ธรรมะฉบับย่อ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย pimmarka, 25 พฤศจิกายน 2011.

  1. pandablahblah

    pandablahblah Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +71
    อนุโมทนาสาธุค่ะ จะขอเก็บไว้อ่านเป็นคู่มือเตือนสติและปฏิบัติตามนะคะ ^^
     
  2. สาวอุทัย

    สาวอุทัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    2,293
    ค่าพลัง:
    +6,620
    ขอบคุณนะคะ...ที่นำเรื่องราวจากพระไตรปิฎกมาให้ได้รับรู้ และเกิดประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติของพี่ ดังนั้น..พี่จึงขอส่งกำลังใจ ไปให้ เพื่อให้ใจ(น้อง)มีกำลัง ในการทำสงครามชีวิตต่อไป..นะคะ ...โชคดี..ค่ะ
     
  3. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อนุสัย

    ตอน อนุสัย ๗ คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ที่ควรละเสีย

    ๑. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม)
    ๒. ปฏิฆะ (ความขัดเคืองใจ)
    ๓. ทิฏฐิ (ความยึดถือความเห็น)
    ๔. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
    ๕. มานะ (ความถือตัว)
    ๖. ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ)
    ๗. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้งในธรรม)

    (พระไตรปิฏก ๒๓ "อนุสยสูตร" ข้อ ๑๒)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  4. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อาริยทรัพย์

    ตอน อาริยทรัพย์ (อริยะ)๗ คือ ทรัพย์ อันประเสริญของมนุษย์ ๗ ประการ

    ๑. ศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ)
    ๒. ศีล (ข้อปฏิบัติเว้นจากความชั่ว)
    ๓. หิริ (ละอายต่อการกระทำผิด )
    ๔.โอตตัปปะ (เกรงกลัวต่อการกระทำผิด)
    ๕. สุตะ (ตั้งใจฟังอยู่เสมอ)
    ๖. จาคะ (เสียสละแบ่งปัน)
    ๗. ปัญญา (รู้แจ้งเห็นจริงชำแรก (รู้ ละ) กิเลสได้

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๓ "ธนสูตร" ข้อ ๖)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  5. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อวิชชา

    ตอน อวิชชา ๘ คือ ความหลงไม่รู้ กิเลส

    เกิดมาจากผลสัมพันธ์ที่สืบต่อเนื่องเป็นลำดับ ดังนี้

    ๑. ไม่คบสัปบุรุษ (คนที่มีความเห็นถูกต้อง)
    ๒. ไม่ฟังสัทธรรม (ธรรม ของคนดี)
    ๓. ไม่มีศรัทธา (ความเชื่ออย่าถูกต้อง)
    ๔. ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย (ไม่ลงไปถึงที่เกิด (ต้นตอสาเหตุ))
    ๕. ไม่มีสติสัมปชัญญะ (ความระลึกรู้ตัว)
    ๖. ไม่สำรวมอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
    ๗. ทำทุจริต ๓ (ทำชั่วทาง กาย วาจา ใจ)
    ๘. มีนิวรณ์ ๕ (กิเลส ๕ อย่าง ที่กั้นไม่ให้บรรลุธรรม)

    นิวรณ์ ๕ นี้เอง ทำให้เกิดอวิชชา
    นิวรณ์ ๕ คือ กิเลส ๕ ที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุธรรม

    ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
    ๒. พยาบาท (การปองร้ายผู้อื่น)
    ๓. ถีมิทธะ (จิตหรี่ ง่วงซึม หดหู่)
    ๔. อุทธัจจกุกกุจะ (ความฟุ้งซ่าน รำคาญ)
    ๕. วิจิกิจฉา (ความลังเล สงสัย)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ "อวิชาสูตร" ข้อ ๖๑<!-- google_ad_section_end -->
    พระไตรปิฏกเล่ม ๑๙ "กายสูตร" ข้อ ๓๕๗)


    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  6. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    โทษของการกล่าวร้ายพระอาริยะ

