พระโพธิสัตว์เป็นพระอริยเจ้าได้ไหม ?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 18 กรกฎาคม 2013.

  1. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200

    หากอินทรีย์บารมีแก่กล้า จึงจะเข้าสู่ทางตรง มีสัมมาทิฏฐิ รู้แจ้งเห็นจริง

    หากอินทรีย์บารมียังน้อย ก็ค่อยๆสะสมไปก่อน tjs
     
  2. ธมมสุนทโร

    ธมมสุนทโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +107
    เปิดใจให้กว้าง อย่าจำกัดสิ่งใด
     
  3. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ▶ หลวงพ่อพุธ อธิบายสภาวะธรรม

    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/XZruFwmDUyc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2013
  4. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    สะอาดแต่ไม่บริสุทธิ์ - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/jKLfV-qDjfc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  5. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ลักษณะจิตเป็นพุทธะ - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/K3ayweFyNHY" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  6. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ตปุสสสูตร

    ก่อนการตรัสรู้(วิสัยขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า)

    ทรงพยายามในเนกขัมมจิต และอนุปุพพวิหารสมาบัติ ก่อนตรัสรู้


    อานนท์! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ, ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ดังนี้, แต่แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้ากระไร เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในทางกามก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

    อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่น สงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอวิตกธรรม โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ ฌานที่ ๒ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิตกก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเรา เพราะความจางไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติแลสัมปชัญญะ และพึงเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีติกฌาน เรายังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขา มีสติแลสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๓ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปในปีติก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสแลโทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌาณที่ ๔) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอุเปกขาสุข เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอทุกขมสุข เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเปกขาสุข แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอทุกขมสุขโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อ เราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอุเบกขา ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นรูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป) โดยประการทั้งปวงได้, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา (ความกำหนดหมายอารมณ์ที่กระทบใจ), เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่างๆ (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากาสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากาสานัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในรูปทั้งหลายก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญาณัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนะแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจ แห่งสัญญาที่เป็นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในวิญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิญญาณัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไรๆ ไม่มี" แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคืออากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญจัญญายตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือเนวสัญานาสัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอากิญจัญญายตนะก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.
    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา ผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไรๆ อีกต่อไป). อนึ่ง อาสวะทั้งหลาย ได้ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจจ์สี่) ได้ด้วยปัญญา.

    ---------

    บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๕๗/๒๔๕. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่อุรุเวลกัปปนิคม ของชาวมัลละในมัลลกรัฐ.
    เนื่องจาก ตปุสสคหบดี ได้เข้าเผ้าและกราบทูลถึงข้อที่พวกฆราวาสย่อมมัวเมาติดในกามอยู่เป็นปรกติ,
    เนกขัมมะคือการหลีกออกมาเสียจากกามนั้น ปรากฏแก่พวกเขาดุจถ้ำหรือเหวลึกที่มืดยิ่ง เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่ง.
     
  7. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ทรงพยายามใน อธิเทวญาณทัศนะ เป็นขั้น ๆ ก่อนตรัสรู้

    อฎฺฐก.อํ.๒๓/๓๑๑/๑๖๑.



    ภิกษุ ทั้งหลาย ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้ด้วย เห็นรูป ท. ได้ด้วย ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเรา. ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็จำแสงสว่างได้ด้วย เห็นรูป ท. ได้ด้วย, แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ร่วม ไม่ได้เจรจาร่วม ไม่ได้โต้ตอบร่วมกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นๆ.

    ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้น ก็ได้ด้วย ตลอดถึงการโต้ตอบร่วมกับเทวดา ท. เหล่านั้นๆ ก็ได้ด้วย. ข้อนั้น จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งของเรา. ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็…โต้ตอบกับเทวดา ท. เหล่านั้นๆ ได้ด้วย แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ ๆ มาจากเทพนิกายไหนๆ.

    ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้น ก็ได้ด้วย ตลอดถึงการรู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายนั้นๆ ด้วยแล้ว ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเรา. ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็…รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ มาจาก เทพนิกายนั้นๆ แต่ไม่รูไ้ ด้ว่า เทวดาเหล่านี้ ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้น ๆ ด้วยวิบากแห่งกรรมอย่างไหน.

    ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้น ก็ได้ด้วย ตลอดจนถึงรู้ได้ด้วยว่า เทวดาเหล่านี้ ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติ ในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ ๆ แล้ว ข้อนั้น จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ ยิ่งขึ้น ของเรา. ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตน ส่งไปแล้วแลอยู่ ก็…รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ ๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ ๆ มีอาหารอย่างนี้ ๆ มีปรกติเสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ ๆ …เทวดาเหล่านี้ ๆ มีอายุยืนเท่านี้ ๆ ตั้งอยู่ได้นาน เท่านี้ ๆ …เราเองเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ท. เหล่านี้ หรือไม่เคยอยู่ร่วมหนอ. ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ ก็…รู้ได้ ตลอดถึงข้อว่า เราเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ท. เหล่านี้ ๆ หรือไม่ แล้ว.

    ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่ ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมีปริวัฏฏ์แปดอย่างของเรา ยังไม่บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้ว, ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้ง เทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.

    ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมีปริวัฏฏ์ แปดอย่างของเรา บริสุทธิ์ หมดจดด้วยดีแล้ว, เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

    ก็แหละ ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเรา ไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไปดังนี้.
     
  8. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้

    อุปักกิเลสสูตร สุญญตวรรค อุปริ.ม.๑๔/๓๐๒/๔๕๒.



    อนุรุทธะ ท. ! นิมิตนั้นแหละ เธอพึงแทงตลอดเถิด. แม้เราเมื่อครั้งก่อน แต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็จำแสงสว่างและการเห็นรูป ทั้งหลายได้. ต่อมาไม่นาน แสงสว่าง และการเห็นรูปของเรานั้น ๆ ได้หายไป. เกิดความสงสัยแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้แสงสว่างและ การเห็นรูปนั้นหายไป ? อนุรุทธะ ท. ! เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า : -

    วิจิกิจฉา (ความลังเล) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีวิจิกิจฉาเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก….ฯลฯ…. (มีคำระหว่างนี้เหมือนท่อนต้น ไม่มีผิด ทุกตอน ตั้งแต่คำว่า ต่อมาไม่นาน จนถึงคำว่า เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า :)

    อมนสิการ (ความไม่ทำไว้ในใจ คือไม่ใส่ใจ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีอมนสิการเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก. ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงุน) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีถีนมิทธะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและ การเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, และถีนมิทธะ จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

    ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงุน) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีถีนมิทธะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและ การเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, และ ถีนมิทธะ จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

    ฉัมภิตัตตะ (ความสะดุ้งหวาดเสียว) แล บังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิ ของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีฉัมภิตัตตะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่าง และการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดผู้มุ่งหมายเอาชีวิตขึ้น ทั้งสองข้างทาง ความหวาดเสียวย่อมเกิดแก่เขาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, และฉัมภิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

    อุพพิละ (ความตื่นเต้น) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอุพพิละ นั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. เหมือนบุรุษแสวงหาอยู่ซึ่งขุมทรัพย์ขุมเดียว เขาพบพร้อมกันคราวเดียว ตั้งห้าขุม ความตื่นเต้นเกิดขึ้นเพราะการพบนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น. เราจักกระทำ โดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ และอุพพิละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

    ทุฏฐุลละ (ความคะนองหยาบ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเรา เคลื่อนแล้ว เพราะมีทุฏฐุลละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, และทุฏฐุลละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

    อัจจารัทธวิริยะ (ความเพียรที่ปรารภจัดจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอัจจารัทธวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบ ด้วยมือทั้งสองหนักเกินไป นกนั้นย่อมตายในมือ ฉะนั้น. เราจักกระทำ โดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, และอัจจารัทธวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

