พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หึ..หึ.. แลบลิ้นออกมานิดเดียวอีกฝ่ายก็ชนะไปแล้ว ...
     
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    สนับสนุนด้วยครับ ผมถ้าไม่แน่ใจก็ไม่กล้าอ่ะครับ บรื่อผิดคำพูดนี่ขัดหลักประจำใจครับ เป็นกฎข้อแรก ส่วนข้อที่2นี่ก็สำคัญครับ ห้ามจีบแฟนของเพื่อนครับ 55555
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    อ่ามีบางท่านเปรียบเทียบกับของวัดเก๋งจีน ที่ทหารเรือพกกันไม่ทราบว่า กรุไหนจะทหารผีกว่ากันครับ ขอถาม...

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    เนื้อโลหะ ส่วนใหญ่แล้วพลังอิทธิคุณจะออกไปทางแคล้วคลาดและคงกระพัน ส่วนเนื้อผงปูนเพชร องค์ผู้อธิษฐานจิตสามารถอธิษฐานจิตได้ทุกอย่าง (ต้องรวมถึงมวลสารทั้งหมดที่นำมาสร้างองค์พระพิมพ์)ครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมชอบพระเนื้อผงมากๆครับ ไม่ค่อยชอบเนื้อโลหะเท่าไหร่

    ง่วงแล้วครับ ผมไปพักผ่อนก่อนครับ ราตรีสวัสดิ์ทุกๆท่าน
     
  4. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ก๊ากๆๆๆๆ ลิ้นนี่เป็นอวัยวะสำคัญห้ามใช้ผิด หน้าที่ครับ5555
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จากข้อ 4.หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เนื้อผงยาวาสนา 1 องค์
    คงต้องเปลี่ยนแปลง เนื่องจากว่า ผมเหลืออยู่เพียง 2 องค์เท่านั้นครับ

    รายละเอียด ผมขอไปตรวจสอบดูทั้งหมดก่อน แล้วจะนำมาแจ้งให้ทราบกันอีกครั้ง

    เท่าที่คิดไว้คือ ผมจะเปิดให้จองเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น หากไม่มีท่านใดจอง ผมจะนิมนต์กลับทันทีครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ;aa21

    เพียงพระสมเด็จ วัดระฆัง ที่คุณหนุ่มมอบให้ ๑ ใน ๒ องค์(นี่ให้ตั้ง ๒ องค์)นี้ก็เกินราคาที่วงการตั้งราคาไปมากแล้ว อย่าว่าแต่อื่นๆเลย..
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก่อนจะชมพระกรุวัดสามปลื้ม พิมพ์นางพญากัน ผมคิดว่า เราควรที่จะมาทำความรุ้จักกับอดีตเจ้าอาวาสองค์สำคัญที่สุดของวัดสามปลื้มกันก่อน

    [​IMG]พระพุฒาจารย์ เอนกสถานปรีชา ฯ (มา) พระราชาคณะผู้ใหญ่ เจ้าคณะอรัญวาสี มีสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง

    พระพุฒาจารย์ เดิมชื่อ มา ชื่อ อินทร์สร ในพระพุทธศาสนา เกิดในสกุลอุบาสกใจบุญ โยมผู้ชายชื่อ ทองอยู่ โยมผู้หญิงชื่อ แช่ม พระพุฒาจารย์เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๓๘๐ (รัตนโกสินทร์ศก ๕๖) ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีระกานพศก (จุลศักราช ๑๑๙๙) ณ ตำบลบ้านเขาแหลม อำเภอสำเพ็ง กรุงเทพฯ

    ครั้นพระพุทธศักราช ๒๔๐๔ (รัตนโกสินทรศก ๘๐) ตรงกับปีระกา ตรีศก (จุลศักราช ๑๒๒๓) ท่านมีชนมายุได้ ๒๕ ปี จึงอุปสมบทเป็นภิกษุ ณ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส พระอาจารย์นอง วัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นพระอุปัชฌายะ เจ้าอธิการแบน วัดบางกระสัน เป็น กรรมมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทอง วัดบางกระสัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ต่อมาพระพุทธศักราช ๒๔๑๔ (รัตนโกสินทรศก ๙๐) ตรงกับปีมะเมีย โทศก (จุลศักราช ๑๒๓๒) ท่านมีชนมายุ ๓๕ ปี มีพรรษา ๑๐ พรรษา ได้เป็นปลัดในพระวรญาณมุนี (เสง) พระราชาคณะวัดจักรวรรดิราชาวาส (ซึ่งภายหลังเลื่อนเป็นพระโพธิวงษาจารย์ ญาณวิสุทธิจริยา ปรินายก)

    วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พระพุทธศักราช ๒๔๓๒ (รัตนโกสินทรศก ๑๐๘) ตรงกับ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู เอกศก (จุลศักราช ๑๒๕๑) ท่านมีชนมายุ ๕๓ ปี มีพรรษา ๒๘ พรรษา ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรโดย พระบรมมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นพระครูภาวนาวิจารน์ ผู้ช่วยกิจการในวัดจักรวรรดิราชาวาส มีนิตยภัตรเดือนละ ๑ บาท ๒ สลึง

    วันที่ ๑๗ มีนาคม พระพุทธศักราช ๒๔๓๕ (รัตนโกสินทรศก ๑๑๑) ตรงกับ ณ วันศุกร์แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง จัตวาศก (จุลศักราช ๑๒๕๔) ท่านมีพระชนมายุ ๕๖ ปี มีพรรษา ๓๑ พรรษา ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรโดยพระบรมมหาบพิตร พระราชสมภารเจ้า พระบรมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นพระมงคลทิพมุนี สถิตย์พระพุทธบาท เกาะสีชัง เจ้าคณะใหญ่แขวงเมืองสมุทรปราการ มีนิตยภัตรเดือนละ ๓ บาท ภายหลังได้เพิ่มนิตยภัตรเป็นเดือนละ ๗ บาท ๒ สลึง

    วันที่ ๓๐ ธันวาคม พระพุทะศักราช ๒๔๕๖ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๒) ตรงกับ ณ วันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู เบญจศก (จุลศักราช ๑๒๗๕) วัน เดือน ปี นี้ ท่านมีชนมายุได้ ๗๗ ปี มีพรรษา ๕๒ พรรษา พระบรมมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องยศทหารปืนใหญ่ เสด็จประทับพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ตั้งสมณศักดิ์ พระราชทานหิรัญบัตร เลื่อนพระมงคลทิพมุนี เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เพิ่มนิตยภัตรเป็นเดือนละ ๘ บาท มีนามตามจารึกในหิรัญบัตร และประกาศตั้ง ดังแจ้งต่อไปนี้

    ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค ๒๔๕๖ พรรษกาลปัตยุบัน จันทรโคจร อุสภสัมพัตสร บุศยมาศ สุกกปักษ์ จตุตถิดิถึ ภุมวาร สุริยคติกาล ธันวาคมมาส ติงสติมสุรทิน โดยกาลนิยม

