ทริปกรรมฐานฟรี!!!กับ SINSAIR TAVADA 9 เม.ย.54

ในห้อง 'บริการรับดูดวง' ตั้งกระทู้โดย ป-เมธาวี, 21 มีนาคม 2011.

  1. หลานย่า

    หลานย่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +470
    โพชฌังคปริตร
    โพชฌังโค



    สวดต่ออายุผู้ป่วย


    โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
    โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
    7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้วภาวิตา พะหุลีกะตา
    อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วสังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
    ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพานเอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
    ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบากโพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
    จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟังเต จะ ตัง อะภินันทิตวา
    ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรมโรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
    โรคก็หายได้ในบัดดลเอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนักจุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
    รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพสัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
    ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลันเอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
    ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีกมัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
    ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดาเอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.
    จากเว็บ สวดมนต์ดอทคอมค่ะ[/COLOR]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2011
  2. หลานย่า

    หลานย่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +470
    บทสวด อริยมรรคมีองค์แปด

    (หันทะมะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส)



    (มรรคมีองค์ ๘ ) อะยะเมวะ อะริโย อัฎฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ



    (องค์มรรคที่ ๑) กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฎฐิ ยังโข ภิกขะเว ทุกเข ญานัง ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง ทุกขะนิโรเธ ญานัง ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฎิปะทายะ ญาณัง อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฎฐิ

    (องค์มรรคที่ ๒) กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป เนกขัมมะสังกัปโป อะพะยาปะทะสังกัปโป

    อะวิหิงสาสังกัปโป อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว

    สัมมาสังกัปโป

    (องค์มรรคที่ ๓) กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา มุสาวาทา เวระมะณี ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี

    ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี สัมผัปปะลาปา เวระมะณี อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สมมาวาจา

    (องค์มรรคที่ ๔) กะตะโม จะภิกขะเว สัมมากัมมันโต ปาณาติปาตา เวระมะณี อะทินนาทานา เวระมะณี

    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี อะยัง วุจจติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต

    (องค์มรรคที่ ๕ ) กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว, อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก , มิจฉาอาชีวัง

    ปะหายะ , สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ , อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว

    (องค์มรรคที่ ๖ ) กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ , อนุปปันนานัง ปาปะกานัง

    อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ , ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ , วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ, อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ ,

    วิระยัง อาระภะติ , จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,

    อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานังอุปปาทายะ,

    ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ , อุปปันนานัง กุสะลานัง

    ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ, ภิยฺโยภาวายะ,

    เวปุลลายะ, ภาวะนายะ ปาริปูริยา, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ , อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม.

    (องค์มรรคที่ ๗ ) กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ , กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ ,

    อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง , เวทะนาสุเวทะนานุปัสสี วิหะระติ , อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะสัสสัง ,จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ , อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง , ธัมเมสุ ธัมมานุปัสี วิหะระติ , อาตาปิ สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ



    (องค์มรรคที่ ๘ ) กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ , อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ , วิวิจเจวะ กาเมหิ , วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ ,สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัง ปิติ สุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา, อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนังเจตะโส เอโกทิภาวัง , อะวิตุกกัง อะวิจารัง สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปสัมปัชชะ

    วิหะระติ , ปีติยา จะ วิราคา, อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน , สุขัญจะ กาเยนะปะฏิสังเวเทติ , ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะ วิหารี ติ , ตะติยังฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , สุขัสสะ จะปะหานา , ทุกขัสสะ จะ ปะหานา ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา, อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว

    สัมมาสะมาธิ













    คำแปล



    (มรรคมีองค์ ๘) หนทางนี้แลเป็นหนทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วงองค์แปดได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.



    (มรรคองค์ที่ ๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบเป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี่เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ



    (มรรคองค์ที่ ๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า ความดำริชอบในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มั่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ



    (มรรคองค์ที่ ๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า การพูดจาชอบ



    (มรรคองค์ที่ ๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำงานชอบ เป็นอย่างไรเล่า เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การทำงานชอบ



    (มรรคองค์ที่ ๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เราเรียกว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ



    (มรรคองค์ที่ ๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความพากเพียรชอบ เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าววา ความพากเพียรชอบ



    (มรรคองค์ที่ ๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจ และความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ



    (มรรคองค์ที่ ๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงแล้วปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ



    -------------------------------------------------------------------------------
     
  3. ป-เมธาวี

    ป-เมธาวี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +80
    เชิญทุกๆๆๆท่านครับผม
     
  4. kabukiman

    kabukiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +566
    น่าสนใจจังเลยครับ กิจกรรมดีๆแบบนี้:cool:
     
  5. kittytitti

    kittytitti สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +1
    ตอนนี้ยอดเ้ยอะ น่าจะ 30 แล้ว เป็นลูกค้าที่ร้านอ. ไมไ่ด้ลงชื่อ *-*
     
  6. sinsair tavada

    sinsair tavada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +14,550
    ไปกันให้ได้ นะ กับบุญดี ๆ ไม่มีสิ่ง แอบแฝง กับกุศลดีๆ ไม่มี บาป เจือปน กับการเริ่มต้นดีๆ ที่องค์กรรมฐาน กรรมฐาน พลิก ชีวิต" ยิ่งกว่าการทำบุญ 5000 ชาติ ในค่ำคืนนั้น ไปเสียเถอะ กินง่าย นอนง่าย อยู่ในที่สงัด และ จิตสงบ เหนือบุญทั้งปวงงงงงงงงงง อามะ ภันเตฯ........
     
  7. sinsair tavada

    sinsair tavada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +14,550
    อ๋อ ผม แค่ต้องการ หัวข้อ เจ้ดอย่างของโพฌชงค์ และหัว ข้อ มรรค แปด ครับมิได้ ต้องการ บทสวด ครับท่าน ป ทำหนังสือ สวด แล้วใส่ หัวข้อ มรรคแปด โพฌชงค์ เจ็ด ให้อ่าน เฉยๆ ครับ เพราะเป็นตีนบรรได นิพพาน นั่นเอง ครับ ..........
     

แชร์หน้านี้

Loading...