##ประวัติและรูปหายากพระกรุวังวารี## ประวัติพระกรุวังวารี ออกวัดน้ำซับ ลพบุรี หน้า 16

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย rak_tza, 22 มิถุนายน 2013.

  1. วาจาจิต

    วาจาจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +12
    จ๊าก...เพิ่งเข้ามาอ่านตื่นเต้นยิ่งกว่าหนังแอ๊กชั่นอีกครับ สุดยวดไปเลย
     
  2. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณครับ ดีใจที่อ่านแล้วสนุกครับ

    สารบัญ ประวัติพระกรุวังวารี ของกระทู้มีดังนี้ครับ
    1. ประวัติพระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 1, 2
    2. สายแร่ทองคำที่พบในองค์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 9
    3. จำนวนไหใหญ่ที่พบ หน้า 1 ลำดับกระทู้ 19
    4. เงาะถอดรูป การล้างไหเล็กและพระที่อยู่ภายใน หน้า 2 ลำดับกระทู้ 24
    5. ร่วมแชร์ประสบการณ์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 18, หน้า 2 ลำดับกระทู้ 32
    6. รอยตัดข้างพระนางพญากรุวังวารี หน้า 2 ลำดับกระทู้ 34
    7. เจาะลึกพระซุ้มกอกรุวังวารี หน้า 3 ลำดับกระทู้ 53
    8. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์ใหญ่กรุวังวารี หน้า 5 ลำดับกระทู้ 82
    9. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์เล็กกรุวังวารี (พิมพ์เดียวกันกับกรุนางพญา) หน้า 6 ลำดับกระทู้ 114, 115
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2013
  3. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    พระปางลีลากรุวังวารีพิมพ์ใหญ่


    วันนี้ผมจะขอเขียนถึงพระปางลีลากรุวังวารีพิมพ์ใหญ่ หลังจากที่นำเนื้อหาพระนางพญาพิมพ์เล็กแซงหน้าไปก่อนหน้านี้ พระปางลีลาพิมพ์ใหญ่นี้มีความสำคัญตรงที่ว่ามีอยู่เฉพาะบนฝาไหที่คล้ายกับแจกัญและอยู่ในไหขนาดกลางแค่บางไห หนึ่งไหจะมีเพียงหนึ่งองค์เท่านั้น เนื้อพระค่อนข้างจะละเอียดกว่าพระนางพญาพิมพ์ใหญ่ แต่ก็ยังมีความหยาบอยู่ ที่จริงพระพุทธชินราช พระปางลีลา พระซุ้มกอ เหล่านี้เนื้อจะใกล้เคียงกับเนื้อของพระนางพญาพิมพ์เล็ก ที่กล่าวนี่หมายถึงโดยส่วนใหญ่นะครับ พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ที่เนื้อแก่ว่านมีความละเอียดก็สามารถพบได้แต่จะพบน้อย ผมสันนิษฐานว่าที่ต้องทำให้เนื้อมีความละเอียดเพราะพระทั้งสามแบบที่กล่าวมานี้ค่อนข้างที่จะมีรายละเอียดสูง จึงทำให้มีความหยาบและแกร่งเหมือนพระนางพญาไม่ได้ พูดง่ายๆคือมีเสน่กันคนละแบบ องค์ที่ผมนำมาเป็นตัวอย่างนี้ลักษณะของคราบกรุ รารัก และความแห้งของเนื้อพระเก่าได้ที่มาก เรียกง่ายๆว่าเนื้อจัดมาก

    [​IMG]
    1.jpg 2.jpg
    [​IMG]

    ขนาดขององค์พระโดยประมาณสูง 8.4 ซม. กว้าง 2.5 ซม. และหนา 1.5 ซม.ด้านข้างของพระปางลีลาพิมพ์ใหญ่นั้นมีรอยแยกเป็นชั้นของเนื้อดินที่น่าจะเกิดจากการกดพิมพ์ (1) โดยรอบขององค์พระมีเม็ดกลมๆล้อมรอบ (2) นับรวมได้ 54 เม็ด แบ่งเป็นบริเวณฐาน 16 เม็ด โดยรอบองค์พระ 36 เม็ด ข้างพระพักตร์ 2 เม็ด ใต้พระเพลา (ขา) อีก 1 เม็ด
    3.jpg 4.jpg
    [​IMG]

