ถามครับ คนที่ได้ญาณ 4 จนถึง ญาณ 8 ท่านมีความสุขขาดไหน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 25 พฤศจิกายน 2011.

  1. nataphat

    nataphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +246
    อุเบกขาอ่า ไม่ต้องมาดูร่างกายไม่ปวดไม่เมื่อยไม่หนักแค่ปิติก็เพลินแล้วน่ะอิอิ ใครบอกก็ไม่เท่าตัวเองรู้เองน่ะครับสงสัยว่าอยู่ลำดับฌาณไหนก็ลองหาอ่านจากในนี้ดูอย่างละเอียดก็ได้ในพระไตรปิฎกก็ได้แต่เอาง่ายๆถึงไหนก็ช่างเมื่อไรที่ไม่รู้สึกถึงลมหายใจเป็นจุดสังเกตน่ะว่าถึงสมาบัติ4
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2011
  2. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    โอเคขอบคุณครับ เข้าใจแล้ว
     
  3. โคกปีป

    โคกปีป สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +20
    เท่าที่อ่านมา ตามความรู้สึกของคุณที่ว่าได้ปฐมฌาน ฌานครับไม่ใช่ฐาณ ผมประมาณได้ว่าคุณยังไม่ได้อะไรเลยสักขั้น แม้อุปจารสมาธิก็ไม่เฉี่ยวเลยครับ

    ส่วนความรู้สึกสุขในฌานขั้นสี่นั้น ไม่มีครับ จึงไม่มีความรู้สึกว่าสุขเพียงใดขนาดไหนok

    อีกเรื่องอยากให้ทำความเข้าใจว่า ฌานมีเพียง4 เท่านั้น ที่มี8คือสมาบัติ ซึ่งสมาบัตินี้ก็คือผลของฌานครับ

    แต่ที่แน่นอนที่สุดแนะนำให้คุณจขกท. ไปศึกษาพระไตรปิฎกให้จริงจังเสียก่อนที่จะเชื่อนะครับ เรียนภาษาไทยเพิ่มเติมด้วยจะดีมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2011
  4. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    มือไม้สั่นเลยผม วางปืนลงก่อนครับ "คุณโคกปีบ..!"
    กลัวกระสุน จะเฉี่ยวใบหูซ้าย

    ว่าโดยตำราคักๆ แล้ว ในพระสูตรบอกไว้ว่า ฌานมี 8 คือ "รูปฌาน4 และ อรูปฌาน4"
    สูงขึ้นไป คือ "สัญญาเวทยิตนิโรธ" อีกหนึ่ง รวมเรียกว่า "อนุปุพพวิหารสมาบัติ9"

    แต่ถ้าว่าโดยฌานปัญจนัย ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม รูปฌานมี5 (ปฐมฌาน...ปัญจมฌาน)
    โดยแตกต่างกันที่พระสูตร แบ่งไว้ รูปฌานมีเพียง4 (ปฐมฌาน...จตุถฌาน)

    ส่วนที่บอกว่า สมาบัติ คือ ผลของฌาน อันนี้เป็นแค่ชื่อเรียก เช่น สมาบัติ8 (รูปฌาน4+อรูปฌาน4)

    จริงๆแล้ว ผลของฌาน คือ "วิกขัมภนวิมุตติ" คือสภาวะที่เกิดขึ้น
    คือ องค์ของฌานแต่ละขั้น ตั้งแต่ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตา และอุเบกขา
    ผล คือ พ้นกิเลสด้วยกำลังของฌาน ที่เรียกว่า "สมาธิหินทับหญ้า"
    ที่นี้ ผู้อาศัยการสร้างเหตุ ด้วยกำลังของฌาน ไว้เป็นบาทฐานของอภิญญา นั้น คือ ผล

    หรือ ผู้อาศัยเหตุจากฌาน เป็นบาทฐาน เพื่อเจริญวิปัสสนาญาณ
    เจริญปัญญา เพื่อรู้แจ้งไตรลักษณ์
    คือ อาศัยกำลังฌานเป็นเหตุ เพื่อรู้แจ้งในไตรลักษณ์ เป็น "สมุจเฉทวิมุตติ" คือ ผล
     
  5. ชาวสวน

    ชาวสวน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,528


    ตอบนะครับ คือพระนิพพาน นิพพาน ปรมัง สุขัง

    นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง สุขในที่นี้คือสุขที่ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเกาะเกี่ยว

    อยากรู้ก็ต้องปฏิบัติ อย่างแรกก็ศึกษาที่ตัวเราก่อน
     
  6. ็HEAVEN CEMETERY

    ็HEAVEN CEMETERY Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +26
    สุสานสวรรค์

    สุขของผมอยู่ที่ใจครับ ^^
    ;k07

    เชิญชม BLOG ทำบุญบริจาคโลงศพเพื่อการกุศลครับ
    >>>>>>>>>>> คลิก <<<<<<<<<<<
     
  7. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    สุขของผมคือเห็นผู้อื่นเป็นสุข
     
