พระพุทธเจ้า สอนวิธีการปฎิบัติตามลำดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย chura, 11 เมษายน 2014.

  1. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    237 วิธีดับอาสวะ ๖ วิธี

    ปัญหา เท่าที่ได้ยินได้ฟังมานั้น อาสวะทั้งหลายดูเหมือนจะละได้ด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิต จนได้บรรลุมรรคผลเท่านั้น จะมีวิธีละอาสวะวิธีใดวิธีหนึ่งอีกหรือไม่ ที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้....?

    พุทธดำรัสตอบ “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการสำรวม คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยการสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเมื่อเธอไม่รวมพึงเป็นเหตุให้อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะเหล่านั้น... ย่อมไม่มีแก่เธอ...
    “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการซ่องเสพ.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นเสพจีวรเพียงเพื่อป้องกัน หนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด.... เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันน่าละอาย... ย่อมเสพบิณฑบาต... เพียงเพื่อความดำรงอยู่... ย่อมเสพเสนาสนะ เพียงเพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด... เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิดจากฤดู.... ย่อมเสพคิลานปัจจัย เภสัชบริขารเพียงเพื่อบรรเทาเวทยาอันเกิดจากอาพาธต่าง ๆ ... เมื่อเธอเสพอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มี....
    “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยความอดกลั้น.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด ย่อมเป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำหยาบ คำเสียดสี... อดกลั้นต่อทุกขเวทนาทางกาย.... เมื่อเธออดทนอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ....
    “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการหลีกเลี่ยง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยง ช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู หลักตอ ที่มีหนาม หลุม ตลิ่งชัน บ่อโสโครก ท่อโสโครก... ย่อมหลีกเหลี่ยงที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรเที่ยวไป และบาปมิตร.... เมื่อเธอหลีกเลี่ยงอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ....
    “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการบรรเทา.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้หมดไปซึ่งพยาบาทวิตก.... ซึ่งวิหิงสาวิตก... ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ... เมื่อเธอบรรเทาทาอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ....
    “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการภาวนา.... คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเจริญธรรมอันเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ คือ สติ.... ธัมมวิจยะ... วิริยะ... ปีติ.... ปัสสสัทธิ... สมาธิ... อุบเกขา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อความสละ ... เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์อยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ....ฯ”


    อาสวสูตร ฉ. อํ. (๓๒๙)
    ตบ. ๒๒ : ๔๓๔-๔๓๗ ตท. ๒๒ : ๓๙๘-๔๐๐
    ตอ. G.S. III : ๒๗๖-๒๗๘
     
  2. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    351 วิธีละ อวิชชา สังโยชน์ อาสวะ อนุสัย

    ปัญหา ทำอย่างไร จึงจะละอวิชชา สังโยชน์ อาสวะ และอนุสัยได้ ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุ บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์
    บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักขุวิญญาณ.... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...
    บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส...สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะ (สัมผัส ๖) เป็นปัจจัยว่าเป็นของไม่เที่ยง สังโยชน์จึงจะถูกถอดถอน... จึงจะละอาสวะได้.... อาสวะจึงจะถอดถอน... จึงจะละอนุสัยได้.... อนุสัยจึงจะถูกถอดถอน...”


    อวิชชาสูตรฯ อวิชชาวรรคที่ ๑ สฬา. สํ. (๕๖-๖๒)
    ตบ. ๑๘ : ๓๗-๓๘ ตท. ๑๘ : ๒๙-๓๑
    ตอ. K.S. ๔ : ๑๕
     
  3. pukub

    pukub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2014
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +219
    ดีจังเลย
     
  4. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    อุบายในการเจริญอานาปานสติ ด้วยสติและความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

    ลพ.วิโมกข์ :

