พระไม่ทุกข์ "พ่อท่านผอม ถาวโร" พระแท้คือผู้มีหัวใจว่างเปล่า

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Wajula, 22 พฤษภาคม 2018.

  1. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    BFFFB132-1F51-46EC-9912-AF0D4879D389.jpeg กราบหลวงปู่พ่อท่านผอม
     
  2. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    พระจี้กง แห่งเมืองคอน

    423A2682-3A0B-4874-8473-5ACE700E7530.jpeg 52E1E7EC-5354-4FCF-AE50-775E57FCC172.jpeg
     
  3. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    A65E26E1-56FD-45BB-A9A7-3158D7C5751D.jpeg 81F4B8FB-86D2-45EB-99AF-5CC59EB0E453.jpeg เหรียญวาจาสิทธิ์ เนื้อตะกั่ว หลังเรียบ
    หลวงปู่ท่านลงเหล็กจาร พร้อมทั้งมีเกสาและจีวร ของหลวงปู่ที่ด้านหลังเหรียญ
     
  4. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    93F200F3-5B13-474A-9F52-5304E5D17529.jpeg -----------------------------------------

    "งามดีจริง"

    -----------------------------------------

    เวลาที่พ่อท่านอารมณ์ดีเบิกบาน พวกเราจะพยายามขอให้ท่านเขียนธรรมะบันทึกไว้ในสมุด ช่วงหลังๆท่านจะไม่ค่อยชอบเขียน ท่านบอกว่า "ลายมือกูไม่สวย" เราเลยบอกท่านว่าเขียนเท่าที่ได้เลย ต่อไปคนรุ่นหลังจะได้รู้ว่าพ่อท่านสอนอะไร

    หน้าหนึ่งในสมุดบันทึก ท่านเขียนว่า "งามดีจริง" แต่ยังไม่เคยขยายความให้ฟัง วันหนึ่งหลังจากสวดมนต์เย็นก็ได้มีโอกาสสนทนา พ่อท่านได้พูดถึงคำนี้ขึ้น

    "มึงรู้ไหม? งามดีจริง"

    "อะไรหรือครับ?"

    "สิ่งที่ทำให้งาม ทางที่ทำให้ดี และเป็นความจริง"

    "ยังไงครับ?"

    "ธรรมะทำให้งามด้วยความประพฤติ ธรรมะเป็นทางแห่งความดี ธรรมะเป็นเรื่องของความจริง เรียกว่า งามดีจริงเว๊ย!!"

    -----------------------------------------
    เครดิจภาพ : Sitthi Sutthiamporn
    เครดิตเรื่องราว พี่หมู นภดล
     
  5. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    497E97C9-996A-4C9D-B56D-D5714F9DCC10.jpeg ----------------------------------------

    "พระอริยสงฆ์แห่งพงไพร"

    ----------------------------------------

    แรกเริ่มเดิมทีในอดีตโบราณกาลตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทางคณะสงฆ์ท่านแบ่งไว้ ๒ ฝ่ายคือ

    ๑.) ฝ่ายคามวาสี คือผู้อยู่ในหมู่บ้าน ในชุมชน ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า "พระบ้าน" กิจวัตรประจำคือเน้นหนักในทาง "คันถธุระ" คือศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีภารกิจคือการบริหารปกครอง การเผยแผ่ธรรม และการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นหลัก

    ๒.) ฝ่ายอรัญวาสี คือผู้อยู่ในป่า ห่างชุมชนหรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า "พระป่า" ซึ่งมีกิจวัตรประจำวันเน้นหนักไปในทาง "วิปัสสนาธุระ" คืออบรมจิต เจริญปัญญา นุ่งห่มด้วยผ้าสีกรัก ถือธุดงควัตร มุ่งเน้นต่อการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่เป็นหลัก ไม่เน้นงานด้านการบริหารปกครอง การศึกษาพระปริยัติธรรม และสาธารณูปการหรือการก่อสร้างพัฒนาวัด

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านได้ตั้งวงศ์ "ธรรมยุติกนิกาย" ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๙ แยกจากฝ่าย "มหานิกาย" เดิม จึงมักแบ่งกันว่าธรรมยุติคือพระป่า มหานิกายคือพระบ้าน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะในฝั่งธรรมยุตินิกายก็มีทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสี

    ส่วนฝั่งมหานิกายเองก็มีทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีเช่นกัน จึงไม่อาจเรียกตามนิกายได้ว่าเป็น "พระป่า" หรือ "พระบ้าน" ดังที่หลายคนเข้าใจ

    แต่ความเป็น "พระป่า" นั้น ย่อมเกี่ยวข้องกับข้อวัตรปฏิบัติหนึ่งที่เรียกว่า "ธุดงควัตร ๑๓ ประการ" คือ

    ๑.) ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒.) ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
    ๓.) ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๔.) ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
    ๕.) ถือการฉันมื้อเดียวเป็นวัตร
    ๖.) ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
    ๗.) ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
    ๘.) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    ๙.) ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
    ๑๐.) ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้ง ไม่เข้าที่มุงบังเป็นวัตร
    ๑๑.) ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    ๑๒.) ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
    ๑๓.) ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร

    ซึ่ง "ธุดงควัตร" เป็นเครื่องมือขัดเกลาแผดเผากิเลส เป็นข้อปฏิบัติที่เข้มข้นเพื่อการหลุดพ้นถึงที่สุดแห่งทุกข์ ที่คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยในแนวทางพระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต นั่นเอง

    ความเป็น "พระป่า" จึงถือเอาข้อวัตรปฏิบัติทาง "ธุดงควัตร" เป็นเกณฑ์ ทางฝั่ง "มหานิกาย" ที่เป็นพระป่าก็มี เช่น ทางภาคเหนือ ที่เรียกพระผู้อยู่ป่าเป็นวัตรว่า "ครูบามหาป่า" หรือ บ้างก็เรียกว่า "พระในดง" เป็นต้น

    ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นนิกายใดๆก็ตาม หากยังมีพระผู้ประพฤติปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัย ก็ย่อมบังเกิดพระสุปฏิปันโนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้เป็นเนื้อนาบุญแก่โลกได้เช่นเดียวกัน

    ทำไม? จึงต้องมาเอ่ยถึงเรื่องนี้ ก็เพื่อจะบอกกับทุกท่านว่า "พ่อท่านผอม ถาวโร" ท่านเป็น "พระป่า" อย่างแท้จริงและเต็มภูมิ เพราะตลอดชีวิตสมณเพศของท่าน ถือการอยู่ป่าบ้าง อยู่โคนต้นไม้บ้าง อยู่ป่าช้าบ้าง วัดร้างเรือนว่างบ้าง เป็นวัตรปฏิบัติของท่าน ท่านเดินธุดงค์ภายในป่าลึกด้วยเท้าเปล่าๆไม่มีรองเท้า ไม่มีย่าม มีเพียงกลด กาน้ำ บาตร และมีดโกน เท่านั้น

    พ่อท่านเคยพูดถึงการตัดสินใจออกธุดงค์ของท่านว่า

    "กูตัดสินใจตายเว๊ย!!.. ตายจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เข้าป่าไปหาธรรมต้องไปคนเดียว อาวุธของพระธุดงค์ คือศีล คือธรรม และคาถาเว๊ย!!"

    "แล้วทำไมต้องเข้าป่าล่ะครับ?"