  8. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ไปค้าน เขาทําไม

    ไปเเย้ง ท่านโคก ปีป เขาทําไม ไม่กลัวหรอลูกปืนน่ะ

    ยัง ยัง ยัง ยังไม่ยอมหยุด เดี๋ยวสมองเยิ้มกระเดนออกมา เลี้ยเทะ เประเปลื้อน บรอดร์สทนากันพอดี
     
  9. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    อย่างนี้ต้องจัดหนักด้วยตะกุดอาจารย์อ้อด 5555555+
     
  10. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ไม่รู้อะไรซะแล้ว หารู้ไม่ว่า "คุณโคกปีป" นี่เป็นมือปืนคู่ใจผม

    แต่มีบ้างที่ยิงผิดจุด จึงต้องแนะเพื่อยิงให้เข้าเป้า
    ปืนบางครั้งเล็งตรงเป้า แต่ไม่เข้าเป้า
    ปืนบางครั้งเล็งเหนือเป้า แต่เข้าเป้า

    ฉะนั้น ปืนกับใจจึงต้องประสานกัน แน่นอนว่าเมื่อกระสุนออกจากปากกระบอก เสียงย่อมเกิดขึ้นด้วย

    แต่พอเมื่อ "เสียง เป็นเหตุ" ก็กลับตกอกตกใจ ตากระพริบ อย่างนี้ นัดต่อไป
    แม้จะเล็งทางซ้าย เล็งทางขวา เล็งบน เล็งล่าง หรือเล็งไปที่จุดกลางของเป้า ก็ยิงไม่เข้าเป้า

    อย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็น "นายขมังธนู"

    เพราะพื้นดินที่เหยียบไว้ ไม่เป็น "ศีล"
    เท้าทั้งสองข้าง ขาดซึ่ง "ขันติ"
    มือแขนทั้งสองข้าง ไม่ประคองไว้ ด้วย "โสรัจจะ"
    จิตไม่สำรวมตั้งมั่น ไร้โยนิโสมนสิการ เพราะขาดสติ ต่อการรับรู้ในอายตนะทั้ง6

    นั่นแหละ แม้เสียงจะเป็นเหตุ ก็ไม่ไร้ซึ่งสติ เพราะเสียงปืน
    เพราะมีการปรารภต่อความเพียรฝึกฝน ด้วย อิทธิบาท4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)

    หากนายขมังธนู มีคุณสมบัติ ดังกล่าว ย่อมเป็น "มือปืนดาวพระสุข" ได้อย่างสมบูรณ์
    เพราะมุ่งเพื่อจะยิงเป้า คือ กิเลส


    แต่อย่ามาเล็ง ที่ผมก็แล้วกันโคกปีป ให้เล็งไปที่ "นราสภา"

    หากแต่ คนสวยอย่าง นราสภา บอกให้หยุด เราก็จะหยุด ที่แย้งไป

    ก็นั่นแหละ คือ ข้อดีของนราสภา ที่พอมีอยู่ให้เห็น "สวย เป็นเหตุ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2011
  11. โคกปีป

    โคกปีป สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +20
    แนะนำให้ไปเรียนภาษาไทยเพิ่มเติม กับปฏิบัติธรรมให้ได้สมาบัติจริงๆมาเสียก่อน ทั้งคุณหม้อและคุณภา ตอนนี้ผมจะยังไม่เถียงตอบโต้ เอาไว้ทั้งสองรู้ถึงระดับเดียวกับผมซะก่อน แล้วปากกระบอกปืนกระบอกนี้ หันไปทางเดียวกับที่ๆทั้งสองท่านกำลังมองแน่นอน แล้วท่านจะปลอดภัย (เว้นแต่ท่านจะมองที่ปากกระบอกปืนซะเอง) แต่ตอนนี้ยังok
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2011
  12. พรหมาวตาร

    พรหมาวตาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +66
    หนทางนี้แลเป็นหนทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วยองค์แปดได้แก่สิ่งเหล่านี้
    [FONT=TH SarabunIT๙]1. [/FONT]ความเห็นชอบ คือความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาทิฏฐิ[FONT=TH SarabunIT๙]” [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]2. [/FONT]ความดำริชอบ คือความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้ายความดำริในการไม่เบียดเบียน พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาสังกัปโป[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]3. [/FONT]การพูดจาชอบ คือเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริงเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาวาจา[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]4. [/FONT]การทำการงานชอบ คือเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้วเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมากัมมันโต[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]5. [/FONT]การเลี้ยงชีวิตชอบ คือสาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสียย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ในการเลี้ยงชีพที่ชอบ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาอาชีโว[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]6. [/FONT]ความพากเพียรชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายามปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียรตั้งจิตไว้เพื่อละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลื่อน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาวายาโม[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]7. [/FONT]ความระลึกชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าอันนี้[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]สัมมาสะติ[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT]

