ปกิณกะพระเครื่อง ธรรมะ และวัดวาอาราม

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 5 ธันวาคม 2014.

  1. ryan boy

    ryan boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +22,020
    [​IMG]

    [​IMG]

    เหรียญหลังยันต์ไตรสรณคมณ์ หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท ปี2521

    เหรียญหลวงพ่อกวย รุ่น ๓ หรือที่เรียกกันว่าเหรียญหลังยันต์ไตรสรณคมณ์ ออกให้ทำบุญเนื่องในโอกาส ผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างประมาณ ๔๐,๐๐๐ เหรียญ โดยแบ่งออกเป็นเหรียญกะไหล่ทองประมาณ ๕๐๐ เหรียญสมนาคุณแก่ ผู้ที่จองบริจาคข้าวสาร ๑ กระสอบ ในงานผูกพัทธสีมา พ.ศ.๒๕๒๑ ก็จะได้รับเหรียญรุ่น ๓ กะไหล่ทอง ๑ เหรียญ ที่เหลือเป็นเหรียญเนื้อทองแดง มีทั้งรมดำและรมน้ำตาลแดงหรือผิวไฟ ออกให้บูชาเหรียญละ ๒๐ บาท

    ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ มียันต์ นะอุดปืน อยู่สองข้าง ใต้องค์หลวงพ่อระบุ หลวงพ่อกวย ชุตินฺโร วัดโฆสิตาราม
    ด้านหลังจะเป็น ยันต์ไตรสรณคมณ์ ที่ระลึกในงาน ผูกพัทธสีมา พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะพื้นเหรียญเป็นผิวมะระไม่เรียบเสมอกัน

    เหรียญรุ่นนี้ถือเป็นรุ่นหลักมีประสบการณ์มากมายในเรื่องของคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด และหนุนดวงให้โชคลาภ เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ปัจจุบันยังแยกเป็น2เนื้ออีกคือเนื้อทองแดงผิวไฟหรือรมน้ำตาล กับเนื้อทองแดงรมดำ ทั้ง2พิมพ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงแต่เนื้อทองแดงรมดำ ยิ่งรมดำเข้มมากเท่าไหร่ยิ่งหายากเพราะมีน้อยจะมีราคาเช่าหาที่สูงกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  2. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    พระเจ้าห้าพระองค์
    เป็นผลของต้นพระเจ้าห้าพระองค์ ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ ขนาด ๕-๖ คนโอบก็เคยมี อยู่ในป่าลึก
    คนสมัยก่อนนิยมนำมาไว้บูชาที่บ้านและนำติดตัวเวลาเดินทางไปที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันอัตราย แต่ละลูกก็จะมีลักษณะคล้ายองค์พระ
    เมื่อเอาติดตัวก่อนออกจากบ้านจะท่องคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ และบางลูกก็จะมี ๔ พระองค์ (๖ พระองค์หายาก)



    [​IMG]

    [​IMG]

     
  3. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    แจมจร้า

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1190347c.jpg
      P1190347c.jpg
      ขนาดไฟล์:
      185.8 KB
      เปิดดู:
      4,221
  4. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    [​IMG]
    [​IMG]


    เหรียญอนามัย ปี 2517 เนื้อทองแดง
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    คณะข้าราชการและประชาชนอำเภอพร้าวร่วมกันจัดสร้างหารายได้สมทบสร้างสถานีอนามัย อ.พร้าว มีชนิดเนื้อโลหะ
    -เนื้อทองแดง จำนวน 75000 เหรียญ
    -เนื้อนวโลหะ
    -เนื้อเงิน
    -เนื้อตะกั่ว จำนวนน้อยมาก

    ประวัติการสร้าง เหรียญหลวงปู่แหวนรุ่นอนามัยพร้าว ปี ๒๕๑๗

    ผู้หนึ่งที่อยู่ในคณะทำงานในการจัดสร้างเหรียญหลวงปู่แหวนออกจำหน่ายหาเงินสร้างสถานีอนามัย คือ นายอดิศร มณีวงศ์ ชาวพร้าวทั่วไปเรียก โกศร เล่าความเป็นมาของเหรียญหลวงปู่แหวนรุ่นนี้ว่า

    “เราร่วมกันคิดเพื่อหาเงินมาสร้างสถานีอนามัยพร้าวใหม่ สมัยนั้นหมออภิเชษฐ์ (นาคเลขา) มาเป็นแพทย์หัวหน้าอนามัย ตัวอาคารอนามัยเก่าทรุดโทรม จึงคิดกันว่าจะสร้างใหม่ ก็มาร่วมประชุมกัน มีผม , โกกวาง , จรัล นิ่มไพโรจน์ , นายฮิม(พิชาติ กุลประดิษฐ์) และคนอื่นอีก

    สรุปว่าจะสร้างเหรียญหลวงปู่แหวน ตกลงทำเหรียญ ๗๕,๐๐๐ เหรียญ ขายให้เช่าเหรียญละ ๒๕ บาท คนออกแบบเหรียญ คือ บุญเต็ม สุนทรพันธุ์ เราเอาเหรียญหลวงพ่ออื่นๆ มาดูกันเป็นต้นแบบ ตกลงทำเป็นรูปใข่ ครึ่งตัว ส่วนผมเป็นคนเล่นพระ ก็รู้ว่าแหล่งทำพระ ไปจ้างช่างยิ้ม อยู่ฝั่งธนบุรีสร้าง ค่าสร้างเหรียญละ ๑ บาท ๖๐ สตางค์

    การทำเหรียญเริ่มจากการแกะบล็อกด้วยเหล็กอ่อน ได้แบบเป็นที่พอใจแล้วก็ถ่ายเป็นบล็อก คือ ทำแม่พิมพ์เป็นเหล็ก มีตัวบนตัวล่าง การทำเหรียญจะมีหลายบล็อก เป็นโรงงานผลิตเหรียญพระโดยเฉพาะ มีเครื่องมือวางแผนทองแดงเข้าแม่พิมพ์ แม่พิมพ์จะปั๊มเป็นเหรียญกระเด็นออกมาเลย ได้แล้วนำมาเจาะห่วงทีหลัง

    “เมื่อได้เหรียญแล้ว วางตลาดทั่วไป อย่างกรุงเทพฯ มีโกหย่วน เซียนพระที่กรุงเทพฯ รับเป็นตัวแทนจำหน่ายที่วัดราชนัดดา ส่วนเชียงใหม่มีนายเสมอ บรรจง เป็นตัวแทนอยุ่ตลาดพระเชียงใหม่ ขายดีมาก ขณะนั้นหลวงปู่กำลังดัง เหรียญที่ทำมาก่อนแล้วก็ขายดีไม่พอขาย พอเราทำรุ่นนี้ก็ขายดี

    “พิธีปลุกเสกรุ่นอนามัย เป็นพิธีใหญ่ หลวงปู่ปลุกเสกให้เราโดยตรง เหรียญรุ่นก่อนๆ ท่านมักจะใช้มือแตะที่ลังบรรจุเหรียญและแผ่เมตตา ครู่เดียวก็เสร็จ แต่รุ่นของเราทำพิเศษเลย ใช้เวลา ๒๓ นาที พิธีครบถ้วนมีต้นกล้วย อ้อย โยงสายสินไปยังกล่องเหรียญ พระในพิธีมี ๑๐ กว่าองค์ จำได้ว่าประธานในพิธี คือ อนามัยจังหวัด ชาวบ้านมาร่วมเยอะ เสร็จแล้วชาวบ้านแย่งสายสินกัน หลวงปู่แหวนทำท่าตกใจเพราะไม่คิดว่าชาวบ้านจะแย่งดึงสายสินกัน

