เป็นแบบสายกลางคือ ไม่ใช่สุดโต่งไปทางไม่รับความช่วยเหลือจากใครเลย หรือเอาแต่รอความช่วยเหลือจากเทพเจ้าก็หาไม่ นับเ็ป็นอเทวนิยมแบบสังคมนิยม

    อนึ่ง อเทวนิยม ไม่ได้หมายความว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อว่าเทพเทวดามีอยู่จริงหรือไม่, มีประเพณีสรรเสริญบูชาเทพเทวดาหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกัน หรือจะอยูในศาสนาใดๆ ก็ไม่เกี่ยวกันว่าจะเป็นอเทวนิยมหรือไม่ บางท่านอาจอยู่ในศาสนา-ลัทธิเต๋า แต่ไม่พึ่งตนเอง คิดแต่พึ่งพาเทวดาก็เป็นเทวนิยม บางท่านอยู่ในศาสนาพราหมณ์ที่กราบไหว้สรรเสริญบูชาเทวดาทุกๆ วัน แต่จิตใจไม่ได้ต้องการให้เทพเทวดามาทำแทนตน ตนกลับคิดที่จะทำด้วยตนเอง อย่างนี้ก็ไม่ใช่เทวนิยม จึงเห็นได้ว่าเทวนิยมหรืออเทวนิยมไม่ได้แบ่งแยกที่ตัวศาสนาแต่เป็นเรื่อง "ค่านิยมส่วนบุคคลเท่านั้น" แม้แต่ชาวพุทธอาจมีทั้งที่เป็นเทวนิยมและอเทวนิยมก็ได้

    สุดท้ายแล้วไม่ว่าเทวดาจะมีจริงหรือไม่ นั่นไม่ใช่เรื่องที่จะมากำหนดความเป็นเทวนิยมหรืออเทวนิยมแต่ขึ้นอยู่กับจิตใจของแต่ละบุคคลต่างหาก หากคิดแต่จะพึ่งพาเทพเทวดามากเกินไป (สุดโต่ง) ก็อาจกลายเป็นเทวนิยมได้ ในขณะเดียวกันถ้าไม่ยอมพึ่งพาใครเลย ก็อาจกลายเป็นอเทวนิยมแบบปัจเจกนิยม ก็ได้ (สุดโต่ง) แต่ถ้าเข้าใจทางสายกลางและความเป็นจริงตามธรรมชาติแล้ว จะทราบว่า เทพเทวดาพึ่งพาได้บ้างก็จริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด การเชื่อเรื่องเทพเทวดาหากไม่มากเกินไป ก็ไม่สุดโต่ง เป็นทางสายกลาง แต่การพึ่งพาตนเองเพื่อความหลุดพ้นทุกข์และแจ้งในสัจธรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญแท้จริงมากกว่าที่จะหวังแต่พึ่งพาเทพเทวดาดลบันดาลให้สิ่งต่างๆ แม้ว่าเทพเทวดาอาจพึ่งพาได้บ้าง ในบางครั้งบางคราว ก็ตาม