    อติลีนวิริยะ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอติลีนวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบหลวมมือ เกินไป นกหลุดขึ้นจากมือบินหนีเสียได้ ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่ วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ,และอติลีนวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

    อภิชัปปา (ความกระสันอยาก) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเรา
    เคลื่อนแล้ว เพราะ มีอภิชัปปาเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ
    การเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ,
    ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ และอภิชัปปา จะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

    นานัตตสัญญา (ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีนานัตตสัญญานั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ,อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ, อภิชัปปา, และนานัตตสัญญา จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

    รูปปานํ อตินิชฌายิตัตตะ (ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอตินิชฌายิตัตตะเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำ โดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ, อภิชัปปา, นานัตตสัญญา, และรูปานํ อตินิชฌายิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

    ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) ว่าเป็น อุปกิเลสแห่งจิตแล้ว จึงละแล้วซึ่งวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เสีย.

    ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! เรานั้นเมื่อไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) ย่อมเห็นรูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้ เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เราจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) เห็นรูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง ?

    ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดเราไม่ทำรูปนิมิต ไว้ในใจ แต่ทำโอภาสนิมิตไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป. สมัยใดเราไม่ทำโอภาสนิมิตไว้ในใจ แต่ทำรูปนิมิตไว้ในใจ, สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและ ทั้งวันบ้าง.ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ย่อมจำแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างมากไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณบ้าง เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เราจำแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง ?

    ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดสมาธิของเราน้อย สมัยนั้นจักขุก็มีน้อย, ด้วยจักขุอันน้อย เราจึงจำแสงสว่างได้น้อย เห็นรูปก็น้อย. สมัยใดสมาธิของเรามากไม่มีประมาณ สมัยนั้นจักขุของเราก็มาก ไม่มีประมาณ, ด้วยจักขุอันมากไม่มีประมาณนั้น เราจึงจำแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูป ได้มากไม่มีประมาณ, ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนทั้งวันบ้าง.

    ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! ในกาลที่เรารู้แจ้งว่า (ธรรมมี) วิจิกิจฉา (เป็นต้น เหล่านั้น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว และละมันเสียได้แล้ว กาลนั้นย่อมเกิด ความรู้สึกขึ้นแก่เราว่า “อุปกิเลสแห่งจิตของ เราเหล่าใด อุปกิเลสนั้น ๆ เราละได้แล้ว, เดี๋ยวนี้ เราเจริญแล้วซึ่ง สมาธิโดยวิธีสามอย่าง.”

    ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! เราเจริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันมีวิตกวิจาร, ซึ่งสมาธิ อันไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ, ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร, ซึ่งสมาธิ อันมีปิติ, ซึ่งสมาธิอันหาปีติมิได้, ซึ่งสมาธิอันเป็นไปกับด้วยความยินดี, และ สมาธิอันเป็นไปกับด้วยอุเบกขา. ดูก่อนอนุรุทธะ ท. ! กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร (เป็นต้นเหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นธรรมชาติอันเราเจริญแล้ว, กาลนั้นญาณ เป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “วิมุติของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพ เป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีก” ดังนี้.
     
  9. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไรๆ อีกต่อไป). อนึ่ง อาสวะทั้งหลาย ได้ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจจ์สี่) ได้ด้วยปัญญา.

    ---------

    บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๕๗/๒๔๕. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่อุรุเวลกัปปนิคม ของชาวมัลละในมัลลกรัฐ.
    เนื่องจาก ตปุสสคหบดี ได้เข้าเผ้าและกราบทูลถึงข้อที่พวกฆราวาสย่อมมัวเมาติดในกามอยู่เป็นปรกติ,
    เนกขัมมะคือการหลีกออกมาเสียจากกามนั้น ปรากฏแก่พวกเขาดุจถ้ำหรือเหวลึกที่มืดยิ่ง เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่ง.
    ======================

