ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไต้หวันก็เป็นเอกราชมานานแล้ว ไปแยกจากจีนตอนไหน


    สถานการณ์โลก ด้านความมั่นคง


    ท่านสีส่งสารถึงไต้หวัน: ท่านสี จิ้นผิงเตือนไต้หวัน(ไม่ได้ขู่นะแค่เตือนเฉยๆ)การคิดแยกตัวเป็นเอกราชจะนำมาซึ่งความหายนะ จีนพร้อมรวมชาติกับไต้หวันอย่างสันติ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งสิทธิที่จะใช้กำลังทางทหาร/

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_7024.JPG
    (Jan 2) ธปท.ปรับวงเงินขายตราสารหนี้ระยะสั้นสู่ปกติ ปิดก๊อกสกัด'เงินร้อน'เข้าบอนด์ : "แบงก์ชาติ" ปรับวงเงินขายบอนด์ระยะสั้น 3 เดือนและ 6 เดือน สู่ระดับปกติที่ 4 หมื่นล้าน หลังคลายกังวลต่างชาตินำเงินเข้ามาพักในบอนด์ระยะสั้น สอดคล้องกับความต้องการตลาด ประเมินแนวโน้มปี 62 ค่าเงินยังผันผวนหนัก



    นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วย ผู้ว่าการสายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.เริ่มผ่อนคลายความกังวล จากกรณีที่ต่างชาตินำเงินร้อน หรือฮอตมันนี่ เข้ามาลงทุน และพักเงินในพันธบัตรระยะสั้น เนื่องจากระยะนี้ ไม่เห็นสัญญาณการเข้ามา เก็งกำไรในลักษณะดังกล่าว ธปท.จึงเห็นว่า เป็นจังหวะเหมาะสม ที่ธปท.จะยกเลิกมาตรการ การป้องกันเงินไหลเข้าของต่างชาติ โดยการกลับมาออกบอนด์ในวงเงินปกติ สำหรับบอนด์ระยะสั้น 3 เดือนและ 6 เดือน ในวงเงิน 40,000 ล้านบาทต่อสัปดาห์เหมือนอดีต



    จากก่อนหน้านี้ ที่ธปท.มีการประกาศมาตรการคุมเงินไหลเข้าของต่างชาติ โดยเริ่มมีการลดการขายบอนด์ระยะสั้น 3 เดือน และ 6 เดือน ตั้งแต่ เม.ย.2560 ที่วงเงิน 10,000 ล้านบาท ทำให้เหลือ บอนด์ที่นำออกมาประมูลขายเพียง สัปดาห์ละ 30,000 บาทในแต่ละช่วงเวลา จนกระทั่งเมื่อพ.ค.2561 ธปท.ได้กลับมา ผ่อนคลายมาตรการ โดยคำนึงถึงสภาพตลาด และความต้องการของนักลงทุน จึงเพิ่มการขายบอนด์อีก 5,000 ล้านบาท ทำให้ มีวงเงินการขยายบอนด์ขณะนั้น 35,000 ล้านบาทต่อสัปดาห์



    "จุดประสงค์เรา เราไม่ได้กังวลเรื่องเงินไหลเข้าแล้ว ความกังวลนี้ลดลงไปเยอะ ผลกระทบมีไม่ได้มาก หากเทียบกับ ช่วงแรกที่เราต้องออกมาตรการ ที่เห็น ฝรั่งเข้ามาในบอนด์ระยะสั้นมาก ที่เข้ามาพักเงินในบอนด์ระยะสั้น ทำให้ค่าเงินเราแข็งค่า แต่ช่วงหลังๆ มานี้ เราเห็นมาเงินของฝรั่งที่เข้ามาไม่ได้มากมายอะไร และ คิดว่าธปท.น่าจะสามารถบริหารจัดการ เงินไหลเข้าไหลออกได้เป็นอย่างดี จึงกลับมา ขายบอนด์สู่ภาวะปกติที่ 40,000 ล้านบาท ต่อสัปดาห์เหมือนเดิมสำหรับบอนด์ ระยะสั้น" นางจันทวรรณ กล่าว



    ด้านนางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วย ผู้ว่าการ สายตลาดเงิน ธปท.กล่าวว่า การกลับมาขายบอนด์สู่ภาวะปกตินั้น ธปท.ได้ดำเนินการมา 1-2 เดือนที่ผ่านมาแล้ว เพราะเชื่อว่า ธปท.จะสามารถบริหารจัดการเงินที่ไหลเข้ามาได้ ส่วนในอนาคตธปท.จะกลับมาใช้มาตรการดังกล่าวอีกหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากต้องรอดูทิศทางเงินไหลเข้าของต่างชาติ แต่เครื่องมือเหล่านี้ควรมีไว้ และเป็นเครื่องมือ ที่สามารถนำออกมาใช้ได้ เพื่อแก้ไขปัญหา ต่างๆ เพราะเครื่องมือเหล่านี้ ถือเป็น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ที่ยืดหยุ่น สามารถปรับขึ้นปรับลดได้