    ตอน โทษของการกล่าวร้ายพระอาริยะ (อริยะ) ๑๑

    ผู้ใดด่าว่าเพื่อนที่ปฏิบัติธรรม
    กล่าวร้ายพระอาริยะ จะฉิบหาย ๑ ใน ๑๑ อย่างนี้

    ๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
    ๒. เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
    ๓. สัทธรรม (ธรรมที่ดีแท้ ) ย่อมไม่ผ่องแผ้ว
    ๔. เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม
    ๕. ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ (ธรรมอันประเสริฐ)
    ๖. มีความผิดเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ๗. เลิกปฏิบัติธรรมเวียนกลับมาเลวต่ำช้า
    ๘. เป็นโรคร้ายแรงหนัก
    ๙. เป็นบ้ามีจิตฟุ่งซ่าน
    ๑๐. ตายด้วยความหลงผิด
    ๑๑. ย่อมเข้าถึง อบาย (ความฉิบหาย) ทุคติ (ไปชั่ว)
    วินิบาต (ตกต่ำทรมาร) นรก (เร่าร้อนใจ)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๔ "พยสนสูตร" ข้อ ๘๘ และ ๒๑๓)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    จริต

    ตอน จริต ๖ คือ พื้นเพนิสัยของคน ๖ จำพวก

    ๑. ราคจริต (ราคะ นิสัยรักสวยรักงาม)
    แก้นิสัยด้วย การฝึกพิจารณาของไม่สวยไม่งาม

    ๒. โทสจริต (โทสะ นิสัยโกรธฉุนเฉียว)
    แก้นิสัยด้วย การสร้างเมตตาให้มาก ๆ

    ๓. โมหจริต (โมหะ นิสัยลุ่มหลงโง่เขลา)
    แก้นิสัยด้วย หมั่นถามฟังธรรมจากผู้รู้

    ๔. วิตักกจริต (วิตก นิสัยคิดฟุ่งซ่าน)
    แก้นิสัยด้วย ฝึกทำอานาปานสติ

    ๕. สัทธาจริต (ศรัทธา มีนิสัยศรัทธาเลื่อมใส)
    เสริมนิสัยด้วย การศึกษาธรรมะดี ๆ เพิ่มเสมอ

    ๖. พุทธิจริต หรือ ญาณจริต (พุทธะ ญาณะ นิสัยหยั่งรู้ในธรรม)
    เสริมนิสัยด้วย การพิจารณาในไตรลักษณ์


    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๙ "ตุวฏกสุตตนิทเทส" ข้อ ๗๒๗)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  8. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ปฏิจจสมุปบาท

    ตอน ปฏิจจสมุปบาท (อนุโลม) ๑๑

    คือ การอาศัย กันและกัน เกิดขึ้น (เป็นไปตามลำดับ)

    นิวรณ์ (กิเลส ๕ ที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุธรรม) ทำให้ เกิด อวิชชา

    นิวรณ์ กิเลส ๕ ที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุธรรม
    ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
    ๒. พยาบาท (การปองร้ายผู้อื่น)
    ๓. ถีมิทธะ (จิตหรี่ ง่วงซึม หดหู่)
    ๔. อุทธัจจกุกกุจะ (ความฟุ้งซ่าน รำคาญ)
    ๕. วิจิกิจฉา (ความลังเล สงสัย)

    ดังนั้น

    ๑. อวิชชา (ความหลงไม่รู้กิเลส)
    เป็นปัจจัย (เหตุ)
    จึงมีสังขาร (สภาพปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ)

    ๒. สังขาร จึงมี วิญญาณ (จิต ความรู้แจ้งอารมณ์)

    ๓.วิญญาณ จึงมี นามรูป ( ตัวรู้ และ ตัวถูกรู้)

    ๔. นามรูป จึงมี สฬายตนะ ( สื่อติดต่อ ๖ อย่าง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

    ๕. สฬายตนะ จึงมี ผัสสะ (สัมผัส รับรู้)

    ๖. ผัสสะ จึงมี เวทนา (ความรู้สึก)