    “ก่อนสร้างเหรียญนี้ ทางอาจารย์หนูจะขอแบ่ง ๒๐,๐๐๐ เหรียญ และจะแยกตอกโค้ดของวัด ซึ่งจะแตกต่างจากของเรา ซึ่งในทางนักเลงเล่นพระแล้วถือกันมาก หากทางวัดตอกโค้ดเอง ของเราก็จะกลายเป็นของปลอมทันที นักเลงพระจะไม่เล่นกัน จะทำให้ขายไม่ออก ผลเสียหายมากเพราะเงินทุนประมาณ ๙ หมื่นบาทที่หยิบยืมจากคนในตลาดพร้าวก็จะไม่มีคืนให้ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราไม่ตกลงแบ่งเหรียญให้ทางวัด

    “เราทำกันอย่างเสียสละ ไม่มีใครได้ผลประโยชน์เลย เงินที่ได้มามาช่วยส่วนรวม อย่างหนึ่งคือ สร้างประปาให้พร้าว ตอนนั้นทางรัฐบาลจะนำประปาเข้าพร้าว ขอให้ทางท้องถิ่นออกเงินสนับสนุน แต่ทางสุขาภิบาลไม่มีเงินก็ตอบปฏิเสธ ต่อมามีการปรึกษากันและแบ่งเงินจากขายพระไป ๒ แสน ๕ หมื่นบาท สร้างประปา ทางหลวงออก ๑ ล้านบาทเศษ เงินส่วนที่เหลือก็นำมาสร้างโรงพยาบาลพร้าวและซื้ออุปกรณ์การแพทย์หลายอย่าง

    “ในความเห็นแล้วผมเชื่อถือเหรียญหลวงปู่แหวนรุ่นอนามัยเพราะท่านปลุกเสกจริง พิธีดี อีกรุ่นหนึ่งที่ดีคือรุ่น ทอ.๓ จากประสบการณ์ยังไม่เคยเห็นใครตายโดยที่แขวนทั้งสองรุ่นเลย”

    ขอบพระคุณข้อมูลจาก web-pra.com และ pralanna.com
     
  5. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]



    เหรียญรุ่นเราสู้ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี ๒๕๒o

    วัดสัมพันธวงศ์และสมาคมสัมพันธวงศ์ร่วมกันจัดสร้าง วัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งนำไปแจกแก่ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจและพลเรือน ที่ปฎิษัติหน้าที่อยู่ตามขอบชายเดนทุกแห่ง และอื่นๆอีก

    เหรียญรุ่นเราสู้ มีชนิดเนื้อโลหะ
    -เนื้อทองคำ จำนวน 101 เหรียญ
    -เนื้อเงิน จำนวน 190 เหรียญ
    -เนื้อทองแดงรมน้ำตาล จำนวน 200,000 เหรียญ



    [​IMG]


    วัตถุมงคลที่ดังที่สุด ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือน หลวงปู่ที่ดังที่สุด คือ เหรียญ เราสู้ เนื่องจากมีเหตุการณ์ไม่สงบกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้นทางด้านชายแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ในปี ๒๕๒๐ มีทหาร ตำรวจ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน เป็นจำนวนมากไปขอพึ่งอาศัยบารมีหลวงปู่ อยากได้สิ่งศักดิ์สิทธิ์จากหลวงปู่ไว้คุ้มครองป้องกันตัวและเป็นสิริมงคล ทางวัดดอยแม่ปั๋งขาดปัจจัยทั้งพ้นวิสัยที่จะจัดให้ทั่วถึงได้ พระอาจารย์หนู สุจิตโต เจ้าอาวาสและนายกสมาคมสัมพันธวงศ์สมัยนั้น ร่วมกับวัดสัมพันธวงศ์ตกลงขออนุญาตหลวงปู่สร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ขึ้นจำนวนหนึ่งเพื่อแจกจ่ายแก่ทหาร ตำรวจ และพ่อค้าประชาชน

    โดยอ้างเหตุผลและความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติบ้านเมือง หลวงปู่ไม่ขัดข้องยินดีอนุญาตให้ดำเนินการได้ คณะกรรมการได้มอบให้เป็นภาระของพระครูวิบูลศีลวงศ์ เป็นผู้ออกแบบจัดสร้างเหรียญ และให้พระครูปลัดเมธาวัฒน์ ควบคุมการจัดพิมพ์ มอบให้อาจารย์ปลั่ง ชื่นกลิ่นธูปเป็นเจ้าพิธีการเชิญพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ผู้ศรัทธาในหลวงปู่แหวน เป็นประธานฝ่ายฆราวาสประกอบพิธีแผ่เมตตาเหรียญแบบเราสู้

    กระทำพิธีแผ่เมตตาอธิฐานจิตที่วิหารวัดดอยแม่ปั๋ง วันศุกร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๐เมื่อได้เวลา ๒๐.๐๐ น. นิมนต์เจ้าพระคุณหลวงปู่แหวน มายังวิหาร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เป็นประทานจุดเทียนชัย พระสงฆ์ ๒๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์ เวลา ๒๑.๔๐น. เจ้าหน้าที่พิธีสงฆ์ได้อาราธนาพระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ขึ้นนั่งบนธรรมมาสน์เพื่อประกอบพิธีแผ่พลังจิตอธิฐานภาวนา เป็นเวลา ๑๒ นาที ในขณะนั้นพระสงฆ์ทั้งปวงได้นั่งสมาธิภาวนาส่งกระแสจิตอธิฐานร่วมในการประกอบพิธีครั้งนี้ด้วย เสร็จแล้ว หลวงปู่ออกจากสมาธินั่งปรกแล้ว ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่เหรียญ เราสู้ วัตถุมงคล มีนักข่าว หนังสือพิมพ์ที่เชิญไปร่วมพิธี ได้รับแจกไปทั้งเหรียญและรูปเหมือนหลวงปู่ ขณะนั้นกำลังมีการปะทะต่อสู้กัน ทางชายแดนด้านอรัญประเทศ ปราจีนบุรี นักข่าวและทหารที่ได้รับเหรียญเราสู้ไปเวลานั้น ได้ต่อสู้ผจญภัยในสนามรบอย่างโชกโชนตลอดคืน และปลอดภัยรอดตายมาได้ทุกคน เพราะมีเหรียญเราสู้ประจำตัวอยู่ทุกคน จึงทำให้เหรียญเราสู้โด่งดังไปทั่วทุกหนทุกแห่งมีประชาชนทุกเพศ ทุกวัย อยากได้ พากันหลั่งไหลมาขอที่วัดสัมพันธวงศ์บ้าง ที่วัดดอยแม่ปั๋งบ้าง จนเหรียญไม่พอแจกให้แก่ผู้ต้องการอยากได้




    [​IMG]


    จำนวนเหรียญเราสู้ที่สร้าง
    -เนื้อทองคำ ๑๐๑ เหรียญ
    -เนื้อเงิน ๑๙๐ เหรียญ
    -เนื้อโลหะรมดำ ๒๐๐,๐๐๐ เหรียญ


    วัตถุประสงค์ในการสร้างเหรียญ เราสู้
    ๑.เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ พลเรือน และที่ปฎิบัติหน้าที่ตามชายแดนทุกแห่ง
    ๒.เพื่อให้คนในชาติไทย ได้สมัครสมานสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน
    ๓.เพื่อเป็นวัตถุที่ระลึกไว้สักการบูชายึดเหนี่ยวน้ำใจคนในชาติ ให้คงความเป็นเอกราช รักษาชาติไทยไว้
    ๔.เพื่อเป็นเครื่องดลจิตดลใจให้ผู้มีเหรียญนี้ ตื่นอยู่ทุกขณะ ให้สมกับคำว่า เราสู้ สู้ตรงนี้ สู้ที่นี่

    ทุกข้อความอ้างอิงจาก หนังสือ สุจิณโณ อนุสรณ์ จัดทำโดย มูลนิธิ สุจิณโณ อนุสรณ์ ๑๗ มกราคม ๒๕๓๐
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2015
  6. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,435


    " เหรียญหลวงพ่อบุญคุ้ม "


    [​IMG]


    จำนวนการจัดสร้าง : 10,000 เหรียญ
    เนื้อหา : มีเฉพาะเนื้อทองแดงรมมันปูเพียงเนื้อเดียว

    รายนามคณาจารย์ที่เมตตาอธิษฐานจิตเดี่ยว :

    1. พระครูถาวรการโกวิท ( หลวงปู่รอด ) วัดบางพูน อ.เมือง ปทุมธานี เสก 6 เดือนเศษ ซึ่งรวมตลอดพรรษาของปี 2529

    2. หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม วัดพระเจ้าพรหมมหาราช เชียงใหม่ เสกให้นาน 20 นาที

    3. หลวงปู่เส็ง วัดบางนา อ.สามโคก ปทุมธานี ปลุกเสกให้นาน 1 ชม.