    "เราไม่อยากบอกว่า เราจะไม่นำเครื่องนี้ ออกมาใช้อีก ไม่ควรมั่นใจขนาดนั้น แต่เครื่องมือนี้ก็ต้องมีไว้ เหมือนเครื่องมืออื่นๆ ที่ธปท.มีไว้ และถือว่าเป็นเครื่องมือ ที่ยืดหยุ่น ปรับขึ้นปรับลงได้ เอามาใช้ช่วงที่ มีเงินเข้ามาพักเยอะ และทำให้มีต้นทุน ความเสียหายเยอะ เครื่องนี้ก็ถือเป็น เครื่องมือที่มีเสถียรภาพ แต่เราก็มีการ มอนิเตอร์อยู่ตลอด ไม่ได้เลิกห่วง ของอย่างนี้มันปรับทิศเร็ว ดังนั้นก็ต้อง มีเครื่องมือเหล่านี้ให้พร้อม"



    ขณะเดียวกัน คาดว่า ภายใต้ความผันผวน ที่มีมากในปัจจุบัน และในระยะข้างหน้า อาจส่งผลให้ความต้องการในบอนด์กลับมา เป็นที่ต้องการของนักลงทุนมากขึ้นในระยะข้างหน้า เพราะนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากกว่าหุ้น หรือการลงทุนในตลาดอื่นๆ ทั้งนี้หากดูการถือครองบอนด์ของต่างชาติ พบว่าปัจจุบัน ก็ทรงๆ โดยอยู่ที่ราว 9-10% หากเทียบกับมูลค่าบอนด์ทั้งหมด ซึ่งถือว่า ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระยะนี้ และหากดูพฤติกรรมการเข้ามาซื้อบอนด์ พบว่ามีทั้งบอนด์ระยะสั้น และบอนด์ระยะยาว ซึ่งไม่ได้เหมือนอดีตที่ขณะนั้น ต่างชาติมีการนำเงินเข้ามาลงทุนในบอนด์ระยะสั้นมากกว่า



    อย่างไรก็ตาม หากดูภาพค่าเงินบาท ปี2562 เชื่อว่า ค่าเงินบาท มีแนวโน้มผันผวน ต่อเนื่อง ทั้งจากปัจจัย ภายนอก และ ปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะปัจจัย ต่างประเทศที่จะมีผลทำให้ค่าเงินบาท และค่าเงินในภูมิภาคมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะเรื่องสงครามการค้า ดังนั้น บางช่วง อาจจะเห็นเงินไหลออกได้ ขณะที่ บางช่วงก็อาจเห็นเงินไหลเข้าได้ โดยเฉพาะ จากปัจจัยในประเทศ เช่น ประเด็นการเลือกตั้ง หากมีความชัดเจน และเศรษฐกิจในประเทศดีขึ้นต่อเนื่อง อาจหนุนให้ค่าเงินบาท กลับมาแข็งค่าได้ และเห็นค่าเงินบาท ไม่ได้อ่อนค่าเหมือนบางประเทศในภูมิภาคได้



    ภายใต้ความผันผวนดังกล่าว จะทำให้ค่าความผันผวนของค่าเงินบาท ปี 2562 น่าจะมีมากขึ้น หากเทียบกับปี 2561 ที่ค่าเงินบาทผันผวนสูงที่ราว 4% หาก เทียบกับปี 2560 ที่ค่าเงินผันผวนเพียงระดับ 3% เท่านั้น ซึ่งหลักๆ มาจาก ประเด็นสงครามทางการค้า และการดำเนินนโยบายการเงินของทั่วโลก ที่เริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติมากขึ้น ดังนั้นหน้าที่ของธปท.คือ พยายามดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวน จนเกินไปจนกระทบต่อระบบโดยรวม แต่หากประชาชนเริ่มมีการรับมือได้ ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด


    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_7025.JPG
    (Jan 2) เส้นทางหลุดพ้นจาก “กับดักรายได้ปานกลาง” ยุทธศาสตร์ของ จีน มาเลเซีย และไทย : เว็บไซต์ Nikkei Asian Review รายงานว่า นาย Victoria Kwakwa รองประธานธนาคารโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก แถลงหลังจากเข้าพบนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมมัด ว่า “มาเลเซียกำลังอยู่บนเส้นทางที่จะก้าวข้ามธรณีประตูไปสู่ประเทศรายได้สูงและพัฒนาแล้วในปีข้างหน้าที่กำลังจะมาถึง”


    เมื่อครั้งที่มหาธีร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกในปี 1981 รายได้ต่อคนของมาเลเซียอยู่ที่ 1,980 ดอลลาร์ ในปี 2017 เพิ่มเป็น 9,650 ดอลลาร์ แต่มาเลเซียยังต้องก้าวเดินไปข้างหน้า เพื่อไปให้ถึงหลักเกณฑ์การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ที่ธนาคารโลกกำหนดไว้ 12,055 ดอลลาร์ต่อคน แต่ทั้งนี้ มาเลเซียจะต้องไม่ประสบปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะงักงัน


    ธนาคารโลกกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องระดับการพัฒนาไว้ว่า ประเทศรายได้ต่ำ มีรายได้ต่อคนน้อยกว่า 995 ดอลลาร์ ประเทศรายได้ปานกลางระดับล่าง อยู่ที่ 996-3,895 ดอลลาร์ต่อคน ประเทศรายได้ปานกลางระดับบน อยู่ที่ 3,896-12,055 ดอลลาร์ นอกจากมาเลเซียแล้ว หลายประเทศในเอเชียที่มีรายได้ปานกลางจะพัฒนาเป็นประเทศรายได้สูงภายใน 1-2 ทศวรรษข้างหน้า ปัจจุบัน รายได้ต่อคนของไทยอยู่ที่ 5,960 ดอลลาร์ มากกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่อยู่ในระดับ 3,600 ดอลลาร์