    อุบายในการฝึกอานาปานสติภาวนา พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า“ให้ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น และมีสติเฉพาะหน้า พร้อมกับมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น…” คือให้รู้อาการหายใจว่ามีอาการอย่างไร ยาวหรือสั้น หยาบหรือละเอียด หนักหรือเเผ่วเบาอย่างไร จนกระทั่งลมหายใจเบาละเอียดมากขึ้นๆ และเกิดความสงบโดยมีความรู้ตัวทั่วพร้อมถึงอาการความรู้สึกที่เป็นไปในภายในพร้อมๆ กันไปด้วยโดยลำดับ
    ข้อผิดพลาดของผู้ปฏิบัติสมาธิ คือขาดการฝึกให้มีสติเฉพาะหน้าและการทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม การมีสติเฉพาะหน้า มีเทคนิคในการปฏิบัติขณะนั่งภาวนา คือหลับตาภายนอกคือหลับแค่เปลือกตา แต่ตาภายในไม่ได้หลับไปด้วย ตาภายใน ก็คือ ความรู้สึกตื่นภายในที่ตื่นรู้อยู่เสมอเฉพาะเบื้องหน้า ฉะนั้น เวลานั่งสมาธิ อย่าเพิ่งรีบร้อนหลับตา หรือรีบกำหนดลมหายใจทันทีทันใด ให้ทำความรู้สึกตื่นรู้อยู่ภายใน ดำรงความรู้สึกตื่นรู้นี้อยู่เสมอเฉพาะเบื้องหน้าดังกล่าวพร้อมกับให้ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า ไหล่ ลำตัว แขน ขา จนจรดปลายเท้า พอร่างกายผ่อนคลายพร้อมกับความรู้สึกตื่นรู้เฉพาะหน้า จิตก็จะเริ่มสงบไปเอง และจะรู้สึกได้ว่ามีลมหายใจแผ่วเบาละเอียด ค่อยๆ หายใจออกและหายใจเข้า สม่ำเสมอ ละเอียด แผ่วเบา และสามารถรู้ถึงอาการลมหายใจดังกล่าวได้โดยไม่ต้องตั้งใจกำหนดและรู้แบบเป็นไปเองสบายๆ เป็นธรรมชาติ ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กายไปสักระยะ พอให้สติตื่นตัวแบบทั่วพร้อม และสังเกตอาการสงบระงับของจิตใจและความอิ่มเอิบภายในจิตใจ จากนั้นให้ปล่อยวางความรู้สึกทั่วสรรพางค์กายที่เป็นไปภายนอกทั้งหมด และให้รับรู้ถึงความรู้สึกสงบอิ่มเอิบ และปีติสุขภายใน พร้อมๆ กับระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้า-หายใจออก ที่แผ่วเบา นุ่มนวล และละเอียดมากขึ้น จากนั้นให้วางใจให้เป็นกลางๆ รู้ถึงอาการของลมหายใจ ว่าหยาบ-ละเอียด หนัก-เบา และนุ่มนวลอย่างไร? พร้อมๆ กับความรู้ตัวทั่วถึงที่เป็นไปในภายในดังกล่าว จากนั้นให้ประคองรักษาความเป็นกลางๆ ของจิต สักแต่ว่ารู้ลมหายใจที่ละเอียด และสักแต่ว่ารู้ทั่วถึงถึงความรู้สึกที่เป็นไปในภายใน ถึงตอนนี้ลมหายใจอาจจะละเอียดมาก จนดูเหมือนว่าจะหายไปเป็นช่วงๆ ไม่ต้องตกใจ ให้ประคองการตื่นรู้ทั่วถึงที่เป็นไปในภายในไปเรื่อยๆ จิตจะตั้งมั่นมากขึ้นๆ จากนั้นให้รักษาความเป็นกลางๆ ของจิต ปล่อยวางปีติ และสุขไปโดยลำดับ จนจิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตาจิตและเกิดอุเบกขา
    การทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีเทคนิคในการปฏิบัติคือ เวลาเริ่มนั่งสมาธิ ให้ทำความรู้สึกผ่อนคลายร่างกายทุกๆ ส่วนก่อน โดยไม่เกร็งกล้ามเนื้อหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย จากความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปในภายนอกทั่วสรรพางค์กาย จะทำให้สติตื่นรู้มากขึ้นๆ และจะนำไปสู่การรู้ความรู้สึกอย่างทั่วถึงที่เป็นไปในภายใน สติและสมาธิขนานกันไป จนเป็นเอกัคคตาจิตและเกิดอุเบกขาในที่สุด ถ้าได้ปฏิบัติตามตามที่แนะนำ จะเป็นอานาปานสติและสติปัฏฐาน ๔ ที่สมบูรณ์ไปโดยลำดับ ผู้ปฏิบัติจะทั้งรู้ทั้งเห็นกาย ความคิด และความรู้สึก ในลักษณะของสามัญญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน จนเกิดการละวางที่เป็นไปเอง อันเกิดจากสัมมาสติ ซึ่งเป็นมรรคข้อที่ ๗ และในที่สุดสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นมรรคข้อที่ ๘ แม้เราไม่ทำสมาธิ สมาธิก็จะเกิดเองเป็นเองโดยอัตโนมัติจากการที่เราเจริญสติไว้ดีแล้ว ฉะนั้นผู้ปฏิบัติที่มุ่งแต่การเจริญสมาธิ โดยไม่สนใจฝึกเจริญสติทั้งในขณะนั่งสมาธิและทุกๆ ขณะในชีวิตประจำวัน สมาธิจะติดขัด ไม่ก้าวหน้า หรือบางครั้งหลงตัวเองว่าได้ฌาน ขั้นโน้น ขั้นนี้ เพราะขาดกำลังสติ คือความรู้สึกตัวทั่วถึงที่เป็นไปในภายในในขณะนั่งสมาธินั้น หลายคนอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไปว่า จิตของตนตกภวังค์ เพราะสติไม่ต่อเนื่อง อาการตกภวังค์จะคล้ายๆ กับการหลับใน และไปเข้าใจว่าตนได้ฌาน ได้สมาธิ อันนี้เป็นความเนิ่นช้าอย่างมากในการปฏิบัติภาวนา
     
  5. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573

    เป็นปัจจัยว่าเป็นของไม่เที่ยง ... ลึกซึ้ง นะ คำนี้

    ถ้า จิตเปิด มันจะ กิ๊กเดียว สังโยชน์กระเด็นหลุดทันที
    ถ้า จิตยังไม่เปิด .. ไม่เที่ยง เป็น พันเที่ยว ก็ยังไม่กิ๊ก !!!

    ให้ดู ให้พูด ให้ฟัง ให้พิจารณา ยังไงยังไง ก็ไม่หลุด!!!


    ตอ้งฟัง จากผู้ที่บรรลุอรหันต์แล้วเท่านั้น ... ส่วนหลุดไม่หลุด แล้วแต่ วาสนา
    ถ้าฟัง หรือ อ่าน ลอยๆ จากที่อื่นๆ ละก้อ .... กรรมมมมมม เลย จะบอกให้ เพราะมันจะติด สมมุติอุปาทาน และ วิจิกิจฉา อย่างรุนแรง


    มิควร เล้ยยยยย ... ธรรมเหล่านี้ สำหรับภิกษุสงฆ์ มิใช่สำหรับ ปุถุชน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...