    สักกายทิฏฐิ
    คือ ความถือตัวถือตนเป็นสำคัญ จนกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขวางกั้นการบรรลุธรรม อนึ่ง สักกายทิฏฐินั้น เป็นเรื่องของสังขาร มิใช่เรื่องของจิตวิญญาณ สำหรับระดับของจิตวิญญาณแล้วนั้น จิตวิญญาณเป็นธาตุรู้ เป็นตัวรู้ว่าผู้ใดมีธรรมอันควรเคารพและเชื่อฟัง ดังนั้น สักกายทิฏฐิ จึงไม่ใช่เรื่องของจิตวิญญาณ แต่เป็นเรื่องของสังขารเป็นสำคัญ เช่น สังขารนั้นอายุมากกว่า, เรียนมามากกว่า, อ่านจำมาเยอะกว่า, มีตำแหน่งสูงกว่า, มีชื่อเสียงมากกว่า, มีบริวารมากกว่า ฯลฯ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องระดับสังขารทั้งสิ้น ซึ่งการทำให้สักกายทิฏฐิหมดไปได้จำต้องใช้ "ระดับสังขารกระทบกัน" สักกายทิฏฐิืไม่อาจหมดไปได้ด้วยวิธี"จิตสู่จิต" หรือการสื่อสารจากระดับจิตวิญญาณต่างๆ จำต้องเป็นเรื่องระดับสังขารจริงๆ ในกระบวนการบรรลุธรรมนั้น จะมี "สังโยชน์ ๑๐" ขวางกั้นอยู่ เช่น อวิชชา ซึ่งจะหมดไปเมื่อผ่านการสื่อธรรมแบบจิตสู่จิตด้วยการทำนิพพานให้แจ้งได้ แต่สำหรับ "สักกายทิฏฐิ" นั้น ไม่อาจทำให้หมดไปได้ด้วยการสื่อสารแบบจิตสู่จิต ดังนั้น แม้พระวิสุทธิเทพจะช่วยให้มนุษย์ที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ หรือรับรู้ผ่านจิตสู่จิตได้รับธรรมจากท่านได้ ก็ไม่อาจช่วยขจัดสักกายทิฏฐิให้ได้ จำต้องอาศัยมนุษย์ที่มีสังขารเหมือนกันช่วยทำลายสักกายทิฏฐิให้กัน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเกิดการกระทบกันของอีโก้หรือสักกายทิฏฐิ บางท่านได้รับการโปรดแบบจิตสู่จิตมาก่อนแล้ว เข้าถึงซึ่งธรรมระดับนิพพานได้ อุปมาดั่งบัวบาน แต่ยังมีสักกายทิฏฐิอยู่ จึงยังไม่สำเร็จธรรมแม้แต่ขั้นต้นคือ โสดาบัน แต่สังโยชน์สิบตัวอื่นๆ พร้อมจะหมดสิ้นไปได้ทันทีที่สักกายทิฏฐิหมดไป คนเหล่านี้หากไม่บรรลุธรรม ตายลง จิตวิญญาณจุติยังสุขาวดี ก็จะไปเกิดเป็นพระอรหันต์ได้ เนื่องจากสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของสังขาร เมื่อสิ้นสังขารลงเหลือแต่จิตวิญญาณซึ่งเป็นตัวรู้แล้ว ตัวรู้นี้ จะรู้ถึงว่าใครเป็นผู้มีธรรมจริง และตนมีธรรมจริงหรือไม่? เท่าใด ต่างจากสังขารที่ไม่รู้เรื่องนี้ เอาแต่ถึงถือตัวถือตน (สังขาร) เป็นใหญ่ ทว่า การสำเร็จอรหันต์ด้วยวิธีการไปเกิดยังสุขาวดีนั้น มิใช่ทางที่จะหลุดพ้นและได้นิพพานในแบบของพระพุทธศาสนาที่มีพระพุทธเจ้ามาเกิดเป็นมนุษย์เดินดินบนโลก แต่เป็นวิถีการเข้าถึงธรรม บรรลุอรหันต์ "แล้วยังไม่รีบนิพพาน" ในแบบ "ลัทธินิกายสุขาวดี" นั่นเอง
     
