นครแห่งกาย และการละสักกายทิฎฐิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พระวัดหัวเขา, 8 กันยายน 2009.

  1. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    นครแห่งกาย

    ในตอนนี้เราจะได้พาเที่ยว....นครกาย...

    การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีการกำหนดพิจารณาในกาย เวทนา จิต ธรรม.. ทั้ง ๔ อย่าง ล้วนอยู่ในกาย กายและใจรวมเรียกว่า รูป นาม. รูป คือ กาย นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ .....

    ในนครกายแห่งนี้มีประตูอยู่ ๖ บาน (อายตนะ ๖ ) มีข้าศึกที่จะคอยเข้ามาทำลายนครกายอยู่ ๖ คน(อายตนะภายนอก ๖) ถ้าเรามีกองกำลังดี มีปัญญาดี(สติ สมาธิ การสำรวม) รู้กลอุบายของข้าศึก ข้าศึกก็มาทำลายนครกายไม่ได้

    ในนครกายมีแม่ทัพใหญ่ (ใจ )ที่คอยบัญชาการอยู่ แต่ถ้าศึกมายึด หรือฆ่าแม่ทัพได้เมื่อใด นครกายก็พัง..

    ในปัจจุบัน คนเรามักเห็นกายเป็นใหญ่ ชอบทำกายให้สบาย คือกำหนดรู้สุขต้องการแต่ความสุขกาย เพราะเหตุในความไม่รู้ หลงติดความสุขที่ไม่จีรัง จึงทำให้กิเลสเจริญขึ้นภายในจิต
    <O:p</O:p

    แต่ในความจริง พระพุทธเจ้าสอนให้ปฏิบัติ ในการรู้กาย รู้ใจให้เห็นตามความเป็นจริง ละอุปาทานขันธ์ โดยใช้หลักปฏิบัติใน "สติปัฏฐาน ๔ ".... ในนครกายแห่งนี้ เป็นที่ตั้งแห่งการศึกษาธรรม เพื่อละกิเลส ตัณหา อุปาทาน...

    <O:p</O:p
    กายของเรานี้แล มีหนังห่มอยู่เป็นที่สุดรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด..

    กาย เวทนา จิต ธรรม รวมเป็นหนึ่งไม่ห่างกัน ในกายก็มีธรรม ในธรรมก็มีการ ในเวทนาก็มีธรรม ในธรรมก็มีเวทนา ในจิตก็มีธรรม ในธรรมก็มีจิต ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีความสามัคคีอยู่ในตัว

    ในนครกายแห่งนี้ล้วนเป็นไปด้วยประชากร (ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖)ในประชากรล้วนต่างมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่ต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ประชากรทั้งสี่คนก็ดี ห้าคนก็ดี หกคนก็ดี<O:p</O:p

    ล้วนอาศัยนครกายเป็นเครื่องอยู่ ในการเป็นอยู่ในนครกายนั้นประชากรทั้งสี่ ห้า หก ที่อยู่ต้องเฝ้าระวังศัตรูที่คอยจะเข้ามายึดนครกาย (ศัตรูที่ว่ามี ๕ คนคือ อายตนะภายนอก) และเฝ้าคอยทำลาย คอยที่จะฆ่าผู้นำ หรือหัวหน้าที่ปกครองในนครกาย (ผู้นำคือใจ) ให้ได้.

    ศัตรูทั้ง ๖ มีความโหดร้ายมาก พยายามหาช่องทางเข้ามาฆ่าเจ้านาย หรือผู้ปกครองนครกายให้ได้ ดังนั้น ประชากรที่เป็นนายประตู(ทหาร)ต้องระวังมาก เพื่อไม่ให้ศัตรูเข้ามาในนครกายได้ ในการเฝ้าระวังนั้นต้องอาศัย ความฉลาด รอบรู้เท่าทันเล่ห์อุบาย จึงสามารถคุ้มครอบนครกายได้...