    "มึงก็ดูสิ..ขนาดพระพุทธเจ้าเป็นถึงกษัตริย์ยังสละราชสมบัติ มาอยู่ในป่า ตลอดพระชนม์ก็อยู่ในป่าตลอด มึงเห็นวัดต่างๆที่ท่านอยู่ไหม? เชตวัน เวฬุวัน ลงท้ายว่า "วัน" คือ "วนา" มันก็คือป่าทั้งนั้น กูนี่ทำตามท่านเลยนิ"

    พ่อท่านใช้ชีวิตธุดงค์อยู่ในป่าเพียงองค์เดียวมากกว่าอยู่ในวัดเสียอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าในภาคใต้ ที่เป็นป่าหนาทึบดงดิบมาก ยิ่งหากย้อนเวลากลับไปเมื่อ ๕๐-๖๐ ปีก่อนด้วยแล้ว คงจะลึกลับน่ากลัวกว่าทุกวันนี้มาก ชุกชุมด้วยสิงสาราสัตว์ สัตว์ป่า งู เสือ ช้าง หมี เต็มไปด้วยอันตรายสิ่งลี้ลับอย่างที่สุด

    แม้เวลาที่พ่อท่านออกจากป่ามาพักอาศัยภายในวัด ท่านก็มักจะปักกลดอยู่ในเปลว(ป่าช้า) บ้าง ศาลาปลายทาง (ศาลาที่พักศพ) บ้าง ขนำร้างบ้าง หรือใต้ต้นไม้ที่พอจะปักกลดได้

    เส้นทางการเดินธุดงค์ของพ่อท่านเอง ก็ไปทั่วทุกภาคก็ว่าได้ ทางเหนือถ้ำเชียงดาวก็เคยไปอยู่ ทางอิสานก็เคยไปถึงเขมรลาว ทางใต้ถึงมาเลเซีย ที่น่าแปลกใจ คือท่านเดินธุดงค์ข้ามพม่าไปถึงอินเดีย เพื่อไปสักการะสังเวชนียสถานด้วยเท้าเปล่าๆมาแล้ว

    โกหว่า ทุ่งสง ก็เคยบอกว่า

    "อาจารย์ผอมหาตัวยาก อยู่ไม่เป็นที่ เข้าป่าตลอด ไม่รู้จะไปตามที่ไหน?"

    โกวัน ร้านแสงฟ้า เล่าว่า

    "สมัยผมเป็นวัยรุ่นไปเดินตลาดที่สิชล ชาวบ้านเขายิงเสือบ้าง หมีบ้าง มาขายตามสองข้างทางเยอะจริงๆ ขนาดผมเดินในตลาดยังเยอะขนาดนี้ แล้วสมัยก่อนพ่อท่านเดินอยู่ในป่า ท่านต้องเจอเสืิอเยอะกว่าผมแน่ ถ้าท่านไม่เก่งจริงคงไม่รอด ป่าเมืองปักษ์ใต้ขึ้นชื่อเรื่องอาถรรพ์อยู่แล้ว"

    ผมเคยถามท่านว่า

    "แล้วเวลาพ่อท่านอยู่ในป่าลึกๆ ไม่มีบ้านคน จะมีอะไรให้ฉันหรือครับ?"

    "มีคนมาใส่บาตรให้กูกินอยู่"

    "ในป่าลึกขนาดนั้น ยังจะมีคนอาศัยอยู่หรือครับ?"

    "มึงรู้จักคนธรรพ์ไหม? ข้าวก้อนเดียวกูอิ่มไปหลายวัน"

    "...."

    คำตอบของพ่อท่านทำเอาผมอึ้งไปเหมือนกัน สมัยเด็กๆเคยอ่านหนังสือว่าพระธุดงค์ในป่ามีรุกขเทวดามาใส่บาตร ไม่คิดว่าเรื่องอัศจรรย์แบบนี้จะเกิดกับพ่อท่านผอมด้วยเช่นกัน

    เรื่องราวของพ่อท่าน ฟังดูมันช่างสลับซับซ้อน เต็มไปด้วยความลี้ลับมหัศจรรย์ แม้แต่เรื่องเสกหมากรักษาโรคท่านก็เคยบอกว่าท่านได้วิชานี้จากในป่า

    ต้องบอกว่ากว่าครึ่งค่อนชีวิตของพ่อท่านอยู่คนเดียวในป่ากับการฝึกฝนค้นหาทางพ้นทุกข์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก แล้วอย่างนี้ท่านจะใช่ "พระป่า" หรือเปล่าหนอ?

    ---------------------------------------
    เครดิต : ภาพเก่าๆไม่ทราบที่มา
    เครดิตเรื่องราว : พี่หมู นภดล
     
  6. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    หลวงปู่ท่านเมตตามากๆครับ เวลาท่านยิ้ม ความทุกข์ที่มีมานี่หายไปมากกว่าครึ่ง
     
  7. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    4E24FB12-DB14-406D-A725-7D9A43FAEFC7.jpeg หลายวันก่อนผมมีโอกาสได้กราบสนทนากับพระอาจารย์มานิตย์ ที่วัดเงินฯ ตลิ่งชัน แล้วเผอิญท่านเหลือบมาเห็นแหวนของท่านพ่อผอมที่ผมสวมอยู่ในมือ พระอาจารย์ท่านก็เลยถามผมว่า “นั่นใช่แหวนของพ่อท่านผอมมั้ย” ผมก็ตกใจปนดีใจที่พระอาจารย์ท่านรู้จักท่านพ่อผอมด้วย

    ผมเลยถือโอกาสกราบเรียนถามท่านถึงต้นสายปลายเหตุว่าท่านรู้จักกับท่านพ่อผอมได้อย่างไร ท่านก็เลยเมตตาเล่าว่า ท่านรู้จักกับลูกบุญธรรมของท่านพ่อผอมมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว และก็ยังเคยเจอกับท่านพ่อผอมในงานพุทธาภิเษกที่วัดเจดีย์(ไอ้ไข่) ท่านจึงทราบถึงคุณธรรมอันประเสริฐของท่านพ่อผอมเป็นอย่างดี

    ระหว่างที่สนทนากันนั้น พระอาจารย์ท่านก็ชี้ไปที่อักขระที่ตรงผนัง(เป็นผ้ายันต์ที่ท่านอาจารย์มานิตย์เขียนเอง แต่มีอักขระที่หน้าตาค่อนข้างแปลกไปจากปกติ จากความรู้ของผม คิดว่าไม่น่าใช่อักขระขอม หรือตัวธรรมทั่วๆไป) พร้อมทั้งกล่าวว่า”เห็นอักขระที่อยู่ตามผนังนี่ไหม เป็นอักขระโบราณนะ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครรู้จักแล้ว แต่รู้มั้ยว่าอักขระที่พ่อท่านผอมท่านใช้ เก่าแก่กว่านี้มาก” ท่านยังกล่าวอีกว่า”การเรียนวิชาอาคมเนี่ย ต้องเริ่มจากการจําบทคาถา การศึกษาขั้นตอน และฝึกใช้ให้ช่ำชอง กว่าจะฝึกได้แต่ละขั้นไม่ใช่ง่าย เพราะต้องอาศัยความเข้าใจในกลเม็ดต่างๆที่ซ่อนอยู่ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยกําลังสมาธิที่มั่นคง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง หากเรามีความชํานาญมากพอ ก็สามารถกําหนดจิตอธิษฐานได้ตามประสงค์ โดยไม่ต้องเสียเวลามาก” ท่านเมตตากล่าวเพิ่มเติมว่า”พ่อท่านผอมก็องค์นึง พวกเราศิษย์รุ่นหลังมาเห็นเฉพาะตอนที่ท่านฝึกสําเร็จแล้ว ไหนเลยจะรู้ว่ากว่าท่านจะมาถึงจุดนี้ ท่านต้องฟันฝ่าอุปสรรคมามากเท่าไหร่”

    การสนทนาในวันนั้นทําให้ผมหวนนึกถึงเหล่าตัวละครเอกในนิยายจีนกําลังภายใน ที่ฝึกฝนจนบรรลุถึงขั้นสูงสุดของวรยุทธ์ เช่น “กระบี่มารต๊กโกวคิ้วปั้ย” ที่ในมือไร้กระบี่แต่เหนือกว่าคนมีกระบี่ หรือ “ท่านปรมาจารย์เตียซําฮงแห่งบู๊ตึ๊ง” ที่แม้แต่ศิษย์เอกของท่านยังกล่าวว่า”ยิ่งเรียนรู้วิชาจากท่านผู้เฒ่า ยิ่งรู้สึกว่าตนช่างขลาดเขลา เหมือนเดินถอยหลังอยู่ก็มิปาน”

    และผมก็เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าหลวงปู่ผู้เฒ่าของเรา ท่านยังคงสงวนท่าทีของท่านไว้ ความไพศาลของวิชาที่ท่านเข้าถึง ถูกซ่อนไว้ภายใต้รอยยิ้มและอารมณ์ขันที่ท่านมอบให้กับผู้มาเยือน ประดุจดังพญามังกรที่ซ่อนเล็บไว้ภายใต้ท่วงท่าเริงระบํา
    เครดิต : คุณ Titi Bunsan
     
  8. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    5065B2E2-F5A3-40D3-B81D-FB0005BDEDAC.jpeg
     
  9. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    280B30A7-6BD0-41A2-816F-BC44B6F79E01.jpeg -----------------------------------------

    "พระไม่ทุกข์"

    -----------------------------------------

    ชื่อนี้พ่อท่านตั้งของท่านขึ้นมาเอง ท่านบัญญัติคำนี้แทนตัวท่านตั้งแต่สมัยที่อยู่วัดไทรขามแล้ว แต่ก่อนหน้านี้เมื่อครั้งที่อยู่วัดไทรขาม ท่านมีเขียนลงชื่อว่า "พระไม่อ้วน" บ้าง เป็นอารมณ์ขันของพ่อท่าน

    เหตุที่พ่อท่านระบุชื่อแทนตัวท่านอย่างนี้ เคยถามพ่อท่านว่า

    "พระไม่ทุกข์ ที่พ่อท่านเขียนมันสื่อถึงอะไรครับ?"