  19. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279


    สักกายทิฏฐิ
    คือ ความถือตัวถือตนเป็นสำคัญ จนกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขวางกั้นการบรรลุธรรม อนึ่ง สักกายทิฏฐินั้น เป็นเรื่องของสังขาร มิใช่เรื่องของจิตวิญญาณ สำหรับระดับของจิตวิญญาณแล้วนั้น จิตวิญญาณเป็นธาตุรู้ เป็นตัวรู้ว่าผู้ใดมีธรรมอันควรเคารพและเชื่อฟัง ดังนั้น สักกายทิฏฐิ จึงไม่ใช่เรื่องของจิตวิญญาณ แต่เป็นเรื่องของสังขารเป็นสำคัญ เช่น สังขารนั้นอายุมากกว่า, เรียนมามากกว่า, อ่านจำมาเยอะกว่า, มีตำแหน่งสูงกว่า, มีชื่อเสียงมากกว่า, มีบริวารมากกว่า ฯลฯ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องระดับสังขารทั้งสิ้น ซึ่งการทำให้สักกายทิฏฐิหมดไปได้จำต้องใช้ "ระดับสังขารกระทบกัน" สักกายทิฏฐิืไม่อาจหมดไปได้ด้วยวิธี"จิตสู่จิต" หรือการสื่อสารจากระดับจิตวิญญาณต่างๆ จำต้องเป็นเรื่องระดับสังขารจริงๆ ในกระบวนการบรรลุธรรมนั้น จะมี "สังโยชน์ ๑๐" ขวางกั้นอยู่ เช่น อวิชชา ซึ่งจะหมดไปเมื่อผ่านการสื่อธรรมแบบจิตสู่จิตด้วยการทำนิพพานให้แจ้งได้ แต่สำหรับ "สักกายทิฏฐิ" นั้น ไม่อาจทำให้หมดไปได้ด้วยการสื่อสารแบบจิตสู่จิต ดังนั้น แม้พระวิสุทธิเทพจะช่วยให้มนุษย์ที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ หรือรับรู้ผ่านจิตสู่จิตได้รับธรรมจากท่านได้ ก็ไม่อาจช่วยขจัดสักกายทิฏฐิให้ได้ จำต้องอาศัยมนุษย์ที่มีสังขารเหมือนกันช่วยทำลายสักกายทิฏฐิให้กัน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเกิดการกระทบกันของอีโก้หรือสักกายทิฏฐิ บางท่านได้รับการโปรดแบบจิตสู่จิตมาก่อนแล้ว เข้าถึงซึ่งธรรมระดับนิพพานได้ อุปมาดั่งบัวบาน แต่ยังมีสักกายทิฏฐิอยู่ จึงยังไม่สำเร็จธรรมแม้แต่ขั้นต้นคือ โสดาบัน แต่สังโยชน์สิบตัวอื่นๆ พร้อมจะหมดสิ้นไปได้ทันทีที่สักกายทิฏฐิหมดไป คนเหล่านี้หากไม่บรรลุธรรม ตายลง จิตวิญญาณจุติยังสุขาวดี ก็จะไปเกิดเป็นพระอรหันต์ได้ เนื่องจากสักกายทิฏฐิเป็นเรื่องของสังขาร เมื่อสิ้นสังขารลงเหลือแต่จิตวิญญาณซึ่งเป็นตัวรู้แล้ว ตัวรู้นี้ จะรู้ถึงว่าใครเป็นผู้มีธรรมจริง และตนมีธรรมจริงหรือไม่? เท่าใด ต่างจากสังขารที่ไม่รู้เรื่องนี้ เอาแต่ถึงถือตัวถือตน (สังขาร) เป็นใหญ่ ทว่า การสำเร็จอรหันต์ด้วยวิธีการไปเกิดยังสุขาวดีนั้น มิใช่ทางที่จะหลุดพ้นและได้นิพพานในแบบของพระพุทธศาสนาที่มีพระพุทธเจ้ามาเกิดเป็นมนุษย์เดินดินบนโลก แต่เป็นวิถีการเข้าถึงธรรม บรรลุอรหันต์ "แล้วยังไม่รีบนิพพาน" ในแบบ "ลัทธินิกายสุขาวดี" นั่นเอง
    ---ซ้ำถึงตรงนี้-----------------------------------
    ทางโลก เป็นกรรมของปวงสัตว์ ไม่เกี่ยวกับการสืบทอดสายธรรมของพระพุทธศาสนา คำว่า พระพุทธศาสนาหักกลางอยู่เฉพาะเรื่อง "การสืบทอดสายธรรม" ก็เท่านั้นเอง เมื่อการสืบทอดสายธรรมขาดสิ้นลงแล้ว ไม่มีมนุษย์คนใดบรรลุอรหันตผลได้อีก มนุษย์นั้นก็ไม่อาจสืบทอดธรรมอันแท้จริงต่อไปได้ แต่เทพเทวดาที่บรรลุอรหันตผล ยังอยู่บนสวรรค์ ยังมิได้สิ้นอายุ ขัยตายลง เพราะเทพเทวดามีอายุยืนนานกว่ามนุษย์ นั่นเอง ทว่า แม้สายธรรมบนสวรรค์ยังคงอยู่ แต่การต่อสายธรรมจากสวรรค์ลงมาสู่โลกมนุษย์ จะเป็นแบบ "จิตสู่จิต" คือ ระดับจิตวิญญาณเท่านั้น มิอาจทำในระดับ "สังขาร" ได้ ทำให้ "สักกายทิฏฐิ" ไม่ถูกทำลายได้ด้วยวิธีดังกล่าวนี้ จำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้ที่ถูกทำลายสักกายทิฏฐิแล้ว บรรลุธรรมสูงสุดในภาคมนุษย์แล้วคือ "อนาคามีผล" รับสืบทอดสายธรรมต่อลงมาจากสวรรค์ ก็จะบรรลุธรรมถึงขั้นอรหันตผลได้ หรือรับสืบทอดสายธรรมแท้โดยตรงจากพระพุทธเจ้าก็จะบรรลุอรหันตผลได้ เช่นเดียวกัน ดังนั้น การขจัดสักกายทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกด้วยเหตุนี้