    นายประตูทั้ง ๕ (นายทหาร) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น
    ศัตรู ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น

    ส่วนที่ร้ายทีสุดคือ ธรรมารมณ์ ที่เป็นไส้ศึกอยู่ภายในนครกาย (อยู่ใกล้ท่านผู้นำด้วย)<O:p</O:p
    <O:p


    ...นายประตูทั้งห้า..

    มีเรื่องว่า ครั้งหนึ่งมีพ่อคนหนึ่ง จัดเป็นคนที่มีชื่อเสียง และค้าขายเก่งมาก ฉลาดรอบรู้ เดินเที่ยวค้าขายไปตามหัวเมืองต่างๆเป็นประจำ ครั้งนี้ก็เช่นเคยจัดสัมภาระออกเดินทางไปค้าขายอย่างเช่นเดิม ในการเดินทางก็จะพักไปเดินทางไปเมื่อถึงเมืองไหนใหญ่หน่อยก็อยู่นานหน่อย

    ในเรื่องเล่าว่าพ่อค้าคนนี้ มีลูกน้องที่มาช่วยค้าขายอยู่ ๕ คน ต่างก็แบ่งหน้าที่ในการค้าขาย ไปคนละแบบอย่าง คือ..
    <O:p</O:p

    ลูกน้องที่มีชื่อ “นายตา” ก็ไปขายทางหนึ่ง “นายหู” ก็ไปอีกทางหนึ่ง ”นายจมูก” “นายลิ้น” และ “นายกาย” ก็เช่นกันต่างแยกย้ายออกค้าขายไปคนละทาง..ส่วนผู้เป็นเจ้านาย หรือพ่อค้าก็พักอยู่ในที่พัก

    กล่าวถึงธรรมดาของมนุษย์นั้น เมื่อมีคนดี ก็ย่อมมีคนชั่ว เมื่อนายตาออกไปค้าขายก็ย่อมเจอทั้งคนดีและคนร้าย <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในวันนั้นเอง นายตากลับไปเจอคนกลุ่มหนึ่งที่ให้การต้อนรับ และซื้อสิ่งของมากมาย และยังจัดสถานที่พักให้ พร้อมจัดหานางรำที่รูปร่างดี หน้าตาสวยงามมาให้ชม

    นายตาไม่เคยได้เจอสิ่งดีดีแบบนี้มาก่อน ก็เลยหลงดื่มกิน สัมผัสในสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นนำเสนอ จนในที่สุดลืมทุกสิ่งในเรื่องการค้าการขายไม่สนใจสิ่งของที่นำมาขาย จนพวกคนเหล่านั้นเอาของไป และก็ฆ่านายตาให้ตายไปอย่างทรมาน<O:p</O:p

    คนอื่น ๆ คือ นายหู นายจมูก นายลิ้น และนายกาย ก็เช่นกัน เจอพวกคนเหล่านั้นทำแบบเดียวกันกับนายตา..

    ส่วนพ่อค้าที่รออยู่บริเวณที่พัก เมื่อไม่เห็นลูกน้องกลับมา ก็เป็นทุกข์เป็นร้อน เพราะลูกน้องทุกคนที่ออกไปค้าขาย ก็ไม่มีใครกลับมาสักคน ไม่ว่าจะเป็นนายหูก็ไม่กลับ นายจมูก นายลิ้น นายกาย ในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างก็ฉิบหายไป เจ้านายก็ขาดทุน จึงตรอมใจตายในที่สุด..

    เราจะเห็นได้ว่าความประมาทในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั้น เป็นเหตุให้ใจเดือดร้อน เพราะกิเลสตัณหาอุปาทาน เข้ายึดครองเมือง เมืองก็พัง เมืองเปรียบเสมือนเป็นกาย กายก็พัง เพราะความไม่สำรวมดังกล่าวมาแล้ว <O:p</O:p

    การระวังนครกายนครใจ<O:p</O:p

    ในการเฝ้าระวังนครกายนั้น ตามหลักองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า.. <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    “กายและวาจา มีศีลเป็นเครื่องอบรม กายมีศีล วาจามีศีล กายก็ดี วาจาก็ดี ทั้งสองจะเป็นปกติ ไม่เดือดร้อนเพราะกรรมชั่ว แต่ถ้ากายและวาจา ไม่มีศีล กรรมชั่วก็จะเจริญงอกงามขึ้นไม่หยุด...”