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช ฯ บรมนารถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า พระมงคลทิพมุนี ประกอบด้วยวิริยอุตสาหในกิจอันเป็นคุณประโยชน์ในพระศาสนา ชำนาญในวิปัสนาธุระ เป็นพระอุปัชฌายะให้อุปสมบทแก่กุลบุตรเป็นอันมาก มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี เป็นทีชอบที่นับถือของชนทั้งหลาย เพราะขวนขวายสงเคราะห์ประชาราษฎร์ อันมีทุกข์ลำบากด้วยพยาธิทุกข์ และมรณภัยให้มีความสะดวกใจทุกสถาน เอาใจใสในการก่อสร้างแลปฏิสังขรณ์อารามวิหาร เป็นผู้รักษาการพระพุทธบาท ได้จัดการทำนุบำรุงให้มีความเจริญยิ่งขึ้น เป็นที่สะดวกสบายแก่สัปบุรุษ ผู้ขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทตาฤดูกาล และได้ชักชวนผู้มีศรัทธา ให้บริจาคทรัพย์ จัดการปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาท อันชำรุดทรุดโทรมมาแต่ก่อน ให้ดีดังเดิมแล้วเสร็จบริบูรณ์ แล ขวนขวายในการที่จะให้เกิดประโยชน์ บำรุงพระอารามให้รุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก บัดนี้ก็ประกอบด้วยพรรษายุกาลมีวัยวุฒิเป้นพระเถระผู้ใหญ่ สมควรจะพระราชทานเพิ่มสมณศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งอันสูงขึ้นได้ จึงทรงพระกรุณาแรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สถาปนาพระมงคลทิพมุนี เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เจ้าคณะอรัญวาสี มีนามตามจารึกในหิรัญบัตรว่า พระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชาวิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศราธิการ อภิบาลบทวลัญช์ อรัญวาสี สังฆนายก เจ้าคณะอรัญวาสี มีสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง สถิต ณ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาสราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีถานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๘ รูป คือ พระครูปลัดสุวัฒสมณาจารย์ ปรีชาญาณจาริก อรัญญิกสังฆนายกธุระวาหะ ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูศัพทสุนทร ๑ พระครูอมรโกษิต ๑ พระครูธรรมรักขิต ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๘ รูป

    วันที่ ๒๘ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๓) ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล ฉศก (จุลศักราช ๑๒๗๖) ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคลมแน่นเสียด มีแพทย์หลวงและแพทย์เชยศักดิ์หลายนาย ประกอบยารักษาพยาบาล อาการมีแต่ทรงกับทรุด วันปวารณา เป็นวันเคยลงอุโบสถไม่ขาด ถึงกับลงอุโบสถไม่ได้ พระมงคลทิพมุนีครั้งยังเป็นพระธรรมวิหารีเถร พร้อมด้วยพระภิกษุถานาเปรียญที่เลิกจากปวารณาในอุโบสถแล้ว มาปวารณาที่กุฎีพระพุฒาจารย์อีกครั้ง ๑

    ต่อมาวันที่ ๙ ตุลาคม พระพุทะศักราช ๒๔๕๗ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๓) ตรงกับ ณ วันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล ฉศก (จุลศักราช ๑๒๗๖) เวลา ๑๐ ทุ่ม ๓๐ นาที ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ มีชนมายุ ๗๘ ปี กับ ๑ เดือน ๒๒ วัน มีพรรษาได้ ๕๒ พรรษา

    รุ่งขึ้นเช้าวันที่ ๑๐ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงศพ ฝ่ายสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์ มีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหาสังฆนายก เสด็จเป็นปราน แล้วมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จภายหลัง กับทั้งบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการอีกมากที่ได้เสด็จและมาในวันนั้น ส่วนศพได้รับพระราชทานโกศ ๘ เหลี่ยม ฉัตร ๕ ชั้น ๔ คัน มีกลองชนะ เครื่องอินทร์ ๕ คู่ ปี่ไฉน ๑ คัน พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมประจำ ๑ สร้าง มีกำหนด ๑ เดือน เป็นเกียรติยศยิ่ง


    เริ่มสร้างพระเครื่อง
    [​IMG]เมื่อท่านได้สำเร็จวิชาและช่ำชองทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทย์ต่างๆ แล้ว ได้เดินทางกลับมาวัดสามปลื้ม ได้รับการแต่งตั้งเป็น” พระปลัด “ และ ได้เป็นหัวแรงในการสร้างพระพุทธบาทจำลอง ที่วัดสามปลื้ม โดยระยะนี้ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปเนื้อโลหะในแบบพระชัยวัฒน์ หรือ พระกริ่ง แต่ไม่มีกริ่งบรรจุในองค์พระ

    ในช่วงชีวิตของท่าน เป็นเรื่องแปลกที่ท่านเจ้ามามักเกี่ยวข้องกับ "พระพุทธบาท" เสมอ ไม่ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเลื่อนชั้นจาก “พระปลัด” โดยสมเด็จพ่อ รัชกาลที่ 5 ให้เป็น .”พระครูภาวนาวิจารย์ “ ในวันที่13 พฤษภาคม พ.ศ.2432 และได้ถูกนิมนต์ให้เป็นผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานที่ "เกาะสีชัง" เมื่อเสร็จงานเรียบร้อย แล้ว ได้รับแต่งตั้งเป็น "พระมงคลทิพยมุนี" เจ้าคณะใหญ่แห่งเมืองสมุทรปราการ และ เป็นผู้รักษาพระพุทธบาทเกาะสีชังด้วย ท่านได้สร้างเหรียญพระพุทธบาทเกาะสีชังและเป็นผู้ปลุกเสกด้วยครับ ต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรักษา "พระพุทธบาทจำลองที่สระบุรี" อีกด้วย จึงเป็นเรื่องประหลาดที่วิถีชีวิตของท่านเจ้ามา มักจะเกี่ยวข้องกับ "รอยพระพุทธบาท" เสมอ แสดงว่า ท่านเป็นผู้มีบุญญาธิการสูง สมควรแก่การรักษา สิ่งที่เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ คือ พระพุทธบาท ครับ

    การปลุกเสกและพุทธคุณ
    ท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวด้วยตัวของท่านเอง มีคนนำไปใช้พบกับคุณวิเศษนานับประการ ทั้งในด้านคงกะพันชาตรี และเมตตามหานิยม จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปอย่างมาก
    ขนาดท่านบิดาของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต สมัยที่เป็นนายอำเภอที่บางปลาม้า สุพรรณบุรี มีพระท่านเจ้ามาติดตัวองค์เดียว ถูกเสือร้ายชื่อดังยิงด้วยปืน แต่ปืนไม่ลั่น เสียงดังแชะๆ เรื่องนี้ ท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นผู้เล่าให้บรรดาศิษย์ฟังครับ ลองคิดดูกันแล้วกันครับ ว่าถ้าพอมีกำลังควรหามาติดกายบูชาสักองค์หนึ่งไหม

    เนื้อพระ
    ท่านสร้างพระด้วยโลหะผสม มีหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองผสม บางองค์ออกทองเหลืองประแจจีน ออกแดง ขันลงหิน หรือ แม้แต่เนื้อกลับดำ ก็มี แบบมีประกายเงินในแบบนวโลหะ หรือ ออกแก่ทองคำหรือ แก่เงิน หรือ แก่สำริดก็มีครับ
    แต่โดยทั่วไป เนื้อพระของท่านจะหนักไปทางทองเหลืองหรือทองแดง เพราะ ท่านมีเศษพระบูชาและ พวกโลหะทองเหลือง ทองแดงมากมายที่ได้จากการบูรณะรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี และ ที่วัดนี้ยังมีการหล่อพระบูชาสร้างพระพุทธรูปบูชาอีกด้วย พวกเศษทองเหลืองจึงมีมากครับ