    ๗. เวทนา จึงมี ตัญหา (ความดิ้นรน ปราถนา อยาก)

    ๘. ตัญหา จึงมี อุปทาน (ความยึดมั่น ถือมั่น)

    ๙. อุปทาน จึงมี ภพ ( ที่อาศัย)

    ๑๐. ภพ จึงมี ชาติ (การเกิด)

    ๑๑. ชาติ จึงมี
    ชรา (ความแก่)
    มรณะ (ความตาย)
    โสกะ (ความเศร้าโศก)
    ปริเทวะ (ครำครวญรำพัน)
    ทุกข์ โทมนัส (เสียใจ)
    อุปายาส (ความคับแค้นใจ)

    กองทุกข์ทั้งมวลนั้นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ "อวิชาสูตร" ข้อ ๖๑
    พระไตรปิฏกเล่ม ๔ "มหาขันธกะ" ข้อ ๑)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  9. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อาหารของถีนมิทธะ

    ตอน อาหารของถีนมิทธะ ๕

    ถีนมิทธะ (จิตหรี่ ง่วงซึม หดหู่) เป็น ๑ ใน นิวรณ์ ๕

    อาหารของถีนมิธะ คือ อาหารของ จิตหรี่ ง่วงซึม หดหู่ มี ๕ อย่าง

    ๑. ความไม่ยินดี (อรติ)
    ๒. ความเกียจคร้าน (ตันทิ)
    ๓. ความบิดขี้เกียจ (วิชัมภิกา)
    ๔. ความเมาอาหาร (ภัทตตสัมโท)
    ๕. ความที่ใจหดหู่ (เจตโศ จ ลีนัตตัง)

    ( พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๙ "อาหารสูตร" ข้อ ๕๒๕)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  10. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    เวทนา

    ตอน เวทนา ๑๐๘ คือ
    สภาวะอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ แบ่งเป็น ดังนี้

    เวทนา ๒

    ๑. กายิเวทนา (ความรู้สึกทางกาย)
    ๒. จิตสิกเวทนา (ความรู้สึกทางใจ)

    เวทนา ๓

    ๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข ดีใจ )
    ๒. ทุกข์เวทนา (ความรู้สึกทุกข์ เสียใจ )
    ๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข เฉย ๆ)

    เวทนา ๕
    เกิดจาก ๒ ร่วมกับ ๓

    ๑. สุขินทรีย์ (รู้สึกกายสุข)
    ๒. ทุกขินทรีย์ (รู้สึกกายทุกข์)
    ๓. โสมนัสสินทรีย์ ( รู้สึกจิตดีใจ)
    ๔. โทมนัสสินทรีย์ (รู้สึกจิตเสียใจ)
    ๕. อุเบกขินทรีย์ (รู้สึกจิตเฉย ๆ)

    เวทนา ๖

    ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางตา)
    ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางหู)
    ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางจมูก)
    ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางลิ้น)
    ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางกาย)
    ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (รู้สึกจากสัมผัสทางใจ)

    เวทนา ๑๘
    เกิดจาก ๖ ร่วมกับ ๓

    ๑. โสมนัสสูปวิจาร ๖
    (ความรู้สึกสุขใจ ดีใจ ๖ ประการ เกิดจากเวทนา ๖ กับ เวทนา ๓ ร่วมกัน)

    ๑.๑ ตา กระทบ รูป มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจ
    ๑.๒ หู กระทบ เสียง มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจ
    ๑.๓ จมูก กระทบ กลิ่น มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจ
    ๑.๔ ลิ้น กระทบ รส มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจ
    ๑.๕ กาย กระทบ สัมผัส มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจ
    ๑.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจ

    ๒. โทมนัสสูปวิจาร ๖
    (ความรู้สึกทุกข์ใจ เสียใจ ๖ ประการ เกิดจากเวทนา ๖ กับ เวทนา ๓ ร่วมกัน)

    ๑.๑ ตา กระทบ รูป มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจ
    ๑.๒ หู กระทบ เสียง มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจ
    ๑.๓ จมูก กระทบ กลิ่น มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจ
    ๑.๔ ลิ้น กระทบ รส มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจ
    ๑.๕ กาย กระทบ สัมผัส มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจ
    ๑.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจ

