ธรรมะฉบับย่อ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย pimmarka, 25 พฤศจิกายน 2011.

  1. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    หลักตัดสินธรรมวินัย

    ตอน หลักตัดสินธรรมวินัย ๘ นี้ เป็นธรรมวินัย
    เป็นคำสั่งของพระศาสดา

    ๑. เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด (วิราคะ)
    ๒. เป็นไปเพื่อความพราก (วิสังโยคะ)
    ๓. เป็นไปเพื่อความไม่สะสม (อปจยะ)
    ๔. เป็นไปเพื่อความมักน้อยกล้าจน (อัปปิจฉะ)
    ๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษใจพอ (สัตุฏฐิ)
    ๖. เป็นไปเพื่อความสงัดจากกิเลส (ปวิเวกะ)
    ๗. เป็นไปเพื่อปรารภความเพียรยอดขยัน (วิริยารัมภะ)
    ๘. เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย (สุภระ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ "สังขิตตสูตร" ข้อ ๑๔๓)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  2. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    สมณะ

    ตอน สมณะ ๔

    ธรรมวินัยนี้มีอาริยมรรคองค์ ๘
    ธรรมวินัยนี้เท่านั้น จึงมี...

    ๑. สมณะที่ ๑ พระโสดาบัน
    ๒. สมณะที่ ๒ พระสกทาคามี
    ๓. สมณะที่ ๓ พระอนาคามี
    ๔. สมณะที่ ๔ พระอรหันต์ (อะ-ระ-หัน)

    ส่วนลัทธิอื่นว่างจากสรณะผู้รู้ทั่วถึง
    หากภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้อยู่อย่างถูกต้อง
    โลกจะไม่ว่างเว้นจากพระอรหันต์

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ ๑๓๘)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  3. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อวรรณะ

    ตอน อวรรณะ
    คือ การทำตัวเป็นคนน่าตำหนิติเตียน ๖ อย่าง

    ๑. เป็นคนเลี้ยงยาก (ทุพภระ)
    ๒. บำรุงยาก (ทุปโปสะ)
    ๓. มักมาก (มหิจฉะ)
    ๔. ไม่สันโดษ ไม่รู้จักพอ (อสันตุฏฐิ)
    ๕. คลุกคลีหมู่กิเลส (สังคณิกา)
    ๖. เกียจคร้าน (โกสัชชะ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ "ปฐมปาราชิกัณฑ์" ข้อ ๒๐)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  4. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    วรรณะ

    ตอน วรรณะ ๙
    คือ ทำตนเป็นคนน่ายกย่องสรรเสริญ ๙ อย่าง

    ๑. เป็นคนเลี้ยงง่าย (สุภระ)
    ๒. บำรุงง่าย (สุโปสะ)
    ๓. มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉะ)
    ๔. สันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิ)
    ๕. ขัดเกลา ฝึกตนเรียนรู้ (สังเลขะ)
    ๖. กำจัดกิเลส มีศีล (ธูปะ)
    ๗. มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาธิกะ)
    ๘. ไม่สะสม (อปจยะ)
    ๙. ปรารถความเพียร ยอดขยัน (วิริยารัมภะ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ "ปฐมปาราชิกัณฑ์" ข้อ ๒๐)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  5. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ทุกข์

    ตอน ทุกข์ ๑๐
    คือ สภาพไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ทนได้ยาก มี ดังนี้

    ทุกข์เลี่ยงไม่ได้

    ๑. สภาวทุกข์ (ทุกข์เองตามธรรมชาติ เกิด แก่ ตาย)
    ๒. นิพัทธทุกข์ (ทุกข์ประจำชีวิต ร้อน หนาว หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสวะ)
    ๓. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ (ทุกข์ในการหาเลี้ยงชีพ)
    ๔. พยาธิทุกข์ (ทุกข์จากความเจ็บปวย)
    ๕. วิปากทุกข์ (ทุกจากผลกรรม)
    ๖. ทุกข์ขันธ์ (ทุกข์ในขันธ์ ๕ มี

    รูป (กาย)
    เวทนา (ความรู้สึก)
    สัญญา (การกำหนด)
    สังขาร (ปรุงแต่ง)
    วิญญาณ (การรับรู้)

    ทุกข์ที่เลี่ยงได้

    ๗. ปกิณกทุกข์ (ทุกข์จร เช่น ความโศกเศร้า
    คร่ำครวญ (ปริเทวะ)
    เสียใจ (ทุกข์ โทมนัส)
    คับแค้นใจ (อุปายาส)

    ๘. สันตาปทุกข์ (ทุกข์ร้อนรุ่มด้วยกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ)
    ๙. สหคตทุกข์ (ทุกข์จากการพัวพันลาภ ยศ สรรเสริญ สุข)
    ๑๐. วิวาทมูลกทุกข์ (ทุกข์จากเหตุทะเลาะวิวาทกัน)