    4. พระครูปทุมกิจโกศล ( หลวงพ่อแสวง ) วัดสว่างภพ อ.คลองหลวง ปทุมธานี
    - ครั้งที่ 1 ปลุกเสกนาน 17 วัน
    - ครั้งที่ 2 ตลอดพรรษา ปี 2533 ( 6 ก.ค.-10 พ.ย. 33 )
    - ครั้งที่ 3 ปลุกเสกวันเสาร์ 5 ใหญ่ เดือน 5 ปี 2534 ( ในเดือน 5 ปีนั้นมีวันเสาร์ 5 ครั้ง )

    5. พระครูธัญญเขมคุณ ( หลวงพ่อทองพูล ) วัดแสงสวรรค์ อ.ธัญบุรี ปทุมธานี ปลุกเสกนาน 2 วัน

    6. หลวงพ่อพรหม ติสสเทโว วัดขนอนเหนือ อ.บางปะอิน อยุธยา ปลุกเสกนาน 2 ชม.

    7. พระอาจารย์เล็ก วัดตรีทศเทพ กรุงเทพฯ ปลุกเสกนาน 15 วัน

    8. หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย อยุธยา ปลุกเสก 30 นาที

    9. หลวงปู่จู วัดเขียนเขต อ.ธัญบุรี ปทุมธานี ปลุกเสก 30 นาที

    10. หลวงปู่บาง วัดหนองพลับ อ.หนองแซง สระยุรี ปลุกเสก 2 ชม. 30 นาที

    11. หลวงพ่อสอน วัดศาลเจ้า อ.เมือง ปทุมธานี ปลุกเสก 5 เดือน 15 วัน

    12. พระอาจารย์มหาถาวร จิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ปลุกเสก 11 เดือนตลอดพรรษาปี 2532 ตั้งแต่ 16 พ.ค. 2532 – 11 เม.ย. 2533

    13. หลวงปู่เจ๊ก อาจารสุโภ วัดระนาม อ.อินทร์บุรี สิงห์บุรี เสกนานราว 30 นาที

    14. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี เสกให้ 14 วัน ตั้งแต่ 26 พ.ค.- 8 มิ.ย. 2533

    15. พระครูสิริปุญญาทร ( หลวงพ่อหมื่นอุดม ) วัดตูม อยุธยา ปลุกเสก 15 นาที

    16. หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน อยุธยา ปลุกเสกราว 10 นาที

    17. หลวงพ่อสิริ วัดตาล อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ปลุกเสกให้ตั้งแต่ 7-12 เม.ย. 2536 รวม 5 วัน 5 คืน

    พิธีพุทธาภิเษก ได้นำเข้าร่วมพิธีใหญ่ๆถึง 10 พิธี ด้วยกัน คือ :

    1. พิธี “ สวดไซ ” ณ วัดสว่างภพ อ.คลองหลวง ปทุมธานี โดยศิษย์หลวงพ่อเคน วัดถ้ำเขาอีโต้ ปราจีนบุรี ที่ว่ากันว่าเป็นเทพเจ้าของไซมหาลาภ โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก เช่น

    - ลพ.แพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี - ลป.เมฆ วัดลำกระดาน มีนบุรี กทม.
    - หลวงพ่อใหญ่ ( พระอาจารย์ประสิทธิ์ ประสิทธิโก ) วัดหนองผักชี บางเขน กทม.
    - พระครูสิริพัฒนาภรณ์ ( ลพ.เล็ก ) วัดกลางคลองสาม อ.คลองหลวง ปทุมธานี
    - พระครูโสภณธัญญคุณ ( ลป.รส ) วัดสอนดีศรีเจริญ อ.หนองเสือ ปทุมธานี

    2. พิธีพุทธาภิเษกรูปเหมือนเท่าองค์จริงหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค และวัตถุมงคลต่างๆ ณ วัดนก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โดยพระเกจิอาจารย์สายหลวงพ่อปานมาร่วมพิธี เช่น

    - ลพ.ช่อ ( ฤาษีลิงขาว ) วัดฤกษ์บุญมี สุพรรณบุรี - ลพ.เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา อ.บางบาล อยุธยา
    - ลพ.ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว อ.บางบาล อยุธยา - ลพ.มี เขมธัมโม วัดมารวิชัย อ.เสนา อยุธยา
    - พระครูวิหารกิจจานุยุต ( ลพ.อุไร ) วัดบางนมโค อยุธยา - ลพ.ไวทย์ วัดบรมวงศ์ อยุธยา
    - พระมหาประยงค์ วัดบางพลัดใน กทม. - พระมหาเวก ( น้องฤาษีลิงดำ ) วัดดาวดึงส์ กทม.
    - พระครูปลัดแสวง วัดนก กทม.

    3. พิธีพุทธาภิเษกพระสมเด็จวัดเกษไชโย ณ วัดไชโยวรวิหาร อ่างทอง โดยมีพระคณาจารย์ต่างๆ ดังนี้

    - พระธรรมปัญญาบดี วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ - พระพุทธพจนวราภรณ์ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ
    - พระวิบูลย์ธรรมภาณี วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ - ลพ.ยิ่งยง วัดนางแลว อ่างทอง
    - ลพ.แพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี - ลพ.จรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
    - ลป.บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี - ลพ.เชิญ วัดโคกทอง อยุธยา
    - ลพ.เฉลิม วัดพระญาติ อยุธยา - ลพ.หวล วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
    - ลพ.เอียด วัดไผ่ล้อม อยุธยา - ลพ.เสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์ อยุธยา
    - ลพ.สอน วัดศาลเจ้า ปทุมธานี - ลพ.ใหญ่ วัดสุวรรณภูมิ สุพรรณบุรี
    - ลพ.จำเนียร วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี - ลพ.ตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
    - ลพ.ประสิทธิ์ วัดไทรน้อย นนทบุรี - ลพ.เปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    - ลพ.เริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี - ลพ.ทิม วัดคีรีวงศ์ เพชรบุรี
    - ลพ.ชม ( ศิษย์ลพ.อี๋ ) วัดโป่งนาเกลือ ชลบุรี - ลพ.เกรียง วัดวังน้ำเย็น อ่างทอง
    - ลพ.เล็ก วัดทำนบ อ่างทอง - ลพ.ทองใบ วัดอบทม อ่างทอง

    4. พิธีพุทธาภิเษก พระปิดตาบรรจุกระดาษสา ณ วัดศาลเจ้า ปทุมธานี เมื่อวันมาฆบูชาที่ 20 กุมภาพันธ์ 2532 พระสงฆ์ 16 รูปเจริญพระพุทธมนต์ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร เจริญพระพุทธคุณ 108 ชินบัญชร 108 กลางคืนเกิดจันทรคราส หลวงพ่อสอนปลุกเสกเดี่ยว พระภิกษุที่ร่วมพิธีมี

    - พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส - พระครูสิริปัญญาโสภณ วัดมะขาม
    - พระครูโสภณพิทักษ์ วัดโสภาราม - พระมหามนัส โชติปาโล วัดมะขาม
    - พระอาจารย์บุญปลูก ฐิตเปโม วัดมะขาม - พระอาจารย์สิริ กตปุญโญ วัดมะขาม
    - พระอาจารย์ช่อ วัดหงส์ - พระอาจารย์ล้วน วัดหงส์
    - พระอาจารย์สามารถ วัดไก่เตี้ย - พระครูโสภณกิจจานุยุต วัดไก่เตี้ย
    - พระสมุหโสม วัดสะแก - พระอาจารย์ปรีชา วัดโบสถ์
    - พระครูโอภาสธัญกิจ วัดมูลจินดาราม - พระครูปทุมคณารักษ์ วัดบางโพใน
    - พระอาจารย์ใหญ่ จักกธัมมโม วัดหาดมูลกระบือ