    พึงพิจารณาให้ดีเถิดว่า การบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น หมายความอย่างง่ายๆคือ การบรรลุอรหันต์ อธิบายได้ว่า ความอาพาธใดๆได้ดับหมดสิ้นแล้ว อาสวะทั้งหลายได้ดับสิ้นแล้ว เป็นการออกจากกามได้หมดสิ้นแล้ว เป็นการออกจากสัญญา เครื่องอาพาธทั้งปวงได้สำเร็จแล้วนั่นเองครับ

    คำว่าการบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายเหมือนอีกหนึ่งคำคือ สัญญานิโรธสมาบัติ อันเป็นคำๆเดียวกัน การออกสัญญานิโรธสมาบัติ ก็หมายถึง ความเป็นผู้ออกแล้ว พ้นแล้วจากสัญญาและเครื่องอาพาธทั้งปวง เป็นผู้ออกไปแล้วพ้นได้แล้วจากอาสวะทั้งปวง นั่นเองครับ

    ฉะนั้นผู้เจริญพึงจะต้องเข้าใจว่า การบรรลุอรหันต์นั้นเกิดได้ด้วยสภาวะเดียวคือสภาวะนี้เท่านั้นครับ ซึ่งก็จะมีตนเท่านั้นที่รู้ดีว่าเมื่อเวลานั้นมาถึงการชำระจิตตนได้เข้าสู่สภาวะแห่งสัญญานิโรธสมาบัติหรือยัง ถึงความออกไปแล้วพ้นแล้วหรือยัง เป็นจิตที่เข้าถึงความบริสุทธิ์หรือยังและจะไม่กลับไปไม่บริสุทธิ์อีกหรือยังครับ สาธุ
     
  10. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200

    อย่ามั่วไปหน่อยเลย tjs
    สิ่งเหล่านี้เป็นวาสนาของพระอริยสาวกผู้เป็นอุภโตภาคบุคคล และกายสักขีบุคคล ผู้มีสมาธินทรีย์แก่กล้า มีฌานสมาบัติ

    ส่วนผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ผ่านเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรืออรูปฌานขั้นสูงสุด จะเข้าสู่การดับระงับสัญญาเวทยตนิโรธได้หรือ (สัญญา+เวทนา) ซึ่งหมายถึง ผู้มีจริตที่ไม่ใช่ เจโตวิมุติ

    สัญญาเวทยิตนิโรธ มีเฉพาะพระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้ฌานสูงสุดที่เข้าได้ เพราะอะไร เพราะภูมิของพระอนาคาขึ้นไป เป็นภูมิที่อยู่ในสภาวะของกำลังสมาธิที่เต็มเปี่ยมอย่างไพบูลย์

    และไม่ฉลาดเลยที่จะชี้ชัดจำเพาะเจาะจง
    ว่าผู้บรรลุอรหันต์ต้อง เข้าสัญญาเวทยตนิโรธ ได้เหมือนกันหมด

    จริตวาสนาบารมีของผู้ไม่ใช่พุทธวิสัย แต่เป็นพระอริยสาวก
    ผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ ย่อมไม่สามารถเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้
    และเมื่อพระอริยสาวกเหล่านั้น ท่านไม่ได้บำเพ็ญหนักมาทางสมาธิฌานสมาบัติ
    เมื่อไม่สามารถเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ได้ ย่อมไม่สามารถเป็นพระอรหันต์ได้อย่างนั้นหรือ tjs

    พระอรหันต์ ยังมีการแบ่งประเภทเลย tjs
     
  11. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    วิธีการต่างกัน แต่ความเข้าสู่อรหันตบุคคล อันเป็นอรหันตมรรค มีความเป็นสิ่งอันเดียวกัน คือจิตออกจากกาม ออกจากอาสวะหมดสิ้นได้แล้วโดยแท้จริง