    ท่านยิ้มๆตอบว่า

    "ก็กูไม่มีทุกข์นิ.. มีแต่สนุกอย่างเดียวเว๊ย!!"

    "ทำไมถึงไม่มีทุกข์ได้ครับ?"

    "ปล่อยวาง ให้ถึงความว่างแล"

    แล้วท่านก็พูดต่อ

    "เมื่อว่างจากโลภะ โทสะ โมหะ ก็คือว่างจริงมันเป็นคำเดียวกัน เมื่อนั้นความทุกข์ทั้งปวงก็หมดไป แม้แต่กรรมก็หมดไปเอง"

    "แล้วทำไมกรรมถึงหมดไปด้วยล่ะครับ?"

    "เพราะกรรม มันให้ผลแค่เรื่องทางกาย แต่ที่มึงเป็นทุกข์เพราะใจมึงยึดกายว่าเป็นตัวกูของกู มันเลยพามึงเป็นทุกข์เว๊ย!!"

    "ถ้าอย่างงั้นวิหารธรรมของพ่อท่านคือความว่างเป็นสูญญตาธรรม ใช่ไหมครับ?"

    "อือ.. แม้แต่ว่างก็ไม่มีนั่นแหละ ถึงจะว่างจริง!!"

    -----------------------------------------
    เครดิตภาพ : พี่ แล่ม จันท์พิศาโล (คมชัดลึก)
    เครดิตเรื่องราว : พี่หมู นภดล 280B30A7-6BD0-41A2-816F-BC44B6F79E01.jpeg
     
  10. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    FBFCFDFC-54EA-4372-A0F9-C5E021D86C1D.jpeg E7887A30-8476-45E6-A67D-077ED93CDF78.jpeg C43661A7-86F0-4658-9BB1-F9149880A332.jpeg A87E8DFD-D5F2-474B-87CE-8D077CF014E6.jpeg FBFCFDFC-54EA-4372-A0F9-C5E021D86C1D.jpeg E7887A30-8476-45E6-A67D-077ED93CDF78.jpeg C43661A7-86F0-4658-9BB1-F9149880A332.jpeg A87E8DFD-D5F2-474B-87CE-8D077CF014E6.jpeg 0FFC835E-3326-4B1B-9A3A-1F257311B489.jpeg 0FFC835E-3326-4B1B-9A3A-1F257311B489.jpeg ----------------------------------------

    "เรื่องการประพฤติปฏิบัตินั้น หากถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง!!"

    -----------------------------------------

    เป็นคำพูดที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ตอบเพื่อคลายความสงสัยในใจเรื่องของนิกายแก่หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ซึ่งหลวงพ่อชาเองท่านก็เป็นพระฝ่ายมหานิกาย คำตอบของหลวงปู่มั่นรวมความไว้ครบถ้วน แก้ข้อสงสัยเรื่องนิกายได้อย่างสมบูรณ์

    "ตราบใดยังมีผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ตราบนั้นโลกย่อมไม่ว่างเว้นจากพระอรหันต์"

    เมื่อก่อนผมเองก็เป็นคนที่ยึดมั่นพระสายวัดป่ามาก เพราะความชื่มชอบชื่นชมในข้อวัตรปฏิบัติสงบสันโดษ ถูกจริตของเรา จนลืมคิดไปเหมือนกันว่าฝ่ายมหานิกาย ก็ยังมีพระอริยสงฆ์อีกมากมาย เช่น หลวงปู่ศุข หลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงปู่ดู่ ครูบาพรหมจักร ครูบาอินทจักร ฯลฯ

    ยิ่งเรื่องราวพระสายใต้เองด้วยแล้ว ยิ่งไม่ค่อยจะได้ยิน เรื่องเกี่ยวกับธรรมะมากนัก ผมมักได้รับรู้แต่เรื่องความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นไปในแนวทางพระเกจิอาจารย์ผู้ขมังเวทย์ซะมากกว่า

    จนวันหนึ่ง ผมได้มาพบกับ "พ่อท่านผอม ถาวโร" ที่ศาลาปลายทางวัดไทรขาม คำพูดของท่านเป็นธรรมะทั้งสิ้น เวลาถามคำถามและคำตอบที่รู้สึกได้ว่าลึกซึ้ง ในแนวทางของผู้ปฏิบัติอย่างแท้จริง ข้ออรรถข้อธรรมที่เป็นลุ่มลึกด้วยรูปแบบภาษาของท่านเอง

    การพบเจอท่าน ทำให้ความคิดผมเปลี่ยนไปในทันที รู้สึกว่าเรายังเป็นผู้คับแคบอยู่ ลีลาท่วงท่ากิริยาของพ่อท่านเป็นเรื่องสนุกสนานมาจากหัวใจที่เบิกบานไร้ซึ่งความทุกข์ ภายนอกนั้นท่านอาจจะดูชอบเรื่องสนุกสนาน ดูแปลกและแตกต่างจากพระทั่วๆไป แต่คุณธรรมภายในท่านเป็นอีกเรื่องหนึ่ง นี่คงเป็นสาเหตุที่คนเรียกขานท่านว่า

    "พระจี้กงแห่งเมืองคอน"

    ยิ่งได้ฟังเรื่องราวหลากหลายแง่มุมจากชาวบ้าน จากลูกศิษย์ จากคนที่ประสบพบเจอมากับตัวเองเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหมือนได้ฟังเรื่องราวแฟนตาซี น่ามหัศจรรย์อย่างมาก จะเรียกว่า "เหลือเชื่อ!!" ก็ว่าได้

    "พระอภิญญา" กับ "พระอริยสงฆ์" เป็นคนละอย่าง พระบางรูปท่านมีอภิญญา แต่อาจไม่ใช่พระอรหันต์ หรือบางทีพระอรหันต์บางองค์ไม่มีฤทธิ์อภิญญาก็มีเช่นกัน แต่หากปรากฏทั้งสองสิ่งในตัวท่าน ก็ต้องเรียกว่า "วิเศษ" ที่สุด

    เมื่อประมาณ ๓ เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่พ่อท่านผอมป่วย ต้องพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลเกือบเดือน กลับมาพักรักษาตัวที่สำนัก ผิวท่านแห้งมากและหลุดร่วงเป็นเศษเล็กเศษน้อยบนที่นอน

    "หลวงพ่อไปย่ำทรายที่ไหนมาค่ะ?"