    5. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดศาลเจ้า ปทุมธานี รุ่น เสาร์ 5 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2533 ( แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ) ซึ่งมีพระคณาจารย์เข้าร่วมพิธีดังนี้

    - หลวงพ่อไท วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม อ.เมือง ปทุมธานี - พระครูปทุมคณารักษ์ วัดบางโพใน อ.เมือง ปทุมธานี
    - พระมหามนัส โชติปาโล วัดมะขาม อ.เมือง ปทุมธานี - พระครูพิพัฒน์นนทเขต ( หลวงพ่อทุ่งจอมคาถา ) วัดโพธิ์ทองบน นนทบุรี
    - พระครูโอภาสธัญญกิจ วัดมูลจินดาราม อ.ธัญบุรี ปทุมานี - พระสมุห์ราตรี ถาวโร วัดโบสถ์ อ.เมือง ปทุมธานี
    - พระครุปทุมกิจโกศล ( แสวง อรีโย ) วัดสว่างภพ ปทุมธานี - หลวงพ่อสอน วัดศาลเจ้า ปทุมธานี

    6. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดศาลเจ้า ปทุมธานี รุ่น เสาร์ 5 เมื่อ 27 มีนาคม 2536 ( ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ) โดยมีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกดังนี้

    - ลพ.สอน วัดศาลเจ้า ปทุมธานี - ลพ.อำภา วัดน้ำวน ปทุมธานี
    - พระสมุห์โสม วัดสะแก ปทุมธานี - ลพ.ประจวบ วัดคลองตะเคียน จันทบุรี
    - พระมหามนัส วัดมะขาม ปทุมธานี - ลพ.สิริ วัดตาล ปากเกร็ด นนทบุรี
    - ลพ.แสวง วัดสว่างภพ ปทุมธานี

    7. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลวัดศาลเจ้า ปทุมธานี เมื่อ 11 สิงหาคม 2537 โดยหลวงพ่อสอน ปลุกเสกเดี่ยว

    8. พิธีพุทธาภิเษกรูปหล่อหลวงพ่อแสวง อริโย เจ้าอาวาสวัดสว่างภพ อ.คลองหลวง ปทุมธานี เมื่อวันที่ 3-5 มีนาคม 2538 โดยมีพระเกจินั่งปรกบริกรรมดังนี้

    - สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กทม. - ลพ.รส วัดสอนดีศรีเจริญ หนองเสือ ปทุมธานี
    - ลพ.เล็ก วัดกลางคลองสาม คลองหลวง ปทุมธานี - ลพ.สมบูรณ์ วัดแสวงสามัคคี คลองหลวง ปทุมธานี
    - ลพ.ลมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี - ลพ.สอน วัดศาลเจ้า ปทุมานี
    - ลพ.อำภา วัดน้ำวน ปทุมธานี - ลพ.เจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    - ลพ.วิเชียร กทม. - ลพ.ผัน วัดแปดอา สระบุรี
    - ลพ.คูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา - ลพ.ทอง วัดบ้านกลึง นครราชสีมา
    - ลพ.สวัสดิ์ วัดศาลาปูน อยุธยา - ลพ.ทองใบ วัดสายไหม ปทุมธานี

    9. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดศาลเจ้า ปทุมธานี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2538 หลวงพ่อสอน ปลุกเสกเดี่ยวในฤกษ์ “ จันทรคราส ”

    10. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลวัดศาลเจ้า ปทุมธานี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 หลวงพ่อสอน ปลุกเสกเดี่ยวในฤกษ์ “ สุริยุปราคา ”

    สรุป เหรียญหลวงพ่อบุญคุ้ม รุ่น 2528 ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญๆ เช่น

    1. เสาร์ 5 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5
    2. เสาร์ 5 แรม 5 ค่ำ เดือน 5
    3. เสาร์ 5 ใหญ่ เดือน 5 มีวันเสาร์ 5 ครั้ง
    4. ปลุกเสกทั้งในฤกษ์ “ จันทรคราส ” และ “ สุริยคราส ”
    5. ปลุกเสกในไตรมาส โดย ลพ.แสวง วัดสว่างภพ ปทุมธานี , ลพ.พระมหาถาวร วัดปทุมวนาราม กทม. , ลป.รอด วัดบางพูน ปทุมธานี
     
  7. ryan boy

    ryan boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +22,020
    [​IMG]

    [​IMG]

    เหรียญเสมาปฏิบัติธรรม'หลวงปู่ดู่'ปี๒๕๒๔เหรียญรุ่นแรกที่ปลุกเสกนานถึง๑๖ปี
    เหรียญปฏิบัติธรรม หลวงปู่ดู่ วัดสะแก สร้างเมื่อปี ๒๕๒๔ ด้านหน้ามีรูปหลวงปู่ดู่นั่งสมาธิเต็มองค์ ด้านหลังมีข้อความว่า “ที่ระลึกในการปฏิบัติธรรม” เป็นเหรียญทองแดงชุบทอง จึงดูสุกแวววาว ท่านว่าตั้งแต่สร้างพระมา เหรียญรุ่นนี้แข็งที่สุด เพราะผู้สร้างแทบจะใช้แต่เนื้อชนวนล้วนๆ
    ที่สำคัญคือ เจตนาในการสร้างบริสุทธิ์ ไม่มีการจำหน่าย กะว่าจะแจกฟรี สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนา หลวงปู่จึงตั้งใจอธิษฐานจิตให้อย่างเต็มที่ โดยเหรียญส่วนใหญ่อยู่ในกุฏิของหลวงปู่นานมาก จนถึงวาระที่ท่านได้ละสังขาร เมื่อปี ๒๕๓๓ จึงนำมาออกให้บูชา เท่ากับว่าตอนที่ทำพิธีเสกเหรียญสำคัญรุ่นต่างๆ เช่น เหรียญเปิดโลก เหรียญนี้ซึ่งอยู่ในกุฏิหลวงปู่ก็ได้เสกเพิ่มเข้าไปด้วย

    ท่าน น.อ.(พิเศษ) สำเภา คมสันต์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของหลวงปู่ที่ท่านรักและโปรดปรานมาก ได้ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ตั้งแต่ปี ๒๔๙๐ เศษ เป็นต้นมา ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จัก หลวงปู่ดู่ กันมากนัก
    ต่อมาเมื่อประมาณ ปี ๒๕๑๖-๒๕๑๗ น.อ.สำเภา ได้ขออนุญาตหลวงปู่สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก หลวงปู่ไม่ขัดข้อง ได้อนุญาตให้สร้างตามความประสงค์
    จากนั้น น.อ.สำเภา ได้นำชนวนของพระบูชา "หลวงพ่อสวย" มาจำนวนหนึ่ง ผสมกับทองแดงบริสุทธิ์ แล้วรีดเป็นแผ่นบางๆ ลงอักขระเลขยันต์เฉพาะตัวท่านทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระยันต์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ หลังจากนั้น หลวงปู่ดู่ได้ปลุกเสกแผ่นยันต์ทั้งหมด เป็นเวลา ๗ ปี น.อ.สำเภา ได้นำแผ่นยันต์ทั้งหมดไปหลอมอีกครั้ง แล้วรีดเป็นแผ่นสำหรับปั๊มเป็นเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ดู่ ได้จำนวน ๑๘,๐๐๐ เหรียญ เท่าที่จำนวนเนื้อโลหะชนวนที่มีอยู่
    จากนั้นได้นำเหรียญทั้งหมดไปถวายหลวงปู่ดู่ปลุกเสก พอครบ ๑ ไตรมาส ช่วงออกพรรษาปี ๒๕๒๔ หลวงปู่ดู่ได้นำเหรียญนี้ออกแจกแก่ผู้ที่ร่วมบริจาคทุนสร้างเหรียญจำนวนหนึ่ง ไม่มากนัก ที่เหลือนอกนั้น ได้เอาไว้ในกุฏิของท่านตลอดมา ตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ จนถึงปี ๒๕๓๓ เป็นเวลานานถึง ๙ ปี นับเป็นเหรียญที่หลวงปู่เสกให้นานที่สุด ถ้าหากนับรวมตอนปลุกเสกโลหะชนวนอีก ๗ ปี จะเท่ากับปลุกเสกนานถึง ๑๖ ปี
    เมื่อหลวงปู่มรณภาพ คณะกรรมการวัดได้เอาเหรียญรุ่นปฏิบัติธรรม ๒๕๒๔ นี้ออกมาจำหน่ายเหรียญละ ๑๐๐ บาท ปรากฏว่าไม่ถึง ๕ วัน เหรียญจำหน่ายหมด ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้สนนราคาเช่าบูชาอยู่หลักพันปลาย
     