    (พระไตรปิฏกเลมที่ ๓๐ "อชิตมาณวกปัญหานิเทส " ข้อ ๖๘
    พระวิสุทธิมัคค์ "ปัญญานิเทศ" หน้า ๖๑๗-๖๒๑)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  6. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    นาถกรณธรรม

    ตอน นาถกรณธรรม ๑๐

    คือ ธรรมอันเป็นที่พึ่ง ทำให้อยู่เป็นสุข
    หากไม่มีธรรมอันเป็นที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์

    ๑. มีศีล (ข้อปฏิบัติไม่ทำชั่วทาง กาย วาจา ใจ)
    ๒. เป็นพหูสูตร (ผู้รู้มากศึกษามาก)
    ๓. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี)
    ๔. โสวจัสสตา (เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย)
    ๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา (ขยันช่วยงานที่ควรทำ)
    ๖. ธัมมกามตา (เป็นผู้ใคร่ในธรรม)
    ๗. วิริยารัมภะ (เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเพียร)
    ๘. สันตุฏฐี (เป็นผู้สันโดษมีใจพอ)
    ๘. สติ (ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ แม้สิ่งที่ทำ คำที่พูด นานแล้ว)
    ๑๐.ปัญญา (มีความรู้ชำแรก (แยกแยะ) กิเลสได้)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ "นาถสูตร" ข้อ ๑๗)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2011
  7. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    โยนิ

    ตอน โยนิ ๔

    คือ การกำเนิดของสัตว์โลก ๔ ลักษณะ

    ๑. ชลาพุชโยนิ (กำเนิดในครรภ์)
    ๒. อัณฑชโยนิ(กำเนิดในไข่)
    ๓. สังเสทชโยนิ(กำเนิดในของปฏิกูล)
    ๔. โอปปาติกโยนิ(กำเนิดในในจิตวิญญาณ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ "มหาสีหนาทสูตร" ข้อ ๑๖๙)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  8. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ลักษณะของจิตวิญญาณ

    ตอน ลักษณะของจิตวิญญาณ ๗

    ๑. ทูรังคมัง (ไปได้ไกล)
    ๒. เอกจรัง (ไปแต่ผู้เดียว)
    ๓. อสรีรัง(ไม่มีรูปร่าง)
    ๔. คุหาสยัง (มีจิตเป็นที่อาศัย)
    ๕. อนิทัสสนัง (มองไม่เห็น)
    ๖. อนันตัง (ไม่มีที่สิ้นสุด)
    ๗. สัพพโต ปภัง (แจ่มใสโดยประการทั้งปวง)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๙ "เกวัฏฏสูตร" ข้อ ๓๕๐
    พระไตรปิฏกเล่ม ๒๔ "จิตตวรรค" ข้อ ๑๓)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
  9. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    สัมมาทิฏฐิที่เป็นอาสวะ

    สัมมาทิฏฐิที่เป็นอาสวะ ๑๐

    คือ ความเห็นถูกต้องที่ยังมีกิเลสหมักหมมในสันดาน
    เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ (รูป (กาย) เวทนา (จิต)
    สัญญา สังขาร วิญาณ) โดยมีความเห็นดังนี้

    ๑. ทานที่ให้แล้ว มีผล(อัตถิ ทินนัง)
    ๒. ยัญพิธีที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)
    ๓. สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ ตุงหัง)
    ๔. ผลวิบากกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่
    (อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก)
    ๕. โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก)
    ๖. โลกหน้า มี (อัตติ ปโร โลโก)
    ๗. มารดา มี (อัตถิ มาตา)
    ๘. บิดา มี (อัตถิ ปิตา)
    ๙. สัตว์ที่เป็นโอปะติกะ มี (อัตถิ สัตตา ปิตา)
    ๑๐. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินถูกต้อง
    ปฏิบัติถูกตรง ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
    เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
    (อัตถิ โฌลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา
    สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญจ โลกัง ปรัญจ โลกัง
    สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ "มหาจัตตารีสกสูตร" ข้อ ๒๕๗)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2011
  10. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อาริยาบุคคล

    อาริยา (อริยะ) บุคคล ๔
    คือ ผู้ประเสริฐ เพราะห่างไกลจากกิเลส
    เป็นผู้บรรลุธรรมวิเศษ ๔ ฐาน

    ๑. พระโสดาบัน (ละสังโยชน์ ๓ ได้)
    ๒. พระสกทาคามี (ละสังโยชน์ ๓ ได้ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางแล้ว)
    ๓. พระอนาคามี (ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ได้)
    ๔. พระอรหันต์ (บรรลุเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
    เพราะหมดกิเลสที่หมักหมมในสันดาลแล้ว)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ "มหาลิสูตร" ข้อ ๒๕๐-๒๕๓)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
  11. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    กรรม