    ท่านลองพิจารณาจุดสำคัญจุดนี้คือความเข้าสู่อรหันต์นี้ให้ดูให้มากๆให้พิจารณาเถิดแล้วท่านจะเข้าใจ
    ส่วนวิธีการก่อนหน้านี้แตกต่่างกัน พระอริยะส่วนหนึ่งอาศัยการเข้าสมาธิฌาณตามลำดับชั้น
    พระอริยะสงฆ์ส่วนหนึ่งอาศัยอธิศีล อาศัยอธิจิต ในเวลาที่จิตเข้าสู่จุดสำคัญนี้คือจุดแห่งความออกจากกิเลส ดับอาสวะนี้ หมดสิ้น ก็อาศัยสภาวะที่เหมือนกัน เมื่อเกิดแล้ว หลุดพ้นได้แล้ว จึงเดินมรรคที่เหลือเพื่อประคองธาตุขันธ์ตนไปตามวาระของมันก็เท่านั้น

    ท่านที่อ่านตำรามามาก ต้องแยกแยะในวิธีการได้ และต้องเข้าใจจุดสำคัญที่กระผมบอกให้ได้นะครับ ถ้าไม่เชื่อก็จงพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติด้วยตัวท่านเองให้รู้จริง
    ครับ สาธุ
     
  12. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ถ้าคนที่อ่านผ่านๆ ก็คงจะเห็นด้วยอยู่หรอก
    แต่พอตอบตรงนี้ ซึ่งก็เหมือนการพูดทับศัพท์

    อธิจิต ไม่ใช่ฌานสมาธิ หรอกหรือคุณ ส่วนการดับอาสวะกิเลส นั้นคือ อธิปัญญา
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว นั่นหมายถึง ความเป็นอรหันตผล แล้วท่านต้องมาเดินมรรคทำไมอีกล่ะคร้าบบ

    เข้าใจอะไรบ้างไหมกับ คำว่า "อเสขบุคคล"

    คุณจะบอกว่า คุณเข้าสัญญาเวทยนิโรธ ได้ว่างั้นเหอะ เกินไปแล้วม้าง

    อย่ามั่วแบบสุดโต้ง เกินไปนัก อายผู้รู้เขาน่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2013
  13. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    การดับระงับสัญญาเวทยิตนิโรธได้หรือ (สัญญา+เวทนา)
    ทำได้อย่างไร
    1อาศัยสมาธิฌาณข่มไว้ กดไว้ไม่ให้สัญญาและเวทนาสำแดงออกมาเหมือนวางหินทับหญ้าเอาไว้
    2อาศัยสมาธิญาณ ที่เกิดต่อเนื่องจากสมาธิฌาณ เป็นปัญญาญาณดับสัญญาและเวทนาหมดสิ้น[พระอริยะผู้ทรงสมาธิฌาณทรงอภิญญา]
    3อาศัยสามัญปัญญาของ[พระอริยะผู้มิได้มีสมาธิฌาณหรืออภิญญาใดๆ] มีเพียงปัญญาญาณที่เกิดจากการหมั่นพิจารณา ความอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    สัญญาเวทยิตนิโรธ แท้จริงคือความออกจากอาสวะนั่นเอง แต่จะใช่วิธีใดก็ได้ทั้งนั้น เพราะสุดท้ายความออกไปจากอาสวะนั้นออกได้ก็ด้วยปัญญาที่รู้แจ้งรู้ทันหมดสิ้นในความหลุดพ้นทุกข์ได้แล้วนั้นเองครับ สาธุ
     
  14. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ==============

    แต่โดยมากที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันมาหลายๆท่านมักจะไปให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ คำนี้มาก มากจนยกยอให้กลายเป็นสมบัติของพระอริยะผู้ทรงอภิญญาไปแต่เพียงส่วนเดียว

    แต่แท้จริง สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เกิดมีได้กับพระอรหันต์ทุกพระองค์ที่สำเร็จอรหันตมรรคครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  15. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    เค้าไม่ได้หมายถึงพระอริยะผู้ทรงอภิญญา นี่แสดงว่าที่สนทนากันมาไม่เข้าใจอะไรเลย

    เค้าหมายถึง ผู้ผ่านรูปฌาน อรูปฌาน หรือที่เรียกว่า สมาบัติ8 จึงเข้าสู่อนุปุพพวิหารสมาบัติที่9 ได้