    วัสดุที่มาสร้างเนื้อพระ
    ส่วนสาเหตุที่เนื้อพระบางองค์กลับดำ ประกายเงิน หรือประกายทองนั้น มีที่มาดังจะกล่าวต่อไปครับ

    ทำไมพระบางองค์จึงกลับดำ มีประกายเงิน หรือ ทอง
    ครั้งหนึ่งไฟได้ไหม้พระมณฑป อันเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี สิ่งของที่มีค่าราคาประเมินไม่ได้ เช่น เสื่อเงิน เสื่อทอง ม่านทอง ผ้าซึ่งประดับเพชรพลอย และ ของมีค่าราคาสูงของกษัตริย์โบราณหลายยุคหลายสมัยที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา ได้สูญสิ้นไปกับเพลิงไหม้ครั้งนั้น

    ท่านได้เก็บเศษเสื่อเงิน เสื่อทอง ที่ไฟไหม้ และ เศษเงิน เศษทอง ที่ไฟไหม้ มาหล่อหลอมขึ้นมาเป็นเส้นทอง และ เส้นเงินใหม่ ในครั้งนั้น บางครั้งเศษเงินและทอง ก็กระเด็นออกจากเบ้าหลอม ท่านได้เก็บเศษโลหะเงินทองเหล่านั้น มาผสมกับเนื้อพระท่าน ทำให้ บางรุ่นเนื้อกลับดำออกประกายเงิน หรือ ประกายทองคำ นี่คือ ต้นกำเนิด พระเครื่องท่านเจ้ามาเนื้อกลับดำ มีประกายเงิน หรือ เนื้อประกายทองแก่ทองหรืออาจแก่เงินครับ

    ราคาค่านิยม
    ถ้าสวยๆ ราคาหลักหมื่นต้นหมดทุกพิมพ์แล้วครับ มีราคาตั้งแต่หลักหมื่นต้นไปถึงทะลุแสนกลาง ขึ้นกับความนิยมของพิมพ์พระ พิมพ์ล้มลุกแบบเนื้อกลับดำ ราคาทะลุแสนกลาง พิมพ์ที่ถือว่า ราคาเบาที่สุดคือ พระพิมพ์ฐานสูง อยู่ในหลักหมื่นถึงสองหมื่นบาท แต่พระที่ไม่สวย ยังพอหาได้ในหลักพันปลายๆ ครับ เพราะ พระเจ้ามามักจะหล่อออกมาได้ไม่สวย ที่สวยๆ หล่อติดเต็มๆ ราคาจะแพงเป็นพิเศษ เพราะ หายากกว่ามาก

    พุทธลักษณะ
    พระมักจะเป็นปางสมาธิ และ มีเพียงพิมพ์เดียวรุ่นเดียว คือพิมพ์บัวฟันปลาที่สร้างในแบบมารวิชัยครับ

    ตลอดชั่วอายุขัยของท่านๆ ได้สร้างพระชัยวัฒน์ไว้หลายพิมพ์ทีเดียว เรามาศึกษาหาคววามรู้กันดีกว่าครับ เริ่มจากพิมพ์แรกเลยครับ คือ

    <TABLE id=table1 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระชัยวัฒน์ล้มลุก

    เนื้อดำ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์ล้มลุก
    พิมพ์นี้ชื่อ ดีครับ คำว่า "ล้มลุก" เพราะ องค์พระเหมือนตุ๊กตาล้มลุก ตั้งวางไว้ไม่มีล้ม จะกลิ้งลุกขึ้นมาได้ตลอด องค์พระขัดสมาธิ นั่งบนบัวเล็บช้าง รูปพระคล้ายตุ๊กตาล้มลุก มีหลายเนื้อ ที่หายากและราคาแพงที่สุด คือ เนื้อกลับดำ คือ แก่เงินมากนั่นเอง ราคาอยู่ในหลักเกินแสนกลางขึ้นไปครับ หายากมากทีเดียว ส่วนพิมพ์นี้เนื้ออื่นๆ เช่น น้ำตาลอมแดง เนื้อเหลือง ก็พบแต่ ราคาจะไม่แพงเหมือนเนื้อดำ
    เนื่องจากภาพพระชัยวัฒน์ล้มลุกเนื้อดำ นั้นหาของแท้ยากมาก และ ราคาแพงมากเกินหลักแสนกลางๆ ขึ้นไป ที่เห็นแท้ๆ ดูง่ายก็องค์นี้ครับ ขออนุญาตนำ ภาพพระแท้องค์นี้ซึ่งเป็นของอาจารย์เล็ก รูปหล่อ ผู้เชี่ยวชาญสายพระกริ่งชัยวัฒน์มากที่สุดท่านนึงของวงการครับ
    <TABLE id=table2 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์บัวฟันปลา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์บัวฟันปลา
    องค์พระนั่งสมาธิและแบบมารวิชัย หรือ ปางสะดุ้งมาก องค์พระนั่งบนฐานแต่งแบบบัวคว่ำ บัวหงาย หรือ จะเรียก บัวฟันปลาก็ได้ ภายใต้ฐานจะกลวง เป็นพิมพ์หายากไม่แพ้พิมพ์ล้มลุก ส่วนมากเป็นพิมพ์แต่ง เนื้อจะเป็น แบบสำริด พระพิมพ์นี้ใบหูจะสั้น ครับ
    <TABLE id=table3 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์ฐานหกเหลี่ยม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์ฐานหกเหลี่ยม
    เป็นพระเครื่องขนาดเล็ก ฐานกว้าง1.5 ซม สูง2.3 ซม องค์พระนั่งขัดสมาธิเพชรบนบัวและมีฐานเรียบๆ หกเหลี่ยม รองรับอีกชั้นหนึ่ง เนื้อพระจะออกสีน้ำตาลเข้ม คล้ายกับ พระชัยวัฒน์ วัดราชบพิธ ปี พศ 2466 เป็นพระพิมพ์นิยมอันดับต้นๆ เช่นกัน ราคาเช่าหาสูงมากทะลุหลักแสนบาทเช่นกัน และ หาของแท้ได้ยากมากครับ เท่าที่เห็นพิมพ์ฐานหกเหลี่ยมจะมีหลายรูปลักษณะ แต่เท่าที่ทราบของแท้ มักไม่ปรากฏในสนามบ่อยนัก ทำให้เหมือนกับเป็นพระในตำนานไปแล้วเช่นกัน
    <TABLE id=table4 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์ ร.ศ. 118