    ตอน กรรม ๑๒

    ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมที่ให้ผลปัจจุบันชาตินี้)
    ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมที่ให้ผลชาติหน้า)
    ๓. อปราปริยเวทนียกรรม (กรรมที่ให้ผลในชาติถัด ๆ ไป)
    ๔. อโหสิกรรม (กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน ไม่ให้ผล)
    ๕. ชนกกรรม (กรรมส่งผลในเกิด)
    ๖. อุปัตถัมภกกรรม (กรรมที่ค้ำจุนชีวิต)
    ๗. อุปปีฬกกรรม (กรรมที่กดขี่บีบคั้นชีวิต)
    ๘. อุปฆาตกรรม (กรรมที่ตัดรอนผลกรรมอื่น)
    ๙. ครุกรรม ( กรรมหนัก
    ทางเป็นกุศลเป็นมหัคคตกรรม คือ ได้ฌาณสูง)
    ทางเป็นอกุศลเป็นอนันตริยกรรม คือ บาปหนา กรรมหนัก)
    ๑๐. พหุลกรรม (กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนชิน)
    ๑๑. อาสันกรรม (กรรมที่ทำเวลาใกล้ตาย)
    ๑๒. กตัตาวาปนกรรม (กรรมที่สักว่าทำ ไม่เจตนา)

    (อรรถกถาแปลเล่มที่ ๖๙ "กรรมกถา" หน้า ๔๒๐-๔๒๑)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  12. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    คุณสมบัติของพหูสูต

    ตอน คุณสมบัติของพระหูสูตร ๕

    คือ คุณสมบัติบัติของผู้รู้มาก ศึกษามาก

    ๑. เป็นผู้รับฟังมาก (พหุสสุตา)
    ๒. ทรงจำไว้ (ธตา)
    ๓. ท่องคล่องปาก (วจสา ปริจิตา)
    ๔. ขึ้นใจแม่นยำ (มนสานุเปกขิตา)
    ๕. มีความรู้แจ้งแทงตลอด (ทิฏฐิยา สุปปฏิวิทธา)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๒ "สีลสูตร" ข้อ ๘๗)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  13. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ศรัทธา

    ตอน ศรัทธา ๑๐

    คือ ธรรม ๑๐ ประการก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ

    ๑. มีศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ)
    ๒. มีศีล (ข้อปฏิบัติเว้นจากความชั่วทั้งกาย วาจา ใจ)
    ๓. เป็นพหูสูตร (ผู้รู้มาก ศึกษามาก)
    ๔. เป็นธรรมกถึก (นักเทศน์)
    ๕. เข้าสู่บริษัท (หมู่ชน (พุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา))
    ๖. กล้าแสดงธรรมต่อบริษัท
    ๗. ทรงวินัย (ตั้งอยู่ในข้อห้าม ข้อบังคับ)
    ๘. อยู่ป่าเป็นวัตร (ข้อปฏิบัติ)
    ๙. ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาณ ๔
    ๑๐. กระทำให้แจ้งโดยเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๔ "สัทธาสูตร" ข้อ ๘)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  14. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อานิสงค์ของศีล

    ตอน อานิสงค์ของศีล ๙ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมเข้าถึงอรหันตตผลโดยลำดับ ดังนี้

    ๑. อปิปฏิสาร (ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ)
    ๒. ปามุชชะ (เบิกบานยินดี)
    ๓. ปิติ (อิ่มใจ)
    ๔. ปัสสัทธิ (สงบระงับกิเลส)
    ๕. สุข (ความสุขอันเกิดจากความสงบ)
    ๖. สมาธิ (จิตตั้งมั่น)
    ๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง)
    ๘. นิพพิทาวิราคะ (เบื่อหน่ายคลายกำหนัด)
    ๙. วิมุตติญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ "กิมัตถิสูตร" ข้อ ๑)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2011
  15. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    โพชฌงค์

    ตอน โพชฌงค์ ๗
    คือ องค์แห่งการตรัสรู้
    คือ เครื่องย่ำยีมาร (กิเลส)พระพุทธเจ้าปรากฏ (การระลึกรู้แจ้งกิเลส)

    ๑. สติสัมโพชฌงค์ (การระลึกรู้แจ้ง)เปรียบเหมือนจักรแก้ว
    ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (พิจารณาแล้วแยกแยะกิเลส)เปรียบเหมือนช้างแก้ว
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (พากเพียรลดกิเลส)เปรียบเหมือนม้าแก้ว)
    ๔. ปิติสัมโพชฌงค์ (อิ่มใจกำจัดกิเลสได้)เปรียบเหมือนแก้วมณี
    ๕.ปัสสัทธิโพชฌงค์ (สงบใจจากกิเลส)เปรียบเหมือนนางแก้ว
    ๖.สมาธิสัมโพชฌงค์ (ได้สมาธิจิตตั้งมั่น)เปรียบเหมือนคหบดีแก้ว
    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (จิตเที่ยงธรรมเป็นกลาง)เปรียบเหมือนปรินายกแก้ว