    ในกายหรือนครกาย มีหัวหน้าคือ "ใจ" ใจเป็นหนึ่งเดียวที่คอยสั่งการให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิด ไม่ว่าจะเป็นทุกข์หรือสุข เพราะใจคือผู้นำการรับรู้ในสิ่งทั้งปวง... ใจนั้นต้องใช้ “สมาธิ” เป็นเครื่องอบรม จึงจะเกิดปัญญารักษาใจได้

    ในการเฝ้าระวังหรือสำรวมกายและใจได้นั้น เราต้องมาทำความเข้าใจว่า กายประกอบขึ้นที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า มีกายก็มีตา มีกายก็มีหู เป็นต้น ตาก็ดี หูก็ดีล้วนเป็นประตูทางเข้าแห่งศัตรู ในใจความส่วนที่พระพุทธเจ้าทรงสอน..คือ ...
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    “การกำหนดรู้ในทุกข์ ในเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และทางปฏิบัติให้เข้าถึงซึ่งความดับไปสิ้นไปแห่งทุกข์”<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในการสอนนั้น พระองค์ทรงสอนให้เรากำหนดรู้ในทุกข์ และให้ละเหตุที่ ทำให้เกิดทุกข์ ทุกข์ที่ว่ามี การเกิดเป็นทุกข์ การแก่เป็นทุกข์ การตายเป็นทุกข์ และยังกล่าวว่าอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ......

    การกำหนดรู้ทุกข์ เราต้องทำความรู้ในปัจจุบันของทุกข์
    รู้ว่าการเกิด มีทุกข์อย่างไร การแก่มีทุกข์อย่างไร เมื่อทำการกำหนด รู้ดีแล้วเห็นจริงในทุกข์ รู้ถึงความลำบากในทุกข์ที่เป็นทุกข์จากรูปขันธ์ ว่า มีกายมีทุกข์ มีกายมีโรคาพยาธิ เป็นรังแห่งโรค ดังนี้..

    เมื่อทำการกำหนดรู้ในทุกข์ดีแล้ว ก็ต้องมาค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ว่า เพราะอะไรทุกข์เหล่านี้จึงเกิด

    เพราะมีกาย เพราะความยึดติดในกาย เพราะหลงเชื่อในกายถึงความจีรัง จนเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน) ..... เกิดตัณหาสร้างความอยากมี อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เป็นเหตุให้เกิดทุกข์....

    ทุกข์กาย เรียก “ทุกข์สัจจะ” (ความจริงแห่งทุกข์) ส่วนทุกข์ใจ เรียก "ทุกข์ที่จรมา" (พัดไป พัดมาเหมือนลม)
    <O:p</O:p

    พระพุทธตรัสว่า “..อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์..” ดังได้กล่าวแล้วในต่อต้น......

    ในการที่เราทุกข์กายก็ดี ทุกข์ใจก็ดีล้วนมาจากการไม่รู้จักขันธ์ ๕ ไม่รู้อาการเกิด และความเป็นจริงแห่งขันธ์ทั้งหลาย ไม่รู้ลักษณะ และอาการเกิด การตั้งอยู่ และความดับไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เหตุนี้ในความไม่รู้จึงเข้าไปยึดไปถือในลักษณะและอาการนั้น ๆ ให้เกิดทุกข์เกิดโทษ

    แต่ถ้าเรารู้และเข้าใจในการเกิดในขันธ์ด้วยสติด้วยปัญญาดี ทุกข์ทั้งหลายก็ไม่เกิด และยังสามารถละตัวกู ของกูได้....

    ขอเจริญในธรรมปฏิบัติ....

    ...พระวัดหัวเขา.....<O:p</O:p

    fishh_
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2009
  2. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    นครกาย (ต่อ..)