    แม้จะไม่มีคำจำกัดความแน่นอนว่าอะไรคือ “กับดักรายได้ปานกลาง” แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนอธิบายว่า เป็นสภาพที่ประเทศหนึ่งจมปลักอยู่กับรายได้ปานกลางเป็นเวลา 50 ปีหรือมากกว่านั้น กับดักรายได้ปานกลางเกิดขึ้นเมื่อประเทศหนึ่งมีค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น ทำให้การส่งออกสินค้ามีปัญหา เพราะความได้เปรียบด้านค่าแรงต่ำลดน้อยลง ขณะเดียวกัน การผลิตก็ไม่สามารถเพิ่มห่วงโซ่มูลค่าให้สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างการผลิต เพื่อให้การผลิตมีผลิตภาพ (productivity) เพิ่มขึ้น


    นาย Siwage Negara นักวิเคราะห์สถาบันวิจัย ISEA ของสิงคโปร์ กล่าวว่า อินโดนีเซียพึ่งพิงการเติบโตด้านการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น เมื่อเทียบกับการเติบโตของการผลิตด้านอุตสาหกรรม แสดงว่ากำลังประสบปัญหาการลดการผลิตด้านอุตสาหกรรมก่อนถึงเวลา (premature de-industrialization) ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาแบบเดียวกับอินโดนีเซีย คือภูมิประเทศเป็นเกาะ ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน และเรื่องโลจิสติกส์ ส่วนไทยต้องปรับปรุงเรื่องการศึกษาและการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนา


    เมื่อ “ความมหัศจรรย์” มาถึงจุดจบ


    ธนาคารโลกเป็นองค์กรแรกที่ใช้คำว่า “กับดักรายได้ปานกลาง” โดยระบุว่า การที่ประเทศกำลังพัฒนารายได้ปานกลาง จะรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปได้ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน คือ


    (1) เปลี่ยนจากความหลากหลายทางเศรษฐกิจ มาสู่การผลิตเฉพาะด้านมากขึ้น

    (2) เปลี่ยนจากการเน้นการลงทุน มาเป็นนวัตกรรม

    และ (3) เปลี่ยนจากการสร้างทักษะและความพร้อมให้คนงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเป็นการตระเตรียมคนงาน ให้สามารถมีส่วนกำหนดผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตใหม่

    ก่อนหน้านี้ ในปี 1994 นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง Paul Krugman ได้เขียนบทความชื่อ The Myth of Asia’s Miracle ที่วิจารณ์รายงานของธนาคารโลกชื่อ The East Asia Miracle โดย Paul Krugman กล่าวว่า เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกที่เติบโตสูงไม่ได้เกิดขึ้นเพราะนวัตกรรมการผลิต แต่มาจากการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ แรงงานและเงินลงทุน Paul Krugman พยากรณ์ว่า เมื่อค่าแรงในเอเชียสูงขึ้น และประสิทธิภาพการลงทุนลดลง ในที่สุด การเติบโตของเอเชียก็จะต่ำลง และความหัศจรรย์ของเอเชียก็มาถึงจุดจบ


    การคาดการณ์ของ Paul Krugman เกิดเป็นจริงขึ้นมาเมื่อปี 1997 เอเชียประสบวิกฤติเศรษฐกิจ แต่วิกฤติเศรษฐกิจไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ Paul Krugman วิเคราะห์ไว้ คือ ค่าแรงสูงขึ้นหรือประสิทธิภาพการลงทุนลดลง แต่มีสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ คือ เงินทุนต่างประเทศที่เก็งกำไรระยะสั้น ระบบการเงินในประเทศเปราะบาง และธุรกิจขาดธรรมาภิบาล เป็นต้น แต่ธนาคารโลกใช้วิกฤตินี้เป็นจุดเปลี่ยนความคิด โดยกล่าวว่า การพัฒนาของเอเชียตะวันออกที่ผ่านมาเป็น “การเติบโตที่ขับเคลื่อนจากปัจจัยการผลิต” (input-driven growth)


    ยุทธศาสตร์ก้าวข้ามกับดัก


    ความพยายามจะก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางของประเทศในเอเชียเกิดจากค่าแรงที่สูงขึ้น โดยนับจากทศวรรษ 2000 ประเทศเอเชียตะวันออกอาศัยการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และเป็นการผลิตเพื่อส่งออก ค่าแรงที่ต่ำ จึงเป็นปัจจัยความได้เปรียบที่สำคัญ แต่จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ค่าแรงคนงานจีนในเขตอุตสาหกรรมชายฝั่งเพิ่มจาก 9,333 หยวนในปี 2000 เป็น 36,539 หยวนในปี 2010 และ 56,360 หยวนในปี 2014


    บทความเรื่อง Responses to the Middle-Income Trap in China, Malaysia and Thailand ของ Akira Suehiro ในหนังสือชื่อ Emerging States at Crossroads (2018) ผู้เขียนกล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของประเทศในเอเชียที่จะก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเติบโตที่ไม่อาศัยค่าแรงถูก มีอยู่ 3 แนวทางด้วยกัน


    ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ การจัดตั้งระบบการศึกษาและองค์กรที่เหมาะสมขึ้นมา

    ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การเปลี่ยนโครงสร้างการส่งออกใหม่ โดยอาศัยความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ

    และยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ นโยบายรัฐที่ส่งเสริมการยกระดับการผลิตด้านอุตสาหกรรม

    ความแตกต่างของ 3 ยุทธศาสตร์ อยู่ที่บทบาทของภาครัฐ ในการยกระดับอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 1 รัฐเพียงแค่ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 รัฐมีบทบาทแข็งขันในการสร้างนวัตกรรม ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับอุตสาหกรรม โดยอาศัยบทบาทของภาคเอกชน และความต้องการของตลาดโลก Akira Suehiro กล่าวว่า จีนใช้ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่วนมาเลเซียกับไทยใช้ยุทธศาสตร์ที่ 2 กรณีของไทย เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทำให้เปลี่ยนมาใช้ยุทธศาสตร์ที่ 3


    ยุทธศาสตร์ของจีน มาเลเซีย และไทย


    กรณีของจีนที่จะหลีกเลี่ยงกับดักรายได้ปานกลาง ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เคยเสนอบทรายงานในปี 2012 ว่า จีนเผชิญปัญหาและความเสี่ยง 7 ประการ คือ ปัญหาผลิตภาพเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ปัญหาค่าแรงที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว การเติบโตที่อิงอาศัยอย่างมากกับการลงทุนของภาครัฐและการส่งออก ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ที่ขยายตัวกว้างขึ้น การต่อต้านจากต่างประเทศ การเติบโตอย่างรวดเร็วของจีนในเศรษฐกิจโลก และจุดอ่อนของสถาบันต่างๆ ที่จะสนับสนุนการเติบโตระยะยาว


    แม้รายงานจะเน้นให้จีนเพิ่มผลิตภาพจากนวัตกรรมและการยกระดับอุตสาหกรรม แต่ ADB ก็เสนอให้จีนใช้กลยุทธ์ 3 อย่าง ได้แก่ (1) การเติบโตที่คนทุกกลุ่มได้ประโยชน์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ (2) เปลี่ยนการเติบโตที่อิงอาศัยอย่างมากกับการลงทุนของภาครัฐและการส่งออก มาเป็นการเพิ่มอุปสงค์ความต้องการในประเทศและภาคบริการ และ (3) การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


    ปัญหาท้าทายของจีนที่ ADB ระบุไว้ แม้จะกว้างขวางครอบคลุมหลายเรื่อง แต่รัฐบาลจีนก็มีนโยบายที่จะยกระดับการผลิตด้านอุตสาหกรรมให้สูงขึ้น โดยการพึ่งตัวเองด้านเทคโนโลยี นโยบายนี้เรียกว่า Made in China 2025


    กรณีของมาเลเซีย Akira Suehiro กล่าวว่า มาเลเซียเป็นประเทศที่ติดกับดักรายได้ปานกลางระดับสูงมาแล้วกว่า 14 ปี ช่วงปี 2000-2009 เศรษฐกิจชะลอตัวลงเหลือปีละ 3.7% ต่ำกว่าจีน (10.8%) เวียดนาม (10.5%) และไทย (5.6%) การส่งออกในช่วงเดียวกันก็เติบโตปีละ 11% น้อยกว่าจีน (23%) เวียดนาม (21%) และไทย (14%)


    นักวิเคราะห์เห็นว่า ปัญหาของมาเลเซียคือ การพึ่งพิงการส่งออกสินค้าพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป เพราะมีสัดส่วนถึง 70% ของการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ และ 50% ของการส่งออกทั้งหมด แสดงถึงความไม่ก้าวหน้าเรื่อง การกระจายการผลิตให้หลากหลาย แต่ปัญหาใหญ่ของมาเลเซียคือ สัดส่วนแรงงานต่างชาติสูงมากในการผลิตอุตสาหกรรม คือมีถึง 70% ส่วนใหญ่มาจากอินโดนีเซีย แรงงานต่างชาติไม่สามารถเพิ่มผลิตภาพได้ เพราะไม่มีแรงจูงใจ


    ในปี 2010 รัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก ประกาศนโยบายใหม่ เรียกว่า New Economic Model (NEM) ที่ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ คือ


    (1) เปลี่ยนการเติบโตจากการลงทุน มาเป็นการเติบโตที่เน้นผลิตภาพ

    (2) จากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรัฐ มาเป็นภาคเอกชน

    (3) จากการรวบอำนาจส่วนกลาง มาเป็นการกระจายอำนาจ

    (4) จาการเติบโตที่กระจายสู่ภูมิภาคต่างๆ มาเป็นการสร้างคลัสเตอร์ทางยุทธศาสตร์

    (5) จากการส่งเสริมอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์ ซีเมนต์ ฯลฯ มาเป็นอุตสาหกรรมทางเทคโนโลยี

    (6) หันมาเน้นตลาดเอเชีย แทนยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น

    (7) หันมาดึงแรงงานต่างชาติ ที่มีทักษะสูงและความเชี่ยวชาญ


    ส่วนกรณีของไทย Akira Suehiro กล่าวว่า ช่วงปี 2006-2015 การผลิตด้านอุตสาหกรรมประสบกับภาวะการเติบโตที่ต่ำ แต่ละปีมีอัตราการเติบโต 3% การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มปีละ 5.4% ยุทธศาสตร์ของประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” บวกกับเศรษฐกิจดิจิทัล และการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อย่าง คือยุทธศาสตร์ที่จะเอาชนะกับดักรายได้ปานกลาง