    [​IMG]

    ด้านหลังขององค์พระมีลักษณะโค้งนูนซึ่งจะเห็นรูปทรงได้ชัดเจนเมื่อส่องจากด้านล่างองค์พระ ส่วนด้านหลังองค์พระยังคงมีเม็ดแร่ขนาดเล็กแทรกตัวผสมไปกับเนื้อดิน สังเกตุเห็นแร่ทอง แร่สีขาว ขาวสะท้อนแสงได้บ้าง

    [​IMG]
    5.jpg
    เกศขององค์พระแหลมมนส่วนบนสุดของเกศอยู่ตรงกับเม็ดกลมที่สูงที่สุดพอดี (3) ขอบขององค์พระด้านบนโค้งไปทางด้านซ้ายขององค์พระ (4) พระพักตร์ยังพอสังเกตุเห็นตา จมูก ปาก รูปพระพักตร์โค้งมนได้รูป พระกรรณ (หู) ทั้งสองข้างเห็นเป็นเส้นเล็กๆพอสังเกตุได้ (5,6) พระอังสา (ไหล่) ขวา (7) จะใกล้กับเม็ดกลมมากกว่าข้างซ้าย (8) บริเวณพระอุระ (หน้าอก) สามารถสังเกตุเห็นรอยจีวรได้บ้าง (9) นิ้วพระหัตถ์แบ่งเป็นนิ้วโป้ง และสี่นิ้วรวมกันเป็นอันเดียวทั้งข้างซ้ายและขวา (10) มีรอยประคตแยกระหว่างสบงและจีวร (11) พระเพลาขวามีรอยพับของสบงพอสังเกตุได้ (12) จีวรด้านซ้ายมีริ้วจีวรเห็นได้ชัดเจน (13) ขอคร่าวๆหลักๆเพียงเท่านี้ละกันนะครับ รายละเอียดของพระปางลีลาพิมพ์ใหญ่มีมากเหลือเกิน ผมพยายามถ่ายรูปให้เห็นชัดเจนกันที่สุดตามกำลังความสามารถของผมเท่าที่จะถ่ายได้ พบกันคราวหน้ามีรายละเอียดดีๆมาฝากกันอีกแน่นอนครับ
    6.jpg 7.jpg
    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  4. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    สารบัญ ประวัติพระกรุวังวารี ของกระทู้มีดังนี้ครับ
    1. ประวัติพระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 1, 2
    2. สายแร่ทองคำที่พบในองค์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 9
    3. จำนวนไหใหญ่ที่พบ หน้า 1 ลำดับกระทู้ 19
    4. เงาะถอดรูป การล้างไหเล็กและพระที่อยู่ภายใน หน้า 2 ลำดับกระทู้ 24
    5. ร่วมแชร์ประสบการณ์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 18, หน้า 2 ลำดับกระทู้ 32
    6. รอยตัดข้างพระนางพญากรุวังวารี หน้า 2 ลำดับกระทู้ 34
    7. เจาะลึกพระซุ้มกอกรุวังวารี หน้า 3 ลำดับกระทู้ 53
    8. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์ใหญ่กรุวังวารี หน้า 5 ลำดับกระทู้ 82
    9. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์เล็กกรุวังวารี (พิมพ์เดียวกันกับกรุนางพญา) หน้า 6 ลำดับกระทู้ 114, 115
    10. เจาะลึกพระปางลีลากรุวังวารีพิมพ์ใหญ่ หน้า 7 ลำดับกระทู้ 124
     
  5. วาจาจิต

    วาจาจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +12
    พระลีลานี่ก็สวยมากๆครับ ส่องแล้วคงวางลงยากจริงๆ
     