    ละสักกายทิฎฐิ

    ในความเป็นตัวตนในภาษาพระเรียกว่า “สักกายทิฎฐิ” คือการเข้าไปคิดเห็นว่ามีตัวมีตนที่จีรัง คิดเห็นว่าตัวตนสวยงาม เป็นต้น พูดง่ายๆคือมีความเห็นผิดจากความจริง จึงเหตุให้หลงเอาจับเอา จนเป็นเหตุเกิดทุกข์เกิดโทษ...ดังนี้

    ในตอนที่แล้วได้กล่าวเรื่องความเห็นผิด โดยมีความคิดว่า รูปขันธ์ นามขันธ์เป็นของจีรัง เป็นสิ่งสวยงามที่ภาษาพระเรียกว่า"ความเห็นผิด หรือสักกายทิฏฐิ" ในความหมาย......

    ความหมายแห่งคำว่า"สักกายทิฏฐิ"นั้นโดยรวมคือ..ความเข้าใจผิดในขันธ์5หรือรูปนามนั้นเอง.. ว่าทุกสิ่งล้วนจีรัง.. สวยงามเป็นที่ยินดี... ในความหลงผิดนี้เรียกว่า"ทิฏฐิวิปลาส".....

    ในความจริงแล้วเพียงเรามีสติละความคิด ทำจิตให้เป็นหนึ่งเป็นสมาธิทำความรู้ตามความเป็นจริงในปัญจขันธ์(ขันธ์ ๕ ) รู้อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    ความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยไม่่ใช่ความหมายในความจำได้หมายรู้ (อันนี้เป็นสัญญา) หรือคิดเอา (ในการคิดเอาก็เป็นเจตนาอันเป็นเจตสิก หรือสังขารเจตสิกนั้นเอง) เพราะการจะรู้ความจริงในปัญจขันธ์ได้นั้น ..คือต้องรู้ความจริงเฉพาะหน้า จึงจะเป็นปัญญาปัจจุบันได้ ไม่ใช่คิดเอา....


    บุคคลตัวอย่างในสมัยพุทธกาล
    <O:p</O:p

    เราจะยกตัวอย่างให้ทราบในตอนหนึ่ง เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังคงอยู่.....และบุคคลที่ได้ฟังธรรมแล้วเกิดดวงตาเห็นธรรม ละความเห็นผิดในปัญจขันธ์ เกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง เกิดสัมมาทิฏฐิมีความเห็นที่ถูก ละสักกายทิฏฐิได้ และได้รับผลแห่งเสขะคุณเป็นโสดาบัน เช่น…พระอัญญาโกญฑัญญะ และพระสารีบุตร...

    กล่าวถึงพระอัญญาโกญฑัญญะเมื่อครั้งพระโกณฑัญญะ เป็น ๑ ในพระปัจจวัคคีย์ทั้งห้า..ยังคงเป็นผู้แสวงหาทางแห่งความหลุดพ้น.. (ในสมัยพระพุทธเจ้านั้นจะมีชาวบ้านชาวเมืองในดินแดนนั้น มักมีความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางดับทุกข์ และมีมากในดินแดนที่พระพุทธเจ้าเกิด)..

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็คิดโปรดบรรดาสรรพสัตว์ และทรงนึกถึงพระปัจจวัคคียืทั้ง ๕ ได้แก่โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แล้วก็ไปหา เพื่อแสดงธรรมที่รู้มาให้ได้รู้ (แม้พระพุทธเจ้ายังมีพระกรุณานึกถึงคุณของปัจจวัคคีย์ทั้งห้า เมื่อครั้งอยู่รับใช้พระองค์ ตอนบำเพ็ญทุกขกริยา) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อพระองค์ไปถึง ก็ทรงแสดงธรรมจักรว่าด้วยทางสายกลาง พร้อมวิธีปฏิบัติให้รู้และเข้าถึงอริยสัจสี่...หรือที่เรียกว่า ธัมมจักกัปวัตนสูตร..” เมื่อการแสดงธรรมไม่นาน พระโกณฑัญญะก็รู้ว่า

    "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับเป็นธรรมดา"..