    ๓. อุเปกขูปวิจาร ๖
    (ความรู้สึกเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ๖ ประการ เกิดจากเวทนา ๖ กับ เวทนา ๓ ร่วมกัน)

    ๑.๑ ตา กระทบ รูป เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ
    ๑.๒ หู กระทบ เสียง เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ
    ๑.๓ จมูก กระทบ กลิ่น เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ
    ๑.๔ ลิ้น กระทบ รส เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ
    ๑.๕ กาย กระทบ สัมผัส เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ
    ๑.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ


    เวทนา ๓๖
    (เกิดจาก ๑๘ ร่วมกับ ชาวบ้าน และ นักบวช)

    ๑. เคหสิตเวทนา (เป็นความรู้สึกอย่างชาวบ้านเกิดจาก เวทนา ๑๘)

    ๑.๑ เคหสิตโสมนัส ๖ (รู้สึกดีใจอย่างชาวบ้าน ๖ อย่าง)

    ๑.๑.๑ ตา กระทบ รูป มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๑.๒ หู กระทบ เสียง มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๑.๓ จมูก กระทบ กลิ่น มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๑.๔ ลิ้น กระทบ รส มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๑.๕ กาย กระทบ สัมผัส มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๑.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างชาวบ้าน


    ๑.๒ เคหสิตโทมนัส ๖ (รู้สึกเสียใจอย่างชาวบ้าน ๖ อย่าง)

    ๑.๒.๑ ตา กระทบ รูป มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๒.๒ หู กระทบ เสียง มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๒.๓ จมูก กระทบ กลิ่น มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๒.๔ ลิ้น กระทบ รส มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๒.๕ กาย กระทบ สัมผัส มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างชาวบ้าน
    ๑.๒.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างชาวบ้าน


    ๑.๓ เคหสิตอุเบกขา ๖ (รู้สึกเฉย ๆ อย่างชาวบ้าน ๖ อย่าง)

    ๑.๓.๑ ตา กระทบ รูป เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างชาวบ้าน
    ๑.๓.๒ หู กระทบ เสียง เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างชาวบ้าน
    ๑.๓.๓ จมูก กระทบ กลิ่น เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างชาวบ้าน
    ๑.๓.๔ ลิ้น กระทบ รส เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างชาวบ้าน
    ๑.๓.๕ กาย กระทบ สัมผัส เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างชาวบ้าน
    ๑.๓.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างชาวบ้าน


    ๒. เนกขัมมสิตเวทนา (เป็นความรู้สึกอย่างนักบวช เกิดจาก เวทนา ๑๘)

    ๑.๑ เนกขัมมสิตโสมนัส ๖ (รู้สึกดีใจอย่างนักบวช ๖ อย่าง)

    ๑.๑.๑ ตา กระทบ รูป มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างนักบวช
    ๑.๑.๒ หู กระทบ เสียง มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างนักบวช
    ๑.๑.๓ จมูก กระทบ กลิ่น มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างนักบวช
    ๑.๑.๔ ลิ้น กระทบ รส มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างนักบวช
    ๑.๑.๕ กาย กระทบ สัมผัส มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างนักบวช
    ๑.๑.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ มีความสุข แล้วรู้สึกดีใจอย่างนักบวช


    ๑.๒ เนกขัมมสิตโทมนัส ๖ (รู้สึกเสียใจอย่างนักบวช ๖ อย่าง)

    ๑.๒.๑ ตา กระทบ รูป มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างนักบวช
    ๑.๒.๒ หู กระทบ เสียง มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างนักบวช
    ๑.๒.๓ จมูก กระทบ กลิ่น มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างนักบวช
    ๑.๒.๔ ลิ้น กระทบ รส มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างนักบวช
    ๑.๒.๕ กาย กระทบ สัมผัส มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างนักบวช
    ๑.๒.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ มีความทุกข์ แล้วรู้สึกเสียใจอย่างนักบวช