  8. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,435


    เหรียญรุ่นนี้ปลุกเสกนานมากๆเลยครับพี่บอย :cool::cool::cool:
     
  9. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,273
    ตะกรุดหนังลูกควายครูบาชุ่ม โพธิโก ขนาด ๓ นิ้ว ลงชาดปิดทองคำเปลว

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]
    ครูบาชุ่ม โพธิโก


    - ตะกรุดหนังลูกควายตายพรายมีต้นตำรับสายวิชามาจากเมืองน่าน
    ซึ่งในยุคนั้น โซนจังหวัดน่านมีผู้ก่อการร้ายชุกชุม(พื้นที่สีแดง)
    ครูบาอาจารย์สมัยนั้น จึงเน้นสร้างเครื่องรางของขลัง
    ที่เกี่ยวกับ มหาอุด คงกระพัน โดยตะกรุดหนังฯ

    เป็นตะกรุดที่นิยมสร้างกันมากในเขต แพร่ น่าน โดยในยุคนั้น
    ผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดถือว่าเป็นดั่งปรมาจารย์ทางวิปัสสนา
    และพระเวทย์(เปรียบเสมือน อ. ทองเฒ่า แห่งสำนักเขาอ้อ)
    อยู่ทาง จ.แพร่ เป็นสหธรรมิก ของครูบาเจ้าศรีวิชัย

    และวิชาที่โดดเด่น คือการทำตะกรุดหนังลูกควายตายพราย
    คือ พระมหาเมธังกร วัดน้ำคือ จ.แพร่
    ครูบาชุ่มท่านได้ทราบชื่อเสียงของ
    พระมหาเมธังกร ในคราวที่ตามครูบาเจ้าศรีวิชัย
    มาบูรณะวัดพระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดครูบาเจ้าศรีวิชัย

    จนเมื่อปลงพระศพสรีระครูบาเจ้าศรีวิชัยแล้ว
    ครูบาชุ่มท่านเดินทางมาศึกษาวิชา
    กับหลวงปู่พระมหาเมธังกรเป็นเวลา ๒ ปี

    [​IMG]

    พระมหาเมธังกร​


    - ครูบาชุ่ม ท่านได้ เรียนวิชานี้ มาจาก พระมหาเมธังกร โดยมีศิษย์ร่วมเรียนกัน
    (ทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้อง ) ที่มีการค้นคว้ามาพอได้สังเขปคือ
    ๑.ครูบา สิทจิ๊ ไจยา (เป็นพ่อครู ของครูบาอินสม
    วัดเมืองราม จ.น่าน)
    ๒.ครูบา อินต๊ะวงค์ปู๋เผือก วัดแสงดาว จ.น่าน
    ๓.ครูบา กั๋ญจ๊ะณะวงค์ วัดม่วงตึ๊ด
    ๔.ครูบา ขัตติยะวงค์ วัดท่าล้อ จ.น่าน
    ๕.ครูบา ญาณะ วัดสวนดอก
    (ผู้เป็นพ่อครูบาอาจารย์ ของครูบา สุทธะวงค์(บุญทา) ใจเฉลียว
    หรือครูบาวัดดอนตัน ท่าวังผา จ.น่าน )
    ๖.ครูบา สุทธะวงค์(บุญทา) ใจเฉลียว
    หลวงพ่อวัดดอนตัน ท่านก็ทำตะกรดหนังพอกครั่งเช่นกัน
    แต่ท่านสืบตำรามาจาก ครูบา ญาณะ วัดสวนดอก
    ไม่ได้สืบตำรากับพระมหาเมธังกรโดยตรง
    ๗.ครูบา อาทะวงค์ วัดน้ำปั๊ว อ.สา จ.น่าน
    ๘.ครูบา ธรรมจัย วัดศรีนาป่าน
    ๙.ครูบา พรหมมา วัดบ้านก๋ง ท่าวังผา จ.น่าน
    (ครูบาวัดบ้านก๋ง ผู้เป็นอาจารย์ ของครูบา มนตรี
    วัดพระธาตุศรีสุโทนมงคลคีรี อ.เด่นชัย จ.แพร่)
    ๑๐.ครูบา อินสม วัดเมืองฮาม (เมืองราม)
    ๑๑. ครูบา ปัญญา วัดซ้อ
    ๑๒.ครูบา บุญเยี่ยม วัดเชียงของ อ.นาน้อย
    ๑๓.ครูบา วงค์ วัดเชียงของ อ. นาน้อย
    ๑๔.ครูบา อินต๊ะยศ วัดไทรหลวง
    ๑๕.ครูบา อินหวัน วัดอภัยคีรี
    (พ่อครูอาจารย์ของ ครูบา วัดศรีบุญเรือง)
    ๑๖.ครูบา วัดศรีบุญเรือง จ.น่าน
    ท่านก็สร้างตะกรุดหนังและสืบตำรามาจาก ครูบา อินหวัน

    ครูบาที่เอ่ยนามมานี้ท่านได้สร้างตะกรุดหนังมาเหมือนกัน
    รวมทั้งที่ยังไม่ได้เอ่ยนามอีกมาก ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคที่เก่า
    ตรงสมัยกับ หลวงปู่มหาเมธังกร และหลวงปู่ ชุ่ม โพธิโก อีกด้วย

    จากเวป ข้อมูลเกี่ยวกับ ตะกรุด ครูบาชุ่ม โพธิโก ฉบับเต็ม : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อั�

    จะเห็นได้ว่า ตะกรุดหนังลูกควายมีผู้จัดสร้างมากกว่า ๑๗ รูป
    โดยผู้ที่ครอบครองตะกรุดหนังลูกควายก็จะบอกว่า
    ของตัวเอง เป็นของครูบาชุ่ม โพธิโกแทบทั้งสิ้น
    ซื่งของครูบาชุ่ม ที่แยกออกได้เด็ดขาดก็เป็นตอนที่
    ลูกศิษย์สายวัดท่าซุงจัดหาหนังที่ตรงตามตำรา
    แล้ว ให้ลูกศิษย์ครูบาชุ่มจัดทำ
    และขอความเมตตากรุณาให้ครูบาชุ่ม อธิษฐานจิตให้
    เป็นแบบทาทองบรอนซ์ เชือกสีเหลือง

    ส่วนรุ่นเก่า แยกออกได้ยาก แต่ที่เป็นเอกลักษณ์
    และเล่นหากันเป็นของครูบาชุ่มแน่ๆ คือ ทรงลูกหนำเลี๊ยบ
    หรือลูกรักบี้ เพราะผู้จัดทำตะกรุด ให้ครูบาชุ่ม
    แยกทรงออกมาให้ชัดเจนไม่ให้เหมือนครูบาท่านอื่นๆ


    ที่ปิดทองคำเปลว ตามตำรากล่าวว่า เป็น
    หนังลูกควายเผือกตายในท้องที่แม่ถูกฟ้าผ่าตาย