    หัวใจสำคัญของ “ไทยแลนด์ 4.0” คือ การส่งเสริมอุตสาหกรรมในอนาคต 10 อย่าง และการตั้งเขตเศรษฐกิจ Eastern Economic Corridor (EEC) แต่อุตสาหกรรมในอนาคตที่กำหนดเป็นเป้าหมายการส่งเสริมไปทับซ้อนกับของจีน ดังนั้น การพัฒนาของไทยด้านอุตสาหกรรมรถยนต์อนาคต สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์ ไบโอเคมิคัล และเศรษฐกิจดิจิทัล จะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของบริษัทข้ามชาติต่อภูมิภาคเอเชีย และการตัดสินใจของบริษัทเหล่านี้ ที่จะลงทุนใหม่ในไทย


    ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยเอง มีความได้เปรียบในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การเกษตร ไบโอเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมอาหาร แต่บริษัทของไทยไม่มีความชำนาญหรือประสบการณ์ด้านไฮเทค จึงต้องอาศัยการร่วมทุนกับต่างชาติ Akira Suehiro เองก็ระบุว่า บริษัทของไทยมีความได้เปรียบในอุตสาหกรรม 3 ด้าน คือ


    (1) โรงกลั่น ก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเคมี

    (2) อุตสาหกรรมเกษตรเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมพลังงาน จากไบโอเทคโนโลยี

    (3) อุตสาหกรรมบริการที่อาศัยความเป็นไทย เช่น ท่องเที่ยว บริการสุขภาพ อาหาร และความบันเทิง


    ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า จีนคงจะเปลี่ยนผ่านสู่ประเทศรายได้สูงในกลางทศวรรษ 2020 และไทยเป็นประเทศลำดับต่อไป ทิศทางการพัฒนาความได้เปรียบของบริษัทของไทยมีความชัดเจนกว่าบริษัทของมาเลเซีย ไทยอาจพัฒนาไปในทิศทางที่ต่างจากจีน โดยไม่ได้มุ่งสู่ประเทศรายได้สูงที่อาศัยการเติบโตอย่างรวดเร็ว Akira Suehiro กล่าวว่า เส้นทางพัฒนาของไทยอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการพัฒนาสำหรับประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง


    โดย ปรีดี บุญซื่อ


    Source: ThaiPublica

    https://thaipublica.org/2018/12/pridi126/
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_7026.JPG IMG_7027.JPG IMG_7028.JPG
    (Jan 2) เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราชะลอตัวเป็นเดือนที่ 18: พาณิชย์เผยเงินเฟ้อเดือนธันวาคมสูงขึ้นในอัตราชะลอแต่ยังเป็นบวก ทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 1.07 จับตาปี 62 หลายปัจจัยยังดันเงินเฟ้อขยับสูงขึ้น


    น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค. ) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรืออัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2561 ว่า ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 4 แต่ยังสูงขึ้นเป็นบวกร้อยละ 0.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 18 ทำให้เงินเฟ้อเดือนธันวาคมลดลงจากกลุ่มพลังงานที่ลดลงมาค่อนข้างมากตามตลาดโลก รองลงมาจะเป็นกลุ่มผักผลไม้บางชนิดที่ลดลงเล็กน้อยตามช่วงฤดูกาลเป็นหลัก


    ทั้งนี้ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อตลอด 12 เดือนหรือในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.07 ซึ่งเป็นไปตามกรอบที่กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ไว้ว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2561 มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 0.8-1.6 หรือเฉลี่ยค่ากลางอยู่ร้อยละ 1.2 แม้ว่าในช่วงปลายปีจะมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อผ่านบัตรสวัสดิการบ้าง แต่ไม่ได้ทำให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มมากนัก โดยการที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะในช่วง 2-4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมาจากการลดลงของกลุ่มพลังงานลดร้อยละ 2.12 ราคาอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 0.90 ขณะที่กลุ่มสินค้าภาคการเกษตรมีทั้งปรับขึ้นตามฤดูกาลและมีสินค้าเกษตรบางตัวเพิ่มขึ้น เป็นต้น


    น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ยังได้คาดการณ์เงินเฟ้อปี 2562 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.7-1.7 โดยสมมติฐานคาดการณ์จีดีพีของประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.5-4.5 ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 32.5-33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเชื่อมั่นว่าไตรมาสแรกปี 2562 เงินเฟ้อจะขยับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 0.86 ไตรมาส 2 อยู่ที่ร้อยละ 0.98 ไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ร้อย 1.27 และไตรมาส 4 อยู่ที่ร้อยละ 1.81 โดยมีหลายปัจจัยหนุนในช่วงไตรมาสแรกจากมาตรการของภาครัฐสนับสนุนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผลจากการเลือกตั้งที่มีการหาเสียงในช่วง 1-2 เดือนนี้ เป็นต้น


    Source: สำนักข่าวไทย

    https://www.tnamcot.com/view/5c2c44b1e3f8e40c686b9ba5


    เพิ่มเติม

    - ข่าวจาก ก.พาณิชย์ http://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_cpi/Cpig122561_tg.pdf
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_7029.JPG
    (Jan 2) ธปท.ส่งสัญญาณ'คุม'สินเชื่อรถยนต์ : ธปท.ห่วงสินเชื่อรถยนต์ ชี้ภาระหนี้ผู้กู้พุ่งต่อเนื่อง หลังนำรถไป จำนำทะเบียนต่อขอท็อปอัพ เพื่อไปใช้จ่าย อุปโภคและต่อยอดธุรกิจ แถมตลาด ยังแข่งขันร้อนแรง เอื้อปล่อยกู้ได้ง่าย เตรียมส่งสัญญาณเตือนแบงก์-นอนแบงก์เข้มงวดปล่อยกู้มากขึ้น ไม่สร้างภาระหนี้เกินตัว หวั่นส่งผลให้หนี้เสียครัวเรือนปูด



    นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เริ่มเห็นสัญญาณการก่อหนี้ของประชาชนมากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ สอดคล้องกับการเติบโตสินเชื่อรถยนต์ ที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ ทำให้ผู้กู้มีภาระหนี้ สูงขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งแบงก์และนอนแบงก์มีการแข่งขันสูงขึ้น ในการเข้าไปปล่อย สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ทั้งที่มีภาระหนี้ การซื้อรถยนต์เดิมอยู่แล้ว หรือการให้ สินเชื่อเพิ่มเติม หรือ ท็อปอัพ จากการ นำรถไปจำนำทะเบียน



    แบงก์ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ในส่วนการก่อหนี้สินของประชาชน ไม่ให้เกินตัวจนเกินไป ทั้งแบงก์และนอนแบงก์ อาจต้องเข้มงวดมากขึ้นในเรื่องการ ปล่อยสินเชื่อ โดยตระหนักว่า การให้กู้นั้นเป็นการให้กู้เกินจำเป็นหรือไม่ หรือเป็นการกู้ เพื่อนำไปบริโภค นำไปเพื่อใช้ต่อยอดประกอบอาชีพ ซึ่งหากไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้กู้ ก็อาจเป็นสิ่งที่ธปท.ต้องมีการ ส่งสัญญาณเตือน ให้มีการระมัดระวังมากขึ้น



    "เราติดตามสินเชื่อรถยนต์อยู่ต่อเนื่อง แต่รถยนต์จะต่างกับบ้านหน่อย ตรงที่ การสร้างดีมานด์เทียมไม่ได้เยอะเหมือนบ้าน เพราะรถยนต์มีเทิร์นโอเวอร์สูง สิ่งที่ต้องดู คือ การแข่งขันปล่อยกู้ ทำให้สามารถ นำรถไปจำนำทะเบียน เพื่อกู้เป็นท็อปอัพต่อ บางครั้งมันเกินตัวเกินไป เพราะเอาทะเบียนรถไปจำนำก็ได้ 3 เท่า 5 เท่า แบงก์ต้องตระหนักให้มากขึ้นในการปล่อยกู้ ให้ดูวัตถุประสงค์ผู้กู้มากขึ้น แม้การเก็งกำไรต่างๆ จะไม่ได้น่าห่วงเหมือนบ้าน แต่ก็ เป็นสิ่งที่เรากังวล หากดูแล้วน่าเป็นห่วงมากขึ้น ธปท.ก็อาจต้องมีการส่งสัญญาณเตือน ออกไปได้ในระยะข้างหน้า" นายรณดล กล่าว



    ทั้งนี้ เชื่อว่าหากในระยะข้างหน้า ให้สินเชื่อกันง่ายขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อ จำนำทะเบียนต่างๆ จะยิ่งเป็นจุดเสี่ยงต่อ ผู้กู้มากขึ้น เพราะเมื่อภาระหนี้ของผู้กู้เพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดก็อาจกลับมากระทบต่อเสถียรภาพ ของผู้กู้ สร้างหนี้ครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น หรือเกิดเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลในอนาคตได้ แม้ว่าผู้ให้กู้ อาจไม่ได้กังวลสินเชื่อรถยนต์ เพราะ มองว่าความเสี่ยงต่ำ หากลูกหนี้มีปัญหา ในอนาคต ก็สามารถยึดรถมาขายทอดตลาดได้ มีความคุ้มค่าของหลักประกัน หากดู เอ็นพีแอลในกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ก็พบว่า อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับสินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล (พีโลน) หรือเครดิตการ์ด แต่ก็ไม่ใช่ว่าธปท.จะเลิกห่วง เพราะหาก ไม่มีการดูแล อาจส่งผลต่อคุณภาพหนี้ ในระยะข้างหน้าต่อระบบได้



    ด้านนายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า สินเชื่อรถยนต์เป็นสิ่งที่ศูนย์วิเคราะห์ เป็นห่วงมาตลอด เนื่องจากเห็นภาระ ผ่อนชำระของผู้กู้เริ่มปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดปรับขึ้นมาอยู่ที่ 37% ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2561 ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากเทียบกับช่วงสิ้นปี 2560 ที่ภาระหนี้ของผู้กู้ต่อรายได้ อยู่เพียง 30% เท่านั้น



    ทั้งนี้แม้ปัจจุบันเอ็นพีแอลสินเชื่อรถยนต์จะอยู่ระดับต่ำที่ราว 1.6% แต่หากดูสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือ SM พบว่า อยู่ที่ 7.25% จึงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างห่วง หากแบงก์ไม่สามารถบริหารจัดการลูกหนี้ กลุ่ม SM ได้ ก็อาจทำให้เกิดปัญหา ย้อนกลับมาเป็นเอ็นพีแอลได้ แม้แบงก์จะมีการบริหารจัดการเอ็นพีแอล โดยการขายรถ ทอดตลาด แต่หากมีผู้ที่มีปัญหาและ ตัดสินใจทิ้งรถจำนวนมาก อาจทำให้ การขายทอดตลาดทำไม่ได้ง่ายนัก