    ๑.๓ เนกขัมมสิตอุเบกขา ๖ (รู้สึกเฉย ๆ อย่างนักบวช ๖ อย่าง)

    ๑.๓.๑ ตา กระทบ รูป เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างนักบวช
    ๑.๓.๒ หู กระทบ เสียง เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างนักบวช
    ๑.๓.๓ จมูก กระทบ กลิ่น เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างนักบวช
    ๑.๓.๔ ลิ้น กระทบ รส เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างนักบวช
    ๑.๓.๕ กาย กระทบ สัมผัส เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างนักบวช
    ๑.๓.๖ ใจ กระทบ อารมณ์ เฉยๆ แล้วรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉย ๆ อย่างนักบวช


    เวทนา ๑๐๘ เกิดจาก ๓๖ ร่วมกับ อดีต ปัจจุบัน อนาคต

    ๑. เวทนา ๓๖ ที่เป็นอดีต
    ๒. เวทนา ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน
    ๓. เวทนา ๓๖ ที่เป็นอนาคต


    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ “อัฏฐสตปริยายสูตร” ข้อ ๔๓๑ – ๔๓๗)


    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2011
  11. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    สังโยชน์

    ตอน สังโยชน์ ๓ คือกิเลสที่ผูกมัดจิตไว้กับทุกข์

    ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากิเลสเป็นตัวเรา)
    ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
    ๓. สีลัพพตปรามาส (การถือศีลอย่างลูบ ๆ คลำ ๆ )

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๑๑ "สังคีติสูตร ข้อ ๒๒๘)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง

    ตอน อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    สังโยชน์เบื้องสูง ๕

    คือ กิเลสละเอียดที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์

    ๑. รูปราคะ (ความติดใจอยู่ในอารมณที่เป็นรูป)
    ๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณืที่ไม่เป็นรูป)
    ๓. มานะ (ความถือตัว)
    ๔. อุทธัจจะ (ความฟุ่งซ่าน)
    ๕. อวิชชา (ความเขลาไม่รู้แจ้งในอาริยสัจ (อริยสัจ) ๔

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๑๑ "สังคีติสูตร" ข้อ ๒๘๕)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  13. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ

    ตอน โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕

    คือ กิเลสหยาบที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์

    ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากิเลสเป็นตัวเรา)
    ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
    ๓. สีลัพพตปรามาส (การถือศีลอย่างลูบ ๆ คลำ ๆ)
    ๔. กามฉันทะ ( ความพอใจในกาม)
    ๕. พยายาม (ความคิดแค้นผู้อื่น)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๑๑ "สังคีติสูตร" ข้อ ๒๘๔)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  14. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    โสดาบัน

    ตอน โสดาบัน ๓
    คือ ผู้เริ่มเข้ากระแสธรรม ที่เที่ยงต่อการตรัสรู้

    ๑. เอกพีชี (โสดาบันที่เกิดอีกภพเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งกองทุกข์ได้)
    ๒. โกลังโกละ (โสดาบันที่เกิดอีก ๒ - ๓ ภพ ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้)
    ๓. สัตตักขัตตุปรมะ (โสดาบันที่เกิดอีกอย่างมากเพียง ๗ ภพ ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ )

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๐ "เลขสูตร" ข้อ ๕๒๘)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  15. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    องค์คุณของพระโสดาบัน

    ตอน องค์คุณของพระโสดาบัน ๘

    เพราะ อบายภูมิ ๔ สิ้นแล้ว
    หมดภัยเวร ๕ (คือ ถือศีล ๕ ได้บริสุทธิ์)