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์ร.ศ.118
    เป็นพระนั่งบนฐานบัวสองชั้น มีฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีเลขที่ฐานว่า ร.ศ 118 เข้าใจว่าสร้างในปี พ.ศ 2442 เป็นพระเนื้อออกสำริดแดง อมเหลือง องค์พระนั่งสมาธิเพชร พระพิมพ์นี้จะไปคล้ายกับพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เข้าใจว่า สองท่านนี้คือ ท่านเจ้ามา และ ปู่บุญ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดทีเดียว ราคาเช่าหาหลักหลายๆ แสน ที่เห็นมักเป็นของปลอมมากกว่าครับ
    <TABLE id=table5 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์คอหนอก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์คอหนอก
    พระนั่งบนฐานบัวสองชั้น องค์พระจะป้อมๆ สังฆาฏิใหญ่ พิมพ์นี้เนื้อพระจะออกสำริดออกแดง พระพิมพ์นี้ก็จะไปคล้ายกับของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วเช่นกัน
    <TABLE id=table6 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์หน้าครุฑ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์หน้าครุฑ
    พิมพ์นี้จะคล้ายพิมพ์คอหนอก แต่ว่าองค์พระจะออกยืด ใบหน้าจะแหงนกว่าปางประทับนั่งขัดสมาธิบนบัวสองชั้น และ มีฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ฐานดูสูงกว่าพิมพ์คอหนอก เนื้อพระส่วนมากจะเป็นเนื้อน้ำตาลอมแดง
    <TABLE id=table7 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์หน้ากระบี่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์หน้ากระบี่
    องค์พระนั่งสมาธิบนฐานเขียงแบบเตี้ยๆ บางองค์จะสั้น บางองค์ก็ยาวดูคล้ายชฎาของพระฤาษี เนื้อพระจะออกแดงอมเหลือง พิมพ์นี้จะคล้ายพิมพ์เศียรทุย พระเครื่องพิมพ์นี้ไม่ทราบใครตั้งชื่อให้ แต่ กระบี่ หมายถึง ลิง พระเครื่องพิมพ์นี้เท่าที่ทราบสร้างแจกเมื่อคราวที่วัดมีการละเล่นกระบี่กระบอง
    <TABLE id=table8 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์เศียรทุย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์เศียรทุย
    พระเครื่องพิมพ์นี้ เป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน แม้ในหนังสือ เพชร พระเครื่อง เมื่อ ยี่สิบปีก่อน ก็ได้ลงรูปใหญ่ไว้ว่า เป็นพิมพ์นิยม มากและ ราคาเช่าหาก็สูงมาตั้งนานแล้วเช่นกันครับ ขนาดองค์พระไม่เล็ก ไม่ใหญ่ องค์พระนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานเขียง เนื้อพระจะออกอมแดงแบบเนื้อทองแดงเถื่อน ที่พบเนื้อทองเหลืองก็มีแต่จะแก่ไปทางสำริดเช่นกัน แต่พระพิมพ์นี้ต้องดูให้ดี เพราะ ศิษย์ท่านคือ พระครูสอน ได้สร้างขึ้นที่วัดมักกะสันในปี พ.ศ. 2480 ด้วย เนื้อพระจะเป็นแบบทองเหลือง ต่างกับของเจ้ามา ที่เนื้อจะออกทองแดง และ แบบทองเหลืองผสมจนแก่ทางสำริด ศิลปะของเจ้ามาดูโบราณกว่าด้วย พระที่หล่อออกมาได้สวยราคาเช่าหาสูงในหลักหมื่นกลางขึ้นไปถึงแสนบาทครับ
    <TABLE id=table9 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์แม่ค้า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์แม่ค้า
    พิมพ์นี้เล็กที่สุด องค์พระนั่งขัดสมาธิบนฐานเขียง เนื่องจากขนาดเล็กจึงเหมาะกับผู้หญิง โดยเฉพาะแม่ค้าที่ไปร่วมทำบุญมักได้รับพระเครื่อง พิมพ์นี้กันมาก เนื้อพระออกเหลืองกว่าพิมพ์เศียรทุยและหน้ากระบี่
    <TABLE id=table10 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิมพ์ฐานสูง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พิมพ์ฐานสูง
    องค์พระนั่งสมาธิบนฐานบัวและ มีฐานเขียงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ดูแล้วฐานจะสูง จึงเรียก พิมพ์นี้ว่า พิมพ์ฐานสูง กล่าวกันว่าท่านสร้างพระพิมพ์นี้ในช่วงท้ายสุด ในช่วงปี พ.ศ.2455-57 ก่อนท่านมรณภาพไม่นานนัก พระพิมพ์นี้เคยมีผู้พบเป็นช่อไม่ได้ตัด พระพิมพ์นี้ผู้ได้รับตกทอดท่านสุดท้ายนำออกมาให้บูชาในปี พ.ศ 2510 ปัจจุบันเริ่มหายากขึ้นและ ราคาแพงขึ้นทุกขณะทีเดียวครับ โดยทั่วไป พระที่หล่อได้ติดเต็มๆ ทั้งหน้าหลังและสวยงาม ราคาหลักหมื่นขึ้นหมดมานานแล้วครับ แต่พระที่หล่อได้ไม่สวยหลักพันกลางถึงปลายพอหาได้ครับ
    พิมพ์สิงหเสนี
    เป็นพระเครื่องเนื้อออกดำและแก่เงิน เหมือนพิมพ์ล้มลุก เป็นพระที่ท่านสร้างให้คนตระกูลนี้ เพราะ ได้ช่วยเหลือบำรุงวัดมานาน มีส่วนผสมอันประกอบไปด้วยตะกรุดโทนที่จารแล้ว และ แผ่นยันต์ต่างๆ มากมายมาหลอม จึงมีทั้งแก่เงิน และ แบบกลับดำ
    แต่เนื่องด้วยความหายาก ผมไม่สามารถหาภาพมาได้ครับ เพียงแต่อยากให้เพื่อนๆ ทราบไว้เท่านั้น เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา

    ค่านิยม
    พระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา ถือเป็นสุดยอดพระชัยวัฒน์อันดับหนึ่งของวงการ และ ถูกจัดให้อยู่ในทำเนียบเบญจภาคีชัยวัฒน์ อันประกอบไปด้วย พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา วัดจักรวรรดิ พระชัยวฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ พระชัยวัฒน์สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ พระชัยวัฒน์หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง และ สุดท้ายพระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ( แจ้ง)


    a8a8a8a8a8a8a8a8a8a


    ความสัมพันธ์กันระหว่างท่านเจ้ามา สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์
    และ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    ท่านเจ้ามาเปรียบเสมือนอาจารย์ เพราะก็เป็นคนถ่ายทอดและมอบตำราวิชาการสร้างพระกริ่งและชัยวัฒน์ แก่สมเด็จสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศน์ และเข้าใจว่าได้ถ่ายทอดการสร้างพระชัยวัฒน์แก่หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วด้วย เพราะ พระหลายพิมพ์ของปู่บุญ เป็นพระพิมพ์ที่คล้ายและในลักษณะเดียวกับเจ้ามาเลยทีเดียว สมเด็จสังฆราชแพ ท่านเจ้ามา และ ปู่บุญ ทั้งสามท่านนี้ มีความสนิทสนมกันในทางธรรมวินัยมาก ทำให้ การสร้างพระกริ่ง และ ชัยวัฒน์ของสามท่านนี้ เกี่ยวเนื่องจากตำราเดียวกันทุกประการ และ เป็นที่นิยมในวงการอย่างสูงยิ่ง แบบมีที่มา ไม่มีการปั่นใดๆ ทั้งสิ้นเพราะ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ที่สามารถพิสูจน์ได้ครับ พระแท้จริง ทำไมถึงนิยม ผมไม่คิดว่าเป็นกระแสการปั่น พระที่นิยมมานานตั้งแต่รุ่นเก่ารุ่นแก่ มักเป็นพระดีทั้งสิ้น เพราะ คนรุ่นเก่าเขาผ่านประสบการณ์อะไรมามากต่อมาก ย่อมทราบดีอะไรดีจริง ไม่ดีจริงครับ


    a8a8a8a8a8a8a8a8a8a


    กล่าวโดยสรุป ท่านเจ้ามา นอกจากจะเป็นผู้ได้รับสืบทอดตำราการสร้างพระกริ่งชัยวัฒน์โบราณสมัยอยุธยาในเข้ามาสู่เมืองไทยในยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยหลักฐานท่านได้รับตกทอดมาจากสมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ท่านเจ้ามาได้เป็นผู้ก่อกำเนิดตำนานพระชัยวัฒน์อันยิ่งใหญ่แห่งเมืองไทย และท่านเคยมีดำริจะสร้างพระกริ่งตามตำรับเดิมที่ได้รับตกทอดมา เมื่อท่านอายุครบ 80 ปี แต่ท่านได้มรณภาพลงก่อนเมื่ออายุ 77 ปี ทำให้ตำรับดังกล่าวตกไปอยู่กับศิษย์ของท่านคือสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ และ ตำนานพระกริ่งอันยิ่งใหญ่จึงก่อกำเนิดที่วัดสุทัศน์แต่นั้นมา