    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_7030.JPG
    (Dec 2) ไทยพาณิชย์ ยัน ไม่มีนโยบายยกเลิกสมุดบัญชีเงินฝาก : ธนาคารไทยพาณิชย์ ชี้แจงไม่มีนโยบายยกเลิกสมุดบัญชีเงินฝาก พร้อมเพิ่มทางเลือกการใช้บริการด้วยระบบดิจิตอล


    ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวธนาคารไทยพาณิชย์ “เล็งเลิกสมุดเงินฝาก” ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 2 มกราคม 2562 นั้น ธนาคารไทยพาณิชย์ขอเรียนชี้แจงว่า ธนาคารไม่ได้มีนโยบายที่จะยกเลิกสมุดบัญชีเงินฝากแต่อย่างใด แต่ธนาคารกำลังพัฒนาทางเลือกเพิ่มเติมให้กับลูกค้าในกรณีที่ไม่สะดวกหรือลืมนำสมุดบัญชีเงินฝากมาที่สาขา โดยลูกค้าสามารถใช้ SCB Easy Mobile Banking Application ในการยืนยันตัวตนผ่าน Digital Passbook ในการทำธุรกรรมได้อีกทางหนึ่ง รวมถึงสามารถดูรายการของธุรกรรม รวมถึงขอสเตทเมนท์ผ่านทาง SCB Easy ได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย


    ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ขอยืนยันว่า ลูกค้ายังคงสามารถใช้สมุดบัญชีเงินฝากได้ตามปกติ และธนาคาร ไม่มีนโยบายที่จะยกเลิกสมุดเงินฝากแต่อย่างใด


    Source: สำนักข่าวไทย

    https://www.tnamcot.com/view/5c2c983ee3f8e40c6d6b9d04


    เรื่องเดิม

    - ธนาคารไทยพาณิชย์"เล็งเลิกให้สมุดบัญชีเงินฝาก https://www.posttoday.com/finance/news/575691
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จะตามมาด้วยแผ่นดินไหวรุนแรงในอ่าวไทยหรือเปล่า ส่วนใหญ่สัญญาณสัตว์ทะเลเกยตื้นมาจากแผ่นดินไหว

    ข่าวช่องวัน


    วาฬเกยตื้นตะลุมพุก ชาวบ้านวิตกสัญญาณเตือนพายุ ‘ปาบึก’


     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หนุมานมุนี มุ ฤกษ์อัศวบุญชัย


    ผวา รับปีใหม่

    2/1/62~10:53 น.

    ชาวประมงชุมพร หวั่น พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ถล่ม ต่างนำเรือจอดตามร่องน้ำเพื่อความปลอดภัย ในขณะเรือที่ออกทะเลไปก่อนหน้า ได้นำเรือเข้าหลบตามเกาะต่างๆกลางทะเล


     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    MGROnline Live


    ดร.ธรณ์ เตือนรับมือ พายุ “ปาบึก” คาดใจกลางพายุผ่าน สมุย-พะงัน แนะอย่าประมาท


    ดร.ธรณ์ เตือนอ่าวไทย โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี-ชุมพร รับมือพายุ “ปาบึก” ชี้ อาจน่ากลัว ย้ำไม่ประมาทย่อมดีกว่า แนะติดตามข่าวจากกรมอุตุฯ อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่เย็นวันนี้เป็นต้นไป


    คลิก>>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000000427


    #MGRonline #ดรธรณ์ #เตือนรับมือ #พายุปาบึก #สุราษฎร์ธานี


     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา


    ผบ.ทบ.ห่วงชาวใต้ รับมือพายุโซนร้อน ปาบึก(PABUK)เข้าไทย ๓–๕ ม.ค. นี้


    สั่งหน่วยทหารเข้าช่วยลดผลกระทบ และคลี่คลายสถานการณ์โดยเร็ว พร้อมตั้งจุดบริการประชาชนส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยง


    Read: https://t.co/wKhaC2YQDM


     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แอดชายแดนใต้


    ยะลาแจ้งเตือน!!"ปาบึกเข้าถล่ม"เตรียมรับมือ 3-5 นี้มาแน่


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ที' นะคับ-

    IMG_7031.JPG
    อัพเดทเส้นทางล่าสุด และคาดว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว


    #พายุโซนร้อนปาบึกจะซ้ำร้อยแฮเรียต "เข้าแหลมตะลุมพุก" เที่ยงวันที่ 4 มกราคม นี้


    โดยมีความเร็วลมกระโชก ถึง 155กิโลเมตร/ชั่วโมง (ชั้นพื้นผิว)


    โดยเหลือเวลา อีก 32ชั่วโมง


     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คิดจะฮุบเศรษฐกิจไต้หวันมาเป็นของจีน


    จีน - ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เตือนการแยกตัวเป็นเอกราชของไต้หวันจะก่อ “หายนะ” ครั้งใหญ่ พร้อมยืนยันว่าปักกิ่งจะพยายามนำเกาะแห่งนี้กลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของจีนโดยสันติ แต่ไม่ปฏิเสธการใช้กำลังทหาร