  6. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณครับ คราวหน้ากะว่าจะเขียนสรุปพระและพิมพ์ที่ผมเคยพบทั้งหมดของกรุวังวารีไว้ซะก่อน กลัวว่าจะสับสนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2013
  7. สุญญากาศ

    สุญญากาศ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +33
    ชอบมากเลยครับ โดยเฉพาะนางพญาพิมพ์เล็กเทียบดูแล้วพิมพ์เดียวกับกรุนางพญาจริงๆ พระปางลีลาก็สวยครับ
     
  8. pgunk

    pgunk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +132
    ขออนุญาตครับพี่rak_tza แล้วแบบนี้ใช่กรุวังวารีหรือป่าวครับ
    ขอบคุณมากๆครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    อย่างนี้นะครับ ดูแล้วพิมพ์ยังไม่ใช่ครับ ถ้าดูแค่จากรูปพระพักต์ทรงไม่เหมือนและไม่มีสังฆาฏิ และอื่นๆ ครับ (การดูจากรูปอาจทำให้คลาดเคลื่อนได้ต้องให้ผู้รู้ส่ององค์จริงอีกทีครับ) ขอบคุณครับ^^
     
  10. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณครับ ผมไม่แปลกใจเลยครับระดับเบญจภาคี พุทธคุณถึงแรงมากๆ

    สารบัญ ประวัติพระกรุวังวารี ของกระทู้มีดังนี้ครับ
    1. ประวัติพระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 1, 2
    2. สายแร่ทองคำที่พบในองค์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 9
    3. จำนวนไหใหญ่ที่พบ หน้า 1 ลำดับกระทู้ 19
    4. เงาะถอดรูป การล้างไหเล็กและพระที่อยู่ภายใน หน้า 2 ลำดับกระทู้ 24
    5. ร่วมแชร์ประสบการณ์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 18, หน้า 2 ลำดับกระทู้ 32
    6. รอยตัดข้างพระนางพญากรุวังวารี หน้า 2 ลำดับกระทู้ 34
    7. เจาะลึกพระซุ้มกอกรุวังวารี หน้า 3 ลำดับกระทู้ 53
    8. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์ใหญ่กรุวังวารี หน้า 5 ลำดับกระทู้ 82
    9. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์เล็กกรุวังวารี (พิมพ์เดียวกันกับกรุนางพญา) หน้า 6 ลำดับกระทู้ 114, 115
     
  11. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาสรุปพิมพ์ที่ผมเคยพบของพระกรุวังวารีไว้ก่อนจะเขียนอะไรต่อไปเพื่อความเข้าใจและจะได้ไม่ งง กันครับ

    สารบัญ ประวัติพระกรุวังวารี ของกระทู้มีดังนี้ครับ
    1. ประวัติพระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 1, 2
    2. สายแร่ทองคำที่พบในองค์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 9
    3. จำนวนไหใหญ่ที่พบ หน้า 1 ลำดับกระทู้ 19
    4. เงาะถอดรูป การล้างไหเล็กและพระที่อยู่ภายใน หน้า 2 ลำดับกระทู้ 24
    5. ร่วมแชร์ประสบการณ์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 18, หน้า 2 ลำดับกระทู้ 32
    6. รอยตัดข้างพระนางพญากรุวังวารี หน้า 2 ลำดับกระทู้ 34
    7. เจาะลึกพระซุ้มกอกรุวังวารี หน้า 3 ลำดับกระทู้ 53
    8. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์ใหญ่กรุวังวารี หน้า 5 ลำดับกระทู้ 82
    9. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์เล็กกรุวังวารี (พิมพ์เดียวกันกับกรุนางพญา) หน้า 6 ลำดับกระทู้ 114, 115


    [​IMG]
    1.jpg 2.jpg 3.jpg
    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  12. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    สรุปชนิดของพระและพิมพ์พระกรุวังวารี (เท่าที่ผมเคยพบ)