    จะเห็นได้ว่าความเข้าใจ ความเห็นถูกในรูปร่างกายว่ามีความเกิดขึ้นตั้งอยู่ และก็ดับไปนั้น..เกิดขึ้นในปัญญาปัจจุบัน รู้ได้เฉพาะหน้าเกิดดวงตาเห็นธรรมได้ผลเป็นเสขะคุณเข้าทางแห่งอริยะในปัจจุบันนั้น...

    อีกตัวอย่างหนึ่ง....

    ท่านอุปติสสะ (หรือพระสารีบตุร) เมื่อครั้งได้พบกับพระอัสสชิ ท่านอุปติสเมื่อเห็นพระอัสสชิครั้งแรก ก็คิดในใจว่า "สมณะรูปนี้ผิวพรรณดี การสำรวมระวัง<O:p</O:pจริยวัตรงามตา.. "

    แล้วก็เข้าไปถามว่า "ท่านบวช เพื่อใคร ใครเป็นอาจารย์ท่าน โปรดแสดงธรรมให้ฟังบ้าง"

    พระอัสสชิกล่าวว่า ....<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    " เราบวชมาน้อยพรรษา ไม่ฉลาดในธรรม แต่ศาสดาของเรากล่าวในธรรมว่า....ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น.. พระศาสดากล่าวไว้เท่านี้ "..

    ทันใดนั้น ท่านอุปติสสะก็เกิดดวงตาเห็นธรรม ละความเห็นผิด เกิดความเห็นถูกรู้ได้ในความเป็นอนิจจังของรูปกาย.....จึงได้ผลแห่งเสขะคุณเป็นอริยะได้โสดาบันในเวลานั้นเอง.....
    <O:p</O:p

    คุณสมบัติแห่งพระโสดาบัน

    <O:p</O:p
    บางคนอาจสงสัยว่า “โสดาบันนั้น ต้องละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ..นี้ละได้แค่..สักกายทิฏฐิ แล้วอีก ๒ อย่างไปไหน...

    ในความเห็นดังกล่าวมาแล้ว เราจะเห็นได้ว่า.. ความเห็นเป็นเบื้องต้นความพอใจเป็นสิ่งที่ตามมา ความเชื่อในทุกสิ่งที่รู้ที่เห็น และยึดติดว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่จีรังเกิดมานะความถือตัวถือตน หลงไม่รู้ตามความเป็นจริงดังนี้...

    อันนี้ที่กล่าวในความเห็นในแต่ละคน จัดว่าเป็นความเห็นที่ผิดหรือที่เรียกว่า"สักกายทิิฏฐิ"

    "สักกายทิฏฐิ" คือ เห็นรูปขันธ์ว่าเป็นตัวเป็นตนโดยไม่รู้ตามความเป็นจริง แต่เมื่อรู้ตามความเป็นจริงมีความเห็นถูก ละความเห็นผิดที่เรียกว่า"ทิฏฐิวิปลาส" เสียได้ ก็ละสักกายทิฏฐิได้....

    ในส่วนที่เป็น "สีลัพพัตและวิจิกิจฉา" นั้น หลวงปู่มั่นบอกว่า มันเป็นกิเลสประเภทเดียวกันคือ ใน"สีลัพพัต" ก็มีความเห็นที่ว่า สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ นั้นที่มีอยู่ในโลกล้วนบันดาลให้เกิดความดีความชั่ว โดยลืมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า...