    "ม่ายย... มันออกมาจากตัวกูเนี่ย"

    พี่เปิ้ลผู้ดูแลได้เก็บเศษผิวหนังกำพร้าที่ร่วงรวมๆไว้ในผอบ หลังจากนั้นไม่ถึงอาทิตย์ พี่เปิ้ลก็หยิบผอบมาให้พวกเราดู ปรากฏว่าเศษหนังกำพร้าได้แปรสภาพเป็นเกล็ดเล็กๆ ใสเป็นแก้ว ดังภาพที่ท่านเห็น ถ้าในสายวัดป่าเขาเรียกกันว่าแปรสภาพเป็น "พระธาตุ" มีลักษณะใสเป็นแก้ว

    ใช่ครับ!!... เศษหนังกำพร้าของพ่อท่านผอม แปรสภาพเป็น "พระธาตุ"

    วันนี้หลักฐานยืนยันแสดงถึงความบริสุทธิ์หมดสิ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวงเกิดขึ้นกับพระเกจิสายใต้รูปหนึ่งนาม "พ่อท่านผอม ถาวโร"

    ตามที่หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เคยกล่าวเอาไว้ว่า

    "จิตที่บริสุทธิ์แล้ว ย่อมฟอกธาตุฟอกขันธ์ให้บริสุทธิ์ไปตามส่วนธาตุขันธ์ จนสะอาด ส่วนหนึ่งส่วนใดแปรสภาพเป็นพระธาตุ ย่อมตีตราชัดว่าท่านเป็นพระอรหันต์ จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้!!"

    "สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ สังฆังนมามิ"

    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิบัติชอบ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์หมู่นั้น

    ---------------------------------------
    เครดิตเรื่องราว : พี่หมู นภดล
     
  11. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    -----------------------------------------

    "พวกมึงมันโง่!!"

    -----------------------------------------

    ขึ้นชื่อว่าอิทธิฤทธิปาฏิหาริย์ เรื่องนอกเหตุเหนือผลเหนือธรรมชาติ ย่อมเป็นความตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่ได้ยินได้ฟัง

    สมัยก่อนที่พ่อท่านผอมยังอยู่ที่วัดหญ้าปล้อง เรื่องราวสุดแฟนตาซีของท่านเลื่องลือไปทั่วในดงโจรคอมมิวนิสต์ในพื้นที่สีแดง เรียกว่าเล่ากันสามสี่วันไม่จบเลยทีเดียว

    เมื่อครั้งที่พ่อท่านขึ้นมาพักรักษาตัวอยู่ที่เรือนสามิธรรม ศรีราชา วันหนึ่งไฟฟ้าดับทั้งบ้าน นายสิงห์ ผู้ดูแลขึ้นมาดูเมนเบรคเกอร์ของบ้านก็ตัดไฟหมด นายสิงห์ก็ขึ้นไปดูพ่อท่านว่าเป็นอย่างไร เปิดประตูห้องเข้าไปก็เห็นท่านก็นอนอ่านหนังสือตามปกติ เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศกับโคมไฟหัวเตียงท่านยังทำงานตามปกติ ก็เดินลงมาซ่อมไฟข้างล่าง เสร็จเรียบร้อยไฟก็ใช้งานได้ตามปกติ

    วันหนึ่งของการสนทนา ได้คุยสัพยอกกับพ่อท่านว่า

    "เมื่อก่อนได้ยินชาวบ้านร่ำลือว่าพ่อท่านอิทธิฤทธิ์เยอะ เดี๋ยวนี้ไม่เห็นแสดงให้ดูบ้างเลย"

    ท่านหัวเราะแบบเยาะๆ ตอบพวกเรากลับมาว่า

    "พวกมึงมันโง่!!... มึงจำวันที่ไฟดับได้ไหม? นั่นแหละ"

    พวกเรานั่งนึกทบทวนงงๆอยู่พักนึง แล้วก็ต้องประหลาดใจตามที่ท่านบอกจริงๆ แต่วันนั้นกลับไม่มีใครฉุกคิดอะไร ไฟทั้งบ้านดับแต่ทำไม?ไฟในห้องท่านกลับไม่ดับ ทั้งที่เมนเบรคเกอร์ของบ้านก็ตัดไฟ

    "พวกมึงมันชอบกันจริงนะ เรื่องแบบนี้"

    เราก็ได้แต่ตอบกลับท่านไปแบบงงๆว่า

    "ครับ!!"

    ที่พ่อท่านว่าพวกเรามันโง่นั้น มันถูกต้องแล้ว เราเถียงท่านไม่ได้เลย

    -----------------------------------------
    เครดิตภาพ : Sitkonbaht Pramaitook

    เครดิตเรื่องราว : พี่หมู นภดล


    BC0BF8A5-5A16-4E65-ADA5-629F83B43C85.jpeg
     
  12. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    120E6F25-9A16-4A4F-9D6E-62198A2010B5.jpeg 2F77FB72-0D59-4C3C-9BCD-F401E0AE879C.jpeg เปิดดูไฟล์ 4964794 เปิดดูไฟล์ 4964795 ภาพถ่ายเมื่อวันสรงน้ำปีนี้ (๑๕ เมษายน ๖๒) ชอบภาพนี้ที่สุด
    -----------------------------------------------------------------------
    พ่อท่านผอม ถาวโร พระไม่ทุกข์ (อายุ ๙๓ ปี) วัดไทรขาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช พระอริยสงฆ์ผู้รักสันโดษ ใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่สะสมสมบัติพัสถานใดๆ แม้แต่ “ย่าม” ก็ไม่ใช้ “รองเท้า” ก็ไม่สวมใส่ตลอดชีวิตที่ผ่านมา...ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าคาถาอาคมมากท่านหนึ่ง ตั้งแต่สมัยที่อยู่ “วัดหญ้าปล้อง” แต่ไม่โอ้อวดใคร ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ในทุกวันนี้พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมยุคสมัยกับท่านต่างมรณภาพไปหมดแล้ว เหลือเพียงแต่ท่านเท่านั้นที่ยังครองสังขารอยู่อย่างปกติสุข
    ---------------- พ่อท่านผอม มีนามเดิมว่า “ผอม คงรอด” เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๖๙ ตระกูลของท่านประกอบอาชีพทำนา ลักษณะเด่นของท่านคือ เป็นคนอารมณ์ดี รักสงบ และชอบสันโดษ

    ----------------ท่านอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ วัดหัวลำภู ต.หัวไทร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๘๙ โดยมีพระปริยัติวโรปการ (หมุ่น ปุณฺณรโส) วัดหน้าพระบรมธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ----------------หลังจากอุปสมบทแล้วท่านฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับพ่อท่านแดง วัดบ้านราม อ.หัวไทร, พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน ต่อมาท่านออกเดินธุดงค์เพื่อปฏิบัติสมาธิฝึกจิตไปตามป่าเขาทั่วภาคใต้ จนถึงประเทศมาเลเซีย

    ---------------- ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า พ่อท่านคล้ายเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ, พ่อท่านแดงเป็นพระที่ดีและเก่งวิชา สามารถเรียกลม เรียกไฟได้ คาถาอาคมล้วนสำเร็จด้วยจิต อยู่ป่าอยู่เขา มีภัยรอบตัว คำสอนและการปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้านี่แหละ คือ อาวุธของพระธุดงค์

    -----------------พ่อท่านผอม เป็นพระผู้มีบารมีธรรมทางเมตตาสูงส่ง วัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้นเองมีไม่มากนัก ทุกรุ่นล้วนมากไปด้วยประสบการณ์ในทุกด้าน จนเป็นที่แสวงหาของคนทั่วไป ประสบการณ์ที่ผู้คนส่วนใหญ่ได้พบเห็นอย่างชัดเจน คือ แคล้วคลาด คงกระพัน และสามารถอธิษฐานขอลาภผลได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

    -----------------ปัจจุบัน ท่านพำนักอยู่ที่ สำนักปฏิบัติธรรมถาวโร วัดไทรขาม บางกรวย จ.นนทบุรี เนื่องจากอายุมากแล้ว จึงต้องอยู่ใกล้แพทย์ และมีเวลาพักผ่อนมากๆ โดยมีลูกศิษย์คอยรับใช้ท่านตลอดเวลา ขณะเดียวกันท่านก็ได้อบรมสั่งสอนชาวบ้านในละแวกนั้น ให้อยู่ในศีลธรรม ประพฤติปฏิบัติดี และสอนให้สวดมนต์ ทำวัตรเช้า วัตรเย็น เป็นประจำทุกวัน

    เครดิตภาพ และเรื่องราว : พี่แล่ม
     
  13. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    F81A6C27-A2BE-4D18-9C4C-E339E7089767.jpeg DD85EC6F-84E9-467E-BB28-C3E145D29E78.jpeg Lord of the ring
    "ของบางสิ่งบางอย่างมันก็ไม่มีคำอธิบาย เพราะมันอยู่เหนือสิ่งที่เรียกว่าสมมุติบัญญัติ"