    อย่าเข้าใจว่า ผู้ได้สมาบัติจะเป็นผู้มีอภิญญา หรือมีครบ ทุกรูปทุกนามไป

    เข้าใจแยกแยะคำว่า ฌาน สมาบัติ ผลสมาบัติ นิโรธสมาบัติ บ้างไหม

    ไม่ใช่พอสนทนากันไปมา สุดท้ายกับบอก "สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เกิดมีได้กับพระอรหันต์ทุกพระองค์ที่สำเร็จอรหันตมรรคครับ"

    นี่คุณเป็นอะไรของคุณ คุณเข้าใจในสิ่งที่คุณพิมพ์มาบ้างไหม

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2013
  16. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    เห้อ...ไปดีกว่า
     
  17. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ผมไม่ได้เข้าใจอะไรผิด แต่ต้องการพูดในอีกด้านที่ อยากให้ท่านหรือหลายท่านเห็นและเข้าใจเหมือนที่ผมเข้าใจก็เท่านั้นเองครับ ไม่ได้มีเจตนาอย่างอื่น

    ยังไงก็ต้องขอบคุณ ครับที่ช่วยแสดงธรรมในอีกด้านเช่นกันเพื่อให้พวกเราเกิดปัญญารอบรู้หลายๆด้านยิ่งๆขึ้นไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2013
  18. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    พึงพิจารณาให้ดีเถิดว่า การบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น หมายความอย่างง่ายๆคือ การบรรลุอรหันต์ อธิบายได้ว่า ความอาพาธใดๆได้ดับหมดสิ้นแล้ว อาสวะทั้งหลายได้ดับสิ้นแล้ว เป็นการออกจากกามได้หมดสิ้นแล้ว เป็นการออกจากสัญญา เครื่องอาพาธทั้งปวงได้สำเร็จแล้วนั่นเองครับ

    คำว่าการบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายเหมือนอีกหนึ่งคำคือ สัญญานิโรธสมาบัติ อันเป็นคำๆเดียวกัน การออกสัญญานิโรธสมาบัติ ก็หมายถึง ความเป็นผู้ออกแล้ว พ้นแล้วจากสัญญาและเครื่องอาพาธทั้งปวง เป็นผู้ออกไปแล้วพ้นได้แล้วจากอาสวะทั้งปวง นั่นเองครับ

    ฉะนั้นผู้เจริญพึงจะต้องเข้าใจว่า การบรรลุอรหันต์นั้นเกิดได้ด้วยสภาวะเดียวคือสภาวะนี้เท่านั้นครับ ซึ่งก็จะมีตนเท่านั้นที่รู้ดีว่าเมื่อเวลานั้นมาถึงการชำระจิตตนได้เข้าสู่สภาวะแห่งสัญญานิโรธสมาบัติหรือยัง ถึงความออกไปแล้วพ้นแล้วหรือยัง เป็นจิตที่เข้าถึงความบริสุทธิ์หรือยังและจะไม่กลับไปไม่บริสุทธิ์อีกหรือยังครับ สาธุ
    [/QUOTE]
    ====================

    เอาละผมขอสรุปทิ้งท้ายอีกทีว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ คือการออกจากอาสวะกิเลสหลุดพ้นได้สำเร็จ และคำว่า สัญญานิโรธสมาบัติ ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน แต่คำว่าสัญญานิโรธสมาบัติ นั้นเฉพาะเจาะจงคือต้องเป็นพระอนาคามีผู้ทรงสมาธิฌาณได้สมาบัติแปดหรือฌาณ8เท่านั้น ท่านอาศัยผลแห่งสมาธิฌาณ เข้าไปสู่วิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาญาณรู้แจ้งหลุดพ้นกิเลส ออกจากอาสวะได้สำเร็จในคราวนั้นนั่นเองครับ