    "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" คือ สอนให้เชื่อกรรมคือ การกระทำ

    ดังนั้นการละ "สีลัพพัต" ก็คือ เห็นถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อผลของกรรม คือ การกระทำเมื่อความเห็นตรงแล้ว ก็เกิดเป็น "อจลสัทธา-ความเชื่อมั่นอย่างไม่หวั่นไหว "

    ฉะนั้น "สีลัพพัต" ก็จัดอยู่ในความเห็นผิด เมื่อมีความเห็นถูก ก็ไม่เชื่อเหตุอื่นๆ เพราะนอกจากกรรมแล้ว ไม่มีสิ่งไหนทำให้เกิดผลได้

    ส่วน "วิจิกิจฉา" ก็เช่นเดียวกัน เพราะเราไม่รู้ความจริงแห่งขันธ์ ๕ มีความเข้าใจผิด ไม่เห็นความเป็นจริงแห่งการเกิดดับแห่งขันธ์ ก็ย่อมเกิดความสงสัยเป็นธรรมดา.. แต่เมื่อใดมีความเห็นความจริงแห่งการเกิด ดับแห่งสังขารขันธ์และความสงสัยก็ดับไป ก็ละ"วิจิกิจฉา” ได้...ดังนี้

    ว่าไปแล้ว "สักกายทิฏฐิ" นั้น ก็คือ ความเห็นผิดจากความจริง.... ส่วน "สีลัพพัต"นั้นก็คือ ความเห็นผิดเช่นกัน เห็นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายบันดาลให้อยู่ดีมีสุข แต่เมื่อสร้างความเห็นถูกขึ้นในใจด้วยปัญญาว่า กรรมหรือการกระทำนั้นส่งผลดี ผลชั่ว นั้นแหละจึงละ "สีลัพพัต"ได้...

    ส่วนที่ว่า"วิจิกิจฉา"ก็เช่นกัน เมื่อรู้ความจริงในขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงแล้ว ก็หมดความสงสัยในสังขารขันธ์ เมื่อหมดความสงสัยก็ละ"วิจิกิจฉา"ได้..ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เท่าที่ผ่านมา มักพบว่า... ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย มักเกิดความอยากรู้ความอยากเป็นในการเป็นอริยะ... ในความจริงเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดมีขึ้นในตัวเรา หรือเราปฏิบัติเข้าทางสู่มรรค สู่ผลก็จะรู้เอง

    เพราะถ้ายังสงสัยอยู่ในทางมรรคทางผล จะละวิกิจจิฉาได้อย่างไร... เพราะ นิวรณ์ที่เป็นวิกิจจิฉายังละไม่ได้แล้ว แล้วจะมีความเห็นที่ไหน จะเห็นได้ว่าในโลกหรือสรรพสิ่งทั้งหลาย มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา.... <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดังนั้น การปฏิบัตินั้นต้องทำไป ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ดี.. ขอให้เรามีความสุขในการปฏิบัติก็พอ รู้ว่ากิเลสตัณหาของเราเบาบางก็พอ....
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    .. ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมอยู่สุข...<O:p</O:p

    ..หยุดกระหาย .... หยุดแสวงหา "อย่าอยู่อย่างอยาก".....

    ขอเจริญในธรรมปฏิบัติ....

    ...พระวัดหัวเขา.....<O:p</O:p
    ;aa30
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2009
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    “ผู้ใดรู้ธรรม ผู้นั้นรู้กรรม – ผู้ใดรู้กรรม ผู้นั้นรู้ธรรม”
     
  4. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    ซึ้งที่จิต ซึ้งที่ใจจริง ๆ เจ้าคะ หลวงพ่อ...

    อนุโมทนาเจ้าค่ะ
     
  5. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    คำสอนที่ท่องจำได้..... บรรลุธรรมชั้นต้น...

    หากรู้และเข้าใจหลักพระธรรม......บรรลุธรรมชั้นสอง

    สามารถปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนได้ ก็.....บรรลุธรรมชั้นสูง

    ความรู้ซึ้งถึงแก่นแห่งธรรม บริสุทธิ์ผุดผ่อง ตัดขาดจากกิเลสทั้งปวง เพียบพร้อมทุกประการ

    .....บรรลุธรรมสูงสุด คือ การปฏิบัติแห่งธรรม ไม่อ้างอิงถ้อยคำตำรา ต้องฝึกฝนด้วยตนเอง รู้ผลจากการปฏิบัตินั้นเอง อย่าถามข้าฯ เลย.......(ลิ่วจู่ถานจิง)

    ...................................................ที่มา ......การ์ตูนเซน

    ที่ยากเย็นเข็ญใจ ไปไม่ถูกทางก็ตรง รู้และเข้าใจ นี่แหละ ต้องอาศัยพระท่านแปลให้ ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจในความหมาย หลงพะยะค่ะ

    สาธุ พระมาโปรดแล้ว.
     