    -----------------------------------------

    อักขระอักษรพยัญชนะคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายสื่อสารความหมายของสิ่งที่เป็นรูปธรรมบ้างเป็นนามธรรมบ้าง กำหนดว่าพยัญชนะแบบนี้เรียกว่าตัว ก.ไก่ นะ ตัวนี้เรียกว่า ตัวนะ ตัวนี้เรียกว่าตัว A

    ในโลกของเรานี้ยังมีเรื่องราวอีกมากมายหลายเรื่องที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือเรื่องบางเรื่องก็ออกนอกความเข้าใจดั้งเดิมของเราไปไกล จนไม่สามารถจะอธิบายถึงความหมายของสิ่งนั้นได้

    ดังเช่น "ฮู้จีน" คือเส้นสายที่ตวัดไปตามแต่ใจและมือของผู้เขียน ที่ไม่มีคำอธิบายใดๆ อ่านก็ไม่ออก แล้วแต่มือจะบันดาล หากแต่คุณวิเศษแห่งเส้นสายลายมือนั้นก็สำแดงฤทธานุภาพตามแต่ใจผู้ขีดเขียนนั้นจะกำหนด มีเพียงเจ้าของแห่งลายลิขิตเท่านั้น ที่จะเข้าใจในความหมาย

    หรืออย่างอักขระยันต์ของสายองค์พ่อจตุคามรามเทพ ที่เป็นลักษณะเฉพาะ แต่ให้อารมณ์ของความขลังทรงพลังอย่างมาก เหมือนงานศิลปะแนว abstract ที่ไม่ต้องเข้าใจ แต่ใช้ความรู้สึกสัมผัส

    "ขอมกลาย" ก็เป็นอักขระลายเส้นเอกลักษณ์เฉพาะของ "พ่อท่านผอม ถาวโร" ไม่มีใครอ่านและเข้าใจได้ แต่พ่อท่านรู้และอ่านของท่านได้

    บ้างก็ว่าเป็นภาษาโบราณที่หายสาปสูญไป

    บ้างก็ว่าเป็นภาษาของเหล่านักสิษฐ์คนธรรพ์ พวกบังบดลับแล

    บ้างก็ว่าเป็นอักขระ "พระโมคัลลาน์เดินดง" ตำนานโบราณกาลนานมา

    เราจะสามารถพบเห็นอักขระทำนองนี้กับพระเกจิในยุคเก่าๆ พ่อท่านเขียนยันต์ตัวนี้ให้เพื่องานสำคัญงานหนึ่ง แต่เมื่อถามพ่อท่านว่าคือสิ่งใด? ท่านก็จะตอบกลับมาแค่ว่า

    "ของดีเว๊ย!!... มึงอย่าไปอยากรู้มาก มันเป็นเรื่องของกู บอกไม่ได้เดี๋ยวเพื่อนลอก"

    นี่คือความลี้ลับในภูมิความรู้ของพ่อท่านผอม ที่มิอาจหยั่งรู้หยั่งถึงได้ พระไม่ทุกข์ผู้ไม่เหมือนใคร พระที่ใครต่อใครเรียกขานท่านว่า

    "พระอรหันต์จี้กงแห่งเมืองนครฯ"

    เครดิต : พี่หมู นภดล
     
  14. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    1F336A0B-9112-4EC5-BA82-9BE77868F21D.jpeg 8EC424AA-D51C-4BFD-B448-78DF08A2C5B6.jpeg 1F336A0B-9112-4EC5-BA82-9BE77868F21D.jpeg 8EC424AA-D51C-4BFD-B448-78DF08A2C5B6.jpeg #เราจะกลับหกโมงเย็น
    ***คำกล่าวคำนี้หลวงปู่ท่านได้พูดเอาไว้ก่อนที่จะเดินทางไปถึงห้องฉายภาพฉายาชาติฉกาจ รศ ๒๓๕ & บุญตาเเกลอรี่ แต่ทางคณะศิษย์ก็ไม่มีผู้ใดคิดว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะทุกคนทราบว่าการเตรียมงานและการถ่ายภาพนั้นใช้เวลาไม่นานขนาดนั้น และแล้วเมื่อการถ่ายภาพเริ่มขึ้นทุกอย่างก็เป็นไปตามที่หลวงปู่พูดไว้ คือ หกโมงเย็นถึงจะถ่ายภาพได้สำเร็จและสามารถเดินทางกลับได้ หลังจากวันนั้นหลวงปู่ยังได้บอกกับศิษย์อุปัฏฐากว่า ท่านชอบสถานที่แห่งนี้ หากมีกิจนิมนต์ที่นี้อีกท่านจะมาอีก ยิ่งสร้างความสงสัยให้กับลูกศิษย์ที่มีแต่ความสงสัยแต่ไร้ความรู้อย่างพวกผม จึงได้กราบเรียนถามหลวงปู่ไปว่า "หลวงปู่ครับ วันที่หลวงปู่รับนิมนต์ไปถ่ายภาพ ทำไมถึงต้องกลับหกโมงเย็นครับ" หลวงปู่ท่านยิ้มแต่ไม่ตอบสิ่งใด ผมจึงกราบเรียนถามต่อว่า มีผู้ที่เรามองไม่เห็นมากราบนมัสการหลวงปู่และนิมนต์หลวงปู่ให้อยู่นานๆใช่มั้ยครับ คราวนี้ท่านยิ้มพร้อมกับตอบว่า "ใช่ เค้ามากันลุย(เยอะ) ทั้งหญิงทั้งชาย พวกนี้ที่มาเค้าไม่ดื้อนะ พวกนี้เค้าเชื่อพระ กูเลยต้องอยู่นานๆ" เราไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ที่มารอกราบนมัสการหลวงปู่ และนิมนต์ให้หลวงปู่อยู่โปรดนั้น ท่านเหล่านี้เฝ้ารอการเดินทางมาโปรดของหลวงปู่เป็นเวลานานเท่าไหร่แล้ว ผมจึงกราบเรียนถามต่อว่า ถ้าอย่างนั้นหลวงปู่เลยต้องหาวิธีอยู่นานๆโดยให้ถ่ายภาพไม่ได้ใช่มั้ยครับ ท่านยิ้มอีกครั้งพร้อมกับบอกว่า "ไปอยู่นานๆไม่รู้คนอื่นเค้าหนุกกันมั่ย แต่กูหนุกนิ" ผมได้แต่นึกในใจว่าพวกผมเชื่อแล้วครับว่าหลวงปู่สนุกจริงๆ เพราะใบหน้าหลวงปู่มีแต่รอยยิ้ม แม้แดดจะร้อน แม้จะต้องพยุงสังขารนั่งให้ช่างภาพได้ถ่ายภาพ ใบหน้าของหลวงปู่ก็มีแต่รอยยิ้ม ท้ายสุดแล้วผมจึงกราบเรียนถามท่านว่า หลวงปู่ทำอย่างไรครับ จึงถ่ายภาพหลวงปู่ไม่ติด หลวงปู่ยิ้มอีกครั้งก่อนจะตอบอย่างสั้นๆว่า "มีวิชากับตัว กลัวอะไร"
    #พ่อท่านผอม #ถาวโร
    #พระไม่ทุกข์
     
  15. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    F36C8037-A6C2-4C53-B417-E322A10E1B17.jpeg
    #พ่อท่านผอม #ถาวโร
    #พระไม่ทุกข์[/QUOTE]
     
  16. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    1ECC07B8-FED6-449F-8C70-6205A4E15B8C.jpeg A1B87FEF-9F2B-4E59-ABE5-23568A9DB2A0.jpeg
     
  17. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    370540B7-D1B5-40A2-B025-10A565DFB511.jpeg
     
  18. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
  19. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    BECF9906-3386-4C77-BD04-F9E652370FE2.jpeg 26166E17-7D91-4908-ACAD-CDD6255CD3E8.jpeg B3973F0D-77D2-493F-9FF9-A23DFDC1620B.jpeg 9497B795-3B77-4555-862E-7A63BEFB5F39.jpeg C399D7BE-820E-491A-8B22-82117F5D467C.jpeg
     