    นอกจากคุณวิเศษมหัศจรรย์ในพระชัยวัฒน์ที่ท่านปลุกเสกด้วยไสยเวทย์กล้าแกร่งแล้ว ในทางปฏิบัติ ท่านก็เป็นพระเถระที่เอาใจใส่ในวิปัสสนาธุระ และ นวกรรมนับตั้งแต่เป็นพระภิกษุหนุ่ม จนถึงมรณภาพ ได้ทำชื่อ เสียงเกียรติคุณมาสู่วัดอันเป็นอเนกอนันต์ ดังปรากฏว่า มีผู้เคารพนับถือมาก ตั้งต้นแต่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลที่ 5 เจ้านายขุนนางตลอดจนลงมาถึงประชาชนทั่วไป และ เมื่อท่านถึงแก่มรณภาพ พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ประจำ 1 สร้าง มีกำหนด 1 เดือน เป็นเกียรติยศยิ่ง
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-ma/lp-ma-hist-01.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2008
  9. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,686
    ค่าพลัง:
    +83,856
    คุณ sithiphong<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1376093", true); </SCRIPT> ยังมีพิมพ์พระสังกัจจาย ลอยองค์ พระพิมพ์พนมมือ หรือพระปิดตา ของหลวงปู่ใหญ่ให้ร่วมบุญบ้างไหมครับ
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">พระเครื่องกรุวัดสามปลื้ม</TD></TR><TR><TD width="100%">

    ในคราวสงครามมหาเอเซียบูรพา พระเครื่องและเครื่องรางของขลังต่างๆ ได้ถูกจัดสร้างขึ้นอย่างมากมายในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ชาวไทยทุกคนต่างก็ร่วมแรงร่วมใจกัน พระสงฆ์ องค์เจ้าก็เป็นอีกหนึ่งแรงใจของชาวไทย พระชินราชอินโดจีน ก็ได้ถูกสร้างขึ้น ในคราวนี้ นอกจากนั้นทางการก็ยังมีการเปิดกรุพระเครื่องจากวัดวาอารามต่างๆนำออกมาจ่ายแจกให้กับเหล่าทหารและประชาชนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและเพื่อขอพึ่งบารมีพระพุทธคุณให้รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ

    พระเครื่องจากเจดีย์ต่างๆก็ออกมาโปรดประชาชน ในยามที่นกเหล็กเข้ามาโปรยลูกระเบิดทุกยามค่ำคืน ข้าวยากหมากแพง หลายๆครอบครัวอพยพจากเมืองบางกอกออกไปอยู่ตามหัวเมือง และย่านชานเมือง แม้นแดต่พระสมเด็จกรุวัดใหม่อมตรส(กรุวัดบางขุนพรหม) ก็ได้ถูกตกเบ็ดออกมาด้วยในคราวนี้ พระเครื่องโคนสมอ หลวงพ่อโต พระขรัวอีโต้ และพระเครื่องสำคัญๆของเมืองพระนครก็ได้รับการอารถนาจากผู้คนทั้งหลาย จากเหตุการในยามสงครามและการสู้รบกับทหารฝรั่งเศส ในสงครามอินโดจีน พระเครื่อง และเครื่องรางของขลัง และความห้าวหา่ญของนักรบไทย เป็นที่ครั่นคร้ามต่อทหารชาวฝรั่งนักล่าอาณานิคม

    " ทหารผี " คือสมญานามที่ชาวต่างชาติเรียกนักรบไทย เพราะต่างเห็นกับตาว่า ยิงล้มคว่ำไป แล้วยังลุกขึ้นมาไล่ยิงข้าศึกต่อได้อีก ทำให้ทหารต่างชาติขวัญหนีดีฝ่อ แตกทัพกันอย่างโกลาหล บรรดาเหล่าแม่ทัพของต่างชาติได้ประจักษ์ในพระพุทธคุณ แต่ด้วยความไม่เข้าใจ จึงทราบแต่เพียงผิวเผินว่า ทหารไทยมีเครื่องรางของขลัง มีพระเครื่อง จึงได้สอบถามจากชาวลาว ซึ่งเป็นอาณานิคมอยู่ พี่น้องลาวท่านนั้นเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงออกอุบายให้ทหารชาวฝรั่งเศส นำเอาพระว่านจำปาศักดิ์ และพระบูชามาต้มในน้ำหม้อใหญ่ ดื่มเพื่อความคงกระพันและก็ได้การครับ กองทัพฝรั่ง เป็นโรคท้องร่วง ล้มป่วยกันอย่างหนัก และหลังจากนั้นก็มีการเจรจากันทางการทูต

    ท่านอาจจะหารายละเอียดที่ถูกต้องอ่านดูได้จากแวบของสารานุกรมไทย เอาเป็นว่าชาวต่างชาติถึงกับเข็ดขยาดในความห้าวหาญและรักชาติของคนไทยก็แล้วกัน







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระเครื่องกรุวัดสามปลื้ม ก็ได้ถูกนำออกมาจากกรุในคราวนั้นเช่นกัน พระเครื่องถูกบรรจุกรุอยู่ในเจดีย์รายรอบพระอุโบสถ พระมีจำนวนมากพอสมควร แต่เนื้อพระนั้นเป็นเนื้อแบบปูนปั้น คะเนว่ามีอายุมากกว่าพระสมเด็จประมาณ ๕๐ปี เพราะคงจะสร้างในคราวสมโถชกรุงรัตนโกสินทร์ ศิลปะเป็นยุครัตนโกสินทร์บริสุทธฺ์ ปางสมาธิ และมารวิชัย มีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พิมพ์กลีบบัว และมีเนื้อชินด้วยจำนวนหนึ่ง พระเครื่องกรุนี้ก็คงจะมีอายุเท่าๆกับกรุงเทพมหานคร ถึงกาลปัจจุบันก็น่าจะมีอายุราวๆ ๒๓๐ ปีีกว่าๆเห็นจะได้ พระพุทธคุณนั้นเท่าที่ประจักษ์ก็คือเป็นพระเครื่องทางด้านคุ้มครองป้องกัน มีความคงกระพันที่โดดเด่น และชัดเจน (ผู้แขวนบูชาต้องเป็นคนดีด้วยนะครับ)

    ตามประวัติศาสตร์ลำดับเจ้าอาวาสและบันทึกของทางวัดพอจะสรุปได้ว่า ผู้สร้างพระเครื่องกรุนี้คือ หลวงปู่เขียนและหลวงปู่ช้าง (ถ้าผู้เขียนจำไม่ผิด) สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา สืบอายุพระศาสนา กล่าวกันว่าพระภิกษุทั้งสองท่านเป็นผู้แก่กล้าในวิทยาคมและวิปัสนาธุระเป็นอย่างสูง แต่บันทึกต่างๆนั้นเป็นเพียงคำบอกเล่า จึงไม่ได้กำหนดและชี้ชัดเจนนัก เอาเป็นว่าเรามารู้จักกับพระเครื่องวัดสามปลื้มกันให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีก หากว่าแฟนเพลงของผมบังเอิญมีอยู่ก็จักได้รู้คุณค่า และบูชามรดกอันล้ำค่ากันต่อไป