    อาริยสาวก (อริยะ) จึงพยากรณ์ตัวเองเป็นพระโสดาบัน คือ

    ๑. มีนรกสิ้นแล้ว (ขีณนิรยะ)
    ๒. กำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว (ขีณติรัจฉานโยนิ)
    ๓. ปิตติวิสัยหรือเปรตสิ้นแล้ว(ขีณปิตติวิสยะ)
    ๔. อบาย (ฉิบหาย) ทุคติ (ไปชั่ว) วินิบาต (ทุกข์ทรมาร) สิ้นแล้ว (ขีณาปายทุคติวิสยะ)
    ๕. เข้าถึงกระแสโลกุตรธรรม (โสตาปันนะ)
    ๖. ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธัมโม)
    ๗. เป็นผู้ไม่เที่ยง (นิยตะ)
    ๘.จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า (สัมโพธิปรายนะ)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๑๙ "เวรภัยสูตร ข้อ ๑๕๔)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  16. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ญาณของพระโสดาบัน

    ตอน ญาณของพระโสดาบัน ๗

    หลังจากฆ่ากิเลสหยาบ (วีตีกกมกิเลส) อบายภูมิ ๔ แล้ว
    เกิดญาณ (รู้แจ้งธรรม) ของพระโสดาบัน ๗ อย่าง

    ๑. รู้แล้วละ (ญาณ ๑)

    คือ กำลังเรียนรู้กิเลสกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) นิวรณ์ ๕
    เพื่อละกิเลสนั้น
    แต่ยังมีการทะเลาะวิวาทกันด้วยหอกปาก (มุขสัตติ) อยู่

    ๒. ทำให้มาก (ญาณ ๒)

    คือ เสพคุ้น (อาเสวนา) ทำให้เกิดผลเจริญ (ภาวนา)
    ทำให้มาก (พหุลีกัมมัง) กระทั้งระงับกิเลสตนได้

    ๓. เชื่อมั่นธรรมวินัยนี้ (ญาณ ๓)

    คือ คือชัดเจนการปฏิบัติธรรมอื่น นอกธรรมวินัยนี้
    ไม่สามารถดับกิเลสสิ้นเกลี้ยง ไม่เป็นโลกุตระ

    ๔. ผิดรีบแก้ (ญาณ ๔)

    คือ รีบแก้ไขความผิดของตน
    เหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย
    มือเท้าถูกถ่านไฟเข้าแล้ว
    ก็รีบชักหนีเร็วพลัน

    ๕.ทำกิจตน - กิจท่าน (ญาณ ๕)

    คือ ทั้งศึกษาใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    ทั้งขวนขวายกิจใหญ่น้อยของเพื่อน
    เหมือนวัวแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้ากินด้วย
    ชำเลืองดูลูกด้วย

    ๖. กำลังญาณ (ญาณ ๖)

    คือ มีอำนาจในตน มีกำลังจิต แยกแยะถูกผิดได้ชัด
    รู้ตนว่ามีผล ได้บรรลุแล้ว

    ๗. ปลื้มใจในผล (ญาณ ๗)

    คือ ได้รู้ธรรม ในแก่น ปลื้มใจในผลที่ตนได้
    เห็นผลสุขที่จะมียิ่งขึ้น ยิ่งเข้าใจชัดสมบูรณ์

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ "โกสัมพิยสูตร" ข้อ ๕๔๓-๕๔๙)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  17. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    มหาปเทศ

    ตอน มหาปเทศ ๔

    คือ หลักการใหญ่ที่ใช้อ้างอิงตรวจสอบ แล้วตัดสิน

    ๑. สิ่งใดไม่ห้ามว่า ไม่ควร
    แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร
    สิ่งนั้นจึงไม่ควร

    ๒. สิ่งใดไม่ห้ามว่า ไม่ควร
    แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งควร ขัดกับสิ่งไม่ควร
    สิ่งนั้นจึงควร

    ๓. สิ่งใดไม่อนุญาตว่า ควร
    แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งไม่ควร ขัดกับสิ่งควร
    สิ่งนั้นไม่ควร

    ๔. สิ่งใดไม่อนุญาตว่า ควร
    แต่สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งควร
    ขัดกับสิ่งไม่ควร
    สิ่งนั้นจึงควร

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๕ "เภสัชชขันธกะ" ข้อ ๙๒)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:



    ................................................................