  20. กวง เอสวีเอส

    กวง เอสวีเอส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +49
    a.jpg

    พ่อท่านผอม ถาวโร วัดไทรขาม จ.นครศรีธรรมราช ตอน พระผู้ก้าวข้ามกาลเวลา
    Posted by ศิษย์กวง

    ความสงบอย่างยิ่ง

    คือการดำรงอยู่เหนือกาลเวลา

    โดยธรรมชาติแล้วป่าช้าเป็นสถานที่ที่มนุษย์ทุกคนต้องเดินทางเข้าไปพักอาศัยอยู่แล้วไม่วันใดก็วันหนึ่ง แต่ในเมื่อมันยังไม่ใช่วันเวลาของเรา ค่าของการเป็นสถานที่เฉพาะทางจึงไม่ค่อยมีใครอยากจะเฉียดกายเข้าไป นัก หากไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ

    แต่แล้วโลกทัศน์ใหม่แบบเล็กๆ ของชาวบ้านละแวกวัดก็เกิดขึ้น เมื่อพ่อท่านได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ในป่าช้าของวัด ด้วยความที่พ่อท่านเป็นพระที่มีดีและอารมณ์ดี ภายในระยะเวลาไม่นานนักท่านก็สามารถเปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้านแบบพลิกฝ่ามือ

    ท่านได้เปลี่ยนความกลัวให้เป็นความกล้า

    ท่านได้เปลี่ยนใบหน้าที่หวาดระแวงให้เปื้อนไปด้วยรอยยิ้ม

    สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสสั่งสอนว่าวิธีการที่จะมีความสุขที่สุดนั้นก็คือการดับทุกข์ ดังนั้นใครก็ตามที่เข้าใจในสัจธรรมที่เป็นความจริงของธรรมชาตินี้ ก็จะรู้ดีว่าการดับทุกข์นั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง

    ถ้าพูดแบบชาวบ้านก็ต้องว่า อย่างแรงคือหักดิบดับทุกข์ทันที และอย่างค่อยเป็นค่อยไปคือการละทิ้งความทุกข์ไปทีละนิดทีละน้อยภายในระยะเวลาไม่นานนักความทุกข์ก็จะลดน้อยถอยลงและมีความสุขมากขึ้น

    ภายในศาลาปลายทางที่ใช้จำพรรษา ท่านได้เขียนสูตรยาชนิดหนึ่งไว้บนกระดานแขวนอยู่กับผนังของศาลา โดยหวังให้คนทั่วไปได้มาเห็น ได้มาศึกษา

    ท่านว่าหากใครสามารถเข้าเครื่องยานี้ได้ ท่านรับรองผลว่าสามารถพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอน

    ๑.ต้นไม่รู้ไม่ชี้นี้เอาเปลือก

    ๒.ต้นช่างหัวมันนั้นเลือกเอาแกนแข็ง

    ๓.อย่างนั้นเองเอาแต่รากฤทธิ์มันแรง

    ๔.ไม่มีกูของกูแสวงเอาแต่ใบ

    ๕.ไม่น่าเอา น่า เป็น เฟ้นเอาดอก

    ๖.ตายก่อนตายเลือกเอาลูกใหญ่ๆ

    หกอย่างนี้ หนักอย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้ “ดับไม่เหลือ”

    ครั้งสุดท้ายใช้เมล็ดมัน ๖ อย่างนี้หนักเท่ากับยาทั้งหลาย เคล้ากันไปเสกอาถาที่อาถรรพ์

    “สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ”

    อันเป็นธรรมหฤทัยในพระพุทธนาม เอาลงหม้อใส่น้ำพอท่วมยา / เคี่ยวไฟกล้า เหลือได้หนึ่งในสาม / ๑ ช้อนชากิน ๓ เวลาพยายาม / กินเพื่อความหมดสรรพโรค เป็นโชคดี

    “กินยานี้แล้วจะไม่เป็นหนี้”

    พ่อท่านบรรยายสรรพคุณของยาเพิ่มเติมให้ชาวบ้านที่นั่งฟังอยู่ได้ทราบ

    “กินยานี้แล้วหนี้เก่าจะหมดไปด้วยหรือเปล่า?”

    ไม่อยากเรียกว่าคำถามเลย เพียงแต่ผมอยากรู้สรรพคุณเพิ่มเติม

    “อะไรที่ผ่านมาแล้ว ก็ผ่านไป เราพูดถึงหนี้ใหม่ ไม่รวมหนี้เก่า”

    เจ้าของสูตรยาหัวเราะก่อนตอบ

    คำตอบที่พริ้วไหวแต่ไม่แตกแถว หากพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่าเนื้อในของคำตอบมันคือธรรมะที่สอนให้ทุกคนรู้จักการปล่อยวางและดำรงชีวิตอยู่ด้วยสติ

    พ่อท่านองค์นี้หากมองดูเผินๆ ท่านก็เหมือนพระทั่วไปครับไม่มีอะไรที่จะแตกต่างหรือจะโดดเด่น ซึ่งเมื่อเราถามถึงสิ่งที่ท่านกำลังทำ ท่านตอบว่าท่านก็บอกไม่ได้หรอกว่าสิ่งที่ท่านทำอยู่นี้ มันจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนที่อ่านได้แค่ไหน

    “ปัญหาในเบื้องแรกก็อยู่ตรงที่ว่า จะทำอย่างไรทุกคนจึงจะเห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องนี้เป็นจริงได้และทุกคนจะได้ประโยชน์”

    ท่านว่าไม่ต้องมากหรอกขอแค่จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี่ และมากขึ้นเรื่อยๆ

    ผมเองได้แต่สงสัยว่าหลวงตาแก่ๆ ที่พูดภาษาใต้ได้ชัดเจนมากกว่าภาษากลาง ท่านสามารถหยิบยกเอาคำสอนที่ลึกซึ้งและซับซ้อนอันเป็นแก่นแท้แห่งพระพุทธศาสนาขึ้นมาถ่ายทอดสด ผ่านกำแพงพื้นฐานความรู้ทางธรรมที่ทุกคนมีไม่เท่ากันให้เข้าใจเหมือนกันอย่างง่ายๆ ได้อย่างไร

    “เสือเป็นเจ้าป่าใช่ไหม? เราจับเสือมาขัง เสือก็ยังเป็นเจ้าป่าใช่ไหม? ถ้าเราขังเสือแล้วไม่ให้อาหาร เสือตายไหม?

    กิเลสก็เหมือนกัน กิเลสเป็นเจ้าของหัวใจ เราจับกิเลสมาขัง กิเลสก็ยังคงเป็นเจ้าของหัวใจอยู่ดี แต่ถ้าเราไม่ให้อาหาร

    ไม่ให้ตากระทบรูป ไม่ให้อารมณ์กระทบใจ กิเลสก็ต้องตายไปเหมือนเสือ”

    ครับ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าป่าหรือเจ้าของหัวใจ ทุกอย่างมีสิทธิ์ตายดับไปได้เสมอ

    จะว่าไปแล้วตามประวัติถึงพ่อท่านจะเรียนหนังสือไม่สูง ไม่รู้จักเทคโนโลยีตลอดจนการสื่อสารที่ทันสมัยใดๆ แต่ท่านก็มีดีและมีสิ่งที่ทำให้หลายๆ คนต้องยกมือป้องหูและเบิ่งตาดูด้วยความฉงน

    ท่านบอกว่าที่เรียนรู้และเอามาสอนคนในทุกวันนี้ ท่านได้เรียนรู้วิถีแห่งชีวิตจากห้องเรียนธรรมชาติตามป่าตามเขาด้วยตัวของท่านเอง ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ท่านเปี่ยมปัญญาและน่าติดตามครับ

    ผมนึกถึงเรื่องราวในหนังสือเล่มหนึ่งที่ว่า การที่สิ่งธรรมดาจะกลายเป็นสิ่งพิเศษ ก็ต่อเมื่อเราเข้าไปรู้จักและสร้างสัมพันธ์ด้วย คงน่าเสียดายนะครับถ้าเราจะมัวแต่เงยหน้ามองท้องฟ้าหาจานบิน โดยหลงลืมคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธองค์