    เราต้องแยกแยะเสียก่อนว่าพระเครื่องกรุวัดสามปลื้มเป็นเนื้อปูนปั้นและถูกบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ราย (เจดีย์องค์ขนาดย่อมๆ เรียงรายรอบพระอุโบสถ)์ ซึ่งทำให้เนื้อพระแห้งและด้วยที่ลักษณะเป็นชิ้นปูนขาวบางๆซึ่งไม่ได้ผสมมวลสารและเส้นใยต่างๆแบบพระสมเด็จ ซึ่งมีเส้นใยของกระดาษสาและเปลือกกล้ายหอมจันทร์ รวมทั้งส่วนผสมของน้ำมันตังอิ๋วที่น้อยกว่าเนื้อพระจึงไม่หนึกนุ่มแบบพระสมเด็จ และเนื้อพระที่แตกหักนั้นก็จะเป็นกาบชั้นๆ


    เนื้อพระสมเด็จนั้นเปรียบแล้วเหมือนดังคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่เนื้อพระวัดสามปลื้มเปรียบได้ดังปูนฉาบกำแพง ไม่รู้จะเข้าใจกันหรือเปล่า เอาง่ายๆว่าเนื้อพระวัดสามปลื้มจะแห้งมากๆ แห้งจริงๆ และด้วยความที่ว่าส่วนผสมหลักๆก็คือปูนขาว จึงมีความเข้มข้นของอนุมูลแคลเซียมอย่างยิ่งยวด จึงเกิดคราบผิวที่แตกต่างไปจากพระเครื่องอื่นๆเป็นอันมาก และสามารถแยกแยะออกมาได้อย่างไม่ยากนัก คนเฒ่าจึงบอกเล่าให้หลานฟังว่า " พระเครื่องกรุวัดสามปลื้มมีผิวสามชั้น "


    ๑ ผิวรักทอง
    ๒ หนังคางคก
    ๓ เนื้อในแห้ง


    ทั้งสามประการนี้เป็นจุดที่ช่วยในการพิจารณาชี้ชัดความเก่าและแท้ได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ และเมื่อเข้าใจแล้วก็ควรได้ส่องพระองค์จริงประกอบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความชี้ชัด และสามารถจำเอาไว้เป็นบทเรียนที่ดีได้ ทำความเข้าใจตรงนี้นิดหนึ่งว่า การพิจารณาพระเครื่องนั้นเป็นสมาธิประการหนึ่งคือมีศีล ซึ่งหมายถึงข้อกำหนดหรือคุณลักษณะของพระเครื่องชนิดนั้น เช่นจากพุทธศิลป์นั้นเป็นพระเครื่องของยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับบนอาสนะฐานผ้าทิพย์ ฝีมือแกะแม่พิมพ์ต้องเป็นช่างหลวงแน่นอน พระเนตรพระกรรณนั้นถอดแบบออกมาจากพระโคนสมอ และรายละเอียดต่างๆนั้น ดูภาพโดยรวมๆแล้วต้องดูว่าเก่าเพราะเป็นพระโบราณ อายุสองร้อยกว่าปีล่วงมาแล้ว นั้นคือโดยรวมๆแล้วคือ พระเครื่องฝีมือช่างหลวง ต้องสวยงามและได้สัดส่วน และแห้งเนื่องจากการคายความชื้นของเนื้อพระล่วงเลยมานานแล้ว


    คุณลักษณะจำเพาะนั้นมุ่งไปที่คราบผิว


    ๑ ผิวรักทอง
    ประการนี้ก็ต้องอาศัยวิชาของพระครูโคนสมอ ในเรื่องความเก่าและลักษณะของผิวรัก และผิวทองที่ปิดอยู่ ของพระโคนสมอ พระโคนสมอนั้นเป็นพระเครื่องจากเมืองกรุงเก่า ชลอเอามาลงรักปิดทองแล้วนำเข้าบรรจุกรุอีกรอบ ทองนั้นปิดในคราวเดียวกันกับพระเครื่องวัดสามปลื้ม ทั้งทองและรักก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ในพระเครื่องกรุวัดสามปลื้ม ในองค์ที่ลงรักปิดทอง ก็จะมีสภาพที่สวยสมบูรณ์ดีเยี่ยม ของทำเทียมบางทีก็ใช้สีทองทาลงไปเลย ซึ่งจะผิดกับการลงรัก ควรศึกษาจากพระโคนสมอ ถ้าพระเครื่องวัดสามปลื้มที่ลงรักปิดทองของท่านมีผิวแบบเดียวกันหละก็ ยินดีด้วยครับ แต่ความแตกต่างก็ยังมีอยู่บ้างในเรื่องของความหนา และรักของพระวัดสามปลื้มจะใสกว่าเรียกกันว่ารักน้ำเกลี้ยงจะออกสีแดงของชาดเรื่อๆอยู่ แต่เรื่องความแห้งประมาณเดียวกัน และพระเครื่องวัดสามปลื้มมีเนื้อปูนเป็นหลัก จึงมักจะเกิดรอยประทุเป็นตุ่มดันทะลุผิวรักออกมา ซึ่งพระโคนสมอจะไม่มีเพราะว่าเป็นพระเครื่องเนื้อดิน


    ๒ ผิวหนังคางคก
    อาจจะเป็นผิวพระด้านหลัง หรือส่วนที่อยู่ใต้ผิวรัก ตามที่กล่าวเอาไว้แล้วว่า เนื้อพระแก่ปูน หรือเรียกได้ว่าเป็นปูนขาวปั้น แคลเซียมจึงมีอิทธิพลมากเป็นอย่างสูง เมื่อถูกบรรจุกรุ ก็จะเกิดคราบและเป็นตุ่มเม็ดผดขึ้นใหญ่บ้าง เล็กบ้างเรียกกันว่า " หนังคางคก " บางแห่งปะทุทะลุผิวรักทองออกมา


    ๓ เนื้อใน
    ซึ่งจะต้องมีความแห้งผาก และบางองค์ก็ล่อนเป็นกาบคล้ายๆกับเนื้อขนมถั่วทุบ ความแห้งผากนี้ จะต้องดูของจริงจะเข้าใจ ภาพถ่ายทอดไม่ออกครับ ผิวชั้นในนี้ หากว่าดูผิวรักทองเป็นแล้ว ดูหนังคางคก เป็นแล้ว เนื้อในนั้นไม่ยากเลยครับ


    บัญญัติสามประการ หรือข้อกำหนดสามข้อที่ผู้เขียนใช้พิจารณาพระเครื่องกรุวัดสามปลื้ม เมื่อเรามีข้อกำหนดในใจแล้วสามประการ นั่นก้คือเรามีความเชื่อและความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องชนิดนั้น เราจึงจะสามารถพิจารณาพระเครื่องอย่างมีสมาธิ ไม่วอกแวกกับ นิทานหรือเรื่องราวประกอบต่างๆว่า เป็นพระที่มีแหล่งที่มาดี หรืออะไรก็ตามที มองดูที่องค์พระแบบมีความรู้ มีข้อกำหนด แล้วก็จะเกิดปัญญา คือสามารถสรุปและตัดสินได้ด้วยตนเอง ว่าเป็นพระแท้หรือไม่