    เนื้อหาในส่วนนี้ผมต้องการจะรวบรวมชนิดของพระและพิมพ์ทั้งหมดของพระกรุวังวารีเท่าที่ผมเคยพบ ให้ทุกท่านได้เข้าใจเพื่อที่จะสามารถอ่านเนื้อหาส่วนอื่นๆที่ผมจะเจาะลึกลงไปได้อย่างไม่สับสน แต่การจัดพิมพ์นี้ผมเป็นคนจัดเพื่อความเข้าใจในกระทู้การศึกษาพระกรุวังวารีนี้เท่านั้นยังไม่เป็นสากลนิยม ถ้าผมมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชนิดของพระและพิมพ์ผมจะมาอัปเดทไว้ในกระทู้นี้ไม่ตามแก้ไขในกระทู้อื่นๆที่ผมเขียนไปแล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการเขียน และในกระทู้นี้ผมจะไม่ลงลึกในรายละเอียดแต่จะเจาะในแต่ละประเด็นเป็นกระทู้แยกจากกระทู้นี้ถ้าท่านสนใจเรื่องใดให้ท่านติดตามในรายการสารบัญได้ครับ
    4.jpg 5.jpg
    [​IMG]


    [​IMG]

    โดยทั้งหมดทั้งมวลของชนิดพระที่พบในกรุวังวารีนั้นเท่าที่ผมทราบมี 4 ชนิด แต่ละชนิดก็จะมีพิมพ์แยกย่อยออกไป ดังนี้

    1.พระพุทธชินราช พระพุทธชินราชนั้นพบได้บนฝาไหขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่ง 1 ไหจะมีเพียง 1 องค์เท่านั้น แบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ

    1.1พิมพ์หน้ายักษ์ ลักษณะใบหน้าจะกว้างและหนา
    1.2พิมพ์หน้าเทวดา ลักษณะใบหน้าจะอิ่มแต่ไม่กว้างเท่าพิมพ์หน้ายักษ์

    2. พระปางลีลา แบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ

    2.1พิมพ์ใหญ่ พบได้บนฝาไหแจกัญ และในไหกลางแค่บางไห ซึ่ง 1 ไหจะมีเพียง 1 องค์เท่านั้น
    2.2พิมพ์เล็ก พบน้อยมากๆ เพียงไม่กี่ไห

    3.พระนางพญา แบ่งใหญ่ๆ เป็น 2 พิมพ์ คือ


    3.1พิมพ์ใหญ่ ลักษณะองค์มีความอวบอิ่ม และมีความหนามาก แบ่งเป็น
    3.1.1พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง
    3.1.2พิมพ์ใหญ่เข่าตรง

    3.2พิมพ์ใหญ่อกนูน ลักษณะคล้ายพิมพ์ใหญ่ เพียงแต่บริเวณหน้าอกมีความกว้างใหญ่กว่า พบน้อยมาก แบ่งเป็น
    3.2.1พิมพ์ใหญ่อกนูนเข่าโค้ง
    3.2.2พิมพ์ใหญ่อกนูนเข่าตรง

    3.3พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กนี้เป็นพิมพ์ที่เหมือนกับพระนางพญากรุนางพญาทุกประการเพราะมาจากที่เดียวกัน แต่ผมขอจัดไว้ในพิมพ์เล็กของกรุวังวารี เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ พิมพ์นี้พบน้อยมากๆ จะมีความหนาน้อยกว่าพิมพ์ใหญ่ ลักษณะองค์จะเพรียว และบางกว่า ตอนนี้ผมพบอยู่ 2 พิมพ์ ซึ่งผมสันนิษฐานว่าอาจจะมีมากกว่านี้ และอาจจะมีครบทั้ง 7 พิมพ์ของกรุนางพญา ก็เป็นได้ แต่ตอนนี้ขอแบ่งเป็น
    3.3.1พิมพ์เล็กเข่าโค้ง
    3.3.2พิมพ์เล็กเข่าตรง