    ครูบาชุ่มท่านให้ปิดไว้เพื่อเป็นการแยกออกจากหนังลูกควาย
    ที่ไม่เผือก ส่วนที่เป็นของครูบาท่านอื่นๆ ก็มีปิดทองคำเปลว
    แต่ของครูบาชุ่ม จะลงชาดก่อนปิดทองคำเปลว
    เพื่อให้แตกต่างกับท่านอื่นๆ

    ซึ่งตามตำราอีกอย่าง ถ้า ขนาดความยาว ๓ นิ้วขึ้นไป
    (ซึ่งตะกรุดหนังลูกควายจะมีขนาด ๑ นิ้ว ๑.๕ นิ้วเป็นส่วนมาก)
    จะเป็นส่วนของหนังหน้าผากลูกควาย เปรียบเหมือนดอกประธานของ
    ตะกรุดในครั้งนั้นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2015
  10. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    เหรียญเจดีย์ 84 รูปไข่ เนื้อทองแดง ปี 2517

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างโดยวัดดอยแม่ปั๋ง โดยมีคณะกรรมการซึ่งมีพล.ต.บำรุง สุขธารมณ์ เป็นประธานกรรมการและมีพระครูชินเทพ ชินเทโว วัดสัมพันธ์วงศ์ เป็นกรรมการที่ปรึกษา โดยจำนวนการสร้างทั้งสิ้น ประมาณ 100,000 เหรียญ (โดยรวมทั้งพิมพ์กลมและพิมพ์รูปไข่)รายละเอียดมีดังนี้ เหรียญเจดีย์มีสร้างขึ้นมา 2 รูปแบบ แบบทรงกลมและแบบรูปไข่
    เหรียญแบบทรงกลม โดยเนื้อทองแดงและเนื้อนวโลหะเส้นขอบโดยรอบเหรียญวงในด้านหน้าจะเป็นเส้นเรียบ ซึ่งจะแตกต่างจากเนื้อเงินและเนื้อทองคำโดยเส้นขอบจะเป็นลักษณะลายบัวรอบ มีชนิดเนื้อโลหะดังนี้
    -เนื้อทองคำ สร้างจำนวน 303 เหรียญ
    -เนื้อเงิน สร้างจำนวน 9,999 เหรียญ
    -เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 7,499 เหรียญ
    -เนื้อทองแดง สร้างจำนวน 37,285 เหรียญ
    เหรียญแบบรูปไข่ มีชนิดเนื้อโลหะดังนี้
    -เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 7,498 เหรียญ
    -เนื้อทองแดง สร้างจำนวน 37,284 เหรียญ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    [​IMG]



    ๒๒ มิถุนายน ครบรอบวันมรณภาพท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี


    นอกจากพระสมเด็จอันลือชื่อของท่านแล้วเกร็ดเรื่องราวของสมเด็จท่านหากนำมาใคร่ครวญพิจารณาก็จะเกิดประโยชน์แก่ตนอย่างมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2015
  12. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,273
    ที่สุดของความหายาก ผ้ายันต์ทองหนึ่ง
    หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา จ.ลพบุรี มีจารดินสอ


    [​IMG]

    [​IMG]

    มีจารด้วยดินสอสามที่ เป็นเหมือนตัวท.ทหารและเลข ๑ ไทย


    [​IMG]

    [​IMG]

    ประวัติ หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา
    ตำบลสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี


    หลวงพ่อกบ เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่พุทธศาสนิกชนทั่วไป
    ได้ให้ความเคารพ และเลื่อมใสศรัทธา
    ชีวประวัติของท่านไม่ได้บันทึกไว้ชัดเจน
    เป็นแต่เพียงการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า
    ท่านธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่ชายป่าด้านเขาสาริกา
    เมื่อประมาณปลายปีพ.ศ. ๒๔๓๐

    โดยที่ไม่มีใครทราบวาท่านมาจากไหน
    ท่านมีชื่อว่าอะไร และท่านเป็นคนจังหวัดใด
    หลายคนอยากทราบ ได้พยายามถามท่าน
    ท่านมักจะตอบว่า
    “ กูจะไปรู้ได้อย่างไร แม้แต่มึงเอง
    มึงยังไม่รู้ว่ามึงเป็นใครมาจากไหน และมึงจะไปไหนต่อ ”


    ซึ่งเป็นคำตอบที่นอกจากจะไม่เข้าใจแล้วยังสร้าง
    ความงุนงงให้กับผู้ถามเพิ่มขึ้นไปอีก
    จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครทราบประวัติที่แท้จริงของท่าน

    ปฏิปทา

    ปกติหลวงพ่อกบ จะบำเพ็ญเพียรภาวนาในท่านั่งยองๆ
    เป็นเวลายาวนานติดต่อกัน คราวละ ๗ – ๑๕ วัน
    โดยที่ท่านไม่ลุกไปไหนเลย ไม่ฉันอาหาร น้ำ
    หรือแม้แต่การถ่ายหนักเบา

    - นั่งท่ายองๆ ไม่ว่าจะสวดมนต์
    หรือทำกิจวัตรใดๆ และนอนตะแคงขวาเป็นประจำ
    - นุ่งสบงเก่าๆ ผืนเดียว ไม่ห่อจีวร
    ที่คอแขวนลูกกระพรวน
    - อยู่แต่ในวัดไม่เคยเดินออกไปไหนเลย
    - ใช้น้ำชา และต้มเครื่องเทศเป็นยารักษาโรค

    มรณภาพ

    หลวงพ่อกบ ท่านละสังขารเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๙๖
    ในวันนั้นหลวงพ่อโอภาสีได้ขึ้นมาที่วัด
    และรับเป็นประธานในงานเผาสรีระของท่าน
    หลวงพ่อโอภาสีทราบได้อย่างไร ?
    ชาวบ้านต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า
    " ไม่มีใครส่งข่าวไปบอกท่าน”

    เพราะหนทางไกล การคมนาคมสมัยนั้นลำบากมาก
    ในเรื่องนี้เข้าใจกันว่า หลวงพ่อโอภาสี
    ท่านคงทราบได้ด้วยฌานเช่นเดียวกัน
    การละสังขารของหลวงพ่อกบ
    ยังความโศกเศร้าเสียใจให้กับผู้คนจำนวนมาก

    ทุกสิ่ง ทุกอย่างแห่งความดี
    และความเมตตาอารีของท่าน
    ยังคงฝังอยู่ในความทรงจำของเหล่าพุทธศาสนิกชน
    อย่างไม่มีวันลืม ตราบจนทุกวันนี้

    วัตถุมงคลของหลวงพ่อกบ

    หลวงพ่อกบเป็นพระที่แปลก
    ชั่วชีวิตของท่านไม่เคยสร้างวัตถุมงคล
    หรือเครื่องรางของขลังให้เช่าบูชา
    เหมือนเกจิอาจารย์รูปอื่น ๆ ยกเว้นท่านจะทำแจก
    ลูกศิษย์ใกล้ชิดและผู้ศรัทธาไม่กี่คน

    ซึ่งมีจำนวนน้อยและเป็นวัสดุที่หาไม่ยากในท้องถิ่น
    หลายคนอาจไม่เคยมีโอกาสได้เห็น
    และนึกไม่ถึงตามคำกล่าวที่ว่า
    "มีเงินมีทองไช่ว่าจะครอบครองของดีกันได้ง่าย ๆ"

    ปริศนาธรรม “ทองหนึ่ง"

    บนกุฏิหลังใหม่ลูกศิษย์นำระฆังทองเหลือง
    มาถวายหลวงพ่อกบหลายใบ
    วันดีคืนดีท่านก็จะลุกขึ้นมาตีระฆังเสียงดังกังวาน
    “หง่าง หง่าง" และตะโกนว่า

    “ทองหนึ่ง ทองหนึ่ง ทองหนึ่ง ทองหนึ่ง"
    และท่านชอบเขียนเลข ๑ หรือเครื่องหมาย +
    ตามข้าวของเครื่องใช้จนเปื้อนไปหมด