    วิจิกิจฉา
    คือ ความเคลือบแคลงระแวงสงสัยในธรรม ที่มีผู้ได้แสดงไว้ชัดเจนดีแล้ว มิใช่ความสงสัยใคร่รู้ในธรรม หลายท่านแปลผิดไปว่าเป็นความสงสัยในธรรม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมาก ความสงสัยในธรรมนั้นช่วยทำให้เกิดปัญญาได้ แต่ความเคลือบแคลงระแวงสงสัยทั้งๆ ที่ได้เห็นธรรมชัดแล้วนั้น กลับเป็นตัวขวางกั้นการบรรลุธรรม ยกตัวอย่างเช่น หากแสดงธรรมชัดเจนดีแล้ว ผู้ฟังกลับยังระแวงแคลงใจ ก็จะไม่อาจบรรลุธรรมได้ แต่ถ้าสงสัยใคร่รู้ ถามต่อจนกระจ่าง ก็อาจบรรลุธรรมได้เพราะความสงสัยใคร่รู้นั้น ซึ่งวิจิกิจฉานี้ เกิดขึ้นจากความศรัทธาอ่อนกำลัง หรือไม่มีความศรัทธาต่อผู้แสดงธรรม ต่อให้ผู้แสดงธรรม แสดงธรรมจนชัดแจ้ง ชัดเจนดีแล้วเท่าใด ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้ เพราะขาดศรัทธา จึงแสดงออกมาเป็นความระแวงแคลงใจสงสัยในธรรมอยู่นั่นเอง ตรงกันข้ามกับในบางท่านที่อาจมีความปรารถนาสัพพัญญูญาณ อาจสงสัยใคร่รู้มากกว่าคนธรรมดา แต่ไม่ใช่ไม่มีความศรัทธาในผู้แสงดธรรมก็หาไม่ แต่ด้วยความปรารถนาอยากรู้มากนั้น ทำให้สงสัยมาก เท่านั้นเอง อย่างนี้ไม่จัดเป็นวิจิกิจฉา อนึ่ง ความสงสัยใคร่รู้ คือ หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิด "สติ" ทำให้เฉลียวใจ เอะใจ แล้วเกิดปัญญาปิ๊งตามมาในที่สุด แต่หากไม่มีความสงสัยในธรรมเลย จะไม่มีทางเกิดสติและปัญญาได้เลย บางคนอ้างว่าได้อ่านหรือฟังธรรมแล้วไม่มีความสงสัยอะไรเลย จนหลงตัวเองคิดว่าบรรลุธรรมแล้วก็มี อย่างนี้เรียกว่าไปอ่านตำรามาแล้ว พยายามทำให้เหมือนในตำรา คือ ตำราว่าผู้บรรลุธรรมจะไม่มีิวิจิกิจฉา ก็เลยทำให้เหมือนตามนั้น แต่ไม่ได้บรรลุฯ จริง

    ผู้ที่มีวิจิกิจฉามาก อาจแสดงออกมาด้วยการถกเถียงโดยไม่สนใจธรรมที่แสดง, ร้องขอให้แสดงถึงที่มาของธรรมนั้นๆ, หาหลักฐานต่างๆ มาอ้างอิงว่าจริงหรือไม่? เป็นต้น ทั้งๆ ที่ธรรมที่แสดงทั้งหลายนั้น ก็ชัดเจนดีแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกบุคคลไว้ ๔ จำพวก (แต่ไม่ใช่บัวสี่เหล่า) มีคนจำพวกหนึ่งที่ไม่อาจบรรลุธรรมได้ในชาตินี้ แม้ฟังธรรมมากเท่าใด, อ่านมาก, จำมาก, ถกเถียงมาก ฯลฯ ก็ไม่อาจบรรลุได้ บางคนเพราะมีสักกายทิฏฐิมาก, บางคนเพราะมีวิจิกิจฉามาก ฯลฯ เป็นต้น
     