    สรุปก็คือวิธีการง่ายๆในการฝึกดูพระเครื่องให้เป็นด้วยตนเองคือ


    ๑ มีศีล คือมีข้อกำหนด รายละเอียดต่างๆ เช่นศิลปะ ธรรมชาติความเก่า ของผิวพระ ลักษณะรักทอง และมูลเหตุทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดธรรมชาติความเก่า ในลักษณะต่างๆ


    ๒ มีสมาธิ คืิอเมื่อมีความรู้จริงแบบอิงวิทยาศาสตร์ ศิลปะศ่าตร์ และศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่อง ก็จะสามารถพิจารณาได้อย่างมีสมาธิ


    ๓ มีปัญญา คือเมื่อต้องตัดสินใจ เช่าหรือไม่เช่านั้นต้องมีการตัดสินใจจากเหตุผลและความน่าจะเป็น ถ้ามั่นใจเกิน ๘๐ ค่อยตัดสินใจ อีก ๒๐ ก็คือความเหมาะสมของราคาว่าเป็นมูลิเนค หรือการปั่นหรือเปล่า " เขาเล่นกันเป็นแสน " ก็ว่ากันไปตามฐานะครับ คิดเอง ชื่นใจ หรือเจ็บใจเอง


    เงินก็เงินเรา แขวนอยู่ที่ตัวเรา แล้วทำไมไม่ตัดสินเองครับ


    ความน่าสนใจของพระเครื่องกรุวัดสามปลื้ม
    เคยได้ยินได้ฟังว่า นักเลงสมัยก่อนมักจะถือไม้ตะพด หัวโลหะ เงิน ทอง ทองเหลืองก็ตามแต่ เพราะหลังจากที่ไม่ค่อยมีสงครามรบพุ่งกันแล้ว การจะเดินถือดาบ สะพายดาบนั้นก็จะเป็นเพียงเวลาที่เดินทางไกล นอนค้างอ้างแรมในป่า ชาติเสือต้องมีเขี้ยวเล็บ ไม้ตะพดจึงเป็นของคู่กายของชายชาตรีในสมัยนั้น ว่าเป็นคนจริง เป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่า หากใครถือไม้ตะพดไปไหนมาไหนแล้ว เหมือนกับบอกกับใครๆว่า " ลองได้ครับ " ก็จึงเป็นที่มาของเรื่องราวอภินิหารของพระเครื่องกรุวัดสามปลื้ม เมื่อมีการประไม้ตะพดเข้า และเลยเถิดไปจนถึงกับดึงหลาวออกมาจากไม้ตะพด มีชายท่านหนึ่งถูกหลาวทองเหลืองแทง แต่ไม่เข้า ความคงกระพันขนาดที่ว่าหลาวทองเหลือที่แหลมคมถึงกับงอพับลงมา เป็นที่โจษจรร กันมาหลายทศวรรต


    ที่เล่าให้ฟังนั้นก็เป็นประเภทตำนาน แต่ที่ได้เห็นก็คือเพื่อนเกลอสมัยที่เรียนวิศวะด้วยกัน " พี่เหรียญ" ของเราเล่าให้ฟังว่า ในสมัยที่เรียน ปวช ช่างกล การเดินทางไปเรียนนั้นช่างดูเหมือนวิบากกรรม ถ้าวันไหนนึกครึ้มๆหรือดูว่าการเดินทางค่อนข้างจะอันตราย พี่เหรียญก็จะแอบหยิบสร้อยคอของเตี่ย ซึ่งมีพระเครื่องกรุวัดสามปลื้ม เลี่ยมทองอยู่องค์เดียว เป็นพิมพ์กลีบบัวใหญ่ซึ่งเตี่ยท่านก็เคยเล่าให้ฟังว่าสมัยหนุ่มๆนั้น นอกจากจะแคล้วคลาดเป็นเยี่ยมแล้ว ก็ยังหนักไปทางเมตตามหานิยม ส่วนที่โดนหนักๆ ก็จะเป็นเพื่อนๆของเตี่ยที่มีประสพการณ์ทางด้านบู๊แบบล้างผลาญ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ฟังมาจากเตี่ยเพื่อน ซึ่งก็น่าเชื่อถืออยู่ อาจจะเป็นไปได้ว่า ท่านเห็นว่ากำลังคะนองกันทั้งนั้น บอกเป็นนัยๆว่าพระดี อยากให้แขวนติดตัวเพราะว่าเป็นห่วงลูกชายหัวแก้วหัวแหวน


    แต่ที่ทำให้ผู้เขียนประทับใจที่สุดก็คือ เวลาที่พี่เหรียญของเราแขวนพระกรุวัดสามปลื้ม แล้ววันไหนดันแขวนท่านไป กินก๋วยเตี๋ยวเนื้อ หรือลุกชิ้นเนื้อเข้า มักจะเกิดอาการเบลอๆเหมือนกับมีบางอย่างมาอำ ให้เป็นที่วุ่นวายไม่สบายใจหรือมึนตึบ ต้องจุดธูปเทียนขอขมา อาการต่างๆจึงจะหายไป ก็เป็นเรื่องที่แปลก และผู้เขียนก็ได้เห็นเวลาที่เขาป่วงๆ หรือผิดกะรำ อาจจะเป็นว่าเทพยดาที่รักษาพระเครื่ององค์นั้นท่านไม่ชอบให้กินเนื้อวัว ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีคุณ ไถนาปลุกข้าวให้เรากิน หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า เตี่ยท่านอาจจะเคยบนบานกับพระเครื่ององค์นี้ ด้วยการบนเอาไว้ว่าหากสำเร็จจะไม่กินเนื้อวัว ก็อาจจะเป็นได้ จึงพอสรุปได้ว่าเป็นพระเครื่องที่ไม่ธรรมดา และเป็นศิริมงคล ต่อผู้บูชาที่ปฎิบัติตนได้ดี ซึ่งมีโอกาสหามาบูชาได้ไม่ยากเย็นนัก หากเรามีความเข้่าใจในพระเครื่องกรุนี้


    ผู้เขียนเองเคยได้ครอบครองอยู่สามองค์ องค์แรก มอบให้กับเตี่ยของเพื่อนไป เพราะท่านชอบและถูกใจกัน และรู้จักพระเครื่องกรุนี้เป็นอย่างดี องค์ที่สองก็คือองค์ที่เป็นภาพประกอบเรื่องที่เขียนนี้ ปัจจุบันอยู่ที่อเมริกา ส่วนอีกองค์สุดท้ายเป็นพระที่เหลือแต่แก่น ขาดความงดงาม ตั้งใจว่าจะเอาไว้ผสมสร้างพระเครื่องในอนาคต และอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องขอแนะนำว่าพระเครื่องกรุวัดสามปลื้ม เนื้อจะเปราะและหักง่ายมาก ในสมัยก่อนผู้ที่แขวนบูชาท่านจะเอาไม้อัดรองหลัง แล้วก็ถักด้วยลวด สภาพพระโดยทั่วๆไปมักจะขาดความงดงามหรือแตกหัก แต่อย่าได้เกี่ยงงอนอันใดเลย บางองค์แตกหักก็นำมาซ่อมแขวนได้ หากท่านใดมีที่สวยสมบูรณ์ก็ถ่ายภาพมาอวดกันบ้างครับ