    ที่กล่าวมาทั้งหมดคือกลวิธีในการกำจัดหรือชำระจิตขั้นยิ่งยวด เพื่อการทำลายกิเลสที่ฝังแน่นอยู่ที่สลัดออกได้ยากที่สุดในกมลสันดารของตน เมื่อถึงจุดนี้ แต่ละคนย่อมอาศัยวิธีการที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยคือ 1การสร้างบารมีฝึกฝนสั่งสมมาต่างกันอย่างไร ก็เจริญและสั่งสมอบรมอย่างนั้นต่อไปจนถึงความสำเร็จ
    2กิเลสที่ฝังลึกแน่นอยู่ในกมลสันดารที่ต่างกันอย่างไร วิธีการก็ต่างไปอย่างนั้น
    3สภาวะในปัจจุบันสมัยมีส่วนปรุงแต่งหรือฉาบทาไว้อย่างไร วิธีการก็แตกต่างไปอย่างนั้น

    ดังนั้นการปฏิบัติในส่วนนี้อันเป็นส่วนเกือบสุดท้ายของการหลุดพ้นของจิต จึงมีความสำคัญมากทีเดียวที่ผู้ปฏิบัติต้องรอบรู้และรู้ทันเพื่อกระทำภาระต่อในจุดสุดท้ายให้สำเร็จได้โดยสมบูรณ์ต่อไปครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2013
  19. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    วกไปวนมา พอเอาลิ้งให้ไปอ่านในโพสที่ #135 กับมาสรุปเอาดื้อๆ
    ทั้งที่ก่อนหน้า กล่าวไว้ว่า

    "สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เกิดมีได้กับพระอรหันต์ทุกพระองค์ที่สำเร็จอรหันตมรรคครับ"

    ทีนี้กลับมาสรุปทิ้งทาย

    หาความแน่นอนไม่ได้จริงๆ เห้อ..ล้วนอนิจจัง ทำไมจึงกลับกลอก ได้ง่ายอะไรขนาดนี้

    อะไรที่ผิดก็ยอมรับผิดซะบ้าง มัวแต่ไปวางมาดกลัวจะเสียฟอร์ม มันช่วยอะไรไม่ได้หรอก

    ทำไมไม่กล่าวให้ถูกต้องไปเลยว่า "ต้องพระอนาคามีขึ้นไป โดยเป็นผู้ได้ฌานสมาบัติ8 มาก่อน"

    และไม่ใช่เจาะจงเฉพาะพระอนาคามี เท่านั้น
    ไม่เช่นนั้นแล้ว แล้วอย่างนี้ พระอรหันต์ผู้ได้ฌานสมาบัติ8 มาก่อน
    ท่านก็ไม่สามารถเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ได้อย่างนั้นหรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2013
  20. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    วิธีการทุกวิธีการ ต่างล้วนมีลำดับขั้น หรือมีขั้นตอนการเป็นไปของมัน เราไม่สามารถข้ามขั้นได้ หากแต่ลำดับขั้นมันเกิดของมันช้าบ้างเราบ้างตามเหตุปัจจัย

    แต่วิธีการก็คือวิธีการ ส่วนแก่นแท้ของมันก็คือแก่นแท้ของมัน เปลือกนอกต่างกัน แต่ภายในเหมือนกัน ท่านก็คิดเอาเอง

    บางครั้งกระผมก็อาจจะเรียบเรียงคำพูดได้ไม่ดีนัก อาจจะทำให้สับสนก็ต้องขอยอมรับ และขออภัยครับ

    แต่หากท่านพิจารณาให้ดี ย่อมเข้าใจแก่นแท้ในเรื่องนี้ได้ไม่ยากครับ
    อนึ่งกระผมเคยกล่าวเรื่องนี้ไว้นานแล้วสาระทั้งหมดก็เหมือนกับที่กล่าวในครั้งนี้ แต่ที่แตกฉานยิ่งขึ้นคือแท้จริงสภาวะแห่งความสิ้นไปของอาสวะกิเลสนั้น มันก็มีสภาวะอันมีสภาพเช่นเดียวกันนั้นเองครับ แต่อาศัยสภาวะวิธีที่ต่างกัน
    สุดท้ายคือมีสภาพความเข้าถึงหลุดพ้นที่เหมือนกันนั่นเองครับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...