    เคยมีลูกศิษย์ถามว่า “หลวงพ่อเจ้าค่ะ
    ทองหนึ่ง คืออะไรเจ้าค่ะ"
    ท่านหันมาตอบว่า “หนึ่งคือหนึ่งไม่มีสอง
    เปรียบเสมือนทองยังไงก็เป็นทองวันยังค่ำ"

    หมายถึง “ธรรมะ"
    หรือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นที่หนึ่งในโลก ไม่ว่ากาลเวลาผ่านพ้น
    ไปเท่าใดก็ยังคงเป็นที่หนึ่งเสมอนั่นเอง


    หัวใจพระพุทธศาสนา
    นับวันวัดเขาสาริกาจะกลายเป็นศูนย์รวมผู้ศรัทธาในตัวหลวงพ่อ
    ทำให้ถูกทางการสมัยนั้นจับตามองกล่าวหาว่าเป็นแหล่งมั่วสุมผู้คน
    พ.ศ. ๒๔๕๐ ทางการส่งเจ้าหน้าที่มาสอบถามและตรวจสอบ
    แต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย พบเพียงผู้คนมาปฏิบัติธรรม
    และไม่ได้เป็นที่ซ่องสุมผู้คนจึงกลับไป

    ต่อมามีคณะพระผู้ใหญ่เดินทางมาหา
    หลวงพ่อกบ อีกครั้ง เพื่อสอบสวนประวัติความเป็นมา
    เนื่องจากกลัวเป็นพวกลัทธิใหม่หรือพวกนอกรีต
    เนื่องจากพฤติกรรมของท่านค่อนข้างประหลาด
    ไม่เหมือนพระทั่วไป แต่ท่านไม่ยอมบอกว่าเป็นใคร
    และใครเป็นพระอุปัชฌาย์

    จึงมีการทดสอบความรู้เรื่องธรรมะกันขึ้น
    ไม่ว่าจะถามเรื่องอะไร ในพระไตรปิฎกเล่มไหน
    หน้าอะไร หัวข้อเท่าไหร่ หลวงพ่อกบตอบถูกทั้งหมด
    และท่านถามกลับไปว่า

    “หัวใจของพระพุทธศาสนาคืออะไร”

    ปรากฏว่าไม่มีใครหรือพระเถรผู้ใหญ่ตอบได้แม้แต่รูปเดียว
    เงียบกันหมด ท่านจึงเฉลยให้ฟังว่าหัวใจพุทธศาสนาก็คือ
    “ศีล สมาธิ ปัญญา”เพราะเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์


    จากเวป แสดงกระทู้ - สมเด็จบรมครูหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา • ลานธรรมจักร
     
  13. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,273
    พระว่านจำปาสัก ศิลปะเชียงรุ้ง
    ปิดทองด้านหน้า ขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือ


    [​IMG]

    [​IMG]

    พระว่านจําปาสัก

    เป็นพระที่อายุเก่าแก่นับเป็นร้อยปี
    สร้างกันมาหลายยุค ไม่มีบันทึกไว้ในข้อมูลที่ชัดเจนนัก
    อาศัยความเก่าของว่านที่บอกถึงระดับอายุ

    แตกกรุครั้งแรกที่ แคว้นจำปาสัก ประเทศลาว
    และยังพบมากทางแถบท้องถิ่นอีสาน
    ทั้งตามถ้ำ โพรงต้นไม้ ในป่า เขา มีทั้งเป็นกรุก็มี
    และพบในกรุวัดพระธาตุพนม จ.นครพนม
    เมื่อครั้งพระธาตุพังถล่มลงมา

    ศิลปะพุทธศิลป์ ส่วนมากเป็นแบบเชียงรุ้ง
    มีหลายพิมพ์ รูปแบบถ้าเป็นเนื้อว่านล้วน
    จะแห้งหดตัว องค์พระส่วนใหญ่จะบาง และมีหลายขนาด

    มีความเชื่อสืบทอดกันมาว่า
    โดดเด่นทางด้านมหาอำนาจ มหาอุตม์ แคล้วคลาด
    คงกระพันชาตรี เมตตา โชคลาภเงินทอง
    วาสนา หนุนดวง และป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ได้ทั้งปวง

    ตามตำราพิชัยสงครามระบุว่า "ว่าน"
    เป็นสุดยอดแห่งความมหาอำนาจ คงกระพันชาตรี
    มหาเสน่ห์ โดยธรรมชาติ นักรบไทยสมัยโบราณ
    นิยมอาบน้ำว่าน เคี้ยวว่าน หรือ

    นำว่านมาสอดใส่ในผ้าประเจียดแล้วนำมารัดแขน
    ก่อนออกศึกทำสงคราม
    นักเลงโบราณมักจะพกพา พระรุ่นนี้ ติดตัวเสมอ
    มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานว่า พระคู่กายของชายชาตรี
    เห็นทีจะไม่พ้น พระว่านจําปาสัก เพราะพุทธคุณเด่น
    สมคำร่ำลือตามที่ได้เล่าสืบต่อกันมาจริงๆ

    พระว่านจําปาสัก จำแนกตามเนื้อได้ ๒ แบบคือ

    ๑.พระว่านเนื้อแก่ครั่ง บางทีเรียก พระขี้ครั่ง
    พระแบบนี้มีเสน่ห์ตรง เวลาส่องเข้ากล้อง
    จะเห็นเป็นสีแดงสวย

    ๒ พระแก่ว่าน หรือเป็นเนื้อว่าน ร้อยเปอร์เซนต์
    มักเป็นสีน้ำตาล, สีแดง, หรือสีเหลือง
    มักเจอทางภาคเหนือ
     
  14. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,273
    พระกริ่งเจริญพร ๙๗ พรรษา สมเด็จญาณฯ หมายเลข ๕
    เนื้อนวโลหะ เกศทองคำ ฝาปิดทองคำ ๑ ใน ๑๙ องค์


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  15. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    พระผงที่ระลึกครบรอบร้อยปีหลวงปู่แหวน ไม่ทันหลวงปู่


    สมเด็จพระญาณสังวรฯ หลวงปู่สิม และพระคณาจารย์ ร่วมเมตตาอธิษฐานจิต
     
  16. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    ภาพหายนะครับพี่ปู
     
  17. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,273
    พระกริ่งปริสุทโธ รุ่นไพรีพินาศ เนื้อนวโลหะ ฐานฝาปิดทองคำ ปีพ.ศ. ๒๕๓๘

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระกริ่งปริสุทโธ รุ่นไพรีพินาศ เนื้อนวโลหะ ปีพ.ศ. ๒๕๓๘

    นับว่าเป็นพระกริ่งที่อธิษฐานจิตในพิธีสุริยปราคาโดยแท้จริง
    เปรียบดั่งการดับร้อนผ่อนคลาย บรรเทาเรื่องร้ายๆ ต่างๆ
    ให้ออกไป มีชัยชนะต่อผู้คิดไม่ดี และเด่นทางด้านโชคลาภ
    ด้วยฤกษ์ของราหูอมพระอาทิตย์ หรือ สุริยุปราคา

    วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๘ จะมีปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
    โดยทางคณะกรรมการวัดบ้านไร่จึงได้ขอจัดสร้าง
    พระกริ่งไพรีพินาศ และพระชัยวัฒน์
    เนื้อทองคำ และเนื้อนวโลหะฝาปิดทองคำ
    พระกริ่งทองคำจำนวน ไม่เลย ๕๐๐ องค์
    นวโลหะฝาปิดทองคำอยู่หลักพันตอกโค๊ดและตัวเลขทุกองค์

    และได้ทำพิธีการจัดสร้าง
    อธิษฐานจิตกลางแจ้งที่วัดบ้านไร่
    ในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๘

    เมื่อตอนเกิดสุริยุปราคา ในขณะปลุกเสกพระกริ่งรุ่นนี้
    หลวงพ่อคูณเริ่มอธิษฐานจิตตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ถูกกลืนหายไป
    จนกระทั่งเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงและค่อยๆคายออก
    แต่หลวงพ่อคูณท่านยังอธิษฐานจิตต่อไปอีกสักครู่นึงจึงเลิกบริกรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2015
  18. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,273
    พระกริ่งอังคีรส วัดราชบพิธ ปีพ.ศ. ๒๔๘๑