    เพิ่มเติม อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ


    ตอน มหาปเทศ ๔

    คือ หลักการใหญ่ที่ใช้อ้างอิงตรวจสอบ แล้วตัดสิน

    ๑. สิ่งใด ไม่ห้าม (ทำได้) ว่า
    ไม่ควร (ทำไม่ได้)
    แต่สิ่งนั้นเข้ากับ(เหมือนกับ)สิ่งไม่ควร (ทำไม่ได้)
    ขัดกับ (ตรงข้าม)สิ่งควร (ทำได้)
    สิ่งนั้นจึง ไม่ควร (ทำไม่ได้)

    ๒. สิ่งใด ไม่ห้าม ( ทำได้) ว่า
    ไม่ควร (ทำไม่ได้)
    แต่สิ่งนั้นเข้ากับ(เหมือนกับ)สิ่งควร (ทำได้)
    ขัดกับ (ตรงข้าม)สิ่งไม่ควร (ทำไม่ได้)
    สิ่งนั้นจึงควร (ทำได้)

    ๓. สิ่งใดไม่อนุญาต ( ทำไม่ได้ ) ว่า
    ควร (ทำได้)
    แต่สิ่งนั้นเข้ากับ(เหมือนกับ)สิ่งไม่ควร (ทำไม่ได้)
    ขัดกับ (ตรงข้าม)สิ่งควร (ทำได้)
    สิ่งนั้นไม่ควร (ทำไม่ได้)

    ๔. สิ่งใดไม่อนุญาต (ทำไม่ได้) ว่า
    ควร (ทำได้)
    แต่สิ่งนั้นเข้ากับ (เหมือนกับ) สิ่งควร (ทำได้)
    ขัดกับ(ตรงข้าม)สิ่งไม่ควร (ทำไม่ได้)
    สิ่งนั้นจึงควร (ทำได้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  18. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ลักษณะของพุทธธรรม

    ตอน ลักษณะของพุทธธรรม ๘

    ๑. ลึกซึ้ง (คัมภีรา)
    ๒. เห็นตามได้ยาก (ทุททสา)
    ๓. รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธา)
    ๔. สงบ (สันตา)
    ๕. ประณีต (ปณีตา)
    ๖. คาดคะเนเดาไม่ได้ (อตักกาวจรา)
    ๗. ละเอียด (นิปุณา)
    ๘. รู้ได้เฉพาะบัณฑิต (ปัณฑิตเวทนียา)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๙ "พรหมชาลสูตร" ข้อ ๒๖)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ:cool:
     
  19. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อาศัยเกิดแล้วละเสีย

    ตอน อาศัยเกิดแล้วละเสีย ๔

    ๑. กายนี้เกิดขึ้นด้วย อาหาร
    อาศัยอาหารแล้ว พึงละอาหารเสีย

    ๒. กายนี้เกิดขึ้นด้วย ตัณหา
    อาศัยตัณหา พึงละตัณหาเสีย

    ๓. กายนี้เกิดขึ้นด้วย มานะ
    อาศัยมานะแล้ว พึงละมานะเสีย

    ๔. กายนี้เกิดขึ้นด้วย เมถุน
    ควรละเมถุนเสีย
    การละเมถุน เรียกว่า เสตุฆาต
    (การฆ่ากิเลส ด้วยอาริยมรรค (อริยมรรค)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ "อินทรีวรรค" ข้อ ๑๕๙)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  20. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ลักษณะของกามเมถุน

    ตอน ลักษณะของกามเมถุน ๖

    ๑. เป็นเรื่องของชาวบ้าน (คามธัมมัง)
    ๒. เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ (วสลธัมมัง)
    ๓. ชั่วหยาบ (ทุฏฐุลลัง)
    ๔. มีน้ำเป็นที่สุด (โอทกันติกัง)
    ๕. กระทำในที่ลับ (รหัสสัง)
    ๖. เป็นของคนคู่ (ทวยังทวยะสมาปัตติง)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ "ปฐมปาราชิกกัณฑ์" ข้อ ๒๐)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...