  20. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279

    ศีลัพพตปรามาส
    ดั้งเดิมแปลว่า การถือศีลแบบลูบๆ คลำๆ ทำให้ไม่อาจจเข้าถึงธรรมได้ ให้ผู้อ่านเข้าใจว่าหากจะบรรลุธรรมได้จะต้องไม่ถืศีลแบบลูบๆ คลำๆ จนกลายเป็นความสุดโต่งไป คือ ถือศีลแบบเคร่งเกินไป ไม่เป็นปกติ ไม่เป็นธรรมชาติ บ้างก็ไม่สนใจ ปล่อยหย่อนยานตามใจไปเลย เพราะคิดว่าถ้าจะได้บรรลุธรรมก็ต้องถือศีลเคร่งครัด ก็เลยหมดกำลังใจ ไม่อยากปฏิบัติ ไม่อยากหวังผลไปเลยก็มี ดังนั้น จึงขอแนะนำความหมายใหม่ว่า "ศีลัพพตปรามาส" หมายถึง ความหลงผิด ในการละเว้นปฏิิบัติ (ศีล) ทำให้ ขัดขวางการปฏิบัติธรรม ขัดขวางการบรรลุธรรม เช่น การถืิอศีลของพราหมณ์เหล่าอื่นที่ถือศีลโดยขาดความเข้าใจแท้จริง จึงถือศีลอย่างเคร่งครัด ไม่เป็นปกติ ไม่เป็นธรรมชาิติ แตกต่างจากศีลตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีความเ็ป็นธรรมชาติ ตามปกติ ของผู้ที่ปฏิบัติได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว ได้มรรคผลแล้วจริง กล่าวคือ เมื่อใดได้บรรลุมรรคผลจริงในทางพระพุทธศาสนา "ศีลคือความเป็นปกติของการละเว้นกรรมบางอย่าง" ก็จะตามมาเอง อย่างเป็นธรรมชาติ เหมือนดั้งเดิมก่อนเราทำผิด เราก็ไม่เคยทำมาก่อน เมื่อเรากลับสู่ภาวะปกติได้ เราก็ไม่ทำสิ่งนั้น เช่น เดิมเราไม่รู้ว่าการโกหกคืออะไร เราไม่เคยโกหก เราก็ไม่ทำการโกหกเป็นปกติของเราอยู่แล้ว นี่ืคือ "ศีลที่แปลว่าความเป็นปกติของการละเว้นตามระดับของผู้บรรลุธรรม" เป็นแนวทางการมีศีลอย่างถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ในขณะที่พราหมณ์เหล่าอื่น ไม่ได้ทำเช่นนี้ บางเหล่าตราศีลขึ้นมาแข่งกัน อวดกัน ว่าใครมีศีลมากกว่า เช่น ศีล ห้ามกินอาหารที่หญิงมีประจำเดือนทำมาให้ เป็นต้น เป็นศีลที่ไม่ได้มาจากความเป็นปกติตามธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกปรุงแต่งใดๆ แต่เป็นศีลที่มาจากการปรุงแต่งเองภายหลัง ว่านี่คือ ศีลของเรา ศีลของฤษี ผู้ปฏิบัติธรรม คือ ความดีงามถูกต้อง ในแบบของเรา จนทำให้เคร่งครัดเกินไป ก็มี, หย่อนยานไป ก็มี  

    หลายท่านปฏิบัติ "ข้อละเว้น" (ศีล) ด้วยความเข้าใจที่ผิดๆ จนกลายเป็นอุปสรรคในการบรรลุธรรม จนไม่อาจบรรลุธรรมได้ก็มีเพราะมุ่งแต่ไปเคร่งครัดศีลอันเป็นเพียงเปลือกนอกเช่นนี้ ไม่สนใจแก่นแท้แห่งธรรม    ไม่เข้าใจความเป็นธรรมะ ธรรมชาติ ความเป็นปกติ ในการละเว้นของผู้มีธรรมบริสุทธิ์ระดับต่างๆ จึงสร้างศีลขึ้นมาปฏิบัติมากมาย ยุ่งเหยิงและกลายเป็นบ่วงภาระให้ตน จนไม่อาจบรรลุมรรคผลทางธรรม นั่นเอง