    4.พระซุ้มกอ พุทธศิลป์ที่สืบทอดมาจากสมัยสุโขทัย เท่าที่พบมีเพียงพิมพ์เดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  13. สถิตร่าง

    สถิตร่าง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +25
    เยี่ยมเลยครับ แบบนี้จะได้ตามอ่านแบบไม่ งง สนใจมากกำลังศึกษาครับ
     
  14. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณครับวันพรุ่งนี้อาจจะเย็นๆว่าจะรวบรวมเรื่องราวของการสร้างพระนางพญา พิษณุโลกมาให้อ่านกัน รวมถึงข้อสันนิษฐานของผมในหลายๆแง่ อย่าลืมติดตามนะครับ

    สารบัญ ประวัติพระกรุวังวารี ของกระทู้มีดังนี้ครับ
    1. ประวัติพระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 1, 2
    2. สายแร่ทองคำที่พบในองค์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 9
    3. จำนวนไหใหญ่ที่พบ หน้า 1 ลำดับกระทู้ 19
    4. เงาะถอดรูป การล้างไหเล็กและพระที่อยู่ภายใน หน้า 2 ลำดับกระทู้ 24
    5. ร่วมแชร์ประสบการณ์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 18, หน้า 2 ลำดับกระทู้ 32
    6. รอยตัดข้างพระนางพญากรุวังวารี หน้า 2 ลำดับกระทู้ 34
    7. เจาะลึกพระซุ้มกอกรุวังวารี หน้า 3 ลำดับกระทู้ 53
    8. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์ใหญ่กรุวังวารี หน้า 5 ลำดับกระทู้ 82
    9. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์เล็กกรุวังวารี (พิมพ์เดียวกันกับกรุนางพญา) หน้า 6 ลำดับกระทู้ 114, 115
    10. เจาะลึกพระปางลีลากรุวังวารีพิมพ์ใหญ่ หน้า 7 ลำดับกระทู้ 124
    11. สรุปชนิดของพระและพิมพ์พระกรุวังวารี (เท่าที่ผมเคยพบ) หน้า 7 ลำดับกระทู้ 133
     
  15. Kate_Kate

    Kate_Kate Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2013
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +72
    ขอบคุณมากค่ะ ส่วนตัวแล้วชอบพระนางพญาพิมพ์เล็กเป็นพิเศษ^^
     
  16. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณมากครับ พระกรุนี้แต่ละแบบจะมีเสน่ที่แตกต่างกันครับ
     
  17. วาจาจิต

    วาจาจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +12
    ทำสรุปไว้แบบนี้ดีมากๆครับ ต่อไปถ้ามีอะไรเยอะๆอยากจะให้สรุปไว้แบบนี้อีก ผมชอบพระนางพญาพิมพ์เล็กเป็นพิเศษเช่นกันหนึ่งในห้าเบญจภาคี แบบนี้ต้อง PM หาซะแล้วครับ และรออ่านประวัติการสร้างพระนางพญานะครับพี่
     
  18. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ขอบคุณสำหรับข้อเสนอครับ ส่องทุกวันเลยครับช่วงนี้ แทบจะพกไปส่องที่ทำงานด้วย 555 พรุ่งนี้ได้อ่านแน่นอนครับ แต่คราวนี้ตัวหนังสือคงเยอะกว่ารูป^^
     
  19. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    เชิญส่องพระกรุแท้ๆ ยามดึกครับ