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    จากบันทึกคำบอกเล่าของอาจารย์หนู
    ( ศิษย์ใกล้ชิดของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)
    วัดสุทัศน์เทพวราราม สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๒
    แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ) กล่าวว่า

    “ ขณะนั้นสมเด็จพระสังฆราช ( แพ )
    ซึ่งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต
    และได้ทรงเป็นแม่งานถวายพระเมรุฝ่ายสงฆ์
    โปรดให้นำทองชนวนอันศักดิ์สิทธิ์ของวัดสุทัศน์จำนวนมาก

    มาเทสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ อังคีรส ชุดนี้
    ในคราวงานครั้งที่พิธีถวายพระเมรุ ( เผาศพ )
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    พระองค์ก่อน ( องค์ที่ ๑๑ ) ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ”


    มูลเหตุของการสร้างที่ว่านี้
    สอดคล้องกับประเพณีโบราณตามความเชื่อที่ว่าการสร้าง
    พระกริ่งและพระชัยวัฒน์อังคีรส นี้
    เป็นการสร้างพระพุทธรูปพระชัยวัฒน์
    เพื่อส่งดวงพระวิญญาณพระเถระผู้ใหญ่ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว
    ให้ไปสู่สรวงสวรรค์เป็นพระอรหันต์
    โดยมีชื่อที่เรียกขานพิธีในการสร้างพระพุทธรูปที่ว่านี้ว่า
    “ พิธีจุติ ”ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นนี้เรียกว่า
    “ พระกริ่งอังคีรสจุติและพระชัยวัฒน์อังคีรสจุติ ”

    เนื้อพระกริ่งอังคีรสเป็นเนื้อทองผสมมี ๒ วรรณะ
    คือ เนื้อแดงและเนื้อเหลือง
    ส่วนเนื้อพระชัยวัฒน์อังคีรส จะออกกระแสนวโลหะ


    [​IMG]

    [​IMG]

    พระกริ่งอังคีรส สร้างจำลองถอดแบบมาจากพระพุทธอังคีรส
    ซึ่งเป็นพระประธานประดิษฐานในวัดราชบพิธ
    สร้างเนื่องในโอกาสหล่อพระรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ในปี ๒๔๘๑
    โดยมีพระสังฆราช(แพ)แห่งวัดสุทัศน์เป็นประธานในพิธี
    และพระเกิจิอาจารย์ชื่อดังร่วมอธิษฐานจิตถึง ๑๐๘ รูป
    โดยพิธีการปลุกเสกพระกริ่งอังคีรสรุ่นนี้กล่าวได้ว่า
    เป็นการรวมตัวของเกจิระดับชั้นนำของเมืองไทยเลยก็ว่าได้
    เป็นการรวมตัวของเกจิชื่อดังจนกลายเป็นประวัติศาสตร์
    โดยมี

    ๑.สังฆราชแพ
    ๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)
    ๓.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
    ๔. หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก
    ๕.หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
    ๖.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
    ๗.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
    ๘.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
    ๙.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
    ๑๐.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
    ๑๑.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
    และพระคณาจารย์อีกมากมายในยุคนั้น


    [​IMG]

    [​IMG]

    เป็นพระที่นำเข้าพิธีเป็นการส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ
    จึงมิได้มีการบันทึกไว้ในส่วนการสร้างของพิธีวัดราชบพิตร ๒๔๘๑
    เหมือนดั่ง เหรียญครูบาศรีวิชัย ปีพ.ศ. ๒๔๘๒
    ก็เข้าพิธีวัดราชบพิธปีพ.ศ. ๒๔๘๑ เช่นเดียวกัน
    และก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ในบันทึกของ
    พ.อ.พระยาศรีสุรสงครามฯ ที่ท่านได้บันทึกไว้เฉพาะ
    ในส่วนที่ท่านเป็นแม่งานรับผิดชอบการสร้าง

    โดยพระกริ่งอังคีรสนี้
    นำเข้าพิธีวัดราชบพิธทั้ง ๔ ครั้ง
    ที่จัดขึ้นในปีพ.ศ. ๒๔๘๑
    ซึ่งในพิธีครั้งที่ ๑ หลวงพ่อปาน
    วัดบางนมโค จ.อยุธยา ก็มาร่วมในพิธีด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2015
  19. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,273
    พระกริ่งลพบุรีหลวงพ่อคูณ รุ่นอนุรักษ์ชาติ ปีพ.ศ. ๒๕๓๘
    เนื้อเงิน หมายเลข 168 (ฮก ลก ซิ่ว)


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระกริ่งลพบุรีรุ่นอนุรักษ์ชาติ ปีพ.ศ. ๒๕๓๘
    จัดสร้างโดยคณะนายทหารป่าหวายศูนย์สงครามพิเศษลพบุรี
    พลเอกวิมล วงศ์วานิช เป็นประธานจัดสร้าง ปลุกเสกหลายวาระ
    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อนำรายได้
    ไปปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ
    ณ.กรมรบพิเศษที่ ๑ ป่าหวายลพบุรี

    จำนวนการจัดสร้าง :
    เนื้อทอง จำนวน ๓๙๙ องค์
    เนื้อเงิน จำนวน ๓,๙๙๙ องค์
    เนื้อนวะโลหะ จำนวน ๙,๙๙๙ องค์

    วาระที่ ๑ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดบ้านไร่


    [​IMG]


    วาระที่ ๒ ปลุกเสกพิธีพุทธาภิเษกพิธีใหญ่ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

    โดยพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง ในยุคนั้นหลายรูป อาทิ
    หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ นครพนม
    หลวงพ่อมัง วัดเทพกุญชร ลพบุรี
    หลวงปู่บุญตา วัดคลองเกตุ ลพบุรี
    หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบฯ
    หลวงปู่ถม วัดเชิงท่า ลพบุรี
    หลวงพ่อไพบูลย์ วัดอนาลโย จ.พะเยา และอีกหลายๆรูปในวันนั้น


    [​IMG]


    วาระที่ ๓ ต่อมาทางคณะนายทหารผู้จัดสร้าง
    ได้นำไปถวายให้หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปางอธิษฐานจิต อีกวาระหนึ่ง


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    ตามความเชื่อของคนจีนและคนจีนในฮ่องกง
    เลข 168 หมายถึง “ฮก ลก ซิ่ว” นั้น
    ถ้าอ่านแบบจีนฮ่องกง ก็คือ “ย่าห์- โหล่ว-ฟัด”
    แปลตามความหมายเป็นภาษาไทยคือ "รวยทางเดียว"
    กับ "รวยทั้งชาติ"
    เป็นความเชื่อที่สร้างความเชื่อมั่น
    สร้างพลังใจ และเป็นความสุขทางใจ
     
  20. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,273
    พระกริ่งผมหวี วัดมกุฎ ปีพ.ศ. ๒๔๗๘ เนื้อสำริด

    "สมเด็จพระสังฆราชแพ ทรงรับสั่งว่า
    พระกริ่งที่เจ้าคุณศาสนโสภณ วัดมกุฎ นำมาถวายฉันนี้
    มีคุณ เก็บไว้ให้ดี เจ้าคุณศาสนโสภณท่านนี้
    มิใช่เก่งเฉพาะปริยัติธรรมเท่านั้น สร้างวัตถุมงคลก็เก่ง
    เก่งมากจริงๆ ฉันดูมานานแล้ว"


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    พระกริ่งวัดมกุฎฯ สร้างโดยพระศาสนโสภณ (แจ่ม)
    ศิลปะแบบคันธารราษฏร์ อินเดีย ผมหวี เนื้อสำริด
    โดยนิมนต์สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์
    มากำกับชนวน หาฤกษ์และปลุกเสกอย่างเข้มขลัง
    ตามสูตรวัดสุทัศน์ ในช่วงปี ๒๔๗๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...