  6. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    ขออนุโมทนาบุญในทุก ๆ บุญของหลวงพ่อด้วยเจ้าค่ะ

    Numsai
    ;aa32
     
  7. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,342
  8. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    กรรมฐานกายานุปัสสนา...

    พิจารณากาย..เป็นกรรมฐานที่พระอริยะเจ้าสรรเสริญ...

    เพราะแก้กิเลสกามราคะกำหนัด

    อนุโมทนา สาธุ
     
  9. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    <><> สาธุ.... สาธุ... อนุโมทามิ ....
    <><> พระวัดหัวเขา .... นาโพธิ์ ......
     
  10. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    สาธุ FB_IMG_1656511049354.jpg
     
  11. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    FB_IMG_1657337609632.jpg
     
  12. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    1658661566643.jpg 1658046114284.jpg
     
  13. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    1658661566817.jpg
     
  14. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    สาธุๆๆ
     
  15. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    มีความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนดังว่า.จึงสำคัญว่าตัวตน. จากนั้นความคิดเห็นทั้งหลาน ก็เข้าไปคิดไปยึดไปถือ..เพราะความเห็นที่ผิด...จึงเข้าไปหลงไปติด...ดังนั้นต้องรู้จริงในความเข้าใจผิด....ในตัวในตนว่า ร่างกายเป็นเครื่องอาศัยที่ตนเอง เข้าไปอาศัยอยู่ ดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้....เท่านั้น ..อีกไม่ช้าไม่นานก็จะดับไปตามเหตุและปัจจัย เป็นไปตามความไม่เที่ยง..ไม่จีรัง...มีตั้งอยู่เกิดขึ้นและดับไปในที่สุด....ถ้าเรามีความเห็นแบบนี้...เราก็จะเข้าใจในรูปร่างกายของเรา..เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ่งในความหลงผิดคิดว่าร่างกายจะคงทนถาวรจีรังยั้งยืน...ด้วยมานะที่เต็มในใจเรา ตัวมานะทำให้ยืดติดร่างกายอย่างจมลึก ด้วฐทิฐิอวิชาที่เราหลงไม่รู้ไม่เข้าใจในสามสิ่งนี้เอง. จึงเข้าไปติดและยึดถือในความเป็นตัวเป็นตน ของเราอย่างมากจึงไปถึงไหน
    ดังนั้นความเห็นถูกในเบื้องต้น รู้และเข้าใจในตัวในตนแล้วหมดสงสัย
    จงทำความรู้ความเข้าใจ...ว่ามันก็แค่เครืองอาศัย เป็นเครื่องอยู่ของใจเรา เป็นเพียงธาตุสี่เท่านั้นก็พอ ทำความเห็นให้ถูกต้องตาม..คำสอบแห่งธรรม ของพระพุทธเจ้าในเบื้องต้น...รู้เห็นตามความเป็นจริงในรู้ขันธ์..คลายความยึกติดได้บ้าง...เป็นพอในเบื้องต้นนี้...จากนั้นแล้วค่อยไปละ...ราคะ มานะ ทิฐิ อวิชาต่อไป
    ...เหมือนดัง พระพุทธสาวกและทายกทากิกาทั้งหลาย......
    ทีได้ละมานะทิฐิอวิชา...เข้าสู่ความหมดสิ้นอาสวะทั้งปวง
    ....ขอเจริญในธรรมปฎิบัติ
    ......อนุโมทนากับทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2022
  16. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    สาธุ
     
  17. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    สาธุๆๆ วันหลังจะเข้ามาใหม่
     
  18. พระวัดหัวเขา

    พระวัดหัวเขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,562
    ค่าพลัง:
    +4,805
    สาธุๆไ FB_IMG_1563009934064.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...