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัชต์ รัตนวิจารณ์


    ผู้บัญชาการทหารเรือ สั่งการให้ “เรือหลวงอ่างทอง” เตรียมพร้อมช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและผู้ประสบภัยจากพายุ “ปาบึก” (PABUK) ถล่มภาคใต้

    พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ สั่ง เตรียมพร้อมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุ “ปาบึก” (PABUK) โดยให้ เรือหลวงอ่างทอง ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เตรียมนำกำลังพลและเครื่องมือเพื่อเข้าปฏิบัติการช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ” (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HADR)


    โดยเรือหลวงอ่างทอง เตรียมความพร้อมในวันที่ 3 มกราคม 2562 ที่ท่าเรือแหลมเทียน สัตหีบ ชลบุรี


    “เรือหลวงอ่างทอง” เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ (เรือ ยพญ.) แบบ Landing Platform Dock (LPD) สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ ที่สามารถปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 45 วัน ปฏิบัติการในทะเลได้ถึง Sea State 6 และรองรับกำลังพล360 คน สามารถใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างดียิ่ง ครอบคลุมในทุกระดับในการปฏิบัติการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ สนามบินไม่สามารถใช้การได้ รวมถึงความเสียหายของเส้นทางต่าง ๆ ทั้งรถยนต์ รถไฟ จนไม่สามารถส่งกำลังทางบกและทางอากาศ เข้าปฏิบัติการได้ อย่างเต็มที่

    นอกจากนี้ “เรือหลวงอ่างทอง” ยังสามารถจัดตั้งโรงพยาบาลบนเรือ สามารถนำยานพาหนะ เครื่องจักรกลที่ใช้ในการช่วย เหลือออกจากเรือหลวงอ่างทองด้วยเรือระบายพลขนาดกลางและขนาดเล็กของเรือ รวมทั้งใช้เฮลิคอปเตอร์ ที่มากับเรือในการนำผู้ป่วยกลับมารักษาที่เรือได้อีกด้วย


    791 ร.ล.อ่างทอง (ลำที่ 3) (Endurance Class)

    ระวางขับน้ำเต็มที่ 7,600 ตัน

    อาวุธ....ปืนใหญ่เรือ OTO Melara super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น

    ปืนกล 30 มม. Sea Hawk MSI-DS30 MR ขนาด 30 มม./75 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น

    ขีดความสามารถ

    ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. S-70B หรือ MH-60S 2 เครื่อง หรือ ฮ. CH-47D 1 เครื่อง

    โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. S-70B หรือ MH-60S 2 เครื่อง

    ดาดฟ้าบรรทุก สำหรับรถถัง M60 18 คัน หรือรถยนต์บรรทุกพร้อมรถพ่วง 15 คัน หรือรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV 19 คัน

    อู่ลอย สำหรับเรือระบายพลขนาดกลาง (เรือ รพก. หรือ LCM) 2 ลำ และแรมพ์ท้ายสามารถต่อเชื่อมกับเรือระบายพลขนาดใหญ่ (LCU) ได้

    เรือระบายพลขนาดเล็ก (LCVP) 2 ลำ

    ทหาร 390 คน เป็นนาวิกโยธิน 360 คน หน่วยบิน 15 คน ฝ่ายอำนวยการ 15 คน

    อิเล็กทรอนิกส์

    เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Terma SCANTER 4100 (Terma C-Search)

    ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Terma C-Fire

    ระบบอำนวยการรบ Terma C-Flex


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หนุมานมุนี มุ ฤกษ์อัศวบุญชัย

    IMG_7039.JPG IMG_7040.JPG
    เกิดปรากฎการณ์ “อุกาฟ้าแดง“ค่ำนี้ที่ อำเภอละแม และอำเภอสวี จังหวัดชุมพรครับ


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จะปิดรับฟังความคิดเห็น ในวันที่ 8 มกราคม 2562

    สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดรับฟังความคิดเห็น"กำหนดนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ"
    เห็นด้วยหรือไม่
    http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,66844.0.html
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Prachachat - ประชาชาติ


    ตื่นตัวรับ “ปาบึก” อุตุฯ ญี่ปุ่นคำนวณ เมื่อเคลื่อนที่เข้าอ่าวไทยจะเพิ่มแรงลมเป็น55น็อต เท่าแฮเรียสที่แหลมตะลุมพุก


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    NationTV 22

    IMG_7041.JPG
    เตรียมรับมือ #พายุปาบึก

    4 ม.ค.62 ฝนตกหนัก-หนักมาก

    ลมประโชกแรง


    พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก

    กทม.และปริมณฑล ราชบุรี

    นครปฐม สมุทรสงคราม


    พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักมาก

    ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล

    ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง

    สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เพชรบุรี ประจวบฯ #NationTV


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประเทศไทยเรายังโชคดี ที่ต้องเริ่มรับมือภัยพิบัติใหญ่ในช่วงท้ายๆ ของเหตุการณ์สำคัญ ที่จะแรงสุดในปลายปี 2563 ถึงกลางๆปี 2564 ประเทศอื่นๆ โดนกันมาหลายปีแล้วน่ะครับ และช่วงนี้พวกเขาก็เริ่มโดนภัยพิบัติที่แรงขึ้นเรื่อยๆ
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,659
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post


    กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง ขู่ปล่อยไฟล์ "ลับ" เปิดโปงเหตุการณ์ 9/11 หากไม่ได้รับค่าไถ่

    https://www.publicpostonline.net/21184


     

แชร์หน้านี้

Loading...