    โสดาบัน
    คือ พระอริยบุคคลขั้นที่หนึ่งในทางพระพุทธศาสนา หรือผู้ที่บรรลุธรรมขั้นแรกในสี่ขั้นของพระพุทธศาสนา นั่นเอง อันที่จริงการบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องมีเป็นขั้นๆ แต่บางท่านอาจไม่ได้ถึงที่สุดแห่งธรรมในทันที ก็อาจจะได้ขั้นใดขั้นหนึ่งก่อน โดยพระโสดาบันนั้น จะสามารถหลุดพ้นจากสังโยชน์ได้สามตัว (จากทั้งหมดสิบตัว) ได้แก่ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา และศีลัพพตปรามาส มีจิตเห็นธรรม คือตรงสู่นิพพานแล้ว แต่ยังไม่อาจหลุดพ้นจากสังโยชน์ที่เหลืออีก ๗ ประการได้ จึงสำเร็จธรรมเพียงขั้นต้น คือ พระโสดาบันเท่านั้น อนึ่ง "สักกายทิฏฐิ" หรือความถือตัวตนของตนเป็นใหญ่นั้น เป็นสิ่งที่หลุดพ้นได้ยาก และเป็นตัวที่ตรงกับ "อัตตา" ด้วย กล่าวคือ เป็นอัตตาระดับต้นหรือระดับตื้น หากบุึึคคลหลุดพ้นจากตัวนี้่ได้ ก็จะตรงทางไปสู่ความหลุดพ้นในอัตตา สิ้นอวิชชาต่อไป อันจะส่งผลให้บรรลุอรหันตผลด้วย หรือจะกล่าวได้ว่า "สักกายทิฏฐิ" เป็นตัวอัตตาระดับหยาบ ก่อนที่จะเข้าสู่อัตตาละเีอียดคือ "อวิชชา" ซึ่งอวิชชานั้นก็คือ "มโนธาตุ" หรือจิตของคนเรานี่เอง (เนื่องจากขันธ์ห้าไม่เที่ยง ย่อมดับสลายไปแต่ละชาติภพ มีเหลือแต่จิตทีุ่จุติไปเกิดยังชาติภพใหม่) เป็นตัวตนอันแท้ของเราที่แม้จะบริสุทธิ์ใสซื่อ ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยสังขารใดๆ แต่ด้วยยังไม่รู้แจ้งในนิพพานก็นับว่ายังมีอวิชชาอยู่ ดังนั้น ใครที่บรรลุโสดาบันได้ พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญว่าเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมแล้ว เพราะการบรรลุพระโสดาบันนั้น เป็นไปได้ยากยิ่ง

    หากจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าพระโสดาบัน เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้นใน "อัตตา" ระดับตื้นเบื้องต้น คือ หลุดพ้นจากอำนาจแห่งสักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผูกติดกับส่วนของกายสังขาร แต่ยังไม่หลุดพ้นจากอำนาจของอัตตาในระดับละเอียดคือ "อวิชชา" หรือตัวตนในระดับจิต ก็จะทำให้อนุมานได้ว่าบุคคลที่ยังไม่บรรลุึถึงขั้นพระโสดาบัน จะยังไม่รู้จักความหลุดพ้นจากอัตตาบ้างเลย คือ ยังหลงวนหรือยึดติดในตัวตนของตน ว่าตนเป็นสำคัญ, ตนเป็นใหญ่, ตนรู้มาก, ตนเก่งกล้า, ตนมีญาณมากมาย, ตนอาวุโสกว่า ฯลฯ เป็นต้น แต่พระโสดาบันเข้าถึงซึ่งความหลุดพ้นในตัวตน (อัตตา) แล้ว แม้ไม่แทงตลอดถึงที่สุดแห่งธรรม ก็นับว่ายังได้ในระดับต้น ส่งผลให้จิตตรงต่อธรรม ตรงต่อนิพพาน ไม่มีวิจิกิจฉา เคลือบแคลงในธรรม ไม่มีศีลัพพตปรามาส คือ การปฏิบัติเพื่อการละเว้นอันผิดไป ไม่ตรงทางต่างๆ เช่น ถือศีลเคร่งเกินไป หรือหย่อนยานเกินไป เ็ป็นต้น อนึ่ง ในบางท่าน ถูกทำลายสักกายทิฏฐิแล้วแต่จิตไม่ตรงธรรม ไปตรงอย่างอื่นก็มี เช่น คนที่นับถือศรัทธาอาจารย์ของตนอย่างยิ่ง แต่จิตไม่ตรงธรรม อย่าง องคุลีมาล เป็นต้น อย่างนี้ ก็ยังไม่นับว่าบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันได้ แม้ว่าจะหลุดพ้นจากความถือตัวถือตน หมดสักกายทิฏฐิแล้วก็ตาม