    สารบัญ ประวัติพระกรุวังวารี ของกระทู้มีดังนี้ครับ
    1. ประวัติพระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 1, 2
    2. สายแร่ทองคำที่พบในองค์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 9
    3. จำนวนไหใหญ่ที่พบ หน้า 1 ลำดับกระทู้ 19
    4. เงาะถอดรูป การล้างไหเล็กและพระที่อยู่ภายใน หน้า 2 ลำดับกระทู้ 24
    5. ร่วมแชร์ประสบการณ์พระกรุวังวารี หน้า 1 ลำดับกระทู้ 18, หน้า 2 ลำดับกระทู้ 32
    6. รอยตัดข้างพระนางพญากรุวังวารี หน้า 2 ลำดับกระทู้ 34
    7. เจาะลึกพระซุ้มกอกรุวังวารี หน้า 3 ลำดับกระทู้ 53
    8. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์ใหญ่กรุวังวารี หน้า 5 ลำดับกระทู้ 82
    9. เจาะลึกพระนางพญาพิมพ์เล็กกรุวังวารี (พิมพ์เดียวกันกับกรุนางพญา) หน้า 6 ลำดับกระทู้ 114, 115
    10. เจาะลึกพระปางลีลากรุวังวารีพิมพ์ใหญ่ หน้า 7 ลำดับกระทู้ 124
    11. สรุปชนิดของพระและพิมพ์พระกรุวังวารี (เท่าที่ผมเคยพบ) หน้า 7 ลำดับกระทู้ 133

    6.jpg
    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      113.6 KB
      เปิดดู:
      83
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018
  20. rak_tza

    rak_tza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    677
    ค่าพลัง:
    +2,160
    ปฐมกำเนิดแห่งพระนางพญา พิษณุโลก

    สวัสดีกันอีกครั้งครับเพื่อนๆที่ร่วมติดตามพระนางพญากรุวังวารี ผมเขียนรวบรวมเรื่องราวพระกรุวังวารีมาก็ซักระยะหนึ่งแล้ว แต่มานั่งคิดๆดูผมก็ยังไม่เคยกล่าวถึงต้นกำเนิดพระนางพญา ของจังหวัดพิษณุโลกไว้เลย สำหรับท่านที่ศึกษามามากแล้วกระทู้ส่วนนี้คงจะไม่น่าอ่านเท่าที่ควรนัก แต่กระนั้นถ้าผมไม่เขียนไว้เลยท่านที่ยังไม่เคยได้รู้ก็จะจับต้นสายปลายเหตุกันไม่ถูก เพราะฉะนั้นผมก็เลยคิดว่าถ้าจะให้มันครบสูตรก็ต้องกล่าวเอาไว้ด้วย องค์ความรู้ของหัวเรื่องนี้ที่ผมกำลังจะเขียนนั้นมาจากการรวบรวมจากเว็บไซด์ที่ผมคิดว่ามีความละเอียดและน่าเชื่อถือ

    พระนางพญานั้นเป็น 1 ใน 5 ของพระเครื่องชุดเบญจภาคี ที่ถูกจัดขึ้นโดย “ตรียัมปวาย” นามปากกาของท่าน พ.อ.(พิเศษ)ประจน กิติประวัติ ซึ่งพระเครื่องทั้ง 5 นี้เป็นตัวแทนของยุคต่างๆดังนี้

    พระสมเด็จวัดระฆัง จังหวัดกรุงเทพฯ เป็นตัวแทนของสมัยรัตนโกสินทร์
    พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตัวแทนของสมัยอู่ทอง
    พระรอดวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นตัวแทนของสมัยทวารวดี
    พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นตัวแทนของสมัยอยุธยา
    พระซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร เป็นตัวแทนของสมัยสุโขทัย ตอนแรกนั้นใช้พระกำแพงลีลาเป็นตัวแทนของยุคนี้ แต่เนื่องจากพระกำแพงลีลาหาได้ยากมากขึ้น จึงได้พระกำแพงซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชรมาแทน

    ถ้าเรียงลำดับยุคเก่าที่สุดจากบนลงล่างจะเป็นดังนี้
    ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
    ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
    ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18)
    ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 23)
    ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
    ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 -20)
    ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)
    ยุครัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 24 – ปัจจุบัน)
    1.jpg

    [​IMG]

    ภาพวาดแสดงถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี

    จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า วัดนางพญาสร้างโดยกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ เป็นพระราชธิดา ท้าวศรี สุริโยทัย และเป็นพระมารดาขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้สร้างวัดราชบูรณะ คือพระมหาธรรมราชา จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในระ หว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกราน จึงสั่งให้ระดมกำลังทหารเข้ารักษาประตูเมืองไว้และพระวิสุทธิกษัตริย์ ก็ทรงทำหน้าที่บัญชาการรบเอง มีผลให้บรรดาทหารและชาวเมืองต่างก็มีขวัญและกำลังใจเข้มแข็ง พร้อมที่จะสู้ตายเพื่อรักษาบ้านเมือง พวกบรรดาชาวเมืองต่างก็อาสากันเข้าสู้รบด้วยความกล้าหาญ และในครั้งนั้นก็ได้มีชีปะขาวท่านหนึ่งได้ทำการเข้าอาสาสู้รบด้วย โดยอาสาที่จะสร้างพระเนื้อดินแจกจ่ายให้กับบรรดาทหารและชาวเมืองที่อาสาสู้ศึก แต่บางตำนานว่าผู้ที่สร้างพระนางพญาถวายนั้นเป็นพระฤๅษีที่ทรงญาณสมาบัติชั้นสูงจำนวน ๑๐๑ ตน เพื่อสืบทอดพระศาสนา โดยมีนางพญาผู้ปกครองเมืองเป็นผู้อุปถัมภ์และทำการบรรจุไว้ในพระเจดีย์ของวัดนางพญาสืบมา พระเครื่องรุ่นแรกๆจะมีรูปทรงและองค์พระไม่สวยงาม การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อน คือพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอก เนื่องจากในขณะนั้นเป็นช่วงของสงครามถูกพม่ารุกราน จึงทำกันอย่างรีบร้อนทำให้บางองค์ไม่ได้ตัดแบ่งแยกออกจากกันก็มี คือ ยังติดกันเป็นแผงสามองค์

    หลังจากองค์สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้างและสร้างพระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้ง ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดทั้งสามเพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี ๖ พิมพ์ด้วยกัน คือพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก การสร้างพระนั้นได้รับอิทธิพลทางพุทธศิลปะมาจากสกุลช่างสุโขทัยในพระราชสำนักโดยตรง ด้วยเมืองพิษณุโลกและสุโขทัยมีความใกล้ชิดกันมาตั้งแต่ราชวงศ์พระร่วงเป็นใหญ่ในดินแดนภาคเหนือ พิมพ์ทรงของพระนางพญา เด่นชัดมากหากเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ในเรื่องสัดส่วน ทรวดทรง ศิลปะ อาจกล่าวได้ว่า การสร้างพระนางพญาเป็นการสืบสานศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ในรูปพระเครื่องที่ ชัดเจนไม่บิดเบือน และเหตุนี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมนอกจากพระนางพญาที่พบในกรุแล้วจึงพบจึงพบพระปางลีลา และพระซุ้มกอ ซึ่งเป็นพุทธศิลป์ที่ได้รับการสืบทอดมาจากสมัยสุโขทัยเช่นเดียวกัน


    ยุคแรกสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ รูปทรงองค์พระไม่สวยงามนัก ยุคที่สองสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รูปทรงองค์พระสวยงามกว่ารุ่นแรกมาก พระนางพญาทั้งสองยุคนี้อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือนกันคือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี และเมตตามหานิยมเป็นหลัก พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพฯ เทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่หลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นต้น (นี่อาจจะเป็นเหตุผลให้ในไหบรรจุกรุบนฝาไหขนาดกลางและใหญ่มีองค์พระพุทธชินราชที่สวยงามอยู่กลางฝา) ปลุกเสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น และอีกประสบการณ์หนึ่งคือเมื่อครั้งที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีนมีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า ต่อมามีนักสะสมพระเครื่องนำพระนางพญามาจัดเข้าชุด เบญจภาคี พุทธศิลป์ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผา ผสมมวลสารพระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่าน ใบลาน เกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทอง และศาสตราวุธต่างๆ (ในเรื่องของมวลสารนั้นเดี๋ยวเราจะมาว่ากันยาวๆอีกทีครับ) พระกรุมี ๒ กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ ๑ กลุ่มพระที่ถูกบรรจุไว้ในไหโบราณปั้นด้วยดินเผา สี่หู กลุ่มที่ ๒ กลุ่มพระที่อยู่นอกภาชนะหรือไหดินเผา สภาพของพระเครื่องนางพญาที่บรรจุอยู่ในไหโบราณมีลักษณะสมบูรณ์คงสภาพเดิม คือไม่มีการชำรุดหรือแตกหักใดๆ ส่วนพระที่อยู่ภายนอกไหโบราณปั้นด้วยดิน จะถูกห่อหุ้มด้วยอิฐหินดินทรายและคราบใคร บางองค์จะปรากฏราดำ พระที่อยู่ ในความชื้นจะเกิดราดำ ตรงกันข้ามพระที่อยู่ในที่แห้งจะไม่มีราดำแต่อย่างไร โดยเฉพาะพระนางพญาที่ถูกนำไปแขวนสร้ายห้อยคอแล้วนานๆจะมีการแตกหักหรือ ไม่ก็สึกกร่อนจนแทบจะจำสภาพเดิมไม่ได้ก็มี

    2.jpg
    [​IMG]

    ภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นจากเรือ เพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทำการหล่อองค์พระพุทธชินราชจำลอง
    3.jpg
    [​IMG]

    ภาพเจ้าหน้าที่กำลังทำการหล่อพระเป็นปฐม​

    [​IMG]
    4.jpg
    ภาพการอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ในพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยดี ทรงปีติโสมนัสอย่างยิ่ง “จึงทรงเปลื้องสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นพรัตน์ราชวราภรณ์ ซึ่งกำลังทรงอยู่นั้น ถวายพระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชา”​

    การแตกกรุของ พระเครื่องนางพญาก็คือเมื่อตอนปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทรงทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง และทรงได้เสด็จประพาสวัดนางพญาด้วย แต่เดิมนั้นพระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย และได้รับการขนานนามว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในโลกองค์หนึ่ง ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราช (จำลอง) นี้ขึ้นมาแทน สันนิษฐานว่าทางวัดนางพญาก็คงพัฒนาปรับปรุงเคหสถานเพื่อเตรียมรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงและสร้างศาลาที่ประทับไว้ จึงได้พบพระเครื่อง กรุพระนางพญา และมีการคัดเลือกพระองค์ที่งดงามขึ้นทูลเกล้าถวาย และถวายราชวงศ์ใหญ่น้อย ตลอดจนแจกจ่ายข้าราชบริพารที่โดยเสด็จ อีกส่วนได้นำกลับมาบรรจุกรุในวัดบริเวณพระนคร และด้วยเหตุนี้เองผมจึงสันนิษฐานว่าการที่ฝาไหของกรุวังวารี และกรุอื่นๆมีการสร้างองค์พระพุทธชินราชบรรจุไว้ในฝาไห เพราะพระพุทธชินราชแต่เดิมนั้นเคยประดิษฐานอยู่ที่พิษณุโลกและชาวเมืองพิษณุโลกให้ความเคารพและศรัทธาเป็นอย่างมาก

    ที่มาของภาพและข้อมูลที่ใช้เรียบเรียง
    http://www.tumsrivichai.com/บทความพระเครื่อง/พระนางพญา-กรุวัดนางพญา-พิษณุโลก.htmlhttp://www.tumsrivichai.com/บทความพระเครื่อง/พระนางพญา-กรุวัดนางพญา-พิษณุโลก.html
    http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=18028.0;wap2
    http://www.jompra.com/webboard/viewthread.php?tid=2142
    http://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธชินราช
    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=noel&month=01-2009&date=24&group=3&gblog=3
    http://blog.eduzones.com/poonpreecha/81359
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...