    ก็ขอให้อ่านกันหลายๆรอบ ครับเพื่อความเข่้าใจ หากชายชาตรีท่านใด ยังไม่มีพระเครื่องคู่กาย พระเครื่องกรุนี้น่าหาบูชาเพื่อ เป็นศิริมงคลอย่างสูงครับ
    http://pratuu.100free.com/3permm.htm


    ๒ ภาพล่างสุดท้ายเป็นพิมพ์ใหญ่ ๔ ภาพแรกเป็นพิมพ์เล็ก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011407.JPG
      P1011407.JPG
      ขนาดไฟล์:
      174.9 KB
      เปิดดู:
      482
    • P1011409.JPG
      P1011409.JPG
      ขนาดไฟล์:
      189.9 KB
      เปิดดู:
      303
    • P1011410.JPG
      P1011410.JPG
      ขนาดไฟล์:
      141.4 KB
      เปิดดู:
      190
    • P1011412.JPG
      P1011412.JPG
      ขนาดไฟล์:
      170.8 KB
      เปิดดู:
      773
    • P1011413.JPG
      P1011413.JPG
      ขนาดไฟล์:
      228.5 KB
      เปิดดู:
      243
    • P1011414.JPG
      P1011414.JPG
      ขนาดไฟล์:
      296.9 KB
      เปิดดู:
      233
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ในช่วงชีวิตของท่าน เป็นเรื่องแปลกที่ท่านเจ้ามามักเกี่ยวข้องกับ "พระพุทธบาท" เสมอ ไม่ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเลื่อนชั้นจาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011405.JPG
      P1011405.JPG
      ขนาดไฟล์:
      230 KB
      เปิดดู:
      126
    • P1011406.JPG
      P1011406.JPG
      ขนาดไฟล์:
      203.3 KB
      เปิดดู:
      108
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระวังหน้าองค์นี้เนื้อหาเป็นยังไงกันบ้าง มือผีหรือเปล่า..ลงรักเกลี้ยงปิดทอง พิมพ์กวักเดี่ยว และกวักคู่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG] [​IMG]

    คุณเพชรครับ

    งานนี้ก็เด็ดขาดเหมือนกัน
    คนบางกลุ่ม บางพวก พวกบัวใต้น้ำที่ทั้งบอก ,ทั้งเขียน ,ทั้งนึก เรื่องการปรามาสว่า เป็นพระมือผี

    คนเหล่านี้ แค่ปรามาสพระอรหันต์ 3 พระองค์ก็ไปไม่รอด ต่อให้ติดปีก ก็ไปไม่รอดเหมือนกัน
    เอ้า คนบางกลุ่ม บางพวก พวกบัวใต้น้ำ รีบๆกันหน่อย ปรามาสกันให้เยอะๆ หุหุหุ

    ว่าแต่ว่า คุณเพชรพอมีแบ่งให้ผมมั่งหรือเปล่า ถึงว่า พักนี้นึกถึงแต่คุณเพชรครับ
    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. พรสว่าง_2008

    พรสว่าง_2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +402
    เรียน คุณ sithiphong ได้รับพระเครื่อง,ผ้ายันต์ แล้วครับ ขอบพระคุณมากครับ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีสุข ในยุคเศรษฐกิจฝืด

    http://hilight.kapook.com/view/26875


    [​IMG]

    ถึงเศรษฐกิจจะตกสะเก็ด แต่ชีวิตก็มีความสุขได้ ถ้ารู้จักคิดบวกเพื่อชีวิตบวก!! ในงานเสวนาธรรมเรื่อง "ศิลป์และธรรม สุนทรียะแห่งชีวิต" (คิดบวก...ชีวิตบวก) โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ที่ดับเบิ้ล เอ บุ๊ค ทาวเวอร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ให้แง่คิดเรื่องการใช้ชีวิตอย่างให้มีสุข โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคิดดีทำดี


    [​IMG]



    "ท่าน ว.วชิรเมธี" เปิดฉากการเสวนาว่า สิ่งที่อยู่กับเราตลอดเวลา คือ ความคิด ชีวิตของคนเราเป็นเงาสะท้อนของความคิด เราคิดอะไร ชีวิตเราก็จะปรากฏมาอย่างนั้น ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรามีทั้งดีและไม่ดี แต่มันอยู่ที่แนวความคิดของเราว่า เราจะเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มาทำให้เรามีกำลังใจที่จะต่อสู้กับเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราอย่างไร เวลาเจองานหนักให้บอกกับตัวเองว่า นี่คือโอกาสกับตัวเองว่า นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ เวลาเจอทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือแบบฝึกหัดที่ทำให้เกิดทักษะในการดำรงชีวิต

    การคิดบวกจะได้ผลหรือไม่ได้ผลต้องดูว่า มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเราหรือไม่ ซึ่งประโยคนี้ "ท่าน ว.วชิรเมธี" ขยายความว่า
    การคิดบวกมี 2 ลักษณะ คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับความคิดอย่างเดียว คือ คิดบวกแล้วทำให้ชื่นอกชื่นใจ ทำให้ได้ปัญญา หรือคิดบวกแล้ว ทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงจริงๆ เช่น ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างนี้ เราต้องคิดบวก คือ คิดที่จะอยู่ให้ได้จะไปประท้วงให้น้ำมันลดลงได้หรือไม่ คำตอบคือ คงไม่ได้ ในเมื่อลดไม่ได้ฉันจะลดเอง คือ ลดความต้องการบริโภคให้น้อยลง


    [​IMG]


    ที่เราทุกข์กันอยู่ทุกวันนี้เพราะบริโภคมาก และมีเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทุกข์ คือ "โรคจมไม่ลง" คือ เคยใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย อย่างมหาเศรษฐีโลกทั้งหลาย ไปไหนต้องนั่งรถราคาแพงๆ คำใช้จ่ายก็สูงขึ้น แต่เราจมไม่ลง ไม่อยากให้ใครรู้ว่าเรากำลังแย่ เราก็จ่ายแพงขึ้นเพื่อประคับประคองตัวฉันให้โดดเด่นอยู่ในวงสังคม สุดท้ายไม่ใช่แค่จมไม่ลง มันล้มเลย




    [​IMG]

    หากจะอยู่ให้รอดในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ "ท่าน ว.วชิรเมธี" บอกว่า ต้องเปลี่ยนวิธีบริโภคจากที่เคยตามใจตัวเอง มาเป็นบริโภคตามความจำเป็น ถ้าวิ่งตามความอยาก ไม่ว่าวันไหนๆ เราก็จะทุกข์ เพราะความอยากไม่เคยมีขีดจำกัด กินเท่าที่จำเป็น ใช้เท่าที่จำเป็น ถ้าอยู่ในโลกของความเป็นจริง ไม่ต้องจ่ายแพงเพื่อรักษาหน้าตา ทำตัวเป็นคนธรรมดาๆ ก็ไม่ต้องเสียเงินรักษาภาพพจน์ และจะมีความสุขได้ แม้ในยุคข้าวยากหมากแพง

    ข้อมูลจาก
    [​IMG]
    หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
    ภาพประกอบจาก
    - trangzone.com
    - freekick.files.wordpress.com
    - seedinsow.spaces.live.com

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  19. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    มีแนวโน้มครับ เพราะเท่าที่ทราบจะมีเพียง2ที่แต่อีกที่น่าจะหลัง2500ครับ ...
     
  20. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ท่านเพชรเล่าถึงวัดสามปลื้ม วันนี้ตาลุงได้รับนิมนต์พิมพ์ ห้าเหลี่ยมด้วยครับ หุหุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...