    [FONT=TH SarabunIT๙]8. ความตั้งมั่นชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลายสงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจารมีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลงเข้าถึงทุติยฌานเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขามีสติและสัมปชัญญะและย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า[FONT=TH SarabunIT๙] “[/FONT]เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข[FONT=TH SarabunIT๙]” [/FONT]ดังนี้ เข้าถึงตติยฌานแล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าอันนี้ [FONT=TH SarabunIT๙]“[/FONT]สัมมาสมาธิ[FONT=TH SarabunIT๙]”[/FONT][/FONT]
    แต่ที่มีว่ามี8นั้น เป็นเพียงโดยอรรถกา หากในความเป็นจริงแล้วสภาวะที่พบนั้น ฌานมีเพียง4 ฌานเป็นเหตุสมาบัติเป็นผลอย่างนี้ถูกแล้ว
    รวมกันแล้วได้ 8 เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า มรรค4ผล4 นั่นเองเมื่อครบก็จะพบ1แล้วจบกันเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 พฤศจิกายน 2011
  13. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    คงไม่ถึงเป็นเเน่

    ไปเรียนภาษา ไทย ก่อนน๊าา เดียวเรียนจบ ป หก เมื่อไรน้องจะเสนอหน้าเข้ามา ขวางทางปืนอีกที

    เอ๊าาาา พี่หม้อ ไป เราไปหาที่เรียนภาษากันก่อน เดี๋ยวค่อยมากันใหม่
    (deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)
     
  14. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    ขำกลิ้งจะไปเรียนภาษาไทยที่ในน้องภา ในเมื่อโรงเรียนเปิด13 ธ.ค.โน้น :love::love::love::love::love:
     
  15. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู

    " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งนายขมังธนูได้แก่อะไร? "

    ขอถวายพระพร ธรรมดา นายขมังธนู เมื่อจะยิงธนู ย่อมเหยียบพื้นด้วยเท้าทั้งสองให้มั่น ทำเข่าไม่ให้ไหว ยกธนูขึ้นเพียงหู ทำกายให้ตรง วางมือทั้งสองลงที่คันธนู จับคันธนูให้แน่น ทำนิ้วให้ชิดกัน เอี้ยวคอ หลิ่วตา เม้มปาก ทำเครื่องหมายให้ตรงแล้วเกิดความดีใจว่า เราจักยิงไปในบัดนี้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเหยียบพื้นดินคือศีล ด้วยเท้าคือวิริยะให้มั่น ทำขันติโสรัจจะไม่ให้ไหว ตั้งจิตไว้ในความสำรวม น้อมตนเข้าไปในความสำรวม บีบกิเลสตัณหาให้แน่น กระทำจิตไม่ให้มีช่องว่างด้วยโยนิโสมนสิการ ประคองความเพียรไว้ ปิดทวารทั้ง ๖ เสีย ตั้งสติเข้าไว้ ทำให้เกิดความร่าเริงว่า เราจักยิงกิเลสทั้งปวงด้วยลูกศร คือญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนายขมังธนู

    ธรรมดานายขมังธนู ย่อมรักษาไม้ง่ามไว้ เพื่อดัดลูกธนูที่คดที่งอให้ตรงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรักษาไม้ง่าม คือสติปัฏฐานไว้ในกายนี้ เพื่อทำจิตที่คดงอให้ตรงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนายขมังธนู

    ธรรมดานายขมังธนู ย่อมเพ่งที่หมายไว้ให้แน่ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเพ่งกายนี้ฉันนั้น ควรเพ่งอย่างไร... ควรเพ่งว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เป็นของทำให้ลำบาก เป็นของแปรปรวน เป็นของแตกหัก เป็นของจัญไร เป็นของอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน ไม่มีที่หลบลี้ ที่ต้านทาน ที่พึ่ง ที่อาศัย เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของมีโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่มีแก่น เป็นรากเหง้าแห่งภัย เป็นผู้ฆ่า เป็นของมีอาสวะเครื่องดอง เป็นของน่าสงสัย เป็นของมีเหตุปัจจัยตกแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้ารำพันคับแค้น เป็นธรรมดา ดังนี้
    อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนายขมังธนู

    ธรรมดานายขมังธนู ย่อมหัดยิงธนูทั้งเย็นทั้งเช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ควรฝึกหัดในอารมณ์ ทั้งเย็นทั้งเช้าฉันนั้น
    อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งนายขมังธนู

    ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า

    " นายขมังธนูย่อมหัดยิงทั้งเย็นทั้งเช้าไม่ทิ้งการฝึกหัด จึงได้ค่าจ้างรางวัลฉันใด ฝ่ายพระพุทธบุตรก็พิจารณากาย ไม่ทิ้งการพิจารณากาย แล้วได้ความเป็นพระอรหันต์ฉันนั้น" ดังนี้ ขอถวายพระพร "

    จบกุมภวรรคที่ ๗

    http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-26.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...