    กามฉันทะ
    คือ หนึ่งในสังโยชน์ เครื่องร้อยรัด อันเกี่ยวเนื่องด้วย "ความพึงพอใจ" นิยมยินดี, รักใคร่ ฯลฯ ซึ่งบุคคลมีต่อสิ่งใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนรัก, สิ่งของ หรือสถานที่ เมื่อกามฉันทะอันเป็นเครื่องร้อยรัด พัวพันเข้ากับบุคคลใดแล้ว เขาย่อมรู้สึกเหมือนกับว่าถ้าเข้าสู่ธรรมแล้วจะต้องตัดขาด, ละทิ้ง, หรือสละซึ่งสิ่งเหล่านั้นไป แท้จริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหลาย ล้วนไม่เที่ยงอยู่ในสัจธรรมความจริง ซึ่งสัจธรรมนี้มีอยู่ในทุกสิ่งอยู่แล้ว แน่นอนว่าทุกสิ่งแม้ว่าเราจะชอบ, นิยมยินดี เพียงใด แต่สิ่งเหล่านั้นก็ล้วนไม่เที่ยง มีอันต้องพัดพราก, หมดสิ้น, ดับสลาย, จากกันไปในวันหนึ่ง ไม่อาจยึดมั่นเป็นสรณะอันเที่ยง, เป็นตัวเราของเราได้ ซึ่งผู้มีปัญญารู้แจ้งในธรรมเช่นนี้แล้ว ย่อมไม่ได้กระทำการณ์อื่นใด อันเป็นไปเื่พื่อความเอนเอียง ในฝ่ายยึดครองหรือต้องละทิ้ง เพราะทุกสิ่งถ้าจะอยู่ จะมี เป็นเหตุใกล้เรา มันก็จะอยู่ จะมี ต่อไปเป็นเหตุใกล้เรา และถ้าสิ่งใด จะไม่อยู่ ไม่มี เป็นเหตุใกล้เรา ถึงวาระ ย่อมไม่อยู่ ไม่มีเป็นเหตุใกล้เราเอง คือ ถ้ามันจะอยู่ ก็อยู่ ถ้ามันจะไป ก็ไป ไม่ใช่ให้ไปสละมันทิ้ง เอามันออกไป หรือทำลายให้มันหมดสิ้นไปก็หาไม่ ถึงวาระอนิจจัง มันก็ดับ หมด จบ ลงไปเองตามความไม่เที่ยงนั้น โดยที่เราไม่ต้องไปทำการตัด, สละ, ละทิ้ง, ปฏิเสธ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เลย เพียงมีปัญญาแจ้งเห็นความไม่เที่ยง ก็พอ