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๑๙ " จักกวัตติสูตร" ข้อ ๕๐๕ - ๕๐๗)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2011
  16. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อานิสงค์ของเมตตา

    ตอน อานิสงค์ของเมตตา

    ๑. หลับเป็นสุข
    ๒. ตื่นเป็นสุข
    ๓. ไม่ฝันลามก
    ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ (คนจิตใจประเสริฐ)
    ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ (คนจิตใจต่ำ)
    ๖. เทวดา (คนจิตใจสูง)ย่อมรักษา
    ๗. ไฟ ยาพิษ ศาสตรา กล้ำกรายไม่ได้
    ๘. จิตตั้งมั่นรวดเร็ว๙. สีหน้าผ่องใส
    ๑๐. ไม่ตายไปด้วยความหลงไหล
    ๑๑. แม้ยังไม่บรรลุธรรม ก็เข้าถึงพรหมโลก
    (โลกของคนเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๔ เมตตาสูตร" ข้อ ๒๒๒)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2011
  17. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    รวยได้ไม่นาน

    ตอน รวยได้ไม่นาน ๔
    ตระกูลใดเข้าถึงความเป็นใหญ๋ในทรัพย์สมบัติแล้ว
    จะตั้งอยู่ได้ไม่นาน เพราะ

    ๑. ไม่แสวงหาของที่หายไป
    ๒. ไม่ซ่อมแซ่มของคร่ำคร่า (ของเก่าชำรุด)
    ๓. ไม่รู้จักประมาณในการกิน
    ๔. ตั้งบุรุษหรือสตรีที่ละเมิดศีลเป็นพ่อบ้านแม่เรือน

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๑ "อภิญญาวรรค" ข้อ ๒๕๘)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2011
  18. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    กำลัง

    ตอน กำลัง ๘

    ๑. ทารกมีการร้องไห้เป็นกำลัง
    ๒. หญิงมีความโกรธเป็นกำลัง
    ๓. โจรมีอาวุธเป็นกำลัง
    ๔. พระราชามีอิสริยยศเป็นกำลัง
    ๕. คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
    ๖. บัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง
    ๗. พหูสูต (ผู้มีความรู้มาก) มีการพิจารณาเป็นกำลัง
    ๘. สมณพราหมณ์มีขันติเป็นกำลัง

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๓ "พลสูตรที่ ๑" ข้อ ๑๗๗)
    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2011
  19. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    โลกธรรม

    ตอน โลกธรรม ๘

    คือ ๘ อย่างนี้ของมนุษย์ ย่อมหมุนไปตามโลก
    โลกย่อมหมุนไปตาม ๘ อย่างนี้ของมนุษย์ คือ

    ๑. ได้ลาภ (ลาโภ)
    ๒. เสื่อมลาภ (อลาโภ)
    ๓. ได้ยศ (ยโส)
    ๔. เสื่อมยศ (อยโส)
    ๕. โดนนินทา (นินทา)
    ๖. ได้รับสรรเสริญ (ปสังสา)
    ๗. มีสุข (สุขัง)
    ๘. เป็นทุกข์ (ทุกขัง)

    ทั้ง ๘ อย่างนี้ของมนุษย์เป็นสภาพไม่เที่ยง
    ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ "โลกธรรมสูตร" ข้อ ๙๕)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  20. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    วิธีแก้ง่วง

    ตอน วิธีแก้ง่วง ๘

    ๑. ตั้งสัญญา (กำหนดหมายรู้) ไว้ในใจให้มาก ๆ
    ๒. ตรึกตรองพิจารณ่าธรรม ตามที่ได้ฟังมาแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ
    ๓. สาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมาแล้ว ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร
    ๔. ยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว
    ๕. ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างหน้า เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวที่ส่องสว่าง
    ๖. ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (กำหนดหมายรู้แสงสว่าง) ทำให้จิตเกิดแสงสว่าง
    ๗. อธิษฐาน (ตั้งจิต) จงกรม (เดินไปมาโดยมีสติกำกับ ไม่ให้กิเลสครอบงำได้)
    ๘. กระทำสีหไสยา (นอนตะแคงขวา มีสติสัมปชัญญะ กำหนดหมายเวลาตื่น ตื่นแล้วลุกขึ้นทันที ตั้งใจว่า จะไม่เสพสุขในการนอน)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ "โมคคัลลานสูตร" ข้อ ๕๘)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...