    การหัดมองย้อนหลังและสังเกตสิ่งที่เราผ่านมากันบ้าง อาจทำให้เราได้เห็นมุมสวยๆ ของธรรมะและโลกกว้างใบนี้อย่างแท้จริง

    ยิ่งได้รู้จักพ่อท่านมากขึ้นเท่าไร ยิ่งเข้าใจธรรมะมากขึ้นเท่านั้น

    ว่ากันว่าสิ่งปลูกสร้างมหัศจรรย์บนโลกใบนี้มีมากมายนับไม่หวาดไม่ไหว เกือบจะเต็มร้อยล้วนสร้างขึ้นด้วยพลังแห่งศรัทธาแทบทั้งนั้น

    ไม่ว่าจะเป็นกำแพงเมืองจีน ทัชมาฮาล หอเอน ฯลฯ ไล่ลำดับลงมาจนถึงวัดข้างบ้านที่เพิ่งฝังลูกนิมิตไปเรียบร้อยเมื่อไม่กี่วันนี้

    หรือจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในแบบที่ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้าง เช่นความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิต ฯลฯ ก็เกิดจากพลังแห่งศรัทธาในอะไรสักอย่างที่มีอยู่ในตัวของตัวเรา

    สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ

    สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่พึงยึดมั่นถือมั่น

    วิถีชีวิตภายใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธธรรมคำสอนเช่นนี้ ทำให้ “พ่อท่านผอม ถาวโร” วัดไทรขาม อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เสมือนมีภูมิคุ้มกันอันเข้มแข็งต่อการเปลี่ยนแปลงจากโลกภายนอกที่นับวันจะเข้ารุมล้อมการดำเนินชีวิตอันสงบสุขของท่าน

    ท่านว่าด้วยคำสอนขององค์พระศาสดานี้เองที่เป็นดั่งเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเพียงสิ่งเดียวที่คอยผลักดันและเป็นกำลังใจให้ท่านสามารถดำรงชีวิตสมณะได้อย่างสง่างาม โดยไม่ต้องใส่ใจว่าใครจะคิดกับท่านอย่างไรหรือจะมองท่านว่าเป็นพระแบบไหน

    ท่านว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่ที่เข้ามากระทบอาจจะสร้างความทุกข์ใจ ไม่พอใจ แต่ถ้าเรามีสติและรู้ตัวก็จะช่วยให้เกิดการปล่อยวาง ไม่ขึ้นลงไปตามสิ่งต่างๆ ที่เป็นทุกข์

    “คนเราถึงจะไปอยู่ที่ไหน หากมองโลกถึงด้านในได้ ก็อยู่เหนือโลก เหนือกว่าเรือน ได้กำไรเป็นอย่างยิ่ง ได้รับความสุขประเสริฐเพิ่มเข้ามา โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย”

    ผมรู้จักพ่อท่านผอมครั้งแรกจากการอ่านหนังสือพระเครื่อง ตอนนั้นยังใส่กางเกงขาสั้นเรียนประถมและอาศัยอ่านหนังสือฟรีตามแผงหนังสืออยู่เลยครับ

    หนังสือพระเครื่องฉบับที่ลงก็ไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรมากนัก นอกจากลงรูปพ่อท่านผอมขณะเอามือแตะกล่องใส่พระ และคำบรรยายเล็กน้อย ซึ่งผมเองก็จำไม่ได้ว่าเขาเขียนอะไรไว้

    สมัยนั้นท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดหญ้าปล้อง ขณะเสกพระชุดดังกล่าวท่านมีอายุเพียง ๕๒ ปี ๓๒ พรรษา ซึ่งว่ากันด้วยพระเกจิอาจารย์สายใต้ในขณะนั้น ท่านคือพระที่มีอายุน้อยที่สุดครับ

    แต่ด้วยฝีมือและคุณวิเศษในตัว ทำให้ท่านได้รับนิมนต์ปลุกเสกพระร่วมกับพระเกจิอาจารย์อาวุโสชั้นนำของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีอายุมากกว่า ๘๐ ปีหลายองค์ เช่น

    พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ พ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ พ่อท่านหีต วัดเผียน พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ฯลฯ เรื่องราวของท่านที่ปรากฏตามหน้าหนังสือก็คงมีเพียงเท่านี้แหละครับ

    จริงอยู่การที่เรารู้จักใครสักคนเพียงแค่อ่านผ่านตัวหนังสือ ถึงมันจะเป็นเวลาที่สั้นเกินไปในการทำความรู้จักกันได้อย่างถ่องแท้ แต่สำหรับผมแล้วมันมีคุณค่าและมากพอที่จะทำให้ผมเก็บท่านไว้ในความทรงจำครับ

    รุ่นพี่ที่เป็นนักพระเครื่องอาวุโสและเคยเป็นอดีตบรรณาธิการหนังสือพระเครื่องหลายฉบับได้เล่าให้พวกเราฟังว่าตัวเขาเองก็เคยเจอพ่อท่านผอมในงานพุทธาภิเษกเหรียญพ่อท่านคลิ้ง หลัง “ภปร” หลังงานพุทธาภิเษกเสร็จสิ้นเขาและเพื่อนได้ไปส่งพ่อท่านผอมที่วัดหญ้าปล้อง

    เขาจำได้ว่าพ่อท่านผอมเป็นพระที่สมถะ กล่าวคือท่านไม่เคยใส่รองเท้าและไม่มีย่าม เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๑ ถึงมันจะเป็นเวลา ๓๐ กว่าปีมาแล้วความประทับใจในท่านก็ยังคงอยู่ในใจของเขาไม่ลืมเลือน

    เขาเล่าว่าสมัยก่อนเมื่อใครไปกราบขอพร “พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน” จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านมักจะถามว่า “มาแต่ไหน?” หากใครตอบว่า “มาจากร่อน” (ร่อนพิบูลย์) ท่านก็จะบอกว่า มาหาท่านให้ไกลๆ ทำไม ที่ร่อนก็มีพระเก่งอยู่แล้ว ทำไมไม่ไปหา “พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง” เขาว่าสมัยนั้นวัดถลุงทองอยู่ลึกเขาไปในป่ามาก เส้นทางคมนาคมก็ไม่สะดวก เป็นพื้นที่สีแดงและมีภัยจากโจรผู้ร้ายอยู่เนืองๆ

    ต่อมาเมื่อความเจริญเข้าไปถึงวัดถลุงทองจึงมีผู้รู้จักพ่อท่านคลิ้งกันมากขึ้นและผู้ที่เปิดตัวพ่อท่านคลิ้งสู่สาธารณะชนคนไกลจากวัดถลุงทองเป็นคนแรกคือ “โกหว่า ทุ่งสง” (คุณวรศักดิ์ อดิเทพวรพันธ์) ลูกศิษย์ของพระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา

    เราต้องยอมรับครับว่าพระเกจิอาจารย์ภาคใต้ที่เก่งๆ หลายองค์ในยุคสมัยนั้น “โกหว่า ทุ่งสง” มักจะเป็นผู้เปิดตัวและสร้างเหรียญถวายพระเกจิอาจารย์เหล่านั้นเพื่อเอาไว้แจกแก่ลูกศิษย์และสาธุชนทั้งคนไกลที่เข้ามากราบนมัสการ

    ทุกวันนี้เหรียญที่โกหว่าสร้างถวายแก่บรรดาพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ล้วนได้รับความนิยมและเป็นที่เล่นหาของวงการพระเครื่อง ด้วยรูปแบบและจำนวนที่มาตรฐานแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มาสนับสนุน เช่น

    หนึ่ง-พระเกจิอาจารย์ที่จะผ่านกำแพงศรัทธาของผู้รอบรู้ในไสยศาสตร์ ที่มีดีกรีเป็นถึงศิษย์เอกของพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นั้นต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

    สอง-พระเกจิอาจารย์ที่โกหว่าได้สร้างถวายนั้นล้วนเป็นพระสงฆ์ที่ดีและมีดีจริงๆ อาทิเช่น เหรียญพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ปี ๒๕๒๑ เหรียญพ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ ปี ๒๕๒๑ฯลฯ รวมไปถึงเหรียญรุ่นแรกของพ่อท่านผอม ที่สร้างขึ้นในปี ๒๕๑๗