    ทว่า เมื่อ "กามฉันทะ" อันเป็นสังโยชน์เครื่องร้อยรัด มีอำนาจ มีอิทธิพล ต่อบุคคลใดๆ แล้ว มันจะทำให้บุคคลนั้นๆ ไม่อยากบรรลุธรรม, ไม่อยากเข้าถึงธรรม ด้วยมันพัวพันรัดรึง ผูกจิตใจว่า ถ้าเข้าสู่ธรรมแล้ว จะต้องสูญเสีย, สละ, ตัดขาด หรือปฏิเสธ สิ่งต่างๆ ที่ตนมีกามฉันทะด้วยนั้น เช่น ถ้าบรรลุธรรมแล้ว ต้องสละลูกเมียที่รักไปบวช, สละหน้าที่การงาน, เงินทองลาภสักการะ, ชื่อเสียงเกียรติยศ ฯลฯ ไปบวชหรือไม่ ซึ่งแท้จริงแล้ว ไม่มีความจำเป็นเลย แต่ด้วยอำนาจของกามฉันทะนี่แหละ ที่จะผูกมัด ร้อยรัด ให้บุคคลไม่อยากเข้าถึงธรรม ไม่อยากบรรลุธรรม ด้วยจิตคิดอยู่ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เคยเป็นที่รักของตน ที่ตนไม่อยากเสียมันไป นั่นเอง ในบางท่านสุดโต่งไปทางปฏิเสธ และมองสิ่งต่างๆ ที่เคยรัก, เคยชอบ, เคยนิยม ว่าเป็นลบ, เป็นสิ่งไม่ดี, เป็นสิ่งขัดขวางธรรม ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้นล้วนไม่ใช่สาเหตุ แต่จิตที่ไม่แจ้งในธรรมของบุคคลนั้นต่างหาก ที่เป็นเหตุ ขัดขวางให้บุคคลไม่หลุดพ้นจาก "กามฉันทะ" อันเป็นเครื่องร้อยรัดนั้น

    ปฏิฆะ
    คือ สังโยชน์เครื่องร้่อยรัดชนิดหนึ่งอันก่อให้เกิดผลเป็นความโกรธ เป็นต้น ทั้งนี้ ปฏิฆะ ไม่ใช่ตัวความโกรธโดยตรง แต่เกิดร่วมกับความโกรธได้ โดยปฏิฆะนั้นเป็นนิสัยความเคยชิน ที่ทำให้บุคคลถูกผูกมัด พัวพันไปด้วยพฤติกรรมเดิมๆ คือ การปะทะ, ความขัดแย้ง, การปฏิเสธ, การไม่ยอมรับฟัง, การติดวิสัยโต้แย้ง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อบุคคลติดวิสัยอย่างนี้ ถูกผูกมัดพัวพันด้วยวิสัยอย่างนี้ จึงไม่ทันฟังธรรมให้ลึกซึ้งแจ้งแทงตลอดได้ มักจะโต้แย้ง, ขัดแย้ง, ปะทะ, ปฏิเสธ, ไม่ยอมรับ ฯลฯ อยู่เนืองๆ ทำให้ไม่อาจที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไปได้ หากบุคคลยังมีปฏิฆะมากแล้ว อาจบรรลุธรรมได้สูงสุดเพียง "สกิทาคามี" ก็ไม่อาจบรรลุธรรมสูงไปกว่านี้ได้อีก โดยพระสกิทาคามีจะทำให้ ปฏิฆะ และ กามฉันทะ ค่อยๆ เบาบางลงไป บางครั้งจะพบว่าพระโสดาบันจะมีปฏิฆะมาก ชอบโต้แย้งมาก ชอบปะทะถกเถียงมาก ในขณะที่พระสกิทาคามีจะน้อยลง แต่จะมี "การกระทบกระทั่งภายในตัวเอง" มากขึ้นแทนที่จะกระทบกระทั่งกับบุคคลภายนอก หากลองทดสอบผู้ที่ชอบโต้แย้ง, ชอบปะทะ, ชอบกระทบกระทั่ง (มีปฏิฆะ) มาก เหล่านี้ แล้วพบว่าเขาไม่ได้มีสักกายทิฐิ ถือตัว และเมื่อได้เห็นธรรมที่เราแสดง จิตเขาก็น้อมตรงธรรมเสมอ นั่นแสดงว่าอาจเป็นพระอริยบุคลขั้นใดขั้นหนึ่งได้ แต่ถ้าจิตไม่น้อมตรงต่อธรรม ทั้งๆ ที่แสดงธรรมชัดเจนแล้ว ไม่น้อมเข้าสู่ตัว สอนตัวเอง กลับฟุ้งออกไปแสวงหาธรรมอื่นที่มากขึ้น หรือธรรมนอกตัว หรือแทนที่จะเอาธรรมน้อมเข้าตัว สอนตนเอง กลับเอาไปสอนคนอื่นแทน นั่นไม่ใช่ลักษณะของพระอริยบุุคคลเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...