    ไม่เพียงแต่โกหว่าเท่านั้นที่ยอมรับในความเก่งและคุณธรรมของพ่อท่านผอม พระสงฆ์ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นทองเนื้อแท้แห่งพระพุทธศาสนาอย่าง “พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ” แห่งวัดถลุงทอง ก็ให้คำรับรองแก่ผู้ใกล้ชิดเสมอๆ ว่า

    “ท่านผอมเป็นพระบริสุทธิ์ที่เก่ง มีสมาธิและอาคมที่ดี สมควรแก่การกราบไหว้บูชาอย่างที่สุด”

    ดังนั้นในงานพุทธาภิเษกใดก็ตามที่พ่อท่านคลิ้งรับเป็นประธาน ท่านจะให้ลูกศิษย์นิมนต์พ่อท่านผอมมาร่วมเสกด้วยเสมอๆ เช่น งานพุทธาภิเษกเหรียญพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ หลัง “ภปร” ปี ๒๕๒๑

    ผมเล่าเรื่องที่ไปพบพ่อท่านผอมให้รุ่นพี่ท่านนี้ฟังพร้อมกับมอบรูปถ่ายของพ่อท่านในปัจจุบัน ยืนยันความชัดเจนว่าพระองค์ที่พวกเราไปพบไม่ผิดฝาผิดตัวแน่นอน

    ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากกาลเวลาคือสภาพร่างกายของพ่อท่านที่ท้วมขึ้นตามอายุและทุกวันนี้ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดไทรขาม ซึ่งห่างจากวัดหญ้าปล้องมากพอสมควร

    รุ่นพี่ท่านนี้ได้โทรศัพท์แจ้งข่าวไปที่โกหว่า น้ำเสียงดีใจของผู้สร้างเหรียญรุ่นแรกพ่อท่านผอมดังลอดออกมาพอให้พวกเราได้ยิน

    “เก่ง ดี ไม่ใส่เกือก ไม่มีย่าม”

    คำพูดของโกหว่าทำให้ผมฉุกคิดได้ว่า

    “การค้นหาตัวตนของใครบางคน เราอาจจะรู้ได้จากคำพูดเพียงไม่กี่คำก็ได้”

    กรณีของสมณะที่เรียบง่ายอย่าง “พ่อท่านผอม ถาวโร” ก็ไม่ต่างกันครับ ชัดเจน เด็ดขาดและแน่นอน

    ด้วยความเข้าใจในภาษาใต้ที่มีน้อยถึงน้อยมาก ผมตัดสินใจไปลากเจ้าเพชรออกมาจากบ้านอีกครั้ง เพราะเชื่อว่าการสื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่นของเขาจะช่วยให้การซักถามของผมมีสีสันมากขึ้น

    อย่างน้อยการได้เพื่อนดีๆ มาแบ่งปันแง่มุมที่แตกต่าง อาจทำให้ผมได้ฟังคำพูด คำสอนเก่าๆด้วยความรู้สึกใหม่ก็ได้

    วันใหม่กับการเดินทางครั้งใหม่เริ่มต้น ในขณะที่ทุกคนพักผ่อนอยู่กับบ้านอย่างมีความสุขแต่ผมกับเจ้าเพชรยังคงมุ่งหน้าไปยังวัดไทรขาม การมาครั้งนี้ทำให้ผมพบความจริงข้อหนึ่งว่า วัดไทรขามยังคงตั้งอยู่ที่เดิมแต่ทางเข้าเริ่มแตกสาย

    ครั้งก่อนเราผ่านสวนมังคุด

    ครั้งนี้เราเจอสวนทุเรียน

    “หรือเรากำลังออกนอกเส้นทาง”

    เจ้าเพชรหยุดคิดพักใหญ่ก่อนจะหันมาบอกผมว่า

    “คนเรามีหลายแง่มุม สุดจะคาดเดา ทางเข้าก็มีหลายทาง มันน่าสนใจมากกว่าเราจะเข้าเป็นอยู่ทางเดียว”

    “เป็นความคิดเชิงบวกที่เข้าท่าดี”

    ผมคิดในใจก่อนที่เราจะช่วยกันงมหาทางเข้ากันอีกครั้ง

    ระหว่างทาง...ผมมองออกนอกกระจกรถเห็นทุ่งนา เห็นสวนมังคุด เห็นพื้นดินสีน้ำตาลอ่อนที่เจิ่งนองด้วยน้ำซึ่งมันคงเป็นผลพวงจากฝนที่ตกหนักราวกับฟ้ารั่ว เผลอถอดจิตไปเฝ้าพระอินทร์เอาตอนไหนก็ไม่รู้ มารู้สึกตัวอีกครั้งเมื่อเจ้าเพชรมาเรียก

    “ถึงแล้วพี่ ป่าช้าวัดไทรขาม”

    “ป่าช้าวัดไทรขาม”

    ผมทวนคำ

    เหลือบไปเห็นคุณยายแก่ๆ คนหนึ่งกำลังหิ้วปิ่นโตมาถวายเช้าพ่อท่านผอม ถามไถ่ได้ใจความว่า แกก็อายุเฉียดร้อยตั้งแต่เกิดมาและจำความได้ก็เห็นป่าช้านี้แล้ว

    คำตอบของคุณยายทำให้ผมรู้สึกถึงความคลาสสิกกับการได้ยืนอยู่บนป่าช้าแห่งประวัติศาสตร์ของชาวบ้านดอนตะโก

    ครั้งหนึ่งพ่อท่านผอมเคยสอนผมว่า..

    “สัจจะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับความเป็นมนุษย์ คนที่ไม่มีสัจจะก็คือคนที่ไม่เข้าถึงความเป็นมนุษย์”

    ผมนึกถึงคำพูดของท่าน นึกถึงภาพของพระสูงวัยองค์หนึ่งที่มีความเคลื่อนไหว ท่านรอนแรมจาริกธุดงค์ไปทั่วเป็นเวลาหลายสิบปี

    ณ วัดไทรขาม ท่านได้เพียรมาถวายเทียนพรรษาถึง ๓ ปี ก่อนที่จะเข้าจำพรรษา การย้ายจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความกล้าอย่างมากมาย

    หนึ่งคือตัวท่านจะต้องอาศัยอยู่กับความแปลกหน้าไปช่วงหนึ่ง

    สองคือท่านจะต้องทิ้งความทรงจำหลายอย่างไว้ข้างหลัง

    ท่านเคยบอกว่าทุกสถานที่ที่ท่านจำพรรษา ไม่ว่าจะเป็นวัดหรือตามป่าเขา ท่านว่าเป็นการชดใช้กรรมเก่าของท่านซึ่งเคยทำไว้ ณ สถานที่แห่งนั้น สำหรับวัดไทรขามแห่งนี้จะเป็นสถานที่สุดท้ายโดยท่านจะไม่ย้ายไปไหนแล้ว

    ผมเรียนถามท่านว่าเป็นโชคชะตาหรือบุพกรรมใช่ไหมที่นำพาให้ได้พบกัน? ซึ่งเรื่องของการพบเจอกันนั้นในคติของชาวพุทธถือว่าเคยทำกรรมร่วมกันมา

    ท่านหัวเราะอย่างอารมณ์ดีก่อนตอบแบบได้ใจสมกับที่เขาเรียกท่านว่า “พระจี้กงเมืองนคร” พระผู้ก้าวข้ามกาลเวลา

    “เป็นเพราะโลกมันกลม”

    ฟังแล้วอยากจะตีลังกาไปสามตลบ เพราะนอกจากจะเหนือถูกเหนือผิดแล้ว คำตอบนี้มันยังเหนือความคาดหมายจริงๆ........สวัสดีครับ

    ขอขอบคุณ คณะศิษย์พ่อท่านผอม/พี่แล่ม จันท์พิศาโล สำหรับข้อมูล คุณเพชร-ร้านเพชรฉลูกัณฑ์ คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย สำหรับภาพถ่ายสวยๆ เพื่อนต่อกับคำแนะนำ คุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรี สำหรับกำลังใจที่มีให้เสมอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...